วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

การสะสมความทรงจำ เดือนตุลามาพฤศจิกา

1 พ.ย.
ขายหนังสือ
ภาพหนังสือแด่คาทาโลเนีย ที่โพสต์บอกราคาไว้แล้ว มาตามกระแสข่าวสเปน แคว้นคาตาโลเนีย และหนังสือเล่มอื่นๆซ้ำ(*) ส่วนหนังสือมาเพิ่มเติมประกาศขาย 1.รัฐธรรมนูญของเรา 40บ. 2.มรดกพื้นบ้าน 60บ.3.นาฎศิลป์อินโดนีเซีย50บ. 4.สู่อัจฉริยะด้วยสมองสองซีก 80บ.5.หนังสือเกี่ยวกับชีวิตมาร์แซล พรุสต์80บ.(นักเขียนเรื่องค้นหาวันเวลาที่หายไป)
*ขายหนังสือ

ขายหนังสือ
1.2
Remembrance of Things Past(1)
เมื่อผมหลายเรื่องในชีวิตประจำวันจากกรุงเทพฯ นครปฐม พิจิตรกลับมาเชียงใหม่ ก็ต้องเตรียมเคลียร์งานต่างๆ ทำให้ผมคิดอยากจะหาเวลาเขียนสั้นๆสะสมให้ยาวขึ้นเป็นตอนๆ ที่มีรูปจากการเดินทางได้เงินค่าเดินทางด้วย แต่ไม่มีเวลาเขียนมากเท่าไหร่ เริ่มจากผมไปสนามบินเชียงใหม่บังเอิญเจออ.รุ่นพี่มรชม.พร้อมอ.อีกท่านคนอื่นๆ ขึ้นเครื่องลำเดียวกันคนละที่นั่ง จากนั้นดอนเมือง…. กรุงเทพฯ ต่อมานครปฐมในหน้างานหลัก คือ งานด้านวรรณศิลป์ฯ ตามรูปภาพรายละเอียดอาจจะเขียนยาว กรณีหนังสือตามรูปได้รับมาเยอะ และผมได้พบปะรุ่นพี่นักเขียน ที่ไม่ได้เจอกันนาน ฯลฯ ซึ่งกรุงเทพฯถึงนครปฐม ก็มีเรื่องเล่าระหว่างทางด้วย
เนื่องจากความทรงจำที่ผ่านไป เกี่ยวกับงานเขียนเชิงวรรณศิลป์ ซึ่งแรงบันดาลใจจากชื่อหนังสือRemembrance of Things Past (ความทรงจำของสิ่งที่ผ่านไป or In Search of Lost Time) หนังสือที่ผมเคยเล่าแล้วนักเขียนมาบ้างแล้วเขาเขียนยาวหลายเล่มอ่านไม่จบโดยมีคำคมแปลเป็นไทย คือ การเดินทางเพื่อแสวงหาที่แท้จริงไม่ได้มีจุดมุ่งหมายที่จะค้นหาภูมิประเทศใหม่ๆ หากแต่เป็นการค้นหามุมมองใหม่ๆ(new eyes) ซึ่งผมเคยเห็นหนังสือฮาวทู ก็เคยอ้างเช่นใครเอาเงินของฉันไป?( บอกวิธีทำงานทำเงินสิบหมื่นเป็นสิบล้านในสิบปี ) หนังสือเล่มนี้ผมเคยโพสต์รูปแล้วงานเขียนโดยคนเขียนพ่อรวยสอนลูกฯ แต่การค้นหาความจริงอ้างคำคมถึงในหนังสือเล่มที่5 (*)—The Prisoner หรือTitle:The Captive(La Prisonnière) นั่นแหละ เล่าง่ายๆสั้นๆว่าความทรงจำที่ผ่านไปอาจลืมได้เลยนำภาพมาเล่าหน่อย
*The real voyage of discovery consists not in seeking new landscapes, but in having new eyes. Marcel Proust
7.2
Remembrance of Things Past(จบ)
เมื่อผมเล่าตอนที่หนึ่ง(*)ในแบบไม่มีเวลาเขียนมาก ก็คล้ายกันในตอนที่2 จากตอนที่1 ผมเล่าย่อๆก่อนหน้าถึง จ.นครปฐม ผมก็ได้อาศัยร่วมนั่งรถตู้นั่งหลับนั่งไกล กว่าจะมาต่อรถสองแถวโดยสารเดินทางไปกับรุ่นพี่ชื่อเล่นน้อย รุ่นพี่ชื่อเล่นหน่อย ไปแวะเยี่ยมชมศูนย์วัฒนธรรมกลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย – อ้อมใหญ่ฯ พบปะสนทนาคนงานเล็กน้อย แล้วเดินทางต่อซ้อนวินมอเตอร์ไซด์ ณ ศูนย์ฝึกอบรมอภิบาล บ้านผู้หว่าน เป็นสถานที่ไปร่วมกิจกรรม พื้นที่ร่วมกับโรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ ได้ออกกำลังกายว่ายน้ำ ในสระของโรงเรียน ต่อมามีเวลาโอกาสก็พูดคุยกับรูมเมท ที่เป็นครูเกษียณแล้ว เล่าประสบการณ์แลกเปลี่ยนผมเป็นอดีตครูยอแซฟที่พิจิตร(ให้เขาดูเรื่องสั้นที่เขียนเสร็จ ฯลฯ) และคนนั่งข้างๆอีกคนเวลานั่งฟังวิทยากรในงานสัมมนา ต่อมาผมได้บังเอิญเจออ.อนุสรณ์(**) ที่กล่าวถึงหลายวันก่อนในเฟซบุ๊ค ที่เคยคุยด้านศิลปะ ต่างๆ
โดยอ.อนุสรณ์มาในงานมาเป็นวิทยากรงานคราวนี้พร้อมหนังสือ กับกระป๋องเบียร์ในกระเป๋า(วลีเด็ดที่พูดถึงงานเขียนในงานว่างานเขียนความทรงจำและจินตนาการ) ส่วนงานนี้ผมได้พบกับนักเขียน นักวิจารณ์ อาจารย์หลายคน เช่น ประชาคม ลุนาชัย แต่ตลกลึก ก็ได้ฟังเรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ นักเขียนรางวัลซีไรต์จากงานเขียนแม่น้ำรำลึก(บางคนเล่นเสียงลึกๆๆๆ) ยังไม่มีเวลาเขียนยาว ทั้งเรื่องรูมเมท ผู้คนกิจกรรม บทสนทนาร่วมต่ออ.ชมัยภร บางคมบาง(จากอดีตเราเคยเจอกันค่ายวรรณกรรมการเมืองพานแว่นฟ้า ที่ผมเคยเจอนักเขียนฯลฯ) ประเด็นคอรัปชั่นที่มองไม่เห็นจากการดูหนังสั้นเล่าเรื่องโกง ยกตัวอย่างเรื่องสิบหมื่น อื่นๆ
