วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ไทย ไทเกอร์ เปรียบเทียบเกาหลีใต้ในสี่เสือเอเชีย(ไท-ลาว)

4 พฤษภา
เสือตัวที่ห้า ที่หายไป จากสี่เสือแห่งเอเชีย ( Four Asian Tigers)
เสือ หรือมังกรเอเชียเป็นคำที่ใช้อ้างถึงเศรษฐกิจที่พัฒนาอย่างรวดเร็วของฮ่องกง สิงคโปร์ เกาหลีใต้และไต้หวัน
เมื่อการคาดการณ์ไทย คือ เสือตัวที่5ของเอเซีย
หากย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 20 ปีก่อน เด็กยุค90 หรือผู้ใหญ่ในยุคนั้นก็จะมีการได้ยินว่าไทยเป็นเสือตัวที่ 5 มีการบรรจุเข้าในตำราเรียนท่องจำกันใหญ่ เห่อกันมาก ซึ่งเป็นช่วงสมัยรัฐบาลของ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ที่มีการผลักดันนโยบายเศรษฐกิจ เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า
หลายประเทศล้วนจับตาว่า ไทยอาจจะเข้ามาเป็นเสือตัวที่ 5 ของเอเซียแน่นอน แต่ก็เกิดเหตุการณ์รัฐประหารโดยคณะ รสช.ก่อนนำไปสู่เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ล้มเป็นโดมิโน่ตามมาซ้ำด้วยวิกฤติการณ์ต้มยำกุ้ง คราวนี้เสือตัวที่ 5 ก็เลยกลายเป็นแมวไปซะอย่างนั้น(*)
กรณีไทยแลนด์บ้างก็เปรียบเทียบเมื่อก่อนเกาหลีใต้มาดูงานที่ไทยหลายอย่างมาก กลับกันไทยต้องมาดูงานเกาหลีใต้แทน เพราะไทยแลนด์ กลายเป็นดินแดน ที่ยังมีรัฐประหารขัดจังหวะการพัฒนาเศรษฐกิจ ต่อมาปี2549 (**) และปี2559 ยังมีปัญหาเสรีภาพสื่อ โดยทหาร จับเว็บเพจล้อเลียนเป็นข่าวดังด้วย(***) ในรอบสิบปีที่ผ่านมาจากการรัฐประหารโดยทหารไม่สามารถประคองปัญหาเศรษฐกิจให้ดีได้พิสูจน์มาแล้ว ต้องรีบคืนอำนาจให้ประชาชน ครับ  
* 20กว่าปีผ่านไปยังจำได้มั้ย?? ไทยจะเป็นเสือตัวที่5 ของเอเซีย
**ผมเคยเขียนเรื่องเสือไว้บางส่วนใน"24มิถุนา,28กรกฏา,4ธันวา,10ธันวา"และYoungPADผ่านประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมไทย

***ภาพประกอบท่องเที่ยว

5 พฤษภา
เดือนที่แล้วผมเล่าบทสนทนาในความทรงจำผ่านของฝาก จากcomradeที่เคยเข้าป่า นำหนังสือเกี่ยวกับเกาหลีมาให้ผม พร้อมแผ่นสารคดี กับแผ่นเพลงของจิตร ภูมิศักดิ์(*วันนี้เป็นวันนักเขียนเล่าเรื่องหนึ่งถึงจิตร ด้วย) มาให้ผมซาบซึ้งแถมเลี้ยงอาหารอันโอชะ เนื้อปลา อื่นๆ และเราคุยกันเรื่องเหมาเจ๋อตุง ว่าคนเข้าป่าเคยมีบางคนเอาคติพจน์เหมาฯ ที่เป็นหนังสือมาทำเป็นเศษกระดาษมวนบุหรี่ ในเรื่องเล่าพูดคุยสนุกกันเยอะ ทั้งหนังสือ ในแง่นักอ่าน กับนักแปลโดยผมยกตัวอย่างเชอร์ล็อคโฮมส์สำนวนแปล(**) และเราคุยเรื่องหนังสือ เพลง สารคดี  รวมทั้งเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ในอดีต-ปัจจุบัน

โดยผมเขียนเล่าสั้นๆ และอยากนำเสนอจำได้ดีอย่างเด่นมาเล่าต่อก็เรื่องแนะนำให้ไปดูเฟซฯกลั่นจากความทรงจำภาคเหนือ ซึ่งเพื่อนของcomradeเขียนที่เฟซฯ และผมกลับมาอ่านเรื่องเล่าประวัติศาสตร์ตอนเข้าป่าจากเขตน่าน ฯลฯ มีเรื่องนักศึกษา มช. ที่มีการปรากฏตัวของแผนที่(***) ใช้ประโยชน์สำหรับคนเข้าป่า(เขียนยาวอ่านเพิ่มเติม) และสถานการณ์ปี2521-22 ที่โยงกับเหตุการณ์เชิงโครงสร้างอย่างปรากฏในหนังสือSIAM MAPPEDDฯ และหนังสือชุมชนจินตกรรมฯ (****) ที่ผมเขียนสั้นๆ
เพราะบริบทของแผนที่เชิงอุปมาอุปไมยในแง่ปลาอย่างที่เหมา ฯ เคยพูดวาทะThe guerrilla must move amongst the people as a fish swims in the sea.”(*****) และแล้วผมกลับมานำเสนอซ้ำต่อเนื่อง แบบอธิบายสองมุมมองเล่าเรื่องหนึ่งผมไม่ได้เล่าเรื่องขยายความ ในแง่วิทยานิพนธ์Siam Mappedd ใช้เวลาเขียนนาน ดีกว่างานวิจัย(ผมไม่ได้พูดเรื่องMethod) ในบทสนทนากับComrade ก็อธิบายว่าไม่ว่าจะapproach หรือปัจจัยอื่นๆ

ดังนั้น เขาสรุปว่างานจะคมอยู่ที่คน….ผมเขียนเพื่อเล่าจบบทสนทนา แต่ส่วนตัวนึกอยากกลับไปจบบทกวีของจิตร คือ นิราสรักแม้จากคลาคราวนี้แล้วที่ไหน จะพบองค์นงรามได้ตามใจ….แต่ตัวจิตรคิดไปให้สังเวช ต้องทุเรศร้างรักลงหักหวลคำบุราณท่านว่าน่าตรึกตรอง น้ำจะนองท่วมถั่งเหมือนรังนก นกกระจาบคาบพงจากดงหญ้า ค่อยอุตส่าห์สานรังไว้บังปกแม้นหมู่คนทนยากบากบั่นไป ก็คงได้สมหวังเหมือนดังเจนต์สักหน่อยเถิดเกิดโชคหมดโศรกเวร(******)   

*หนังสือที่comrade นำมาฝากดังกล่าวเกี่ยวกับเกาหลี เป็นประวัติขบวนการประชาธิปไตยในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970-80หรือจาก2513ถึง2523)ซึ่งผมเคยได้รับจากเขา และเดือนที่แล้วผมกลับบ้านแวะค้นหนังสือเก่า เห็นนิตยสารwriter เก่าๆเล่าเรื่องจิตร ภูมิศักดิ์(ผู้เขียนงานศิลปะเพื่อชีวิต) กับการค้นคว้าของเมือง บ่อยาง(นามปากกาวิชัย นภารัศมี)สำหรับประเด็นใหม่ ในเรื่องจิตร กับการวาดแผนที่(ดูรูปประกอบ) แน่ละผลงานและประวัติของจิตร ถูกเล่าหลายด้านเยอะมากในปัจจุบันด้วย ครับ
**ข้อสังเกตการแปลอย่างเช่น ภาษาอังกฤษควรแปลคำว่า you ใช้คำว่า “กัน”(ให้สนิทเป็นโฮมส์ คุยกับวัตสัน) หรือ คำว่า “ครับ” ไม่มีความสุภาพแบบไทย ดูเพิ่มเติม
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2008/02/K6338838/K6338838.html

