วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554

“Big Cleaning Day และเดอะเฮด”: การสร้างอารมณ์ความรู้สึกของคนในชาติและประชาธิปไตยร่วมกัน

วันอาทิตย์, พฤษภาคม 22, 2011
“Big Cleaning Day และเดอะเฮด”: การสร้างอารมณ์ความรู้สึกของคนในชาติและประชาธิปไตยร่วมกัน

ครบรอบ1 ปีเหตุการณ์19 พฤษภา กับการย้อนวิเคราะห์อดีตกิจกรรม Big Cleaning Day เป็นส่วนหนึ่งของการอธิบาย ต่อการสร้างอารมณ์ความรู้สึกของคนในชาติได้เป็นอย่างดี ก็กรุงเทพฯ ถูกเชื่อมโยงกับชาติไทย และการทำความสะอาด ล้างถนน รวมทั้งเดอะเฮด หน้าห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ในนิยามของความหมายถึง หัวเป็นมันสมองของคนด้วย แล้วการสร้างอารมณ์ความรู้สึกของคนในชาติจากกิจกรรมดังกล่าว โดยหากทำเหมือนการล้างสมองของคนในชาติ ก็ไม่ใช่ทางออกที่แท้จริง ซึ่งรัฐและคนไทยต้องร่วมใช้หัวสมองคิดสร้างทางออกเพื่อชาติ เพื่อประชาธิปไตย

โดย อรรคพล สาตุ้ม

….She said: What is history?

And he said: History is an angel being blown backwards into the future He said: History is a pile of debris And the angel wants to go back and fix things To repair the things that have been broken But there is a storm blowing from Paradise And the storm keeps blowing the angel backwards into the future And this storm, this storm is called Progress…(*)

…ผู้เขียนนำเสนอบทความนี้ ออกเผยแพร่เพื่อรำลึกครบรอบ1 ปีเหตุการณ์19 พฤษภา ซึ่งผู้เขียนแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมแนวคิดเดิม และพัฒนาบทความจากที่เขียนไว้ในปีที่แล้ว โดยไม่ได้อ้างอิงบ้างก็ตาม

เพราะฉะนั้น ผู้เขียนทบทวนข้อจำกัด กับการแลกเปลี่ยนพูดคุยต่อเพื่อนสหาย สำหรับภาพรวมบทความของตนเอง และอ่านเอกสาร ค้นพบการอ้างงานวิจัยทางประสาทวิทยาในปัจจุบันบ่งบอกว่า อารมณ์จะกระตุ้นสมองได้เร็วกว่าการคิดด้วยเหตุผลถึง3,000 เท่า และอารมณ์ยังทำงานต่อเนื่องด้วยการกระตุ้นทัศนคติและพฤติกรรมของเรา

กระนั้น ผู้เขียนได้เขียนบทความต่อเนื่องด้านทหาร-กองทัพมาแล้ว ต้องการสะท้อนแง่มุมหนึ่งของอดีตเพลงชาติไทยเกี่ยวพันสมอง ซึ่งลักษณะเฉพาะของเพลง ก็ดัดแปลงและการลอกเลียนแบบตะวันตก และการสร้างชาติสมัยใหม่ของคณะราษฎร โดยสร้างเพลงชาติเป็นส่วนหนึ่งของอารมณ์ความรู้สึกด้วย และผู้เขียนเคยเขียนบทความเกี่ยวกับเสียง ความทรงจำกับอำนาจฯ โดยสะท้อนความเงียบในหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา19 ในแง่มุมหนึ่ง

ซึ่งปัญหาภาพรวมของการเมืองไทย ที่ยังไม่สามารถเข้าใจง่าย โดยผลกระทบ19 พฤษภา 53 ก็มีผู้ต้องขังยังไม่ได้ออกจากคุก ฉะนั้น เหตุและผลของBig Cleaning Day ย่อมสัมพันธ์ในแง่มุมของการชำระล้างเสียง และภาพความทรงจำของอดีต

อย่างไรก็ดี ประชาชนในแง่มุมหนึ่ง ย่อมต้องเข้าใจว่า การล้างสมองในแง่มุมของจิตวิทยา และปฏิบัติการของชาติเกี่ยวกับสมองของคน คือ การเกิดของจินตนาการเกี่ยวข้องความรู้จากประสบการณ์ เกี่ยวข้องภาพยนตร์ ละคร เพลงชาติ ในยุคชาตินิยมจากสมัยคณะราษฎร เป็นปัจจัยการผลิต โดยประดิษฐ์ให้ความรู้สู่แบบเรียน อนุสาวรีย์ เป็นสิ่งก่อสร้างต่อความทรงจำ และรับรู้เป็นความจริงตามสมองกำหนด ให้มีความหมายแก่ทุกคน และปัญหาใหญ่ ในสมองของคน จึงสัมพันธ์กับจินตนาการของความเป็นชาติ และประชาธิปไตย ท่ามกลางกระแสการหาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมือง สำหรับสิ่งเกิดใหม่เป็นความหวังของประชาชน ในการเลือกตั้งว่า ประชาชนมองเห็นคนตาย และคนต้องขัง ต้องได้รับความยุติธรรม เหมือนหัวสมอง ที่มีภาพของตราชั่งของน้ำหนักเหตุผลของความยุติธรรม

ดังนั้น การย้อนภาพของอดีตการปฏิบัติการทางสุนทรีย์ชาตินิยม แทรกซึมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของผู้เข้าร่วมปฏิบัติการเกาะเกี่ยวความรู้สึกชาตินิยมไปด้วยกัน สะท้อนผ่านการย้อนวิเคราะห์อดีตกิจกรรม Big Cleaning Day ซึ่งมีผู้เข้าร่วมใส่เสื้อเป็นสัญลักษณ์ทางศิลปะว่า “รักชาติ” เป็นภาพแสดงแทนอย่างชัดเจน ในส่วนหนึ่งของการอธิบาย ต่อการสร้างอารมณ์ความรู้สึกของคนในชาติได้เป็นอย่างดี ก็กรุงเทพฯ ถูกเชื่อมโยงกับชาติไทย และการทำความสะอาด ล้างถนน


รวมทั้งงานศิลปะเดอะเฮด หน้าห้างเซ็นทรัลเวริด์ ในนิยามของความหมายถึง หัวสมองของคนด้วย แล้วการสร้างอารมณ์ความรู้สึกของคนในชาติจากกิจกรรมดังกล่าว

โดยหากทำเหมือนการล้างสมองของคนในชาติ ก็ไม่ใช่ทางออกที่แท้จริง ซึ่งรัฐและคนไทยต้องร่วมใช้หัวสมองคิดสร้างทางออกเพื่อชาติ เพื่อประชาธิปไตย โดยเรามองย้อนดูพัฒนาการเมืองไทย กับการสร้างรัฐชาติ แล้วรัฐชาติอยู่ในหัวเป็นมันสมองของทุกคน

Big Cleaning Day

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานเปิดกิจกรรมการทำความสะอาดครั้งใหญ่ (Big Cleaning Day) พื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ปะทะในกทม. โดยระบุว่า จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ เป็นเวลากว่า 2 เดือน และได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 19 พ.ค.53 ส่งผลให้เกิดความเสียหายทั้งที่เป็นทรัพย์สินของทางราชการและภาคเอกชนเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะบริเวณถนนพระรามที่ 1 สี่แยกราชประสงค์ และถนนราชดำริ ซึ่งเป็นพื้นที่ศูนย์กลางเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ

ดังนั้น กรุงเทพมหานครจะเร่งฟื้นฟูด้านกายภาพในพื้นที่ดังกล่าว และเร่งฟื้นฟูสภาพจิตใจของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่ผ่านมา โดยกรุงเทพมหานครได้ดำเนินมาตรการฟื้นฟูภายใต้โครงการ "ร่วมสร้างกรุงเทพฯ รวมกันเราทำได้" (Together We Can) โดยจะเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วน รวมทั้งประชาชนมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูครั้งนี้ด้วย


"กรุงเทพมหานครจะดำเนินการฟื้นฟูภาพลักษณ์การเป็นมหานครที่ยิ่งใหญ่ เต็มไปด้วยรอยยิ้มให้กลับคืนมาอีกครั้ง โดยอยากให้คนไทยทุกคนให้อภัยและมองไปข้างหน้า ให้ประเทศไทยก้าวเดินต่อไปอย่างมั่นคง ลืมว่าเคยสวมเสื้อสีใด สิ่งที่ผ่านมาแล้ว ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของกฎหมาย และการที่คนไทยออกมาร่วมกันทำความสะอาดพื้นที่ในวันนี้ ถือเป็นสัญญาณที่ดีว่าคนไทยยังรักและสามัคคีกันเช่นเคย" ผู้ว่าฯ กทม.กล่าว

ทั้งนี้ กิจกรรมแรก คือ การทำความสะอาดครั้งใหญ่ (Big Cleaning Day) ในพื้นที่ชุมนุมและพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายทุกแห่ง หลังจากศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.) ส่งมอบพื้นที่ให้กรุงเทพมหานคร โดยกรุงเทพมหานครได้ระดมเจ้าหน้าที่รักษาความสะอาด, พนักงานกวาด พร้อมด้วยรถฉีดน้ำ รถดูดฝุ่น รถเก็บขยะ ไม้กวาด จากสำนักสิ่งแวดล้อม สำนักการระบายน้ำ สำนักการโยธา และสำนักงานเขตพื้นที่ 3 เขต และเขตใกล้เคียง 19 เขต พร้อมเชิญชวนอาสาสมัคร และประชาชนร่วมกิจกรรม รวมจำนวนทั้งสิ้นกว่า 10,000 คน ร่วมกันทำความสะอาด ปัดกวาด ดูดฝุ่นและล้างถนน ขัดล้าง Street furniture ใช้สีฉีดพ่นทับข้อความที่ไม่เหมาะสม โดยการล้างทำความสะอาดถนน และทำพิธีทางศาสนา (1)

จากเนื้อหาของกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งทุกคนรู้สึกเชื่อมโยง Big Cleaning Day ถึงความเป็นชาติของไทย ในจินตนาการของเรา เหมือนกับหนังสือเรื่อง Imagined Communities ของเบเนดิก แอนเดอร์สัน อันเป็นงานศึกษาว่าอารมณ์ความรู้สึก และความเกี่ยวดองเชื่อมโยงของบรรดาผู้คนที่เอาเข้าจริงไม่เคยประสบพบพานหรือติดต่อกันโดยตรงเลยนั้น มันรวมกันก่อตัวเป็นเอกลักษณ์ร่วมที่พวกเขาเข้าใจว่าเป็น ‘เอกลักษณ์แห่งชาติ’ ได้

และ หนังสือชุมชนจินตกรรม ก็ศึกษาเนื้อแท้ที่มีลักษณะพลการและประดิดประดอยขึ้น (แม้บ่อยครั้งจะเหลือวิสัยจะไปยับยั้งทัดทานได้) สิ่งประดิษฐ์ของการนับเนื่องสังกัดที่เพิ่งปรากฏขึ้นนี้(2) ซึ่งนี่เป็นปรากฏการณ์น่าสนใจของฐานะสัญลักษณ์สำหรับ “เดอะเฮด” และ ‘เดอะเฮด’ ในนิยามของชาติไทยในความหมายต่อหัวสมองของคนด้วย

‘เดอะ เฮด’ ของกรุงเทพมหานคร

"เดอะเฮด"หน้าเซ็นทรัลเวิลด์ กลายเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของการชุมนุมที่ราชประสงค์ไปแล้ว ภาพประติมากรรมรูปศีรษะผู้หญิงเกล้าผม ที่ตั้งตระหง่านตั้งแต่เมื่อครั้งกลุ่มผู้ชุมนุมยังคงปักหลักโดยรอบบริเวณ จนมาถึงวันที่เพลิงเผาไหม้ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ซึ่งส่งผลให้อาคารพังถล่มเหลือเพียงซากปรักหักพัง แต่ประติมากรรมชิ้นนี้ยังคงโดดเด่นอยู่ที่เดิม หลายคนที่เห็นภาพ หลายคนที่เคยแวะเวียนไปนั่งเล่นพร้อมถ่ายภาพไว้เป็นที่ระลึก ทั้งในช่วงเวลาปกติและช่วงเทศกาลอย่างคริสต์มาสและปีใหม่

"เดอะเฮด" (THE HEAD) คือชื่อประติมากรรมชิ้นนี้ ในเดือนพ.ค.ปี 2552 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ร่วมกับสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และการสนับสนุนจากหอการค้าอินเดีย-ไทย สถานเอกอัครราชทูตอินเดีย รับมอบประติมากรรมระดับโลก จัดแสดงที่ลานหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ภายใต้โครงการ "เดอะ สคัลป์เจอร์ แอต เซ็นทรัลเวิลด์" เพื่อเฉลิมฉลอง ครบรอบ 62 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-อินเดีย

โดยจะชูให้ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์เป็นแลนด์มาร์คของศิลปะและประติมากรรมใจกลางกรุงเทพฯ "เดอะเฮด" สร้างขึ้นจากโมเดลต้นแบบจากประเทศอินเดีย แล้วนำมาหล่อแบบให้เป็นผลงานประติมากรรมสูง 4 เมตร (รวมฐาน 1 เมตร) สร้างด้วยวัสดุบรอนซ์ทองทั้งหมด ตกแต่งด้วยสีอะคริลิก ใช้เวลาสร้างประมาณ 6 เดือน โดยช่างฝีมือผู้เชี่ยวชาญงานประติมากรรมจำนวน 30 คน ประติมากรเรดดี้ บอกว่า ต้นแบบที่ใช้สร้าง "เดอะเฮด" เป็นผู้หญิงที่สร้างขึ้นจากจินตนาการของตนเอง ไม่มีตัวตน และเขากำลังตามหาผู้หญิงคนนี้อยู่เช่นกัน

ผลงานส่วนใหญ่ของเรดดี้ เป็นผลงานประติมากรรมในรูปแบบอินเดีย-ฮินดู คอนเทมโพรารี่ อาร์ต ศิลปกรรมร่วมสมัย ได้แรงบันดาลใจส่วนหนึ่งมาจากศิลปินแนวป๊อป อาร์ต ชื่อดังระดับโลกอย่าง แอนดี้ วอร์ฮอล ผลงานประติมากรรมที่โดดเด่นและสร้างชื่อเสียงให้กับเรดดี้จะเป็นประติมากรรมรูปศีรษะของหญิงชาวอินเดีย ด้วยการเลือกใช้สีบรอนซ์ทองเป็นพื้นผิวใบหน้าและลำคอ โดดเด่นที่ดวงตาอันกลมโต และเรียวคิ้วดำขลับโค้งได้รูปของหญิงสาว เน้นลูกเล่นที่มวยผมสีดำประดับประดาด้วยดอกไม้สีสันสดใสอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเรดดี้ ราวินเดอร์ ซึ่งเรดดี้ กล่าวในครั้งนั้นว่า "เดอะ เฮด" สร้างด้วยวัสดุบรอนซ์ทั้งหมด ตกแต่งด้วยสีอะคริลิก และใช้ไฟเบอร์กลาสในการหล่อแบบ เนื่องจากเป็นวัสดุที่คล้ายพลาสติกมากที่สุด ตั้งอยู่ในหรือนอกสถานที่ก็ได้ ที่สำคัญไฟเบอร์กลาสทนความร้อนได้ดี ส่วนที่เลือกใช้บรอนซ์ เพราะ มีความคงทนอยู่ได้นานนับสิบปี(3)

โดยความเข้าใจเรื่อง "เดอะเฮด"ของเซ็นทรัลเวิลด์ ซึ่งไม่ได้รู้สึกแปลกแยกสำหรับคนไทย ในวัฒนธรรมอินเดีย-ฮินดูในพื้นที่ของประเทศไทย เช่น พระพรหม ในฐานะเป็นผู้สร้างโลก สรรพสิ่ง และพระพรหมในเมืองแขก (อินเดีย) เป็นมังสวิรัติ แต่ในไทยกลับนิยมนำหมูมาบวงสรวง ก็ถูกทำให้เป็น ‘ไทย’ ใน “พื้นที่”ของไทยเรียบร้อยแล้ว

แถมความขัดแย้งในอดีต ที่มีศาลท่านท้าวมหาพรหม โรงแรมเอราวัณ เป็นศาลตั้งอยู่หน้าโรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ บริเวณสี่แยกราชประสงค์ ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร และคนทุบพระพรหม ก็แทบถูกลืมไปแล้ว เนื่องจากการทุบครั้งนั้น คนทุบที่ถูกบอกว่าเป็นคนบ้าเพี้ยน ก็เจอรุมกระทืบตาย และพ่อของเขาก็ยังต้องขอโทษทุกคน

ซึ่งนี่แหละความเชื่อ ความเป็นไทย และรัฐชาติ ซึ่งเกิดปัญหาอันสลับซับซ้อนขึ้นมาในความรุนแรงเชิงโครงสร้าง ยิ่งต้องแยกแยะ และวิเคราะห์ภาพเหตุการณ์ทางการเมือง จากตาดำๆ ของเรา ก็มองภาพโดยรัฐบาล+ทหาร ก็พ.อ.สรรเสริญ ที่มีชื่อเล่นไม่เป็นทางการว่า “ไก่อู แห่งศอฉ.” ซึ่งเขาเป็นโฆษกรัฐบาล และทหารเพื่อสร้างความมั่นคงของชาติผ่านทางทีวีและธุรกิจการพิมพ์ ซึ่งทำการผลิตซ้ำพิมพ์รูป เช่น ภาพการเผาบ้านเมือง อันอาจจะนำมาซึ่งการเกลียดชังมากขึ้น

ท่ามกลางผลประโยชน์จากการขายสิ่งพิมพ์สื่อสารกับผู้ซื้อสิ่งพิมพ์ ภายใต้อิทธิพลทุนนิยมการพิมพ์ ที่มีเครื่องจักรกล ทำการผลิตหนังสือสร้างชุมชนชาติจินตกรรม เหมือนแบบเรียนว่า "เมืองไทยนี้ดี" ซึ่งอาคาร ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ธุรกิจในเมืองไทย ก็เป็นตัวแทนของการใช้ไฟฟ้า และทรัพยากรธรรมชาติด้วยเช่นกัน และความเชื่อ วัฒนธรรมกับสังคมไทย จากแง่มุมของปัญญาชน ก็แตกต่างกันในการมุมมองต่อการสร้างความเป็นไทย(4)