ดังนั้น ผมพยายามหาเวลาเผื่อจะเรียบเรียงวลีถ้อยคำดีๆ ในการเล่าต่อไป แต่ว่าผมไม่มีเวลาเล่ายาวไอเดียความทรงจำสิ่งที่ผ่านไป เพียงเก็บสะสมความทรงจำไว้เผื่อดัดแปลงเป็นเรื่องสั้นดีกว่านี้ส่งประกวด ได้มีโอกาสร่วมเดินทางไปกับขบวนนักเขียนอย่างเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ โดยพื้นที่ร่วมในโรงเรียนฯ มีสุสานนักเขียนอุชเชนี ถึงที่นี่ร่วมอ่านบทกวี..มิ่งมิตร เธอมีสิทธิ์ที่จะล่องแม่น้ำรื่น ที่จะบุกดงดำกลางค่ำคืน ที่จะชื่นใจหลายกับสายลม…ส่วนตัวผมค่ำคืนที่คิดมากเกินไปสมดุลสมอง นอนไม่ค่อยหลับเร่งรีบการงานเขียนเรื่องสั้นเกี่ยวกับโรงเรียนเพื่อเตรียมส่งงานเขียนในวันรุ่งอรุณ สุดท้ายของงานด้วย
เนื่องด้วยการรำลึกความทรงจำสิ่งที่ผ่านไป เพราะผมผ่านการคัดเลือกร่วมกิจกรรมงานวรรณศิลป์ดังกล่าว โดยเขียนบทความเกี่ยวกับประชาธิปไตย ดัดแปลงจากผมเคยเขียนในเฟซฯ ทำให้ผมเขียนขยายต่อยอดจากผมสนใจอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย(***) แนวที่อธิบายผ่านระบบทุนนิยม ที่ประชาธิปไตยดื่มกินได้ตามต้องการปากท้องของคน ซึ่งอธิบายผ่านแนวคิดทฤษฎีร่วมสมัยในวัฒนธรรมสายตา
จากการวิจัยวัฒนธรรมภาพทางสายตา และการศึกษาเรื่องวัฒนธรรมทางสายตา(****) ดูเพิ่มเติมค้นหาทางเน็ต ซึ่งผมยกตัวอย่างเพิ่มซ้ำกับที่ผมเคยกล่าวมาบ้างแล้วในการอ้างอิงวัฒนธรรมทางสายตา ที่น่าสนใจอีกคนหนึ่ง คือ ผมอ่านประวัติชีวิตของ Mark Fisher (11 กรกฏาคม 2511-13 มกราคม 2560)เขาเป็นอาจารย์สอนด้านวัฒนธรรมสายตา ที่ Goldsmiths มหาวิทยาลัยลอนดอน(มีสอนทฤษฎีและการปฏิบัติ ฯลฯ) ป่วยด้วยโรคซึมเศร้า เป็นปัญหาสุขภาพจิตในการทำงาน จากผลทุนนิยมเสรีใหม่ของสังคมร่วมสมัย โดยเขาสนใจด้านการเมือง และวัฒนธรรม ที่มีผลงานหนังสือ popular Capitalist Realism: Is there no alternative? (2009) และเขากล่าวถึงเรื่องlost futuresดูคลิปอย่างGhosts of My Life (No Future)และเขามีคลิปอย่างMark Fisher(อิทธิพลแดริดาฯลฯ)- ‘How to Kill a Zombie: Strategizing the End of Neoliberalism’ นั่นแหละลองอ่านประวัติเพิ่มเติมของเขาได้(*****) นี่เป็นภาพรวมแรงงาน ในผลกระทบของการทำงานในระบบทุนนิยม
แน่ละ เราสนใจเรื่องระบบทุนนิยมเสรีนิยมใหม่ แพร่กระจายไปทั่ว แม้แต่ระบบการทำงานในมหา’ลัยจากอังกฤษมาไทย เล่ายาว ยกตัวอย่างสั้นๆ น่าจับตาประเด็นสวัสดิการสำหรับคนป่วยทางสุขภาพจิตในสังคมร่วมสมัยแรงงานอาจารย์ ซึ่งผมเคยเป็นครู นึกย้อนพร้อมจำเรื่องเล่าผีในโรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ นครปฐม(ลองค้นหาข่าวนร.ตกตึก) ที่มีรุ่นน้องนักเขียนเคยเป็นอาจารย์ประจำกับอ.พิเศษ ก็ได้เจอคุยกันเขามีความสุขกับการออกจากงาน หรือรุ่นน้องเป็นอาจารย์ประจำรู้ว่าผมทำงานเป็นอาจารย์พิเศษเค้าบอกอาชีพในฝันเลย แล้วบ่นเรื่องเหนื่อยกับงาน เป็นต้น
อย่างไรก็ดี แรงงานอ.พิเศษอย่างผมต้องเตรียมสอนไม่มีเวลาเขียนมาก ในแง่วันเวลาของความทรงจำการเดินทาง บางภาพที่ศูนย์วัฒนธรรมสหภาพคนงานฯ(******)ต่อมาผมถ่ายภาพไว้ด้วยแต่ดันลบภาพจากโทรศัพท์มือถือลืมนึกว่าเซฟไว้อีกที่แล้ว ตามภาพประกอบจากเน็ตบ้านผู้หว่าน(*******) กับภาพที่ผมถ่ายเอง จากการเดินทางหลังจากงานมานั่งรถตู้ถึงพิจิตรถ่ายภาพค่ำคืนชาวนาน้ำท่วม(รถยนต์จอดข้างถนนฯลฯ) ต่อมาขึ้นรถจะไปเชียงใหม่ ถ่ายภาพรูปปั้นจระเข้แต่งตัวเป็นชาวนา ในการค้นหาวันเวลาที่สูญหาย ในความทรงจำสิ่งที่ผ่านไป มิ่งมิตรเธอมีสิทธิ์ในค่ำคืน ที่จะชื่นใจในนิทราหลับสบาย
*Remembrance of Things Past(1)

**งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ นักอ่าน นักเขียนรางวัลซีไรต์

***อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไทย กับวันประชาธิปไตยสากล

****การวิจัยวัฒนธรรมภาพทางสายตา
http://www.finearts.cmu.ac.th/blog/2012/12/24/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87/
การศึกษาเรื่องวัฒนธรรมทางสายตา
http://v1.midnightuniv.org/midarticle/newpage18.html
