วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

การสะสมความทรงจำกับเสือดำ เมืองปลา ละครทีวีบุพเพสันนิวาส และการเมืองไทย

3 มีนา
มีนบุรี(เมืองปลา) ที่หายไปจากแผนที่
“กำเนิดมีนบุรี และจังหวัดมีนบุรีที่หายไป(เมืองปลาที่มองไม่เห็น)จากแผนที่”
การเปลี่ยนแปลงความเป็นสมัยใหม่ และการรวบรวมสร้างรัฐชาติของสยาม ผนวกรวมรัฐอิสระต่างๆ สร้างแผนที่โดยอาศัยภายใต้คติความเชื่อศรัทธาทางพุทธ(ที่มาจากอินเดีย) สวรรค์หายไปความเชื่อลดลง คนเชื่อเวียนว่ายตายเกิดเป็นปลาลดลง และหลังแผนที่สยาม ผลิตโดย เจมส์ แมคคาร์ธี (พระวิภาคภูวดล เจ้ากรมแผนที่คนแรก)
ต่อมามีมณฑลเทศาภิบาล คือ ระบบแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาคในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นการเลียนแบบการปกครองของอังกฤษในพม่าและมาเลเซีย เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2440 โดยพระราชดำริของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ โดยมณฑล → เมือง (จังหวัด) → อำเภอ → ตำบล → บ้าน (หมู่บ้าน)
โดยกำเนิดเมืองปลา มีคำว่ามีนบุรีแปลว่า “เมืองปลา” เป็นนามที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.5)พระราชทานให้กับเมืองใหม่ที่ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2445 โดยรวมอำเภอคลองสามวา อำเภอแสนแสบ อำเภอหนองจอก และอำเภอเจียรดับ (ปัจจุบันอยู่ในเขตหนองจอก) เข้าไว้ในเขตการปกครองของเมือง เหตุที่ใช้ชื่อว่าเมืองปลาเนื่องจากตำบลแสนแสบเป็นบริเวณที่มีบ่อปลามาก และเพื่อให้สอดคล้องกับชื่อเมืองธัญญบุรีที่แปลว่า “เมืองข้าว”
ซึ่งเขตมีนบุรีในอดีตเป็นท้องที่หนึ่งของ อำเภอคลองสามวา ซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งทางทิศตะวันออกของมณฑลกรุงเทพ ต่อมาในปี พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้รวมท้องที่อำเภอคลองสามวากับอำเภอข้างเคียงอีก 3 อำเภอตั้งขึ้นเป็นเมืองใหม่และพระราชทานนามว่า “เมืองมีนบุรี”อำเภอคลองสามวา จึงเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอเมือง เนื่องจากเป็นที่ตั้งของเมือง (จังหวัด) แห่งนี้
ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 จังหวัดมีนบุรีถูกยุบรวมเข้ากับจังหวัดพระนคร เพื่อประหยัดงบประมาณราชการเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 อำเภอที่เป็นที่ตั้งของจังหวัดมีนบุรีเดิมจึงมีชื่อเรียกว่า อำเภอมีนบุรี จากนั้นกระทรวงมหาดไทยได้ตั้งสุขาภิบาลมีนบุรีขึ้นในปี พ.ศ. 2498(*) ภาพสะท้อนการพัฒนาปฏิรูปการปกครองสืบทอดมรดกไม่ต่อเนื่องกลายเป็นเขตมีนบุรี(**) ซึ่งดูภาพแผนที่(***)ทำหน้าที่บันทึกความทรงจำของผู้คน สถานที่หนึ่ง ในการเปลี่ยนแปลงจากจังหวัดหรือเมืองมีนบุรีหายไป
*มีนบุรี ดูเพิ่มเติมวิกิพีเดียไทย (เมืองปลา หญ้าดัง จังหวัดเก่า)
**ภาพประกอบตราสัญลักษณ์ประจำเขตมีนบุรี มีลักษณะเป็นตรารูปวงกลม มีปลาตะเพียนสีทองอยู่ตรงกลาง พื้นหลังด้านล่างเป็นพื้นน้ำสีฟ้า มีรวงข้าวสีเขียว สองข้างล้อมรอบด้วยคำว่า สำนักงานเขตมีนบุรี เป็นภาษาอังกฤษ และภาษาไทย โดยสื่อความหมายถึงความเป็นเมืองปลา ตามความหมายของชื่อที่ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเมืองมีนบุรีในอดีต และปลาที่ขึ้นชื่อคือปลาตะเพียน
***ภาพประกอบจากเว็บ และภาพประกอบแผนที่เส้นทางเสด็จอินโดจีนของฝรั่งเศสของพระบาทสมเด็นพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพพรรณี พระราชินี 6 เมษายน-8 พฤษภาคม พ.ศ.2473(ค.ศ.1930) ดูในแผนที่ “สยามประเทศไทย” สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2328-2452 Map of Siam and Thailand : Bangkok Period 1785-1908
3.2
ช่วงก่อนโน้นผมถ่ายภาพกับรศ. “สมชาย ปรีชาศิลปกุล” คณะนิติศาสตร์ มช. มีตำแหน่งอีกด้านหนึ่งจากมหา’ลัยปกติ คือ อธิการบดีมหา’ลัยเที่ยงคืน ช่วงนี้คิดทำหนังสั้น ทำให้นึกถึงตอนนั้นลืมคุยเรื่องหนังมหา’ลัยเที่ยงคืนเลย555
3.3
สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย ขอเชิญคนไทยใจกล้า ส่งผลงานหยุดล่าเข้าประกวด คลิปวิดิโอความยาว 3-5 นาที ไม่จำกัดรูปแบบจะเป็นหนังสั้น สารคดี เอ็มวี ไวรัลคลิปก็ไม่เกี่ยง จะจิก จะกัด จะซัด จะเหวี่ยง จะเถียง จะด่า ว่ากันมาเลย “ยิงด้วยกล้อง ฟ้องด้วยภาพ ปราบด้วยคอนเท้น” (*)
เมื่อผมจะนำแมวดำ มาทำหนังสั้นเสือดำ ฮร่า (ช่วงนี้อีกสองเรื่องพลาดลองส่งขอทุนเผื่อฟลุ๊คไปเรสซิเดนซ์ด้านศิลปะ ที่ฝรั่งเศส ประกวดคลิปอันหนึ่งโชคดีเขาเลื่อนจากสิ้นเดือนที่แล้ว ฯลฯ)หลายเรื่องในชีวิต คิดเล่นๆจินตนาการไว้ น่าจะลองทำหนังสั้นให้เสร็จสะกดจิตแมววววววว ตัวเมียให้หายอาการฮีท โอ้โห ลองเล่น
*https://www.facebook.com/thaifilmdirectorpage/photos/a.760531800646189.1073741825.184690011563707/1877285225637502/?type=3&theater
3.4
การสะสมความทรงจำ“เสือดำ”กับการเมืองไทย
3 มีนาคมของทุกปีเป็นวันสัตว์ป่าและพืชป่าโลก
โจทย์หนังสั้น เกี่ยวกับเสือดำ บางคนจับกระแสตีความโยงการเมืองต่างๆ นานา และผมได้ร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดในการพบปะผู้คนหลายคน ทำให้ผมเขียนบทเชิงจริยธรรมนิดๆ ตั้งชื่อหนังสั้นไว้คร่าวๆ เสือดำตัวสุดท้ายในจินตกรรม มีโจทย์ตามข่าวการล่าเสือ ให้เป็นหนังสั้น ลองส่งประกวดดูใช้เวลาจำกัด
เนื่องจากหนังทุนต่ำ โครงเรื่องบทหนังสั้นเขียนไม่เสร็จดี มีด้นสดถ่ายก่อนไปบ้าง ทำให้ง่ายอาจจะด้นสดอีก ในแง่ความคิดตัดต่อยังไม่เสร็จ แต่ต้องทำให้เสร็จเร็ว จากหลายเรื่องในชีวิตประจำวันบางเรื่องต้องจัดการแยกแยะให้ทำงานให้เสร็จ ซึ่งวันนั้นบังเอิญเจอคนเล่นปืนปลอมพอดีเลยถ่ายเก็บไว้ก่อน มีสองช็อต สองมุมเลือกมุมนี้มานำเสนอคิดไว้ก่อน พวกคนเล่นปืนปลอมเสนออีกมุม ค่อยมาสร้างเรื่องในหนังสั้น เพราะตอนแรกว่าจะไม่มีปืน เลียนแบบหนังของอภิชาตพงศ์ ที่มีการต่อสู้ทางการเมือง หรือการต่อสู้ที่มองไม่เห็น(*) จากได้สนทนาช่วงก่อน
เมื่อมาไอเดียบางอย่างจากหนังของเขา ก็คิดเขียนเป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยบันทึกไว้ก่อนลืมจากทบทวนความทรงจำ คือ
1.หนังดูยากสำหรับรุ่นพี่คนหนึ่งตอนปี2554(เล่าย่อๆ) มาร่วมดูหนังหลายเรื่องของอภิชาติพงศ์ ที่มช.ตอนนั้นอ.เบน เข้าร่วมด้วย ซึ่งเขาบอกว่าอ.เบน ต้องเป็นเกย์เหมือนอภิชาติพงศ์เลยเชียร์พวกเดียวกัน เขาบอกดูไม่รู้เรื่องออกไปจากการดูกลับก่อน ในวันเดียวกันนั้นผมก็ได้พูดคุยกับอภิชาตพงศ์หลายเรื่องเกี่ยวกับหนัง และอ.เบน ในเรื่องหนึ่งที่เน้นด้วยคำถามว่าอนาคตจะมีรัฐประหารหรือไม่?
2.ผมคิดต่อยอดในการยอมรับสายตาจากคนนอกชาวต่างชาติ (สายตาคนนอกฝรั่งมองไทยทั้งหนัง หรืองานวิชาการด้านภาพยนตร์ศึกษา ฯลฯ) ยกตัวอย่างอ.เบน ก็เคยเขียนถึงหนังของอภิชาตพงศ์(**) หรือฝรั่งให้รางวัลคนไทย ถึงยอมรับเพราะคนไทยได้รางวัลจากฝรั่ง ข้อถกเถียงกันเยอะในแง่มุมมองเปรียบเทียบ คนไม่ค่อยได้กล่าวถึงอาจจะมองได้ในแง่ที่สากลนิยมหรือฝรั่งนานาชาติ แล้วก็อยากเห็นความเป็นไทยแบบไม่ไทยด้วย(หรือคนตีความอดัม สมิธในแง่มุมมือที่มองไม่เห็น สะท้อนพระหัตถ์ของพระผู้เป็นเจ้า กำหนดไว้ ฯลฯ)
3.สถานการณ์การเมืองมองในแง่ดีมาสู่ทางว่าจะเลือกตั้งลดความขัดแย้ง ตอนนี้ก็ดีกว่ารัฐทหาร ทำรัฐประหารซ้ำแล้ว แต่ถ้าผมมองโลกแง่ร้าย เกิดสถานการณ์แย่กว่านี้ด้วยซ้ำไม่มีประนีประนอม เผด็จการเต็มรูปแบบ และถ้าแนวสู้รบกลางเมือง จากอดีตเราเคยมีบทเรียน คือ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 เกิดขึ้นเมื่อ นายปรีดี พนมยงค์ อดีตนายกรัฐมนตรี นำกองกำลังส่วนหนึ่งจากประเทศจีนร่วมกับคณะนายทหารเรือ และอดีตเสรีไทยกลุ่มหนึ่ง เรียกตัวเองว่า “ขบวนการประชาธิปไตย 26 กุมภาพันธ์”เรียกปฏิบัติการนี้ว่า “แผนช้างดำ-ช้างน้ำ” ประกาศถอดถอนรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ฯลฯ ถ้าเปรียบเทียบปัจจุบันก็ผมเคยเล่าแล้วจากภาพรวม
โดยแยกแยะมามองจากสายตาคนนอกต่างชาติอย่างอเมริกา มองไทยบอกTier Watch List ว่าด้วยการค้ามนุษย์ ในแง่เปรียบเทียบไทยเราเคยเหมือนซีเรีย โดยระดับอยู่เทียร์ 3 มาก่อนจะปรับเป็นเทียร์2 จากกรณีเหมือนซีเรีย ซึ่งรัฐซีเรียมีสงครามกลางเมือง อย่าไปไกลถึงซีเรียเลยไทยแลนด์แดนยิ้มสยาม (อย่าน้ำท่วมฟ้า ปลากินดาว นกเหินหาวสู่สายชล คนดีถูกฆ่ากลางถนน …)
อย่างไรก็ดี ภาพยนตร์ เป็นการสะสมความทรงจำ ทำหน้าที่บันทึกความทรงจำของผู้คน สถานที่หนึ่ง เหมือนแผนที่(***) และเสือดำตัวสุดท้ายในจินตกรรม สำหรับบันทึกหลักฐานทางประวัติศาสตร์เหตุการณ์ในสังคมไทย
(เปิดกล้อง เสือดำตัวสุดท้ายในจินตกรรม โดยภาพประกอบปืน และดัดแปลงจากสมุดภาพไตรภูมิ)
