วันอังคารที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ผู้นำสมาร์ท(Smart Leader)-การจัดการและนวัตกรรม(Innovation)

 

ผู้นำสมาร์ท(Smart Leader)-การจัดการและนวัตกรรม(Innovation)

วันนี้ในอดีต "วิกตอรีเดย์" หรือ“วันแห่งชัยชนะ” ของกองทัพสหภาพโซเวียต เหนือกองทัพนาซีเยอรมัน ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งตรงกับวันที่ 9 พ.ค. 2488

ย้อนมองอดีตสมัยที่ 1.พญามังราย ต่อมา2.พญาไชยสงคราม 3.พญาแสนพู 4.พญาคำฟู 5.พญาผายู พ.ศ. 1879 - 1898 (19 ปี) 6.พญากือนา พ.ศ. 1898 - 1928 (30 ปี) 7.พญาแสนเมืองมา พ.ศ. 1928 - 1944 (16 ปี) 8.พญาสามฝั่งแกน พ.ศ.1945 - 1984 (39 ปี) 9.พระเจ้าติโลกราช          พ.ศ. 1984 - 2030 (46 ปี) 10.พญายอดเชียงราย พ.ศ. 2030 - 2038 (8 ปี)

โดยลำดับเจ้าที่11.พญาแก้ว (พระเมืองแก้ว)พ.ศ. 2038 - 2068 (30 ปี)พญาแก้ว มีพระนามที่เรียกกันต่าง ๆ คือ พระเมืองแก้ว ฯลฯ ทรงเป็นพระปนัดดาของพระเจ้าติโลกราช และเป็นราชบุตรของพญายอดเชียงรายกับพระนางสิริยสวดี (เทวีปงน้อย) ประสูติในปีขาล ได้รับราชาภิเษกเมื่อชนมายุ 13 ปี ในวันเพ็ญเดือน 9 พ.ศ. 2039

ด้านการสงคราม ทรงรบกับอยุธยาที่ชายแดน พ.ศ. 2050 ทรงส่งกองทัพไปตีสุโขทัยแต่ไม่สำเร็จ ต่อมาปี พ.ศ. 2058 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พ.ศ. 2034-72) แห่งอยุธยาขึ้นมาตีลำปางแตก แล้วกวาดต้อนผู้คนกลับไป(ผมเคยเล่าแล้วเป็นละครทีวีอย่างป้อมปางบรรพ์) ด้านทำนุบำรุงบ้านเมือง ทรงให้ก่อกำแพงเมืองลำพูนด้วยอิฐ ปี พ.ศ. 2060 เพื่อป้องกันข้าศึก จากนั้นจึงก่อกำแพงเมืองเชียงใหม่ให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการยิงด้วยปืนใหญ่ และ พ.ศ. 2061 ให้สร้างสะพานใหญ่ข้ามแม่น้ำปิงที่ท่าสถานหลวง

12.พญาเกศเชษฐราช (พระเมืองเกษเกล้า)พ.ศ. 2068 - 2081 ครั้งที่ 1 การครองราชย์ครั้งแรกพระองค์ปกครองได้ 13 ปี พระองค์ก็ถูกยึดอำนาจจากพระโอรสของพระองค์คือ ท้าวซายคำ 13.ท้าวซายคำ           พ.ศ. 2081 - 2086 แต่ท้าวซายคำราชย์ได้แค่ 5 ปี ก็ถูกขุนนางปลดออกจากราชสมบัติ ก็ถูกลอบปลงพระชนม์โดยกลุ่มขุนนาง ด้วยข้อกล่าวหาว่าพระองค์ขาดความชอบธรรมในราชบัลลังก์  ต่อมาพญาเมืองเกษเกล้าได้ถูกอัญเชิญให้ขึ้นครองราชย์

พญาเกศเชษฐราช (พระเมืองเกษเกล้า) พ.ศ. 2086 - 2088 (2 ปี) ครั้งที่ 2 แต่พระองค์ครองราชย์ได้แค่ 2 ปี พระองค์ก็ทรงเสียพระจริต ก็ถูกแสนคราวเหล่าขุนนางไทใหญ่ลอบปลงพระชนม์ในปี พ.ศ. 2088 แผ่นดินล้านนาจึงว่างกษัตริย์และเกิดความแตกแยกถึงขั้นสงครามกลางเมือง ก่อนที่ยกพระนางจิรประภามหาเทวี พระอัครมเหสีในพระเมืองเกษเกล้า และพระราชมารดาในท้าวซายคำ ขึ้นเป็นกษัตรีย์พระองค์แรกในแผ่นดินล้านนา

