วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกความรักข้ามพรมแดนชาติพันธุ์-ร.ศ.130

บันทึกความรักข้ามพรมแดนชาติพันธุ์
11 พฤศจิกา
ความรักข้ามพรมแดนชาติพันธุ์ หลังยุคพระเจ้าตาก ที่กู้เอกราชจากพม่าช่วยล้านนา ต่อมาสมัยหลังยุคธนบุรีถึงต้นรัตนโกสินทร์ เจ้าฟ้าน้อยระภาผ่อ พ่อเมืองทลาง ได้จัดพิธีร่วมน้ำสาบานเป็นมิตรไมตรีต่อกัน ตามธรรมเนียมของเขาระหว่างเมืองกะเหรี่ยงและเมืองเชียงใหม่ขึ้น โดยได้ปลูกประรำพิธีขึ้นหลังหนึ่งที่ท่าน้ำเมืองทลางเรียกว่า ท่าสะยา พิธีได้เริ่มขึ้นโดยเจ้าฟ้าน้อยระภาผ่อได้สั่งให้ล้มกระบือตัวใหญ่ที่สุด อ้วนพีสมบูรณ์ที่สุด ที่มีในเมือง 1 ตัวเพื่อเข้าพิธี ได้ชำแหละตัดเขากระบือผ่าออกเป็น 2 ซีกด้วยกัน แล้วยื่นซีกหนึ่งให้เจ้าอุปราชธรรมลังกาถือเอาไว้ซีกหนึ่ง เพื่อแทนชาวเชียงใหม่ทั้งมวล เจ้าฟ้าระภาผ่อได้ขอให้เจ้าอุปราชธรรมลังกา และที่ประชุมได้กล่าวสัจจะปฏิญาณต่อกันไว้ว่า

ตราบใดแม่น้ำคงไม่หาย เขาควายไม่ซื่อ ถ้ำช้างเผือกไม่ยุบ เมืองยางแดงกับเมืองเชียงใหม่ ยังเป็นไมตรีกันตราบนั้น…”
ทั้งสองฝ่ายได้กล่าวเป็นภาษาของตนและต่างเก็บเขากระบือรักษาไว้ ถือเป็นวาจาสัตย์ที่มีต่อกันสืบต่อไปในภายภาคหน้า ต่อมาเจ้ารัตนเมืองแก้วคำผั้น อนุชาของเจ้าอุปราชธรรมลังกา ซึ่งได้เดินทางไปในครั้งนี้ได้เกิดมีใจสมัครผูกพันธ์รักใคร่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกับเจ้านางตาเวยบุตรีของเจ้าฟ้าน้อยระภาผ่อและต่างตกลงปลงใจเป็นคู่ชีวิตต่อกัน หลังจากเสร็จพิธีการแล้วได้เดินทางกลับเมืองเชียงใหม่

http://www.pgazkoenyau.com/content/view/14/6/

12
เรื่องเล่าความรักข้ามพรมแดนชาติพันธุ์ และการดื่มน้ำสาบาน โดยเขาควายสะท้อนการกำหนดเส้นพรมแดนตะวันออกแม่น้ำสาละวิน(แม่น้ำคงชื่อเรียกแม่น้ำสาละวินในภาษาไทยใหญ่/กะเหรี่ยง) ระหว่างยุคที่เชียงใหม่ กำลังผจญภัยอังกฤษยึดพม่า เกรงว่ามาล้านนา และสยาม ได้ ปรากฏบางส่วนของกะเหรี่ยงในพงศาวดารโยนก ก่อนเกิดแผนที่สยาม
เมื่อเจ้าคำฝั้นเษกสมรสกับ แม่เจ้าตาเวยราชเทวี ราชธิดาในเจ้าฟ้าเมืองยางแดง อันเป็นดินแดนกะเหรี่ยงที่รุ่งเรืองและร่ำรวยมากไปด้วยไม้ขอนสักอันล้ำค่า ได้รับมรดกส่วนพระองค์ ในฐานะราชธิดาเจ้าฟ้าเมืองยางแดง เป็นที่ดินป่าไม้ขุนยวม อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

เจ้าคำฝั่น ความขัดแย้งตอนขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ ได้เกิดการทะเลาะวิวาทกับเจ้าราชวงศ์สุวัณคำมูน ทำให้บรรดาขุนนางได้ไปเชิญเจ้าดวงทิพย์ และเจ้าบุญมา มาประนีประนอมการวิวาทครั้งนี้ โดยแนะนำให้พระยาคำฝั้น เสด็จออกผนวชวัดเชียงมั่น แล้วไปจำพรรษาที่วัดสวนดอก จากนั้นได้มีการปล่อยรถม้าเสี่ยงทายหาเจ้าหลวงองค์ใหม่ แต่รถม้าดังกล่าวกลับมาหยุดอยู่ที่บริเวณหน้าวัดสวนดอก ซึ่งเป็นที่ประทับของพระยาคำฝั้น เหล่าบรรดาเจ้านาย และขุนนาง จึงได้อัญเชิญพระยาคำฝั้น ให้ลาสิขาบทกลับมาเป็นเจ้าหลวงเชียงใหม่อีกครั้งด้วย

ต่อมายุคพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เป็นเจ้าราชนัดดา (หลานปู่) ในพระยาคำฟั่นกับแม่เจ้าเนตรนารีไวยตาเวย รวมทั้งเป็นพระราชบิดาในเจ้าดารารัศมี พระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ สมัยร.5 เปลี่ยนผ่านเส้นพรมแดนเดิมแบบเขาควาย หรือแผนที่จาริกบุญของล้านนาเดิม-แผนที่ไตรภูมิ เป็นแผนที่สยามตามเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ใหม่ ครับ
*ผลงานศึกษาสะท้อนเรื่องเส้นพรมแดนและพรมแดนชาติพันธุ์อย่างชารล์ส คาย์ส

http://www.baanjomyut.com/library/karen/history3.html

**ข้อมูลเพิ่มเติมภาพประกอบ:กะเหรี่ยงในจิตรกรรมไทย ที่วัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน นี่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพิ่มเติมของประวัติศาสตร์บอกเล่า ตำนาน และท้องถิ่นของชุมชน ภาพสะท้อนก่อนเสียฝั่งขวาของแม่น้ำโขง(ของ) ณ น่าน รวมทั้งเชียงของ เชียงรายเคยขึ้นอยู่กับน่าน เส้นทางแม่น้ำโขง เป็นต้นสาขาแม่น้ำสาย ในปัจจุบันแม่น้ำสาละวิน เขตประเทศไทย นับตั้งแต่ทางเหนือของชายแดนไทย แม่น้ำสาย และน้ำกก ไหลจากเทือกเขาสูงในรัฐฉานลงสู่จังหวัดเชียงราย และเติมน้ำให้แก่แม่น้ำโขง เรื่อยมาทางจังหวัดแม่ฮ่องสอน แม่น้ำแทบทั้งหมดในจังหวัดนี้ล้วนเป็นลูกน้อยของแม่น้ำสาละวิน ไม่ว่าจะเป็นน้ำปาย น้ำเงา

http://www.watkadarin.com/index.php/2011-08-02-02-17-14/2013-10-05-02-13-54

http://www.sarakadee.com/m-boran/2003/10-12/watphumin.htm

http://salweennews.org/home/?p=3499

14
ปัญหาการปฏิรูปประเทศยาวนาน ย้อนดูอดีตความเจริญของสยาม เคยร่วมงานเอ็กซ์โปมหกรรมสินค้าและเทคโนโลยีโดยเอเชียมีแค่สยามกับญี่ปุ่น โดยเข้าใจง่ายว่าไทยกับญี่ปุ่นสมัยนั้นเจริญเท่ากันในสมัยร.4 ต่อมา สยามภายใต้ปัจจัยภายนอกอิทธิพลโลกาภิวัตน์ด้านการค้ากับอังกฤษ และร.5กับรัสเซีย ต่างๆ ที่มีผู้เคยศึกษากันแล้ว ต่อมาเกิดปัญหาการปฏิรูปประเทศไทยเหมือนญี่ปุ่น ร.ศ.103(130 ปีในปีนี้) กลุ่มเรียกร้องปฏิรูปเปลี่ยนระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และข้อเสนอหลายอย่างกรณีไทยจะมีฐานะเป็นรัฐกันชนระหว่างพม่า กับอินโดจีนเหมือนสวิตเซอร์แลนด์ก็ตาม ต้องปรับปรุงการปกครองภายในให้ดีด้วย

กระนั้น ปัจจัยภายในร.5 รัฐบาลกลางได้ดำเนินนโยบายรวมหัวเมืองประเทศราชล้านนาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสยามหรือไทย นับตั้งแต่ส่งข้าหลวงขึ้นมาประจำการที่เชียงใหม่เป็นครั้งแรก และปฏิรูปการปกครองมณฑลพายัพ(เมืองนครเชียงใหม่ ครอบคลุมพื้นที่เชียงใหม่, แม่ฮ่องสอนและเชียงราย)ภาคใต้ มณฑลปัตตานี(2449/ปัญหาภาคใต้2547:10ปี) เป็นต้น อีกด้วย
ดังนั้น ประเด็นความรักน่าสนใจกรณีเจ้าดารารัศมีกับร.5 ในการรวมล้านนากับสยาม ต่างจากทางน่านด้านนี้ ซึ่งภาพสะท้อนจิตรกรรม ในการที่เลือกเขียนเรื่องคันทนกุมาร เป็นเรื่องลูกกำพร้า ดังจะเห็นว่าในพงศาวดารเมืองน่านจากไข่ปลาสองฟอง จนกลายเป็นขุนนุ่นและขุนฟองแยกกันมาปกครองเมืองน่านและเวียงจันท์ ต่อมาภายใต้การปกครองของเชียงใหม่หรือพม่า เมืองน่านไม่ได้ถูกสนใจมากนัก หลังจากตกเป็นประเทศราชของสยามแล้ว ในที่สุดเสียฝั่งขวาแม่น้ำโขง(ลาว ส่วนหนี่งของน่าน) ครับ

*ตัวอย่างเรื่องเล่าปัญหาการปฏิรูปประเทศสำหรับท่านประยุทธ์ ครับท่านนายกฯชมญี่ปุ่นมีส่วนผลักดันศก.อาเซียนพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน ที่กรุงเนปิดอว์ ประเทศเมียนมาร์ เมื่อวันที่ 12 พ.ย.2557

**ผมทบทวนความทรงจำบริบทปวศ. ที่ผมเคยเขียนบทความเรื่องจิตรกรรมวัดภูมินทร์กับแม่น้ำของในการอ่านภาษาภาพจิตรกรรม กับอักษรธรรมล้านนา:ชื่อของพื้นทีศักดิ์สิทธิ์แม่น้ำโขง ซึ่งอยากต่อยอดเพิ่มเติม จึงโน้ตไว้จากยุคเจ้าคำฝั้นเษกสมรสกับ แม่เจ้าตาเวยราชเทวี(กะเหรี่ยง)สืบต่อมาพระเจ้าอินทวิชยานนท์-เจ้าดารารัศมี เปรียบเทียบกับน่าน ครับ

***ภาพประกอบผลงานรูปวาดสมัยผมเรียนวาดรูปเลียนแบบวัดภูมินทร์เรื่องคันทกุมารชาดก ครับ

ขอบคุณที่พี่Khunya ชมภาพ ครับ ที่มาของภาพพระมารดาชี้ให้เจ้าชายคัทธกุมารดูรอยเท้าของพญาช้างสารที่เป็นพระบิดาของพระองค์ เพราะพระอินทร์ลงมาแปลงเป็นช้างสารเข้ามาเหยียบเรือกสวนไร่ฝ้ายของพระนาง พระนางน้อยก็ออกมาไล่ ไล่ไปไล่มาก็เหนื่อยเห็นมีน้ำขังในรอยเท้าพญาช้างนั้นดื่มกินแก้กระหาย ต่อมาพระนางจึงตั้งครรภ์ให้กำเนิดแก่เจ้าชายคัทธกุมาร เมื่อผมมีโอกาสอยากวาดภาพปู่ม่าน ย่าม่าน หรือภาพกระซิบรักของวัดภูมินทร์