ฉะนั้น วัฒนธรรมไทยร่วมกับวัฒนธรรมร่วมสมัยเป็นเดอะเฮด ที่น่าสนใจ ถ้าเราถูกครอบงำในเดอะเฮด เพราะเราต้องการ "ปกครองแบบไทย" และเราต้องการ "คนดี" มาเป็นผู้นำอันเป็นองค์ประกอบของชาติ โดยไม่สำคัญว่าจะเป็นประชาธิปไตย เกิดความหลากหลายของชาติ (เพียงแต่ผู้นำ มีศีลธรรมไม่คอรัปชั่น ฯลฯ) และเมืองไทยก็บังคับคนไม่ให้ขัดแย้งกันโดยธรรมชาติ เพราะรัฐไทยในอดีต ก็เคยบีบให้ชาติพันธุ์ หรือ ‘เจ๊ก’ กลายเป็นไทย

แล้วชาติพันธุ์บางส่วนก็ต้องยอมรับ ความจริง ความดี และความงามแบบไทย ในเรื่องนี้ มันลึกซึ้งกับลักษณะไทยเชิงโครงสร้างของปัญหาทางชนชั้นและความเชื่อว่าประชาชนตกอยู่ในวัฎจักร โง่-จน-เจ็บ ที่มีคนยากคนจนไม่พอใจคนมั่งมีจนกลายเป็นความแค้นเคือง

จากปัญหาว่าเมืองไทยนี้ดี ถึงแม้เมืองไทยจะมีปัญหามากมาย แต่ก็ยังดีกว่าชาติอื่นๆ โดยทำให้มองไม่เห็นช่องว่าง และปัญหาความรุนแรงเชิงโครงสร้าง เพราะวิธีคิดที่เห็นว่า ความไม่เสมอภาคเป็นเรื่องที่ถูกต้องนี้ ทำให้คนไทยเฉยเมยต่อความไม่เป็นธรรมที่มีอยู่ในแทบทุกมิติของสังคม ไม่ว่าจะในกฏหมาย ในโครงสร้างและนโยบายทางการเมือง ในโครงสร้างและนโยบายทางเศรษฐกิจ ในความสัมพันธ์ระหว่างชั้น ระหว่างเพศ และระหว่างต่างสถานภาพ ในกระบวนการยุติธรรม ตลอดจนชีวิตประจำวัน

ซึ่งผู้เขียนขอกล่าวอย่างย่อๆ ว่า ในหมู่ชนชั้นกลางก็ไม่ร่วมแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วย เหมือนกับบางส่วนสมัยยุคตุลา 2516 หรือพฤษภา 2535 จนกระทั่งปัญหาจากผ่านฟ้าถึงราชประสงค์ ก็เกิดการเผาตามพื้นที่ต่างๆ ไปทั่วเมืองไทย หลายส่วน นอกจากแถวที่มีเดอะเฮด แน่นอนว่า จากการเก็บข้อมูล และจากการที่ผู้เขียนไปสังเกตการณ์ในฐานะนักข่าว กับข้อมูลของคนมากมายซึ่งวิเคราะห์ไว้ ทำให้พบว่าการต่อสู้ครั้งนี้ ก็ทำให้กระทบจินตภาพของความต้องการ "คนดี" อยู่กับประชาชนเป็นคนดีของชาติ และเมืองไทย ในประชาธิปไตยแบบไทยๆ

โดยเรานึกถึงมุมมอง เช่น หนังสือเกี่ยวกับมุมมองของคนในเรื่อง
“การมองอย่างไร:แนะนำการอ่านสิ่งแวดล้อม ที่มนุษย์สร้างขึ้น” (5) ซึ่งนำเสนอ เรื่อง Art and Reality (seeing with the mind) ก็คือ ศิลปะ และความเป็นจริง ในการมองเห็นในจิตใจ แน่นอนหนังสือ ยังกล่าวถึงเรื่อง Focus ก็คือ การจับจ้องจุดสำคัญของการมองเห็นของคน ซึ่งเราสามารถนำมาเปรียบเทียบได้กับเรื่องการเมืองในมุมมองของแต่ละคน ซึ่งคนเราต่างก็มีมุมมองของแต่ละคน และการมองเห็นในมุมมองจากบทความเรื่อง “นิทเช่ : การอ่าน คือ งานศิลปะ” จากแง่มุมใหม่ (a new perspective) นิทเช่มองว่า มนุษย์มิใช่ผู้ที่มีเหตุผล แต่มนูษย์เป็นสิ่งที่ต้องเอาชนะ (man is something that must be overcome) เป็นสะพานที่ไม่มีจุดจบ

ซึ่งคำนิยามของความคิดดังกล่าว ก็ยังตีความมนุษย์ได้หลายแนว เช่นว่า มนุษย์สุดท้ายแล้วอาจจะต้องการเอาชนะไม่ใช่มีเหตุผล(6) และ เราควรมองเห็นแบบมีเหตุมีผลมากกว่า มุ่งหวังเพียงชัยชนะ และทำให้คนมองเห็นอย่างมีเหตุมีผลว่าประชาธิปไตยครึ่งใบ ไม่ดีกว่าเต็มใบ

จากมุมมองคน ถ้ามองที่ฮวงจุ้ย(7) ซึ่งเป็นเรื่องนามธรรม และถ้าไม่นำไปสู่ Road Map ก็ช่วงก่อนรัฐบาลฮิตพูดคำนี้ แต่ว่ามันก็ชัดเจน ถึงโรดแมป ไม่ปรองดองกันได้ ถ้าเรายังคิดจะฆ่ากันอยู่อีก และคนที่เจ็บ รวมทั้งตาย ก็มี 90 ศพ ซึ่งมันเป็นสิ่งรูปธรรม สำหรับคนที่ถูกกระทำร้ายร่างกาย ทำให้เกิดความโกรธแค้น ปะทะต่อ วัตถุสิ่งของ อาคาร เป็นการปะทะของวัฒนธรรม อันโหดร้ายที่ซ่อนลวงตาให้ไม่เห็นความจริงของเมืองไทยนี้ ทำให้ถูกมองว่าไม่ดีอย่างที่มันควรจะเป็นสยามเมืองยิ้ม อันเสรี ในพื้นที่ของกรุงเทพฯ

ซึ่งกรุงเทพมหานคร แปลว่า "พระนครอันกว้างใหญ่ ดุจเทพนคร" ซึ่งชื่อเต็มเป็นชื่อสถานที่ที่ยาวที่สุดในโลกและได้จดบันทึกไว้ในกินเนสบุ๊ค(ดูเพิ่มเดิมในวิกีพีเดียออนไลน์)

ดังนั้น นอกจากสัญลักษณ์ของความเป็นกรุงเทพฯ ศูนย์กลางของประเทศไทย และเราหันมามองการนำเสนอเรื่อง symbolic people ก็คือ สัญลักษณ์ประชาชน เช่น สัญลักษณ์ของลุงแซม ทำท่ามือชี้ สื่อข้อความ ก็บอกว่า “ฉันต้องการคุณ เพื่อเป็นทหารของอเมริกา” ซึ่งเราก็รู้ว่าสัญลักษณ์ของคนธรรมดาประชาชนนั้น หาได้ยากยิ่งสำหรับคนไทย ที่ไม่มีใครเหมือนลุงแซม แล้วความตายของลุงนวมทอง ไพรวัลย์ (8) ในฐานะเพื่อชาติ เพื่อประชาธิปไตยในเดือนตุลาคม 2549 ก็ไม่ได้ถูกยอมรับทั้งสองฝ่าย ซึ่งสองมาตรฐานอย่างแน่นอน และสังคมอาจจะยอมรับได้เหมือนการฆ่าตัวตายของสืบ นาคะเสถียรในอนาคต ก็ยังไม่แน่นอน

เพราะว่า นับตั้งแต่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เกษียร เตชะพีระ กล่าวว่า..อุดมการณ์ 14 และ 6 ตุลาคม หรืออุดมการณ์เดือนตุลา ได้แก่สิทธิเสรีภาพผูกกับความเป็นธรรมทางสังคมได้แตกสลายลงแล้วในปัจจุบัน เหตุการณ์ที่เป็นหลักหมายของการแตกสลายนี้คือการแบ่งแยกแตกข้างของพลังประชาชนในสังคมไทยท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองเกี่ยวกับรัฐบาลทักษิณในช่วงปีที่ผ่านมา มันใช้เวลา 30 ปี กว่าอุดมการณ์เดือนตุลาจะพัง (9) ซึ่งเพื่อนพ้องน้องพี่ ในเดือนตุลาคมทะเลาะกัน แล้วเราต้องสร้างความเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของคนที่ตายเพื่อชาติให้กับคนในชาติ เช่นเดียวกับการฆ่าตัวตายของลุงนวมทองในเดือนตุลาคม 2549 ให้เกิดมาตรฐานร่วมกัน

จากBig Cleaning Day และเดอะเฮดของกรุงเทพฯ เปรียบเทียบกับพื้นที่ของคนที่ตายของภาคใต้ และเราต้องการสร้างความเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกคนที่ตายในชาติ

คนที่ตายในกรุงเทพแตกต่างกับพื้นที่มัสยิดกรือแซะ และตากใบ ซึ่งภาคใต้แตกต่างกับพื้นที่กรุงเทพฯ ทั้งแง่ทางกายภาพของความเป็นพื้นที่เมือง และแง่มุมในความหมายของเทพนคร ที่มีเทพ ผู้มีตาทิพย์ เกี่ยวกับพุทธศาสนา แล้วคนในพื้นที่วัดปทุมฯ ซึ่งผู้เสียชีวิตในเขตอภัยทาน ก็สะท้อนเรื่องความเป็นชาติ ศาสนาของคนไทย คือ ทหารไม่เคยปราณีใคร ในจุดที่อยู่ตามศาสนา เพราะ การฆ่าไม่ใช่เรื่องศีลธรรม และบางครั้ง ในบางยุคของไทย ก็มีวาทะว่า ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป เช่นเดียวกัน ซึ่งสะท้อนถึงพื้นที่ของกรุงเทพฯ และสถานที่สำคัญ ที่มีเทพ เทวดา พระพุทธเจ้าคุ้มครอง หรือวัดก็ตาม

ถ้าเราทำความเข้าใจงานศิลปะเดอะเฮด เป็นการแสดงออกผลงานทางศิลปะ แต่ว่าเรื่องราวของความตายของคน ที่ฝังอยู่ในความทรงจำของหัวสมองของคน และอารมณ์ความรู้สึก ก็ใช้นำมาเป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรมให้รัฐบาลได้ด้วย โดยการพิจารณาต่อสิ่งที่ย้อนแย้งกับความสัมพันธ์ของอดีตแค่ปี 2549 กับสัมพันธ์กับปี 2547 ในอีกแง่มุมหลังเดือนตุลาคม 2549 ก็เกิดปรากฏการณ์ของทหารโดยคมช.ต่อมา

ที่มีพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น คำกล่าวบนเวทีปาฐกถาพิเศษ ต่อหน้าผู้สูญเสียและได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ตากใบ ต่อหน้าประชาชนนับพันคน รวมทั้งผู้ว่าราชการทั้ง 3 จังหวัด ประธานและคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่า
“ผมขอโทษแทนรัฐบาลชุดที่แล้ว และขอโทษแทนรัฐบาลนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นเพราะรัฐบาลชุดที่แล้ว ผมมาขอโทษแทน ผมอยากยื่นมือออกไปแล้วบอกว่าผมเป็นคนผิด ผมขอกล่าวคำขอโทษด้วยด้วยใจจริง”.... “ผมเคยพยายามคัดค้านนโยบายหลายประการของรัฐบาลชุดที่แล้ว และผมก็มีส่วนผิดที่คัดค้านนโยบายแล้วไม่เป็นผล เขาจึงให้ผมอยู่ในลักษณะที่ไม่ให้ความร่วมมือ วันนี้ผมจึงต้องเอ่ยคำขอโทษ ผมขอโทษอีกครั้งหนึ่งครับ”

ผู้นำศาสนา ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนของ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และที่สำคัญเป็นการพูดต่อหน้าผู้สูญเสียสามีและญาติพี่น้องไปในเหตุการณ์ครั้งนั้น ในโอกาสที่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และ พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ(คมช.)เดินทางมาเยือนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2549 นั้นเอง นับเป็นคำขอโทษอย่างเป็นทางการครั้งแรกของผู้นำรัฐบาลต่อกรณีเหตุการณ์ตากใบที่มีผู้เสียชีวิตจากเหตุสลายการชุมนุมที่หน้าสถานีตำรวจภูธร อ.ตากใบ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 หรือเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นับเป็นคำขอโทษที่ประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และประชาคมมุสลิมทั้งในและต่างประเทศกำลังรอคอยมาอย่างยาวนาน (10)

แต่ว่า เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ คือ เหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างที่ดำรงอยู่เพียงพอต่อความเข้าใจเรื่องความตายของการสูญเสียชีวิตของคนโยงใยต่อรัฐชาติ จากคำขอโทษและการกล่าวถึงคงไม่พอ เพราะจากกรณีมัสยิดกรือแซะ และตากใบนั้น ทำให้เกิดประเด็นถกเถียงวิวาทะว่า เรามุ่งโจมตีรัฐ แต่ว่าไม่โจมตีทหาร เนื่องจากอาศัยวาทกรรมต่อต้านรัฐเพียงอย่างเดียว ทำให้ไม่เข้าใจปัญหาต่อเรื่องความตาย เชื่อมโยงกับทหาร

โดยสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล กล่าวว่า บางคนอาจจะบอกว่า ในกรณีภาคใต้รัฐต้องรับผิดชอบ ในแง่หนึ่งก็ใช่ แต่ไม่ใช่ทั้งหมดอย่างกรณีกรือแซะ เนื่องจากในตอนนั้น พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ สั่งไม่ให้ยิงเข้าไป แต่พลเอกพัลลภ ปิ่นมณี ก็ไม่เชื่อ แต่ไม่เห็นมีเอ็นจีโอ หรือใครโจมตีพัลลภ หรือ กรณีตากใบ ทำไมไม่เสนอให้ปลดแม่ทัพภาคที่ 4 พิศาล วัฒนวงษ์คีรี เพราะผิดแน่ๆ กับการที่มีคนตายในการควบคุม แต่เอาเข้าจริงก็ไม่มีคนเสนออย่างจริงจัง ประเด็นคือว่า ถึงการสลายการชุมนุมจะมาจากนโยบายของรัฐบาล แต่มันตลกที่เอ็นจีโอไม่เล่นเรื่องทหารอีกด้านหนึ่งก็ไปพูดเรื่องที่นามธรรมใหญ่โตพุ่งเป้าที่รัฐบาลไปที่ทักษิณ..(11)

เมื่อพิจารณาตัวอย่างอันเป็นบทเรียนของความตายจากยุคการเมืองรัฐบาลทักษิณ กับย้อนระลึกถึงคนตายเดือนเมษา-พฤษภาฯ 53 และน้องโบว์ 7ตุลา ฯลฯ รวมทั้งบทเรียนความตายเพื่อชาติของลุงนวมทอง ในกรุงเทพฯ จึงมีความแตกต่างจากความตายของพื้นที่ภาคใต้ คือ การสลับไปมาข้ามไขว้ของเหตุการณ์ทางการเมืองอย่างสลับซับซ้อน แต่ว่าส่วนจิ๊กซอว์สำคัญ คือ ทหาร ปรากฏตัวในฉากการเมืองไทย กับรัฐประหารโดยทหาร กลับมาสู่ฉากรัฐบาลของคนชื่อสุรยุทธ์ (ซึ่งต่อมามีกรณีเขายายเที่ยง) สมัคร(โดนตุลาการภิวัฒน์), สมชาย และต่อมากรณีว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์ผู้นำพรก.ฯฉุกเฉินสมัยทักษิณกับปัญหาภาคใต้มาใช้ใหม่และถูกประณามว่าได้รับการแต่งตั้งจากทหาร

ดังนั้น เราวิเคราะห์ย้อนดูพื้นที่ของกรุงเทพฯ ในกรณีกระแสของความคิดสองชาตินิยมชนกันในยุค 14 ตุลา 2516, 6 ตุลา 2519 ที่มีความคิดเรื่องชาตินิยมต่างกัน และกระแสชาตินิยมในขบวนการเคลื่อนไหว 17 พฤษภา 2535 มาจนกระทั่งยุคเสื้อเหลือง ลูกจีนรักชาติ และเสื้อแดงกับชาวบ้านต่างจังหวัด ก็คือ ปัญหาในเรื่องสืบเนื่องของเสื้อเหลืองและเสื้อแดง จนต่อมาถึงรัฐบาลอภิสิทธิ์ ก็คือ การแบ่งแยกเป็นสองฝ่าย ในฝ่ายหนึ่งที่นับตัวเองเกี่ยวดอง เป็นพวกเดียวกัน เหมือนกับกรณีบรรดานักศึกษาเหยื่อ 6 ตุลาฯ รุ่นน้ารุ่นอาเหล่านั้นว่า “พวกเรา” (12) เหมือนกับฝ่ายเสื้อแดง หรือเสื้อเหลืองเป็นพวกเรา และประเด็นแค่เรื่องความตาย ก็ถกเถียงกันมาก ในมุมมองของแต่ละคน จากบทเรียนความตายของ 14 ตุลา-6 ตุลา และ 17 พฤษภา 2535 เป็นต้น

โดย ธงชัย วินิจจะกูล เคยเขียนถึงเรื่องความอิหลักอิเหลื่อแห่งชาติ เนื่องมาจาก 6 ตุลา 2519 ไม่เป็นประวัติศาสตร์ ไม่มีอนุสาวรีย์ ไม่มีวีรชน ไม่สนใจชีวิต ซึ่งเขาเปรียบเทียบ 14 ตุลา และ 17 พฤษภา 2535 ในด้านความตายถูกยกย่องว่า ‘วีรชน’ ก็แตกต่างจาก 6 ตุลา โดยว่า 14 ตุลา ความตายของพวกเขาเป็นการเสียสละ “แห่งชาติ” ในนามของชาติและเพื่อชาติ โดยที่ชาติในที่นี้เริ่มเกิดความหมายใหม่คือ การมีส่วนร่วมของประชาชนจำนวนมหาศาลภายในชาติ ทั้งที่มาร่วมเดินขบวนและที่เอาใจช่วยอยู่กับบ้าน ผู้เสียชีวิตเมื่อ 14 ตุลา จึงได้เป็น “วีรชน” ทันที คนจำนวนมากยังเรียกได้เต็มปากไม่ขัดเขิน 14 ตุลา ยังเป็นกรณีพิเศษในแง่ที่ว่า สมญานามดังกล่าวมาจากสาธารณชนและสื่อมวลชนโดยไม่สนใจว่าทางการจะเรียกเช่นนั้นหรือไม่(13) แต่ว่า เหตุการณ์ 6 ตุลา กับตรงกันข้ามกัน