***https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1391612347726252&id=100006325003624&substory_index=0
(comradeเล่าหลายเรื่องแต่ผมอยากเน้นเพิ่มเติมกรณีเปรียบเทียบไทยกับอินโดนีเซีย กรณี 6 ตุลา และการชำระคดีของอินโดนีเซียอีก50ปีของเหตุการณ์ ฯลฯ)

****https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1281522795210279&id=100000577118415
(หนังสือชุมชนจินตกรรมฯ ในแง่อ.เบน ชอบงานวรรณกรรมในหนังสือจะโยงการเปรียบเทียบกับวรรณกรรมอย่างเช่น หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยวของมาร์เกซ ฯลฯ โปรดสังเกตหาอ่านได้)
ผมเขียนเปรียบเปรยแผนที่
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1281522795210279&id=100000577118415
******ผมเรียบเรียงบทกวี ที่มีมากยกตัวอย่างเกี่ยวกับชาติเสือต้องไว้ลาย และชาติชายต้องไว้ชื่อถึงยุคทมิฬมาร จะครองเมืองด้วยควันปืน  ในโคลงสรรเสริญเกียรติกรุงเทพมหานครยุคไทยพัฒนานี้ มีอยู่ ๓ ตอน คือ ตอนที่ ๑ สรรเสริญเกียรติกรุงเทพมหานครตอนที่ ๒ "หิรัณยักษ์ม้วนแผ่นดิน" ตอนที่ ๓ หนุมานอมพลับพลา
ผมเขียนสั้นๆ แล้วก็ดันคิดถึงผมเคยเขียนถึงจิตร ในแง่มุมศิลปะ ซึ่งคนเขียนถึงจิตร กันมามากทั้งแง่อิทธิพลเหมาอิสต์ ก็ตาม ดังนั้น ภาพประกอบผมเล่นกับเหมาเจ๋อตุง กับภาพศิลปะร่วมสมัยปัจจุบัน ในยุคระบบโลก-โลกาภิวัตน์ รวมทั้งรูปของฝาก+ภาพประกอบเรื่องเล่า+ภาพผมในเกาหลี ครับ

6 พฤษภา

วันศุกร์นี้ผมฟังนายกฯทหารพูดเรื่องGDP( ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศผมคิดในแง่เปรียบเทียบGDPโตแค่ 0.7% ซึ่งถือว่าน้อยมาก ซึ่งมีสาเหตุมาจากการใช้จ่ายภายในประเทศทั้งเอกชนและภาครัฐในปี2557) แล้วจับประเด็นเปรียบเทียบกับช่วงต้นปีที่มีวาทกรรมเรื่องเสือ(*)
"เราเคยได้ยินว่าเราเป็นเสือแห่งเอเชียเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว คราวนี้เราจะกลับมาเป็นเสืออีกครั้งหนึ่ง" นี่เป็นเรื่องที่สมคิด รองนายกฯ ด้านเศรษฐกิจกล่าวไว้(**)

แน่ละ ผมเปรียบเทียบจากประสบการณ์ไปเกาหลีใต้ แม้เคยไปฮ่องกง มาแล้วตามภาพประกอบเกาหลีๆ ด้วย ครับ

*เสือที่เขียนมาแล้ว หรือการเขียนเชิงอุปมาปลาของตัวตนของชาติในกระแสโลกาภิวัตน์ ไม่ว่าจะเป็นเสือที่ถูกสร้างขึ้นได้


** ดูวาทะเรื่องเสือ
ดูเพิ่มเติมของข่าวสด


8 พค
รำลึกบทสนทนาพี่...ยุให้ผมไปร่วมกิจกรรมยืนนิ่งๆ ผมไปยืนนิ่งๆแล้วที่เกาหลีใต้ แล้วก็ฮร่ากันไป ครับ^^
(ผมสังเกตข่าวแม่จ่านิวอายุ40ปีแก่กว่าผมแค่สามปีผมนี้รู้สึกแก่เลยครับ)
ปล.8 ..South Korea (Parents' Dayคือวันครอบครัว)


17 พฤษภา
17.1
16-17 พฤษภา ปี2535-53 กับคนงานผมหวนกลับมาให้ทบทวนโฟกัสอดีตความรุนแรงจากรัฐไทย(หรือปัญหานายกไม่ได้มาจากการเลือกตั้งฯลฯ) ในด้านแรงงาน เนื่องจากผมทำเว็บเพจเครือข่ายแรงงานฯ และส่วนตัวที่เคยอ่านหนังสือด้านแรงงานเกาหลีบวกกับอ่านงานแรงงานเกาหลีเปรียบเทียบไทย(*) และผมเขียนเรื่องเปรียบเทียบไทยกับเกาหลีใต้(**)อย่างต่อเนื่องมาแล้ว แต่มองโลกแง่ดี(optimism)  ทำให้ผมคิดถึงเคยเข้าร่วมงาน ที่มีตัวแทนจากเกาหลีใต้ พูดเรื่องแรงงาน(***)

มีภาพประกอบแรงงานก่อสร้างในเกาหลี มีคนงานทาสี ฯลฯ นี่มีภาพประกอบบรรยากาศเมือง ที่ใช้แรงงานมนุษย์สร้างสถาปัตยกรรมขึ้น ทำให้ผมนึกถึงปีที่แล้วเจอคนเกาหลี โดยผมเล่าเรื่องไม่เครียด ก็ผมคุยกับสาวเกาหลี เล่าเรื่ององค์กรมีการรณรงค์เรื่องสิทธิโดยดัดแปลงเพลงเต้นของกังนัมสไตล์ด้วย ต่อมาผมมีมุขขึ้นมาเวลาผมนั่งโต๊ะกินข้าวร่วมกับสาวเกาหลีกับพรรคพวก ก็คุยเรื่องเล่าประสบการณ์จากที่พัก แถวข้าวสาร(ที่เธอพักแถวนั้น)

ตอนเช้ามีคนทักผมเป็นภาษาอังกฤษคุยขำๆ และผมพูดเล่นๆ ว่าทุกคนทักว่าผมเหมือนคนเกาหลี ผู้ร่วมโต๊ะหัวเราะ แล้วสาวเกาหลีบอกNoๆแหะๆ ผมกลับมาสรุปนิดหน่อยเรื่องจริงๆงานนั้น มีสาระ ด้านคนงานไทยทางภาคตะวันออก เล่าเรื่องบริษัทกำลังลดพนักงานประจำ นำโรบอทเข้ามาทำงานยกแทนคนยกกระจก ถ้าเครื่องจักรมาแทน ลดจำนวนคนทำงานตามผลกระทบทางเศรษฐกิจ ในวันใด วันหนึ่งแรงงานไทยจะกลับมาสู้ต่อจากหลัง14ตุลามารสช.(พลังสำคัญแรงงานถดถอย)  ตอนนี้ยุคหลังคมช.-คสช.

