วันอังคารที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ผู้นำสมาร์ท(Smart Leader)-การจัดการและนวัตกรรม(Innovation)

 

ผู้นำสมาร์ท(Smart Leader)-การจัดการและนวัตกรรม(Innovation)

วันนี้ในอดีต "วิกตอรีเดย์" หรือ“วันแห่งชัยชนะ” ของกองทัพสหภาพโซเวียต เหนือกองทัพนาซีเยอรมัน ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งตรงกับวันที่ 9 พ.ค. 2488

ย้อนมองอดีตสมัยที่ 1.พญามังราย ต่อมา2.พญาไชยสงคราม 3.พญาแสนพู 4.พญาคำฟู 5.พญาผายู พ.ศ. 1879 - 1898 (19 ปี) 6.พญากือนา พ.ศ. 1898 - 1928 (30 ปี) 7.พญาแสนเมืองมา พ.ศ. 1928 - 1944 (16 ปี) 8.พญาสามฝั่งแกน พ.ศ.1945 - 1984 (39 ปี) 9.พระเจ้าติโลกราช          พ.ศ. 1984 - 2030 (46 ปี) 10.พญายอดเชียงราย พ.ศ. 2030 - 2038 (8 ปี)

โดยลำดับเจ้าที่11.พญาแก้ว (พระเมืองแก้ว)พ.ศ. 2038 - 2068 (30 ปี)พญาแก้ว มีพระนามที่เรียกกันต่าง ๆ คือ พระเมืองแก้ว ฯลฯ ทรงเป็นพระปนัดดาของพระเจ้าติโลกราช และเป็นราชบุตรของพญายอดเชียงรายกับพระนางสิริยสวดี (เทวีปงน้อย) ประสูติในปีขาล ได้รับราชาภิเษกเมื่อชนมายุ 13 ปี ในวันเพ็ญเดือน 9 พ.ศ. 2039

ด้านการสงคราม ทรงรบกับอยุธยาที่ชายแดน พ.ศ. 2050 ทรงส่งกองทัพไปตีสุโขทัยแต่ไม่สำเร็จ ต่อมาปี พ.ศ. 2058 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พ.ศ. 2034-72) แห่งอยุธยาขึ้นมาตีลำปางแตก แล้วกวาดต้อนผู้คนกลับไป(ผมเคยเล่าแล้วเป็นละครทีวีอย่างป้อมปางบรรพ์) ด้านทำนุบำรุงบ้านเมือง ทรงให้ก่อกำแพงเมืองลำพูนด้วยอิฐ ปี พ.ศ. 2060 เพื่อป้องกันข้าศึก จากนั้นจึงก่อกำแพงเมืองเชียงใหม่ให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการยิงด้วยปืนใหญ่ และ พ.ศ. 2061 ให้สร้างสะพานใหญ่ข้ามแม่น้ำปิงที่ท่าสถานหลวง

12.พญาเกศเชษฐราช (พระเมืองเกษเกล้า)พ.ศ. 2068 - 2081 ครั้งที่ 1 การครองราชย์ครั้งแรกพระองค์ปกครองได้ 13 ปี พระองค์ก็ถูกยึดอำนาจจากพระโอรสของพระองค์คือ ท้าวซายคำ 13.ท้าวซายคำ           พ.ศ. 2081 - 2086 แต่ท้าวซายคำราชย์ได้แค่ 5 ปี ก็ถูกขุนนางปลดออกจากราชสมบัติ ก็ถูกลอบปลงพระชนม์โดยกลุ่มขุนนาง ด้วยข้อกล่าวหาว่าพระองค์ขาดความชอบธรรมในราชบัลลังก์  ต่อมาพญาเมืองเกษเกล้าได้ถูกอัญเชิญให้ขึ้นครองราชย์

พญาเกศเชษฐราช (พระเมืองเกษเกล้า) พ.ศ. 2086 - 2088 (2 ปี) ครั้งที่ 2 แต่พระองค์ครองราชย์ได้แค่ 2 ปี พระองค์ก็ทรงเสียพระจริต ก็ถูกแสนคราวเหล่าขุนนางไทใหญ่ลอบปลงพระชนม์ในปี พ.ศ. 2088 แผ่นดินล้านนาจึงว่างกษัตริย์และเกิดความแตกแยกถึงขั้นสงครามกลางเมือง ก่อนที่ยกพระนางจิรประภามหาเทวี พระอัครมเหสีในพระเมืองเกษเกล้า และพระราชมารดาในท้าวซายคำ ขึ้นเป็นกษัตรีย์พระองค์แรกในแผ่นดินล้านนา

14.พระนางจิรประภาเทวี พ.ศ. 2088 - 2089 (1 ปี)  ซึ่งในรัชกาลของพระนางหัวเมืองฝ่ายเหนือเกิดการระส่ำระสายเนื่องจากบ้านเมืองเกิดการแย่งอำนาจระหว่างขุนนางกับเจ้านาย บ้านเมืองอ่อนแอมีศึกสงครามขนาบทั้งทิศเหนือและใต้ ทั้งกองทัพพม่า และอยุธยา ซึ่งตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยาที่ยกทัพมาถึงเชียงใหม่

โดยต่อมาสงครามไทใหญ่ ในปีเดียวกันหลังจากกรุงศรีอยุธยายกทัพกลับไป กองทัพเมืองนายและเมืองยองห้วยจากรัฐฉานยกทัพมาล้อมเมืองเชียงใหม่ซ้ำร้ายได้เกิดแผ่นดินไหว เจดีย์หลวงรวมทั้งเจดีย์วัดพระสิงห์และวัดอื่น ๆ หักพังลงมาด้วย ซึ่งสร้างความยุ่งยากภายในเมืองมากขึ้น แต่สงครามครั้งนี้ข้าศึกได้ล่าถอยไป ต่อมาสงครามกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง เนื่องจากในปีนั้นมีข้าศึกมาติดพันอยู่ตลอดมหาเทวีจิรประภาจึงได้ขอกำลังจากล้านช้าง ซึ่งเป็นอาณาจักรของพระเจ้าโพธิสารราช พระชามาดา (ลูกเขย) ของพระนางเอง ซึ่งอาณาจักรล้านช้างกำลังเจริญรุ่งเรือง ซึ่งการรวมกันของล้านช้างและล้านนา ได้สร้างความหวั่นวิตกต่อสมเด็จพระไชยราชาธิราช โดยเฉพาะการแทรกแซงล้านนา กองทัพกรุงศรีอยุธยาจึงได้ขึ้นมาปราบเชียงใหม่เป็นครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2089 โดยเฟอร์ดินานด์ เมนเดส ปินโต นักเดินทางชาวโปรตุเกสได้บันทึกไว้

พระนางปกครองบ้านเมืองเพียงแค่เพียงปีเศษก็ได้สละราชบัลลังก์แก่ สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช พระราชนัดดา (หลานยาย)-พระอุปโย (หรือ พระไชยเชษฐา)  ซึ่งเป็นพระราชโอรสของกษัตริย์โพธิสารราชแห่งอาณาจักรล้านช้าง และภายหลังพระองค์และพระราชนัดดาได้เสด็จไปประทับในนครหลวงพระบางและมิได้นิวัติกลับมายังนครเชียงใหม่อีกเลยตลอดปลายพระชนม์ชีพ

(ปัจจุบันมีอนุสาวรีย์อยู่วัดโลกโมฬี ที่เดียวกับสถานที่ถ่ายทำฉากตำนานพระสุริโยไท ที่มีฉากดาราเพ็ญพักตร์ แสดงเป็นพระนางจิรประภาเทวี  ปัจจุบันมีอนุสาวรีย์พระเมืองเกษเกล้า ที่วัดโลกโมฬี ในอดีตเป็นพื้นที่สร้างกู่ถวายพระเมืองเกษเกล้าที่นี่ด้วย ในหนังมีฉากถวายบังคมสมเด็จพระไชยราชาธิราช ขอเป็นไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา)

15.สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช พ.ศ. 2089 - 2090 (1 ปี) ครองราชย์หนึ่งปี แล้วสมเด็จพระไชยฯ กลับหลวงพระบาง  ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองเชียงใหม่ด้วยขุนนางต่างสู้รบกัน ดังนั้นระหว่างปี พ.ศ. 2091-2094 จึงถือเป็นกลียุคของล้านนา ในที่สุดขุนนางเมืองเชียงใหม่เห็นว่าสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชทรงไม่เสด็จกลับมาแล้ว จึงได้อัญเชิญท้าวแม่กุเสวยราชย์ต่อไป ด้วยเหตุนี้พระไชยเชษฐาทรงเห็นว่าท้าวแม่กุครองราชย์โดยพระองค์มิชอบ จึงนำไปสู่การยกทัพไปตีเมืองเชียงแสนในปี พ.ศ. 2098 (ว่างกษัตริย์ พ.ศ. 2090 - 2094 :4 ปี)

16.พระเมกุฏิสุทธิวงศ์ (ท้าวเม่กุ)พ.ศ. 2094 - 2107 อดีตเจ้านายเมืองนาย และเป็นพระเจ้าเชียงใหม่ผู้สืบเชื้อสายมาจากพญามังราย   จากหลักฐานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าสภาพเศรษฐกิจของล้านนาค่อย ๆ เสื่อมทรามและทรุดลงตามลำดับ เนื่องจากปัญหาค่าเงินตกต่ำหรือที่เรียกว่าการ "ลัดเบี้ยลง" คือการลดค่าเงิน เนื่องจากปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งย่ำแย่มาตั้งแต่รัชกาลพระเมืองแก้ว เรื่อยมาจนถึงรัชกาลพระเมกุฏิสุทธิวงศ์ถือว่าเศรษฐกิจล้านนาอยู่ในระดับหายนะขั้นสุด(การตีความประวัติศาสตร์ล้านนา)

ตั้งแต่ พ.ศ. 2101 ปกครองภายใต้อำนาจพม่า จนถึงพระเจ้าเมกุฎิสุทธิวงศ์ (ท้าวแม่กุ) เป็นเวลายาวนานกว่า 260 ปี จนถึงยุคเสื่อม เมื่ออุปนิกขิต (สายลับ) ที่พระเจ้าบุเรงนองส่งมาฝังตัวเพื่อรายงานสถานการณ์ในเชียงใหม่ แจ้งกลับไปบอกว่าเชียงใหม่ถึงยุคเสื่อมสุดแล้ว ให้ยกทัพหงสาวดีมาชิงเมือง ดังนั้น ใน พ.ศ. 2101 พระเจ้าบุเรงนอง จึงยกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่

โดยทัพพม่าใช้เวลาเพียงสามวันก็สามารถยึดเมืองเชียงใหม่ได้โดยง่าย กษัตริย์เมืองเชียงใหม่ในขณะนั้น ได้หลบหนีไปยังเมือง"ปาไป่น้อย"หรือเมืองเชียงแสน ตามหลักฐานของจักรพรรดิจีนราชวงศ์หมิง อีกหกปีต่อมา พม่าก็ปลดพระเจ้าเมกุฎิสุทธิวงศ์ออกจากราชบัลลังก์ในข้อหาแข็งเมืองก่อการกบฏ ภายหลังอาณาจักรล้านนาได้พ่ายแพ้แก่พม่าในรัชสมัยพระเจ้าบุเรงนอง พระเมกุฏิสุทธิวงศ์จึงถูกนำไปเป็นองค์ประกันในพม่าก่อนพิราลัยที่นั่นด้วยโรคบิด

17.พระนางวิสุทธิเทวี พ.ศ. 2107 - 2121 ปกครองภายใต้อำนาจพม่า คือ พระเจ้าบุเรงนองจึงได้แต่งตั้งพระนางวิสุทธิเทวี อันเป็นเชื้อสายราชวงศ์มังรายอีกพระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์ พระนางครองเมืองเชียงใหม่  พระนางวิสุทธิเทวี เป็นขัตติยราชนารีพระองค์หนึ่งที่สำคัญพระองค์หนึ่งของอาณาจักรล้านนา และเป็นพระกษัตรีย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์มังราย ก่อนที่การปกครองอาณาจักรล้านนาจะตกไปสู่การปกครองของราชวงศ์ตองอู เป็นตัวอย่างผู้นำด้วย

 

ผู้นำสมาร์ท(Smart Leader)-การจัดการและนวัตกรรม(Innovation)

พระเจ้าติโลกราช เป็นพระมหากษัตริย์นักรบที่ทรงพระปรีชาสามารถได้แผ่ขยายอำนาจของกรุงราชธานีเชียงใหม่ไปทั่ว 57 หัวเมืองขึ้น ครอบคลุมทิศเหนือจรดเมืองเชียงรุ่ง (จิ่งหง) มณฑลยูนนาน ประเทศจีน เมืองเชียงตุง เมืองยอง (รัฐฉาน ประเทศพม่า) เมืองนาย เมืองไลค่า เมืองเจียงตอง เมืองปั่น เมืองยองห้วย เมืองสุ เมืองจีด เมืองกิง เมืองลอกจอก เมืองสีป้อ เมืองจาง รวมกว่า 11 เมืองทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน (รัฐฉาน พม่า) ทิศตะวันออกตีได้เมืองน่านจรดกับล้านช้าง ทิศใต้จรดขอบแดนอยุธยา แนว ตาก เถิน ศรีสัชนาลัย (สุโขทัย) ลับแล(อุตรดิตถ์) แพร่ น่าน พิจิตร(เมืองปากยม)อาณาจักรล้านนาในรัชกาลของพระองค์เป็นยุคทอง รุ่งเรืองสูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้รับการรับรองจากคนกลาง "โอรสแห่งสวรรค์"จักรพรรดิ์จีนแห่งราชวงศ์หมิง  ยกตัวอย่างพ.ศ.2022 พระเจ้าติโลกราช ก่อสร้างเป็นเจดีย์ 7 ยอด ณ วัดเจ็ดยอด

ซึ่งหลักฐานอ้างอิงได้ว่า เครื่องถ้วยสันกำแพงเริ่มทำในสมัยพระเจ้าติโลกราช จนถึงสิ้นราชวงศ์มังราย คือประมาณ พ.ศ.1984 ถึง พ.ศ.2101 นับเป็นสมัยทองของลานนาศิลปะเครื่องถ้วยสันกำแพงอยู่ได้ไม่นาน เพราะใน พ.ศ.2101 บุเรงนองเข้ามาตีเมืองเชียงใหม่ แล้วอพยพเอาบรรดาช่างฝีมือดีไปไว้ที่เมืองหงสาวดี

เชื่อว่าช่างทำเครื่องถ้วยสันกำแพงคงถูกวาดต้อนไปอยู่ที่นั่น ทำให้การทำเครื่องถ้วยที่สันกำแพงยุติลงและถูกทอดทิ้งให้ร้างไป(ลวดลายบนจานที่เขียนก็มีลักษณะคล้ายคลึงกับลวดลายของจีนในสมัยต้นๆ ของราชวงศ์ต้าหมิง ลายที่นิยมมากที่สุดและเป็นเอกลักษณ์คือลายปลาคู่ว่ายน้ำวนตามกันภายในวงกลม ซึ่งลักษณะเช่นนี้มาจากลายหยินหยางแบบจีน ส่วนลวดลายอื่นๆ ที่พบยังมีอีก เช่น ลายวงกลมซ้อนกัน ลายรูปสัตว์ในวงกลม และลายดอกไม้)จากนั้นผมยกตัวอย่างหนังตำนานสมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพมีอ้างเรื่องสามก๊ก(อ.เบน เปรียบเทียบหนังตำนานสมเด็จพระนเรศวร ฉากพระสุพรรณกัลยา ในหนังสือชุมชนจินตกรรมฯ) เป็นต้น

โดยผมได้เขียนเรื่องล้านนาในสยาม-สนธิสัญญาเบาว์ริง และผู้นำสมาร์ท(Smart Leader)(*) หลังยุคพระเจ้าตากสิน ทำให้ผมสนใจยุคสมัยยกตัวอย่างภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถวัดเมืองกาย อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทราสะท้อนให้เห็นถึงการเปิดเสรีทางการค้าของกรุงสยามที่มีมาตั้งแต่ช่วงก่อนสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง(**)จากนั้นอังกฤษเข้ามามีอิทธิพลในพม่า ต่อมาอิทธิพลอังกฤษ ในเชียงใหม่-สยาม

ครั้นแล้ว เราในปัจจุบันมองผ่านอิทธิพลของจีน ต่อภาพเครื่องถ้วยลายคราม(***) ตามภาพเปรียบเทียบประวัติศาสตร์-ปัจจุบันถ้วยพลาสติกตามภาพ มีอาหารกินบนรถไฟ และผมยกตัวอย่างสะท้อนประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม-นวัตกรรม จากมุมA History of the Thai-Chineseก็มีมุมมองต่อการจัดการและนวัตกรรม

(****) ซึ่งผมสนใจดูคลิปDartmouth's Jennifer Lind on "Chinese innovation and the global balance of power" เปรียบเทียบภาพการเดินทางไปจ.อุตรดิตถ์และพิจิตร ที่มีผู้คนเชื้อสายจีน

ดังนั้น MIT Security Studies Program มีการอธิบายเปรียบเทียบจีนกับสิงคโปร์ มีนโยบายอำนาจนิยมที่ฉลาด หรือ Smart Authoritarian Policy เปรียบเทียบไทย 21 เมษายน พุทธศักราช 2325 : ทำพิธีวางเสาหลักเมืองกรุงเทพฯ และ21 เมษายน พ.ศ.2521 (ค.ศ. 1978) - พรรคคอมมิวนิสต์อัฟกานิสถานปฏิวัติล้มล้างรัฐบาลของดาอูดข่าน จัดตั้งรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยอัฟกานิสถานที่อยู่ใต้อิทธิพลของสหภาพโซเวียต เปรียบเทียบช่วงยาวของเวลา ทำให้ผมยกตัวอย่างวันเวลาจาก21 เมษายน(*****)ด้วย

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ไทยรอจบเลือกตั้งสำหรับรัฐบาลใหม่ ในโลก ที่มีคลิปเสวนาManaging Chinas Rise Without War ว่าด้วยภาพอนาคตว่าด้วยการต่างประเทศต่อจีน โดย Asia Society Policy Institute Japan fellow สรุปอย่างย่อๆ เราบางคนตามข่าวก็จะเห็นว่าAI เข้ามาเกี่ยวข้องสงครามยูเครน-รัสเซียในยุคAI เปรียบเทียบวันนี้ในอดีต "วิกตอรีเดย์" หรือ “วันแห่งชัยชนะ” ของกองทัพสหภาพโซเวียต เหนือกองทัพนาซีเยอรมัน ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งตรงกับวันที่ 9 พ.ค. 2488 ตามภาพเปรียบเปรยอเมริกา-ยุโรปถึงรัสเซีย ที่เราต้องระวังสงครามโลกครั้งที่สามด้วย

 

*อรรคพล สาตุ้ม ล้านนาในสยาม-สนธิสัญญาเบาว์ริง และผู้นำสมาร์ท(Smart Leader)

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0PnMuxeMAHVRdojniVfjLrV6Q2eYtbNMaA8UsZDNRB44TiReZpooJ37tcYvKmDcCZl&id=100000577118415

**ย้อนอดีต จลาจลจีนตั้วเหี่ย เมืองฉะเชิงเทรา สมัยรัชกาลที่ 3 ชาวจีนล้มตายกว่า 3,000

https://www.silpa-mag.com/history/article_74866

***รู้จักตำนาน-ที่มา ของ “เครื่องถ้วยสันกำแพง”

https://www.matichonweekly.com/column/article_148335

ประวัติศาสตร์หัตถกรรมนวัตกรรมเครื่องถ้วยสันกำแพง

https://anyflip.com/jjchq/kddd/basic/51-100

****Alexander Franco ASEAN Journal of Management & Innovation  Vol. 2 No. 2, 101 –  105(July December 2015)    BOOK REVIEW  A History of the Thai-Chinese  Jeffrey Sng and Pimpraphai Bisalputra Singapore: Editions Didier Millet, 2015. (ผมยกตัวอย่างA History of the Thai-Chineseกล่าวถึงภูมิรัฐศาสตร์ ฯลฯ )

*****21 เมษายน พุทธศักราช 2325 : รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธีวางเสาหลักเมือง

https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_8473

วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2562

การสะสมความทรงจำ ว่าด้วยเมือง กาลเวลา เล่าภาพอุตรดิตถ์ พิจิตร ราตรีสวัสดิ์ กับหนังสือแล้วทำหนังสือPDFไว้เป็นมรดก

