วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

การสะสมความทรงจำ กับMake History after war

9 ธันวา
ขายหนังสือหนังสือสัญลักษณ์แห่งพระสถูป ราคาปก550บ.ลดเหลือ500บ.หนังสือนี้อ.เบน แอนเดอรสัน ผู้เขียนชุมชนจินตกรรมฯ เป็นบก.ตามรูปด้วย(คราวหน้าอาจจะมาขายหนังสือของสตีเฟน ฮอว์คิงเล่มหลุมดำ) ส่วนหนังสือล้านนา :จักรวาล ตัวตน อำนาจราคาปก: 200 บ.เหลือ150บ. และราคาหนังสือของGraham greene ในเรื่องThe Human Factor ราคา 100บ. หนังสือเพื่อนนักอ่าน(60บ.)กับหนังสือเมตาเมอร์โพสิส(70บ.)หาราคาเปรียบเทียบไม่ได้ ส่วนหนังสือการ์ตูน ตินตินผจญภัยเห็นราคาในเน็ต21 เล่มครบ ราคา8,500บ.เฉลี่ยเล่มละ400บ.? โดยประมาณ ผมจะตั้งราคาไว้ 100บ. ครับ
9.2
การสร้างเกมพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย(เกมทดลอง)
วันนี้ 9 ธันวาคม วันต่อต้านการทุจริตสากล (International Anti-Corruption Day) โดยผมพยายามสร้างเกมสะท้อนปัญหาคอรัปชั่นต่อแรงงาน คือ การสร้างเกมพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย(เกมทดลอง)
ซึ่งผมเคยเล่าเรื่องพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ต่อมาผมมีไอเดียสร้างเกม จากที่เคยเขียนเรื่องบอร์ดเกมการต่อสู้ทางชนชั้น การเสี่ยงทาย รู้หรือไม่รู้ไม่ใช่เก่งจากเกมเศรษฐี สะท้อนเรื่องโชคด้วยตามรูปประกอบ(ฯลฯ) และดูเพิ่มเติมที่เคยเขียนไว้(*) ต่อมาผมคิดทดลองประดิษฐ์สร้างสรรค์ดัดแปลงเกมพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย(เมื่อวาน 8ธันวา วันอสัญกรรมของจอมพลสฤษดิ์ มีอนุสาวรีย์เป็นประติมากรรมรูปสฤษดิ์ ที่ขอนแก่น และด้านหลังรูปปั้นมีกำแพงภาพประติมากรรมเล่าประวัติชีวิต แต่มองไม่เห็นประเด็นคอรัปชั่น หรือไม่มีประเด็นคอรัปชั่นที่หายไป)
กระนั้น ผมแค่วางแผนทำทดลองพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ศิลปะไทยไว้ แบบ ฯลฯ ซึ่งผมได้ไอเดียที่มาจากเกมพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ศิลปะเป็นชุดเกมสื่อการสอนช่วยฝึกสมองและสร้างความสนุกสนานในหมู่เพื่อนๆและครอบครัวใช้เป็นสื่อการสอนอิสระที่ผู้เล่นสามารถเรียนรู้ประวัติศาสตร์ศิลปะด้วยตนเอง สามารถเล่นได้ 3-7 คน(**) กลายมาเป็นการสร้างเกมพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย
อุปกรณ์ในการเล่น
1.กระดานพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ศิลปะ เปลี่ยนเป็นกระดานพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย
2. การ์ดผลงานศิลปะ เปลี่ยนเป็นการ์ดสิ่งของแรงงาน
3. ตัวจองการเป็นเจ้าของผลงานศิลปะ เปลี่ยนเป็นตัวจองเป็นเจ้าของสิ่งของแรงงาน
4. ตัวเดิน (แทนการเป็นผู้ชมงานศิลปะ) และตัวเดิน เป็นผู้ชมงานสิ่งของแรงงาน
5. ลูกเต๋า
ผู้เล่น
1. เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ (ทำหน้าที่ดำเนินเกมทุกอย่าง)
2 . ผู้เดินชมงานศิลปะ เปลี่ยนเป็นเดินชมสิ่งของแรงงาน(เป็นผู้เล่นที่เป็นไปตามกติกาการเล่น)
กติกาและวิธีการเล่น
1. ครั้งแรกให้ผู้ชมสิ่งของแรงงาน ทอยลูกเต๋า โดยให้ผู้ได้แต้มมากที่สุดเป็นคนเดินเป็นคนแรก โดยใช้ “ตัวเดิน” ของตนเองเดินไปตามช่องให้เท่ากับจำนวนที่ทอยได้
2. เมื่อผู้ชมสิ่งของแรงงาน เดินไปตกที่ช่องสิ่งของแรงงานใด ให้ผู้ชมสิ่งของแรงงานอธิบายสิ่งของแรงงานนั้นให้ผู้ชมสิ่งของแรงงานคนอื่นฟัง เมื่อเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เห็นว่าถูกต้องก็จะแจกการ์ดสิ่งของแรงงาน และตัวจองการเป็นเจ้าของสิ่งของแรงงาน แก่ผู้ชมสิ่งของแรงงานคนนั้น ซึ่งผู้ชมสิ่งของแรงงาน ที่ได้การ์ดสิ่งของแรงงาน ก็จะนำการ์ดสิ่งของแรงงานที่ได้มาวางไว้หน้าตัวเอง และนำตัวจองการเป็นเจ้าของสิ่งของแรงงานมาวางไว้ในช่องสิ่งของแรงงานที่ตัวเองเป็นเจ้าของ
โดยสมมติอธิบายสิ่งของแรงงานในนั้น มีไซ(ดักทรัพย์) ปลาตะเพียนนั้น ให้อธิบายเกี่ยวกับแรงงาน สมมติจะเล่าเพิ่มความเชื่อเรื่องการกำเนิดของปลาตะเพียนก็ได้ บ้างก็ว่าน่าจะสืบเนื่องมาการเสวยพระชาติเป็นปลาตะเพียนเพื่อการสั่งสมบุญบารมีของพระโพธิสัตว์พระองค์หนึ่ง เนื่องด้วยปลาตะเพียนเป็นสัตว์น้ำที่หากินคล่องแคล่ว ขยันหมั่นเพียร ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค และรวมไปถึงการขยันทำมาหากินอีกด้วย(แรงงานขยัน) มีการสร้างเป็นคู่ “ปลาตะเพียนเงิน ปลาตะเพียนทอง” ซึ่งมีความหมายแฝงถึงความเจริญก้าวหน้าเหมือนปลาที่สืบสายพันธุ์ต่อไปไม่มีวันหมด และยังหมายรวมไปถึงการครองชีวิตร่วมกันอย่างผาสุก
3. หากผู้ชมสิ่งของแรงงานไม่สามารถอธิบายสิ่งของแรงงานที่ตนเองเดินไปหยุดอยู่ได้ ก็จะไม่สามารถเป็นเจ้าของสิ่งของแรงงานนั้นๆ แต่ให้นำตัวเดินไปวางไว้ได้
4. หากมีผู้ชมสิ่งของแรงงานคนอื่นๆ เดินมาตกตรง ที่มีผู้เป็นเจ้าของสิ่งของแรงงานแล้ว ให้ผู้ที่เดินมาตก อธิบายหรือบอกชื่อสิ่งของแรงงานนั้นๆ หากไม่สามารถบอกได้ ผู้ที่เดินตกลงมาในช่องนั้นๆ จะต้องคืนสิ่งของแก่เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์แรงงาน 1 ภาพ หากยังไม่มีสิ่งของแรงงานเป็นของตนเองให้ติดไว้ก่อน แต่ถ้าหากผู้ชมสิ่งของแรงงานเดินครบ 1 รอบแล้ว ยังไม่มีสิ่งของแรงงานมาคืนพิพิธภัณฑ์ ผู้เล่นคนนั้นก็จะต้องออกจากการแข่งขัน
5. เมื่อภาพสิ่งของทุกภาพมีเจ้าของครบแล้วถือเป็นอันจบเกม คนที่มีภาพสิ่งของมากที่สุดเป็นผู้ชนะ
ใครทำเล่นกันเป็นกลุ่มก็ได้ ยกตัวอย่างหก เจ็ด แปดคนต่อหนึ่งกลุ่มเป็นตัวแทนผู้ชมสิ่งของแรงงาน ทดลองเล่นกัน โดยก่อนหน้านี้ผมทำเกมง่ายๆ ดัดแปลงแรงบันดาลใจจากภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดภูมินทร์ จ.น่าน มีภาพคันธกุมาร ผู้มีแม่ใช้แรงงานทำไร่ทำนา ต่อมาดื่มน้ำจากรอยเท้าช้าง(พระอินทร์แปลงกาย) เกิดเป็นคันธกุมาร ต่อมาตามหาพ่อ และคันธกุมารสู้กับงู(***) โดยผมนำมาดัดแปลงร่วมกับเกมบันไดงูไว้ใช้แล้ว(ไม่ได้แสดงรูปประกอบไว้) แน่ละ ดังที่กล่าวมาแล้วผมกำลังคิดเกมทดลองวิธีออกแบบการสร้างเกมพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย แม้แต่ปัญหาคอรัปชั่นต่อความปลอดภัยในการตรวจโรงงานของแรงงาน ที่ผมเคยเล่าแล้ว จะให้สะท้อนอยู่ในเกมด้วย
*การสะสมความทรงจำ อำนาจ ผู้นำ ทำหนังสั้น ทำเกม ใน Late of capitalism(แผนที่ ล็อตตารี่ ฯลฯ)
http://akkaphon.blogspot.com/2017/08/late-of-capitalism.html
โชคไม่ช่วยอย่างหนังอินเดียเรื่อง slumdog-millionaire คล้ายรายการเกมส์เศรษฐีของไทยสมัยก่อน ”ไม่มีใครโง่หรือฉลาด มีเพียงแค่รู้หรือไม่รู้เท่านั้นเอง” ไม่ใช่รายการที่ต้องการคนเก่ง .. คือ มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่า “เราเก่ง หรือไม่เก่ง” หรือ “เราโง่ หรือไม่โง่” แต่มันอยู่ที่ “เรารู้ หรือไม่รู้”ต่างหาก

**ชุดสื่อการสอนMONOPOLYพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ศิลปะ
http://folkthachatime.blogspot.com/2013/12/blog-post.html
***จิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน: การศึกษาครั้งล่าสุด
https://www.sarakadee.com/m-boran/2003/10-12/index.htm
