วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Democracy against capitalism

Democracy against capitalism

2 กุมภาฯ
เมื่อผมติดภารกิจกับคณะพิพิธภัณฑ์คุยกัน(*) ต่อมา ณ บ้านอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งเรานั่งคุยกันหลายเรื่องผมโฟกัสเล่าเรื่องอนาคตต่อโอกาสสร้างพิพิธภัณฑ์แรงงาน ณ เชียงใหม่กับลำพูน(**) ที่พยายามสร้างร่วมกัน(***) โดยผมถ่ายภาพการเดินทาง และแวะตลาดสำหรับของฝาก ครับ

*มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย โดยความร่วมมือของมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท กำหนดจัดงานเสวนาเรื่อง “Public History : ประวัติศาสตร์สาธารณะกับงานขององค์กรแรงงาน” และ การฝึกอบรมหลักสูตรเร่งรัดในการสร้าง Website ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป WordPress โดยอาสาสมัครที่เป็นผู้เชี่ยวชาญชาวเยอรมัน ให้กับแกนนำแรงงานองค์กรต่างๆที่สนใจ
http://voicelabour.org/board/index.php?topic=291.msg297;topicseen#new
**บทสนทนาช่วยให้ผมกลับไปทบทวนอ่านเข้าใจมากขึ้นจากนามธรรม(จินตนาการ/ความคิด/รู้สึก)สู่รูปธรรม ในหนังสือชุมชนจินตกรรมฯ ในบทสำมะโนประชากร(ในฐานะบัตรประชาชน) แผนที่ พิพิธภัณฑ์(ในฐานะชาติ/อาณานิคม ซึ่งคนไทยกับฝรั่งเคยเขียนแนวนี้)เล่าสั้นๆ บทสนทนาส่งผลทบทวนความทรงจำกับหลงลืม

***ภาพเก่าตอนผมร่วมเสวนาสมัยพิพิธภัณฑ์ฯสัญจรฯ มีโอกาสก็อยากไปดูพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย
เสวนาแรงงาน และสื่อสาธารณะ(ภาคเหนือ)
ที่นี่ไม่ใช่พิพิธภัณฑ์แสนพิศวง พิพิธภัณฑ์สุดพิสดารทั่วโลก น่ะครับ(ฮร่า)
55555คนทำสื่อได้ออกสื่อนานๆ ครั้ง จะมีโอกาสเมื่อวานลืมรำลึก2กพ.57 เลือกตั้ง ด้วย ครับ
วิกฤติการเมืองไทย(Thai political crisis)ปรี๊ดๆๆๆ

3 กุมภา
หลายวันก่อนการเดินทางมาเล่าต่อเนื่องบทสนทนาผ่านอาหารหลายชาติ ทำให้ผมคิดเรื่องชาติ(*) และเราคุยเรื่องศาสนา(**) ถึงบ้านเมือง รวมทั้งมหาลัยไม่ใช่ค่ายทหาร คือ คนโดนคดี อ.อรรถจักร์(สอนประวัติศาสตร์) อ.สมชาย(สอนกฏหมาย)แห่งกลุ่มมหาลัยเที่ยงคืนด้วย

ซึ่งอาจารย์ทางด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง มีบทสนทนาในกลุ่ม ก็เห็นตรงกันเรื่องเศรษฐกิจน่าเป็นห่วง ต่อมาผมกลับมาคิดเรื่องประชาธิปไตยในสังคมทุนนิยม ไม่ว่าร่างรัฐธรรมนูญจะออกมารูปแบบใด ถ้ารัฐไม่ตอบสนองสังคมให้เศรษฐกิจไม่ดี ก็น่าเป็นห่วง
ส่วนตัวผมตั้งข้อสังเกต ต่อ Labouring multitudeหรือเราสามารถเข้าถึงผลอุดมการณ์ของความสัมพันธ์สมัยใหม่ ระหว่างปัจเจกพลเมืองและ ชุมชมพลเมือง หรือชาติ ออกจากconsidering the degree to which that ‘imagined community’ is a fiction,a mythical abstraction(นามธรรม), in conflict with the experience of the citizen’s daily life.(ชีวิตประจำวัน***)

โดยสรุปแล้ว บทสนทนาได้สาระความรู้ และเอร็ดอร่อยได้รสชาติ ผมเสียดายไม่มีรูปอาหารแถมภาพประกอบการการเดินทางกับเรื่องเล่าด้วย ครับ(****)

*ลิ้นเป็นอนุรักษ์นิยมมากที่สุดในร่างกาย เพราะรสชาติ ซึ่งการพูดของอ.ธเนศ วงศ์ฯ ในเรื่องชุมชนจินตกรรมฯ เป็นการย่อยแนวคิด ที่เขาเคยเขียนไว้ ถ้าใครเป็นแฟนคลับอ.ธเนศ วงศ์ฯ และเขา กล่าวย่อต้องฟังเรื่องปัจเจก หรือศาสนากับการเมือง ไม่เคยแยกออกจากกันได้ และไม่มีวันแยก… แล้วคำคมนักวิชาการที่ดีต้องเป็นนักวิชาการที่อกหัก…อกหัก จึงจะเห็นอะไรบางอย่าง…ครับ
re:reading 5: ชุมชนจินตกรรม part 2(อ.ธเนศ วงศ์ฯ)
**ผมได้ลองติดตามข่าวคณะสงฆ์เชียงใหม่หนุนกำนัน ผญบ. อปท. 25 อำเภอค้านตั้งนิคมฯ ฮาลาล
26 มกราคม 2559
http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9590000009205
แรงต้านนิคมฮาลาลเชียงใหม่เริ่มโผล่ กำนัน-ผญบ.ดอยหล่อขยับค้านสุดตัว
26 มีนาคม 2558
พระเชียงใหม่ไม่หยุดต้านอิสลาม ปลุกกระแสไม่เอานิคมฮาลาลเชียงดาว ระบุป่าล้อมเมือง
๒๖ ต.ค. ๕๘
http://www.muslimtoday.in.th/?modules=article&id=3942
***Ellen Meiksins Wood(เพิ่งเสียชีวิตไปเดือนที่แล้วลองเสริช์ดูได้ครับ) – Democracy against capitalism
ในบทThe demos versus ‘we,the people’อ้าง(On the nation as an ‘imagined community ‘see Benedict Anderson,Imagined Communities) ดูเพิ่มเติมบทสนทนาหนังสือเล่มนี้ได้ ครับ
****แรงงานนอกระบบเป็นแม่ค้าในตลาดแห่งหนึ่งของเชียงใหม่กับปฏิทิน ครับ
ผมเข้าใจที่อ.ธเนศ วงศ์ฯ พูดในยูทูปก็บอกว่าการอ่านเยอะก็เป็นปัญหาของปัญญาชน คนทั่วไปเขาไม่อ่านดูทีวีกันเยอะฯลฯ หรือยกตัวอย่างสื่อที่ผมใช้แทนอ่านร่างรัฐธรรมนูญ ก็ดูทีวีเขาสรุป หรือย่อๆจากอ่านข่าว ส่วนเรื่องเล่าบทสนทนากินอาหารต่อจากเรื่องเล่านี้ ครับ https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1220314727997753&id=100000577118415

ผมนั่งกินข้าวคุยกันหลายเรื่องเฉพาะแค่รสชาติ ก็คงยาว นี่ผมเห็นเรื่อง วิทยาศาสตร์ ว่าด้วยรสชาติ National Geographic ภาษาไทย
http://www.ngthai.com/ArticleDetail.aspx?ArticleId=2218&Title=%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%20%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4#.VrQreNJ961s

ส่วนตัวผมวันศุกร์นายกฯทหารออกทีวีอยากขยายความเรื่องการเมืองหน่อย ทำไมประยุทธ์ แพ้คำถามเลือกตั้งของนักข่าว ยั๊วะด่านักข่าวที่เป็นข่าว จนต้องขอโทษ ไม่งั้นเละเทะยิ่งกว่านี้(Sh*t) เนื่องจากหลักการประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพ เสมอภาค ฯลฯ ประชาธิปไตยต้องการตรรกะอย่างเหตุผล และประชาธิปไตยต้านทุนฯอย่างชาวบ้านไม่เอาเหมืองแร่ แต่เผด็จการทหารจะเอาด้วยซ้ำ ยกตัวอย่างง่ายๆ ครับ (ถ้าสนใจบริบทอื่นๆ ในหนังสือDemocracy against capitalismมีให้ดาวนโหลดฟรีในยุคดิจิตอล ครับ)
http://ebooks.cambridge.org/ebook.jsf?bid=CBO9780511558344
The demos versus ‘we, the people’: from ancient to modern conceptions of citizenship pp. 204-237
http://ebooks.cambridge.org/chapter.jsf?bid=CBO9780511558344&cid=CBO9780511558344A015

4 กุมภา
ผมปฏิบัติภารกิจงานต่อเนื่องเพิ่งกลับมาด้วย ส่งท้ายก่อนนอน กับหนังสั้น ที่จากกระบวนการปีที่แล้ว

5 กุมภา
ครบรอบหนึ่งปีจากเริ่มงานมาจบงาน โดยผมเผยแพร่หนังสั้นนางส่วย จบไตรภาคของกฏหมายแรงงาน แท็กขอบคุณ ผู้ร่วมทำงาน แชร์ไอเดียต่างๆนานา ที่มีเฟซฯ ราตรีสวัสดิ์ ครับ
หนังสั้นเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับข่มขืน ไม่โหดเหมือนละคร(ทีวี) 10 เรื่อง “ข่มขืนแล้วเป็นพระเอก” ชาวเน็ตถามมิใช่บันเทิงไทยที่มีส่วนเป็นต้นเหตุหรอกหรือ? + ‘Sexual consent and Tea’ Video

http://thaienews.blogspot.com/2016/02/10-sexual-consent-and-tea-video.html
6 กพ.59
หลายวันก่อน ผมบังเอิญเจอพระเอกหนังสั้นศรีปิงเมือง(ที่ผมเป็นผกก.)ไม่พบกันหลายปี ซึ่งผมทักทายจายล้อมวุน บอกเป็นนักร้องดังแล้ว 555
ส่วนน้องสาวเชียร์เบียร์บอกเรียนรัฐประศาสนศาสตร์ และผมถามขำขำเราใช้รัฐธรรมนูญฉบับปีใดอยู่ น้องบอกหนูลืมคืนอาจารย์หมดแล้ว น่ะ ค่ะ (555 ) ราตรีสวัสดิ์ ครับ

8 กพ.
ผมเข้าวัดต้อนรับตรุษจีน โดยภาพจิตรกรรมรูปคนจีนทรงผมหางเปีย (ฯลฯนี่เป็นภาพบางส่่วน) เป็นภาพดูเก่าแก่ ที่ผมยังไม่พบคำอธิบายประวัติ และเรื่องเล่าของภาพจากหนังสือ ข้อมูลเน็ตฯ ณ วัดชมพู อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โชคดี ราตรีสวัสดิ์ ครับ

Book, Liberal Arts-Painting

Book, Liberal Arts-Painting

1 มกรา 59
วันนี้วันดีปีใหม่ใส่ใจให้ทุกคน
สารของภาพต่อเนื่องเรื่องสุข
ทุกข์ใดให้ลืมเลือนเหมือนฝัน
ราตรีสวัสดิ์คัดสรรบรรดาลาเก่า