ที่ใดมีการกดขี่ ข่มเหงรังแก ย่อมมีการต่อสู้โต้กลับโดยธรรมชาติ(คนไม่ใช่โรบอท) สักวันจะไปสู่ภาวะสุกงอมของการต่อสู้ของคนงาน ครับ

*ดูงานเขียนด้านแรงงานเกาหลีในหนังสือแรงงานเกาหลี: วัฒนธรรมและการเมืองว่าด้วยการก่อตัวทางชนชั้น(ลิ๊งค์นี้เป็นรีวิว)เปรียบเทียบเกาหลี กับไทยในโรงงานทอผ้าฯ รวมทั้งกรณีอังกฤษ คือ The Making of the English Working Class.(1963) ของอีพีทอมสัน (E.P.Thompson) เป็นงานศึกษาชนชั้นแรงงานอังกฤษฯ เป็นแรงบันดาลใจให้Raymond Williams  จนมาเป็นต้นธารวัฒนธรรมศึกษาแบบสํานักอังกฤษ  ที่ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อประเด็นศึกษาการต่อสู้ ต่อรอง ที่ซ่อนอยู่ในวัฒนธรรมเศรษฐกิจ และการเมืองในชีวิตประจำวัน เป็นสำคัญงานชิ้นนี้ของฮาเก็นอ้างถึงงานของอีพีทอมสันมากพอสมควร โดยเฉพาะในส่วนของบทนำที่ว่าด้วยการก่อตัวของแรงงานเกาหลีใต้ในหนังสือเล่มนี้
file:///C:/Users/Administrator/Downloads/SNSSH-2012-972.pdf
ดูบทนำ:การก่อตัวของชนชั้นแรงงานเกาหลีใต้(The Making of the Korean Working Class )
https://books.google.co.th/books?id=Arkr-1JRyTwC&pg=PA1&hl=th&source=gbs_toc_r&cad=2#v=onepage&q&f=false

ดูงานเขียนเปรียบเทียบไทยกับเกาหลีใต้ ด้านแรงงาน เช่น หนังสือไม้ขีดก้านเดียวฯ(มีPDFให้โหลดฟรี)ไม้ขีดก้านเดียวที่เปลี่ยนสังคมเกาหลี: เกาหลีเปลี่ยนแล้ว เมืองไทยทราบแล้วเปลี่ยน?
2513 ทศวรรษแห่งการต่อสู้ของกรรมกรโรงงาน การประท้วงของชุน เต-อิล….>>2530 หนึ่งปีเต็ม แห่งการสไตรค์ของสหภาพแรงงานประชาธิปไตย >> 2531 ลุกขึ้นสู้ทั้งประเทศเพื่อร่วมกันขับไล่เผด็จการจนสำเร็จ >> ปัจจุบันพวกเขากำลังสู้กับลัทธิเสรีนิยมใหม่
การเข้าคุกคืองานหลัก ออกมานอกคุกคืองานอดิเรก” แม้แต่คนจบ ดร. อาจารย์มหาวิทยาลัยเพื่อนของข้าพเจ้าก็เข้าคุก 6 เดือนเพราะกิจกรรมนักศึกษา เขาบอกว่า ชุน เต-อิล คือแรงบันดาลใจให้เขาและนักศึกษาเกาหลีใต้ นักกิจกรรมและนักสหภาพแรงงานที่เกาหลีบอกว่า การจะขึ้นมาเป็นประธานสหภาพนั้นดูกันว่า “ใครเข้าคุกมากี่ครั้ง”..ใครไม่เคยสู้
(ข้อสังเกต บอยไม่อยากเข้าคุกๆคิกๆเป็นงานหลัก ชอบตรงที่เขียนออกแนวตลกๆนักทฤษฎีปฏิวัติส่วนใหญ่ใช้เวลาไม่น้อย หมดไปกับขวดเบียร์ และถกกันทั้งคืนเกี่ยวกับ 100 ปัญหาที่เกิดจากการต่อสู้หรือ..พวกเขาจะนัดพบเจอกันในร้านเครื่องดื่มเล็กๆ พูดคุยกันจนดึกดื่นเรื่องการเมือง..)


**ผมเขียนเปรียบเทียบไทยกับเกาหลีมาต่อเนื่องไม่อยากเขียนยาวย่อๆ ดูเพิ่มเติมที่แก้ไขด้วย ครับ

***ภาคอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิคส์ (หรือกรณีคนงานภาคบริการโรงแรมเปรียบเทียบไทยกับเกาหลีใต้ฯลฯ)อีก ครับ

18-19 พฤษภา ทบทวนปวศ.เปรียบเทียบไทยกับเกาหลี ในเหตุการณ์ 18 พฤษภาคม พ.. 2523 ส่วนหนึ่งของการชุมนุมต่อต้าน นายพลชุน ดูฮวาน ที่ทำรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลชอย คูฮาในเดือนธันวาคม พ.. 2522 ถึงขบวนการประชาธิปไตย และเหตุเกิดที่กวางจู(*) แต่ผมเล่าสบายๆผ่านมุมมอง ณ บ้านอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งผมพูดถึงผมไปเกาหลีมาคนที่ไปก็มีพวกชุมนุมกับ “กปปส.” โดยเราคุยกันหลายเรื่องต่อมาเรามารำลึกเหตุการณ์บ้านเมืองไทยกันถึงหลัง19 พฤษภา53  แล้วทหารจะมาบ้านอาจารย์ไหมเนี่ย(ฮร่า) กันไปในวงสนทนา
ต่อมาผมกลับมาคิดได้เขียนต่อเปรียบเทียบแล้วต่อเนื่องไทยกับเกาหลี(**) เราก็อาจจะมีข้ออ้าง หรือคำอธิบาย (ที่เป็นเรื่องจริง)ได้ว่า คนเกาหลีใต้โชคดีกว่าไทย ที่สู้กับเฉพาะทหารและนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ เท่านั้น ไม่เหมือนประเทศไทย…. เหตุการณ์กวางจูกลายเป็นจุดเดือดที่ทำให้สังคมเกาหลีไม่สามารถทนอยู่กับเผด็จการได้อีกต่อไป และส่งผลให้นับตั้งแต่ปี 2523 จนถึงปี 2531 เป็นช่วงเวลาแห่งการจัดตั้งทางอุดมการณ์ทั่วทั้งเกาหลี การจับกลุ่มพูดคุยปัญหาบ้านเมือง ถกกันอย่างเอาเป็นเอาตายกับทฤษฎีการเมืองต่างๆ….การวางแผนการต่อสู้ เกิดขึ้นในทุกเมือง ทุกย่านที่พักอาศัย ย่านอุตสาหกรรม ทั้งกรรมกร ชาวนา และนักศึกษาที่กระจายตัวลงไปช่วยจัดตั้งทั้งในหมู่กรรมกร และชนบท (***)
เมื่อผมคิดต่อในแง่ตลก ที่ว่าคนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก แต่คนเกาหลีดื่มเหล้าห้าขวด จากประสบการณ์ที่ไปมาได้ข้อมูลนี้ เราเลียนแบบเกาหลีหาร้านเครื่องดื่มนั่งคุยเรื่องการเมืองได้ไม่หนักเป็นตับแข็งเท่าเกาหลี อาจจะกินเกาเหลาไปด้วยกัน(ฮร่า)
อย่างไรก็ดี ไทยเคยเจริญพัฒนากว่าเกาหลี ต่อมาเกาหลีจากปี2523-31 ใช้เวลาเกือบสิบปี ส่วนไทยจากปี2535 กลับไปกลับมาระหว่างประชาธิปไตยกับเผด็จการทหาร2549-2559 ใช้เวลาเกือบสิบปี จากจุดเดือดปี19..2553(****) ที่ประยุทธ์(ปลายุทธ์)เกี่ยวข้องเหตุการณ์พฤษภาเลือด หรือพฤษภาอำมหิต(ฯลฯ) อาจจะใช้เวลาสำหรับจิตสำนึกและอุดมการณ์ของขบวนการประชาธิปไตยร่วมสมัย(*****) และขบวนการเคลื่อนไหวแรงงานไทย(******) เปรียบเทียบพัฒนาการขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี(*******) ต่อมาเกิด ยังใช้เวลาหน่อย เกาหลีกว่าจะสุกงอม แม้ว่าคนยอมเสี่ยงไปเข้าคุกถูกจับ ครับ

หากวันใดที่ใดพวกเราจะนัดพบเจอกันในร้านเครื่องดื่มเล็กๆ พูดคุยกันจนดึกดื่นเรื่อง  ชีวิต จิตรคิดไปให้พ้นทุกข์ เกิดโชคหมดโศรกเวร แรงบันดาลใจจากจิตร ภูมิศักดิ์)


