วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

การสะสมความทรงจำกับเสือดำ ละครทีวีบุพเพสันนิวาส เมืองบางกอกเมืองปลา และการเมืองไทย

2 เมษา
การสะสมความทรงจำ (ตอนที่5)
ตอนเริ่มต้นผมกะวางแผนการเขียนการสะสมความทรงจำ ให้มีตอนจบเดือนมีนาคม(*) แต่ไม่มีเวลาเขียน ข้ามพื้นที่และตัดตอนไปบ้างแล้ว ซึ่งผมเดินทาง เห็นสายน้ำทะเล จังหวัดจันทบุรี รำลึกมีชายฝั่งติดกับอ่าวไทยโดยจุดเหนือสุดของอ่าวไทย ตรงปากแม่น้ำเจ้าพระยา นิยมเรียกกันว่า “อ่าวประวัติศาสตร์รูปตัว ก” ซึ่งต่างชาติเรียก “อ่าวกรุงเทพฯ”
หากไม่กางแผนที่ดูสายน้ำทะเล ไม่มีผีทะเล แต่เรามาเล่นปริศนาข้ออ้าง ปลาวาฬเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม. ข้ออ้าง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมออกลูกเป็น … ข้ออ้าง ปลาไม่ใช่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม. ข้อสรุป ปลาวาฬไม่ใช่ปลา.แต่ทำไมคนไม่เลิกนิยมเรียกปลาวาฬ หละครับ
เนื่องจากปลาวาฬเป็นสัตว์จำพวกเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม จึงมีปอดแทนที่จะมีเหงือกสำหรับหายใจใต้น้ำได้เช่นปลาธรรมดา ปลาวาฬต้องโผล่ขึ้นมาสูดลมหายใจใหม่ทุก ๆ ๒๐ นาที จมูกของปลาวาฬอยู่ตอนส่วนบนของหัว เพื่อความ สะดวกในการสูดอากาศเมื่อโผล่ขึ้นบนผิวน้ำ ในขณะดำน้ำจะมีกล้ามเนื้อพิเศษปิดรูจมูกของมันไว้แน่นเพื่อกันไม่ให้น้ำเข้าไปจมูกของปลาวาฬติดต่อกับปอดโดยตรง ส่วนปากของมันนั้นไม่มีทางติดต่อกับปอดและจมูกของมันเลย ทั้งนี้เพื่อจะกันไม่ให้น้ำเข้าสู่ปอดในขณะที่มันอ้าปากใต้น้ำ เนื่องจากปลาวาฬต้องโผล่ขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำเสมอ ๆ นี่เอง ทำให้นักล่าปลาวาฬสามารถติดตามหาแหล่งที่อยู่ของมันได้
ขณะที่ปลาวาฬโผล่ขึ้นบนผิวน้ำ จะมีน้ำพุ่งขึ้นมาเป็นฝอยคล้ายน้ำพุ ซึ่งที่จริงไม่ใช่น้ำที่ปลาวาฬพ่นออกมาตามที่คนส่วนมากเข้าใจกัน แต่ในลมหายใจออกของปลาวาฬนั้นมีไอน้ำปนอยู่ด้วย เมื่อไอน้ำนี้กระทบกับความเย็นของอากาศบริเวณนั้นเข้า จึงรวมตัวกันเป็นหยดน้ำเล็ก ๆ พุ่งออกมาเป็นฝอยคล้ายน้ำพุ
โดยปลาวาฬ ให้เรียกวาฬ ปลาโลมา ให้เรียก โลมา ปลาหมึก ให้เป็นหมึก ปลาดาวเป็นดาวทะเล ปลาม้าน้ำ ต้องม้าน้ำ สร้างนิยามทางวิทยาศาสตร์ให้ความหมายทางชีววิทยา Whaleตรงกับคำความหมายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แต่คำว่าJellyfish ก็แปลว่าแมงกะพรุนไม่ใช่ปลาวุ้น
จากปี2561 หากย้อนเวลาสู่ปี2556 การเดินทางของพวกเราจบลงที่จังหวัดอยุธยา(**) แหล่งประวัติศาสตร์ ที่สำคัญ แต่ผมจะเล่าถึงระยองมองดูทะเล ในเมือง ที่มีนิคมอุตสาหกรรมไว้ก่อน เพราะทะเลสวยงาม เสียงคลื่นซัดสาด เห็นไกลสุดขอบฟ้า มีทะเลชีวิตชีวา และผมได้เล่นน้ำทะเล โต้สายลม ส่วนคนสนใจโห่ๆฮิ้วเบาๆ สำหรับบางคน
ผมถ่ายรูปลงเฟซฯบุ๊ค ว่าตัวเองเดินทางเหมือนคนหนุ่ม และมีคนแซวเล่นไม่เห็นเป็นไร ก็เรื่องเหมือนลุงล่าปลา.. แต่ผมทำให้นึกถึงเรื่องเฒ่าผจญทะเล (The Old Man and the Sea) เป็นผลงานของเออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ ว่าด้วยเรื่องของชายชราคนหนึ่งผู้ออกหาปลา ได้รับชัยชนะ พร้อมกับความพ่ายแพ้ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน นี่แหละชีวิต!
แม้ว่ารถทัวร์ของเราจะผ่านอุปสรรครถเสีย หรือเราลุยพายุฝนเห็นรถยนต์ร่วงหล่นข้างทาง จากประสบการณ์เสี่ยงภัย ก็มาถึงที่บ้านเพวิลล์ เป็นบ้านพักส่วนตัวสไตล์บังกะโลติดชายทะเลเพียงเดินไปไม่กี่ก้าว ใกล้สถานที่ท่องเที่ยวมากมาย รวมถึงร้านขายฝาก พร้อมทั้งตลาดบ้านเพ
พวกเราไปเดินจับจ่ายเงินซื้อของทำอาหารกิน ย่างปลาหมึกร่วมกัน
โดยบรรยากาศของชายทะเลเป็นความบันเทิงเริงรมย์ พักผ่อนหย่อนใจจากการแสวงหาความรู้ ที่ทะเล แล้วมาต่อตอนจบกันในความทรงจำใหม่ปี 2561 ครับ
*การสะสมความทรงจำ ตอนที่ 4

