วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

การสะสมความทรงจำ การสะสมสื่อสิ่งพิมพ์

4 ก.ค.
การสะสมความทรงจำ วันชาติอเมริกา
วันนี้วันชาติอเมริกา โดยผมเคยเขียนเรื่องทรัมป์มาบ้างแล้ว(*) จะขอเขียนด้านบวกของเขาก่อน คือ โดนัลล์ ทรัมพ์ มหาเศรษฐีชาวอเมริกันจะมีหนังสือออกมามากกว่า 15 เล่ม แต่แนะนำให้เริ่มอ่านจากเล่มแรกของเขาก่อน อย่าง “The art of the deal” ทรัมพ์ได้อธิบายถึงกลยุทธ์ที่ใช้ในการสร้างธุรกิจ วิธีการทำข้อตกลง การต่อรองกับคู่ค้าและการตัดสินใจอย่างไรให้ดีที่สุด ใครก็ตามที่มีความสนใจในเรื่องธุรกิจหรืออยากหาความรู้เพิ่มเติมไม่ควรพลาดที่จะเรียนรู้แง่คิดจากหนึ่งในนักธุรกิจผู้ประสบความสำเร็จของโลกผ่านหนังสือเล่มนี้(**คานธีได้อ่าน Think and Grow Rich ของ ดร.นโปเลียน ฮิลล์ ถ้าคานธี อายุยืนมาถึงยุคทรัมป์จะแนะนำหนังสือนี้ไหม?)
อย่างไรก็ตาม ทรัมป์ ต่อมาได้เป็นประธานาธิบดี ก็มีแบน7 ชาติมุสลิม(***)อีกด้านหนึ่งในหลายเรื่องกรณีข้อตกลงปารีส ต่อเรื่องสิ่งแวดล้อม
ดังนั้น ผู้คนเป็นห่วงประเทศใหญ่ผูกขาดอำนาจ ทำให้โลกร้อน (ประเทศใหญ่กว่าเอาเปรียบต่อไปอีกเหมือนปลาใหญ่กินปลาเล็ก) ด้วย
*การสะสมทุน ความรู้ ความทรงจำ กำลังมวลชน(อุปมาปลา)
http://akkaphon.blogspot.com/2017/03/blog-post.html
**10 หนังสือจากผู้มีอิทธิพลระดับโลก..สร้างแรงบันดาลใจ
http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9580000141225
***ทรัมป์ปลดฟ้าผ่า รักษาการ รมว.ยุติธรรม ‘ทรยศ’ ขัดคำสั่งแบน7 ชาติมุสลิม
อ่านข่าวต่อได้ที่: https://www.thairath.co.th/content/847832
(ภาพประกอบการ์ตูนจากเน็ตhttp://moneybuffalo.in.th/)
7 ก.ค.
การสะสมความทรงจำ การสะสมหนังสือ
วันนี้ในอดีตวันเสียชีวิตของผู้แต่งเชอร์ล็อคโฮมส์ คือ อาร์เธอร์ อิกเนเชียส โคนัน ดอยล์ (อังกฤษ: Arthur Ignatius Conan Doyle) ถึงแก่กรรม ในวันที่ 7 กรกฎาคม โดยผมสะสมความทรงจำ สะสมหนังสือนำเสนอภาพหนังสือคิดแบบเชอร์ล็อคโฮมส์ มีโปรยโฆษณาคุณเห็นแต่ไม่ได้สังเกต…สิ่งที่คุณเห็นจะไม่เป็นเพียงสิ่งที่ได้เห็นอีกต่อไป เมื่อคุณใช้ทักษะของนักสืบ ทุกอย่างที่ได้สัมผัสก็ให้ข้อมูลกับคุณได้มากกว่าที่คิด ซึ่งหนังสือเล่มนี้ถูกจัดเป็นหมวดบริหารธุรกิจ ผมซื้อมาไม่แพงเคยเล่าไปบางส่วนแล้วเรื่องอ่านไม่ลืมขยับมือไปด้วยระหว่างที่อ่าน แล้วพลังสมองจะเพิ่มขึ้นมหาศาล(*) และอ่านทบทวนด้วย
เมื่อผมกลับมาทบทวนเคยเขียนเชอร์ล็อคโฮมส์ ถึงอ.เบน(**) อีกครั้ง คือ เมื่ออ.เบน เป็นเด็กเขาชอบอ่านนิยายเชอร์ล๊อก โฮมส์ และเรียนรู้ว่า เมื่อคุณค้นหาทางแก้ปัญหาไม่มองสิ่งที่คุณสามารถมองเห็น จงมองที่คุณไม่สามารถเห็น
นี่แหละเป็นเรื่องน่าสนใจ ในแง่การสะสมทุน และมรดกหลังวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งของไทย ผ่านมา20ปี ด้านการบริหารธุรกิจของไทย ต่างจากเกาหลีใต้ ที่ผมเคยเขียนไว้(***) ต่อมากรณีคอรัปชั่นเกาหลีใต้ขบวนการเคลื่อนไหวจนเปลี่ยนประธานาธิบดีใหม่
โดยเปรียบเทียบกับการคิดถึงการมองเห็นปริศนาการเมืองไทย(****) เป็นโจทย์ ที่ต้องแก้ไขระยะยาวอย่างที่ผมเคยเขียนไว้ ในแง่ยุทธศาสตร์ชาติยี่สิบปี จะต่างจากของเกาหลีใต้ในปัจจุบัน เห็นนายกฯทหารมาบริหารประเทศไม่ใช่พวกบริหารธุรกิจด้วย
อย่างไรก็ดี เรามีความหวังไม่ว่านักบริหารธุรกิจเป็นนักการเมืองอย่างทรัมป์(*****) อย่างน้อยก็มาจากการเลือกตั้งและระบบตรวจสอบ(ฯลฯ)ตามประชาธิปไตย ที่ต้องสังเกตการณ์ประชาธิปไตยของไทย
*คิดแบบ เชอร์ล็อค โฮล์มส์
https://www.se-ed.com/product/%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A-%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%84-%E0%B9%82%E0%B8%AE%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B9%8C.aspx?no=9786162051982
การสะสมความทรงจำ ผ่านหอภาพยนตร์ มามหา’ลัย