(ลองหาดูเพิ่มเติม เนื่องจากจิตรกรรมนี้ผมเคยเขียนถึงมาบ้างแล้วจะไม่เล่าซ้ำมากหรือดูที่ผมเคยเขียนไว้บางส่วนในการอ่านภาษาภาพจิตรกรรมกับอักษรธรรมล้านนา : ชื่อของพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์แม่น้ำโขง มีชื่อเมืองชวาวดี ที่คล้ายกับเมืองชวา ชื่อเดิมของเมืองหลวงพระบาง และชื่อเมืองขวางทะบุรี คล้ายเมืองเชียงขวางของลาว มีอธิบายภาพว่า “,,,น้ำของ”)
12.2
ชุมชนจินตกรรม จากจักรวาลศาสนาสู่ยุคดาวเทียม
“ฝนดาวตกเจมินิดส์” คืนวันที่ 14 ธันวาคม 2560 เมื่อวานในอดีต 11 ธันวาคม พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) – ยานอะพอลโล 17 ยานอวกาศลำสุดท้ายในโครงการอะพอลโล ลงจอดบนดวงจันทร์ ต่อมา7 ธ.ค. พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) – ยานกาลิเลโอขององค์การนาซาถึงดาวพฤหัสบดี หลังจากใช้เวลาเดินทางในอวกาศกว่า 6 ปี
เมื่อผมยกตัวอย่างยุคดังกล่าวเป็นช่วงเวลาไทยเรา มีประดิษฐ์สร้างดาวเทียม ยกตัวอย่างดาวเทียมไทยคมแล้ว ซึ่งผมชวนทบทวนยุคก่อนดาวเทียม มีทีวีขาวดำ วิทยุ ทีวีสี มาทีวีดิจิตอล สื่ออิเลคทรอนิคส์ อินเตอร์เน็ต ย้อนกลับไปเปรียบเทียบชุมชนจินตกรรม จากยุคจักรวาลศาสนา สู่ยุคผลิตซ้ำด้วยเครื่องจักรกลสื่อสิ่งพิมพ์ ที่สร้างชุมชนจินตกรรมความเป็นชาติ โดย“วัฒนธรรมกระฎุมพีกับวรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์” (ปากไก่และใบเรือ : รวมความเรียงว่าด้วยวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ต้นรัตนโกสินทร์) ผู้เขียนคือ อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้ศึกษากำเนิดของกระฎุมพีไทย โดยผ่านการอ่านวรรณกรรมของคริสต์ศตวรรษที่ 19 อันเป็นยุคที่มีความเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ การเมือง การค้าขายกับตะวันตกทำให้อำนาจทุนและเทคโนโลยีหลั่งไหลเข้ามา และจะส่งผลต่อการเคลื่อนไหวหลายด้าน
ผู้เขียนเริ่มที่การเขียน และเงื่อนไขที่ทำให้เกิดการเขียน เขายกให้ต้นรัตนโกสินทร์เป็นยุคที่เกิดความเสื่อมของพิธีกรรมในงานวรรณกรรม และการเปลี่ยนแปลงจากภาษาพูดมาสู่ภาษาเขียน ที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่น้อยลงและจากการเขียนแบบหลวมๆ มาสู่การเขียนแบบเคร่งครัด และเน้นความสำคัญของรูปแบบใหม่ๆ เช่น ละครและกลอน รวมทั้งวิธีเขียนบทอัศจรรย์
สิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นในยุคนี้คือ เขียนโดยไม่ใช้เสียงที่เลียนธรรมชาติ และอ่านโดยปล่อยความหมายและรส ผ่านเข้าไปสู่จิตใจโดยไม่อาศัยเสียง กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส อาจเป็นคนแรกที่เริ่มแต่งวรรณกรรมที่อ่านด้วยตา หรือ “ฉันท์” ซึ่งเคร่งครัดเรื่องรูปของครุลหุ ทั้งๆ ที่แต่เดิม การอ่านและออกเสียงเป็นธุระของผู้สวดหรืออ่าน ไม่ใช่ผู้แต่ง จึงไม่เคยเคร่งครัด
อ.นิธิให้ความสำคัญกับคำสอนศาสนาที่เรียบเรียงขึ้นใหม่ เช่น ไตรโลกวินิจฉัย และประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ รวมทั้งร้อยแก้วหรือภาษาความเรียง เช่น สามก๊ก ไซ่ฮั่น ซึ่งเกิดจากการพิมพ์และการแปลมาจากภาษาต่างประเทศ(*)
ฉะนั้น ผมเล่าต่อเหตุการณ์ประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงความรู้ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ในโหราศาสตร์ควบคู่ดาราศาสตร์สมัยใหม่ และการเปลี่ยนคติจักรวาลแบบไตรภูมิ จากฝรั่งเข้ามาในสยาม มีจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถวัดบรมนิวาส ซึ่งยกตัวอย่างภาพดวงจันทร์ ภาพดาวเสาร์ ดาวพฤหัสแบบวิทยาศาสตร์ตะวันตกสมัยใหม่ เริ่มแนวคิดสร้างพรมแดน มีฝรั่งมาทางเรือสำเภาเดินเรือสินค้า และเทคโนโลยีของการผลิตสื่อการพิมพ์ ยกตัวอย่างหมอบรัดเลย์(ผมเคยเจอรุ่นหลานหมอบรัดเลยที่ม.แห่งชาติสิงคโปร์) สื่อสิ่งพิมพ์ ที่เป็นวิทยาศาสตร์แบบดาราศาสตร์จากการสั่งซื้อตำราดาราศาสตร์ กล้องโทรทรรศน์ และแผนที่ดาว จากต่างประเทศ เครื่องราชบรรณาการ ส่วนมากเป็นหนังสือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ เช่น เครื่องชั่ง ลูกโลก เทอร์มอมิเตอร์ เครื่องวัดความดันอากาศ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร(อังกฤษ) ได้ถวายกล้องโทรทรรศน์ เป็นต้น
เมื่อบริบทยาว ผมเล่าไม่ยาวสนใจเรื่องปัจจัยภายในประเทศสยาม กับปัจจัยภายนอกจากหนังสือ โดยตัวอย่างนี้ ในแง่การเปลี่ยนแปลงความรู้เคยจัดงานที่สนใจเรื่องโลกในมือนักอ่าน(**) จากประสบการณ์ของผม ที่จัดกิจกรรมคุยเรื่องหนังสือโลกในมือนักอ่าน ก็กล่าวถึงการอ่านในใจหรือการอ่านเงียบๆ คนเดียว เกิดขึ้นหรือสร้างขึ้นไม่กี่ร้อยปีมานี้ โดยผมสนใจเรื่องการอ่านแบบใหม่ ซึ่งเน้น “วัฒนธรรมสายตา” เกิดขึ้นในยุคสื่อสิ่งพิมพ์
เนื่องจากสื่อสิ่งพิมพ์ยกตัวอย่างหนังสือภูมิศาสตร์ไม่ใช่แบบไตรภูมิ ในสมัยร.5(ร.4กับร.5ฉลองพระองค์อย่างจีนผมเคยเล่าไว้) และผมยกตัวอย่างสมัยร.5 ทรงส่งพระราชโอรสและพระราชนัดดาไปยังราชสำนักแห่งเซนต์ปีเตอร์สเบริก์(รัสเซีย) ลอนดอน(อังกฤษ) และเบอร์ลิน สมัยจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี และKingแห่งปรัสเซีย(ต่อมามีSocial Democratic Party of Germanyฯลฯ) เป็นพระราชโอรสใน พระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 กับพระราชธิดาในสมเด็จพระราชินีวิกตอเรียด้วย
อย่างไรก็ดี ผมยกตัวอย่างแค่ยุคร.4ถึงร.5 ซึ่งสื่อสิ่งพิมพ์ทางศาสนาปะทะสื่อสิ่งพิมพ์วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ในโลกต่างประเทศดังกล่าว โดยรากฐานทางวัฒนธรรม จับประเด็นต่อเนื่องเรื่องอ.เบน(13 ธันวาคม พ.ศ. 2558/ค.ศ. 2015 วันถึงแก่กรรม) อธิบายศาสนาเชื่อมโยงมนุษย์-ใน-จักรวาล ต่อมนุษย์ในฐานะ สปีชีส์”(Species)หนึ่ง และภาวะบังเอิญของชีวิต ความอยู่รอดอย่างน่าอัศจรรย์นับพันๆปีของพุทธศาสนา คริสต์ศาสนา หรืออิสลาม ในแบบแผนทางสังคมที่แตกต่างหลากหลาย ย่อมเป็นเครื่องยืนยันถึงการตอบสนองอย่างเปี่ยมด้วยจินตนาการ ต่อภาระอันหนักอึ้งของความทุกข์ยาก ที่มนุษย์ต้องเผชิญ-ความเจ็บป่วย ความพิกลพิการ ความเศร้าโศก ความแก่ชรา และความตาย… (***)
ใช่ ตรรกะเหตุผลนั้น และจักรวาลใหญ่กว่าโลก อีกด้วย ส่วนยุคสมัยของเรา ที่มีนายกฯประยุทธ์ กล่าวว่านอกจากเรื่องรากนคราแล้ว ให้ไปดูช่องอื่นบ้าง ผมเจอไม่รู้ว่าช่องอะไร เขาวิเคราะห์ วิจัย มีการทำลายสาธารณสมบัติ ทรัพยากร วิหารโบราณสถาน 4 5 พันปี เขาสงสัยว่าทำไมเกิดแต่เฉพาะคนกลุ่มนี้ เขาก็วิเคราะห์กันว่า เกิดจากมนุษย์ต่างดาว(****)
ดังนั้น เรายังอยู่ในโลก ในจักรวาล,มนุษย์ต่างดาว,เทวดา,โชคชะตา ทำให้เรามีจินตนาการเป็นนิยายวิทยาศาสตร์ หรือหนังอย่างStar Wars : Episode V – The Empire Strikes Back แล้วนายกฯกับพรรคพวกทหาร ก็น่าจะรู้ว่าจักรวาลใหญ่กว่าชุมชนจินตกรรมชาติไทย หรือที่มีคำว่าใครจะใหญ่เกินกรรม
*Gutenberg Galaxy : ตัวพิมพ์กับการอ่าน (3)
https://www.matichonweekly.com/column/article_67068
(พรรณี บัวเล็ก กําเนิดและวิถีชีวิตของชนชั้นแรงงานรับจ้างในประเทศไทย ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยกล่าวถึงปีพ.ศ. 2532 อาจารย์ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ได้เสนอวิทยานิพนธ์ที่สนับสนุนแนวคิดของอาจารย์นิธิเรื่อง The Transformation of the Thai State and Economic Change (1855-1945) โดยได้ชี้ประเด็นสําคัญเกี่ยวกับนายทุนจีน..)