14.พระนางจิรประภาเทวี พ.ศ. 2088 - 2089 (1 ปี)  ซึ่งในรัชกาลของพระนางหัวเมืองฝ่ายเหนือเกิดการระส่ำระสายเนื่องจากบ้านเมืองเกิดการแย่งอำนาจระหว่างขุนนางกับเจ้านาย บ้านเมืองอ่อนแอมีศึกสงครามขนาบทั้งทิศเหนือและใต้ ทั้งกองทัพพม่า และอยุธยา ซึ่งตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยาที่ยกทัพมาถึงเชียงใหม่

โดยต่อมาสงครามไทใหญ่ ในปีเดียวกันหลังจากกรุงศรีอยุธยายกทัพกลับไป กองทัพเมืองนายและเมืองยองห้วยจากรัฐฉานยกทัพมาล้อมเมืองเชียงใหม่ซ้ำร้ายได้เกิดแผ่นดินไหว เจดีย์หลวงรวมทั้งเจดีย์วัดพระสิงห์และวัดอื่น ๆ หักพังลงมาด้วย ซึ่งสร้างความยุ่งยากภายในเมืองมากขึ้น แต่สงครามครั้งนี้ข้าศึกได้ล่าถอยไป ต่อมาสงครามกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง เนื่องจากในปีนั้นมีข้าศึกมาติดพันอยู่ตลอดมหาเทวีจิรประภาจึงได้ขอกำลังจากล้านช้าง ซึ่งเป็นอาณาจักรของพระเจ้าโพธิสารราช พระชามาดา (ลูกเขย) ของพระนางเอง ซึ่งอาณาจักรล้านช้างกำลังเจริญรุ่งเรือง ซึ่งการรวมกันของล้านช้างและล้านนา ได้สร้างความหวั่นวิตกต่อสมเด็จพระไชยราชาธิราช โดยเฉพาะการแทรกแซงล้านนา กองทัพกรุงศรีอยุธยาจึงได้ขึ้นมาปราบเชียงใหม่เป็นครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2089 โดยเฟอร์ดินานด์ เมนเดส ปินโต นักเดินทางชาวโปรตุเกสได้บันทึกไว้

พระนางปกครองบ้านเมืองเพียงแค่เพียงปีเศษก็ได้สละราชบัลลังก์แก่ สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช พระราชนัดดา (หลานยาย)-พระอุปโย (หรือ พระไชยเชษฐา)  ซึ่งเป็นพระราชโอรสของกษัตริย์โพธิสารราชแห่งอาณาจักรล้านช้าง และภายหลังพระองค์และพระราชนัดดาได้เสด็จไปประทับในนครหลวงพระบางและมิได้นิวัติกลับมายังนครเชียงใหม่อีกเลยตลอดปลายพระชนม์ชีพ

(ปัจจุบันมีอนุสาวรีย์อยู่วัดโลกโมฬี ที่เดียวกับสถานที่ถ่ายทำฉากตำนานพระสุริโยไท ที่มีฉากดาราเพ็ญพักตร์ แสดงเป็นพระนางจิรประภาเทวี  ปัจจุบันมีอนุสาวรีย์พระเมืองเกษเกล้า ที่วัดโลกโมฬี ในอดีตเป็นพื้นที่สร้างกู่ถวายพระเมืองเกษเกล้าที่นี่ด้วย ในหนังมีฉากถวายบังคมสมเด็จพระไชยราชาธิราช ขอเป็นไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา)