ผมเขียนจากความจำทำเข้าใจจากข้อมูลจากหนังสือคิดแบบ เชอร์ล็อค โฮล์มส์ หนังสือเทคนิคอ่านให้ไม่ลืม ที่จิตแพทย์อยากบอกคุณ
http://naiin.morestudio.co.th/product/detail/212875
http://www.welearnbook.com/index.php…
(แนวพึ่งความทรงจำภายนอกให้เขียนออกมาบนเฟซบุ๊ค ฯลฯ)
**BENEDICT ANDERSON.RIDDLES OF YELLOW AND RED. New Left Review 97, January-February 2016.
(As a boy, I was fascinated by Sherlock Holmes…)
https://newleftreview.org/II/97/benedict-anderson-riddles-of-yellow-and-red
การสะสมทุน ( Capital accumulation )
http://akkaphon.blogspot.com/2017/03/capital-accumulation.html
มรดกวัฒนธรรม มรดกประวัติศาสตร์ และมรดกความรู้:ศาสตร์การอนุมาน
http://akkaphon.blogspot.com/2017/03/blog-post_20.html
***ไทย ไทเกอร์ เปรียบเทียบเกาหลีใต้ในสี่เสือเอเชีย(ไท-ลาว)
http://akkaphon.blogspot.com/2016/07/blog-post_7.html
****การสะสมความทรงจำ 24 มิถุนา