(อ.สมเกรียติ ตั้งนโม เคยทำวิจัยเรื่องวัฒนธรรมทางสายตา แล้วมีพิมพ์เป็นหนังสือ เคยแปลงานของNicholas Mirzoeffที่สอนด้านนี้ด้วย)
วัฒนธรรมทางสายตา “โชว์กิน” เทรนด์โซเชียลมีเดีย…ที่กลายเป็นเงินเป็นทอง
https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1496070004
Jonathan Crarys ที่เขียนหนังสือ24/7: Late Capitalism and the Ends of Sleepก็ใช้visual culture หรือวัฒนธรรมทางสายตาแนวทางสังเกตเขียนในหนังสือ Techniques of the Observer: On Vision and Modernity in the 19th Century
*****ค้นหาดูประวัติเขาในวิกิพีเดีย และข่าวของเขา Why mental health is a political issue
Mark Fisher
https://www.theguardian.com/commentisfree/2012/jul/16/mental-health-political-issue
เขาเป็นนักเขียน นักวิจารณ์ ที่เป็นที่รู้จักจากงานเขียนบล็อกทางอินเตอร์เน็ตในนาม “k-punk”ทางดนตรี
******ค้นเพิ่มเติมได้ทางเน็ต ยกตัวอย่างอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่อบรมแกนนำ สร้างความเข้าใจสิทธิประกันสังคมกับแรงงานข้ามชาติ
*******ค้นเพิ่มเติมทางเน็ต เฟซบุ๊คดู บ้านผู้หว่าน
https://www.gotoknow.org/posts/24334
(การเดินทางของผมครั้งนี้พกหนังสือPeasants in History: Essays in Honour of Danielไปด้วย)
11.2
พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยกับการสร้างประวัติศาสตร์ ดื่ม กิน และอื่นๆอีกมากมาย
วันนี้วันคนพิการแห่งชาติ: 11 พฤศจิกายน 2560 ตรงกับวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนพฤศจิกายน โดยถ้างานแสดงพิพิธภัณฑ์จะใช้วิธีการนำเสนอคนพิการทางสายตาต้องใช้การฟัง(หมอนวดตาบอดใช้เฟซฯผ่านการฟัง) หรือมีเรื่องเล่าว่าบางงานใช้สัมผัสเข้าชมการแสดงนิทรรศการ ส่วนผมได้เขียนถึงพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยมาบ้างแล้ว แต่ยังไม่เคยเข้าไปจริงสักครั้ง ดูภาพจากเว็บไซด์และเฟซบุ๊คบ้าง ก่อนเข้างานสัมมนาเกี่ยวกับวรรณศิลป์ฯ ที่ผมเล่าแล้วหลังจากผมกลับมาจากเยี่ยมชื่นชมแล้วมีแง่มุมมาเล่า 1.การจัดแสดงข้อมูลสิ่งของกับแรงงาน 2.การสร้างประวัติศาสตร์อื่นๆอีกมากมาย 3.การเปรียบเทียบไทยกับต่างประเทศ กรณีแรงงานจีนในไทยกับฝิ่น,แรงงานสู่ผู้ประกอบการเบียร์ช้าง
ซึ่งประเด็นที่1.การจัดแสดงนั้น เป็นการนิยามสิ่งของเกี่ยวกับแรงงาน จัดสิ่งของตามรูปที่ผมถ่ายไว้เป็นเรื่องน่าสนใจ มีข้อจำกัดพื้นที่พิพิธภัณฑ์ไม่ได้ใหญ่ ซึ่งไม่มีบางเรื่อง อธิบายอย่างจำกัดในข้อมูลแรงงานยุคนั้น เป็นเรื่องที่ผมสนใจในการค้นหาวันเวลาที่สูญหาย (In Search of Lost Time) ผ่านสิ่งของความทรงจำทางประวัติศาสตร์ที่ถูกจัดเข้ามาแสดงให้เห็นในพื้นที่ด้วย
1.1 ห้องที่ 1 ประวัติศาสตร์แรงงานไทยตั้งแต่สมัยโบราณฯ หรือแรงงานบังคับ สะท้อนศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านจากแรงงานด้วย(โครงเรื่องแรงงานเน้นสนธิสัญญาเบาริ่ง)
1.2 ห้องที่ 2 กุลีจีน(ภาพผมถ่ายภาพชัดบ้างไม่ชัดบ้างถ่ายไวรีบเร่งด้วย)
1.3 ห้องที่ 3 แรงงานในกระบวนการปฏิรูปประเทศ
ส่วนห้องอื่นๆ ตามรูปภาพดูเพิ่มเติมเว็บไซด์ภาพรวมโดยย่อแบบผม(ผมเข้าไปกระทั่งห้องสมุดด้วย)
เมื่อผมกลับมาทบทวนแล้วจับประเด็นสื่อที่ว่าเว็บไซต์เคมบริดจ์นิวส์เผยแพร่บทความในหัวข้อ “ทุกคนคือคิวเรเตอร์ในโลกดิจิทัล” เนื้อหาในข่าวกล่าวว่า การคิวเรต(curation) นั้นเป็นคำ ที่ทำ ให้นึกถึงพิพิธภัณฑ์ แกลเลอรี่ และการสะสม แต่ในโลกยุคปัจจุบันนั้นไม่ได้เป็นเช่นนั้นอีกต่อไป เนื่องจากความเอ่อล้นของข้อมูลดิบและทรัพยากรดิจิทัลทำให้ทุกคนกลายเป็นคิวเรเตอร์(*) โดยไม่จำเป็นต้องอยู่พื้นที่พิพิธภัณฑ์อย่างเดียวในสื่อดิจิทัลก็ได้
แน่ละ คิวเรเตอร์หรือภัณฑารักษ์ ย่อมมีอำนาจเลือกสิ่งของมาแสดงเป็นเรื่องทั้งโบราณคดี ประวัติศาสตร์ ฯลฯ ที่ต้องอยู่บนพื้นฐานตรวจสอบข้อมูลต่างๆ มาแล้ว นี่เป็นการเปรียบเทียบกับพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ดูเว็บไซด์พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยได้ในห้องจัดแสดง มีข้อจำกัดที่ของแต่ละคนอาจไม่ได้ถูกแสดงตามเหตุผลที่เล่ามาดังกล่าวด้วย
