วันเสาร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2553

แม่หญิงแห่งแม่น้ำโขง: บทบาทสตรีศรีภรรยาคนจับปลาในยุคโลกาภิวัตน์

อรรคพล สาตุ้ม

แม่หญิงแห่งแม่น้ำโขง- บทบาทสตรีศรีภรรยาคนจับปลาในยุคโลกาภิวัตน์

สภาพความเป็นอยู่ของชุมชนบ้านหาดไคร้ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย ชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขง ติดกับพรมแดนเมืองห้วยทราย ประเทศลาว ทำการค้าแลกเปลี่ยนสินค้าทั้งปลา อาหาร การเกษตรของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขง ที่มีความผูกพันกับการจับปลาในแม่น้ำมายาวนาน ทำให้มีความสัมพันธ์ชุมชนต่อพันธุ์ปลาแม่น้ำโขง

คนจับปลากับเรือเป็นสิ่งสัมพันธ์ต่อเครื่องมือจับปลาพื้นบ้านด้วย ในการใช้ไซลั่นดักจับปลาตามริมแม่น้ำ การจับปลาของชุมชนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในแม่น้ำโขงสองชุมชนร่วมกันสืบทอดเคารพความเชื่อต่อผีแม่น้ำโขง การมีเครื่องบูชาบนเรือหาปลา มีการจับปลาพันธุ์ต่างๆหลากหลายมาก เช่น ปลาเพทาย ปลาไน ปลาเพี้ย ปลานิล ปลาแกง ปลากวง ฯลฯ นอกจากนี้ชาวบ้านยังแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องเครื่องมือหาปลาระหว่างไทย-ลาว กับจับปลาขายตามตลาด รวมถึงทำการเกษตร ปลูกผักริมฝั่งแม่น้ำโขง

ภาพสะท้อนความสัมพันธ์การจับปลาในอดีตระดับชุมชนที่เคยมีปฏิสัมพันธักันมาก่อนมีพรมแดนขวางกั้น คือประวัติศาสตร์ของอาณาจักรล้านนา-ล้านช้าง และเมืองเชียงของกับห้วยทรายก็เปลี่ยนไปอยู่ในขอบเขตแดนของสยาม ก่อนที่จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยกับประเทศลาว เพราะเปลี่ยนแปลงแนวคิดเดิมทางแผนที่ของสยามเพื่อสร้างขอบเขตแดน ให้มีอาณาเขตอย่างชัดเจน เพราะการเข้ามาล่าอาณานิคมของอังกฤษกับฝรั่งเศส ทำให้เปลี่ยนจากแนวคิดแผนที่คติจักรวาลแบบไตรภูมิ เป็นแผนที่ตามภูมิศาสตร์ความรู้แบบวิทยาศาสตร์ตะวันตก แต่ที่นี่ก็ยังเป็นเส้นทางสานสัมพันธ์ของผู้คนสองเชื้อชาติและสองประเทศที่ใช้ข้ามไปมาหาสู่ดุจญาติฉันท์มิตร มีสิทธิการติดต่อซื้อขายกันอย่างเสรี เสมือนไร้รัฐ จะมีเพียงเส้นแบ่งทางภูมิศาสตร์หรือทางธรรมชาติคือแม่น้ำโขงที่แบ่งแยกแผ่นดินออกจากกันเท่านั้น ซึ่งแสดงถึงแม่น้ำโขงถูกใช้เป็นพรมแดน นอกจากเรื่องการค้าระหว่างกัน และรากฐานทรัพยากรธรรมชาติ ดังเช่น ปลา ด้วย

ท่ามกลางการพัฒนาและโลกาภิวัตน์จากปัญหาการเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ใหม่ดังกล่าวในช่วงของการเก็บข้อมูลภาคสนามเพื่อทำวิทยานิพนธ์ตัวผู้วิจัยได้เข้าไปพบการเปลี่ยนแปลงทางความหมายและความเชื่อเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนให้สตรีได้นั่งบนเรือหาปลาได้ซึ่งแต่เดิมคนจับปลาได้เคยกล่าวไว้ว่าถึงความเชื่อห้ามไม่ให้สตรีขึ้นนั่งบนเรือ หรือข้ามเรือ นอกจากนั้นบทบาทของแม่ย่านางเรือ(ความเชื่อเคารพเพศแม่และแม่น้ำ) รวมทั้งหญิงลาวที่เข้ามาแต่งงานกับคนจับปลาคนไทยก็ได้สะท้อนภาพหลังการเปลี่ยนแปลงทางด้านการถูกแบ่งแยกทางพรมแดนให้เห็นว่าไม่มีความแตกต่างทางพรมแดนของคนจับปลาไทย-ลาว ถ้าหากพิจารณาตามกรอบของทฤษฏีสตรีนิยมแล้ว ก็คงเห็นสภาพการขยับความเท่าเทียมทั้งทางกายภาพและทางอุดมการณ์ของความคิด ความเชื่อ ที่ให้สตรีมีส่วนร่วมในการเข้ามาในพื้นที่แห่งการจับปลาได้

ดังนั้นต้องเอ่ยถึงการนิยามรัฐชาติขึ้นมาใหม่อีกครั้งรวมถึงผลกระทบต่างๆ ซึ่งทำให้พรมแดนทางกายภาพเปลี่ยนแปลงจากเดิมแม่น้ำไม่เคยกั้นขวางกลับเป็นขวางกั้นได้เปลี่ยนพรมแดนทางความรู้ ความคิด ความเชื่อของคนก็เปลี่ยนตามไปด้วย ฉะนั้นการนิยามแม่หญิงแห่งแม่น้ำโขงสตรีศรีภรรยาของคนจับปลาขึ้นมาใหม่ก็เป็นการก้าวข้ามพรมแดนของอคติทางเพศในความเชื่อเก่าต่อสตรีจะต้องมีส่วนของผลกระทบหลายอย่างประกอบกัน ดังที่บ้านหาดไคร้ อ.เชียงของ จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย ที่เป็นหมู่บ้านชายแดนไทยติดกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งพรมแดนของสองประเทศคือแม่น้ำโขงได้ขวางกั้นความสัมพันธ์ระหว่างกันในช่วงอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ ที่แบ่งแยกอย่างชัดเจนอีกด้วย ทั้งสองชุมชนขาดการติดต่อไปมาหาสู่ไม่สามารถข้ามฝั่งแลกเปลี่ยนติดต่อกันได้

แต่แล้วความสัมพันธ์ก็ได้กลับคืนมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายทางการเมืองของสองประเทศ หลังสิ้นสุดสงครามเย็นทางอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ ท่ามกลางกระแสของการพัฒนาตามปัจจัยภายในของประเทศและปัจจัยภายนอกของโลกาภิวัตน์ทางการสื่อสารคมคนาคม ที่ได้เข้ามามีผลกระทบทั้งสองประเทศก็ได้เปิดประตูการค้ากันโดยมีวาทกรรมเปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า ครอบงำและครอบคลุมโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมของชุมชน

ประวัติศาสตร์ระดับชาติจากยุคอดีตมาปัจจุบันกำลังถูกนำทิศทางใช้ประโยชน์ทางกระแสด้านเศรษฐกิจการค้าเสรีระดับระหว่างประเทศ ผลกระทบนี้ได้เข้ามาสู่ชุมชนตามการขนส่งสินค้าทางเรือของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ส่งที่ท่าเรือเชียงของ จุดผ่านแดนแลกเปลี่ยนสินค้าชายแดน นอกจากนี้แผนของการพัฒนายังคงเติบโตขึ้นมาในนามโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ หลังวิกฤติเศรษฐกิจแล้วก็ยังเดินหน้าผลักดันขยายเป็นหกเหลี่ยมเศรษฐกิจ ต่อมามีการสร้างเขื่อนในลาว กับจีน ซึ่งลาว-จีนจะปันน้ำใช้เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าขายด้วย ทำให้มีความวิตกกังวลตามมาด้วยการระเบิดเกาะแก่งหินเพื่อการเดินเรือสินค้าก็ทำการระเบิดในส่วนของประเทศจีน ต้นธารแห่งแม่น้ำโขงแล้ว มีแผนว่าจะสืบเนื่องมาถึงไทย
อย่างไรก็ตามผลกระทบของการพัฒนาและโลกาภิวัตน์จากเทคโนโลยีเรือสินค้าเคลื่อนย้ายสินค้าและเกี่ยวพันกับการค้าลงทุนของเงินกองทุนธนาคารแห่งเอเชียต่างนานาอันซับซ้อน ที่รัฐบาลคิดว่าเกินกว่าความเข้าใจของคนจับปลา ที่จะรู้ได้ว่าตัวแปรและปัจจัยของสาเหตุหลายอย่างมีผลกระทบต่อคนจับปลา

ในที่สุดคนจับปลาที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ชายก็ได้รับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางสภาวะแวดล้อมธรรมชาติของแม่น้ำโขงผ่านมากับแนวทางของนโยบายการพัฒนาประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงต่างก็เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจขนาดใหญ่ และละเลยคนจับปลากลุ่มเล็กๆที่มีครอบครัวเป็นลูก ภรรยา ต้องช่วยกันประคับประคองวิกฤติทางสิ่งแวดล้อมของจำนวนปลาจับได้แต่ละวันลดลงเพราะจากการรบกวนของเรือเดินสินค้าที่ทำให้แม่น้ำโขงสกปรก กับระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงตามกระแสน้ำไม่ปกติของเขื่อน

เหตุผลดังกล่าวประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของโลกทัศน์เดิมคือเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงความคิดของคนจับปลาต่อพรมแดนความเชื่อดั้งเดิม บดบังบทบาทของสตรีไม่ให้ผู้หญิงนั่งบนเรือจับปลา แตะต้องเรือ หรือข้ามเรือ เพราะจะ “ขึด”ในความหมายเป็นข้อห้ามว่าทำแล้วไม่ดี แต่โลกทัศน์สมัยใหม่แบบวิทยาสาสตร์ก็ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงความคิดคนจับปลาไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีของกรมประมงในการผสมเทียมเพาะพันธุ์ปลาบึกได้ และคาดหวังว่าจะเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ดังนั้นหลังจากได้รับผลกระทบของการพัฒนาทางเทคโนโลยีและการท่องเที่ยวของจังหวัดที่เน้นให้พื้นที่มีผลิตพิธีกรรมบวงสรวงจับปลาขึ้นมาอย่างใหญ่โตสร้างภาพเทียมให้นักท่องเที่ยวต่างชาติและคนไทยเข้ามาจ้องมองดูพิธีกรรมนี้ตามกระแสของตลาดการท่องเที่ยว

แต่ก็มีพิธีกรรมแท้โดยชาวบ้านได้แยกออกไปทำพิธีกรรมต่างหากเช่นกัน สะท้อนการปรับตัวในความขัดแย้งของพรมแดนความเชื่อในการเคารพผีปลาบึกที่ไม่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวและแม่น้ำโขงลดลง รวมถึงการบูชาแม่ย่านางเรือเพื่อการจับปลา(บางคนทำพิธีบูชาแต่ละวันบางคนไม่ทำเลย)กลับกลายเปิดพื้นที่ให้แม่หญิงแห่งแม่น้ำโขง ได้มีพื้นที่ตัวตนสามารถนั่งบนเรือได้ไม่ขึดและปรากฏการณ์ดังกล่าวกับส่งเสริมให้สตรีศรีภรรยาของคนจับปลาถือว่าเป็นตัวนำโชคด้วย(หมาน-คำเมือง)

จากหน้าที่ของสตรีเพียงแบ่งพื้นที่ให้จับปลาที่ริมฝั่งแม่น้ำโขงติดกับหาดทรายของวัดหาดไคร้และใช้อุปกรณ์จับปลาขนาดเล็กทอดแหหรือใช้เครื่องมือจับปลาพื้นบ้าน เช่น ไซ อันสะท้อนภูมิปัญญาของชาวบ้านด้านจักสานใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุเกี่ยวกับธรรมชาติ

อย่างไรก็ดี ไม่ใช่ว่าการมาช่วยจับปลาใหญ่ในพี้นที่ดอนจะมีสตรีนั่งอยู่บนเรือคนเดียวแล้วจับปลานั้นเป็นไปไม่ได้เนื่องจากมอง(อวน)มีขนาดใหญ่ต้องอาศัยกำลังมาก ดังนั้นจึงเป็นเพียงผู้ช่วยจับปลาเพราะความห่วงใยของสามีคือคนจับปลาต่อภรรยาว่าจะตากแดดร้อน ต้องเสี่ยงกับแรงดึงของปลาแล้วล่วงลงจมน้ำหรือมองถูกเกี่ยวพัน กับใบพัดของเรือเดินสินค้าทำให้ตกน้ำประสบอุบัติเหตุต่างๆนานา

หากจะเชื่อมโยงภาพของอดีตกับปัจจุบันของพื้นที่ทางกายภาพกับพื้นที่ทางความคิดของพรมแดนแม่น้ำโขงหรือดอนนี้ สะท้อนตัวตนของสตรีออกมาเกี่ยวกับข้อห้ามทางความเชื่อเดิม คนจับปลาเชื่อถือเรืองโชคชะตาว่าจับปลาได้ย่อมเกี่ยวข้องกับฝีมือจากประสบการณ์ สัญชาตญาณ และ “หมาน”(โชคดี)ก็ต้องเกี่ยวข้องกับเรือ รวมถึงพื้นที่จับปลาในปัจจุบันก็ถูกแย่งชิงทรัพยากรปลาและทางสิ่งแวดล้อม

