วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ปรากฏการณ์ของเด็กผู้ชาย บ้า

ปรากฏการณ์ของเด็กผู้ชาย บ้า
Sat, 03/17/2007 - 00:05 | by เปรื่องเดช ผดุงครรภ์, บอย บ้า
โดย บอย บ้า



ยามเย็นสายแดดอ่อนแรงซ่อนเร้นท่ามกลางหมู่เมฆ ผมมาออกกำลังกายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตัดสินใจวิ่งวนอยู่รอบสนามกีฬาดุจวัฏจักรของชีวิต ทว่า รอบสุดท้าย ผมมาพบเขาสภาพศพไม่หายใจ ข้างตัวมีดแหลมเล็ก ปากกา เศษกระดาษลายมือเปื้อนเลือด

ผมอ่านข้อความจากลายมือของเขา

เริ่มจากชื่อเรื่อง ... ปรากฏการณ์ของเด็กผู้ชาย บ้า

...........


ประหลาดที่ทุกครั้งที่สัมผัสเมื่อยามที่สายตาได้อยู่ในที่ตัวเองได้มองเห็นตัวเองอย่างแท้จริงโดยไม่มีกระจก ไม่เคยใส่ใจกับคนรอบข้างที่จะพูดว่าผมเป็นคนอย่างนั้น ดีเลวอย่างไรผมรู้จักผมดีที่สุด  ไม่สนใจว่าใครจะว่าอะไร แต่ก็ประหลาดทุกครั้งที่คนมองผมเป็นตัวประหลาดทั้งที่ความจริงผู้คนยังไม่เคยสัมผัสถึงความประหลาดที่มีอยู่ในตัวตนเลย ทุกครั้งที่ผมเข้าไปค้นตัวเองความประหลาดใจก็ปรากฏขึ้น ความกลัวทั้งที่ไร้เหตุผล ความจริงที่เห็นทั้งที่ไม่อยากเห็น ความเศร้าในงานรื่นเริง ความเหงาท่ามกลางผู้คน ความรักท่ามกลางความเสียใจ ไม่เหมือนใครในสิ่งที่ตัวเองย่อมแตกต่างแม้จะทำตามคนอื่นไปก็หนีไม่พ้นตัวเองจากตัวเอง วันนี้และเมื่อวานและต่อๆ ไป จะประหลาดใจทุกครั้งเพราะสัมผัสตัวเอง

ที่ที่มีแต่ความเศร้า
ที่ที่มีแต่ความเหงา
ที่ที่มีแต่ตัวเอง
นำที่ที่มีแต่ความเศร้า
ที่ที่มีแต่ความเหงา
ทำร้ายตัวเองจากตัวเอง

อาลัย


ครั้งหนึ่งที่ฉันอยากเห็นถ้าฉันตายจะมีคนร้องไห้ให้ฉันไหม
ฉันโดดเดี่ยวท่ามกลางเพื่อนที่มีอยู่เต็มห้อง ฉันเดียวดายเหมือนคนตายซากไร้คนสนใจ
ฉัน งง ในตัวเอง ที่แสร้งยิ้มและหัวเราะ ได้อย่างเก่งกาจ
ฉันเป็นคนที่พร้อมหยิบยื่นรอยยิ้มแต่ไร้ซึ่งความจริงใจตอบ

ฉันเห็นว่า คนเจ็บมักได้รับความสนใจ แต่คนสบายอย่างฉันไม่มีใครใยดี
ฉันเรียกร้องหาความเจ็บป่วยให้คนเห็นใจ
ฉันไร้ซึ่งคำตอบเมื่อไร้ซึ่งหนทาง
ความตายนั้นคือยอดปรารถนาแห่งความอาลัย

น้ำตา


ทุกครั้งที่ร้องไห้
เสียใจ
หวั่นไหว
ว้าวุ่น
อ่อนล้า
ตื้นตัน
ทุกอย่าง
กลั่นออกมาจากความรู้สึก
แต่
ต่อไปจงจำไว้
น้ำตาจะไม่ไหลอีกถ้าอดทน


เศษ


เมื่อก่อนเคยเก็บเศษขยะมาเก็บไว้เพื่อว่าจะชั่งกิโลขาย เป็นเศษซองบุหรี่ไม่มีค่าอะไรสำหรับผู้คนแต่สิ่งที่อยู่ในความทรงจำคือ ตัวมวนบุหรี่ไม่เคยมีประโยชน์แม้แต่นำมาชั่งกิโลมันสมควรเป็นแค่เปลวควัน


ความฝัน


ในอดีตเคยมีตำนานอันมากมายเรื่องเล่าแห่งความฝันซึ่งยากจะจดจำได้หมดสิ้น
แต่ จำได้ว่าความฝันของผมจะบินไปให้ไกลสุดขอบฟ้า
ไม่ว่าทางเครื่องบิน
ทางใด
ไม่นาน
ปีกแห่งความฝันจะติดปีกบิน
คงจะมีสักวัน
วันแห่งความฝัน

วีรบุรุษ


ผู้กล้าในความหมายของฉันมีมากมาย
กล้าที่จะต่อสู้
กล้าที่จะปกป้อง
กล้าที่จะเสียสละ
แต่ประโยคที่ฝังใจคือความกล้ากับความโง่มันต่างกัน
ใครละจะกล้าโดดเหวทั้งที่จะตายแน่นอน
นอกจากคนโง่ที่อยากตาย


นั่งบนเก้าอี้

นั่งรออยู่ที่นี่จะรอจนกว่า
เวลาเลิกเรียนจิตใจที่รุ่มร้อนไม่มีสมาธิ
จินตนาการกำลังเตลิดว่าฉันไปพบเธอ
นั่งอยู่ตรงนี้แต่ใจอยู่ที่ไกลแสนไกลอยากจะพบแต่เธอ
ฉันหวังว่าวิญญาณจะสถิตอยู่ที่ chair เพื่อรอเธอ