*ผมถ่ายภาพกับคุณโดม พร้อมเล่าความทรงจำดูหนัง
**สัตว์ประหลาดอะไรวะ?
https://www.silpa-mag.com/club/art-and-culture/article_9505
(ผมเคยเขียนย่อๆไว้ในเชิงอรรถของย้อนดูภาพยนตร์ “พระเจ้าช้างเผือก” สงคราม สันติภาพ และชาตินิยม (ตอนที่ 1) เบน แอนเดอร์สัน ได้วิเคราะห์ภาพยนตร์ไทยเรื่อง สัตว์ประหลาด ซึ่งเขามองอิทธิพลของภาพยนตร์เรื่องสัตว์ประหลาด เกี่ยวกับเสือสมิงไว้อย่างน่าสนใจ เช่น คนกลายเป็นเสือสมิง)
https://prachatai.com/journal/2007/12/15265
***ผมได้ความคิดจากหนังสือชุมชนจินตกรรมฯ ในบทความทรงจำกับการลืม (Memory and Forgetting) ที่ภาพยนตร์และนวนิยาย ทำให้เกิดการลืม และบทสำมะโนประชากร แผนที่ พิพิธภัณฑ์ (Census, Map, Museum) ซึ่งกล่าวถึงแผนที่จดจำง่าย
7 มีนา
การสะสมความทรงจำ พิพิธภัณฑ์สถาน สมเด็จพระนารายณ์ ที่ลพบุรี กับละครทีวีบุพเพสันนิวาส
เมื่อความทรงจำเก่า หวนกลับมาจากเคยไปที่พิพิธภัณฑ์สถาน สมเด็จพระนารายณ์ ที่ลพบุรี และช่วงนี้ละครทีวีบุพเพสันนิวาสช่อง3 ย้อนเวลาไปยุคสมเด็จพระนารายณ์ โดยเกาะกระแสยกตัวอย่างตัวละครออกญาโหราธิบดี บุคคลสำคัญของวงการแต่งหนังสือในสมัยพระนารายณ์มหาราช เป็นผู้นิพนธ์หนังสือ “จินดามณี”ข้อสันนิษฐานเป็นชาวเมืองพิจิตร ซึ่งผมเคยเขียนถึงก็เล่าทบทวนความทรงจำ ต่อสมัยพระนารายณ์ อิทธิพลต่อล้านนา ยกตัวอย่างแผ่นดินสยามวิกฤตในรัชสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช: เมื่อมหาอํานาจ ฮอลันดา อังกฤษ ฝรั่งเศส คิดเขมือบไทย? (เขมือบอาการเหมือนปลา หรือดูนิยายอย่างรุกสยามฯ)อาจจะพิจารณาช่วงยาวจากข้อมูลช่วงสมเด็จพระนารายณ์ โดยทรงยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ และฝรั่ง มีปัจจัยต่อการกระทบเรื่องมะริด ตะนาวศรี เขตทวาย (พม่าปัจจุบัน ฯลฯ)
ซึ่งน่าเขียนเปรียบเทียบกับภาพในสมุดภาพไตรภูมิ และกรณีอยุธยา ก็มีการเข้ามาปัจจัยภายนอก(ญี่ปุ่น ฯลฯ)
ถึงการเปลี่ยนแปลงขัดแย้งภายในพระเจ้าเสือพระราชโอรสลับร่วมมือกับพระเพทราชา ที่กรณีโยงเชียงใหม่พระโอรสลับว่าเกิดจากธิดาเชียงใหม่ มีโยงพิจิตรถิ่นประสูติพระเจ้าเสือ
ซึ่งผมเคยเล่าเรื่องสมัยพระเจ้าเสือกับวัดในพิจิตรมาบ้างแล้ว
เพราะพระราชโอรส คือ พระเจ้าเสือ และพระราชโอรสของพระเจ้าเสือ คือ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ โปรดเสวยปลาตะเพียน ฯลฯ เป็นต้น
-ภาพพิพิธภัณฑ์สถาน สมเด็จพระนารายณ์ ที่ลพบุรี มีถ่ายวิดิโอเก็บไว้ตอนไปด้วย (ถ้าจำไม่ผิดอาจจะค้นมาใช้ได้ในอนาคต)
7.3
ภาพประกอบหนังสั้น ที่มีบรรยากาศป่าๆ วิธีการเดียวกับหนังสั้นเรื่องเล่า มีนางเอก ที่มองไม่เห็นในที่สุดก็ตัดต่อหนังสั้นเสร็จแล้วหนึ่งเรื่องด้วย ขอบคุณเฟซฯช่วยเตือนความทรงจำ(*) ครับ
*วันนี้ในอดีตชีวิตของผมเขียนเรื่องทำหนังสั้นด้วย
7 มีนาคม 2014 •
7 มีนาคม 2015 •
18 มีนา
การสะสมความทรงจำ ละครทีวีบุพเพสันนิวาส กับชุมชนจินตกรรม
เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสส่งคณะราชทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีโดยทางเรือ ประกอบด้วยลา ลูแบร์ และบาทหลวง กีย์ตาชารด์
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงส่งพระราชสาสน์มาทูลเชิญสมเด็จพระนารายณ์เข้ารับ นับถือคริสต์ศาสนาพร้อมทั้งเตรียมบาทหลวงมาไว้คอยถวายศีลด้วย แต่สมเด็จพระนารายณ์ได้ทรงใช้พระปรีชาญาณตอบปฏิเสธอย่างทะนุถนอมไมตรี ทรงขอบพระทัยพระเจ้าหลุยส์ที่มีพระทัยรักใคร่พระองค์ถึงแสดงพระปรารถนาจะให้ร่วมศาสนาด้วย แต่เนื่องด้วยพระองค์ยังไม่เกิดศรัทธาในพระทัย ซึ่งก็อาจเป็นเพราะพระเป็นเจ้าประสงค์ที่จะให้นับถือศาสนาคนละแบบคนละวิธี เช่นเดียวกับที่ทรงสร้างมนุษย์ให้ผิดแผกเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ หรือทรงสร้างสัตว์ให้มีหลายชนิดหลายประเภทก็ได้ หากพระเป็นเจ้ามี พระประสงค์จะให้พระองค์ท่านเข้ารับนับถือศาสนาตามแบบตามลัทธิที่พระเจ้าหลุยส์ทรงนับถือแล้ว พระองค์ก็คงเกิดศรัทธาขึ้นในพระทัย และเมื่อนั้นแหละ พระองค์ท่านก็ไม่รังเกียจที่จะทำพิธีรับศีลร่วมศาสนาเดียวกัน(วิกิพีเดีย)
โดยการเปรียบเทียบรัชสมัยของพระเจ้าหลุยสี่ 14 ฝรั่งเศสมีความกล้าพอที่จะกล่าวว่า วัฒนธรรมของตนเป็นแบบแผนที่สามารถใช้เทียบเท่ากับสมัยโบราณได้ ซึ่งพวกฝรั่งเศสจะได้นำเอาทัศนะเช่นนี้ไปครอบงำเหนือส่วนอื่นๆของยุโรป(คำว่าculture/วัฒนธรรม หาได้ใช้คำว่า Language/ภาษาไม่ และเราควรต้องระมัดระวังไม่ตีความคำว่า ‘their own/ของพวกเราทั้งหลาย’ว่าหมายถึง ‘nation-ness/ความเป็นชาติ ดูในชุมชนจินตกรรมฯ บทภาษาเก่าและแม่แบบใหม่)
เมื่อฟอลคอนหรือเจ้าพระยาวิชาเยนตร์ได้รับความไว้วางพระทัยจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราชให้เป็นสมุหนายก เขาจึงถูกอิจฉาริษยา และคบคิดกับบาทหลวงเดอ ลาแซส เพื่อเข้ายึดครองสยามประเทศ จากการเขียนสารภาษาโปรตุเกสเผยความนัย ซึ่งทุกวันนี้ สารฉบับนั้นก็ยังถูกเก็บไว้ที่หอจดหมายเหตุกรุงปารีส
หลังจากแผนการยึดเมืองโดยให้บาทหลวงเยซูอิสไม่ได้ผล ฝรั่งเศสได้ส่งเรือรบ 5 ลำ และทหารกว่า 700 นาย พร้อมปืนใหญ่เต็มสูบ มาขอพระราชทานยึดพื้นที่บริเวณป้อมบางกอกเพราะเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ(ข้อมูลนิยายอิงประวัติศาสตร์ ที่ชื่อนิยายรุกสยามฯ)
ความขัดแย้งต่อพระปีย์ อันมีความหมายว่า “ผู้เป็นที่รัก”สมเด็จพระนารายณ์จึงทรงพระกรุณาเรียกว่า อ้ายเตี้ย และเป็นที่โปรดปรานด้วยมีโวหารดี พูดจาไพเราะอ่อนหวาน มีการโจษจันกันว่าพระปีย์อาจเป็นพระโอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์ และสมเด็จพระนารายณ์เองก็ทรงวางเฉยกับเรื่องพระปีย์เป็นโอรสลับเสียด้วย
ทั้งนี้ พระปีย์มักตกเป็นหุ่นเชิดทางการเมืองอยู่บ่อยครั้ง โดยเขาได้รับการสนับสนุนจากเจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ให้เป็นรัชทายาทสืบราชสันตติวงศ์ ด้วยเขามองว่าพระปีย์ไม่มีพิษภัย มีใจโอนอ่อนทางคริสต์ศาสนา ด้วยเหตุนี้เจ้าพระยาวิชเยนทร์จึงหวังผลที่จะให้พระปีย์เป็นกษัตริย์เพื่อรักษาอำนาจและอิทธิพลของตน และหวังใจให้เป็นกษัตริย์สยามพระองค์แรกที่นับถือคริสต์ศาสนา นอกจากนี้พระปีย์ยังมีส่วนร่วมในการก่อกบฏเมื่อครากบฏมักกะสัน นีกอลา แฌร์แวสเป็นผู้เดียวที่ระบุว่า แขกมักกะสันจะลอบปลงพระชนม์สมเด็จพระนารายณ์แล้วเลือกพวกเดียวกันขึ้นครองบัลลังก์ “หรือมิเช่นนั้นถ้าชาวสยามยังไม่คุ้นชินกับเจ้าต่างชาติ ก็จะยกบัลลังก์ให้พระราชโอรสบุญธรรมของพระองค์ ซึ่งเห็นได้ชัดว่าถูกซื้อได้ไม่ยาก โดยทรงยอมเข้าพิธีสุหนัต…” เป็นต้น
ปลายรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระปีย์ได้อยู่รับใช้สนองพระยุคลบาทพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระประชวรหนัก ขณะที่พระปีย์กำลังล้างหน้าริมหน้าต่างยามเช้า ก็ถูกขุนพิพิธรักษา สมุนของหลวงสรศักดิ์ผลักจนพลัดตกลงจากหน้าต่าง ก่อนถูกพระเพทราชาจับไปสำเร็จโทษเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2231 และทิ้งศพไว้ที่วัดซาก ส่วนสาเหตุที่กำจัดพระปีย์ก็เพราะพระปีย์เป็นผู้หนึ่งที่มีสิทธิในการสืบราชบัลลังก์(*)
อย่างไรก็ดี ผมได้เขียนถึงยุคสมัยนี้มาบางด้าน ในแง่ข้อเท็จจริงและหลักฐานประวัติศาสตร์ ก็มีการถกเถียงกันมากแล้ว พระปีย์ พระราชโอรสบุญธรรมของสมเด็จพระนารายณ์ ศรีปราชญ์ กวีเอกในราชสำนักสมเด็จพระนารายณ์ พระเพทราชา (ออกพระเพทราชา) เจ้ากรมคชบาล พระยาจุฬาราชมนตรี (แก้ว) เกิดเมื่อปีใดไม่ปรากฏ บิดาคือพระยาศรีเนาวรัตน์ (อากามะหะหมัด) มารดาชื่อท่านชี เป็นน้องชายของเจ้าพระยาศรีไสยหาญณรงค์ (ยี) มีศักดิ์เป็นหลานตาของเจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด) เริ่มรับราชการโดยถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จนได้เป็นหลวงศรียศ (แก้ว) ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นจุฬาราชมนตรีในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จนถึงสมัยสมเด็จพระเพทราชา ไม่ทราบว่าเสียชีวิตเมื่อใด
ช่วงที่ท่านเป็นจุฬาราชมนตรีอยู่นั้น เป็นช่วงที่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์เรืองอำนาจและมีความขัดแย้งระหว่างชาวคริสต์และมุสลิมในราชอาณาจักรมาก และคาดว่าท่านเป็นจุฬาราชมนตรีคนที่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์เอ่ยถึงว่าลงไปเจรจาที่เมืองปัตตาเวียเกี่ยวกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในมะละกาในจดหมายที่เขาส่งถึงบาทหลวงเดอลาแซส
จากที่ผมยกตัวอย่างในแง่ตัวละครสะท้อนออกมาแล้ว ส่วนที่ผมอยากกลับมาเน้น คือ หลวงสรศักดิ์ (ออกหลวงสรศักดิ์ พระราชโอรสลับในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่เขียนกันมาพอสมควร ยกตัวอย่างที่ 1.พระราชโอรสลับ กรณีพระเจ้าเสือ ตำนานฝ่ายเหนือระบุว่า เมื่อเจ้าเดื่อโตขึ้นได้เป็นมหาดเล็ก พระนารายณ์พยายามสื่อนัยยะบางอย่างให้เจ้าเดื่อรู้ว่าคือลูก เชิญพระฉายมาตั้ง ทรงส่องพระฉาย ฯลฯ จริงหรือไม่จริง? พ.ศ.2204 ตอนที่พระนารายณ์ยกทัพไปปราบล้านนา ซึ่งช่วงนั้นเป็นเมืองขึ้นของอังวะ ชาวพม่าให้เชียงใหม่ปกครองตนเองโดยมีเจ้าเมืองชื่อพระยาแสนหลวง กองทัพเชียงใหม่พ่ายแพ้แก่อยุธยา จำต้องยอมถวายราชธิดาชื่อนางกุสาวดีให้เป็นบาทบริจาริกา
ความตอนนี้เอกสารเริ่มบันทึกอย่างไขว้เขว บ้างก็ว่าครั้นเสร็จศึกล้านนาต้องเสด็จกลับกรุงศรีฯ พระนารายณ์แวะกราบนมัสการพระพุทธชินราชที่พิษณุโลก ปรากฏว่าพระเพทราชา ขณะนั้นเป็นจางวางกรมช้างหรือหลวงคชบาล ได้แอบสังวาสกับราชธิดาเชียงใหม่ สร้างความอดสูใจเกินกว่าจะให้พระนารายณ์ยอมรับนางกลับมาเป็นสนมได้อีก จึงยกให้พระเพทราชาไปเลย
