วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

การสะสมความทรงจำ หมุดคณะราษฎร ประวัติศาสตร์ พิพิธภัณท์ แรงงาน กับสะสมอาวุธ คือ การศึกษา+ชีวประวัติบอย

การสะสมความทรงจำ หมุดคณะราษฎร ประวัติศาสตร์ พิพิธภัณท์ แรงงาน กับสะสมอาวุธ คือ การศึกษา+ชีวประวัติบอย
1 พ.ค.60
สะสมความเข้มแข็งร่างกาย ใช้พลังสมอง คุยกิจกรรม30 เมษาก่อนวันแรงงานฯ โดยวางแผนDance of Dialectic โม้ไว้ก้อไม่มีเวลาฉายหนังสั้นของผม, ได้ทำbody mapping ตามรูป พร้อม เกมแทรกเข้าไปแรงงานชอบเล่นเกมส์ นิดหน่อย แถมไม่ทันสำหรับแต่งเพลง สร้างคำคมๆ เลยหว่า ฮร่าๆ บอย ดาวปูน😎 แก่แล้วต้องวิ่งสลับเดินขบวนไม่ได้เคลื่อนไหวหนักๆ ลืมของดีวันรุ่งขึ้นของไม่หาย
ปล.วันนี้ผมไปศาลากลางไม่มีเอกสารวิจารณ์ซื้อเรือดำน้ำเหมือนวันสตรีสากล ครับ
1.2
ราตรีสวัสดิ์…ช่วงนี้แมวชอบส่งเสียงรบกวนตอนจะนอน ว่าจะเขียนเรื่องเกี่ยวกับหลับนอนไม่ให้แมวกวน ฮร่าๆ ตอนนี้มีข้อมูลเหล่านี้เพื่อสุขภาพการพักผ่อนนอนหลับ
-The Sleep Revolution: Transforming Your Life, One Night at a Time
-Sleep Smarter: 21 Essential Strategies to Sleep Your Way to A Better Body, Better Health, and Bigger Success
-Sleep Sleep Sleep: Use the Power of Your Subconscious Mind to Sleep Smarter and End
Insomnia in Just 21 Days
-Sleeping Disorders: How to Fall Asleep Quickly & Cure Insomnia
-Sleep Secrets: How to Fall Asleep Fast, Beat Fatigue and Insomnia and Get A Great Night’s Sleep
5 พ.ค.60
การสะสมความทรงจำ : หมุดคณะราษฏร(จำลอง)ในพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย
วันนักเขียนไทย ทำให้ผมคิดเขียนถึงหมุดคณะราษฎร ที่หายไป ในแง่มุมชุมชนจินตกรรมฯ กล่าวถึงรากฐานทางวัฒนธรรมของความเป็นชาติ ผ่านทางศาสนาเป็นเรื่องของการสืบเนื่องจากความลี้ลับของการเกิดใหม่(*) แต่กลับกันไม่ใช่ลูกพระยาพหลฯอย่างที่ผมเคยกล่าวไว้ คือ วัตถุอันเป็นสิ่งที่น่าสนใจของการก่อเกิดของรัฐธรรมนูญ สัญลักษณ์ของหมุดคณะราษฎร(**) โดยผมได้เขียนยกตัวอย่างต่อเนื่องมาแล้วเรื่องแผนที่ ในฐานะการปักหมุดเป็นเครื่องหมาย และพิพิธภัณฑ์(ภาษาอังกฤษMuseum***) ซึ่งผมเคยเขียนไว้มากล่าวซ้ำย้ำ โดยขยายความให้เห็นถึงปรัชญาประวัติศาสตร์ศิลป์แบบชาตินิยม(***) ทำให้การสะสมความทรงจำเลือกจำในพิพิธภัณฑ์ของรัฐ ต่างจากพิพิธภัณฑแรงงานไทย ที่ให้ความสำคัญกับหมุดคณะราษฎรตามรูป
โดยผมกล่าวสรุปอย่างย่อๆ คือ ผลกระทบของโบราณคดีของไทย ในการนิยามความเป็นไทย จากแผนที่ไทย ในยุคผลิตซ้ำด้วยเครื่องจักรกลของทุนนิยมการพิมพ์ เป็นชุมชนจินตกรรมฯ ในแง่ประชากร แผนที่และพิพิธภัณฑ์(****) ที่ผมสร้างคำคมต่อมาได้ คือ การควบคุมคนในกรงขังของประวัติศาสตร์ไทย ที่นับวันก็อาจจะมีการเกิดใหม่ พร้อมการทลายคุกความคิดปลดปล่อยจากกรงขังด้วยหวังดี
*อ่านเพิ่มเติมในหนังสือชุมชนจินตกรรมฯ หรือกรณีผมเขียนย่อไว้
“การสะสมความทรงจำ อำนาจนำของแผนที่ ใน Late Capitalism”

http://akkaphon.blogspot.com/2016/02/making-democracy-constitutionripben.html
**มิวเซียม ที่มาของคำจากชื่อเทพธิดามิวส์ และดูข้อมูลประกอบตามเว็บพิพิธภัณฑแรงงานไทยตามรูป
http://thailabourmuseum.org/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%A5%E0%B8%B7/
***ดูงานเขียนของผม
ปรัชญา ปวศ. ศิลปะแบบชาตินิยม “ปราสาทพระวิหาร-อนุสาวรีย์ชัยฯ”
https://prachatai.com/journal/2008/07/17363
(ผมอยากแต่งเพลงแบบเอาหมุดคืนมา ล้ออดีตกระแสเพลงเอาทับหลังพระนารายณ์คืนมา)
****ดูการเขียนแบบอ้างอิงของอ.เบน ต่อผลงานCharles Higham (นักโบราณคดี/archaeologist)
The Archaeology of Mainland Southeast Asia. Cambridge University Press: Cambridge.
https://en.wikipedia.org/wiki/Charles_Higham_(archaeologist)
The Archaeology of Mainland Southeast Asia. Cambridge University Press: Cambridge.