เสาร์

รอการตอบกลับของคำตอบ
อาทิตย์ ยังรออยู่
จันทร์ก็คิดว่าเธอจะติดต่อมา
อังคารก็ฝันถึงเธอ
พุธ ก็เพจเจอร์สั่นแต่ไม่ใช่ข้อความเธอ
พฤหัสบดี ก็ยังโทรไปหาเธอ
ศุกร์ ก็เริ่มท้อแท้
เสาร์ ก็…เริ่มเข้าใจ
ผ่านมาครบ หนึ่งอาทิตย์ แต่ก็ยังอยากจะพบเธอจะรอถึงวันที่เธอเปลี่ยนใจ

เพื่อน


มิตรภาพที่คนสองคนให้แก่กัน
กว่าจะเข้าใจกันกว่าจะรู้ใจไม่มีอะไรที่จะเปลี่ยนคนทั้งสองคน
สิ่งที่ภูมิใจในวันนี้เราและนายมีความผูกพันมากว่า 9 ปี แต่ก็ไม่มีอะไรจะเปลี่ยนได้
ความสัมพันธ์นี้ เราก็หวังว่าจะเป็นมิตรแท้
ที่พร้อมจะไปนั่งกินข้าวตอนแก่พูดคุยถึงเรื่องราวในอดีตด้วยกัน
อยากจะเป็นเพื่อนกันไปจนเป็นคุณ ปู่ ด้วยกันทั้งคู่
เราอยากจะบอกว่าเราถึงแม้จะทะเลาะกันบ้างแต่ก็ไม่แปลกอะไรเพราะมันเป็นเรื่องธรรมดา
เราและนายไม่จำเป็นเลยที่จะพูดจากันมากมาย
เราเข้าใจในความเป็นเพื่อนของเราและนายอยู่เสมอ
แม้จะมีวันที่ต้องไกลกันอยู่เสมอ


น้องรัก


ความผิดมากมายที่เคยก่อไว้
ไม่ว่าจะเป็นศอกกลับ จนตาเขียว
ความรักที่พี่ไม่ค่อยจะแสดงออก
น้องอาจจะไม่เชื่อว่าพี่รักน้อง
พี่ไม่มีคำพูดใดกินใจ
แต่อยากจะบอกว่า พี่ เปิดใจทั้งหมดทุ่มเทเพื่อน้องได้
จำไว้ว่าเมื่อใด
ไม่มีใครมีพี่อยู่
แม้จะอยู่ไกลหรือใกล้แต่พี่นี้
ไม่เคยจะทิ้งน้อง

แม่


ไม่มีคำใดจะสาธยายได้ดีเท่ากับ
ความรักของแม่เป็นความรักที่ยิ่งใหญ่และอบอุ่น
ลูกคนนี้บาปหนาไร้ซึ่งความดีขอให้แม่อภัยให้ด้วย
บาปมหันต์ที่สุด คือบาปที่พูดว่าเกลียดแม่
ขอโทษ ความสำนึกที่สายเกินไป
ร้องไห้ที่เตียงของแม่นั้นไม่มีค่าอะไรเลย
เมื่อแม่ไม่มีลมหายใจเสียแล้ว

พ่อ


ผมรับรู้ความรักที่ยิ่งใหญ่ของพ่อไม่ได้แต่ไม่ว่านานแค่ไหน
ผมจะพยายาม พ่ออาจจะไม่อยากสอนผมหรือว่าไม่รู้จะสอนอะไร
แต่ขอบคุณ สำหรับแบบอย่างไม่ดี ที่กระทำให้เห็นไม่ว่า เล่นการพนัน
ดื่มเหล้า ตบแม่ ความประพฤติที่ไม่ดีต่างๆ นานา
ความรุนแรงหนักหน่วงจาก แข้ง จากน้ำมือพ่อช่างยิ่งใหญ่
ไม่ได้ประชดแต่ประเมินค่าถึงความยิ่งใหญ่จากฝ่ามือแรงกายที่ท่านได้สร้างบ้านขึ้นมา
บ้านนี้มีปัญหาแต่ก็ดีผมรู้สึกว่าทั้งแข็งแกร่งและอ่อนแอ ทุกครั้งที่อยู่ที่นี่ไม่เหมือนที่ใดเพราะมีพ่อเจ้าปัญหา


รสชาติการรอคอย


ครั้งนึงที่ผมไปนั่งรอสาวที่จะเจอเพื่อจะคุยกับเขานั้น
เหม่อลอยสนใจอยากจะรู้ว่าเมื่อไหร่เธอจะมารอตั้งนาน
ผมอยากจะชิมรสหวานจากคำพูดของเธออยากฟังคำเอ่ย
รอยู่นานจนเบื่อข้างกายผมมีแต่ต้นไม้
ไม่มีอะไรทำเบื่อ
เหนื่อย
เด็ดใบไม้ใบหญ้า
มาเคี้ยวอย่างไร้อาย
ทั้งขบเคี้ยวและกลืนอย่างเชื่องช้ารอคอยต่อไป

ไม่เท่าเทียม


จำได้เสมอ
เราและนาย
เพื่อนกัน
แต่
ต่างกัน
ที่
เรามีฐานะดีกว่าตามสายตาของสังคม
นาย ไม่เคยด้อยกว่าเรานายมีมือเท้าและสมอง
เหมือนเรา
เราเคยเล่นเกมเศรษฐีกับนาย
แล้วถูกแม่ห้ามเล่น คบหากับนาย
ทุกอย่างไม่ว่าจะเกมวิ่งไล่จับ ซ่อนหา
เพราะความไม่เท่าเทียมกันของฐานะ
ในเกมนายอาจจะแพ้หรือชนะทุกครั้ง
แต่เรื่องชีวิตจริงที่ต่อสู้อุปสรรคและความลำบาก
เราคงจะแพ้นายทุกครั้ง
ความไม่เท่าเทียมของชีวิตก็เป็นสิ่งที่ผลิต
พลังชีวิตให้กับเราและนายไม่เท่ากัน