15.สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช พ.ศ. 2089 - 2090 (1 ปี) ครองราชย์หนึ่งปี แล้วสมเด็จพระไชยฯ กลับหลวงพระบาง  ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองเชียงใหม่ด้วยขุนนางต่างสู้รบกัน ดังนั้นระหว่างปี พ.ศ. 2091-2094 จึงถือเป็นกลียุคของล้านนา ในที่สุดขุนนางเมืองเชียงใหม่เห็นว่าสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชทรงไม่เสด็จกลับมาแล้ว จึงได้อัญเชิญท้าวแม่กุเสวยราชย์ต่อไป ด้วยเหตุนี้พระไชยเชษฐาทรงเห็นว่าท้าวแม่กุครองราชย์โดยพระองค์มิชอบ จึงนำไปสู่การยกทัพไปตีเมืองเชียงแสนในปี พ.ศ. 2098 (ว่างกษัตริย์ พ.ศ. 2090 - 2094 :4 ปี)

16.พระเมกุฏิสุทธิวงศ์ (ท้าวเม่กุ)พ.ศ. 2094 - 2107 อดีตเจ้านายเมืองนาย และเป็นพระเจ้าเชียงใหม่ผู้สืบเชื้อสายมาจากพญามังราย   จากหลักฐานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าสภาพเศรษฐกิจของล้านนาค่อย ๆ เสื่อมทรามและทรุดลงตามลำดับ เนื่องจากปัญหาค่าเงินตกต่ำหรือที่เรียกว่าการ "ลัดเบี้ยลง" คือการลดค่าเงิน เนื่องจากปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งย่ำแย่มาตั้งแต่รัชกาลพระเมืองแก้ว เรื่อยมาจนถึงรัชกาลพระเมกุฏิสุทธิวงศ์ถือว่าเศรษฐกิจล้านนาอยู่ในระดับหายนะขั้นสุด(การตีความประวัติศาสตร์ล้านนา)

ตั้งแต่ พ.ศ. 2101 ปกครองภายใต้อำนาจพม่า จนถึงพระเจ้าเมกุฎิสุทธิวงศ์ (ท้าวแม่กุ) เป็นเวลายาวนานกว่า 260 ปี จนถึงยุคเสื่อม เมื่ออุปนิกขิต (สายลับ) ที่พระเจ้าบุเรงนองส่งมาฝังตัวเพื่อรายงานสถานการณ์ในเชียงใหม่ แจ้งกลับไปบอกว่าเชียงใหม่ถึงยุคเสื่อมสุดแล้ว ให้ยกทัพหงสาวดีมาชิงเมือง ดังนั้น ใน พ.ศ. 2101 พระเจ้าบุเรงนอง จึงยกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่

โดยทัพพม่าใช้เวลาเพียงสามวันก็สามารถยึดเมืองเชียงใหม่ได้โดยง่าย กษัตริย์เมืองเชียงใหม่ในขณะนั้น ได้หลบหนีไปยังเมือง"ปาไป่น้อย"หรือเมืองเชียงแสน ตามหลักฐานของจักรพรรดิจีนราชวงศ์หมิง อีกหกปีต่อมา พม่าก็ปลดพระเจ้าเมกุฎิสุทธิวงศ์ออกจากราชบัลลังก์ในข้อหาแข็งเมืองก่อการกบฏ ภายหลังอาณาจักรล้านนาได้พ่ายแพ้แก่พม่าในรัชสมัยพระเจ้าบุเรงนอง พระเมกุฏิสุทธิวงศ์จึงถูกนำไปเป็นองค์ประกันในพม่าก่อนพิราลัยที่นั่นด้วยโรคบิด

17.พระนางวิสุทธิเทวี พ.ศ. 2107 - 2121 ปกครองภายใต้อำนาจพม่า คือ พระเจ้าบุเรงนองจึงได้แต่งตั้งพระนางวิสุทธิเทวี อันเป็นเชื้อสายราชวงศ์มังรายอีกพระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์ พระนางครองเมืองเชียงใหม่  พระนางวิสุทธิเทวี เป็นขัตติยราชนารีพระองค์หนึ่งที่สำคัญพระองค์หนึ่งของอาณาจักรล้านนา และเป็นพระกษัตรีย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์มังราย ก่อนที่การปกครองอาณาจักรล้านนาจะตกไปสู่การปกครองของราชวงศ์ตองอู เป็นตัวอย่างผู้นำด้วย

 