2 เมษา
การสะสมความทรงจำ มรดกโลก ปราสาทวัดภู ณ จำปาสัก(1)
เมื่อผมกลับมาจำปาสัก ณ ปราสาทวัดภู อีกครั้ง ทำให้ผมจำซ้ำให้ทบทวน(*) จากชุมชนในจินตนาการของผม เห็นความเป็นจริงของพื้นที่ปราสาทวัดภู หาเรื่องมาเล่ามุมใหม่ได้สัมผัสครั้งที่ 2 อย่างลึกซึ้งขึ้นดู แล้วก็มาทบทวนถึงละครจากตำนานวัดพู สู่วิจิตรจินตนาการ The Legend of VatPhuo…(**)…ท้าวบาเจียง บุตรชายหัวหน้าบ้านชาวเผ่า หลงรักนางมะโรง ซึ่งเป็นสาวสวยธิดาเศรษฐีชาวลาวลุ่มผู้หนึ่ง หากบิดาของนางเมามัวในทรัพย์สมบัติ และได้ตกลงใจมอบหมายนางให้ ท้าวจัมปาสัก บุตรชายของเจ้าเมืองลาวลุ่มอีกเมืองหนึ่งไปแล้ว
ดังนั้นในวันที่ท้าวบาเจียงจัดขบวนขันหมากของชาวเผ่าไปสู่ขอ ( โชว์ขบวนแห่ขันหมากชาติพันธ์ข่าบรู ) ท้าวบาเจียงจึงถูกหักหน้าอย่างร้ายกาจ ด้วยความคับแค้นและอับอาย ท้าวบาเจียงจึงสาปแช่งให้ความรักของนางมะโรงและท้าวจำปาสักเป็นความรักที่ทุกข์ทรมาน แล้วท้าวบาเจียงจึงโดดหน้าผาลงไปตาย และเมื่อนางมะโรงได้อยู่กินกับท้าวจัมปาสัก รักของคนทั้งสองจึงเป็นความรักที่เปี่ยมทุกข์ ในที่สุดนางมะโรงก็ไม่อาจทนอยู่ต่อไปได้ จึงไปโดดหน้าผาตรงที่ท้าวบาเจียงโดดหน้าผาตายไปก่อนหน้า…
… ณ เศรษฐปุระนคร เมืองเอกแห่งแว่นแคว้นเล็กๆนามเจนละ ริมฝั่งแม่น้ำโขง อีกหลายร้อยปีต่อมา จิตรเสน อนุชาต่างมารดาของกษัตริย์ผู้มีสถานะเป็นจอมทัพแห่งเศรษฐปุระ ได้นัดพบกับนางชยันธร บุตรสาวแสนสวย ของมหาปุโรหิตย์ ที่จะเป็นราชินีของเมืองนี้คนต่อไป เพื่อลานางไปในการศึกกับฟูนัน เมืองทางปลายแม่น้ำโขง หากในเงามืดนั้นกษัตริย์ภววรมันได้ซุ่มดูเหตุการณ์ทั้งหมดอยู่ และได้ตัดสินใจอะไรบางอย่าง
วันต่อมา นางชยันธร ในฐานะคู่รักของกษัตริย์ ก็มาส่งขบวนทัพเจนละ ( โชว์กระบวนยกทัพ เจนละ ) .. ตรีมูรติ.. เล่าต่อไปว่า กระบวนทัพเจนละได้เข้าโจมตีฟูนัน และทำให้ฟูนันอ่อนแอลงจนไม่สามารถล่องแม่น้ำโขงเข้ามาทำอะไรเจนละอีกต่อไป แต่เจนละ ที่ตั้งอยู่ลึกเข้ามาภายในแผ่นดินก็ไม่สามารถออกสู่ทะเลเปิดเพื่อไปค้าขายกับจีนได้
ดังนั้น เพื่อออกไปให้พ้นเส้นทางรักสามเส้า และหลุดพ้นไปจากคำครหาว่าจะเป็นกบฏชิงอำนาจพี่ชาย จิตรเสนจึงตัดสินใจ อาสายกกองทัพเรือเจนละ ออกไปสำรวจเส้นทางแม่น้ำมูลเพื่อหาทางออกทะเล หากสำหรับกษัตริย์ภววรมันพี่ชายเพื่อตอบแทนความดีของจิตรเสนผู้น้อง และเพื่อแสดงให้จิตรเสนเห็นว่าพระองค์มิได้ไยดีในความรักต่อนางชยันธร พระองค์จึงตัดสินใจส่งขบวนทัพเรือสำรวจแม่น้ำมูลของจิตรเสน ด้วยประเพณีอันยิ่งใหญ่คือการจัดการบูชายัญมนุษย์ขอพรต่อองค์พระศิวะ โดยผู้ที่พระองค์คัดเลือกให้เป็นหญิงบริสุทธ์ที่จะถูกบูชายัญนั้นก็คือ นางชยันธร นั้นเอง…
…อีกหลายร้อยปีต่อมา ราชครูหลวงยอดแก้วโพนสะเม็ก หรือ ยาคูขี้หอม นำเจ้าชายแห่งราชวงศ์ล้านช้างแห่งเวียงจันทน์หนีภัยคุกคามจากการแย่งชิงราชสมบัติมุ่งหน้าลงใต้ เมื่อมาถึงดินแดนจัมปาสัก ซึ่งในขณะนั้นมี นางแพง เป็นเจ้าเมืองชาวชนเผ่าเป็นผู้หญิงครอบครองเมืองอยู่ ในคราวนั้นผู้คนของราชครูหลวงและเจ้าเมืองหญิงคู่คี่ก้ำกึ่งกัน ราชครูหลวงได้เอ่ยปากหว่านล้อมให้เจ้าเมืองหญิงมอบอำนาจการปกครองให้กับเจ้าชายราชวงศ์ล้านช้าง
เจ้าเมืองหญิงตั้งคำถามขึ้นว่า เหตุใดตนจึงต้องยกเมืองจัมปาสักให้กับเจ้าชายแห่งล้านช้าง ราชครูหลวง จึงสำแดงให้เจ้าเมืองหญิงมองเห็นอดีตชาติที่เจ้าเมืองเคยเกิดเป็นนางมะโรง และนางชยันธร ซึ่งมีบาปเคราะห์ผูกพันมากับสองชายจนถึงวันนี้
.. หากพระนางยินดีถวายเมืองให้กับเจ้าชายแห่งล้านช้าง บาปเคราะห์ต่างๆที่ดำเนินมาร่วมกันหลายร้อยปีก็จะสิ้นสุด และพระนางจงออกถือเพศบรรพชิตบำเพ็ญภาวนาเพื่อความสงบสุขของตนเองในชาติภพหน้าสืบไป …จากละครสู่จินตนาการใหม่ของลาวในมรดกโลก ซึ่งนาฏกรรมรัฐซ้อนกับข้อมูลประวัติศาสตร์น่าสนใจความจริงยกตัวอย่างตัวละครที่มีตัวจริง คือ หลวงพ่อขี้หอม เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก(***)
อย่างไรก็ดี ผมถ่ายภาพปราสาท และบรรยากาศหลายรูป มีตั้งคำถามเล่นกับนศ.ชาย เมื่อพวกเค้าตื่นเต้นเห็นควาย ก็ควาย ภาษาลาวว่าไง? ก็ตอบกันได้ ซึ่งผมคิดถ่ายภาพไว้ ทั้งควายเผือก ควายดำหน้าปราสาทวัดภู ได้ผ่านพบกฏแห่งกรรม และการเวียนว่ายตายเกิดมาพบกันในชุมชนจินตกรรมที่นี่ เป็นการทบทวนความทรงจำจากปี2561(****) กรณีปีที่แล้ว มาตอนนี้มีละครไทยกรงกรรมด้วย
*ผมไปลาวเมื่อวันที่ 25 มีนา 62แล้วจะเล่าเขียนอีกครั้ง

**จากตำนานวัดพู สู่วิจิตรจินตนาการ The Legend of VatPhuo
http://oknation.nationtv.tv/blog/paradiso/2013/02/20/entry-1
(แสง สี เสียง ” THE LEGEND OF VAT PHOU 2013 “วิจิตรจินตนาการเริ่มแล้ว 20 – 25 กุมภาพันธ์ 2556 ณ วัดพู แขวงจำปาสัก สปป. ลาว เรื่องราวรักสามเส้า หนึ่งหญิงสองชาย ต่างเผ่าพันธุ์ ที่ก่อบาปรักเลือด ผูกพัน ข้ามภพ)
***สุจิตต์ วงษ์เทศ: หลวงพ่อขี้หอม เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก ผู้นำชุมชนและการเมืองสองฝั่งโขง

****เวลาแห่งความทรงจำ ณ ปราสาทวัดพู

2.3
ราตรีสวัสดิ์ อ่านหนังสือช่วยให้หลับสบาย(*) วันนี้2 เมษายน ประเทศไทย – วันสายใจไทย วันหนังสือเด็กแห่งชาติ วันอนุรักษ์มรดกไทย และวันรักการอ่าน และวันนี้ในอดีต2 เมษายน พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) – การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในไทย พ.ศ. 2549 ซึ่งภายหลังศาลตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ
1.ชุมชนจินตกรรมฯ(**) ภาพจากเน็ต ขายซ้ำ
เนื่องจากผมรีวิวหนังสือมาหลายรอบ ขอต่อยอดเล่าจากหนังสือชุมชนจินตกรรมฯ พิมพ์ปีเดียวกับพ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) – โรนัลด์ เรแกน ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา เสนอแผนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสกัดขีปนาวุธของศัตรู เรียกว่า ระบบป้องกันขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ (Strategic Defense Initiative) หรือ สตาร์วอร์ส(แน่ละเรื่องสตาร์วอร์ส มีบริบทมารกซิสม์อังกฤษอย่าง E.P. Thompson อีกจะยาว ลองค้นหาดูStar wars : self-destruct incorporated / E.P. Thompson and Ben Thompson) ซึ่งยุคปัจจุบัน ทรัมป์ก็ต้องมีวิชั่นแนวเรแกน(?)
แต่ผมจะใช้การเปรียบเทียบเพิ่มจากแนวการวิเคราะห์ของน้องอ.เบน คือ อ.Perry Anderson อ้างเหมาฯต่อวิเคราะห์ระบอบทักษิณ ดังที่ผมเคยกล่าวไปแล้ว ก็ไทย เปรียบเทียบกับชุมชนจินตกรรมฯ ที่อ.เบน(กล่าวถึงเหมาเจ๋อตงในจีน) เคยเขียนถึงกำเนิดชาตินิยมในเวเนซุเอลาอย่างที่เรารู้ต่อมาปัจจุบันสังคมนิยม ศตวรรษที่ 21 ผสมชาตินิยมแบบเวเนซุเอลาหลังยุคชาเวซ ซึ่งเวเนซุเอลาเคยเปิดสอนหลักสูตร “อุดมการณ์ชาเวซ” เล่าย่อๆ ต่อมามีปัญหาทางเศรษฐกิจ และการเมืองมาก คนอดยาก ฯลฯ ก็ไทยไม่ได้สไตล์ชาตินิยมแบบน่าจะเป็นแบบเวเนฯ ชวนให้ซวนเซแบบนั้น
2.ชุมชนในหมอกควัน ความรู้ ความจริง การจัดการไฟป่าที่หายไป(**) ขายซ้ำ เกาะกระแสหมอกควันเชียงใหม่
3.พเนจร(***) งานเขียนบทกวีของนักเขียนโนเบล นามเฮสเส ขายซ้ำ
…บนถนนแห่งความกล้าหาญนี้
สายลมพัดผ่าน ทิ้งพฤกษาใหญ่น้อยไว้เบื้องหลัง
ที่นี่ มีเพียงก้อนหินและตะไคร่เท่านั้น
ไม่มีสมบัติพัสถานใดๆ ไว้ให้ใครค้นหา
ที่นี่ ไม่มีใครได้เป็นเจ้าของ…
4.ตะวันตกที่…ตะนาวศรี
(บันทึกจากที่มั่นทางทหารแถบเทือกเขาตะนาวศรี)
5. Nation Buildingฯ(****) ขายซ้ำ
*หลับสบายขึ้น



**ชุมชนจินตกรรมฯ

ชุมชนจินตกรรมฯ

ดูเพิ่มเติมTrump must realize Reagan’s vision for Star Wars defense — and soon
http://thehill.com/opinion/national-security/369185-trump-must-realize-reagans-vision-for-star-wars-defense-and-soon
THE STRATEGIC DEFENSE INITIATIVE (SDI): STAR WARS
http://www.coldwar.org/articles/80s/SDI-StarWars.asp
***ชุมชนในหมอกควัน ความรู้ ความจริง การจัดการไฟป่าที่หายไป

****พเนจร

*****Nation Buildingฯ
6
การสะสมความทรงจำ มรดกโลก ปราสาทวัดภู ณ จำปาสัก(จบ)
เมื่อผมกลับมาจำปาสัก(*) ทบทวนความรู้หาเรื่องจำเล่าย้ำขยายความนิดหน่อยกับเรื่องดราม่า เป็นนาฎกรรม หรือละครจากตำนานวัดพู สู่วิจิตรจินตนาการ The Legend of VatPhuo จุดเริ่มต้น คือ เจ้าหน้าที่สาวสวยพิพิธภัณฑ์วัดภู นำนักศึกษากลุ่มหนึ่งทัศนศึกษาที่ปราสาทวัดภู ในช่วงหนึ่งนักศึกษาสาวคนหนึ่งก็ถามขึ้นว่า .. เอื้อย(แปลว่าพี่) มานำชมของเก่าๆ อยู่แบบนี้ทุกวัน ไม่รู้สึกเบื่อหรืออย่างไร .. เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์สาวก็ตอบว่า ..ก็เพราะเอื้อย มีความผูกพันอย่างลึกซึ้งกับสถานที่นี้อย่างไรละ เอื้อยจึงทำงานอยู่ที่นี้ได้อย่างมีความสุขที่สุด ..
แล้วการนำชม ก็ผ่านที่ต่างๆไปจนถึงชั้นบนสุด ขบวนผ่านรูป .. ตรีมูรติ .. ปราสาทประธาน ไปจนถึงหินบูชายัญรูปจรเข้ ฉับพลันเสียงดนตรีประหลาดก็ดังขึ้นอื้ออึง เจ้าหน้าที่สาวสวยนั้นหายไปเมื่อไรไม่มีใครรู้ ฉับพลันนักศึกษาสาวคนหนึ่ง ( นางเอก ) ก็เกิดอาการเห็นภาพหลอน และตกใจร้องหวีดเสียงดังสลบไป และในภวังค์แห่งการหมดสตินั้น นักศึกษาสาวก็ได้พบกับ ..ตรีมูรติ ..ที่มาปรากฏกายบอกเล่าให้หญิงสาวนักศึกษาได้รู้ว่า เพราะเธอเป็นผู้ที่มีความผูกพันกับสถานที่นี้มาแต่ในอดีตชาติอย่างล้ำลึก เธอจึงเป็นคนเดียวที่ได้พบกับ .. ตรีมูรติ .. นั้น และ .. ตรีมูรติ .. ก็เริ่มเล่าเรื่องในอดีตชาตินั้นให้เธอฟัง ณ ปราสาทวัดภู แล้วเรื่องก็วนมาจบที่บทสนทนากับเอื้อย(**)
กระนั้น ข้อสังเกตจากเรื่องเล่าละคร ทีไม่ได้เล่าต่อมาไม่ได้เฉลยปริศนามาเน้นเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก หรือหลวงพ่อขี้หอม มีปรากฏในวิทยานิพนธ์ของผมที่ยังดัดแปลงเป็นหนังสือไม่เสร็จมาจะสองปีแล้ว แต่ตำนานวัดพู สู่วิจิตรจินตนาการสำหรับผมจะยาวไป(***) แค่หลวงพ่อขี้หอม เป็นหนึ่งในตัวละครรักสามเส้าของนางแพงหรือไม่ ในยุคสามอาณาจักรหรือสามนคร(?)
โดยชุมชนจินตกรรมในประเพณีประดิษฐ์และรัฐนาฏกรรม(****) แล้วผมเล่าแบบที่2 สำหรับตอนที่2ของตอนจบ ก็แรงบันดาลใจจากอ่านซ้ำนิตยสารสารคดีที่บรรยายถึงที่นี่ คือ ท่องเที่ยว—เกี่ยวบุญปราสาทหินวัดภู หรือA Pilgrimage to Wat Phu มีเรื่องและภาพ(Story and Photos: Wiwat Pandawutiyanone) ซึ่งผมแปลจากภาษาอังกฤษเล่าย่อปราสาทหินวัดภู มีศิวลึงค์ของพระศิวะเป็นสัญลักษณ์ และการเล่าเรื่องข้อมูลทางประวัติศาสตร์ กับหลักฐานการขุดค้นโบราณคดี ซึ่งมีคล้ายแบบเรื่องเล่าข้อมูลตำนานวัดพู หรือปราสาทวัดพู โบราณสถานในแขวงจำปาสัก ประเทศลาว ที่รวมความศรัทธาของพุทธศาสนิกชนมาแต่โบราณกาล สร้างขึ้นเพื่อถวายพระศิวะ เมื่อ พุทธศักราช 893 – 943 ตั้งอยู่บนเนินเขาภู หรือเรียกกันว่า ภูควาย ห่างจากตัวเมืองเก่าจำปาสักประมาณ 6 กิโลเมตร ลักษณะของปราสาทเป็นเทวสถานขอม คล้ายกับ เขาพระวิหาร สร้างในราวพุทธศตวรรษที่ 12 ในสมัยของพระเจ้ามเหนทรวรมัน(หรือพระเจ้าจิตรเสน จากตำนานวัดพู สู่วิจิตรจินตนาการ The Legend of VatPhuo)
ในอดีตที่ตั้งของวัดพู เคยเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และแหล่งอารยธรรมโบราณถึง 3 สมัยด้วยกัน คือ อาณาจักรเจนละในช่วงศตวรรษที่ 6-8 ค้นพบจารึกกล่าวถึงการฆ่าคนเพื่อบูชาแด่เทพเจ้า ต่อมาเป็นยุคของอาณาจักรขอมสมัยก่อนเมืองพระนคร ที่เลือกบริเวณนี้เป็นที่สร้างปราสาทหินในราวศตวรรษที่ 9 และสุดท้ายอาณาจักรล้านช้างได้เปลี่ยนเทวาลัยในศาสนาฮินดูให้เป็นวัดในพุทธศาสนานิกายเถรวาท
สิ่งที่โดดเด่นสะดุดตาแก่ผู้พบเห็นคือภูเขาด้านหลังปราสาทที่ตั้งเด่นตระหง่านมองเห็นแต่ไกล รูปร่างคล้ายนมของผู้หญิงและคนเกล้ามวยผม ซึ่งเป็นที่มาของชื่อภูผาแห่งนี้ว่าเขานมสาว แต่ชาวบ้านนิยมเรียกภูเกล้ามากกว่า
อาณาเขตของปราสาทวัดพู เริ่มต้นจากริมฝั่งแม่น้ำโดยมีบันไดทางขึ้นลดหลั่นกันขึ้นมา 3 ชั้น จนถึงองค์ประธานของปราสาทซึ่งอยู่ชั้นบนสุด นอกเขตวัดมีบารายขนาดใหญ่ ซึ่งในสมัยโบราณใช้เป็นที่แข่งเรือและที่สรงน้ำสำหรับพิธีกรรมต่างๆ(*****)
แต่ว่าวิธีการเล่าเรื่องยกตัวอย่างเกร็ดเรื่องเล่าหินชิ้นหนึ่งหงายหน้าขึ้น ชื้นหนึ่งคว่ำลง คนมาทำบุญเรียกว่า ผู้หญิงนอนหงาย ผู้ชายนอนคว่ำ และวิธีเขียนท้าทายข้อเท็จจริงด้วยเรื่องเล่าจากคนท้องถิ่นที่ให้ข้อมูลต่างจากนักประวัติศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ศิลป์ นักโบราณคดี และคนลาวท้องถิ่น ให้ข้อมูลรอบด้านตรวจสอบข้อมูล(ถ้าอีกแบบเป็นหลักการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า)โดยนักเขียนสารคดีและช่างภาพคนเดียวกันตามที่เขาเล่าตามภาพประกอบ ซึ่งผมเล่าซ้ำแล้วจะเล่าขยายความเพิ่มตามสไตล์ผมเป็นภาษาไทย คือ ท่องเที่ยว—เกี่ยวบุญปราสาทหินวัดภู(******)
ซึ่งปราสาทหินวัดภู เมืองจำปาสัก ถือเป็นสัญลักษณ์อันโดดเด่นของดินแดนลาวตอนใต้ เป็นร่องรอยความเจริญงอกงามทางศิลปวัฒนธรรมที่เกิดขึ้น ณ บริเวณนี้เมื่อกว่า ๑,๕๐๐ ปีล่วงมาแล้ว วันเพ็ญเดือนสาม หรือมาฆบูชาของทุกปี พุทธศาสนิกชนสองฝั่งโขง จะหลั่งไหลมาทำบุญไหว้พระที่วัดภู บางคนเดินทางมาไกลจากเวียงจันทน์ สะวันนะเขต ผู้เฒ่าบางคน ไปนมัสการพระธาตุพนมก่อน แล้วจึงมาวัดภู ตามแบบแผนบุญจาริกซึ่งปฏิบัติสืบทอดกันมา ตลอดวันขึ้น ๑๓-๑๔ ค่ำ ผู้คนจะนำหมากเบงหรือพานบายศรี ดอกไม้ธูปเทียน ไปไหว้บูชารูปเคารพตามจุดต่าง ๆ ตั้งแต่เชิงเขาขึ้นไปยังเทวาลัยบนภูเขา เป็นต้น
โดยผมเล่าย่อๆ สารคดีเชิงประวัติศาสตร์เล่าเรื่องการเดินทาง อารมณ์ความรู้สึก เชิงภาคสนามของนักมานุษยวิทยา และผมยกตัวอย่างจากอาณาจักรเจนละ มาตามภาพวัดภูจำปาสัก ต่อมาคนเขียนเล่าถึงนักท่องเที่ยว ซึ่งต้องการสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เพื่อเป็นจุดหมายของการเดินทางแสวงบุญในโลกยุคใหม่ และคนพื้นเมืองที่ใช้สถานภาพนี้ในการเชื่อมโยงอัตลักษณ์ของคนกับโลกที่กว้างขวางขึ้นจากระบบการรับรู้เดิม
นักวิชาการฝรั่งเองก็พาดพิงถึงนักท่องเที่ยวว่า “การแสวงหาประเพณีเพื่อการท่องเที่ยวในยุคใหม่ นักท่องเที่ยวจะมีแผนที่ประเพณีในรอบปีของประเทศนั้นๆ ซึ่งแต่ละคนจะเลือกไปที่ตัวต้องการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนในจินตนาการ” เป็นต้น
ซึ่งการประดิษฐ์มรดกโลก ในระบบทุนนิยม และชุมชนจินตกรรม หรือ ชุมชนในจินตนาการ จากคราวที่แล้วผมเคยมาที่นี่เขียนถึงที่นี่ เจอไกด์ครั้งก่อนเป็นผู้หญิง และไกด์ครั้งนี้เป็นผู้ชาย เมื่อไกด์บอกเรื่องการร่วมบูรณะจากอินเดีย ตามภาพมีการซ่อม และการวาดภาพเขียนรูปเก็บข้อมูล ต่างๆ ซึ่งต่อมาการอธิบายตรงที่บูชายัญรูปจระเข้ เน้นมีรูปลักษณะปลาซ้อนทับซ่อนอยู่ด้วย ต่างจากครั้งที่แล้ว รายละเอียดข้อสันนิษฐาน ตีความกันไปได้ โดยเล่าสนุกก็นศ.บางคนบอกชาติที่แล้วอาจจะเป็นปลาอยู่ในน้ำของบาราย ก็ได้
เมื่อไกด์บอกเรื่องการร่วมบูรณะจากอินเดีย ตามภาพมีการซ่อม และการวาดภาพเขียนรูปเก็บข้อมูล ต่างๆ แล้วความจริงสำหรับผมการสะสมความทรงจำของผม ตามภาพได้คุยสนทนาภาษาอังกฤษกับฝรั่งนิดหน่อย เนื่องจากสงสัยว่าฝรั่งชาติอะไร ผมก็ใส่เสื้อยืดเคสวิส แล้วฝรั่งคนเป็นแม่บอกชาวสวิส พาลูกน้อยมาเที่ยวสองคน และผมบังเอิญเจอกลุ่มคนไทยกับคนลาว นักธุรกิจได้คุยกัน ซึ่งเค้าชวนคุยเรื่องการเมือง เลือกตั้ง เห็นว่ามาจากเชียงใหม่เมืองเสื้อแดง เล่าย่อเท่านี้
อย่างไรก็ดี การสะสมความทรงจำ มรดกโลก ปราสาทวัดภู ณ จำปาสัก โดยมุมชุมชนจินตกรรมในประเพณีประดิษฐ์และรัฐนาฏกรรม เปรียบเทียบมาไทย ในมุมรัฐนาฎกรรม(*******) ซึ่งเรื่องเล่าการเดินทางครั้งใหม่ และเล่าใหม่ย่อต่อภาพสะท้อนความจริงวันที่ไปเห็นมรดกชาติในมรดกโลก
*การสะสมความทรงจำ มรดกโลก ปราสาทวัดภู ณ จำปาสัก(1)