2 มกรา
วันที่2 มกราปีที่แล้วไปทำบุญมาด้วยพบภาพเก่า ยังไม่ได้โพสต์ ณ วัดอุปคุต และปีนี้ไปทำบุญ ถ่ายรูปทั้งวัดเจดีย์หลวง วัดเชียงยืน อนาคตหวังว่าโชคดียั่งยืนมั่นคง แต่วันนี้ผมพบเรื่องเหนื่อยๆ ต้องนอนก่อน ราตรีสวัสดิ์ ครับ

3 มกรา
ผมเข้าวัด ลาปีแพะหรือมะแม(ปีเกิดของผม)ทำให้ผมนึกถึงมีภาพจิตรกรรมฝาผนังของวัดสันป่าข่อย และปีลิงผมคิดถึงภาพจิตรกรรมสมุดภาพไตรภูมิ เป็นรูปลิง(หนุมาน) นี่แหละคนเคยเรียนศิลปะต้องเข้าวัดด้วย ครับ ราตรีสวัสดิ์^^

6 มกรา
ผมปั่นจักรยานไปตามวัด และแวะถ่ายภาพบางแห่ง ส่วนที่นี่มีภาพหญิงสาวกับจักรยาน ในจิตรกรรมฝาผนังของวัด โดยมีภาพวัชรอาสน์ที่ประทับตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ซึ่งถือกันว่าเป็นศูนย์กลางของโลก รายล้อมด้วยบ้านเมืองต่างๆ… โดย“ปั๋น” จิตรกร “บ้านฮ่อ” เชียงใหม่ ที่วาดภาพ ณ วัดบุพพาราม วัดอุปคุตและวัดสันป่าข่อย(*)
*ข้อมูลเพิ่มเติม
http://www.museum-press.com/content–3-1664-103158-1.html

7 มกรา
ผมขี่จักรยานไปทบทวนความทรงจำพื้นที่เชียงใหม่ ในความหลงลืม(*) จึงถ่ายภาพไว้เป็นภาพศิลปะช้างไอยราพรต….เมื่อจินตกรรมแบบชาตินิยมให้ความสำคัญกับเรื่องความตาย ความเป็นอมตะ นี้ย่อมชี้ให้เห็นถึงความเกี่ยวพันกับจินตกรรมทางศาสนาอย่างแน่นแฟ้น และด้วยเหตุที่ความเกี่ยวพันนี้มิได้เป็นเรื่องบังเอิญแต่อย่างใด

จึงอาจจะมีประโยชน์ที่เราจะเริ่มพิจารณารากฐานทางวัฒนธรรมของลัทธิชาตินิยมด้วยประเด็นเรื่องความตาย ในฐานะสิ่งสุดท้ายในบรรดาเคราะห์กรรมทั้งปวง แม้ว่าลักษณะการตายของคนเราจะดูไม่แน่นอน

แต่ภาวะความตายเป็นสิ่งที่หนีไม่พ้น ชีวิตมนุษย์เต็มไปด้วยความเชื่อมโยงระหว่างความแน่นอนกับความไม่แน่นอนเช่นนี้ เราทุกคนตระหนักดีว่ามรดกเฉพาะตัวทางพันธุกรรมของเรา เพศสภาพของเรา ยุคสมัยของเรา ความสามารถทางกายของเรา ภาษาแม่ของเรา และอื่นๆ ล้วนเป็นภาวะบังเอิญที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

คุณูปการอันสำคัญของโลกทัศน์ทางศาสนาดั้งเดิมต่างๆ (ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องแยกให้ออกจากบทบาทของศาสนาเหล่านี้ ในการสร้างความชอบธรรมให้กับระบบครอบงำหรือกดขี่แบบใดแบบหนึ่ง) อยู่ที่การให้ความสำคัญต่อประเด็นเรื่องมนุษย์-ใน-จักรวาล ต่อมนุษย์ในฐานะ “สปีชีส์”หนึ่ง และภาวะบังเอิญของชีวิต ความอยู่รอดอย่างน่าอัศจรรย์นับพันๆปีของพุทธศาสนา คริสต์ศาสนา หรืออิสลาม ในแบบแผนทางสังคมที่แตกต่างหลากหลาย ย่อมเป็นเครื่องยืนยันถึงการตอบสนองอย่างเปี่ยมด้วยจินตนาการ ต่อภาระอันหนักอึ้งของความทุกข์ยาก

ที่มนุษย์ต้องเผชิญ-ความเจ็บป่วย ความพิกลพิการ ความเศร้าโศก ความแก่ชรา และความตาย ทำไมฉันถึงเกิดมาตาบอด ทำไมเพื่อนรักของฉันถึงเป็นอัมพาต ทำไมลูกสาวของฉันถึงปัญญาอ่อน ศาสนาทั้งหลายล้วนพยายามให้คำตอบ

จุดอ่อนที่สำคัญของวิธีคิดเชิงวิวัฒนาการ/ก้าวหน้าทั้งปวง(เสรีนิยม) รวมทั้งลัทธิมาร์กซ์อยู่ตรงที่ว่า คำถามเหล่านี้ล้วนถูกตอบด้วยอาการเงียบงันไม่ยี่หระ ยิ่งกว่านั้น ความคิดเชิงศาสนายังให้คำตอบเป็นนัยๆ ต่อความเป็นอมตะด้วยวิถีทางต่างๆ ซึ่งโดยทั่วไปก็คือ การเปลี่ยนเคราะห์กรรมให้กลายเป็นความสืบเนื่อง(กฎแห่งกรรม บาปกำเนิด และอื่นๆ) ด้วยแนวทางเช่นนี้ วิธีคิดเชิงศาสนาจึงให้ความสำคัญต่อสายสัมพันธ์ระหว่างผู้ล่วงลับกับผู้ยังไม่เกิด อันเป็นความลี้ลับแห่งการเกิดใหม่

ครั้นเมื่อลูกหลาน ของพวกเขา ปฏิสนธิและกำเนิดเกิดมา มีใครบ้างล่ะหรือที่ผ่านประสบการณ์เช่นนี้ โดยไม่รู้สึกบางอย่าง ด้วยภาษาที่แสดงถึง “ความสืบเนื่อง” (ก็อีกนั่นแหละ ข้อเสียเปรียบของความคิดเชิงวิวัฒนาการ/ก้าวหน้านั้น อยู่ที่การเป็นปฏิปักษ์ต่อแนวความคิดว่าด้วยความสืบเนื่องใดๆ…)

ผู้เขียนหยิบยกข้อสังเกตที่อาจดูพื้นๆ เหล่านี้ขึ้นมา….ความเชื่อทางศาสนาอาจเสื่อมถอยลงไป แต่ความทุกข์ยาก ซึ่งความเชื่อเคยทำให้ทุเลาลงได้นั้น มิได้หายไปด้วย…(**)

โดยสรุปแล้ว ผมถ่ายภาพไว้ต่อมาได้แรงบันดาลใจมาเขียนสืบเนื่องนึกถึงสวรรค์ แผนที่โบราณ ทศชาติ และพุทธประวัติจากสมุดภาพไตรภูมิฯในความเป็นชาติไทย(***)ด้วย ครับ

*ความคิดต่อเรื่องพื้นที่และเวลา จากบางส่วนรำลึกอ.เบน กับหนังสือชุมชนจินตกรรมฯ

**เรียบเรียงจากส่วนหนึ่งของบทรากฐานทางวัฒนธรรม ในชุมชนจินตกรรม: บทสะท้อนว่าด้วยกำเนิดและการแพร่ขยายของชาตินิยม(ฉบับแปล) ที่มีอิทธิพลต่อกำเนิดสยามจากแผนที่ : ประวัติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ(ฉบับแปล)
***หนังสือแผนที่แผนทางฯ ของไมเคิล ไรท์ กับการตั้งชื่อว่าสมุดภาพไตรภูมิ โดยแบ่งสมุดภาพนี้เป็นแผนที่โลกพุทธศาสนากับแผนที่เดินเรือฯ ซึ่งรายละเอียดอธิบายชื่อสมุดภาพฯ แผนที่ไตรภูมิ(ดูเพิ่มเติมลิ๊งค์หนังสือดังกล่าว) ส่วนตัวผมกับข้อสังเกต ในสมุดภาพไตรภูมิฉบับกรุงศรีอยุธยา-ฉบับกรุงธนบุรี ที่มีพระนารายณ์กับเขาไกรลาส
สมุดภาพไตรภูมิฉบับกรุงศรีอยุธยา เล่มที่ 6
http://ebooks.dusit.ac.th/sdubook/openbook.nsp?view=IKNOW&db0=RareBook&cid_bookid=200501050911447960000000185&cid_chapid=10000000001&recid=&numresults=10
สมุดภาพไตรภูมิฉบับกรุงศรีอยุธยา เล่มที่ 8(ช้างไอยราพรต)
http://ebooks.dusit.ac.th/sdubook/openbook.nsp?view=IKNOW&db0=RareBook&cid_bookid=200501050911447960000000185&cid_chapid=10000000001&recid=&numresults=10
สมุดภาพไตรภูมิฉบับกรุงธนบุรี เลขที่ 10 ภาพเขาไกรลาส และพระนารายณ์หายไป(ช้างเอราวันหรือช้างไอยราพรต ปรากฏในรามเกียรติ์ อยู่ในเล่มที่1เล่มที่10/เล่มที่10 ก)
http://ebooks.dusit.ac.th/sdubook/openbook.nsp?view=IKNOW&db0=RareBook&cid_bookid=200501191011024370000005771&cid_chapid=10000000001&recid=&numresults=10
สมุดภาพไตรภูมิฉบับกรุงธนบุรี เลขที่ 10 ก ภาพเขาไกรลาส และพระนารายณ์กลับมาแล้ว
http://ebooks.dusit.ac.th/sdubook/openbook.nsp?view=IKNOW&db0=RareBook&cid_bookid=200501191011024370000005771&cid_chapid=10000000001&recid=&numresults=10

8 มกรา
ภาพจิตรกรรมวัดปทุมวนาฯ เป็นภาพสะท้อนประวัติศาสตร์การทหารของชาติ(*) ซึ่งผมนึกถึงเคยเขียนบทความสะท้อนผ่านปวศ.เรื่องทหาร…(ถ้า)“ทหารไทยนี้รักสงบ” เป็นจริง ไม่มีการเข่นฆ่าประชาชนโดยทหารในอนาคตอีกต่อไป(**ดูข่าวคนตายวัดปทุมวนาฯ) โดยเขียนเพิ่มบรรทัด แม้ทหารแต่งกายเครื่องแบบพยายามอย่างสมัยใหม่หรือทันสมัยอย่างอเมริกา หรือยุโรป แต่หัวใจไม่มีประชาธิปไตย คือ รัฐประหารผิดกฏหมายเชื่อมโยงกับกลุ่มคสช.(ประยุทธ์ในฐานะทหารปี53-57 ทหาร ฯลฯ) ครับ