https://books.google.co.th/books?hl=th&lr=&id=-ifNH4uK0LAC&oi=fnd&pg=PR7&dq=the+archaeology+in+mainland+of+southeast+asia&ots=5sZvz3fqV0&sig=ooYglC_E3RV_oLXVh-SgFm3QM6Q&redir_esc=y#v=onepage&q=the%20archaeology%20in%20mainland%20of%20southeast%20asia&f=false
(ค้นหางานเขียนเพิ่มเติมของ Charles Higham ทั้งด้านโบราณคดีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไทยจากอดีตถึงปัจจุบันได้ทางวิกิพีเดีย)
5.2
“การสะสมความทรงจำ แรงงาน”
เมื่อความทรงจำผ่านไป ในวันนั้นตามภาพผมใช้เสียงไปจนเสียงแหบแห้ง ต่อมาอากาศ เปลี่ยนส่งผลกระทบต่อสุขภาพ หวัดมาแทน โดยประเด็นการคุยเรื่องแรงงาน มีเยอะ แต่ผมเพลีย เกินกว่าจะเล่าเรื่องยาวนาน ได้รายละเอียดดี ยกตัวอย่างตามภาพข่าวมร.เยล คนพิการ ดูนำขบวนส่วนตัวผมไม่มีรูปหายไป
แน่ละ เยล(*) ขับมอไซด์ สกู้ตเตอร์นำเร็วกว่าผมอยู่แล้ว โดยผมใช้เสียงโทรโข่ง มีหลายประเด็นให้ทบทวนที่ผมได้พูดคุยนิดหน่อย จะยกตัวอย่างประเด็นที่1. กรณีแรงงานหรือคนทำงาน ว่าด้วยความจำเป็นต้องถกเถียง คำว่าแรงงาน หรือกรรมกร ผมเคยให้เห็นภาพถกเถียงเรื่องนี้(**) โดยประเด็นโยงถึงคนจน(ดูวิวาทะปัญญาชน รวมทั้งนัยยะสมัชชาคนจน) ต่อมามันมีปัญหาการเมืองของการนิยามความหมายแยกเป็นส่วนๆ ไม่รวมกันได้
ซึ่งคำถามข้อเปรียบเทียบง่ายๆ คนจน ต่างจากคนรวย ที่ไม่ได้เป็นแรงงาน ต่อมาข้อสังเกตที่2 การสร้างวาทกรรมทางเมือง ในแง่ความยุติธรรม ต่อที่ผมเคยเล่าในการปฏิรูปผลักดันข้อเสนอเรื่องปฎิรูปศาลแรงงาน(ระบบไต่สวน) แยกศาลแรงงานจากศาลยุติธรรม ประโยชน์ต่อคดีแรงงาน(***) ที่ผมเคยเล่าแล้วแตกต่างจากแนวดิน น้ำ ป่า ในแง่สิทธิชุมชน ที่เป็นวาทกรรมได้สร้างขึ้นมาสำเร็จของนักวิชาการไทย(ผมเคยเขียนสั้นๆในแง่สิทธิชุมชนในวิทยานิพนธ์ของผม****) ในแง่เปรียบเทียบง่ายๆคนจน ต่างจากคนรวย ต่างกัน ในการเข้าถึงสิทธิกระบวนการยุติธรรมด้วย
ดังนั้น ข้อถกเถียงอย่างยาวนานหลายเรื่องด้วยกัน(*****) ยกตัวอย่างที่ผมพูดภาพวันนั้น ในวันที่มีงานประวัติศาสตร์แรงงานฯ ซึ่งผมพูดสั้นๆ(ดูเพิ่มมีภาพประกอบประเด็นสหภาพอาจารย์ฯลฯ******) ต่อมาผมเจอผู้รับเหมาชื่นชม กับการดูคลิปที่ผมนำเสนอ บอกเยี่ยมมาก คุมเกมฯลฯ และผมได้ยินระหว่างเดินถนนคนเดินแล้ว แม่ค้าขอบคุณกลุ่มพวกเราที่เดินรณรงค์เคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อสิทธิ(วันนั้นคนไม่รู้จักกัน ก็ช่วยกันยกรถของเยลล์ขึ้นรถกะบะสำหรับกลับมาที่พัก)
อย่างไรก็ดี ผมเดินทางไปวันแรงงาน พร้อมหนึ่งในเหตุผลน้ำหนักของข้อเรียกร้องให้มีขนส่งสาธารณะเพื่อความปลอดภัยฯ หนึ่งในข้อเรียกร้องจากแรงงานขับมอเตอร์ไซด์โดนรถชน เช่น MV วงแหวนรอบนอกที่ผมทำไว้ เป็นตัวอย่างของผลขนส่งสาธารณะไม่ดีต้องเอาตัวรอดแรงงานเสียเงินซื้อรถต่างๆ ค่าใช้จ่ายสูงการเดินทาง ต่อมาผมนั่งรถแดงขากลับทีมงานคุยเรื่องกฎหมาย และผมแลกเปลี่ยนเรื่องกฏหมายในสิทธิมนุษยชนไร้พรมแดน ในฐานะที่ผมเคยเรียนกฎหมายไม่จบ ไม่เหมือนมารกซ์(*******) ขอจบเรื่องแรงงานอย่างสั้นๆให้มีการรวมพลังสหภาพฯ รวมกลุ่ม คือ ความหวัง ฝัน สู้ต่อไป
*ภาพเยล คนดังนำขบวน เค้าเคยได้รับรางวัลคนเล็กหัวใจใหญ่ จากงานคนค้นฅน อวอร์ด ครั้งที่ 2”
http://www.prcmu.cmu.ac.th/perin_detail.php?perin_id=159
สะสมความเข้มแข็งร่างกาย ใช้พลังสมอง คุยกิจกรรม30 เมษาก่อนวันแรงงานฯ

ภาพข่าว
http://www.prachatham.com/article_detail.php?id=480
(คำคมของกลุ่มคนพิการ คือ ทุกคนมีโอกาสเป็นคนพิการ)
**วิวาทะว่าด้วย การปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 2ฯ(หรือย้อนดูภาพที่ผมเคยโพสต์ถ่ายโฟกัสประเด็นกรรมกรฯ)
http://digi.library.tu.ac.th/journal/0159/4_3_jul_sep_2549/10PAGE160_PAGE227.pdf
สรุปประเด็นการสัมมนา.
http://digi.library.tu.ac.th/journal/0159/4_3_jul_sep_2549/11PAGE228_PAGE241.pdf
***กรณีลองดูย้อนที่ผมโพสต์ภาพหนังสือปฏิรูปศาลแรงงาน แน่ละคดีมีหลายกรณี(เคสต่างๆ)ยกตัวอย่างการจัดเสวนานิทรรศการประวัติศาสตร์แรงงาน จะเห็นได้ว่าคดีโรงงานลำไยระเบิด คดีความล่าช้า ถ้าเปรียบเทียบกับคดีแรงงาน กรณีอเมริกา ที่สังคมกดดันศาลได้สหภาพแรงงานชุมนุมประท้วงน้อยลง กรณีที่กระบวนการสู้ทางศาลใช้ทรัพยากร มีเครือข่ายหนุนหลังมีทนาย รวมกลุ่มคนจน
(ถอดบทเรียน 15 ปีคดีฝุ่นฝ้าย: สับคดีนาน 15 ปีสวนทางปรัชญาก่อตั้งศาลแรงงาน)
https://prachatai.com/journal/2011/02/32973
ไอลอว์ เปิดเรื่องราว ทนายสิทธิแรงงาน ที่ต้องถูกจำคุกฐาน ‘ละเมิดอำนาจศาล’
https://prachatai.com/journal/2017/05/71316