(เล่าขยายความผ่านมาหนึ่งปีผมก็ไม่ได้เขียนงานวิชาการ สัญลักษณ์เกี่ยวกับจระเข้ ที่ปราสาทวัดพู และทำโฟโต๊บุ๊ค
ฯลฯ ที่เคยเขียนไว้)
**จากตำนานวัดพู สู่วิจิตรจินตนาการ The Legend of VatPhuo
http://oknation.nationtv.tv/blog/paradiso/2013/02/20/entry-1
“มรดกโลกที่วัดพู” ฟื้นฝอยหามรดกยุคอาณานิคมของอินโดจีนแห่งฝรั่งเศส
http://lek-prapai.org/home/view.php?id=5010
(บทความมรดกโลกที่วัดพู ก็สรุปโดยย่อวิจารณ์การแสดงตำนานวัดพู และการจัดแสดงนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์ปราสาทวัดพู มีแผนที่ต่างๆ ซึ่งผมถ่ายไว้ไม่ดีไม่ได้เผยแพร่ ส่วนวัตถุห้ามถ่ายภาพ)
***ตำนานการสร้างวัดภู ฉบับพื้นบ้านว่าเป็นพญากำมะทา ผู้เป็นเจ้าเมืองได้สร้างปราสาทวัดภูแข่งกับการก่อสร้างพระธาตุพนม เปรียบเทียบกับข้อเท็จจริงเรื่องหลวงพ่อขี้หอม บูรณะพระธาตุพนม ก่อนมีรัฐชาติพรมแดนปัจจุบันเขตแดนสยามไทยแลนด์ และตำนานเล่าขานตีความต่อมาตอนพระธาตุพนมถล่มสื่อนัยยะต่อลาว และละครตำนานวัดภูมีการสู้รบ ประเทศไทยเราไม่น่าจะต้องรบกัน
****ชุมชนจินตกรรมในประเพณีประดิษฐ์และรัฐนาฏกรรม: การพัฒนากรอบความคิด
http://www.spss.up.ac.th/th/main/devbyid/30
*****ตำนานรัก…แห่ง”จำปาสัก”อลังการงาน”บุนวัดพู2013″
https://www.thairath.co.th/content/319456
******สารคดี ภูเก็ต ๒๐๐๑ ฉบับที่ ๑๙๑ เดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
http://sarakadee.com/feature/2001/02/index.htm
http://sarakadee.com/feature/2001/02/wat_phu_en.htm
สารคดีปกภูเก็ต ฉบับที่ ๑๙๑ เดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔

เขาใช้อ้างหนึ่งในเอกสารประกอบการเขียน คือ วิทยานิพนธ์:พื้นที่และความหมายของการท่องเที่ยวในเมืองหลวงพระบาง โดย ภัทรพงศ์ คงวิจิตร ดูเพิ่มเติมวิทยานิพนธ์ได้(ดูเพิ่มเติมการถ่ายภาพและช่างภาพ )ซึ่งผมเคยเขียนเล่าไว้บ้างสมัยผมเขียนงานในนิตยสารVoteฯ http://digi.library.tu.ac.th/thesis/so/0189/01%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87.pdf
ดูเพิ่มเติมเปรียบเทียบเรื่องลาว ใน VOTE MAGAZINE

(มีโอกาสผมจะเขียนถึงมีภาพแผนที่แสดงอาณาเขตหัวเมืองด้านลาวในรัชสมัยร.3 ล้านนาถือว่าเป็นเขตลาวต่มาประกาศเปลี่ยนชื่อมณฑลลาวเฉียงเป็นมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ มณฑลลาวพวนเป็นมณฑลฝ่ายเหนือ มณฑลลาวกาวเป็นมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น “มณฑลอีสาน”ที่ตั้งศูนย์บัญชาการมณฑลนครจำปาศักดิ์)
Nation Buidingฯเรื่องลาว

ลาวในเมืองไทย กลุ่มชาติพันธุ์ที่คลุมเครือ
http://lek-prapai.org/home/view.php?id=790&fb_comment_id=924956994289405_1264631136988654&fbclid=IwAR3YFOe07hIf3PwFuUZaAMu7viqcL_uXLIGDUhig7czQX-yHCe24QeC2QUE
*******เกษียร เตชะพีระ: เลือกตั้ง 62 คือภาพสะท้อนนาฏกรรมโกลาหลในหมู่ชนชั้นนำ
https://prachatai.com/journal/2019/03/81670
(นิยามเป็นยี่เกหรือลิเก)
ดูเปรียบเทียบเรื่องแนวคิดรัฐนาฎกรรมในนิธิ เอียวศรีวงศ์ : ประชาชนในรัฐนาฏกรรม (1)

มองรัฐนาฎกรรมผ่านเวสสันดรชาดกและการเมืองพิธีกรรมกับแคทเธอรีน บาววี่
https://prachatai.com/journal/2014/11/56322
“มุงดู” นิทรรศการแสดงหลักฐานของพวกคอมมิวนิสต์
https://www.museumsiam.org/uat/m/da-detail2.php?MID=3&CID=177&CONID=3046
(ข้อสังเกตเพิ่มเติมของผม ไม่มีแผนที่ ? ซึ่งยกตัวอย่างผมกล่าวถึงบ่อยแผนที่คนรูปคอมฯ อมแผนที่ไทย และมีแผนที่ยุทธศาสตร์รูปตัวแอลของพคท. คือ แผนการ “ตัด” (“ปลดปล่อย””)ภาคอีสานออกจาก การควบคุมของกรุงเทพก่อน)
6.3
ราตรีสวัสดิ์ อ่านหนังสือช่วยให้หลับสบาย(*) วันนี้วันจักรีตรงกับวันที่ 6 เมษายนของทุกปี
1.ร่มเกล้าจักรีวงศ์
หนังสือบรรยายประวัติศาสตร์ จากร.1ถึงร.9 ภาพรวมเหตุการณ์สำคัญ ศิลปกรรมและวรรณกรรม ฯลฯ พร้อมภาพประกอบเล่าผ่านภาพเก่าเล่าสมัยร.1 ยกตัวอย่างสมัยร.2 มีเหตุกับกัมพูชา เมื่อเกิดเหตุขึ้นครั้งนั้นพระเจ้าเวียตนัมยาลองเห็นได้ช่อง ก็แต่งราชทูตให้เชิญพระราชสาส์นเข้ามายังกรุงเทพ ฯ ในราชสาส์นใช้ถ้อยคำอ่อนหวานเป็นทางไมตรี แต่ส่วนข้อความนั้นอ้างว่า เพราะเมืองเขมรเคยพึ่งทั้งไทยและญวนมาแต่ก่อนพระเจ้ากรุงสยามเสมือนเป็นบิดา และพระเจ้าเวียตนัมเสมือนเป็นมารดาของเจ้ากัมพูชา บัดนี้สมเด็จพระอุทัยราชามีความผิดต่อบิดา ไปอ้อนวอนให้มารดาช่วยขอโทษก็มิรู้ที่จะทอดทิ้งเสียได้ จึงมีพระราชสาส์นมาขอพระราชทานโทษ
ต่อมามีเหตุที่นครจำปาศักดิ์ อ้ายสาเกียดโง้ง ตั้งตัวเป็นผู้วิเศษมาตีเมือง เจ้าหมาน้อย เจ้าเมืองจำปาศักดิ์ต้องหลบหนีมาอุบล ทางกรุง(เทพฯ) ทราบข่าว จึงโปรดให้พระยานครราชสีมา และเจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันทน์ยกทัพไปปราบปรามได้สำเร็จ
กรณีอังกฤษ John Crawfurdผู้ว่าฯ สิงคโปร์ มาทำสนธิสัญญา มีปัญหาล่ามแปล และนำคนมาวัดร่องน้ำเจ้าพระยา เพื่อทราบพืชพันธุ์ต่างๆ ไทยเข้าใจว่าอังกฤษ เตรียมการจะนำเรือใหญ่เข้ามายึดกรุงเทพฯ เป็นเมืองขึ้น
ต่อมาสมัยร.4 ที่วัดโสมนัสวิหาร มีฝรั่งเข้ามายิงนก…จึงขอให้ฝรั่งออกไปยิงนกเสียที่อื่น หรือการตั้งเมืองและแปลงชื่อเมืองขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย… เมืองวาริชภูมิ(บ้านปลาเป้า) เมืองมหาสารคาม (บ้านลาสกายางใหญ่)เมืองขึ้นในกรมพระกลาโหม คือ เมืองประจวบขิรีขันธ์ (บ้านคลองบางนางรม หรือ เมืองคลองวาฬ)
อย่างไรก็ดี ผมเล่าย่อรีวิวข้อมูลเรื่องเสียดินแดนจากร.4 ถึงร.5 ต่อมาปฏิรูปมณฑลเทศาภิบาล (วิกิพีเดียบอกว่า5 เมษายน พ.ศ. 2442 (ค.ศ. 1899) – ประกาศเปลี่ยนชื่อมณฑลลาวเฉียงเป็นมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ มณฑลลาวพวนเป็นมณฑลฝ่ายเหนือ มณฑลลาวกาวเป็นมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น “มณฑลอีสาน” ที่ตั้งศูนย์บัญชาการมณฑลนครจำปาศักดิ์) ซึ่งมณฑลเทศาภิบาล หาดูข้อมูลได้ในเน็ต
2.ผู้นำนิโกร อเมริกัน ดร.มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์
หนังสือประวัติชีวิตของเขา”ข้าพเจ้ามีความฝันว่า วันหนึ่งประเทศนี้จะลุกขึ้นยืนหยัดและจรรโลงความหมายที่แท้จริงของบทบัญญัติแห่งความเท่าเทียมกันของมนุษย์”
คือคำกล่าวของ ดร. มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ที่ขึ้นต้นด้วยประโยคว่า “I Have a Dream” หรือ “ข้าพเจ้ามีความฝัน” ในสุนทรพจน์ที่กล่าวไว้ระหว่างการเดินขบวนครั้งใหญ่ในกรุงวอชิงตัน เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พุทธศักราช 2506 หรือ ค.ศ 1963 กลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้คนหลายล้านคน และยกระดับสังคมอเมริกันในด้านสิทธิพลเมืองมายาวนาน
ก่อนหน้านี้ สาธุคุณ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ (Martin Luther King Jr.) เริ่มเป็นที่รู้จักในปี ค.ศ 1955 เมื่อทำหน้าที่เป็นผู้นำการคว่ำบาตรรถโดยสารประจำทางในเมืองมอนท์โกเมอรี (Montgomery) รัฐอะลาบามา (Alabama) เพื่อกดดันให้ยุติการแบ่งแยกที่นั่งตามสีผิวของผู้โดยสาร
จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิพลเมืองในอเมริกา ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1950 – 1960
วิถีชีวิต การทำงาน และสุนทรพจน์หลายครั้งของ ดร. มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ กลายเป็นแบบอย่างและทรงพลังมาตลอด โดยเฉพาะการเดินขบวนเมื่อปี พ.ศ. 2506 ที่ถือเป็นเหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์ ที่มีส่วนเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าอเมริกา ที่ ดร.มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ เป็นผู้นำการเรียกร้องสิทธิความเป็นพลเมือง เรียกร้องโอกาสและความเท่าเทียม โดยไม่แบ่งแยกหรือกีดกันสีผิว
ดร. มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี ค.ศ 1964 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่ อดีตปธน. ลินดอน จอห์นสัน (Lyndon Johnson) ลงนามในร่างกฏหมายสิทธิพลเมือง เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมในหมู่พลเมืองอเมริกัน
ดร. มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ถูกลอบสังหารเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ.2511 หรือ ค.ศ 1968 ที่เมืองเมมฟิส (Memphis) รัฐเทนเนสซี (Tennessee) ขณะกำลังเดินทางไปช่วยพนักงานเก็บขยะ ประท้วงหยุดงานเพื่อเรียกร้องค่าจ้างที่เท่าเทียม
โดยเขาได้กล่าวสุนทรพจน์ปลุกใจที่มีชื่อว่า “ข้าพเจ้าได้ไปถึงยอดเขา” (I’ve Been to The Mountain Top) ซึ่งจะเป็นสุนทรพจน์สุดท้ายของเขา
3.ประวัติศาสตร์ชาวนา(**)
4.มณี พยอมยงค์ วัฒนธรรมล้านนาไทย ขายซ้ำ(***)
5.พเนจร(****) งานเขียนบทกวีของนักเขียนโนเบล นามเฮสเส ขายซ้ำ
…บนถนนแห่งความกล้าหาญนี้
สายลมพัดผ่าน ทิ้งพฤกษาใหญ่น้อยไว้เบื้องหลัง
ที่นี่ มีเพียงก้อนหินและตะไคร่เท่านั้น
ไม่มีสมบัติพัสถานใดๆ ไว้ให้ใครค้นหา
ที่นี่ ไม่มีใครได้เป็นเจ้าของ…
6. Best American Poetry 1996ภาพจากเน็ต
ผมมารีวิวแนะนำเพิ่มเติมยกตัวอย่างบทกวีTell Me, What Is the Soul
There is a prison room,
the floor, cement,
in the middle of the room
a black pool full of black water.
It leads to an invisible canal.
Plunder is the pool. Plunder is the canal.
By the wall,
by a fire,
Mandelstam was reciting,
in his yellow leather coat,
the criminals were listening,
they offered him
bread and the canned stuff, which he took…
— Jean Valentine(*****)
7. ชุมชนในหมอกควัน ความรู้ ความจริง การจัดการไฟป่าที่หายไป(******) ขายซ้ำ เกาะกระแสหมอกควันเชียงใหม่
ทรอตสกี้ อดีตพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย ผู้มีวาทะ…การขยายตัวและหดตัวของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเหมือนการหายใจเข้าออกของมนุษย์…ตอนนี้ทุนข้ามชาติ การเผาไร่ ปลูกข้าวโพด จากทุนข้ามพรมแดน ทำร้ายไม่ใช่แค่เฉพาะเผาจากเชียงใหม่เท่านั้น แต่อย่าลืมล่ารายชื่อปลดผู้ว่าฯชม.กรณีหมอกควัน ด้วย
อย่างไรก็ตาม อย่าเชื่อวาทกรรมทหารจากเผาบ้านเผาเมืองมาเป็นเผาป่าโยงการเมือง ต่อต้านนายกฯ ทหาร แล้วเราควรจะเชื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วนในเจ็ดวันของนายกฯ ทหาร ได้หรือ?
8.โทริยาม่า อากิระขายซ้ำ(*******) เนื่องจากเมื่อวานวันคล้ายวันเกิด อะกิระ โทะริยะมะ นักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่น
*หลับสบายขึ้น


**ประวัติศาสตร์ชาวนา

***มณี พยอมยงค์ วัฒนธรรมล้านนาไทย ขายซ้ำ

วัฒนธรรมล้านนาไทย

****พเนจร

*****Tell Me, What Is the Soul
http://www.jeanvalentine.com/poems/soul.html
ลองอ่านเพิ่มเติมและฟังเสียงอ่านบทกวีของJean Valentineในเว็บของเธอ
http://www.jeanvalentine.com/poems1.html
Best American Poetry 1996