การสะสมความทรงจำ การสะสมสื่อสิ่งพิมพ์

*****การสะสมความทรงจำ วันชาติอเมริกา
14 ก.ค.
การสะสมความทรงจำ การสะสมสื่อสิ่งพิมพ์
วันที่14 ก.ค.วันนี้ในอดีตประเทศฝรั่งเศส คือ วันบัสตีย์ เป็นวันชาติของฝรั่งเศส โดยอ.เบน เขียนไว้การปฏิวัติฝรั่งเศส มิได้เกิดขึ้น(not made) หรือถูกนำโดยพรรคหรือขบวนการที่เป็นรูปร่างอย่างที่เข้าใจกันในความหมายสมัยใหม่ ทั้งไม่ได้มีตัวบุคคลที่พยายามจะดำเนินการอย่างมีระบบแบบแผนใดๆ การหาตัว “ผู้นำ”อย่างเช่นที่เราคุ้นเคยภาพของการปฏิวัติในศตวรรษที่20 ก็เป็นความยากยิ่ง…
…การสะสมความทรงจำ(accumulating memory) จนเกิดเป็นรูปเป็นร่างถึงจะมีขึ้นมาได้ มีการเชื่อมโยงปะติดปะต่ออย่างยุ่งเหยิงและเกินจริง(The overwhelming)ของอันได้ประสบมานี้ ทั้งโดยคนที่กระทำและผู้เป็นเหยื่อของเหตุการณ์ กลายเป็นตัวตน ที่ถูกขนานนามว่าการปฏิวัติฝรั่งเศส เปรียบเสมือนกับก้อนหินที่ปราศจากรูปทรง ที่ถูกสลักเสลาจนกลมเกลี้ยงด้วยหยดน้ำจำนวนนับไม่ถ้วน เช่นเดียวกันประสบการณ์ก็ถูกสร้างขึ้นมาเป็นรูปเป็นร่างด้วยจำนวนคำนับล้านจนกลายเป็นความคิด ซึ่งประทับลงบนหน้ากระดาษ…(*)
เมื่อการสะสมความทรงจำดังกล่าว ผลิตเป็นหนังสือ โดยเปรียบเทียบกับไทย ในวันที่ 14 ก.ค.พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) – ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 เป็นพรรคการเมืองแรกที่ก่อตั้งขึ้นภายใต้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 โดยมีผู้ร่วมก่อตั้ง 23 คน นำโดย ดร.ทักษิณ ชินวัตร โดยชุดที่ขอจดทะเบียนพรรคการเมือง คือ ดร.ทักษิณ ชินวัตร คณิต ณ นคร ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ พันธุ์เลิศ ใบหยก สิริกร มณีรินทร์ กันตธีร์ ศุภมงคล สารสิน วีระผล สุวรรณ วลัยเสถียร ปภัสรา ตรังคิณีนาถ ด้วย
ต่อมาอ.เบน เคยกล่าวปี2549 ถึงพรรคไทยรักไทย และทักษิณ ไว้ว่าพรรคไทยรักไทยยังมิได้มีสถานะเป็นพรรคสมัยใหม่อย่างเต็มตัว แต่พรรคไทยรักไทยก็มีนโยบายที่พรรคการเมืองอื่นในอดีตไม่มี วิธีที่ทักษิณใช้ในการหลอมตัวเองเข้ากับมวลชนทั้งในแบบบุคคลต่อบุคคลและผ่านจอโทรทัศน์นั้นมีลักษณะเหมือนกับนักการเมืองสมัยใหม่มากกว่านักการเมืองอื่น ๆ ที่ผ่านมา แต่แน่นอน เขาเป็นเพียงสิ่งที่อยู่ในช่วงของการเปลี่ยนผ่าน … (**)
โดยเราคิดเป็นเห็นความเปลี่ยนแปลงพรรคไทยรักไทยถูกยุบ ตั้งพรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อไทย ในความเปลี่ยนชื่อพรรคไปอย่างน่าสนใจในหลายปี ซึ่งผมนำภาพหนังสือแผ่นดินจึงดาล การเปลี่ยนผ่านในสภาพบังคับ โดยการทำหนังสือปี2560ของ”มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน”หรือสำนักข่าวประชาไท ส่งหนังสือมาให้ผมอ่าน ยังไม่ได้อ่านละเอียดมาก ตามTradition ต่างประเทศรีวิวหนังสือ จะได้หนังสือฟรี แต่ผมไม่ใช่รีวิวหนังสือ ซึ่งผมเขียนถึงข้อมูลในหนังสือยกตัวอย่างสั้นๆ และจับประเด็นด้วย
1.แผ่นดินจึงดาล: กุลลดา เกษบุญชู มี้ด 2.แผ่นดินจึงดาล: นิธิ เอียวศรีวงศ์ 3.แผ่นดินจึงดาล: ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี
4.แผ่นดินจึงดาล: พวงทอง ภวัครพันธุ์ 5.แผ่นดินจึงดาล: วรเจตน์ ภาคีรัตน์ 6.แผ่นดินจึงดาล: สุรชาติ บำรุงสุข
7.แผ่นดินจึงดาล: เกษียร เตชะพีระ 8.แผ่นดินจึงดาล: อภิชาต สถิตนิรามัย 9.แผ่นดินจึงดาล: ธงชัย วินิจจะกูล
ก่อนอื่นผมอยากกล่าวในแง่ส่วนตัวก่อนว่านักวิชาการ ดร.ที่สัมภาษณ์ทั้ง เก้าคนผมเคยเจอตัวจริงเกือบทั้งหมด ยกเว้น อ.สุรชาติ ที่เชี่ยวชาญเรื่องกองทัพ และทำนายผิดว่าจะไม่มีการเคลื่อนกองทัพ รัฐประหาร 57 โดยประเด็นของผม ในฐานะไม่มีงานฟรีแลนซ์จากประชาไท ช่วงนี้เลย ก็สนใจในแง่นอกเหนือจากนักวิชาการ น่าจะไปสัมภาษณ์นักบริหารธุรกิจ นักการเมืองบ้างก็ได้ และก็ย้อนกลับมาประเด็นยกตัวอย่างเฉพาะการเมืองจากนักวิชาการข้อมูลในหนังสือ ที่ผมเปรียบเทียบกับความคิดเห็นของผม
เมื่อผมไม่มีเวลาเขียนอะไรมาก ได้เขียนเรื่องสืบสวนสังเกตการณ์(***) ติดตามการเมืองมามีอยู่สองแนวทางในตอนนี้เท่านั้น 1.มีเลือกตั้งภายใต้โลกาภิวัตน์หรือเสรีนิยมใหม่ไม่อาจใช้โมเดลแบบจีนทางเศรษฐกิจไม่มีเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยได้อย่างที่คสช.ตามจีน(ยกตัวอย่างพึ่งจีนกรณีรถไฟไทย-จีน ฯลฯ) แต่การเมือง(อิงสองฝ่ายกรณีอเมริกาติดต่อทรัมป์จากการเลือกตั้ง)ยังมีความวิตกของพวกคสช.เรื่องเลือกตั้ง(****)
2.ขัดแย้งดำรงอยู่ แน่นอนแต่ระดับรุนแรงขนาดไหน ไม่รู้ กรณีอินโดนีเซีย แยกเป็นติมอร์ตะวันออก(ผลกระทบวิกฤติต้มยำกุ้งของไทย ฯลฯ นี่เป็นกรณียกตัวอย่างเฉพาะเปรียบเทียบภาคใต้ไทย) โดยสองทางของผมสอดคล้องตามความเห็นต่อนักวิชาการสองคน ผู้รับมรดกของอ.เบน ยกตัวอย่างที่1 อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์
1.ถ้ามีการเลือกตั้ง อย่างไรคุณหนีไม่พ้นว่าคนชนบทตั้งรัฐบาล แล้วคุณจะล้มไม่ได้ด้วย เพราะต่อไปนี้มันจะไม่ใช่เบี้ยหัวแตกแล้ว จะกลายเป็นก้อนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นพรรคเพื่อไทยหรือไม่ก็ตามแต่ เพราะไม่ว่าอย่างไรก็ต้องมีคนมองเห็น ถ้าเขาเป็นพรรคใหม่เขาก็ปรับตัวได้ แต่ถ้าเป็นพรรคเก่าก็ปรับลำบาก อย่างพรรคประชาธิปัตย์ มันลำบากเพราะฐานเสียงคุณแน่นแล้ว ฐานเสียงอยู่ในเมือง คุณจะปรับได้อย่างไรโดยไม่ให้เสียฐานเสียงเก่า…
ถามว่าจะจบลงด้วยความรุนแรงหรือไม่ก็ได้ทั้งสองอย่าง ต้องเข้าใจอย่างหนึ่งว่า รัฐธรรมนูญจะดำรงอยู่ได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับว่า คุณจัดวางสมดุลแห่งอำนาจของคนกลุ่มต่างๆ ในสังคมไทยไว้ให้ลงตัวได้แค่ไหน ระหว่างคณาธิปัตย์ คนชั้นกลางในเมือง ปัญญาชน นักวิชาชีพ กองกำลังติดอาวุธ ประชาชนระดับล่างซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ ฯลฯ ถ้าลงตัวดีอยู่ ก็จะมีอายุใช้งานไปช่วงหนึ่ง…(อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ที่อ.เสกสรรค์ ผู้เคยกล่าวถ้ามีรัฐประหารผมจะออกมาเดิน อ้างถึงในปาฐกถาอ.เสกสรรค์ช่วงก่อน โดยผมเก็บสถิติทำนายแล้วอ.นิธิ ไม่แน่นอน ยกตัวอย่างปีที่แล้วเปรียบเทียบกับตปท.กรณีทำนายค่อนข้างแน่นอนแล้วว่าฮิลลารี คลินตัน จะได้รับเลือกเป็นปธน. ดูบทความทรัมป์กับโลกปัจจุบัน แต่กรณีการเมืองไทยนี้ดังกล่าวผมเห็นด้วย)
กรณียกตัวอย่างที่2 อ.ธงชัย วินิจจะกูล คือ 2.มันจึงขัดแย้งในตัวมันเอง ความขัดแย้งในตัวเองอันนี้จะปะทุหรือไม่ ปะทุแน่ สักวันหนึ่ง แต่ไม่มีใครบอกได้ว่าเมื่อไร(ผมเห็นด้วยกรณีดังกล่าว ต่างจากข้อสังเกตผมที่เคยเก็บสถิติการทำนายของอ.ธงชัยไว้ เคยเขียนบทความเปรียบเทียบไทยกับฟิลิปปินส์ ดูบทความ”ระบอบอภิสิทธิ์” คืออะไร? มาร์ค = มาร์คอส?(*****) แต่อ.ธงชัย วินิจจะกูล ก็เคยมีผู้ท้าทาย(******)ด้วย
ดังนั้น ข้อมูลหนังสือดังกล่าว(*******)เป็นการสะสมหนังสือและการสะสมความทรงจำของผม โดยยกตัวอย่างการอ้างอิงผมเขียนบริบทจะยาวกล่าวอย่างย่อๆ หลังประชามติรัฐธรรมนูญ ทำให้ผมวิเคราะห์หนังสือหน้าปกแผนที่กลับหัว โดยภาวะวิสัยมากกว่าอัตวิสัย สะท้อนปัญหาผู้คนติดคุกถูกไล่ล่าผู้ลี้ภัย
ในภาวะชาตินิยมราชการหรือทางการ(official nationalism) โดยรัฐ ก็ยังอยากไปกับเสรีนิยมใหม่หรือโลกาภิวัตน์(ควบคุมสื่ออินเตอร์เน็ตดูจีน) ดูจีน(ตั้งแต่เข้าWTOแต่ถกเรื่องพวกนี้จะยาว) ดูอเมริกา แต่ผมเน้นย้ำมีสองแนวที่ผมเห็นสังเกต ส่วนผมเคยข้อเสนอมาแล้วหลายแบบ กลับมาเน้นสะสมยุทธศาสตร์ โดยนำคำของอ.เบนมาใช้ผลิตซ้ำต้องการที่จะเห็นประเทศไทยเป็นอย่างไรในอีกสิบหรือสิบห้าปีข้างหน้า.. อย่าคิดแต่ยุทธศาสตร์เพียงซึ่งหน้า แต่ควรจะคิดถึงว่าต้องการจะเห็นอะไรในอีกสิบปีข้างหน้า…
อย่างไรก็ตาม สองแนวทาง จะเกิดความขัดแย้ง หรือสร้างสมดุล ต่อมาเกิดแนวทางที่สาม ข้อเสนอพยายามสร้างConsensus ร่วมกันในสังคม ก็ติดตามต่อไปในระยะยาวละกัน
*เบน แอนเดอร์สัน ดูเพิ่มเติมกับบทที่ 5.ภาษาเก่า แม่แบบใหม่ (Old Languages, New Models) ในชุมชนจินตกรรม: บทสะท้อนว่าด้วยกำเนิดและการแพร่ขยายของชาตินิยม
**เบน แอนเดอร์สัน ในโครงการเปลี่ยนประเทศไทย ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : โครงการกรกฎาคม-กันยายน 2549 โดยอ้างคำอันโด่งดังของกรัมชี่ด้วย
***การสะสมความทรงจำ การสะสมหนังสือ