อ่านแล้วช่างไม่สมเหตุสมผล หากจริงตามที่เขียนโทษสถานเดียวที่ควรได้รับคือโดนตัดหัว แสดงว่าประวัติศาสตร์หน้านี้มีวาระอะไรซ่อนเร้นอยู่
แต่บางเล่มกล่าวว่า เมื่อพระนารายณ์เสด็จกลับถึงอยุธยา เกิดอับอายชาวพาราที่ทำแม่ญิงลาวตั้งท้อง ในช่วงใกล้คลอดพระโอรส พระนารายณ์จึงได้หาเหตุให้พระเพทราชาพาสนมลับหลบหนี แสร้งไปกราบนมัสการพระพุทธชินราช แต่เดินทางยังไม่ทันถึง คลอดเสียก่อนที่ตำบลโพธิ์ประทับช้าง (ปัจจุบันอยู่ในพิจิตร) เหตุที่มีผิวพรรณวรรณะสุกใสจึงให้ชื่อว่า “มะเดื่อ” จากนั้นจึงขอให้พระเพทราชารับว่าเป็นพ่อ
มาถึงตอนนี้ชักเริ่มสงสัยเสียแล้วว่า “เจ้าเดื่อ” (หลวงสรศักดิ์/พระเจ้าเสือ) เป็นลูกของใครกันแน่ คงมีแต่นางกุสาวดีคนเดียวเท่านั้นที่รู้ดี
มีตัวแปรเข้ามาเกี่ยวข้องด้านสถานที่คือพิษณุโลก กับด้านบุคคลคือพระเพทราชา ผู้เป็นพระสหายร่วมแม่นมเดียวกัน แต่เดิมสนิทสนมรักใคร่กลมเกลียวในช่วงวัยหนุ่ม ก่อนจะมาจบฉากแย่งชิงบัลลังก์กันตอนวัยกลางคน(**)
แต่ผมสำหรับการอธิบายเพิ่มเติมน่าสนใจการสร้างความหมายทางศิลปวัตถุของพระเจ้าเสือ ทรงปฏิสังขรณ์มณฑปสวมรอยพระพุทธบาทสระบุรี สร้างมาแต่ครั้งสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ซึ่งทำเป็นยอดเดียวชำรุด โปรดฯ ให้สร้างใหม่เป็น 5 ยอด รวมทั้งปฏิสังขรณ์ทั่วทั้งอาราม ปี พ.ศ. 2249 เกิดอัสนีบาตต้องยอดมณฑปพระมงคลบพิตร เครื่องบนมณฑป ทรุดโทรมพังลงมาต้องพระศอพระมงคลบพิตรหัก โปรดฯ ให้รื้อเครื่องบนออก ก่อสร้างใหม่แปลงเป็นมหาวิหารเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระพุทธฉายและสันนิษฐานว่าค้นพบในสมัยพระองค์
กรณียกตัวอย่างที่ 2 พระราชกรณียกิจที่สำคัญอันเกี่ยวเนื่องเมืองพิจิตร เพื่อเป็นการรำลึกถึงชาติภูมิของพระองค์สมเด็จพระเจ้าเสือได้โปรดให้สร้างวัดโพธิ์ประทับช้างขึ้นที่เมืองพิจิตร โดยสร้างพระอุโบสถ พระวิหาร พระมหาเจดีย์ ศาลาการเปรียญ และกุฏิสงฆ์ มีอาณาบริเวณวัดกว้างขวางใหญ่โต ใช้เวลาสร้าง 2 ปี จึงสำเร็จ เสด็จพระราชดำเนินมาทำการฉลองด้วยพระองค์เอง มีการฉลอง สามวันสามคืน มีมหรสพครึกครื้น และมีผู้คนมากมายมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทและ ดูมหรสพ ฉลองเสร็จแล้วทรงพระราชอุทิศถวายเลขข้าพระไว้สำหรับอุปฐากพระอารามถึง 200 ครัวเรือน นับว่าครั้งนั้นวัดโพธิ์ประทับช้างเป็นวัดที่เด่นที่สุดในเมืองพิจิตร(โชคชะตากฎแห่งกรรมเวียนว่ายตายเกิดแบบพุทธ ถิ่นประสูติพระเจ้าเสือ ปะทะหัตถ์ของพระเจ้า?)
ดังนั้น กรณีเอกสารหลักฐานมีข้อจำกัด แต่การสร้างศิลปะวัตถุสะท้อนการเชื่อมโยงกับราชวงศ์ปราสาททองและกำเนิด ที่พิจิตร ไม่เน้นเรื่องพระราชโอรสลับ ก็มาชวนให้ส่องกล้องจุดสำคัญโฟกัส ที่มีเชื้อสายจากนางกุสาวดี เป็นพระราชธิดาของพระเจ้าเชียงใหม่ เป็นต้น
กรณีการเปรียบเทียบสมเด็จพระนารายณ์ ครองราชสมบัติเป็นเวลา 32 ปี และสมเด็จพระเจ้าเสือ เสด็จอยู่ในตำแหน่งที่พระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2231 – 2246 เป็นเวลา 15 ปี เสด็จอยู่ในพระราชสมบัติ พ.ศ. 2246 – 2251 เป็นเวลา 5 ปี สวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2251 พระชนมายุ 47 พรรษา ต่างจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2258 ด้วยโรคติดเชื้อจากแผลกดทับ พระองค์ได้ทรงประกาศก่อนสิ้นพระทัยว่า “ข้าจะไปแล้ว แต่รัฐของข้าจะคงอยู่ตลอดไป” รัชสมัยของพระองค์กินเวลา 72 ปี กับ 100 วัน พระศพถูกฝังไว้ที่บาซิลิก ซังต์ เดอนี ซึ่งหลุมพระศพนี้ถูกบุกรุกทำลายในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส
กระนั้นพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงครองราชย์ตรงกับช่วงระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง สมเด็จเจ้าฟ้าไชย สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเพทราชา สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) และ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 (พระเจ้าท้ายสระ) แห่งสมัยอยุธยา หลังจากนั้นอยุธยาก็ตกอยู่ใต้พม่าแล้วฟื้นสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ส่วนฝรั่งเศสหลังปฏิวัติฝรั่งเศสต่อมานโปเลียน ครองราชย์ตรงกับสมัยร.1 ของสยามหรือไทย
อย่างไรก็ตาม หลักฐานเอกสารบางอย่างน่าสนใจสำหรับวิเคราะห์เปรียบเทียบจากเอกสารต่างชาติ(***) ส่วนตัวผมถ้าพระปีย์ครองราชย์ นับถือศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำอยุธยา และถ้าพระเจ้าเสือไม่ร่วมมือกับพระเพทราชา? อะไรจะเกิดขึ้นภาพสมุดแผนที่โบราณไตรภูมิอยุธยาถึงธนบุรีอาจไม่มีอีก นี่เป็นการสะสมความทรงจำ(****)อย่างเปรียบเทียบไว้ ถ้าพระเจ้าเสือ ไม่ได้มีเชื้อเจ้าเชียงใหม่(พระแสนเมือง) ทรงสร้างประวัติศาสตร์ไว้ที่โพธิ์ประทับช้างด้วย
*ข้อมูลวิกิพีเดียดูเพิ่มเติม วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557 กรมศิลปากรได้ทำการขุดสำรวจบริเวณที่ดินเอกชนผืนหนึ่งตรงข้ามวัดสันเปาโล และพบโครงกระดูกมนุษย์สองโครงห่างกัน 5 เมตร โดยโครงกระดูกโครงแรกมีรูปพรรณเตี้ย สูงเพียง 140 เซนติเมตร สวมแหวนหินที่นิ้วมือ กระดูกหน้าแข้งหัก และไม่มีศีรษะ จึงสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นโครงกระดูกของพระปีย์ ส่วนอีกโครงหนึ่งมีรูปกายสูงใหญ่ สันนิษฐานว่าอาจเป็นเจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) และสันนิษฐานว่าอาจมีผู้นำศพของทั้งสองมาฝังตามธรรมเนียมคริสต์ศาสนา ณ บริเวณดังกล่าว
**ปริศนาโบราณคดี : พระปีย์ vs พระเจ้าเสือ ใครคือโอรสลับของพระนารายณ์?
https://www.matichonweekly.com/culture/article_13995
***การผลัดแผ่นดินสมัยพระเพทราชา-พระเจ้าเสือ และ เจ้าพระขวัญ : ความไม่ลงรอยของหลักฐานทางประวัติศาสตร์
.

การผลัดแผ่นดินสมัยพระเพทราชา-พระเจ้าเสือ และ เจ้าพระขวัญ : หลักฐานชั้นต้นของ VOC
****การสะสมความทรงจำ พิพิธภัณฑ์สถาน สมเด็จพระนารายณ์ ที่ลพบุรี กับละครทีวีบุพเพสันนิวาส

(พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ ที่ลพบุรี ก็มีโพสต์จับกระแสละครทีวีดังกล่าว)
21 มีนา
การสะสมความทรงจำ ละครทีวีบุพเพสันนิวาส กับชุมชนจินตกรรม
พระเยซูตรัสว่า “จงตามเรามาเถิด และเราจะตั้งท่านให้เป็นผู้หาคนดั่งหาปลา”And he said to them,”Follow me,and I will make you fishers of men.(มัทธิว 4:19, TNCV)
ผมได้เขียนมาต่อเนื่องแล้วเรื่องการสะสมความทรงจำ ละครทีวีบุพเพสันนิวาส กับชุมชนจินตกรรม(*) ในแง่การเปรียบเทียบกับฝรั่งเศส น่าสนใจยังไม่มีเวลาเขียนยาว ในแง่การเปรียบเทียบกับนิยายข้ามสมุทรของรองนายกฯ วิษณุ เครืองาม แห่งทีมงานของคสช.ออกมาชื่นชมละครทีวีบุพเพสันนิวาส ซึ่งยุคสมัยเดียวกับนิยายของเขา และนิยายได้รางวัลจากที่เดียวกันที่เห็นว่าอาจจะมีทำเป็นละครทีวี และหนังด้วย(**) กรณียกตัวอย่างนิยายข้ามสมุทร(แจกนิยายในงานเสวนา ที่มีรายงานข่าวสามมิติในวันนี้ที่ละครทีวีจบต่อด้วยข่าวดังกล่าว) เป็นงานวรรณกรรมที่กล่าวถึงความเจริญในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ในสายตาคนยุคใหม่ กล่าวถึงชายหนุ่มผู้หนึ่ง ซึ่งแม้จะมิใช่นักประวัติศาสตร์ เป็นเพียงจิตรกร มีความสุขกับงานศิลปะ รักความสนุก รื่นรมย์กับหญิงสาวไปทั่ว แต่สุดท้ายเขากลับต้องย้อนเวลาไปในสมัยอยุธยาโดยไม่ตั้งใจ ก่อนจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของคณะทูตจากสยาม เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลไปยังฝรั่งเศส
เมื่อผมเล่าย่อๆ ยกตัวอย่างเปรียบเทียบโครงเรื่องนิยายของสองเรื่องดังกล่าว ต่อมาเรามาดูละครทีวีย้อนดูตัวเราเปรียบเทียบละครทีวีอิงประวัติศาสตร์(ผมเคยดูหนังทวิภพย้อนเวลาและเคยดูหนังเรื่องเจาะเวลาหาจิ๋นซี) ว่าด้วยความจริง แม้เราจะย้อนเวลาจากยุคปัจจุบันไปหาอดีต ที่นางเอกถามพระโหราธิบดี ที่มีพลังทำนายได้แล้วเรื่องฟอลคอน ในแง่ฝรั่ง ที่มีเอกสารสยาม อาจจะอคติ(แง่ร้าย)ต่อฝรั่ง หรืออคติของเอกสารมาถึงร่วมสมัย (หรือเอกสารฝรั่งอคติต่อสยาม กรณีพระเพทราชาและพระเจ้าเสือก็ได้) ท่ามกลางแวดล้อมของฝรั่ง กรณีโปรตุเกส พบเกาะไต้หวัน ขนานนามว่าเกาะงาม และต่อมาฮอลันดาเข้ามายึดครอง แล้วกลายเป็นนามเกาะงามวิลันดา(ผมเคยเขียนเรื่องตามหาเกาะมาเก๊าถูกยึดโดยโปรตุเกส)ในสมุดภาพไตรภูมิอยุธยาด้วย(นอกจากนั้นผมเคยเล่าบริบทสเปนยึดฟิลิปปินส์ด้วย)
โดยการวิเคราะห์ว่าผู้ชำระพงศาวดารในสมัยรัตนโกสินทร์มีนัยยะทางการเมืองเพื่อต้องการจะกล่าวถึง “ความเสื่อม” ของราชสำนักกรุงศรีอยุทธยาตอนปลาย โดยให้ภาพของกษัตริย์ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
ซึ่งชนชั้นนำในสมัยรัตนโกสินทร์มองว่าเป็นต้นเหตุของการเสียกรุงศรีอยุทธยาในแง่ลบ ดังที่พบว่ามีเนื้อหาวิจารณ์พระจริยวัตรที่ไม่ดีงามตามหลักพระพุทธศาสนาของกษัตริย์ราชวงศ์บ้านพลูหลวงเพิ่มมาจากพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) จำนวนมาก และกล่าวถึงพระเพทราชาและพระเจ้าเสือซึ่งเป็นปฐมวงศ์ในฐานะ “กบฏ” ที่แย่งชิงราชสมบัติจากสมเด็จพระนารายณ์โดยไม่ชอบด้วยทำนองคลองธรรม
สิ่งเหล่านี้จึงเป็นการสะท้อนมุมมองของชนชั้นนำในสมัยรัตนโกสินทร์ว่ากษัตริย์ราชวงศ์บ้านพลูหลวงไม่มีความชอบธรรมในฐานะพระเจ้าแผ่นดินผู้ซึ่งเป็นศูนย์กลางแห่ง “พระบรมเดชานุภาพ” ไม่มีความเหมาะสมที่เป็นผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ในทางตรงกันข้ามก็มีส่วนในการเสริมสร้างสิทธิธรรมของพระเจ้าแผ่นดินในสมัยรัตนโกสินทร์ที่อ้างอิงอุดมการณ์ทางพุทธศาสนาในฐานะผู้ที่สั่งสมพระบารมีจนได้เสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นองค์เอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก
.