อนึ่ง ความสำคัญของพื้นที่ในบริบททางประวัติศาสตร์ของความคิด วิธีคิด สำนึกของอดีตพื้นที่ดอนเป็นเหมือนพื้นที่ศักดิ์สิทธ์ทางศาสนาพุทธ ตามการรับรู้ที่อำเภอเชียงแสนเคยมีการสร้างพระพุทธรูปและเป็นที่ประกอบพิธีกรรมเป็นวัดบนดอน ดังที่ปรากฏเนื้อหาพงศาวดารโยนก และพื้นที่ดอนนี้เกี่ยวพันกับความรู้เรื่องปลากับการรับรู้แม่น้ำโขง(คติเกี่ยวกับน้ำ) ผ่านคติไตรภูมิจักรวาลสะท้อนสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติแบบพุทธะ พื้นที่ย่อมเชื่อมโยงกับคติทางพระพุทธศาสนา ดังที่มีตำนานพระพุทธเจ้าเสด็จมาที่วัดตีนธาตุ
อย่างไรก็ตามพื้นที่นี้ใกล้วัดหาดไคร้ด้วย ก็มีกฎทางศีลธรรมของวัดอยู่แล้วว่าวัดเป็นเขตอภัยทานห้ามจับสัตว์น้ำ ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต แต่กระแสของการพัฒนานิยามพื้นที่เป็นล่าปลาบึกแห่งแรกของโลกแล้วก็เปลี่ยนแปลงตามกระแสอนุรักษ์เป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุ์ปลาบึกปฏิสัมพันธ์ของชุมชนกับนโยบายของรัฐในการจัดการท้องถิ่นอันเกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศ

สภาพบรรยากาศของพื้นที่ดอนขณะที่เคยเป็นอดีตรุ่งโลดของการจับปลาบึกคนมานอนตั้งกระท่อมรอจับปลาบึกจำนวนมากและรอดูปลาบึก แต่ปัจจุบันพื้นที่เกิดขึ้นในฤดูน้ำลดและเป็นฤดูกาลจับปลาเล็ก ปลาใหญ่อย่างปลาบึกทำให้เปิดโอกาสให้มีการใช้เรือหาปลากับนักท่องเที่ยวในการพาไปเที่ยวดูวิวทิวทัศน์สองฝั่งแม่น้ำโขงดังเช่น เห็นภาพตึกรามเล็กๆ ท่าเรือบริเวณวัดริมน้ำตีนธาตุ หาด ดอน นกนางนวล ก่อให้เกิดความประทับใจแก่นักท่องเที่ยว ซึ่งตรงจุดนี้ก็น่าเป็นสาเหตุให้เรือหาปลาเปลี่ยนความหมายมีพื้นที่ของสตรีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย คนจับปลาได้พาภรรยานั่งบนเรือดูธรรมชาติและจับปลาไปด้วย แสดงความรักของครอบครัว ความสัมพันธ์ระหว่างกันในโอกาสดังกล่าวไปตามสายลมกับแสงแดดในเวลาที่มีอิสระของสองคน

พื้นที่ดอนก็ได้เป็นพื้นที่ของการเข้ามาช่วยเหลือของภรรยาในการทำความสะอาดมอง หลังจากจับปลาแล้วในแต่ละรอบก็จะพักเพื่อรอคิวออกไปหาปลาไม่ให้ขัดแย้งแย่งชิงทรัพยากรปลากันเอง แน่นอนว่าภรรยามานั่งที่เพิงพักกินข้าวก็ย่อมเป็นกำลังใจ เวลาที่คนจับปลา “ใจอ่อน”สูญเสียกำลังใจในการจับปลาไม่ได้สักตัวเดียวก็จะบ่นออกมาว่าต้นแม่น้ำโขงจับปลามากเกินไป หรือผลจากเขื่อนอื่นๆ

ดังนั้น วิถีชีวิตของคนจับปลาย่อมเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม เพราะผลกระทบของการพัฒนาที่ทำให้คนจับปลาโดยไม่เคารพธรรมชาติมากขึ้น และวิกฤติทางทรัพยากรสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนให้สตรีเข้ามาในพื้นที่นี้มากขึ้นตามกระแสการท่องเที่ยวด้วย สตรีข้ามเรือไม่ขึด นั่งเรือเล่นได้ ปัจจัยที่มีผลให้พื้นที่ดอนลดความศักดิ์สิทธ์ลงของความเชื่อถือ แต่บางคนก็แสดงความเคารพที่เพิงโดยวางของบวงสรวงไว้บ้าง แต่เป็นเพียงปัจเจกไม่เป็นปึกแผ่นของสังคม เพราะความสัมพันธ์ของเรือจากเรือเป็นแพมาสู่เรือขุดจากไม้ใช้ไม้พายเรือในอดีต ซึ่งต้องเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ เช่น เรือทำจากไม้ตะเคียน ด้วยความเป็นศิลปะพื้นบ้านของเรือก็มีความเชื่อว่าสามารถจับปลาได้มาก

แต่โชคชะตาก็เป็นความไม่แน่นอนในยุคโลกาภิวัตน์ที่พึ่งพิงทางเศรษฐกิจ ฉะนั้นเทคโนโลยีก้าวหน้ากำหนดให้เรือหาปลาพัฒนาจากใช้ไม้พายเรือเป็นเครื่องจักรเพื่อหาปลาได้เร็วขึ้นก็ลดต้นทุนการเซ่นไหว้เรือ กับถูกบีบบังคับทางอ้อมจากเครื่องจักรต้องเติมน้ำมันจับปลามากขึ้นให้คุ้มกับต้นทุนของราคาน้ำมันด้วย ตามมาด้วยประสบปัญหาจากตัวเครื่องจักรถูกน้ำแล้วเสียหายได้ง่าย อีกทั้งถ้าไม่ได้ปลาตามที่คาดหวังไว้คนจับปลาก็จะต้องเพิ่งพิงฐานะของภรรยาแทนการจับปลาได้น้อยลง ภรรยาของคนจับปลาจึงมีตำแหน่งแห่งที่ค้าขายของในตลาดและนำรายได้จากภรรยาจุนเจือครอบครัวด้วย

เมื่อเกิดการสลับความสัมพันธ์เชิงอำนาจก็เกิดการต่อรองทางอำนาจขึ้นกับคนจับปลา จึงหาภรรยาที่เก่งทางการค้าขาย กรณีสตรีชาวลาวได้เข้ามาตั้งร้านขายเหล้ายาดองบนพื้นที่ดอนดังกล่าวนอกจากบทบาทของแม่หญิงไทยแล้ว ก็มีความสัมพันธ์กับแม่หญิงลาวที่เหมือนกับเครือญาติครอบครัวเดียวกันของชุมชมที่เชื่อมโยงข้ามพรมแดนของประวัติในบรรพบุรุษก็เกี่ยวข้องด้วยอีกต่างหาก กรณีการเข้ามามีส่วนร่วมของความสัมพันธ์กับระบบนิเวศและยุคโลกาภิวัตน์ของสตรีชาวลาวได้เกิดปฏิสัมพันธ์เกี่ยวกับพื้นที่ดอนนี้คนจับปลาไทย-ลาวหาปลาร่วมกัน