ส่งท้ายอย่างสั้นๆ จงระวังชะตากรรมตามทันทหารไทย ทั้งหลายอย่างนี้เป็นกฎแห่งกรรม…

*ภาพจากหนังสือวัดปทุมวนาราม ชุดจิตรกรรมฝาผนังในประเทศไทย(จิตรกรรมวัดปทุมฯ)
การเขียนภาพโดยอิงเรื่องราวจากนิทานพื้นบ้านเรื่อง ศรีธนญชัย หรือ เชียงเมี่ยง ซึ่งนับว่าถูกแก่กาลเทศะ และวัตถุประสงค์ในการสร้างวัดประทุมวนาราม อีกทั้งเรื่องศรีธนญชัยยังเป็นที่รู้จักกันดีของคนไทยและคนลาว เพราะชุมชนโดยรอบในสมัยนั้นส่วนใหญ่เป็นชาวล้านช้าง
http://www.lungkitti.com/product.detail_846915_th_6297825#
http://www.rimkhobfabooks.com/book-division/-457/974-736-757-2
http://www.pantipmarket.com/mall/rarebooksstore/?node=products&id=175530
**เกร็ดเรื่อง “วันกองทัพไทย” และ .. สู่อนาคต “ทหารไทยนี้รักสงบ”
http://prachatai3.com/journal/2011/01/32710
‘แม่น้องเกด’ทำกิจกรรมรำลึกถึงบุตรสาว
http://www.dailynews.co.th/crime/286531
(เกด พยาบาลอาสาที่ถูกยิงเสียชีวิตภายในวัดปทุมวนาฯ)
แม่เกด-พ่อเฌอ ใส่เสื้อดำจุดเทียนบอกเหยื่อปืนพ.ค.53 เดินไปคอกวัวค้านมติปปช.สั่งไม่ฟ้องมาร์ค-เทือก เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 6 ม.ค.(2559) ที่วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร
http://www.khaosodonline.com/view_newsonline.php?newsid=1452073180

9 มกรา
555 ผมเพิ่งกลับจากร้านเช่าหนังปิดกิจการเขาเลหลังขายหนังแผ่นVCD หกสิบแผ่นหกสิบบาท ได้วู้ดดี้ อัลเลน มาหลายแผ่น ในฐานะแฟนคลับเคยดูหนังมาบ้างหรือเปล่า จำไม่ได้แล้ว แน่นอนผมสาวก หนังของหว่องกาไว ต้องสะสมหนัง2046 และMy Blueberry Nights ทั้งที่ดูแล้ว หนังThe Bridges of Madison county(หนังเกี่ยวกับตากล้อง) ก็ดูแล้วอยากสะสม

แต่หนังมารีลิน มอนโร(Niagaraไม่เคยดู) โดยฉลองวันเด็ก ไปหลายรอบมากร้านนี้ก่อนหน้าเจอเพื่อนไม่ได้เจอกันตั้งนาน โดยบังเอิญ และรุ่นน้อง สนทนาตามสภาพเลือกหนังกัน แล้ววันนี้ก็เจอเพื่อนอีก คุยเรื่องลองแผ่นหนังไปบ้าง เช่น มังกรคู่สู้สิบทิศ ผมคอกำลังภายในชอบหวงอี้ตั้งแต่หนังเจาะเวลาหาจิ๋นซีเคยอ่านนิยายและการ์ตูน จนลืมแล้วส่วนมังกรคู่นี้เรื่องเคล็ดวิชาคัมภีร์อมตะ แหะๆเล่าสั้นๆสำหรับหนังรอบดึก(ฯลฯ) ราตรีสวัสดิ์ ครับ

10 มกรา
ผมซื้อหนังSINCE OTAR LEFT…ผมเคยเล่าดูแล้วรีวิวสั้นๆ เห็นภาพครอบครัวผูกพันยอมขายหนังสือดีๆที่สะสมไว้ทั้งวรรณกรรมของมาร์แซล พรูสต์ เรื่องในการค้นหาวันเวลาที่สูญหาย เพื่อตามหาลูก หรือผมเคยเล่าดูแล้วหนังรักเกาหลี Christmas in August ตากล้องร้านถ่ายรูปกับตำรวจสาว ความสัมพันธ์กับครอบครัวเบื้องหลังของชีวิตชายหนุ่ม

ส่วนหนังดีประจำปี58 ซึ่งผมเพิ่งได้ดูหาเก็บสะสมไว้ไม่ได้ เกี่ยวกับอ่านหนังสือแตกๆ แบบขำๆ ที่ผมได้ดูฟรีทางเน็ตเรื่องLiberal Arts(*) บทสนทนาเรื่องการตัดสินว่าหนังสือไหนดีไม่ดี เป็นเผด็จการแล้ว นางเอกบอกพระเอกที่ชอบอ่านหนังสือ(นัยยะของการอ่านหนังสือแตก ทำให้พระเอกไม่ฟันสาวอายุ19อ่อนกว่าตนฮร่าๆ)

หนังที่สื่อเรื่องวุฒิภาวะของวัยพระเอก ที่มีอายุกลางคน เริ่มผมหงอก สุขุมมากขึ้น (วุฒิภาวะคืออะไร?/โตขึ้นมีงานมีเงินมีเมียมีลูก หรือ”หัว” “ใจ”ฯลฯ) ดูแล้วตัวละครหลายคนสะท้อนอะไรได้อีกดูฮร่าๆก็ได้

*ผมยังไม่เคยเขียนถึงหนังเรื่องนี้ดูคอมเม้นท์ทั้งด้านลบด้านบวกเพิ่มเติมและหนังได้
หนังที่ห่วยแตกที่สุดเท่าที่เคยดู …..
http://pantip.com/topic/30936501
http://www.imdb.com/title/tt1872818/?ref_=ttmd_md_nm
http://video.mthai.com/trailer/player/1440769058.html
(น่าคิดนิยามความหมายของชื่อ: Liberal arts-ศิลปศาสตร์ ใน วิกิพีเดีย ลองหาดูเพิ่มเติมด้วยครับ)

12 มกรา
เมื่อวานผมบังเอิญเจอผู้กำกับหนังสั้น ที่เคยร่วมงานกันทำหนังสั้นเรื่อง “อัญชัน” มาจากกรุงเทพฯ แวะเชียงใหม่ เลยบอกว่าจะพาไปดูฉากร้านเหล้า บาร์ ที่ติดโรงเรียน… ในหนังเกรียนฟิคชั่น ซึ่งผมเคยดูบนรถทัวร์เป็นหนังวัยรุ่นไม่ธรรมดา พวกเด็กนักเรียนถ่ายคลิปลงยูทูป ทำหนังสั้น และความรักซ่อนเงื่อนปมถึงวัยเกินวัยรุ่นด้วย ที่มีอะไรอึ้งตอนจบสำหรับผม(บอกไม่ได้เดี๋ยวหาว่าสปอยส์ๆ ฮร่าๆ) บังเอิญทีมงานหนังสั้นอีกคน อยากฟังเพลงที่ร้านหนึ่ง ซึ่งต่อมาผมเห็นสาวฝรั่ง ในร้าน ทั้งที่มีคนไทยมากกว่าฝรั่ง นั่งฟังเพลงนักร้อง นักดนตรีเล่นเพลงรำลึกถึงเดวิด โบวี่
เมื่อผมนั่งฟังทั้งการเล่นเพลงของวงพิงก์ พลอยด์ (Pink Floyd),เรจอะเกนสต์เดอะแมชชีน (Rage Against the Machine) และคนในโต๊ะขอเพลงวงเนอร์วานา (Nirvana) รวมทั้งเพลงวงอื่นๆ ที่เล่ามาจะจบอย่างหักมุม ผมก็ขับรถมอเตอร์ไซด์กลับมาถ่ายรูปอุบัติเหตุแล้วแป๊บเดียวปรากฏว่ามีฝรั่งผู้ชายขับมอเตอร์ไซด์มาถามทางผม เห็นกระเป๋าเขามีดอกกุหลาบด้วย ดีที่เขาไม่มาขอความรักกับผม(ฮร่า)

13 มกรา
หนังสั้นที่ทำปีที่แล้วเสร็จจบด้วยดี ได้ปรากฏเป็นแผ่นหนังมาถึงมือของผม แล้วเลยแอ็คอาร์ตก่อนนอน ราตรีสวัสดิ์ ครับ

14 มกรา
วันอาทิตย์ที่11นัดคุยกับรุ่นน้อง ที่ไม่ได้เจอกันตั้งนาน ทั้งเรื่องนำเสนองาน และชีวิต(ฯลฯ) ต่อมาวันอังคารกับวันพุธผมออกพื้นที่ โดยถ่ายรูปเก็บภาพ ณ สถานที่รอบๆ บรรยากาศธรรมชาติ ฯลฯ และผมเจอเกษตรกร ก็ถ่ายรูป เป็นรุ่นพี่เค้ารู้จักกับผม หลังถ่ายเสร็จแชะภาพ ผมบอกจะไปโพสต์เฟซบุ๊ค บอกชาวนาจนโดนคนขโมยของหลายรอบที่นี่ เขาหัวเราะคนเห็นรูปบอกอ้วน ฉิ.. หาย อย่างนี้ไม่จนแล้ว 555 อ่ะ น่ะ (ไม่ได้คุยเรื่องหนี้สินเกษตรกร ไม่ได้ถามเปรียบเทียบชาวสวนยางแล้ว ชาวนา ทำไง ภัยแล้ง และข้าวขายไม่ได้ฯลฯ)
โดยเรื่องคุยอื่นๆ สมมติถ้าเขาคุยเรื่องเมื่อไหร่ผมหาเมียได้สักทีกันอีก ผมเตรียมจะบอกว่าอยากเป็นนักเขียน มีเมียช่วยเก็บเงินหลังกลับมาบ้านบอกเมียตกงาน แต่เมียบอกคุณก็เขียนหนังสือได้แล้วสิ คุณมีพรสวรรค์อย่างผู้เขียนThe scarlet letter(หนังสือ-หนัง*)ที่มาหนังสือพลังแห่งชีวิต : Chicken Soup for the Soul มองโลกอย่างแง่ดี(ยุคนี้ออมเงินผ่านประกัน ฯลฯ) ก็เผื่อความสบายใจ เดี๋ยวจน เครียด…ขำขำ ฮร่าๆ ครับ
* Chicken Soup For The Soul ในเรื่องencouragement เกี่ยวกับ Nathaniel Hawthorne
https://archive.org/stream/ChickenSoupForTheSoul/ChickenSoupForTheSoul-JackCanfieldAndMarkHansen#page/n133/mode/2up
https://en.wikipedia.org/wiki/Nathaniel_Hawthorne
http://www.themorgan.org/exhibitions/online/TheDiary/Sophia-and-Nathaniel-Hawthorne
https://en.wikipedia.org/wiki/The_Scarlet_Letter
https://en.wikipedia.org/wiki/The_Scarlet_Letter_in_popular_culture#Film

15 มกรา
ค่ำคืนที่นอนไม่หลับ ข้ามวันสู่15 มกรา กับแฟ้มภาพLost Time ภาพอาจจะมากกว่า12 ปีแล้วมั้ง อยู่ๆ ก็คิดถึงขึ้นมาด้วย ขอตัวไปนอนต่อ ราตรีสวัสดิ์อีกครั้ง ครับ