ผู้นำสมาร์ท(Smart Leader)-การจัดการและนวัตกรรม(Innovation)

พระเจ้าติโลกราช เป็นพระมหากษัตริย์นักรบที่ทรงพระปรีชาสามารถได้แผ่ขยายอำนาจของกรุงราชธานีเชียงใหม่ไปทั่ว 57 หัวเมืองขึ้น ครอบคลุมทิศเหนือจรดเมืองเชียงรุ่ง (จิ่งหง) มณฑลยูนนาน ประเทศจีน เมืองเชียงตุง เมืองยอง (รัฐฉาน ประเทศพม่า) เมืองนาย เมืองไลค่า เมืองเจียงตอง เมืองปั่น เมืองยองห้วย เมืองสุ เมืองจีด เมืองกิง เมืองลอกจอก เมืองสีป้อ เมืองจาง รวมกว่า 11 เมืองทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน (รัฐฉาน พม่า) ทิศตะวันออกตีได้เมืองน่านจรดกับล้านช้าง ทิศใต้จรดขอบแดนอยุธยา แนว ตาก เถิน ศรีสัชนาลัย (สุโขทัย) ลับแล(อุตรดิตถ์) แพร่ น่าน พิจิตร(เมืองปากยม)อาณาจักรล้านนาในรัชกาลของพระองค์เป็นยุคทอง รุ่งเรืองสูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้รับการรับรองจากคนกลาง "โอรสแห่งสวรรค์"จักรพรรดิ์จีนแห่งราชวงศ์หมิง  ยกตัวอย่างพ.ศ.2022 พระเจ้าติโลกราช ก่อสร้างเป็นเจดีย์ 7 ยอด ณ วัดเจ็ดยอด

ซึ่งหลักฐานอ้างอิงได้ว่า เครื่องถ้วยสันกำแพงเริ่มทำในสมัยพระเจ้าติโลกราช จนถึงสิ้นราชวงศ์มังราย คือประมาณ พ.ศ.1984 ถึง พ.ศ.2101 นับเป็นสมัยทองของลานนาศิลปะเครื่องถ้วยสันกำแพงอยู่ได้ไม่นาน เพราะใน พ.ศ.2101 บุเรงนองเข้ามาตีเมืองเชียงใหม่ แล้วอพยพเอาบรรดาช่างฝีมือดีไปไว้ที่เมืองหงสาวดี

เชื่อว่าช่างทำเครื่องถ้วยสันกำแพงคงถูกวาดต้อนไปอยู่ที่นั่น ทำให้การทำเครื่องถ้วยที่สันกำแพงยุติลงและถูกทอดทิ้งให้ร้างไป(ลวดลายบนจานที่เขียนก็มีลักษณะคล้ายคลึงกับลวดลายของจีนในสมัยต้นๆ ของราชวงศ์ต้าหมิง ลายที่นิยมมากที่สุดและเป็นเอกลักษณ์คือลายปลาคู่ว่ายน้ำวนตามกันภายในวงกลม ซึ่งลักษณะเช่นนี้มาจากลายหยินหยางแบบจีน ส่วนลวดลายอื่นๆ ที่พบยังมีอีก เช่น ลายวงกลมซ้อนกัน ลายรูปสัตว์ในวงกลม และลายดอกไม้)จากนั้นผมยกตัวอย่างหนังตำนานสมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพมีอ้างเรื่องสามก๊ก(อ.เบน เปรียบเทียบหนังตำนานสมเด็จพระนเรศวร ฉากพระสุพรรณกัลยา ในหนังสือชุมชนจินตกรรมฯ) เป็นต้น

โดยผมได้เขียนเรื่องล้านนาในสยาม-สนธิสัญญาเบาว์ริง และผู้นำสมาร์ท(Smart Leader)(*) หลังยุคพระเจ้าตากสิน ทำให้ผมสนใจยุคสมัยยกตัวอย่างภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถวัดเมืองกาย อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทราสะท้อนให้เห็นถึงการเปิดเสรีทางการค้าของกรุงสยามที่มีมาตั้งแต่ช่วงก่อนสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง(**)จากนั้นอังกฤษเข้ามามีอิทธิพลในพม่า ต่อมาอิทธิพลอังกฤษ ในเชียงใหม่-สยาม