จึงอนุมานได้ว่าเรื่องการสิ้นพระชนม์เจ้าพระขวัญในพงศาวดารที่ชำระสมัยหลัง ก็ถูกชำระขึ้นใหม่เพื่อตอบสนองบริบททางการเมืองของสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เป็นการลดทอนความศักดิ์สิทธิ์ของกษัตริย์ราชวงศ์บ้านพลูหลวงในทางหนึ่ง ดังที่ ศาสตราจารย์ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้วิเคราะห์ไว้ในบทความเรื่อง “ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ในพงศาวดารอยุธยา” ว่า
“ข้ออ้างของราชวงศ์บ้านพลูหลวงที่ว่าได้สิทธิธรรมจากการสมรสนั้น พระราชพงศาวดารที่ชำระในครั้งธนบุรี-รัตนโกสินทร์ก็ทำให้ความศักดิ์สิทธิน้อยลง กล่าวคือ โอรสของเจ้านายฝ่ายในเชื้อสายพระนารายณ์พระองค์หนึ่งซึ่งเกิดกับพระเพทราชานั้นก็ถูกพระเจ้าเสือประหารชีวิต การประหารเจ้าพระขวัญนี้อาจเกิดขึ้นจริง เพราะทั้งฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (ปช-8, 176) และ คำให้การชาวกรุงเก่า (คก, 129-130) ก็รายงานไว้เช่นกัน แต่พระราชพงศาวดารฉบับบริติชมิวเซียมและฉบับพระพนรัตน์ทำให้เหตุการณ์ตอนนี้เป็น “ละคร” มากขึ้น โดยการให้เจ้าพระขวัญพระองค์นี้ถูกประหารในรัชสมัยพระเพทราชาด้วยอาการอันน่าเวทนาอย่างยิ่ง เช่นเขียนให้เจ้าพระขวัญยังเป็นเด็กขนาดเสวยแตงโมไปเล่นไป และการกระทำอย่างเหี้ยมหาญเป็นที่ร้าวรานพระทัยของพระมารดายิ่งนัก
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการกระทำของพระเจ้าเสือจะทำให้พระเพทราชาพิโรธ แต่กลับไม่ทรงอยู่ในฐานะที่จะตอบโต้กระทำการนั้นได้ สถานการณ์จึงคล้ายกับเหตุการณ์เมื่อสิ้นรัชกาลพระนารายณ์ (พร, 545-7) ทั้งฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ และ คำให้การชาวกรุงเก่า กล่าวตรงกันว่าการประหารเจ้าพระขวัญเกิดในรัชสมัยพระเจ้าเสือ การเล่าเหตุการณ์อันน่ารันทดใจให้เกิดแก่พระเพทราชาคล้ายกับพระนารายณ์ก็เป็นการตอกย้ำคำสอนของพุทธศาสนาที่ว่า “หว่านพืชใดลงในเนื้อดิน ย่อมได้ผลเช่นนั้น” (***)
ดังนั้น หลักฐานที่สะท้อนความจริงไม่อิงบุคคล สร้างเป็นตัวละครนิยาย คือ วัตถุ ยกตัวอย่างแผนที่เมืองลพบุรีเมื่อ ค.ศ. 1687 (พ.ศ. 2230) โดยเดอ ลา มาร์ แสดงที่ตั้ง “หอดูดาว” หรือ “วิทยาลัยเมืองลพบุรี” หรือ “วัดสันเปาโล” อยู่ในเขตเมืองชั้นนอกที่ขยายไปทางทิศตะวันออกหรือริมคูเมืองชั้นนอกด้านทิศตะวันออก ในภาพ(ดูวิกิพีเดีย) คือ พื้นที่ด้านขวาของป้อมหกเหลี่ยมมุมล่างสุดของกำแพงเมือง เห็นส่วนอาคารหอดูดาวเป็นกรอบแรเงา และแนวโบสถ์ที่กำลังจะก่อสร้าง
หอดูดาววัดสันเปาโล เป็นหอดูดาวมาตรฐานสากลที่ใช้ในกิจกรรมทางวิชาดาราศาสตร์อย่างแท้จริงแห่งแรกในประเทศไทย อยู่ในจังหวัดลพบุรี สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อ พ.ศ. 2230 โดยเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มอาคารที่ประกอบด้วยศาสนสถานและหอดูดาว ดำเนินการโดยบาทหลวงคณะเยสุอิตชาวฝรั่งเศส เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หอดูดาวก็ถูกทิ้งร้างไม่ได้ใช้งานอีกต่อไป(วัดสันเปาโล ที่มีการขุดพบศพฟอลคอน และพระปีย์ตามที่สันนิษฐานกัน)
กรณีข้อจำกัดของเอกสารด้านอื่น และผมยังมีเรื่องเล่าอีกยกตัวอย่างย่อดังกล่าว(****)
ซึ่งการสร้างภาพลักษณ์ของพระเจ้าเสือ มีการเปรียบเทียบกับเอกสารต่างชาติ ซึ่งผมมาเน้นการสร้างความหมายทางศิลปวัตถุของพระเจ้าเสือ กรณียกตัวอย่างที่เมืองพิจิตร เพื่อเป็นการรำลึกถึงชาติภูมิของพระองค์สมเด็จพระเจ้าเสือได้โปรดให้สร้างวัดโพธิ์ประทับช้างขึ้นที่เมืองพิจิตร
แล้วยังมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คือ วัดเขารูปช้าง ได้สร้างขึ้นปี พ.ศ.2244 พร้อมกับวัดโพธิ์ประทับช้าง ในสมัยพระศรีสรรเพ็ชรที่ 8 หรือพระเจ้าเสือแห่งกรุงศรีอยุธยา โดยสมุหนายกผู้ควบคุมไพร่พลโยธามาสร้างวัดโพธิ์ประทับช้างตามพระราชประสงค์ได้มาพบ ภูเขาส่วนยอดมีลักษณะเหมือนรูปช้างห็นว่าเป็นสถานที่เหมาะที่จะสร้างวัด สร้างที่พักอยู่บนที่สูงเพื่อตรวจภูมิประเทศ ดูแลความปลอดภัยของไพร่พล เมื่อสร้างเสร็จแล้วให้ชื่อว่า“วัดเขารูปช้าง” (*****)ตามลักษณะหินสีขาวที่ซ้อนกันอยู่เป็นรูปช้างคุกเข่าบน ยอดเขามีลักษณะการก่อสร้าง สถาปัตยกรรม โบสถ์ วิหาร พระพุทธรูป พระปรางค์เจดีย์ เป็นแบบสมัยอยุธยา
ต่อมาประมาณ พ.ศ.2300 ได้มีการสร้างเจดีย์บรรจุพระธาตุไว้บนส่วนหัวของรูปช้างในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาเจ้าฟ้ามงกุฎ หรือรัชกาลที่ 4 ในสมัยยังทรงผนวชเป็นภิกษุ ได้เสด็จธุดงค์เมืองนครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย สวรรคโลก และอุตรดิตถ์ ทรงแวะประทับที่วัดเขารูปช้างเพื่อร่วมฉลองวิหารวัดเขารูปช้าง ซึ่งมณฑปแบบจตุรมุข เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทสำริด และมีรอยพระพุทธบาท(สมัยร.5) ภาพเขียนฝาผนังเรื่อง ไตรภูมิพระร่วง เป็นต้น
กระนั้น เราพิจารณาในแง่ข้อจำกัดของหลักฐาน ยกตัวอย่างกรณีญี่ปุ่นกับสมัยพระนารายณ์(มีเอกสารจีนฯลฯ อีกหรือไม่?) น่าสนใจตรงเราเคยมีการเปรียบเทียบสมัยร.5 กับสมัยเมจิของญี่ปุ่น ซึ่งผมได้ยกตัวอย่างเขียนมาบางแง่มุมบ้าง ด้านการศึกษาในสมัยเมจิของญี่ปุ่น มีคนอ่านออกเขียนได้ทั้งปริมาณและคุณภาพมากกว่าสมัยร.5 (มหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นก่อตั้งก่อนสยาม40ปี)แล้วกล่าวโดยย่อดังกล่าวซ้ำ และผมได้เขียนเรื่องวัดเขารูปช้าง(มาบ้างแล้วมีรูปธงชาติด้วยฯลฯ)ขยายความเปรียบด้านศาสนากับอิทธิพลฝรั่งเศส สะท้อนอำนาจศาสนา(พระเยซูเคยตรัสให้ชาวประมงจับคนแทนจับปลาอุปมาจับคนมาช่วยชีวิต)มาคานโปรตุเกสสมัยพระนารายณ์
อย่างไรก็ดี การปรากฏมีอยู่ของเขาลูกช้าง(เขาพนมกาวอยู่ในพิจิตร น่าสันนิษฐานว่าเขาลูกช้างหรือเขารูปช้างอยู่พิจิตรเช่นเดียวกัน)ในสมุดภาพไตรภูมิอยุธยา เป็นหลักฐาน และศิลปะวัตถุหลักฐานมีอยู่จริง และมีอยู่ในชุมชนจินตกรรมออกจากศูนย์กลางของอยุธยามาพิจิตร เมืองงามหรือนามเก่าโอฆะบุรี ในนามเมืองในท้องน้ำ(หรือนามเดิมสระหลวง) ซึ่งการแข่งเรือแข่งพายแข่งได้(พระเจ้าเสือแข่งเรือในละครทีวีบุพเพสันนิวาส) แข่งบุญแข่งวาสนาแข่งไม่ได้ แล้วอนาคตสยาม อำนาจยามวิกฤติน่าจะหลุดพ้นจากชาตินิยม(******)โดยลงเรือแป๊ะต้องตามใจแป๊ะ (จากทหาร หรืออุปมาหนุมานเรื่องรามเกียรติ์ที่เป็นละครต้องห้ามในละครทีวีบุพเพฯ) และวิษณุ เครืองามเคยกล่าวไว้ได้แล้ว จงตามเรามาเถิด และเราจะตั้งท่านให้เป็นผู้หาคนดั่งหาปลา กลับกันจากพุทธแบบไตรภูมิและวลีลงเรือแป๊ะต้องตามใจแป๊ะไม่รู้ลืม
*การสะสมความทรงจำ ละครทีวีบุพเพสันนิวาส กับชุมชนจินตกรรม

**วิษณุ เผยบุพเพสันนิวาสทำคนไทยหวงแหนประวัติศาสตร์
http://news.ch3thailand.com/politics/65290
ดูเพิ่มเติมนิยายข้ามสมุทร โดย วิษณุ เครืองาม
***การผลัดแผ่นดินสมัยพระเพทราชา-พระเจ้าเสือ และ เจ้าพระขวัญ : ความไม่ลงรอยของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

****ดูเพิ่มเติม ฟอลคอนผู้ไม่พูดภาษาฝรั่งเศส
.https://www.facebook.com/WipakHistory/photos/a.1050804244983045.1073741828.1046096062120530/1683822485014548/?type=3
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ เล่าเรื่องประปา ฯลฯ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ เล่าเรื่องเมืองละโว้
(ส่วนตัวผมสนในผลงานของแอนโทนี รีด เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคการค้า ค.ศ. 1450-1680 (เล่ม 1 ดินแดนใต้ลม กับเล่ม 2 การขยายตัวและวิกฤติการณ์ด้วย)
*****ส่วนตัวผมเคยโพสต์ภาพวัดเขารูปช้าง

******มรดกยุคเรืองปัญญา มรดกอุปมาปลาในน้ำ ต่อมรดกชาตินิยม

(ภาพประกอบจากละครทีวีบุพเพสันนิวาส)
21.5
การสะสมความทรงจำ(ตอน 1)
เมื่อผมได้ไปเยือนถิ่นที่เก่า หลังจากไม่ได้ไปนานแล้ว ซึ่งผมเคยเขียนในเนชั่นสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 1091 (26 เม.ย. 2556 คอลัมน์ : วัฒนธรรมเดินได้โดย : อรรคพล สาตุ้ม) เกี่ยวกับการเดินทางไปจันทบุรี(*) โดยผมตัดตอนมาเล่าประกอบภาพพร้อมเรื่องเล่าใหม่เพิ่มเติมตอนแรกก่อน คือ
นักเขียนสารคดี เคยมีประสบการณ์เป็นอาจารย์มาก่อน กรณีอาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์ เขียนหนังสือเดิน…สู่อิสรภาพ เสนอการเดินทางโดยการย่างก้าวออกหาความรู้เขียนผลงานผ่านประสบการณ์ การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของการเขียนมีอิทธิพลผลงานของอินเดีย ผู้ชื่อว่า คานธี หรือ สาทิศ ผู้เดินทางจาริก ก็ตาม