****กรองกระแส/โรคระบาด การเมือง ความไม่เชื่อ ความไม่มั่นใจ ในเรื่อง “การเลือกตั้ง”
https://www.matichonweekly.com/featured/article_39980
***** “ระบอบอภิสิทธิ์” คืออะไร? มาร์ค = มาร์คอส?
https://prachatai.com/journal/2010/06/30014
(ยกตัวอย่างเพิ่มนอกเรื่องเกร็ดที่มาชื่อของฟิลิปปินส์ตามพระนามของพระเจ้าฟิลิปป์ที่ 2ของสเปน
ดูหนังสือของอ.เบน คือ ชุมชนจินตกรรมฯ ในบทที่10.สำมะโนประชากร แผนที่ พิพิธภัณฑ์ (Census, Map, Museum)ด้วย)
******ผู้เคยถูกท้าทายโดยผู้ใช้นามปากกาดร.หอกหัก วิจารณ์(..ยุคที่ข่าวการเมืองขายได้กำไรมากกว่าในอดีต นักวิชาการจึงได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนมากเกินกว่าคุณภาพของข้อเสนอและความลุ่มลึกของเนื้อหา)
ดูเพิ่มเติม:หอกข้างแคร่รีเทิร์น: “ด็อกเตอร์” เทวดารุ่นใหม่ในสังคมการเมืองไทย
https://prachatai.com/journal/2008/09/18272
*******หมายเหตุเพิ่มเติม ขอบคุณประชาไทที่ส่งหนังสือ เนื่องจากทุกคนในหนังสือ เป็นอาจารย์ ที่น่าเคารพ แต่ประเด็นนี่ไม่ใช่การจับผิด เพียงตามข้อเท็จจริงอย่างคิดแบบเชอร์ล็อคโฮมส์ มองเห็นผ่านประวัติศาสตร์ โดยยกตัวอย่างสองคน ยกตัวอย่าง อ.นิธิ มีรูปถ่ายคู่กับผม(ในฐานะการเรียนในม.เที่ยงคืนยังไม่เคยเผยแพร่) หรืออ.ธงชัย มีรูปถ่ายคู่กับผมเคยเผยแพร่(ในฐานะผู้เคยได้รับโอกาสคุยเรื่องเรียนต่อที่ม.วิสคอนซิน เป็นมหาลัยที่คนดังไทยจบมาหลายคน) ใน
ดูเพิ่มเติม“การสะสมความทรงจำว่าด้วยการศึกษา”(จบ)

ท้ายที่สุดกลับสู่ประเด็นที่ผมคิดว่าน่าสัมภาษณ์เพิ่ม เช่น นักกิจกรรม ยกตัวอย่างพี่นที สรวารี ที่ผมเคยเจอตอนทำกิจกรรมหลัง53 ที่กทม.ก็ตอนนี้ป่วย หลายปีมานี้บางคนที่ทำกิจกรรมน่าสนใจด้วย
(ภาพหนังสือดูเพิ่มเติมข้อมูลหนังสือตามเว็บ)
https://www.prachataistore.net/