(กระแสสังคม ผ่านกระแสสื่อเป็นตัวช่วยกรณีข่าวคนจนแบบตากับยายเก็บเห็ด โดยกระแสเปรียบเทียบตามเฟซฯ นั่นแหละพลังเสรีภาพสื่อให้สะท้อนปัญหาคนจน)
****กรณีวิวาทะเรื่องแรงงานมาแล้ว รวมทั้งงานเขียนเรื่องสิทธิชุมชนในวิทยานิพนธ์ของผม รายละเอียดเรื่องวาทกรรมสิทธิ์ชุมชน ก็มีอาจารย์ทางกฎหมายทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ที่แคนาดา โดยผมเคยคุยด้วย

(จริงๆแล้วรายละเอียดยาวสิทธิชุมชน มาจากวัฒนธรรมชุมชน-สถานะ และข้อจำกัดของขบวนการสิทธิชุมชนในสังคมไทยฯลฯ)
*****กรณีคำว่าแรงงานนอกระบบ โดยรุ่นพี่ผมก็เคยสร้างข้อถกเถียงเช่นนี้มาแล้ว มีโอกาสจะเรียบเรียงเขียนเล่าสั้นๆ หรือกรณีข้อเสนอใหม่ของแรงงานให้เปลี่ยนคำจำกัดความเรียกแรงงานต่างด้าวให้เป็นแรงงานข้ามชาติต่างจากงานเขียนของพวกผม(ข้อมูลต่างจากกรณีแรงงานชอบเล่นเกมไม่ชอบนั่งฟัง)
******รัฐ ทำให้การจ้างงานเปลี่ยนจากราชการเป็นพนักงานมหาลัย(กรณีเครือข่ายพนักงานฯ หรือพระกับการเป็นลูกจ้างในมหาวิทยาลัยสงฆ์ฯลฯ) ซึ่งก้ำกึ่งต่างจากมหาวิทยาลัยเอกชนอย่างมหาลัยเกริก ที่มีการตั้งสหภาพแรงงานมหาวิทยาลัยเกริก ดูข้อมูลที่ชัดเจนเพิ่มเติมตามลิ๊งค์;ประกาศนายทะเบียนสำนักงานทะเบียนกลาง ที่ 18/2541 เรื่อง การจดทะเบียนสหภาพแรงงาน “สหภาพแรงงานมหาวิทยาลัยเกริก”
http://drmlib.parliament.go.th/site.php?mod=document&op=preview&url=aHR0cDovL2RsLnBhcmxpYW1lbnQuZ28udGgvYml0c3RyZWFtL2hhbmRsZS9saXJ0LzI3MTAwNi9TT1AtRElQX1BfMTA5NDE2OF8wMDAxLnBkZj9zZXF1ZW5jZT0x&handle=271006&email=&v=preview
(ภาพประกอบเอกสารออนไลน์เรื่องสหภาพแรงงานมหาวิทยาลัยเกริก)
*******วันที่ 5 พ.ค.วันเกิดของมารกซ์ เรียนด้านกฎหมายด้วย(ฯลฯ) ต่อมาเลยมาเขียนงานเศรษฐศาสตร์การเมือง ดูประวัติเพิ่มเติมได้ หรืออ่านทฤษฎีกฎหมายของมาร์กซิสต์
http://e-book.ram.edu/e-book/l/LW201(47)/LW201-11.pdf
(บทความยาวกล่าวถึงเชิงทฤษฎีหลายเรื่องด้วยกัน ยกตัวอย่างกรณีสังคมนิยมแบบสตาลิน ไม่มีเสรีภาพวิชาการ ฯลฯ ส่วนผมโฟกัสที่มารกซ์ เพราะผมเคยกล่าวมาแล้วเรื่องมารกซิสม์โดยยกตัวอย่างง่ายๆว่าระบบทุนส่งผลต่อรัฐ ทำให้เกิดปัญหาโครงสร้างส่วนบนเป็นกฎหมาย)
10
การสะสมความทรงจำ สะสมอาวุธคือ การศึกษา
Education is the most powerful weapon which you can use to change the world.การศึกษา คือ อาวุธที่ทรงพลังมากที่สุดในการเปลี่ยนโลกนี้(*)คำคมเนลสัน แมนเดลา
วันนี้ในอดีตเป็นวันที่เนลสัน แมนเดลา เป็นประธานาธิบดีผิวดำคนแรกของแอฟริกาใต้ พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994)
เขาเป็นผู้นำคนสำคัญในโครงการรณรงค์ต่อต้านของสมัชชาแห่งชาติแอฟริกัน (เอเอ็นซี) ในปี พ.ศ. 2495 และเข้าร่วมสมัชชาประชาชนในปี พ.ศ. 2498 ปี ต่อมาพ.ศ. 2504 แมนเดลาได้ร่วมริเริ่มและเป็นผู้นำกองกำลังติดอาวุธของเอเอ็นซี เรียกชื่อว่า Umkhonto we Sizwe (หมายถึง หอกแห่งชาติ บ้างเรียกย่อว่า MK)
เขาจัดการให้มีการลอบวางระเบิดสถานที่สำคัญทางราชการและทางทหารหลายแห่ง และใช้แผนการรบแบบกองโจร การลอบวางระเบิดล้มเหลว เพื่อให้ยุติการแบ่งแยกสีผิว ซึ่งมีหลักการพื้นฐานในการต่อต้านการแบ่งแยกสีผิว เขาและผู้ร่วมอุดมการณ์ยืนหยัดต่อสู้มาโดยตลอด
นั่นคือสาเหตุที่ทำให้ถูกจำคุกนานถึง 27 ปี ในข้อกล่าวหาเป็นผู้ก่อการร้าย จนถูกปล่อยตัวเขาก็ยังเดินหน้าต่อสู้เรื่องการเหยียดสีผิว จนในปี 2537 เนลสัน แมนเดลา ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีผิวสีคนแรกของอัฟริกาใต้ ที่เลือกตั้งมาจากระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง โดยเข้าดำรงตำแหน่งระหว่าง พ.ศ. 2537-2542 ในช่วงก่อนดำรงตำแหน่งงานเป็นแกนนำในการต่อต้านการเหยียดผิว ซึ่งพยายามแบ่งแยกคนผิวสีออกจากคนผิวขาวในอัฟริกาใต้ แต่ก็ไม่เคยลดละความตั้งใจที่จะนำความเสมอภาคมาสู่ชาวผิวสีพื้นเมือง ซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ และแล้วก็ทำได้สำเร็จ อีกทั้งยังเป็นแรงผลักดันให้เกิดการสันติภาพขึ้นอีกในหลายๆ ประเทศ จนได้รับคัดเลือกให้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ในปี 2536(**)ด้วย
อย่างไรก็ดี การสะสมความทรงจำ การสะสมอาวุธ คือ การศึกษาทางประวัติศาสตร์ สะท้อนให้เห็นว่าวิธีการ และเป้าหมายของเนลสัน แมนเดลลา เป็นโมเดลหนึ่ง ถ้าเราเข้าใจผลของประวัติศาสตร์ จำได้ของฝรั่งเศส กว่าจะมีเลือกตั้งประธานาธิบดีอย่างวันจันทร์ และผลการต่อสู้ของเกาหลีใต้ ที่มีการเลือกตั้งที่ผ่านมาเมื่อวาน ประวัติศาสตร์สะท้อนให้เห็นมาแล้ว
11
การสะสมความทรงจำ การสะสมอาวุธคือการศึกษา กรณีปรีดี