ขอโทษ


เธอจะโกรธไหม เมื่อเราเดินเข้าไปใกล้เธอ
เป็นการรบกวนรึเปล่า ถ้าหากพูดจาเรื่องราวดูเหมือนไร้สาระมากมาย
อยากจะรู้จักกับเธอ
ให้มากขึ้นกว่านี้ เราคงเป็นชายที่ เธอ ดูว่าเป็นคนไม่ดี
อยากจะชวนเธอ อยากพูดกับเธอตั้งมากมาย
อยากขอเพียงเป็นเพื่อน เธอ จะได้ไหม
หรือมากเกินไปไม่สมควร
ควรจะเป็นแค่คนเดินผ่านมาแล้วก็ไป
ขอโทษ ขอโทษจริง ๆ ออกจากใจ
ขอโทษถ้าเธอโกรธ ขอโทษถ้าเธอไม่อยากเจอเรา
ขอโทษ อีกครั้ง ขอโทษจริง ๆ
ขอโทษ
(ที่) อยากจะชวนเธอ อยากพูดกับเธอตั้งมากมาย
อยากขอเพียงเป็นเพื่อน เธอจะได้ไหม
หรือมากเกินไปไม่สมควร
เราอยากจะบอกเธอว่า
ขอโทษจริง ๆ
ไม่รู้จะพูดไงดี
ควรจะเป็นแค่คนเดิน..ผ่านมา..แล้วก็ไป

ความตาย

ปัญหาที่ถกเถียงกันมานาน
อยากจะอยู่หรืออยากจะตายคงไม่สำคัญเท่าที่ว่า
อยากอยู่มีชีวิตไปวัน ๆๆ ปล่อยให้ตัวเองตายไปก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร
พวกนี้เป็นพวกเห็นแก่ตัว
กับ พวกอยากตาย พวกนี้ก็ เป็น ภาระของคนอื่น อีกผิดอีก
สิ่งที่มนุษย์ได้พยายามตอบความซับซ้อนของชีวิตมามากมายไม่ว่าจะเป็นปรัชญา
ศาสนา วิทยาศาสตร์ เพื่อตอบคำถามว่าการคงอยู่และความตายมาจวบจนบัดนี้
พยายาม ยัดเยียด เข้ามา หาเหตุผลการคงอยู่ต่างๆ และแนะวิธีใช้ชีวิตที่ถูกทาง (ของเขา)
แต่ไม่มีความหมายอะไรที่คนอยากตายอย่าง ผมจะให้ใครมาขัดขวาง ชีวิตหลังความตาย
เป็นสิ่งปรารถนามากว่าชีวิตที่อยู่ไปโดยไม่มีวันตาย
เมื่อก่อนมีความคิดว่าอยากอมตะกันมาหลายยุคสมัย
แต่ผมว่ายุคเรานี้ น่าจะเป็นยุค แสวงหา ชีวิตหลังความตายมากกว่า เมื่อก่อน
จาก สถิติ คนฆ่าตัวตาย ในปัจจุบันสูงกว่าเมื่อก่อนมากมาย หลายคน อาจฝันจะไปสวรรค์
แต่ผมขอ ตายไปแล้ว ไม่อยากให้ ใครมาถามว่าทำไม ถึงตาย ทำผิดอะไร
หรือ จะได้ขึ้นสวรรค์
ขออย่างเดียว ตายไปแล้ว ขอเป็นดั่ง กาลเวลา อยู่ เคียง คู่ความ ตาย
อยากเห็นเวลาตาย ของความตาย

"จงเพ่งมองความตายเหมือนที่ความตายมองเรา"

เหตุการณ์


เมื่อก่อนที่เชื่อว่าโลกยังแบนมีมนุษย์อยู่จำพวกนึง

ซึ่งมีความเชื่อว่า ถ้าเดินทางไปสุดขอบโลกก็จะพบว่า
มีเหวสุดขอบโลกอยู่ที่นั่น ดั่งการณ์ที่คาดไว้ว่า ปฐพีนั้นจะสิ้นสุดที่
แผนที่ในมือของพวกเขา เหตุการณ์ที่ประทับใจของพวกเขาในนี้คือการทดลอง
สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้เป็นจริงขึ้นมา โลกนั้นกว้างใหญ่เกินกว่าจะเข้าใจได้ง่ายๆ
เหมือนสุดขอบจักรวาลที่มนุษย์ยุคปัจจุบันพยายามเดินทางไปให้สุดขอบจักรวาล
เผชิญกับประสบการณ์เหตุการณ์ที่ซับซ้อนเหมือนการหาคำตอบอันไม่สิ้นสุดว่าตัวเองเกิดขึ้นมาเพื่ออะไร


ผมขออ่านแผ่นสุดท้าย ซึ่งน่าจะเป็นแผ่นที่เขาเขียนก่อนตาย...

...วันที่ผ่านสิ่งที่เลวร้ายที่สุดในชีวิตวันนั้น สิ่งที่ดีที่สุดเพียงเหม่อ ออกไปมองภูเขามีฟ้าปรากฏ ท่ามกลางเมฆตัดขอบฟ้าสีฟ้าคล้ายสายรุ้งวิ่งผ่านโลก ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ไม่ค่อยปรากฏให้เห็นทุกชีวิตที่สังเกตจะเข้าใจในความหมายนี้ คุณค่าของการมองไม่ใช่อยู่แค่การจดจำ แต่อยู่ที่ภายในดวงใจสัมผัสถึงภายในใจที่เร่าร้อนจะจบลงที่สิ้นสุดการจำทุกอย่างในโลกมองผ่านด้วยความสุขสุดท้ายจากสายตาที่ถูกปิดกั้นด้วยน้ำตาที่ล้นปริ่มกำลังจะไหลลงสู่พื้นหญ้าสีเขียวขจีกับมือที่หยิบมีดเล็กแหลมคมปาดคอด้วยมือตัวเอง เลือดไหลหยดสู่สนามหญ้าเปื้อนสีเลือดอย่างรวดเร็วน่ากลัว สูญสิ้นทุกอย่างแม้ความทรงจำที่ใครเคยบอกว่าเรื่องทุกข์คนจะลืมยากกว่าเรื่องสุข ต่อไปนี้ไม่มีทั้งสองอย่างที่จะจำ เหลือแต่ความรู้สึกว่ากำลังหายใจหอบๆ หัวใจเต้นยาวขึ้น ช้าลง