จากประวัติศาสตร์ความเป็นพี่น้องหรือเครือญาติทางชาติพันธ์ไทลื้อที่เคยโยกย้ายถิ่นฐานมาไม่นานเกินไป และเพื่อนร่วมจับปลากัน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนและซื้อขายเหล้ายาดอง บนพื้นที่ดอนของคนจับปลา เกิดพื้นที่ตัวตนของแม่หญิงชาวลาวใช้ความรู้การปรุงเหล้ายาดองเพื่อสุขภาพของคนจับปลา การค้ายาดองจึงเป็นนวัตกรรมในการสร้างสรรค์ทางการค้าตามการปรับตัวทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปในการรับรู้โลกทัศน์ใหม่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัยและใช้ภูมิปัญญาเดิมมาเป็นผลประโยชน์ใหม่ๆ ดังเช่น คนจับปลาใช้ทรัพยากรธรรมชาติจากก้อนหินที่คอยช่วยเหลือทำความสะอาดแม่น้ำโขงทางธรรมชาติโดยว่าจ้าง แม่หญิงลาวคนอื่นเก็บหินบนพื้นที่ดอนของแม่น้ำโขงมาขายให้กับร้านตกแต่งสวนที่รับซื้อก้อนหินสีสวยต่างๆ ก็สะท้อนว่าคนจับปลารู้จักวัฒนธรรมการบริโภคสัญญะของสินค้าในชนชั้นกลางด้วย

อย่างไรก็ดี สัญลักษณ์ทางนามธรรมภาพแสดงแทนของแม่หญิงแห่งแม่น้ำโขงคือบทบาทสตรีศรีภรรยาของคนจับปลามีภาพเชื่อมโยงกับพื้นที่รูปธรรมบนดอน ดุจว่าการเรียกชื่อ “แม่น้ำโขง” แต่ต่างกันคนเมืองเรียกว่า“น้ำของ” ในที่นี้ขอเน้นสะท้อนคำออกมาว่า จากคำว่า “แม่” เป็นเพศหญิงเคารพในธรรมชาติของสตรี ที่ต้องมีบทบาททางอุดมการณ์เป็นแม่ของลูกและสิ่งแวดล้อม แต่ว่าการก้าวข้ามพรมแดนทางอุดมการณ์ความคิดให้เกิดความสมดุลนี้เป็นภาพแห่งความเป็นอุดมคตินี้ ผู้วิจัยได้พบตัวชี้บอกว่าการนิยามของคนจับปลาต่อความขัดแย้งในการนิยามการพัฒนาของรัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนในพื้นที่ขัดแย้งนี้ย่อมสัมพันธ์กับครอบครัวบทบาทของสตรีที่มายังพื้นที่นี้ต้องมีส่วนร่วมในการพยายามสร้างอำนาจในการนิยามการพัฒนาคือการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นี้คือความหมายที่คนจับปลาได้พยายามบอกกล่าวแก่ผู้วิจัย

นอกจากสร้างนิยามเพื่อมีอำนาจต่อรองแล้ว บทบาทของสตรียังมีขึ้นพร้อมปรากฏการณ์ช่วยเหลือทำความสะอาดพื้นที่ดอน ทำเพิงที่พักสำหรับร้านเหล้ายาดอง อื่นๆ รากฐานของความร่วมมือของสตรีในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติทำให้มีพื้นที่ตัวตนและคงหาทางประสานกับทางเลือกของการพัฒนากับสามีของครอบครัว ความสัมพันธ์เพศก็เกิดขยับความเท่าเทียม ทั้งทางอุดมการณ์แห่งการผลิตวัฒนธรรมใหม่
ถึงอย่างไรก็ตามการพัฒนาอย่างสมดุล เสมือนการพัฒนาที่ชาย-หญิงเท่าเทียมกันนั้นในพื้นที่บนดอนดังกล่าว แต่ทางการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของแม่น้ำโขงตอนบนโยงใยกับปัญหาซับซ้อนต่างๆนี้ เพราะอคติทางการพัฒนาแม่น้ำโขง อคติว่าประชาชนไม่รู้เรื่องทางการพัฒนากีดกันการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่เหมือนกับอคติทางเพศต่อผู้หญิง แต่ว่าแม่น้ำคือแม่ของเรา หากการเปรียบดังกล่าวนี้เป็นเหมือนสำนวนโวหารมากกว่าหลักตรรกะแล้ว ก็คงเหมือนสัญลักษณ์ของความสำคัญของความสมดุลทางสิ่งแวดล้อมสมควรมีพื้นที่สำหรับแม่หญิงแห่งแม่น้ำโขงได้แล้ว.