11 พฤษา มาวันนี้วันปรีดี…”มหาวิทยาลัยย่อมอุปมาประดุจบ่อน้ำ บำบัดความกระหายของราษฎร
ผู้สมัครแสวงหาความรู้อันเป็นสิทธิ และโอกาสที่เขาควรมีควรได้ ตามหลักแห่งเสรีภาพในการศึกษา”คำคมของปรีดี พนมยงค์ ซึ่งผมเคยเล่าถึงการเชื่อมโยงของผมกับการเขียนถึงหนังพระเจ้าช้างเผือกแล้วตามภาพด้วย(*) วันนี้ผมรำลึกผ่านมุมมองเปรียบเทียบเนลสัน แมนเดลล่า(**) ผ่านเรื่องหมุดคณะราษฎร(***)ที่ผมเขียนไปแล้วด้วย ส่งท้ายด้วยคำคมของอ.ปรีดี คือ ผลของการที่ก่อสร้างไว้ดีแล้วย่อมไม่สูญหาย
*ประเด็นการสะสมความทรงจำ(จบ)

**การสะสมความทรงจำ สะสมอาวุธคือ การศึกษา

***การสะสมความทรงจำ : หมุดคณะราษฏร(จำลอง)ในพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย
11.2
“การสะสมความทรงจำว่าด้วยการศึกษา”(1)
เมื่อความทรงจำสำหรับเวลาสิบกว่าปีเหมือนเพิ่งไปเมื่อวานนี้เองสำหรับบางคน แต่สิบกว่าปีผ่านไปอย่างที่ผมเคยเล่าไปแล้วว่าบางเรื่องของความทรงจำได้ลืมไป ซึ่งผมเคยเล่าแล้วได้รางวัลยอดนักอ่านสถิติหนังสือเก้าร้อยกว่าเล่ม จำนวนเนื้อหาในแต่ละเล่มหายไปในความทรงจำ นี่แหละ ความสำคัญของการอ่านซ้ำอ่านใหม่ทบทวนความทรงจำ เทคนิควิธีการหนึ่ง ซึ่งโลกทุนนิยมการพิมพ์หนังสือก็มีหนังสือใหม่ๆผลิตออกมาเรื่อยๆ และเล่มผลิตซ้ำไม่ล้าสมัย เป็นหนังสือคลาสิค เป็นต้น
ต่อมาเรื่องเล่าโดยการอ่านสะท้อนการศึกษานี้เป็นเรื่องใหญ่ นักวิชาการอ่านหนังสือจำนวนมาก หนังสือเก่ากับใหม่ ทั้งภาษาอังกฤษฯลฯ ซึ่งนักวิชาการมีการอ่านแต่ละรุ่น ที่น่าสนใจยกตัวอย่างหนังสือ เล่าเรื่องคนผ่านยุค14ตุลา 6 ตุลา ส่วนผมเป็นคนหลังยุคพฤษภา35 คือ ผมเข้ามหา’ลัย 40 ไม่ได้ระดับเรียนเมืองนอก มหาลัยดังๆ ทำวิทยานิพนธ์ยากๆ และแสวงหาร่วมดื่มเบียร์กับนักวิชาการดังอย่าง Erik Olin Wright(*)
อย่างไรก็ดี ผมไม่ได้ทำวิทยานิพนธ์เชิงทฤษฎีมาก เช่น อัลทูแชร์(**) เนื่องจากผมไม่ได้มีไอเดียไปเรียนมหาลัยที่เดียวกับอ.ป๋วย(***) เรียนจบ หรือเรียนที่เดียวกับอ.ปรีดี เรียนจบ แน่ละวันนี้มีนัยยะวันปรีดี พนมยงค์ ตรงกับวันที่ 11 พฤษภาคม ของทุกปี โดยผมนึกถึงหลักการศึกษา(****)
ดังนั้น ชีวประวัติ ในชีวิตของผม กลับมาที่เสียดายมากบอย น่าจะไปเรียนที่มหา’ลัยแห่งชาติสิงคโปร์ โดยเพื่อนที่ตอนนี้จบป.เอกจากออสเตรเลีย ปัจจุบันเขาเป็นผศ.ดร.อยู่มหาลัยดังในไทย เคยแนะนำให้ผมหาทางไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์กับอาจารย์คนไทย จะได้เรียนที่นั่น อาจจะเป็นโชคชะตา โดยเรื่องเล่ามหา’ลัยแห่งชาติสิงคโปร์ เงินเดือนอาจารย์ การจัดอันดับมหา’ลัย(*****) ต่อเนื่องกับผมโง่พลาดเคยจะไปเรียนประวัติศาสตร์ศิลป์ ที่ม.วิสคอนซิน แมดิสัน รวมทั้งแง่มุมมหา’ลัย(*****) ผ่านมุมมองการศึกษา(******) ในชีวิตๆ(มีต่อ)
(ภาพประกอบลายเซ็นต์Wang Gungwu จากหนังสือตอนที่ผมไปนำเสนองานวิทยานิพนธ์ ที่สิงคโปร์)
*Postmodern Man : คนกับโพสต์โมเดิร์น : บทจำนรรจ์ว่าด้วยมนุษย์ที่ไม่สามารถจัดประเภทได้ (เล่ม 1)
ผมเล่าย่อจากเรื่องอัตชีวประวัติของอ.ไชยันต์ ไชยพร ต่ออ.ธเนศ วงฯ
”ผีของมาร์กซ์” และ ”ผีในมาร์กซ์” ข้อวิจารณ์ประวัติศาสตร์นิยมของพ๊อพเพอร์และอัลธุสแซร์
(บทความของอ.ธเนศ หาดูได้ทางเน็ตที่มาจากวิทยานิพนธ์ป.โท มุ่งมั่นถึงขั้นอาจจะฆ่าตัวตายได้ ที่ม.วิสคอนซิน แมดิสัน)
Erik_Olin_Wright ศึกษาเรื่องClass ด้วย
ดูเพิ่มเติมเขาได้รับอิทธิพล:Influences Karl Marx ,Max Weber,Göran Therborn
https://en.wikipedia.org/wiki/Erik_Olin_Wright
Göran Therborn ดูงานแปลฉบับย่องานของเขา และบทความในนิวเลฟ
http://vitaactivathai.blogspot.com/2017/03/21.html?m=1
https://newleftreview.org/II/78/goran-therborn-class-in-the-21st-century
** Elik Olin Wright กับ อัลตูแซร์ ซึ่งผมอ่านแล้ว บอกตรงๆว่าอดอมยิ้มไม่ได้ เพราะถ้าใครรู้เรื่องการถกเถียงในวงการมาร์กซิสต์จริงๆ เขาไม่ใช้ตัวอย่างนี้แน่ เพราะ Wright เขียน-ทำงานเรื่องชนชั้นบนพื้นฐานของกรอบวิธีคิดของอัลตูแซร์ตั่งแต่ต้น (แน่นอนเช่นเดียวกับ Bob Jessop อีกคนที่เก่งกิจจะอ้างถึงมากใน วพ. Wright ออกห่างจากอัลตูแซร์ไป แต่กรอบจริงๆ ยังเริ่มต้นจากผลงานของอัลตูแซร์ แม้จนขณะนี้) อันที่จริง ถ้าเก่งกิจจะลงแรงเปิดหน้าแรกๆของ Classes ของ Wright สักหน่อย จะเห็นว่า ในหน้า 10-12 เขาได้อธิบายอย่างยืดยาว ในเรื่อง conjuncture ที่เก่งกิจเพิ่งเอามา contrast กับเขานี้!! (และอธิบายอย่างเข้าใจกว่าเก่งกิจด้วย ในประเด็น levels of abstraction ซี่งเป็นไอเดียของอัลตูแซร์ ที่เก่งกิจไม่เคยพูดถึงในงานไม่ว่าบทความ หรือ วพ. – ดูประเด็นนี้ต่อไปข้างหน้าเมื่อผมพูดถึง วพ.)