วันที่ผ่านสิ่งที่เลวร้ายที่สุดในชีวิตวันนั้นสิ่งที่ดีที่สุดเพียงเหม่อ ออกไปมองภูเขามีฟ้าปรากฏ ท่ามกลางเมฆตัดขอบฟ้าสีฟ้าคล้ายสายรุ้งวิ่งผ่านโลก ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ไม่ค่อยปรากฏให้เห็นทุกชีวิตที่สังเกตจะเข้าใจในความหมายนี้ คุณค่าของการมองไม่ใช่อยู่แค่การจดจำแต่อยู่ที่ภายในดวงใจสัมผัสถึงภายในใจที่เร่าร้อนจะจบลงที่สิ้นสุดการจำทุกอย่างในโลกมองผ่านด้วยความสุขสุดท้ายจากสายตาที่ถูกปิดกั้นด้วยน้ำตาที่ล้นปริ่มกำลังจะไหลลงสู่พื้นหญ้าสีเขียวขจีกับมือที่หยิบมีดเล็กแหลมคมปาดคอด้วยมือตัวเองเลือดไหลหยดสู่สนามหญ้าเปื้อนสีเลือดอย่างรวดเร็วน่ากลัว สูญสิ้นทุกอย่างแม้ความทรงจำที่ใครเคยบอกว่าเรื่องทุกข์คนจะลืมยากกว่าเรื่องสุข ต่อไปนี้ไม่มีทั้งสองอย่างที่จะจำ เหลือแต่ความรู้สึกว่ากำลังหายใจหอบๆ หัวใจเต้นยาวขึ้น ช้าลง  ทุกอย่างกำลังสิ้นสุดร่างกายกำลังหยุดทำงานเหลือแต่ความรู้สึกว่า กำลังจะตาย

ผมทำอะไรไม่ได้ นอกจากเรียกรถพยาบาล ให้ปากคำต่อตำรวจในฐานะผู้เห็นเหตุการณ์ และผมได้ขอถ่ายเอกสารผลงานของเขารวบรวมเป็นหนังสือสำหรับผมเก็บไว้จนทุกวันนี้.

***เนื่องจากปี2557 มีกำหนดการวางแผนจะรวมเรื่องสั้นของตนเอง ประกวดซีไรต์ แต่ไม่ทัน จึงไปค้นงานเก่าๆ มาดูแปะไว้ที่นี่
๕๕๕๕

****หมายเหตุ นามปากกาเคยลงในคอลัมภ์ประชาทุยของประชาไท
http://www.prachatai.com/column-archives/node/2285

คอยติดตามเรื่องสะกดจิตๆ๐๐๐๐สะกดจิต
Fri, 04/27/2007 'งานเก่าๆ อีกเช่นเดียวกัน ครับ


วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เพลงรอรักวันแรงงาน

เพลงรอรักวันแรงงาน


อรรคพล สาตุ้ม


วันแรงงานแห่งชาติหมุนเวียนมาครบรอบอีกครั้ง และผู้เขียนสนใจทบทวนเนื้อเพลงคนใช้แรงงาน ซึ่งแง่มุมของการวิจัยเนื้อร้องของเพลง และอุดมการณ์ของการเมืองยังปรากฏไม่มากนัก ในแง่น่าสนใจวรรณกรรมแรงงาน รสนิยมเพลง และเพลงเกี่ยวกับวันแรงงานอย่างเพลง “ลูกจ้างอย่างเรา” ที่ดุสิต ดุริยศักดิ์ ขับร้อง ท่อนจบเขาว่า “...ชาตินี้มีแต่เพื่อนแท้ก็คือกำลัง หากสิ้นสิ่งนี้มีหวัง คงสิ้นคนจ้าง มีหวังตกงาน” ฟังดูหดหู่ และน่าสงสารเนื่องจากยุคนั้นยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองแรงงานอย่างจริงจัง ถ้าเป็นเพลงของผู้ใช้แรงงานผู้หญิง ก็จะนึกถึงเพลง “ฉันทนาที่รัก” ที่รักชาติ ศิริชัย ร้อง ครูสุชาติ เทียนทอง แต่ง โดยชื่อ ฉันทนา กลายมาเป็นคำเรียกที่หมายถึงสาวโรงงานทอผ้ากันไปแล้ว


การเปรียบเทียบเพลงของลูกทุ่งย่อมแตกต่างจากเพลงเพื่อชีวิต หรือเพลง รำวงวันเมย์เดย์ เนื้อร้อง/ทำนอง จิตร ภูมิศักดิ์ ภายใต้อิทธิพลพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย แต่เพลงลูกทุ่ง ก็มีการสร้างภาพแทนความจริงต่อสังคม ซึ่งเกิดจินตนาการร่วมในแง่การจัดตั้งตนเองถึงองค์กรกรณีสหภาพแรงงานต่างๆ นานา แต่มนต์เสน่ห์มายาเพลงลูกทุ่งก็มีปรากฏของแมน เนรมิต ชื่อ “ลูกจ้าง” แต่เพลงนี้ออกเป็นแนวกุ๊กกิ๊กประเภทหลงรักลูกสาวนายจ้าง “ขอรับใช้ใกล้เจ้านายไม่ห่าง ขอเคียงข้างกับนายจ้างจริงใจ ฝากชีวิตให้เป็นสิทธิ์ของนาย...” เรียกว่าทำทุกอย่างเพื่อความรักนั่นเอง

เมื่อบทเพลงสะท้อนเกี่ยวกับกรรมกร ยังมีอีกหลายเพลงที่เป็นที่จดจำเช่น "กรรมกรวอนแฟน” ยอดรัก สลักใจ “อกหนุ่มกรรมกร” สุนารี ราชสีมา “กรรมกรสอนลูก” ร้องโดยนักร้องเสียงดีชื่อ นัดดา จันทร์ฉาย อยู่ในชุด “ชิมรัก ชิมรส” หรือมีเพลงชื่อ “จากแม่มูลสู่เจ้าพระยา” ที่ เสรี รุ่งสว่าง กับ สิทธิพร สุนทรพจน์ เคยร้องไว้ แต่งโดย ธีระพันธ์ ชูพินิจ เป็นเพลงเกี่ยวกับคนใช้แรงงาน