เอกสารอ้างอิง
กนกวรรณ มะโนรมย์. “อัตลักษณ์ทางสังคมชาวประมงแม่น้ำมูลตอนล่าง วิเคราะห์จากระบบนิเวศลวงปลาและบริบทแวดล้อม เอกสารหมายเลข 11 เฮ็ดอยู่เฮ็ดกินสองฝั่งโขง.” ใน เอกสารประกอบการประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยา ครั้งที่ 2 เรื่องชาติและชาติพันธุ์ วันที่ 26-28 มีนาคม 2546. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน). (อัดสำเนา).
กนกศักดิ์ แก้วเทพ และ สมเกียรติ วันทะนะ. จากเศรษฐศาสตร์การเมืองถึงสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วลี, 2524.
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. 2543. “โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ กัมพูชา - จีน - พม่า - ลาว - เวียดนาม - ไทย หรือ หกเหลี่ยมเศรษฐกิจ (Greater Mekong Subregional Economic Cooperation : GMS-EC).” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.dtn.moc.go.th/web/8/151/gms.asp (2 ตุลาคม 2547).
กรวรรณ ชีวสันต์ สังขกร และ สุพัฒน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล. ผลกระทบจากการเป็นเมืองท่าของอำเภอเชียงแสนและอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2547.
กระทรวงการต่างประเทศ. 2544. “สรุปผลการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-region –GMS Summit ) 3 พฤศจิกายน 2545 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศ กัมพูชา.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.mfa.go.th/web/200.php?id=2997 (3 ตุลาคม 2547 ).
_________ . 2547. “โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง Greater Mekong Subregion (GMS).” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.mfa.go.th/web/1092.php (5 ตุลาคม 2547).
กลุ่มนักวิจัยท้องถิ่นเชียงของ เวียงแก่น. “เชียงของ เวียงแก่น:พัฒนาการของสังคมชายขอบจากอดีตสู่การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจการเมืองในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง.” เสนอหัวหน้าและที่ปรึกษาโบราณคดีและชาติพันธุ์ โดยกลุ่มนักวิจัยท้องถิ่นเชียงของ เวียงแก่น. (อัดสำเนา).
กลุ่มรักษ์เชียงของ. “คิดถึงปลาบึก.” โครงการแม่น้ำและชุมชน กองทุนสัตว์ป่าโลกสากล
ประเทศไทย 2546. (อัดสำเนา).
_________ . “ทำไมต้องคัดค้านการระเบิดแก่งแม่น้ำโขง?.” เครือข่ายแม่น้ำโขงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โครงการแม่น้ำและชุมชน กลุ่มรักษ์เชียงของ ตุลาคม 2545. (อัดสำเนา).
“การประชุมด้านการค้าระหว่างประเทศ.” แม่น้ำโขง (กันยายน 2003) :16.
เกษียร เตชะพีระ. วิวาทะโลกานุวัตร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผู้จัดการ, 2538.
คณะทำงานร่วมธนาคารแห่งประเทศไทย และ ธนาคารแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. ปัญหาการค้าชายแดนไทย-ลาว (นครพนม-คำม่วน และเชียงราย-บ่อแก้ว). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2539.
คะนึงนิจ ทับทิม และ Hirsch, Philip. 2545. “ทรัพย์สินส่วนรวมในฐานะที่เป็นการปิดล้อม กรณีศึกษาหนองปลาชุมชน ภาคใต้ สปป.ลาว.” ใน งาน สุวรรณภูมิ คนและแผ่น
ดิน วันที่ 29-30 พฤศจิกายน 2545. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
(อัดสำเนา).
เครือข่ายแม่น้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. 2547. “จีนวางแผนลุยโครงการแม่โขงต่อ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.searin.org/Th/Mekong/mek_rapid_n_6.htm(2 ตุลาคม 2547).
_________ . 2548. “บทสรุปงานวิจัยจาวบ้านเชียงของ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.searin.org/Th/Mekong/mek_research_sum.htm ( 2 มกราคม 2548).
_________ . 2548. “รายงานสรุป ระดับน้ำโขงผิดปกติ ผลกระทบท้ายน้ำจากเขื่อนและการพัฒนาแม่น้ำโขงตอนบน.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.searin.org/Mekong.htm
( 2 มกราคม 2548).
โครงการฟื้นฟูนิเวศวิทยาในภูมิภาคอินโดจีนและพม่า. 2545. “สว.เตรียมจัดเวทีทูตไทยถกระเบิดแก่งต้นปีหน้า ชี้เบื้องลึกจีนหวังควบคุมแม่น้ำโขง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.thaico.net/ /b_pnews/45120400.htm (4 ธันวาคม 2545).
_________ . 2547. “ภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในเงื้อมมือของตลาดเสรี.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.thaico.net/b_pnews/sc_9nov45.htm (3 พฤศจิกายน 2545).
จรัญ โฆษณานันท์. สิทธิมนุษยชนไร้พรมแดน : ปรัชญา กฎหมาย และความเป็นจริงทางสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2545.
จิตร ภูมิศักดิ์. ข้อเท็จจริงว่าด้วยชนชาติขอม : อันเนื่องมาจากความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน, 2547.
จิระนันท์ พิตรปรีชา. “ การค้ายูนนาน.” ศิลปวัฒนธรรม 10,11 (สิงหาคม 2533) :127.
ฉลาดชาย รมิตานนท์. มนุษย์ : วัฒนธรรม อำนาจและสิ่งแวดล้อม. เชียงใหม่: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2543.
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา, บรรณาธิการ. สถานภาพไทยศึกษา : การสำรวจเชิงวิพากษ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์, 2543.
ชลธิรา สัตยาวัฒนา, บรรณาธิการ. พลวัตสิทธิชุมชน: กระบวนทัศน์ทางมานุษยวิทยา. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2546.
ชวลีย์ ณ ถลาง ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ กาญจนี ละอองศรี. ประเทศราชของสยาม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว = Siamese vassal states under King Rama V. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2541.
“ชะตากรรมแม่น้ำโขง.” วารสารเพื่อการพัฒนาชุมชนไท ฉบับที่ 10 (พฤษภาคม-มิถุนายน 2546) :
4-18.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. “จากอาณานิคมาภิวัฒน์สู่โลกาภิวัตน์.” สารคดี 19, 225 (พฤศจิกายน 2546) :57-69.
_________ . 14 ตุลา บันทึกประวัติศาสตร์ = October 14, 1973 Student uprising. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2546.
_________ . 2475 : การปฏิวัติสยาม = 1932 Revolution in Siam. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2543.
ชิงชัย หาญเจนลักษณ์. วิทยาการกับรอยยิ้ม. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า, 2545.
ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ, บรรณาธิการ. แม่มูน การกลับมาของคนหาปลา. กรุงเทพฯ: เครือข่ายแม่น้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทย, 2545.
_________ . สัมภาษณ์. 15 ตุลาคม 2546.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่/ ขบวนการเคลื่อนไหวประชาสังคมในต่างประเทศ : บทสำรวจพัฒนาการสถานภาพและนัยยะเชิงความคิด/ทฤษฎีต่อการพัฒนาประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิภาษา, 2540.
_________ . วาทกรรมการพัฒนา: อำนาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์ และความเป็นอื่น = Development discourse power knowledge truth identity and otherness. กรุงเทพฯ:
ศูนย์วิจัยและผลิตตำรา มหาวิทยาลัยเกริก, 2543.
ซ้อ จินะราช. สัมภาษณ์. 9 ธันวาคม 2545.
ดารารัตน์ วีระพงษ์, บรรณาธิการ. ลำน้ำโขง : ศรัทธา คุณค่าและความทรงจำ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, 2546.
ตามรอยพระเจ้าล้านตื้อ(พระเจ้าทองทิพ)ประวัติศาสตร์ลำน้ำโขงของเมืองเชียงแสน
สภาวัฒนธรรมอำเภอเชียงแสน พิพิทธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เชียงแสน จัดพิมพ์เนื่องในปี
ท่องเที่ยวไทย 2541-2542
เตช บุนนาค และ ภรณี กาญจนัษฐิติ, ผู้แปล. การปกครองระบบเทศาภิบาลของประเทศสยาม
พ.ศ.2435-2458. กระทรวงมหาดไทย สมัยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรง
ราชานุภาพ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2532.
ทานาเบ ชิเกฮารุ. นุ่งเหลือง นุ่งดำ : ตำนานของผู้นำชาวนาแห่งล้านนาไทย กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์,
2529
ทวีศักดิ์ เผือกสม. การปรับตัวทางความรู้ ความจริง และอำนาจของชนชั้นนำสยาม พ.ศ.2325-2411. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540.
ธงชัย วนิจจะกูล. รายงานโครงการวิจัยเสริมหลักสูตร เรื่องวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์แบบวงศา
วิทยา (Genealogy). กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2534.
(อัดสำเนา).
ธเนศวร์ เจริญเมือง. ไทย-พม่า-ลาว-จีน สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ สี่เหลี่ยมวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คบไฟ, 2538.
ธีระ นุชเปี่ยม. การเมืองโลกหลังสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์, 2541.
เธียรชาย อักษรดิษฐ์. ชุธาตุ : บทบาทและความหมายของพระธาตุในอนุภูมิภาคอุษาคเนย์ กรณีศึกษาความเชื่อเรื่องพระธาตุปีเกิดในล้านนา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิภาคศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2545.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. ปากไก่และใบเรือ : ว่าด้วยการศึกษาประวัติศาสตร์-วรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แพรว, 2543.
“นิเวศน์วิทยาการเมืองความคิดของการเมืองสีเขียวในยุโรป.” ปาจารยสาร 22, 4 ( กรกฎาคม
2538 ) :40-45.
บรรจง นะแส, บรรณาธิการ. การจัดการทรัพยากรโดยชุมชน: กรณีศึกษาจากชุมชนชาวประมงพื้นบ้านภาคใต้. สงขลา: โครงการการจัดการทรัพยากรชายฝั่งภาคใต้, 2545.
“บ้านหาดไคร้ ชมการจับปลาบึก.” Trips 6, 62 (ธันวาคม 2544 ) :87-92.
บุญช่วย ศรีสวัสดิ์. ราชอาณาจักรลาว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม, 2547.
บูชิตา สังข์แก้ว. วัฒนธรรมปลาและจุดจบตำนานพรานปลาแม่น้ำมูล. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการเผยแพร่และส่งเสริมงานพัฒนา (ผสพ.), 2540.
เบลโล, วอลเดน คันนิงแฮม, เชียร์ และปอห์, ลี สวน. โศกนาฏกรรมสยาม : การพัฒนาและการแตกสลายของสังคมไทยสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2542.
แบรีแมน, เจอรัลด์. เบื้องหลังหน้ากาก. แปลโดย อู่ทอง ประศาสน์วินิจฉัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์รู้แจ้ง, 2530.
ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล, บรรณาธิการ. คนใน ประสบการณ์ภาคสนามของนักมานุษยวิทยา
ไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2545.
ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์. นิเวศเศรษฐศาสตร์และนิเวศวิทยาการเมือง = Eco-economics and political ecology. กรุงเทพฯ: คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541.
“ปลาบึกราชาแห่งปลาลุ่มแม่น้ำโขง.” อนุสาร อสท. 36,7 ( กุมภาพันธ์ 2539) :112-124.
ปารวี ไพบูลย์ยิ่ง. เส้นทางไทยเชื่อมต่อประเทศเพื่อนบ้าน เชียงของ-หลวงน้ำทา-เมืองสิง-เชียงรุ่ง. กรุงเทพฯ: โครงการอาณาบริเวณศึกษา 5 ภูมิภาค, 2545.
ผาสุก พงษ์ไพจิตร, บรรณาธิการ. วิถีชีวิต วิธีสู้ ขบวนการประชาชนร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ตรัส-วิน, 2545.
ผู้จัดการออนไลน์. 2547. “นักท่องเที่ยวนับพันแห่ดูปลาบึกยักษ์พรานปลาบึกจับได้เพิ่มอีก 1 ตัววันนี้.”[ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มาhttp://www.manager.co.th/local/ViewNews.aspx?NewsID=4760846754311 (30 เมษายน 2547).