การเดินทางของนักเขียนเพื่อแสวงหาความรู้ ภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดของพื้นที่ต้องห้าม ที่หญิงเข้าพระธาตุเจดีย์บางแห่งไม่ได้ ในแง่การเดินทางจากเรื่องศาสนาจะสะท้อนแง่มุมของชีวิตโดยอาจารย์ประมวล สะท้อน“จากเชียงใหม่ถึงเกาะสมุย 66 วัน กับ 1,000 กิโลเมตร เมื่อสองเท้าสัมพันธ์กับหัวใจ…มีของฝาก คือ ความรู้
ซึ่งหนังสือเรื่อง “เดิน…สู่อิสรภาพ” พูดถึงรายละเอียดการเดินทางของตัวอาจารย์ประมวลเองในรูปแบบสารคดีกึ่งบันทึก เป็นเนื้อหาเล่าตามลำดับเวลาเริ่มตั้งแต่บรรยากาศของการสอนเป็นวันสุดท้ายก่อนที่จะลาออกจากราชการ เตรียมตัวเริ่มออกเดินทาง สุดทางที่ภาพทะเลของเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี บ้านเกิดของอาจารย์
ต่อมาอดีตลูกศิษย์เรียนบางวิชากับอาจารย์ประมวลอย่างผมเป็นอาจารย์พิเศษ สอนด้านวัฒนธรรม เข้าใจเงื่อนไขของคนอยากออกงานไม่ได้ง่ายเหมือนอาจารย์ประมวล ในฐานะวัฒนธรรมเดินได้ในมุมหนึ่ง เพราะบางคนมีข้อจำกัด ต่างๆ เช่น ทำงานผ่อนรถไม่มีเวลา และลาออกจากงานเป็นอิสระได้ง่าย
เมื่อผมร่วมพานักศึกษาสาขาวัฒนธรรมศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เพื่อแสวงหาความรู้ต้องลำบากออกเดินทางไกล …หรือคนเก่งเดินทางหมื่นลี้ อ่านหนังสือหมื่นเล่ม เป็นวาทะที่เคยได้ยิน และการเดินทางของแต่ละคนขึ้นอยู่กับวัย ประสบการณ์ ในการแสวงหาความหมายของชีวิต กัน ครับ
โดยการเดินทางจากเชียงใหม่ ตอนตีสองกว่าๆ ถึงอำเภอสารภีแวะปั๊มเติมน้ำมัน ในยุคกระแสว่าน้ำมันแพง ที่มีพวกกลุ่มวัยรุ่น หรือคนหนุ่มสาว ในแก๊งค์มอเตอร์ไซค์กางเต็นท์ รวมกลุ่มกัน ก็น่าค้นหารู้ไว้ว่าพวกเขาแสวงหารสชาติของชีวิตแบบแนวมอเตอร์ไซด์ สายลมปะทะร่างกาย ระบายอารมณ์…
พวกเรา ก็แวะพักซื้อของกินกัน และเราเข้าห้องน้ำ ระหว่างทางพวกนักศึกษา-คนขับรถทัวร์ ก็สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นการพักรถมอเตอร์ไซด์ของวัยรุ่นแนวๆ ที่มีหญิงและชาย เตรียมตัวเดินทางไกล ให้เราตื่นเต้นนิดหน่อยก่อนนั่งรถยาวไปโคราชหรือนครราชสีมา …(ตอนที่1ตามรูปมีภาพใหม่เรื่องเล่าใหม่เพิ่มเติมหลายรูปด้วย)
*ภาพค่ายเนินวง จันทบุรี ฯลฯ
26.2
การสะสมความทรงจำ (ตอน 2)
เนื่องจากวันเวลาผ่านไปนานกลับมาทบทวนความทรงจำต่อจากตอนที่1(*)ผมระลึกถึงการออกเดินทาง สำรวจประเทศไทยของผม(โดยหวังว่าเส้นผมไม่บังภูเขา) จากเชียงใหม่ ก็อดีตเส้นทางการเดินทางยังไม่สะดวกสบายเหมือนสมัยนี้ ที่แต่ก่อนบ้านเมืองยังอาณาจักรล้านนาของเชียงใหม่
ความแตกต่างจากในอดีต ที่มีเขตแดนระหว่างอาณาจักร อาจจะเป็นดินแดนศักดิสิทธ์ ที่ไม่ใช่จะข้ามผ่านกันง่ายๆเลย ไม่ว่าจะเป็นตำนานของไทย ซึ่งผู้คนในอดีต ต้องเดินเท้าเปล่า หรือนั่งเกวียน นั่งเรือเดินทางไกล
วัฒนธรรมการเดินทางปรากฏอยู่ในลิเกหลงเหลือ คือ การเดินทางแสวงหาความรู้หาอาจารย์ในเรื่องจันทโครพ หรือเราเดินทางผ่านป่า เจอฤาษี สิ่งลี้ลับต่างๆ หรือถ้าจะเปรียบเทียบกับภาพกว้างของวัฒนธรรมเดินได้
ตอนช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลก็ยังพยายามขยายถนนหนทาง สร้างเขตแดนให้ชัดเป็นแผนที่ประเทศไทย และน่าจะมีผลต่อปัญหาภาคใต้ ส่วนทางด้านอาณาจักรล้านนา ถูกระแวงตลอดเวลาว่าจะมีการแบ่งแยกเขตแดนด้วยซ้ำ
แม้อาณาจักรล้านนาจะถูกกลืนเป็นจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดต่างๆ ซึ่งเจ้านายฝ่ายเหนือ ก็มีความคิดที่จะแบ่งแยกเขตแดนเหมือนกัน ที่น่านไปหลวงพระบาง ดังที่ ส.ธรรมยศ นักเขียน และปัญญาชนของภาคเหนือ ได้ชี้ให้เห็นไว้ในผลงานของเขาเอง
ต่อมาจุดเปลี่ยนของประเทศไทย ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจ หลัง2500 ก็ได้พัฒนาถนนหนทางขึ้น มีการตัดถนนหลายแห่ง รวมทั้งแผนที่ประเทศไทย บ่งชี้เส้นทางได้ง่ายกว่าเดิม จวบจนปัจจุบัน ขณะผมนั่งรถเดินทางไป ที่นครราชสีมา
ผมเคยเป็นอาจารย์พิเศษที่นครราชสีมา มีประสบการณ์ของชีวิต เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม สังคมสิ่งแวดล้อมภายใต้ข้อจำกัดของเราๆ… ซึ่งการเดินทางไปที่นครราชสีมา ก็ทบทวนความทรงจำเคยทัศนศึกษา สมัยเรียนในอดีตสำหรับผม ถึงปัจจุบันเป็นการเรียนรู้เพิ่มเติมตลอดชีวิต ด้วย ครับ
นั่นเป็นความหมายของการเดินทางของผม สมัยเป็นนักศึกษาไปสัมผัสแหล่งตัดดิน ต่อมาปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินพนมรุ้ง ร่วมรับฟังคนนำบรรยายพร้อมแถมเรื่องปราสาทเขาพระวิหาร และคนบางคนดีแล้ว ที่มีโอกาสไปที่นั่น ในความหมายของการเดินทาง ทำให้ผมระลึกถึงผู้คน พบเจอระหว่างทาง
สถานที่สำคัญหลายแห่ง และเราผ่านการเดินทาง ร่างกาย และจิตวิญญาณ…ต่อมาผมจากการเดินทางอีสานมาจันทบุรี มีประสบการณ์เรื่องผีๆ ที่พักผ่อนตามโรงแรม โดยนักศึกษาเล่าให้ผมฟังอย่างตื่นเต้น ในวงกินข้าวสนทนา พร้อมแลกเปลี่ยนบทเพลงท่าเต้นแห่งยุคสมัย Harlem Shake…
โดยเพิ่มเติมเรื่องใหม่ต่างจากปีที่แล้วกระแสละครทีวีเรื่องนาคีมาปีนี้เรื่องบุพเพสันนิวาส ก็คุยกับน.ศ.ใน พ.ศ.2561 (ผมคุยกับอาจารย์คนหนึ่งบนรถตู้เรื่องเตรียมเผาสรีระสังขาร “หลวงพ่อคูณ” ครบกำหนด 3 ปี ธันวาคมนี้ ตามพินัยกรรม)ผมได้ฟังวิทยากรพูดเรื่องปราสาทพิมาย และกรณีข่าวการประท้วงตามป้ายที่ติดของเมือง(**) วันนั้นฝนตกนิดๆ ซึ่งถ้ากลับมาจับกระแสละครบุพเพสันนิวาส กันต่อนิดหน่อย คือ ยกตัวอย่างเมืองนครราชสีมา หลังจากพระนารายณ์ คือ ขุนหลวงสวรรคต ก็เกิดกบฏขึ้นของพระยายมราช (สังข์) นักรบแขก เจ้าเมืองนครราชสีมาที่นี่ต่อกลุ่มพระเพทราชา แน่ละการเมืองสยามของอยุธยา ในแง่ปัจจัยภายในก็มีปัญหาอย่างนี้(มีกบฏบุญกว้างอีก)
ต่อมาสมัยกรมหมื่นเทพพิพิธ พระนามเดิมคือ พระองค์เจ้าแขก พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ(สืบต่อจากพระเจ้าเสือ) ผนวชในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ ต่อมามีความผิดฐานคิดกบฏ จึงถูกเนรเทศออกไปอยู่ที่ลังกา และ เมื่อพระเจ้ามังระส่งกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา กรมหมื่นเทพพิพิธได้ทราบว่าพม่าทำการปิดล้อมกรุงศรีอยุธยา จึงได้เดินทางกลับไทย เกลี้ยกล่อมผู้คนทางหัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออกเพื่อจะเข้ากู้กรุงศรีฯ แต่ไม่สำเร็จ จึงหนีไปเกลี้ยกล่อม พระยานครราชสีมา เจ้าเมืองนครราชสีมาให้เข้าร่วมช่วยกอบกู้กรุงศรีฯ แต่พระยานครราชสีมาไม่ยอม จึงทำการเกลี้ยกล่อมชาวบ้านบริเวณนั้นให้เข้าร่วมเป็นพวกของพระองค์ และให้ หม่อมเจ้าประยง พระโอรส กับ หลวงมหาพิชัย นำไพร่พลไปลอบสังหารพระยานครราชสีมา และยึดเมืองได้ในที่สุด
ต่อมา หลวงแพ่ง น้องพระยานครราชสีมาได้ไปเกณฑ์พลจากเมืองพิมาย เพื่อไปตีเมืองนครราชสีมาเอาเมืองคืน ปรากฏว่ารบชนะ จึงจับกรมหมื่นเทพพิพิธได้ หลวงแพ่งต้องการที่จะประหารชีวิตกรมหมื่นเทพพิพิธเสีย แต่เจ้าพิมายมีความสงสารจึงขอชีวิตไว้ และขอนำกรมหมื่นเทพพิพิธไปคุมไว้ที่เมืองพิมาย แต่เจ้าพิมายจงรักภักดีต่อเจ้ากรุงศรีอยุธยามาก จึงยกกรมหมื่นเทพพิพิธขึ้นเป็นเจ้าแผ่นดินเมืองพิมาย สถาปนาเมืองพิมายเป็นราชธานีต่อจากกรุงศรีอยุธยา
ส่วนเจ้าพิมายนั้นนั้นได้ถูกแต่งตั้งให้เป็น เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ผู้สำเร็จราชการบ้านเมืองทั้งหมด หลังจากนั้น เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ก็ได้สังหารหลวงแพ่ง แล้วยึดเมืองนครราชสีมา และ หัวเมืองน้อยใหญ่ทั้งปวงมารวมกับพิมายทั้งหมด เมืองพิมายมีอาณาเขตตั้งแต่แขวงหัวเมืองตะวันออกฝ่ายดอน ไปจนถึงแดนกรุงศรีสัตนาคนหุตและกรุงกัมพูชาธิบดี ฝ่ายใต้ลงมาถึงเมืองสระบุรีตลอดลำน้ำแควป่าสัก
แล้วเราค่อยมาต่อเรื่องพระเจ้าตากหรือพระเจ้ากรุงธนบุรี เคยมาจันบุรี(เมืองที่มีในสมุดภาพไตรภูมิ)ที่จันทบุรี(ฯลฯ) ซึ่งชวนไปเที่ยวที่อื่นก่อนด้วย
*การสะสมความทรงจำ ตอนที่ 1

**ชาวบ้าน 400 คน ค้านกรมศิลป์ประกาศเขตโบราณสถานเมืองพิมาย ชี้เดือดร้อน
อ่านข่าวต่อได้ที่: https://www.thairath.co.th/content/1213068
(ภาพเยอะจันทบุรีถ่ายจากกล้องถ่ายรูปกับถ่ายจากกล้องโทรศัพท์มือถือ และภาพการสาธิตโบราณคดีใต้น้ำกับภาพในพิพิธภัณฑ์พาณิชย์นาวี มีภาพแสดงคำถามเรื่องขุดคลองคอดกระ ฯลฯ)
26.4
การสะสมความทรงจำ (ตอนที่ 3)
เมื่อผมได้เล่าถึงการเดินทางของผม(*) มักพกงานไปด้วย ในความต่างจากปี2556 มาปี2561 นั่งรถตู้ตอนการเดินทางทัศนศึกษาจากพิมาย โคราชหรือนครราชสีมา ในช่วงปีที่แล้วผมได้ไปสระบุรีถึงกรุงเทพฯที่เล่าไว้ปีก่อน และต่อมาปีนี้ช่วงนี้ผมกำลังพยายามเคลียร์เอาวิทยานิพนธ์ไปเสนอพิมพ์หนังสือให้ได้ นี่ก็ใกล้สัปดาห์หนังสือที่กทม.อีกแล้ว ซึ่งการเดินทางได้มีโอกาสไปปราสาทศีขรภูมิ หรือ ปราสาทระแงง ตั้งอยู่ข้างวัดบ้านปราสาท บ้านปราสาท ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