ผลกระทบการปฏิรูปประเทศรวมศูนย์เป็นสยาม ซึ่งพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าประเทศราชองค์สุดท้าย ในแง่ที่อิทธิพลอังกฤษทางพม่าเข้าล้านนาในสมัยร.4-ร.5 และพระเจ้าอินทวิชยานนท์(ที่มาชื่อดอยอินทนนท์) เป็นบุตรเขยของพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์( เจ้าชีวิตอ้าว”) ด้วย
โดย ผมเล่าย่อ ด้านพรมแดนสยามรวมล้านนา สมัยร.5 จากแผนที่ไตรภูมิ เป็นการเปลี่ยนผ่านโลกทัศน์แบบไตรภูมิอยู่ในวัฒนธรรมชาวบ้าน ไปสู่ภูมิศาสตร์สมัยใหม่ยุคทำแผนที่ ในสมัยร.4-ร.5 ซึ่งแมคาร์ธี ทำแผนที่ร่วมกับการทหารยุคปราบฮ่อ เป็นยุทธศาสตร์ และกล่าวโดยย่อผลกระทบของเหตุการณ์สู้รบร.ศ.112เรื่องแย่งชิงดินแดนของเกี่ยวกับแม่นำโขง-สยามกับฝรั่งเศสในสมัยร.5 (บริบทเกิดกฎอัยการศึกได้รับต้นแบบฝรั่งเศส) ต่อมาเกิดการเรียกร้องให้ปฏิรูปเปลี่ยนแปลงเหมือนญี่ปุ่น

อย่างไรก็ดี การสร้างทางรถไฟในประเทศไทยเริ่มต้นขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ในขณะที่ญี่ปุ่นก็เริ่มสร้างในสมัยเมจิ อยู่ในยุคสมัยเดียวกัน และการเปลี่ยนผ่านการค้าขายทางเรือของภาคเหนือสู่เส้นทางการขนส่งสินค้าทางรถไฟได้เริ่มต้น
เมื่อเส้นทางการค้าทางรถไฟมาเส้นทางการค้าโดยเรือ เปลี่ยนจากเดิมตั้งถิ่นฐานของคนจีน ย้ายจากท่าน้ำย่านวัดเกต ไปที่ใกล้ทางรถไฟ ณ ศาลเจ้าจีนย่านสันป่าข่อย (ผมไม่มีเวลาเขียนยาวอธิบายเรื่องเส้นทางการค้ารถไฟกับตลาด-วัด และค่ายทหารหรือค่ายกาวิละจากบทความเก่าสู่แนวเขียนเพิ่มเติมบทความใหม่)ครับ

ดังนั้น ปัญหาการปฏิรูปประเทศรวมศูนย์ด้านหนึ่ง ส่งผลกระทบเกิดกบฏพญาผาบต้านกลุ่มเจ้าภาษี พ่อค้าจีน โดยกบฏเงี้ยว (ไทใหญ่ฯลฯ) เมืองแพร่ หรือกรณีครูบาศรีวิชัย ฯลฯ รวมทั้งปัญหาปฏิรูปประเทศให้เจริญทั้งเศรษฐกิจการเมืองกลุ่มชนชั้นกลางเป็นลูกจีนในทหาร(ร.ศ.130) ตั้งใจให้ประเทศดีเจริญเหมือนญี่ปุ่น ที่มีอิทธิพลจากจีนแบบซุนยัดเซ็น เช่น หนังสือพิมพ์จีนโนสยามวารศัพท์ และปัจจัยนอกระบบราชการไม่เป็นทางการ กลายเป็นคลื่นใต้น้ำการเมือง ด้วย

*ภาพประกอบรูปซุนยัดเซ็น สัญลักษณ์การปฏิวัติซินไฮ่ ที่มีดร.ซุน ยัดเซ็น เป็นผู้นำ ในหนัง1911” (ชื่อไทย ใหญ่ผ่าใหญ่เฉินหลงรับบท หวงซิง สมาชิกฝ่ายบู๊) ณ ร้านเชียงใหม่กาแฟ แบบบ้านเก่าเคยคุยกับเจ้าของร้านเก็บของสะสมมรดกไว้ ย่านชุมชนวัดเกต ริมน้ำปิง ที่มีชุมชนคนจีน และพิพิธภัณฑ์เก็บของเก่า ฯลฯ ซึ่งผมเห็นรูปซุนฯมีขายตามเว็บของเก่า
** คนจีน สัมพันธ์ยุคพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เป็นบทความประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ชาวจีนกับผู้ปกครองความเชื่อพิธีกรรมในศาลเจ้าจีนจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งพัฒนาจากงานตัวจบตอนป.ตรี ทีนี้ลิ๊งค์บทความศาลเจ้าจีนฯดังกล่าวหายไปแล้ว หลังผ่านไปสิบสองปีและผมเคยคุยกับรุ่นน้องป.เอกปวศ.เขายุบอกให้เขียนปรับปรุงใหม่ ซึ่งผมเขียนสั้นๆ เพิ่มเติมซุนยัดเซ็นแค่นี้ก่อน ปวศ.ที่เพิ่งเขียนตามเวลาจำกัด ครับ^^
ข้อมูลเพิ่มเติมภาคต่อจากปัญหาปฏิรูปประเทศยาวนาน https://www.facebook.com/photo.php?fbid=948375335191695&set=a.103468286349075.7792.100000577118415&type=1

28
ผลกระทบหลังการปฏิรูปประเทศ ต่อคนจีน โดยการเปลี่ยนแปลงของชาวจีน ในล้านนา จากกลุ่มสมาคมลับ ที่มีปรากฏในศาลเจ้าจีนหรือศาลเจ้าบู้เบี้ย(กวนอู) ต่อมาอิทธิพลของความเป็นคนเมืองผสมกลมกลืนกับคนจีน โดยผมเห็นจุดเด่นกรณีภาพวาดหลวงอนุสารสุนทรและนางคำเที่ยง ในวิหารวัดอุปคุต

เมื่อผมเน้นเล่าจุดสำคัญของผ่านภาพวาดดังกล่าว เป็นตัวอย่างตระกูลนิมมานเหมินทร์ ที่มีธุรกิจค้าผ้าฝ้าย รวมทั้งด้านวัฒนธรรม(ไกรศรี-ธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ รมต.นักการเมือง) ด้านตระกูลแซ่คู(เชื้อจีน)เดิมเป็นตระกูลชินวัตร เคยขายผ้าไหม(ชินวัตร) จากยุควัวต่างม้าต่างทางเรือมาทางรถไฟ รวมทั้งแง่การทำขาย(ต่อมาทำโรงหนัง-การเมืองมาถึงยุคทักษิณ ชินวัตร ฯลฯ) ในสมัยร.5-ร.6 (ต้นตระกูลอพยพเสื่อผืนหมอนใบตามสำนวนคนไทยเชื้อสายจีนในปัจจุบันอย่างเจ้าสัวซีพี)

ต่อมาความสัมพันธ์สมัยร.5 ย้อนมองปัญหาปฏิรูปประเทศ -เรียกร้องรัฐธรรมนูญของกลุ่มต่างๆ และจัดระเบียบมณฑลพายัพ ฯลฯ ซึ่งคลื่นใต้น้ำอย่างผู้มาก่อนกาลอย่างรศ.130 ถึง สมัยร.6(จีนเป็นยิวแห่งบูรพาทิศ) สู่ทฤษฎี ที่สืบต่อชะตาเป็นการสืบทอดโดยอ้อมของพลังระบบราชการเป็นหลัก มากกว่าพลังนอกระบบราชการทหาร(กลุ่มพ่อค้า นักเขียน นักนสพ.ฯลฯ) ซึ่งอาศัยปัจจัยของมวลชนจำนวนมากเท่ากับแนวทางปฏิวัติซินไฮ่(ซุนยัดเซ็น) แม้ว่ากระแสของเก็กเหม็ง อนาคิช เข้ามาสยาม ก็ตาม โดยผมมาเล่าย่อวิธีการกลุ่มบางประการ 1.นัดกลุ่มเมาเหล้าคุยกัน 2.ชวนคนไม่คัดเลือกคนเป็นข้อผิดพลาดเกิดคนทรยศหักหลัง และผมอยากเล่าต่อเรื่องความฝัน ความหวังหลังจากพ่ายแพ้

ซึ่งกล่าวถึงกบฏว่าเป็นพวกลูกจีน บางคนฆ่าตัวตายก่อนเข้าคุก และตอนติดคุกบางคนตายในคุก ต่อมาหลายคนก็คิดฝันออกไปประกอบอาชีพนอกคุก เช่น ว่าที่นายร้อยตรีทวนกับนายร้อยตรีม.ร.ว.แช่ ฝันจะออกไปเป็นช่างถ่ายรูป นายร้อยเอกขุนทวยหารพิทักษ์ กับนายร้อยตรีเหรียญ ศรีจันทร์ น้องชายคิดจะออกไปทำยาขาย นายร้อยตรีบุญกับนายร้อยตรีเขียน ไปทำไร่ทำสวน นายร้อยโทจือจะปลูกนุ่นและเลี้ยงไก่ นายร้อยตรีวาสเตรียมจะแจวเรือจ้าง ส่วนนายร้อยโทรจรูญ ปรารภว่า คงต้องไปขอทานเขากิน จึงขะมักเขม้นฝึกร้องเพลงและหัดสีซอ

แต่ว่า พวกเขายังโชคดี ที่อยู่ในคุกได้เขียนหนังสือ นายร้อยตรีถัด รัตนพันธุ์ แปลนวนิยายภาษาต่างประเทศ เรื่อง เด็กกำพร้าใช้นามปากกาว่า ไทยใต้และบางคนออกจากคุกไม่ต้องขอทาน ยังได้เขียนหนังสือต่อไปสู่ยุค2475 ……
*ข้อมูลส่วนใหญ่ประกอบการเขียนย่อมาจากงานเขียนแถมสุข นุ่มนนท์ยังเติร์กรุ่นแรก กบฏร.ศ.๑๓๐เป็นลูกร้อยตรีถัด ซึ่งเคยมาเชียงใหม่เป็นข้อสังเกตหลังออกจากคุก ข้อมูลที่ยังไม่เคยเขียน ก่อนการปฏิวัติกลุ่มทหาร เพิ่งผ่านยุคการปราบกบฏเงี้ยว ในมณฑลพายัพ มาก่อน

 โดยไม่มีข้อมูลเรื่องความร่วมมือจากทหารมณฑลพายัพอย่างเชียงใหม่ หรือคนจีนทางภาคเหนือ ล้านนาทำไม อิทธิพลกลุ่มรศ.130 ไม่แพร่กระจายมาล้านนา ขีดจำกัดเส้นพรมแดนบทบาทกลุ่มรศ.130ออกจากคุกอันน่าสนใจมีคนเขียนแล้ว

**ภาพประกอบ การค้นหาของผมเขียนต่อยอดเรื่องศาลเจ้าจีนฯ บังเอิญมีข้อมูลว่าผมเคยเขียนเรื่องซุนยัดเซน แต่ผมจำไม่ได้ว่าเคยเขียน(ฮร่า) และภาพประกอบหนังสือตำราเสน่หาฯว่าด้วยวิทยาศาสตร์แห่งความรักของหมอเหล็ง(ผู้นำกลุ่มร.ศ.130) ซึ่งเคยเขียนตำราวัฒนายุ ที่แนะแนวการปฏิบัติให้อายุยืน ทั้งในด้านสุขภาพกายและสุขภาพใจ โดยกลุ่มรศ.130 ได้เขียนหนังสือหลายคน เช่น อุทัย เทพหัสดิน เขียนเรื่อง ตำราลับสมอง นามแฝงนายเทพ และต่อมาบางคน ทำงานหนังสือพิมพ์ เช่น ร.ต.บ๋วย บุณยรัตนพันธ์ เป็นนักเขียนเรื่องเริงรมย์ทางสวาทชั้นยอด ร.ต.บ๋วยทำงานอยู่โรงพิมพ์ศรีกรุง ฯลฯ เป็นต้น ครับ

วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึก“สิบปีที่เขียนเรื่องปัญหาภาคใต้”-แม่น้ำของกับ7ปีหนังพระเจ้าช้างเผือกถึงเขียนงานใหม่ใน“คนจีน”ภาคเหนือ-เก็กเหม็งถึงภายใต้เวลาร้อยปีกฎอัยการศึก

บันทึก“สิบปีที่เขียนเรื่องปัญหาภาคใต้”-แม่น้ำของกับ7ปีหนังพระเจ้าช้างเผือกถึงเขียนงานใหม่ใน“คนจีน”ภาคเหนือ-เก็กเหม็งถึงภายใต้เวลาร้อยปีกฎอัยการศึก

เมื่อผมกลับมาเขียนเรื่องใหม่ผ่านมุมมองแบบบันทึก โดยเริ่มต้นเล่าย่อๆ
วันที่10. ธันวา
หลายวันที่ก่อนโน้นวันอันซุ่มซ่ามของผม ไม่มีโรดแมปอันชัดเจน ขณะขับรถอยู่ในพิจิตรพาแม่เข้าศูนย์ราชการ หรือศาลากลาง โดยไม่แน่ใจว่าประตูปิดอยู่ข้างหนึ่ง มีทหารยืนเฝ้าทางเข้า มีช่องทางเล็กสองทาง และผมขับรถผ่าน ทหารสะพายปืนทำหน้างงๆ ต่อมาผมคิดขึ้นด้วยสงสัยเข้าข้างผิด น่าจะเป็นช่องเล็กด้านซ้าย ไม่ใช่ขวา
โดยผมเล่าให้แม่ฟังตอนขาออก เกิดทหารมันยิงเราละแม่ ซึ่งแม่ตอบมันยิงเราก็ผิด คนจะตายมันก็ตาย ผมเล่าให้รุ่นพี่ฟังหัวเราะคลายเครียดกันไป(ฮร่า)
ส่วนประเด็นโรดแมปในเรื่องปฏิรูปการเมือง เป็นตัวอย่างหนึ่ง ที่มีข้อเสนอเรื่องพรบ.นิรโทษกรรม เสนอออกกฎหมายนิรโทษกรรมคู่ขัดแย้งทางการเมือง 2ฝ่าย ตั้งแต่ปี2548-2557 ซึ่งผลพวงจากพรรคเพื่อไทย ก่อนหน้านี้ มาถึงยุทธศาสตร์ของแนวทางปรองดอง อันชวนให้เป็นจริง เกิดข้อถกเถียงกันอยู่ว่าพรบ.นิรโทษกรรมควรจะออกแบบอย่างใด ซึ่ง’ชวน’ไม่วิจารณ์นิรโทษ ชี้ยึดถูกต้องปท.เดินหน้า หรือพรรคประชาธิปัตย์อย่างอภิสิทธิ์ กล่าวเตือน ก.ม.นิรโทษกรรม ต้องไม่ทำให้ปัญหาซ้ำรอย
ในที่สุด ย้อนกลับดูข่าว’ประยุทธ์’ชี้’ปรองดอง’กับ’นิรโทษ’คนละเรื่อง. แต่อย่างไรก็ตามโดยส่วนตัวผมยังมีความหวัง ครับ
*ราตรีสวัสดิ์ ครับ
**ภาพประกอบการเดินทางแวะถ่ายรูปอนุสาวรีย์พานรัฐธรรมนูญ อำเภอตะพานหิน และป้ายในศูนย์ราชการพิจิตร
***http://m.naewna.com/view/breakingnews/133124
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRReE56VXhPVEU0T0E9PQ==&subcatid=

http://www.komchadluek.net/detail/20141202/197014.html

12
รายการทีวีวันศุกร์:ประยุทธ์ทหารอาชีพ มีจ็อบเพิ่มเป็นนายกฯ ต่างจากทหารอาชีพ มีอุดมการณ์ต้องเสียอาชีพ กรณียังเติร์กรุ่นแรก กบฏร.ศ.๑๓๐ เมื่อพ้นโทษ บ๋วย บุณยรัตนพันธ์ ไปทำงานนสพ.สยามราษฎร์และศรีกรุง(ตระกูลวสุวัตร่วมคณะนสพ.สร้างศรีกรุงภาพยนตร์อย่างหนังเรื่องโชคสองชั้น) ถัด รัตนพันธุ์ และเนตร พูนวิวัฒน์ ร่วมเปิดร้านสรรพสินค้า “พูนรัตน์” เหรียญ ศรีจันทร์ เปิดร้าน “สินค้าไทย” ขุนทวยหารพิทักษ์ ตั้งห้างขายยาชื่อ โยคีสถาน (ต่อมาเป็นห้างศรีจันทร์)บุญ แตงวิเชียร และเขียน อุทัยกุล ไปเลี้ยงเป็ดและลงโป๊ะที่จ.สุราษฎร์ธานี นายอุทัย เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นผู้จัดการโรงสีไฟที่จ.พัทลุง
อิทธิพลทุนนิยมการพิมพ์ ในกรณีจีโนสยาม สู่นักหนังสือพิมพ์ของกลุ่มรศ.130ในกรณีศรีกรุงภาพยนตร์(กรุงเทพภาพยนตร์/นสพ.ศรีกรุง)-2475

… ความซับซ้อนชาตินิยมจีนกับไทยสยามกรณีตัวอย่าง ที่มีกล่าวถึงนสพ.จีโนสยามวารศัพท์ มีจะให้เนรเทศนายเซียวฮุดเส็งออกไป แต่ว่าหากเนรเทศเขาแล้ว จะกลายเป็นวีรบุรุษ(Hero) …

…ด้านกลุ่มรศ.130 ตอนอยู่ในคุกเขียนงานให้นสพ. เช่น “จีโนสยามวารศัพท์” “ผดุงวิทยา” ของเซียวฮุดเส็ง “สยามราษฎร์” ของมานิต วสุวัต “ยามาโต” “วายาโม” “พิมพ์ไทย” “ตู้ทอง” และ “นักเรียน” เป็นต้น ในปี2467 พ้นโทษสมาชิกหลายคนไปทำงานหนังสือพิมพ์ เช่น ร.ท.ทองดำ คล้ายโอภาศ ,ร.ต.จือ ควกุล ทำงานหนังสือพิมพ์ “บางกอกการเมือง” ซึ่งมีอุทัย เทพหัสดินทร์ เพื่อนนักปฏิวัติผู้มีหุ้นส่วนในหนังสือพิมพ์ดังกล่าว ส่วน ร.ต.บ๋วย บุณยรัตนพันธ์ ร.ต.ถัด รัตนพันธุ์ ร.ต.สอน วงษ์โต ร.ต.โกย วรรณกุล และ ร.ต.เนตร ทำงานที่ ”ศรีกรุง”(พี่น้องตระกูลวสุวัต ก่อตั้งภาพยนตร์เสียงศรีกรุง-หนังเงียบถึงเสียงพาทย์:โดยเรื่องภาพยนตร์จะขยายความในโอกาสต่อไป) และ “สยามราษฎร์”(รับอิทธิพลจีโนสยามฯมาเป็นนักนสพ.ในตระกูลวสุวัต) เป็นต้น

..เมื่อ ร.ศ.130 เป็นพวกลูกจีน และรักชาติ หลังเลิกงานมักทำตัวเป็นนักข่าวเล่าเรื่องการเมืองตามร้านอาหาร แหล่งชุมนุม และสโมสร คบค้าสมาคมกับทหารส่งผลต่อ2475
ทั้งนี้ บริบทกรณีตัวอย่างต่อมาช่วง 2475 ข้อคำนึงถึงสภาพของสยาม ที่ถูกแวดล้อมโดยอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งชาติทั้งสองนี้ มีข้อตกลงกัน คือ เอาสยามเป็นประเทศกันชน แต่เขาอาจพร้อมกันยกกำลังทหารเข้ามายึดครองแล้ว แบ่งดินแดนสยามไปเป็นเมืองขึ้น หรืออยู่ใต้อำนาจอิทธิพลของประเทศทั้งสอง.. และเรายังจะต้องอาศัยบารมีของพระมหากษัตริย์เป็นเครื่องผูกรัดเขตต์แดนสยามเท่าที่ปรากฏในแผนที่เวลานี้ ให้ผูกโยงกันอย่างแน่นหนา เพราะเราต้องไม่ลืมว่าเวลานี้ เรามีเจ้าประเทศราช ..ในตัวแทนของภาคเหนือบทบาทของเจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่ (บุตรเขยของพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ)เฝ้าอยู่เคียงข้าง ร. 7 ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน ขณะเกิดการปฏิวัติของคณะราษฎรด้วย

สรุปโดยย่อ ข้อมูลการเปลี่ยนแปลง2475 มีรายละเอียดมากกว่านี้ดูตัวอย่างตามลิ๊งค์ของข้อมูลจะเห็นความเป็นมาของยุค130 สู่เหตุการณ์2475 ความขัดแย้งของระบบราชการภายใน และปัจจัยนอกราชการสื่อสิ่งพิมพ์-ภาพยนตร์บันทีก2475ของตระกูลวสุวัต โดยบทเรียนกับประสบการณ์ของรศ.130 นำมาศึกษาสู่การปฏิวัติของปรีดี หรือกลุ่มทหาร มีทั้งการแพร่กระจายสายการจัดตั้ง และมุมมองต่อรศ.130 เป็นดาราดวงเด่น ในกบฏเก็กเหม็งในเมืองไทยและเมืองจีน รวมทั้งแง่อื่นๆ

กรณีการสืบต่อเกือบล้างแค้นให้เพื่อนร่วมรุ่น ที่ทรยศหักหลังรศ.130 เป็นสายลับในทหารด้วยกัน ต่อมา2475 มีรัฐธรรมนูญ คณะราษฎรได้ออกพรบ.ล้างมลทินผู้กระทำผิดทางการเมือง ร.ศ.130 และสมาชิกบางคนต่อมาเป็นส.ส. โดยท่านหนึ่ง บันทึกไว้ว่า “ทั้งนี้แสดงว่าการกระทำของคณะก่อการร.ศ.130 มิใช่เป็นสิ่งชั่ว แต่เป็นความคิดที่ไม่ต้องกับพฤติการณ์แวดล้อมและความนิยมของหมู่ชนเฉพาะกาลเท่านั้น” :ก่อนกาลเกิดรัฐธรรมนูญขึ้น

*ตัวอย่างข้อมูลที่มา:ยังเติร์กรุ่นแรก กบฏร.ศ.๑๓๐ -มองหาอุดมการณ์ ทหารหนุ่ม ‘ร.ศ.130’

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=inthedark&month=18-09-2007&group=19&gblog=18