Wright น่าจะถือเป็นคนที่ยัง “อยู่กับมาร์กซ” มากที่สุด…
***อ.ไชยันต์ ไชยพร ตั้งใจเรียนที่เดียวกับอ.ป๋วย ที่Economics & Political Science (LSE) แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน ซึ่งอ.ป๋วยเรียนที่นั่น ตามประวัติอ.ป๋วย เป็นลูกศิษย์เอกของ ศาสตราจารย์เฟรเดอริก ฮาเย็ก นักเศรษฐศาสตร์โนเบล ต้นกำเนิด นีโอลิเบอรัล(เสรีนิยมใหม่)
****หลักการศึกษาเป็นหนึ่งในหลักหกประการของคณะราษฎร(ที่มีปรีดี) ดูเพิ่มเติมย้อนหลังฯ
หรือดูที่ผมเคยเขียนถึงการฉายหนังพระเจ้าช้างเผือกของปรีดี ในประเด็นการสะสมความทรงจำ(จบ)

*****มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ อันดับ 12 ขึ้นจากปีที่แล้วที่อยู่อันดับ 22 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง ของสิงคโปร์ อันดับ 13 ซึ่งมหาวิทยาลัยของสิงคโปร์อยู่ในอันดับที่สูงกว่ามหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีชื่อเสียงของโลกอย่าง Yale, John Hopkins, Cornell, U Penn หรือแม้แต่ UC Berkley และ UCLA จะเห็นได้ว่าภาพรวมของมหาวิทยาลัยในเอเชียอยู่ในอันดับดีมาก
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1442471627
(ข้อสังเกตของผม คือ การจัดอันดับมหา’ลัยไทย เป็นประเด็น ทำให้คนคิดเรื่องรับคนเข้าทำงานและคนไปเรียนต่อที่มหาลัยใดด้วยข้อมูลปี58; ภาวิช แฉ มหาวิทยาลัยชั้นนำไทย อันดับตกกราวรูด)
ผมเคยเขียนถึงเรื่องม.สิงคโปร์ไว้บ้าง ดูวันศุกร์นายกพบประชาชน พูดเรื่องลีกวนยิว-การศึกษาสิงคโปร์
******การสะสมทุน ความรู้ ความทรงจำ ในโลกาภิวัตน์ (อุปมาปลา)
http://akkaphon.blogspot.com/2017/03/blog-post_19.html
14 พค
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) – มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์เฟซบุ๊ก ถ้าเขาไม่เกิดจะเกิดเฟซฯไหม? ไม่รู้
จริงๆ ไม่อยากเข้าเฟซฯ จะเผลอวิจารณ์ประยุทธ์ชี้ผู้มีรายได้น้อยหากไม่เปลี่ยนตนเอง เกียจคร้าน รอ รบ.ช่วยตลอด คงเป็นไปไม่ได้ น่าว่าตู่ลงทะเบียนคนจน หรือลงทะเบียนรายได้น้อย ช่วยคนจนหน่อยอย่ามัวคอรัปชั่น ซื้ออาวุธ น่ะ เหล่าทหาร ทั้งไฟใต้ระเบิดบิ๊กซี วันที่9 พ.ค. ก็จัดการไม่ได้ มัวจับทนายที่ผมรู้จักหนึ่งคน เป็นเพื่อนทางเฟซฯด้วย
สุดท้ายค่าไฟขึ้นราคา ผมเสียค่าไฟใช้เน็ต ใช้เหตุผลวิจารณ์รัฐบาลเก๋าเจ๊ง เฮงซวย แล้วเฮ้ย
นี่แหละผมไม่อยากเป็นการกบฏดิจิตอล… Digital Rebellion: The Birth of the Cyber Left
https://lornagarano.wordpress.com/2014/11/12/digital-rebellion/
17 พฤษภา
การสะสมความทรงจำ การสะสมอาวุธคือการศึกษา
วันนี้ในอดีต : 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 เกิดเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ (Black May) นักศึกษาและประชาชนราว 500,000 คนร่วมชุมนุมที่สนามหลวง เป็นเหตุการณ์ที่ประชาชนเคลื่อนไหวประท้วงรัฐบาลครั้งสำคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ที่มีพลเอกสุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี และต่อต้านการสืบทอดอำนาจของ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)
โดยหลายวันนี้ผมพบทบทวนความทรงจำกับรุ่นพี่คนเดือนพฤษภาฯที่ไม่ได้เจอกันนาน แต่แง่มุมส่วนตัวผมได้กลับมาทบทวนหวนคิดถึง”เงาคนเดือนตุลาในพฤษภาทมิฬ”…ชนชั้นกลางเป็นผู้ที่ช่วงชิงความหมายของการเคลื่อนไหวเดือนพฤษภาไป และอยากเสนอให้เฉพาะเจาะจงลงไปว่าชนชั้นกลางในที่นี้คือ คนเดือนตุลา…
ทั้งนี้เนื่องจากคำอธิบายเรื่องม็อบมือถือในการเคลื่อนไหวเดือนพฤษภาได้ถูกเชื่อมให้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์เดือนตุลาด้วยคำอธิบายว่า ขบวนการนักศึกษา ซึ่งสร้างประวัติศาสตร์แห่งเดือนตุลาคม 2516 และ2519 เป็นเสมือนภาพ “ตัวแทน” ของชนชั้นกลาง ซึ่งต่อมา กลุ่มคนเหล่านี้ได้ก้าวเข้ามาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์เดือนพฤษภา การอ้างอิงข้อมูลของสมาคมสังคมศาสตร์ที่สำรวจถึงภูมิหลังของม็อบมือถือยืนยันว่าคนที่มีช่วงอายุระหว่าง 30-39 ปี จัดเป็นกระดูกสันหลังของการชุมนุมประท้วงในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2535 และ “โดยคนกลุ่มนี้เป็นคนที่เคยเข้าร่วมการเคลื่อนไหวหรือเคยเป็นพยานประวัติศาสตร์ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 มาแล้ว”
คำอธิบายในลักษณะนี้ทำให้ปรากฏการณ์ของม็อบมือถือเป็นหนังภาคต่อของเหตุการณ์เดือนตุลา ที่ผู้แสดงหลักตามโครงเรื่องยังเป็นคนกลุ่มเดิมที่เติบใหญ่ภายใต้บริบทของสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไป (ไม่ว่าจะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม เอนกซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทต่อการอธิบายโครงเรื่องเดือนพฤษภา ให้เข้าไปเป็นส่วนขยายของเหตุการณ์เดือนตุลาก็จัดว่าเป็นคนเดือนตุลาด้วยคนหนึ่ง โดยเอนกได้ศึกษาที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะที่ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2518-2519 หลังเหตุการณ์ 6 ตุลา2519 ได้ไปศึกษาต่อทางด้านรัฐศาสตร์ที่สหรัฐอเมริกา)…