The Gutenberg Galaxy : ตัวพิมพ์กับการอ่าน (1)
(อ้างหนังสืออ.เบนImagined Communities : Reflection on Origin and Spread of Nationalism)
**โครงการนิทรรศการ เสวนาแบบบูรณาการระหว่าง วรรณกรรมกับศิลปะ “การอ่านจากภาพตะวันตกกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ชื่อ อ่านจากภาพ http://www.manager.co.th/Campus/nodrink/listComment.aspx?ID=68519
***การสะสมความทรงจำเดือนพฤศจิกายน

****”พล.อ.ประยุทธ์” ย้ำทหาร-ขรก.-เอกชน ต้องเป็นที่พึ่งปชช. แนะมีหลักคิดของตัวเอง อย่าหลงละคร
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/772863
(ภาพประกอบเทวดากับดวงดาว ในระบบสุริยะจักรวาลแบบวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ณ วัดบรมนิวาส)
16.2
ปัจจัยภายนอกกับภายในสงครามอินโดจีนถึงสงครามโลกครั้งที่2
วันนี้ในอดีต16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 (ค.ศ. 1938) – พันเอกหลวงพิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 3 ของไทย ต่อจากพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
เนื่องจากผมได้เคยเขียนเรื่องจอมพลป.เกิดสมัยรัชกาลที่5ไปบ้างแล้ว(*) และกำเนิดกองทัพไทยสมัยใหม่ ก็ได้เขียนไว้(**) ปัจจัยภายนอกของการเลียนแบบกองทัพสมัยใหม่ในตะวันตก ซึ่งเมื่อวันที่14 ธันวาคม พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) – สงครามแปซิฟิก: จอมพล ป. พิบูลสงคราม(เรียนจบจากฝรั่งเศสกลุ่มคณะราษฎร) ในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุดของไทย ลงนามในเอกสารหลักการร่วมยุทธระหว่างไทยกับญี่ปุ่น เป็นความต่อเนื่องของสงครามอินโดจีน ที่ผมใช้ภาพประกอบรูปพระพุทธรูป ซึ่งกองทัพฝรั่งเศสสะสมสมบัติไว้ในค่ายทหารฝั่งห้วยทรายของลาว บริบทห้วยทรายทางภูมิศาสตร์ผมเคยอธิบายแล้วว่ามีความเป็นมาก่อนขีดเส้นพรมแดนไทยลาว ก็เป็นฝั่งไทยสองฝั่งเชียงของห้วยทราย ลากผ่านแม่น้ำโขง แล้วทหารไทย ก็ได้นำข้ามกลับมาจากการสู้รบสงครามอินโดจีน
โดยยกตัวอย่างสงครามอินโดจีน มาถึงสงครามโลกครั้งที่สอง เกิดขึ้นจากสงครามแปซิฟิก มีต้นกำเนิดจากสงครามจีน ญี่ปุ่น ครั้งที่สอง โดยสงครามจีน ญี่ปุ่นครั้งที่ หนึ่ง ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศ ปรับตัวตามความเจริญของตะวันตก ด้านการทหาร ดำเนินตามรอยแบบเยอรมัน เริ่มขยายอำนาจของประเทศ รายละเอียดปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในของประเทศดังกล่าว เปรียบเทียบไทยได้ ในสงครามจีนญี่ปุ่น ปีพ.ศ.2438/1895ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5
ต่อมาพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน มีอนุสาวรีย์ที่หน้าโรงงานน้ำตาล เกาะคา ลำปาง) เข้า โรงเรียนนายร้อยทหารบก ประเทศเยอรมนี ในปี2446 ก็มีเหตุการณ์สำคัญหลายอย่างยกตัวอย่าง12 กุมภาพันธ์ สยามประกาศตนเป็นกลาง กรณีสงครามระหว่างญี่ปุ่น-รัสเซีย และผมยกตัวอย่างไปแล้วสมัยร.5 ทรงส่งพระราชโอรสและพระราชนัดดาไปยังราชสำนักแห่งเซนต์ปีเตอร์สเบริก์(รัสเซีย) ลอนดอน(อังกฤษ) และเบอร์ลิน สมัยจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี และKingแห่งปรัสเซีย เป็นพระราชโอรสใน พระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 กับพระราชธิดาในสมเด็จพระราชินีวิกตอเรียด้วย
เนื่องจากยกตัวอย่างสงครามจีน ญี่ปุ่นครั้งที่ หนึ่ง ต่อมาญี่ปุ่นกับรัสเซีย และพันธมิตรอังกฤษ-ญี่ปุ่น นี่เป็นตัวอย่างมหาอำนาจในโลก เป็นปัจจัยภายนอก ส่งผลให้ซุนยัดเซ็น รับการศึกษาในฮ่องกงที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษ(ผู้เดินทางไปทั้งสิงคโปร์ สยามมีรูปถ่ายภาพเขาติดตามบ้านชาวจีนกทม.และเชียงใหม่ ฯลฯ เขาเป็นต้นกำเนิดก๊กมินตั๋ง) ทำการปฏิวัติจีนสำเร็จ (2454/1911)ต่อมาสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเกิดขึ้นเยอรมันหรือปรัสเซีย ชนะรัสเซีย เกิดการปฏิวัติเลนินขึ้นครองอำนาจ(2460/1917) สงครามส่งผลกระทบให้ปรัสเซียหรือเยอรมัน อิทธิพลปฏิวัติรัสเซีย เปลี่ยนมีพรรคการเมืองยกตัวอย่างSocial Democratic Party of Germany มีFriedrich Ebert(President ที่มาชื่อมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท)
ช่วงเวลายุคสมัยคาบเกี่ยวกัน ในไทยเกิดกบฏเก็งเหม็งเลียนแบบซุนยัดเซ็นไม่สำเร็จ และช่วงเวลาระหว่างโลกก่อนเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งพระยาพหลพลพยุหเสนา เกอริง และฮิเดะกิ โทโจ(เป็นผู้บัญชาการกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง) ต่างรู้จักกันตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ที่สถาบันคาเด็ทส่วนกลาง (Hauptkadettenanstalt) ในกรุงเบอร์ลิน โดย กลุ่มของเกอริง, กลุ่มของพระยาพหลฯ และกลุ่มของโทโจ มักประลองดาบกันเสมอ เกอริงเป็นคนตัวใหญ่ชอบเล่นแรง จนครั้งหนึ่งเขาถูกน้อย (พลตรี พระศักดาพลรักษ์) ชกจนฟันหัก ซึ่งเกอริง ต่อมาเป็นจอมพลไรช์ แฮร์มันน์ วิลเฮล์ม เกอริง (เยอรมัน: Hermann Wilhelm Göring; พ.ศ. 2436 — พ.ศ. 2489 ดูเพิ่มเติมวิกิพีเดียไทย)ร่วมกับฮิตเลอร์(ยุคสมัยเดียวกับRosa Luxembur,Walter Benjamin,ไอนสไตน์ ต่อมากำเนิดระเบิดนิวเคลียร์) ในสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งผมยกตัวอย่างหนังThe Monuments Men กองทัพฉกขุมทรัพย์โลกสะท้าน(***) สะท้อนนาซีขโมยสมบัติงานศิลปะต่างๆ มีนักพิพิธภัณฑ์ต่างๆเข้าไปช่วยภาพน่าทำเกมเปรียบเทียบกับไทย(****)ด้วย
เมื่อเราจะเห็นความแปลกแตกต่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งไทยเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร (มีศูนย์กลางอยู่ที่ไตรภาคี ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศสและรัสเซีย) ได้ประกาศสงครามกับเยอรมันและออสเตรีย-ฮังการี แล้วไทยได้เข้าสู่สงครามร่วมกับญี่ปุ่น(และนาซีเยอรมัน) จึงเห็นนิยายคู่กรรม หรือหนังคู่กรรม(ผมเคยเล่านิยายหนังพระเจ้าช้างเผือกแล้ว) สะท้อนผ่านสงครามแปซิฟิก: จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุดของไทย ลงนามในเอกสารหลักการร่วมยุทธระหว่างไทยกับญี่ปุ่น(ผมเคยเล่าเรื่องแผนที่ยุคWorld War IIกับอาเซียนแล้ว)