20 ก.ค.
ผลกระทบทฤษฎีสมคบคิดต่อมนุษย์บนดวงจันทร์ถึงโลกร้อน
วันนี้ในอดีตวันที่20 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) – มนุษย์คนแรกบนพื้นผิวดวงจันทร์ ต่อมาเกิดทฤษฎีสมคบคิดข้อกล่าวหาเรื่องมนุษย์คนแรกเหยียบดวงจันทร์เป็นเรื่องลวง โดยทฤษฎีสมคบคิด (อังกฤษ: Conspiracy Theory) คือ เรื่องเล่า บทความที่สร้างขึ้นมาจากความคิดของคน หรือกลุ่มคน โดยนำเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาปะติดปะต่อเข้าด้วยกัน ซึ่งอาจมีวัตถุประสงค์ซ่อนเร้นอื่นๆเพื่อให้ประโยชน์/ให้โทษต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลหนึ่งใด หรืออธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ลักษณะของทฤษฎีสมคบคิดโดยทั่วไปมีข้อเท็จจริงประกอบอยู่เพียงเล็กน้อย หรือส่วนหนึ่ง เพียงเพื่อเสริมให้เกิดความน่าเชื่อถือว่ามีหลักฐานสนับสนุนที่ดูเหมือนเกี่ยวข้องกันเท่านั้น อาจมีเหตุผลสนับสนุนจากความเชื่อส่วนบุคคล ความเชื่อเกี่ยวกับทางศาสนา การเมือง หรือวัฒนธรรมที่แตกต่างไป เรื่องเหล่านี้นักวิชาการจะไม่ใช้อ้างอิง ผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณก่อนที่จะเชื่อเรื่องนั้นๆ ประเทศสหรัฐอเมริกามีหน่วยงานที่จะดูแล และกลั่นกรองเรื่องเหล่านี้โดยเฉพาะเดิมพบได้ในคอลัมน์เล็กๆ ของหนังสือพิมพ์ประเภทแทบลอยด์ในต่างประเทศ ปัจจุบันพบได้มากในฟอร์เวิร์ดเมล เว็บไซต์ส่วนบุคคล และบล็อกต่างๆ(*)
เมื่อผมได้เขียนมาบ้างแล้ว จากอเมริกาเหยียบดวงจันทร์ ต่อมากรณีทรัมป์อย่างอเมริกา(**) เขาเห็นว่าโลกร้อนลวงโลก เป็นการเข้าข่ายดังกล่าวกับทฤษฎีสมคบคิดที่เกิดข้อถกเถียงเรื่องโลกร้อน(***) ถ้าอธิบายยาวทฤษฎีสมคบคิดทั้งเรื่อง9/11สมัยปธน.ฝ่ายขวาอย่างบุช(นายทุน) ซึ่งทฤษฎีสมคบคิดจะพาให้หลงประเด็น (lost issue) เรื่องสิ่งแวดล้อมได้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างที่ผมของเคยอธิบายไว้บ้าง
ดังนั้น ผมอธิบายสั้นๆต้องโฟกัสเฉพาะโลกร้อนโดยแยกแยะความจริง ให้เห็นNeoliberalism กับStructure-agency และclimate change ในโลกทุนนิยม (****) ต่อปัญหาโลกร้อนด้วย
*ดูเพิ่มเติมวิกิพีเดีย
**การสะสมความทรงจำ วันชาติอเมริกา

***โลกร้อน ลวงโลก ในอุ้งมือทรัมป์
http://www.komchadluek.net/news/foreign/249078
โลกร้อนเป็นเรื่องไม่จริง เป็นเรื่องหลอกลวง (มีวาระซ่อนเร้น)
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9580000128606
****Neoliberalism กับStructure-agency และclimate change ในโลกทุนนิยมของวัฒนธรรมชุมชน
http://akkaphon.blogspot.com/2015/09/neoliberalism-structure-agency-climate.html
กรณีที่ผมเคยเล่าเรื่องนักเขียนอย่างแดน บราวน์ และเอโก้ ก็มีแนวคิดนี้ใช้ในการประพันธ์ให้มันส์ ต่างจากงานของนักเขียนเชิงสารคดีอย่างนาโอมิ ไคลน์ นักเขียน นักกิจกรรมสังคม และฟิลม์เมคเกอร์ ผู้วิจารณ์โลกาภิวัตน์ และลัทธิเสรีนิยมใหม่ได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับ climate (change)ด้วย
(ภาพถ่ายผมเองในบรรยากาศวันที่ฝนยังตกโลกไม่ร้อนในภูมิอากาศ)
22
วงเวียน 22 กรกฎาคม,สึนามิ,ภัยพิบัติ และดวงเมืองไทย
วันนี้ในอดีตวันที่22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 (ค.ศ. 1917) – พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงตัดสินพระทัยนำประเทศไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1(*)
โดยมีการสร้างวงเวียน22 กรกฎาคม ต่อมาบริเวณวงเวียน 22 กรกฎาคม(**) เป็นที่สังเกตปรากฏการณ์สุริยุปราคาแบบไม่เต็มดวงที่เห็นได้ในประเทศไทยในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เนื่องจากชื่อสถานที่ตรงกับวันเกิดปรากฏการณ์นี้ ซึ่งนับเป็นปรากฏการณ์สุริยุปราคาที่ยาวนานที่สุดในศตวรรษที่ 21พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) – เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในประเทศอินเดีย เนปาล บังกลาเทศ ภูฏาน ตอนเหนือสุดของพม่า เข้าสู่ประเทศจีนตอนกลาง ส่วนประเทศไทยจะเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน เมื่อเวลาประมาณ 7 ถึง 9 นาฬิกาตามเวลาในประเทศไทย ซึ่งนับเป็นสุริยุปราคาที่ยาวนานที่สุดในศตวรรษที่ 21 พร้อมกับข่าวลือว่าจะเกิดสึนามิและภัยพิบัติต่าง ๆ(***)
ดังนั้น ครบรอบ100ปี จาก22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 หลังจากมีสึนามิในไทย(ทฤษฎีสมคบคิดเกิดสึนามิจากการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ของอินเดีย****)ต่อมาดวงเมืองไทยอย่างที่กล่าวข่าวลือเรื่องสึนามิและภัยพิบัติ(*****)
โดยโชคชะตา ผมได้เคยเขียนบทความไว้เกร็ดเรื่อง “วันกองทัพไทย”ฯ(Wed, 2011-01-19 18:46 ) คือ ตอนนั้นพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.มีแนวคิดที่จะปรับโครงสร้างกองทัพใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจเฉพาะหน้า อย่างเช่น ภัยพิบัติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งใกล้ปี 2012 ที่ภัยพิบัติทวีความรุนแรงมากขึ้น และเป็นไปตามคำทำนายของโหราศาสตร์ที่ทำนายไว้ว่าจะเกิดน้ำท่วมหนักในช่วงเดือน ต.ค.และจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น(******)
แล้วเกิดอุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 หรือที่นิยมเรียกกันว่า มหาอุทกภัย เป็นอุทกภัยรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อบริเวณลุ่ม แม่น้ำเจ้าพระยา และลุ่ม แม่น้ำโขง เริ่มตั้งแต่ปลาย เดือนกรกฎาคม และสิ้นสุดเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555นั้น
อย่างไรก็ดี 22 กรกฏาคม วงเวียนทบทวนสึนามิ,ภัยพิบัติ และดวงเมืองไทยผมเห็นว่ารัฐในฐานะชาตินิยมราชการ ผ่านภาพทหารโดยโยงมาถึงปัจจุบัน ที่น่าห่วงดวงเมืองไทยยกตัวอย่างตามภาพประกอบหนังสือที่โหรทำนายดวงของไทย ถ้าคนไทยเชื่อโหร ซึ่งผมย้ำหวังดีต้องเปลี่ยนประเทศไทย(*******)ด้วย
*ดูเพิ่มเติมวิกิพีเดีย22 กรกฎาคม
**วงเวียน 22 กรกฎาคม
***ดูเพิ่มเติมวิกิพีเดีย22 กรกฎาคม
****ผลกระทบทฤษฎีสมคบคิดต่อมนุษย์บนดวงจันทร์ถึงโลกร้อน