กระนั้น ผู้เขียนยกตัวอย่างบทสัมภาษณ์ของธงชัย วินิจจะกูล กล่าวว่า ‘ชาตินิยมเหมือนไฟ คุณเล่นไม่ดี นอกจากลวกมือคุณแล้ว จะเผาบ้านด้วย คุณจะควบคุมไม่ได้ ผมดูถูกคนที่ชาตินิยมฝังหัว ว่าล้าหลัง ใจแคบ คิดอะไรตื้นๆ … ชาตินิยมไม่ช่วยอะไรเท่าไร คุณแคร์กับเพื่อนร่วมชาติ ไม่จำเป็นต้องชาตินิยม อันนี้สำคัญกว่า แชร์ความห่วงใย พอใจ ไม่พอใจ กับคนอื่น ใครก็ได้ ชาตินิยม คือความใจแคบ ไม่เมตตากรุณา ไม่มองคนอื่นในแง่ดี น่าเสียใจที่คนเป็นแบบนี้’(14)

ฉะนั้น ความคิดในเรื่องชาตินิยม ที่มีฝังหัวสมอง ในวิธีคิดของคนไทย กับความต้องการอาการใส่ใจผู้อื่น ในการสร้างสรรค์วัฒนธรรมทางสายตา เพื่อความเข้าใจทางวัฒนธรรม(15) โดยการมองเห็นที่ใจสำคัญมาก เราใช้สายตา และจินตนาการไม่ให้หลับหูหลับตาทำไปเรื่อย โดยเรื่องนี้ทำให้ผู้เขียนนึกถึงหนังสือ Nationalism and the Imagination ซึ่งหน้าปกหนังสือทำเป็นรูปภาพของคนกับสมอง ซึ่งปรากฏรูปหลายหลากภาพในหัวคน เกี่ยวโยงของคนในชาติ และความตายเพื่อชาติ

แน่นอนว่า ทำไมคนนับร้อยๆ ล้านทั่วโลก จึงรักของที่ไม่อาจเห็นได้ด้วยตาเปล่า และมันไม่ใช่วัตถุสิ่งของทางกายภาพแบบจริงๆ และหากจินตกรรม หรือการสมมุติขึ้น ถึงแก่ยอมฆ่า และยอมตาย ยอมเสียสละอย่างใหญ่หลวง จนกระทั่งพลีเลือดเนื้อชีวิตตัวเองเพื่อจินตกรรมอันนี้ ตลอดประวัติศาสตร์สองศตวรรษที่ผ่านมา? และพลังของมันอยู่ตรงไหน? โดยมันทำงานอย่างไร? ซึ่งในทางกลับกัน มันมีคุณมีด้านบวกอย่างไรบ้างต่อการต่อสู้ของผู้ถูกกดขี่รังแกที่ผ่านมา? (16) ทั้งนี้ ปัญหาเรื่องความตายก็เป็นเรื่องถกเถียงทางปรัชญา คือ ความตายมีความหมายถึงการไปจากไปจากสถานที่หนึ่งเพื่อไปยังอีกที่หนึ่ง เช่นเดียวกับตัวอย่างของลุงนวมทอง ไพรวัลย์ และทำให้เราคิดต่อเรื่องชาติ และประชาธิปไตยตายเพื่อชาติ

มันสมองกับอารมณ์ความรู้สึกในจุดเริ่มต้นเหตุประชาธิปไตยไทย : บทเรียนอันย้อนแย้ง “Big Cleaning Day และเดอะเฮด”

เราย้อนกลับไปดูความทรงจำต่อวันชาติ โดยวันที่ 24 มิถุนา 2475 ซึ่งกลุ่มคณะราษฎร โดยถือว่ามันสมองของกลุ่มอย่างหลวงประดิษฐมนูธรรม หรือปรีดี พนมยงค์ และวันชาติ เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้และความเข้าใจประชาธิปไตยไทย จากตัวอย่างของความทรงจำว่า รัฐธรรมนูญหรือประชาธิปไตยเป็นลูกชายของพระยาพหลฯ ก็ถูกลบล้างไปในยุคสฤษดิ์ ในระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ โดยวันที่ 24 มิถุนา 2502 เนื่องในวันชาติ ที่ได้กล่าวถึงภารกิจของแผนการปฏิวัติว่าแผนการปฏิวัติขั้นต่อไป คือ การกวาดล้าง สิ่งซึ่งเป็นภัยต่อชาติ เสมือนเป็นการปัดกวาดชำระสิ่งโสโครกโรคร้ายในบ้านของเรา ภัยอันใหญ่หลวง คือ คอมมิวนิสต์ จำจะต้องขจัดภัยเหล่านี้ให้จงได้ และถ้ามิได้อาศัยอำนาจปฏิวัติสั่งจับคอมมิวนิสต์ ซึ่งตำรวจ มีร่องรอยรู้เห็นอยู่แล้วว่า ผู้ใดเป็นผู้แทนดำเนินการ..ด้วยเหตุนี้ บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร จึงได้เหลืออำนาจปฏิวัติไว้ในมาตรา 17 สำหรับงานกวาดล้างทำความสะอาดในบ้าน(17)

และแล้วหลังจากนั้นเป็นต้นมา รัฐบาลเปลี่ยนวันชาติ ทำให้วันชาติ 24 มิถุนายน หายไป ในยุคการพัฒนา ในฐานะการสร้างชาติ ซึ่งต่อมาเกิดการตีความเรื่อง 24 มิถุนา กับวันชาติ และการอธิบายสำหรับการสร้างชาติใส่ไว้ในหัวสมองของคน ทั้งในวาทกรรมระเบียบวินัย สำหรับยืนตรงเคารพธงชาติ ความสะอาดปราศจากเชื้อโรคในวาทกรรมการแพทย์ และการสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อย่างกับการสร้างสรรค์ทางศิลปะของ “เดอะเฮด”

กระนั้น เส้นทางออกแบบโดยแผนที่ความคิดสร้างสรรค์ต่อชาติ ก็คือ ทุกคนรู้จักการใช้สมองซีกซ้าย ร่วมกับสมองซีกขวาเหมือนการเขียนรูป (18) เพื่อออกแบบเขียนรูปวาดในการสร้างสรรค์ของความดีงาม ควบคู่กับเหตุผล เพื่อความงดงามในการมองเห็นชีวิตของคนในชาติ จากหนังสือเรื่องชุมชนจินตกรรม บทสะท้อนว่าด้วยกำเนิด และการแพร่ขยายของชาตินิยม กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของหนังสือเล่มนี้ ก็คือ การเสนอแนะบางประการ ในการตีความที่น่าจะพอใจได้มากกว่าเกี่ยวกับ “ความวิปริต” ของลัทธิชาตินิยม ประเด็นเริ่มต้นของผู้เขียน ก็คือ เรื่องสัญชาติ (nationality) หรือดังที่บางคนอาจจะชอบใช้คำที่มีความหมายสำคัญมากกว่า เช่น ความเป็นชาติ (nation-ness) หรือลัทธิชาตินิยม (nationalism) ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งประดิษฐ์ทางวัฒนธรรมจำเพาะชนิดหนึ่ง เพื่อที่จะเข้าใจสิ่งนี้อย่างถูกต้อง

สิ่งที่เราต้องการก็คือการพิจารณาอย่างระมัดระวังว่าสิ่งนี้มาปรากฏดำรงอยู่ในประวัติศาสตร์ได้อย่างไร ในวิถีทางใดที่ความหมายของสิ่งนี้เปลี่ยนแปลงไปตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา และทำไมทุกวันนี้ สิ่งนี้ถึงควบคุมความชอบธรรมในเชิงอารมณ์ความรู้สึกอย่างลึกซึ้งเช่นนั้น ผู้เขียนพยายามที่จะเสนอว่า การสรรค์สร้างสิ่งประดิษฐ์นี้ขึ้นมานับแต่ปลายศตวรรษที่ 18 คือ การกลั่นตัวแบบเป็นไปเองของ ‘การข้ามไขว้ไปมา’ ที่สลับซับซ้อนของพลังทางประวัติศาสตร์ที่แยกออกจากกัน แต่นั่น ทันใดที่การสรรค์สร้างเกิดขึ้น สิ่งนี้ก็เริ่มกลายเป็นแบบมาตรฐาน (modular) สามารถนำไปปลูกลงบนพื้นที่ทางสังคมที่แตกต่างหลากหลาย ด้วยระดับของจิตสำนึกต่อตัวเองที่แตกต่างกัน และถูกรวมเข้ากันกับกลุ่มทางอุดมการณ์และกลุ่มทางการเมือง ที่แตกต่างหลากหลายกว้างขวางไพศาลได้อย่างสอดคล้องต้องกัน….(19)

อย่างไรก็ตาม เรากำลังถูกท้าท้ายมาตรฐานในการตีความประชาธิปไตย และการก้าวข้ามประชาธิปไตยแบบไทยๆ ให้เป็นมาตรฐานสากล และเราไม่นำประชาธิปไตยก้าวข้ามไปสู่เผด็จการ โดยย้อนดูในจุดกำเนิดของชาตินิยมที่เป็นประชาธิปไตย ในปี 2475 เหมือนกับที่เกษียร เตชะพีระ เสนอก็คือ "ความเป็นคนชาติเดียวกัน" ก็คือ กำลังเสนอว่า ในสิ่งที่คุณเรียกว่าเป็น"ชาติ" ไม่เพียงแต่เท่ากัน แต่ในความเท่ากันนั้นเกิดจากความเหมือนกันอย่างยิ่ง เวลาที่เราบอกว่าเราเป็นคนชาติเดียวกัน มันมีอะไรบางอย่างในความเป็นชาติ ที่ทำให้เราทั้งหมดเป็นก้อนเดียวกัน โดยมันมีความเป็นปึกแผ่นเดียวกันอย่างยิ่ง แล้วสิ่งที่ทำให้เราเท่ากัน โดยถ้าเราเท่ากัน แล้วถ้าชาติมันมีความเป็นปึกแผ่นเดียวกัน มันมีความเสมอเหมือนกันยิ่งแล้ว ซึ่งมันนำไปสู่คนเราเท่ากัน อำนาจย่อมเกิดจากตัวเลข

ถ้าเราลองนึกถึงครอบครัว สมมุติว่ามีพ่อ แม่ และลูกอีก 3 คน, ถ้าพ่อบอกว่าวันนี้พ่อจะไปกินอาหารเยอรมัน แล้วลูก 3 คนบอกว่าวันนี้จะไปดูหนัง ในระบอบการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ถามว่า เราจะไปไหน ? ก็ไปกินอาหารเยอรมันใช่ไหม ถึงแม้ว่าลูกจะ 3 เสียง ต่อพ่อ 1 เสียง ที่เสียงข้างมากแพ้เสียงข้างน้อยในระบอบพ่อปกครองครอบครัว เพราะคนเราไม่เท่ากัน ในเงื่อนไขของครอบครัว และอำนาจพ่อโดยสถานะที่เป็นไปโดยอัตโนมัติ ,"พ่อ"ถือว่าใหญ่กว่า"ลูก"อยู่แล้ว ...แต่ถ้าเรากำลังจินตนาการถึงสังคมหนึ่ง ซึ่งประการที่หนึ่งคนเราเท่ากันอย่างยิ่ง, ประการที่สองที่เราเท่ากันเพราะเราเป็นคนชาติเดียวกัน. เมื่อคนเราเท่ากัน ไม่มีเหตุผลใดๆที่พอจะฟังขึ้น ที่ทำไมคนที่เท่ากันบางคน จึงควรจะมีสิทธิปกครองเหนือคนที่เท่ากันอีกจำนวนมากได้. ถ้าเท่ากันจริง อำนาจย่อมไปอยู่กับคนที่เท่ากันเหล่านั้นที่มีจำนวนมาก ก็คือนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า ในชาติที่คนเราเท่ากันแล้วเป็นปึกแผ่นที่เสมอเหมือนกันนี่ มันควรที่จะปกครองในระบอบประชาธิปไตย(20)....

โดยสรุปอย่างย่อว่า ผู้เขียนต้องการชี้ให้เห็นในประเด็นใหญ่“Big Cleaning Day และเดอะเฮด” ในแง่ของสัญลักษณ์การสร้างอารมณ์ความรู้สึกของคนในชาติว่า แม้กระทั่งประเด็นพื้นฐานของคนในชาติ กำลังถูกท้าทายว่าคนเราเท่ากัน อำนาจย่อมเกิดจากตัวเลข ใครได้เสียงเลือกตั้งมากกว่า คนนั้นชนะ ตัวเลขมากกว่ามีอำนาจมากกว่า ตัวเลขน้อยกว่ามีอำนาจน้อยกว่า แต่ทุกคนมีสิทธิเท่ากัน รวมทั้งสิทธิของเสียงข้างน้อยที่เห็นต่างออกไป ไม่เช่นนั้นบางคน ก็รู้สึกความเป็นไพร่ในตัวเอง ซึ่งรู้สึกถึงความไม่เท่าเทียมในความเป็นไพร่ คือ ชนชั้นกลางระดับล่าง ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ทั้งที่ไม่ใช่ไพร่มีสังกัดอย่างอดีต แต่ว่าอารมณ์ความรู้สึกของคนที่รู้สึกเป็นไพร่ ที่รัฐทำกับประชาชน ทำให้เกิดตนเองรู้สึกสำนึกถึงเหมือนสมาชิกสังกัดไพร่อย่างไม่เป็นทางการ

นั่นแหละเป็นปัญหาในหัวสมองของเรา แม้ว่ารัฐ และผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ จะพยายามร่วมมือกับประชาชนสร้างจินตนาการของชาติ โดยกิจกรรม Big Cleaning Day ทำความสะอาดกรุงเทพฯเพียงเท่านั้น แต่ว่า ปฏิบัติการต่อเนื่อง คือ พรก.สถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นเครื่องมือควบคุมทัศนะการมองเห็นของคนชั้นกลางในกรุงเทพฯ และรัฐควบคุมความคิดเห็นต่างของคน เหมือนกับที่รัฐพยายามบอกว่าสังกัดคนละสมาชิกพรรคการเมืองทั้งทางการและไม่ทางการ สังกัดคนละเสื้อสีไม่อาจอยู่ร่วมกันได้ จนกระทั่ง รัฐของสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ก็ทำหน้าที่ควบคุมผู้คน เหมือนถูกปิดหู ปิดตา ปิดปาก และหลายคนถูกจับตัวไว้

ทั้งนี้ คนไทย ที่มีสัญชาติ เหมือนกับมีหูและจมูก องค์ประกอบของร่างกาย แต่ว่าคนไทยที่ตาย ยังไม่ได้รับความยุติธรรม แล้วยังอยู่กับสองมาตรฐานทางการเมือง ที่ยังไม่ยอมรับกันเอง แล้วเมื่อไหร่คนไทยจะสามารถพัฒนาสมองหรือก็คือสติปัญญา สำหรับการสร้างชาติโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์เยียวยากัน ซึ่งฤทธิ์ของยา ก็ยังไม่แสดงออกมาเพื่อทางออกร่วมกับรัฐ ซึ่งรัฐควรยอมรับผิดชอบต่อการสูญเสียของลูกกำพร้าทั้งหลาย ที่สูญเสียพ่อในครอบครัวไป นับตั้งแต่ลุงนวมทอง พลีชีพเพื่อชาติ เพื่อประชาธิปไตย และฆ่าตัวตายต่อต้านรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นต้นมา

ดังนั้น นับจากจุดเริ่มต้นของประชาธิปไตยของครอบครัวในความรัก ผูกพันใกล้ชิดของพ่อแม่ต่อลูกเป็นความสัมพันธ์ของการเชื่อมโยงความรู้สึกรักที่มั่นคงภายในครอบครัว และก็คนสูญเสียชีวิต สูญหาย ไปจากเครือญาติของคนไทย ก็ยังไม่จบอยู่ในหัวสมอง หรือตัวอย่างงานศิลปะเดอะเฮด เป็นเหมือนภาพแสดงไฟแค้นฝังหัวใจคนเสื้อแดง ซึ่งไม่ใช่แค่กิจกรรม Big Cleaning Day ในกรุงเทพฯ จึงไม่เพียงพอบรรเทาต่อการแก้ไขความขัดแย้งต่อการเผาศาลากลางทางภาคอีสาน อื่นๆ ซึ่งก็ใช้ไฟจากธรรมชาติเผาไหม้อาคาร แสดงออกไม่พอใจต่อการสูญเสียชีวิตไปของผู้ถูกยิงจากวัสดุลูกปืน อาวุธ ทั้งตายและบาดเจ็บต่างๆนานา แล้วเส้นทางออกปลดปล่อยความจริงให้คนไทย

จากการสร้างอำนาจเพื่อสถาปนาวาทกรรมผู้ก่อการร้ายต่อชาติ ในหัวสมองคน โดยต่อไปพลังประชาชนจะสร้างอารมณ์ความรู้สึกสร้างสรรค์ต่อในหัวสมองของคนในชาติ รับรู้ความจริง เพื่อเข้าถึงประชาธิปไตยให้ได้ เพราะว่า การสร้างตึก สร้างสถานการณ์ ทำได้ แต่ว่าสร้างชีวิตของคนที่ตายให้กลับคืนมาไม่สามารถทำได้

ฉะนั้น ปัญหาหัวใจทางการเมืองจากอดีตในแง่มุมเกี่ยวข้องหัวสมองของคนไทย และHead of state จนถึงปัจจุบัน แล้วเราร่วมทบทวนอดีตสำหรับเรื่องความทรงจำของภาพความเคลื่อนไหวของนปช. หรือประชาชน จังหวะก้าวหน้าของประชาชนในแง่มุมภาพรวม และปัญหาที่หลงลืมเพื่อความเข้าใจในตราชั่งของความยุติธรรม และความชอบธรรมสู่ความก้าวหน้าไปในที่สุด