ดังนั้น ผมเปรียบเทียบญี่ปุ่นบุกจีน ทำให้จีน มีผู้นำอย่างเหมาเจ๋อตุง เป็นแนวทางคอมมิวนิสต์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ไทยทางด้านปรีดี ช่วยให้ไทยรอดพ้นจากแพ้สงคราม(16 ธันวาคม พ.ศ. 2489 หรือค.ศ. 1946 – ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 55 ของสหประชาชาติ) ไม่ได้ไปสู่คอมมิวนิสต์ ก็แนวทางนี้(สุดท้ายโดนการเมืองเล่นงานไปอยู่จีนและฝรั่งเศส) และปัจจัยภายนอกกับภายในของไทยแลนด์ ก็ต่างจากอิทธิพลอเมริกาที่ชนะสงครามกับญี่ปุ่น(ปีนี้ครบรอบ130ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ญี่ปุ่น) ซึ่งยกตัวอย่างอิทธิพลก็“SEATO”(*****)ต้านคอมมิวนิสต์ ซึ่งผมมีจุดหมายปลายทางของการนำเสนอปัจจัยภายนอกกับภายในวิวาทะรัฐไทย ในปัจจัยอย่างที่ผ่านมาทั้งผู้นำ โชคชะตาผ่านมุมมองศาสนา(******) และการเมืองชาติไทยด้วย
*60ปี รัฐประหารจอมพลแปลก
**เกร็ดเรื่อง “วันกองทัพไทย” และ .. สู่อนาคต “ทหารไทยนี้รักสงบ”
https://prachatai.com/journal/2011/01/32710
***The Monuments Men กองทัพฉกขุมทรัพย์โลกสะท้าน สร้างขึ้นจากเรื่องจริงของนักล่าสมบัติที่มีฝีมือมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ผลงานแอ็คชั่นแนวดราม่าเกี่ยวกับ 7 ผู้สุดยอด ทั้งผู้แนะนำพิพิธภัณฑ์ จิตรกร สถาปนิก หัวหน้าผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ และนักประวัติศาสตร์ศิลป์ที่ได้มาร่วมแถวหน้าในเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อนำผลงานศิลปะชิ้นโบว์แดงของโลกที่ถูกขโมยไปโดยพวกขโมยชาวนาซีกลับมาคืนเจ้าของโดยชอบธรรม(หนังหาดูง่าย)
****การสร้างเกมพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย(เกมทดลอง)

*****การสะสมความทรงจำกับอดีตถึงการสร้างแผนที่อนาคตอาเซียน
**** **ชุมชนจินตกรรม จากจักรวาลศาสนาสู่ยุคดาวเทียม

(ภาพประกอบจากหนังสือ ลานนา – ล้านนา เป็นของใคร? มีรูปประติมากรรมพระพุทธรูปดังกล่าวจากสงครามอินโดจีนดูภาพเล่มหนังสือเพิ่มเติมบางส่วนในเว็บได้ http://www.saojindaratfnd.com/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%9A/5811)
21 ธันวา
ขายหนังสือ 1.เฟรเดอลิก เทย์เลอร์ ราคา85บ.หนังสือคลาสสิคพวกเรียนบริหารธุรกิจ พวกอยากเป็นนักทุนนิยมต้องอ่านทฤษฎีการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ (Scientific Management)เขาถือเป็นบิดาแห่งการบริหารงานแบบวิทยาศาสตร์ ที่มีข้อโต้แย้งของเทย์เลอร์ โดยพวกเศรษฐศาสตร์การเมืองอย่าง Labor and Monopoly Capital: The Degradation of Work in the Twentieth Century is a book by Harry Braverman.(น่ามีฉบับแปลอ่านง่ายบ้าง) 2.แรงงานกับการเมืองฯราคา140บ.3.CHINA SINCE MAO(Monthly Reviewพิมพ์),แล้วสุดท้ายขายหนังสือซ้ำอีกหลายเล่ม ยกตัวอย่าง Peasants in History: Essays in Honour of Daniel Thorner ฯลฯ
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1898040210225198&id=100000577118415
21.2
ก่อนและหลังจากเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า
วันนี้ในอดีต 21 ธันวาคม พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) – สงครามโลกครั้งที่ 2: ประเทศไทยทำอนุสัญญาเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ในการร่วมมือกันทางการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจ โดยกระทำพิธี ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
จากการทบทวนก่อนสงครามโลกครั้งที่2 ญี่ปุ่นพัฒนาประเทศจากปฏิรูปเมจิ ถึงการปฏิวัติของกระภุมพี(*)และการสะสมอาวุธ เป็นการมองประวัติศาสตร์ช่วงยาว จากปัจจัยภายนอกกับภายในรัฐ ยกตัวอย่างกำเนิดการปฏิรูปญี่ปุ่นเริ่มต้นเข้าร่วมเกม(game)การแข่งขันช่วงชิงผลประโยชน์ โดยนักทฤษฎีที่เขียนหนังสือเค้าโครงการเพื่อการปฏิรูปประเทศญี่ปุ่น(1924/2467 สมัยรัชกาลที่6) กล่าวถึงการต่อสู้ทางชนชั้น(class struggle)ภายในชาติหนึ่งๆ…จักรวรรดิอังกฤษเปรียบประดุจดังมหาเศรษฐี มีทรัพย์ที่เที่ยวไปมีสมบัติครอบครองอยู่ทั่วทุกมุมโลก ส่วนรัสเซียก็เป็นเจ้าที่ดินใหญ่ที่ยึดครองที่ดินในซีกโลกเหนือไว้ทั้งหมด ญี่ปุ่น ซึ่งมีแต่เกาะแก่งกระจัดกระจายอยู่ตรงชายขอบของโลกใบนี้ จึงเป็นเสมือนสมาชิกคนหนึ่งของชนชั้นกรรมาชีพ(proletariat) ด้วยเหตุนี้ ญี่ปุ่นจึงมีสิทธิที่จะประกาศสงครามต่อพวกชาติมหาอำนาจใหญ่ ที่ผูกขาดผลประโยชน์เอาไว้(big monopoly powers)… นี่เป็นกรณีต่อลัทธิชาตินิยมทางการและลัทธิจักรวรรดินิยม(**)ต่อมาญี่ปุ่นก็รบกับรัสเซีย ฯลฯ แล้วที่ผมชวนทบทวนวิวาทะรัฐไทย ต่อปัจจัยภายนอกกับภายในสงครามอินโดจีนถึงสงครามโลกครั้งที่2(***) สะท้อนด้านโมเดลทางทหารชาตินิยม(ทหารไทยรบสมัยใหม่ไม่ใช่แบบอดีตรบแบบเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมืองหรือรบได้พระแก้วมรกต) ซึ่งผมเคยเขียนไปบ้างแล้ว ต่อมารัสเซียแพ้ญี่ปุ่น(ที่นิยามอัตลักษณ์ชาติเป็นชนชั้นกรรมาชีพของญี่ปุ่น!) ซึ่งรัสเซียแพ้เยอรมัน และเลนินขึ้นสู่ผู้นำ(การต่อสู้ทางชนชั้น!) โดยเน้นผู้นำเลนินของโซเวียต เปรียบเทียบกับผู้นำเหมาเจ๋อตุงของจีน ซึ่งขยายความตรรกะเหตุผลในชุมชนจินตกรรมฯ ต่อเรื่องโมเดล ในบทเทวดาแห่งประวัติศาสตร์ในหนังสือมาบ้างแล้วกล่าวซ้ำ และผมขยายความต่อเนื่อง ทั้งเรื่องกำเนิดชนชั้นกระภุมพี กำเนิดทหารไทยอย่างชาตินิยม(จอมพลป.เสียชีวิตที่ญี่ปุ่น)ด้วย
โดยกล่าวอย่างง่ายๆ ต้นแบบอังกฤษ ที่มีรัฐธรรมนูญนิยม เป็นประชาธิปไตยแบบอังกฤษ มีวิวัฒนาการต่างจากการประดิษฐ์การปฏิวัติของรัสเซีย(ได้โมเดลปฏิวัติฝรั่งเศส ที่ไม่มีตัวบุคคลเป็นผู้นำอย่างศต.ที่20) เป็นโซเวียตโดยเลนิน(อยู่ร่วมสมัยกับร.5 สัมพันธ์รัสเซีย) ได้เป็นต้นแบบโมเดลต่อจีนของเหมาเจ๋อตุง ซึ่งโมเดลของจีนต่อเวียดนาม(สังคมชาวนามากกว่ากรรมาชีพอ้างอ.เบน) เขมร (ลาว) โดยการอธิบายดังกล่าวใช้ปัจจัยภายนอกอธิบายความสำเร็จของเลนิน
จากสงครามเยอรมันชนะรัสเซีย สงครามโลกครั้งที่หนึ่งเปิดโอกาสเลนินขึ้นครองอำนาจนำเป็นโซเวียต ต่อมาเหมาเจ๋อตุงจากสงครามกับญี่ปุ่น (เขมร และลาวก็ปัจจัยภายนอกเช่นเดียวกันสู่การประดิษฐ์การปฏิวัติ และการประดิษฐ์ชาตินิยมอย่างวันที่2ธันวาวันชาติลาว) โดยอ.เบน เน้นปัจจัยภายนอกต่อแผนการปฎิวัติและผู้นำ