******ชุมชนในหมอกควัน ความรู้ ความจริง การจัดการไฟป่าที่หายไป

*******โทริยาม่า อากิระขายซ้ำ
9. 2
การสะสมความทรงจำ ในจำปาสัก สู่ชุมชนจินตกรรมชาติ
เมืองนครกาลจำปากนาคบุรีศรี เป็นชื่อเดิม ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็นนครจำปาศักดิ์ ซึ่งเมืองนี้ มีแม่น้ำเซโดน หรือแม่น้ำสองสี เป็นสายน้ำจากแม่น้ำเซโดนที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง จึงทำให้ความแตกต่างของสีของสายน้ำเซโดนที่มีสีออกน้ำตาล มาบรรจบกับสายน้ำโขงที่มีสีออกสีเขียว โดยผมได้กลับมารำลึกความทรงจำ ที่เมืองนี้อีกครั้ง
ซึ่งผมไม่ได้เขียนยาวจากข้อมูล นางแพงเจ้าเมืองจำปาศักดิ์(*) จึงได้อาราธนาพระครูยอดแก้ว มาปกครองบ้านเมืองแทน แต่ไม่นานต่อมาพระครูก็ให้คนไปเชิญเอาเจ้าหน่อกษัตริย์ มาทำพิธีอภิเษกเป็นกษัตริย์ครองนครจำปาศักดิ์ในปี พ.ศ. 2257 ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร(**) พระองค์จึงได้ประกาศอาณาเขตแยกออกจากเวียงจันทน์ นับตั้งแต่เมืองมุกดาหาร เมืองนครพนม เมืองสุวรรณภูมิ เมืองยโสธร เป็นต้น
โดยไทยปกครองลาวและภาคอีสานทั้งหมด ปลายแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช(***) ไทยปกครองลาวเป็น ๓ ส่วน คือ แคว้นหลวงพระบาง แคว้นเวียงจันทน์ และแคว้นจำปาศักดิ์ แต่ละแคว้นไม่ขึ้นแก่กันขึ้นกับกรุงเทพฯ ช่วงปลายรัชกาลที่ ๒ เกิดกบฏสาเกียดโง้งในปี พ.ศ. ๒๓๖๒ เป็นกบฏของชาวข่าในพื้นที่ภาคใต้ของลาว เจ้าหมาน้อย เจ้าเมืองจำปาศักดิ์ต้องหลบหนี ต่อมากองทัพของเวียงจันทน์โดยการนำของเจ้าราชบุตรโย่ (ราชบุตรองค์ที่ ๓ ของเจ้าอนุวงศ์) ปราบกบฏข่าลงได้
ซึ่งวันเวลาต่อมา มีผู้เขียนถึงสงครามเจ้าอนุวงศ์โดยใช้เอกสารชั้นต้นแบบผลงานบุกเบิก และผมจะเล่าต่อย่อๆเกิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๖๙-๗๑ ต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ (๒๓๖๗-๙๔) เป็นประวัติศาสตร์ตอนที่สำคัญมากทั้งในประวัติศาสตร์ไทยและในประวัติศาสตร์ลาว…
สาเหตุของความพ่ายแพ้ของเจ้าอนุวงศ์…ทรงรู้เฉพาะกำลังฝ่ายตน แต่ทรงไม่รู้กำลังฝ่ายศัตรูคือฝ่ายไทย ประเมินผิดในฝ่ายที่พระองค์ทรงคิดว่าเป็นพันธมิตรของพระองค์ คือญวน หลวงพระบาง เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ และน่าน ดังจะวิเคราะห์เป็นข้อๆ ดังนี้
๑. เจ้าอนุวงศ์ทรงประเมินกำลังฝ่ายไทยผิด คิดว่าแม่ทัพนายกองรุ่นใหม่ๆ ที่เก่งๆ คงจะมีน้อยกว่าแม่ทัพนายกองรุ่นเก่าสมัยรัชกาลที่ ๑ ซึ่งเป็นการประเมินที่ผิด สงครามเจ้าอนุวงศ์ทำให้เห็นแม่ทัพไทยที่เก่งกาจกล้าหาญหลายคน อาทิ กรมหมื่นนเรศโยธี แม่ทัพหน้าบริเวณลุ่มน้ำชีตอนต้น เจ้าพระยาราชสุภาวดี แม่ทัพไทยด้านอีสานกลาง อีสานตะวันออก และพระยาเพชรพิไชย แม่ทัพหน้าลุ่มน้ำป่าสัก
๒. เจ้าอนุวงศ์ทรงประเมิน “พันธมิตร” ของพระองค์ผิดพลาดไปหมด ทรงคิดว่า “ลาวพุงดำ” อันประกอบไปด้วย เชียง ใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ และน่านจะเข้าช่วยพระองค์ พระองค์ทรงส่งทูตไปชักชวนลาวพุงดำเหล่านี้ ซึ่งเป็นลาวด้วยกัน ไทยปกครองแบบประเทศราชตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๑๗ ก่อนไทยปกครองล้านช้าง ๕ ปี บางเมือง เช่น น่านมีความสนิทสนมกับเจ้าราชบุตรเหง้าของเจ้าอนุวงศ์มากขนาดดื่มน้ำสาบานเป็นเพื่อนแท้กันมาแล้ว สำหรับหลวงพระบางเจ้าอนุวงศ์ก็ส่งทูตไปเกลี้ยกล่อมมาเป็นพวก ถึงแม้จะเคยขัดแย้งกันมาก่อนหน้านั้นหลายครั้งกับเวียงจันทน์ แต่เจ้าอนุวงศ์ทรงมองหลวงพระบางในแง่บวกคิดว่า คราวนี้เป็นศึกระหว่างลาวกับไทย
อย่างไรเสียหลวงพระบางกับเวียงจันทน์ก็เป็นลาวด้วยกัน อย่างไรเสียน่าจะช่วยลาวมากกว่าไปช่วยไทย เจ้าอนุวงศ์ทรงสนิทสนมกับปลัดจันทา ปลัดน้อยยศ ๒ คนนี้เป็นปลัดกองเมืองสระบุรี เป็นลาวพุงดำ ปลัด ๒ คนนี้ไปเกลี้ยกล่อมหัวเมืองล้านนาทั้งหามาช่วยเวียงจันทน์หลายครั้ง ส่วนเมืองน่านก็มีหนังสือไปบอกให้เมืองแพร่ ลำปาง เชียงใหม่ยกทัพมาช่วยเวียงจันทน์ตีกรุงเทพฯ
โดยในหนังสือนั้นบอกว่าให้ยกทัพมาช่วยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งถูกกรมพระราชวังบวรฯ แย่งชิงอำนาจ แต่ล้านนาก็มิได้ตกหลุมพรางง่ายๆ เพราะการเป็นกบฏต่อไทยเป็นเรื่องใหญ่มาก ไทยมีประเทศราชมาก ไทยจะเกณฑ์หัวเมืองประเทศราชที่เหลือมาปราบกบฏเหมือนที่กำลังทำต่อเวียงจันทน์ ประเทศราชใดไม่มาช่วยตามคำสั่งของรัฐบาลไทยก็ถือเป็นกบฏไปด้วย ดังนั้นทางที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับประเทศราชก็คือ อยู่ฝ่ายไทย แต่ก็อยู่ฝ่ายไทยอย่างฉลาดคือยกทัพไปเวียงจันทน์แต่ไปอย่างช้าที่สุด เมื่อไปถึงไทยก็ยึดเวียงจันทน์เรียบร้อยแล้ว ส่วนหลวงพระบางก็เข้ากับฝ่ายไทยเหมือนล้านนา
กล่าวโดยสรุปพันธมิตรที่เจ้าอนุวงศ์ทรงคาดหวังว่าจะอยู่ฝ่ายพระองค์เมื่อตอนเริ่มต้นของสงคราม แต่ต่อเมื่อเคลื่อนทัพไปไกลแล้วก็ทรงพบว่าหลวงพระบางและ ๕ หัวเมืองล้านนาไม่มีทีท่าชัดเจนว่าจะอยู่ฝ่ายพระองค์ พระองค์จึงทรงขอร้องให้หัวเมืองล้านนาทั้งห้าวางตัวเป็นกลาง พระองค์ก็ทรงพอพระทัยแล้ว แต่พระองค์ก็ต้องทรงผิดหวัง เพราะหัวเมืองทั้ง ๖ แห่งที่กล่าวข้างต้นเข้ากับฝ่ายไทยทั้งหมด
สำหรับญวนเป็นอาณาจักรที่เจ้าอนุวงศ์ทรงคาดหวังมากว่าจะเป็นพันธมิตรของพระองค์ ทรงส่งทูตไปเจรจาหลายครั้ง ขอร้องให้ญวนโจมตีไทยทางปากน้ำเจ้าพระยา ยังมิทันได้คำตอบจากญวน พระองค์ก็ทรงตัดสินพระทัยทำสงครามไปแล้ว องค์ต๋ากุนแม่ทัพใหญ่ของญวนในญวนใต้เห็นด้วยที่จะทำสงครามกับไทย แต่จักรพรรดิมินหม่างทรงรู้ว่าราชวงศ์จักรีมีพระคุณต่อจักรพรรดิยาลองในการทำสงครามกอบกู้ราชวงศ์เหวียนขึ้นมาได้ การมาช่วยลาวโจมตีไทยก็เหมือนคนอกตัญญู ประกอบกับขณะนั้นเกิดอหิวาต์ระบาดในเมืองญวนคนตายเป็นจำนวนมาก
จากเหตุผลดังกล่าวญวนจึงวางเฉยต่อการชักชวนของเจ้าอนุวงศ์ดังกล่าว ตอนที่เจ้าอนุวงศ์ทรงบอกให้หัวเมืองล้านนาทั้งห้าวางตัวเป็นกลางนั้น พระองค์ยังทรงหวังว่าจะได้กำลังจากญวนมาช่วยเพราะพบหลักฐานในเอกสารชั้นต้นเป็นหนังสือที่แจ้งให้หัวเมืองล้านนาตอนหนึ่งว่า “เรากับเมืองญวนเท่านั้นก็สำเร็จโดยง่าย” นี่คือการประเมินที่ผิดพลาดอย่างสำคัญของเจ้าอนุวงศ์
สำหรับอังกฤษ เจ้าอนุวงศ์ทรงประเมินท่าทีผิดพลาดก่อนประเมินรัฐและหัวเมืองอื่น เป็นความผิดพลาดที่สำคัญกว่าความผิดพลาดอื่นด้วย เพราะปัจจัย ที่ทำให้เจ้าอนุวงศ์ทรงตัดสินพระทัยว่าถึงเวลาแล้ว ที่เวียงจันทน์จะต้องประกาศเอกราชจากไทยก็คืออังกฤษนั่นเอง กล่าวคือ ในช่วงที่พระองค์ประทับอยู่ในกรุงเทพฯ เป็นเวลาที่ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอังกฤษไม่ดีนัก อังกฤษส่งทูตคือกัปตันเฮนรี่ เบอร์นี่ มาเจรจาเพื่อทำสัญญาทางไมตรีและการค้ากับไทย ตั้งแต่วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๖๘ เจรจาอยู่ ๓ เดือนก็ยังไม่ยุติ เจ้าอนุวงศ์ก็เสด็จกลับเวียงจันทน์ และต่อมาก็มีข่าวลือไปถึงเจ้าอนุวงศ์ที่เวียงจันทน์ว่าไทยมีเรื่องกับอังกฤษ ดังปรากฏในจดหมายเหตุ ร.๓ จ.ศ. ๑๑๘๗ เลขที่ ๕/ข ว่า
“เรา [เจ้าอนุวงศ์] ได้ยินข่าวทัพเรืออังกฤษก็มารบกวนปากน้ำ…น่าที่เราจะยกกองทัพใหญ่ไปตีกรุงเทพฯ ก็เห็นได้โดยง่ายเพราะเราจะเป็นทัพกระหนาบ ทัพอังกฤษเป็นทัพหน้าอยู่ปากน้ำ ไทยก็จะพว้าพวังทั้งข้างหน้าข้างหลัง คงจะเสียทีเราเป็นมั่นคงไม่สงสัย”
ข้อมูลเรื่องอังกฤษจะรบกับไทยนี้จึงเป็นข้อมูลที่สำคัญยิ่งต่อชะตาของเวียงจันทน์ เป็นเรื่องที่โชคร้ายมากที่เจ้าอนุวงศ์ทรงเชื่อข้อมูลนี้ จึงทรงตัดสินพระทัย “กู้ชาติ” ทั้งๆ ที่กำลังทหารของพระองค์ยังไม่มากพอจะต่อกรกับไทยตามลำพัง ในแผนการสงครามกู้ชาติของพระองค์จึงมีอังกฤษเป็นพันธมิตร (ที่ไม่ได้เซ็นสัญญา) ที่รบกับไทยทางด้านปากน้ำเจ้าพระยา ส่วนฝ่ายเวียงจันทน์ตีไทยทางด้านเหนือและอาจจะมีญวนช่วยตีทางด้านปากน้ำอีกทัพ หากเป็นไปตามแผนที่จินตนาการไว้นี้ไทยจะต้องแย่แน่ๆ ฝ่ายเวียงจันทน์เองก็รบง่ายขึ้น ไม่ต้องใช้กำลังมากมายก็อาจเอาชนะไทยได้ ในจินตนาการของพระองค์ยังทรงดึงล้านนาและหลวงพระบางให้ช่วยตีไทยทางเหนืออีกด้วย
แต่จินตนาการสงครามของพระองค์ต้องล้มเหลวเพราะเมื่อเวลาทำสงครามจริงพันธมิตรในจินตนาการของพระองค์กลับไม่ได้เกิดขึ้นจริง อังกฤษก็เซ็นสัญญาเบอร์นี่กับไทย ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๖๙ (๔ เดือนหลังจากพระองค์เสด็จออกจากกรุงเทพฯ) ญวนก็ไม่ได้ยกทัพมา หลวงพระบางและล้านนาไทยทั้งห้าก็ไม่ได้มาช่วยพระองค์ จึงมีแต่กำลังของเวียง จันทน์-จำปาศักดิ์เท่านั้นก็ต้องรบกับไทยตามลำพัง(****)
โดยลำดับเหตุการณ์ผู้เป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ ต่อมาเจ้าฮุย นัดดาพระเจ้าองค์หลวงฯและลำดับที่ยกตัวอย่างย่อๆ เน้นมาที่เจ้ายุติธรรมสุนทร (คำใหญ่) โอรสเจ้าฮุย หลังถึงแก่พิราลัย และเหตุการณ์สำคัญเจ้านครลำดับที่12 ยุคเจ้ายุติธรรมธร (หยุย ณ จำปาศักดิ์)โอรสเจ้ายุติธรรมธร (คำสุก) หลัง พ.ศ. 2446 ฝรั่งเศสลดฐานะเป็นผู้ว่าราชการนครจำปาศักดิ์ ต่อมาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครจัมปาศักดิ์ ภายใต้การปกครองของไทย พ.ศ. 2484 – 2489
ซึ่งต่อมาเสด็จเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาสัก เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์พระองค์ที่ 13 (พระองค์สุดท้าย) ทรงประสูติในราชวงศ์จำปาศักดิ์และสืบพระราชสันตติวงศ์มาจากสมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร (เจ้าหน่อกษัตริย์) พระมหากษัตริย์ผู้ทรงสถาปนาราชอาณาจักรจำปาศักดิ์และพระมหากษัตริย์แห่งนครจำปาศักดิ์พระองค์แรกของลาว 10 กันยายน พ.ศ. 2503 พูมี หน่อสะหวัน(หรือภูมี หน่อสวรรค์)ได้ประกาศงดใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรลาว และประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ขณะเดียวกันก็ได้จัดตั้งคณะปฏิวัติตามแบบอย่างของสฤษดิ์ ธนะรัชต์ผู้เป็นน้า โดยให้เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์ เป็นหัวหน้าคณะ
แน่นอน รายละเอียดของประวัติศาสตร์ยาว ก็เล่าย่อๆ สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกฯ เผด็จการเต็มรูปแบบของไทยมีศักดิ์เป็นน้าชาย นายพลภูมี หน่อสวรรค์ แม่ทัพลาวฝ่ายขวาได้ให้การสนับสนุนทางทหารแก่นายพลภูมีอย่างเต็มที่เพื่อตีเวียงจันท์คืนให้ได้ ซึ่งต่อมาได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในตัวเมืองลุกขึ้นขับไล่พวกปฏิกิริยา จึงทำให้การได้มาซึ่งอำนาจรัฐประสบผลสำเร็จ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้สถาปนาขึ้นในเดือนธันวาคม ในปี พ.ศ.2518 นั้นเอง(*****)
เมื่อผมมาเยือนที่นี่อีกครั้ง แม้ไม่ได้ไปขุดค้นทางโบราณคดีหาข้อมูลใหม่ เพราะวิทยานิพนธ์ของผม ที่แก้ไขดัดแปลงว่าจะไปนำเสนอทำเป็นหนังสือ มีบริบทเล่าถึงเจ้าอนุวงศ์ ไม่ยาว ก็สั้นๆ โฟกัสในแง่มุมจินตนาการของเจ้าอนุวงศ์ มาเล่าเน้นแง่มุมนี้เสริมต่อ เจ้าบุญอุ้ม กับนายพลภูมี หน่อสวรรค์ และผมอยากเขียนบางแง่มุมขยายมุมนครจำปาศักดิ์ ในวันเวลาหลังเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 คนลาวก็ดูโทรทัศน์ไทยข่าวการเลือกตั้งตามตลาดจากภาพ
อย่างไรก็ดี ผมมีเชื้อเจ๊กปนลาว(******)ปนมอญ ก็ถ่ายภาพนิ่งหลายภาพหลายสถานที่ ปีนี้ไม่ได้หาซื้อผ้าโสร่ง และสนใจถ่ายคลิปวิดิโอไว้บ้าง อาจจะทำเป็นหนังสั้น หรือวิดีโออาร์ต(*******) บ้างก็ได้ ซึ่งในแง่มุมของความใกล้ชิดภาษาลาว มีใกล้ไทยมาก ก็ผมซื้อเสื้อยืดภาษาลาวคล้ายภาษาไทย ที่ผมเคยมีเสื้อยืดแนวนี้แล้วหายไป แต่ผมก็ไม่ได้บังเอิญสาวชาวสวิสจากปราสาทวัดภู มาที่ตลาด
ซึ่งตามแนวคิดชุมชนจินตรรมไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวของภาษาเดียว มีหลายภาษาในรัฐชาติสวิตเซอร์แลนด์ก็เกิดขึ้นได้ แล้วการจับคู่วิวาห์ที่ไม่มีวันหย่าขาดจากกันของชาติกับสากลนิยม(รัฐกับชาติก็วิวาห์)กันตามคำคมของแนวคิด เนื่องจากยกตัวเปรียบเทียบดังกล่าวความต่างจากผมไม่ใช่ชาวสวิส ไม่ใช่บอย ปกรณ์ ผู้แสดงหนังสะบายดี วันวิวาห์(*******) เพียงแค่สะสมความทรงจำไว้
*การสะสมความทรงจำ มรดกโลก ปราสาทวัดภู ณ จำปาสัก(จบ)

**เจ้าแก้วมงคล ช่วยเหลือเจ้าราชครูหลวงวัดโพนเสม็ดสถาปนาราชอาณาจักรล้านช้างฝ่ายใต้สำเร็จ เจ้าหน่อกษัตริย์ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตแห่งนครกาลจำบากนาคบุรีศรี (จำปาศักดิ์) ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร มีพระราชโอการให้ เจ้าแก้วมงคล นำกำลังในสังกัดข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งเมืองขึ้นบนบริเวณที่ราบริมฝังแม่น้ำ(แม่น้ำเสียว) ซึ่งเป็นแหล่งเกลือและนาข้าวที่อุดมสมบูรณ์ ให้ชื่อว่า เมืองทุ่งศรีภูมิ มีพระราชโองการให้ เจ้าแก้วมงคล เป็นเจ้าผู้ครองเมืองทุ่งศรีภูมิ (องค์ที่ ๑) มีการจัดการบริหารบ้านเมืองเช่นเดียวกับนครจำปาสักนัคบุรีศรี
โดย ก่อตั้งเมืองใน ปี พ.ศ. 2256 มี เจ้าแก้วมงคล เป็นปฐมวงศ์ เจ้าเมืองพระองค์แรก และเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญ ของ อาณาจักรล้านช้างจำปาสัก ก่อนจะเข้าสวามิภักดิ์ ต่ออาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ในปี 2308 และภายหลัง ท้าวเซียง เจ้าเมืองท่งศรีภูมิลำดับที่ ๔ ได้ขอย้ายที่ตั้งเมือง โดยมีใบบอก มายังพระเจ้ากรุงธนบุรี ในปี 2315 มาที่ดงเท้าสาร และขอพระราชทานนามเมืองใหม่ ว่า “เมืองสุวรรณภูมิ” และ ท้าวเซียง ได้รับสถาปนา เป็น พระรัตนวงษา (เซียง) เป็นเจ้าเมือง โดยพระยศของเจ้าเมือง “พระรัตนวงษา” นั้น เป็นการแสดงถึง ทายาทแห่งปฐมวงศ์เจ้าแก้วมงคล ผู้เป็นเจ้าปู่ และผู้ครองเมืองทุ่งศรีภูมิ(อดีต นครจำปานาคบุรี) ท่านแรก
ภายหลัง 2325 หลังการสถาปนากรุงรัตนโกศินทร์ เมืองสุวรรณภูมิ ได้อยู่ในขอบขัณฑสีมา โดยมีฐานะเป็นเมืองประเทศราช ของกรุงรัตนโกศินทร์นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2338 โดยมีชื่อเมืองเต็มว่า “สุวรรณภูมิราชบุรินทร์” (หรือ เขียนเป็น สุวรรณภูมิราชบุรี, หรือ สุวรรณภูมิราชบุรีย์ ) ต่อมาเมืองสุวรรณภูมิ ได้แบ่งอาณาเขตออกให้ ทายาทของ เจ้าแก้วมงคล ได้ปกครอง หลายเมือง ดังนี้ พ.ศ. 2318 เมืองร้อยเอ็ด หรือ จังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ. 2330 เมืองหนองหาน หรือ อำเภอหนองหาน พ.ศ. 2335 เมืองชนบท หรือ อำเภอชนบท พ.ศ. 2340 เมืองขอนแก่น หรือ จังหวัดขอนแก่น ฯลฯ(ดูเพิ่มเติมวิกิพีเดีย)
ดูข้อมูลเปรียบเทียบเพิ่มเติมประชุมพงศาวดาร,เล่มที่43-44 เรื่องเกี่ยวกับกรุงเก่า(ตอนที่1)เรื่องเมืองนครจำปาศักดิ์และเรื่องขุนบรมราชาหรือดูพระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๒/๖๐ เรื่องเมืองนครจำปาศักดิ์
(ผมเล่าเน้น “เมืองเก่าที่ถูกลืม” ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่1 ในชื่อ “เมืองชลบถวิบูลย์” แปลว่า “เมืองแห่งทางน้ำไหลอันกว้างใหญ่” เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ชนบท” ซึ่งแปลว่า “บ้านนอก”(ไม่มีการพัฒนา) คำนามแปลว่า บ้านนอก (ไม่พัฒนา) ชลบถ เป็นคำผสมระหว่าง ชล เป็นคำนามแปลว่า น้ำ กับ บถ เป็นคำนามแปลว่า ทาง แปลรวมกันได้ความว่า “ทางน้ำ” ดังนั้น หากอาศัยหลักทางวิชาการ “ภูมินามวิทยา” (Toponymy) และหลักภูมิรัฐศาสตร์ (Geo- Political Sciences) ซึ่งเป็นศาสตร์ค้นคว้าเกี่ยวกับการตั้งชื่อถิ่นฐานบ้านเมืองตามทำเลที่ตั้ง “ชลบถ” จึงน่าจะเป็นคำที่ถูกต้องกว่า ชนบท)
***ต่อมาลำดับที่ 2พระราชโอรสของพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรฯ เสียเอกราชให้ไทย พ.ศ. 2322 และลำดับที่3 พระวิไชยราชขัตติยวงศา (เจ้าหน้า) 2334-2354บุตรพระตาเมืองหนองบัวลำภู เชื้อสายเจ้าปางคำเมืองเชียงรุ้ง และมีศักดิ์เป็นน้องพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) เจ้าเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัย ซึ่งเจ้าหน้าได้ย้ายเมืองจำปาศักดิ์จากที่เดิมซึ่งอยู่ที่บ้านศรีสุมัง ริมฝั่งแม่น้ำโขง มาตั้งอยู่ในบริเวณบ้านคันเกิง อยู่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง ตรงข้ามปากแม่น้ำเซโดน (ปัจจุบันเรียกว่า เมืองเก่าคันเกิง อยู่ที่บ้านเมืองเก่า เมืองโพนทอง แขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาว) ต่อมาลำดับที่4 เจ้านู แล้วลำดับที่5 เจ้าหมาน้อย
****ทำไมเจ้าอนุวงศ์ จึงต้องปราชัย*