***** “สุริยคราส”22กค. นานที่สุด โหรหวั่นมาร์ค-แม้ว ระบุดวงดาวเป็นโทษ เตือนอาจเกิดหายนะ เกิดยาวสุดรอบ100ปี
https://hilight.kapook.com/view/39173
******เกร็ดเรื่อง “วันกองทัพไทย” และ .. สู่อนาคต “ทหารไทยนี้รักสงบ”
https://prachatai.com/journal/2011/01/32710
*******การสะสมความทรงจำ การสะสมสื่อสิ่งพิมพ์
22.2
เมื่อชีวิตผมหลายเรื่องไม่ค่อยว่างกลับมาใช้เฟซฯติดต่อผู้คน วันก่อนอัพเดทเพจเครือข่ายแรงงานนิดหน่อย โดยผมเล่าอดีตหน่อย คือ ผมมีนามปากกาหลายอันอยู่บางอัน ถ้าเขียนเรื่องนามปากกานี่ก็ยาว นักเขียนบางคนมีหลายนามปากกาเพื่อหากินงานเขียน หลบจากการเมืองอย่างอยู่รอดปลอดภัย ก็สนใจอยากรู้ว่าคนอ่านจะรู้ไหม? ว่าเป็นผม เช่น โครงการประกายแสงดาว เป็นอีกนามปากกา ที่ตอนนั้นเขียนเรื่องตำรวจกับการกระจายอำนาจท้องถิ่น ตอนนี้ข่าวปฏิรูปตำรวจเลยเสนอให้ตำรวจตั้งสหภาพตำรวจด้วย(ตามภาพ)
ปรับโครงสร้างตำรวจกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น
http://thaicop.blogspot.com/2012/10/blog-post_22.html
22.3
“ICAS”(1)
เมื่อผมเคลียร์งานได้ จากที่ไม่ว่างไปงานICAS(*) วันที่20ก.ค. แม้อยากฟังAihwa Ong เคยอ่านงานน่าสนใจนักวิชาการดังคนนี้และKeynote Presentation ในเรื่องThe Chinese Silk Road: Re-territorializing Politics in Southeast Asia โดยAihwa Ong, University of California Berkeley, United States of America(**)
ซึ่งจริงๆ ไม่อาจฟังได้หมดถ้าต้องเลือก วันที่ 22 ก.ค.สนใจMaria Serena I. Diokno is a trained historian from the Philippines… Son Soubert is a trained art historian from Cambodia… Jon Ungpakorn is a trained engineer and prominent human rights activist from Thailand…ใน Upholding Democratic Values in Southeast Asia: Intellectual Freedom and Public Engagement(***)
โดยผมมาเดินดูหนังสือ ดูโปรแกรมต่างๆ(****) ก่อนเข้าฟังแล้วได้บังเอิญพบหลายคน อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ป.โท ไม่ได้เจอกันหลายปี คนรู้จักที่เคยทำประชาไท ไม่ได้เจอหลายปีตอนนี้เป็นบก.นิตยสารออนไลน์ The Momentum ตามที่เธอบอกไว้ และคนรู้จักที่ทำงานประสานศูนย์อาเซียน มช. ฯลฯ แต่ผมเซอรไพส์เรื่องอาจารย์ที่เป็นคนอินเดีย ที่ผมยืนดูบอร์ด ต่อมาเขาเห็นผมสนใจก็บรรยาย ในเรื่องคอรัปชั่นอินเดียฯลฯ พูดกับผม ก็ฟังเป็นหลัก ในที่สุดแลกนามบัตร แนะนำตัวกันพอสมควร
ทั้งนี้ ผมเข้าไปฟังก็ได้สาระจดบันทึกไว้ ที่มาฟังอ.จอน เหตุผลหลักจากรู้จักจากประชาไทเล่าจะยาว เสียดายไม่ได้คุยไม่ได้ถามอ.จอน ซึ่งผมบันทึกภาพ เห็นคนหน้าคล้ายศิลปินกัมพูชาจากงานภัณฑารักษ์(*****)และผมถ่ายภาพบรรยากาศฝรั่งถือขวดเบียร์เข้ามาฟังได้ เพราะมีงานเลี้ยงด้วย เป็นการฟังที่Enjoy ตามแนวคิดของงาน สร้างเครือข่ายนักวิชาการอินเตอร์ โดยผมสมองเริ่มเบลอจากอาการหวัดกับรับฟังข้อมูลภาษาอังกฤษเยอะๆ เข้าไปเห็นบางคนนั่งหลับคงเพลียเหนื่อยเหมือนผม(หรือผมตีความไปเองนี่อาจจะเป็นเวลานอนในประเทศของเขา) สุดท้ายคนไม่ฉลาดอย่างผมก็เข้าไปทักProf.แคทอรีน(******) nice to meet you,bye อ.แคทอรีน ยิ้มหัวเราะผมก็ปิดจ็อบงานส่วนตัวก่อนงานจบ ครับ
*ส่วนตัวก็สนใจไม่มีเวลาว่างอย่างงานICAS 10 Chiang Mai 2017