เมื่อไอเดียโมเดลผมมีประเด็นต่อผู้นำเหมาเจ๋อตุง คือ 1.ปัจจัยภายนอกกับปัจจัยภายในรัฐจีน 2. ชาวนา จากการถกเถียงของการลัดขั้นตอนวิวัฒนาการปฏิวัติอุตสาหกรรมสู่ปฏิวัติเป็นคอมมิวนิสต์จากมาร์กซ เลนินถึงเหมาเจ๋อตุง(ผู้สืบมรดกพื้นที่แผ่นดินจีนต่อจากซุนยัดเซ็น) ที่ผมขยายความที่ผมอยากเน้นปัจจัยภายในรัฐจีน คือ เหมาเจ๋อตุงเคยกล่าวในบทความว่าด้วยความขัดแย้งไว้ว่า มูลเหตุภายนอกเป็นเงื่อนไขของความเปลี่ยนแปลง ส่วนมูลเหตุภายในเป็นพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลง และมูลเหตุภายนอกจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ก็โดยอาศัยการสนับสนุนของมูลเหตุภายใน เหมาเจ๋อตุง ได้อุปมาอุปไมยไว้อย่างน่าฟังว่า ในอุณหภูมิที่เหมาะสมไข่จะฟักตัวเป็นลูกไก่ แต่ไม่ว่าอุณหภูมิจะเป็นเช่นไร ก็ไม่อาจจะทำให้ก้อนหินฟักตัวมาเป็นลูกไก่ได้ เพราะในแต่ละกรณีมีพื้นฐานที่แตกต่างกัน(****)
โดยการวิเคราะห์และการทำนายของเหมาเจ๋อ ตง ได้กลายเป็นจริงและประสบผลสำเร็จ คือ เรื่องการปฏิวัติของชาวนา ทศวรรษต่อๆมา ประเทศต่างๆ ที่มีชาวนา(เป็นประชาชนส่วนใหญ่) และต้องการเปลี่ยนแปลงสังคม ก็ได้ผลักดันบทบาทของชาวนาให้ก้าวขึ้นมาอยู่ในแนวหน้าของการปฏิวัติ(เมื่อเปรียบเทียบกับในช่วงที่เลนิน เสนอบทบาทของชาวนาเป็นเพียง “แนวร่วม”ของการปฏิวัติที่ต้องสามัคคี) ชาวนาที่ว่านี้มิได้หมายถึงทั้งหมด(ชนชั้น) นั่นก็คือ ในบรรดาชาวนาก็ย่อมมีความแตกต่างกัน มีฐานะต่างๆ กันในขบวนการของการปฏิวัติ เพื่อพิจารณาจากแม่แบบของทฤษฎีการปฎิวัติชาวนาของเหมา (*****)
เนื่องจากสงครามโลกครั้งที่สอง(ญี่ปุ่นในฐานะอ้างเป็นชนชั้นกรรมาชีพพันธมิตรกับไทย! ) เหมาเจ๋อตุงสู้ญี่ปุ่น ทำสำเร็จในจีน ส่วนไทยอย่างที่กล่าวมาแล้วหลังสงครามโลกครั้งที่สอง(อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) ฝ่ายปรีดีแพ้ จอมพลป.กับผิณ ชุณหะวัณ ชนะ ต่อมาสงครามเกาหลีใต้(ผมเคยเขียนเรื่องไทยกับเกาหลีใต้แล้ว) ไทยร่วมรบเกาหลีภายใต้อเมริกา มาถึงสงครามคอมมิวนิสต์ในอินโดจีน
จนกระทั่งขบวนการเปลี่ยนแปลงก็ได้ผ่านเวลาจากช่วงพคท.กำลังล่มสลาย(แนวพคท.มีวิธีวิเคราะห์สถานการณ์ดูจากกระแสโลกมาไทย) มีข้อถกเถียงวิวาทะว่าด้วยรัฐไทย(ความขัดแย้ง/contradictionของสังคมหรือรัฐ)ในวารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง(วิวาทะเพื่อการวางแผนของกลุ่มเศรษฐศาสตร์การเมือง) หรือการหายไปของบทบาทพคท.อย่างที่หลายคนกล่าวไว้ เข้าสู่ยุคผ่านสงครามเย็นแล้ว ในแง่ทฤษฎีการอ้างเหมาเจ๋อตุง ในวิธีการวิเคราะห์แบบเหมาเจ๋อตุง ยกตัวอย่างงานนักวิชาการที่ผมอ้าง ในยุคสมัยก่อนหน้านั้นยังมีอยู่บ้างในไทย และต่างประเทศอย่างหนังสือ Peasants in History: Essays in Honour of Daniel Thorner เป็นต้น
ต่อมาบริบทที่ผมต้องการเน้นปีที่วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง 5,1-2(ต.ค.2528-มี.ค. 2529) ในแง่ประวัติศาสตร์ของความไม่ต่อเนื่องจากเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 สู่ 6ตุลา 2519หลายปีมาระหว่างที่สฤษดิ์ตาย และหายไปจากความทรงจำได้กลับมาปรากฏเป็นอนุสาวรีย์สฤษดิ์(เขาเป็นโมเดลวิธีการทำรัฐประหารต่อถนอม ก่อน14 ตุลา 16 ต่อมาการรัฐประหาร ที่ไม่สำเร็จมีกบฏ 9 กันยา 2528) คือ ช่วงยาวแปดปีของรัฐบาลเปรม(2523-31 ซึ่งเปรมเคยไปรบสงครามโลกครั้งที่สองที่เชียงตุง เปรมประวัติยาว ต้านคอรัปชั่นในปัจจุบัน) มีอนุสาวรีย์ประติมากรรมสฤษดิ์ในรัฐบาลเปรม(สฤษดิ์ ร่วมรบสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้คอรัปชั่นฯลฯ)ขึ้นที่ขอนแก่น(******) และที่ต่างๆ ต่อมานักวิชาการอย่างไกรศักดิ์ ชุณหะวัน ที่เคยร่วมวิวาทะว่าด้วยรัฐไทยได้เข้าไปร่วมที่ปรึกษากับพ่อของเขา คือ ชาติชาย ชุณหะวัณ(ลูกผิน ชุณหะวัณ โดยชาติชายเคยไปรบในสงครามอินโดจีนที่เชียงตุง)ในบ้านพิษณุโลก มีกลุ่มนักวิชาการต่างๆ หลังจากนั้นมีนโยบายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า ต่อมารัฐประหารปี34 ปัจจัยภายในอ้างคอรัปชั่นฯลฯ ด้วย
กระนั้น ผมจะไม่อธิบายยาวซ้ำเดิมที่ผมเคยเขียนไปบ้างแล้ว เกิดพฤษภา 2535(ข้อถกเถียงรัฐ โครงสร้างพื้นฐาน และการต่อสู้ทางชนชั้นเปลี่ยนจากยุค14 ตุลากับ 6ตุลา ฯลฯ) ซึ่งผมได้เขียนไปบางแง่มุมก็ปัจจัยภายนอกไม่มีสงครามแล้ว(คนประท้วงชูป้ายเมืองไทยไม่ใช่พม่า ข้อถกเถียงคนประท้วงแรงงานหรือชนชั้นกลาง ฯลฯ) สะท้อนไทยเหลือแต่ปัจจัยภายในดังกล่าวคำอ้างรัฐประหารคอรัปชั่นปี2549 เป็นต้นมากำเนิดการเมืองสีเหลืองสีแดง (ทักษิณกับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และปัญหาสามจังหวัดภาคใต้)ด้วย
เมื่อประวัติศาสตร์หลังเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า(ก่อนหน้าคนเคยเป็นทหารเป็นนายกฯต่อเนื่องกัน) จะเห็นว่าประเทศใหญ่มีอำนาจกดขี่ข่มเหง เอาเปรียบ เอาชนะประเทศเล็ก อุปมาปลาใหญ่กินปลาเล็กแบบสงครามเปลี่ยนเป็นการค้าทุนนิยม(ปลาใหญ่คอรัปชั่นกว่าปลาเล็ก) ผ่านกาลเวลาในยุคไทยเป็นเหมือนปลาใหญ่ลงทุนในพม่า ลาว ก่อนวิกฤติเศรษฐกิจ2540 อย่างที่ผมเคยเล่าแล้ว เปรียบเทียบในแง่ที่ยกตัวอย่างที่1 ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบสู่ผลกระทบทุนต่างจากทุนกับราชการ มาทุนคมนาคมดาวเทียม ตลาดหุ้นอย่างทักษิณ และทุนหมุนเวียนสากลตามปัจจัยภายนอก(หรือนอกจากทุนตัวอย่างเขมรกรณีสงครามจากปราสาทเขาพระวิหารปี2554) ส่วนปัจจัยภายในปัจจุบันรัฐทหารไทย ก็จัดสร้างโมเดล จากบทเรียนประวัติศาสตร์มาคุมอำนาจด้วย
ดังนั้น ผมสนใจวิเคราะห์สถานการณ์การเมือง โดยยกตัวอย่างที่2 สะท้อนวาทกรรมโลกวิชาการ มีวิธีวิเคราะห์อ้างนักคิดที่ถูกอ้างอิงอย่างฟูโกต์ กรัมชี่ มีมาแนววิเคราะห์วัฒนธรรมพื้นบ้าน ซึ่งกรัมชี่ได้รับความนิยมอยู่ปัจจุบัน(กรัมชี่กับไอเดียมองโลกแง่ร้ายด้วยสติปัญญา และการมองโลกแง่ดีอย่างสุขนิยมแบบเจตนารมย์อย่างสมดุล) แต่เหมาเจ๋อตุง(แง่บุคคล) ประสบความสำเร็จหลังสงครามโลกครั้งที่2 ที่จำนวนมากไม่ค่อยได้อ้างแล้ว ในแง่ความคลาสสิค มี Louis Althusser (*******) หรือนักทฤษฎีร่วมสมัยอย่างAlain Badiou ที่เป็นเหมาอิสต์อย่างที่ผมเคยเล่าไว้บ้าง ซึ่งส่วนตัวผมสนใจการวิเคราะห์ความขัดแย้ง และทำนายได้มีปฏิบัติการเปลี่ยนแปลงสังคม ในแง่นี้ผม(เสนอไอเดียไป)แล้วผมทำวิทยานิพนธ์ประเด็นปลา(เหมาเจ๋อตุงเคยพูดทหารเหมือนปลาผมเคยกล่าวแล้ว)จากแผนที่ไตรภูมิ คนเราเวียนว่ายตายเกิด สู่แผนที่รูปทหารคอมมิวนิสต์ ที่มีเรื่องคอรัปชั่น ในยุคมีแผนที่เราสู้คอมมิวนิตส์อินโดจีน