เหตุการณ์พฤษภาทมิฬที่ ไม่เปิดพื้นที่ให้กับคนกลุ่มอื่นนอกเหนือชนชั้นกลาง คนเดือนตุลา(*)
เมื่อ อ.สมชาย เขียนบทความเงาคนเดือนตุลาฯ เป็นผู้เรียนจบจากธรรมศาสตร์ มีประเด็นเฉพาะเจาะจงน่าสนใจ แต่ผมใช้วิธีการอธิบายแตกต่าง โดยเปรียบเทียบวาทกรรมความรู้โดยคนเขียนเรื่องม็อบมือถือฯ อ.เอนก เจ้าของทฤษฎี “สองนคราประชาธิปไตย” ที่สรุปว่า “คนต่างจังหวัดตั้งรัฐบาล คนกรุงเทพฯล้มรัฐบาล” เคยได้รับสมญานามจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่า “ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง” และอ.เอนก เคยเป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กับหัวหน้าพรรคมหาชนด้วย
แต่แง่เปรียบเทียบ คือ สุเทพอดีตนักศึกษามช.จะอ้างความเป็นคนเดือนตุลา(**) ภาพตัวแทนสะท้อนอย่างที่ผมเคยกล่าวไว้ โดยเพิ่มเติมกับการสืบเนื่องพฤษภาเป็นหนังภาคต่ออันวิปริตของสะท้อน “ปัญหาการศึกษาในมหาวิทยาลัย” ของคนเดือนตุลา แล้วเราจะเหลืออะไรให้สะสมอาวุธทางปัญญาอย่างที่กรณีอดีตอธิการบดีของมธ.(***) เคยเขียนว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สะสมอาวุธ(ทางปัญญา) นี่เป็นมุมมองต่อการศึกษาให้ท้าทายการศึกษา คือ อาวุธที่ทรงพลังมากที่สุดในการเปลี่ยนโลกนี้(****)
ทั้งนี้ กรณีตัวอย่างคุณอานันท์ ปันยารชุน ว่าวุฒิการศึกษาไม่ได้บอกอะไรมากนัก ถ้าจะกำหนดเอาปริญญาตรีเป็นอย่างต่ำไว้สำหรับตำแหน่งการเมือง คุณอานันท์ชี้(อย่างที่นักเรียนเก่าเคมบริดจ์พึงชี้) ก็ต้องถามต่อไปด้วยมหาวิทยาลัยอะไร นอกจากนี้คุณอานันท์ ได้ยกตัวอย่างนักการเมืองดังๆ ระดับโลกหลายคนที่ไม่ได้จบปริญญาตรี นัยยะก็คือ การกำหนดวุฒิการศึกษาปริญญาตรี เอาไว้จึงเท่ากับการกีดกันคนมีความรู้ความสามารถอีกมากที่ไม่ได้มีวุฒิการศึกษาถึงขั้นนั้น(*****) โดยเฉพาะการเรียนจบได้วุฒิการศึกษา ในอดีตนักศึกษามช.อย่างสุเทพ เป็นนักการเมืองไม่มีความรู้ความสามารถทางประชาธิปไตยผ่านเหตุการณ์ปี17 พ.ค.35 มาถึง19พ.ค.53-57ด้วย
*http://v1.midnightuniv.org/midnightweb222/newpage04.html
ค้นหาเพิ่มเติมดูวิกิพีเดียประวัติของอ.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ได้
**การสะสมความทรงจำ สะสมพลังลึกซึ้งของแผนที่ความทรงจำโดยโชคดี
ใน10 ก.พ.การสะสมความทรงจำ(3 )
http://akkaphon.blogspot.com/2017/04/
***ชาญวิทย์ เกษตรศิริ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สะสมอาวุธ(ทางปัญญา) ประชาชาติ1. 20มิ.ย.18
**** การสะสมความทรงจำ การสะสมอาวุธคือการศึกษา


*****นิธิ เอียวศรีวงศ์ “วุฒิการศึกษา” ในยุคสมัยไม่เชื่ออย่าลบหลู่ แพรวสำนักพิมพ์ 2542
-ที่มาภาพhttp://www.bangkokpost.com/news/special-reports/1249322/the-night-a-bangkok-protest-turned-deadly

20 พค
การสะสมความทรงจำ การสะสมอาวุธ คือ การศึกษา
วันนี้ในอดีต 20 พฤษภาคม 2535 – พลเอก สุจินดา คราประยูร ได้ประกาศห้ามมิให้บุคคลใดในกรุงเทพมหานครออกนอกเคหสถาน เวลา 21.00น.ถึง 04.00 น. ของวันที่ 21 พฤษภาคม(*)
ซึ่งผมมีประเด็นใหม่ ทบทวนอดีตสะสมความทรงจำกรณีชวน หลีกภัย ก่อนอื่นเขียนซ้ำย้ำขยายความจากที่ผมเคยยกตัวอย่างกรณีพฤษาทมิฬที่เชียงใหม่ หรือแรงงานในพฤษภาทมิฬ ณ กทม.(**) และเรื่องชนชั้นกลาง คนเดือนตุลาเน้นอ.เอนก แน่ละพฤษา35 มีข้อถกเถียงในบทความเงาคนเดือนตุลาในพฤษภา ทั้งกรณีม็อบคนจน(เสนอโดยอ.อรรถจักร์)ไม่ใช่ม็อบชนชั้นกลาง ในข้อถกเถียง ตอนนั้นการเมืองก็มีพรรคฝ่ายค้าน(ตามรูป) คือ พรรคเทพ ประกอบด้วย 4 พรรคการเมืองคือ พรรคความหวังใหม่(ชวลิต) พรรคประชาธิปัตย์ พรรคพลังธรรม(จำลอง)และพรรคเอกภาพ
โดยผมเน้นพรรคประชาธิปัตย์ คือ ชวน หลีกภัย สำเร็จการศึกษาโรงเรียนศิลปศึกษา แผนกจิตรกรรมและประติมากรรม เตรียมมหาวิทยาลัยศิลปากร (วิทยาลัยช่างศิลป์ ในปัจจุบัน) และพ.ศ. 2505 นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผ่านผลกระทบเหตุการณ์ หกตุลา 19 ต่างๆ มาสู่เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 35
ต่อมาอานันท์ ปันยารชุน ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง หลังจากนั้นมีการเลือกตั้งใหญ่ทั่วทั้งประเทศ พรรคประชาธิปัตย์ได้รับคะแนนเสียงมาเป็นลำดับหนึ่งโดยสโลแกนผมเชื่อมั่นในระบบรัฐสภา ทำให้ นายชวน หลีกภัย ได้เป็นนายกรัฐมนตรี สลับกับบรรหาร ชวลิต มาเป็นชวน(2) ร่วมจัดงาน100ปี สำหรับปรีดี พนมยงค์
เมื่อผมกลับมาต่อยอด เปรียบเทียบชวน หลีกภัยกับ อ.เอนก หลังเรียนจบไปศึกษาค้นคว้าอย่างคนเดือนตุลา(***)เคยเป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กับหัวหน้าพรรคมหาชน(เสนอทางเลือกที่3 ในปี48) ขณะที่อดีตคนเดือนตุลา ร่วมสัมมนาปี49มีวิวาทะและข้อเสนอตั้งพรรคดังที่ผมเคยกล่าวไว้แล้ว
แต่แง่เปรียบเทียบชวน หลีกภัย อดีตนักศึกษาธรรมศาสตร์ ถึง สุเทพอดีตนักศึกษามช.จะอ้างความเป็นคนเดือนตุลา ภาพตัวแทนสะท้อนอย่างที่ผมเคยกล่าวไว้ โดยเพิ่มเติมกับการสืบเนื่องพฤษภาเป็นหนังภาคต่ออันวิปริตของสะท้อน “ปัญหาการศึกษาในมหาวิทยาลัย” ของคนเดือนตุลา(****) แล้วเราจะเหลืออะไรให้สะสมอาวุธทางปัญญาอย่างที่กรณีอดีตอธิการบดีของมธ. เคยเขียนว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สะสมอาวุธ(ทางปัญญา) นี่เป็นมุมมองต่อการศึกษาให้ท้าทายการศึกษา คือ อาวุธที่ทรงพลังมากที่สุดในการเปลี่ยนโลกนี้