พนิดา สงวนเสรีวานิช. “วังปลาในพระราชินีศรีสยาม.” ศิลปวัฒนธรรม 16, 10 (สิงหาคม 2538) : 41-45.
พวงนิล คำปังสุ์, ผู้แปล. ลาวและกัมพูชา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์หน้าต่างสู่โลกกว้าง, 2544.
พันธุ์สูรย์ ลดาวัลย์, ม.ล. และ ศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา. การกำหนดนโยบายต่างประเทศของไทย = The Making of Thai foreign policy. เชียงใหม่: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2540.
_________ . ผลกระทบของโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจต่อประเทศไทย : รายงานการวิจัย. เชียงใหม่ : คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2540.
เพียรพร ดีเทศน์. สัมภาษณ์. 15 ตุลาคม 2546.
ไพสิฐ พาณิชย์กุล. 2544. “สิทธิชุมชน ปัญหาและพัฒนาการทางความคิด.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.geocities.com/middata/newpage14.html (10สิงหาคม 2544).
ภัทรพงศ์ คงวิจิตร. “ลาว:ผู้คนและแผ่นดิน” เสนอ ในงาน สุวรรณภูมิ คนและแผ่นดิน ศูนย์มานุษย
วิทยาสิรินธร วันที่ 29-30 พฤศจิกายน 2545. (อัดสำเนา).
ภูเก็ต กาญจนะวณิชย์. อินโดจีน : การให้ความหมายภายใต้บริบทการเมืองไทย หลัง พ.ศ. 2518. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิภาคศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2546.
มหาคำ จำปาแก้วมณี และคณะ. ประวัติศาสตร์ลาว. แปลโดย สุวิทย์ ธีรศาศวัต. ขอนแก่น: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2539.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย. สาขาภูมิภาคศึกษา. 2547. “แผนที่ลุ่มน้ำโขง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.mekongcenter.net/images/map/mekongbasin.gif (3 ตุลาคม 2547).
_________ . “ลำดับเหตุการณ์ด้านการพัฒนาการ เดินเรือในแม่น้ำโขง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่ง
ที่มา http://www.mekongcenter.net/ /mekongboat.html (4 ตุลาคม 2547).
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ศูนย์ข้อมูลจีนตอนใต้ศึกษา. 2547. “การค้าไทย – จีนตอนใต้ตามลำน้ำโขง.”[ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.soc.cmu.ac.th/~yunnan/ (2 ตุลาคม 2547).
มหาสีลา วีระวงส์ม, ผู้เรียบเรียง. ประวัติศาสตร์ลาว. แปลโดย สมหมาย เปรมจิตต์. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2535.
มาซูฮารา, โยซิยูกิ. ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ ของราชอาณาจักรลาวล้านช้าง สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14-17 จาก "รัฐการค้าภายในภาคพื้นทวีป" ไปสู่ "รัฐกึ่งเมืองท่า." กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน, 2546.
มานะ มาลาเพชร. “ลาว.” เอเชียรายปี 1990/2533, 2533 :18.
มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด, บรรณาธิการ. แนวนโยบายการจัดการน้ำสำหรับประเทศไทย เล่ม 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2544.
“แม่น้ำโขง.” วารสารกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล, 3 ( ตุลาคม – ธันวาคม 2545) : 28-29.
“หายนะบนลุ่มน้ำโขง.” โลกสีเขียว 12 ( มีนาคม-เมษายน 2546) :22-34.
ยุค ศรีอาริยะ. มายาโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2544.
_________ . วิเคราะห์ระบบโลกในสหัสวรรษใหม่. กรุงเทพฯ: มูลนิธิวิถีทรรศน์, 2544.
เริม บุญเรือน. สัมภาษณ์. 23 มิถุนายน 2546.
“เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการดัดแปลงพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต.” 2547. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://digital.lib.kmutt.ac.th/magazine/issue2/covers/gmos.html ( 6 มกราคม 2547).
ไรท์, ไมเคิล. “เอกสารโบราณน่าเชื่อฟัง หรือเหลวไหลสิ้นดี?.” ศิลปวัฒนธรรม 26, 2 (ธันวาคม 2547) :79.
“ลักษณะทางกายภาพและชีวภาคของปลา.” สัตว์น้ำ 3, 31 (มีนาคม 2535) :117.
ลือชัย จุลาสัย, บรรณาธิการ. ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจภาคเหนือตอนบน. เชียงใหม่: ศูนย์ศึกษา GMS ; สถานวิชาการนานาชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2543.
วันเพ็ญ สุรฤกษ์, บรรณาธิการ. ไทย-ลาว การจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำโขง : การพัฒนาเศรษฐกิจกับการจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำโขง : รายงานการประชุมสัมมนาทางวิชาการระหว่างประเทศไทย-ลาว ; ระหว่าง 17-22 มีนาคม 2540. เชียงใหม่: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2541.
วิจารณ์ ธรรมปรีชากุล, บรรณาธิการ. จักรวรรดินิยมกับความด้อยพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พาสิโก, 2522.
วิฑูรย์ ปัญญากุล, ผู้แปลและเรียบเรียง. ปลาหายไปไหน? : สาเหตุและผลกระทบจากการทำประมงเกินขีดจำกัด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มูลนิธิสายใยแผ่นดิน, 2547.
วิภา อุตมฉันท์. ผลกระทบของสัญญาณวิทยุและโทรทัศน์ข้ามพรมแดนระหว่างไทย-ลาว.
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544.
ศุภชัย เจริญวงศ์. พัฒนาการของความหมาย "การพัฒนาชนบท" ในสังคมไทย : ศึกษาการให้ความหมายในกรณี "หมู่บ้านพัฒนาดีเด่น" แห่งหนึ่งในภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์ศิลป
ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2542.
_________ . สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ:พัฒนาการของพรมแดนในความซับซ้อนของระบบโลก รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา ทฤษฏีพัฒนาสังคม ภาคการศึกษาที่ 2/2536. (อัดสำเนา).
สถาบันเพื่อประชาธิปไตยลาว. 2547. “พรานปลาริมน้ำโขงเฮลั่นจับปลาบึก 2 ตัว รอบ4 ปี.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.laosdemocracy.com/ /archives/2004/april_2004.html (30 เมษายน 2547).
สนมพรรณ วรวิเชียรวงษ์. ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศไทย-ลาวที่มีผลต่อการกำหนดภาวะการค้าชายแดน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิภาคศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2544.
สมปอง เพ็งจันทร์. เปรียบเทียบเครื่องจักสานไทย- ลาว. เชียงใหม่: คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2545.
สมุดภาพไตรภูมิ ฉบับกรุงศรีอยุธยา – ฉบับกรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2542.
สรณรัชฎ์ กาญจนะวิณิชย์. “แม่น้ำโขง:แม่น้ำพิเศษของโลก.” สารคดี 19, 225 (พฤศจิกายน 2546) : 85-92.
สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. กรุงเทพฯ: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,
2544.
สัณฐิตา กาญจนพันธุ์. แนวความคิดเกี่ยวกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม. เชียงใหม่: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2547.
สำนักข่าวประชาธรรม. 2545. “ระเบิดแก่งน้ำโขงเดินเรือเสรี คนไทยได้อะไร ?.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.thaico.net/b_pnews/sc_22jun45.htm (16 มิถุนายน 2545).
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. อนาคตของวิเทศคดีศึกษาในประเทศไทย : ศักยภาพและทิศ
ทาง : เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการ ; วันที่ 10-11 พฤศจิกายน 2537 ณ โรงแรม
แอมบาลเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน พัทยา. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย,
2537.
สิทธิพร ณ นครพนม และ สมศักดิ์ ล่ำพงศ์พันธุ์. “ปลาบึกเจ้าแห่งแม่น้ำโขง.” ศิลปวัฒนธรรม 16, 10 (สิงหาคม 2538) : 55-59.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. “กินข้าวกินปลา ปลาร้าปลาแดก อาหารยอดนิยม.” ศิลปวัฒนธรรม 16,10 (สิงหาคม 2538) : 64-68.
_________ . นาคในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน, 2543.
สุเทพ สุนทรเภสัช. มานุษยวิทยากับประวัติศาสตร์ : รวมความเรียงว่าด้วยการประยุกต์ใช้แนวความคิดและทฤษฎีทางมานุษยวิทยาในการศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, 2540.
สุนทร คันทะวงศ์. การเปลี่ยนแปลงนโยบายการสื่อสารโทรคมนาคมของสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว จากการผูกขาดเข้าสู่การเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศ. วิทยานิพนธ์วาร
สารศาสตรมหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543.
สุนีย์ เลี่ยวเพ็ญวงษ์. รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาสถานภาพองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบคิดผ่านงานวรรณกรรมลุ่มน้ำโขง. ขอนแก่น: ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2546.
สุภรัตน์ เชาวน์เกษม. ภาพลักษณ์ของประเทศไทยในทัศนะของคนลาว : กรณีกำแพงนครเวียงจันทน์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิภาคศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2544.
สุภางค์ จันทวานิช. การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลง
กรณ์มหาวิทยาลัย, 2542.
สุมาตร ภูลายยาว. “เรือสายสัมพันธ์คนกับแม่น้ำของ. ” ศิลปวัฒนธรรม 26, 2 (ธันวาคม 2547) :168.
สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา. น้ำ : บ่อเกิดแห่งวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช,
2529.
สุรชัย ศิริไกร. การพัฒนาเศรษฐกิจการเมืองลาว. กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543.
เสริมชัย กิตติรัตนไพบูลย์. ประธานหอการค้าเชียงราย. สัมภาษณ์. 20 สิงหาคม 2547.
“เสียงจากสังคมชายแดน-ชายขอบ” เอกสารประกอบการเสนอผลงานวิจัยจากนักวิจัยท้องถิ่น
(ฉบับย่อ)โครงการอบรมและวิจัยเชิงปฏิบัติการทางประวัติศาสตร์โบราณคดีและชาติพันธุ์
16-17 มีนาคม 2548. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการ (อัดสำเนา).
อคิน รพีพัฒน์, ม.ร.ว. สังคมไทยในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325-2416. แปลโดย ม.ร.ว. ประกายทอง สิริสุข และพรรณี ฉัตรพลรักษ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2527.
อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. กรณีวิกฤตการณ์ปากน้ำ ร.ศ. 112 : วิเคราะห์กลไกการกำหนดนโนบายต่าง
ประเทศ ของไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันเอเซีย, 2524.
อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. การศึกษาพรมแดนความรู้ทางประวัติศาสตร์ ด้านนิเวศวิทยาและสิ่งแวด
ล้อม. เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2541.
อานันท์ กาญจนพันธุ์, บรรณาธิการ. พลวัตของชุมชนฝนการจัดการทรัพยากร:กระบวนทัศน์และ
นโยบาย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2543.
_________ . มิติชุมชน : วิธีคิดท้องถิ่นว่าด้วยสิทธิ อำนาจ และการจัดการทรัพยากร. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2544.
_________ . วิธีคิดเชิงซ้อนในการวิจัยชุมชน : พลวัตและศักยภาพของชุมชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2544.
_________ .ฉลาดชาย รมิตานนท์ “พิธีกรรมและความเชื่อล้านนา:การผลิตใหม่ของอำนาจทาง
ศีลธรรม” สรุปข้อวิจารณ์ผลการวิจัยวัฒนธรรมเนื่องในการสัมมนาวัฒนธรรมกับการ
เปลี่ยนแปลงการสัมนาผลการวิจัยภาคเหนือ ณ โรงแรมเชียงใหม่ออคิด จังหวัด เชียงใหม่ 26-27 ก.ค.2532 (อัดสำเนา)