(คนเขียนอ้างสาเหตุของความพ่ายแพ้ของเจ้าอนุวงศ์ตรงตามตำราของซุนวู และเหมาเจ๋อตุงที่กล่าวไว้ว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง”)
***** “คนไทย” กับเอกราชของลาว

(ผมเขียนเพิ่มกรณีเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาสัก เป็นอดีตนายกรัฐมนตรีแห่งรัฐบาลพระราชอาณาจักรลาว 2 สมัย แนะนำบริบทเน้นคนไทย ประวัติทองอินทร์ ภูริพัฒน์ มีคู่สมรส 1 คน คือเจ้าศิริบังอร ณ จำปาศักดิ์ นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ จึงมีความเกี่ยวดองเป็นเขยของตระกูลเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ ในประเทศลาว หนึ่งใน “สี่รัฐมนตรี” ที่ถูกสังหารเมื่อพ.ศ. 2492หลังเหตุการณ์กบฏแบ่งแยกดินแดน หนึ่งใน “สี่เสืออีสาน” และดูหนังอเมริกันอันตราย (อังกฤษ: The Ugly American)
ดูเพิ่มเติมประวัติศาสตร์สงครามปี 1945-1975 และชีวิตกลายเป็นอพยพของคนลาว(ผมแปลจากภาษาลาว)
http://www.unforgettable-laos.com/wp-content/uploads/2015/06/VangGeu_Lao_%C3%A0-jour-13_06_2015_BD.pdf?fbclid=IwAR1I_72sLwNpN1ZruHmkm5MFteYD5WFDnZQuEaYJZeZGfkctqgHJltTwRc8
******เจ๊กปนลาว
http://dl.parliament.go.th/handle/lirt/361234
(ดูเพิ่มเติมเปรียบเทียบบทความอ.เบน แอนเดอร์สัน ต่อหนังสัตว์ประหลาด บทความสัตว์ประหลาดอะไรวะ? ที่เขียนถึงเรื่องเจ๊กปนลาวนี้)
*******วิดีโออาร์ต : เรื่องเล่าจากลายผ้า ชาติพันธุ์ไทยทรงดำ จังหวัดนครปฐม
cuir.car.chula.ac.th/dspace/bitstream/123456789/51170/1/5386802935.pdf
*******สะบายดี วันวิวาห์ ถ่ายทำที่ปากเซ จำปาศักดิ์ ภาคสาม และสะบายดี หลวงพะบางภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายทำในเวียงจันทน์ หลวงพระบาง และจำปาศักดิ์ เวลาผ่านไปสิบปีแล้วหนังภาคแรกด้วย
9. 3
ราตรีสวัสดิ์ อ่านหนังสือช่วยให้หลับสบาย(*) วันนี้ 9 เมษายน วันถึงแก่กรรมเซอร์ฟรานซิส เบคอน
ในพ.ศ. 2169 (ค.ศ. 1626) – เซอร์ฟรานซิส เบคอน นักปรัชญาและรัฐบุรุษชาวอังกฤษ (เกิด ค.ศ. 1561)
1.The Essays of Francis Bacon ซึ่งฟรานซิส เบคอน (ไม่ใช่เบคอน เนื้อรมควัน เป็นเนื้อสัตว์) เป็นผู้สร้างรากฐานการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ นักปรัชญาประสบการณ์นิยม(Empiricism)อ่านฟรี แจกฟรี ดาวน์โหลดได้(**)
2. PICASSO หนังสือรวมผลงานภาพวาดของปิกัสโซ่ เนื่องจากวันที่8 เมษายน วันถึงแก่กรรม พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) – พาโบล ปิกัสโซ จิตรกรและประติมากรชาวสเปน (เกิด 25 ตุลาคม พ.ศ. 2424) ในเล่มมีภาพวาดสีน้ำมันของปิกัสโซ่แนววาดภาพเหมือนจริงด้วย
3.จิตร ภูมิศักดิ์ ฉบับการ์ตูน ภาพจากเน็ต(ขายซ้ำ)ผมคิดว่าจิตรฉบับการ์ตูนสะท้อนยุคสมัยสฤษดิ์ และลองอ่านเพิ่มเติม ซึ่งผมยกตัวอย่างเมืองวาริชภูมิ ตั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี 2420 โดยชาวภูไทที่อพยพมาจากเมืองกะป๋อง แขวงคำม่วน (สปป.ลาว ในปัจจุบัน) มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านปลาเป้า(คือเมืองวาริชภูมิ)…ในสถานการณ์สงครามปฏิวัติ ที่เพิ่งเริ่มต้นได้เพียงปีเศษ “จิตร ภูมิศักดิ์” ในฐานะนักปฏิวัติผู้เร่าร้อน ได้ลงไปให้การศึกษาแก่ชาวบ้านแถว ต.คำบ่อ อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร แต่มิทันที่จะได้บ่มเพาะ “แกนนำ” ในหมู่บ้านย่านนั้น ก็ถูกล้อมยิงเสียชีวิตที่ชายป่าบ้านหนองกุง(***)
4.ยุคเงียบ ใครสนใจปวศ.ฮิปปี้ เศรษฐกิจ วรรณกรรม ปรัชญา การเมือง(****)
5.โก้วเล้งไต้เฮียบ…. ใบไม้คืนสู่ราก(*****)
จอกที่ ๗ : สุราพิษ
เ บ็ ด ต ก ก วี
คำพูดบางคำไม่ต้องกล่าวจากปากก็สามารถได้ยิน
ล้ำค่ากับจำเป็น
“บนโต๊ะมีสุราไม่น้อย ทำไมท่านไม่ดื่ม?”
“เราไม่ดื่มสุรากับท่าน”
“เพราะเหตุใด?”
“ท่านดื่มสุรามากเกินไป”
“นั้นยิ่งสอดคล้องต้องกัน”
“คนเมามายเกินไป มักทำลายอารมณ์สุนทรีย์ในการดื่มของคนอื่น”
พาสนา เขียนไว้ในโก้วเล้งไต้เฮียบในตอนนี้ว่า คนอ่านของโก้วเล้งมักสูดได้กลิ่นหอมของสุราระเหยอบอวลในหน้ากระดาษ ผู้เขียนเจนจบกับการดื่มสุราอย่างไม่อนาทรร้อนรนกับคำค่อนแคะของใคร ตัวละครจำนวนไม่น้อยนั้นแทบว่า ถอดแบบมาจากผู้เขียนราวคัดสำเนา
ค่ำคืนหนึ่ง เหง่ยคังพูดกับโก้วเล้ง “ในโลกมีของเหลวล้ำค่าสองชนิด ชนิดหนึ่งคือสุรา อีกชนิดคืออะไร?”
โก้วเล้งหัวเราะแล้วตอบว่า “นั่นต้องเป็นน้ำ”
“เราถามคนหลายคน มีแต่คุณคนเดียวที่ตอบถูก”
โก้วเล้งครุ่นคิดนิ่งนานในความเงียบหลายนาที ก่อนพูดว่า
“น้ำเป็นสิ่งจำเป็น ไม่อาจขาดได้ คนขาดน้ำต้องตาย แต่ไม่ควรใช้คำว่า ล้ำค่า เปรียบกับน้ำ”
“ในโลกมีของเหลวล้ำค่าเพียงชนิดเดียว ของเหลวชนิดนั้นคือ สุรา”
“เพราะสุราบันดาลให้ใครแทบทั้งนั้นลืมเรื่องที่ควรลืมเลือน และความโง่บัดซบของคนเราคือ มักหมกมุ่นเฝ้ากังวลแต่เรื่องที่ไม่ควรคิดถึง”
6. NEW ATLANTIS1(1626) by Francis Bacon ดาวนโหลดพีดีเอฟ อ่านฟรี(******) ใครอ่านไปกินเบคอนไปให้อร่อย
*หลับสบายขึ้น



**The Essays of Francis Bacon
https://www.stmarys-ca.edu/sites/default/files/attachments/files/Essays.pdf
***ภูไทกะป๋อง วาริชภูมิ และสมรภูมิสุดท้าย
http://www.komchadluek.net/news/scoop/226270
****โก้วเล้งไต้เฮียบ…. ใบไม้คืนสู่ราก
https://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=jezt&month=07-2005&date=30&group=8&gblog=9
***** NEW ATLANTIS1
https://www.thomasmorestudies.org/docs/Bacon.pdf
ดูเพิ่มเติมSound-Houses
(Francis Bacon, 1627)
12
เล่าภาพ(1)
เมื่อมาที่นี่รอบที่สองผมเคยอ่านงานแนวรื้อสร้างของสุจิตต์ วงษ์เทศ ยกตัวอย่างคนสวมหน้ากากสามเหลี่ยม ในพิธีกรรมเลี้ยงผีบรรพชนเพื่อขอฝน ราว 2,500 ปีมาแล้ว (ไม่ใช่ตุ้มจับปลาตามที่ทางการอธิบายไว้) มีลายเส้นคัดลอกของกรมศิลปากร จากภาพเขียนสีที่ผาแต้ม อ. โขงเจียม จ. อุบลราชธานี โดยศาสนาผี ภาพผาแต้ม ก็ทำนองเดียวกับจิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์(*)ซึ่งงานเขียนท้าทายประวัติศาสตร์โบราณคดีเชิงวิพากษ์ของเขา มีอยู่มาก
กระนั้น พื้นที่ผาแต้ม(**) มีคนเขียนมากแล้ว ก็รอบที่แล้วผมเขียนไปแล้ว และผมมาเสนอใหม่ หลังจินตนาการซ้อนจินตนาการเห็นลวดลายคล้ายงูซ้อนกันหรือปลาไหล ข้างภาพคนสวมหน้ากากสามเหลี่ยมหรือตุ้มจับปลา ลองดูรายละเอียดเพิ่ม
จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี มีVirtual Museumหรือพิพิธภัณฑ์เสมือนจริง ดูผ่านเว็บได้ และตามภาพแผ่นพับของอุทยานฯ รวมทั้งภาพผม ที่นี่ได้มาอีกครั้ง(***) กรณีลาวและอุบลฯ น่าทำคลิปวิดิโอแนวท่องเที่ยวไว้บ้างโดยเปรียบเทียบคลิปเก่าผลงานของผม(****)จากประสบการณ์ของผม
*สุจิตต์ วงษ์เทศ : เจ๊กปนลาวปนเขมร เป็นคนไทย อยู่อุบลฯ

**ศาสนาของคนก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
http://lek-prapai.org/home/view.php?id=816
รู้ไปโม้ด : ภาพเขียนสีที่ผาแต้ม (ตอนแรก)

ลองค้นดูรายงาน : “ผาแต้ม” เรื่องราวจากอดีตสู่ปัจจุบัน
***การสะสมความทรงจำ (ตอนที่ 3)

****เล่าเส้นทางล้านนาท่องเที่ยวน้ำปิง

เชียงใหม่ มุมใหม่-ลาว(สบายดีปีใหม่)

การสะสมความทรงจำ ต่อเมืองจำปาสัก และเมือง(เชียง)
12.3
ราตรีสวัสดิ์ อ่านหนังสือช่วยให้หลับสบาย(*) วันนี้ ในอดีต 12 เมษายน พ.ศ. 1839 (ค.ศ. 1296) – พญามังราย พระมหากษัตริย์แห่งหิรัญนครเงินยางเชียงลาว ทรงสถาปนาเวียงเชียงใหม่ เพื่อเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนา พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) – ไมเคิล ไรท หรือ เมฆ มณีวาจา นักเขียน นักคิด นักวิจารณ์ทางด้านประวัติศาสตร์ สังคม และไทยคดีศึกษา ชาวอังกฤษ
1.นิทานโบราณคดี แจกฟรี พีดีเอฟ ผมได้ข้อมูลรีวิว คือ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเล่าไว้เมื่อเสด็จตรวจราชการมณฑลนครราชสีมาและมณฑลอุดรและอีสานเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๙ ทรงค้นพบถึงความแตกต่างทางเชื้อชาติ สำเนียงภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ทางการเคยเข้าใจกันต่อๆ มานั้นไม่ถูกต้องก็เมื่อทรงพระนิพนธ์นิทานโบราณคดี แล้ว ดังกรณีความแตกต่างของคนในเมืองนครราชสีมากับหัวเมืองทางอีสาน ดังนี้
“ฉันเดินบกไปจากเมืองนครราชสีมา ๕ วัน เข้าเขตมณฑลอุดรที่เมืองชนบท พอถึงเมืองชนบทก็เห็นชาวเมืองผิดกับชาวเมืองนครราชสีมาทั้งเครื่องแต่งตัวและฟังสำเนียงพูดภาษาไทยแปร่งไปอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งชาวกรุงเทพฯ สำคัญกันมาแต่ก่อนว่าเป็นลาว แต่เดี๋ยวนี้รู้กันมากแล้วว่าเป็นไทยมิใช่ลาวถึงในราชการแต่ก่อนก็อ้างว่าหัวเมืองในมณฑลพายับ กับมณฑลอุดร และอีสาน เป็นเมืองลาว เรียกชาวมณฑลพายับว่า “ลาวพุงดำ”เพราะผู้ชายชอบสักมอมตั้งแต่พุงลงไปถึงเข่า เรียกชาวมณฑลอุดรและอีสานว่า “ลาวพุงขาว”เพราะไม่ได้สักมอมอย่างนั้น เมื่อจัดหัวเมืองชายพระราชอาณาเขตเป็นมณฑลในรัชกาลที่ ๕ ราว พ.ศ.๒๔๓๓ แรกก็ขนานนามหัวเมืองลาวพุงดำว่า “มณฑลลาวเฉียง”ขนานนามหัวเมืองลาวพุงขาวว่า “มณฑลลาวพวน”มณฑลหนึ่ง “มณฑลลาวกาว”มณฑลหนึ่ง
ยกตัวอย่างต่อมาสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนิพนธ์ถึงเมืองประเทศราชไว้ว่า“..ลักษณะการปกครองแบบเดิมนั้น นิยมให้เป็นอย่างประเทศราชาธิราช (Empire) อันมีเมืองคนต่างชาติต่างภาษาเป็นเมืองขึ้นอยู่ในพระราชอาณาเขต”(**)
เมื่อเราลองค้นหาอ่านเพิ่มเติม(รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำรัสในเรื่องนี้ว่า…. ลักษณะการปกครองแบบเดิม นิยมให้เป็นอย่างประเทศราชาธิราช “Empire” อันเป็นเมืองคนต่างชาติต่างภาษาเป็นเมืองขึ้นอยู๋ในพระราชอาณาเขต จึงถือว่าเมืองชายพระราชอาณาเขต ๓ มณฑลนั้นเป็นเมืองลาว และเรียกชาวเมืองซึ่งอันที่จริงเป็นชนชาติไทยว่า “ลาว” แต่การปกครองอย่างนั้นพ้นเวลาอันสมควรแล้ว จึงแก้ลักษณะการปกครองเป็นอย่างพระราชอาณาเขต “Kingdom” ประเทศไทยรวมกัน เลิกประเพณีที่มีเมืองประเทศราชถวายดอกไม้ทองเงิน และให้เปลี่ยนนามมณฑลที่เรียกว่า “ลาว” เป็นชื่อตามทิศที่ตั้งมณฑลทั้งหมด ….) ยกตัวอย่างในเล่มนิทานที่ ๙ เรื่องหนังสือหอหลวง นิทานที่ ๑๗ เรื่องแม่น้ำโขง
2. เจ้านายฝ่ายเหนือล้านนา ขายซ้ำ(***)
เนื่องจากหน้าปก มีรูปอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ มีวันนี้ ในอดีต 12 เมษายน พ.ศ. 1839 (ค.ศ. 1296) – พญามังราย พระมหากษัตริย์แห่งหิรัญนครเงินยางเชียงลาว
3.ยุคเงียบ(****) ขายซ้ำ ใครสนใจปวศ.ฮิปปี้ เศรษฐกิจ วรรณกรรม ปรัชญา การเมืองของพวกฮิปปี้ ยกตัวอย่างคนแสดงหนังเรื่องugly America ก็ยังจัดอยู่ในยุคนี้ หรือการประท้วงของฮิปปี้ ฯลฯ
4.เปิดกรุศิลปิน(*****) ขายซ้ำ ซึ่งผมเคยเล่าแล้ว ต่อมีไอเดียคนลี้ภัยขายรูปอย่างอดีตนักการเมือง ผมก็ขายหนังสือพีดีเอฟ เพื่อเงินช่วยผู้ลี้ภัยบ้างอาจจะใส่ภาพวาดผมด้วย
5.มานุษยวิทยาเบื้องต้น(******) ขายซ้ำ
6.ฟ้าเดียวกัน คนที่ตายใต้ฟ้าเดียวกัน(*******) ขายซ้ำ เมื่อวานมีเหตุที่ภาคใต้ตาข่าวเผยคนร้ายยิงปะทะ ตร.สะบ้าย้อยบาดเจ็บเป็นผู้ก่อการร้ายมี 2 หมายจับ(นสพ.แนวหน้า วันพฤหัสบดี ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2562, 18.49 น.)ดุเดือดยิงปะทะสะบ้าย้อย ตชด.บาดเจ็บ 1 คนร้ายเจ็บ 1 เป็นผู้ก่อการร้ายมี 2 หมายจับ ร่วมก่อเหตุวางระเบิดเสาไฟฟ้าแรงสูงคืนเดียวกับระเบิดนางเงือกแหลมสมิหลา
โดยกาลเวลาจากปัญหาใต้ มาช่วงเวลาหนึ่งว่อนเน็ต แฉขบวนการแบ่งแยกดินแดนออกเป็น 3 ระบบรัฐ
จาก7 มี.ค. 57 มีรายงานว่าบนโลกออนไลน์ได้มีการแชร์ภาพที่อ้างว่าเป็นแผนของขบวนการแบ่งแยกดินแดน โดยต้องการแบ่งแยกการปกครองออกเป็น 3 ระบบรัฐ ภายใต้แนวคิด 1 ประเทศ 3 ระบบรัฐ 3 อัตลักษณ์ อยู่ร่วมกันอย่างสันติ
มีรายละเอียดดังนี้
1 รัฐผสมล้านนา-ล้านช้าง
กฎหมายสูงสุด : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตยสมบูรณ์ มีผู้แทนผ่านการเลือกตั้งเสรีภาพเสมอภาค
ภาษาราชการ : ภาษาล้านนา ภาษาลาว ภาษาไทยถิ่นต่างๆ ภาษาอังกฤษ
สกุลเงิน : บาท เมืองหลวง : นพพบุรีสรีนครพิงคเชียงใหม่
2 ราชาอาณาจักรธรรมาธิปไตยสยามใต้
กฎหมายสูงสุด : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับ กปปส.)
การปกครอง : ระบอบประชาชน คุณธรรม ชาตินิยม ธรรมาธิปไตย
ภาษาราชการ : ภาษาไทยกลาง
สกุลเงิน : บาท เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
3 รัฐอิสลามประชาธิปไตยปาตานี
กฎหมายสูงสุด : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตยสมบูรณ์ มีผู้แทนผ่านการเลือกตั้งเสรีภาพเสมอภาค
ภาษาราชการ : ภาษามลายู ภาษาไทยกลาง ภาษาอังกฤษ
สกุลเงิน : บาท เมืองหลวง : เนการาปาตานีดารุสสาลาม
7.ความหวังยังไม่สิ้น(********) ขายซ้ำ ผลงานของไมเคิล ไรท นักเขียนที่ผมกล่าวซ้ำหลายครั้งแล้วไม่มีดีกรีป.ตรี มีคารมคมคาย รวมบทความนี้ผมตีความชื่อหนังสือว่ามาจากที่มาเพลงของจิตร ภูมิศักดิ์ในเพลงความหวังยังไม่สิ้น
ชะตาชีวิต เราช่างมืดมัวมน
ยากเข็ญทุกข์ทน สุดที่จะพรรณา
ถูกรีด ถูกบีฑา
ทุกสิ่งสิ้นสูญ หมดตัวยากไร้
สิ่งที่คงเหลือ มีเพียงแต่แรงงาน
เที่ยวขายซมซาน ค่าต่ำกว่าใดๆ
ปวดร้าวราน ดวงใจ
เจ้าอยู่แห่งไหนเล่าความเที่ยงธรรม
*อย่าเหยียบหยันเรา สังคมแสนทราม
แม้เราพบความร้าวราน ระกำ
มิยอมสูญความหวัง สิ้นพลัง
แม้ลมหายใจ สองแขนนี้ยัง
จะกอบกู้ฟื้นพลิกความเป็นธรรม
ให้ฟ้า และดิน ชื่นชม
สิ่งที่คงเหลือ มีเพียงแต่แรงงาน
เที่ยวขายซมซาน ค่าต่ำกว่าใดๆ
ปวดร้าวราน ดวงใจ
เจ้าอยู่แห่งไหน เล่าความเที่ยงธรรม (ซ้ำ*)
*หลับสบายขึ้น