ส่วนสรุปบทเรียนของธรรมชาติแห่งความขัดแย้ง ในความหวัง ความฝัน ให้เป็นความจริง โดยช่วงเวลาเฉพาะหน้าทางเลือกในระยะสั้นที่สุด คือ รัฐบาลใหม่จากการเลือกตั้งเพื่อประเทศไทย และการสร้างอารมณ์ความรู้สึกเข้าใจชาติ และประชาธิปไตย ในระยะยาวเกี่ยวพันคนไทยเพื่อยุคสมัยต่อมาลูกหลานของเรา สำหรับคนรุ่นต่อไป จะไม่มองย้อนกลับมาดูถูกดูแคลนเราว่าไม่สร้างสรรค์เพื่อชีวิต ซึ่งประชาชนเป็นพลังของการพยายามพัฒนาสมอง สร้างความคิด และวัตถุวัฒนธรรม โดยสร้างอารมณ์ความรู้สึกในทางสร้างสรรค์ต่อชาติ และร่วมนิยามในความหมายของประชาธิปไตย

ที่มีภาพอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยของประชาชนอยู่ในหัวสมองอย่างแท้จริง


อ้างอิง
1.ผู้ว่าฯกทม.เปิดกิจกรรม Big Cleaning Day ดึงพลังคนกรุงร่วมฟื้นฟูเมืองหลวง สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม 2553 13:13:25 น.
http://www.ryt9.com/s/iq01/905155

2.เกษียร เตชะพีระ สอนหนังสือชุมชนจินตกรรมของครูเบ็น http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2009q1/2009february06p7.htm

3.ที่มา"เดอะเฮด"หน้าเซ็นทรัลเวิลด์ วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7116 ข่าวสดรายวัน หน้า 25
http://www.khaosod.co.th/view_news.phpnewsid=TUROc1lXUXdNekkwTURVMU13PT0=§ionid=TURNeE5BPT0=&day=TWpBeE1DMHdOUzB5TkE9PQ

4.ดูเพิ่มเติมหลายตอน : รศ. สายชล สัตยานุรักษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การสร้างความเป็นไทยกระแสหลัก และ"ความจริง"ที่"ความเป็นไทย"สร้าง (ตอนที่ ๑) http://midnightuniv.org/midnight2545/document9581.html


5. GEORGE NELSON How to See: A Guide to Reading Our Manmade Environment

6.อู่ทอง โฆวินฑะ นิทเช่ : การอ่านคืองานศิลปะ


7.อีกมุม เซ็นทรัลเวิลด์ ถูกเพลิงเผา ฮวงจุ้ย ก็มีเอี่ยว?
http://news.impaqmsn.com/articles_hn.aspx?id=332327&ch=hn

8.อรรคพล สาตุ้ม ระลึกถึงลุงนวมทอง ไพรวัลย์ ในฐานะญาติร่วมชาติไทยในเดือนตุลาคม และ14 ตุลา 2516 บนถนนราชดำเนิน – หลัง 13 ธันวา 2551: “เครื่องมือ” ทางการเมืองของคนไทย

9.ดูเพิ่มเติม :รศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ : ความแตกสลายของอุดมการณ์เดือนตุลาในปี พ.ศ. 2549 เมื่อ double false consciousness และ self-righteousness บังเกิดขึ้นในสังคมการเมืองไทย http://invisiblenews.exteen.com/20061018/2549-double-false-consciousness-self-righteousness

10. DeepSouthWatch “ผมขอกล่าวคำขอโทษด้วยใจจริง” ปากคำประวัติศาสตร์เพื่อเหยื่อตากใบของ ‘นายกรัฐมนตรี’ Thu, 2006-11-02 19:25 http://www.deepsouthwatch.org/node/39

11.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล วารสารฟ้าเดียวกัน ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 เม.ย.-มิ.ย. 2548 : วิวาทะปฏิรูปการเมืองภาคใต้. หน้า 131

12.ดูเพิ่มเติม : คำบรรยายของ เกษียร เตชะพีระ : "จาก 14 ถึง 6 ตุลา : สองชาตินิยมชนกัน...
www.prachatai.net/journal/2008/01/15388 หรือhttp://oldforum.serithai.net/index.php?topic=20846.0

13.ธงชัย วินิจจะกุล ความอิหลักอิเหลื่อแห่งชาติ เนื่องมาจาก 6 ตุลา 2519 ไม่เป็นประวัติศาสตร์ ไม่มีอนุสาวรีย์ ไม่มีวีรชน ไม่สนใจชีวิต http://www.2519.net/newweb/doc/content1/83.doc

14.สัมภาษณ์ ธงชัย วินิจจะกุล : สงครามประชาชน บทเรียน ปชต.ที่ประเมินค่าไม่ได้ ที่มา เวบไซต์ voicetv 23 ธันวาคม 2552 http://www.voicetv.co.th/programs/intelligence/ หรือhttp://thaienews.blogspot.com/2009/12/blog-post_9936.html

15.สมเกียรติ ตั้งนโม พื้นฐานการเรียนรู้ visual cultureความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางสายตา สาขาจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://www.midnightuniv.org/midnight2545/document9679.html

16.เกษียร เตชะพีระ สอนหนังสือชุมชนจินตกรรมของครูเบ็น http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2009q1/2009february06p7.htm


17.ดูเพิ่มเติม มาลินี คุ้มสุภา อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยกับความหมายที่มองไม่เห็น

18.สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง การเขียนรูปด้วยสมองซีกขวา: สมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
http://www.midnightuniv.org/midnighttext/0009999867.html

19.เบน แอนเดอร์สัน (ฉบับแปล) ชุมชนจินตกรรม บทสะท้อนว่าด้วยกำเนิด และการแพร่ขยายของชาตินิยม หน้า 7

20.ดูเพิ่มเติม เกษียร เตชะพีระ "กระแสชาตินิยม": Nationalism
http://midnightuniv.org/middata/newpage12.html

(*)หมายเหตุ :เพลงDream Before หรือProgress โดยLaurie Anderson เพราะว่าผลงานเพลง Dream Before หรือProgress เพื่อวอเตอร์ เบนจามิน(walter benjamin) เกี่ยวกับ The Angel of History ซึ่งผลงานแปลเป็นไทย คือ ผลงานศิลปะในยุคของการผลิตซ้ำเชิงกลไก โดยอ.สมเกียรติ ตั้งนโม ก็แปลThe Work of Art in the Age of Mechanical Reproduction ส่วนหนึ่งในหนังสือIllumination(ค้นหาจากคลังเก็บข้อมูลย้อนหลังของเว็บมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้) และเราคิดต่อปัญหาของเทวดาแห่งประวัติศาสตร์ กับพยากรณ์อากาศในแง่มุมของอนาคตหลังพายุอย่างไร?

อย่างไรก็ดี กรณีแง่มุมของอ.เบน แอนเดอร์สัน ในหนังสือชุมชนจินตกรรมฯ ในเทวดาแห่งประวัติศาสตร์(The Angel of History) อ้างถึงหนังสือเรื่องIllumination เกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องweekends คือ ดวงตาเทวดาในที่นี้ เปรียบเสมือน กล้องถ่ายเคลื่อนที่ในภาพยนตร์ฝรั่งเศสของL.Godard เรื่องWeekends ซึ่งฉายภาพถอยหลังตลอดให้เราเห็นภาพรถยนต์ คนเจ็บคนตาย ซากปรักหักพังกองแล้วกองเล่า จะค่อยๆผุดขึ้นบนเส้นทางหลวงที่ไร้จุดสิ้นสุด ทอดไปจนสุดขอบฟ้า

ทั้งนี้ ลองดูเนื้อเพลง และฟังเพลงเพิ่มเติม สำหรับบทเพลงทิ้งท้ายของการตีความความขัดแย้ง ปัญหาทางธรรมชาติ ความหวัง และความฝัน ถ้ามองปัญหากลับกัน ก็ทำให้เกิดการพัฒนา แก้ไขปัญหาเพื่อสิ่งที่ดีขึ้นให้เจริญก้าวหน้าได้
ที่เว็บ http://www.davemcnally.com/lyrics/LaurieAnderson/TheDreamBefore.asp
http://www.youtube.com/watch?v=ov4HkjQCyMI

หมายเหตุ*** ดูเพิ่มเติม ที่ไทยอีนิวส์ หรือ ประชาธรรม
http://thaienews.blogspot.com/2011/05/big-cleaning-day.html
http://www.prachatham.com/detail.htm?code=a1_24052011_01

เราเหมือนดูภาพยนตร์คู่รักอกหัก:พันธมิตรฯแตกหักรัฐกระทบเพื่อนบ้านกลายเป็นคู่รบ

เราเหมือนดูภาพยนตร์คู่รักอกหัก:พันธมิตรฯแตกหักรัฐกระทบเพื่อนบ้านกลายเป็นคู่รบ
Sun, 2011-02-20 11:16

อรรคพล สาตุ้ม

..The crisis consists precisely in the fact that the old is dying and the new cannot be born; in this interregnum a great variety of morbid symptoms appear.Antonio Gramsci, Selections from Prison Notebooks, 1971, p.276…

สิ่งที่ผู้เขียนอยากนำเสนอในเดือนแห่งความรัก ที่มีสัญลักษณ์วันวาเลนไทน์กับคู่รักไทยในสมัยใหม่ มีลักษณะร่วมกับสากล ก็คือ ทุกคนยอมรับวันแห่งความรัก และถ้าเรานึกถึงสมมติสร้างภาพยนตร์รักโรแมนติคกับสงคราม โดยถ้าเรารู้สึกเหมือนคนที่อกหัก และเลิกรัก หรือคนรักหายไป เป็นส่วนหนึ่งเหมือนคนที่ต้องการคนรักกลับคืนดี จึงทำให้นึกถึงภาพยนตร์ หรือละครทีวี ที่มีลักษณะปลุกใจรักชาติ และตัวละคร ก็ต้องการเรียกร้องดินแดนที่หายไปอย่างคลุ้มคลั่ง
ในประเทศของเรา ซึ่งถ้าเราเป็นประชา+อธิปไตย=ประชาธิปไตย โดยมีสันติภาพอย่างชอบธรรม ซึ่งเราต้องไม่แตกแยกกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งเรื่องอธิปไตยของอำนาจของรัฐไทยด้วย

บทเรียนภาพยนตร์เรื่องพระเจ้าช้างเผือก : เราไม่มีสุขใดเสมอด้วยสันติภาพ
ประวัติการสร้างภาพยนตร์ในกรณี 2475 เป็นต้นมา ซึ่งมีปรากฏการสร้างภาพยนตร์บันทึกเหตุการณ์ 2475 และต่อมาภาพยนตร์บันทึกเหตุการณ์วันรัฐธรรมนูญ โดยวิธีการของคณะราษฎร ก็ใช้ภาพยนตร์เป็นสื่ออุดมการณ์กับสถาบันทหาร เช่น กรณีภาพยนตร์บันทึกเหตุการณ์ กบฏบวรเดช ในพ.ศ.2477 เป็นชัยชนะของทหารผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญ แน่นอนว่า ภาพยนตร์ยังมีบทบาทต่อสังคมการเมือง ต่อมาทั้งเรื่องภาพยนตร์เลือดทหารไทย ซึ่งผู้เขียนเคยศึกษาเรื่องภาพยนตร์พระเจ้าช้างเผือก และผู้อ่านสามารถดูเพิ่มเติมจากการอ้างอิงนี้(1) จึงคิดถึงประโยคว่า ไม่มีสุขใดเสมอด้วยสันติภาพ ที่มีปรากฏในภาพยนตร์เรื่องพระเจ้าช้างเผือกของปรีดี พนมยงค์ สะท้อนนัยยะของความสงบสุข ดังกล่าวนั้นเอง

จากภาพยนตร์พระเจ้าช้างเผือก โดยสรุปย่อๆ คือ ตัวละครคู่พระเอก นางเอกในเรื่องดังกล่าวไม่ใช่ความจริง แต่นั่นคือ สิ่งสมมติตามประวัติศาสตร์ สัมพันธ์ปมปัญหาแผนที่ และเขตแดนขึ้นมาเป็นปัญหาปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งผู้เขียนเคยอธิบายไปแล้ว จึงอธิบายย่อๆ โดยตั้งแต่สมัยช่วงสงครามอินโดจีน พร้อมบริบทของภาพยนตร์พระเจ้าช้างเผือก ในช่วงพ.ศ.2483 จนกระทั่งในปัจจุบัน และถ้าเรานึกถึงกรณีเหมือนข้อเท็จจริงของความขัดแย้งทางสังคม ไม่ว่าปัญหาแบ่งแยกดินแดนภาคใต้ นับตั้งแต่ปี 2547 ถึงปัจจุบัน ก็มีภาพยนตร์ภาคใต้เพื่อทำความเข้าใจ และผู้เขียนคิดถึงในแง่ประเด็นสร้างการรับรู้ต่อคนไทย(2) และปัญหารัฐระหว่างประเทศ ก็สลับซับซ้อน โดยผู้เขียน ต้องการชี้ให้เห็นภาพร่วมบรรยากาศถึงเดือนแห่งความรัก ที่มีคู่รัก แต่งงานกัน ก็ถ้ามีความรักและความสามัคคีในครอบครัว และลูกสืบทอดต่อมา โดยไม่ขัดแย้งแตกแยกปะทะเลิกแยกทางกัน ซึ่งสะท้อนผ่านพ่อ แม่ เป็นครอบครัวถึงลูกหลาน เป็นส่วนหนึ่งของต้นตระกูลในประเทศไทย

ทั้งนี้ ผู้เขียนอธิบายต่อง่ายๆว่า เช่นเดียวกับยกตัวอย่าง ภาพยนตร์พระเจ้าช้างเผือก ที่มีพระเอก และนางเอกเป็นคู่รัก ซึ่งสร้างจินตนาการต่อมาถึงความรัก และครอบครัว เหมือนละครทีวีเกี่ยวกับสงครามรบ ก็มีเรื่องความรัก มีธง บทเพลงประกอบภาพยนตร์เหมือนละครทีวี และเรื่องราวคู่รัก เป็นครอบครัวสะท้อนภาพส่วนหนึ่งของสายเลือดของครอบครัวเป็นอาณาจักร ในส่วนประกอบความเป็นชาติดังกล่าวเป็นพื้นฐาน เหมือนภาพยนตร์พระเจ้าช้างเผือก จึงยกตัวอย่างเสียงในจินตกรรมของภาพยนตร์ดังกล่าว และอธิบายต่อถึงความรักชาติ หรือรักประเทศ ก็ไม่ได้แตกต่างจากความรักแบบอื่นๆ ในแง่ที่ต้องมีองค์ประกอบของการจินตนาการถึงความรักรวมอยู่ด้วย(3)

อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนอธิบายส่วนองค์ประกอบการแย่งชิงอำนาจฝ่ายต้องการ ชัยชนะในความรัก และฉายภาพเรื่องตัวละคร คือ คนอกหักจากอำนาจ ต้องการแย่งชิงต่อสู้แตกหัก รอเวลากลับมาในสังคม เพราะคนอกหัก ตกอยู่ภายใต้สภาวะแปลกแยก กลายเป็นคนแตกแยกกับสังคม โดยคู่รัก ที่มีบ้านหลังหนึ่งเหมือนประเทศ ซึ่งมีพ่อแม่ของคู่รักอยู่ในบ้าน แต่ว่าคู่รักหรือคู่ขัดแย้งชนเพื่อนบ้าน ที่อยู่ข้างบ้านเหมือนประเทศเพื่อนบ้าน ในขณะนี้ คือ เสื้อเหลืองกับรัฐอภิสิทธิ์จากเดิมเป็นคู่รักกัน เปลี่ยนไปเหมือนคู่รักทะเลาะกันเป็นความย้อนแย้งนั่นเอง ส่วนเสื้อแดง ถ้าเราไม่อยากยุ่งเรื่องคู่รักขัดแย้งกัน เหมือนเราดูภาพยนตร์และละครทีวีเกี่ยวกับสงคราม การต่อสู้และความรักก็ซาบซึ้งแล้ว

การเมืองเหมือนภาพยนตร์พันธมิตรฯเป็นคู่รักอกหักรัฐ กระทบเพื่อนบ้านเป็นคู่รบไม่เข้าใจกัน
การเมืองของพันธมิตรฯ กำลังไปสู่การต่อสู้กับเส้นตายโดยรัฐบาล ซึ่งผู้เขียนได้เคยเขียนในประชาไทอย่างต่อเนื่องมาแล้ว ในส่วนของเรื่องเส้นเขตแดน-ม็อบมีเส้น กับสถานการณ์ทางการเมือง รวมทั้งเรื่อง “ปัญหารัฐธรรมนูญ 2550 :นิยายและความจริง ในภาพสะท้อนเราใกล้ชิดเส้นชัย” และ“เกร็ดเรื่องวันกองทัพไทย และ…สู่อนาคตทหารไทยนี้รักสงบ” แต่ถึงรบไม่ขลาดตามแบบเพลงชาติ ที่มีเรื่องทหารไทยกับทหารกัมพูชา และม็อบพันธมิตรฯ ก็วิเคราะห์ในมุมมองจากจำนวนของผู้ชุมนุม หรืออะไรก็ตาม แต่ผู้เขียนโฟกัสไปที่สถานการณ์ระส่ำระส่ายของความเคลื่อนไหว เช่น ประธานสภาฯ คือ ชัย ชิดชอบ ออกตัวนัยยะต้องดูวันที่ 18 ก.พ.(วันมาฆบูชา) ซึ่งปัญหาชายแดนการสู้รบที่ผ่านมา ก็ทำให้เห็นภาพพันธมิตรแจกของช่วยเหลือผู้ประสบภัยทั้งชาวบ้าน-ทหาร โดยสะท้อนต้นทุน และผู้สนับสนุนต่อพันธมิตรฯด้วย



โดยสาเหตุการเชิดชูสนับสนุนชาตินิยม ก็รักชาติมาก่อนทั้งรัฐบาลและเสื้อเหลือง เหมือนพันธมิตรฯกับรัฐบาลในอดีตเป็นคู่รักกลับกลายเป็นคู่ขัดแย้งเป็นคู่รบ ก็เป็นสิ่งที่ผู้เขียนวิเคราะห์ไว้ว่าพันธมิตรฯ จะชนะรัฐบาลได้ ในรูปแบบใด สักอย่างก็ตาม ซึ่งผู้เขียน ไม่กลัวผิดพลาดในการวิเคราะห์ โดยบ่อยครั้งที่ผู้เขียนยังวิเคราะห์สาวไม่ถูก ก็ตลกอกหักบ่อยๆ เนื่องโดยส่วนตัวไม่อยากให้มีรัฐประหาร เพราะส่วนตัวก็ไม่ได้ยินดีเท่าไหร่ ให้พันธมิตรชนะแถมเกรงว่าจะสูญเสียเลือดเนื้อชีวิต ต่างๆนานา โดยผู้เขียนพยายามวิเคราะห์ตามความเป็นจริง แล้วการประเมินเกมส์ไพ่การเมืองอย่างเป็นจริง