นี่แหละผมยกตัวอย่างหลังคอมมิวนิสต์(อ.เบน เคยเขียนRadicalism after Communism in Thailand and Indonesia.)มาถึงยุคคนจับปลา บางคราเป็นชาวนา เกษตรกร ต่อปัจจัย(Factor)ภายนอกกับปัจจัยภายใน(Internal)ของการเปลี่ยนแปลง อุปมาไก่กับไข่ หรือมีอยู่ว่าภาพไตรภูมิ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สะท้อนศาสนา โชคชะตา วาสนา ส่งคนมาเกิดเป็นผู้นำ ต่อมาเทวดาประทานพลังให้ผู้นำเป็นนักปฏิวัติ(เลนิน ที่มองชาวนาเป็นแนวร่วมอย่างNarodnikระบบคอมมูนของชาวนา) สถานการณ์สุกงอมจนได้
แน่นอน มนุษย์ใดไม่ต้องการรอคอย ต้องสร้างประวัติศาสตร์ ก้าวหน้า(Progress) แม้ว่าเราไทยแลนด์ จะถูกล้อมจากกระแสโลกาภิวัตน์ฝ่ายนีโอลิเบอรัล นีโอคอนเซอร์เวทีฟ บางด้านจากปัจจัยภายนอกทั้งอียู ฯลฯ ซึ่งบทเรียนจากอดีตทางประวัติศาสตร์ ที่มีโมเดลคลาสสิคถึงร่วมสมัยเรา และผมเสนอไอเดียแล้ว ส่วนสถานการณ์ปัจจุบันยกตัวอย่างที่3 มีนักวิชาการวิเคราะห์สถานการณ์เลือกตั้งปัจจุบันว่า…ทหารมีบทเรียนมาแล้ว อุตส่าห์อุ้มอภิสิทธิ์เป็นนายกฯปี 51 ลงแรงปราบเสื้อแดงปี 53 แต่ผลคือ เนื้อไม่ได้กิน หนังไม่ได้รอง เอากระดูกมาแขวนคอ ขณะที่ปชป.เอาพุงปลามัน ๆ ไปกินคนเดียว… นี่เป็นปัจจัยภายในเราสำหรับวิเคราะห์ความขัดแย้งในรัฐไทย ร่วมกันสะสมความทรงจำไว้ สร้างประเทศ ตื่นจากฝันร้ายด้วย
*ดูเพิ่มเติมThe Meiji Restoration of 1868 ในเกษียร เตชะพีระ Under the Optic of a Bourgeois Revolution: ใต้เลนส์การปฏิวัติกระฎุมพี
https://blogazine.pub/blogs/kasian/post/4275
(อ้างPerry Anderson,”The Notion of Bourgeois Revolution.” English Questions อธิบายน่าสนใจชนชั้นนายทุนสะสมทุนแล้วมีน้อยต้องดึงมวลชนจากชนชั้นผู้ประกอบรายย่อยต่างๆ หรือผมกล่าวให้ง่ายในแบบยกตัวอย่างสถานการณ์ไทย “ทักษิณ”ดึงมวลชนทั้งชาวนา กรรมกร มาเป็นแนวร่วม)
ดูเพิ่มเติมPerry Anderson,”The Notion of Bourgeois Revolution.” English Questionsตามลิ๊งค์
https://books.google.co.th/books?id=dntR3Sk7d4sC&pg=PA48&hl=th&source=gbs_toc_r&cad=3#v=onepage&q&f=false
(ยกตัวอย่างลิ๊งค์หนังสือ ซึ่งผมตั้งข้อสังเกตแนวคิด Overdetermination อ้างอัลธูแซร์ ซึ่งเขาเคยเขียนถึง’Contradiction(ความขัดแย้ง)and Overdetermination'(ไอเดียอิทธิพลเหมาเจ๋อตุง)ดูเพิ่มเติม https://en.wikipedia.org/wiki/Overdetermination)
**ดูเพิ่มเติม ชุมชนจินตกรรม หรือภาษาอังกฤษ คือ Imagined Communities : Reflection on Origin and Spread of Nationalism (ผมสนใจชวนลองดูเปรียบเทียบเพิ่มเติมกรณีพรรคคอมมิวนิสต์ของญี่ปุ่น George M. Beckmann,‎ Okubo Genji.Japanese Communist Party,Stanford 1969 และงานเขียนของอ.เบน ในเรื่องRadicalism after Communism in Thailand and Indonesia.)
***ปัจจัยภายนอกกับภายในสงครามอินโดจีนถึงสงครามโลกครั้งที่2

ดูเพิ่มเติมภาพซุนยัดเซ็น

โรงหนังตงก๊กหรือศรีวิศาลในเชียงใหม่ มี”รัฐธรรมนูญจีรังทั่วไทย” ด้านขวามีคำว่า “สานติสุขเสมอภาค อิสสระภาพ” และมีรูปซุนยัดเซ็น กับร.๗

บรูไน สี่รัฐมาลัย(รัฐกลันตัน ฯลฯ) สหรัฐไทยเดิม(เชียงตุง ฯลฯ) ติมอร์

(ไม่มีขบวนการปฏิวัติใดจะประสบชัยชนะได้ หากมิได้พิชิตหรือได้รับพรประทานของความเป็นนักชาตินิยม ในบ้านเมืองของเราลงแดง : แง่มุมทางสังคมและวัฒนธรรมของรัฐประหาร 6 ตุลาคม)
****สุเทพ สุนทรเภสัช ในบทความจากบรรณาการสู่บูรณาการ:วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและอุดมการณ์ในยุครัตนโกสินทร์(พ.ศ.๒๓๒๕-๒๔๗๕) อยู่ในช่วงปีที่พิมพ์กระแสเวลาปี2525(ยุคใกล้กับงานเขียนทรงชัย ณ ยะลา ปี2524 ที่อ้างDobbs)ต่อมาพิมพ์รวมเล่มในหนังสือมานุษยวิทยากับประวัติศาสตร์ มีบทความอ้างเลนิน, Dobbs ที่ฮิตสมัยนั้น (ผมเคยกล่าวแล้วDobbsสอนเศรษฐศาสตร์ที่ม.เคมบริดจ์ของอังกฤษ ซึ่งการเขียนถึงThe Transition from Feudalism to Capitalism: A Contribution to the Sweezy-Dobb Controversy โดยH. K. Takahashi and Henry F. Mins ใน Science & Society Vol. 16, No. 4 (Fall, 1952), pp. 313-345
https://www.jstor.org/stable/40400147?seq=1#page_scan_tab_contents
ส่วนผมอ้างหนังสือมานุษยวิทยากับประวัติศาสตร์เล่มนี้ไว้ในวิทยานิพนธ์ผมด้วย)
*****ศิวรักษ์ ศิวารมย์ ชาวนากับความแตกต่างทางชนชั้น วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง 5,1-2(ต.ค.2528-มี.ค. 2529)
(ยุคสมัยที่มีความสนใจชาวนา มีคนทำวิทยานิพนธ์อย่าง Shigeharu Tanabe. “Peasant farming systems in Thailand: A comparative study of rice cultivation and agricultural technology in Chiengmai and Ayutthaya. ” Ph.D. dissertation.(Geography), School of Oriental and African Studies, University of London, UK 1981.,Anan Ganjanapan. “The Partial Commercialization of Rice Production in Northern Thailand (1900–1981).” PhD diss., Cornell University, 1984.,Kanoksak Kaewthep. “Les transformations structurelles et les conflits de classes dans la societe rurale thailandaise d’apres l’ etude d’un cas: La Federation de la Paysannerie Thailandaise.” PhD diss., Universite Paris 7, 1984.,Bowie, Katherine. “Peasant Perspectives on the Political Economy of the Northern Thai Kingdom of Chiang Mai in the Nineteenth Century: Implications for the Understanding of Peasant Political Expression.”PhD diss., University of Chicago, 1988. วิทยานิพนธ์คนอื่นๆ และดูวิวาทะรัฐไทยในวารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง ดังกล่าว มีทีหลังงานบทความศึกษารัฐไทย วิพากษ์ไทยศึกษาของอ.เบน)
******ดูเพิ่มเติมทักษ์ เฉลิมเตียรณ Towards a More Inclusive National Narrative: Thai History and the Chinese ; Isan and the Nation State ในหนังสือลืมโคตรเหง้าก็เผาแผ่นดิน
http://dl.parliament.go.th/handle/lirt/417705
Pasuk Phongpaichit Economic and Social Transformation in Thailand, 1957-1973
https://books.google.co.th/books/about/Economic_and_Social_Transformation_in_Th.html?id=ZJZWAAAAYAAJ&redir_esc=y
Economic and Social Transformation in Thailand 1957-1973.