**นิทานโบราณคดี
http://www.sac.or.th/databases/siamrarebooksold/main/index.php/history/2012-04-26-08-47-27/1747-2012-10-25-02-23-35
นิทานโบราณคดี
https://vajirayana.org/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5
***เจ้านายฝ่ายเหนือ เจ้าผู้ครองนคร ขายหนังสือหน้าปกอนุสาวรีย์พ่อขุนรามฯ พญามังราย พญางำเมือง

****ยุคเงียบ

*****เปิดกรุศิลปิน รวมประวัติชีวิตศิลปิน ขายซ้ำ

******มานุษยวิทยาเบื้องต้น ขายซ้ำ

*******ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2547 คนที่ตายใต้ฟ้าเดียวกัน ขายซ้ำ

********ความหวังยังไม่สิ้น ไมเคิล ไรท์ ขายซ้ำ
15
เล่าภาพ(จบ)
เมื่อเล่าภาพจากผาแต้ม อุทยานแห่งชาติ(*) ที่นี่ มีภาพจากนิทรรศการผาแต้ม เป็นต้น ซึ่งการเดินทาง ทำให้มาเขียนเล่าภาพไว้สร้างภาพจำ ถือเป็นการตรวจสอบข้อมูล ความเชื่อว่าเผ่าพันธุ์มนุษย์มีสัตว์เป็นบรรพบุรุษ [Totem] ของเผ่าพันธุ์หรือตระกูล คือ สัญลักษณ์ทางTotem และกรณีที่ผมเสนอไอเดียไว้เรื่องปลาไหลหรืองู อาจผิดก็ได้ผ่านจินตนาการ จากความจริงเขตแดนสายน้ำโขง ซึ่งก่อให้เกิดการตีความส่วนตัว จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ศิลปะไทย(**) หรือปวศ.ศิลป์
ซึ่งการเดินทาง ต่อมาจากอุบลฯในอดีตพื้นที่ซับซ้อนกับจำปาสัก(***) ระหว่างทางแวะกินข้าวเหนียว ฯลฯ มีร้านขนมจีนเส้นทำเองตามภาพ ก่อนมาบุรีรัมย์ ณ ปราสาทหินพนมรุ้ง ฉากละครนาคี ตำนานปลาไหลเผือก หรือสัญลักษณ์งู/นาค จะไม่กล่าวซ้ำมาก ในสัญลักษณ์น้ำของนาค และภาพที่ผมสนใจจากปราสาทพนมรุ้ง ตามรูป(****)เคยเล่าแล้ว จากศิลปะเขมรภายใต้แผนที่ไทย
โดยการเดินทางของผม เล่าย่อๆ มาจบลงที่อ.ประโคนชัย ตอนกลางคืนกินอาหารร้าน ตามภาพป้ายไวนิลรำวงกันตรึมฯ รุ่งเช้า ก็ออกเดินทางต่อท่ารถประโคนชัย(*****) มาบุรีรัมย์ ต่อรถท่ารถโคราชไม่ได้มานาน โดยนั่งรถทัวร์ดูหนังซ้ำอ้อมกอดเขมราฐจากเคยดู นั่งรถทัวร์(บริษัทนี้ที่อยู่ถนน มิตรภาพ)ไม่มีรายการตลก ในภาพมีบิลใช้จ่ายเงินระหว่างเหลือเพียงความทรงจำเล่าภาพ จากรวบรวมหลายรูปที่บันทึกภาพไว้สะสมความทรงจำ(******)
ดังนั้น วิธีทบทวนความทรงจำอย่างหนึ่งสำหรับผมเขียนไว้ ซึ่งอีกวิธีการศึกษาหาข้อมูล การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า เป็นแนวคิดที่ถ่ายทอดมาจากแนวคิดของการสำรวจหรือการชี้ทิศในการเดินเรือ ซึ่งถ้ารู้จุดตรึงบนแผนที่สองจุด แล้วลากเส้นจากจุดทั้งสองมาตัดกันก็จะได้ทิศทาง หรือถ้ารู้จุดตรึงเพียงจุดเดียว ผู้สังเกตก็จะรู้ว่าเราควรจะอยู่ในทิศทางระนาบใดๆของเส้นนั้นๆ วิธีการตรวจสอบสามเส้านี้เปรียบเสมือนการตรึงความจริง ณ จุดหนึ่ง แล้วก็จะรู้ถึงความจริงอื่นๆ(*******)
ฉะนั้น จากเชียงใหม่ถึงโคราช(นครราชสีมาบ้านเกิดประยุทธ์)ผมเล่าเขียนถึงการเปรียบเทียบความจริง ให้เห็นการอธิบายแบบชุมชนจินตกรรมฯ ในความเป็นชาติ ก็จักรวรรดิฝรั่งเศสในลาว ต่อสยาม จักรรวรดิอังกฤษในพม่า ต่อสยาม สลับซับซ้อน ถ้าอธิบายต่อมุมของผม ในแง่จักรวรรดิอังกฤษกับพม่า มีเชียงตุง(ไทใหญ่) ยกตัวอย่างเปรียบเทียบกับเชียงใหม่ โดยจักรวรรดิสยาม เทคโนโลยีการเดินเรือสมัยใหม่ ก็ทหารร่วมทำแผนที่ขยายทุนนิยม สร้างทางรถไฟ ถนนหนทางสะดวก ต่อมายกตัวอย่างจากจอมพลป. การพัฒนาต่อมาสมัยสฤษดิ์ มีถนนมิตรภาพต่างๆ จนเกิดสะพานมิตรภาพไทยกับลาว ใช้ระยะเวลาก่อสร้างระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2534 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2537 เป็นต้น
ต่อมาการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 บรรหาร ศิลปอาชา ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทย ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่มีสมาชิกของพรรคได้รับเลือกตั้งมากที่สุด ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ทำให้บรรหาร ได้ดำรงตำแหน่งเป็น นายกรัฐมนตรี คนที่ 21 ของประเทศไทย พร้อมควบตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อีกตำแหน่งหนึ่งระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2538 ถึง พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
แต่สื่อมวลชน นิยมเรียกบรรหารสั้น ๆ ว่า”ปลาไหล” เนื่องจากเป็นคนกลับกลอกไปมาไม่แน่นอน(********) หลังจากนั้น ปลายปี 2540 ก็มีนายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคประชากรไทย ในขณะนั้น ที่เปรียบตัวเองเป็นเหมือนชาวนาที่ถูกงูเห่ากัดในนิทานอีสป อย่าแปลกใจ ในปัจจุบัน ที่การเปรียบเปรยงูเห่า เป็นอุปมาอย่างหนึ่ง ที่เคยมีปลาไหล แน่นอน จากอารมณ์ความรู้สึก ความทรงจำที่ผ่านไปในชีวิตประจำวัน มาเล่าอดีตบางแง่มุมตามภาพเห็นถนนหนทาง บนแผ่นดินแม่(Motherland)บรรยากาศบางมุมทุ่งนาที่สวยงามด้วย
*เล่าภาพ(1)

(การศึกษาเปรียบเทียบประวัติศาสตร์ศิลป์ดูศิลปะถ้ำอัลตามิรา : Cueva de Altamira, “ทิวทัศน์มุมสูง” ณ
สเปน)
**สันติ เล็กสุขุม ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย (ฉบับย่อ)
https://www.asiabooks.com/5-42688.html
72 ปี “สันติ เล็กสุขุม” ปราชญ์ ครู และผู้ให้

หรือดูเพิ่มเติม ที่ผมเคยกล่าวซ้ำอีก คือ หลักการศิลปะ(พื้นฐานสำหรับนักศึกษา ใช้ประกอบการสอนของผมด้วย)
***การสะสมความทรงจำ ในจำปาสัก สู่ชุมชนจินตกรรมชาติ

****ปราสาทเขาพนมรุ้ง หน้าปกตามภาพจากเน็ต

*****เมื่อวันที่27 มีนา 62

ปราสาทพนมรุ้ง

วัดพูสะเหลา

ลาว ณ จำปาศักดิ์

******การสะสมความทรงจำ(นิทรรรศการภาพถ่ายตามภาพ)

(เล่าเพิ่มเติมช่องทางทำมาหากินช่างภาพ ยกตัวอย่างมงคลศิลป์ Studio” ถ่ายรูปพระเครื่อง รองรับการเติบโตของโลกไซเบอร์)
*******การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า(พฤติกรรมศาสตร์)
https://www.gotoknow.org/posts/400912
*********จิตสำนึกและอุดมการณ์ของขบวนการประชาธิปไตยร่วมสมัย

15.3
ราตรีสวัสดิ์ อ่านหนังสือช่วยให้หลับสบาย(*) วันนี้ ในอดีต 15 เมษายนวันถึงแก่กรรม
พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) – ฌอง ปอล ซาร์ต นักปรัชญาและนักเขียนชาวฝรั่งเศส (เกิด 21 มิถุนายน พ.ศ. 2448)
1. เอเรนดิรา ผู้บริสุทธิ์ ขายซ้ำ
2.ประวัติศาสตร์อนาคต ขายซ้ำ
3.ก๊วยเจ๋ง ยอดวีรบุรุษ ขายซ้ำ
4. สัญจรสู่ต้นน้ำ(**) ขายซ้ำ
5.จิตสำนึกและอุดมการณ์ของขบวนการประชาธิปไตยร่วมสมัย ขายซ้ำ เกาะกระแสหลังอภิสิทธิ์ลาออก นายหัวชวนมีข่าวปฏิเสธกลับมาเป็นหัวหน้าพรรค
โดยมีคำนำ (Introduction)อ้างแนวคิดทฤษฎี E. P. Thompson อย่างที่ผมเคยเล่าไว้ เป็นหนึ่งในหนังสือมาใช้วิเคราะห์การเมืองไทย ซึ่งมีสุนทรพจน์ โดย ศ.เสน่ห์ จามริก (Speech by Professor Saneh Chamarik คนนี้เกิดที่พิจิตร) และพรรคชาติไทย : จากกลุ่มซอยราชครูถึงกลุ่มเจ้าพ่อท้องถิ่น โดย สังศิต พิริยะรังสรรค์ (Chat Thai Party : From Soi Rajguru to Provincial Boss by Sungsidh Piriyarangsan) ในยุคนั้นเป็นการเสวนา ในยุครัฐบาลบรรหาร คือ พรรคชาติไทย มีนักการเมืองพัฒนาเมืองของส.ส.(บรรหาร-สุพรรณฯ, ชาติชายและสุวัจน์-นครราชสีมา)ซึ่งยุคนั้นมีอ.ผาสุก บอกว่าพรรคการเมืองในไทย ก็ไม่ต่างจากพรรรคการเมืองเกาหลีใต้ และพรรคการเมืองของญี่ปุ่น ที่มีคอรัปชั่น เป็นต้น(ความทรงจำของผม) ดูในอภิปรายทั่วไป (General Debate)
โดยมีการอภิปรายพรรคความหวังใหม่ : เส้นทางของ “ทหารประชาธิปไตย” สู่ ประชาธิปไตยทหาร โดย สังคิต พิริยะรังสรรค์ : New Aspiration Party : From Democratic Soldier to Democracy by military และอภิปรายทั่วไป (General Debate) และพรรคประชาธิปัตย์ : จากอนุรักษ์นิยมสู่ลัทธิเสรีนิยมใหม่ โดย สังศิต พิริยะรังสรรค์ The Democrat Party : From Conservatism to New-Liberalismและอภิปรายทั่วไป (General Debate) และพรรคพลังธรรม : จากบุญนิยมสู่ทุนผสมบุญนิยม โดย สังศิต พิริยะรังสรรค์ : Palang Dharma Party : From Merit-Making to Capitalism Plus Merit-Making by Sungsidh Piriyarangsonและอภิปรายทั่วไป (General Debate)และองค์กรเอกชนกับการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทย โดย ศรีสุวรรณ ควรขจร : NGOs and Democatic Development in Thailand by Srisuwan Khuankhajonและอภิปรายทั่วไป (General Debate) และวิเคราะห์อุดมการณ์ของขบวนการสหภาพแรงงาน โดย สมศักดิ์ สามัคคีธรรม : Trade Unions and Ideology by Somsak Samakkhithamและอภิปรายทั่วไป (General Debate) ดังนั้น ผมเขียนรีวิว จากข้อมูลตามเว็บ(*)ด้วย
เมื่อผมมาเน้นเล่าบรรหารขึ้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคชาติไทยใน พ.ศ. 2523 และในปีเดียวกันนั้น เขาถูกพินิจ จันทรสุรินทร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง และคณะรวม 42 คน ยื่นคำร้องต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ขอให้วินิจฉัยว่า เขาขาดคุณสมบัติการเป็นรัฐมนตรี เนื่องจากมีบิดาเป็นคนต่างด้าว และสำเร็จการศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย แต่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีมติให้ยกคำร้องดังกล่าว
บรรหารมีสมญานามมากมาย จากลักษณะเด่นหลายประการ เช่น มีฐานเสียงหนาแน่นอย่างที่สุดในจังหวัดสุพรรณบุรี มีสถานะเป็นเจ้าถิ่นจนได้สมญาว่า “มังกรสุพรรณ” หรือ “มังกรการเมือง” และเนื่องจากมีลักษณะคล้าย เติ้งเสี่ยวผิง อดีตผู้นำจีน สื่อมวลชนจึงนิยมเรียกบรรหารสั้น ๆ ว่า “เติ้ง” หรือ “เติ้งเสี่ยวหาร” และ”ปลาไหล” เนื่องจากเป็นคนกลับกลอกไปมาไม่แน่นอน
รัฐบาลบรรหาร มีผลงานที่โดดเด่นคือ การริเริ่มให้มีร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
สำนักข่าวอิศรารายงานว่า เขาเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีที่มีฐานะร่ำรวยรองจากทักษิณ ชินวัตร หากเปรียบเทียบกับนายกรัฐมนตรี 10 คน คือ ชวน หลีกภัย, พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ, พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์, สมัคร สุนทรเวช, สมชาย วงศ์สวัสดิ์, อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, ทักษิณ ชินวัตร, ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร, และพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ดังนั้น บรรหาร กับสุพรรณบุรี ทำให้ผมนึกถึงมังกรตัวใหญ่มาก เปรียบเทียบกับชวน หลีกภัย(ผมเคยเล่าแล้วเคยเจอตัวจริง) ที่ผมเขียนครั้งก่อน ย้อนแย้ง ที่ชวนเป็นผู้นำไม่ได้มาจากภาคธุรกิจ พาประเทศเข้าสู่เสรีนิยมใหม่ โลกาภิวัตน์หลังเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า ต่อมารัฐบาลบรรหาร แล้วสู่วิกฤติเศรษฐกิจยุคชวลิต ต่อมาชวน หลีกภัยกลับมาแล้วหลัง2540 ต้มยำกุ้ง แน่ละผมเคยขายเล่มแถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ (The Communist Manifesto)โดยสำนักพิมพ์นกฮูก อดีตพวกกลุ่มคนเดือนตุลาหลังปี40 ปกหลังบอกว่า ไม่เพียงแต่นักเคลื่อนไหวที่จะต้องศึกษาหนังสือเล่มนี้ แม้แต่คนเคยรวย ที่กำลังเดินขายแซนวิช ขายส้มตำไก่ย่างล้วนแต่มีชะตากรรมที่เป็นไปเพราะไม่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ด้วยกันทั้งนั้น….
อย่างไรก็ตาม ผมได้ประโยชน์จากหนังสือเล่มดังกล่าว(***) เขียนวิเคราะห์การเมืองมาเป็นตัวอย่างตามลิ๊งค์ ให้ทบทวน(อภิสิทธิ์ ตอนนี้เป็นหัวหน้าพรรคนานกว่าชวนที่เป็น 12ปีแล้ว) สิบสามปีหลังกลายเป็นพรรค ส.ส.ต่ำกว่าร้อย เกาะกระแสหลังอภิสิทธิ์ลาออก นายหัวชวนมีข่าวปฏิเสธกลับมาเป็นหัวหน้าพรรค หรือข่าวพรรคแตก มีงูเห่ากันด้วย
6.มิติพิศวง ขายซ้ำ มีเรื่องให้อ่านมันส์ๆ ท้าทายจินตนาการจากทีมงานคนบางกลุ่มจากทีมเขียนขายหัวเราะและมหาสนุก จากหน้าปกเรื่องสั้นแฟนตาซี,ผี ฯลฯ ในความทรงจำตอนเด็กถึงวัยรุ่นผม(ลิ๊งค์เดียวกับจิตสำนึกฯ)
7.เพียงความใกล้ชิด (๓ เรื่องสั้น)ฌอง-ปอล ซาร์ตร์ เขียน น. ชญานุตม์ แปล สำนักพิมพ์ก่อไผ่ พิมพ์ครั้งแรก ๒๕๒๖
Jean-Paul Sartre, 21 มิถุนายน พ.ศ. 2448 กรุงปารีส, ประเทศฝรั่งเศส – 15 เมษายน พ.ศ. 2523 ที่กรุงปารีส ซาร์ตร์เป็นนักเขียนนวนิยาย, นักบทละคร, นักปรัชญา และผู้มีบทบาทสำคัญในแนวคิดอัตถิภาวนิยมหรือทฤษฎีที่ว่าทุกคนนั้นอิสระและรับผิดชอบในการกระทำของตน (Existentialism) เป็นนักปรัชญาผู้ประกาศเสรีภาพของมนุษย์ในแง่ปัจเจกชน ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมเมื่อปี พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) แต่ไม่ยอมรับรางวัลดังกล่าว
งานเขียนที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย
คนไม่มีเงา (กรุงเทพฯ: ดวงกมล, 2517).
เพียงความใกล้ชิด (Intimacy) แปลโดย น. ชญานุตม์ (กรุงเทพฯ: กอไผ่, 2526).
รวมเรื่องสั้น ฌอง-ปอล ซาร์ตร์ บรรณาธิการโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี (กรุงเทพฯ: ดวงกมลวรรณกรรม, 2536).
8.คู่มือท่องเที่ยวเที่ยวอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ อุทยานแห่งชาติผาแต้ม ยืมอ่านฟรี
*หลับสบายขึ้น



**สัญจรสู่ต้นน้ำ

***จิตสำนึกและอุดมการณ์ของขบวนการประชาธิปไตยร่วมสมัย
18
นั่งรถระวังเมื่อย
18. 2
ผมถ่ายภาพแม่เดินทางไปลับแล ณ อุตรดิตถ์
18.3
ราตรีสวัสดิ์ อ่านหนังสือช่วยให้หลับสบาย(*) วันนี้ในอดีต 18 เมษายน พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) -วันถึงแก่กรรม อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน (เกิด 14 มีนาคม พ.ศ. 2442) ชวนอ่านผลงานผม ต่อความฝันของไอน์สไตน์
ขายหนังสือPDFของอรรคพล สาตุ้ม มีแผ่นดีวีดี:การสะสมความทรงจำไว้เป็นมรดก ชุดที่ 7:หนังสือมิติเวลา ความทรงจำต่อชาติ เสรีนิยมใหม่ และโลกร้อน(**)
1.มิติเวลา กับอ่านความฝันของไอน์สไตน์
2. Neoliberalism กับStructure-agency และclimate change
ในโลกทุนนิยมของวัฒนธรรมชุมชน
3.“การสะสมความทรงจำ อำนาจนำของแผนที่ ใน Late Capitalism”
4.“การสะสมความทรงจำ อำนาจ ผู้นำ ใน Late Capitalism”
5.“การสะสมความทรงจำ อำนาจ ผู้นำ”
6.ภาพชาติไทยแบบจิ๊กซอว์ของรัฐประหารปี57
ทำให้เกิดการเติบโตของสปิริตประชาธิปไตยใหม่
7. NSM :New Social Movement and OSM of nation.
8.ผลกระทบทฤษฎีสมคบคิดต่อมนุษย์บนดวงจันทร์ถึงโลกร้อน
9. 24 มิถุนา กีฬา รัฐธรรมนูญ ในGeography Is Destiny
*หลับสบายขึ้น