จาก“คณะ ร.ศ.130” ถึง “คณะราษฎร”ความเป็นมาของความคิด“ประชาธิปไตย”ในประเทศไทย

http://freedom-thing.blogspot.com/2012/01/130.html

24 มิถุนายน 2475: สงครามบนแผ่นฟิล์ม หรือ“ภาพยนตร์กับการต่อสู้ทางชนชั้น..” ในเศรษฐศาสตร์การเมือง ปีที่ 7 ฉบับที่ 1-2 มกราคม-มิถุนายน 2532 (ผมเคยอ่านได้เคยอ้างไว้ด้วย) http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41129
**ข้อมูลส่วนหนึ่งมาจากงานเขียนของผม และภาพประกอบผลงานเขียนย่อลองต่อยอดจากงานนำเสนอภาพยนตร์เรื่องพระเจ้าช้างเผือก ซึ่งสมัยทำมาหากินนำเสนองานปี2550(ฮร่า)

http://www.thaifilm.com/newsDetail.asp?id=316

http://www.prachatai.com/journal/2007/12/15265

17
ผมบังเอิญเจอข้อมูลโรงภาพยนตร์ไม้สองชั้น หลังคาสังกะสี ที่ชื่อว่าโรงหนังตงก๊กหรือศรีวิศาล ซึ่งคำว่า “ตงก๊ก” ชาวจีนบางคนแปลว่า “ประเทศจีน” และร่ำลือแต่ก่อนเคยเป็นโรงหนังโป๊ โดยชื่อโรงหนังศรีวิศาล จึงลองค้นดูเพิ่มเติม(ฮร่า)
ความเป็นมาโรงหนังตงก๊ก ด้านหน้ามีการตกแต่งและประดับธงอย่างสวยงาม ด้านหน้ามีคำว่า “รัฐธรรมนูญจีรังทั่วไทย” ด้านขวามีคำว่า “สานติสุขเสมอภาค อิสสระภาพ” และมีรูปซุนยัดเซ็น กับร.๗
ข้อมูลของผู้เขียนเชื่อได้ว่าภาพนี้น่าจะถ่ายไว้ประมาณ ปี พ.ศ.๒๔๗๕ หนทอ ๒๔๗๖ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยชื่อโรงภาพยนตร์ มีเขียนไว้ด้านบนซ้าย เขียนทั้งคำว่า “ตงก๊ก”และ “ศรีวิศาล” ควบคู่กันไป
ภาพที่สอง เมื่อเข้าไปด้านในของโรงภาพยนตร์ มีห้องขายตั๋วอยู่กลางลาน เขียนติดไว้ว่า “ห้องขายตั๋ว” และบอกราคาว่า “หนึ่งรูเปีย” อีกบรรทัดหนึ่งเขียนว่า “ใช้ ๗๐ ส.ต.” ยังเป็นสมัยที่เมืองเชียงใหม่ยังใช้เงินรูเปีย ซึ่งเป็นเงินจากประเทศอินเดียและใช้ในพม่ารวมทั้งภาคเหนือของประเทศไทย

ทั้งสองฝั่งตั้งเป็นร้านค้าขายของทั้งร้านขายอาหาร กาแฟ หนังสือ ของกินเล่น ด้านขวาของภาพมีพ่อค้าคนหนึ่งกำลังขายกาแฟอยู่ ด้านในมีบันไดเดินขึ้นเพื่อเข้าไปชมชั้นสอง บันไดด้านซ้ายเขียนคำว่า “ทางเข้าชั้น ๓ บ๊อก” ไม่ทราบแปลว่าอะไร
ส่วนบันไดด้านขวาเขียนคำว่า “ทางเข้าชั้นที่ ๒” ที่ชั้นสองติดพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ ๗ สลับกับผู้นำของประเทศจีนในสมัยนั้น คือ ดร.ซุนยัดเซ็น ส่วนด้านล่างลงมามีภาพหลายภาพ บางภาพเป็นหญิง ไม่แน่ใจว่าเป็นภาพผู้บริหารของประเทศจีนหรือว่าจะเป็นภาพดาราภาพยนต์ในสมัยนั้นก็เป็นได้ นอกจากนี้ยังมีธงชาติไทยและธงชาติประเทศจีนห้อยด้วยเชือก

คนรุ่นเก่าบอกว่าภาพนี้คงตกแต่งเพื่อเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญ เพราะปกติด้านหน้าทางเข้าโรงหนังตงก๊กเป็นที่โล่งติดถนนท่าแพ ถัดจากถนนท่าแพเข้ามาใช้เป็นที่จอดรถจักรยาน รถจักรยานยนต์และสามล้อรับจ้าง ถัดมาด้านในเป็นร้านค้ามีที่ขายตั๋วอยู่ตรงกลาง
สมัยนั้นก่อนฉายภาพยนตร์นอกเหนือจากมีเพลงสรรเสริญพระบารมีและมีพระบรมฉายาลักษณ์ของในหลวงแล้วยังมีภาพของ ดร.ซุนยัดเซ็น ผู้นำประเทศจีนอีกด้วย บ่งบอกว่าเจ้าของโรงหนังตงก๊กมีความศรัทธาในระบอบการปกครองระบบประชาธิปไตยและยังมีความรักในประเทศจีนบ้านเกิดอยู่มาก อาจเรียกว่า “ชาตินิยม” ก็คงไม่ผิดนัก

หากเปรียบเทียบมุมมองของผมโดยกรุงเทพฯ ในช่วงเวลาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงนิยมการถ่ายภาพยนตร์ และมีการสร้างโรงภาพยนตร์ที่ยิ่งใหญ่อย่างเฉลิมกรุงด้วย

โดยสรุปย่อข้อเขียนเรื่องโรงภาพยนตร์ตงก๊กหรือศรีวิศาล ด้านหน้าวัดแสนฝาง เล่าผู้ที่ร่วมลงทุนเป็นกลุ่มชาวจีนหลายคน หุ้นส่วนหลักคือ นายเคียมถ่าย แซ่พัว นายเปงเล้ง แซ่เล้า เจ๊กเปงล้ง โตวิจักษ์ชัยกุล ระยะหลังโรงภาพยนตร์ศรีวิศาล เปลี่ยนชื่อเป็นโรงภาพยนตร์ควีน โดยผู้เช่าดำเนินการ คือ ร้อยเอกทองแขม สิทธิพงศ์ ต่อมาขายต่อให้ตระกูล “ชินวัตร” ทำกิจการโรงหนังอยู่ระยะหนึ่ง ซึ่งทำเป็นห้างสรรพสินค้าขายพวกผ้าไหม และเปลี่ยนเป็นบริษัทขายอุปกรณ์มือถือ
ปิดท้าย สถาปัตยกรรมโรงหนัง ที่เคยปรากฏภาพยุคบรรยากาศสมัยเริ่มประชาธิปไตย และความทรงจำ ระหว่างประชาธิปไตยไทยกับสาธารณรัฐชาตินิยมของจีน หายไป บัดนี้ ข้อถกเถียงประชาธิปไตยยังไม่จบในปัจจุบัน ครับ

*ภาพโรงภาพยนตร์ตงก๊กได้มาจากร้านรัตนผล ที่มาข้อมูลจากเว็บ อ้างอิงพ.ต.ท.อนุ เนินหาด ผู้สนใจเพิ่มเติมต้องหาหนังสือของเขามาดู ซึ่งผมเคยพบเขาที่บ้านลุงบุญเสริม ช่างภาพคนสำคัญของเชียงใหม่ ยังบอกว่าคนนี้เป็นผู้บันทึกประวัติศาสตร์เชียงใหม่ พิมพ์หนังสือเองด้วย ครับ
เชียงใหม่ในอดีต:โรงภาพยนตร์ตงก๊กหรือศรีวิศาล

http://muslimchiangmai.net/index.php?topic=3506.0

**ภาพประกอบจากนิตยสารศิลปวัฒนธรรมกับร.7พระราชกระแส..เรื่องการศึกษาในระบอบFascism..และบทความพระเจ้าช้างเผือก มีเรื่องโรงหนังเฉลิมกรุง ดูเพิ่มเติม ครับ

http://www.prachatai.com/journal/2007/12/15265

19
ทีวีที่พูดกรอกหู จนรุ่นพี่เห็นหน้าประยุทธ์ทางทีวีบอกกวนตีน นี่เป็นความซับซ้อนซ่อนหาทาง..กลายเป็นโรดแมปปฏิรูปร่างรัฐธรรมนูญ นี่แหละ “ประยุทธ์ หยุดพาชาติหลงทาง ผ่านสื่อ” ครับ
ย้อนดูการวิเคราะห์สื่อ และตีความเรื่องการสร้างภาพยนตร์ จากประวัติศาสตร์รัฐบาลคณะราษฎร สร้างสถาบันทหารนั้นกระทำในหลายวิธี การใช้ภาพยนตร์ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ดำเนินไปอย่างได้ผล ภาพยนตร์ข่าวการปราบกบฎบวรเดช เป็นผลงานของสำนักงานโฆษณาการโดยหลวงกลการเจนจิต (เภา วสุวัต) และบริษัทถ่ายภาพยนตร์เสียงศรีกรุง ซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้เข้าไปบันทึกภาพจากเหตุการณ์สู้รบจริง ๆ และภาพยนตร์แสดงให้เห็นถึงชัยชนะของทหารผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ต่อทหารของฝ่ายกบฎที่ถูกอธิบายว่าเป็นศัตรูต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งทำให้ภาพทหารของรัฐธรรมนูญเด่นชัดขึ้น

อย่างไรก็ดี ภาพยนตร์ เรื่อง “เลือดทหารไทย” ก็ปรากฏสู่สายตาพลเมืองโดยภาพยนตร์ชุดนี้ถูกนำออกฉาย ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ปี พ.ศ.2477 โดยคณะพี่น้องวสุวัตได้รับการสนับสนุนอุดมการณ์จากรัฐบาลประชาธิปไตย เกี่ยวข้อง จอมพล ป. ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นำออกฉายปี พ.ศ.2478 ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้มุ่งหมายเพื่อเผยแพร่กิจการของกองทัพ ปลุกใจให้รักชาติ ปกป้องปฐพี และพิทักษ์รัฐธรรมนูญ โดยนำเสนอเป็นภาพยนตร์บันเทิงมีพระเอกนางเอกด้วย

ด้านหนึ่งของกิจการภาพยนตร์เป็นพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ และ ภาพยนตร์เสียงเรื่องแรกที่พี่น้องวสุวัต ประเดิมถ่ายทำได้แก่ภาพยนตร์ข่าว สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณ เสด็จนิวัต พระนคร ต่อมาภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ออกฉาย สู่สาธารณะที่ โรงภาพยนตร์พัฒนากร และเกิดการตื่นตัวทางภาพยนตร์ โดยภาพยนตร์เรื่องแรกที่มีเสียงพูด ชื่อว่า “หลงทาง” ออกฉายในวันขึ้นปีใหม่ของสยามขณะนั้น (ต่อมามีการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่) และวันเริ่มต้นการเฉลิมฉลองพระนคร 150 ปีพอดี

ทั้งนี้ ร.7 ทรงได้อิทธิพลจากชนชั้นสูงของอังกฤษ ให้ชอบเสด็จไปล่าสัตว์และโปรดถ่ายภาพยนตร์เอาไว้ ก็ทรงห้ามไม่ให้เผยแพร่ เพราะเกรงคำครหานินทาของราษฎร ซึ่งชื่อหนังสือภาษาอังกฤษใช้คำว่า The Man Who Accused the King of Killing A Fish เพราะนรินทร์กลึงเขียนโจมตีร.7 ที่เสด็จไปตกปลาที่ประเทศอังกฤษ นี่เป็นภาพสะท้อนสื่อภาพยนตร์ อีกบทบาทหนึ่งของสื่อ ครับ

โดยสรุปอย่างย่อๆ ก่อนเปลี่ยนชื่อประเทศสยามเป็นไทยในปี พ.ศ. 2481 เห็นภาพยนตร์ในฐานะสื่อ ที่มีแนวคิดทฤษฎีวิเคราะห์ต่างๆนานา เช่น สื่อแพร่กระจายวัฒนธรรม และส่วนการวิเคราะห์กลุ่ม1.บทบาทตระกูลวสุวัตแห่งศรีกรุง ร่วมกับเจ้ามาร่วมกับฝ่ายทหาร(กลุ่มอื่น เช่น กลุ่มทุนจีน) 2.เกิดกลุ่มปรีดีภาพยนตร์ สร้างหนังเป็นทหารเพื่อสันติภาพอย่างหนังพระเจ้าช้างเผือก ในแง่ชาตินิยม : สันติสุข เสมอภาค อิสระภาพ”โดยมุมมองใหม่ของผม สะท้อนสภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ กับกฎแห่งกรรมในชะตากรรม ด้วย