**อยุธยา เมืองเก่าของเราแต่ก่อน
2.3
การสะสมความทรงจำ (ตอนจบ)
เมื่อวันเวลาไหลผ่านสู่ปี2561 เสียงคลื่นกระทบฝั่งสายน้ำทะเล ยามเย็นบรรยากาศสายลม หลังจากออกจากพิพิธภัณฑ์ แล้วก็ได้พานพบปะสบโอกาส มีบทสนทนา ทำให้ผมได้คุยกับอ.กามนิต หลายเรื่องหลายมุม มาเล่ามุมประวัติชีวิต(บ้านเกิดชัยภูมิ) เคยรับราชการทำงานในตำแหน่ง “นักทำลายวัตถุระเบิดใต้น้ำ” ของกองทัพเรือ เป็น “ช่างสำรวจใต้น้ำ” ทำการเก็บกู้แหล่งโบราณวัตถุใต้น้ำของกรมศิลปากร ทำงานในหลายพื้นที่ แต่ทำงานในพื้นที่ จ.จันทบุรี เป็นส่วนใหญ่ โดยประจำการอยู่ที่หน่วยงานโบราณคดีใต้น้ำ จ.จันทบุรี
ปัจจุบัน แม้จะเกษียณอายุราชการจากกรมศิลปากรมาแล้ว 9 ปี อ.กามนิต ยังคงเป็นอาจารย์สอนด้านการอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุ มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี จ.จันทบุรี และมหาวิทยาลัยบูรพา อ.บางแสน จ.ชลบุรี, ทำงานสำรวจ ขุดค้น ศึกษาประวัติศาสตร์เมืองจันทบุรี ,เขียนหนังสือเรื่อง “สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม จ.จันทบุรี” ให้กับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,ทำวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโท ม.ศิลปากร เรื่อง “การตั้งถิ่นฐานของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ จ.จันทบุรี” และหลังจากที่ได้รับทุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) ไปทำการขุดคุ้นแหล่งโบราณคดี ได้เขียนหนังสือออกมาชื่อ “การอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมยุคหินใหม่ อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี”
ชีวิตรับราชการกองทัพเรือและกรมศิลปากรรวมแล้วกว่า 40 ปี ที่ทำให้มีความผูกพันกับ จ.จันทบุรี มาเป็นเวลานาน และปัจจุบันชีวิตของการเป็นนักประวัติศาสตร์,นักโบราณคดีอิสระ รวมถึงชีวิตอาจารย์ ในแบบที่ยังออกไปทำงานด้านการอนุรักษ์ด้านการค้นคว้าเกี่ยวกับ จ.จันทบุรี อยู่เป็นประจำ จึงไม่แปลกอะไรที่จะทำให้ อ.กามนิต เห็นถึงความเป็นไป และปัญหาด้านการบริหารจัดการมรดกทางวัฒนธรรมของ จ.จันทบุรี มาโดยตลอด
“อู่ต่อเรือพระเจ้าตากสิน เป็นงานที่เริ่มต้นจากการขุดค้นทางวิชาการของกรมศิลปากร หลังขุดค้นแล้วก็ไม่มีงบประมาณที่จะบริหารจัดการว่าจะเอามาจัดแสดงอย่างไร พอไม่มีงบประมาณก็ต้องเก็บไว้ในลักษณะที่จะต้องกลบหรือไม่ให้มันโดนการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ต่อมามีงบประมาณส่วนหนึ่งของกระทรวงมหาดไทย ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น มาสร้างอาคารคลุมซากเรือ อาคารพิพิธภัณฑ์ และมีเงินจากการสนับสนุนของชาวบ้านให้เราขุดค้นอู่ต่อเรือพระเจ้าตากสิน แห่งที่ 2 ที่อยู่เคียงข้างกัน ซึ่งแห่งนี้ผมเป็นคนควบคุมการขุดค้นเอง ทำให้เราได้ข้อมูลมากมาย แต่พอจะจัดแสดงจะจัดอนุรักษ์มันต้องใช้งบประมาณพอสมควร ตัวงบประมาณไม่มา ตามเวลาที่เราต้องการ เพราะโบราณวัตถุที่ได้มาจากใต้น้ำมันต้องอนุรักษ์ให้ถูกวิธี ต้องแช่น้ำไว้ เปลี่ยนสภาพไม่ได้ ทำไงล่ะครับ ก็ต้องเอากลับลงไปที่เดิม
มีโบราณวัตถุบางส่วนที่เราอนุรักษ์ทางวิทยาศาสตร์ไว้อย่างถูกต้องแล้ว แต่ปัญหาใหญ่ก็คือไม่มีงบประมาณจัดแสดงอีก ต้องจัดไปตามที่เห็น จัดเสร็จแล้ว ไม่มีเงินจ้างเจ้าหน้าที่ ก็เลยให้คนทำความสะอาดเป็นผู้ดูแลและบรรยาย ตรงนี้อันตราย เขาไม่ใช่นักวิชาการใช่ไหมครับ เอาข้อมูลส่วนตัวลงไปเมื่อไหร่ เป๋กันไปหมด หลักฐานที่เราทำไว้เดี๋ยวก็ไปกันใหญ่ อนุรักษ์ไม่ถูกวิธี เจ้าหน้าที่ไม่มีองค์ความรู้ ครูพักลักจำมาว่ากัน ทำให้การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ เป็นไปอย่างแร้นแค้น ถ้าจะให้พูดแรงหน่อยถึงขั้นวิบัติ หมายถึงตัวพิพิธภัณฑ์นะครับ ในส่วนเรือเราต้องควบคุมให้น้ำอยู่ตลอด เพราะมันเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญให้ศึกษาเรียนรู้ และในบริเวณพื้นที่ของอู่ต่อเรือ เราก็พบเห็นความขัดแย้งของชาวบ้าน ในเมื่อไม่มีเจ้าหน้าที่ชาวบ้านก็ต่างตักตวงผลประโยชน์ อย่างที่ผมบอกว่าถึงขั้นวิบัติจริงๆครับ”
จันทบุรียังมีปัญหาด้านการบริหารจัดการมรดกทางวัฒนธรรม อีกหลายแห่ง ตึกแดง และป้อมฝรั่งเศส ที่ อ.แหลมสิงห์ เป็นอีกจุดที่ อ.กามนิต ได้ยกตัวอย่างและสะท้อนให้เห็นสภาพปัญหา โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดจากการขาดเจ้าหน้าที่ดูแลและไม่มีการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง
เราก็รู้ว่าคุกขี้ไก่มันไม่มีในโลก แต่คุณก็ขึ้นป้าย ว่าคุกขี้ไก่ เอารูปปั้นไก่ไปตั้งเอาไว้ ถ้าเรานำเสนออะไรที่ผิดแบบนี้ มันผิดไปทั้งประเทศครับ มันไม่ใช่คุกขี้ไก่ แต่มันคือป้อมฝรั่งเศส ที่ฝรั่งเศสมาสร้างไว้สังเกตการณ์ข้าศึกเวลาเรือใครจะเข้าจะออก สมัยเหตุการณ์ รศ.112 (พ.ศ.2436)สมัยฝรั่งเศสยึดครองเมืองจันทบุรี ช่วงเวลาที่ทหารราว 1 กองร้อยมาอยู่ที่แหลมสิงห์ มีการสร้างตึกแดง กับป้อมฝรั่งเศส
ในส่วนบริเวณที่สร้างตึกแดงเคยเป็นป้อมพิฆาตปัจจามิตร ที่สร้างสมัยรัชกาลที่ 3 ฝรั่งเศสมาสร้างตึกแดง แล้วทำลายป้อมพิฆาตปัจจามิตร ปัจจุบันทั้งตึกแดง และป้อมฝรั่งเศส ยังมีการอนุรักษ์ไว้ดีครับ ตามสถานการณ์ที่มันเกิดขึ้นกรมศิลปากรก็มาดูแลดี แต่พอดูแลแล้ว จะบริหารจัดการอย่างไรล่ะครับ ไม่มีเจ้าหน้าที่ดูแล แต่เปิดอาคารไว้ตลอด และทุกวันนี้ก็เอาใครไปอยู่ไม่รู้คนนึง ส่วนป้อมฝรั่งเศส ถูกบิดเบือนข้อมูลกลายเป็นที่รู้จักในชื่อ คุกขี้ไก่
โดยอ.กามนิต เป็นผู้ทำวิทยานิพนธ์การศึกษาแบบแผนการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ บริเวณอำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี เขาเป็นประธานชมรมจดหมายเหตุจันทบูร โดยร่วมสันนิษฐานศิวลึงค์เก่าแก่อื่นๆ ข้อมูลที่ผมใช้มาจากอินเตอร์เน็ตนั่นแหละ(*)เล่าย่อๆ ผมสนทนาประวัติศาสตร์ไปแล้วก็เล่าเรื่องรุ่นน้องของผมเรียนป.เอก วัฒนธรรมศึกษาอยู่ที่อินเดียว่าเค้าอยากกลับมารับใช้บ้านเกิดดูแลพ่อแม่ด้วย
อย่างไรก็ดี ผมตัดตอนเล่าย่อๆ แล้ว จากตอนที่5(**)สุดท้าย ดึกค่ำผมไม่ดำน้ำ ไม่ได้ไปหาปลา ไม่มี อะไรฮร่า จบลงด้วยดี ราตรีสวัสดิ์ครับ
*“จันทบุรี” ไม่มี “คุกขี้ไก่” !? การบริหารจัดการ “มรดกทางวัฒนธรรม” อยู่ในขั้นวิบัติ
http://www.manager.co.th/celebonline/viewnews.aspx?NewsID=9590000056831
**การสะสมความทรงจำ ตอนที่ 5
5 เมษา
การสะสมความทรงจำ ละครทีวีบุพเพสันนิวาส กับชุมชนจินตกรรม
…ความเป็นจริงในทางภววิทยาหรือสภาวะเที่ยงแท้ของความเป็นจริงนั้น จะเข้าถึงได้ก็โดยผ่านระบบสัญลักษณ์แทนอันทรงสิทธิ์ระบบเดียวเท่านั้น ได้แก่ภาษาสัจธรรม อย่างภาษาลาตินของคริสตจักร…แรงกระตุ้นสู่การเปลี่ยนรับเข้ารีต…การเสื่อมถอยของคริสตจักรในฐานะที่เป็นชุมชนจินตกรรมของศาสนิก(the imagined community of Christendom)…การที่มนุษย์ถูกลิขิตมาให้มีความแตกต่างทางภาษาอย่างที่มิอาจจะเปลี่ยนแปรแก้ไขได้… (Benedict Anderson,Imagined Communities: Reflections on the Origin and Spread of Nationalism.)
ผมได้เขียนมาต่อเนื่องแล้วเรื่องการสะสมความทรงจำ ละครทีวีบุพเพสันนิวาส กับชุมชนจินตกรรม(*) ในแง่ภาษาไทย ความต่างก็มีอยู่อย่างที่ได้กล่าวไป และอย่าลืมว่าละครทีวีบุพเพสันนิวาส ย้อนเวลาจากศตวรรษที่21 กลับไปศตวรรษของยุคพระนารายณ์ ซึ่งนิยายตามข้อมูลคนเขียน คือ เขียนราวปี2550 หลังรัฐประหาร ปี2549 และปี พ.ศ. 2553 ตีพิมพ์นวนิยายแนวรักตลกอิงประวัติศาสตร์เรื่อง บุพเพสันนิวาส เธอใช้เวลาในการหาข้อมูล 3 ปี จนมาเขียนต้นฉบับเสร็จในเดือนเดียว(ผู้เขียนเรื่องดังกล่าวให้สัมภาษณ์ชอบงานเขียนอ.ธงชัย วินิจจะกูลด้วย)
จากนั้นผมเปรียบเทียบสายตาปัจจุบันหาอดีต…ความเป็นจริงในทางภววิทยาหรือสภาวะเที่ยงแท้ของความเป็นจริงนั้น จะเข้าถึงได้ก็โดยผ่านระบบสัญลักษณ์แทนอันทรงสิทธิ์ระบบเดียวเท่านั้น ได้แก่ภาษาสัจธรรม อย่างภาษาลาตินของคริสตจักร ภาษาอารบิกของกุรอ่าน หรือภาษาจีนในระบบการสอบข้าราชการแมนดาริน และในฐานะที่เป็นภาษาสัจธรรม ภาษาเหล่านี้ย่อมเต็มเปี่ยมไปด้วยแรงกระตุ้นที่ลัทธิชาตินิยมไม่ค่อยรู้จัก นั่นก็คือ แรงกระตุ้นสู่การเปลี่ยนรับเข้ารีต ผู้เขียนใช้คำว่า ‘การเปลี่ยนรับเข้ารีต’ นี้มิใช่ในความหมายของการรับเอาข้อบัญญัติทางศาสนาอย่างใดอย่างหนึ่งเท่าใดนัก
แต่หมายถึงการหลอมกลืนแบบเล่นแร่แปรธาตุ ผู้ในแดนป่าเถื่อนจึงกลายเป็นผู้คนของ ‘อาณาจักรกลาง’ชาว Rif ในโมร็อกโกและอัลจีเรียกลายเป็นมุสลิม ชาวIIongo ในฟิลิปปินส์เป็นคริสเตียน ธรรมชาติทั้งหมดของตัวมนุษย์จึงเป็นธาตุที่แปรเปลี่ยนได้โดยอาศัยความศักดิ์สิทธิ์…(เบน แอนเดอร์สัน ชุมชนจินตกรรม: บทสะท้อนว่าด้วยกำเนิดและการแพร่ขยายของชาตินิยม ดูบทรากฐานทางวัฒนธรรม)…
แม้กระนั้น การยกระดับภาษาถิ่นเหล่านี้ขึ้นสู่สถานะภาษาของอำนาจ ในด้านหนึ่งทำให้ภาษาเหล่านี้เป็นคู่แข่งขันกับภาษาลาติน(ภาษาฝรั่งเศสในปารีส และภาษาอังกฤษ[ยุคต้น]ในลอนดอน) ผลที่ตามมาก็คือมันนำไปสู่การเสื่อมถอยของคริสตจักรในฐานะที่เป็นชุมชนจินตกรรมของศาสนิก(the imagined community of Christendom)…การที่มนุษย์ถูกลิขิตมาให้มีความแตกต่างทางภาษาอย่างที่มิอาจจะเปลี่ยนแปรแก้ไขได้
(Benedict Anderson,Imagined Communities: Reflections on the Origin and Spread of Nationalism.ดูบทกำเนิดของสำนึกแห่งความเป็นชาติ)
โดยเปรียบเทียบกับฝรั่งเศส มีแรงกระตุ้นให้สมเด็จพระนารายณ์เข้ารีต และจับประเด็นพระปีย์เปลี่ยนรับเข้ารีต จากละครทีวีสะท้อนยุคสมัยอยุธยา ทำจินดามณี มีเขียนถึง…ลิขิตวิจิตรด้วย ศุภอรรถ…เป็นตัวอย่าง ต่อมาปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นแบบกึ่งบังเอิญ แต่ให้ผลดุจระเบิดที่รุนแรง ระหว่างระบบการผลิตและความสัมพันธ์ทางการผลิต(ทุนนิยม)กับเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสาร(การพิมพ์) และการที่มนุษย์ถูกลิขิตมาให้มีความแตกต่างทางภาษาอย่างที่มิอาจจะเปลี่ยนแปรแก้ไขได้(หลังปฏิวัติฝรั่งเศสต่อมานโปเลียน ครองราชย์ตรงกับสมัยร.1 ของสยามหรือไทย และมากซ์ เกิดขณะนโปเลียนยังมีชีวิต ซึ่งมากซ์ อยู่ยุคเดียวกับเซอร์จอห์น เบาว์ริง โดยมากซ์เคยกล่าวถึงเบาว์ริงด้วย)
เมื่อวันเวลาผ่านเวลามาสื่อสิ่งพิมพ์นิยายถูกตีพิมพ์ และละครทีวีในโลกยุคโลกาภิวัตน์(โบราณคดีโครงกระดูกพระปีย์ถูกขุดค้นพบพร้อมฟอลคอน!) ซึ่งนางเอกตามเรื่องย่อของละครบุพเพสันนิวาส … จากอดีตเธอได้กลับไปยังโลกปัจจุบัน และได้รู้ว่าแท้จริงแล้วเรืองฤทธิ์ก็รักเธอมากเสียจนขอบวชตลอดชีวิต ขณะที่จ้องพระเรืองฤทธิ์อยู่นั้น เธอก็เห็นเงาสะท้อนของพ่อเดชอยู่ในร่างของเรืองฤทธิ์ เธอจึงเข้าใจแล้วว่า แท้จริงแล้วเรืองฤทธิ์ ก็คือพ่อเดชมาเกิดใหม่…(นักแสดงพระเอกชื่อเล่นโป๊ป! สื่อถึงพระสันตะปาปา ถ้าตัวละครย้อนเวลาจากปัจจุบันอยู่ในประเทศ ที่มีพรรคคอมมิวนิสต์จีนหรือลาว)
โดยบุพเพสันนิวาส การเคยอยู่ร่วมกันในกาลก่อน เช่น เคยเป็นพ่อแม่ลูกพี่น้องเพื่อนผัวเมียกันในภพอดีต (ดู ชาดกที่ ๖๘ และ ๒๓๗ เป็นต้น) จากเรื่องย่อและการเปรียบเทียบพุทธศาสนา ในแง่การเวียนว่ายตายเกิดต่างจากคริสต์ ที่มีพุทธ ภาษาบาลี คริสต์ภาษาลาติน ตามที่ยกตัวอย่างเปรียบเทียบ แต่รายละเอียดมีอยู่ และละครทีวี กรณีแม่หญิงจันทร์วาด (ปราง กัญญ์ณรัณ) ในนิยายจะต้องลงเอยกับ หลวงศรียศ (เอิร์ธ วิศววิท) แต่ในละคร กลับมาลงเอยกับ ขุนเรืองราชภักดี (ปั้นจั่น ปรมะ) นั้นก็มีการปรับเปลี่ยนด้วย(ผมอ่านนิยายคร่าวๆแล้ว มีเรื่องล้อเล่นเกิดเป็นม้าน้ำ)
ซึ่งนางเอกในนิยาย เริ่มเรื่องปัจจุบันไปหาอดีตและผมเข้าใจนางเอกเชื้อจีนหมวยๆ แต่ละครทีวี (เบลล่า ลูกครึ่งไทยกับอังกฤษ)กลับไปอดีตตามภาพละครทีวี บางฉากผมเห็นภาพแผนที่ลูกโลกกลม ระหว่างการสนทนาของฝรั่งกับฟอลคอน แม้ตัวละครในบุพเพฯ นี้เรายังไม่ได้เห็นบทสนทนาโลกกลมเหมือนหนังเรื่องทวิภพ แต่มีกล่าวเรื่องส่องกล้องดูดวงดาว นางเอกมองพระจันทร์กลมดวงโต นางเอกมีนุ่นอยู่ในหมอนแทนใจให้คนรักไปดินแดนไกล แม้ตัวละครการะเกดไม่มีตัวตนในประวัติศาสตร์(คนตั้งคำถามการะเกดแต่งกายเหมือนลาว แต่สุดท้ายไทยแยกจากลาว วาทกรรมเสียดินแดนลาว,จำปาศักดิ์) ในละครทีวีการะเกดมีฐานะคู่หมั้น(ชงชาสัญลักษณ์น้ำสะอาดดื่มดี) และอำนาจชนชั้นสูงมากกว่าคนธรรมดาอย่างนางเอกในหนังทวิภพ(นางเอก ยังเป็นนักประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำ,ต่อสู้ได้,ลูกศิษย์ชีปะขาว ที่มีมนต์คาถาวิเศษ ฯลฯ)
กระนั้น ย้อนอดีตผ่านมุมผมเล่าเรื่องเอกสารชั้นต้นผ่านมุมเรื่องภาพรวมย่อๆ กรณีอยุธยาและลพบุรี ยกตัวอย่างแม่น้ำลพบุรีลาลูแบร์บันทึกว่า “ที่เมืองละโว้” น้ำกลับไม่น่าดื่มยิ่งกว่าเมืองสยาม (อยุธยา) ไปเสียอีก (หน้า77) ข้าราชการสยามคอรัปชั่นมาก (หน้า248) ช้างเผือกเป็นสัตว์ที่ชาวสยามนับถือมาก เพราะเป็นที่สิงสถิตของดวงวิญญาณของท้าวพระยามหากษัตริย์(หน้า296)
ซึ่งเรื่องนี้ก็ไม่ปรากฏในเอกสารไทยเช่นกัน(**) ถือว่าเป็นเอกสารชั้นต้น(ไม่ใช่เอกสารชั้นรอง)สะท้อนความคิด ที่มีเรื่องช้างเผือกดังกล่าว(อยู่ในนิยายพระเจ้าช้างเผือก แต่ไม่มีในหนังพระเจ้าช้างเผือกโดยผมเคยเขียนถึงเรื่องหนังนี้แล้ว) ส่วนเรื่องยกตัวอย่างเรื่องมอญพม่า คือ เมืองปทุมธานี(บ้านสามโคกหรือเมืองสามโคก)ในอดีต นับตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา คือ เมื่อ พ.ศ. 2202 มังนันทมิตรได้กวาดต้อนครอบครัวมอญ เมืองเมาะตะมะ อพยพหนีภัยจากศึกพม่า เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา ซึ่งสมเด็จพระนายรายณ์มหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ครอบครัวมอญเหล่านั้นไปตั้งบ้านเรือน(ลักษณะความสัมพันธ์บ้านกับเมือง)
เมื่อกล่าวถึงวัดนักบุญยอแซฟ บาทหลวง นักเรียนชาวคาทอลิก และชาวฝรั่งเศสทั้งพ่อค้าและทหารต่างก็ได้รับผลกระทบด้วย อันเนื่องจากความพยายามที่จะเปลี่ยนศาสนาขององค์กษัตริย์ และความสัมพันธ์กับฟอลคอน ทังนี้วัดและโบสถ์ถูกทำลาย ชาวฝรั่งเศสถูกจับกุมคุมขังและกองทหารฝรั่งเศสถูกขับออกจากป้อมบางกอกและออกจากสยาม
นับจากเหตุการณ์นี้ ความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการของสยามกับฝรั่งเศสก็ยุติลง เหลือเพียงความพยายามเผยแพร่คริสต์ศาสนาของเหล่าบาทหลวงเยซูอิตยังดำเนินต่อไป อีก3ปีต่อมาพระเพทราชา ทรงให้บาทหลวงรื้อฟื้นวัดโบสถ์และโรงเรียนบ้านเณรขึ้นมาใหม่พร้อมทั้งพระราชทานเงินให้ 500 เหรียญฝรั่งเศสด้วย โรงเรียนบ้านเณรยังคงเป็นศูนย์กลางการศึกษาทางศาสนาของนักเรียนจากชาติต่างๆ เหมือนเดิม อีกราว40ปี(นิยายบุพเพสันนิวาสบางช่วงเขียนใส่เชิงอรรถขยายความ และนิยายเขียนมาถึงยุคพระเพทราชา มีภาคผนวกและอ้างหนังสือประวัติศาสตร์ที่ค้นคว้าพร้อมข้อมูลตามเว็บ)
ต่อมาในปี พ.ศ.2274 ปีสุดท้ายแห่งรัชสมัยพระเจ้าท้ายสระ เกิดความขัดแย้งทางศาสนาระหว่างขุนนางของพระสงฆ์ของพุทธศาสนากับบาทหลวงแห่งบ้านฝรั่งเศส พระเจ้าท้ายสระ จึงทรงให้ทำศิลาจารึกว่าด้วยข้อ ห้าม 4ประการ ต่อพระสังฆราชและบาทหลวง ไปวางไว้ที่หน้าประตูโบสถ์เซนต์ยอแซฟ ห้ามมิให้สั่งสอนเทศนาแก่คนสยาม คนมอญ และคนลาว ทั้งห้ามมิให้ชักชวนคนเหล่านี้เปลี่ยนศาสนาเป็นชาวคริสเตียน ทั้งห้ามมิให้สังฆราชแต่งหนังสือสอนศาสนาคริสต์เป็นภาษาไทย ภาษาบาลี ภาษามอญ ภาษาลาว ภาษาญวน และภาษาจีน และห้ามกล่าวติเตียนศาสนาพุทธ อีก36ปีต่อมา ศิลาจารึกข้อห้ามของคณะเยซูอิตนี้ได้ถูกบาทหลวงทำลายไปในขณะที่กองทัพพม่ากำลังโจมตีกรุงศรีอยุธยา บ้านฝรั่งเศสได้กลายเป็น ค่ายนักบุญยอแซฟ ที่ชาวคริสเตียนได้อพยพมาอยู่และเป็นกองกำลังขนาดใหญ่
แต่ในที่สุดค่ายนักบุญยอแซฟก็ถูกพม่าเผาทำลายเป็นเถ้าถ่าน ก่อนหน้าที่กรุงศรีอยุธยาจะพังทลายราว 15 วัน พระสังฆราช บาทหลวง ชาวคาทอลิกที่พม่าจับได้ถูกนำกลับไปเป็นทาสที่พม่า(ไม่มีหนังไทยอย่างค่ายบางระจัน?) หลังจากโบสถ์ได้ถูกเผาทำลายและถูกปล้นสะดมทรัพย์สินไปหมด บาทหลวงฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว จึงได้กลับมาบูรณะวัดอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2374 และโบสถ์หลังปัจจุบันคือในสมัยคุณพ่อแปร์โร ที่ได้ทำพิธีเสกในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2426 โบสถ์ได้ทำการบูรณะครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2547ปัจจุบันตัวโบสถ์หลังปัจจุบันนี้มีอายุมากกว่าร้อยปีแล้ว(ตัวเอกสาร บุคคลถูกตีความ และศิลปะวัตถุยืนยันหลักฐานได้)
ฉะนั้น ผมมองละครทีวีบุพเพสันนิวาส ในแง่ชวนให้ต่อยอด และย้อนกลับมาสนทนากับอดีตทั้งเรื่องจริงและการตีความจากนิยาย มีหลายประเด็นที่กลับมาในปัจจุบันให้คนเขียนถึงกันมาก(***) ยกตัวอย่างอยุธยา มีคนเขียนไว้เยอะ(****) และผมเขียนเรื่องจินดามณี(*****) มาก่อนหน้านี้ ก็ได้มาค้นคว้าทบทวนเพิ่มเติมในแง่ได้ประโยชน์ เป็นการสะสมความทรงจำ(******) ไม่ว่าไพร่ ก็คือราษฎรสามัญชนทั่วไปทั้งชายและหญิง ทุกคนต้องขึ้นทะเบียนสังกัดกับมูลนาย ทาส ก็จะมีสถานภาพที่ต่ำกว่าไพร่เป็นแรงงาน(*******) นั่นแหละดูนางเอกตลกไม่พอหมู่บ่าวสาวใช้ตัวประกอบสร้างตลก(********) ดราม่าไว้(เปรียบเทียบแรงงานข้ามชาติปัจจุบันคงไม่มีใครอยากย้อนเวลาไปเป็นทาส) ในการทบทวนมองอดีตผ่านละครบุพเพสันนิวาส ที่สนใจวิเคราะห์เปรียบเทียบกับประสบการณ์ของผม ซึ่งผมเคยเขียนวิเคราะห์หนังในอดีตมาแล้ว(*********)
อย่างไรก็ดี การเปรียบเทียบสยามก็รับมรดกจากศตวรรษที่19 และสหภาพโซเวียต สืบทอดมรดกมาจากรัฐแห่งราชวงศ์ศตวรรษที่19 ก่อนสมัยการเกิดขึ้นของลัทธิชาตินิยม มากกว่าจะเป็นต้นกำเนิดของระบบโลกสากลในศตวรรษที่21… (Benedict Anderson,Imagined Communities: Reflections on the Origin and Spread of Nationalism ดูบทนำ และผมขยายความสหภาพโซเวียต คือ พรรคบอลเชวิก)
ดังนั้น ประวัติศาสตร์ช่วงยาว สะท้อนการสะสมความทรงจำให้เห็นเราอยู่ในศตวรรษที่21 วาทกรรมชาตินิยม หรือไทยนิยม ไม่ใช่แนวสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม(มีมรดกชาตินิยมเหมือนจีน) ที่บิ๊กตู่ไปร่วมประชุมช่วงก่อนหน้าดาราละครทีวีบุพเพสันนิวาสไปหาบิ๊กตู่ นี่แหละมรดกความทรงจำที่เราจะต้องจำใจรับกรรมในความทรงจำแล้วหาทางหลุดพ้นทุกข์ จากปริศนาเหลืองแดงในปัจจุบันนี้ และจุดที่มองการณ์ไกลอีกยาวแง่ร้าย คนลี้ภัยมีทั้งลาว ต่างประเทศแล้ว คำถามถ้าเราจะย้อนเวลาไปอยู่ยุคสมัยใด หรือเราต้องการมองโลกแง่ดีมีประชาธิปไตยจากอดีตไม่มี และอนาคตที่ดีกว่านี้
*การสะสมความทรงจำ ละครทีวีบุพเพสันนิวาส กับชุมชนจินตกรรม

**จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม – วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง
https://mekongjournal.kku.ac.th/Vol07/Issue02/11.pdf
***เปิดกรุเอกสาร’ขุนศรีวิสารวาจา’ บรรยายละเอียดยิบ’ห้องนอน’ที่ฝรั่งเศส คราวเป็น’ตรีทูต’
https://www.matichon.co.th/news/897520
อ่านเถิดชาวสยาม 6 หนังสือร่วมสมัย ‘แม่หญิงการะเกด’ ห้ามพลาด!
https://www.matichon.co.th/news/884406
มองแบบไม่ลำเอียง ฟังอีกมุม“ฟอลคอนแห่งอยุธยา”จากนักเขียนหญิงชาวฝรั่งเศส
https://www.matichonacademy.com/content/article_9324
(ฟอลคอน หรือ การเผชิญภัยของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ การเผชิญภัยและต่อสู้ด้วยความทะเยอทะยานเอง
ผู้เขียน วิลเลียม ดาลตัน ผู้แปล เสฐียรโกเศศ)
****กรุงศรีอยุธยาของเรา โดยอ.ศรีศักร วัลลิโภคม เคยเขียนไว้ ศึกมักกะสันเมืองบางกอก : สารนิยายอิงจดหมายเหตุฝรั่งเศสสมัยกรุงศรีอยุธยา / สุจิตต์ วงษ์เทศ ศิลปะอยุธยา: งานช่างหลวงแห่งแผ่นดิน คือ อ.สันติ เล็กสุขุม ส่วนอ.ผาสุก พงษ์ไพจิตร ผู้เขียน A History of Ayutthaya ร่วมกับคริส เบเคอร์ หรือกรณีอ.พิริยะมีความคิดเห็นว่าจำเป็นต้องศึกษาทบทวนเกี่ยวกับการจำแนกศิลปะอยุธยาตามการเปลี่ยนแปลงของความเชื่อในพุทธศาสนาจากแต่เดิมที่มีการกำหนดอายุเวลาของศิลปะสมัยอยุธยาตามยุคสมัยทางประวัติศาสตร์เป็น ๔ ยุค เนื่องจากไม่สอดคล้องกับองค์ความรู้ที่ปรากฏในปัจจุบัน
http://www.piriyafoundation.com/?p=455
วิธีวิทยาทางประวัติศาสตร์ศิลป์ของพิริยะ ไกรฤกษ์ ในการ วิจัยศิลปะและสถาปัตยกรรมไทย : กรณีศึกษาการปรับเปลี่ยน อายุเวลาของสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา
https://info.rdi.ku.ac.th/ThailandResearch/?itemID=462806
(มีกรณีอ.สุเนตร ชุตินธรานนท์ นักประวัติศาสตร์ ที่ปรึกษาทางประวัติศาสตร์ในการเขียนบทภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท และนักเขียนบทภาพยนตร์ชาวไทย เช่น”พันท้ายนรสิงห์”)
***** วันภาษาไทยแห่งชาติ ,จินดามณี และพระโหราธิบดี

******ดูภาพเก่า ทริปอยุธยา2 เมษายน 2013 •

พิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยา ณ อยุธยา
*******พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยกับการสร้างประวัติศาสตร์ ดื่ม กิน และอื่นๆอีกมากมาย
พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยกับการสร้างประวัติศาสตร์จักสาน ผ้าตีนจก และอื่นๆอีกมากมาย

(นิยายบุพเพสันนิวาส บรรยายนางเอกเหมือนเป็นสาวหมวยตามความเข้าใจของผม ซึ่งบทผิน,แย้ม มีบทนิยาย ส่วนนางปริก ข้อมูลในเน็ตคนคอมเม้นท์บอกก็ไม่ได้มีบทอะไร ละครทีวีเสริมขึ้นมาเยอะและจ้อย? มีใครอยากข้ามเวลาไปเป็นบ่าวไพร่ ทาส หรือตัวร้าย?)
********กรณีเปรียบเทียบกับดารานักแสดงก่อนหน้านี้ในละครทีวีแนวย้อนอดีตจากเรื่องบ่วงบรรจถรณ์(2560ละครทีวีพีเรียดกระแสเบา) ที่มารีเมคทำใหม่ทำไมไม่เกิดกระแสดังเท่ากับพี่มากพระโขนง ที่ได้ดารานักแสดงคู่ที่เคยแสดงร่วมกัน คือ มาริโอ้ เมาเร่อ และดาวิกา โฮร์เน่ ปัจจัยเปรียบเทียบดังกล่าวอย่างง่ายมีที่มาจากความเป็นนวนิยายแนวรักตลกอิงประวัติศาสตร์(คนดูละครทีวีบุพเพฯบางคนจับผิดภาพหลุดได้ตั้งใจดูมาก?)
********* เราเหมือนดูภาพยนตร์คู่รักอกหัก:พันธมิตรฯแตกหักรัฐกระทบเพื่อนบ้านกลายเป็นคู่รบ
https://prachatai.com/journal/2011/02/33206
5.2
ปลากะพงขาว ภาพ ณ จำปาศักดิ์
เมื่อผมคิดถึงอดีตที่เคยเล่าเรื่องเชื่อมโยง ณ จำปาศักดิ์(*) หาอะไรมาเล่าเบาๆ ในวันเช็งเม้ง หน่อย คือ ผมสนทนากับคนลาว คือ ไกด์ลาวไม่ว่าเรื่องละครทีวีบุพเพสันนิวาส…ออเจ้า…เป้าหมายคนจีนสร้างทางรถไฟ ที่เขาพยายามมาร่วมทุน และหนังสะบายดี 2 ไม่มีคำตอบจาก.. ปากเซ (ฯลฯ) ซึ่งภาพผม(ลุงบอย)นั่งริมน้ำของหรือโขง โดยไม่ได้กินปลา จากกรณีปลากะพงขาว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Lates calcarifer) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่งที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้พบกระจายทั่วไปในชายฝั่งทะเลของทวีปเอเชียไปจนถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย โดยเป็นปลาที่อพยพไปมาระหว่างทะเลกับน้ำจืด
โดยพ่อแม่ปลาจะว่ายจากชายฝั่งเข้ามาวางไข่ในป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำ จนกระทั่งลูกปลาฟักและเติบโตแข็งแรงดีแล้ว จึงจะว่ายกลับสู่ทะเล บางครั้งพบอยู่ไกลจากทะเลนับเป็นร้อย ๆ กิโลเมตร เช่นที่ แม่น้ำโขง ก็มี เป็นปลากินเนื้อ อาหารได้แก่ สัตว์น้ำ, ปลา, กุ้ง ที่มีขนาดเล็กกว่า เป็นปลาเศรษฐกิจ นั่นแหละเล่าเล่นๆ เพราะภาพบนโต๊ะไม่มีปลากะพง(**)ให้เห็นอยู่ในจินตนาการเท่านั้น(ภาพบรรยากาศแม่น้ำโขง ที่นี่มีเมืองโขงด้วย)
*ทายาทอดีตเจ้าลาว จำปาศักดิ์ เคยบอกว่าผมเป็นเทวดากลับชาติมาเกิด