2.การสร้างประวัติศาสตร์สิ่งอื่นๆอีกมากมาย เป็นเรื่องน่าสนใจว่าwe must begin by stating the first premise of all human existence and, therefore, of all history, the premise, namely, that men must be in a position to live in order to be able to “make history.”(การสร้างประวัติศาสตร์) But life involves before everything else eating(การกิน) and drinking(การดื่ม), a habitation, clothing and many other things.(**) นี่เป็นประเด็นที่ผมใช้การอ้างอิงเปรียบเทียบบทความR.E.F.Smith,Drink in Old Russia ที่เขียนขยายเพิ่มเติมตามรูปประกอบการอ้างอิงMarxการสร้างประวัติศาสตร์ฯ ในหนังสือBread and Salt: A Social and Economic History of Food(อาหาร) and Drink(ดื่ม) in Russia.นั่นแหละด้วย(***)
การสร้างประวัติศาสตร์น่าสนใจยกตัวอย่างอธิบายการดื่มเบียร์ของชาวนารัสเซีย หรือประเด็นการอธิบายการดื่มของชาวนาไทย และการดื่มของแรงงาน ขยายขอบเขตของเรื่องชาวนา(ข้าวกับปลา) กับแรงงานด้วย
3.การเปรียบเทียบไทยกับต่างประเทศ กรณีแรงงานจีนในไทยกับฝิ่น,แรงงานสู่ผู้ประกอบการเบียร์ช้าง ตามรูปบางรูปที่ผมถ่ายมาด้วย รุ่นพี่ชื่อเล่นนก นำชมเล่าประวัติศาสตร์ ทำให้ชวนคิดประเด็นนี้ขึ้นมาด้วยจากที่คุยถึงละครทีวีสิงคโปร์ ที่ผมเคยดูฉายช่องทีวีไทยมาบ้าง ในแง่เปรียบเทียบแรงงานไทย ตัวละครที่มีประวัติศาสตร์ชาวจีนอพยพไปทำเหมือง ซึ่งเปิดโรงฝิ่นที่เหมืองดีบุกของตัวเอง ดูดเงินที่แลกมาจากหยาดเหงื่อของกรรมกร(****) ทีนี้ไทยในแง่เปรียบเทียบอย่างที่ผมได้เขียนมาบ้างแล้ว(*****) และแง่มุมอาเซียน(******) ซึ่งผมไม่มีเวลาเขียนยาว ในแง่มุมยกตัวอย่างเปรียบเทียบ ต่อมาคนเชื้อสายจีนเลิกฝิ่น(แก้เมื่อย)แล้ว ไม่มีในพิพิธภัณฑ์ฯ คือ แรงงานขึ้นเป็นผู้ประกอบการ
กรณีเจ้าของเบียร์ช้าง(ต่างจากเบียร์สิงห์ถูกต่อต้านตอนกปปส.) โดยตัวอย่างเจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าของเบียร์ช้าง มีชื่อภาษาจีนว่า “โซว เคียกเม้ง” (เคียกเม้ง แซ่โซว) ชื่อนามสกุลเดิมคือ “ศรีสมบูรณานนท์” เกิดเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2487 บิดามีอาชีพขายหอยทอด ใช้เวลาเรียนถึง 8 ปีเพื่อให้จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนเผยอิง เนื่องจากระหว่างเรียนต้องทำงาน หาเลี้ยงชีพด้วยการขายของเล็กๆ น้อยๆ
เมื่อเขาอายุ 11 ปี ได้รับจ้างเข็นรถส่งสินค้า(แรงงานรับจ้าง) ย่านสำเพ็ง ทรงวาด จากนั้นจึงขยับเป็นพ่อค้าหาบของขาย(น่าจะเข้าข่ายแรงงานนอกระบบหาบเร่แผงลอย)นั่นแหละข้อมูลจากวิกิพีเดียที่ผมอยากกล่าวซ้ำเน้นย้ำในตอนท้ายด้วย
ฉะนั้น ประเด็นที่ผมโฟกัสแปลกใจข้อมูลเรื่องปรัชญาการดำเนินธุรกิจที่เป็นเลื่องลือของเจ้าสัว ”เจริญ”” คือ การซุ่มซ่อนยาวนาน สะสมทุน รอคอยโอกาส ที่สำคัญ “คุณธรรมน้ำมิตร” ที่ว่า ”บุญคุณต้องทดแทน” เขาเป็นมหาเศรษฐีอันดับที่ 4 ของเอเชีย เปรียบเทียบกับ Kwek Hong Png ซึ่งยังอยู่ในวัยรุ่นเดินทางตัวเปล่าจากหมู่บ้านเล็กๆ ในจีนมาที่สิงคโปร์ ก็ต่อมาติดอันดับตระกูล KWEK/QUEKสิงคโปร์, มาเลเซียร่ำรวยอันดับ6ของเอเชีย เป็นต้น
แต่การจัดอันดับที่มีการเคลื่อนขึ้นลงได้เจริญ ตามข้อมูลวิกิพีเดียเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศไทย (อันดับ 2 คือนายธนินท์ เจียรวนนท์ เจ้าของธุรกิจเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือซีพีเจ้าของเซเว่น ปลาหมอซีพี ฯลฯ) ซึ่งผมเล่าย่อๆ ดูประวัติเพิ่มเติมได้ ที่เน้นน่าสนใจข้อมูลวิกิพีเดียที่บอกว่าปรัชญาทำธุรกิจการซุ่มซ่อนยาวนาน ที่ผมจำได้คลับคล้ายหลักการทั่วไปคือ 7 จังหวะ ได้แก่รัดกุม ซุ่มซ่อน อดทน ยาวนาน สะสมกำลัง รอคอยโอกาส…ช่างละม้ายคล้ายคลึงของคนเดือนตุลา(*******) ถึงพคท.