เมื่อถ้าเรานึกถึงภาพยนตร์เรื่องสงครามของจีนต่างๆ ซึ่งมักอ้างตำราพิชัยสงครามของซุนวู ในเรื่องรู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง(ลองดูเพิ่มเติมข้อมูลตำราฯบางส่วนในวิกกีพีเดียภาษาไทย) และประเด็นสำหรับมุมมองของผู้เขียน คือ ส่วนใหญ่แล้วฝ่ายที่ชนะนั้น จะรู้ว่าจะรบก่อน จึงออกรบ ดังกล่าวนั้น

ซึ่งพล.ต.จำลอง ศรีเมือง อาจจะไม่ได้อ่านตำราพิชัยสงคราม แต่ว่าจำลอง เคยเป็นทหารรบมาก่อน และก็อาการพูดของพล.ต.จำลอง น่าสนใจในภาวะเหมือนคนอกหัก หรือแตกหักกับรัฐบาล โดยจำลองกล่าวว่า “ตนได้ร่วมกับพี่น้องประชาชนบางกลุ่มบางเหล่า ต่อต้านคัดค้านเพื่อบ้านเมืองมา แล้วทั้งหมด 8 ครั้ง แต่ละครั้งแทบไม่เห็นชัยชนะ แต่ไม่รู้เป็นไงชนะทุกครั้ง และครั้งที่ 9 นี้แพ้ไม่ได้ ครั้งนี้ถ้าแพ้หมายถึงคนไทยทั้งหมดแพ้ เพราะดินแดนเป็นของคนไทย 63 ล้านคน เพราะฉะนั้นคราวนี้ไม่มีทางแพ้ สู้ที่นี่ สู้ตรงนี้ สู้จนชนะ” เป็นต้น

ฉะนั้น น่าสังเกตว่า คนที่รู้ว่าจะชนะ จึงออกมารบนั่นแหละ เพราะเหตุการณ์เลื่อนการชุมนุมมาตั้งแต่เดือนพ.ย.-ธ.ค.53 ถ้าเรายังทบทวนจำกันได้ คือ การเปิดเกมต่อมาปลายเดือนธ.ค.ในเรื่องคนไทยทั้ง7คนและการเคลื่อนขบวนของกองทัพธรรมโดยสันติอโศก ซึ่งการเคลื่อนทัพ ถ้าเราเคยดูภาพยนตร์กันมา ก็เป็นระบบ-ระเบียบอย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งในแง่การทำงานทหารของจำลอง ต้องประเมินการรบมาก่อนอยู่แล้วและองค์ประกอบก็ขึ้นอยู่กับบุคคลเบื้องหลัง โดยข้อน่าสังเกต ก็คือ พลเอก เปรม ตั้งแต่ข่าวออกมาว่า ห่วง 7 คนไทย และต่อมา ก็วีระ สมความคิดติดคุก ฯลฯ รวมทั้งสถานการณ์สู้รบชายแดนจริง เหมือนภาพยนตร์เกี่ยวกับสงคราม และละครทีวีเกี่ยวกับสงคราม

ความย้อนแย้ง “คู่รัก เปลี่ยนเป็นคู่รบ” บ่งชี้อาการผิดปกติของการแตกหักทางการเมือง
ปัญหาของการเมืองไทยเป็นเรื่องการเมืองภายในของเสื้อเหลืองกับรัฐบาล ล้ำเส้นเข้าสู่ปัญหาของกัมพูชา สิ่งที่ผู้เขียน ก็อ้างAntonio Gramsci และการปรากฏ(appear) ทำให้เกิดปรากฏการณ์แบบนี้เป็นเรื่องอาการผิดปกติของการแตกหักทางการเมือง และปัญหาการแจกของให้สงครามของพันธมิตร เป็นมากกว่าการไปช่วยแจกของให้ผู้ ประสบภัยน้ำท่วม แม้ว่าพันธมิตรฯ จะสร้างแนวร่วมก็แล้ว แต่การปลุกใจให้รุกฆาต ก็ส่งผลกระทบต่อผู้อยู่ชายแดน และการเมืองของรัฐบาล ก็ถูกพันธมิตรฯ รุกต่อสู้ทางอุดมการณ์อย่างไม่หยุดนิ่งนั่นเอง

ส่วนทางฝ่ายรัฐ แก้ปัญหาโดยอ้างใช้พรบ.การชุมนุมฯ โดยเราเห็นเพียงตำรวจ แต่เราไม่เห็นทหาร ในกรณีหนึ่ง ที่มีปัญหากับเสื้อแดงในเหตุการณ์ปี2553 โดยน่าสนใจว่า ทหารของหน่วยปฏิบัติการจิตวิทยาที่หน้ากรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ซึ่งสร้างความเข้าใจโดยบอกวิธีว่า “..ถ้าฝ่ายตรงข้ามมีขวัญและกำลังใจที่ดี เราก็ต้องใช้หลักธรรมชาติ คือการชี้แจงซ้ำๆ ชี้แจงบ่อยๆ ต้องใช้ลูกตื๊อ เหมือนกับเราไปจีบสาวสักคน ครั้งแรกเขาอาจจะไม่ชอบเรา แต่ต่อมาก็ต้องคิดกันแหละครับว่าจะทำยังไงต่อไป สาวคนนี้เขาชอบไม่ชอบอะไร และต้องพูดจาแบบไหนเขาจึงจะชอบ..”(สงครามจิตวิทยา และดูข้อมูลเพิ่มเติมตามอ้างอิง) เป็นการกล่าวของพันโทกอสิน กัมปนยุทธ์ ผู้บังคับกองพันปฏิบัติการจิตวิทยา (ปจว.) กรมรบพิเศษที่ 2 หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ(4) เป็นต้น

ดังนั้น นี่เป็นการยกตัวอย่างจากเสื้อแดงพลิกกลับมาเป็นเสื้อเหลือง เหมือนคู่รักขัดแย้งกัน ไม่มีใครเป็นผู้ฟังใครอย่างชอบเข้าใจกัน ก็มีแต่คนพูดโวยวายต้องการชัยชนะใส่กันภายในบ้าน และพ่อแม่ ที่อยู่ในบ้านก็ห้ามปรามไม่ได้ ซึ่งกรณีความเป็นจริงที่พันธมิตรฯ บอกว่าอภิสิทธิ์ ยกดินแดนให้กัมพูชา ทำให้ไทยเสียดินแดนและการสู้รบของไทยกับกัมพูชา ซึ่งถ้าเราคิดเป็นตัวละคร ภาพยนตร์ และตัวละครทีวี ในมุมมองเหมือนรัฐอภิสิทธิ์ เป็นกิ๊ก หรือชู้รักกับกัมพูชา ไม่จงรักภักดีกับเสื้อเหลือง และเสื้อแดงไม่เกี่ยวแง่มุมอยู่ห่างๆสงบๆไว้เป็นทางเลือก ก็รอดูชัยชนะของพันธมิตรเป็นการต่อสู้ของคู่รัก กลายเป็นคู่รบ เพื่อสร้างเงื่อนไขต่อไปในอนาคต ซึ่งผู้เขียนในฐานะของคนที่มีส่วนเข้าร่วมกิจกรรมสันติภาพ ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เมื่อวันที่ 7 ก.พ.54 ที่ผ่านมา ก็ตระหนักถึงความรัก เท่านั้นจะยาวนาน โดยความทรงจำทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้องของเรา จะเป็นบทเรียนเยียวยาให้รักเรายาว

อย่างไรก็ตาม บางครั้งเมื่อเราเห็นคนอกหักต้องการเวลา ถ้าทั้งสองฝ่ายในที่สุดจะคืนดีกัน หรือตั้งแต่แรก ทั้งสองฝ่ายแอบซ่อนความรักต่อกันไม่ ได้แสดงออกมา อยู่เบื้องหลัง และสองฝ่ายแสดงละครตีบทแตก เพื่อให้คนดูตกใจ และพะวงกับเรื่องพวกนี้ จนลืมปัญหาของเสื้อแดงไป และคนในบ้านเมืองแตกความรักสามัคคีก็ต้องการเวลา ส่วนเสื้อแดงก็รอไปก่อนใช้เวลาสะสมกำลังพลไว้ เพราะสงครามยืดเยื้อเหมือนในภาพยนตร์เกี่ยวกับการต่อสู้ทางการเมือง หรือที่เราเห็นในละครทีวี ซึ่งรอวันเราเข้าใจเขาเข้าใจเรา สร้างแนวร่วม และสิ่งใหม่ไทยล้วนหมายรักสามัคคี(Solidarity)กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยไทยเป็นประชาธิปไตยและสันติภาพเป็นสากล





อ้างอิง

1. อรรคพล สาตุ้ม “ย้อนดูภาพยนตร์ ‘พระเจ้าช้างเผือก’ สงคราม สันติภาพ และชาตินิยม”

http://www.artgazine.com/shoutouts/viewtopic.php?p=4080

2.อาสา คำภา,อรรคพล สาตุ้ม “มุสลิมในการรับรู้ของคนไทย : องค์ความรู้ที่สะท้อนถึงความไม่เข้าใจต่อความจริง” ฟ้าเดียวกัน ปีที่2 ฉ.3 กรกฏาคม-กันยายน 2547

3.เบน แอนเดอร์สัน(ฉบับแปล) ชุมชนจินตกรรม บทสะท้อนว่าด้วยกำเนิดและการแพร่ขยายของชาตินิยม :281

4.ม็อบ VS ทหาร ปฏิบัติการจิตวิทยา : สงครามไร้กระสุน โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 18 มีนาคม 2553 19:38 น.

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9530000038351


หมายเหตุ:ดูเพิ่มเติม ที่ประชาไท หรือไทยอีนิวส์
http://www.prachatai.com/journal/2011/02/33206

วันศุกร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2554

เกร็ดเรื่อง “วันกองทัพไทย” และ .. สู่อนาคต “ทหารไทยนี้รักสงบ”

เกร็ดเรื่อง “วันกองทัพไทย” และ .. สู่อนาคต “ทหารไทยนี้รักสงบ”
Wed, 2011-01-19 18:46

อรรคพล สาตุ้ม


เนื่องจากวันกองทัพไทย [*] นั้นมีความสลับซับซ้อนกับความสัมพันธ์เชิงประวัติศาสตร์ไม่น้อย จากวันที่ 28 กรกฎาคม 2484 อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ชัยชนะในสงครามอินโดจีน [1] และต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงมาเป็นวันที่ 25 มกราคม ที่เชื่อมโยงกับวันยุทธหัตถีของพระนเรศวร ต่อมาในสมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารบก ในปี พ.ศ.2502 กระทรวงกลาโหมเห็นสมควรรวมวันที่ระลึกถึงกองทัพบก,กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ มาเป็นวันเดียวกัน คือ วันที่ระลึกกระทรวงกลาโหม ในวันที่ 8 เมษายน และให้เรียกว่า “วันกองทัพไทย”

จนกระทั่งต่อมาก็กลับมาใช้วันที่ 25 มกราคม เป็นวันกองทัพไทยอีกครั้งในสมัยพลเอกเปรม จากนั้นสมัยของรัฐบาลทักษิณ(22 สิงหาคม 2549) ก็มาเปลี่ยนมาเป็นวันที่ 18 มกราคม ผู้เขียนเห็นว่า การเมืองทำหน้าที่เชื่อมโยงวีรกรรมของพระนเรศวรในอดีตนั้นเอง แตกต่างจากวีรกรรมของชนชั้น ในคนธรรมดา สามัญ ซึ่งเราสามารถเข้าใจประเด็นชนชั้นจากวันดังกล่าว มาสู่ประเด็นทางการเมืองช่วง เปลี่ยนผ่านโครงสร้าง ความเชื่อ อุดมการณ์ ลัทธิทหารนิยม และสภาพแวดล้อมของกองทัพ ที่เหมือนมีบ้าน พ่อ แม่ พี่น้อง แล้วทหารเป็นคนดูแลรั้วบ้าน


ก่อนและหลัง 24 มิถุนา 2475 ถึงกองทัพภายใต้อิทธิพลอเมริกา

ยุคสมัยที่ทหารเปลี่ยนรากฐานจากการเป็นกองทัพของราชา จากเมื่อก่อนใช้โครงสร้างกองทัพจากอินเดียตามความเชื่อและอุดมการณ์ดังกล่าว เปลี่ยนมาเป็นแบบยุโรป ในสมัย ร.5 สู่การปรับโครงสร้างของกองทัพเป็นแบบอเมริกาหลัง 2475 ในสมัยการสร้างชาติ และกองทัพ ของจอมพล ป. โดยปี พ.ศ. 2482 "ประเทศสยาม" ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ประเทศไทย" รัฐบาลจึงได้จัดประกวดเนื้อร้องเพลงชาติไทยใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงชื่อประเทศ โดยกำหนดเงื่อนไขยังคงใช้ทำนองของพระเจนดุริยางค์อยู่เช่นเดิม แต่กำหนดให้มีเนื้อร้องความยาวเพียง 8 วรรคเท่านั้น และปรากฏคำว่า "ไทย" ซึ่งเป็นชื่อประเทศอยู่ในเพลงด้วย ผลการประกวดปรากฏว่าเนื้อร้องของพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ ซึ่งส่งประกวดในนามกองทัพบกได้รับรางวัลชนะเลิศ รัฐบาลไทยจึงได้ประกาศรับรองให้ใช้เป็นเนื้อร้องเพลงชาติไทย โดยแก้ไขคำร้องจากต้นฉบับที่ส่งประกวดเล็กน้อย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2482 และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

จากนั้นนับตั้งแต่การเมืองหลังปี 2500 ที่จอมพลสฤษดิ์ได้เปลี่ยนวันกองทัพดังที่ได้กล่าวไป ซึ่งกองทัพพยายามทำการปรับเปลี่ยนจากระบบโครงสร้างตามอเมริกา ภายใต้การต่อสู้กับกองกำลังคอมมิวนิสต์ สมัยรัฐบาลทหารในช่วงปี2514-19 จนกระทั่งช่วงที่มีรัฐบาลพลเรือนขึ้นมา คือ มรว.เสนีย์ ปราโมช เป็นรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม (27 สิงหาคม พ.ศ. 2519-23 กันยายน พ.ศ. 2519) โดยพลเรือนคนแรกที่ได้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมกองทัพได้

ต่อมา คือยุคสมัย 6 ตุลา ที่มีการสร้างวาทกรรม ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป สร้างอุดมการณ์รัก ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ อย่างเข้มข้น มีการปลุกระดมให้เกิดการฆ่า “คนอื่น” (เป็นญวน หรือเวียดนาม) ในเหตุการณ์นองเลือด 6 ตุลา ซึ่งรัฐทหาร ฆ่าคนไม่ใช่ประชาชนไทย จนกระทั่ง การเปลี่ยนผ่านมาสู่ช่วงสมัย หลังพลเอก เปรม เป็นนายก ก็มาถึงยุคของชาติชาย ซึ่งแสดงความสามารถผ่านแบรนด์ที่ว่าสามารถควบคุมกองทัพได้ หลังจากผ่านช่วงประชาธิปไตยครึ่งใบ และเราได้นายกฯ จากการเลือกตั้ง ซึ่งสมัยนั้น พล.อ.ชวลิต เป็น ผบ.ทบ. ก็ไม่มีการปฏิวัติ หรือ รัฐประหารขึ้นมา และชวลิต ก็แสดงออกถึงความเป็นทหารอาชีพ และลดบทบาทกองทัพจำกัด ภายใต้กรอบประชาธิปไตย

ข้อเสนอการปรับโครงสร้างกองทัพก่อนและหลังพฤษภา 2535

ภายใต้การนำของนายกชาติชาย ที่ชูนโยบายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า ที่สอดคล้องกับการพยายามดึงทหารกลับกรมกอง เพื่อให้ทหารเป็นทหารอาชีพไม่ยุ่งกับการปฏิวัติและรัฐประหาร ซึ่งนโยบายดังกล่าว เกี่ยวโยงกองทัพ และการปรับตัวภายใต้เศรษฐกิจโลกและไทย ความพยายามจะเป็นนิกส์ เป็นเสือตัวที่ 5 ภายใต้โมเดลนิกส์ เป็นประเทศอุตสาหกรรมตามเกาหลีใต้ ฮ่องกง สิงคโปร์ และไต้หวัน ซึ่งประเทศเหล่านี้ เป็นโมเดลหรือตัวแบบของการพัฒนา เศรษฐกิจ ในช่วงเวลานั้น กลุ่มเศรษฐศาสตร์การเมืองก็เคยเชิญพวกพันศักดิ์ และไกรศักดิ์ มาวิเคราะห์เศรษฐกิจในช่วงนั้น ก็มีประเด็นถกเถียงเรื่องโมเดลดังกล่าว ซึ่งน่าสังเกตว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมนั้น จะต้องไม่มีทหารมายุ่งเกี่ยวทางการเมืองอีกแล้ว แต่ก็ไม่เป็นดังที่วาดฝันไว้เมื่อเกิดการรัฐประหาร รสช. ในกาลต่อมา

จากช่วงเหตุการณ์ก่อนพฤษภา 2535 ที่พรรคพลังธรรม พรรคความหวังใหม่ พรรคประชาธิปัตย์ ได้เรียกร้องประชาธิปไตยและหาเสียงลดอำนาจทหาร เรียกร้องให้มีการเลือกตั้งที่มีความชอบธรรม และให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น

ต่อมาไทยก็ได้รับบทเรียนจากวิกฤติการณ์ทางการเมืองในช่วงพฤษภาปี 2535 ซึ่งในตอนนั้นไม่อาจสามารถอ้างว่าฆ่าคนญวนได้อีกต่อไป เพราะเราก็รู้ว่าในโลกหลังสงครามเย็นทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดจีน ซึ่งเราได้เคยเรียนรู้มาจากประวัติศาสตร์เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า ทำให้เรารู้ว่า ชนชั้นกลาง และแรงงาน ต่างๆนานา รับไม่ได้กับการย้อนกลับสู่ระบบอำนาจนิยมโดยทหาร ทำให้เผด็จการครองประเทศอีกต่อไป