(ผมไม่ได้คุยเรื่องเจ้าลาวกับไกด์ลาว)
**ปลากะพงขาว
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A7
8 เมษา
วันเวลาผ่านไปกระแสจางหาย หลายคน อาจจะลืม จึงนำมาฉายทางยูทูปเสือดำ หรือ”เสือดำตัวสุดท้ายในจินตกรรม”(ผมยังไม่ถึงขั้นYoutuber ยูทูปเบอร์ฮร่า ) ยุคที่ว่าธรรมดาโลกไม่จำ
8.2
เวลาแห่งความทรงจำ ณ ปราสาทวัดพู
เนื่องจากไม่มีเวลาเขียนอะไรมาก ร่างไอเดียไว้ ยกตัวอย่าง 1.วัดภู จำปาสักโมเดล เปรียบเทียบเมืองเชียงใหม่สู่มรดกโลก ดีเดย์ 8 เมษาบวชป่ารอบบ้านพักศาลภาค 5 – ชูริบบิ้นเขียวปกป้องป่าดอยสุเทพ
เมื่อเปรียบเทียบกับแหล่งมรดกโลกวัดภูที่จำปาสักของลาว พบว่าวัดภูมีภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับเมืองจำปาสัก ได้รับการขึ้นทะเบียนว่ามีคุณค่าโดดเด่น… คือ
วัดภูและบริเวณโดยรอบเป็นประจักษ์พยานพิเศษ แสดงถึงวัฒนธรรมของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ในยุคอาณาจักรอีศานปุระของขอมที่เรืองอำนาจ ครอบครองภูมิภาคนี้ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 10-14
พื้นที่ทั้งหมดของวัดภู เป็นตัวอย่างของการบูรณภาพ ด้านภูมิทัศน์วัฒนธรรม ที่มีสัญลักษณ์ความสำคัญทางจิตวิญญาณ กับเขตพื้นที่โดยรอบ
วัดภูและกลุ่มศาสนสถานต่างๆ ตั้งอยู่บนภูเขา สะท้อนให้เห็นถึงคติฮินดู ที่มีสัมพันธภาพและบูรณภาพกับธรรมชาติ และมวลมนุษยชาติ คติดังกล่าวมีองค์ประกอบคือ ภูเขาเป็นตัวแทนของเขาพระสุเมรุ ตั้งตระหง่านเหนือที่ราบเชิงเขาที่มีแม่น้ำไหลผ่าน
การเปรียบเทียบเชียงใหม่กับวัดภู มีความน่าสนใจในเรื่องภูเขาศักดิ์สิทธิ์ ตามคติของชาวลัวะ ชนพื้นเมืองดั้งเดิมในเชียงใหม่ ก็มีการนับถือภูเขาว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ต่อมาเริ่มมีคติของฮินดู เรื่องฤๅษีวาสุเทพผู้สร้างเมืองหริภุญไชยเข้ามาสอดแทรก
บริเวณดอยสุเทพของเชียงใหม่จึงมีลักษณะคล้ายวัดภูโมเดล ซึ่งทุกวันนี้เชียงใหม่ยังรักษาประเพณีการเดินขึ้นดอย(*)
นั่นแหละผมอยากเขียนอะไรบ้าง ในแง่นิเวศวัฒนธรรม และนิเวศวิทยาการเมือง รวมทั้งการใช้ที่ดินเพื่อเข้าใจพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ และความทรงจำที่ศักดิ์สิทธิ์หายไป ในไทยแลนด์
2.ผมคิดเขียนเรื่องปราสาทวัดพู แต่เขียนได้ไม่ยาวไม่มีเวลาช่วงก่อน มีรายการทีวีไทย ที่บังเอิญเพิ่งเปิดดู คือรายการ GPS Go Play with S ทุกวันอาทิตย์ 11.00 – 12.00 น. ช่อง GMM25 มาที่นี่ด้วย
3.ผมถ่ายรูปไว้เยอะ อาจจะทำโฟโต๊บุ๊ค(**)
4.ผมถ่ายวิดิโอเก็บสต๊อกไว้ ทีปราสาทวัดพู เหมือนที่ทะเล เผื่อนำใช้ในหนังสั้น
5.ผมกะจะเขียนเรื่องเล่าการเดินทางอย่างทราเวล บล็อกเกอร์(***) สักหน่อยแค่คิดลอยไป
6. ผมถ่ายภาพไว้เผื่อไอเดียออกแบบกรอบพระสมเด็จ ไข่ปลาเรียงเม็ด+ลวดลายปราสาทวัดพู
7.งานวิชาการ สัญลักษณ์เกี่ยวกับจระเข้ ที่ปราสาทวัดพู
* “ล้านนาศึกษา” ใน “ไทศึกษา” ครั้งที่ 13 (25) เชียงใหม่ : ความเคลื่อนไหวสู่การขึ้นทะเบียนเป็น “มรดกโลก”https://www.matichonweekly.com/column/article_92955
**โฟโต้บุ๊คแนวท่องเที่ยว
http://xn--o3caa6bbb7a7h5drbh9b.saonbeta.com/
*** ‘บล็อกเกอร์ท่องเที่ยว’ เที่ยวสนุก ทำเงินได้!
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/689099
Work And Travel : ทราเวลบล็อกเกอร์เป็นอาชีพได้จริงป่าว?
https://thematter.co/rave/can-travel-blogger-make-a-revenue/13970
(ภาพปราสาทวัดพูหรือวัดภู)
11 เมษา
การสะสมความทรงจำ ละครทีวีบุพเพสันนิวาส กับชุมชนจินตกรรม
…แผ่นดินสวรรค์เปรียบเหมือนอวนที่ลากอยู่ในทะเล ติด ปลารวมทุกชนิด เมื่อเต็มแล้วเขาก็ลากขึ้นฝังมั่งเลือกเอาแต่ที่ดีใส่ตะกร้า แต่ ที่ไม่ดีนั้นก็ทิ้งเสีย’ [มัทธิว 13:47–48]
…คุณูปการอันสำคัญของโลกทัศน์ทางศาสนาดั้งเดิมต่างๆ…อยู่ที่การให้ความสำคัญต่อประเด็นเรื่องมนุษย์…ความลี้ลับแห่งการเกิดใหม่…ความเชื่อเคยทำให้ทุเลาลงได้นั้น มิได้หายไปด้วย ในเมื่อสวรรค์… (Benedict Anderson,Imagined Communities: Reflections on the Origin and Spread of Nationalism.)
จะกล่าวถึงกรุงศรีอยุธยา เป็นกรุงรัตนราชพระศาสนา มหาดิเรกอันเลิศล้น เป็นที่ปรากฎรจนา สรรเสิญอยุธยาทุกแห่งหน…ประชาราษฎร์ปราศจากภัยพิศม์…เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
ผมได้เขียนมาต่อเนื่องแล้วในการสะสมความทรงจำ ละครทีวีบุพเพสันนิวาส กับชุมชนจินตกรรม(*)
เมื่อยกตัวอย่างเรามองผ่านกระจกร้านแมคโดนัลล์ มองเห็นร้านอาหารจำพวกฟาสต์ฟู๊ดของนานาประเทศเปิดร้านไล่เรียงกันไปไม่สิ้นสุด ไม่ว่าจะเป็น ดังกิ้นโดนัท เคเอฟซี เคนตั๊กกี้ พิซซ่าฮัท เซเวนเซ่นส์ สตาร์บั๊คส์ ฯลฯ
ครั้นมองไกลออกไปเห็นป้ายห้างสรรพสินค้าสูงเด่นเป็นสง่าของแมคโคร ห้างต่างชาติเต็มไปหมด และแม่การะเกด หรือดาราเบลล่า ในอดีตเคยทำงานร้านไอติมส เวน เซ่น ส์/“Swensen’s Ice Cream” ซึ่งยกตัวอย่าง ณ กรุงเทพ (เมืองบางกอกในอดีตที่ตั้งกำลังทหารของฝรั่งเศสสมัยพระนารายณ์ ต่อมาย้ายกรุงอยุธยามาธนบุรีถึงเมืองบางกอกหรือกรุงเทพฯ มีเมืองปลาในอดีตสมัยร.5)
โดยโลกยุคโลกาภิวัตน์ หลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย(พรรคบอลเชวิกเสื่อม) กลายเป็นอดีตไปในศตวรรษที่20 และเราอยู่ในยุคมีการ์ตูนไทยประวัติสมเด็จพระนารายณ์(**) กับหญิงไทย มีสามีฝรั่ง แล้วเราเห็นแม่หญิงการระเกด ย้อนเวลากลับไปในอดีตยุคอยุธยา และคนตีความ วิเคราะห์ในเน็ต ยกตัวอย่างจุดแข็งมาจากละครทีวีไม่ได้รีเมค สูตรสำเร็จละครทีวีบุพเพสันนิวาส ทั้งเรื่องอาหาร หมูโสร่ง หมูกระทะ และประดิษฐ์กระทะ รวมทั้งผกก.แล้ว(แต่ต้องแยกความจริงในประวัติศาสตร์กับละครทีวี) เป็นต้น
กระนั้น ผมสนใจว่ากระทรวงวัฒนธรรมยังไม่ได้สนับสนุนเหมือนแดจังกึม ซึ่งแดจังกึมเป็นวัฒนธรรมกินได้ ยกตัวอย่างเช่น การขายคอนเทนต์ ภาพยนตร์ หรือละคร วงดนตรี ซึ่งกรณีสัมภาษณ์คนเขียนบทละครทีวี“ละครนี้ย้อนเรื่องราวไปในประวัติศาสตร์ที่ตัวละครบางตัวมีตัวตนอยู่จริง และมีหลายๆ เหตุการณ์เกิดขึ้น ทำให้ต้องไปค้นหาข้อมูลทางประวัติศาสตร์มาอ้างอิงให้มากที่สุด เพราะในหนังสือจะเป็นการเขียนในลักษณะพรรณนาโวหาร เป็นการบอกเล่าจากปากของตัวละคร หรือในภาษาละครคือไม่ได้ยกขึ้นมาเป็นซีน แค่เล่าว่ามีอะไรเกิดขึ้น แต่การทำละครจะต้องเล่าเรื่องด้วยภาพและเสียง แม้จะไม่ใช่เรื่องยากเกินกว่าจะทำได้แต่ก็ต้องใช้เวลาในส่วนนี้ค่อนข้างมาก”(สัมภาษณ์พิเศษ อ.แดง-ศัลยา สุขะนิวัตติ์ ผู้เขียนบท “บุพเพสันนิวาส” จนขึ้นแท่นละครแห่งชาติดูเพิ่มเติมทางเน็ต)
“ย้อนเวลาดูการเมืองอยุธยา”
กระนั้น เรามาย้อนเวลาข้อมูลจากใช้วิธีโบราณคดีจับประเด็นหลังจากขุดพบศพฟอลคอนและพระปีย์ ซึ่งย้อนจับประเด็นการเมือง คือ การเปรียบเทียบยกตัวอย่างยุคก่อนหน้า เราจำได้ภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จบแล้ว จะรู้ว่าไม่มีพระราชโอรส ต่อมาสายตระกูลของสมเด็จพระเอกาทศรถ เป็นพระอนุชาของพระสุพรรณกัลยาและสมเด็จพระนเรศวรมหาราช คือ สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ ครองราชย์
เมื่อครองราชย์อยู่ได้ไม่นาน จมื่นศรีเสารักษ์ บุตรบุญธรรมของพระเจ้าทรงธรรม นำกองกำลังเข้ายึดพระราชวังหลวง เมื่อทรงทราบก็ตกพระทัยอยู่ครู่หนึ่ง จึงตรัสว่า “เวราเราแล้วก็ตามเถิด แต่อย่าให้ลำบากเลย” พระองค์ถูกพันธนาการอย่างแน่นหนา จนรุ่งเช้าจึงให้พระภิกษุ 100 รูปมาบังสุกุล ถวายธูปเทียนขมา แล้วนำพระองค์ไปสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์
ต่อมาพ.ศ.2171 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ซึ่งเป็นโอรสของพระเอกาทศรถ กับพระสนมชาวบางปะอินประชวรหนัก พระยาศรีสุริยวงศ์ กับออกญาเสนาภิมุข (ยามาดะ) สนับสนุนพระเชษฐาธิราช ซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้าทรงธรรม พระชนมพรรษา 14 พรรษา ให้ขึ้นครองราชสมบัติ (จากนั้นพระยาศรีสุริยวงศ์ ก็รับตำแหน่งออกญากลาโหมคุมกำลังทหารไว้ในมือ)
ส่วนพระเชษฐาธิราชได้ครองราชย์สมบัติไม่นาน ก็ถูกออกญากลาโหมยึด(ทำรัฐประหารอีกครั้ง) และก็ตั้งพระอนุชาคือพระอาทิตยวงศ์ พระชนมพรรษา 10 พรรษา ขึ้นเป็นกษัตริย์ และไม่นานก็ยึดอำนาจไว้เอง ราชวงศ์สุโขทัย จบลง โดยพระยาศรีสุริยวงศ์ ออกญากลาโหม ได้ขึ้นเป็นสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 5 หรือพระเจ้าปราสาททอง(ยุคพระเจ้าปราสาททอง สร้างวัดไชยวัฒนาราม โดยมีเจดีย์ทรงปรางค์เป็นประธาน แผนผังของวัด สะท้อนแบบแผนธรรมเนียมโยงถึงเริ่มราชธานี และเลยถึงต้นตำรับเขมร คติเทวราชหรือศูนย์กลางจักรวาลของขอม)
ต่อมา สมเด็จเจ้าฟ้าชัยหรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 6 (ราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง) เจ้าฟ้าชัยขึ้นครองราชย์ไม่นาน ก็ถูกพระเจ้าอาคือพระศรีสุธรรมราชากับพระอนุชาต่างมารดา คือพระนารายณ์ ร่วมกันแย่งชิงราชสมบัติ จับเจ้าฟ้าชัยประหารชีวิต
แต่สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา พระอนุชาของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ขึ้นครองราชย์ อยู่ในราชสมบัติไม่นาน ถูกพระนารายณ์รัฐประหารและปลงพระชนม์ ปราบดาภิเษกเป็นสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 ครองราชย์นานถึง 32 ปี (งานจิตรกรรมที่น่าสนใจวัดช่องนนทรี รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์) แต่ตอนปลายรัชสมัยปรากฏว่าบรรดาข้าราชการในราชสำนักเกิดแตกแยกกัน มีฝ่ายของออกญาวิชาเยนทร์ ซึ่งมีทหารฝรั่งเศสเป็นกำลังสำคัญ อีกฝ่ายหนึ่งมีพระเพทราชาเป็นหัวหน้า ซึ่งเป็นพระสหายของสมเด็จพระนารายณ์ตั้งแต่พระเยาว์วัย และขุนนางอย่างหลวงสรศักดิ์(พระเจ้าเสือ ที่ว่าเป็นราชโอรสลับ) รวมทั้งแนวร่วมพระสงฆ์ ประชาชนดังกล่าวมาแล้ว
ขณะที่สมเด็จพระนารายณ์ประชวรหนักอยู่ที่ลพบุรี พระเพทราชาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการ 2 เดือนก่อนสมเด็จพระนารายณ์เสด็จสวรรคต พระเพทราชาได้ยึดอำนาจโดยจับเจ้าฟ้าอภัยทศ องค์รัชทายาทปลงพระชนม์ และเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (ว่ากันว่าการติดต่อกับเชวาเลียร์ เด ซังต์ มิเชล มีพระบรมฉายาลักษณ์กรอบทองฝังเพชร มีจารึกว่า “จงซื่อตรงต่อเรา”ให้ฟอลคอน) และพระปีย์ ก็ถูกประหารชีวิตด้วย
โดยฉากสำคัญที่ปรากฏในละครทีวีบุพเพสันนิวาส (Love Destiny) มีฉากเกี่ยวกับพระเพทราชา เพื่อเล่าขยายความกับประวัติศาสตร์ คือ การดำเนินการทางการเมืองของพระองค์เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจนั้นมีลักษณะที่แตกต่างไปกว่าการดำเนินทางการเมือง ซึ่งเกิดขึ้นมาก่อนหน้า กล่าวคือ มิใช่เพียงการทำรัฐประหาร ในพระราชวังเท่านั้นที่ทำให้ออกพระเพทราชาได้ราชสมบัติ เพราะออกพระเพทราชาหาได้มีกำลังที่พร้อมจะช่วงชิงอำนาจมาไว้ในมือตนแต่ผู้เดียวในยามวิกฤตินั้นไม่