ฉะนั้น เมื่อกรอบวิเคราะห์-การตีความในลักษณะลัทธิทหารนิยมรัฐธรรมนูญ สร้างชาติ กับลัทธิทหารอำนาจนิยมแนวฟาสซิสม์ จะมาเคียงคู่กันในบริบทจอมพลป. ที่กลายเป็นเรื่องว่าเผด็จการฟาสซิสม์ นิยมนโปเลียน ฯลฯ ต่อมาฟาสซิสม์เป็นภัยร้ายของสงครามโลกครั้งที่สอง และแล้วบริบทปวศ.รายละเอียดเยอะ ขณะที่สถานการณ์ปัจจุบัน เห็นว่าทหารจากชนชั้นของราษฎร กลายเป็นอำมาตยาธิปไตย
*ข้อมูลจาก 24 มิถุนายน 2475: สงครามบนแผ่นฟิล์ม

http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41129

**ข้อมูลบทความพระเจ้าช้างเผือกของผม และการถ่ายทำหนังพระเจ้าช้างเผือกบรรยากาศธรรมชาติในจังหวัดแพร่

http://www.prachatai.com/journal/2007/12/15265

http://www.prachatai.com/journal/2008/01/15326

*** ที่มาชื่อหนังสือภาษาอังกฤษใช้คำว่า The Man Who Accused the King of Killing A Fish https://www.facebook.com/notes/10151521275083353/
****ภาพประกอบหนังพระเจ้าช้างเผือกจากทางเน็ตกับโน้ตเพลง ที่มาสถาบันปรีดีฯ ครับ

http://www.pridiinstitute.com/autopage/show_page.php?h=43&s_id=9&d_id=23

*****ไอเดียบางส่วนจากหนังสือThailand : Origins of Military Rule

22
ผมเมากำลังจะหลับตา หลังสัมผัสลมหนาวผ่านมาครบรอบ10ปี ในปี2547 ที่เดินทางไปเชียงของ กับพวกหญิงสาว ที่ตอนนั้นกลุ่มคณะละครหุ่นเงา อีกคนหนึ่งเป็นคนถ่ายภาพให้ผมคู่กับสาว(น้องของเพื่อนผมอยู่ที่จ.น่าน) ในรูป ณ เกสต์ฮาวส์ ริมน้ำโขง ที่เชียงของ ซึ่งผมกำลังเริ่มต้นอย่างโรแมนติค(ฮร่า) สร้างสรรค์ต่อเนื่องเรื่องเล่าผ่านภาพแผนที่ในรอบสิบปีที่ทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับเรื่องแม่น้ำโขง หรือแม่น้ำของ

เมื่อย้อนกลับมาทบทวนบริบทของรูปแผนที่ในหนังสือ Siam Mapped: A History of the Geo-Body of a Nation ซึ่งผมกลับมาดูฉบับแปล คือ กำเนิดสยามจากแผนที่: ประวัติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
โดยผมเกิดผลของการคิดเรื่องข้อสังเกตคำว่าCorruption ในภาษาอังกฤษกับการแปลกลับมาคำว่าฉ้อราษฎรจากภาพแผนที่มีรูปคอมมิวนิสต์เวียดนาม ลาว และกัมพูชา ที่มีแม่น้ำโขง กำลังกลืนกินไทย กลับกันในปัจจุบันไทยไม่โดนคุกคามจากปัจจัยภายนอก แต่กำลังทำร้ายกันเอง รวมทั้งกลืนกินโกงติดสินบน ด้วย

ปิดท้าย บริบทของแผนที่นี้ ทำให้เห็นข้อสังเกตเวลาต่อมาของชะตากรรมช่วงยุคสงครามจีนสั่งสอนเวียดนาม(ลาว)-กัมพูชา ในบทเทวดาแห่งประวัติศาสตร์ในหนังสือชุมชนจินตกรรม บทสะท้อนว่าด้วยกำเนิดและการแพร่ขยายของชาตินิยม ในตอนปิดท้ายของหนังสือบทเทวดาแห่งประวัติศาสตร์(ฉบับพิมพ์ครั้งแรก) ดูที่ผมเคยเขียนไว้แล้ว
อย่างไรก็ตาม กรณีศึกษาของพื้นที่แห่งความทรงจำ โดยผมจะเขียนกล่าวจบอย่างสรุปสุดโรแมนติค มีรัก มีหวังหยุดคอรัปชั่น แม้อนาคตไม่แน่นอน
ราตรีสวัสดิ์ ครับ^^
*ครบรอบเขียนเรื่องภาพยนตร์พระเจ้าช้างเผือก7ปีผ่านไปและครบ10ปีหาทางเขียนสร้างสรรค์ผ่านภาพประกอบหนังสือthe creative processพร้อมรูปผมกับน้องสาวของเพื่อน
**ภาพประกอบแผนที่ไตรภูมิ-แม่น้ำของหรือโขง และหนังสือ Siam Mapped ฯลฯ
***ภาพแม่น้ำของ ที่ผมนำเป็นแนวคิด โดยมีข้อสังเกตคนนำเสนอเชื่อมโยงภูมิกายาของเวียดนามด้วย

https://leminhkhai.wordpress.com/2012/03/13/the-geo-body-of-vietnam/

****ข่าวปปช.กับพล.อ.เปรม ชี้ใครบอกแก้โกงไม่ใช่หน้าที่ถือไม่รักชาติ
*****น้ำโขงมีความหมาย = ? อืมอันนี้นิยามน่าจะตอบยาก ถ้าหมายความว่่าชื่อแม่น้ำโขง 1.น่าจะหมายถึงโค้ง ไม่ตรงตามตำนานเรื่องนาคสองฝ่ายทะเลาะกัน นาคฝ่ายหนึ่งเกิดแม่น้ำโขงกับปลาบึก และนาคฝ่ายสอง เกิดแม่น้ำน่าน 2.แม่น้ำไหลผ่านประเทศจีนมีชื่อเรียกว่า แม่น้ำหลานชางเจียง หรือ แม่น้ำล้านช้าง และเมื่อไหลผ่านเข้าเขตประเทศพม่า และประเทศลาว เรียกว่า แม่น้ำของ รวมถึงคำเมืองล้านนาก็เรียก แม่น้ำของ เช่นกัน แต่ในภาษาไทยเรียกว่า แม่น้ำโขง
ส่วนคำตอบที่3. ผมตอบง่ายว่าน้ำโขง มีความหมายกับปลา ไม่มีน้ำโขงไม่มีปลา หรือ น้ำโขงกับผู้คนใช้น้ำกัน ครับ

https://www.gotoknow.org/posts/289297

https://www.gotoknow.org/posts/255215

23 วันอังคาร
เดือนพ.ย.ผมร่วมเวทีเรื่องเกี่ยวกับองค์กรอิสระฯ ซึ่งประเด็นหลักคีย์เวริด์ผมพูดเรื่ององค์กรอิสระเป็นเสือกระดาษ เพราะตัวชี้วัด คือ พื้นที่สาธารณะอย่างสื่อได้ออกข่าวว่าองค์กรอิสระ โดยกรรมการสิทธิฯ สตง.(ตรวจเรื่องคอรัปชั่น)ยอมรับเป็นเสือกระดาษ ลองค้นดูคีย์เวริด์นี้ ครับ
ส่วนด้านข้อมูลองค์กร หลายเรื่องมาก กรณีกกต.จะทำไงให้มาตรฐานเท่าเกาหลีใต้ และปปช.จังหวัด จะพัฒนาให้ดีขึ้น เป็นภาพกว้างๆ น่ะครับ

เนื่องจากต่อยอดเวทีโดยโฟกัสยกตัวอย่างวิทยานิพนธ์ของผมอย่างสั้นๆในแง่โลกาภิวัตน์ –ชาติ สู่ท้องถิ่นกับอบต.(สู่อบท.) ทำให้เกิดพลวัตการกระจายอำนาจต้องมากขึ้น กรณีการจัดการรองรับการท่องเที่ยวข้ามพรมแดนและชายแดนเป็นเรื่องเชิงทฤษฎีสั้นๆว่า ผลประโยชน์จากการพัฒนา ทำให้เกิดคอรัปชั่นอย่างข่าวพิพิธภัณฑ์ปลาบึก ที่ก่อสร้างในเขตเทศบาลตำบลเวียงเชียงของ ครับ
แต่สร้างมาแล้วใช้การไม่ได้ มีการทุจริตคอรัปชั่นเกิดขึ้น จนสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)เข้ามาตรวจสอบเอาผิดกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)
โดยสรุปง่ายๆแล้ว 1.ผมคาดหวังว่าคอรัปชั่นเป็นเรื่ององค์กรอิสระ(เช่น สตง.ฯลฯ) จะทำให้หายไปได้ก็ดี 2.ภาวะน้ำท่วมปากทางการเมือง ทำให้คนยังไม่สามารถมีสิทธิมีเสียงแก้ปัญหาอย่างอิสระได้ง่าย 3.โครงร่างคร่าวๆ สำหรับหัวข้อ สตง.การตรวจสอบคอรัปชั่นพิพิธภัณฑ์ปลาบึกของอบท. สู่การสร้างงานศิลป์พิพิธภัณฑ์ปลาบึก นี่แหละจบเรื่องสร้างสรรค์Artครับ^^

*ภาพประกอบที่เขียนตอบงานแสดงความคิดเห็น จริงๆครุ่นคิดหนักเขียนไปสี่แผ่น ดูที่เรียบเรียงไว้มาเผยแพร่สองแผ่น โดยประยุกต์แนวคิดบางส่วนJürgen Habermas: bourgeois public sphere. ซึ่งผมเขียนไว้กับคุยอยากให้องค์กรอิสระฯ เพิ่มพื้นที่สาธารณะการจัดเวทีมีส่วนร่วมอย่างไม่เป็นทางการมากขึ้น โดยผมถ่ายภาพเก็บไว้เผื่อดัดแปลงเป็นบทความอย่างแนวคล้ายๆ กรณีเรื่องคอรัปชั่น-องค์กรอิสระกับประชาสังคมที่เคยได้ลงเนชั่น สุดสัปดาห์ ครับ
**ข่าวจากเชียงรายนิวส์ ปีที่27 ฉ.0473 ส.ค.2557 และภาพประกอบงานศิลปะ-ผุดพิพิธภัณฑ์ปลาบึกน้ำโขงฝีมือ อจ.เฉลิมชัย ใหญ่ที่สุดในโลก.

http://www.maesainewsonline.com/index.php?main=read&id=2322&CID=2

สตง.ตามบี้เช็กบิลทุจริตพิพิธภัณฑ์ปลาบึก ข้อมูลนสพ.นี้บอกงบ 9 ล้านบาท

http://www.thaipost.net/x-cite/060712/59202

***โน้ตไว้หลังจากหลายปีที่ผมเคยเขียนขอทุนอียู(EUหรือสหภาพยุโรป) และร่วมผ่านกระบวนการหลายอย่างกับทุนยูเสด(Usaid) ที่คาดหวังกับองค์กรอิสระฯลฯ ครับ
เน็ตผมอาการค้างอีกแล้ว ขอตัวไปนอนก่อนหละกัน แถมเพลงคำถามซึ่งไร้คนตอบ นี้ครับhttps://www.youtube.com/watch?v=mVkMDcjSpMQ