*http://thaienews.blogspot.com/2016/05/may18.html
**https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1303838362978722&id=100000577118415
ไอเดียที่ผมได้แรงบันดาลใจมาจากอีพีทอมสัน
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1283792914983267&id=100000577118415
(คนไทยเคยคิดว่าโชคดีไม่เหมือน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว :the Lao People's Democratic Republic (LPDR)อาจจะกล่าวกลับกันก็ได้โชคดีที่ลาวเปลี่ยนก่อนไทย หรือคนไทยเคยคิดในแง่ไม่เป็นอย่างเผด็จการทหารพม่า คือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า  (Republic of the Union of Myanmar)โชคดีพม่าเปลี่ยนก่อนไทย แต่เกาหลีใต้ เป็นหนึ่งในสามเสือของสี่เสือเอเชีย ที่เป็นRepublicประเทศพวกนี้เป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ /Newly Industrialized Countries: NIC)
****หนังสือพิมพ์มติชนรายวันหน้าที่ 2 ฉบับวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 ได้บันทึกเอาไว้ ในบทความเรื่องแผนศอฉปิดประตูตีม็อบอนุพงษ์-ประยุทธ์-ดาว์พงษ์บัญชาการ
*****แรงบันดาลใจจากหนังสือจิตสำนึกและอุดมการณ์ของขบวนการประชาธิปไตยร่วมสมัย(หลังปี2535) ใช้วิธีการศึกษาจิตสำนึกจากอีพีทอมสัน โดยผมอธิบายย่อๆ ว่าจิตสำนึก,อุดมการณ์,ทัศนคติใช้ในแง่นี้ความหมายเดียวกัน ซึ่งหนังสือใช้ทฤษฎีอื่นๆอีกอธิบายพรรคการเมือง,เอ็นจีโอ,แรงงาน  มีผู้อภิปรายมากหนึ่งในนั้น คือ อ.สศจ.เป็นต้น
******ดูรายละเอียดหนังสือประวัติศาสตร์ขบวนการแรงงานไทยยุคเริ่มต้นถึง พ..๒๕๓๒ และอ.นภาพร 4ทศวรรษแรงงานไทย ในย้ำยุค รุกสมัยเฉลิมฉลอง 40 ปี 14 ตุลา
*******แจกหนังสือ 'ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี' โหลดฟรี
(การประท้วงของคนเกาหลีหลากหลายอาชีพ ทั้งกรรมกร ปัญญาชน ครู อาจารย์ ฝ่ายศาสนา โดย
คนเกาหลีฆ่าตัวตายประท้วงเยอะ และสถิติการฆ่าตัวตายในปัจจุบันของเกาหลีก็เยอะด้วย)
The History of the Democratization Movement in Korea(อ่านฟรีภ.Engเป็นPDF)
 (ภาพประกอบ The National Assembly ของเกาหลีใต้)
หนังสือน่าสนใจของเกาหลีใต้ เกี่ยวกับขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม หลังเปลี่ยนผ่าน

May 18 พฤษภาทมิฬของเกาหลีใต้(เหล่าแรงงานนอกระบบ เช่น คนขับรถแท็กซี่ เป็นส่วนหนึ่งของตัวละครหลัก มีคนเปรียบเป็นลุงนวมทอง)
https://www.youtube.com/watch?v=FxuwDDt8ON4

22..59
22 ..2523-59   ไทยไม่อยากเหมือนลาว(*) ดูอยากเจริญพัฒนาแบบเกาหลีใต้เป็นเสือเอเชีย(ไม่อยากเป็นไทยเหนือไทยใต้) ย้อนกลับเปรียบเทียบ เกาหลีใต้ 22.. 2523(**) ที่มีความจำเป็นทางประวัติศาสตร์ของการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยในเกาหลีโดยลำดับเหตุการณ์ที่เป็นพัฒนาการสำคัญในแต่ละช่วงและข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์เหล่านั้น ,,,,,,ทั้งผลสำเร็จและข้อจำกัดของการพัฒนาประชาธิปไตยในช่วงก่อนปี ๒๕๓๐ (***)

เมื่อกระแสทางการเมือง และเศรษฐกิจต่อประเทศเพื่อนบ้านในยุคสงครามเย็น เริ่มสงบตามมาด้วยกระแสโลกาภิวัตน์ และวิกฤติสิ่งแวดล้อม... ต่อมา "นโยบายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า" ทางเศรษฐกิจของไทยกับเพื่อนบ้าน เพื่อเข้าสู่กระแสโลกาภิวัตน์ และต่อมาหลังกรณี "ม็อบมือถือ" พฤษภาในปี 2535 ..วิกฤติเศรษฐกิจเกิดขึ้นอีกครั้งในปี 2540 ขณะที่ไทยประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจ (ในนามต้มยำกุ้ง) เป็นโศกนาฏกรรมสยาม : การพัฒนาและการแตกสลายของสังคมไทยสมัยใหม่(****)

โดยการพัฒนาเป็นสี่เสือเอเชียหายไป  และผมเคยเขียนไปแล้ว โดยยกตัวอย่างงานเขียนเก่าเล่าใหม่เปรียบไทยกับเกาหลี คือ การกระจายอำนาจ ต้องไม่สร้างสภาวะยกเว้นเรื่องทหาร และทหารต้องถูกตรวจสอบโดยองค์กรอิสระ เหมือนการกระจายอำนาจตัวอย่างเกาหลีใต้ กรณียกตัวอย่างเปรียบเทียบให้เห็นภาพ จากการกระจายอำนาจและการปฏิรูปการเมืองในเกาหลีใต้เปรียบเทียบกับไทยโดยคนเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่เป็นเพียงเครื่องมือทางการเมือง เช่น อานันท์ ปันยารชุน ดูเป็นคนใสสะอาด  แต่นายกรัฐมนตรีไม่ได้มาจากเลือกตั้ง ไม่ได้เป็นตามหลักการเลือกตั้งของประชาธิปไตย และเราต้องพัฒนาวัฒนธรรมให้หายจากโรคคอรัปชั่น มือไม่สะอาดให้ได้
ส่วนกรณีมีคนเคยวิจารณ์เพื่อความก้าวหน้า จากอดีตที่มีปฏิรูปการเมือง แนวการกระจายอำนาจ ไม่มีปฏิรูปด้านควบคุมกองทัพ เหมือนเกาหลีใต้ ในบริบทของไทย จากปี2535-2538 แล้วเกิดการร่างรัฐธรรมนูญ 2540-49 ก็รัฐประหารอีกครั้งพร้อมเรื่องคอรัปชั่น ซึ่งต้องแก้ไขปัญหาคอรัปชั่น และรัฐประหารไม่ให้เกิดอีกต่อไป…. แม้แต่ด้านการศึกษาพัฒนาประชาธิปไตย..(*****)
ทั้งนี้ ผมเขียน โดยเพิ่มเติมขยายความเปรียบเทียบจากประสบการณ์ที่ไปเกาหลีใต้(******) แล้วหลังรัฐประหาร22..57 ไทยอยากเป็นเสืออีกครั้ง แต่มีการรัฐประหารขัดแย้งเส้นทางเหมือนเดิม ใน2549  ซึ่งขบวนการทางสังคมต้องเรียกร้องไม่มีรัฐประหาร ต่อมาเกิดกระจายอำนาจเหมือนอย่างเกาหลีใต้ โดยควบคุมกองทัพ และการเปลี่ยนผ่านของประชาธิปไตย(*******)  เป็นเรื่องที่ต้องแก้ไขให้ได้ด้วย ครับ

*คนไทยโชคดีไม่เหมือนลาว,เขมร,เวียดนาม ทำให้ผมนึกถึงบทเทวดาแห่งประวัติศาสตร์ในหนังสือชุมชนจินตกรรมฯ(หรือปัจจุบันนี้ไทยกับพม่า ใครโชคดีกว่ากัน? /เปรียบเปรยแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ)ที่ผมเคยเขียนปวศ.เข้าป่าจากเขตน่าน มีเรื่องนักศึกษา มช. ใช้ประโยชน์แผนที่สำหรับคนเข้าป่า สถานการณ์ปี2521-22 (หลัง14ตุลา 16) ไอเดียที่น่าคิดจุดสมดุลแง่ดีแง่ร้ายแรงบันดาลใจจากกรัมชี่(So, for a more balanced approach to questions of optimism and pessimism)