จากนั้นเริ่มมีไอเดียนำเสนอปฏิรูปกองทัพ เช่น แนวคิดนโยบายจิ๋วแต่แจ๋ว [2] โดยชวลิต สมัยเป็นรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ผู้มีความซับซ้อนทางการเมืองจากฝ่ายกองทัพเกี่ยวพันพลเอกเปรม มาเป็นฝ่ายสนับสนุนประชาธิปไตยในช่วงเหตุการณ์พฤษภา ทั้งนี้ไอเดียของชวลิตบางด้านก็น่าสนใจ โดยเฉพาะแนวคิดการลดขนาดกองทัพ ลดงบประมาณ และงดซื้ออาวุธ ยุทโธปกรณ์ ซึ่งได้รับอิทธิพลของชูมากเกอร์ และความน่าสนใจของเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธด้วย ในลักษณะของเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ คือไม่ได้เน้นความรุนแรง ซึ่งตรรกะไม่เน้นความรุนแรง ก็ย่อมไม่สนับสนุนการซื้ออาวุธ สำหรับประหารคน และเรือรบ ก็ทำลายสภาพแวดล้อมทางธรรมชาตินั่นเอง

แม้ว่าการปรับโครงสร้างของกองทัพจะยังไม่ประสบความสำเร็จ โดยเราอาจจะเห็นในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากรัฐบาลชวลิต ซึ่งเกิดการเติบโตทางพัฒนาเศรษฐกิจเรื่อยมาจากยุคชาติชาย ที่ไทยไม่น่าจะย้อนกลับไปสู่ระบบเผด็จการ จากเศรษฐกิจและการเมืองที่ไม่มีทหารแทรกแซง จนกระทั่งวิกฤติเศรษฐกิจ ปี 2539 และการร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2540 รวมทั้งแนวคิดกระจายอำนาจ อบต.ต่างๆ ซึ่งรอยต่อ ทางการเปลี่ยนแปลงการเมืองของยุคโลกาภิวัตน์ กำลังเข้ามา ในการแก้ไขเรื่องที่ดิน ความยากจน และประชาธิปไตย โดยวิกฤติเศรษฐกิจดังกล่าว ทำให้กองทัพต้องปรับลดงบประมาณของกองทัพ ตามวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง และกองทัพ ก็เป็นปัญหาของการจัดการงบประมาณของประเทศ ทั้งกรณีทหารกับหุ้นของทีวี ททบ.5 ที่ดิน ทำสนามกอลฟ์ และธนาคาร ซึ่งเอื้อประโยชน์ให้ทหารมากกว่าประชาชนทั่วไป

ผู้เขียนใช้ข้อมูลยกตัวอย่างง่ายๆ ในโครงการเออร์ลี่รีไทร์ จากนายพลจำนวนนับพันคน มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ยอมเข้าโครงการ เมื่อนโยบาย เพื่อรีดไขมันล้มเหลวต่อเนื่องเรื่อยมา กองทัพต่างๆ ก็ไม่สามารถนำส่วนที่ปรับลดได้จากงบฯบุคลากรไปโปะในงบฯเสริมสร้างกำลังกองทัพ โดยปีไหนภาวะเศรษฐกิจดี หรือปีไหนกองทัพมีอำนาจเหนือฝ่ายการเมือง งบฯเสริมสร้างกำลังกองทัพจึงอู้ฟู่ตามปกติ อยากจัดซื้อจัดหาอย่างไรก็ง่ายดาย แต่เมื่อปีไหนเศรษฐกิจฝืดเคือง ไปจนถึงขั้นวิกฤต ถึงกองทัพจะมีอำนาจเหนือฝ่ายการเมืองอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้งบฯเสริมสร้างกำลังกองทัพอู้ฟู่เหมือนเดิม [3]

รัฐประหารโดยกองทัพ นำมาสู่อิทธิพลของทหาร และความเชื่อต่ออนาคต

การเมืองไทยได้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในสมัยรัฐบาลทักษิณ มีความพยายามการปรับโครงสร้างกองทัพ ซึ่งทหาร เป็นเครือญาติของทักษิณ คือ ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ก็ได้ดำรงตำแหน่งทั้ง ผบ.ทบ. และ ผบ.สูงสุด รวมทั้งไอเดียการพยายามเปลี่ยนโครงสร้างกองทัพเพื่อทันสมัย และดับไฟใต้ กรณีการตั้งสนธิ บุญยรัตกลิน เป็นผบ.ทบ.เพื่อแก้ไขปัญหาภาคใต้ต่อจากประวิตร (ปัจจุบันเป็น รมต.กลาโหม) แล้วเหตุการณ์ก็พลิกกลับ เมื่อเกิดการรัฐประหาร 19 ก.ย. ที่เกิดขึ้นหลังการปั่นกระแสของสนธิ ลิ้มทองกุล มวลชนประชาชนของพันธมิตร ทำให้รัฐบาลของทักษิณล้มลง

มาถึงในสมัยของรัฐบาลอภิสิทธิ์ ที่มีการลุกฮือขึ้นของมวลชนเสื้อแดง เริ่มมีการตรวจสอบกองทัพอีกครั้งทั้งจากฝ่ายคนเสื้อแดงในกรณีต่างๆ เช่น การอนุมัติงบประมาณทหารจำนวนมาก และกรณีที่มีประเด็นคอรัปชั่นเชิงนโยบาย หรือข้อโต้แย้งเรื่อง ซื้ออุปกรณ์ไม่มีคุณภาพ (จีที 200) เป็นต้น

รวมถึงการต่อสู้ทางสภา ของนักการเมืองฝั่งพรรคเพื่อไทย เช่น มีการเรียกร้องปรับลดงบประมาณในกระทรวงกลาโหมจำนวน 170,285,022,900 ล้านบาท โดย น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย อภิปรายขอปรับลดร้อยละ 10 จากงบทั้งหมด 1.7 แสนล้านบาท เนื่องจากเห็นว่าเป็นงบประมาณที่มากเกินไปทั้งที่สังคมยุคโลกาภิวัตน์ที่เน้นเรื่องการทำสงครามการค้า นี่เป็นประเด็นหนึ่งซึ่งมีหลายประเด็นซับซ้อนในยุคสมัย ที่กองทัพ กลับมามีอำนาจจัดซื้ออาวุธ เกี่ยวพันข่าวทั้งพลเอกเปรม และกองทัพต่างๆ อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งเราอยู่ในโลก ยุคโลกาภิวัตน์ โดยน่าจะปรับโครงสร้าง แต่ผบ.ทบ.คนล่าสุด กับข้อเสนอโครงสร้างกองทัพ รับมือสู้ภัยพิบัติโลก เมื่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.มีแนวคิดที่จะปรับโครงสร้างกองทัพใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจเฉพาะหน้า อย่างเช่น ภัยพิบัติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งใกล้ปี 2012 ที่ภัยพิบัติทวีความรุนแรงมากขึ้น และเป็นไปตามคำทำนายของโหราศาสตร์ที่ทำนายไว้ว่าจะเกิดน้ำท่วมหนักในช่วงเดือน ต.ค.และจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น [4]

อย่างไรก็ตามการปรับโครงสร้างของกองทัพเคยมีการปรับให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยเฉพาะในยุคใหม่ที่เรียกว่า “ยุคโลกาภิวัตน์” ที่ทุกอย่างจะต้องปรับให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการปฏิบัติภารกิจอย่างมีประสิทธิภาพของกองทัพ ทำให้กองทัพจำเป็นต้องทบทวนและปรับตัวเองพร้อมทั้งเหตุและผลเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

แน่นอนว่าประเด็นใหญ่ ในความซับซ้อนของกองทัพและทหาร ที่มีตั้งแต่เรื่องรัฐธรรมนูญและทหาร ภายใต้โครงสร้างซึ่งปรับตามอเมริกา โดยรูปแบบการบังคับบัญชาแบบเสนาธิการเหล่าทัพ ลดอำนาจกองทัพ ในเรื่องงบลับ และสร้างปฏิทินแห่งความหวังจากรัฐสวัสดิการ โดยลดงบประมาณของกองทัพ มาเพิ่มงบจัดทำรัฐสวัสดิการให้ประชาชน เพราะยุคสมัยของการไม่มีสงครามภายนอก และบทบาทของการควบคุมทหารโดยพลเรือน จึงมีความหมายโดยตรงในงานด้านนโยบายในระดับทางยุทธศาสตร์ (Strategy) และในระดับยุทธ์ศิลป์ (Operational art) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการจัดทำนโยบายและกระบวนการทางด้านงบประมาณ ซึ่งพลเรือนได้เข้ามามีส่วนร่วมนั่นเอง

ดังนั้นยุคโลกาภิวัตน์ของข้อมูลข่าวสารนั้น ประชาชนจะต้องรู้เรื่องทหาร และต้องร่วมกันกำกับและสร้างกลไกผ่านระบบประชาธิปไตย ให้ทหารปรับตัวเป็นมิตรต่อประชาชนอย่างแท้จริง เพื่อให้วลีที่ว่า “ทหารไทยนี้รักสงบ” เป็นจริง ไม่มีการเข่นฆ่าประชาชนโดยทหารในอนาคตอีกต่อไป



………………

*หมายเหตุ

ผู้เขียนเลือกเขียนเรื่องวันกองทัพไทย โดยปรับปรุงแนวคิด และข้อมูล ที่นำเสนอ ที่สถาบันศาสนา วัฒนธรรมและสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ ในการสนทนาชุด "เราจะก้าวต่อไปอย่างไรกัน" ครั้งที่ ๕ เรื่อง "สภาวะแวดล้อมสำหรับปรับโครงสร้างกองทัพไทย"สรุปความจากหนังสือ "ยกเครื่องเรื่องทหาร: ข้อคิดสำหรับกองทัพไทย ในศตวรรษที่ 21" เขียนโดย สุรชาติ บำรุงสุข เมื่อวันพุธที่ 15 ธันวาคม 2553 เวลา 13.30 น. โดยก่อนผ่านพ้นปี2010อย่างที่หนังสืออ้างไว้ในปี 2540 สู่ 2011 แล้ว

ดังนั้นผู้เขียน จึงเรียบเรียงเขียนบทความ ที่ได้อ่านหนังสือของสุรชาติ บำรุงสุข เพิ่มเติม คือ สังคมต้องรู้เรื่องทหาร : ทำไม - อย่างไร และ รัฐและกองทัพในประเทศโลกที่สาม : ข้อพิจารณาทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง ส่วนประกอบเพิ่มเติมของแนวคิด คือ หนังสือของ Roger Kershaw “Monarchy in South East Asia: The Faces of Tradition in Transition”และสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล รำลึก "วันปฏิวัติ 24 มิถุนา" : ความเป็นมาของเพลงชาติไทยปัจจุบัน http://www.prachatai.com/journal/2008/06/17161 และผู้เขียนยังทบทวนดูนิตยสารสารคดีฉบับพิเศษรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทยข้อมูลช่วงพฤษภา 35 (ดูเพิ่มเติมวิกีพีเดียและหนังสือฯลฯ) และ พล.อ.ชวลิต หรือบิ๊กจิ๋วถูกวิจารณ์ถึงบทบาทความซับซ้อนทางการเมือง และบทบาทไม่ประสบความสำเร็จด้านลดบทบาทกองทัพ ซึ่งบริบทและรายละเอียดต้องขยายความมากกว่าจะอธิบายเป็นบทความสั้นๆ

อ้างอิง

[1] ๒๕ มกราคม วันกองทัพบก http://www.rta.mi.th/history/jan_25.htm และวันกองทัพไทย
http://www.rta.mi.th/21100u/collum/kongtap/kongtap.htm และอรรคพล สาตุ้ม"24มิถุนา,28กรกฏา,4ธันวา,10ธันวา"และYoungPADผ่านประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมไทย
http://www.prachatai.com/journal/2008/12/19265

[2] แนวคิดนโยบายจิ๋วแต่แจ๋ว มาจากหนังสือ Small Is Beautiful: Economics As If People Mattered ที่มีแปลภาษาไทยว่า"จิ๋วแต่แจ๋ว : เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ"หรือ"เล็กนั้นงาม : การศึกษาเศรษฐศาสตร์โดยให้ความสำคัญกับผู้คน"

[3] เผยงบกองทัพปี53 ติดลบสูงสุดรอบ 10 ปีกว่าหมื่นล้าน ชี้จะรักษาสถานะต้องรีดไขมัน-หนุนรบ.อยู่ครบวาระ มติชน 13 มิ.ย. 52 22.45 น.

[4] ปรับโครงสร้างกองทัพ รับมือสู้ภัยพิบัติโลก เดลินิวส์ วันอังคาร ที่ 26 ตุลาคม 2553 เวลา 19:46 น

--หมายเหตุเพิ่มเติม; ที่มาจากประชาไท และดูอีกเวอร์ชั่น ที่Thai E-News: วันกองทัพไทยถึงอนาคตทหารไทยนี้รักสงบ

คำขวัญวันเด็กกับประเด็นคุณธรรม และจิตสาธารณะแบบ “จิ๋วเรนเจอร์”

คำขวัญวันเด็กกับประเด็นคุณธรรม และจิตสาธารณะแบบ “จิ๋วเรนเจอร์”
Thu, 2011-01-06 00:03

อรรคพล สาตุ้ม

วันเด็กปีนี้มาพร้อมกับประเด็นย้อนแย้งที่น่าสนใจหลายอย่าง อาทิเช่น กรณีพิพาทระหว่างไทย-กัมพูชา ที่มีต้นตอมาจากขบวนการปลุกชาตินิยมของเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ (พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเฟสใหม่? ) ซึ่งเมื่อหันมามองบ้านเราพบว่ายังมีเด็กข้ามพรมแดนมาจากปะเทศกัมพูชา ไม่ว่าจะมากับครอบครัวแรงงานข้ามชาติหรือมาทำอาชีพขอทาน ที่พวกเขายังไม่รู้ชะตากรรมว่าจะตกเป็น “เหยื่อ” ของสถานการณ์การเมืองที่ “ผู้ใหญ่ไทยหัวใจรักชาติ” จุดชนวนไว้เมื่อไร

รวมถึงประเด็นความพยายามฝึกเด็กอายุไม่กี่ขวบให้เป็นบอดี้การ์ดนายกในนามหน่วย “จิ๋วเรนเจอร์” ที่มีการฝึกระเบียบวินัยแบบทหาร-ตำรวจ เพื่อภารกิจรักษาความมั่นคงฉบับจิ๋ว รอกระชับพื้นที่ความปลอดภัยให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปฏิบัติหน้าที่ผู้นำประเทศในวันเด็กที่จะถึง -- แต่เหรียญอีกด้านคือลูกหลาน “คนเสื้อแดง” ที่พ่อแม่ลุงป้าน้าอาของพวกเขาพึ่งเสียเลือดเสียเนื้อปะทะกับทหารเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา

ผู้เขียนเห็นว่าเด็กไทยต้องข้ามพ้นขอบเขตจำกัดของพรมแดนกรอบคิดเรื่องรัฐชาติ และเด็กก็ไม่สมควรถูกปลูกฝังให้ยอมรับความรุนแรงและอำนาจนิยม เช่นการนำเด็กเข้าไปเล่นอาวุธสงครามในค่ายทหาร หรือการนำเด็กมาเป็นเครื่องมือโฆษณาประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ให้กับนายก แบบหน่วยรบพิเศษจิ๋วเรนเจอร์นี้

ประวัติวันเด็กแห่งชาติ

งานวันเด็กแห่งชาติจัดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม พ.ศ. 2498 ตามคำเชิญชวนของ นายวี.เอ็ม. กุลกานี ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญและความต้องการของเด็ก และเพื่อกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ และรัฐบาลได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้นมาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน โดยกำหนดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จุดประสงค์เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตน เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข


กำเนิดคำขวัญวันเด็กแบบจอมพล ป.พิบูลสงคราม-จอมพลสฤษดิ์ สิ้นชีวิต

คำขวัญวันเด็ก เป็นคำขวัญที่นายกรัฐมนตรีมอบให้เด็กไทย เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติของทุกปี โดยคำขวัญวันเด็กมีขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2499 ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงครามดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยจอมพล ป. ได้ให้คำขวัญวันเด็กปีนั้นว่า “จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม” และต่อมาได้กำเนิดเพลงหน้าที่ของเด็ก (เด็กเอ๋ยเด็กดี)

จนกระทั่งวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้นำกำลังทหารเข้ายึดอำนาจโค่นล้มจอมพล ป. พิบูลสงครามออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ให้คุณค่าความสำคัญของเด็ก จึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคติเตือนใจสำหรับเด็กปีละ 1 คำขวัญ (ก่อนถึงวันเด็กแห่งชาติ) นายกรัฐมนตรีสมัยต่อมา จึงได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ช่วงเวลาของยุคการพัฒนาตามอเมริกา ในพ.ศ. 2502-2506 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งคำขวัญวันเด็ก คือ “ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า” และปีต่อๆมา ก็จะเพิ่มเติมต่อท้ายคำขวัญเปลี่ยนจากรักความก้าวหน้า เป็นจงเป็นเด็กที่รักความสะอาด และต่อมาจงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย จนถึงจงเป็นเด็กที่ประหยัด ในท้ายที่สุดของปี 2506 คือ จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด แล้วต่อมาวาระสุดท้ายของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจนถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 ที่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าด้วยโรคไตพิการเรื้อรัง รวมอายุได้ 55 ปี และจอมพลสฤษดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนเดียวที่เสียชีวิตลงในขณะที่ดำรงตำแหน่ง

หลังจากที่จอมพลสฤษดิ์ถึงแก่อสัญกรรมแล้วทายาท ทั้งหลายต่างก็เริ่มวิวาทแก่งแย่งทรัพย์มรดกมหาศาลของนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 บุตรทั้ง 7 คนของจอมพลสฤษดิ์ได้ฟ้องท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์ ที่พยายามจะตัดสิทธิในส่วนแบ่งอันถูกต้องของทายาท เนื่องจากเป็นเรื่องอื้อฉาวมาก ประชาชนจึงต่างให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งในคดีนี้และสื่อมวลชนก็ยกให้เป็นคดีที่อื้อฉาวที่สุดในเมืองไทย โดยการที่ประชาชนให้ความสนใจในการพิจารณาคดีนี้ จึงเป็นการบังคับให้รัฐบาลจอมพลถนอมต้องเข้าแทรกแซงและสอบสวนเบื้องหลังความมั่งคั่งของจอมพลสฤษดิ์ นั่นเป็นสิ่งที่แสดงถึงความขัดแย้งอย่างชัดเจน ที่เราไม่อาจเอาตัวแบบอย่างเรื่องประหยัด จากยุคสมัยของพ่อขุนอุปถัมภ์เผด็จการได้ สำหรับเด็กๆ คำขวัญเป็นโวหารจอมปลอมจากนายกฯ เมื่อความจริงปรากฏขึ้นมาว่า บทเรียนของการคอรัปชั่นโดยทหาร เป็นส่วนหนึ่งระบบราชการ และส่วนหนึ่งของการนำเสนอคำขวัญให้เด็ก คือ จงเป็นเด็กที่ประหยัด และจงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด ทำให้เราเห็นว่า ขยันคอรัปชั่นรวยเร็วกว่าประหยัด โดยบทเรียนทางประวัติศาสตร์