โดยที่ปราสาท ปรากฏ “ศิวะนาฏราช”บนหน้ากาลหน้ากาลนี้เป็นสัญลักษณ์ของเวลาที่กินทุกสิ่งแม้แต่ตัวเอง ซึ่งหน้ากาลหรือหน้าเกียรติมุขไว้เหนือประตูจะปกป้องคุ้มครองไม่ให้สิ่งชั่วร้ายเข้ามาทำอันตรายได้ และถ้าผู้ใดไม่เคารพในหน้ากาลก็จะไม่ได้รับพรจากองค์พระศิวะ ที่ปราสาทศีขรภูมิ (ลวยลายประดับเล็กทำซุ้มกรอบพระห้อยคอเองก็พบลาย “หน้ากาล”เป็นลายแกะสลักตามความเชื่อที่สวยงาม) ครั้งแรกกับปราสาทศีขรภูมิในความทรงจำ
ต่อมาผมมาผาแต้มครั้งแรก (แม้ผมเคยไปอุบลฯ )และผมเคยเขียนถึงผาแต้มไว้ในวิทยานิพนธ์หลักฐานที่สะท้อนให้เห็นความสำคัญของปลา ที่มีต่อชีวิตมนุษย์สมัยโบราณ ก็คือภาพเขียนสีที่ผาแต้ม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ที่มีรูปปลาอยู่ร่วมกับรูปอื่นๆ เช่น วัว/ควาย ช้าง เต่า คน และรูปสัญลักษณ์อื่นๆ มี อธิบายไว้ในหนังสือ “แอ่งอารยธรรมอีสาน” ว่า รูปปลาขนาดใหญ่ที่ผาแต้ม ไม่ใช่ปลาในห้วยหรือลำธาร หากเป็นในแม่น้ำใหญ่ เช่น ปลาบึก ในแม่น้ำโขง
โดยสายน้ำโขงที่ในช่วงที่ผ่านประเทศไทยสามารถพบเห็นปลาบึกได้ตลอดลำน้ำ ตั้งแต่เชียงแสน จังหวัด เชียงราย จนถึงโขงเจียมที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีภาพเขียนสีรูปปลาบึก ที่อุทยานแห่งชาติ ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี แสดงว่าพื้นที่นี้เคยมีการจับปลาบึก ที่หมู่บ้านปากมูนบรรจบกับแม่น้ำโขงเรียกว่าหมู่บ้านเวินบึก ชาวบ้านเล่าว่าสมัยก่อนที่นี่เป็นแหล่งจับปลาบึกแห่งหนึ่ง วังปลาบึกหรืออ่างปลาบึก ที่ จังหวัด หนองคายเช่นเดียวกัน ที่แสดงว่าพื้นที่นี้เคยมีการจับปลาบึก อีกที่หนึ่งบ้านห้วยลึก อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย หมู่บ้านชายแดน ก็เคยมีการจับปลาบึก
ปัจจุบันแหล่งจับปลาบึกเหลืออยู่เฉพาะที่ท่าหาดไคร้ อำเภอ เชียงของ จังหวัดเชียงราย และที่นี่ประวัติศาสตร์กำลังซ้ำรอยตามแหล่งอื่นเช่นกัน ท่าหาดไคร้กำลังจะกลายเป็นตำนานการจับปลาบึก ชาวบ้านที่เชื่อกันว่ามีวังปลาบึกอยู่ถ้ำลึกใต้แม่น้ำโขงบริเวณหลวงพระบางและแขวงไชยะบุรี โดยเมื่อวันสงกรานต์มาถึงพวกภูติผีที่ดูแลเฝ้าถ้ำจะออกมา ปลาบึกจะว่ายขึ้นมาด้วย
แต่การเดินทางด้วยฝ่าเท้าย่ำบนทางเสี่ยง และเหนื่อยมองเห็นหุบเหวครั้งนี้ ณ ผาแต้ม ผมได้ฟังวิทยากรอธิบายความหมายของผาแต้ม พร้อมเดินสำรวจ และเล่าเรื่องเกร็ดสถานที่ถ่ายทำหนังอเล็กซานเดอร์ กับเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยความเชื่อคนแต่งชุดขาวพาไปเที่ยวคนค้นหาไม่พบคณบดีคณะ… มช.หนึ่งเรื่อง ส่วนเรื่องที่สอง ทำนองคล้ายกัน ที่คนหลงเหมือนถูกบังตา น่าจะเป็นผี จำได้เท่าที่จำ ทำให้คนหลงทางด้วย
หากกางแผนที่ประเทศไทยออกมา จะเห็นได้ว่า จังหวัดอุบลฯมีพื้นที่ตั้งของจังหวัด ไปในทิศตะวันออกมากกว่าจังหวัดใดๆ ในประเทศ จังหวัดอุบลฯจึงมีจุดขายที่เราได้ยินจนคุ้นหูในเรื่องพบตะวันใหม่ก่อนใครในสยาม โดยมี อำเภอโขงเจียม อุทยานแห่งชาติผาแต้ม ผาชะนะได 3สถานที่นี้ เป็นจุดที่สามารถชมพระอาทิตย์ก่อนใครในสยาม แบบไม่ซีเรียสว่าสถานที่ใดจะเห็นก่อนกัน แต่ แต่ แต่ ถ้าซีเรียสล่ะ จุดชมพระอาทิตย์ขึ้นในวันใหม่ในแต่ละวันอยู่ตรงไหนกันแน่
อำเภอโขงเจียม อุทยานแห่งชาติผาแต้ม ผาชะนะได คือสถานที่ที่ส่งชื่อเข้าประกวดว่า ที่ใดจะเป็นจุดที่เห็นพระอาทิตย์ก่อนอย่างแท้จริง หยิบแผนที่มากางอีกที จะเห็นว่า บ้านปากลาในอำเภอโขงเจียมมีพิกัด และภูมิประเทศที่มีพื้นที่ไปทางทิศตะวันออกมากที่สุดกว่าอำเภอใดๆ ในประเทศไทย
จึงน่าจะเป็นสถานที่ที่เห็นพระอาทิตย์ก่อนใครในสยาม แต่ความเป็นจริง คือด้วยภูมิประเทศของอำเภอโขงเจียม ณ บ้านปากลา นั้น มีเทือกเขาสูงในประเทศลาวมาบทบังส่วนโค้งของโลก ทำให้เป็นอุปสรรคสำคัญในการชมพระอาทิตย์ขึ้นก่อนใครในยามเช้า อำเภอโขงเจียมจึงไม่ใช่จุดชมพระอาทิตย์ก่อนใครในสยาม แต่น่าจะมีจุดขายอยู่ที่อำเภอโขงเจียมเป็นอำเภอที่แม่น้ำมูลแม่น้ำที่ได้ชื่อว่าแม่น้ำที่ยาวที่สุดในประเทศไทยไหลลงสู่แม่น้ำโขง จนเกิดเป็นแม่น้ำสองสี โดยมีวลีว่า โขงสีปูน มูลสีคราม ก่อนบอกลาแม่น้ำโขงที่จะไหลเลยเข้าสู่ประเทศลาวต่อไป
ส่วนความจริง เรื่องชมพระอาทิตย์ก่อนใครในสยามจึงมุ่งไปที่ ผาชะนะได ที่กรมอุตุนิยมวิทยาใช้กำหนดเวลาพระอาทิตย์ขึ้นในตอนเช้านั่นเอง แต่เส้นทางเข้าถึงไปได้จำนวนน้อย และยากลำบาก
ส่วนผาแต้ม ถึงแม้จะเป็นที่รองแต่ก็เป็นที่ๆรองรับผู้ที่จะมาชมพระอาทิตย์ได้พร้อมกันเป็นจำนวนมากได้ และ ยานพาหนะทุกชนิดสามารถเข้าถึงได้…(**) ที่จริงแล้วผมอยากเล่าเกร็ดอีกนิด เนื่องจากวิทยากรพูดเรื่องผาชะนะไดเปรียบกับภูกระดึง ก็ผมพูดเสริมบอกนักศึกษา ถ้าอยากพิสูจน์รักแท้ ตำนานที่โรแมนติค คือ คู่รักคนใดไปเดินขึ้นภูกระดึงไม่ทะเลาะกันจะเป็นรักแท้…
แสงสุดท้ายในวันนั้นพร้อมสายน้ำโขงหรือน้ำของไหลผ่านมาผาแต้ม ซึ่งระบบนิเวศของแม่น้ำโขง ปลาหลายชนิดวางไข่ตามซอกกรวดหินในแก่งน้ำ แต่เลี้ยงลูกและหลบภัยตามวังน้ำ อีกหลายชนิดใช้พื้นที่ชุ่มน้ำริมฝั่งเป็นที่หาของกิน วังน้ำลึกเป็นแหล่งหลบภัยของสัตว์น้ำในหน้าแล้งที่สำคัญมาก โดยเฉพาะสัตว์ขนาดใหญ่อย่างปลาบึกและโลมาอิรวดีแห่งลุ่มน้ำโขง ซึ่งชอบวังน้ำใหญ่ลึกกว่า 8เมตร กระแสน้ำแรงในหน้าน้ำหลากจะคอยขุดเซาะวังน้ำให้คงความลึกไว้ได้ไม่ตื้นเขินไปตามเวลา เพราะฉะนั้น ถ้าพลังและปริมาณน้ำลดลงในหน้าน้ำ จะด้วยเพราะเขื่อนขนาดใหญ่กักเก็บน้ำไว้เหนือเขื่อนหรืออะไรก็ตามแต่ วังน้ำลึกจะค่อยๆตื้นเขินกลายเป็นสุสานฝังโลมาและปลาใหญ่อย่างช่วยไม่ได้เลย
ในที่สุดสายน้ำไม่ไหลย้อนกลับเพียงผมย้อนกลับสู่ความทรงจำเก่าเล่าใหม่เพิ่มเติมในครั้งต่อไป
*การสะสมความทรงจำ (ตอนที่ 2) https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2079190588776825&id=100000577118415
**10 สิ่งอย่าง ที่ควรทำเมื่อมาเยือนอุบลราชธานี
http://guideubon.com/news/view.php?t=83&s_id=148&d_id=148
(รูปประกอบผาแต้มจากการเดินทาง)
29.3
การสะสมความทรงจำ (ตอนที่ 4)
ผมได้เขียนต่อเนื่องมาสามตอน มีบางเรื่องการเดินทางที่ตัดต่อจากอดีตเพิ่มเรื่องเข้าไปในพื้นที่ใหม่ และผมจะข้ามบางเรื่องกับพื้นที่ เพราะไม่มีเวลาเขียนมาก ไม่ได้ใส่รายละเอียด ซึ่งการเดินทางเรามาถึงจุดหมายอีกแห่ง ที่สำคัญ ซึ่งผมไม่เคยมาที่นี่ เป็นครั้งที่หนึ่งกับพิพิธภัณฑ์พาณิชย์นาวี และโบราณคดีใต้น้ำ มีการสำรวจถึงขุดค้นแหล่งโบราณคดีใต้น้ำในทะเลไทย เพื่อการศึกษา ค้นคว้า วิจัยมานาน มีจำนวนโบราณวัตถุจากแหล่งเรือสำเภาโบราณที่จมเพิ่มมากขึ้น
โดยอาคารพิพิธภัณฑ์ ตั้งอยู่ที่ค่ายเนินวง มีป้อมค่ายคูเมืองคันดินโบราณที่สร้างขึ้นเพื่อรับศึกญวนในสมัยรัชกาลที่สาม ทำให้เราเรียนรู้ทั้งโบราณสถานบนบก และโบราณวัตถุที่ขุดพบจากใต้ทะเล ซึ่งพิพิธภัณฑ์ แบ่งเป็นหลายห้อง แต่ผมเล่าผ่านมุมของตนเอง น่ะครับ
ผมชอบห้องที่เป็นห้องจัดแสดงโดยใช้เรือสำเภาจำลองขนาดเท่าจริง และมีเอกลักษณ์เป็นเรือสำเภาโบราณ ซึ่งผมดูสมจริงยิ่งใหญ่อลังการงานสร้างจำลองในพิพิธภัณฑ์ ต่อมาห้องแนะนำปฏิบัติการโบราณคดีใต้น้ำ แสดงเรื่องเทคนิคการทำงานของโบราณคดีใต้น้ำ มีรูปหุ่นคนใส่ชุดประดาน้ำ ดำน้ำหาโบราณวัตถุ
เราเดินต่อถึงห้องโบราณวัตถุ และผมสนใจในองค์ความรู้เกี่ยวกับแนวทางทำงานในการปกป้องสมบัติทางวัฒนธรรมของชาติ และงานด้านการอนุรักษ์ กับการจัดการมรดกวัฒนธรรมในอาเซียน เพื่อการต่อยอดพัฒนาความรู้ในปัจจุบันด้วย
ห้องแสดงเรือ และชีวิตชาวเรือ จัดแสดงเรื่องของเรือในประเทศไทย ว่ามีเรือหลากหลายชนิด ทั้งเรือหาปลา เรือค้าขาย สะท้อนวิถีชีวิตการเดินทางของคนไทย สมัยก่อนผูกพันกับน้ำ และเรามาปิดท้ายกัน ที่ห้องประวัติศาสตร์เมืองจันทบุรี และชนเผ่าต่างๆ และห้องแสดงถึงพระราชประวัติของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ประวัติศาสตร์ที่เราจำได้ว่า วิธีการของพระเจ้าตากทุบหม้อข้าว หรือเจ้าตากมุ่งยึดเมืองจันทบุรี ซึ่งก่อนเข้าตีเมือง ได้มีรับสั่งให้ทหารทุกคนทำลายหม้อข้าวให้หมด หมายจะให้ไปกินข้าวในเมืองจันทบุรี ตีได้เมืองจันทบุรี(นักประวัติศาสตร์บางคนบอกรวบรวมผู้คนจากชลบุรีและระยองด้วยก่อนตีเมืองจันทบุรี)
พระเจ้าตากทรงรวบรวมกำลังพลจนมีจำนวน 5,000 นาย จึงได้ยกกองทัพเรือออกจากจันทบุรี ล่องมาตามฝั่งทะเลในอ่าวไทย จนถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อสู้จนยึดธนบุรีคืนจากพม่าได้ ต่อจากนั้น ได้ยกกองทัพเรือต่อไปถึงกรุงศรีอยุธยา และสามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยาได้ ครับ….