**เกาหลีใต้ 18-27 พฤษภาคม พ.. 2523 (การชุมนุมต่อต้าน นายพลชุน ดูฮวาน ที่ทำรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลชอย คูฮาในเดือนธันวาคม พ.. 2522)

***แจกหนังสือ 'ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี' โหลดฟรี
The History of the Democratization Movement in Korea(อ่านฟรีภ.Engเป็นPDF)
(ไทยแลนด์ไม่อยากให้แบ่งเป็นไทยเหนือ ไทยใต้อย่างกรณีปัญหาภาคใต้)

มังกรกำสรวล : วิกฤตเศรษฐกิจฟองสบู่ของเอเชีย เล่ม ๑
[Dragons in Distress : Asia’s Miracle Economy in Crisis]
เกาหลีใต้ ไต้หวัน และสิงคโปร์
*****หลายปีก่อนผมเคยเขียนเรื่องนี้ในคอลัมภ์วัฒนธรรมฯของนิตยสารเนชั่นฯ(หรือผมเคยเขียนถึงองค์กรอิสระเป็นเสือกระดาษ เช่น การเปรียบเทียบกับกกต.ไทยกับกกต.เกาหลีใต้ จัดเลือกตั้งยุติธรรม)
******หากเปรียบเทียบเกาหลีใต้ ไทย ลาวเป็นเหมือนสามคนสามทาง ความย้อนแย้งของพัฒนาการไทยกับลาว ที่เคยมีดินแดนแผนที่ ร่วมกันแยกทางพัฒนาการไปคนละทาง(คนไทยเคยคิดว่าโชคดีไม่เหมือน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว :the Lao People's Democratic Republic (LPDR)อาจจะกล่าวกลับกันก็ได้โชคดีที่ลาวเปลี่ยนก่อนไทย แต่ลาวก็ไม่ได้เดินเส้นทางเป็นเหมือนเกาหลีใต้ ที่ปัญญาชน ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา นักเขียน กรรมกร ชาวนา หลากหลายอาชีพแรงงานนอกระบบถูกจับในเกาหลี โดยที่นี้ผมสังเกตเปรียบเทียบเฉพาะเรื่องปัญญาชนเป็นเรื่องน่าสนใจอย่างงานของกรัมชี่ บทบาทของปัญญาชนไทย(อ.เสกสรรค์ ฯลฯ กรณีอ.เสกฯในหนังสือเร่ร่อนหาปลา,วิหารที่ว่างเปล่าฯ) โดยผมเคยสนใจเขียนโครงร่างค้างไว้จะเสนอบทความประชุมวิชาการฯ แต่ผมเขียนไม่เสร็จยังไม่สุกงอม จากยุคก่อนและหลังป่าแตกไทยกับลาว-2557แรงบันดาลใจจากหนังสือจิตสำนึกและอุดมการณ์ของขบวนการประชาธิปไตยร่วมสมัย(หลังปี2535) ใช้วิธีการศึกษาจิตสำนึกจากอีพีทอมสันและทฤษฎีปฏิบัติการ(A Theory of Action) ที่เน้นว่าปฏิบัติการและนโยบายเป็นสิ่งสะท้อนจิตสำนึกของขบวนการทางสังคมด้วย
(ภาพผม เดินเล่น/รัฐสภาเกาหลีอีกครั้ง ครับ)

*******Democratization and Social Movements in South Korea: Defiant Institutionalization


-เพลงโซลิดาริตี้ภาคภาษาเกาหลี เป็นเพลงที่ขบวนคนงานไทยแปลงเพลงมาร้องเวลาเดินขบวน ชุมนุม หรือรณรงค์ เพลงนี้แต่งขึ้นครั้งแรกที่เกาหลี หลังจากเหตุการณ์การลุกขึ้นสู้ของประชาชนที่เมืองกวางจู อันนี้เป็นเวอรชั่นในหนังMAy18  https://www.youtube.com/watch?v=gY1z81KIu5o

24 พฤษภา
ผมอ่านข่าวประยุทธ์อ้างร.5 พลันคิดถึงรูปภาพที่ผมถ่ายกับชุดโบราณ ถ้าสมมติทำคลิปสั้นๆเล่าเรื่องย้อนยุค ทำให้นึกถึงเล่าเกร็ดปวศ.เปรียบเทียบเกาหลีใต้ กับลาว และไทย(สยาม) ในสมัยร.5 เป็นเวลาใกล้กับราชอาณาจักรโชซ็อนที่ประกาศยกสถานะของรัฐจากราชอาณาจักรเป็นจักรวรรดิ เท่าจักรวรรดิชิง และ จักรวรรดิญี่ปุ่น จนกระทั่งถูกจักรวรรดิญี่ปุ่นยึดครองในปี ค.. 1910(*2453)
โดยไทย(สยาม)วิกฤตการณ์ ร.. 112  ยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง รวมทั้งดินแดนอื่น ๆ ดินแดนลาวเกือบทั้งหมดก็เปลี่ยนไปตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของประเทศฝรั่งเศสในปีนั้นและถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอินโดจีนฝรั่งเศส ต่อมาภายหลังดินแดนลาวส่วนอื่นที่อยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขงก็ตกเป็นของฝรั่งเศสอีกในปี พ.ศ. 2450(**1907)

จากการเปรียบเทียบดังกล่าวดูพัฒนาการ(Development)สังคม มีกล่าวถึง"ความเสื่อมเป็นเรื่องเดียวกันกับการสร้าง เพื่อจะบอกว่าที่มาของการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.. ๒๔๗๕ มาจากรัชกาลที่ ๕  พร้อมกับการสร้างมันก็เสื่อมด้วย มันเกิดการท้าทายพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์เป็นครั้งแรก ก็เลยใช้คำว่า decline และจงใจหยุดที่ตรงนั้น เพราะเห็นว่ามีเงื่อนไขพอที่จะนำไปสู่ ๒๔๗๕ ได้ แต่ถ้าจะทำการศึกษาถึงรัชกาลที่ ๗ หรือ ๒๔๗๕ จะเป็น the fall"(***)

เมื่อผมพิจารณาถึงประวัติศาสตร์เชิงโครงสร้าง หรือปัจเจก ผ่านเวลาเป็นพัฒนาการของสยามถึงไทย ทำให้ผมสมมติตัดต่อคลิปสั้นๆ รวดเร็วมาปัจจุบัน

ดังนั้น วันนี้เรากำลังปฏิรูปประเทศครั้งที่ 2 ครั้งแรกเราปฏิรูปประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการจัดระเบียบข้าราชการ ส่วนราชการ กระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ ซึ่งเราได้ผ่านช่วงเวลานั้นมานานแล้ว วันนี้เรากำลังจะปฏิรูปประเทศเป็นครั้งที่ 2 บางคนบอกว่าไม่ต้องแต่มันไม่ได้ ถ้าเราไม่ปฏิรูปก็จะถูกกดดันจากภายนอกในทุกมิติ และถูกกดดันจากภายในประเทศด้วย เรายังมีปัญหาอีกมาก ส่วนโลกภายนอกก็แบ่งกันเป็นกลุ่มเป็นฝ่าย ขณะเดียวกันก็มีคนของเราเองไปทำให้ข้างนอกกดดันประเทศอีกพล..ประยุทธ์ กล่าว(****)  ผมเกิดความคิดต่อเนื่องจากที่เคยเขียนไว้(*****) ทำให้คิดว่าต้องถอดรหัสเป็นคำถามที่1 คำถามปลายเปิดทางปวศ. กลับมาหานายพล กำลังสร้างและDeclineในวาทกรรมปฏิรูป อย่างไร? คำถามที่2 เราจะมองแง่ดีแง่ร้ายอย่างสมดุลต่อปวศ.ดังกล่าวอย่างไร? ครับ