26 วันศุกร์
เมื่อผมกับพรรคพวกคุยเรื่องงาน ก่อนนอนเลยจัดตามข่าววันศุกร์พบผู้นำ ทำให้ผมนึกถึงเรื่องนายกพูดเรื่องสึนามิ และข่าวพล.อ.ประยุทธ์ไปเมืองจีน ต่อมาคุยเรื่องรถไฟในภูมิภาค
กรณีสิบปีที่เขียนเรื่องปัญหาภาคใต้ในปี2547กับภาพความจำต่อรถไฟ มีเรื่องเล่าบางอย่างตอนที่ผมอายุ20 ปี เลียนแบบเพื่อนๆ หลายคน ที่ต่างออกเดินทางคนเดียว เป็นการเรียนรู้ และแสวงหาความหมายของชีวิต ปี42 (ละมั้ง) ยิ่งกว่าหนังเพื่อนสนิท ติสท์หนุ่มนั่งรถไฟจากเชียงใหม่ไปสุไหงโกลก พกหนังสือคำพิพากษาไปอ่านระหว่างการเดินทางและกล้องถ่ายรูป ผ่านพบเจอผู้คนร่วมขบวนรถไฟ และผมพบผู้คนระหว่างทางภาคใต้ท่าทางเหมือนผู้ก่อการร้าย สูบบุหรี่บนรถไฟ
จากนั่งรถหลายวัน มาถึงสถานีสุไหงโกลก ต่อมาผมคิดมากไม่รู้ไปไหนต่อ จึงซื้อตั๋วรถไฟกลับทันใดนั้นเอง นี่แหละความทรงจำหน้ารออีกสามสิบนาทีกลับกรุงเทพฯ ซึ่งผมเล่าเรื่องนี้คนส่วนใหญ่จะหัวเราะ น่ะครับ^^

ทั้งนี้ ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องสุไหงโก-ลก ป่าและแม่น้ำ รวมทั้งเส้นทางรถไฟ-การตั้งเทศบาลตำบล ดูที่วิกิพีเดีย ครับ
*กฎอัยการศึก…บทเรียนจากชายแดนใต้(“100 ปีกฎอัยการศึก 10 ปี ณ ปาตานี”… ซึ่งเป็นวันครบรอบ 10 ปีการหายตัวไปของทนายสมชาย นีละไพจิตร และเป็นปีครบรอบ 100 ปีการบังคับใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.2457 ด้วย)

http://www.isranews.org/south-news/talk-with-director/item/29585-martial_29585.html

สิบปีสึนามิ
**ภาพประกอบบทความในนิตยสาร ที่เคยเขียนงานไว้ปี2547 ครับ

30
ช่วงใกล้ปีใหม่ เมื่อวันที่27ธันวา ที่ผ่านมา ทำให้ผมทบทวนเล่าเรื่องสบายๆ ดีๆในแง่คุยกับรุ่นน้องมีเรื่องที่สิบปีที่ผมกับรุ่นน้องที่ร่วมเขียนเรื่องภาคใต้ในวันก่อน ที่ผมจะเข้าวัดบุพพาราม ในแง่มุมที่ผมตอนทำวิทยานิพนธ์ช่วงปี2547 เราคุยกันหลายเรื่องมาก ปัญหาต่างๆ มากมายของสังคมไทยในปัจจุบัน แต่ส่วนตัวในแง่นั้น ทำให้ผมมาทบทวนเรื่องภาคเหนือ ซึ่งรุ่นน้องผม ทำเรื่องวิทยานิพนธ์ป.โทเรื่องรัฐไทใหญ่ เปรียบเทียบกับภาคเหนือของล้านนา(ปัจจุบันเรียนป.เอก) และผมเขียนวิทยานิพนธ์ป.โทเรื่องเชียงของ เกี่ยวกับปลาในแม่น้ำของ
ซึ่งผมช่วยงานโครงการย้อนรอยจิตรกรรมวัดอุโมงค์เชียงใหม่ แบบไม่ค่อยสนใจไตรภูมิในแง่แผนที่มากเท่าไหร่ โดยคนเชื่อมโยงเรื่องไตรภูมิกับSIAMMAPPEDDฯ คือ รุ่นน้องของผม ทั้งที่เค้าเรียนจบปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์ ด้วย

แน่ละนี่คือ ชะตากรรม ในแง่ที่เขาวันหนึ่งมาคุยเรื่องไตรภูมิภาพจิตรกรรรมแม่น้ำของ และปลา ทำให้ผมติสท์หนุ่มเห็นความเชื่อมโยงจินตนาการอันสร้างสรรค์ ก่อนหน้าเขาปีนี้ผมเจอเค้า ณ กรุงเทพฯ ก่อนบวชพระ และแล้วสำหรับปีหน้า ที่เล่ามาทั้งหมด นึกถึงว่าเขาย้ำๆ ว่าผมต้องไปงานแต่งงานของเขาให้ได้ ครับ^^(ฮร่า)

วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกภาวะวิสัยหลังรัฐประหาร กับโชคชะตาของประเทศ ผ่านอัตวิสัยบอย

บันทึกภาวะวิสัยหลังรัฐประหาร กับโชคชะตาของประเทศ ผ่านอัตวิสัยบอย
20 กันยายน
ประเทศไทย เป็นรัฐสยามขึ้นมาจากการรวมอาณาจักรเหนือ อาณาจักรใต้ จากการรับอิทธิพลของอังกฤษ ในความเป็นรัฐสมัยใหม่ ตั้งแต่สมัยร.5 ซึ่งความน่าสนใจของประเด็นรัฐชาติ ในหนังสือชุมชนจินตกรรม: บทสะท้อนว่าด้วยกำเนิดและการแพร่ขยายของชาตินิยม  อ้างอิงถึงThe  break up of Britain (Tom Nairn เป็นคนสก็อต) โดยต่อมาผมมาคิดถึงเรื่องปัญหาการแยกประเทศในยุคโลภาภิวัตน์ เป็นเรื่องให้คนสนใจได้มาก ลงประชามติได้ผลสรุปออกมาแล้ว
กระนั้น นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร เดวิด คาเมรอน กล่าวสุนทรพจน์ว่าเขาจะรู้สึก "อกหักอย่างยิ่ง" ถ้าสกอตแลนด์ลงประชามติเพื่อแยกตัวจากสหราชอาณาจักร "การตัดสินใจนี้อาจจะเป็นการสิ้นสุดของครอบครัวที่เป็นชาติของเรา และตัดสกอตแลนด์ออกจากสหราชอาณาจักร แน่นอนว่า นี่ยังไม่รวมเรื่องความเป็นมาของอังกฤษ นับแต่ชนเผ่ามาถึงรากคำว่าEngland (engel/angel)
อย่างไรก็ตาม อังกฤษ สามารถทำให้ชาติมั่นคง ทั้งเรื่องรัฐธรรมนูญของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเปรียบเทียบไทย ในแง่ปัญหาภาคใต้ แล้วเผด็จการทหารในยุคโลกาภิวัตน์แบบเผด็จการทหาร เป็นนายกฯพูดก็ไม่ดี แล้วจะทำอะไร? เช่น กรณีพูดกระทบนักท่องเที่ยวอังกฤษ จนกระทั่งต้องพูดว่าผมเสียใจเป็นที่สุดกับครอบครัวชาวต่างชาติที่เสียชีวิต ทุกคนที่เสียชีวิต ผมเสียใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคนไทย คนต่างชาติ อะไรที่พูดแรงไป ต้องขอโทษด้วย

ข่าวผบทบอำลาตำแหน่ง ทำให้ผมนึกถึงก่อนปี2549การพยายามเปลี่ยนโครงสร้างกองทัพเพื่อทันสมัย และดับไฟใต้ กรณีการตั้งสนธิ บุญยรัตกลิน เป็นผบ.ทบ.เพื่อแก้ไขปัญหาภาคใต้ต่อจากประวิตร วงษ์สุวรรณ(ปัจจุบันเป็นรมต.กลาโหม และรองนายกฯ) http://thaienews.blogspot.com/2011/01/blog-post_23.html
คำถามถึงผบทบ คนใหม่ ผู้รับมรดกต่อจากประยุทธ์ จะทำอย่างไรต่อ? เมื่อท่านบิ๊กตู่มาเป็นนายกฯแล้วด้วย


25-26 กันยายน
สำรวจข้อมูลสายบูรพายัคฆ์ -บิ๊กตู่ ประยุทธ์ ที่มีเครือข่ายสายสัมพันธ์ ประวิตร กับ อนุพงษ์ ถึงผบทบ คนใหม่  ซึ่งผมเล่าเรื่องชีวิตส่วนตัว พล.อ.ประวิตร ครองตนเป็นโสดมิได้เคยผ่านการสมรสมาก่อนจาก "ผบ.ทบ.โสดสนิท" คนที่สองรองจากป๋าเปรม สู่ "รมว.กลาโหมที่ไม่มีภริยา" คนที่สอง ในประวัติศาสตร์
จากชีวิตส่วนตัวของประวิตร อันน่าสนใจมาถึงอนุพงษ์ เผ่าจินดา วุฒิการศึกษา พ.ศ. 2556 ปริญญาโทมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ วิชาคอมมิวนิสต์ จาก มหาวิทยาลัยแห่งชาติรัสเซีย เป็นเรื่องแปลกใจให้คิดเขาไปเกี่ยวกับวิชาคอมมิวนิสต์ ได้อย่างไร? จากข้อมูลวิกิพีเดียไทย ครับ
"บูรพาพยัคฆ์" ในทางการเมืองหมายถึง เครือข่ายนายทหารที่มีเส้นทางเติบโตมาจากกองพลนี้ มีชื่อเรียกขานว่า "นักรบบูรพา" หรือ "บูรพาพยัคฆ์"
 เมื่อข้อน่าสังเกตเกร็ดเล็กน้อยของสามทหารพยัคฆ์(เสือ)นายทหารที่มีเส้นทางเติบโตจาก "บูรพาพยัคฆ์" ได้แก่ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีตผู้บัญชาการทหารบก, พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก

อย่างไรก็ตาม ผบทบคนใหม่ คือพล.อ.อุดมเดช ถือเป็นตัวแทนจาก ค่าย "บูรพาพยัคฆ์"ที่เคยร่วมรบ และรับราชการใกล้ชิดกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีตผบ.ทบ. พี่ใหญ่ของบูรพาพยัคฆ์ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีตผบ.ทบ. และพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. มา และเป็นนายทหารคนหนึ่งที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เอ็นดู รักใคร่ และมีความใกล้ชิด
http://www.thairath.co.th/content/418930
จับกระแสร้อน "บิ๊กโด่ง Vs บิ๊กต๊อก" ศึกชิงเก้าอี้ ทบ.1 จากพาดหัวข่าวในอดีตสะท้อนว่า
พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร  ผบทบคนใหม่ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และพล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม  ที่เคยถือเป็นคู่ชิงเก้าอี้ผบ.ทบ.อยู่คนละค่าย "บูรพาพยัคฆ์" กับ "วงศ์เทวัญ" ปรองดองกันอยู่ในรัฐบาลเดียวกันได้ ครับ