ถ้านักเดินทางอย่างผม มีโอกาสจะเล่าบางเรื่องแง่มุมจากผมถ่ายภาพในพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ที่มาเผยแพร่ย่อๆไว้ บางเรื่องประวัติศาสตร์อาชีพครู ก็ไม่มีในนี้ ส่วนตัวผมสำหรับ Remembrance of Things Past(********) มีการสะสมความทรงจำไว้และถ่ายภาพมาเชียงใหม่ด้วย
* โบราณคดีของภัณฑารักษ์
http://www.damrong-journal.su.ac.th/upload/pdf/80_1.pdf
(ผู้เขียนบทความบอกเป็นนักศึกษาระดับปริญญาเอก Curatorial/Knowledge, Department of Visual Cultures(วัฒนธรรมทางสายตา),Goldsmiths, University of London)
**Karl Marx. The German Ideology. 1845
https://www.marxists.org/archive/marx/works/1845/german-ideology/ch01a.htm
***ดูเพิ่มเติมในหนังสือPeasants in History: Essays in Honour of Daniel และดูเพิ่มเติมDrinking: Behavior and Belief in Modern History อ้างงานของR.E.F.Smith,Drink in Old Russia.
****ผมเรียบเรียงจากThe Journey : A Voyage : ตอนที่ 6 ซีรีส์สิงคโปร์ สู่ฝันวันยิ่งใหญ่ ออกอากาศ 20 มี.ค. 2559
http://program.thaipbs.or.th/TheJourney/episodes/36294
*****การสะสมความทรงจำ :ภาษา ภูมิศาสตร์ ภูมิชีวประวัติส่วนตัว ในล้านนาอาเซียน

******การสะสมความทรงจำกับอดีตถึงการสร้างแผนที่อนาคตอาเซียน

*******คนเดือนตุลา ผมเขียนมาบางมุมใน14 ตุลา,6 ตุลา ตำรา,อำนาจรักในความทรงจำ

(เจริญ อายุพอๆกับบุคคลในช่วงก่อน14ตุลา)
******** Remembrance of Things Past(จบ)
16.2
การสะสมความทรงจำต่อนิเวศสิ่งแวดล้อม การเมืองสีเขียว พรรคกรีนและรัฐสวัสดิการ
วันนี้16 พฤศจิกายน – วันพิทักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก โดยเวลาหลังจาก20ปี วิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง(ชวลิต อดีตทหารอาชีพมาเป็นนักการเมืองลองเปรียบไทยยุคปัจจุบันมีข้อแตกต่างที่ทหารอยากมาเลือกตั้งไหม?) ยกตัวอย่างรัฐธรรมนูญ 2540 ในวันที่11 ตุลาคม พ.ศ. 2540 หรือ12 ตุลา ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ อีกด้วย
เมื่อผมเกริ่นนำจะนำเสนอเรื่องการสะสมความทรงจำต่อนิเวศสิ่งแวดล้อม การเมืองสีเขียว พรรคกรีน และรัฐสวัสดิการโดยผมมีสองประเด็น คือ
1.ผมทบทวนสปิโนซา,มารกซ์, ฟูโก ที่มีความเกี่ยวข้องด้านการเมืองสีเขียว และนิเวศถึงสิ่งแวดล้อม
ผมเล่าย่อๆง่ายๆประวัติศาสตร์การเมืองสีเขียว ที่มีอิทธิพลจริยศาสตร์หรือจริยธรรม (ethics) เช่น สปิโนซา/Spinoza(*) หรือการอ่านใหม่เกี่ยวกับนิเวศสังคมนิยมในงานเขียนคารล์ มารกซ์(**) และมีแชล ฟูโก/ Michel Foucault (อิทธิพลมารกซ์) ผมจะเน้นฟูโก(***)เกี่ยวกับอิทธิพลต่อด้านสิ่งแวดล้อม
ดังนั้น ผมยกตัวอย่างจากมีเวลาเขียนโดยฟูโก(เกิด15ตุลา ได้มีคนเขียนถึงเขาในยุคนั้นว่าเป็นคนที่เฉลียวฉลาดที่สุดที่เคยพบมา) ซึ่งงานวิทยานิพนธ์ของผม เรียบเรียงอ้างฟูโก ผ่านอ.ธงชัย วินิจจะกูล วิธีการศึกษาประวัติศาสตร์แบบวงศาวิทยา(****) ในแง่ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม อ้างเน้นอ.ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร(หนังสือวาทกรรมการพัฒนาฯ ที่มีบรรณานุกรมอ้างหนังสือจำนวนมาก!) โดยอ้างอิงฟูโกผ่านประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก มิใช่เรื่องของการบริหารกับจัดการสิ่งแวดล้อมโดดๆ แต่จำเป็นจะต้องถามคำถามที่มีความสำคัญยิ่งกว่าใครเป็นผู้บริหารและจัดการสิ่งแวดล้อม อีกทั้งบริหารโดยจัดการผลประโยชน์ของใคร หรือการพูดถึงอนาคตของใครต่อประชาชนในประเทศโลกที่สามหรือเพื่อบริษัทข้ามชาติหรือประเทศมหาอำนาจตะวันตกเท่านั้น
จึงเป็นความพยายามที่จะบรรจุเรื่องของอำนาจและทางการเมืองกลับเข้าไปในวาทกรรมว่าด้วยธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และวาทกรรมการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างวาทกรรมการพัฒนาอย่างยั่งยืน ธรรมชาติได้ถูกลดทอนลงมาเป็นเพียงเรื่องของสิ่งแวดล้อม และกลายเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสะสมทุนไป ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่ควรถูกมองว่าแยกออกเด็ดขาดจากระบบสังคมและวัฒนธรรม แต่ควรมองในลักษณะของการปะทะประสาน ระหว่างความสลับซับซ้อนของวัฒนธรรม สังคม ระบบนิเวศน์วิทยา เทคนิควิทยาการ เศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งรวมกันเป็นระบบของการผลิตความหมาย รหัส กฏเกณฑ์ที่สลับซับซ้อนในสังคม ในรูปของความรู้ ความจริงว่าด้วยธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบต่างๆ