*วิกิพีเดียเกาหลีใต้ หรือดูรูปประกอบพระราชวังที่ผมถ่ายเผยแพร่แล้ว
**วิกิพีเดียลาว
ฟรี E-book: "ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ"
(ดูบท:วิวัฒนาการของคำว่า ไท และ ลาว นี่เป็นงานทางนิรุกติศาสตร์และภาษาศาสตร์สังคมที่มีความโดดเด่น ด้านงานค้นคว้าที่ยังเขียนไม่เสร็จนี้ จิตรใช้เวลาเขียนอยู่ประมาณ 7 ปี ในขณะที่ถูกจองจำอยู่ในคุก และจิตรมีความเห็นเกี่ยวกับคำว่าสยามดังนี้ "ต้องแปลว่า ลุ่มน้ำ หรือเกี่ยวกับ น้ำ
ใช้หลักวิชาการด้านภาษาศาสตร์ เปรียบเทียบเชิงประวัติ (Comparative Historical Linguistics) ดูเพิ่มเติมทางเน็ต)


ผมเขียนอิงลาวบ่อย เพราะวิทยานิพนธ์ของผม เปรียบเทียบไทยกับลาวอย่างที่เคยเล่าไว้ และชื่อเรื่องภ.อังกฤษ คือ Impact of development and globalization on natural resources in the upper Mekong river : the decline of fish
***สมบูรณาญาสิทธิราชย์ จุดเริ่มและจบที่พบกันในรัชกาลที่ ๕ (1 มกราคม พ.. 2549 ปีที่ 27 ฉบับที่ 03 ศิลปวัฒนธรรม อ้างสัมภาษณ์ถึงผู้เขียนหนังสือ"The Rise and Decline of Thai Absolutism"เสนอภาพในลักษณะที่เป็นเหรียญที่มี ๒ ด้าน)

(งานที่เกี่ยวกับfallของอ.ไชยันต์ รัชชกูลThe rise and fall of the thai absolute monarchyฯ)

****“บิ๊กตู่บ่นเบื่อประชามติ ซัดอดีต รมต.เสี้ยม ศก.ตก แย้มป้อมโอดขอไขก๊อก
บิ๊กตู่’ ชี้ กำลังปฏิรูปประวัติศาสตร์
(ดูฉบับกระดาษนสพ.มีเขียนพาดหัวต่างกันเล็กน้อย “นายกฯ ย้ำกำลังปฏิรูปแบบสมัยรัชกาลที่ 5….)
(รูปประกอบผมเอง ณ เกาหลีใต้)

24.2 เราควรมองโลกแง่ดีอย่างสุขนิยมและแง่ร้ายอย่างสมดุล(*) คือ ผมเสียดายไม่ได้ไปหมู่บ้านโพรวองซ์/หมู่บ้านสีลูกกวาด หรือ ลาโพรวองซ์ (LaProvence)อยู่ติดชายแดนของเกาหลีเหนือ G.N.
*กรัมชี่เคยกล่าวไว้"Pessimism of the intellect. Optimism of the will." หรือในแง่ความหมายสุขนิยม" (optimism) กลับกันPsychology and Aging ที่รายงานผลการวิจัยว่าผู้สูงวัยที่มีมุมมองต่ออนาคตในด้านลบหรือพวกที่มองโลกในแง่ร้ายจะมีอายุยืนยาวกว่าพวกที่มองโลกสวย - See more at: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/597746#sthash.1FFZ34Lc.dpuf
(ภาพประกอบคนออกจากรพ.มาสูบบุหรี่ ตอนแรกผมนึกว่าออกจากรพ.บ้า(ฮร่า)ไม่ใช่คนเข้ารพ.ป่วยทั่วไปหาที่สูบบุหรี่ในโซล กับภาพบรรยากาศสนามบิน)

26 พฤษภา
ทัวร์ที่ผมไปไม่ใช่สไตล์ทัวร์ประวัติศาสตร์ บางครั้งฟังไกด์นานๆจะพูดสักนิดหน่อย ส่วนตัวผมสนใจการ์ตูนการเมืองเป็นภาพที่แทนเกาหลีใต้เป็นปลา กำลังถูกจีน ญี่่ปุ่น รอเกี่ยวเบ็ด โดยรัสเซีย จ้องมองอยู่ด้วย บริบทปวศ. ดูเพิ่มเติมในเว็บ G.N.ครับ


27 พฤษภา
วันศุกร์นายกฯทหารพูดถึง...แผนที่นำทางในการที่รัฐบาลและประชาชน...(*) ทำให้ผมเล่าต่อการเปรียบเทียบสยาม(ไทย) และเกาหลี ไปบางส่วนบางด้าน ในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อิทธิพลจักรวรรดินิยมของญี่ปุ่น จีน รัสเซีย ได้แผ่เข้ามาในเกาหลี มีภาพไปตกปลา และภาพแทนทหารของจีน ญี่ปุ่น รัสเซีย(**) เปรียบเทียบกับสยาม การแพร่อิทธิพลของอังกฤษ

แต่ฝรั่งเศสเป็นหมาป่า สยามเป็นลูกแกะ รวมทั้งภาพแผนที่อุปมาของอังกฤษเป็นปลาสัตว์ประหลาด(***)
เมื่อพิจารณาแผนที่อุปมาเชิงวัฒนธรรม(****) ในภาพวาด ย่อมมีนัยยะของสภาวะการเมือง ต่อมาเกาหลีถูกจักรวรรดิญี่ปุ่นยึดครองในปี ค.. 1910(2453) ด้านไทย(สยาม)วิกฤตการณ์ ร.. 112 ยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง รวมทั้งดินแดนลาวเป็นของฝรั่งเศสอีกในปี พ.. 2450(1907)

จากการเปรียบเทียบดังกล่าวดูพัฒนาการ(Development)สังคม มีกล่าวถึง"ความเสื่อมเป็นเรื่องเดียวกันกับการสร้าง เพื่อจะบอกว่าที่มาของการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.. ๒๔๗๕ มาจากรัชกาลที่ ๕ พร้อมกับการสร้างมันก็เสื่อมด้วย (สมบูรณาญาสิทธิราชย์ จุดเริ่มและจบที่พบกันในรัชกาลที่ ๕*****)

นายกฯ ย้ำกำลังปฏิรูปแบบสมัยรัชกาลที่ 5(******) หรือ22 ..2523-59 ไทยไม่อยากเหมือนลาว(เวียดนามฯลฯ) ดูอยากเจริญพัฒนาแบบเกาหลีใต้เป็นเสือเอเชีย(ไม่อยากเป็นไทยเหนือไทยใต้) พิจารณาปัจจัยภายในการเรียกร้องของกลุ่มสตรีศรีสยามยื่นหนังสื่อจี้เรียกทูตสหรัฐฯ กลับประเทศ เป็นพวกชาตินิยม และปัจจัยภายนอกอย่างอเมริกา ต่างจากยุคไทยกับเวียดนามในสงครามอินโดจีนด้วย(*******) แต่การบ่นของนายกฯดังกล่าวที่ผมเล่าไปแล้ว สะท้อนให้เห็น คือ คนของเราเองไปทำให้ข้างนอกกดดันประเทศอีก(ถูกกดดันจากต่างชาติ)

อย่างไรก็ดี แผนที่อุปมา ในแง่ความเป็นตัวตนของประเทศ ผ่านภาวะการเมือง เศรษฐกิจ ความต้องการเป็นเสือของไทย เหมือนกับสี่เสือเอเชียอย่างเกาหลี ต้องเปลี่ยนผ่านจากนายกฯ ที่ไม่รู้ไม่เรียนรู้บทเรียนของความรู้ทางประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง สร้างความเสื่อมโดยไม่รู้ตัวตนอีกด้วย

*คำต่อคำ : คืนความสุขให้คนในชาติ 27 พฤษภาคม 2559

** Go Fishing
http://www.newworldencyclopedia.org/entry/Foreign_relations_of_South_Korea
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1310633488965876&set=pcb.1310637572298801&type=3&theater
The roots of the conflict. Korea.
(japan-attacks+korea-1900)

stay neutral while Japan and Russia prepare for war over their desire to control Korea and the adjacent territory.