16 มกรา
ผมคิดจะเขียนนิยายที่โครงร่างค้างไว้ 11 ปีให้จบ แต่slow lifeคิดๆ ไปคิดมางานอาจจะมาสเตอร์พีซ เก็บไว้ก่อนเป็นเรื่องแนวโรแมนติคความรักอันงดงาม ในEmpty time และผมได้รับไอเดียเขียนบทหนังไปเสนอขาย รวมทั้งบทหนังสั้นแนวPuppy love แต่ว่าอันดับแรกที่ต้องทำให้สำเร็จร่างๆภาพมาหลายรอบ คือ ภาพวาดที่ทำได้เงินก่อน ราตรีสวัสดิ์ ครับ^^
ภาพประกอบหนังสือThe Kissฯ และเฟรมว่างเปล่า(ตั้งใจถ่ายให้เอียงๆบอกไว้ก่อนเผื่อสงสัย555)

17 มกรา-18 มกรา
วันกองทัพไทยผมกลับมาทบทวนขยายความเขียนเพิ่มเติมนิดๆ ต่อปัญหาการเมืองของทหารไทย
โดยประเด็นใหญ่ …สร้างปฏิทินแห่งความหวังจากรัฐสวัสดิการ โดยลดงบประมาณของกองทัพ มาเพิ่มงบจัดทำรัฐสวัสดิการให้ประชาชน เพราะยุคสมัยของการไม่มีสงครามภายนอก และบทบาทของการควบคุมทหารโดยพลเรือน… เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ คือไม่ได้เน้นความรุนแรง ซึ่งตรรกะไม่เน้นความรุนแรง ก็ย่อมไม่สนับสนุนการซื้ออาวุธ(*)
ก่อนที่เวลาของท่านจะหมดแล้วเปลี่ยนแปลง…อย่าลืมกำเนิดสำนึกแบบใหม่ที่อิงกับโลกแห่งความเป็นจริง มีเหตุมีผล คำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับ(**)ตามเวลาสมัยใหม่ของชาติไทยอย่างคู่ขนานกับการเปลี่ยนแปลงในโลก เช่น ภาพวาดหอนาฬิกา ในวัดปทุมวนาฯ จากอดีต(ปวศ.ภาพทหารไทยยังต้องพัฒนาภายนอกแต่งกายแบบฝรั่งกับอาวุธ)ถึงปัจจุบัน(ภาพอาวุธใหม่)
เมื่อเราสร้างประชาธิปไตยที่แท้จริง(***) ก็จะเป็นพุทธอิสระ จากเผด็จการทหาร อย่างไรก็ดีผม
ให้กำลังใจผู้ส่องทุจริตราชภักดิ์ ครับ

*เกร็ดเรื่อง “วันกองทัพไทย” และ .. สู่อนาคต “ทหารไทยนี้รักสงบ”
http://prachatai3.com/journal/2011/01/32710

**หอนาฬิกา…
http://www.museum-press.com/content–4-5600-106704-1.html
***ผมแต่งกายด้วยเสื้อรณรงค์กับรูปหนังสือ ครับ^^

ราตรีสวัสดิ์ กับเพลง Freedom
ใช่ ผมฟังเพลงนี้สมัยเรียนป.ตรี รุ่นน้องที่ชอบฟังแนวแบบนี้แนะนำ จนผมมีอัลบั้มวงนี้เป็นเทปเก็บไว้ด้วย ส่วนประวัติของพระเวียดนาม ปี2506 ค้นได้ทางเน็ต เชื่อมโยงการเมืองของปกอัลบั้ม สะท้อนออกมาแรงมาก แต่วัดใจพุทธเสียสละชีวิตมากกว่าพระไทยๆ น่ะ ราตรีสวัสดิ์ ครับ
Rage Against The Machine – Sleep Now In The Fire

20 มกรา
ราตรีสวัสดิ์ ผมอาจจะเงียบหายไปบ้างในบางวัน เพราะเน็ตช้า-ติดธุระ และรวบรวมสมาธิวาดภาพ ดังกล่าว ซึ่งผมคิดถึงภาพเก่าผมสมัยผมวาดลายเส้นรูปภาพบันไดสวรรค์ของพระพุทธเจ้า ในจิตรกรรมฝาผนังพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ดูภาพโดยตรงและทางอ้อมผ่านหน้าปกถึงเนื้อในหนังสือ (ดูเพิ่มเติมทางเน็ตEbookหนังสือจิตรกรรมฝาผนังพระที่นั่งพุทไธสวรรย์)นี่แหละทางสู่สวรรค์ความศักดิ์สิทธิ์มหัศจรรย์ของการเปิดโลกFrom Heaven(*)
*http://www.finearts.go.th/promotion/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B9%8C/book/41-2014-11-17-04-10-21/2-2013-01-26-21-11-08.html
**ความฝันของยาโคบที่เบธเอล เปรียบเทียบกับภาพบันไดสวรรค์ของพระพุทธเจ้า
http://www.biblica.com/es-us/la-biblia/biblia-en-linea/tncv/%E0%B8%9B%E0%B8%90%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5/28/nvi/

24 มกรา
ผมรู้สึกหนาวจะไปขี่จักรยานไหวไหมเนี่ย(?) นึกถึงข่าวเตรียมฉลองใหญ่ 720ปีเมืองเชียงใหม่ ทำให้ผมคิดถึงอัตลักษณ์ตัวตนคนเมืองใส่เสื้อ(ผ้า)หม้อห้อม ซึ่งความหมายหนึ่งเป็นชุดกรรมกร(*) และภาพผมขี่จักรยานจอดตรงประตูท่าแพ หรือชื่อเดิม ประตูเชียงเรือกในสมัยโบราณ คำว่า “เชียง” หมายถึง “เวียง” หรือ “เมือง” ส่วนคำว่า “เรือก” นั้นมีความหมายอีกอย่างหนึ่งว่า เรือ…(**)และท่าแพเคยมีหอนาฬิกา(***) นี่แหละเวลาการเปลี่ยนของการพัฒนาเป็นถนนหนทาง เชียงใหม่เป็นคำเชื่อมโยงกับนครเก่าอย่างที่ผมเคยเล่าไปแล้วเก่ากับใหม่ ในความคิดของผู้คนจากอดีตปวศ.ถึงปัจจุบัน เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมอื่นๆตามกาลเวลา (เขียนมากจะยาวไม่ได้เข้านอน ) ครับ

* มุมปวศ.ยกตัวอย่างเปรียบเทียบเสื้อหม้อห้อมไม่ใช่เสื้อสัญลักษณ์ของคนเมือง กรณีนี้ดูภาพข้อมูลจากนิตยสารเก่า-เรื่องเล่าจิตรกรฝาเบียร์ฯ
**ท่าแพ(วิกิพีเดีย) https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B9%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9E
***หอนาฬิกาที่ประตูท่าแพ…
http://library.cmu.ac.th/ntic/picturelanna/detail_picturelanna.php?picture_id=1177

25 มกรา
ลมหนาวสายฝน และการเดินทางไปพร้อมหนังสือ,แผ่นหนังที่มาเปิดดูชวนน้ำตาซึมๆ แหะๆ จากรูปผมต้องใส่เสื้อกันหนาว บวกกับอยากใส่กางเกงขายาวนอนแล้วราตรีสวัสดิ์ ครับ

26 มกรา
ผมคิดถึงผลงานวาดภาพช้างงานเก่าๆ ในแง่ลายเส้นจิตรกรรม ทำให้ผมนึกถึงภาพวาดในจินตกรรมฝาผนังฯ ณ วัดเบญจฯ(*) อีกเรื่องเป็นประเด็นสังฆราชกรณีเรื่องแยกสังฆราช สองนิกายเป็นเรื่องในโซเซียล-พระมหาอภิชาติ ใน วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ผู้เคยเป็นกระแสต.ค.ปีที่ผ่านมาหลังออกมาเสนอมาตรการตาต่อตาฟันต่อฟันประเด็นความขัดแย้งใน 3 จ.ชายแดนใต้ ได้ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘พระมหาอภิชาติฯ’ เสนอทางออกประเด็นความขัดแย้งในการตั้งสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่ (**)
ผมสงสัยเรื่องการไม่แยกระหว่างศาสนากับรัฐเป็นรัฐฆราวาสที่ไม่ได้เป็นปัญหาในสังคม(***)หรือการเรียกร้องปฏิรูปศาสนา เท่ากับเรื่องสังฆราช นี่จะเป็นประเด็นคำถามต่อขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม นอกกรอบพุทธะอิสระแห่งกปปส.หรือไม่ ก็การสร้างแนวร่วมไม่ง่าย
โดยสรุป ภาพรวมของปัญหาต้องส่วนรวม และผมคิดไม่ออกตามชะตากรรม หรือผมคิดออกจากเรื่องนี้ ต้องเตรียมกลับไปวาดต่อ ครับ^^
*งานจิตรกรรมเล่าประวัติศาสตร์และเรื่องสมโภชช้างเผือก(ฯลฯ) ดูภาพและการอธิบายเพิ่มในลิ๊งค์ ครับ
http://www.openbase.in.th/files/a3%5B1%5D.3(20-49)%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9D%E0%B8%B2%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87(20-49).pdf
http://www.museum-press.com/content–4-5600-83104-1.html
** http://prachatai.com/journal/2016/01/63536
ตื่นเถิดชาวพุทธ – Wake Up Buddhist 16 มกราคม •@อย่าก่อสังฆเภท@

***re:reading 5: ชุมชนจินตกรรม part 2(อ.ธเนศ วงศ์ฯ พูดถึงการไม่แยกศาสนากับรัฐไม่เป็นปัญหาเรื่องรัฐทางโลกย์หรือรัฐฆราวาส/State of Secular?)