**ขายหนังสือPDFของอรรคพล สาตุ้ม มีแผ่นดีวีดี:การสะสมความทรงจำไว้เป็นมรดก ชุดที่ 6:หนังสือ “ชาติ อินเตอร์เนชั่นแนล ศาสนา ปลา”
21 เมษายน
เล่าภาพอุตรดิตถ์(1)
พิพิธภัณฑ์เมืองลับแล เป็นสถานที่รวบรวมเรื่องราวประวัติของเมือง วิถีชีวิต และขนบธรรมเนียมการใช้ชีวิตของผู้คนในเมืองลับแล โดยจำลองผ่านเรือนในแต่ละหลัง อาทิ
สะพานไม้เข้าหมู่บ้าน จัดแสดงเครื่องปั่นฝ้าย กี่ทอผ้าขนาดใหญ่ บ่งบอกถึงวิถีการทอผ้าของสาวเมืองลับแล และในปัจจุบันอำเภอลับแล ยังเป็นแหล่งผลิตสินค้าหัตถกรรม เช่น ผ้าตีนจก ไม้กวาด ติดอันดับของประเทศ
เครื่องสีข้าวโบราณและยุ้งฉาง แสดงให้เห็นอาชีพเกษตรกรรมของชุมชนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
เรือนการทำอาหาร ชาวลับแลหรือคนไทยภาคเหนือส่วนใหญ่นิยมทำอาหารบนเรือน และอาหารที่ขึ้นชื่อของเมืองลับแล คือ หมี่พัน(*)
โดยผมเล่าภาพ ย้อนเวลามาลับแล(**) จากผมเคยอ่านเอิ้นเน้อเคยเล่าไว้ คือ ‘ลับแล หรือ ลับแลง’ เมืองโบราณที่ยังคงหลงเหลือรากวัฒนธรรมล้านนา ในดินแดนอันไกลโพ้นสุดขอบภาพเหนือ ณ อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ กับประกายความคิดของ ‘คนใน’ พื้นที่ ผู้มีหัวใจเพื่อการฟื้นฟู และรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นดั่ง จิตวิญญาณแห่งตัวตนให้คงอยู่(***)ประเพณีแห่น้ำขึ้นโฮงเมืองลับแล(****)และล้านนาที่ข้ารัก ติโลกะราชะฟ้าฮ่าม พ่อออกราชาแห่งเมืองลับแลงไชยจากบันทึกตำนานที่เพิ่งค้นพบสู่ละครเวทีแสง สี เสียง บอกเล่าปฐมบทแห่งเมืองลับแล(*****) จัดแสดงที่นี่
เมื่อเกิดกระแสปลุกเรื่องลับแล และข้อถกเถียงในแง่ข้อเท็จจริงไม่ว่าเรื่องการฟ้อนนางโยนลับแล มีจริงหรือไม่ เป็นตัวอย่างหนึ่งในหลายเรื่อง ก็ผมสนใจกระแสการตื่นท่องเที่ยวที่นี่ ในฐานะพ่อผมเกิดที่อุตรดิตถ์ แล้วเราแวะมาดูที่นา ตามที่ผมเคยเล่านานแล้ว ก็แวะพาผู้คนมาบางภาพไม่ได้เผยแพร่ ไม่มีเวลาเขียนอะไรมาก ก็สนใจในแง่ศิลปะและวัฒนธรรม จากภาพพิพิธภัณฑ์เห็นภาพนิทรรศการศิลปะพื้นบ้านของลับแล เป็นต้น
อย่างไรก็ดี เรือนพระศรีพนมมาศ ซึ่งผมสังเกตวงศาคณาญาติ หรือมองแง่มุมวงศาวิทยาของเจ้าเมือง แสดงประวัติและสายตระกูลเจ้าเมืองเก่า คือ “พระศรีพนมมาศ” ตามภาพโยงไปถึงเมืองพิจิตร เป็นสงการนต์ ที่ได้มีโอกาสมาสัมผัส ณ ที่แห่งนี้หนึ่งแห่ง สำหรับทบทวน ทำความเข้าใจตัวตน ในมุมกำเนิดสยามจากแผนที่ : ประวัติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ ถึงสำมะโนประชากร และพิพิธภัณฑ์ ที่มีชีวิต คือ ความทรงจำของเรา หลังจากการเดินทางนั่งรถต่างๆ นานา ตามภาพถ่ายภาพจากโทรศัพท์มือถือ แต่เล่าสั้นๆระหว่างการเดินทางแค่นี้ก็มีสุขสงการนต์
*พิพิธภัณฑ์เมืองลับแล
http://www.museumthailand.com/th/museum/Lab-Lare-Museum
**ผมถ่ายภาพแม่เดินทางไปลับแล ณ อุตรดิตถ์

***เอิ้นเน้อ! (ฉบับที่ 2) ‘สำรวจตัวตน คนลับแลง’

****ISSUE 1
รวมพลภาคประชาสังคม
https://drive.google.com/file/d/0B6d0ywmbzBwUcHdwcm0zNk9QdG56dXZaS3N6RDZPekVuUGFj/view
*****Issue 7:The Festive Cityแม่ฮ่องสอน เมืองแห่งวัฒนธรรมและพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต
https://drive.google.com/file/d/1qJetANbG2dOV-wVVvFzyuu551Gq7boL-/view
21.2
วัดพระแท่นศิลาอาสน์ อุตรดิตถ์
21.3
ราตรีสวัสดิ์ อ่านหนังสือช่วยให้หลับสบาย(*) วันนี้21 เมษายนวันศาลยุติธรรมสำหรับไทย ซึ่งวันนี้ ในอดีต
วันเกิด พ.ศ. 2407 (ค.ศ. 1864) – มักซ์ เวเบอร์ นักเศรษฐศาสตร์การเมืองและนักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน
1.แจกฟรี E-book: แนวความคิดทฤษฎีทางสังคมวิทยา ตอน “แมกซ์ เวเบอร์” โดย ลิวอิส เอ. โคเซอร์ แปลโดย อังกาบ กอศรีพร
สารบัญ: อาทิ ผลงาน — วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และความสัมพันธ์กับค่านิยม – แบบเชิงอุดมคติ – ปัจจยาการและความน่าจะเป็น – แบบชนิดของอำนาจอันชอบธรรม – หน้าที่ของความคิด – ชนชั้น สถานภาพ และอำนาจ – ระบบบริหารแบบองค์การ – การใช้หลักเหตุผลและการหลุดพ้นจากความเพ้อเจ้อ | ชีวประวัติ — อาชีพนักวิชาการช่วงแรก – ช่วงเวลาแห่งความเชี่ยวชาญ | บริบททางวิชาการ — เวเบอร์และมรดกทางอุดมคตินิยม – เวเบอร์กับประวัติศาสตร์นิยมแบบเยอรมันและสังคมวิทยา – อิทธิพลที่สำคัญสองฝ่าย : นิทซ์เซ่และมาร์กซ์ | บริบททางสังคม | สรุป(**)
2.ชุมชนจินตกรรม ฯ(***) ขายซ้ำ
เนื่องจาก วันนี้21 เมษายน ในอดีตพ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) – พรรคคอมมิวนิสต์อัฟกานิสถานปฏิวัติล้มล้างรัฐบาลของดาอูดข่าน จัดตั้งรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยอัฟกานิสถานที่อยู่ใต้อิทธิพลของสหภาพโซเวียต ต่อมายกตัวอย่างจากบทIntroductionในหนังสือชุมชนจินตกรรมฯ กล่าวถึงบริบทAfghanistan(1980) in terms o f -.;. accord ing to taste – ‘so ci al imp eri alism, ‘
‘defending socialism,’ etc., no one, I imagine, seriously believes that
such vocabularies have much bearing on what has occurred In
Indochina.เปรียบเทียบกับอินโดจีนใน1979(2522)
โดยผมรีวิวหนังสือมาหลายรอบ ขอต่อยอดเล่าจากหนังสือชุมชนจินตกรรมฯ จากวิธีการเปรียบเทียบดังกล่าว ซึ่งผมใช้การเปรียบเทียบเพิ่มจากแนวการวิเคราะห์ของน้องอ.เบน คือ อ.Perry Anderson อ้างเหมาฯต่อวิเคราะห์ระบอบทักษิณ ดังที่ผมเคยกล่าวไปแล้ว ก็ไทย เปรียบเทียบกับชุมชนจินตกรรมฯ ที่อ.เบน(กล่าวถึงเหมาเจ๋อตงในจีน) เคยเขียนถึงกำเนิดชาตินิยมในเวเนซุเอลาอย่างที่เรารู้ต่อมาปัจจุบันสังคมนิยม ศตวรรษที่ 21 ผสมชาตินิยมแบบเวเนซุเอลาหลังยุคชาเวซ ซึ่งเวเนซุเอลาเคยเปิดสอนหลักสูตร “อุดมการณ์ชาเวซ” เล่าย่อๆ ต่อมามีปัญหาทางเศรษฐกิจ และการเมืองมาก คนอดยาก ฯลฯ ก็ไทยไม่ได้สไตล์ชาตินิยมแบบน่าจะเป็นแบบเวเนฯ ชวนให้ซวนเซแบบนั้น
โดยผมเล่าขยายความเปรียบเทียบลาตินอเมริกา ก็มีการครองอำนาจนำโดยโซเวียต ซึ่งปัจจัยทหารโซเวียตเข้าเวเนซุเอลา ก็น่าจะเกี่ยวข้องกรณีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ทำให้เวเนฯ ล่ม ก็มีคนอธิบายไว้มากแล้ว กรณีทฤษฏีวิกฤตเศรษฐกิจมาร์คซิสต์ ถึงวิกฤตเศรษฐกิจในลาตินอเมริกา
ส่วนสำคัญมาจากการพึ่งการส่งออกของน้ำมันในช่วงที่ราคาน้ำมันตกต่ำลงอันเนื่องมาจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกปี 2008 เวเนสเวลามีระดับเงินเฟ้อที่น่ากลัวมาก
เมื่อรัฐบาลของหลายประเทศในลาตินอเมริกาประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ แทนที่จะยึดทรัพย์และระบบการผลิตจากคนรวยและกลุ่มทุน กลับใช้นโยบายเสรีนิยมกลไกตลาดที่รัดเข็มขัดตัดสวัสดิการให้ประชาชน ซึ่งทำให้ขบวนการแรงงานและคนจนจำนวนมากไม่พอใจ
แต่ผมสนใจเรื่องจินตนาการทางภูมิศาสตร์(****) ซึ่งผมคิดขึ้นเอง ส่วนหนึ่งปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิรัฐศาสตร์ และทลายรากของชาตินิยม เป็นปัจจัยของประชานิยม ที่ภายในประเทศ และอาณาบริเวณ รวมทั้งแนวร่วมสังคมนิยมช่วยเหลือกันให้ได้
3.สิทธิการดื้อแพ่งต่อกฎหมาย ตามภาพ
นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 เป็นต้นมา ได้ปรากฏขบวนการเคลื่อนไหวของประชาชนเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในซีกโลกตะวันตก ขบวนการเคลื่อนไหวที่เผยตัวออกให้เห็นนี้เป็นการเคลื่อนไหวที่มีวัตถุประสงค์แตกต่างกันออกไป และครอบคลุมประเด็นที่กว้างขวาง เช่นขบวนการเคลื่อนไหวเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิสตรี ขบวนการเคลื่อนไหวของกลุ่มชนพื้นเมือง(indigenous people) ขบวนการเคลื่อนไหวของกลุ่มรักร่วมเพศ ฯลฯ โดยรวมๆ สามารถเรียกการเคลื่อนไหวที่ปรากฏขึ้นเหล่านี้ว่าเป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่ (ดูรายละเอียดใน ไชยรัตน์ 2542)
การปรากฏตัวของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่(new social movement)ได้นำมาสู่การค้นหาคำตอบใหม่ๆ ในวงวิชาการ อันเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นนี้มีความแตกต่างไปจากรูปแบบการเคลื่อนไหว ของกลุ่มประชาชนอย่างที่เคยเป็นมาในอดีต ทั้งในด้านเป้าหมาย กลุ่มคนที่เข้าร่วม ประเด็นของการเรียกร้อง ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่ได้สร้างรูปแบบของ “การเมือง” ที่มีความแตกต่างไปจากการเคลื่อนไหวของการเมืองในรูปแบบซึ่งเป็นที่คุ้นเคยกันในประเทศเสรีประชาธิปไตย
ความสำคัญประการหนึ่งของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่ก็คือ การปฏิเสธต่อระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทน(representative democracy) การเคลื่อนของขบวนการเหล่านี้จึงไม่ให้ความสำคัญต่อพรรคการเมือง นักการเมืองระบบรัฐสภา และไม่เชื่อในเรื่องความสามารถในการเป็นตัวแทนของระบบที่ดำรงอยู่ การเคลื่อนไหวจึงเป็นการกระทำการด้วยตนเอง ด้วยวิธีการที่นอกเหนือจากสิทธิที่ได้รับตามระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทน เช่น สิทธิในการเลือกตั้ง การอภิปรายไม่ไว้วางใจของนักการเมืองฝ่ายค้าน เป็นต้น
รูปแบบการเคลื่อนไหวที่สำคัญประการหนึ่งของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่ ที่ถูกนำมาใช้อยู่อย่างสม่ำเสมอและกล่าวได้ว่าเป็นวิธีการที่ปรากฏอยู่อย่างแพร่หลายในการเคลื่อนไหวก็คือ การดื้อแพ่งของประชาชน(civil disobedience)…(*****)อ่านเพิ่มเติมได้เนื่องจากวันศาลยุติธรรม
4.หลักการบทละครเชคสเปียร์(******)รวมผลงานเชคสเปียร์ขายซ้ำ
5.หนังสือเพลงชีวิต(*******) ขายซ้ำ
6.ดนตรีวิวัฒน์(********) ขายซ้ำ
*หลับสบายขึ้น


**E-book: แนวความคิดทฤษฎีทางสังคมวิทยา ตอน “แมกซ์ เวเบอร์” โดย ลิวอิส เอ. โคเซอร์ แปลโดย อังกาบ กอศรีพร

***ชุมชนจินตกรรม ฯ

(ข้อมูลวิกิพีเดียไทย ไม่ตรงกับภาษาอังกฤษตรงวันที่April 27 ใน1978 – The Saur Revolution begins in Afghanistan, ending the following morning with the murder of Afghan President Mohammed Daoud Khan and the establishment of the Democratic Republic of Afghanistan. )
การสะสมความทรงจำ การเมืองไทยและเลือกตั้ง2562

****Geographical Imaginations
http://territorialmasquerades.net/geographical-imaginations/
โดยTeo Ballvé
My research is about the political ecology of violent conflict and development in Latin America with special interest in the role of natural resources and illicit networks…
https://www.colgate.edu/facultysearch/FacultyDirectory/teo-ballve
ดูเพิ่มเติมIs Venezuela the New Cuba?
http://colgate.academia.edu/TeoBallve
*****สิทธิการดื้อแพ่งต่อกฎหมาย
http://www.openbase.in.th/http:/%252Fwww.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%25
******รวมผลงานเขียนบทละครเชคสเปียร์