***แผนที่อุปมามีการอธิบายโดยอ.ธงชัยThe Wolf and the Lamb
(ดูเพิ่มเติมหนังสือกำเนิดสยามจากแผนที่ : ประวัติศาสตร์ภูมิกายาของชาติฯ)
The Wolf and the Lamb is a well known fable of Aesop

Franco–Siamese War
(ผมเคยเล่าแล้วเรื่องรศ.112 การเสียดินแดนทางด้านแม่น้ำโขง และน่าน/ลาว ฯลฯ)
ดูลิ๊งค์ย้อนหลังไปด้วย
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1309206699108555&id=100000577118415

The Situation in the Far East, 1900
Imperialism in China around 1900 --with the bear representing Russia intruding from the north, the lion representing the United Kingdom in south China, the Gallic frog representing France in southeast Asia, and the American eagle representing the United States approaching from the Philippines.  On the eagle is written "Blood is thicker than water", a reference to U.S. Navy Commodore Josiah Tattnal’s saying in 1859.
(ฝรั่งเศสเป็นกบ)
Illustration of The Great European War No.16 -- A humorous Atlas of the World, 1914
the semi-sea monster appearance of Britain (อังกฤษเป็นลักษณะกึ่งสัตว์ประหลาดในทะเล(ปลา) ฯลฯ โดยเว็บลิ๊งค์นี้มีภาพแผนที่อุปมาเยอะมากในแต่ละช่วงประวัติศาสตร์)

****แผนที่อุปมา:ภูมิศาสตร์ของความรู้สึก(1)ในคอลัมภ์ดีไซน์คัลเจอร์ของประชา สุวีรานนท์ มติชนสุดสัปดาห์ 4-10พค 2550 ปีที่ 27.1348  เคยอธิบายภาพพวกนี้เช่น ภาพปลาหมึก คือ รัสเซีย ต่างแผ่อำนาจครอบงำมาเกาหลี พม่า (อธิบายเพิ่มโดยผมถึงสยาม ฯลฯ)
Kisaburō Ohara, Europe and Asia Octopus Map, 1904
(ภาพประกอบเหมือนกันดูได้จากเว็บลิ๊งค์เพิ่มเติม โดยภาพรวมของภาพประกอบที่ผมจัดหน้าให้ง่ายๆดูรวมๆ ครับ)

*****http://info.matichon.co.th/art/art.php?srctag=0641010149&srcday=2008%2F02%2F01&search=no                           


*******ผมเขียนย่อๆ มาหลายรอบกลับมาทบทวนไอเดียเชิงปวศ.แรงบันดาลใจจากสัมภาษณ์พิเศษกุลลดา เกษบุญชู มี้ดวิเคราะห์บทเรียน การเปลี่ยนผ่านรัฐไทย


28 พ.ค.
ผมเคยคิดอยากเขียนหัวข้อปัญหาปัญญาชนไทยกับลาว ก่อนและหลังป่าแตก-57 แต่ผมเล่าเฉพาะแค่เรื่องปัญญาชนไทย(*) ก็ยังเป็นหัวข้อใหญ่ยากมากไม่สุกงอม(**) ใช้ฐานข้อมูลกรอบคิดจากงานข้อเท็จจริงเป็นหลัก(***)เขียนง่ายๆ แต่ถ้าเล่าง่ายๆในแง่ปัญญาชนไทยหลังปี49-59 มองแง่ดีแง่ร้ายอย่างสมดุลดัดแปลงไอเดียกรัมชี่(****) เปรียบเทียบมาต่อเนื่องแล้วไทยกับเกาหลี(*****) โดยย้อนมองตอนยุคก่อนหน้าและหลังรัฐประหารปี19,20,24,27( รัฐประหารบ่อยในหลายปี ก่อนมา2535-40..ตกอยู่ภายใต้IMF มาหลับ จนกระทั่งตื่นกับปัญหาภาคใต้)
ต่อมาการพูดถึงการเมืองไทยกับกรัมชี เป็นเจ้าของทฤษฎีที่มีชื่อว่า Hegemony อันว่าถึงการก้าวขึ้นเป็นเจ้าและครอบครอง โดยกรัมชี่เชื่อว่า ผู้ที่ขึ้นมาเป็นชนชั้นปกครองได้นั้น ไม่อาจจะอาศัยภาวะทางเศรษฐกิจอย่างเดียวเท่านั้น แต่ต้องได้รับการสนับสนุนและมีแนวร่วมจากมวลชนด้วย ซึ่งทฤษฎีนี้ได้ถูกนักวิชาการของไทย เช่น สมเกียรติ พงษ์ฯ อ้างถึงในระหว่างการขับไล่ พ...ทักษิณ ชินวัตร ในปี พ.. 2549 รวมทั้งการเปรียบเทียบไทยกับเกาหลีใต้ ให้ดูสปิริต นายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้ ที่ลาออกไป(******) ต่อมาคนอย่างสมเกียรติ ที่อยู่กลุ่มนี้ก็มาเคลื่อนไหวกับกปปส.
ดังนั้น ผมเห็นว่าเขียนให้ง่ายและเขียนให้สั้น ที่สุดปัญญาชนไทย มีพัฒนาการบ้าง แม้มีพวกไปไม่กลับหลับไม่ตื่นก็ตาม แต่รัฐประหารการเหวี่ยงกลับไป นับจะสิบปี เปรียบเหมือนไม่มีแผนที่นำทาง อุปมาแผนที่ไตรภูมิกรรมเก่าเหล่านี้ไล่ตามทันชาตินี้ไม่ใช่ชาติหน้า

*นิยามปัญญาชน ในแง่ความหมายรวมถึงอาจารย์  นักศึกษา นักเขียน ศิลปิน กรรมกร ชาวนา หลากหลายอาชีพ ด้วย

**ผมไม่คิดใช้แนวคิดทฤษฎีเยอะมาก หรือทฤษฎีใหม่ๆ ในแง่แรงบันดาลใจหนังสือจิตสำนึกและอุดมการณ์ของขบวนการประชาธิปไตยร่วมสมัย(หลังปี2535) ใช้วิธีการศึกษาจิตสำนึกจากอีพีทอมสัน โดยผมอธิบายย่อๆ ว่าจิตสำนึก,อุดมการณ์,ทัศนคติใช้ในแง่นี้ความหมายเดียวกัน ซึ่งหนังสือใช้ทฤษฎีอื่นๆอีกอธิบายพรรคการเมือง,เอ็นจีโอ,แรงงาน  มีผู้อภิปรายมากหนึ่งในนั้น คือ อ.สศจ.เป็นต้น
โดยที่นี้ผมสังเกตเปรียบเทียบเฉพาะเรื่องปัญญาชนเป็นเรื่องน่าสนใจอย่างงานของกรัมชี่ บทบาทของปัญญาชนไทย(อ.เสกสรรค์ ฯลฯ กรณีอ.เสกฯในหนังสือเร่ร่อนหาปลา,วิหารที่ว่างเปล่าฯ) โดยผมเคยสนใจเขียนโครงร่างค้างไว้จะเสนอบทความประชุมวิชาการฯ แต่ผมเขียนไม่เสร็จยังไม่สุกงอม จากยุคก่อนและหลังป่าแตกไทยกับลาว-2557แรงบันดาลใจของทฤษฎีปฏิบัติการ(A Theory of Action) ที่เน้นว่าปฏิบัติการและนโยบายเป็นสิ่งสะท้อนจิตสำนึกของขบวนการทางสังคมด้วย