แต่ถ้าเป็นยุคหลังๆ เพลงแนวนี้เราก็นึกถึงเพลง “ลูกสาวนายจ้าง” ที่ไมค์ ภิรมย์พร นักร้องขวัญใจคนใช้แรงงานขับร้อง ซึ่งไมค์ร้องเพลงเกี่ยวกับชีวิตผู้ใช้แรงงานมากมายจนกลายเป็นสัญลักษณ์ประจำตัว และไม่ใช่มีเพลงประเภทรักๆ ใคร่ๆ ระหว่างคนชั้นแรงงานเท่านั้นโดยเพลง “ผู้อยู่เบื้องหลัง” ในชุดแรกๆ ของเขาที่ขึ้นต้นมาก็ถามสะกิดใจกันเลยว่า “ตึกนี้สูงใหญ่ มือไผเล่าสร้าง...” ถือเป็นเพลงดีเด่นอีกเพลงหนึ่ง ที่สัก ลานไทร เป็นคนแต่ง แต่อาจจะไม่โด่งดังเท่ากับเพลง “ละครชีวิต” ที่ว่า “จากแดนอีสานบ้านเกิดเมืองนอน...” ที่วิเชษฐ ห่อกาญจนา แต่งไว้ (1) เป็นต้น

ดังนั้น ประเด็นที่น่าสนใจ เนื่องจากวันแรงงานแห่งชาติ ช่วยให้แรงงานหลุดพ้นจากความทุกข์ยากจน เป็นคำถามต่อผู้อยู่เบื้องหลัง เป็นมือของผู้สร้างตึก และโอกาสของแรงงานสร้างสรรค์สังคม

ประเด็นของอุดมการณ์ในเพลงรอรักวันแรงงาน


เนื้อเพลง รอรักวันแรงงาน

..คำวอนจากใจลูกผู้ชายที่ขายแรงงาน ส่งไปถึงเธอผู้นั้นได้พบกันที่หน้าโรงทอ
ได้คุยแรกเห็นรู้ว่าเป็นคน ต.จ.ว. เหมือนกันกับพี่เลยหนอ คุยถูกคอเฝ้ารออยากเจอ จ.ม.ส่งไปถักหัวใจนำพา บางวันแอบโทรไปหาอยากจะมาพบหน้าเสมอ ลูกจ้างงานหลายเจ้านายไม่ได้มาเจอ อย่าลืมที่พี่เสนอนัดเจอที่วันแรงงาน พี่จะไปตามนัดด้วยใจจดจ่อ วันที่หนึ่งพอคอให้ไปรอตรงที่นัดกัน จะพาไปเที่ยวขันเกลียวน็อตใจผูกพัน มอบใจให้เป็นของขวัญวันแรงงานเพื่อสานใจต่อ ขอให้จริงจังที่พี่เฝ้าคอยจริงใจ ไม่มีโบนัสจากนายพี่ขอใจพบเธอก็พอ อย่าลืมคนดีให้ โอ.ทีสัมพันธ์เราต่อ จดจำวันที่หนึ่งพอ.คอ. พี่จะรอแก้มแดงแรงงาน..(2)

การต่อสู้ของแรงงานหายไปจากเนื้อเพลงของไมค์ ภิรมย์พร โดยผูกพันเพลงขายแรงแต่งนาง……ความรู้ต่ำ แรงงานก็ราคาถูก อดทนปนทุกข์ เดินบุกเดินลุยทุกวัน เปลี่ยนแรงเป็นเงิน เผชิญกับความร้าวรานจะไปให้ถึงความฝัน ฝันถึงงานวันแต่ง ขอแรงคนดีให้คอยพี่บ้าง ได้โปรดถนอมใจนาง อย่าจืดจางระวังแก้มแดง รักจริง อย่าให้ใครชิงตำแหน่งเก็บรักษาแก้มแดง รอคนขายแรงจะไปแต่งนาง…. และเพลงเดินตามพ่อ…พ่อ เป็นมากกว่าพ่อคนไหน พ่อยิ่งใหญ่ เป็นหนึ่งในใจเรื่อยมาเป็นภาพจำ งดงามอยู่ในสายตา เป็นแรงศรัทธา แรงกล้าอยู่ในหัวใจ ถึงแม้ไม่อาจเทียบหนึ่งในล้านลูกขอตั้งปณิธาน สานสิ่งที่พ่อสร้างไว้จะเดินตาม รอยเท้าของพ่อต่อไป เหนื่อยยากเพียงไหนจะไม่ทำให้พ่อผิดหวัง..

จะเห็นได้ว่านี่เป็นประเด็นสะท้อนภาพของชาตินิยม ในฐานะลักษณะเชิงซ้อนของจินตนาการของภาพพ่อ ในฐานะของวันพ่อแห่งชาติ เป็นวันชาติไปด้วย นี่เป็นจุดเกี่ยวพันเชิงประวัติศาสตร์ของบริบทแรงงาน ในแง่ความนิยมของเพลงลูกทุ่งไทย(Thailand) ซึ่งสะท้อนจินตภาพของการเมืองเชิงซ้อนของเนื้อเพลงคล้ายการสร้างอุดมการณ์ของเพลงชาติไทย แต่ผ่านทางอารมณ์ความรู้สึกของวัฒนธรรมประชานิยม(popular culture) ในภาวะแบบไทยๆ เป็นรูปธรรม เพราะการเมืองถูกผลึกหลอมรวมผ่านวันชาติ วันพ่อ วันแรงงาน ขายแรงแต่งนางเป็นการแต่งงานรวมชาตินิยม และเพลงในอัลบั้มนี้ กลายเป็นสิ่งปลูกสร้างอุดมการณ์ของครอบครัวแห่งชาติ


จากหลังเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 ในด้านหนึ่งของความตื่นตัวต้องการปฏิรูปโครงสร้างการเมือง ก็คาดหวังต่อรัฐบาลพลเรือน จนกระทั่งถูกพิสูจน์ว่าล้มเหลว ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายต่อนักการเมือง จึงเป็นความรู้สึกร่วมไม่น้อย และประชาธิปไตยแบบตัวแทนเป็นเป้าถูกวิพากษ์วิจารณ์ ส่วนประชาธิปไตยทางตรง ก็เป็นข้อเรียกร้องมากขึ้นเรื่อยๆ มีคำศัพท์ถึงประชาสังคม,ประชาพิจารณ์,ประชาคมชุมชน,ประชามติ,เวทีประชาพิจารณ์ ฯลฯ ต่างจากคำศัพท์ เช่น สามัคคีทุน-ตีทหาร หรือการวิเคราะห์แนวทุน-วัง-ปืน ซึ่งด้านดีเป็นทางเลือกของสังคมไทย โดยความเป็นจริงเกิดการประท้วงของแรงงานไทย ต่อโรงงานในบริบทปี2542-43 เป็นช่วงเวลาบริบทของเพลงรอรักวันแรงงานด้วย