26 มกรา
ผมถ่ายรูปกับมาสคอตจระเข้ๆ เที่ยววัดกับแม่ (ธุระงานอื่นๆในหลายวันที่ผ่านมาด้วย) และรถทัวร์ฉายหนังสิงค์โปรเข้ากระแสอาเซียนเรื่องIlo Ilo: http://www.parp-pa-yon.com/movies/ilo-ilo-2013.html
ดู”ILo ILo” http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1381828427
Review หนังเรื่อง ILO ILOhttp://pantip.com/topic/31084082
ราตรีสวัสดิ์ ครับ

ใช่ ครับ ผมพาแม่เที่ยว จริงๆถ่ายรูปไม่ทั่วในวัด เช่น มีโชว์ไก่ชน(ไม่มีตุ๊กตาลูกเทพ ฮร่า) ซึ่งคนอธิบายบอกว่าไก่นี้ชื่อพรพระเจ้าเสือ ซึ่งพระเจ้าเสือ บิดามวยไทยอย่างที่นี่มีจะจัดงานมวยไทย เพราะพระเจ้ามีประวัติสัมพันธ์กับพิจิตร ดูเพิ่มเติมวิกิพีเดีย
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%8D%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88_8

ผมเคยเขียนเรื่องเครื่องดื่ม เป็นประวัติศาสตร์ ที่คนแปลไม่อยากให้เป็นเรื่องท่องจำ เอาสนุกๆผมวาดรูปยังพยายามใช้สติปัญญาควบคุมอารมณ์ให้เกิดงาน ในแง่ปวศ.ดูภาพก็มีภาพจิตรกรรมมวยไทย ให้ดูม่วนๆ น่ะครับ

27 มกรา
ผมเดินทางถ่ายภาพจักรเก่าของแม่ สมัยเย็บผ้า และถ่ายภาพช่างเย็บภาพเห็นจักรเย็บแล้วรวย ต่อมาผมบังเอิญได้อ่านนิตยสารไก่ชน เรียกร้องคุ้มครองอาชีพในรัฐธรรมนูญ (ฯลฯ) ภาพสะท้อนทางเศรษฐกิจต่อรัฐบาลคสช.นี้บนรถทัวร์ และผมพกแผ่นหนังเดินทางประเด็นที่ได้จากความรักดูหนังManhattan ต้องแก่อย่างเป็นธรรมชาติไม่ได้เมคหน้า และก็ความสามารถเป็นโชคอย่างหนึ่ง (เล่าสั้นๆดูเพิ่มเรื่องหนัง*)

แต่ผมไม่อ้างว้างอ้างอ่านหนังสือKantเคยบอกโชคชะตา ทำให้เขาตกหลุมรักในอภิปรัชญา ถ้าจริงแท้ต้องเกิดรายได้เดือนละแสนบาทในการทำงานวาดรูป(ฮร่าๆพูดเล่น) นับเงินจับต้องได้เมียแน่ เพราะผมตกหลุมรักในเมีย(ไม่นามธรรม…ฮร่า) ซึ่งผมหลายปีจะมีเมียก็ต้องมีเงินเป็นวัตถุอย่างรูปธรรม นี่เป็นความรับผิดชอบต่อตนเองกับเมีย ก็ต้องทำงานวาดรูปมากๆ(**) เป็นชะตากรรมฟ้าท้าลิขิตคน(ไม่ใช่ไก่ชน)คนซนๆ( ไม่ยอมจน น่ะ ฮร่าๆ ***)
* Manhattan (1979) แมนฮัตตัน
แนวหนัง ชีวิต
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=10000tip&month=09-2005&date=15&group=11&gblog=148
**หนังสือThe creativeฯที่ผมพกไปก็อ้างชะตากรรม ทำให้เกิดงานเขียนด้วย ครับ
http://www.amazon.com/Creative-Process-Symposium-Brewster-Ghiselin/dp/B000WWUUYC/ref=sr_1_5?s=books&ie=UTF8&qid=1453987045&sr=1-5
http://www.amazon.com/The-Creative-Process-Reflections-Invention/dp/0520054539
http://www.amazon.com/Creative-Process-Reflections-Invention-Sciences/dp/0520054539/ref=sr_1_1?s=books&ie=UTF8&qid=1453987045&sr=1-1
***ภาพจากโรงงานเครื่องจักรผลิตศิลปะ/สตูดิโอบอยๆ ขำคิดดีทำงานเป็นชิ้นเป็นอัน และผมใส่เสื้อกันหนาวกับผ้ากันเปื้อนพ่อค้า ครับ^^

28 มกรา
ผมปั่นจักรยานในเชียงใหม่เห็นและรู้ศิลปะ ถ่ายภาพไว้กับความทรงจำหนังสือความเข้าใจในศิลปะนามธรรม แต่แรกเริ่มเดิมทีศิลปกรรมทั้งหมด คือความเป็นนามธรรม ถึงสัญลักษณ์(symbol)และลักษณะการเปรียบเปรย(allegory) รวมทั้งศิลปะฯลฯ ราตรีสวัสดิ์ในเวลาพร้อมกันนี้ ครับ

29 มกรา
ราตรีสวัสดิ์เชียงใหม่ โดยผมเดินทางต้อนรับพูดคุยกับพี่วิชัย ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย(ไม่ได้เจอกันหลายปีตอนทำข่าว*) กับพรรคพวก ก็ได้คุยทบทวนความทรงจำที่เราเคยพบกัน และการจัดนิทรรศการ พิพิธภัณฑ์(**) ฯลฯ รวมทั้งสนทนาปัญหาบ้านเมืองกัน ครับ
*”พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย” สัญจรพบแรงงานนอกระบบที่เชียงใหม่
http://prachatai.org/journal/2011/02/33212
พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยสัญจรนิคมลำพูน
http://prachatailand.blogspot.com/2011/02/prachatai3info_20.html#15
**https://th-th.facebook.com/thailabourmuseum
http://thailabourmuseum.org/

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Making Democracy-constitution(R.I.P.ben anderson)

Making Democracy-constitution(R.I.P.ben anderson)

10 ธค.58
การเดินทางๆไปพิจิตร(*) ผมคิดถึงหลายวันก่อนผมคุยกับพวกรุ่นพี่นักเขียนเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ ในส่วนรายได้ต่อยอดคุยกับรุ่นพี่ในกลุ่ม นึกออกน่าคิดเรื่องค่าเรื่องสั้นน้อย เพราะยุคณรงค์ จันทร์เรือง พออายุประมาณ 18-19 ปีก็เริ่มเขียนเรื่องยาว ทำให้เขาได้ค่าเรื่องมากกว่า 3 เท่าของเงินเดือนบัณฑิตในสมัยนั้น เขาจึงตัดสินใจเลิกการเรียนไป ไม่จบชั้น ม. 8 เข้าทำงานในตำแหน่งพิสูจน์อักษรที่นิตยสาร “แสนสุข” แล้วเขียนนิยายบู๊ ให้กับสนพ.เพลินจิต(**)เป็นตัวอย่าง ครับ

แต่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับบวรศักดิ์ หรือฉบับเหาะเหินเกินลงกา(ลงเรือแป๊ะฯ) เคยมีการเสนอรธน.ของประเทศไทยได้มีการบรรรจุหมวดหมู่ของกีฬาโดยมีการนำเรื่องกีฬาเข้าไปอยู่ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 95 ที่ระบุว่า รัฐบาลต้องสนับสนุน พัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนด้านการกีฬาเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และมีการจัดการกีฬาอย่างเป็นระบบ หากรัฐบาลไม่ทำ จะถือเป็นความผิด ฐานละเว้นการปฏิบัติ(***)

โดยรัฐธรรมนูญฉบับนักเขียนและศิลปิน น่านำเสนอรัฐบาลต้องสนับสนุน พัฒนา ส่งเสริมนักเขียน และสนับสนุนด้านการเขียนเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ รวมทั้งส่งเสริมการศึกษาและการสอนการเขียนอย่างยุคเปลื้อง ณ นคร สอนการเขียนทางไปรษณีย์ให้กับส.พลายน้อย เดี๋ยวนี้สอนทางเฟซฯก็ได้อย่างศิลปินสอนศิลปะทางเฟซฯ ครับ(****)

ดังนั้น จากฉายารัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่ม ฉบับฟันปลอม ฉบับครึ่งใบ ฯลฯ น่าจะมีฉบับส่งเสริมนักเขียนและศิลปิน ได้แต่หวังผมแค่เสนอในฐานะสิทธิของพลเมือง ไม่ลืมเราเคยมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน(2540) กันด้วย ครับ

*ภาพประกอบการเดินทางไปพิจิตร กับหนังสือสมุดภาพสยาม ยุคประชาธิปไตย มีภาพโรงเรียนพิจิตร(หรือพิจิตรพิทยาคม)ร่วมงานออกร้านฉลองรัฐธรรมนูญ และภาพชาวตะพานหิน พิจิตร เชิดสิงโตต้อนรับรัฐธรรมนูญ ก่อนผ่านไปพิษณุโลกด้วย ครับ

**https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%93%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C_%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87

***http://www.siamsport.co.th/seagames2015/?page=news&view=view&id=150408191401
http://www.smmsport.com/m/news.php?n=139033

****ส.พลายน้อย เขียนคอลัมภ์จิปาถะเรื่องหนุมาน :เทพแห่งสรรพวิทยา (14) เล่าถึงพระปวันเทพแห่งลม “พระปวัน”หรือพระวายุนี้มีฤทธิ์มาก เคยเป่ายอดเขาพระสุเมรุหักปลิวไปตกในมหาสมุทร และต่อมาได้กลายเป็นเกาะลงกาของทศกัณฐ์ส่วนหนุมานก็เป็นบุตรของพระปวัน(เรื่องเชื่อมโยงมหาภารตยุทธกับรามายณะ ดูมติชน 6 ธ.ค.58)นักเขียนผลงานจำนวนมาก ดูเพิ่มเติม
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA.%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2

ศิลปินสุรินทร์ สอนศิลปะออนไลน์ทั่วโลก ช่วยประหยัดเวลา ครู-นักเรียนโดยไม่ต้องเจอหน้ากัน
อ้างอิง : เรียนรู้ไร้พรมแดน! ศิลปินสุรินทร์ สอนศิลปะออนไลน์ทั่วโลก
http://news.mthai.com/hot-news/general-news/460516.html
เฟซฯมีรำลึกอดีตให้ด้วยวันนี้มีกิจกรรมที่ผมเขียนไว้ https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=740208826008348&id=100000577118415

13ธค 58
บอยรำลึกบทสนทนาสุดท้ายกับอ.เบน
วันนี้ผมขอรำลึกถึงศาสตราจารย์ ดร.เบเนดิก แอนเดอร์สัน หรือเบน แอนเดอร์สัน ผ่านอีเมล์ที่สนทนากัน ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาหลังจากที่ผมเคยส่งหนังสั้นเรื่องน้ำตาแม่อาย ให้อาจารย์เบน ผู้เชี่ยวชาญ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้*

The making of short film by me(การสร้างหนังสั้นโดยผมเป็นหัวข้อที่คุยกัน)
Nov 1
to omben (อีเมล์ผมไม่เผยแพร่)
Dear,Prof.Ben anderson

I send my short film tell about uncle Nuamthong Paiwan, a 60-year-old taxi driver, drove his taxi into a tank on September 30 ,2006 as a protest against the coup.