ภาษาอังกฤษ
Anderson, Benedict. Imagined communities : Reflections on the Origin and Spread of
Nationalism. London: Verso, 1991.
Berke,Fikret, ed. Common Property Resource : Ecology and Community-based Sustainable Development. London: Belhaven Press, 1989.
Buapun Promphakping. Development and Poverty in the Mekong Region. Khon Kaen: Faculty of Humanities and Social Sciences Khon Kaen University. (Mimeograph).
Craig J. Reynolds edited National identity and its defenders : Thailand today. Chiang Mai :
Silkworm Books, 2002
Evans, Grant. A Short history of Laos : the Land in Between Chiang Mai : Silkworm Books,
2002.
“Free trade in Mekong.” Watershed 7, 2 (November 2001-February 2002) :9.
Focault,Michel Power/knowledge : Selected Interviews and Other Writings,NewYork : Pantheon Books 1972.
“Greater Mekong Sub Region State-of-The Environment Report Mekong River Commission.” Bangkok,Thailand June 1997. (Mimeograph).
Hayami,Y. “Internal and External Discoures of Community,Tradition and Environment : Minority Claims on Forest in the Northen Hills of Thailand.” Southeast Asian Studies, Kyoto 35,3. :558.
Hirsch, Philip and Warren, Carol, eds. The Politics of Environment in Southeast Asia : Resources and Resistance. London: Routledge, 1998.
“International Conference Impact of Globalization, Regionalism and and Nationalism on Minority Peoples in Southest Asia 15-17 November 2004” Chiang Mai:Thailand Social Research Institute Chiang Mai University, 2004.
Mayoury Ngaosrivathana and Breazeale Kennon. Breaking New group in Lao History Essays on the Seventh to Twentieth Centuries. Chiang Mai: Silkworm Books, 2002.
“Mekong Fish,Mekong Culture.” Watershed 4, 3 (March- June 1999) :2-22.
“Mekong River Basin Diagnostic Study Final Report Mekong River Commission.” Bangkok,Thailand May 1997. (Mimeograph).
Mingsarn Kaosa-ard and Dore, John, eds. Social Challenges for the Mekong Region. Chiang Mai: Chiang Mai University, 2003.
Nygren, Anja. “Local Knowledge in theEnvironment-Development Discourse.” Critique of Anthropology 19, 3 :267-288.
_________ . “Development discourses and peasant-forest relations : Natural resource utilization as social process.” In Martin Doornbos et al. Forest : Nature, People, Power 2000. (Mimeograph).
Osborne, Milton. The Mekong : Turbulent Past, Uncertain Future. St Leonards, N.S.W.: Allen & Unwin, 2000.
Thongchai Winichakul. Siam Mapped : a History of the geo-body of a Nation. Chiang Mai: Silkworm Books, 1994.