จากปี2556 มาปี2561 ซึ่งผมได้มีโอกาสพูดคุยดูหลักฐานโบราณคดีใต้น้ำ และสาธิตการดำน้ำ ซึ่งการเก็บกู้โบราณวัตถุใต้น้ำในเชิงพาณิชย์ เป็นบทบาทของการจัดทำฐานข้อมูลมรดกวัฒนธรรมใต้น้ำในระดับภูมิภาค ตลอดจนจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพและยกระดับความตระหนักให้บังเกิดความหวงแหน นับความจำเป็น แล้วที่นี่ร่วมกับศูนย์ภูมิภาคโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ (SEAMEO SPAFA) โครงการที่เกี่ยวกับโบราณคดีใต้น้ำ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการจัดการ และการศึกษาเรื่องมรดกวัฒนธรรมใต้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
ต่อมาผมคุยกับคนที่นี่ ในเรื่องการเดินทางไปไหว้เขาคิชฌกูฏ ซึ่งพ่อแม่กับน้องสาวผมเคยไปแล้ว แต่ผมยังไม่เคยไปสำหรับผมเขาคิชฌกูฏที่มองไม่เห็น จากสมุดภาพไตรภูมิอยุทธยา มีเมืองจันทบุรี ที่มาที่ไปของชื่อเขาคิชฌกูฏนั้น ในตำนานศาสนาพุทธกล่าวไว้ว่า เขาคิชฌกูฎอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธเป็นยอดเขาที่มีแนวเขาล้อมโดยรอบ และเคยเป็นสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าในอดีต และเขาคิชฌกูฏ มีสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์บนยอดเขานั่นคือ รอยพระพุทธบาท ที่ประดิษฐานอยู่สูงที่สุดในประเทศไทย สูงกว่า 1,050 เมตร จากระดับน้ำทะเล ถือว่าสูงที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ
โดยมีตำนานเล่าถึงรอยพระพุทธบาทว่า ชายหนุ่มชื่อนายติ่งกับพวกมีอาชีพหาของป่า วันหนึ่งก็ได้ออกไปหาของป่ากันอย่างเคย จนไปหยุดพักเหนื่อยอยู่ที่ลานหินบนยอดเแห่งหนึ่ง พอหายเหนื่อยแล้วก็พากันเดินกลับที่พัก แต่เดินกันไปมาก็ปรากฏว่าได้วกกลับมาที่ลานหินเดิมนั้นอีก เป็นที่น่าอัศจรรย์ ชายคนหนึ่งในกลุ่มได้ถอนหญ้าบนลานหินนั้นจนหมดแต่ก็ ไม่พบอะไรอีก นอกจากลานหินซึ่งมีรอยเท้าขนาดใหญ่ของมนุษย์ ต่อมาที่วัดพลับ ตำบลบางกะจะ ซึ่งเป็นเมืองเก่าของจังหวัดจันทบุรีได้มีงานเทศกาลปิดทองรอยพระพุทธบาท นายติ่งได้ไปปิดทองรอยพระบาท และรู้สึกแปลกใจมากที่รอยพระพุทธบาทนี้ช่างเหมือนกับที่แกเห็นอยู่บนลานหินยอดเขาคิชฌกูฏ
ต่อมาทางเจ้าคณะจังหวัดจันทบุรีทราบเรื่องเข้า ท่านเจ้าคณะจังหวัดจึงเรียกไปสอบถาม และให้พระภิกษุ 2 รูปตามนายติ่งไปดู เมื่อพิจารณาแล้วได้ลงความเห็นว่าเห็นว่าเป็นรอยพระพุทธบาทอันแท้จริง อีกทั้งบนลานหินนั้นมีหินก้อนใหญ่โตมาก ลักษณะคล้ายบาตรพระตะแคง ตั้งลอยอยู่เรียกว่า “ลูกบาตร” ต่อมาเมื่อเรื่องกระจายไป จึงมีผู้คนมาไหว้สักการะไม่ขาดสาย(*)
ดังนั้น ผู้อ่านน่าจะคิดถึงสายน้ำทะเล จากตอนที่สาม(**)มาตอนที่สี่แล้วครับ
*ไขปริศนาลับ! 10 ข้อควรรู้ ทำไมคลื่นมหาชนต้องดั้นด้นขึ้นเขาคิชฌกูฏ…?
อ่านข่าวต่อได้ที่: https://www.thairath.co.th/content/485860
**การสะสมความทรงจำ (ตอนที่ 3)

(ภาพประกอบทะเล เห็นเกาะแมว การสาธิตดำน้ำ และภาพจากพิพิธภัณฑ์)
29.4
การสะสมความทรงจำ ละครทีวีบุพเพสันนิวาส กับชุมชนจินตกรรม
Verily, a fine catch of fish hath Zarathustra made to-day!… – Friedrich Nietzsche,Thus Spake Zarathustra.(นิตเช่ วิถีพระเยซูที่ตรัสแก่สาวกรุ่นแรกว่า “จงตามเรามา เราจะทำให้ท่านเป็นชาวประมงจับคน*)
ผมได้เขียนมาต่อเนื่องแล้วเรื่องการสะสมความทรงจำ ละครทีวีบุพเพสันนิวาส กับชุมชนจินตกรรม (**)เมื่อวานตัวละครพระเจ้าเสือพูดถึงฟอลคอน (กรณีพระปีย์ พระปิตุลาอภัยทศ เข้ารีต)..พวกจับปลาสองมือเหยียบเรือสองแคม จากฉากหนึ่งในละครฟีเวอร์ ‘บุพเพสันนิวาส’ ที่หลวงสรศักดิ์กำลังนั่งหารือถึงเรื่องเกี่ยวกับการที่สมเด็จพระนารายณ์จะแต่งตั้งให้ออกพระวิสุทสุนธร (ปาน) เป็นเอกอัครราชทูตคนสำคัญ และเดินทางไปประเทศฝรั่งเศสพร้อมกับเชอวาเลีย เดอ โชมองต์ (ถ้าภาพยนตร์ซีรีส์ “ศรีอโยธยา” วิธีเล่าระลึกชาติกับข้ามมิติ)
ซึ่งผมใช้มุมแง่การเปรียบเทียบกับน่าจะกระแสมากกว่าตัวละครทีวีดังช่วงก่อนอย่างรากนครา ในปีที่แล้วกระแสแรงบันดาลใจ แก่นเรื่องความรัก มีสิ่งแวดล้อมการเมือง มีตัวละครเด่นๆ หลายคนในบุคคลประวัติศาสตร์(แต่มีความตลกคล้ายหนังผีเรื่องผีมากพระโขนง) และปัจจัยของกระแสละครสร้างให้ผู้คนหันมาแต่งชุดไทยด้วย
เมื่อพิจารณาปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน ส่วนประกอบสร้างให้มีอรรถรสของละครทีวีจากตัวละครประวัติศาสตร์อันน่าสนใจอย่างท้าวทองกีบม้ากับขนม(ทองหยิบ ที่แม่การะเกดจากอนาคตมาร่วมสร้างแรงบันดาลใจให้อดีต) หรือการเขียนต่อยอดเรื่องจากละครทีวีมีกระแสต่อประวัติศาสตร์ประเด็นถูกหรือผิดอีกด้วย ยกตัวอย่างการแต่งกายก็มีคนแสดงความคิดเห็นเรื่องผ้า(ผ้า,หน้า,ผม) คือ ทีมสร้างละครได้ไอเดียมาจากนิยายที่ระบุว่า แม่หญิงการะเกดเป็นธิดาของพระยารามณรงค์แห่งเมืองพิษณุโลกสองแคว โดยพระยารามณรงค์มีแม่เป็นคนล้านนา ทำให้การะเกดมีเชื้อสายล้านนาจากย่า เลยต้องการจะสื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนว่าการะเกดมีเชื้อสายล้านนา แต่ก็มีส่วนผสมของภาคกลางตอนบนเข้าไป คือ ซิ่นตีนจกของเมืองลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของรัฐสุโขทัยเดิมเช่นเดียวกับพิษณุโลก(***)
ส่วนเรื่องความรักที่ด้านละครทีวี มีเรื่องคบชู้ ที่แม่หญิงการะเกดเปิดประเด็น มีกรณีประวัติศาสตร์ คือ เจ้าฟ้าน้อยได้มีความสัมพันธ์ชู้สาวกับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (แจ่ม) พระสนมเอกในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่สะท้อนเรื่องคณะที่ปรึกษาได้พิจารณาลงโทษให้เอานางสนมไปโยนให้เสือกินเสีย
ส่วนเรื่องภาษา ก็น่าสนใจสำหรับผม ในการสร้างคำอธิบายในประวัติศาสตร์ที่ปลอดพ้นจากภาษาปัจจุบันก็เป็นสิ่งที่ยากจนแทบเป็นไปไม่ได้ ในเมื่อภาระงานของนักประวัติศาสตร์ยังคงมุ่งที่การอธิบายอดีต(****) ในแง่หนึ่งประวัติศาสตร์คล้ายนิยาย หรือละครทีวีมีภาษาไทยคำภาษาอังกฤษคำ(ออเจ้าก็เลยไม่แปลกแยกเมื่อมาทำให้ร่วมสมัย) ต้องมีภาษาปัจจุบันเข้าไปตอบสนองตลาดของผู้อ่านผู้ดูด้วย
ส่วนด้านการเมือง คือ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ผู้มี “ปม” ด้วยรูปร่างเตี้ย ต้องคอยเดินยกไหล่ตลอดเวลา มีความต้องการเป็นประมุขทั้งฝ่ายราชอาณาจักรและศาสนจักรอย่างแรงกล้า จึงยึดกฎเหล็กสามประการในการแผ่แสนยานุภาพทั่วโลก
นั่นคือ “Une Fois Une Loi Un Roi!” (อ่านว่า อูนฟัว อูนลัว เอิงรัว) แปลว่า “ศรัทธาหนึ่งเดียว กฎหมายหนึ่งเดียว ภายใต้กษัตริย์องค์เดียว”
พระองค์ไม่เพียงแต่ดูถูกคนนอกศาสนา แม้แต่ชาวคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ก็ยังถูกปราบเสียราบคาบมาแล้วในฝรั่งเศส พระองค์กำลังเล็งหาประเทศใดประเทศหนึ่งในเอเชียที่สามารถบีบบังคับให้กษัตริย์นับถือคาทอลิกได้ เพื่อใช้เป็นใบเบิกทางไปสู่การเขมือบชาติอื่นๆ ในละแวกใกล้เคียง
จึงอ้าแขนรับฟอลคอน (ผ่านทางราชทูตและบาทหลวงต่างๆ) ให้เกลี้ยกล่อมเจ้าชีวิตแห่งสยามให้ละทิ้ง “ความเชื่ออันถือว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ” แล้วเข้ารีตมาเป็น “ปฐมบุตรแห่งพระศาสดา”
“ฟอลคอน” นอกจากพระเพทราชาจะมองว่าเป็น “ชายสามโบสถ์” แล้ว (เดิมบวชในนิกายกรีกออร์โธดอกซ์กรีก ต่อมาโอนสัญชาติเป็นอังกฤษ เข้านิกายโปรเตสแตนต์ และสุดท้ายเข้ารีตเป็นคาทอลิก) ยังเป็นนกสองหัว ประจบประแจงพระนารายณ์ทุกวิถีทางเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ จนกลายเป็นอภิมหาเศรษฐีที่ล่ำซำที่สุดในราชอาณาจักรสยาม
เขาได้รับอภิสิทธิ์ในทุกๆ ด้านอย่างไม่มีข้อยกเว้นฟอลคอนฉลาดพอที่จะเล่นเกมกับพระนารายณ์ โดยไม่เร่งร้อนบีบบังคับให้พระองค์เข้ารีต
แต่ในอีกด้านหนึ่ง ฟอลคอนกลับขันอาสาพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ว่าจะหาทางทำทุกอย่างให้พระนารายณ์เปลี่ยนใจมาเป็นคาทอลิกให้จงได้ ทั้งๆ ที่พระนารายณ์ได้ทรงประกาศ (วรรคทอง) แก่ราชทูตและบาทหลวงชาวฝรั่งเศสไปแล้วอย่างชัดแจ้งว่า
“การที่พระเจ้าสร้างมนุษย์ให้มีความแตกต่างหลากหลายทั้งทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ และศาสนานั้น นั่นย่อมแสดงว่าพระองค์ไม่ต้องการให้โลกมีเพียงศาสนาเดียว!” (*****) ที่มีภาพราชทูตวิสามัญเชอวาลิเอร์ เดอ โชมงต์ ถือพานมีเชิงสูง อัญเชิญพระราชสาส์นของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ปรากฏฉากในละครทีวีนั่นเอง