Regards,
akkaphon

“สร้างหนังสั้น”:The Making of Short Film
Ben Anderson(อีเมล์ผมไม่เผยแพร่)
Nov 1
to me
Dear Akkaphon, Thanks very much for your message and the news about your video. I am leaving tomorrow for the Philipinnes. andI hope to be in ‘narok’ this month, but I am not sure exactly I would very much to see your work after I arrive. All the best. from AHK meaning Old Hia Kae 5555555

Nov 2
to Ben
Dear,Prof.Ben anderson

Thanks very much for my message and the news about my video. I production it genre comedy-drama.
I understand you travel from Philipinnes. I happy talk with you
by I search narok what your mean. I begin from kenya in narok town or Narok County because may be mean this I guess.
but I get that.
when I read again this is my joke from myself.
555

Regards,
akkaphon

Ben Anderson
Nov 3

to me
Dear Akkaphon. Do not worry. I think I will be in my flat by the last week of this month. So if you are in narok, it wil be easy to get in touch All my greetings for you. AHK

akkaphon satum
Nov 3

to Ben
Dear,Prof.Ben anderson

I see your conversation for me.I think carefully you tell me.
I hope every thing is fine with you.
Thanks,
Ok,
Regards,
akkaphon

โดย ผมขอกล่าวอย่างย่อๆ ด้วยความระลึกถึงอาจารย์เบน ได้เคยแลกเปลี่ยนความรู้ต่างๆ ในทางอีเมล์กับผมก่อนหน้าคุยกันยกตัวอย่างสนทนาเรื่องการเมือง หนังสือ หนังสั้นศรีปิงเมือง อย่างเป็นกันเอง ไม่ทำให้ผมเกร็งและเกรงใจมากมาย เพราะการคุยกับนักวิชาการระดับโลกอย่างท่าน ย่อมหาโอกาสได้ความรู้ไม่ได้ง่ายๆ รำลึกเสมอผมยังอ่านหนังสือของอาจารย์เป็นประจำสม่ำเสมอ นี่ถือเป็นการคารวะผ่านอีเมล์บทสนทนาหนังสั้นเรื่องสร้างหนังสั้น สะท้อนเรื่องเล่าเกี่ยวกับลุงนวมทอง** ซึ่งผมเศร้าน่าเสียดายใจหาย เพราะเราเคยคุยกันไว้จะพบกันอีกครั้งในอนาคต โดยบันทึกไว้สั้นๆ ณ ที่นี้ R.I.P.ครับ

*ดูประวัติและข้อมูลข่าวเสียชีวิตเพิ่มเติม
เบเนดิก แอนเดอร์สัน เสียชีวิตแล้ว
http://prachatai.com/journal/2015/12/62931
ศาสตราจารย์เบนเดินทางมาบรรยายพิเศษที่คณะวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติอินโดนีเซีย (University of Indonesia) กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 10 ธ.ค.2558 ซึ่งนับว่าเป็นการบรรยายทางวิชาการครั้งสุดท้ายของเขา
http://m.news.thaipbs.or.th/content/%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%99-%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99-%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A2-79-%E0%B8%9B%E0%B8%B5
อาจารย์เบน ได้รับเชิญไปเปิดตัวหนังสือเล่มล่าสุดของตน ที่มีการแปลเป็นภาษาอินโด คือ เรื่อง Under Three Flags ซึ่งเกี่ยวกับอนาธิปัตย์ของฟิลิปปินส์
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9580000136871
สิ้น “อ.เบน แอนเดอร์สัน” ในวัย 79 วงการประวัติศาสตร์ไทย-เอเชียตอ.สูญเสียยิ่งใหญ่
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1449986360&grpid=00&catid=19
เบน แอนเดอร์สัน เขียน “สัตว์ประหลาดอะไรวะ?”(เขียนวิเคราะห์ถึงหนังเรื่องสัตว์ประหลาดของอภิชาติพงศ์ )มุกหอม วงษ์เทศ แปลในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม
http://www.matichon.co.th/art/art.php?srctag=0603010749&srcday=2006/07/01&search=no
“ชาติ”กับ”มนุษยชาติ”ของเบน แอนเดอร์สัน
http://prachatai.org/journal/2015/12/63006
พันธกิจแห่งชีวิต : งานวิชาการด้านเมืองไทยของเบ็น แอนเดอร์สัน
http://readjournal.org/contents/tamara/
เบน แอนเดอร์สัน: ทำไมบทบาทของปัญญาชนสาธารณะจึงเสื่อมถอยลง?
http://www.prachatai3.info/journal/2010/07/30286
เบเนดิกต์ แอนเดอร์สัน
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%8C_%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99
Asian scholar Benedict Anderson dies, aged 79
http://www.bangkokpost.com/news/politics/792977/asian-scholar-benedict-anderson-dies-aged-79

Benedict Anderson 1936-2015
http://www.versobooks.com/blogs/2393-benedict-anderson-1936-2015

Asian scholar Benedict Anderson dies in his sleep in Indonesia
http://www.interaksyon.com/article/121382/asian-scholar-benedict-anderson-dies-in-his-sleep-in-indonesia

Benedict Richard O’Gorman Anderson
https://en.wikipedia.org/wiki/Benedict_Anderson

**วันนี้ผมแวะไปคุยงานเจอรุ่นพี่ทีมงานหนังสั้น “สร้างหนังสั้น” ทำให้ผมรู้ข่าวเสียชีวิตของครูเบน แอนเดอร์สัน ผู้เขียนหนังสือชุมชนจินตกรรม: บทสะท้อนว่าด้วยกำเนิดและการแพร่ขยายของชาตินิยม (Imagined Communities (IC) : Reflection on the Origin and Spread of nationalism) ซึ่งผมอ้างอิงหนังสือเล่มนี้ในการเขียนงาน รวมทั้งผมได้สมมติเป็นลูกศิษย์นอกระบบการศึกษามหา’ลัย ติดตามความคิดของครูเบน ทางการเมืองไทย ฯลฯ ด้วย ครับ

19 ธันวา 58
ผมทำงานเสร็จหนึ่งอย่างวันนี้ ทำให้เขียนเล่าเรื่องสั้นๆวันที่10 พ.ย. กับ3 ธค.58 เป็นวันสนทนาของนักเขียน ศิลปินพลัดถิ่นในเชียงใหม่ ณ ที่แห่งหนึ่ง วงคุยต่อเนื่องมาหลายเรื่องถึงเรื่องนักเขียนกับร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งผมนึกดูข้อมูลใหม่ มีหนังสือดังภาพประกอบบอกนักเขียนสามารถได้รายรับเดือนละแสนบาท(จริงหรือไม่ ) มีโอกาสคงได้คุยกันอีก ทำบัตรปชช.อาชีพนักเขียน รายได้เท่าไหร่ดี นี่เป็นภาพประกอบวงคุยเฮฮาปาร์ตี้ สบายๆง่ายๆ ยกเว้นตกใจบางครั้ง….จะมาหรือไม่ (โอ้ ต้องระวังสนทนาPublic Sphere) ครับ

ปล.ถ้ารัฐบาลไหน สนับสนุนนักเขียนอย่างโครงการสถาบันหนังสือแห่งชาติ จะดีมาก ครับ
แนวคิดเสนอรัฐบาล สังคมหนังสือและสังคมการอ่านในประเทศไทย
http://www.all-magazine.com/ColumnDetail/allColumDetail/tabid/106/articleType/ArticleView/articleId/2630/–.aspx
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1359863939

25 ธ.ค.
ผมพักการโพสต์ เพราะคาดหวังกับงาน…(ความลับ) โดยมุ่งทุ่มเทสมาธิ จดจ่องด ใช้เฟซฯ ในการเดินทางวันที่ผมไปกรุงเทพฯถ่ายภาพไว้ หลายเรื่องชะตากรรมเจอผู้คนเครื่องบินลำเดียวกัน น่าเขียนเรื่องตลกๆหลายเรื่องยกตัวอย่างเรื่องเครื่องบิน ผม“เผลอพูดผิดกลัวเครื่องบินตก แต่จะพูดว่ากลัวตกเครื่องบิน “ พนง.เคาน์เตอร์ยิ้มๆตอบกลับมาด้วย นี่แหละหนึ่งเรื่องผมไม่อยากผิดตกเครื่องบินบ่อยๆ กรณีนี้ดีไม่ซีเรียสเท่าตอนผมเจอแอร์โฮสเตส ดูซีเรียสเวลาได้นั่งตรงประตูฉุกเฉิน ครับ

โดยต่อมา ผมแวะหอศิลป์กรุงเทพฯไปเดินดูงานศิลปะ และผมผิดพลาดกดลิฟท์ชั้นหนึ่ง ซึ่งผู้ชายในลิฟท์คนหนึ่งดุๆบอกขึ้นชั้นหนึ่ง ทำไมไม่เดินขึ้นเอง ผมบอกงงๆกดไป แค่นี้เดินออกจากลิฟท์มาเจอด่าว่า “เรียนแล้วโง่” ซึ่งต่อมาผมเซ็นชื่อร่วมสนับสนุนกิจกรรมรณรงค์ศิลปวัฒนธรรมในร่างรัฐธรรมนูญ และบังเอิญเจอรุ่นพี่คนขายหนังสือถึงศิลปิน ฯลฯ ด้วย

แน่ละ ผมเล่าย่อๆ รออนาคตจินตนาการถึงจุดเปลี่ยนของชีวิตผม โดยTurning Pointแต่ละคน น่าสนใจผมแวะไปเจอรุ่นน้องสองคน ที่ปีหน้าสองคู่รักจะไปอยู่อเมริกา
ส่วนตัวเสียดายหลายเรื่องกรณีมีจัดงานรำลึกครูเบน ที่เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ กลับมาโพสต์เฟซฯวันศุกร์ “คริสต์มาส” ปีนี้พระจันทร์เต็มดวง และความรู้สึกในดวงใจ ครับ

26 ธันวา
ผมบังเอิญเจอดารา-นักร้องเลยถ่ายรูปพี่โจ (พี่โจเคยแสดงเป็นหมอสงวน สามสิบบาทรักษาทุกโรค หรือพี่ก้องถ่ายไม่ทัน)วงนูโวไว้ด้วย ช่วงไปกรุงเทพฯ แหะๆผมอย่างกับ paparazzi หรือนักข่าวบันเทิงสายgossip ไปแล้วหูได้ยินแว่วๆบ่นเรื่อง…(ฯลฯ) อะไรก็ไม่รู้รายละเอียด เพราะผมเหนื่อยกำลังนั่งหลับอยู่เข้าหู(ฮร่า) ส่วนตัวก็มีเรื่องตลกๆอีก คือ คนเหมือนแขกอินเดีย เขาเข้ามาถามเรื่องOne-Day Passฯ(*)

ซึ่งผมยืนรอแลกเหรียญ แล้วคุยกับเขาว่าอยากได้ตั๋วในความหมายนี้ที่นี่ไม่ใช่ ก็งงๆ หน่อยๆ วันนั้นเพิ่งเดินทางไปถึงกทม.ฝึกภาษาอังกฤษ ก็เขาสองคนไปถามอีกคนก็ชี้ไปที่ขายตั๋ว ซึ่งผมก็กลับมาคุยๆกับคนที่อยู่กรุงเทพฯ ต่อ รวมทั้งได้ดูแผนที่รถไฟฟ้า มาเข้าใจชัดเจนอีกครั้ง คนบ้านนอกอย่างผมเข้ากรุงฯไปเมืองนอกไหวไหมเนี่ย?