นั่นคือ การเมืองของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต้องการชี้ชวนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่แนบแน่น แต่สลับซับซ้อนระหว่างอำนาจ ความรู้ ความจริง ในกรณีนี้คือความรู้ ความจริงเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่อำนาจในการควบคุมกับจัดการสิ่งแวดล้อม และอำนาจในการควบคุมในการจัดการกับมนุษย์ในที่สุด กล่าวอีกนัยหนึ่ง
หากมองอย่าง Michel Foucault พยายามชี้ให้เห็นในงานหลายๆชิ้นของเขาแล้ว วาทกรรมว่าด้วยธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน อย่างวาทกรรมการพัฒนาแบบยั่งยืนก็คือเทคนิควิทยาการของอำนาจชนิดหนึ่ง ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อควบคุม จัดการกับคน ผ่านการจัดการกับพื้นที่ชนิดพิเศษแบบหนึ่งที่เรียกว่าสิ่งแวดล้อมเป็นประดิษฐกรรมทางประวัติศาสตร์ล่าสุดของอำนาจ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อการควบคุมและปกครองโลกและประชากรโลก และนี่คือเทคนิควิทยาการของอำนาจชนิดใหม่ที่ไปไกลกว่าพรมแดนรัฐ-ชาติ เป็นการสร้างเครือข่ายของอำนาจที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมทั่วโลก
2.ผมย้อนทบทวนยกตัวอย่างรัฐธรรมนูญ 2540 การเมืองสีเขียวไทย เปรียบเทียบกับนานาชาติ พรรคกรีน และรัฐสวัสดิการ
ผมไม่มีเวลาเขียนยาวในความทรงจำของผม(ปกติผมไม่ใช้ทฤษฎีเยอะรุงรังเอามาจากวิทยานิพนธ์อ้างยกตัวอย่างวาทกรรมการพัฒนากับสิ่งแวดล้อมนิดหน่อยเพื่อให้ดูขลัง) ที่ร่วมเดินขบวนเคลื่อนไหวในมหาวิทยาลัยเข้ารั้วปีหนึ่ง ตอนนั้นจำได้คณะและคนในมหาวิทยาลัยร่วมเดินสนับสนุนรัฐธรรมนูญ 2540 กันเยอะในความทรงจำเก่าๆเล่าสั้นๆ
เมื่อเวลา20ปีผ่านไปทบทวนความทรงจำของผม จากประเทศไทย เผชิญวิกฤติเศรษฐกิจปีพ.ศ.2540 อันเนื่องมาจากค่าเงินบาทลอยตัว ส่งผลกระทบไปทั่วภูมิภาคนี้ เพราะนักลงทุนไทยได้เข้าไปเกี่ยวพันกับเศรษฐกิจประเทศเพื่อนบ้าน ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับประเทศพม่าในการ ตัดไม้ เพื่อการค้า มีการเข้าไปก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ไม่ว่าจะสร้างที่ใดก็ตาม เป็นโครงการที่ทำลายระบบนิเวศน์ ซึ่งทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพของต้นไม้และสัตว์ลดลงการถางป่าในพื้นที่ขนาดใหญ่ โดยมักจะเป็นพื้นที่ต้นน้ำ ซึ่งการก่อสร้างเขื่อนทำให้สามารถเข้าไปยังพื้นที่ที่แต่ก่อนไม่สามารถเข้าถึงได้ ก่อให้เกิดการทำลายป่าที่ไม่สามารถควบคุมได้(แผนการของคณะกรรมการแม่น้ำโขงในการสร้างเขื่อนเป็นจำนวนมากในประเทศลาว ไทย และกัมพูชา ที่คาดว่าปลาบึกจะไม่สามารถรอดชีวิตได้)
ดังนั้น เมื่อวิกฤติการณ์ทางการเงินในปี 2540 ทำให้เศรษฐกิจล่ม และการร่างรัฐธรรมนูญครั้งนั้น ทั้งเรื่องไข่ปลาร่างรัฐธรรมนูญ40(****) ประสบอุปสรรคมีการเคลื่อนไหว เพื่อคว่ำรัฐธรรมนูญทั้งภายในและภายนอกสภา โดยการเคลื่อนไหวภายนอกสภานั้น กลุ่มที่ออกมาคัดค้าน เช่น กลุ่มกำนันผู้ใหญ่บ้าน และได้มีองค์กรการเมืองภาคประชาชนออกมาสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เช่น คณะกรรมการรณรงค์ประชาธิปไตย (ครป.) เครือข่ายผู้หญิงกับรัฐธรรมนูญ ฯลฯ พรรคการเมืองซึ่งเป็นรัฐบาลในขณะนั้น ได้แก่ พรรคความหวังใหม่ แสดงท่าทีไม่สนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญ รวมทั้งได้นำมวลชนจัดตั้งเข้ามาคัดค้าน ทำให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายสนับสนุน ที่ใช้ “สีเขียว” เป็นสัญลักษณ์ กับฝ่ายต่อต้าน ที่ใช้ “สีเหลือง” เป็นสัญลักษณ์นั่นเอง