หากเป็นเพราะความเคลื่อนไหวของประชาชน ซึ่งออกพระเพทราชามีส่วนในการปลุกระดมอยู่ด้วยนั้นต่างหาก ที่ให้โอกาสสำคัญแก่ออกระเพทราชาในทางการเมือง การที่ระชาชนจำนวนมากเช่นนี้ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมืองระดับรัฐไม่เกิดขึ้นบ่อยๆ ในประวัติศาสตร์ไทย และทำให้การชิงอำนาจกันในปลายรัชสมัยพระนารายณ์แตกต่างจากการช่วงชิงอำนาจทุกครั้งที่ได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอยุธยา การยึดอำนาจของพระเพทราชา จนถึงตั้งราชวงศ์ขึ้นใหม่ มิได้หมายถึงการเปิดศักราชใหม่ของประชาชนที่จะได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมือง
เมื่อพระราชพิธีราชาภิเษกของกษัตริย์พระองค์ใหม่ได้ผ่านพ้นไปแล้ว ประตูพระราชวังที่อยุธยาก็ปิดลงขังพระองค์ไว้ภายในและกันประชาชนไว้ภายนอก ดังที่เคยเป็นมาด้วยเวลานับศตวรรษ(ที่มาจากหนังสือการเมืองไทยสมัยพระนารายณ์ ซึ่งมีการวิเคราะห์การเขียนอ.นิธิ ใช้การอธิบาย“แนวร่วมพระ
สงฆ์-ขุนนาง-ประชาชน” คล้ายกับแนวคิด 3 ประสานของขบวนการฝ่ายซ้าย ที่เป็น “แนวร่วมนักศึกษา-กรรมกร-ชาวนา” นั่นคือนิธิได้ใช้ศัพท์ภาษาทางการเมืองในสมัย 14 ตุลาคม 2516)
“ศิลปะสถาปัตยกรรมความเชื่อ”
จากนั้นผมยกตัวอย่างด้านศิลปะสถาปัตยกรรม คอ ภาพสะท้อนตึกพระเจ้าเหาชื่อพระพุทธรูป เป็นสถานที่พระเพทราชา ประชุมขุนนางยึดอำนาจ ต่อมาแผ่นดินของสมเด็จพระเพทราชา คือ การเริ่มต้นราชวงศ์บ้านพลูหลวง บทบาทอันเข้มข้นของต่างชาติ จึงลดลงอย่างรวดเร็ว หาไม่แล้วโฉมหน้าของสังคมไทย รวมทั้งงานช่างไทยคงไม่เป็นอย่างทุกวันนี้
นี่เป็นตัวอย่างของด้านศาสนา ส่วนศิลปวัตถุ คือ วัดใหญ่สุวรรณาราม จัดเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร อยู่ที่ตำบลท่าราบ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี
โดยพระอุโบสถเป็นศิลปะอยุธยา มีภาพทวารบาล จิตรกรรมภาพเทพชุมนุมเรียงรายกัน 5 ชั้น จุดเด่นคือภาพยักษ์และอมนุษย์ทั้งหลายเป็นหน้าเนื้อ ไม่ใช่การวาดเหมือนสวมหัวโขนโดยทั่วไป พระประธานเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยรูปหล่อพระสังฆราชแตงโม หน้าบันเป็นงานรูปปั้นสมัยอยุธยาตอนปลายที่งามพลิ้วราวมีชีวิต วิหารคด ศาลาการเปรียญ
ซึ่งวัดใหญ่สุวรรณารามเป็นสถาปัตยกรรม-ศิลปกรรมยุคอยุธยาตอนปลาย สร้างด้วยไม้ผนังเป็นฝาปะกน ลงรักปิดทอง แต่การบูรณะผิดพลาดทำให้ถูกทาทับด้วยสีแดงทั้งหลัง เครื่องหลังคาเป็นโครงประดุชนิดมีจันทันต่อ มุงด้วยกระเบื้องกาบูแต่ด้วยการบูรณะที่ไม่ถูกต้องจึงมีการเทปูนตำ(ปูนโบราณ)ลงฉาบทั้งผืนหลังคา แต่ปูนตำเป็นปูนที่ใช้กะดาษฟางเป็นส่วนผสมจึงทำให้อมความชื้นและมีตะใคร่ขึ้นจับหลังคา ศาลาการเปรียญเดิมเป็นของเจ้าฟ้าพระขวัญ ตำหนัก
ต่อมาพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือพระเจ้าเสือ รื้อมาถวายพระสังฆราชแตงโมโดยมีบานประตูแกะสลักที่งดงามและมีความสำคัญในเชิงประวัติศาสตร์และศิลปกรรมนั่น คือ ศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย และที่บานประตูมีหลัก มีรอยแผลบนประตู ทำให้มีประตูแตก ชำรุดถาวร เรียกรอยพม่าฟัน แต่นักวิชาการให้ความเห็นว่า น่าจะเป็นการทำลายประตูตั้งแต่ครั้งรื้อตำหนักถวายสมเด็จเจ้าแตงโม (พระสุวรรณมุณี) พระสังฆราช เกี่ยวเนื่องกับเรื่องวิญญานเจ้าฟ้าพระขวัญ เจ้าของตำหนักเดิม ที่ถูกพระเจ้าเสือสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ เมื่อครั้งสมเด็จพระเพทราชาประชวรใกล้สวรรคต(นี่เป็นตัวอย่างข้อมูลทางเน็ตด้านความเชื่อ) นั่นแหละที่ผมบอกเปรียบเทียบกับโบสถ์คริสต์มาแล้วด้วย
“ศาสนาและวัฒนธรรมการเมืองว่าด้วยชาติ”
กรณีพุทธเปรียบเทียบคริสต์ คือ เราทุกคนตระหนักดีว่ามรดกเฉพาะตัวทางพันธุกรรมของเรา เพศสภาพของเรา ยุคสมัยของเรา ความสามารถทางกายของเรา ภาษาแม่ของเรา และอื่นๆ ล้วนเป็นภาวะบังเอิญที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
คุณูปการอันสำคัญของโลกทัศน์ทางศาสนาดั้งเดิมต่างๆ (ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องแยกให้ออกจากบทบาทของศาสนาเหล่านี้ ในการสร้างความชอบธรรมให้กับระบบครอบงำหรือกดขี่แบบใดแบบหนึ่ง) อยู่ที่การให้ความสำคัญต่อประเด็นเรื่องมนุษย์-ใน-จักรวาล ต่อมนุษย์ในฐานะ “สปีชีส์”(Species)หนึ่ง และภาวะบังเอิญของชีวิต ความอยู่รอดอย่างน่าอัศจรรย์นับพันๆปีของพุทธศาสนา คริสต์ศาสนา หรืออิสลาม ในแบบแผนทางสังคมที่แตกต่างหลากหลาย ย่อมเป็นเครื่องยืนยันถึงการตอบสนองอย่างเปี่ยมด้วยจินตนาการ ต่อภาระอันหนักอึ้งของความทุกข์ยาก
ที่มนุษย์ต้องเผชิญ-ความเจ็บป่วย ความพิกลพิการ ความเศร้าโศก ความแก่ชรา และความตาย(***)
ซึ่งพระเยซูเคยตรัสว่าอีกประการหนึ่ง แผ่นดินสวรรค์เปรียบเหมือนอวนที่ลากอยู่ในทะเล ติด ปลารวมทุกชนิด เมื่อเต็มแล้วเขาก็ลากขึ้นฝังมั่งเลือกเอาแต่ที่ดีใส่ตะกร้า แต่ ที่ไม่ดีนั้นก็ทิ้งเสีย’ [มัทธิว 13:47–48] โดยการตีความแผ่นดินสวรรค์ เปรียบเหมือนอวนที่ลากอยู่ในทะเลติดปลามาทุกชนิด เพราะว่าบุตรมนุษย์ได้เสด็จมาเพื่อช่วยผู้ซึ่งหลงหายไปนั้นให้รอด (จินดามณี สะกดคำว่าสวันค และสวรรค)
…ความคิดเชิงศาสนายังให้คำตอบเป็นนัยๆ ต่อความเป็นอมตะด้วยวิถีทางต่างๆ ซึ่งโดยทั่วไปก็คือ การเปลี่ยนเคราะห์กรรมให้กลายเป็นความสืบเนื่องหรือContinuity(กฎแห่งกรรม บาปกำเนิด และอื่นๆ) ด้วยแนวทางเช่นนี้ วิธีคิดเชิงศาสนาจึงให้ความสำคัญต่อสายสัมพันธ์ระหว่างผู้ล่วงลับกับผู้ยังไม่เกิด อันเป็นความลี้ลับแห่งการเกิดใหม่(เพิ่งอ้าง,อ.เบน ชุมชนจินตกรรมฯ)
แต่ว่าขณะช่วงเวลาใกล้กับยุโรปตะวันตกศตวรรษแห่งแสงสว่างทางภูมิปัญญา(Enlightenment)แห่งการเน้นวิถีฆราวาสแบบเหตุผลนิยม นำมาซึ่งความมืดมนแห่งกาลสมัยใหม่ของมันเองเช่นกันความเชื่อทางศาสนาอาจเสื่อมถอยลงไป แต่ความทุกข์ยากซึ่งความเชื่อเคยทำให้ทุเลาลงได้นั้น มิได้หายไปด้วย ในเมื่อสวรรค์ล่มสลายลงเสียแล้ว ก็ยิ่งทำให้เคราะห์กรรมเอาแน่เอานอนไม่ได้ ในเมื่อความรอดพ้นเป็นเรื่องไร้แก่นสาร ก็ยิ่งต้องหาความสืบเนื่องอีกแบบมาทดแทน
ดังนั้น สิ่งที่ต้องมีคือการแปรเปลี่ยนแบบโลกๆที่จะทำให้เรื่องของโชคชะตาดูไม่มีเหตุมีผลโชคชะตาเคราะห์กรรมกลายเป็นความสืบเนื่อง ภาวะบังเอิญกลายเป็นสิ่งที่มีความหมาย ดังที่เราจะเห็นได้ต่อไป มีอยู่ไม่กี่สิ่งเหมาะสำหรับจุดมุ่งหมายนี้มากกว่าแนวความคิดเรื่องชาติ
แม้จะมีการยอมรับกันว่ารัฐ-ชาติทั้งหลายเป็นสิ่ง ‘ใหม่’และ’เงื่อนไขทางระวัติศาสตร์’ แต่ชาติทั้งหลาย ซึ่งมีความหมายทางการเมืองเพราะความเป็นรัฐชาติ ย่อมอุบัติจากอดีตไกลโพ้นเกินความทรงจำเสมอ และทีสำคัญกว่านั้น ยังจะคืบคลานไปสู่อนาคตอย่างไร้ขีดจำกัดมนตร์ขลังของลัทธิชาตินิยมนี้เองที่แปรเปลี่ยนภาวะบังเอิญให้เป็นชะตากรรม
(Benedict Anderson,Imagined Communities: Reflections on the Origin and Spread of Nationalism.ดูฉบับแปลเพิ่มเติม:บทรากฐานทางวัฒนธรรมและอ.เบน ยังได้กล่าวถึงนักบุญมัทธิว ผู้เขียนประวัติพระเยซูในคัมภีร์ไบเบิ้ลในบทชีวประวัติชาติ)
“ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงจากอยุธยามาธนบุรีถึงบางกอก(Bangkok)หรือกรุงเทพฯ”
เมื่อเราได้พิจารณาถึงหลักฐานทางศิลปะสถาปัตยกรรมต่างๆ และเราได้พบกับข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ที่มีการอ้างอิงจากยุคพระนารายณ์ถึงสมัยพระเพทราชา(****) ซึ่งเราก็ตระหนักถึงข้อมูลและข้อจำกัดการตีความประวัติศาสตร์จากข้อมูลการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหลังยุคพระเจ้าเสือในรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 ต่อมาสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 จึงยกราชสมบัติให้แก่เจ้าฟ้าอภัย (พระราชโอรสองค์รอง) เป็นเหตุให้เกิดการต่อสู้แย่งชิงราชบัลลังก์จนกลายเป็นสงครามกลางเมือง กินระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปี แล้วต่อมามีสมเด็จพระบรมราชา (ที่ 1-3) แล้วจากปัจจัยภายนอกพม่ากับปัจจัยภายในอยุธยา(ละครทีวีกรณีพม่า..เช่น เรือนมยุรา สายโลหิต) และพระเจ้าตาก ย้ายมาธนบุรี ต่อมาบางกอกหรือกรุงเทพฯ
โดยพระนามสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 4 หรือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คำนำพระนาม สมเด็จพระรามาธิบดี ใช้เป็นพระนามพระมหากษัตริย์เรื่อยมาจนถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนพระราชประเพณีโดยใช้คำอื่นนำพระนาม(จากสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือ พระเจ้าอู่ทองมาถึงพระนารายณ์ เป็นต้น)
เมื่อฝรั่งอังกฤษเข้ามาสมัยร.4 ทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่งในนามพระเยซูฯ และต่อมาวาทกรรมเสียดินแดน สมัยร.5 วันที่ 3 ตุลาคม คริสต์ศักราช 1893 ที่พระเจ้าประทานให้ กองทัพเรือฝรั่งเศสได้ประกาศลงนามเลิกปิดอ่าวไทย สยามจำยอมเซ็นสัญญาสงบศึก โดยต้องยกดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้ประเทศฝรั่งเศส หลังจากที่เคยสูญเสียแคว้นเขมร (1867) และแคว้นสิบสองจุไทย (1888) มาแล้ว ตามมาด้วยการเสียดินแดนฝั่งขวา (หลวงพระบาง จำปาศัก, 1903) และเสียมณฑลบูรพา (เสียมราฐ พระตะบอง ศรีโสภณ, 1906) ให้กับฝรั่งเศสตามลำดับ แม้สยามจะเคยสูญเสียดินแดนหลายต่อหลายครั้ง แต่ก็ยังรักษาตัวรอดมาได้จนถึงทุกวันนี้ ด้วยความภาคภูมิใจอยู่เสมอว่า สยามมิเคยต้องตกเป็นเมืองขึ้นของใคร(*****)
ส่วนพวกคนจีนก็อพยพเข้ามาสยามเยอะกรณีที่จันทบุรี ต้นตระกูลของทักษิณ ก่อนย้ายมาเชียงใหม่ ซึ่งปัจจัยภายในคนล้านนา มีขัดแย้งคนจีน ยกตัวอย่างกรณีวัดเกตการาม(พื้นที่ตรงข้ามมีต่อมาศาลเจ้าจีน) ที่มีขัดแย้งคนจีน(และขุนนางสยาม) จากกบฏพญาผาบโดยภาพสะท้อนการขึ้นสู่การบูรณาการทางเชื้อชาติยังไม่ง่าย จนกระทั่งเปลี่ยนนามประเทศจากสยามเป็นไทย มีเพลงชาติไทยให้เราได้ฟังซ้ำประจำด้วย
ต่อมาวิกฤติการเมืองไทย มีการเขียนบทความกรณี 6ตุลา 19 ซึ่ง อ.เบน ได้อ้างเพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา (บ้านเมืองของเราลงแดง: แง่มุมทางสังคมและวัฒนธรรมของรัฐประหาร 6 ตุลาคม) ซึ่งภาพสะท้อนคอมมิวนิสต์จีน ญวน ลาว(พยายามเลิกมีศาสนาพุทธ ไม่เวียนว่ายตายเกิด แต่คอมฯลาวก็ยังมีพุทธ แม้เคยตกเป็นอาณานิคมฝรั่งเศสแห่งคริสเตียนไม่เวียนว่ายตายเกิด) เขมร เป็นต้น
โดยต่อมาวันที่ 1 ตุลาคม คริสต์ศักราช 2003 ที่พระเจ้าประทานให้ รัฐบาลไทยลงนามในสัญญาว่าด้วยการเปิดการค้าเสรี (FTA) กับจีน และยังลงนามในสัญญาว่าด้วยการค้าเสรีกับอีกนานาประเทศ อาทิ อินเดีย ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สหรัฐฯ เปรู นิวซีแลนด์ ฯลฯ ต่อมาวันที่ 19 กันยา คริสต์ศักราช 2006(2549) เกิดรัฐประหาร…
อย่างไรก็ดี ประวัติศาสตร์อดีตช่วงยาวภาพสะท้อนตัวอย่างศาสนาและวัฒนธรรมการเมือง ใกล้ชิดกันอย่างกรณีสมัยพระนารายณ์ ปะทะพระเพทราชา“แนวร่วมพระสงฆ์-ขุนนาง-ประชาชน” จับประเด็นการตีความคล้ายกับแนวคิด 3 ประสานของขบวนการฝ่ายซ้าย ที่เป็น “แนวร่วมนักศึกษา-กรรมกร-ชาวนา” (ที่มีพรรคคอมมิวนิสต์ตอนนั้น) สะท้อนการเมืองมวลชน และกาลเวลาผ่านไปหลัง2549ถึงปัจจุบัน ดูละครทีวีบุพเพสันนิวาสแล้วย้อนดูสังคม(******) และชุมชนจินตกรรม ในการสะสมความทรงจำ ซึ่งเรา มีความเชื่อ ศรัทธาต่ออนาคต ทหารหรือพรรคทหาร ถึงพรรคการเมืองแบบใด ในอนาคตรู้คำตอบ
*การสะสมความทรงจำ ละครทีวีบุพเพสันนิวาส กับชุมชนจินตกรรม