เมื่อผมกำลังได้รับการแนะนำจากพ่อมีเพื่อนพ่อน่าสนใจเรื่องงานเกี่ยวกับศิลปะฯลฯ ที่อินเดีย ถ้าผมสมมติจินตนาการถึงอินเดีย ชิมชา-Assam tea เป็นวัฒนธรรมชาอินเดีย และ“National Drink”(หรือTeaเชื่อมโยงถึง Ramayana/รามเกียรติ์**) ณ ภูเขา ท่ามกลางหิมะ ฟังเพลง…

*ตอนที่2 ภาพประกอบจากการเดินทางในกรุงเทพฯ

**https://en.wikipedia.org/wiki/Indian_tea_culture


27 ธันวา
เมื่อวันที่ 26 พย.ผมไปค่ายเยาวชนเชียงดาวมีถ่ายภาพไว้จำนวนมากพอสมควร(เล่าย่อๆผ่านภาพ*) ซึ่งมีเรื่องเล่าและสตอรี่สนุกพร้อมสาระของค่ายวิทย์ คณิต บูรณาการอาเซียน ที่นศ.มาพบนร.เชียงดาวศึกษาสงเคราะห์มาร่วมกิจกรรมโดยครูดูแล มีทั้งกิจกรรมปล่อยจรวดน้ำ และผมได้สัมผัสธรรมชาติ…ดูดาว ทำให้นึกถึงข่าวเรื่อง ‘ดาวชาละวัน’ และ ‘ดาวบริวาร’ ให้เด็กไทยได้เรียนกัน ราตรีสวัสดิ์ ครับ

*ผมได้อ่านหนังสือในห้องสมุดที่นี่ มีอ่านหนังสือบางเล่มของนักเขียนการ์ตูนนามว่าวัลลภ แม่นยำ ซึ่งผมเคยได้มรดกหนังสือของเขามาบางเล่ม เช่น หนังสือแดรริดา ฯลฯ

28ธันวา
วันที่26 ธันวา สนุกสนานตามสไตล์ในกลุ่มต่อเนื่องมาจากวันที่แล้ว ซึ่งผมเล่นกีตาร์เล่นๆ ดนตรี มีดื่มพูดคุยถึง symposium (*ฯลฯ)ในกรณีเครื่องดื่มไวน์ประกอบรสชาติคุย “โซเครติสถึงเพลโต”สนทนาปราศรัยกัน(**)ต่อมาผมรู้สึกถึงอารมณ์ความรู้สึก “งานเลี้ยง”ส่งผลต่อสุขภาพ อาการความทรงจำส่วนที่หายไปถึงวันนี้ด้วยซ้ำ(ฮร่า***)

ผมนึกถึงบทสนทนากับแฟนรุ่นพี่ ที่เราเคยไปอบรมงานแปลหนังสือด้วยกัน ไม่เจอกันเกือบสิบปี มีงานแปลให้แต่ต้องแปลฟรีมาคิดดูใหม่บอกรุ่นพี่ไปแปลฟรีก่อนก็ได้ ฝึกหัดขอเล่มบางๆ จะได้มีอนาคตจากเล่มนี้ นี่แหละฟื้นอาการมาบันทึกทบทวนความทรงจำในแต่ละวัน(****) ครับ

*symposium และเรื่องเล่าในเรื่องเหล้า(ความรักกับความเมาคู่ขนานกัน ถ้าไทยๆเป็นสุนทรภู่…ไม่เมาเหล้าแล้วแต่เรายังเมารัก สุดจะหักห้ามจิตคิดไฉน ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป ฯลฯ)
http://www.hiclasssociety.com/hiclass/detailcontent1.php?sub_id=2975

**ภาพเนื้อหาหนังสือประวัติศาสตร์เครื่องดื่มไม่ใช่ท่องจำน่าเบื่อทั้งกาแฟ ชา ไวน์ และเครื่องดื่มโค้ก(ฯลฯ) ปวศ.เล่าย่อเท่าที่จำได้โค้กจากภาพแทนสินค้าทุนนิยมเครื่องดื่ม ต้องห้ามในโซเวียตด้วย ครับ
ประวัติศาสตร์โลกใน 6 แก้ว (A HISTORY OF THE WORLD IN 6 GLASSES)
http://www.matichonbook.com/index.php/6-a-history-of-the-world-in-6-glasses.html

***ภาพประกอบนิ้วมือดีดกีตาร์ของผม วันต่อมาสายกีตาร์ขาด คาดไม่ถึงลิมิตร่างกาย-อาการ…(ฮร่า)

****ผมคิดลังเลเดินทางไปไหนช่วงใกล้ปีใหม่ขนาดสนามบินคนยังพูดว่าคนเยอะเหมือนหมอชิต และคนชวนเรื่องงานเลี้ยงไม่มีวันเลิกรา(ฮร่า) ครับ

29 ธันวา
รุ่นน้องไม่ได้เจอกันหนึ่งปี แวะมาชม.นัดเจอกัน ผมโทรคุยบอกเดี๋ยวไปกินน้ำขิงกัน และต่อมาผมไปรับรุ่นน้องบอกว่าผมนึกว่าพี่พูดมุขแทนคำว่าเหล้า(ฮร่าๆ*) และแล้วผมบอกว่าน้ำขิง จริงๆ ต่อมาไปร้านน้ำเต้าหู้ ดันไม่มีน้ำขิง ก็พูดบอกว่าผมชอบดื่มน้ำเต้าหู้ น่ะ แต่ได้ข่าวว่าเต้าหู้ก็เกี่ยวกับGMOs เลยนั่งดื่มน้ำเต้าหู้และชา คุยเรื่องหลากหลาย รวมทั้งหนังสือ ถึงThesisประวัติศาสตร์ ในฐานะที่รุ่นน้องกำลังเรียนป.เอก ด้านประวัติศาสตร์(รุ่นพวกเขาในวิชาART CUL ENVI SEA ได้แปลงานแผนที่สยามฯของอ.ธงชัย ฉบับก่อนจะแปลเป็นไทย**) แต่ผมคุยว่าถ้าเรียนไปตั้งแต่สิบปีที่แล้วจบไปแล้ว เพียงแต่ไม่มีทุน ครับ

*ภาพผมบุคคลธรรมดา(Natural Person)ภาพประกอบหนังสือกับขวดเครื่องดื่มต้องเซ็นเซอร์(ฮร่าๆ) The laws sometimes sleep,never die.(สุภาษิตกฏหมาย)
**ภาพบทสัมภาษณ์อ.ธงชัย ตอนเรียนป.เอก บ่นเรื่องวิทยานิพนธ์ ฯลฯ(ปาจารยสารปีที่12 ฉ.1 ธ.ค.-ก.พ.2527-8) กับกรณีปัญญาชน’ivory tower'(ดูเพิ่มเติม)

30 ธันวา
ผมวางแผนพรุ่งนี้จะไปสวดมนต์ข้ามปีที่วัด ทบทวนชีวิต ลดอัตตา ปล่อยวาง ถึงหาทางไปหลายทางในการดำเนินชีวิต ปีที่ผ่านมาทำหนังสั้น ฯลฯผมไม่ได้อีโก้เขียนร่วมแลกเปลี่ยนกับกลุ่มกัน(อันนี้ดัดแปลงมาด้วย)ถึงอ.เบน หรือครูเบน รู้สึกดูเป็นกันเองเฟรนด์ลี่ๆในแง่คุยกัน ไม่วางมาดยักษ์ใหญ่สำหรับผม ครับ

ผมเริ่มรำลึกอ.เบน เชิงส่วนตัวเหมือนรุ่นพี่ หน่อยๆ คือ ผมเริ่มต้นจากสมัยเรียนป.โท ก็เรียนทฤษฎีกับพวกพัฒนาสังคมฯ และรุ่นน้องสาขาภูมิภาคศึกษา สาขาเดียวกับผมไปเรียนวิชาทฤษฎีกับอ.เกษียร เตชะฯ มาสอนที่มช.แบบระยะสั้นๆ ในความทรงจำ ทำให้มาสนใจอ่านครูเบน และอ.ธงชัย ในการอ่านครูเบน ภาษาอังกฤษเข้าใจยากมากๆ ต้องหาวิธีอ่านตามความคิดจากเล่มอื่นๆ เช่น Language and Power: Exploring Political Cultures in Indonesia หรืออ่านงานของอีริค ฮอบบอร์มที่ในหนังสืออ้างเป็นบรรณานุกรม(หลายปีต่อมาได้ฟังคลิปคุยถึงหนังสือของอีริคฯ โดยมีอ.ไชยันต์ รัชฯ และผู้ฟังร่วมสนทนา ฯลฯ)

ซึ่งจริงๆแล้วข้อจำกัดก็ตามไม่ได้ทั้งหมด มาพัฒนาไอเดียส่วนหนึ่งเป็นThesisของผม และผมเขียนในเฟซฯ(*) รวมทั้งโน้ต(**)ปีนี้ด้วย

ผมมีเวลาสมาธิได้ดูคลิปแล้วฟังเกษียร เตชะฯ บางสิ่งที่พูดเคยเขียนเรื่องพวกนี้ในมติชน-มติชนสุดสัปดาห์ (สอนหนังสือชุมชนจินตกรรมของครูเบ็น (1-3)”โดย เกษียร เตชะพีระ) แล้วนิธิ มีเฟซฯอ้างชุมชนจินตกรรมฯ เขียนในมติชนสุดฯรู้ภาษาเยอะในฐานะนักวิชาการ ก็โอเค โดยรวมอ.ธเนศ อ.ผาสุก อ.ชูศักดิ์ ก็ดี โดยเน้นทั้งภาพรวมผลงาน ชีวิตและหนังสือชุมชนจินตกรรมฯ(ผมเท่าที่จำได้หนังสือเล่มนี้มีคนเขียนถึงภาษาไทยหลายคน ทั้งอ.ธงชัยในวารสารอ่านฯ หรือกรณีตอนเปิดตัวหนังสือฉบับภาษาไทย ที่มีพูดถึงกันด้วย***)

ผมยกตัวอย่างหนังสือชุมชนจินตฯ บทที่11 ความทรงจำกับการลืม(Memory and Forgetting) ในหัวข้อพื้นที่เก่าและใหม่(Space New and Old) กล่าวถึงเชียงใหม่(นครใหม่) ฯลฯ แต่ในชื่อเหล่านี้ “ใหม่” มีความหมายไปในการเป็นทายาท หรือ ผู้สืบทอด ของสิ่งที่ได้สูญหายไป “ใหม่” และ “เก่า” จึงอยู่ในระนาบแนวดิ่งเดียวกันอย่างมีพัฒนาการและความต่อเนื่องในทางประวัติศาสตร์…พื้นที่ใหม่และเก่าเป็นสำนึกคู่ขนานหรือแบบเกิดขึ้นพร้อมๆกันนี้(parallelism or simultaneity)

ส่วนเรื่องเวลาใหม่และเก่า(Time New and Old) กล่าวถึงเรื่องปฏิทินแบบใหม่ และนาฬิกา-นสพ.-นวนิยายโยงกับสุญกาลสหมิติ(homogeneous empty time)เป็นการขยายความบทรากฐานทางวัฒนธรรม แต่ถ้าพูดถึงจุดนี้ก็ยาวเหมือนกัน เพราะความแตกต่างต่อประเด็นเกี่ยวกับวอลเตอร์ เบนจามิน ที่เคยคุยกับอ.เบน และผมเพิ่งค้นเจอคนเขียนถึงอ.เบน Walter Benjamin: Messianism and Revolution – Theses on History และคนเขียนโต้เชิงทฤษฎี Homogeneous, Empty เรื่องนี้ (ดูเพิ่มเติมที่ลิ๊งค์****) ครับ

ต่อมาผมมีเวลา สมาธิได้ฟังคลิปของบุ๊ครีฯ(*****) จัดแล้วมีข้อสังเกตเน้นตรงอ.อานัทน์ กาญฯ ได้พูดถึงงานเขียนอ.เบน จากpaper(สั้นๆ) ขยายเป็นหนังสือชุมชนจินตกรรมฯ(ความสัมพันธ์ส่วนตัวของอ.อานันท์กับครูเบน ทำให้รู้ว่าอ่านเจมส์ ซี สก็อต) ถือว่าเป็นวิธีการอธิบายต่างจากการอ่านจากตัวบทหนังสือชุมชนฯ เพราะหนังสือชุมชนจินตฯไม่มีอ้างอิง เจมส์ฯ(กรณีบริบทเชื่อมโยงชาวนา นี่ยิ่งกว่าการอ่านระหว่างบรรทัด) เลย ครับ