เมื่อกรณีดังกล่าวเกี่ยวข้องเจ้าของโรงงาน ทำให้สหภาพแรงงานถูกบอกไม่มีความจำเป็นกับโรงงานด้วย(3) โดยผลกระทบของยุควิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 (กรณีตัวอย่างสหภาพแรงงานสิ่งทอไทยเกรียง) และรัฐธรรมนูญ2540 ในกระแสชาตินิยม-ชุมชนนิยม ที่มีปรากฏเป็นหนังสือ และสื่อสารมวลชน เป็นต้นมา สะท้อนภาพของการเมือง เศรษฐกิจ สังคมของไทย กำลังปรับตัวสภาพการจ้างงาน และค่าจ้าง รวมทั้งคนตกงาน ในยุคโลกาภิวัตน์ของทุนนิยม ภายใต้กระแสการสร้างประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ และบริบทของเพลงเผยแพร่ 2542 ก็มีเพลงรอรักวันแรงงาน(4) และเพลงเดินตามพ่อ ในอัลบั้มขายแรงแต่งนาง และการสร้างรางวัลมาลัยทอง ปี 2543 จากคลื่นวิทยุลูกทุ่งเอฟเอ็ม ซึ่งเป็นปีแรกของการจัดการประกาศรางวัลมาลัยทองสำหรับคนลูกทุ่ง ในแง่รางวัลเพลงสร้างสรรค์

แต่เพลงลูกทุ่งรุ่นใหม่ๆ ก็มีการกล่าวถึงชีวิตหนุ่มสาวโรงงาน และคนทำงานระดับกรรมกรมากมาย โดยเฉพาะเพลงในค่ายแกรมมี่โกลด์ นักร้องเกือบทุกคนจะมีเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคนใช้แรงงานทั้งสิ้นและเนื้อหาของเพลงลูกทุ่งรุ่นใหม่ๆ ก็สะท้อนภาพความเปลี่ยนแปลงของคนหนุ่มสาวเหล่านี้ ที่มีโทรศัพท์มือถือและไม่ได้ฟังวิทยุทรานซิสเตอร์แบบดั้งเดิมเสียแล้ว เมื่อสาวโรงงาน และผู้ใช้แรงงานรุ่นใหม่นี้ มีความสามารถในการดาวน์โหลดเพลงและส่งข้อความเอสเอ็มเอสไปในรายการวิทยุ ค่ายเพลงก็มักมีการจัดกิจกรรมคอนเสิร์ตเพื่อกลุ่มคนใช้แรงงานกันบ่อยๆ และกลุ่มคนเหล่านี้ได้กลายเป็นกลุ่มเป้าหมายใหญ่ที่สำคัญของคนทำคลื่นวิทยุลูกทุ่งเวลานี้อีกด้วย(5)

โดยประเด็นที่สำคัญที่พูดถึงงานเพลงจากบริษัทแกรมมี่โกลด์ คือ ความเกี่ยวพันของความสัมพันธ์ในอำนาจของเพลง ธุรกิจ การเมือง และสิ่งแวดล้อม สะท้อนความจริงทางสังคมผ่านศิลปะ ดนตรีเพลงพ่อของแผ่นดิน สะท้อนพ่อแห่งไทย (6) หรือ เพลงข้าวของพ่อโดยไมค์ ภิรมย์พร (7) และกรณีไหมไทย ใจตะวัน ก็ออกอัลบั้ม ที่มีชื่ออัลบั้ม บ่มีสิทธิ์เหนื่อย 2553 เพลงที่ 1.บ่มีสิทธิ์เหนื่อย เป็นภาพสะท้อนมิวสิควิดิโอ และเนื้อเพลงเกี่ยวกับแรงงานก่อสร้าง ในบริบทช่วงหลังเหตุการณ์ทางการเมือง และอัลบั้มต่อมา คือ อัลบั้มชื่อสังกัดพรรคเพื่อเธอ 2555 ซึ่งเพลงสนุกๆ คือ เพลงที่ 1.สังกัดพรรคเพื่อเธอ ส่วนประเด็นสำคัญต้องการสะท้อนต่อเนื่องในเพลงที่ 2. ของอัลบั้ม คือ เพลงคนอ่อนไหว..กำลังใจสำคัญที่สุด

ในที่สุด ท่อนเพลงสำคัญสอดคล้องกับภาพมิวสิควิดิโอ ที่แรงงานปกขาว คือ แรงงานแต่งตัวเป็นชายหนุ่มออฟฟิศแต่งตัวเสื้อเชิตทำงานหนักโดนเจ้านายด่า ท่ามกลางน้ำท่วม ซึ่งต่อมาเขาไปช่วยคนน้ำท่วมแถวโรงงาน และเขาก็ช่วยเด็กไว้ ทำให้เขาโดนไฟช็อตล้มลง ขณะนั้นโทรศัพท์มือถือจากแฟนโทรมาหาเขาช่วยเขาฟื้นคืนชีพได้ พร้อมเพลงประกอบมิวสิควิดิโอว่า ….ฉุดคนใกล้ตายมีแรงลุกขึ้น มาหายใจต่อ…

แต่ทั้งนี้เนื้อหาของเพลงที่เกี่ยวกับคนงานดังที่ได้กล่าวไปในปัจจุบัน ก็ยังไม่ได้เชื่อมโยงถึงปัญหาของแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นข้อเรียกร้องในวันแรงงาน หรือประเด็นผลกระทบน้ำท่วม ที่สร้างความยากลำบากให้คนงาน อาทิ การย้ายคนงาน ปรับลดคนงาน ฯลฯ ที่เป็นปัญหาแก่นแท้ของผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ในประเทศไทย