โดยการอธิบายเรื่องศิลปสถาปัตยกรรม ยกตัวอย่างเปรียบเทียบผมได้บอกไปบ้างแล้ว วัดนักบุญยอแซฟ อยุธยา (อังกฤษ: Saint Joseph Catholic Church, Ayutthaya) เป็นโบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิกแห่งแรกในประเทศไทย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยอาคารหลังแรกเป็นอาคารไม้ สร้างเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2228 (ค.ศ. 1685) และได้ปรับปรุง บูรณะเรื่อยมาจนกระทั่งเป็นหลังปัจจุบัน คือ หลังที่ 4 ในปี พ.ศ. 2426 โดยมีคุณพ่อแปร์โร อธิการโบสถ์ในขณะนั้น และโจอาคิม แกรซี สถาปนิกชาวอิตาลีร่วมกันออกแบบ ตัวโบสถ์เป็นสถาปัตยกรรมฟื้นฟูโรมาเนสก์ มีหอระฆัง 1 หอ ซึ่งคล้ายคลึงกับรูปแบบโบสถ์คาทอลิกไทยทั่ว ๆ ไป เช่น วัดซางตาครู้ส วัดคอนเซ็ปชัญ ฯลฯ
วัดนักบุญยอแซฟ ถือเป็นศูนย์กลางของคริสตชนชาวสยามในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีประวัติมาตั้งแต่ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อต กับบาทหลวงอีก 2 องค์ ได้เข้ามาทูลขอสร้างโบสถ์คริสต์และโรงเรียน สมเด็จพระนารายณ์จึงทรงพระราชทานที่ดินแปลงหนึ่งให้ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในสมัยนั้นว่า “ค่ายนักบุญยอแซฟ”(ข้อมูลวิกิพีเดีย)
โดยความขัดแย้งทางการเมืองได้อ้างศาสนาคริสต์มาคุกคามอย่างในละครทีวี ซึ่งเกิดการปฏิวัติสยามหรืออยุธยา ถูกเรียกว่า“การปฏิวัติ ค.ศ. 1688” (1688 Revolutionin Siam)ซึ่งชวนให้นึกถึงการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ (The Glorious Revolution) ที่เกิดในเกาะอังกฤษปีเดียวกัน
ด้านนโยบายการค้าที่พระเพทราชานำมาใช้นั้นมีอะไรที่คล้ายคลึงกับนโยบายที่โชกุนโตกุงะวะกระทำที่ญี่ปุ่น แม้พระเพทราชาจะไม่ถึงกับปิดประเทศแบบญี่ปุ่น ก็มีการผลักดันชาวฝรั่งเศสออกจากสยาม เปลี่ยนนโยบายการค้าที่เน้นฝั่งตะวันตกมาเป็นฝั่งตะวันออก ยุคสมัยของพระเพทราชาจึงเป็นยุคเริ่มต้นที่สยามกลับมาติดต่อสัมพันธ์กับจีน ส่งผลต่อการกลับมาเฟื่องฟูของบทบาทชาวจีนในสยามต่อเนื่องมาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ด้วย
ส่วนพ่อค้าฮอลันดาถึงจะเป็นชาติตะวันตก แต่ได้รับยกเว้นไม่ถูกต่อต้าน เนื่องจากฮอลันดา(กรณีวิลันดาที่กล่าวในละครทีวี)อยู่ฝ่ายสนับสนุนกลุ่มพระเพทราชาตั้งแต่ต้น แต่ด้านงานศิลปะแนวความคิดที่มองชาวตะวันตกว่าเป็นยักษ์เป็นมาร เป็นผู้ร้าย ปรากฏอยู่ในภาพจิตรกรรมฝาผนังตอนพระพุทธเจ้าปราบมารผจญ ในตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์ วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยา ซึ่งวาดในสมัยพระเพทราชาด้วย
เมื่อการสร้างราชวงศ์บ้านพลูหลวง ทำให้พุทธศาสนาถูกเชื่อมโยงกับชื่อของสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๑มาถึง ๘ คือ สมเด็จพระเจ้าเสือ ซึ่งสรรเพชญ์ คำนี้มาจากภาษาสันสกฤตคือ สรฺวชฺญ หรือในภาษาบาลีคือ สพฺพญฺญ ด้วยความหมายเลยใช้เรียกแทนพระพุทธเจ้าด้วย เพราะทรงตรัสรู้ทุกสิ่งอย่าง (อาจจะเคยเห็นการเรียกพระพุทธเจ้าว่า พระสัพพัญญู หรือพระสรรเพชญ์พุทธเจ้า)
กระนั้น คำว่า สรรเพชญ์ สามารถสื่อถึงพระพุทธเจ้าได้ (พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท) เปรียบเทียบกษัตริย์ยุโรป ต้องมีชื่อสื่อถึงศาสนาคริสต์ กรณีชื่อนำหน้า แบบคริสต์กับลำดับตัวเลขรัชกาลหรือฉายา ย่อมทำให้ระบุได้ชัดเจน(เช่น George I,II,III,IV,V) เป็นต้น
ดังนั้น ประวัติศาสตร์ มีได้ทั้งเรื่องหลักฐานใหม่ ข้อมูลใหม่จากการขุดค้นโบราณคดี ข้อมูลจากเอกสาร โดยข้อมูลที่ค่อนข้างจะคลาดเคลื่อนไม่สมบูรณ์ด้วยข้อจำกัด กับวิธีวิทยาข้อมูล พร้อมการด่วนสรุปของนักประวัติศาสตร์ ก็เป็นข้อถกเถียงได้
แต่ถ้าประวัติศาสตร์ ก็อาจจะถูกพระเจ้าลิขิตไว้ คล้ายตัวละครพูดพระโหราธิบดีบอกกับพี่หมื่นว่าแม่นางเป็นลิขิตของเจ้า หรือแม่การะเกด กล่าวว่าประวัติศาสตร์ไม่เปลี่ยนไป โดยกรณีประวัติศาสตร์(******)เป็นประเด็นชวนให้ทบทวนเปรียบเทียบกระแสของละครทีวี ทั้งปัจจัยภายในของยุโรป ที่มีผลกระทบจากปัจจัยภายนอกการเดินทางมาอุษาคเนย์ ฯลฯ ด้วย
โดยเปรียบเทียบปัจจัยภายนอกและภายในสยามของอยุธยา ซึ่งเราสามารถสนทนากันอีกมากทั้งเรื่องแรงงานสมัยนั้น(ไพร่ ฯลฯ) และยกตัวอย่างจินดามณี เป็นตัวอักษรเขียนในสมุดไทย ก่อนยุคทุนนิยมการพิมพ์เข้ามาในสยาม จนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงในสมัยที่John Bowring เป็นที่รู้จักกันดีนอกไทย จากตั้งสโลแกนว่า เป็นที่รู้จัก “การค้าเสรีคือ พระเยซูคริสต์ เป็นผู้ค้าเสรี”(*******) ภาพสะท้อนจากสนธิสัญญาเบาว์ริง(มีโลกาภิวัตน์การค้าเสรี)ช่วงยาวของระบบทุนนิยม(พระหัตถ์ของพระผู้เป็นเจ้า คือ มือที่มองไม่เห็นต่อกลไกตลาด)สะท้อนให้เห็นภาพวัฒนธรรมยุคสมัยของละครทีวีตามตลาดระบบทุนด้วย
อย่างไรก็ดี ประวัติศาสตร์ช่วงยาว มีรายละเอียดไม่ให้ถูกลืมไป แน่ละ หลายเรื่องในชีวิตของคนในความทรงจำกับหลงลืม ซึ่งผมยกตัวอย่างเคยเขียนเรื่องสั้นแก่นเรื่องการเมืองแบบย้อนเวลาในความทรงจำดัดแปลงคนจากอนาคตมาพบวิกฤติเหตุการณ์ปี2553 วิธีการเล่าเรื่องไม่ใหม่อย่างน้อยก็ช่วยย้อนความทรงจำผู้คนจากความจริงและจินตนาการ ให้เห็นการเรียนรู้อดีตไม่เพียงตามอำนาจของวาทกรรม ไม่ใช่เชื่อบิ๊กตู่จากละครทีวีรากนครามาถึงละครทีวีบุพเพสันนิวาส ‘บิ๊กตู่’ บ่น อ่านกันแต่ ‘บุพเพสันนิวาส’ หัดท่อง ‘จินดามณี’ กันบ้าง! (********) วาทกรรมจงตามบิ๊กตู่คืนความสุข… เราจะทำตามสัญญา ขอเวลาอีกไม่นาน… ตามกรรม(กัม ใช้อักษรตัว ร เป็นไม้หันอากาศได้ในจินดามณี) นี่คงใกล้หมดเวลาวาทกรรมด้วย
*ที่มาภาษาอังกฤษดู(หน้า 9)
https://books.google.co.th/books?id=4ybDAgAAQBAJ&printsec=frontcover&hl=th#v=onepage&q&f=false
จริง ๆ นะ วันนี้ซาราทุสตราทำการประมงได้ผลงดงาม จับคนไม่ได้เลยสักคน ได้แต่ศพ (นิตเช่ต้องการล้อเลียนพระดำรัสของพระเยซูที่ตรัสแก่สาวกรุ่นแรกว่า “จงตามเรามา เราจะทำให้ท่านเป็นชาวประมงจับคน” วิถีสู่อภิมนุษย์ ที่มา: Friedrich Wilhelm Nietzsche:ผู้แต่ง, กีรติ บุญเจือ:ผู้แปลและเรียบเรียงบางส่วน)
http://www.openbase.in.th/node/4909
(ผมอ่านแล้วคิดว่านิตเช่ นาจะสื่อเรื่องวาทกรรม เขาเป็น ผู้ให้อิทธิพลต่อฟูโกต์ มีผลงานว่าด้วยวาทกรรม)
**การสะสมความทรงจำ ละครทีวีบุพเพสันนิวาส กับชุมชนจินตกรรม

***แม่หญิงการะเกด ผู้แต่งกายอย่าง “ลาว”
****บทปริทัศน์หนังสือ“การเมืองไทยสมัยพระนารายณ์”
https://www.tci-thaijo.org/index.php/thammasat_history/article/view/78482/62862
*****”แช่แข็งสยาม ยามแผ่นดินอาเพศ ยุคพระเพทราชา”
https://www.matichonweekly.com/culture/article_18023
****** ประวัติศาสตร์ อาจมีได้หลายด้าน

(ข้อคิดของอ.ชาญวิทย์ ผู้ทำวิทยานิพนธ์ปวศ.อยุธยา และผู้เขียน”อยุธยา : Discovering Ayutthaya”)
แซ่บหรือหาไม่? ดูชัดๆ ‘ฝีพายสยาม’ ในบุพเพฯ เทียบภาพจากบันทึกฝรั่งครั้งแผ่นดินพระนารายณ์
https://www.matichon.co.th/news/888283
“อยุธยา พลิกอดีต มุมมองใหม่”
http://asi.aru.ac.th/?p=5900
*******BENEDICT ANDERSON RIDDLES OF YELLOW AND RED
https://newleftreview.org/II/97/benedict-anderson-riddles-of-yellow-and-red
(ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของสยามเริ่มขึ้นในปีพ. ศ. 2310 เมื่อเก้าปีก่อนที่สหรัฐฯประกาศอิสรภาพจากอังกฤษโดยอ.เบน ใช้อธิบายประวัติศาสตร์หลังกรุงแตกหรือยุคพระเจ้าตากสิน ซึ่งหลังการสืบต่อยุคพระเจ้าเสือ)
พระเจ้ากรุงสยาม กับ เซอร์จอห์น เบาว์ริง (The King of Siam : Sir John Bowring)

(ดูเพิ่มเติมการค้าเสรี:จากอดัม สมิธ ถึงเบาว์ริง และ”พระเยซูเจ้า คือ การค้าเสรี”:ความคิดสมัยใหม่ของเซอร์จอห์น เบาว์ริง)
********‘บิ๊กตู่’ บ่น อ่านกันแต่ ‘บุพเพสันนิวาส’ หัดท่อง ‘จินดามณี’ กันบ้าง! (มีคลิป)
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_892449
(ภาพประกอบจากละครทีวีบุพเพสันนิวาส กับภาพวัดนักบุญยอแซฟ และภาพเปรียบเทียบสมุดภาพไตรภูมิ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น