http://ethos.bl.uk/OrderDetails.do?uin=uk.bl.ethos.468930
(งานเขียนอธิบาย Origins of the class structure เป็นงานเขียนของอ.ผาสุก ที่มีชื่อเหมือนวิทยานิพนธ์ยุคสมัยสฤษดิ์ เสนอม.เคมบริดจ์ จะได้เปรียบเทียบกับงานสำนักม.คอร์แนลของอ.ทักษ์)
*******ข้อสังเกตต่องานเขียน Louis Althusser Essays in Self-Criticism กล่าวอ้างถึงว่าด้วย Spinoza กับงานเขียนTractatus Theologico-Politicus and the Ethics(แต่ไม่ได้อ้าง the big fish in the sea to eat the little fish) และถ้าผมมีโอกาสอาจเขียนถึงAlthusserต่อไอเดียความขัดแย้งของเหมาเจ๋อตุง หรือAlthusserต่อโฮจิมินห์ และErnest Mandel ต่อAlthusser เป็นต้น
http://www.marx2mao.com/Other/ESC76ii.html
[ภาพประกอบประติมากรรมพระแก้ว กับเขาพระสุเมรุ-สัญลักษณ์ของระบบจักรวาลใน “ไตรภูมิพระร่วง”
ภาพจิตรกรรมฝาผนังด้านหลังพระแก้วมรกต ภายในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามhttp://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=19045 ]
24.2
ขายหนังสือ วันพรุ่งนี้วันคริสตมาสแล้ว ผู้ใดสนใจซื้อหนังสือเป็นของขวัญ1.สังคมศาสตร์วิภาษฯ70บ.2.ประวัติศาสตร์ความคิดเศรษฐศาสตร์การเมืองไทย150บ.3.โครงสร้างประวัติศาสตร์โลก 50บ.4. ชีวิตและสังคมชนชั้นแรงงานอังกฤษฯ90บ.5.Political Economyฯ
ส่วนเล่มอื่นๆตามรูปโพสต์แล้วพร้อมราคา
24.3
ภาพวาดทรัมป์ เกมทรัมป์ และพิพิธภัณฑ์ความล้มเหลว
ผมได้เขียนวิจารณ์ทรัมป์มาบ้างแล้ว ในแง่คนวาดรูปมองภาพวาดของทรัมป์แล้วไม่ให้ราคา แต่ทรัมป์วาดรูปตึกเอมไพร์สเตท ไม่น่าจะมีคนซื้อเลย(*) น่าจะไปอยู่ในพิพิธภัณฑ์ความล้มเหลว(**) เหมือนทรัมป์เกม (Trump: The game): ปี 1989 ทรัมป์จับมือกับ Milton Bradley ทำบอร์ดเกม “Monopolyesque” มีผู้เล่น 3-4 คนต้องซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และชนะดีลผู้เล่นที่เหลือให้ได้(***) ตามภาพเห็นทรัมป์เกม และผลงานวาดรูปของทรัมป์ให้เราตัดสินซื้อกันไหม? สะสมผลงานภาพวาดนี้เป็นศิลปะไว้เป็นทุนเพิ่มมูลค่าเป็นกำไรในอนาคตได้ไหม?
*Trump drawing of Empire State Building sells for $16,000 at auction
http://www.chicagotribune.com/news/nationworld/ct-trump-empire-state-building-drawing-20171020-story.html
**พิพิธภัณฑ์แห่งความล้มเหลว
http://www.bbc.com/thai/international-4023836424.3
***ทรัมป์เกม (Trump: The game)
24.4
วัดอุโมงค์ ที่พวกผมเคยทำปฏิทินอันเล็กครบรอบ10ปีตามรูป ซึ่งเวลาจะผ่านพ้นปีใหม่เลยผมไปถ่ายรูปรำลึกความทรงจำ เจอผู้คนโดยบังเอิญสองคน ทำให้นึกถึงเพื่อนร่วมรุ่นป.ตรีที่บังเอิญเจอช่วงก่อนด้วย^^
24.5
ราตรีสวัสดิ์ ชีวิตหลายเรื่องด้วยกัน สำหรับดีเจบอย หายไปกลับมาส่งท้ายค่ำคืนนี้กับวงCountry Joe กับปลา มาจากชื่อผู้นำวงดนตรีJoe และผู้จัดการวงนำมาจากคำคมเหมาเจ๋อตุงนั่นคือประชาชนเหมือนน้ำและกองทัพทหารเหมือนปลา (ลองฟังเพลงThe Fish Cheer/I-Feel-Like-I’m-Fixin’-to-Die Rag ร้องในงานวู้ดสต๊อก)
26.2
ขายแหวน ขายหนังสือ จะสวัสดีปีใหม่แล้วจ้า ขายซ้ำบก.ฮิปปี้ รงค์ฯลฯ และขายเล่มเต๋าแห่งฟิสิกส์ 90บ. กับไทยยวน-คนเมือง 90บ.แคปิตะลิสม์โดย สุภา ศิริมานนท์ ราคาเท่าทางเน็ต(ตามภาพตัวอย่างเนื่องจากไม่มีเวลาถ่ายภาพ) แหวนฯลฯ ครับ
ตามรูปดูลิ๊งค์ได้ขายหนังสือเฟื่องนคร : ตุลาคม ไพรำ ฯลฯ ตามรูปสำนักพิมพ์ฯลฯ

ผจญถ้อยร้อยเรียง ยกเว้นตำนานวัดจีนขายได้แล้วฯลฯ
26.3
การสะสมความทรงจำ กับMake History after War
วันนี้ในอดีต 26 ธันวาคม พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) – วันสถาปนาแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้
บริบทก่อนหน้าแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ
เนื่องจากผมชวนทบทวนอดีตการสะสมความทรงจำกับการสร้างประวัติศาสตร์หลังสงคราม(Make History after War ) ซึ่งก่อนหน้าปฏิบัติการแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้ โดยยกตัวอย่างที่ผมเขียนไปบ้างแล้ว หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จีนขึ้นโดยเหมา(อิทธิพลโซเวียต) ที่ผมเคยกล่าวแล้ว บางด้านเล่าเพิ่มกรณีปัจจัยกองกำลังเสรีไทย และอาวุธสงครามที่เหลืออยู่ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง อันมีส่วนนำไปสู่รัฐประหาร 9 พฤศจิกายน 2490 ของคณะทหาร ที่ใช้สิทธิอำนาจผูกขาดการมีอาวุธสงคราม(MONOPOLY OF WAR WEAPONS) ทำให้ปรีดีไปสิงคโปร์จีนพ.ศ. 2491แล้วต่อมาปรีดีกลับมาสู้ต้องลี้ภัยไปสิงคโปร์ ติดต่ออเมริกาไม่ได้ไปอยู่จีน(ถึง2513 ถึงลี้ภัยฝรั่งเศส)
เมื่อประวัติศาสตร์ความคิดเศรษฐศาสตร์การเมืองไทยในนิตยสารอักษรสาสน์ตีพิมพ์งานเกี่ยวกับการปฏิวัติจีน(*) ในช่วงพ.ศ.2492 นายผี(อัศนี พลจันทร์) ได้เปลี่ยนเป็นมามาร์กซิสต์และเข้าร่วมพคท.ในปี2493 แล้วพรรคส่งไปศึกษาลัทธิมาร์กซ์ที่ประเทศจีน ต่อมามีการตีความกาพย์กลอนของเขาในความ”เปลี่ยนแปลง”เชียร์สรรนิพนธ์เหมา(ผู้เกิดวันที่ 26 ธันวามีผู้ยกย่องGreat Leader Great Teacher) ฯลฯ เป็นต้น
ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 เวียดนามก็ได้ประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการ หลังจากที่ฝรั่งเศสพ่ายแพ้ในยุทธการที่เดียนเบียนฟู โฮจิมินห์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามเป็นคนแรกและแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ ปฏิบัติการตั้งแต่พ.ศ. 2497 – พ.ศ. 2519 มีแนวคิดลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งมีพันธมิตรเวียดนามเหนือ, สหภาพโซเวียต, จีน และปรปักษ์ คือ เวียดนามใต้ตกอยู่อิทธิพลสหรัฐอเมริกา(ที่ยึดครองฟิลิปปินส์ก่อนซุนยัดเซ็นปฏิวัติจีน) ปัญหาภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนผมได้กล่าวมาบ้างแล้ว ในไทย มีงานเขียนเรื่องเหมาเจ๋อตงกับขบวนการนักศึกษาไทยด้วย