*หมายเหตุ
บทความเพลงรอรักวันแรงงาน สะท้อนเพลงลูกทุ่ง -lukthung [Thai country song] ปรับปรุงแก้ไขพร้อมใส่หมายเหตุสำหรับพื้นที่เผยแพร่ในไทยอีนิวส์ เป็นบันทึก เนื่องจากความสัมพันธ์ของผู้เขียนเคยเผยแพร่รายการเชียงใหม่ มุมใหม่-มุมตากล้องพาทัวร์ ที่มีมิวสิควิดิโอทดลอง เป็นช่องทีวีในยูทูบที่นี่ โดยใส่เพลงลูกทุ่งต่างๆ คือ ผู้เขียนได้ติดตามข่าวการเมือง และกิจกรรมการเมือง ในด้านหนึ่งของบางกรณีรักเมืองไทย เดินหน้าประเทศไทย และเล่าบริบทบทความของผู้เขียนในช่วงสงการนต์บางกรณีเพลงlet it beเป็นเบื้องหลังการเขียนชิ้นนี้ และต่อมาผู้เขียนทบทวนบทความของนิธิ เอียวศรีวงศ์ เพลงลูกทุ่งในประวัติศาสตร์วัฒนธรรมไทย เมษายน ๓ 2528 ในศิลปวัฒนธรรม สะท้อนแง่ด้านชนบทกับเมืองฯลฯ และความน่าสนใจบางด้านของชาตินิยม ในแง่การจากบ้านเกิดเมืองนอน เป็นการพลัดถิ่นของผู้คนข้ามพรมแดน


ซึ่งสะท้อนผ่านบทความของวิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา เส้นทางสายคิดฮอด:นิราศแห่งความจำนน,วารสารอ่านปีที่ 3 ฉ.4 ต.ค.2554-มี.ค.2555โดยสรุปย่อแบบผม คือ การอ้างอิงผลงานของธงชัย-James Mitchell,Red and Yellow songs : a historical analysis of the use of music by the united front for Democracy against Dictatorship(UDD)and the people’s Alliance for Democracy(PAD) in Thailand”,South East Asia Research 19:3,p.482 อธิบายถึงการเชื่อมโยงเพลงลูกทุ่งเป็นห้วงยามย้ายถิ่นฐานเข้ากรุงเทพฯ หรือการพลัดพรากจากพี่น้องลาวฝั่งเหนือของแม่น้ำโขง และมองย้อนกลับเพลงลูกทุ่งอาจจะเป็นเสียงสะท้อนวรรณกรรรมสยามอย่างนิราศมันหมายถึงบทกลอนที่เขียนเพื่อบอกเล่าถึงการเดินทางไกล และตามที่ธงชัย วินิจจะกูล ได้ตั้งข้อสังเกตก่อนหน้าครึ่งหลังศต.ที่19นั้น จุดประสงค์ไม่ใช่เพลิดเพลินสำหรับคนไทยชนชั้นแรงงานด้วยแล้วนั้น เพลงลูกทุ่งได้แสดงให้เห็นภาพการสูญเสียและการถูกทำให้พลัดพลาดโดยไม่ยินยอมพร้อมใจ…(ลองอ่านดูเพิ่มเติม)



เชิงอรรถ
1.ผู้เขียนปรับปรุงเพิ่มเติมข้อมูลจากคมเคียวคมปากกา-เพลงคนใช้แรงงานhttp://www.komchadluek.net/detail/20110502/96364/%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99.html


2.รอรักวันแรงงาน
http://radio.sanook.com/music/player/%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99/81675/

3.ผู้เขียนเรียบเรียงเพิ่มเติมจากศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ สิทธิดื้อแพ่ง, ความเป็นสาธารณะ และประชาธิปไตยของความเป็นศัตรูรัฐศาสตร์สาร 22, 3 (2543): 284-306

4.ชุดที่ 6 ขายแรงแต่งนาง (พ.ศ. 2542)
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B9%8C_%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%A3

5.จากคมเคียวคมปากกา-เพลงคนใช้แรงงาน,เพิ่งอ้าง

6. พ่อแห่งแผ่นดินhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99


7. ข้าวของพ่อ (2555) http://www.thai-farmer.com/thaifarmer/?p=281

**หมายเหตุ บทความเคยเผยแพร่ในประชาไท และไทยอีนิวส์ 

วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ปมปัญหาปลายปี56

ปมปัญหาปลายปี56

..The crisis consists precisely in the fact that the old is dying and the new cannot be born; in this interregnum a great variety of morbid symptoms appear.Antonio Gramsci, Selections from Prison Notebooks, 1971, p.276…

ปัญหาในแง่การเมืองของการจัดตั้ง กลุ่มเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.)แน่นอน นี่เป็นเรื่องสิทธิมองคนละมุม เห็นเครื่องมือคนละอย่างด้านหนึ่งกลุ่มคนเห็นทักษิณ เป็นเครื่องมือต่อสู้สำคัญ กลับกันคปท.กปท.เห็นว่ามันเป็นโอกาสเสียหายด้วย
                ส่วนเรื่องแกนนำกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ (กปท.) รวมถึงอดีตแกนนำสรส.ด้านแรงงานต่างๆนานา
หากย้อนกลับไปดูปิดท้ายมุมฝ่ายเชียร์บอกว่าแพ้-ชนะไม่สำคัญวันที่ 14 ตุลาคม 2516 ย่อมหนีไม่พ้นที่จะต้องอาศัยความพ่ายแพ้ครั้งแล้ว ครั้งเล่า ของผู้คนก่อนหน้านี้นั่นแหละ เป็นรากฐาน เป็นบันได จนทำให้ความเป็นเสรีชน ความเป็นอิสรชน กลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่าขึ้นมาจริงๆ กลายเป็นสิ่งที่ซื้อไม่ได้  ขายไม่ได้ เหมือนอย่างที่ นักเรียน นักศึกษา ประชาชนที่อุรุพงษ์

โดยผมนึกถึงแกนนำ คปท.คนหนึ่งพูดเรื่องคลิปถังเช่า การประเมินผิดพลาดของทักษิณ ถึงการประเมินคปท.กับเวทีของประชาธิปัตย์ ที่เลือกวันสุกดิบในวันที่ 11.. พร้อมการตัดสินคดีศาลโลก กรณีปราสาทเขาพระวิหาร ทหารไม่มายุ่งแน่ๆ แต่หลังจากนั้น ม็อบไม่หยุดจะบานปลายทางตัน ครับ