***ฐานข้อมูลกรอบคิดจากงานข้อเท็จจริงแบบที่1.ธงชัย วินิจจะกูล: ทำความเข้าใจ "ซ้าย" - "ขวา" สามัคคี(ปัญญาชนไทยอดีตซ้าย-อดีตขวาสามัคคีต้านทุนนิยมและอเมริกา)
Nationalism and the Radical Intelligentsia in Thailand
(ยกตัวอย่างสำนักอ.ฉัตรทิพย์ เป็นต้น)
กรอบความคิดแบบที่ 2.สศจ.ปัญญาชนกับการคืนดีและวิจารณ์อ.นิธิ กับเครือข่ายม.เที่ยงคืน (ฯลฯ)
กรอบความคิดแบบที่ 3 อดีตซ้าย-อดีตขวาสามัคคีต้านทุนนิยมและอเมริกา”(.ธงชัย ถกเถียงกับอ.สศจ.ในกรอบที่1+2) สรุปข้อถกเถียงในหมู่ซ้ายเก่าดังนี้: สมศักดิ์โทษลัทธิ พธม., ธงชัยโทษลัทธิชาตินิยม, เกษียรโทษลัทธิทุนนิยม(กลายเป็นเกิดกรอบคิดที่3 เป็นสามสำนักของสามคนนี้?/ไม่มีอ.เสกสรรค์ ที่เขียนงานการเมืองภาคประชาชน ฯลฯ)
ดูสอนหนังสือชุมชนจินตกรรมของครูเบ็น (จบ)
กรอบความคิดแบบที่ 4 พคท.ไทย กับข้อจำกัดการเมืองของปัญญาชนไทย ยุคพคท.ต่างจากลาว หลังพรรคคอมฯหรือป่าแตก การแสวงหามาถึงงานของกรัมชี่/มารก์ซิสม์อเมริกา มาร์กซิสม์อังกฤษ(พวกNewleft หรือทั่วโลกอันนี้เป็นความคิดผมหลังการล่มสลายของพรรคคอมทั้งในอังกฤษ ฯลฯ จะยุ่งด้านข้อมูลเปรียบเทียบสั้นๆง่ายให้ได้ยังไม่สุกงอมกรอบคิดผม) อาจจะลดทอนความซับซ้อนจากภาพใหญ่เป็นตัวแทนพธม.สู่กปปส.อย่างสมเกียรติ พงษฯ
(ยกตัวอย่างประเด็นอื่น ที่ไม่ได้เล่าในแง่ข้อมูลปัญญาชนประเมินสถานการณ์วิเคราะห์ ทำนายอนาคตสังคมการเมืองจากก่อน49-57ด้วย )
****“I'm a pessimist because of intelligence, but an optimist because of will.”
Antonio Gramsci, Gramsci's Prison Letters
“The crisis consists precisely in the fact that the old is dying and the new cannot be born”
Antonio Gramsci, Selections from the Prison Notebooks
(รวมวาทะเด่นของกรัมชี่)
หนังสือแจกฟรีของกรัมชี่ เช่น บันทึกในคุก



(ประโยชน์สำหรับเข้าใจการดัดแปลงกรัมชี่ไทยๆ โดยสมเกีรยติ มีประวัติเคลื่อนไหวทางการเมืองมานานดูการเมืองใหม่ ฉบับว่าด้วย 10 ปี พฤษภา'35 เป็นต้น นี่เป็นข้อดีของวิกิพีเดียไทยๆ ไม่ต้องค้นหาเสียเวลามาก)
ชี้แม้วประกาศสงครามผู้มีบารมี’- รุกคืบสถาปนาลัทธิครองความเป็นเจ้า
(30 มิถุนายน 2549)

******ผมเขียนไว้แล้วกลับมาเพิ่มภาพประกอบแผนที่สมุดภาพไตรภูมิ ที่หนังสือSIAM MAPPEDฯ อธิบายมีเกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฯลฯ(นักวิชาการบางคนเสนอให้ไทยในอนาคตเป็นแบบญี่ปุ่น) ผมมีเสนอทฤษฎี “ไทยเกาเหลาเกาหลี” เป็นความคิดเชิงเปรียบเทียบขึ้นมาเอง โดยเชื่อมโยงความคิดเก่าความเชื่อในชะตากรรมส่วนหนึ่งของตัวตนของกฏแห่งกรรม ดูการเขียนต่อเนื่องมาแล้ว ครับ

หมายเหตุ:ถ้าย้อนกลับมาเรื่องตัวอย่างปัญญาชนไทย สมมติลดอคติทดลองปิดชื่อคนเขียน และไม่รู้อ้างกรัมชี่ถูกหรือผิด(รวมทั้งเรื่องพันธมิตรฯลฯ) แต่ความน่าสนใจตรงบอกว่า"สถาบันที่สำคัญที่สุดที่ชนชั้นคนงานจะใช้เป็นพื้นฐานในการต่อสู้เพื่อจะได้ควบคุมประชาสังคมคือ พรรคการเมือง"
(อันโตนิโอ กรัมชี.1977)
โดยอธิบายยืดยาวพร้อมกับเรื่องตั้งพรรคการเมือง ฯลฯ(ประวัติคนเขียนด้วย) การเสนอตั้งพรรคแทนขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมมีตั้งแต่2536/49-50 แล้ว สมเกียรติ เสนอความเห็นทางทฤษฎีและปฏิบัติงาน...

30 พฤกษา

ผมคิดพล็อตหนังสั้นได้ อีกหนึ่งเรื่อง ตั้งชื่อ “ปัญหาปัญญาชนไทยในจินตกรรม” ชื่อวิชาการๆมากๆ อาจจะต้องเปลี่ยนชื่อไม่ใช่ชื่อคล้ายปัญญาเรณู  (อาจจะให้ชื่อปัญญาชนอิมเมจิ้น ฯลฯ) อาจจะมีการดำเนินเรื่องทำไงให้หนังตลกไม่ดราม่ามากด้วย

เมื่อสมมติขึ้นๆ จัดฉากเวลา2559ในเกาหลี คนแสดงเป็น ผู้กำกับนำคนมาแสดงเป็นอ.สศจ มาที่นี่พร้อมอ.เกษียร อ.ธงชัย แวะมานั่งคุยพูดถกเถียงกัน ณ ที่นั่งข้างถนนสักแห่ง โดยอ.สศจ เปิดประเด็นคนแรกในเรื่องปัญหาปัญญาชน(*) ต่อมาอ.ธงชัย พูดเรื่อง"อดีตซ้าย-อดีตขวาสามัคคีต้านทุนนิยมและอเมริกา" และอ.เกษียร พูดต่อมาอ.ธงชัย พูดเกษียร จับประเด็นคำถาม, ความแตกต่าง, ปัญหา, จุดแข็งและจุดอ่อนของกันและกันได้มากมายทีเดียว

โดยคนแสดงเป็นสมเกียรติ พงษฯ ก็เดินเข้ามาบอกว่า พวกคุณไปตั้งสำนักคนละสำนักกัน แต่สู้สำนักผม(**) เพราะผมแนวคิดกรัมชี่ ยกระดับขบวนการเคลื่อนไหวผมเคลื่อนไหวตั้งแต่ยุคเดือนตุลาเหมือนพวกคุณ ทั้งพฤษภา35 พวกคุณเรียนต่างประเทศไม่อยู่กัน ผมเคลื่อนไหวต่อมาเรื่อยตั้งพรรค เป็นปัญญาชนที่เป็นผู้ปฏิบัติงาน (ฯลฯ) พวกคุณไม่เข้าใจผมเอง ดูปัจจุบันนี้เรื่องประชามติคุณก็ประเมินได้ไม่ขาด(ฯลฯ จะเขียนบทสนทนาต่อไปว่า สามคนจะพูดว่า “ครับพี่” หรือ Debates อะไรกันต่อ) ในที่สุดผมคิดให้คนดูตัดสินคิดต่อ….The End.^^

*ที่มาของไอเดียที่ผมเขียนไปแล้ว  วิธีการนำเสนอวิชาการเป็นหนัง แต่ไม่ใช่หนังแนวคนล่าจันทร์/14 ตุลาสงครามประชาชน  น่าจะแนวหนัง(6 ตุลา)ฟ้าใสใจชื่นบาน
**สำนักแฟรงก์เฟิร์ต (Frankfurt School)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น