อย่างไรก็ตาม บทเรียนดังกล่าว ทำให้เราเข้าใจไม่มีคำขวัญ ที่เป็น “คุณธรรม” หรือ “ชาติ” ในคำขวัญ แต่ว่ายุคสมัยลัทธิทหารชาตินิยม ก็เป็นแบบของจอมพลสฤษดิ์ โดยดูได้จากการเปลี่ยนวันสำคัญของชาติไทยจาก 24 มิถุนานั่นเอง และมิติมุมมองหนึ่งของยุคที่ไทยเราแพ้คดีเขาพระวิหารแล้วยังมารับรู้ เห็นความจริงในทีหลังเรื่องคอรัปชั่น เพราะเราอยู่ในยุคที่ถูกปิดหูปิดตามาก่อนหน้าที่จอมพลสฤษดิ์จะตาย จึงได้ถูกเปิดเผยความจริง เพื่อพิสูจน์ความจริงได้ชัดเจน

งดจัดงานวันเด็ก ในสมัยจอมพลถนอม และการกลับมากำเนิดคำขวัญวันเด็กกับชาติไทยโดยรัฐบาลทหาร

พ.ศ. 2507 จอมพล ถนอม กิตติขจร ไม่มีคำขวัญ เนื่องจากงดการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ
พ.ศ. 2508 จอมพล ถนอม กิตติขจร เด็กจะเจริญต้องรักเรียนเพียรทำดี
พ.ศ. 2509 จอมพล ถนอม กิตติขจร เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะ บากบั่น และสมานสามัคคี
พ.ศ. 2510 จอมพล ถนอม กิตติขจร อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรงดีมีความประพฤติเรียบร้อย
พ.ศ. 2511 จอมพล ถนอม กิตติขจร ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย เฉลียวฉลาดและรักชาติยิ่ง
พ.ศ. 2512 จอมพล ถนอม กิตติขจร รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ
พ.ศ. 2513 จอมพล ถนอม กิตติขจร เด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส
พ.ศ. 2514 จอมพล ถนอม กิตติขจร ยามเด็กจงหมั่นเรียน เพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ
พ.ศ. 2515 จอมพล ถนอม กิตติขจร เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ
พ.ศ. 2516 จอมพล ถนอม กิตติขจร เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ

ทั้งนี้ กรณีคำขวัญเป็นตัวอย่างของการเปรียบเทียบให้เข้าใจการกำเนิดของเด็กกับชาตินิยมโดยทหาร ในพ.ศ. 2510 จอมพล ถนอม กิตติขจร อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรงดีมีความประพฤติเรียบร้อย เป็นต้นมา ก็มีความสำคัญเด็กกับชาติไทย ที่มีต่อมา คือ คำขวัญที่คล้องจองจำง่าย ถึง“เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ” นี่เป็นบทสะท้อนของการสร้างพรมแดนของเด็ก ให้อยู่ในความทรงจำของเด็กไทย ที่เห็นได้อย่างชัดเจน

หลัง 14 ตุลา 2516 กับกำเนิดคำขวัญวันเด็กว่า “คุณธรรม”ในยุคสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม และหลังรัฐประหาร 2534

พ.ศ. 2517 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ สามัคคีคือพลัง
พ.ศ. 2518 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เด็กดีคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความสามัคคี
พ.ศ. 2519 หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดี มีวินัย เสียแต่บัดนี้
พ.ศ. 2520 นายธานินทร์ กรัยวิเชียร รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย
พ.ศ. 2521 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติมั่นคง
พ.ศ. 2522 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เด็กไทยคือหัวใจของชาติ
พ.ศ. 2523 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
พ.ศ. 2524 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เด็กไทยมีวินัย ใจสัตย์ซื่อ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม
พ.ศ. 2525 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ขยันศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
พ.ศ. 2526 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัยและคุณธรรม
พ.ศ. 2527 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดีมีความคิด สุจริตใจมั่น หมั่นศึกษา
พ.ศ. 2528 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ สามัคคี นิยมไทย มีวินัย ใฝ่คุณธรรม
พ.ศ. 2529 (-2531) พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม

จากการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง หลัง 14 ตุลา 2516 เป็นต้นมา ซึ่งเราสามารถพิจารณาคำขวัญจากการลำดับของยุคสมัยของรัฐบาลต่างๆ จนเห็นได้ว่า รัฐบาลพลเอกเปรม ในช่วงประชาธิปไตยครึ่งใบนั้น มีคำว่า “คุณธรรม” เกิดขึ้นมาเป็นองค์ประกอบของการสร้างเด็กไทยในชาติ จนกระทั่งต่อมา รัฐบาลชาติชาย จากมีคำว่า “คุณธรรม” กลายเป็นไม่มีคำว่าคุณธรรมในยุคหลังรัฐประหาร แล้วเกิดเหตุพฤษภาทมิฬ เป็นต้น แล้วการกลับมาของคำว่า “คุณธรรม” และไม่มีคำว่าคุณธรรมในยุคประชาธิปไตยในสมัยรัฐบาลชวน คือ ช่วงปี 2543-44 จนกระทั่ง รัฐบาลทักษิณก็ไม่มีคำว่า “คุณธรรม” ปรากฏให้เห็นอีกต่อไป

พ.ศ. 2532 พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2533 พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2534 พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา
พ.ศ. 2535 นายอานันท์ ปันยารชุน สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม
พ.ศ. 2536 นายชวน หลีกภัย ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2537 นายชวน หลีกภัย ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2538 นายชวน หลีกภัย สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2539 นายบรรหาร ศิลปอาชา มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด
พ.ศ. 2540 พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด
พ.ศ. 2541 นายชวน หลีกภัย ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
พ.ศ. 2542 นายชวน หลีกภัย ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
พ.ศ. 2543 นายชวน หลีกภัย มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
พ.ศ. 2544 นายชวน หลีกภัย มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
พ.ศ. 2545 พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส
พ.ศ. 2546 พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี
พ.ศ. 2547 พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดีๆ อนาคตดีแน่นอน
พ.ศ. 2548 พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด
พ.ศ. 2549 พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด

วิเคราะห์ความสัมพันธ์การเมืองหลังรัฐประหาร 2549 กับคำขวัญเชิดชูคุณธรรมจากวันเด็ก-ทักษิณ และจิ๋วเรนเจอร์

เมื่อเกิดเหตุการณ์รัฐประหารโดยทหาร จึงน่าสนใจต่อการวิเคราะห์คำขวัญ หมายถึง ถ้อยคำ ข้อความ คำคล้องจอง หรือบทกลอนสั้นๆ เพื่อให้จำได้ง่าย ถ้อยคำหรือข้อความ ที่แต่งขึ้นเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจ แสดงอุดมคติ หรือเป้าหมายของกิจกรรมวันเด็ก และการวิเคราะห์คำว่า คุณธรรม ที่มีความหมายตามพจนานุกรม “คุณธรรม [คุนนะ-] น. สภาพคุณงามความดี.” และสื่อสัญลักษณ์ถึงความดี ทั้งด้านศาสนา และมุมมอง โดยพื้นฐานของมนุษย์เชื่อมโยงกับคุณธรรม เป็นสิ่งสำคัญ แต่ว่ามาตรฐานของคุณธรรม ในสังคมไทย จะต้องตรวจสอบ ไม่ให้คุณธรรมตก อยู่ภายใต้ความเชื่อโดยไม่สามารถพิสูจน์ความจริงได้ ซึ่งสะท้อนภาพความเป็นไปในสังคมแต่ละยุคสมัยไม่น้อย [1] ดังคำขวัญต่อไปนี้

พ.ศ. 2550 พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข
พ.ศ. 2551 พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม
พ.ศ. 2552 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคคี
พ.ศ. 2553 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม

ฉะนั้นจากตัวอย่างของการเปรียบเทียบของคำขวัญในยุคจอมพลป.จอมพลสฤษดิ์ จอมพลถนอม และพลเอกเปรม ถึงรัฐประหาร 2549 จึงมีความน่าสนใจ โดยผู้เขียนขอนำเสนอมุมมองลำดับเวลากล่าวอย่างย่อๆ ว่า เกิดรัฐประหารโดยทหาร ซึ่งมาจากพลเอก สนธิ บุญยรัตนกลิน เป็นคนที่ทักษิณ คิดว่าจะช่วยปรับโครงสร้างทางทหาร และสนธิ ช่วยแก้ปัญหาภาคใต้ กลับกลายเป็นโค่นล้มรัฐบาลทักษิณ ในวันที่ 19 กันยายน 2549 แล้วรัฐบาลออกแบบทำนิยายรัฐธรรมนูญ 2550 เหมือนนิยาย [2] และคำขวัญยังเหมือนเรื่องหลอกเด็กในเรื่องคุณธรรมก็เป็นการโกหก และถ้าเราสนับสนุนบทบาทการเล่นเป็นบทบาททหารตามงานวันเด็ก อาวุธ และเกมส์ ที่ทำให้เด็กเสพย์ติดเชื่อง่ายๆ ก็จะเป็นเรื่องที่ทำร้ายเด็ก

ทั้งนี้จากปีที่ผ่านมา คือ 2553 ก็นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ ได้เชิดชูคำขวัญ คือ เชิดชูคุณธรรม เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันเด็ก เพื่อไม่ให้รับอิทธิพลของเทคโนโลยีเร็วเกินไป ขณะที่ฝ่ายของรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ทั้งสมัคร และสมชาย ไม่มีโอกาสให้คำขวัญวันเด็ก แต่ในปีที่แล้วนั้น (2553) ทักษิณก็ได้ส่งมอบคำขวัญวันเด็ก คือ “อนาคตจะสดใส ต้องใฝ่เรียนรู้เทคโนโลยี” ซึ่งถือว่าเป็นคำขวัญวันเด็กจากนายกนอกทำเนียบคนแรก

ในปี 2554 ที่จะถึงนี้ผู้เขียนหวังว่าเราจะต้องสร้างอนาคตเด็กไทยให้ข้ามพ้นเรื่องชาตินิยมให้ได้ ในท่ามกลางกระแสเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ กรณีพรมแดนไทย-กัมพูชา รวมถึงการส่งเสริม “รัฐทหาร” ที่สะท้อนจากการจัดงานกิจกรรมวันเด็ก จับเด็กมาแต่งตัวเป็นทหาร และสวมหมวกให้จิ๋วเรนเจอร์ เป็นตำรวจเด็ก [3] โดยรัฐบาลทหารแบบอภิสิทธิ์ในขณะนี้

ต้องเปลี่ยนทัศนคติของเด็ก ไม่ใช่นำพาเด็กโดยสร้างการครอบงำสวมหมวกให้เด็ก ภายใต้คำขวัญ "รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ" ซึ่งหากจะจับผิดคำขวัญนี้ดีๆ การปลูกฝัง “มีจิตสาธารณะ” ของนายอภิสิทธิ์นั้นคือเพียงการจับเด็กมาใส่ชุดทหารเพื่อนำมาเป็น รปภ. ให้แก่นายกรัฐมนตรีเท่านั้น โดยต้องการให้ทุกคนไม่เว้นว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ (สลิ่มทั้งหลาย) หลงลืมบทพิสูจน์ การหาความจริง หาความเป็นธรรมให้กับผู้ตาย ผู้ติดคุก ที่เขาอาจจะมีลูกหลาน .. แต่กระนั้นวันเด็กในปีนี้พวกเขาก็ไม่มีโอกาสจะพาลูกหลานไปเฉลิมฉลองงานวันเด็กได้เหมือนครอบครัวอื่นๆ

อ้างอิง

[1] บัญญัติ คำนูณวัฒน์ “เล่าสู่กันฟัง-มีอะไรในคำขวัญวันเด็ก” นสพ.คมชัดลึก วันจันทร์ที่ 11 มกราคม 2553
[2] อรรคพล สาตุ้ม ปัญหารัฐธรรมนูญ 2550: นิยายและความจริง ในภาพสะท้อนเราใกล้ชิดเส้นชัย
http://www.prachatai.com/journal/2010/12/32184
[3] เปิดจิ๋วเรนเจอร์ตร.คุ้มกันมาร์ควันเด็ก นสพ.คมชัดลึกวันอังคารที่ 4 มกราคม 2554

หมายเหตุ:ที่มาประชาไท และดูอีกเวอร์ชั่น ในไทยอีนิวส์ ,คำขวัญวันเด็กไม่มีเชิดชูคุณธรรม กับบทพิสูจน์ของรัฐสร้างภูมิคุ้มกันโดยทหาร-ตำรวจ

วันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2554

ปัญหารัฐธรรมนูญ 2550: นิยายและความจริง ในภาพสะท้อนเราใกล้ชิดเส้นชัย

ปัญหารัฐธรรมนูญ 2550: นิยายและความจริง ในภาพสะท้อนเราใกล้ชิดเส้นชัย
Mon, 2010-12-06 23:49
อรรคพล สาตุ้ม

การที่พันธมิตรฯ ออกมาเป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาลกรณีเขาพระวิหาร-แก้ รธน. ฉายภาพคล้ายดั่งการอ่านนิยายเรื่อง “ม็อบมีเส้น” ที่บทของอดีตผู้ช่วยพระเอกอภิสิทธิ์ กลับกลายมาเป็นบทผู้ร้าย และผู้ติดตามอย่างใกล้ชิดก็อาจจะพอคาดเดาจุดจบของนิยายน้ำเน่าเรื่องนี้ได้บ้าง
บทความนี้ส่วนหนึ่งของผู้เขียน เพื่อรำลึกถึงวันที่ 10 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันรัฐธรรมนูญของไทย และมีการเชื่อมโยงตรงกับวันสิทธิมนุษยชนสากล รวมถึงการครบรอบ 8 เดือนการสลายชุมนุมของคนเสื้อแดง โดยผู้เขียนต้องการอธิบายย่นย่อในบทความที่มีความเกี่ยวโยงปัญหารัฐธรรมนูญ 2550 เรื่องนิยายและความจริง โดยผู้เขียนมองว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอาจเป็นภาพสะท้อนว่า “เรา” (ฝ่ายประชาธิปไตย) กำลังเข้าใกล้เส้นชัย โดยมีตัวละครสำคัญคือ “ม็อบมีเส้น” (กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย) กับการขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ที่เกิดจากพรรคประชาธิปัตย์โดยอภิสิทธิ์ ทำให้กลุ่มพันธมิตรฯ ต้อง “พลิก” บทบาทตัวเองจากบท “ผู้ช่วยพระเอก” กลายมาเป็นบท “ผู้ร้าย”