ถ้าเปรียบเทียบกับสมัยรัฐบาลสมัคร-สมชาย ที่ควบรมว.กลาโหมเหมือนยิ่งลักษณ์ จะเห็นปฏิกิริยาของทหารออกมาเสมอ เมื่อเกิดการชุมนุม แต่ตอนนี้กระแสข่าวว่าจะยุบสภา มีมาเป็นระยะๆ หลังถอยสุดซอยพรบ.นิรโทษกรรม ผ่าทางตัน ต้องประเมินวันต่อวันระวังสูตรบทเรียนปี2548-49กลับไปเจอรัฐประหารของทหารปี49 ครับ
ซึ่งหลักการเป็นเรื่องสำคัญ ในฐานะจุดยืนให้มั่นคง ไม่เลื่อนไหลตามอารมณ์ และกรณีตัวอย่างการวางยุทธศาสตร์ของพรรคประชาธิปัตย์ กับคปท.กปท. ถึงพันธมิตรฯ มาคืนดีประชาธิปัตย์เป็นแนวร่วมล้มรัฐบาล โดยความสามัคคี ส่วนยุทธวิธีการเคลื่อนไหวแต่ละจุด แยกเป็นจุดๆ ในกรุงเทพฯ เพื่อสร้างการเมืองบนท้องถนน นี่เป็นแนวของการยึดพื้นที่ ในศัพท์เก่าว่าสามัคคีนักการเมืองตีทหาร สามัคคีทหารตีนักการเมือง อย่างนี้เป็นต้น แต่แนวนี้สามัคคีนักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ ตีทหารให้ออกมาร่วมรบ (นี่จะเป็นอันตราย)  
ทั้งนี้ ม็อบยุทธศาสตร์ล้มรัฐบาล เดินไปสุดทางออกรูปแบบผลลัพธ์ลงเอย โดยยุทธวิธีหลายรูปแบบ ครับ
แกนนำผู้ชุมนุมคัดค้านร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมได้ขีดเส้นตายให้การชุมนุมยุติภายในช่วงสิ้นเดือน พ.ย.นี้ว่า การกำหนดกรอบเวลายุติการชุมนุมภายในสิ้นเดือนนี้ เป็นช่วงเวลาที่จะมีเหตุการณ์หลายอย่างเกิดขึ้น ทั้งการวินิจฉัยคำร้องเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นที่มาของส.ว.และการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ในด้านหนึ่งบทเรียนจากม็อบแช่แข็งประเทศไทย1-2 กลุ่มผู้ชุมนุมไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊กของ "องค์การพิทักษ์สยามและภาคีเครือข่าย", "กลุ่มสยามสามัคคี", "กลุ่มสยามประชาภิวัฒน์", "กลุ่มเสื้อหลากสี" เป็นต้น โดยสนธิ ลิ้มฯ ไม่ร่วมตอนนี้กลับมาร่วมเปิดหน้าแสดงความคิดเห็น
กรณีม็อบแช่แข็งของ เสธ.อ้าย จาก2555-56 พลิกกลับมาให้เห็นพลังหนุนหลังของพันธมิตรฯ ในแง่นั้นครับ
เมื่อประสบการณ์จัดการเคลื่อนไหวของพื้นที่ต่างจากเดิมของประชาธิปัตย์ กับการชุนนุมจุดสาม ต้องทบทวน"critical area"ว่ามาแนวร่วมพันธมิตรฯ จากเหมือนดูหนังพันธมิตรฯ จำนวนไม่เยอะสู้ แตกหักรัฐบาลประชาธิปัตย์ได้(บริเวณสะพานมัฆวานและหน้าทำเนียบรัฐบาล 25..-2..2554) จนกระทั่งรัฐบาลยุบสภา10..54เปลี่ยนรัฐบาล กลับคืนดีกัน  มาร่วมตีรัฐบาลในปัจจุบัน ครับ
ทั้งนี้ การเมืองจากสถานที่ม็อบสถานีรถไฟสามเสนมายังที่ถนนราชดำเนิน สัญลักษณ์ที่ออกแบบเป็นอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ต่อมาเคลื่อนหลายจุด ยึดพื้นที่ น่ะครับ
ดังนั้น ข้อเรียกร้องของม็อบจะเลื่อนไหลแบบใดก็ตาม แต่การเคลื่อนไหวของการต่อต้านรัฐบาลอย่างน้อย คือ ยุบสภา มากกว่านั้นอีกเรื่องหนึ่ง ส่วนฝ่ายปกป้องรัฐบาล โดยจุดยืน มีให้ยุบสภา กับไม่ยุบสภา สำหรับผมอ่านข่าวการเมืองสุดร้อนแรง!...ทางออก3ทาง(ไม่รวมวิธีพิเศษ) 1.ยุบสภา 2.ลาออก 3.รัฐบาลสู้แรงกดดันทางการเมืองต่อไป นี่แหละรัฐเลือกแบบที่3 รัฐคงดำเนินแบบนี้และเคลียร์ทางเจรจา ให้ม็อบคนดีแสดงออกด้วย(ระวังม็อบดีแตก) ทบทวนกรณี2551,2552,2553,2554,2555 ส่วนผมคิดเพิ่มเติมอย่าใช้วิธีเหมือนม็อบเสธอ้าย เข้ากระชับพื้นที่ ในนาทีนี้ ครับ
อย่างไรก็ตาม ผมรวบรวมประมวลเฟซฯ โดยรัฐบาลประกาศยุบสภา ล่าสุด เช่น คนแน่นสนามม้านางเลิ้ง อย่างกับสภาสนามม้า ยุคสัญญา ธรรมศักดิ์ ไม่ๆ อย่ามาพยายามเลย สุเทพสุดทางที่นี่ ในประเด็นสภาประชาชนหลงทางกลับบ้านไม่ได้ครับ                                                              
                                                                                                                                อรรคพล สาตุ้ม     

 หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรก* ปมปัญหาปลายปี56 โดย อรรคพล สาตุ้ม :9 ธันวาคม 2556
http://thaienews.blogspot.com/2013/12/56.html