1 ตุลาคม
วันที่ 1 ตุลาฯ เป็นวันชาติจีน และตอนนี้ มีข่าวนศ.ฮ่องกงเคลื่อนไหวในฮ่องกง ซับซ้อนของปัญหาหนึ่งประเทศสองระบบของจีนต่อฮ่องกง ซึ่งชุมชนจินตกรรมเกี่ยวกับชาติฯ จากจักรวรรดินิยมอังกฤษ มาเปลี่ยนถึงยุคจีน หนังของผู้กำกับหว่องกาไว มักจะครุ่นคิดกับเรื่องพวกนี้ โดยปรากฏในหนังของเขา รวมทั้งผลงานนักวิจารณ์ ทำการวิเคราะห์หนังเขาหนัง Chungking Express ฯลฯ รวมถึงฉากการประท้วงในอดีตของฮ่องกง ครับ
อย่างไรก็ดี กรณีการเมืองของการเลือกตั้งในฮ่องกง อาจจะส่งผลกับคนไทย หันมาสนใจเรียนรู้หนังจีน หนังฮ่องกง มากขึ้นมั่งไหม? หลังจากข่าวว่ากระแสตกลงเยอะ เช่น หนังโคตรเซียนมาเก๊า เขย่าเวกัส From Vegas to Macauไม่ค่อยมีใครดู มีเรื่องวัฒนธรรมว่ามาเก๊าเคยเป็นเมืองขึ้นโปรตุเกส ยอมรับได้จากตัวละครตามจริง ในปัจจุบันเป็นเขตปกครองพิเศษของจีน และหนังเล่าเรื่องปรัชญาไพ่นกกระจอก ด้วยครับ
จากความทรงจำปี53 ประสบการณ์ส่วนตัวที่ผมเคยไปฮ่องกงกับมาเก๊า ตอนที่ผมไปหางาน และลองหาที่เรียนป.เอก ไปเที่ยวเข้ามหาลัยฮ่องกง เล่าเรื่องคลายเครียดการเมืองของนศ.หน่อยว่า ผมเคยนั่งหน้าหอสมุดมหาลัย เดาว่านศ.หญิงชายสองคน ละมั้ง นั่งจูบปากกันใกล้ๆกับผม อึ้ง ไป เพราะความต่างวัฒนธรรม ในเมืองไทยยังไม่เคยเจอแบบนี้ โดยสรุป ข้อสังเกตปรากฏการณ์เคลื่อนไหวของนศ. กระแสวัฒนธรรมดิจิตอล เป็นลักษณะปัจจัยส่วนหนึ่งผลกระทบการเมืองวิกฤติ เป็นโอกาสจุดเปลี่ยนผ่านจากปัจเจกมาสู่ชุมชนกับประชาสังคม ได้ ครับ^^
**ข่าว’Umbrella Revolution’ และข้อมูลหนังเกี่ยวกับฮ่องกงของหว่องกาไว ครับ
‘Umbrella Revolution’ Protests Spread In Hong Kong
http://www.huffingtonpost.com/2014/09/29/hong-kong_n_5899116.html
Hong Kong vs. Tiananmen: Social media fuel ‘umbrella revolution’
http://www.usatoday.com/story/news/world/2014/09/29/hong-kong-protests-social-media/16444213/

คนศึกษาหนังของหว่องกาไว เป็นวิทยานิพนธ์ และนี่ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง ในอื่นๆ คือ
Abbas, M. A. Hong Kong: Culture and the Politics of Disappearance. (ฮ่องกง : วัฒนธรรม และการเมืองสูญหาย)
http://en.wikipedia.org/wiki/Wong_Kar-wai
*การประท้วงที่ฮ่องกง ข้อแรกสะท้อนประเด็นเรื่องหนึ่งประเทศสองระบบของชาติจีนกับฮ่องกง ประชาธิปไตย เสรีภาพของการปกครองตนเองเป็นเรื่องหลัก ส่วนเรื่องใช้สัญลักษณ์ร่ม มือถือ แต่ผมสังเกตคนคอมเม้นท์ในข่าว มีคอมเม้นท์โยงไปไกลหลายกรณี ถึงการใช้สัญลักษณ์มือถือของฝ่ายประท้วง ต้องต่อต้านมือถือกดขี่คนงานด้วย แต่ผมชอบที่คนคอมเม้นท์แบบสรุปง่ายๆว่าพวกเขาต้องการเสรีภาพอย่างง่าย ที่ฮ่องกงเคยได้รับการสัญญาจากจีน

2 ตุลาคม
ประวัติศาสตร์ให้ความหวัง กับเราเสมอ ซึ่งผมใช้แนวคิด ที่ปรากฏเรื่องHistory and Hope คือ ประวัติศาสตร์ และความหวัง เกี่ยวพันความจำเป็นทางประวัติศาสตร์ โดยสรุปย่อๆ ในเรื่องโชคชะตาของประวัติศาสตร์ และคนเราต้องมีจินตนาการ เพราะผมนำแนวคิดของLeszek kolakowski นักปรัชญาชาวโปแลนด์ ผู้เขียนงานanti-totalitarian(ต่อต้านเผด็จการ) และเขาตายที่Englandกล่าวถึงไว้ ผมอยากนำมาปรับใช้เล่าแง่มุมของอนาคต โดยเปรียบเทียบไทยกับพม่า ในความก้าวหน้าทางประวัติศาสตร์ เกิดขึ้นในอนาคตแล้วอะไรๆ ก็ดีขึ้น
นั่นเป็นเรื่องของความเห็นของผม คนไทยไม่ยอมรับเผด็จการทหารเหมือนพม่า จนกระทั่งเราเห็นว่าไทใหญ่พลัดถิ่นหนีทหารพม่าในไทย ครับ
นั่นแหละ ไม่ย้อนกลับไปใช้โครงสร้างอำนาจการเมืองเผด็จการทหาร เหมือนรัฐพม่าในอดีต ครับ
6-7 ตุลา ทัศนะประวัติศาสตร์การเมืองเกี่ยวกับทหาร ในปัจจุบันอาจจะดีกว่าประวัติศาสตร์ยุคทหารก่อนยุค6ตุลาอย่างยุคสฤษดิ์ ที่มีปัญญาชนติดคุกอย่างจิตร ภูมิศักดิ์ ติดคุกลาดยาว หรือครูครอง จันทวงศ์ ที่ติดคุกเรือนจำบางขวาง เป็นที่เดียวกับศรีบูรพา (กุหลาบ สายประดิษฐ์) และต่อมาครอง จันทวงศ์ ถูกสั่งโทษประหารชีวิตในยุคสฤษดิ์(ศุภชัย ศรีสติ ผู้นำแรงงานในระบบและนอกระบบ ถูกสั่งประหาร และผู้นำคนอื่นๆ)ต่อมาครอบครัวของครูครอง ยังถูกคุกคาม เป็นต้น
หรือบางด้านของระบอบสฤษดิ์ : ปัญหาป๋วย ,การประหารชีวิตครอง และสฤษดิ์….วิเคราะห์ลักษณะพิเศษของภาคอีสานที่เป็นสาเหตุขบวนการ…“แยกดินแดน” … https://www.facebook.com/notes/1439676266312880/
โดยผลมรดกชาตินิยมบางด้านของสฤษดิ์ ต่อมายุคถนอม และเกิดเหตุ14 ตุลา 16 ถึง6 ตุลา 19 ดูเพิ่มเติมทัศนะประวัติศาสตร์หลายหลายมุมมองต่อปัญหาการเกิดขบวนการผู้คน เช่น บ้านเมืองของเราลงแดงฯ ครับ
บ้านเมืองของเราลงแดง : แง่มุมทางสังคมและวัฒนธรรมของรัฐประหาร 6 ตุลาคม

http://www.2519.net/autopage/show_page.php?t=10&s_id=15&d_id=8

กระนั้น ผมเห็นข้อมูลอันน่าสนใจเกี่ยวกับนายกฯ ที่เป็นทหาร หลังยุคจอมพลสฤษดิ์-จอมพลถนอม เป็นต้นมา นายกฯทหารไม่สามารถอยู่ในตำแหน่งได้ยาวนาน
(ที่มา:เดิมพันการเมือง พล.อ.ประยุทธ์ อาถรรพ์+อำนาจต้องห้ามบนเก้าอี้นายกฯนายพลคนที่12?)
สรุป แล้วนายกฯ นายพลยุคประยุทธ์อยู่ไม่นาน สำหรับผมในแง่ประวัติศาสตร์แห่งความหวัง มองแง่ดีนายกฯนายพลไม่น่าจะอยู่ในตำแหน่งนาน และอำนาจไม่มากเหมือนอดีต ยกเว้นแต่การเมืองมวลชนชนชั้นกระฎุมพีพันธมิตรฯ ชนชั้นแรงงาน ร่วมกับกปปส. จะอย่างไรต่อไป ครับ
***ภาพประกอบจากหนังสือคำให้การของดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ กรณีเหตุการณ์ 6 ตุลา พร้อมที่มาแฟ้มภาพประติมากรรม ๖ ตุลา ๒๕๑๙ ซึ่งสมศักดิ์ โกศัยสุข ร่วมเปิดหลังพฤษภา35 ไล่ทหาร กับหน้าปกหนังสือปี2557ของสมศักดิ์ ผู้นำแรงงานอดีตแกนนำพันธมิตรฯ ใน7ตุลา 2551 สู่กปปส.
(ข่าว:พันธมิตรฯ ทำบุญอุทิศ วีรชน 7 ตุลาฯ”)

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9570000115094

10 ตุลา
วันที่10 ตุลา ผมนึกถึงหนัง1911” (ชื่อไทย ใหญ่ผ่าใหญ่”)การปฏิวัติซินไฮ่ ทั้งสาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวันและสาธารณรัฐประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่มองว่าตนเป็นผู้สืบทอดการปฏิวัติซินไฮ่และยังคงเคารพอุดมการณ์ของการปฏิวัติ รวมทั้งชาตินิยม+สาธารณรัฐนิยม การทำให้จีนทันสมัยและความสามัคคีแห่งชาติ วันที่ 10 ตุลาคมในไต้หวันเป็นวันดับเบิลเท็น (Double Ten Day) วันชาติของสาธารณรัฐจีน ในจีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกงและมาเก๊า วันเดียวกันนี้ยังมักเฉลิมฉลองเป็นวันครบรอบการปฏิวัติซินไฮ่ ชาวจีนโพ้นทะเลจำนวนมากยังเฉลิมฉลองในไชนาทาวน์ทั่วโลก(ดูเพิ่มเติมวิกิพีเดีย และปฏิวัติซินไฮ่ก่อนปฏิวัติรัสเซียโดยเลนิน และก่อนปฏิวัติของเหมาเจ๋อตุง)
การปฏิวัติซินไฮ่ ที่มีดร.ซุน ยัดเซ็น ศัลยแพทย์ เป็นผู้นำ เฉินหลง รับบท หวงซิง สมาชิกฝ่ายบู๊ ต่อมาเวลาผ่านพรรคชาตินิยมจีน(ก๊กมินตั๋ง) จึงหนีมายังเกาะไต้หวัน (จริงๆ เป็นหนังที่ผมสนใจอยากเขียนยาวๆ อีกเรื่องหนึ่งเคยเตรียมข้อมูลไว้ ลองค้นหาที่คนเขียนไว้จากกูเกิ้ล และคนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ไว้ เช่น ซุนยัดเซ็น เคยมาไทย รวมทั้งผลกระทบต่อไทยในยุคที่มีการต่อต้านจีนเป็นยิวแห่งบุรพทิศด้วย)
ทั้งนี้ ข่าวว่านักเรียนนักศึกษาในไต้หวันเคลื่อนหนุนการเคลื่อนไหวในฮ่องกง ซึ่งนักเรียนนักศึกษากว่า 100 คนชุมนุมที่หน้าที่ทำการเจรจาการค้าฮ่องกงประจำไทเป เรียกร้องประธานาธิบดีไต้หวันประณามเหตุที่เกิดขึ้นในฮ่องกง และยุติการเจรจากับจีนทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ
นี่แหละกรณีไต้หวัน จีนและฮ่องกง ในปัจจุบัน