**ยุคมีการ์ตูนไทยประวัติสมเด็จพระนารายณ์ การ์ตูนอย่างพระเจ้าติโลกราช การ์ตูนอย่างท้าวทองกีบม้า ฯลฯ
*** มรดกยุคเรืองปัญญา มรดกอุปมาปลาในน้ำ ต่อมรดกชาตินิยม

**** ยกตัวอย่างข้อถกเถียงศรีปราชญ์ ไม่มีตัวตนจริง และโคลงนิราศหริภุญชัย ไม่ได้ยุคสมัยพระนารายณ์
Repost ว่าด้วยเรื่องของพระเพทราชา
อ้างอิง : อยุธยา – ในต้นแผ่นดินสมเด็จพระเพทราชา (วิเคราะห์ข้อมูลของแกมเฟอร์) : ศาสตราจารย์พิเศษขจร สุขพานิช

*****รุกสยามในพระนามของพระเจ้า
http://oknation.nationtv.tv/blog/wutisant/2008/07/30/entry-3
******จากละครทีวีถึงหนัง ถ้าจินตกรรม มนุษย์อาจพัฒนาสมองได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ มีพลังวิเศษย้อนเวลาได้อย่าง Lucy(ลูซี่) หรือเราอาจจะสะสมกำลังต่อสู้ฝึกฝนลองผิดลองถูกซ้ำแล้วซ้ำเล่าในหนึ่งวันเหมือนหนัง Edge of Tomorrow สักวัน
11.2
“ช่องเม็กและตลาดดาวเรือง”
เมื่อผมได้น้ำศักดิ์สิทธิ์จากปราสาทวัดภู(*) มีโอกาสไปด่านช่องเม็ก มีเรื่องเล่าหน่อย คือ การพัฒนาด่านชายแดนโดยเปรียบเทียบด่านต่างๆ เนื่องจากวิสัยทัศน์และแนวทางการดำเนินการของ GMS(โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง/Greater Mekong subregional-GMS หรือ หกเหลี่ยมเศรษฐกิจ) เดือนสิงหาคม 2539 เห็นชอบการดำเนินงานของคณะทำงานรายสาขา กลไก การประสานงาน และขอบเขตการศึกษา ยุทธศาสตร์การพัฒนาความร่วมมือในระยะยาว
ต่อมาเมษายน 2540 เห็นชอบให้จัดทำวิสัยทัศน์ 2020 เน้นการพัฒนาคน การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอนุภูมิภาค และกันยายน 2541 เห็นชอบกรอบกลยุทธ์ความร่วมมือใหม่ภายใต้วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจตามที่ ADB (ธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือ Asia Development Bank มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์) เสนอ ซึ่งเน้นการพัฒนาแบบผสมผสานระหว่างพื้นที่กิจกรรมการพัฒนา และความร่วมมือที่ชัดเจนในลักษณะ Economic Corridor(ระเบียงเศรษฐกิจ เป็นพื้นที่เศรษฐกิจ มีศักยภาพตามแนวคมนาคม) โดยเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และปรับปรุงกฎระเบียบเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน ในพื้นที่ Economic Corridor อย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้
– ปรับปรุงกฎระเบียบการผ่านแดนของสินค้าและผู้โดยสาร เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว
– ประสานความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและ ADB อย่างใกล้ชิดรวมทั้งการจัดหาแหล่งเงินทุนจากประเทศที่สาม เพื่อสนับสนุนแผนงาน/โครงการที่มีลำดับความสำคัญสูงให้เกื้อหนุนต่อการค้า การลงทุน
– เส้นทางที่มีศักยภาพสูง ในการพัฒนาตามแนวความคิด Economic Corridor เป็นลำดับแรก ได้แก่ การพัฒนาพื้นที่ตามแนวตะวันตก-ตะวันออก เชื่อมโยงระหว่างเมาะละแหม่ง-เมียวดี-แม่สอด-มุกดาหาร-สะหวันนะเขต-ดองฮา-ดานัง
– วิสัยทัศน์ และแนวทางในการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจภายใต้แผนงานของ GMS ระหว่างปี 2543 – 2545 โดยให้เสริมสร้างกลไกการประสานงานความร่วมมือต่างๆ ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศให้มีประสิทธิภาพ ปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการขนส่งสินค้า และผู้โดยสาร การพัฒนาแนวเขตพื้นที่เศรษฐกิจ แก้ไขปัญหาความยากจนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น การพัฒนาทรัพยากรบุคคล กลยุทธ์ด้านสิ่งแวดล้อม ให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในด้านการค้า การลงทุน ตลอดจนจัดหาแหล่งเงินทุน และประสานงานกับประเทศผู้บริจาค
ทั้งนี้ ขอให้ ADB ให้ความช่วยเหลือในการดำเนินงานต่างๆ รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินงานในสาขาความร่วมมือต่างๆ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จต่อไป
– กรมส่งเสริมการส่งออกได้จัดคณะผู้แทนทางการค้าเข้าร่วมงานแสดงสินค้าพระธาตุหลวงเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2542 ณ กรุงเวียงจันทน์
– การอำนวยความสะดวกด้านการค้าโดยเฉพาะด้านการค้าชายแดน ได้ดำเนินการดังนี้
กระจายอำนาจให้สำนักงานการค้าต่างประเทศในส่วนภูมิภาคทั้ง 5 แห่ง ได้แก่เชียงใหม่ หาดใหญ่ ขอนแก่น ชลบุรี และสระแก้ว สามารถออกใบอนุญาตเพื่อการนำเข้า-ส่งออกสินค้า การออกหนังสือรับรองการชำระค่าธรรมเนียมพิเศษในการส่งออกหรือนำเข้าสินค้า ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าและหนังสือรับรองการนำเข้าตามความตกลงการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลก เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ ผู้ประกอบการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน และผู้ส่งออกที่มีภูมิลำเนาในส่วนภูมิภาค(**) เป็นต้น
ฉะนั้น จากการเปรียบเทียบเส้นทางชายแดนเราจะเห็นภาพมา“ตลาดดาวเรือง” ย่านการค้าเมืองปากเซ แขวงจำปาสัก และผมเปรียบเทียบราคาของดูจากที่สำรวจ ณ น้ำตกตาดฟาน ซึ่งผมซื้อกระเป๋า มาต่อรองราคาซื้อผ้าโสร่ง ก็ว่าไปขำขำ ในแบบไทยๆ มีทฤษฎีต่อรองราคา กลับมาไทย มีคนรู้จักมีแฟนเป็นคนลาว บ้านปากเซ จำปาสัก ก็ผมคุยเรื่องสินค้าไทย และผมซื้อโสร่งกลับมาด้วยเค้าหัวเราะ
*ผมไม่มีเวลาเขียนอะไรมาก หลายเรื่องในชีวิต ซึ่งช่วงนี้โชคดี มีงานที่เสนอไปผ่านให้ทุนทำงานคลิปวิดิโอ และผลของน้ำศักดิ์สิทธิ์ ติดตามอ่านได้จากปราสาทวัดภู
เวลาแห่งความทรงจำ ณ ปราสาทวัดพู



[CR]เฮือนหิน วัดพู, จำปาสัก สปป.ลาว
https://pantip.com/topic/30543422
**ข้อมูลเล่าเปรียบเทียบตัวอย่างนั้นมาจากข้อมูลในวิทยานิพนธ์ของผม ซึ่งผมแก้ไขจะเสนอเป็นหนังสือทำช้าเลยเอามาเล่าไว้ มีเรื่องค่าจ้างกรรมกรขนสินค้าจากเรือขึ้นรถบรรทุกที่ท่าเรือจีน 150 หยวน/คัน ค่าจ้างกรรมกรที่ท่าเรือเชียงแสน 5 บาท/กระสอบ หรือ 3 บาท/กล่องผลไม้ (สาลี่ แอปเปิล) ฯลฯ อีกด้วย
(ภาพช่องเม็กและบรรยากาศตลาดดาวเรือง พร้อมเส้นทางการเดินทางอื่นๆ ซึ่งผมเลือกภาพมานำเสนอด้วย)
14 เมษา
บางกอก(Bangkok)หรือกรุงเทพมหานคร เมืองปลา วัดบวรนิเวศวิหาร และถนนข้าวสาร
เมื่อผมเดินทางตามภาพมาเล่าบางกอกมีชื่อจริงว่าธนบุรีศรีมหาสมุทร มีมาตั้งนานปรากฏเด่นกรณีสมัยพระนารายณ์ และการตีความชื่อเมืองกำเนิดกรุงเทพมหานคร ก็ระบุให้เห็นถึงชื่อสืบต่อกรุงศรีอยุธยามา “กรุงเทพมหานคร” มีความหมายว่ามหานครแห่งเทพเจ้าอยู่บนแม่น้ำ(กรุง)
จากนั้นผมผ่านความทรงจำเปรียบเทียบปี2556 กับปี2560(*) และผมเขียนต่อเนื่องมาแล้ว(**) ในแง่ความทรงจำ(Memory) มีการนิยามความหมาย คือ การจดจำ ทั้งรากศัพท์จากภาษาลาติน การอธิบายความทรงจำที่ดี(good memory) และเราจะเข้าใจความทรงจำกับมวลชน(Mass)ผ่านนิยามความทรงจำ ทำให้รู้สึกจดจำในฐานะสมาชิกของชุมชน หรือสังคม อันมีมวลชนจำนวนมาก ซึ่งผมชวนทบทวนเล่าเรื่องผ่านความจำ(Remember) เราRe/Member(สมาชิก) คือ สมาชิกชุมชนจินตกรรม และชาติ(Nation)
ซึ่งผมมาถึงกรุงเทพฯ เมืองปลาที่หายไป(***) ถ้าเราเหนื่อยล้า จงเดินเข้าพักที่พักแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพฯ ณ ถนนข้าวสาร(มีประวัติศาสตร์ถนนข้าวสารในวัฒนธรรมสมัยนิยมเป็นสถานที่ที่ได้รับความนิยมจากวงการภาพยนตร์และเพลงทั้งจากชาวต่างประเทศและคนไทยเอง) หลังจากเหนื่อยจากการเดินทาง นั่งรถ ฯลฯ และต่อมาผมบังเอิญเจอฝรั่ง(สาว) ยิ้มให้ผ่านไป มีชาวศรีลังกา(หญิงสูงวัย)ชวนคุยภาษาอังกฤษ
ทักผมเป็นคนจีน แต่ผมเหนื่อยก็คุยสั้นๆเล่าว่าผมเป็นคนไทยมาจากเชียงใหม่ แล้วร่ำลาเวลาผ่านไปหลังจากพักกลางวันยาวยันมืด
จากนั้นผมออกมาเดินทัศนากรุงเทพฯ บริเวณรอบๆ ไม่ไกลตามภาพ มีวัดบวรนิเวศวิหาร (มีโอกาสผมจะเขียนเพิ่มเติมจากที่เคยเขียนมาบ้างแล้ว )ยกตัวอย่างวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นวัดสำคัญสมัยร.4 มีผลงานจิตรกรรมของขรัวอินโข่ง ยุคที่มีสนธิสัญญาเบาวริ่ง หนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีประเทศอังกฤษแลประเทศสยาม ซึ่งเบาวริ่ง กับ”คำขวัญ” ไว้ว่า”พระเยซูคริสต์ คือการค้าเสรี และการค้าเสรีก็คือพระเยซูคริสต์ “.
โดยอุปมาดังกล่าว ผมคิดเปรียบเทียบยกตัวอย่างพระเยซูตรัสว่า’ข้อความลึกลับแห่งแผ่นดินสวรรค์ โปรดให้พวกท่านรู้ได้ แต่คนเหล่านั้นไม่โปรดให้รู้ เพราะว่าใครมีอยู่แล้ว จะเพิ่มเติมให้คนนั้นมีเหลือเฟือ
แต่คนที่ไม่มีนั้น แม้ที่เขามีอยู่ก็จะเอาไปจากเขา เพราะเหตุนี้ เราจึงกล่าวกับเขาทั้งหลายเป็นอุปมา เพราะว่าถึงเขาเห็นก็เหมือนไม่เห็น ถึงได้ยินก็เหมือนไม่ได้ยินและไม่เข้าใจ..(มัทธิว 13:10-17) …ในแง่เปรียบเทียบวันเวลาผ่านไปได้สะสมความทรงจำ สำหรับผมผ่านการเดินทาง ณ สถานที่ฮินดู กับพุทธ ในแง่ศาสนาได้ทบทวนอดีต
อย่างไรก็ดี ผมกลับห้องพัก ณ ถนนข้าวสาร กลับไปนอน วันเวลาผ่านไป หันกลับมาแบบมุมมองแง่ดีกัน มองแง่บวกกัน ปีใหม่ไทยสงการนต์ เดินทางปลอดภัย หวังให้โชคดี มีสุขภาพดี
(ภาพเส้นทางเดิน ในกรุงเทพฯ วัดบวรนิเวศวิหาร ถนนข้าวสาร)
*การสะสมความทรงจำ นครหลวง นครราชสีมา นครปฐม นนทบุรี

Back to the Past…กลับสู่อดีตในทัศนศึกษา(1)

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ตามรอยพระพุทธบาท วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร ณ สระบุรี
**การสะสมความทรงจำ (ตอนจบ)

(บันทึกเปรียบเทียบไว้บ้าง ช่วงก่อนที่กรุงเทพฯไม่ได้เจอเพื่อน)
*** มีนบุรี(เมืองปลา) ที่หายไปจากแผนที่

(“กำเนิดมีนบุรี และจังหวัดมีนบุรีที่หายไป(เมืองปลาที่มองไม่เห็น)จากแผนที่”)
14.2
ผมฝึกหัดฝึกซ้อมรอเลย ถ้าอาชีพนี้มีรายได้ในอนาคตจริงๆ ตามภาพ:Digital Cultural Commentator นักวิจารณ์วัฒนธรรมดิจิทัล(*)
ทักษะที่ต้องมี = ประวัติศาสตร์ศิลปะ, การบริการธุรกิจและการตลาด
(แรงงานอย่างผมทำหนังสั้นเสือดำ ก่อนหน้ามีกำหนดหมตเขต ก็เลื่อนไปเพิ่งหมดไม่นาน เห็นมีคนส่งประกวดเก้าสิบกว่าเรื่องด้วย ซึ่งหนังสั้นผมสเปเชียลเอฟเฟตหนังไม่มี แม้ว่าบางอารมณ์อยากทำเลือดปลอมตามคำแนะนำในยูทูป และผมก็ติดต่อขายหนังสือเจอเพื่อน และรุ่นพี่ต่างๆ รวมทั้งวันนี้บอกเพื่อนเขียนงานฟรีๆใกล้เสร็จแนวงานเขียนเที่ยวไทยให้เว็บเพื่อน )
*https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=952821038210602&id=580937148732328