รายชื่อผู้ให้สัมภาษณ์
กฤติพร ขัตติยะ. สัมภาษณ์. 4 เมษายน 2547.
คำเพ็ง บุปผา. สัมภาษณ์. 4 เมษายน 2547.
จันเพ็ง บุปผา. สัมภาษณ์. 4 เมษายน 2547.
วุฐิศานติ์ จันทร์วิบูล. สัมภาษณ์. 4 เมษายน 2547.
ตุ๊ คงสุวรรณ. สัมภาษณ์. 4 เมษายน 2547.
ตี๋ รัตนไตย.(ผู้หญิง)สัมภาษณ์. 4เมษายน 2547.
แม่หญิงลาว จินะราช(ภรรยาของไชยา) สัมภาษณ์. 4เมษายน 2547.
ณรงค์ จินะราช. สัมภาษณ์. 5 เมษายน 2547.
เพชร ช่างแก้ว. สัมภาษณ์. 5 เมษายน 2547.
สนั่น สุวรรณทา. สัมภาษณ์. 5 เมษายน 2547.
สมนึก สุวรรณทา. สัมภาษณ์. 5 เมษายน 2547.
สุพจน์ รัตนไตย. สัมภาษณ์. 5 เมษายน 2547.
นิวัฒน์ ร้อยแก้ว. สัมภาษณ์. 6 เมษายน 2547.
สมคิด รัตนไตย. สัมภาษณ์. 6 เมษายน 2547.
อินตา รัตนไตย. สัมภาษณ์. 6 เมษายน 2547.
*นพ ไม่ทราบนามสกุล. สัมภาษณ์. 7 เมษายน 2547.
ไชยา จินะราช. สัมภาษณ์. 8 เมษายน 2547.
เกษียร จันทร. สัมภาษณ์. 12 เมษายน 2547.
กิตติพงศ์ ใจอารี. สัมภาษณ์. 12 เมษายน 2547.
จิรศักดิ์ อินทยศ. สัมภาษณ์. 12 เมษายน 2547.
สมเกียรติ เขื่อนเชียงสา. สัมภาษณ์. 12 เมษายน 2547.
สุมาตร ภูลายยาว. สัมภาษณ์. 12 เมษายน 2547.
อาทิตย์ จันทาพิมพ์. สัมภาษณ์. 12 เมษายน 2547.
บุญเดช บุญเรือน. สัมภาษณ์. 17 เมษายน 2547.

ผู้เขียนบทความ[1] นักวิจัยอิสระ, เจ้าหน้าที่พิเศษโครงการย้อนรอยอดีตจิตรกรรมวัดอุโมงค์ บทความนี้ปรับปรุงมาจากส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ หัวข้อ ‘ผลกระทบของการพัฒนาและโลกาภิวัตน์ต่อทรัพยากรธรรมชาติในแม่น้ำโขงตอนบน: การหายไปของปลา’ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ภูมิภาคศึกษา) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

** หมายเหตุ นี่เป็นบทความฉบับเดิม ก่อนปรับปรุงเพิ่มเติมจากการนำเสนอประชาไท 26 พ.ค. 50
ที่มา อรรคพล สาตุ้ม 2548. แม่หญิงแห่งแม่น้ำโขง- บทบาทสตรีศรีภรรยาคนจับปลาในยุคโลกาภิวัตน์ นำเสนอในงาน NEW VOICES FROM THE MEKONG REGION: WOMEN IN THE PUBLIC ARENA November 7 - 10, 2005 ณ ศูนย์สตรีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
http://www.soc.cmu.ac.th/~wsc/acceptedpaper.htm