โดยประวัติศาสตร์แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้ หรือ เวียดกง หรือ เหวียดกง ก่อตั้งเมื่อ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2503 เป็นตัวแทนของพรรคคอมมิวนิสต์ในเวียดนามใต้ เพื่อหาเสียงสนับสนุนจากประชาชนและต่อต้านรัฐบาลของโง ดิ่ญ เสี่ยม เวียดกงได้รับการสนับสนุนทางอาวุธยุทโธปกรณ์จากฝ่ายคอมมิวนิสต์ในเวียดนามใต้ และกองทัพประชาชนเวียดนาม แนวร่วมนี้ก่อตั้งตามแนวชายแดนกัมพูชา ประธานคือ เหงียน หืว เถาะ
พรรคนี้ได้เข้าร่วมในรัฐบาลปฏิวัติเฉพาะกาลแห่งสาธารณรัฐเวียดนามใต้ เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2512 เมื่อรัฐบาลในไซ่ง่อนล้มลงเมื่อ พ.ศ. 2518 แนวร่วมนี้ได้รวมเข้ากับแนวร่วมปิตุภูมิเวียดนามซึ่งเป็นองค์กรคู่ขนานในเวียดนามเหนือหลังชัยชนะของฝ่ายเวียดนามเหนือต่อเวียดนามใต้ และเกิดการรวมประเทศเวียดนามในที่สุดด้วย
จากนั้นเรารู้กันแล้วหลัง 6 ตุลา 19 บริบทร่วมสมัยนั้นในไทย จีน เวียดนาม ลาว อเมริกา และเราได้เรียนรู้มาแล้ว ด้านหนึ่งมีตัวอย่างบริบทเป็นบทเพลงต่อต้านสงครามเวียดนาม ในสหรัฐอเมริกา เกิดเพลงร็อคต่อต้านสภาพสังคมและสงคราม เนื้อหาแสดงออกถึงการต่อต้าน การแบ่งผิวการโจมตีระบบการศึกษาที่เร่งผลิตนักศึกษาจำนวนมาก แต่ขาดฐานการรองรับในเรื่องงานนักศึกษาปัญญาชน เบื่อหน่ายระบบการปกครอง ภายใต้บรรดาบริษัทธุรกิจที่คุมอำนาจเศรษฐกิจ ซึ่งมีผลทางการเมืองในเมืองใหญ่ การเกณฑ์ทหารไปรบในสงครามเวียตนามและลัทธิแมกคาที ซึ่งเป็นระบบที่น่ากลัวในการใส่ร้ายผู้บริสุทธิ์ว่าเป็นคอมมิวนิสต์
ในสถานการณ์ความปั่นป่วนเหล่านี้ มีผลทำให้นักศึกษาปัญญาชน ศิลปินของอเมริกาต่อต้านสังคมและสงคราม บ็อบ ดีแลน (Bob Dylan) บทเพลง แนวความคิด อิทธิพลการสื่อสาร และแบบอย่างที่นักศึกษาไทยได้รับรู้และเห็นถึงยุทธวิธีต่างๆ ในการต่อต้านจากการศึกษาในต่างประเทศ แนวความคิดเหล่านี้น่าจะมีผลอยู่ในขบวนการของคนรุ่นหนุ่มสาวที่ต้องการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยให้ดีขึ้น เพราะสังคมไทยขณะนั้นเต็มไปด้วยความเหลวแหลกอันได้รับจากวัฒนธรรม ซึ่งมาพร้อมกับทหาร อเมริกันที่มาตั้งฐานทัพในประเทศไทย อิทธิพลทางวัฒนธรรมด้านการต่างกาย ยาเสพติด กัญชา เฮโรอีน สถานเริงรมย์ต่างๆ
ปัญหาหญิงโสเภณีไทย ก่อให้เกิดเด็กต่างผิวในสังคมไทย นับว่าเป็นช่วงที่ไทยมีวิกฤตการณ์ทางสังคมและการเมืองที่สุกงอม ตัวอย่างที่สะท้อนสภาพที่เกิดความเบื่อหน่ายและเหลวแหลกของนักศึกษาประชาชนในสหรัฐอเมริกา คือ การรวมตัวของคนหนุ่มสาวที่ต้องการแสดงให้เห็นพลังของเขาโดยมีสัญลักษณ์ประจำได้แก่ เรื่องสันติภาพ ความรัก และเสียงเพลง พวกเขาจะเรียกตัวเองว่า “ฮิปปี้” หรือ “บุปผาชน”(**)
แน่นอน การไม่ยอมรับสงครามมีเพลงจินตนาการ You may say I’m a dreamer But I’m not the only one I hope someday you join us And the world will be as one Imagine no possessions นั่นเป็นความหวังไม่เอาสงคราม Make love, not war แต่มีสุสานทหาร(ยกตัวอย่างทหารอเมริกา) จินตกรรมผีสิงแห่งชาติ(***)
ดังนั้น ผมเขียนมาต่อเนื่องอยากย้ำเหมาเจอตุงกับทักษิณเป็นจีนแคะเหมือนกัน ซึ่งผมเคยเขียนบทความมาทบทวนอดีต (****) และขยายความซ้ำบางส่วน(*****) พร้อมนำเสนอใหม่ภาพเวลาที่ผ่านไปของศิลปินในวงดนตรีCountry Joe กับปลา มาจากชื่อผู้นำวงดนตรีJoe และผู้จัดการวงนำชื่อมาจากประเทศเหมากับปลาจากคำคมโดยเหมาเจ๋อตุง นั่นคือ ประชาชนเหมือนน้ำและกองทัพทหารเหมือนปลา ลาก่อนสงครามเวียดนามได้อย่างมองโลกแง่ดีแบบสุขใจ แม้อาจจะใช้เวลานานผ่านไปในความทรงจำดูแก่ชรา จากดูวิดีโอ รำลึกวงประเทศชาติโจกับปลา โชว์เดี่ยวโดย Joe Donald มาโชว์เดี่ยวร้องเพลง ในงานThe Vietnam War Summit ก็ตาม.
-The Vietnam War Summit: Country Joe McDonald Performs “I Feel Like I’m Fixin’ to Die Rag”
*อักษรสาสน์ของสุภา ศิริมานนท์(เคยเป็นเสรีไทยและติดคุกกบฏสันติภาพพร้อมกับกุหลาบ สายประดิษฐ์ฯลฯ) ผู้ทำหนังสือ “แคปิตะลิสม์” (ทุนนิยม)ในปี2494ใกล้เคียงยุคนั้น โดยคุณสุภาช่วยหางานให้คอมมิวนิสต์ไม่ทุกข์ขากเกินไปหางานทำในบริษัทประกันภัยอาคเนย์ เป็นต้น
**อิทธิพลเพลงเพื่อชีวิตไทย จากเพลงต่อต้านสงคราม – สังคมในอเมริกาhttp://www.noknight.com/data_files/art_song4life003.htm
***รากฐานทางวัฒนธรรมในชุมชนจินตกรรม หรือภาษาอังกฤษ คือ Imagined Communities : Reflection on Origin and Spread of Nationalism(อ.เบนเคยสอนวิชาMilitary &Politicsหรือทหารกับการเมือง ดูเพิ่มเติม”ทหารทำเพราะอะไร” https://www.matichon.co.th/news/72898)
****“Big Cleaning Day และเดอะเฮด”: การสร้างอารมณ์ความรู้สึกของคนในชาติและประชาธิปไตยร่วมกัน
http://akkaphon.blogspot.com/2011/06/big-cleaning-day.html
*****กำเนิดวันปีใหม่สากลในไทย กับสัญลักษณ์ไก่
26.4
บันทึกปีไก่(ปีระกา)
ผมทบทวนใกล้ปีใหม่มีบางเรื่องยังค้างคาไม่เสร็จ การใช้เฟซฯที่น้อยของผม ต้องแบ่งเวลาไปโพสตเฟซฯเพจเครือข่ายแรงงานภาคเหนือ
ทั้งตอบข้อความทางเฟซฯบ้าง และผมมีกลุ่มต่างๆ อีกหลายกลุ่มในเฟซฯไม่ได้ดูอีกนานครั้งได้ดู เพราะชีวิตไม่อยากหลายเรื่องก็ได้ ในภาพตามลิ๊งก์ไปร่วมเดินขบวนปลุกระดมคนงาน ปลุกระดมตัวเองไปในตัวด้วย(ฮร่า) มีอีกหลายเรื่องน่าสนใจอยากเขียนบันทึกไว้ แต่แค่นี้ก่อนหมดปีไก่
-เครือข่ายแรงงานภาคเหนือยื่นข้อร้องเรียนเนื่องในวันแรงงานข้ามชาติสากล
-จับตาแรงงานกับระบบขนส่งสาธาณะ“รถไฟฟ้าใต้ดินเชียงใหม่”แสนล้าน พร้อมเปิดประมูลปี 61

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น