18
การสะสมความทรงจำ ละครทีวีบุพเพสันนิวาส ชุมชนจินตกรรม
…คุณูปการอันสำคัญของโลกทัศน์ทางศาสนาดั้งเดิมต่างๆ …อยู่ที่การให้ความสำคัญต่อประเด็นเรื่องมนุษย์-ใน-จักรวาล..ไม่มีผู้ให้กำเนิดชาติ ชีวประวัติของชาติ จึงไม่อาจเขียนขึ้นมาได้ดังคัมภีร์ศาสนาตามสไตล์ของ Saint Matthew… ทางออก… ที่ตะเกียงโบราณคดีส่องแสงริบๆหรี่ๆไปถึง… (Benedict Anderson,Imagined Communities: Reflections on the Origin and Spread of Nationalism.)
ผมได้เขียนมาต่อเนื่องแล้วในการสะสมความทรงจำ ละครทีวีบุพเพสันนิวาส กับชุมชนจินตกรรม(*) ยกตัวอย่างเน้นเรื่องดวงจันทร์…หาแถงแง่ฟ้าหาง่าย เบื่อหน่ายบงนักพักตร์ผิน หาเดือนเพื่อนเถินเดินดิน คือนิลนัยนาหาตายเพ็ญเดือนเพื่อนดินสิ้นหา เพ็ญเดือนเลื่อนฟ้าหาง่าย เดือนเดินแดนดินนิลพราย เดือนฉายเวหาสปราศนิล
จากบทกลอนในละครทีวีบุพเพสันนิวาส เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2561 คงจะได้เห็นฉากที่ ออกญาโหราธิบดีชวนทุกคนแต่งโคลงกลอน ซึ่งจันทร์วาดเอง สามารถแต่งกลอนได้เพราะ จนออกญาโกษาธิบดีออกปากชม และจากนั้นจึงเป็นหมื่นสุนทรเทวาที่แต่งกลอนตาม ซึ่งการะเกดมองว่า ทั้งสองคนแต่งกลอนจีบกัน จนหมื่นเรืองหันมาและบอกให้การะเกดแต่งกลอนดูบ้าง แต่การะเกดบอกว่าแต่งกลอนไม่เป็น หมื่นสุนทรเทวาเห็นดังนั้นจึงพูดเหน็บว่า อย่างการะเกดคงแต่งกลอนไม่ได้ จนทำให้การะเกดโมโห และแต่งกลอนดังกล่าว(เปิดความหมายของบทกลอน ที่การะเกดใช้ หาแถงแง่ฟ้าหาง่าย แปลว่าอะไร !)
แม้แต่ละครทีวียังมีเพลงประกอบเกี่ยวกับดวงจันทร์.. สบตาเธอคนนี้ไม่รู้ฉันเป็นอย่างไร เธอตราตรึงในฝันดั่งแสงจันทร์อันสดใส ห่างไกลยังเฝ้ารอใกล้กันฉันก็หวั่นไหว เหลียวมองจันทร์ต้องทำให้คิดถึงเธอ ไม่ว่าอยู่แห่งไหนดั่งเรามีสายใยผูกพัน ใจไม่เคยเปลี่ยนผันจากเธอคนนี้
“ยุคเผยแพร่ศาสนาจากประดิษฐกรรมกล้องดูดวงจันทร์ สุริยะในจักรวาล”
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงสนพระทัยในวิทยาการวิทยาศาสตร์ตะวันตกหลากหลายสาขา เช่น การสำรวจแหล่งแร่ เคมี การถลุงโลหะ กลศาสตร์พลังน้ำ การต่อเรือ รวมทั้งวิชาดาราศาสตร์ พระองค์ทรงได้รับอุปกรณ์การศึกษาดาราศาสตร์ตะวันตกรูปแบบต่างๆ จากเครื่องมงคลราชบรรณาการที่พระประมุขต่างประเทศถวายบ้างและจากการการที่ทรงจัดหาเองบ้าง
ในขณะนั้นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสผู้ครองราชย์ร่วมสมัยกับสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งสยาม คือ สมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ทั้งสองพระองค์ต่างทรงมีนโยบายสานสัมพันธไมตรีซึ่งกันและกันอย่างแนบแน่น สมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ทรงมุ่งมั่นในการพัฒนาความรู้ดาราศาสตร์โลก นักวิทยาศาสตร์ภายใต้การอุปถัมภ์ของพระองค์จึงได้พบดาวเคราะห์และกลุ่มดาวใหม่ๆ ทรงสนับสนุนให้ศึกษาเรื่องการพยากรณ์อุปราคาเพื่อให้รู้ระยะอันแน่นอนบนพื้นพิภพและในมหาสมุทร อันจะยังประโยชน์ให้การเดินทางโดยทางเรือสมบูรณ์และปลอดภัย
การที่ฝ่ายฝรั่งเศสสนับสนุนงานดาราศาสตร์ตะวันตกในสยามยังคงมีวัตถุประสงค์อื่นเคลือบแฝง คือนโยบายสร้างความนิยมให้กับชาวตะวันออกเชื่อถือในความรู้ของบาทหลวงคาทอลิก โดยเฉพาะเรื่องการคำนวณการเกิดคราสได้ล่วงหน้าทั้งเวลาที่เริ่มเกิดคราสและเวลาที่คลาสคลาย ชาวตะวันออกจะได้ศรัทธาในคริสต์ศาสนาและหันมาเข้ารีตมากขึ้น
ในปี พ.ศ. ๒๒๒๘ ราชสำนักฝรั่งเศสได้มอบหมายให้คณะทูตนำโดยเชวาเลีย เดอ โชมอง เดินทางมาเจริญสัมพันธไมตรีกับสยาม สมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ได้จัดเครื่องมงคลราชบรรณาการที่เป็นอุปกรณ์ดาราศาสตร์หลายชิ้นถวาย อาทิ กล้องโทรทรรศน์ ลูกโลกทองคำประดับอัญมณีแสดงพิกัดของดวงจันทร์และดวงดาว เครื่องวัดเสี้ยววงกลมสองสำรับ นาฬิกามีลูกตุ้มสำหรับใช้จับเวลาในการสำรวจดวงดาวสองเรือน วงแหวนสำหรับใช้ในการดาราศาสตร์หนึ่งชุด นาฬิกาแดดอย่างละเอียด เครื่องมือสำหรับวัดความเหลื่อมหนึ่งชุด บรรทัดกึ่งวงกลมขนาดต่างๆ กับเครื่องมือเล็กๆ น้อยอีกเป็นอันมาก
และในคราวสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงร่วมสังเกตปรากฏการณ์จันทรุปราคา เมื่อ ๑๑ ธันวาคม ๒๒๒๘ ณ พระตำหนักทะเลชุบศร พระองค์ได้ทรงใช้กล้องโทรทรรศน์โดยมีบาทหลวงเดอ ฟงเตอเนย์ถวายการปรับเล็งกล้องด้วย(**)
จากนั้นปี 2230 คณะราชทูตฝรั่งเศสชุดที่สองนำโดย มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ ได้เดินทางมาสยามพร้อมกับ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) เนื่องด้วยเป็นราชทูตเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เดินทางมาพร้อมด้วยทหารของฝรั่งเศส จำนวนประมาณ 600 คน ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ราชทูตฝรั่งเศส มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ ได้นำอุปกรณ์ดาราศาสตร์ ซึ่งบาทหลวงเดอ ลา แชส มอบหมายให้นำขึ้นทูลเกล้าถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราชคือ เครื่องมือของโรเมอร์ 2 เครื่อง พร้อมกล้องโทรทรรศน์สองกล้อง กล้องหนึ่งยาว 6 ฟุต อีกกล้องหนึ่งยาว 12 ฟุต
อุปกรณ์ดาราศาสตร์เหล่านี้บาทหลวงเดอ ลา แชสได้มีจดหมายกำกับถึงสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแจ้งว่า “ให้มวลมนุษย์ได้ศึกษาอาการเคลื่อนไหวในฟากฟ้าและของมวลดารา โยคสัมพันธ์ของดาวเคราะห์ สุริยุปราคาและจันทรุปราคา โดยอาศัยเครื่องมือเหล่านี้ซึ่งได้รับการประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่” และกล่าวสรรเสริญพระเกียรติในเรื่องนี้ว่า “การที่ส่งมาทูลกล้าฯ ถวายนี้ก็เพื่อให้สมพระทัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงรักวิชาดาราศาสตร์เป็นนักหนา”
นอกจากนี้ สมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ยังทูลเกล้าถวายเป็นเครื่องมงคลราชบรรณาการอีก คือ:
– ลูกโลกทำด้วยเงิน 1 อัน กว้าง 10 นิ้ว มีฐานใหญ่ทำด้วยเงินเหมือนกัน มีเส้นรอบ ทั้งหมดทำด้วยฝีมืออย่างประณีต บ้านเมืองในโลกทุกแห่งสลักข้างใน มีลานและเครื่องกลสำหรับทำให้พระอาทิตย์ พระจันทร์และดาวหมุน
– ลูกโลกกลม 1 อัน ในลูกโลกนี้ได้สลักรูปพระอาทิตย์ พระจันทร์ ตรงตามจริงตามลองจิจูด ละติจูดทุกอย่าง ดวงดาวนั้นทำด้วยทองคำ ข้างในมีเครื่องนาฬิกาตีชั่วทุ่ม ชั่วโมงจนถึงตี 12 ที ลูกโลกนี้หมุนได้โดยมีเครื่องมือพิเศษสำหรับทำให้พระอาทิตย์ พระจันทร์ และดาวเดินได้ตามตัวจริง พระอาทิตย์นั้นก็เดินประจำวัน ประจำปี พระจันทร์และดาวนั้นก็เดินอย่างของเป็นจริงทั้งสิ้น เส้นต่าง ๆ นั้นฝังลวดเงิน เลขชั่วโมงนั้นลงยา ลูกโลกใบนี้บรรจุใส่หีบอย่างงดงามที่สุด
ในปี 2231 พระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 11 ทรงมอบหมายให้บาทหลวงตาชารด์นำเครื่องราชบรรณาการถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประกอบด้วย เหรียญทองคำประดับเพชร กล้องโทรทรรศน์ 1 กล้อง มีขนาดความยาว 30 คืบ พร้อมขาตั้ง 3 ขา มีเลนส์ใหญ่ 4 เลนส์ แต่เครื่องมงคลราชบรรณาการเหล่านี้มาไม่ถึงพระหัตถ์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ด้วยพระองค์เสด็จสวรรคต และเกิดการยึดอำนาจในสยาม ทำให้บาทหลวงตาชารด์กลับเข้ามายังสยามไม่ได้(***)
“จากอยุธยามาธนบุรีถึงบางกอก(Bangkok)หรือกรุงเทพมหานคร กรณีสืบเนื่องสุริยคราส”
เมื่อเราได้พิจารณาถึงหลักฐานทางศิลปะสถาปัตยกรรมต่างๆ และเราได้พบกับข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ที่มีการอ้างอิงจากยุคพระนารายณ์ถึงสมัยพระเพทราชา(ภาพเขียนโดยนักวาดชาวฝรั่งเศส แสดงสมเด็จพระนารายณ์ ทอดพระเนตรสุริยุปราคาบางส่วนจากอุปกรณ์ที่คณะบาทหลวงฝรั่งเศสเตรียมให้ พร้อมกับข้าราชบริพารสยามโดยรอบ มีพระเพทราชาอยู่รู้ทันวัตถุประสงค์บาทหลวงเผยแพร่คริสต์)
ซึ่งเราก็ตระหนักถึงข้อมูลและข้อจำกัดการตีความประวัติศาสตร์จากข้อมูลการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหลังยุคพระเจ้าเสือในรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 ต่อมาสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 จึงยกราชสมบัติให้แก่เจ้าฟ้าอภัย (พระราชโอรสองค์รอง) เป็นเหตุให้เกิดการต่อสู้แย่งชิงราชบัลลังก์จนกลายเป็นสงครามกลางเมือง กินระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปี แล้วต่อมามีสมเด็จพระบรมราชา (ที่ 1-3) แล้วจากปัจจัยภายนอกพม่ากับปัจจัยภายในอยุธยา(ละครทีวีกรณีพม่า..เช่น เรือนมยุรา สายโลหิต) และพระเจ้าตาก ย้ายมาธนบุรี ต่อมาบางกอกหรือกรุงเทพฯ
กรณีบางกอกมีชื่อจริงว่าธนบุรีศรีมหาสมุทร มีมาตั้งนานปรากฏเด่นกรณีสมัยพระนารายณ์ และการตีความชื่อเมืองกำเนิดกรุงเทพมหานคร ก็ระบุให้เห็นถึงชื่อสืบต่อกรุงศรีอยุธยามา “กรุงเทพมหานคร” มีความหมายว่ามหานครแห่งเทพเจ้าอยู่บนแม่น้ำ(กรุง)
แน่ละ สมัยร.4 คำว่า “กรุง” นั้นมาจากคำว่า “เกริง”(เสียงสั้น) เป็นคำภาษามอญซึ่งหมายถึงแม่น้ำลำคลอง สมเด็จพระจอมเกล้าฯ มีพระราชวินิจฉัยดังนี้ “ผู้ใดว่ามีอำนาจเหนือพื้นน้ำหรือเป็นเจ้าแห่งน้ำตั้งแต่ปากน้ำไปจนถึงที่สุดของแม่น้ำสายนั้น ผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็นเจ้ากรุง และเมืองที่เจ้ากรุงพระองค์นั้นประทับอยู่ก็เลยเรียกว่า กรุง (****)มีจิตรกรรมฝาผนังสะท้อนดาราศาสตร์ ฝีมือขรัวอินโข่ง วัดบวรนิเวศวิหาร และสุริยุปราคาสมัยสมเด็จพระนารายณ์ และสมัยรัชกาลที่ 4 มีความเกี่ยวข้องกัน(*****)
โดยพระนามสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 4 หรือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คำนำพระนาม สมเด็จพระรามาธิบดี ใช้เป็นพระนามพระมหากษัตริย์เรื่อยมาจนถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนพระราชประเพณีโดยใช้คำอื่นนำพระนาม(จากสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือ พระเจ้าอู่ทองมาถึงพระนารายณ์ )เป็นต้น
ทั้งนี้ เราได้รู้กันว่ายุคสนธิสัญญาเบาวริ่ง มีวลีพระเยซูคริสต์ คือ การค้าเสรีฯ (ต่อมาเริ่มทำแผนที่สยาม และร.4 ส่องกล้องดูสุริยุปราคา)จากที่ผมเล่ามาเค้าโครงเรื่องในสมัยร.4(******)สำหรับผู้อ่านในการย้อนเวลา หวังว่าอย่าอ่านอย่างสารคดีประวัติศาสตร์ก็เบื่อเรื่องของตัวละคร(ยกตัวอย่างนอกจากตัวละครพระนารายณ์ ตัวละครนางเอกเป็นคู่หมั้น ทำให้มาพัวพันการเมืองจากยุคหลังรัฐประหาร2549ถึง2557ไม่มีส่วนร่วมเลย)
แต่จะอ่านอย่างนิยายสนุกๆ กับพบข้อมูลประวัติศาสตร์ก็ล้นเหลือไป หากเปรียบกับตัวละครมีกำเนิดของตัวละคร แต่ไม่มีผู้ให้กำเนิดชาติ ชีวประวัติของชาติ จึงไม่อาจเขียนขึ้นมาได้ดังคัมภีร์ศาสนาตามสไตล์ของ Saint Matthew ไม่อาจเขียนขึ้นมาได้ด้วยการใช้ไล่เรียงเวลา จากต้นตอมาจนถึงปัจจุบัน โดยให้ผ่านสายโซ่ของผู้ให้กำเนิด ทางออกที่มีอยู่จึงได้แก่การสร้างมันขึ้นมาใหม่ให้เป็นเวลาที่ไล่ทวนกลับยังมนุษย์ปักกิ่ง หรือ(มนุษย์ชวา) หรือกษัตริย์อาเธอร์ (หรือภูเขาอัลไต หรือน่านเจ้า) หรือที่ไหนก็ได้ ที่ตะเกียงโบราณคดีส่องแสงริบๆหรี่ๆไปถึง…(เพิ่งอ้างอ.เบน ชุมชนจินตกรรมฯ)
โดยย้อนเวลาการเปรียบเทียบการเมืองสมัยพระเพทราชากวาดล้างครั้งใหญ่ก็เริ่มต้นขึ้น ไม่แต่กับฝ่ายขั้วอำนาจเก่ากับชาวต่างชาติ จัดการขุนนางฝ่ายที่สนับสนุนพระเพทราชา ซึ่งอุปมาสร้างเจดีย์แล้วรื้อนั่งร้านเก่า
บางคนที่ถูกกวาดล้างนั้น ในภาษาสมัยใหม่รัฐประหารก็ให้มารายงานตัวโลกยุคโลกาภิวัตน์
อย่างไรก็ดี ขบวนการเคลื่อนไหว อย่างที่บอกแล้วเราก็ได้เห็นเปรียบเทียบแนวร่วมประชาชนกับพระสงฆ์ กรณีปี2557 คือ พระพุทธอิสระกับมวลชนกปปส.แนวร่วม ฯ ต่อมารัฐประหาร แต่คุณูปการอันสำคัญของโลกทัศน์ทางศาสนาดั้งเดิมต่างๆ (ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องแยกให้ออกจากบทบาทของศาสนาเหล่านี้ ในการสร้างความชอบธรรมให้กับระบบครอบงำหรือกดขี่แบบใดแบบหนึ่ง) อยู่ที่การให้ความสำคัญต่อประเด็นเรื่องมนุษย์-ใน-จักรวาล ต่อมนุษย์ในฐานะ “สปีชีส์”(Species)หนึ่ง และภาวะบังเอิญของชีวิต ความอยู่รอดอย่างน่าอัศจรรย์นับพันๆปีของพุทธศาสนา คริสต์ศาสนา หรืออิสลาม ในแบบแผนทางสังคมที่แตกต่างหลากหลาย ย่อมเป็นเครื่องยืนยันถึงการตอบสนองอย่างเปี่ยมด้วยจินตนาการ ต่อภาระอันหนักอึ้งของความทุกข์ยาก(เพิ่งอ้างอ.เบน ชุมชนจินตกรรมฯ)
ดังนั้น การเปรียบเทียบยกตัวอย่างหลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย(พรรคบอลเชวิกเสื่อม) และลัทธิมาร์กซ์ ต้องสร้างความเชื่อต่อชนชั้นกรรมาชีพสากลแบบวิทยาศาสตร์ และพรรคของชนชั้นนี้ ซึ่งคนเชื่อศรัทธาบนโลกนี้ แม้ความคิดทั้งลัทธิมาร์กซ์ ถึงเสรีประชาธิปไตยของชาวโลกไปถึงดวงจันทร์ มีข้อจำกัดของวิทยาศาสตร์ คือ โบราณคดี ยังไม่อาจมีไทม์แมชชีนข้ามเวลาไปถึงอดีต กำเนิดจักรวาลหรือข้ามเวลาไปอนาคต ซึ่งปัจจุบันขบวนการเคลื่อนไหวก็ต้องผลักดันนโยบายต่อสู้เพื่อชีวิต รัฐสวัสดิการ ไม่มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในสังคมประชาธิปไตย
*การสะสมความทรงจำ ละครทีวีบุพเพสันนิวาส กับชุมชนจินตกรรม