**https://eu.eventscloud.com/ehome/200170655/Keynote_Presentation/
***https://eu.eventscloud.com/ehome/200170655/Keynote_Roundtable/
****โปรแกรมอื่นๆ
https://eu.eventscloud.com/ehome/200170655/Keynote_Roundtable/
*****งานภัณฑารักษ์

******แคเธอรีน บาววี: ทำความเข้าใจชีวประวัติครูบาศรีวิชัยและผลจากการก่อรูปรัฐไทย(จากม.วิสคอนซิน พูดในงานไทยศึกษาครั้งที่13 ดูเพิ่มเติม)
https://prachatai.com/journal/2017/07/72413
ภาพมางานICAS
(เวทีเสวนาวันนั้นมีเรื่องที่อ.แคททอรีน นำเสนอวันเดียวกันด้วยลองค้นหาดูเพิ่มเติม)
27.2
“ICAS”(จบ)
เนื่องจากหยุดโพสต์เฟซฯ ไปหลายเรื่องในชีวิตประจำวัน โดยแง่มุมส่วนตัวอยากหาเวลาเขียนเรียบเรียงอะไรให้ยาวขึ้นนิดหน่อย เพราะความประทับใจส่วนตัวที่ผมเคยโครงร่างผ่านในเวที ICAS เมื่อเกือบสิบปีก่อน แล้วมีโอกาสร่วมเวทีแบบคนนอกไม่ได้ไปเกาหลีใต้เสนอบทความจากงบไม่พอ เคยเล่าไปบางส่วนแบบไม่ระบุชัด เดี๋ยวหาว่าอวดโชว์เอาเป็นว่าจากเวทีที่ผมชอบแล้วกันเล่าจะยาวมากกว่านี้
เมื่อเหตุผลดังกล่าว ทำให้ผมสนใจเวทีICAS ถ้าผมจำไม่ผิดช่วงที่หาเงินจากการนำเสนอผมก็สนใจเวทีอย่างไทยศึกษา แต่ผมไม่ว่างดังกล่าวไปแล้ว ในแง่เรื่องที่น่าทบทวนเปรียบเทียบตามภาพที่ผมเขียนมาตอนที่1 ยกตัวอย่างที่1อ.แคทธอรีน จากม.วิสคอนซิน ที่เป็นอาจารย์ของอ.ยุกติ และอ.ชาญวิทย์ เขียนถึงKeynotes เชยๆ !?……ผมชอบคีย์เวิร์ดของเธอมาก ถึงกับหาโอกาสตอนเลี้ยงอาหาร (ที่เป็นงานสัมมนาไทยศึกษา ที่ไม่มีเบียร์ ไม่มีไวน์ มช. หัวอนุรักษ์มาก อย่างไม่น่าเชื่อ)ผมไปขอก๊อปปี้ powerpoint เธอมาได้…(*)ซึ่งจริงๆผมเขียนย่อๆ ยกตัวอย่างที่2 ผมสนใจในเวทีไทยศึกษาอย่างWalden Bello(**) มาจากฟิลิปปินส์ มีคนเคยแปลผลงานของเขาเป็นไทยแล้วผมใช้อ้างอิงในวิทยานิพนธ์ด้วย
แน่ละ ผมเขียนอย่างย่อๆ ไทยศึกษาดังกล่าวและICASใช้นิทรรศการร่วมกัน ที่มช.จัดต่อเนื่องกัน มีอ้างถึงอ.เบน ยกตัวอย่างTribute to Benedict Anderson: A Roundtable Discussion on his Works and Impact on Asian Studies(***)ผมไม่มีอำนาจ ไม่มีnetwork หรือconnection ในแวดวงอ.ชาญวิทย์ แค่เคยเจอกันและเพื่อนทางเฟซฯเขียนถึงด้วยความเคารพ แต่ก็นั่นแหละแวดวงวิชาการก็มีหลายเรื่องเป็นเกร็ดให้เล่าสู่กันฟังย้อนดูทบทวนอำนาจของวิชาการผ่านเครือข่ายอ.เบนกัน
ซึ่งผมเก็บภาพที่ไปวันที่22-23 ตามเวลาหาโอกาสของการสร้างโชคชะตาของผม ซึ่งผมสนใจเวทีนี้ สนใจหลายเรื่องยกตัวอย่างการอ่านงานของฟรานซ์ โบแอส(Franz Boas) ดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์สอนวิชามานุษยวิทยาของมหาวิทยาลัยในสหรัฐ เขาได้พร่ำสอนลูกศิษย์ให้ทำหน้าที่เสมือนเป็นกล้องถ่ายรูป ในการจับภาพวัฒนธรรมของสังคมแต่ละสังคม(****) ทำให้Panel 128 – Photographers and Ethnographersนี้ก็ดูน่าสนใจแต่ผมเสียดายไม่ได้ฟังด้วย
โดยเล่าอย่างย่อๆ จากงานฟังอ.จอน เปรียบเทียบไทย ฟิลิปปินส์กับกัมพูชา แล้วแย่กว่าพวกเค้า แม้ว่าพวกเค้าพูดปัญหากรณีฟิลิปปินส์ ดูประธานาธิบดี หรือฮุนเซน ของกัมพูชา ก็ตาม กรณีผู้คนติดคุกในปัจจุบัน เปรียบเทียบหกตุลา 2519 ฯลฯ (ผมไม่ได้ถ่ายภาพคนนั่งหลับ)
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยมีเพื่อนทางเฟซฯถามผมว่าไม่มีสันติบาลเหมือนเวทีไทยศึกษา? ผมบอกไม่รู้ ถ้ามีการปลอมตัวด้วย(*****)
แน่นอน การทบทวนดูโปรแกรมจากวันที่22-23 ก.ค.และดูภาพบรรยากาศเพิ่มเติมด้ตามเฟซฯ(******) ผมมีเวลาว่างมาฟังความสนใจส่วนตัวหลายเรื่องอย่างสนใจอ.ออง มีแง่มุมจะอธิบายยาว ลองดูลิ๊งค์หนังสืออ.ออง(*******) และการบังเอิญเจอคนอินเดีย ถึงอ.ยุกติ(********) ตามความจริงผ่านภาพได้เอกสารฟรีพร้อมภาพตัวตนผม ผ่านบรรยากาศเวที แม้ไม่มีโอกาสถามแลกเปลี่ยนกับอ.แคทอรีน เนื่องจากความสนใจส่วนตัวเรื่องครูบาศรีวิชัยอย่างที่ผมเคยเขียนไว้(*********) ส่วนบันทึกไว้วันที่ฟังเรื่องเกี่ยวกับศิลปะ ภาพนำเสนอ(**********)ก็ถ่ายภาพไว้เยอะไม่มีเวลาเขียนยาว ยกตัวอย่างสั้นๆฝรั่งทรงผมเดียวกับมิเชล ฟูโกต์ตอนฟังนำเสนอบอกCan’t hear ตัดภาพจากโทรศัพท์มือถือมาบางภาพเล่าง่ายๆ สั้นๆ ไม่ได้เป็นผู้สังเกตการณ์เพียงผู้สนใจเติมความรู้ สรุปผมสร้างความทรงจำเป็นไอเดียใหม่ของผมต่อศิลปะและความทรงจำ ที่กินได้ในการต่อสู้ของชีวิตประจำวันด้วย
*ชาญวิทย์ เกษตรศิริ Keynotes เชยๆ !?…