ครั้นแล้ว เราในปัจจุบันมองผ่านอิทธิพลของจีน ต่อภาพเครื่องถ้วยลายคราม(***) ตามภาพเปรียบเทียบประวัติศาสตร์-ปัจจุบันถ้วยพลาสติกตามภาพ มีอาหารกินบนรถไฟ และผมยกตัวอย่างสะท้อนประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม-นวัตกรรม จากมุมA History of the Thai-Chineseก็มีมุมมองต่อการจัดการและนวัตกรรม

(****) ซึ่งผมสนใจดูคลิปDartmouth's Jennifer Lind on "Chinese innovation and the global balance of power" เปรียบเทียบภาพการเดินทางไปจ.อุตรดิตถ์และพิจิตร ที่มีผู้คนเชื้อสายจีน

ดังนั้น MIT Security Studies Program มีการอธิบายเปรียบเทียบจีนกับสิงคโปร์ มีนโยบายอำนาจนิยมที่ฉลาด หรือ Smart Authoritarian Policy เปรียบเทียบไทย 21 เมษายน พุทธศักราช 2325 : ทำพิธีวางเสาหลักเมืองกรุงเทพฯ และ21 เมษายน พ.ศ.2521 (ค.ศ. 1978) - พรรคคอมมิวนิสต์อัฟกานิสถานปฏิวัติล้มล้างรัฐบาลของดาอูดข่าน จัดตั้งรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยอัฟกานิสถานที่อยู่ใต้อิทธิพลของสหภาพโซเวียต เปรียบเทียบช่วงยาวของเวลา ทำให้ผมยกตัวอย่างวันเวลาจาก21 เมษายน(*****)ด้วย

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ไทยรอจบเลือกตั้งสำหรับรัฐบาลใหม่ ในโลก ที่มีคลิปเสวนาManaging Chinas Rise Without War ว่าด้วยภาพอนาคตว่าด้วยการต่างประเทศต่อจีน โดย Asia Society Policy Institute Japan fellow สรุปอย่างย่อๆ เราบางคนตามข่าวก็จะเห็นว่าAI เข้ามาเกี่ยวข้องสงครามยูเครน-รัสเซียในยุคAI เปรียบเทียบวันนี้ในอดีต "วิกตอรีเดย์" หรือ “วันแห่งชัยชนะ” ของกองทัพสหภาพโซเวียต เหนือกองทัพนาซีเยอรมัน ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งตรงกับวันที่ 9 พ.ค. 2488 ตามภาพเปรียบเปรยอเมริกา-ยุโรปถึงรัสเซีย ที่เราต้องระวังสงครามโลกครั้งที่สามด้วย

 

*อรรคพล สาตุ้ม ล้านนาในสยาม-สนธิสัญญาเบาว์ริง และผู้นำสมาร์ท(Smart Leader)

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0PnMuxeMAHVRdojniVfjLrV6Q2eYtbNMaA8UsZDNRB44TiReZpooJ37tcYvKmDcCZl&id=100000577118415

**ย้อนอดีต จลาจลจีนตั้วเหี่ย เมืองฉะเชิงเทรา สมัยรัชกาลที่ 3 ชาวจีนล้มตายกว่า 3,000

https://www.silpa-mag.com/history/article_74866

***รู้จักตำนาน-ที่มา ของ “เครื่องถ้วยสันกำแพง”

https://www.matichonweekly.com/column/article_148335

ประวัติศาสตร์หัตถกรรมนวัตกรรมเครื่องถ้วยสันกำแพง

https://anyflip.com/jjchq/kddd/basic/51-100

****Alexander Franco ASEAN Journal of Management & Innovation  Vol. 2 No. 2, 101 –  105(July December 2015)    BOOK REVIEW  A History of the Thai-Chinese  Jeffrey Sng and Pimpraphai Bisalputra Singapore: Editions Didier Millet, 2015. (ผมยกตัวอย่างA History of the Thai-Chineseกล่าวถึงภูมิรัฐศาสตร์ ฯลฯ )

*****21 เมษายน พุทธศักราช 2325 : รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธีวางเสาหลักเมือง

https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_8473