(ดูเพิ่มเติม หนังสือชิงบัลลังก์พระนาราณ์นายพลเดส์ฟาร์จ)
**ตอนที่ 4 งานดาราศาสตร์ตะวันตกเข้าสู่สยาม

***ตอนที่ 8 อุปกรณ์ดาราศาสตร์ตะวันตกเข้าสู่สยาม

ตอนที่ 9 สองปรากฏการณ์ดาราศาสตร์สำคัญในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

(หลุยส์ที่14 สมมญานามสุริยกษัตริยาธีราช)
****“บางกอก-กรุงเทพฯ” ล้วนต่างมีชื่อมาจากน้ำ
https://mgronline.com/travel/detail/9540000138178
*****ตอนที่ 10 สุริยุปราคาใน 2 รัชสมัย
******ชุมชนจินตกรรม จากจักรวาลศาสนาสู่ยุคดาวเทียม
21
“พิจิตร ชีวิตในกาลเวลา”
สาวงาม พิจิตร น่าพิศ ชวนมอง ไอ้หนุ่ม วังทอง หลงมอง สาว เมืองพิจิตร เพียงตา สบตา ยิ่งพา หัวใจ ให้คิด อยากบอก รักเธอ อยากเจอ ยอดมิตร อยากฝาก ชีวิต อยากคิด … แว่วเสียงเพลงลูกทุ่งเก่า เล่าดังติดหู เมืองพิจิตร เป็นเมืองงาม นามสระหลวง ตำนานรูปปั้นจระเข้ยักษ์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ภายในรูปปั้นเป็นห้องประชุมในท้องจระเข้! ณ บึงสีไฟ ที่นี่มีน้ำพุสวยงาม ยามกลางคืนเปิดไฟด้วย
เมื่อผมนำบางส่วนของเรื่องที่เคยเขียนให้เว็บเพื่อนมาเล่าต่อ นิดหน่อย ในชื่อเรื่องพิจิตรเมืองงาม ตามมาเที่ยวกัน จากผมได้นั่งคุยกินอาหารกับน้องสาวพูดคุยเรื่องชีวิตกัน ก็บังเอิญเจอบางคนรู้จัก เช่น ลุงที่เคยเปิดค่ายมวยข้างบ้านเก่า และต่อมาผมนัดหมายจะไปเที่ยวร้านกาแฟของเพื่อนสมัยม.ปลายไม่เจอกัน ก็เลยแวะเข้าไปดูสถานแสดงพันธุ์ปลาเฉลิมพระเกียรติ ในบึงสีไฟ ซึ่งผมไม่ได้ไปมานานแล้ว มารำลึกความทรงจำ ทั้งรูปปั้นจระเข้ เรื่องเล่าตะเภาแก้ว ตะเภาทอง และไกรทอง ต่างๆ
โดยสถานแสดงพันธุ์ปลาเฉลิมพระเกียรติ หรือที่นิยมเรียกกันว่าศาลาเก้าเหลี่ยมเป็นอาคารรูปดาวเก้าแฉก ยื่นลงไปในบึงสีไฟ ภายในประกอบด้วยตู้แสดงพันธุ์ปลามากกว่า 20 ชนิด และมีการสับเปลี่ยนชนิดของปลาเป็นประจำ นอกจากนั้นตรงส่วนกลางของอาคารยังทำเป็นช่องเปิด สำหรับชมปลาในบึงสีไฟ ซึ่งมีพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ มาชุมนุมเป็นจำนวนมาก เพื่อรอกินอาหารที่นักท่องเที่ยวโปรยให้กิน สถานแสดงพันธุ์ปลาเฉลิมพระเกียรติ อยู่ในความดูแลของ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพิจิตร(ข้อมูลจากเน็ต)
ซึ่งผมได้ถ่ายภาพบรรยากาศสถาปัตย์ และพันธุ์ปลาหายากน่าดูมาตามคำขวัญ ถิ่นประสูติพระเจ้าเสือ แข่งเรือยาวประเพณี พระเครื่องดีหลวงพ่อเงิน เพลิดเพลินบึงสีไฟ ศูนย์รวมใจหลวงพ่อเพชร รสเด็ดส้มท่าข่อย ข้าวเจ้าอร่อยลือเลื่อง ตำนานเมืองชาละวัน
ถ้าจะเล่าต่อยอดยาวไม่มีเวลาเขียน ในท้ายที่สุด ผมได้พบเธอ อดีตเพื่อนหญิง ไม่ได้เจอกันหลายปี เธอมีลูกได้ห้าขวบ เป็นผ.อ.โรงเรียนแห่งหนึ่ง ณ ระยอง ให้ผมแอดเป็นเพื่อนเธอในนามที่ทุกคนน่าจะทายได้ผมเขียนเป็นปริศนาชื่อเธอซ่อนอยู่งานเขียนนี้ไว้ด้วย
(ภาพเมืองพิจิตร ค้นดูได้จากเคยโพสต์เฟซฯ ศาลาเก้าเหลี่ยม และบรรยากาศบึงสีไฟ)
21.2
“ร้านโชคดีบรรณาสาสน์ หนังสือพิมพ์เชียงใหม่นิวส์ โชคชะตาของผู้อ่าน และขายหนังสือ”
เมื่อก่อนร้านโชคดีฯอยู่ข้างบ้าน(เก่า)ผม ร้านสืบต่อกิจการมาจากตลาด(เก่า)มาตลาด(ใหม่))รุ่นลูกแล้วไม่รอดรายละเอียดไม่มีเวลาเขียนเล่ายาวได้ข่าวว่าปิดแล้ว ผมซื้อเนชั่นสุดสัปดาห์ปีที่แล้วที่นี่ จากผมได้สนทนาคนขายนสพ.ยุคนสพ.ภาษาจีน คนจีนที่อ่านได้ตายหายไปหมด ยังนึกถึงความทรงจำเก่าๆ ผมได้เห็นโกดังหนังสือเก่าๆ นิตยสาร สื่อสิ่งพิมพ์เก่าๆ ที่บ้านกึ่งร้านนี้ด้วย(แถวบ้านเก่าของผมมีร้านเช่าหนังสือนิยายด้วย)
เมื่อสองเดือนก่อนละมั้ง ผมรู้จักคนขับรถสายส่งหนังสือพิมพ์เชียงใหม่นิวส์ ในเชียงใหม่ คนหนึ่งนานแล้วไม่ได้เจอกัน บังเอิญเจอก็คุยสั้นๆ เขาบอกนสพ.เลิกพิมพ์ก็ขาดรายได้ไปเยอะ
นี่แหละ ทุนนิยมสื่อสิ่งพิมพ์ ยุคผลิตซ้ำด้วยจักรกล กำลังหายไปบางส่วน การนำเสนอบางส่วนของผม ก็ได้กล่าวมาแล้วหลายครั้งไม่อยากผลิตซ้ำมาก แต่มุมมองในฐานะยอดนักอ่าน สื่อสิ่งพิมพ์ มีเสน่ห์ของมัน จากมุมนักอ่านวัฒนธรรมสายตาผ่านโลกสื่อสิ่งพิมพ์สู่ดิจิตอล ในยุคเศรษฐกิจไทยย่ำแย่ด้วย
ส่งท้ายขายหนังสือหน้าร้านของบอย ทางเฟซฯ ซ้ำรับประกันจากรางวัลยอดนักอ่าน คัดเลือกหนังสือสะสมขายใหม่ มี1.สัมภาษณ์งานอย่างไรให้โดนใจ 2.บทหนึ่งของชีวิตสมรส 3.สวนสัตว์ 4.คนหมายเลขศูนย์ 5.ไม่มีใครเขียนจดหมายถึงนายพลตามภาพ และขายซ้ำบ้าง(*)มาขายไม่โฆษณาชวนเชื่อ แต่เน้นๆ อ่านหนังสือดีคลาสสิค(นิยาย)กัน
*ขายหนังสือ

(ภาพประกอบร้านโชคดีบรรณาสาสน์ นสพ.ชมนิวส์ และหนังสือของบอยมาซ้ำ)
24.2
เมื่อหลายเรื่องในชีวิตประจำวันของผม ในหนึ่งเรื่องวันนี้เปลี่ยนสายน้ำดี อ่างล้างมือในห้องน้ำ โอ้ สายน้ำไม่ไหลย้อนกลับอุปมาสายน้ำดี ฮร่า หากหวนคำนึง อุปสรรคในชีวิตประจำวัน จากภาพสายน้ำดี และภาพหลังสงการนต์ ซึ่งผมหารถว่างไม่ง่ายมาเส้นทางสุโขทัย ตาก และผมนั่งรถทัวร์มาได้ถ่ายภาพรถจอดเพื่อหาทางช่วยรถทัวร์อีกคันที่รถเสีย ซึ่งผมยังอยู่ไกลกว่าลำพูนและเชียงใหม่ ยังต้องนั่งรถอีกไกล หวนคำนึงถึงโคลงนิราศหริภุญไชย คือ ข่าวสารอันเสนาะเรียบเรียงขึ้นเมื่อเดินทางไปเมืองลำพูนอันเป็นที่ตั้งของพระเจดีย์พระพุทธเจ้า ผ่านเขตแดนหลายบ้าน เมื่อพี่มึนเมารสรัก จงตั้งใจฟังข่าวสารเถิด
(ฉบับเชียงใหม่)
ศุภสารริร่ำถ้อย คราวคราน
หริภุญช์เชษฐ์ชินฐาน ธาตุตั้ง
สารพัดเขตรจักราพาล ฟังตำ บลเนอ
ยามม่อนมัวรสยั้ง จุ่งตั้งสดับสาร
เนื่องจาก ผมนั่งรถอีกไกลตอนนั้น ก็คิดถึงท่อนสำคัญของโคลงอยู่ด้วย คือ การเวียนว่ายตายเกิด (ความปรวนแปร) เป็นไปตามแต่ฟ้าและพระอินทร์จะบัญชา (?) จึงทำให้ต้องจากผู้ที่ดีงามไปไกลได้ จะเขียนเรื่องจากน้องเป็นโคลงเพื่อให้โลกรู้ถึงความคิดในใจ(*) ส่วนตัวผมไม่มีแต่งโคลงเคลงใดๆ ในใจได้เลยหลับ แม้ต้องวางแผนเขียนบทกวีส่งประกวด โอ้ แสงดาวแห่งศรัทธา… ดาวศรัทธา ยังส่องแสงเบื้องบน ปลุกหัวใจ ปลุกคนอยู่มิวาย ขอเยาะเย้ย ทุกข์ยากขวากหนามลำเค็ญ
*ที่มาการเรียบเรียงโคลงฯดังกล่าวดูเพิ่มเติม
http://vajirayana.org/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2
(เพิ่มเติมผมก็ได้ดูหนังState of Fairจากคอมฯผม กับผมได้คุยนั่งรถทัวร์คนข้างๆผมชวนผมคุยบ้าง)
28
การสะสมความทรงจำ
ผมหลายเรื่องในชีวิตประจำวัน ซึ่งเมื่อวานก่อนผมไปร่วมประชุมเครือข่ายแรงงานภาคเหนือ(ผมในฐานะหนึ่งในทีมแอดมินเพจและหน้าที่อื่นๆ) ต่อมาตามภาพผมออกกำลังกายปั่น จักรยานMobike (ช่วงโปรโมชั่นปั่นฟรี)เล่าจะยาวทั้งเด็กนักเรียนก็ขี่จ.ย. แรงงานก่อสร้างก็ขี่จ.ย.หรือฝรั่งถามคนจีนทักผมขี่จ.ย.นี้(ฯลฯ) ต้องระวังหมอกควัน สภาพอากาศเปลี่ยน(เมื่อวานก่อนขี่จักรยานยนต์ยางรั่วอีก)
โดยผมมีจินตนาการเล่นว่าจะปั่นจ.ย.แทนเดินหาแรงบันดาลใจเขียนบทกวี และเรื่องสั้น ต้องรีบส่งประกวดสิ้นเดือนนี้ ไอเดียจากโคลงนิราศ หริภุญไชย(ฉบับเชียงใหม่) คือ พระจันทร์ส่องสว่างทั่วพื้นแผ่นดินไปหมด แสงส่องบริเวณมองดูสวยยิ่ง มองยังเห็นกระต่ายเป็นเพื่อนอยู่ โอ้ไม่ได้เห็นหน้าน้อง จากไปอีกนานกว่าจะพบกัน
สสีใสสว่างพื้น บัวระวัน
แสงส่องมณฑลพลัน เพริศแพร้ว
สสาส่องเห็นหัน ยังเพื่อน เพาเอ่
โอยอ่ำยลน้องแก้ว กว่านั้นนานเห็น แต่กลายเป็นล่องลอยในความคิดไม่ไปไกลปั่นอย่างมั่นอกมั่นใจตามแรง ที่มีอยู่แถวเชียงใหม่เท่านั้น
ซึ่งชีวิต มีลิมิต คิดถึงเรื่องคุณลองไปเปิดรากศัพท์ของคำว่า define คุณจะเห็นว่าทุกอย่างถูกทำให้มีลิมิต ทำให้จบและตัดตอนให้ง่ายอยู่ในพื้นที่หนึ่งๆ ต้องพูดให้อยู่ในวงนี้เท่านั้น…(***)คุณอย่าคิดอะไรมาก ประเทศนี้ไม่ใช่ของคุณ อยู่ๆไปเถอะ คิดซะว่าเช่าเค้า ทำงานหาเงิน ใช้ชีวิตให้มันมีความสุขไป สิ้นเดือนรับตังค์ แดกข้าว อยากไปเที่ยวไหนก็ไป ไม่ต้องไปคิดอะไรมาก อยู่ๆไปเหอะ(****) ในชีวิตประจำวัน มารวมที่เขียนไว้(*****)ในการสะสมความทรงจำนี้ด้วย
*เครือข่ายฯ

**โคลงนิราศหริภุญชัย
http://vajirayana.org/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2
ภาษาล้านนาไม่มีเสียงอักษรควบกับ ร และ ล ถ้าพยัญชนะต้นควบกับ ล ก็จะไม่ออกเสียง ล เลย เช่น ปลา อ่านว่า ป๋า
http://vajirayana.org/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2/%E0%B8%AD%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99
*** จักรวาลความรู้และชีวิตหลังเกษียณของ ‘ธเนศ วงศ์ยานนาวา’
http://www.adaymagazine.com/interviews/people-thanes-wongyannava
****ธเนศ วงศ์ยานนาวา, 20 ต.ค. 57(คนเดียวกับธเนศ วงศ์ยานนาวา ผู้มาบรรยายมิเชล ฟูโกต์ แฮมเบอร์เกอร์ อร่อยจริงหรือเปล่า) https://th-th.facebook.com/quoteV2/photos/a.512068612228383.1073741830.511585615610016/585212371580673/
*****การสะสมความทรงจำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น