ส่วนบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญของประเทศไทย มีหลายหมวดที่มีเนื้อหาเชื่อมโยงกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 นับเป็นรัฐธรรมนูญฉบับ “สีเขียว” เนื่องจากมีเนื้อหาในหลายมิติและหลายหมวดที่เกี่ยวกับเรื่องฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม การรณรงค์ผลักดันรัฐธรรมนูญจึงใช้ “ธงสีเขียว” เป็นสัญลักษณ์
ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 นี้ ถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งฉบับเดียวของประเทศไทย โดยก่อนหน้านี้ 15 ฉบับมาจากคณะรัฐมนตรีที่มาจากการแต่งตั้งหรือรัฐบาลทหาร รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวถูกเรียกว่าเป็น “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน” เนื่องจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่างรัฐธรรมนูญ ลองค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ในวิกิพีเดีย
ต่อมาประเทศไทย ในปี 2543 หลังจาก ดร.พิจิตต รัตตกุล ซึ่งมีภาพลักษณ์ทางด้านสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน พอหมดวาระการดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ตั้ง ‘พรรคถิ่นไทย’ ขึ้นมาเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 6 มกราคม 2544 โดยพรรคใช้รูปแบบเดียวกับของพรรคกรีน(ดูเพิ่มเติมหนังสือทฤษฎีและความรู้ในยุคโลกาภิวัฒน์.ที่มีเรื่องการเมืองสีเขียวฯ)
แต่ดูเหมือนแนวคิดนี้จะไม่ได้รับการตอบรับเท่าที่ควร เพราะสุดท้ายพรรคไม่ได้รับการรับเลือกแม้แต่คนเดียวเลย แม้ภายหลัง บุญเติม จันทะวัฒน์ จะได้รับเลือกตั้งที่จังหวัดร้อยเอ็ด แต่ก็เป็นเพราะผู้สมัครเดิมของพรรคไทยรักไทยที่ได้รับใบแดงเทคะแนนให้นั่นเอง เล่าย่อๆหลังจากนั้นรัฐประหาร 2549 จะเห็นความไม่ต่อเนื่อง ตอนนั้นมีระดมสมองตั้งพรรคแรงงานทางเลือกที่สาม(มีหนังสือแรงงานกับการเมืองและสังคมประชาธิปไตย: ทฤษฎีและพรรค)
ต่อมาพรรคแนวร่วมภาคประชาชน มีกลุ่มสิ่งแวดล้อมจัดงานเวทีสมัชชาสังคมไทยใน21-23 ตุลาคม 2549 ช่วงเดินขบวนร่วมกันผมไปด้วยในฐานะนักข่าวประชาไทพร้อมหลายคน(เล่าจะยาว) ซึ่งอ.จอน อึ้งภากรณ์ ตกจากรถเวทีปราศรัยผมร่วมช่วยดึงขึ้นรถ หลังจากนั้นนวมทอง ไพรวัลย์ ฆ่าตัวตายต่อต้านรัฐประหาร หลายปีผ่านไปมีการใช้ชื่อกลุ่มว่าการเมืองสีเขียว(*****) เพราะมันช่างละม้ายคล้ายคลึงกับ พรรคกรีน (Green Party)โดยกลุ่มสุริยะใส ฝ่ายพันธมิตรฯและกปปส. แต่ว่าไทยแลนด์ หลังรัฐประหาร57 ยังไม่มีรัฐธรรมนูญ และรูปแบบการเมืองสีเขียว แนวพรรคกรีนแบบเยอรมัน เนื่องจากเยอรมันมีบริบทsex worker ถูกกฎหมาย หรือพรรคกรีนเยอรมัน กับหลากหลายทางเพศ และธุรกิจCSR(******) พรรคกรีนฝรั่งเศส พรรคกรีนอเมริกา(ผมเคยเล่าไปบ้างเลือกตั้งที่ผ่านไป) พรรคกรีนอังกฤษ(เลือกตั้งปี58เสนออะไรลองค้นดู) ฯลฯ ตามแบบการเลือกตั้งสากลในปัจจุบัน
ทั้งนี้ การเมืองสีเขียวมีความกว้างทั้งแนวคิดสิ่งแวดล้อม(สิทธิสัตว์) และการเคลื่อนไหวต่างๆ ยกตัวอย่างกลุ่มประเทศอาเซียน ยกตัวอย่างอินโดนีเซีย ก็มีพรรคกรีน ในเรื่องแรงงานในประเทศและการเปลี่ยนภูมิอากาศ(Domestic Workers and Climate Change ) คนที่มีข้อจำกัดที่อยู่อาศัยที่ดินทำกิน หรือพรรคกรีนฟิลิปปินส์(*******)Philippine Green Party (Partido Kalikasan) แน่ละประเทศไทย ก็มีกลุ่มจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมต่างๆ แต่ข้อจำกัดยังไม่มีแนวพรรคกรีนในไทย เพื่อสุขภาพและความปลอดภัย สำหรับรัฐสวัสดิการตามแนวคิดจากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน(********) ในอากาศบริสุทธิ์สำหรับหายใจด้วย
*ดูเพิ่มเติม คนอื่นๆ ที่ถูกอ้างในการเมืองสีเขียว หรือGreen politics – Wikipedia (เขาให้อิทธิพลHegel,Marx,อัลธูแซร์)
ดูที่ผมเขียนไว้แล้ว 14 ตุลา,6 ตุลา ตำรา,อำนาจรักในความทรงจำ https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1873174132711806&id=100000577118415