ยุกติ มุกดาวิจิตร: Professor Katherine Bowie and her way of doing Thai studies
https://blogazine.pub/blogs/yukti-mukdawijitra/post/6028
**”Economic Growth and the Rise of Dictatorial Regime in Asia [Roundtable]”
Panel speakers: Walden Bello, Focus on the Global South
Live from 13th International Conference on Thai Studies: Globalized Thailand? Connectivity, Conflict, and Conundrums of Thai Studies.
***Panel 197 – Roundtable – Tribute to Benedict Anderson: A Roundtable Discussion on his Works and Impact on Asian Studies [More Info]Convenor: Charnvit Kasetsiri ฯลฯ
https://eu.eventscloud.com/ehome/200170655/session_list/
****ดำรง ฐานดี มานุษยวิทยาเบื้องต้น สนพ.ม.รามฯ 2536 :258
*****ICAS(1)

******วันที่ 20-23 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 งาน ICAS 10

ภาพบรรยากาศงาน 10th International Convention of Asia Scholars (ICAS 10)
*******อ.ออง ยกตัวอย่างหนังสือที่อ่านได้บางส่วนออนไลน์ดูFlexible Citizenship The Cultural Logics of Transnationality แต่ละบทEmerging Modernities,The Geopolitics of Cultural Knowledge,A Momentary Glow of Fraternity,Regimes and Strategies
,Fengshui and the Limits to Cultural Accumulation
https://books.google.co.th/books/about/Flexible_Citizenship.html?id=7ziMg9du5jwC&redir_esc=y
********อ.ยุกติ นำเสนอห้องเดียวกับอ.อาดาดล Panel 192 – Mobile Technology and the Paradoxes of Connectivity in Southeast Asia I [More Info]Chair: May Adadol Ingawanij, University of Westminster
Speaker: Yukti Mukdawijitra, Thammasat University ฯลฯ (ผมเห็นหัวข้อนี้บางด้านนึกถึงรุ่นพี่ของผมคนหนึ่งเคยศึกษาอินเตอร์เน็ตในลาว ซึ่งเขาเป็นคนศึกษาเรื่องอินเตอร์เน็ตใหม่มากเมื่อสิบกว่าปีก่อนจะมีแนวเครือข่ายพลเมืองเน็ต มูลนิธิเพื่ออินเทอร์เน็ตและวัฒนธรรมพลเมือง)
https://eu.eventscloud.com/ehome/200170655/session_list/
ดูอ.คนอินเดียในวันที่22/07/2017 16:00 – 16:30 Exhibition area Afternoon Tea and Panel 252 – Poster Presentations [Freedom of Information Law and the Empowerment of Urban Poor and Middle Class in India]
Md Aftab Alam, University of Delhi, India
https://eu.eventscloud.com/ehome/200170655/session_list/
*********“อุดมการณ์และวัฒนธรรมพุทธไทย” กรณีครูบาศรีวิชัยกับพระธัมมชโย

“พระธัมมชโย เปรียบเทียบวัดอุโมงค์ หลวงพ่อปัญญากับหลวงพ่อพุทธทาส มุมมองกรณีแรงงานนอกระบบพ่อค้าผลไม้ฆ่าตัวตาย และมวลชน”
********** CONTEMPORARY ART, SOCIETY AND REPRESENTATION IN ASIA II ในการนำเสนอเรื่องMemory and the Avant Garde: Exploring Trauma in Indonesian Conceptual Art Practices, 1970s-1980sและThe Edible Archive: Reflections on Lina Adams The Culinary History of Singapore Performance Art Re-presented(นำเสนอภาพศิลปินไทยที่ทำผัดไทยด้วย) ต่อมาSite of resistance in the everyday the emergence of critical exhibitions in southeast asia in the 1970s หัวข้อนี้ละมั้ง ถ้าจำไม่ผิด หาดูลิ๊งค์โปรแกรมไม่ได้แล้วตอนนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น