***ภาพประกอบช่วงหนึ่งหญิงสาวนำรูปธงชาติจีนกับไต้หวัน มาติดตรงหน้าอก เป็นการล้อเลียนยั่วให้รวมเป็นหนึ่งเดียวตามแคมเปญนี้มีการรณรงค์ตามถนน

http://www.zonaeuropa.com/200811a.brief.htm

17 ตุลา
วันศุกร์นายกฯออกทีวี เวลาสองทุ่มครึ่งกว่า จะติดตามสถานการณ์การเมืองสักหน่อย แต่เขาออกมาพูดก่อนช่วงหกโมงเย็นเรื่องประชุมเอเชีย ยุโรป หรือ ASEM.
แล้วหลัง14 ตุลาโชคชะตา พาความหวังไทยแลนด์
ผมได้เขียนบันทึกถึง14 ตุลาไว้ปีที่แล้ว คือ ปี2556ใน บันทึกส่วนตัวเรื่องการเมืองไทย : ต.ค.-พ.ย.-ธ.ค.ปลายปี2013 กล่าวถึง14 ตุลา 16 โดยผมคิดเพิ่มเติมประเด็นจุดอ่อนของรัฐเผด็จการ ทำให้จุดติดชนวนส่วนหนึ่งจากการล่าสัตว์ทุ่งใหญ่ กระแสสิ่งแวดล้อมสู่ด้านการเมือง สิ่งที่ผมอธิบายแง่มุมบางอย่างในปัจจุบันนี้ ทำMind Map โดยบอยวาดรูป ขึ้นด้วย
แน่ละ ผมนึกถึงหนังสือ ย้ำยุค รุกสมัย ฉลอง40ปี 14 ตุลา ครับ
ทั้งนี้ การวิเคราะห์กลุ่มของกกปส. แนวร่วมของกลุ่ม มีหลายกลุ่ม ให้ผู้นำโดดเด่น และกลุ่มทุน ซึ่งน่าวิเคราะห์แนวร่วม ที่ต่างจากกลุ่มนปช. เป็นบทเรียนเรื่องยุทธศาสตร์และยุทธวิธีด้วย
อย่างไรก็ตาม สุริยะใสหนุนแนวคิดคสช.ตั้งสภากระจกในข่าวบอกว่าสุริยะใส เป็นอาจารย์แล้วที่ม.รังสิต และข้อสังเกตทางการเมืองโมเดลย้อนกลับเหมือนข้อเสนอกลุ่มยุค2535 ที่มีสถานการณ์การเมืองพฤษภาฯ รายละเอียดในหลายแง่มุมเศรษฐศาสตร์การเมือง อื่นๆ ซึ่งไม่ใช่แค่โมเดลของปฏิรูป ที่มาหลังการยึดอำนาจรัฐควบคุมการเลือกตั้งเท่านั้น น่าร่วมกันคิด ให้โชคดีต่อไทย ครับ^^

20 ตุลา
ข่าวศาลกัมพูชาไต่สวน2ผู้นำเขมรแดงรอบใหม่ กรณีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ฯลฯ ทำให้ผมนึกถึงเคยดูภาพยนตร์เรื่อง ศัตรูประชาชน (Enemies of the People) แล้วเพิ่งคิดได้เรื่องชาตินิยม เพราะผมกลับมาอ่านหนังสือชุมชนจินตกรรม บทสะท้อนว่าด้วยกำเนิดและการแพร่ขยายของชาตินิยม โดยเขียนจากเหตุการณ์ช่วงเวลาใกล้ปัจจุบัน1979(2522)ไปหาอดีตแล้วย้อนกลับมาปัจจุบันใกล้กับช่วงผลิตหนังสือ1983 (สะท้อนเรื่องรัฐชาติจากระดับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สู่ระดับโลกในมิติทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ต่างๆ รวมทั้งท้าทายแนวคิดข้ามรัฐชาติสู่สากลนิยม )ได้กล่าวถึงกรณีสงครามรัฐจีน กัมพูชาและเวียดนาม ในตอนเปิดบทนำของหนังสือด้วย

โดยข้อมูลเพิ่มเติมช่วงที่คนในพคท.ทะเลาะกัน จะเข้าข้างเขมรแดงโหดร้ายป่าเถื่อนตามจีนเชียร์เขมรแดง 2522(1979) ซึ่งจีน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ(2515)จับมือกับอเมริกายุคการทูตกีฬาปิงปองคานอำนาจโซเวียต ต่อมาไทยกับจีน(2518)โดยจีนกับโซเวียตทะเลาะกัน โดยพคท.กับเขมรแดงสายจีน ลาวกับเวียดนามสายโซเวียต ต่อมาเวียดนาม-ลาว บุกเขมร แล้วพคท.(พรรคคอมมิวนิสต์ไทย)มาคุยกับรัฐไทย ร่วมมือชั่วคราวต้านเวียดนาม เพราะเชื่อว่าเวียดนามอาจจะยึดเขมรแดง และปฏิวัติมาถึงไทยได้(บริบทซับซ้อนกรณีมหาอำนาจอเมริกา ช่วยเขมรแดงด้วย)ซับซ้อนซ่อนเร้นกัน ครับ
อย่างไรก็ตาม หนังศัตรูประชาชนสะท้อนชาตินิยมผ่านอดีตผู้นำ ทหารเป็นข้อเสียของชาตินิยมหนึ่งข้ออ้างไปสู่ความรุนแรง
*ผมเห็นการวิเคราะห์เรื่องกรณีเขมรแดง เปรียบเทียบกับไทย เคยมีคนวิเคราะห์ไว้ผมเห็นด้วย ว่าอเมริกา มีอิทธิพล ทำให้ช่วยหาทางลงโทษอดีตผู้นำเขมรแดงอย่างนวนเจียพี่ชายหมายเลขสอง88ปีฯลฯ ได้แม้ว่าล่าช้า อเมริกา มีส่วนช่วยด้านหนึ่ง ก่อให้เกิดดำเนินคดี ก็เกือบทำให้ผู้นำถึงแก่กรรมหมดก่อนหน้านี้ เช่น พลพต อีกทั้งปัจจัยการล่าฆ่าสังหารโหดเป็นล้านคน มากกว่าเหตุการณ์ทางการเมืองของไทย(รายละเอียดข้อมูลเยอะ) และไทยยังไม่ได้ลงนามศาลอาญาระหว่างประเทศ ท้ายที่สุด เหตุการณ์ตัวอย่าง 14 ตุลา-6 ตุลา ซึ่งในที่สุดจอมพลคนสุดท้ายถนอมถึงแก่อสัญกรรม พ.ศ. 2547 รวมอายุได้ 92 ปี อายุยืนมากๆ ด้วย
นี่แหละไทยแลนด์ จะเห็นว่ากระบวนการยุติธรรมล่าช้า ไม่มีลงโทษความผิดใด สรุปแล้วสางเขียวไทยๆ โดยส่วนตัวผมบางครั้งเข้าวัดไหว้พระพุทธรูปแสวงหาความยุติธรรม ตามแนวกฏแห่งกรรม กับธรรมะไปก่อนแล้ว เป็นความหวัง ครับ

24 ตุลา
หนังอินเดียเรื่อง slumdog-millionaire คล้ายรายการเกมส์เศรษฐีของไทยสมัยก่อน ไม่มีใครโง่หรือฉลาด มีเพียงแค่รู้หรือไม่รู้เท่านั้นเองไม่ใช่รายการที่ต้องการคนเก่ง .. คือ มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่า เราเก่ง หรือไม่เก่งหรือ เราโง่ หรือไม่โง่แต่มันอยู่ที่ เรารู้ หรือไม่รู้ต่างหาก

เมื่อคำพูดทำนองนี้ได้รับการยืนยันในหนัง slumdog-millionaire(หนัง2552เก่าเล่ามุมใหม่จากผมเคยเขียนแล้ว ว่าคล้ายรายการทีวี ถ้าคุณแน่ อย่าแพ้เด็ก ประถมคำถามที่ยากมาก ว่ารูปแบบของประชาธิปไตย คืออะไร ? ที่ถูกกับประเทศไทย ในกระแสเรื่องเล่า กู้ชาติ51-52-บิ๊กตู่57) และแล้วพระเอกอย่างจามาลเจอคำถามง่ายดายที่ใครๆก็รู้แต่จามาลกลับตอบไม่ได้ พอเป็นคำถามที่คนอื่นคิดว่ายาก เขากลับตอบได้อย่างไม่ลังเลแม้แต่น้อย เป็นข้อคิดที่ดีว่าอย่าดูถูกใคร แต่ละคนล้วนเจอประสบการณ์ที่แตกต่างกัน บางคนอาจรู้สึกง่ายในเรื่องที่อีกคนกลับบอกว่ายาก
ทั้งนี้ หนังเรื่องนี้ผมเคยสนใจตามสไตล์คนดูหนังในแง่ที่กลับมาคิดเรื่องDestiny/Luck คือ ชะตากรรม/โชคชะตา ที่เป็นเส้นเรื่องมากกว่าหนึ่งเรื่องของหนัง ซึ่งเส้นเรื่องสำคัญของหนัง คือ ชะตากรรมสำหรับผม (Luck/Destiny ทั้งสองอย่างเป็นโชคชะตา ทำให้ยากและง่ายได้ในสองสิ่งนี้) มาตอบคำถามตัวเลือกด้วย ครับ^^
http://topicstock.pantip.com/chalermthai/topicstock/2009/01/A7467197/A7467197.html

ปิดท้าย ชีวิตไม่ใช่เกมโชว์โดยผมเล่าม่วนหลายเรื่องอาศัยโชคช่วยเข้าข้างผมไปresidenceประเทศลิทัวเนีย( Lithuania)ไม่ทัน(2557) ตามภาพประกอบกล่องคลุมหัวเป็นศิลปะ คือ Image: Autonomia Operaia movement, Italy (1978/ไทยแลนด์ปี๊บคลุมหัว2014) น่าสนใจด้วย555^^
http://www.nidacolony.lt/en/residence/counterhegemony-art-in-a-social-context


31 ตุลา 57
ผมสำรวจข้อมูลผบ.ทบ.โสดสนิทคนแรก สู่ รมว.กลาโหมที่ไม่มีภริยาคนแรก ในประวัติศาสตร์ คือ ป๋าเปรม คนที่สอง คือ พล.อ.ประวิตร ครับ
โดยเปรียบเทียบบางด้านนายกฯนายพลไม่น่าอยู่ตำแหน่งเท่ากับยุคป๋าเปรม ในทัศนะของผม กรณีหลายคนวิตกกังวลเรื่องโครงสร้างการเมืองกับเครือข่ายเชิงบุคคล เช่น ป๋าเปรม ที่เกี่ยวโยงอันทั้งคู่ของกลุ่มประยุทธ์ (ประวิตร) และเศรษฐกิจการเมือง (ซับสิไดซ์เหมือนยื่นปลาไม่ยั่งยืน-พล.อ.ประยุทธ์จะยื่นทั้งปลายื่นทั้งเบ็ด)
แม้บนหน้าประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยตลอด 82 ปี มีนายกฯนายพลทั้งสิ้น รวม พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายพล แต่จะเห็นว่านายกฯทหาร มี พล.อ.เปรมคนเดียวนายกฯถึง 8 ปี
กระนั้น ผมค้นประวัติศาสตร์แห่งสันติภาพ ปรากฏยากโดยโครงสร้างอำนาจครอบงำของรัฐ เพราะฉะนั้น สันติภาพเกิดขึ้นยากในคู่ขัดแย้ง หรือสภาวะDual power(อำนาจคู่)ฝ่ายประชาธิปไตยรัฐสภา(ฝ่ายปชช     .จำนวนมากชูสามนิ้วงานศพอภิวันท์/การต่อต้านรัฐประหารโดยลุงนวมทอง)กับรัฐราชการ(เรียกกันว่าอำมาตยาธิปไตย/กลุ่มตุลาการฯลฯ)พร้อมกองทัพ ย่อมปะทะกันโดยขัดแย้งให้เห็นในปวศ.
เมื่อความรุนแรงย่อมหลีกเลี่ยงยากจากตัวอย่างของประวัติศาตร์ต่างประเทศหลายประเทศ บางแห่งใช้คำว่าDual power ในภาวะของการปะทะของการเปลี่ยนผ่าน….ไปสู่ประชาธิปไตยด้วย ครับ
ดังนั้น คำถามอันน่าเป็นห่วงต่อลักษณะทหารออกมาปี2549-57 ครับ
*ซับสิไดซ์เหมือนยื่นปลาไม่ยั่งยืน-พล.อ.ประยุทธ์จะยื่นทั้งปลายื่นทั้งเบ็ด

**รูปปั้นลุงนวมทองในการเมืองเชิงสัญลักษณ์ของตุลา 53 เป็นบทความที่ผมเคยเขียนไว้แด่ลุงนวมทอง
***นี่เป็นการรวบรวมจากเฟซบุ๊คโดยปรับปรุงบันทึกมานำเสนอปิดท้ายเดือนตุลาเขียนถึงการเมืองไว้ ครับ