ทั้งนี้ กรณีตัวอย่างคุณอานันท์ ปันยารชุน ว่าวุฒิการศึกษาไม่ได้บอกอะไรมากนัก ถ้าจะกำหนดเอาปริญญาตรีเป็นอย่างต่ำไว้สำหรับตำแหน่งการเมือง คุณอานันท์ชี้(อย่างที่นักเรียนเก่าเคมบริดจ์พึงชี้) ก็ต้องถามต่อไปด้วยมหาวิทยาลัยอะไร นอกจากนี้คุณอานันท์ ได้ยกตัวอย่างนักการเมืองดังๆ ระดับโลกหลายคนที่ไม่ได้จบปริญญาตรี นัยยะก็คือ การกำหนดวุฒิการศึกษาปริญญาตรี เอาไว้
จึงเท่ากับการกีดกันคนมีความรู้ความสามารถอีกมากที่ไม่ได้มีวุฒิการศึกษาถึงขั้นนั้น โดยเฉพาะการเรียนจบได้วุฒิการศึกษา ในอดีตนักศึกษามธ.อย่างชวน หลีกภัย พรรคประชาธิปัตย์(ฯลฯ) และอดีตนศ.มช.อย่างสุเทพ เป็นนักการเมืองไม่มีความรู้ความสามารถทางประชาธิปไตยผ่านเหตุการณ์17-20 พ.ค.35 -19พ.ค.53 มาถึง23 พ.ค.57 เปลี่ยนจากนายกฯจากการเลิกเชื่อมั่นเลือกตั้งและเชื่อมั่นในรัฐประหารนั่นเอง
อย่างไรก็ดี คนเดือนตุลาอย่างที่ผมเคยเขียนมาแล้วก็คล้ายกับคนเดือนพฤษา ที่หลายคนกลับกลายแปรเปลี่ยนไป แม้ว่าจะเกิดผลกระทบหลัง14 ตุลาหลายด้านต่อวาทกรรมความรู้ ทั้งด้านโบราณคดี(กรณีอ.ศรีศักร วัลลิโภดม) และยกตัวอย่างเปรียบเทียบ… ความเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากอะไร เราอาจอธิบายว่ามาจากบุคคลก็ได้ (เช่น จิตร ภูมิศักดิ์, ฉัตรทิพย์ นาถสุภา, ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ศรีศักร วัลลิโภดม, สุจิตต์ วงษ์เทศ ฯลฯ) เพราะในความเป็นจริง บทบาทของนักประวัติศาสตร์เหล่านี้มีความสำคัญแน่ หรืออาจอธิบายว่ามาจากความเปลี่ยนแปลงในตัวเล่นของการเมืองไทยก็ได้ (กองทัพ, พคท., มหาวิทยาลัยและปัญญาชน,…, และ ฯลฯ) เพราะตัวเล่นเหล่านี้ก็เปลี่ยนบทบาทของตนไปในความเป็นจริง…
จึงอยากมองหาที่มาของความเปลี่ยนแปลงกว้างกว่าตัวบุคคล หรือตัวเล่นของการเมืองไทย และผมคิดว่า 14 ตุลาและ 6 ตุลา ทำให้โครงเรื่องประวัติศาสตร์ที่เล่ากันมาในงานของนักปราชญ์รุ่นก่อน และเป็นหลักในแบบเรียนมานาน พังทลายลงไปด้วย(*****) การอธิบายของอ.นิธิโครงเรื่องแนวนี้ก็คล้ายกับอ.ธงชัย ด้วย
ส่งท้าย ความหวังต่อธรรมศาสตรา เสริมอาวุธทางปัญญาสู่สังคมไทย(******) รายละเอียดน่าคิดวิเคราะห์ไม่ว่าจะอิทธิพลของระบบการศึกษาต่างประเทศต่อไทย ในหลายระดับถึงมหาวิทยาลัย โดยวาทะปรีดี พนมยงค์(*******)”…ปริญญาที่มอบให้นั้น เปรียบประดุจเพียงแต่ยื่นกุญแจให้เท่านั้น ขอให้ท่านนำกุญแจนั้นไปไขคลังมหาศาลแห่งความรู้ของมนุษยชาติที่ได้สะสมมา และกำลังพัฒนาอยู่ในทุกวันนี้ และกำลังจะพัฒนาต่อไปในอนาคต…”
*ดูเพิ่มเติมหนังสือไทยและต่างประเทศที่กล่าวถึงพรรคเทพและพรรคมาร หรือบทความบริบทเปรียบเทียบพฤษภา35 กับพฤษภา53
17 May 1992 and 17 May 2010
http://www.newmandala.org/17-may-1992-and-17-may-2010/
(หนังสือเกี่ยวกับเหตุการณ์พฤษภาทมิฬหลายเล่ม)
**ผมเองยังต้องมาทบทวนความทรงจำ อย่างวันความปลอดภัยวันที่10 พฤษภา ลืมอัพข้อมูลในเพจเครือข่ายแรงงานฯ นี่โดยวันนี้อัพข้อมูลรำลึกอดีตผ่านหนังสือขบวนการแรงงานกับพฤษภามหาโหด

“การสะสมความทรงจำ แรงงาน”
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1694888043873750&id=100000577118415
***”อ่านและสอนที่จอห์นส์ ฮ้อพกินส์: ประชาสังคมในมุมมองตะวันตก”อ้างอ่านหนังสือเยอะ อ่านหนังสือใหม่ในเวลานั้น เช่น งานThe Dance with community(เริงร่ายไปกับชุมชน) ที่มาชื่อหนังสือเต็มๆ คือ The Dance with Community: The Contemporary Debate in American Political Thought
ถูกเขียนขยายความในมหาวิทยาลัยของผม: ในอเมริกา(2) จอห์นส์ ฮ้อพกินส์(อ.เอนก จบจากโคลัมเบีย ต่อมาถูกเชิญมาเป็นอ.พิเศษที่นี่)
https://www.isranews.org/isranews-article/48307-2-university_62981.html
(ลองดูเพิ่มเติมที่อ.เอนก อ่านและสอนที่จอห์นส์ ฮ้อพกินส์: ประชาสังคมในมุมมองตะวันตก ทั้งเรื่องประชาสังคม จิตสำนึกพลเมือง และการปกครองตนเองในมุมมองตะวันตก)
****ผมได้เขียนกรณีหลัง14 ตุลา คนยุคเดือนตุลา มาบ้างแล้ว หรืองานเขียนเปรียบเทียบกับพฤษภา 35 ไว้มาต่อเนื่องแล้วลองย้อนดู
***** นิธิ เอียวศรีวงศ์: สงครามแย่งชิงอดีต
https://prachatai.com/journal/2017/05/71487
ธงชัย วินิจจะกูล การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของอดีต ประวัติศาสตร์ใหม่ในประเทศไทยหลัง 14 ตุลาคม
ในสถานภาพไทยศึกษา: การสํารวจเชิงวิพากษ์
(ปัญญาชน 14 ตุลา ตามนิยามที่ว่าเกิด2480-2495 และปัญญาชน 6ตุลาอย่างอ.ธงชัย 2500หรืออ.ธเนศ วงศ์ฯ ที่แสวงหาความรู้ทำวิทยานิพนธ์ Evolving views of “historicism” : Althusser’s criticisms of Gramsci
อย่างที่ผมเขียนไว้แล้ว คนยุคหกตุลา กำลังอายุ หกสิบปีแล้ว)
“การสะสมความทรงจำว่าด้วยการศึกษา”(1)
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1702474009781820&id=100000577118415
(เล่าย่อๆการเปรียบเทียบก่อนและหลัง14 ตุลา จิตร ภูมิศักดิ์ จบป.ตรี ป.โทในไทย สุจิตต์ วงษ์เทศ ป.ตรีหรือคนเดือนพฤษภาอย่างสมบัติ บุญฯ ต่อต้านระบบการศึกษาไม่มีวุฒิการศึกษาจบป. ตรี กรณีรุ่นพี่เดือนพฤษภาอีกคนผมอยากไปเรียนกับอีริค ฮอบบอร์ม)