โดยน่าสนใจในแง่การตีความตัวผู้เขียน นอกเหนือจากตัวบทหนังสือ ส่วนเรื่องถูกหรือผิด(อาจจะข้ามพ้นกับดักคู่ตรงข้ามสำหรับรำลึกอ.เบนให้ลึกด้วย) อาจจะเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งหนังสือชุมชนจินตกรรมฯ(อ.อานันท์ พูดถึงทฤษฎีมาร์กซิสม์อังกฤษ ฯลฯ) มีอ้างอิงแอนโทนี่ รี้ด นักปวศ.เรื่องอินโดฯ ทีนี้อ.นิธิ ใช้วิธีการเปรียบเทียบน่าสนใจเจาะลึกอย่างหนังสือเล่มของแอนโทนี่ รีด(ผมเคยอ่านมีรูปวาดภาพแผนที่โบราณแบบอ.ธงชัย แต่อธิบายแง่การค้า) เห็นภาพการค้าของภูมิภาคนี้

ซึ่งจะสิบปีแล้วตอนผมไปนำเสนองานที่สิงคโปร์ ณ NUSเคยเจอแอนโทนี่ รีดได้รับใบcerฯลายเซ็นต์(******ฯลฯ)

โดย ผมส่วนตัวเล่าประสบการณ์โลกวิชาการมหา’ลัยNUS ในแง่กลับกันหนังสือชุมชนจินตฯถ้าผมจำไม่ผิดอ.เบนไม่อธิบายทำไมไม่มีแปลเดาว่าสิงคโปร์ คือ พลเมืองใช้สองภาษาหลักอังกฤษ จีน(ฯลฯ) ก็อ่านอังกฤษแทนอย่างที่ผมเห็นนศ.อ่านText อ่านในบทที่12.กิจการเดินสาร-ข้ามผ่านภาษา: ว่าด้วยภูมิ-ชีวประวัติของ ‘ชุมชนจินตกรรม’ (Travel and Traffic: On the Geo-biography of Imagined Communities)เป็นการอธิบายประเด็นใจกลางของหนังสือถึงแนวคิด และสำนักพิมพ์ถึงมหา’ลัยใช้หนังสือเล่มนี้ นัยยะเปรียบเทียบมหา’ลัยไทย(มหา’ลัยไม่ใช่ค่ายทหาร) กำลังเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนร่วมสร้างประชาธิปไตยด้วย

สรุปสั้นๆ ปัญญาชนกับงานเขียนวิชาการ ข้อมูล ทฤษฎี ในเรื่องส่วนตัวของความสัมพันธ์ต่ออ.เบน และผมคิดว่าสูตรการอธิบายเรื่องทุนนิยมการพิมพ์ถึงผู้ประกอบการพิมพ์ ก็สำคัญ รวมทั้งปัจจัยต่างๆ ซึ่งหนังสือชุมชนจินตฯอธิบายเยอะ แต่ผมสนใจอ่านเรื่องชุมชนจินตฯ ในฐานะความเคลื่อนไหวทางสังคม คอมมิวนิสต์มิเนสเฟสโต(ขบวนการในอินโดฯ ฟิลิปปินส์ฯลฯ)-walter benjaminกับเทวดาแห่งประวัติศาสตร์โยงหนังWeekends นี่เป็นอะไรที่เชื่อมโยงสะท้อนกลับไปจุดที่อาการเชื้อโรคของชาตินิยม(อธิบายยาวดูหนังสือได้)อย่างมีความหวังในความก้าวหน้าของมนุษย์ อันนี้เป็นผลงานวิชาการคุณค่าน่าอ่านนาน ครับ

*รวบรวมลิ๊งค์ลองย้อนดูทางเฟซฯเท่าที่ผมจำได้ผมเขียนทางตรงถึงอ.เบน+ชุมชนจินตกรรมฯ และแนวคิดทางอ้อม ในปี2015 ครับ

**note
https://www.facebook.com/notes/%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9E%E0%B8%A5-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1/%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%99/981291361913949

***อ.ธงชัย เขียนถึงชุมชนจินตฯ ฉบับPDF จากวารสารอ่านปี52มาวารสารศิลปะศาสตร์ฯ(อธิบายชุมชนจินตกรรมฯ กับบริบทแนวคิดหนังสือเกี่ยวกับชาติ ที่เป็นทฤษฎีทั้งอีริค ฮอบบอร์ม ฯลฯ และสไตล์การเขียนIC อ่านไม่ง่ายไม่กระจ่างความ)
http://www.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/12594/11314
อ.ธงชัย เคยกล่าวถึงงานThesisของตน ได้อิทธิพลThesisของอ.ไชยันต์ รัชฯ(ข้อมูลจากนิตยสารศิลปวฒ.) และอ.ไชยันต์ในThesisอ้างอ.เบน อธิบายถึงในแง่ภูมิภาค เช่น ภาคเหนือ ไม่ได้ถูกกระจายอำนาจ เมื่อกำเนิดเป็นชาติ(ดูหนังสือได้)

**** Walter Benjamin: Messianism and Revolution – Theses on History(ผู้เขียนโดยAndrew Robinson is a political theorist and activist based in the UK.)
https://ceasefiremagazine.co.uk/walter-benjamin-messianism-revolution-theses-history/

Time and the Global: Against the Homogeneous, Empty Communities in Contemporary Social Theory(ผู้เขียนโดยJohn Kelly)
http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/1467-7660.00101/abstract

*****อ้างอิงอื่นๆ
คุณูปการวิชาการของ”เบน แอนเดอร์สัน” : เปิดวงเสวนากับ “นิธิ-อานันท์-มาลินี”
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1450665398
หนังสือโหลดฟรีE-book : ชุมชนจินตกรรม: บทสะท้อนว่าด้วยกำเนิดและการแพร่ขยายของชาตินิยม (Imagined Communities (IC) : Reflection on the Origin and Spread of nationalism) โดย เบน แอนเดอร์สัน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (บรรณาธิการแปล) อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล (แบบปก)
http://www.openbase.in.th/files/tbpj042.pdf
สารบัญ : 1.บทนำ (Introduction) 2.รากฐานทางวัฒนธรรม (Cultural Roots) 3.กำเนิดของสำนึกแห่งความเป็นชาติ (The Origins of national Consciousness) 4.ผู้บุกเบิกคลีโอล (Creole Pioneers) 5.ภาษาเก่า แม่แบบใหม่ (Old Languages, New Models) 6.ลัทธิชาตินิยมทางการ และลัทธิจักรวรรดินิยม (Official Nationalism and Imperialism) 7.คลื่นลูกสุดท้าย (The Last Wave) 8.ความรักชาติ และการเหยียดเชื่อชาติ (Patriotism and Racism) 9.เทวดาแห่งประวัติศาสตร์ (The Angel of History) 10.สำมะโนประชากร แผนที่ พิพิธภัณฑ์ (Census, Map, Museum) 11.ความทรงจำกับการลืม (Memory and Forgetting) 12.กิจการเดินสาร-ข้ามผ่านภาษา: ว่าด้วยภูมิ-ชีวประวัติของ ‘ชุมชนจินตกรรม’ (Travel and Traffic: On the Geo-biography of Imagined Communities)

******แอนโทนี่ รีด:เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคการค้า ค.ศ. 1450-1680 (เล่ม 2 การขยายตัวและวิกฤติการณ์ฉบับแปล) http://trf2.trf.or.th/website_7_001/detail.asp?pid=431&catid=3&page=2
The Indonesian National Revolution, 1945 1950.(หนังสือเล่มที่อ.เบน อ้างในชุมชนจินตกรรมฯ)
Researcher’s projects(โครงการวิจัยของรีด)
History, Environment and Natural Disasters in the Indian Ocean Region
https://researchers.anu.edu.au/researchers/reid-ajs
Population history in a dangerous environment: How important may natural disasters have been?
https://researchers.anu.edu.au/publications/101629
ตอนที่ผมไปเจอแอนโทนี รี้ด คนที่สำคัญอีกคน ในฐานะคนสิงค์โปร:Wang Gungwu เป็นนักปวศ.ที่อ.ชาญวิทย์ ชอบงานผมซื้อหนังสือมาหนึ่งเล่มพร้อมขอลายเซ็นต์ คือ
Nation-building: Five Southeast Asian Histories. (Editor). Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, 2005.
https://en.wikipedia.org/wiki/Wang_Gungwu

(หมายเหตุเพิ่มเติม:บทที่11 ความทรงจำกับการลืม(Memory and Forgetting) ในหัวข้อพื้นที่เก่าและใหม่(Space New and Old) กล่าวถึงเชียงใหม่(นครใหม่) ฯลฯ แต่ในชื่อเหล่านี้ “ใหม่” มีความหมายไปในการเป็นทายาท หรือ ผู้สืบทอด ของสิ่งที่ได้สูญหายไป “ใหม่” และ “เก่า” จึงอยู่ในระนาบแนวดิ่งเดียวกันอย่างมีพัฒนาการและความต่อเนื่องในทางประวัติศาสตร์…พื้นที่ใหม่และเก่าเป็นสำนึกคู่ขนานหรือแบบเกิดขึ้นพร้อมๆกันนี้(parallelism or simultaneity) ส่วนเรื่องเวลาใหม่และเก่า(Time New and Old) กล่าวถึงเรื่องปฏิทินแบบใหม่ และนาฬิกา-นสพ.-นวนิยายโยงกับสุญกาลสหมิติ(homogeneous empty time)เป็นการขยายความบทรากฐานทางวัฒนธรรม แต่ถ้าพูดถึงจุดนี้ก็ยาวเหมือนกัน เพราะความแตกต่างต่อประเด็นเกี่ยวกับวอลเตอร์ เบนจามิน ที่เคยคุยกับอ.เบน และผมเพิ่งค้นเจอคนเขียนถึงอ.เบน และคนเขียนโต้เชิงทฤษฎี Homogeneous, Empty เรื่องนี้ (ดูเพิ่มเติมที่ลิ๊งค์) ครับ
Walter Benjamin: Messianism and Revolution – Theses on History(ผู้เขียนโดยAndrew Robinson is a political theorist and activist based in the UK.)
https://ceasefiremagazine.co.uk/walter-benjamin-messianism-revolution-theses-history/
Time and the Global: Against the Homogeneous, Empty Communities in Contemporary Social Theory(ผู้เขียนโดยJohn Kellyดูรายละเอียดได้ผมดูแค่บทคัดย่อไม่มีตังค์ดาวน์โหลดฮร่าๆ หาฟรีได้บอกผมด้วย ครับ)
http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/1467-7660.00101/abstract )

31 ธันวา
ผมถ่ายภาพตอนที่เข้าไปแวะร่วมสวดมนต์ข้ามปี หมดเคราะห์ หมดโศก ไม่มีโรคภัย เจ้ากรรมนายเวร และเรื่องร้ายหายไป สาธุ
สวัสดีปีใหม่ทุกคน โชคดีมีชัย ครับ