ดูการวิเคราะห์งานของSpinoza ในModern Democracy and the Theological-Political Problem in Spinoza, Rousseau, and Jefferson(ปลาใหญ่กินปลาเล็กฯ ในแง่สิทธิธรรมชาติ)
**ดูเพิ่มเติมผมไม่ได้แปลNew! Karl Marx’s Ecosocialism: Capital, Nature, and the Unfinished Critique of Political Economy
https://monthlyreview.org/press/new-karl-marxs-ecosocialism-capital-nature-and-the-unfinished-critique-of-political-economy/
(Marx อิทธิพลกรัมชี่,แดริดา)
***focualtกับภาพประวัติศาสตร์การเคลื่อนไหวพ.ศ.2514/ค.ศ.1971
https://thefunambulist.net/history/history-prison-information-group-by-michel-foucault-jean-marie-domenach-pierre-vidal-naquet
ฟูโก มีอิทธิพลต่อนักวิชาการอย่าง Arturo Escobar ที่ศึกษาการ”พัฒนา”โดยEscobar นักมานุษยวิทยา สนใจด้านการมานุษยวิทยาการพัฒนา นิเวศวิทยาการเมือง ต่อต้านโลกาภิวัตน์ ฯลฯ และ Wolfgang Sach ซึ่งศึกษา “คำ” อันสะท้อนความคิดของการพัฒนา รวมถึง “การมีส่วนร่วม” “ความก้าวหน้า” “การกระจายอำนาจ” ฯลฯ โดยSachเป็นบก.และผู้เขียนร่วมในหนังสือเล่มThe Development Dictionary: A Guide to Knowledge as Power (London: Zed Books)โดยขณะนี้เป็นคลาสสิคใน(หลัง)การพัฒนาศึกษา ดูประวัติเพิ่มเติมของSach และEscobar เพิ่มเติมในวิกิพีเดีย
****รายงานโครงการวิจัยเสริมหลักสูตร เรื่อง วิธีการศึกษาประวัติศาสตร์แบบวงศาวิทยา โดย ธงชัย วินิจจะกูล.pdf
https://www.academia.edu/31133901/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3_%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7_%E0%B8%AD%E0%B8%87_%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3_%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2_%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2_%E0%B8%98%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2_%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B8%A5.pdf
(ฟูโก ใช้วิธีทางโบราณคดีของความรู้ หรือArchaeology of Knowledge และบางครั้งผมก็กลับมาทบทวนอ่าน The Order of Things: An Archaeology of the Human Sciences)
****ไข่ปลาในร่างรัฐธรรมนูญ
http://digi.library.tu.ac.th/backup/newspaper/006/08sep40/1624page2.pdf
(ผมเคยกล่าวไปบ้างแล้วว่า วิทยานิพนธ์ได้ถูกผมใช้ทำบทความหอการค้าเชียงรายกับสิ่งแวดล้อมในบทความการพัฒนาวัฒนธรรมทางการค้า กรณีบทบาทหอการค้าเชียงราย ในลุ่มน้ำโขง. และหลายเรื่องอีกด้วย ที่น่าสนใจในวิทยานิพนธ์อยู่บนฐานรัฐธรรมนูญ 40ที่กลับมาทบทวนมีโอกาสจะเขียนเพิ่มในประเด็นวาทกรรมคำศัพท์ว่ากระจายอำนาจ เป็นต้น )
*****จับตา ‘การเมืองสีเขียว’ อุดมการณ์ ‘พรรคกรีน’ ในสังคมไทย
http://www.manager.co.th/daily/viewnews.aspx?NewsID=9540000112997
(แนวการวิเคราะห์นิเวศวิทยาการเมืองต้องอยู่ในสังคมไทย สร้างพรรคกรีน)
******ค้นหาดูเพิ่มเติมในเน็ตหรือหนังสือ Corporate Social Responsibility Across Europeเป็นต้น(ไอเดียจากการประชุมเครือข่ายแรงงานภาคเหนือ)
*******Domestic Workers and Climate Change
https://www.globalgreens.org/news/domestic-workers-and-climate-change
Philippine Green Party (Partido Kalikasan)
https://www.globalgreens.org/party/green-party-philippines
********ดูเพิ่มเติมคุณภาพชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน (เผยแพร่วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2516ในวิกิพีเดีย) และสังคมสีเขียว…นวัตกรรมการพัฒนายั่งยืน กับแนวคิดอ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ “จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน”
https://thaipublica.org/2012/09/green-society/
(ถ้าสังเกตวันและเดือนผมร่างงานเขียนนี้ไว้ตั้งแต่เดือนตุลา และภาพประกอบธรรมชาติ ไม้แกะสลักประดิษฐ์โดยมนุษย์ ภาพรัฐธรรมนูญสีเขียวฉบับการตูน์)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น