******หนังสือชุด ธรรมศาสตรา เสริมอาวุธทางปัญญาสู่สังคมไทย
มหาวิทยาลัยไทย:พัฒนาการ มหาวิทยาลัยในกำกับและกฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารงาน
http://thammasatpress.tu.ac.th/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%9A/1870
เปรียบเทียบดูการศึกษาในสหรัฐในยุคแรกเริ่มมีแต่วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเอกชนเป็นสำคัญส่วนใหญ่เป็นของศาสนาและมูลนิธิ…สถานอุดมศึกษาของอังกฤษ ยุโรปและอเมริกันในตอนแรกนั้น ไม่ใช่ University หากเป็น College เล็กๆ อาจารย์-ศิษย์ใกล้ชิดกัน ย้ำการบรรยายหัองเล็กๆ อาจารย์เตรียมการสอนอย่างดีเยี่ยม นักศึกษาอ่านหนังสือเตรียมตัวเรียนอย่างดี สอนปริญญาตรีเป็นสำคัญ ฮาร์วาร์ด เยล ปรินซตัน โคลัมเบีย ล้วนเป็น College
ดูมหาวิทยาลัยของผม: ในอเมริกา(1-2) https://www.isranews.org/isranews-article/48300-%E0%B9%8Auniver_usa.html
*******ที่มา:ปรีดี พนมยงค์ บ้านพักชานกรุงปารีส ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๑๔ และ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ เฉลิมชาตกาล ๑๑๑ ปี “วันปรีดี พนมยงค์”
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2011/05/K10544520/K10544520.html
สถาบันปรีดี พนมยงค์
-ภาพประกอบทางเน็ต เช่น ป้ายในที่ชุมนุมไทยไม่ใช่พม่า ป้ายติดรถยนต์พรรคฝ่ายค้านฯลฯ
28.2
การสะสมความทรงจำ การสะสมอาวุธคือการศึกษา
วันนี้ในอดีตวันที่28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) การประชุมครั้งปฐมฤกษ์ของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญของเนปาลประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตย จากกลุ่มลัทธิเหมาที่ต้องการนำระบอบสาธารณรัฐ โดยเนปาล ประเทศเล็กๆ ที่คั่นกลางระหว่างมหาอำนาจทั้งอินเดียและจีน(*)
เมื่อกรณีผู้นำเนปาลดังกล่าว ถ้าสนใจงานเปรียบเทียบกับผู้นำต่างประเทศในชุมชนจินตกรรมฯ ที่ผมเขียนไว้แล้ว(**)จากผมไม่มีเวลาเขียนอะไรมาก ในตอนนี้จะกลับมาเขียนตอนที่2 หยุดไว้ก่อน(***) จึงใช้กลวิธีเปรียบเทียบว่าด้วยเรื่องการเรียนต่อของผม ในความสนใจที่เรียนต่อหลายแห่ง ก็มีแต่เรื่องเล่าเกี่ยวกับการศึกษา ในแง่มุมมาร์กซิสม์จีน ผมเคยเล่าให้รุ่นพี่ฟังเรื่องอาจจะไปเรียนที่จีน เห็นเปิดสอนหลักสูตรมาร์กซิสม์จีน(มาร์ซิสม์จีน จะเป็นเหมาอิสต์อย่างชาตินิยม ในแบบจีนต่างจากมาร์ซิสม์ตะวันตกหรือไม่?)เขาเป็นคนเดือนพฤษภาที่เคยไปเรียนอเมริกา ฟังเค้าบอกไปเรียนแล้วจบมาทำอะไร แล้วเราก็หัวเราะกัน นั่นเป็นเรื่องคลายเครียดในการศึกษาอย่างหนึ่ง(รวมทั้งผมเล่าเล่นๆให้รุ่นพี่คนเดือนตุลา)
แต่เปรียบเทียบซีเรียสผมแสวงหาเคยสมัครทุนไปรัสเซีย ต่างๆ ยกตัวอย่างคนยุคหกตุลา 19เป้าหมายและการแสวงหาการศึกษา กรณีที่อ.ธงชัย เล่าเรื่องทำวิทยานิพนธ์ของตนเอง ส่วนผมตามการอุปมาความรู้ ย่อมสะสมน้ำ เป็นบ่อน้ำ มหาวิทยาลัยย่อมอุปมาประดุจบ่อน้ำ บำบัดความกระหายของราษฎร ผู้สมัครแสวงหาความรู้อันเป็นสิทธิ และโอกาสที่เขาควรมีควรได้ ตามหลักแห่งเสรีภาพในการศึกษา”คำคมของปรีดี พนมยงค์(ผู้นำเสรีไทย ที่มีนศ.ธรรมศาสตร์เข้าร่วมเสรีไทยต่อสู้สงครามโลกที่2หรือนักแสดงในหนังพระเจ้าช้างเผือก)
โดยผมเขียนเปรียบเทียบกับเนลสัน แมนเดลลา ไปแล้ว อาวุธที่ทรงพลังที่สุด คือ การศึกษา ก็มีอดีตอธิการบดีของมธ. เคยเขียนว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สะสมอาวุธ(ทางปัญญา) นี่เป็นมุมมองต่อการศึกษา(****) ลองหาอ่านงานเขียนอ.เสกสรรค์(เดินขบวน 14 ตุลา *****)
อย่างไรก็ดี ผมเขียนมาต่อเนื่อง โดยผลิตใหม่ และผลิตซ้ำผ่านคำขวัญสำหรับบัณฑิตธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2523 ปรีดีกล่าวว่า ต้องใช้ปัญญาประกอบด้วยสติ พัฒนาระบบปกครองของประเทศไทยให้บรรลุถึงซึ่งระบบประชาธิปไตยสมบูรณ์ และป้องกันชาวไทยผู้รักชาติแท้จริงมิให้หลงเชื่อการโฆษณาที่จะดึงการปกครองประเทศไทยให้ถอยหลังเข้าคลอง
*ลุมพินีวัน เป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ตั้งอยู่ที่อำเภอไภรวา แคว้นอูธ ประเทศเนปาล โดยข้อสังเกตเนปาล(แผ่นดินไหวในเนปาล พ.ศ. 2558) กับอินเดีย ต่อการเปรียบเทียบภาคใต้ของไทย คนใต้แบบนิยมพรรคประชาธิปัตย์ กับคนใต้ไม่เปลี่ยนระเบิดภาคใต้ต่างๆ นานา ภาพสะท้อนชนบทไม่เปลี่ยนแปลงของกับระเบิดหลังปี47
**ผู้นำ+ชุมชนจินตกรรมฯ ที่ผมได้เขียนมาแล้วลองเปรียบเทียบอ่านเพิ่มเติม กรณี“การสะสมความทรงจำ อำนาจ ผู้นำ ใน Late Capitalism”

***การสะสมความทรงจำว่าด้วยการศึกษา

****การสะสมความทรงจำ การสะสมอาวุธ คือ การศึกษา
*****เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ในหนังสือภาพลักษณ์ปรีดี พนมยงค์ กับการเมืองไทย พ.ศ.2475-2526
(อ.เสกสรรค์ เคยจับอาวุธ เข้าป่า ส่วนกรณีปรีดี กล่าวอย่างย่อๆ มีเรื่องสัมพันธ์พคท.พคจ.อยู่ด้วย)
ภาพประกอบผม ณ ป้ายมหา’ลัยธรรมศาสตร์ ที่ผมไม่เคยเรียนที่นี่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น