แต่ในมุมมองเปลี่ยนกลับกันของ “ม็อบมีเส้น” เองนั้น ก็อาจจะคิดไกลไปว่าตัวกูดูเหมือน “พระเอก” มากกว่า “ผู้ช่วยพระเอก” และกำลังทำหน้าที่อันมีเกียรติสูงสุดคือการพิทักษ์ปกป้อง “นางเอก” (รัฐธรรมนูญ 2550) แล้วเรียกร้องทหารเป็นผู้ช่วยตนเอง … แต่อาจจะเลยเถิดไปถึงการเรียกออกมารัฐประหาร ซึ่งเผลอๆ อาจจะเป็นการกระทำที่หนักมือพลาดพลั้งกลายเป็นการฆ่านางเอกคนนี้ไปเสีย
ประวัติศาสตร์ของรัฐธรรมนูญ กับปัญหารัฐธรรมนูญ 2550 เหมือนนิยาย และความจริง
นับตั้งแต่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบเป็นประชาธิปไตย มีการเกิดขึ้นของรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ มีการต่อสู้และโค่นล้มรัฐธรรมนูญบ่อยครั้ง ซึ่งผู้เขียนมองว่าการเขียนรัฐธรรมนูญก็เหมือนกับการเขียนนิยาย และเมื่อเราเอ่ยถึงนิยายนั้น ก็จะทำให้เราเห็นว่านิยายนั้นมีความใกล้ชิดต่ออารมณ์และความรู้สึก ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากแก่การพิสูจน์ว่าถูกต้องหรือไม่ เพราะว่าในการอ่านนิยายแต่ละเล่ม แต่ละเรื่องนั้น เราไม่สามารถอ่านตามใจอย่างเดียว และหลายครั้งประชาชนบางส่วนเองก็ชอบที่จะตามใจการรัฐประหารโดยทหาร ซึ่งเราเห็นประวัติศาสตร์ของรัฐธรรมนูญ จากบางปัญหาของรัฐธรรมนูญก็เหมือนดั่งนิยาย [1]
จากยุคสมัยของคณะราษฎร กรณีตัวอย่างของปรีดี พนมยงค์ มาจนถึง จอมพล ป.พิบูลสงคราม นักวิชาการประวัติศาสตร์ชาวต่างประเทศได้เขียนอธิบายช่วงประวัติศาสตร์เหตุการณ์บริบทดังกล่าวว่าจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้เขียนรัฐธรรมนูญเพื่อให้เกิดการยอมรับจากนานาประเทศ ซึ่งถ้าเราดูจากบริบทของประวัติศาสตร์ของไทย หรือกรณีการกล่าวถึงระบอบรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ. 2492 ที่มีความเกี่ยวข้องกับนายควง อภัยวงศ์ ซึ่งต่อมาได้ก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ ล่วงเลยมาจนกระทั่งในปี 2549 ซึ่งเรารับรู้ว่า ความเป็นมาลำดับเรื่องราวของ “ม็อบมีเส้น” อย่างม็อบพันธมิตรฯ และเกิดเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยา 2549 โดยรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 ถูกฉีกทิ้ง ทหารจัดตั้งรัฐบาลขึ้นมาเอง โดยรัฐบาลทหารนี้ก็มีแผนการเขียน “นิยายรัฐธรรมนูญ” ที่ต่อมาได้เกิด “รัฐธรรมนูญเฉพาะกาล” ขึ้นมาก่อน และรัฐบาลทหารนี้ก็พยายามสร้างความประทับใจในนิยาย โดยมี “ทีเด็ด” ด้วยการพยายามประกาศเรื่องภัยคุกคามร้ายแรงต่อระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้นว่ามาจากรัฐบาลของทักษิณ [2]
ถ้าเราจำกันได้ตัวละครในการเขียนนิยายรัฐธรรมนูญ ก็มีตัวละครเป็นพวกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นต้น นี่เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เพื่อทำให้ตัวละครอย่างทักษิณเป็นผู้ร้าย และภัยคุกคาม จึงต้องเขียนรัฐธรรมนูญ และสร้างรัฐธรรมนูญให้เกิดองค์ประกอบของมาตราและรายละเอียดต่างๆ นี่เป็นวิธีการสร้างความชอบธรรมของการรัฐประหาร เพื่อกำจัดผู้ร้ายและสร้างความเป็นพระเอกของทหาร โดยการใช้วิธีการลงประชามติต่อรัฐธรรมนูญ
เมื่อประชามติโดยเอาประชาชนเป็นส่วนหนึ่งของตัวละครในนิยายรัฐธรรมนูญ กลับกลายทำให้ประชาชน เป็นตัวละครที่ไม่อ่านเรื่องรัฐธรรมนูญ ในการอภิปรายประเด็นที่ซับซ้อนก็ถูกลืมไปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ง่ายที่สุดของเผด็จการทหาร ซึ่งเราคิดถึงจินตนาการในการใช้ประชามติในครั้งนั้นก็เหมือนเรื่องเล่าในนิยายที่มีเผด็จการทหารขึ้นมาแล้ว “บังคับ” ให้คนลงประชามติ ซึ่งเราสามารถสำรวจบทเรียนจากประเทศต่างๆ ที่มีการใช้ประชามติแบบนี้ เหมือนเรื่องเล่าในนิยายต่างๆ เช่นกัน
ฉะนั้น เราอาจจะตีความโดยแปล “Fictions” คือ “เรื่องโกหก” หรือ “นิยาย” โดยการแปลความเรื่องนิยาย ซึ่งตามใจของตัวเองกลายเป็น “Fact” คือ “ข้อเท็จจริง” และประวัติศาสตร์อันเป็นความจริงบิดเบี้ยวของรัฐธรรมนูญ 2550 เหมือนถ้าเราส่องกระจกดูภาพสะท้อนของเราเองในกระจก (In The Mirror) ก็บิดเบี้ยวเพี้ยนไป แต่ถ้าเรามองประวัติศาสตร์เป็นโครงเรื่องอย่างนักประวัติศาสตร์หลายๆ คน ที่มีการนำเสนอเรื่องโครงเรื่องในประวัติศาสตร์ก็เหมือนนิยาย และผู้เขียนนำเสนอว่า การอ่านรัฐธรรมนูญใกล้เข้าไปเหมือนกับการอ่านนิยาย ที่เห็นการเชื่อมโยงต่อกันเป็นจินตนาการ ทำให้เกิดภาพของความคิด ความเชื่อนั่นเอง [3]
ซึ่งม็อบพันธมิตรฯ รณรงค์ในเรื่องว่า เรารักประเทศไทย (We love Thailand) แต่เราต้องไม่ลืมความจริง ก็คือ เราอยู่มีความสุข ที่ได้เลือกทำสิ่งที่ถูกต้อง ในโลกแห่งความจริง สำหรับม็อบมีเส้นอย่างกลุ่มพันธมิตรกับการปกป้อง “รัฐธรรมนูญ 2550” ก็เหมือนกับผู้อ่านนิยายกลุ่มหนึ่ง ที่มีความอินกับนิยายเรื่องนี้ จนอยากเข้าไปมีส่วนร่วมกับนิยาย พวกเขาอยากเป็นคนดีหรือพระเอก (โดยไม่รู้ตัวเองหลงผิด) เป็นผู้เสพย์นิยายรักอย่างตาบอดหูหนวก ถ้าเราคิดจินตนาการว่า “พระเอก” พิทักษ์ปกป้อง “นางเอก” คือรัฐธรรมนูญ 2550 นี้เสียเอง .. ม็อบมีเส้นอย่างพันธมิตรอยากเป็นพระเอกพิทักษ์ปกป้องรัฐธรรมนูญฉบับนี้ในชีวิตจริง!
รัฐธรรมนูญกับปัญหาเขตแดน ใกล้เหมือนการอ่านนิยายตอนจบโดยม็อบมีเส้นกับทหาร
รัฐธรรมนูญ 2550 กับปัญหาของเขตแดน มีทีมาจากรากของชุมชนจินตกรรมหรือจินตนาการความใกล้ชิดเชื่อมโยงเขตแดนของความเชื่อตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ที่มีการสร้างเขตแดนเป็นแผนที่ของสยาม ซึ่งผู้เขียนเคยเขียนไว้แล้ว รวมทั้งงานเขียนเรื่องสัญลักษณ์ของเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ที่มีตราสัญลักษณ์เป็นเครื่องหมายประทับเครื่องแบบของทหาร สื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญ คล้ายความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นพระห้อยคอของคน ทำให้จิตวิญญาณถูกเชื่อมโยงจินตนาการรักชาติ และรักรัฐธรรมนูญ ผ่านเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ จากยุคคณะราษฎร ต่อมาสฤษดิ์ ยุคพ่อขุนอุปถัมภ์เผด็จการ ซึ่งมีปัญหาเขตแดนเขาพระวิหาร อีกทั้งปัญหาเขตแดนของไทย-กัมพูชา และปราสาทเขาพระวิหาร การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองนับตั้งแต่ยุค 14 ตุลา 16-6 ตุลา 19 และหลังพฤษภา35 ยังมีทีมาใกล้ชิดผูกพันต่อพรรคประชาธิปัตย์ จากปี 2543 และต่อมาสมัยทักษิณ-หลังรัฐประหารของรัฐบาลสุรยุทธ์-สมัคร(และสมชาย) เป็นต้นมา
โดยในสมัยรัฐบาลสมัคร ที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้าน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะผู้นำฝ่ายค้านในขณะนั้นได้กล่าวในที่ประชุมสภา เมื่อวันที่ 24 มิถุนา 2551 มีการบันทึกคำต่อคำของเขาเผยแพร่ในอินเตอร์เน็ต กล่าวถึงเรื่องเขาพระวิหาร โดยสำนวนโวหารก็ปรากฏมีคำสำคัญอย่างคำว่าพระเอก,หัวใจ เพื่อเป็นโวหาร และวาทศิลป์ให้ผู้คนเข้าใจง่าย ได้ยกข้อโต้แย้งกรณีเขาพระวิหาร และบริบทของเหตุการณ์ช่วงนั้น ซึ่งต่อมาก็กลายเป็นปัญหาเรื่องการตีความรัฐธรรมนูญมาตรา 190 เกี่ยวกับเขาพระวิหาร
ซึ่งกรณีเขาพระวิหารนั้นก็นำมาสู่ความขัดแย้งของพรมแดนเกิดการปะทะของทหารตามชายแดนในช่วงปี2551 และผลกระทบต่อเศรษฐกิจชายแดนต่างๆ นานา จนกระทั่งอภิสิทธิ์ขึ้นมาเป็นนายกเอง ก่อนวันตัดสินคดียุบพรรคประชาธิปัตย์(ที่มีตราสัญลักษณ์ประจำพรรค คือ แม่พระธรณีบีบมวยผม) และปัญหาเขตแดนของเขาพระวิหารดังกล่าวก็ถูกหยิบยกขึ้นมาอีกครั้งโดยกลุ่มพันธมิตร
เมื่อเราอ่านนิยายที่ยังไม่จบเรื่องนี้ พบว่าตัวละครของม็อบมีเส้น เช่น “ลุงจำลอง” ซึ่งไม่ใช่ “ลุงนวมทอง” [4] มีบทบาทที่น่าสนใจ โดยบทบาทของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ที่ถูกฉายออกมาตามคำกล่าวของเขาที่ว่า “เราคือนักไล่นายกฯ มืออาชีพ ให้มันรู้ไปว่าแผ่นดินนี้เป็นของใคร”
พล.ต.จำลองกล่าวว่า “ขอพูดถึงนายประพันธ์ที่พาดพิงว่าตนนั่งทางในยังรู้เลยว่านายกฯจะแก้รัฐธรรมนูญเพื่อให้เสียดินแดน ตนไม่ได้นั่งทางใน แต่รู้ว่าสามารถปราบมันได้ ซึ่งก็ได้ถามนายประพันธ์ก่อนขึ้นเวทีว่าชุมนุม 11 ธ.ค. นี้แก้ไขทันใช่มั๊ย นายประพันธ์ก็ตอบว่าทัน ดังนั้นถือว่า 3 วันนี้เป็นการซ้อมใหญ่ก็แล้วกัน “11 ธ.ค.นี้ครบเครื่อง เครื่องขยายเสียงเต็มที่ มีเวที ดนตรี เป็นไงเป็นกัน ไม่รู้จักพวกเราซะแล้ว นายกฯ คนไหนทำความเสื่อมเสียให้บ้านเมือง เราคือนักไล่นายกฯ มืออาชีพ ให้มันรู้ไปว่าแผ่นดินนี้เป็นของใคร เราไล่มา 3 คนแล้วใช่มั้ย ไล่คนที่ 4 อีกคนจะเป็นยังไง พี่น้องไม่ต้องหวั่นไหว พรุ่งนี้มติสภาฯ ออกมาอย่างไรก็ไม่เป็นไร วันที่ 11 ธ.ค. มาสู้อย่างยืดเยื้อไม่ชนะไม่เลิก ไม่ต้องห่วงแม้จะมี พรก.อะไรก็แล้วแต่ แต่การเสียดินแดนยิ่งใหญ่กว่า” [5]
ทั้งนี้บทละครน้ำเน่าแบบนางอิจฉา(กำกึ่งดูเหมือนพระรอง)ของประพันธ์ คูณมี ในวันที่พันธมิตรชุมนุมหน้าสภา ที่เขาได้เรียกร้องทหารปฏิวัติอีกรอบ โดยกล่าวว่า “ถ้าเป็น ผบ.ทบ. จะปฏิวัติวันนี้เลย ผมพูดอย่างนี้ใครจะมาจับผม .. เขาอยากให้ปฏิวัติเพราะอยากให้เปลี่ยนแปลงบ้านเมือง ให้นักการเมืองชั่วหมดไปจากแผ่นดิน ถ้าเขาปฏิวัติจริงๆ มึงก็มุดหัวหางจุดตูดไปไหนไม่รู้ ถามจริงๆ เถอะที่ติดต่ออาจารย์มหาวิทยาลัยประเทศนั้นประเทศนี้ เตรียมสอนหนังสือหลังหมดอำนาจนั้น ลื้อทำจริงหรือเปล่า ถ้าจริงก็แสดงว่าแม้แต่คุณก็ไม่มั่นใจ … มันผิดตรงไหนที่กูอยากให้มีการปฏิวัติ ถ้าไม่มีการปฏิวัติ นายอภิสิทธิ์ก็ยังเป็นเด็กบ่มแก๊สไม่สุก อยู่ตรงไหนไม่รู้ ถ้าไม่มีการปฏิวัติปี 49 นายอภิสิทธิ์ชาตินี้ก็ไม่มีวันเป็นนายกฯ ถ้าไม่มีพันธมิตรฯ อภิสิทธิ์ก็ไม่มีวันเป็นนายกฯ ไฉนจึงพูดจาแบบไม่รู้จักบุญคุณประชาชน” [6]
กระแสของทหารจะกลับมาหรือไม่ ก็ต้องดูบทบาทตัวละครทหาร ซึ่งเป็นผู้ช่วยของรัฐบาลอภิสิทธิ์ หรือ ทหารเป็นตัวช่วยต่อเติมจิ๊กซอว์ให้ช่องว่างของเรื่องราวเติมเต็มกับม็อบมีเส้นพันธมิตร เช่น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ได้ออกมาให้ความเห็นว่าการชุมนุมพันธมิตรฯ เป็นสิทธิตามกฎหมาย ซึ่งนี่เป็นตัวอย่างของตัวละครที่กำลังเคลื่อนไหวตามบทบาทอันน่าติดตามอย่างใกล้ชิด เหมือนการอ่านนิยาย แต่ว่าถ้าม็อบออกมาเคลื่อนไหวอีกครั้ง เพื่อโค่นล้มพรรคประชาธิปัตย์และพรรคร่วมรัฐบาล บทบาทของผู้ช่วยพระเอกอย่างอภิสิทธิ์ในอดีตของพันธมิตรก็จะกลายเป็นผู้ร้ายไปในสายตาของคนที่ชอบนิยาย ที่มีนายอภิสิทธิ์เป็นพระเอกในปัจจุบัน แล้วเราอาจจะมาเห็นทหาร ทำรัฐประหาร แล้วเราพลิกเปลี่ยนไปเป็นเรารักทหารเป็นลูกพี่ใหญ่ (คล้ายนิยาย1984 ถ้าคนเคยอ่านนิยาย ที่มีBig Brother:พี่เบิ้ม ทำให้เขาหรือเรารักพี่เบิ้ม)
ทั้งนี้ เราอยู่ในช่วงเวลาของยุคสมัยที่ต้องมานั่งหวาดระแวงอันตรายของรัฐประหารไม่สิ้นสุดกัน จากการเคลื่อนไหวทางการเมืองของม็อบมีเส้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขัดขวางการแก้รัฐธรรมนูญ กรณีเขาพระวิหารซึ่งอาจจะนำไปสู่พรมแดนของความขัดแย้งสู่สงครามทหารตามแนวชายแดนรอบใหม่ โดยเราอาจจะต้องมีการปรับกระบวนทัศน์ที่มีปัญหาของวัฒนธรรมการอ่าน “นิยาย” ดังที่ได้กล่าวมาในขั้นต้น
เมื่อความจริงกับเราใกล้วันปีใหม่ หรือเราใกล้ชิดเส้นชัย สู่ทางออกจากปัญหา?
ผู้เขียนลองสำรวจหาความรู้โดยได้อ่านเรื่องปัญหารัฐธรรมนูญและการแก้ไขจากตัวอย่างของการอ่านแนวคิดในสิ่งที่ไม่มีในทางแก้ไขปัญหารัฐธรรมนูญไทย และค้นหาวิธีการอ่านรัฐธรรมนูญไทยโดยพยายามทำความเข้าใจกับมุมมองเรื่องหลักการ กระบวนการ และวัฒนธรรม กรณี unfinished constitution ต่างๆ นานา ซึ่งถ้าเราดูตัวอย่างต่างประเทศในการแก้ไขปัญหารัฐธรรมนูญก็แล้ว แต่กระนั้นปัญหาภายในประเทศของเรา ก็ยังต้องคงใช้เวลาเป็นเราเรียนรู้ความจริง เพราะตั้งแต่ยุคคณะราษฎรก็มีปัญหารัฐธรรมนูญในบทเรียนทางประวัติศาสตร์ของเราที่สูญเสียค่าใช้จ่าย ต้นทุนทางชุมชน และสูญเสียชีวิตของคนในสังคมเรื่อยมา
ทั้งนี้เราเหมือนจะ “อ่าน” นิยายม็อบมีเส้นอย่างไม่ด่วนใจเร็วสรุปทันที ทำให้จินตนาการรวมหมู่ว่าม็อบมีเส้น ต้องการชัยชนะ จึงชวนมาฆ่ารัฐธรรมนูญ โดยเราจะต้องไม่สร้างวัฒนธรรมมวลชนที่นำทหารมาแทรกแซงทางการเมือง และในตอนนี้ม็อบมีเส้นก็ใกล้จะจบเรื่องการโกหกอันเป็นนิยายน้ำเน่า ดังเช่นการประกาศไม่ชุมนุมวันที่ 11 ธันวาคม 2553
อย่างไรก็ตาม เราต้องมีอิสระ เสรีภาพ ภราดรภาพแห่งพี่น้อง และความยุติธรรม จากความจริงเป็นสากลของโลกเป็นเพื่อนมนุษยชาติร่วมกัน เราจะต้องไม่ยอมให้คนถูกขังคุกหมดอิสระ เสรีภาพ และความยุติธรรม โดนถูกลืมจากรัฐชาติไทย เราต้องร่วมมือสร้างชุมชนจินตนาการของชาติสอดคล้องร่วมกัน และต้องหาความคิดสร้างสรรค์เพื่อชาติไทย เพื่อเป็นเส้นทางสำหรับเอามวลมหาประชาชนมาควบคุมทหาร ทำให้ประชาชนเขียนรัฐธรรมนูญสำหรับประชาชน ร่วมสร้างเข้าใกล้เส้นชัยเสร็จสมบูรณ์เพื่อประชาชน สิ่งนี้เป็นเรื่องความจริงได้
โดยเตรียมยินดีต้อนรับเดือนแห่งความสุข ทั้งเข้มแข็งโดยสุขภาพแข็งแรงสำหรับสวัสดีปีใหม่ของทุกคน
อ้างอิง

[1] ผู้เขียนได้ความคิดที่มาของ constitutional fictions โดยหนังสือเรื่อง Some problems of the constitution. by Geoffrey Marshall, Graeme Cochrane
[2] ผู้เขียนได้ความคิดทีมาโดย Writing another Thai Constitution amounts to writing a fiction one more time “A human rights group castigates Coup leaders”
http://www.asiantribune.com/index.php?q=node/2406
[3] ส่วนหนึ่งของความคิดของผู้เขียนได้แรงบันดาลใจที่มาของในกระจก : วรรณกรรมและการเมืองสยามยุคอเมริกัน
[4] รูปปั้นลุงนวมทองในการเมืองเชิงสัญลักษณ์ของตุลา 53 http://www.prachatai3.info/journal/2010/10/31646
[5] จำลอง ศรีเมือง: “เราคือนักไล่นายกฯ มืออาชีพ ให้มันรู้ไปว่าแผ่นดินนี้เป็นของใคร”
http://prachatai.com/journal/2010/11/32050
[6] พันธมิตรชุมนุมหน้าสภา "ประพันธ์ คูณมี" ร้องทหารปฏิวัติอีกรอบ http://prachatai.com/journal/2010/11/32016

หมายเหตุ ดูเพิ่มเติม อีกเวอรชั่นหนึ่ง ที่ไทยอีนิวส์
ปัญหารัฐธรรมนูญ๒๕๕๐: นิยายและความจริง ในภาพสะท้อนเราใกล้ชิดเส้นชัย