*******เพลงชีวิต

********ดนตรีวิวัฒน์
24 เมษายน
เล่าภาพอุตรดิตถ์(จบ)
จากเล่าภาพตอนที่1 คือ ผมแค่ผ่านมาพื้นที่ลับแล จากภาพพระบรมรูปจำลองรัชกาลที่5 ที่วัดพระแท่นศิลาอาสน์ เพื่อสร้างความเข้าใจความต่อเนื่องดังกล่าว ซึ่งผมเล่าย้อนประวัติศาสตร์ หลังการเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่1 พ.ศ. 2440(*) รัชกาลที่5 ทรงเสด็จนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์(ตามภาพ) เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2444 ครั้งที่พระองค์ทรงเสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือและเมืองอุตรดิตถ์ เพื่อตรวจราชการและเยี่ยมราษฎรของพระองค์ โดยเสด็จทางชลมารคหรือทางน้ำ ขึ้นที่ท่าน้ำ”วัดวังเตาหม้อ” (ปัจจุบันเป็นวัดท่าถนน)
จากนั้นทรงขี่ม้าเสด็จต่อยังพื้นที่อำเภอลับแลและวัดพระแท่นศิลาอาสน์ โดยประดับธงชาติผืนสีแดง ตรงกลางเป็นรูปช้างเผือกสีขาวแสดงถึงประเทศสยาม ติดตั้งตลอดเส้นทางที่พระองค์เสด็จ ประชาชนชาวจังหวัดอุตรดิตถ์และอำเภอลับแลเข้าเฝ้ารับเสด็จในครั้งนั้นอย่างเนืองแน่นตลอดเส้นทาง
เนื่องจากพระบรมรูปจำลองมีเพียงแค่ 9 องค์ จัดสร้างพร้อมกับพระบรมรูปทรงม้า ที่ประดิษฐานหน้าพระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานคร เมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรป ครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2450 โดยเสด็จประเทศฝรั่งเศส จัดสร้างเพื่อถวายให้กับวัดสำคัญที่เคยทรงเสด็จไปกราบนมัสการ ทั่วประเทศมีเพียง 9 วัด
โดยภาพพระบรมรูปจำลอง ที่บริเวณฐานประทับยืน ด้านหน้าพระบาทซ้ายพบตัวอักษรฝรั่งเศสคำว่า Georges Saulo (จอร์จ เซาโล)เป็นชื่อนักประติมากรรมและแกะสลักชาวฝรั่งเศส ส่วนที่บริเวณริมฐานด้านหลังของฝ่าพระบาทขวา พบตัวอักษรภาษาฝรั่งเศสว่า SUSSF Fres FONDEURS.PARIS (ซุซเซอร์ เฟรสฟอร์เดอร์ ปารีส) ซึ่งเป็นชื่อบริษัทที่จัดสร้างและหล่อพระบรมรูปจำลองขึ้นมา โดยผลิตที่ประเทศฝรั่งเศส
ส่วนที่ฐานประทับยืนด้านหน้า มีตราแผ่นดิน ประกอบด้วย “โล่” ภายในมีรูป พระมหาพิชัยมงกฎเป็นรูปฉัตร 7 ชั้น, นพปฏลมหาเศวตฉัตร ฉัตร 9 ชั้น เป็นเครื่องหมายแสดงพระราชอิสริยศของพระมหากษัตริย์, ช้างสามเศียร ช้างเผือก กริช และ รูปคชสีห์ประครองฉัตรทั้งด้านซ้ายและด้านขวา บริเวณขอบโล่ด้านล่างสุด ล้อมรอบด้วยพระมหาสังวาลนพรัตน์รัตนราชวราภรณ์ ส่วนใต้พระมหาสังวาลนพรัตน์รัตนราชวราภรณ์ คือ สายสร้อยจุลจอมเกล้าพร้อมดวงตราประจำรัชกาลที่ 5 พร้อมฉลองพระบาทเชิงงอนแยกอยู่ริมฐานฉัตรด้านละ 1 ข้าง เบื้องหลังตราแผ่นดินที่มีลักษณะเป็นจีบคล้ายผ้าม่านคือ ฉลองพระองค์ครุยทอง(**)
ต่อมาตามภาพถ่ายเก่าพระวิหารหลวงประดิษฐานองค์พระแท่นศิลาอาสน์ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันได้ทำการบูรณะใหม่แล้วหลังจากถูกไฟป่าไหม้ไปเมื่อปี พ.ศ. 2451 กาลเวลาผ่านไป(***) ถ้าเปรียบเทียบกรณีเน้นยกตัวอย่างเรื่องเล่าในแง่ความเป็นจริง มีเทคโนโลยีภาพถ่ายบันทึกภาพไว้
ส่วนความน่าสนใจผมค้นข้อมูลเรื่องพระรูปรัชกาลที่ 5 หล่อโลหะบร๊อนส์ที่ระลึกยืนเต็มองค์ ประทับบนฐานเหลี่ยมขนาด 17.5×18ซม. สูง 53.8ซม. สร้าง พ.ศ.2450 โดย Susse Frres Foudeurs Paris ประเทศฝรั่งเศส บริษัทเดียวกันกับที่หล่อพระบรมรูปทรงม้าหน้าลานพระราชวังดุสิต ด้านในฐานมีตอกรหัสเลข “356” เป็นรุ่นรูปหล่อโลหะที่รูปทรงสง่างาม เป็นที่นิยมมาก ปัจจุบันหลายหน่วยงานได้ใช้แบบนี้ทำเลียนแบบเพื่อฉลองในวาระต่างๆ หายากมากและมีความต้องการมากในวงนักสะสม(****) โดยน่าสนใจตามข่าวกรณีพระเล่าว่า พระบรมรูปจำลองนี้ เดิมเคยตั้งอยู่ภายในวิหารพระแท่นศิลาอาสน์ เมื่อปี พ.ศ.2547 ได้รับแจ้งเตือนจากพระผู้ใหญ่ที่กรุงเทพ ให้ระมัดระวังในการเก็บรักษาให้ดี
เนื่องจาก พระบรมรูปจำลองนี้เป็นวัตถุอันล้ำค่ายิ่งไม่สามารถประเมินค่าได้ แต่เป็นที่ต้องการของนักสะสมของเก่า ขณะนี้ได้มีผู้ไม่หวังดีฉกพระบรมรูปจำลองนี้ไปจากวัดแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ในฐานะที่ทางวัดพระแท่นได้รับพระบรมรูปจำลองมาพร้อมกัน จึงอยากให้ระมัดระวังในการเก็บรักษาให้ดี(ผมไม่รู้ว่าเรื่องเล่าของจริงของปลอมแค่มาเล่าต่อ)
เมื่อผมมาพื้นที่อำเภอลับแล มีเวลาแล้วเล่าแค่สองตำบลโดยเปรียบเทียบสองเทศบาล คือ พื้นที่เทศบาลตำบลทุ่งยั้ง กับพื้นที่เทศบาลตำบลศรีพนมมาศ ก็ลับแล ถูกตัดแบ่งเขต ซึ่งเทศบาลตำบลศรีพนมมาศ อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ เป็นเทศบาล ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานและมีการสืบทอดศิลปวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมมาจากในอดีต แต่ด้วยการเวลาผ่านไปส่งผลให้วัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมดังกล่าวเลือนหายไป กระทั่งเทศบาลตำบลศรีพนมมาศได้มีการฟื้นฟูและอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นไว้ เพื่อให้คงอยู่กับอำเภอลับแล
(*****)
จากตอนที่1 เล่าภาพจากพิพิธภัณฑ์ลับแล เขตเทศบาลตำบลศรีพนมมาศ มาวัดพระแท่นศิลาอาสน์ เดิมชื่อ วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่ที่บนเนินเขาเต่า หรือเขาทอง บ้านพระแท่น ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ หรือวัดอยู่ในเขตเทศบาลตำบลทุ่งยั้ง ก็ผมได้มีโอกาสเข้าพิพิธภัณฑ์ของวัด(******)ได้สำรวจดูของ สนทนาสั้นๆถ่ายภาพหลวงตาศิลปินกำลังวาดภาพพระบฎส่งจิตรกรรมบัวหลวง และต่อมาผมกลับมาเขียนทบทวนความทรงจำเขียนต่อเนื่องจากอดีตและตอนที่1(*******) ดังกล่าวด้วย
เมื่อเส้นทางผ่านประสบการณ์การเดินทาง ทำให้ผมมาเขียนเรียนรู้วาทกรรม กำเนิดสยามจากแผนที่ สู่ชุมชนจินตกรรมฯดังกล่าว กรณีมีตีความมุมใหม่โดยผม เห็นภาพมีอิทธิพลฝรั่งเศส ตามภาพพระบรมรูปจำลองของวัดพระแท่นศิลาอาสน์ เกี่ยวกับพระบรมรูปทรงม้า(แถวนั้นเคยมีหมุดคณะราษฎรเก่าที่หายไป) ต่อมาเห็นข่าวคนแสดงความคิดเห็นต่อไฟไหม้มหาวิหารนอร์ทเทอร์-ดาม ย้อนไปเชื่อมโยงถึงล่าอาณานิคมของฝรั่งเศส(********)
แต่น่าสนใจสำหรับผมน่าคิดประเด็นเล่าย้อนในแง่เปรียบเทียบการเขียนเรื่องร.5 กรณีพระบรมรูปทรงม้า มีอยู่ ในแง่มุมใหม่อย่างมรดกเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส โดยแสดงให้เห็น“มูนิซิเปอล” (Municipal/หรือเทศบาล)ขึ้นในกรุงเทพฯ หรือ“สุขาภิบาลกรุงเทพฯ”รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามแบบอย่างที่ประเทศตะวันตกใช้ในอาณานิคมขณะนั้น เพื่อสร้างความเจริญของบ้านเมือง ยกตัวอย่างการสมโภชรูป (พระบรมรูปทรงม้า) ดูพระราชหัตถเลขา รัชกาลที่ ๕
มีข้อที่ควรคิดอยู่อย่างเดียว แต่เพียงว่าปีแรกๆ สนุกนิ์มากนัก ปีหลังซึ่งเพียงแต่ซ้ำปีก็อาจจะชักจืดได้ ข้อสำคัญที่จะให้ยั่งยืนนั้น จะต้องเอาความนิยมต่อการสนุกนิ์ของราษฎรเป็นสำคัญอย่างเช่นเขาแห่เจ้า มีงิ้วงานปีเขาไม่จืดได้ฉันก็ทำนองนั้น ที่ว่านี้เทียบทางที่พวกเมืองเราเคยทำ ถ้าเทียบอย่างฝรั่งเขาก็มีกำหนดวันแต่งดอกไม้ปีละครั้ง เช่น หลอดบิกคอนสฟีล ใครๆ ก็พาดอกปริมโรสไปประดับจนเป็นกองอยู่รอบรูป การที่จะทำเป็นของราษฎร แต่เพราะเหตุที่มิวนิสิเปอล คือ เวลานี้เป็นกรมศุขาภิบาลเป็นเจ้าของสิ่งทั้งปวงที่สร้างขึ้น เป็นของสาธารณชนทั่วไป จึงต้องเป็นเฮียกง ฤามรรคนายก เอาเพียงเท่านั้น อย่าให้เดินไปถึงเป็นการหลวงเช่นกับเบิกใบศรีเงินทองไปตั้ง ฤาเครื่องนมัสการไปตั้งที่ที่ทำบุญ อย่าเกี่ยวกับกระทรวงวังเลย เช่นนั้นได้จึงจะดี
สยามินทร์(*********)
ดังนั้น ผมเข้าวัดไม่เห็นพระบรมรูปตามข้อมูลนั้นในวันนั้น แต่ถ้ามองจากผลงานศิลปะพระบรมรูปจำลองแง่ศิลปะดูยอกย้อนซับซ้อนลึกซ่อนนัยยะพระบรมรูปจำลอง และพระบรมรูปทรงม้าอย่างฝรั่งเศส หากคิดอย่างเชื่อมโยงต่อเนื่องไม่ตัดต่อ คำถามที่ยังไม่มีใครถามถึงมรดกอดีต มีปริศนาสำหรับอนาคตไทยจะเป็นอย่างฝรั่งเศส(?)
อย่างไรก็ตาม ผมได้เรียนรู้มาทบทวน สะสมความทรงจำนั่งรถทัวร์มาท่ารถอุตรดิตถ์ และผมขับรถของที่บ้าน ต่อมาผมขับรถเดินทางกลับพร้อมพ่อแม่ ก็ได้คุยเรื่องราวการเดินทาง และผมคุยแลกเปลี่ยนการเมือง ทั้งพ่อ ซึ่งมีคำคมประจำตัวว่าจบแค่ป.4 แต่พ่อเล่าว่าจะคุยเรื่องการเมืองกับใครก็ได้รู้เยอะ ดูข้อมูลข่าวสารมากเล่าย่อๆ โดยเล่าข้อมูลใหม่เรามีเชื้อเขมรปนจีนปนมอญปนลาว คุยเรื่องเมือง และทัศนศึกษาเล่าภาพ(**********) แล้วเจอด่านตำรวจ ที่พิชัย ตรวจดื่มสุราตามภาพ เป็นต้น
นี่แหละ จากคำว่า “ลับแล” หมายตามรูปศัพท์ว่า “ที่ซึ่งมองดูไม่เห็น” ชื่อเมืองที่ตั้งตามลักษณะภูมิประเทศ เพราะเมืองลับแลตั้งอยู่ในภูมิประเทศที่ลี้ลับซับซ้อน แล้วผมหาทางออกจากอุตรดิตถ์ ต้องขับรถบนถนนหนทางเส้นทางต้องไปต่อไป
*การเดินทางทางเรือไปยุโรปใช้เวลาราวเดือนครึ่ง แผนการเดินทางทั้งหมดครอบคลุมเวลายาวนานถึง 9 เดือน ไม่เคยมีระยะเวลาที่พระมหากษัตริย์มิได้ประทับอยู่รั้งพระนครยาวนานเท่านั้นมาก่อน ดูเพิ่มเติมLa Tour Eiffel บันทึกของพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ทรงเดินทางถึงทวีปยุโรป ในสมัยที่หอไอเฟลมีอายุแค่ 8 ปีเรื่อง นักรบ มูลมานัส

ดูเพิ่มเติม ไทยพีบีเอส เรื่องเล่ารัตนโกสินทร์ ตอน ใยนึกกลัวหวาดเกรง ยิ้มสู้
**เคยเห็นกันหรือยัง!!!พระบรมรูปหล่อจำลอง รัชกาลที่ ๕ ฉลองพระองค์ในชุดจอมทัพสยาม สร้างพร้อมพระบรมรูปทรงม้า!!มีเพียงแค่ ๙ องค์เท่านั้นทั่วประเทศ
https://www.tnews.co.th/contents/209982
อัญเชิญพระบรมรูปหล่อจำลองรัชกาลที่ 5 ตั้งโชว์ภายในวิหารพระแท่นศิลาอาสน์ ให้ประชาชนร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ครั้งเสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือและเมืองอุตรดิตถ์ เมื่อ 115 ปีที่ผ่านมา
***พระรูปรัชกาลที่ 5″King Chulalongkorn” original bronze statue full standing posture attached on square base size of base 17.5x18cm., height 53.8cm., produced by Susse Fr?res Foudeurs Paris in 1907(the same manufacturer for the Bangkok landmark of King Chulalongkorn Horseman Status at Dusit Palace foreground), inner base coutermarked number “356”, still in excellent condition, extremely rare and much sort after by all advance collectors.
(ราคาเริ่มต้นหนึ่งล้านบาท ดูLOT NO: 1461 meaning Starting: THB 1000000 Approx: € 23809 )
http://sale22.eurseree.com/cgi-bin/info/agora-p.cgi?maxp=4000&ppinc=Printout&query_price_low_range=1401&query_price_high_range=1483
พระรูปรัชกาลที่ 5 หล่อโลหะบร๊อนส์ที่ระลึกยืนเต็มองค์ ประทับบนฐานกลมขนาด 18ซม. สูง 48ซม. ขอบรอบฐานจารึกพระนามเป็นภาษาอังกฤษ สร้าง พ.ศ.2440 โดย ประเทศอิตาลี เป็นรุ่นรูปหล่อโลหะที่รูปทรงสง่างาม เป็นที่นิยมมาก ปัจจุบันหลายหน่วยงานได้ใช้แบบนี้ทำเลียนแบบเพื่อฉลองในวาระต่างๆ หายากมากและมีความต้องการมากในวงนักสะสม สภาพผิวเดิมยังคงอยู่สมบูรณ์มาก สวยงามมาก(“King Chulalongkorn” original bronze statue full standing posture attached on circular base diameter of 18cm., height 48cm., round the rim base inscribed “H.M.Somdetch Phra Paramindr Chulalongkorn King of Siam” produced in Italy in 1897, original surface still much intact in excellent condition, extremely rare and much sort after by all advance collectors.)
http://sale23.eurseree.com/cgi-bin/info/agora.cgi?cart_id=191395.9887*3R56e1&p_id=915&xm=on&ppinc=search2
(ราคาเริ่มต้นหนึ่งล้านห้าแสนบาทดูLOT NO: 915 meaning Starting: THB 1500000 Approx: € 35714 Download Blank POST-BID)
พระรูปรัชกาลที่ 5 ดูข้อมูลผู้ปั้น ค้นหาเพิ่มเติมเชื่อมโยงกันของ Georges Saulo และClovis-Edmond Masson
****ภาพจากวิกิพีเดียพระแท่นศิลาอาสน์
*****’เจษฎา’เร่งพัฒนาเมืองลับแล
http://www.komchadluek.net/news/local/160387
(ค้นหาเพิ่มเติม ยกตัวอย่างเฮือนลับแล มีช่องแมว ใช้สำหรับเก็บของ และไส้ปลาไหล (ไม้คู่) คือ ไม้ที่คีบขนาบติดเสาโตนทั้ง 3 ต้น เพื่อใช้ขึ้นซ่อมแซมหลังคา)
******พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นประจำวัดวัดพระแท่นศิลาอาสน์ หนึ่งไฮไลท์ของการไปเยือนเมืองลับแล

ดูเพิ่มเติมวารสารเอิ้นเน้อ
*******เล่าภาพอุตรดิตถ์(1)

วัดพระแท่นศิลาอาสน์ อุตรดิตถ์

“อ.พิชัย อุตรดิตถ์ อ.ตะหานหิน และจ.พิจิตร”

อุตรดิตถ์

********ช็อกโลก!! ไฟไหม้มหาวิหารนอร์ทเทอร์-ดาม โบราณสถานอายุกว่า 850 ปี กลางกรุงปารีส ฝรั่งเศส เสียหายหนัก

*********หลักฐานใหม่แย้งข้อมูลเก่า “เบื้องหลัง เบื้องลึก” ของสาเหตุการสร้าง พระบรมรูปทรงม้า ร.๕

ดูเพิ่มเติมสำเนาพระราชหัตถ์เลขาส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึง มหาอำมาตย์นายก เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)ถึง เมื่อครั้งเป็นเสนาบดีกระทรวงนครบาล (๒) สวนดุสิต วันที่ ๑๗ ต.ค. รัตนโกสินทรศก ๑๒๘ ถึง พระยายมราช ได้รับหนังสือว่าด้วยการสมโภชรูป(๑) นั้นแล้ว
http://pradub-sukhum.com/Yomaraj.html/The%20King%20Letters/(3-2).html
ดูเพิ่มเติม๑๑ พฤศจิกายน วันสำคัญของพระบรมรูปทรงม้า! ร.๕ เสด็จไปประทับเป็นหุ่นปั้นที่ฝรั่งเศส!!
https://mgronline.com/onlinesection/detail/9600000113685
(ดูเพิ่มเติมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเริ่มจากการจัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ.116 (พ.ศ. 2440) เทศบาล ในวิกิพีเดีย หรือดูเพิ่มเติมเทศบาล – ฐานข้อมูลการเมืองการปกครองสถาบันพระปกเกล้า: นักวิชาการส่วนใหญ่ที่ศึกษาเรื่องเทศบาลในประเทศไทยมองว่า เทศบาลมาจาก “พัฒนาการของสุขาภิบาล” …หรือดูเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2476 ถือกำเนิดขึ้นในยุคระบอบประชาธิปไตย ในสมัยรัฐบาลของพระยาพหลพลพระยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้ประเทศไทยมีการปกครองท้องถิ่นเหมือนกับที่อารยประเทศมี และได้รับอิทธิพลจากฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก โดยจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ การบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น โดยมุ่งให้การปกครองภายในเทศบาล (การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น) มีลักษณะจำลองมาจากการปกครองในระดับชาติ เพื่อให้เทศบาลเป็นเครื่องมือในการสร้างความเข้าใจระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยแก่ประชาชน ต่อมา4 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยได้มีการประกาศ กำหนดให้ 24 เมษายน เป็นวันเทศบาล และดูเพิ่มเติมสุขาภิบาลตามแบบอย่างการปกครองท้องถิ่นที่ทรงเห็นมาจากการเสด็จประพาสต่างประเทศ หรือกรณีสุขาภิบาลท่าฉลอม)
**********การสะสมความทรงจำ :ภาษา ภูมิศาสตร์ ภูมิชีวประวัติส่วนตัว ในล้านนาอาเซียน

เล่าภาพ(จบ)

การสะสมความทรงจำว่าด้วยเมือง

(ภาพจิตรกรรมจอร์จ วอชิงตันชี้ทางประชาธิปไตยในวัดบวรนิเวศและบรมนิวาส)
24.2
ผมถ่ายภาพ กับภาพเก่าจ.อุตรดิตถ์จากฟิล์มกระจก ซึ่งขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก
24.3
ราตรีสวัสดิ์ อ่านหนังสือช่วยให้หลับสบาย(*) วันนี้24 เมษายน พ.ศ. 2343 (ค.ศ. 1800) – วันก่อตั้ง หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน(หอสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก)
ซึ่งหอสมุดรัฐสภา (อังกฤษ: Library of Congress) คือ สถาบันด้านวัฒนธรรมที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐอเมริกาและเป็นหอสมุดแห่งชาติ ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1800 ตามกฎหมายของรัฐสภาอเมริกัน เป็นหน่วยงานที่แต่งตั้งโดยประธานาธิบดีภายใต้ความเห็นชอบของสภาสูงเพื่อให้เป็นแหล่งข้อมูลด้านกฎหมายของรัฐบาล ตั้งอยู่ในพื้นที่อาคาร 3 หลังในวอชิงตันดีซี ถือเป็นหอสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลกว่าด้วยชั้นหนังสือและจำนวนหนังสือที่มากที่สุด ในยุคแรกหอสมุดรวบรวมข้อมูลเอกสารส่วนใหญ่เป็นของรัฐสภา
ต่อมาเมื่อเกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้ในปี ค.ศ. 1814 ทำให้เอกสารถูกทำลายไป ในปี ค.ศ. 1815 รัฐสภาอเมริกันได้ซื้อห้องสมุดของโทมัส เจฟเฟอร์สัน อดีตประธานาธิบดี[ยามที่ประชาชนเกรงกลัวรัฐบาล ที่นั่นมีการกดขี่ ยามที่รัฐบาลเกรงกลัวประชาชน ที่นั่นมีเสรีภาพ] ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็น 2 เท่าของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และเปลี่ยนรูปแบบจากข้อมูลเฉพาะรัฐสภาเป็นห้องสมุดข้อมูล ค้นคว้า อ้างอิงทั่ว ๆ ไป
1.อหิงสา อาวุธของคนกล้า : ศึกษาปฏิบัติการสัตยาเคราะห์ของคานธี ขายซ้ำ ภาพจากเน็ต
มีภาพเก่าเผยแพร่คานธี มาอังกฤษกับกรรมกรอังกฤษ ภาพที่ไม่เคยเปิดเผย: ‘มหาตมะ คานธี’ช่วงก่อนด้วย
2.ข้างหลังภาพ(ภาพจากเน็ต) ขายซ้ำ โดยศรีบูรพา เป็นนิยายคลาสสิคอมตะของการตีความได้หลายแบบจากประโยคในนิยาย..ฉันก็อิ่มใจว่า ฉันมีคนที่ฉันรักต้องอ่านแล้วจะได้พบใจความอิ่มใจ(**)
3.นักเขียนโฮโม (***)ขายซ้ำตามรูปจากเน็ตมีฟรอยด์ และผมรีวิวหนังสือของฟรอยด์ไปบ้างแล้ว ขายหนังสือซ้ำบ้างเล่มอื่นบ้างมาต่อเนื่อง อีกแง่มุมคนที่สัมพันธ์กับฟรอยด์ คือ ความคิดเห็นของ คาร์ล จุง ในเรื่องของความฝันมีดังนี้ “ ความฝันเป็นประหนึ่งประตูเล็กๆ ที่ซ่อนอยู่ข้างในสุดเร้นลับที่สุดของจิตไร้สำนึก (psyche = unconsciousness as consciousness) ประตูที่เปิดสู่จักรวาลยามค่ำคืนที่มืดมิด หรือสู่แหล่งที่มาของจิตไร้สำนึกก่อนที่มันจะเปลี่ยนเป็นจิตแห่งอหังการ์ในมนุษย์ – ที่จะยังคงเป็นจิตไร้สำนึกของจักรวาลตลอดไปไม่ว่าจักรวาลจะขยายไปถึงไหน … จิตนั้นอาจมีหลากหลายรูปแบบ
แต่ในฝันเราจะเป็นเสมือนมนุษย์ที่มีความเป็นสากลจริงๆ เป็นความจริงที่แท้จริงกว่านิรันดร ที่ดำรงอยู่ในความมืดสลัวของ “แสงแรกแห่งจักรวาล” (primordial light) มนุษย์ที่เป็นส่วนย่อยของทั้งหมดเท่าๆ กับมีทั้งหมดอยู่ในส่วนย่อย และเป็นสิ่งเดียวกับ “ธรรมชาติที่ไร้อหังการ์” จากหนึ่งที่เป็นทั้งหมด – ทั้งหมดที่เป็นหนึ่งนี้เองที่ความฝันอุบัติขึ้นมา ไม่ว่าความฝันนั้นๆ จะดูไร้เดียงสาหรือว่าจะโอ่อ่าโอฬารหรือว่าจะไร้สิ้นซึ่งคุณธรรมมนุษยธรรมแค่ไหนก็ตาม” (Carl Jung : Memories, Dreams, Reflections; 1963)…
โดยจุง พฤติกรรมที่แสดงออกในฝัน ไม่น่าจะได้มาหรือมีที่มาจากความกดดันทางเพศอย่างเดียวเท่านั้นและเท่านั้น แต่อาจเป็นความทรงจำที่ฝังใจทุกอย่าง เช่นความไม่เป็นธรรม การถูกเหยียดหยามซ้ำซาก ฯลฯ และความทรงจำก็ไม่ได้ยุติที่อดีตที่เกิดขึ้นในชีวิตนี้เท่านั้น
แต่ความทรงจำนั้นๆ ยังอาจจะไล่กลับไปถึงแหล่งความจำของเผ่าพันธุ์ (archetype) และไล่ต่อไปถึงสนามจิตไร้สำนึกร่วมอันเป็นสากลของจักรวาล (universal unconscious continuum) ส่วนเรื่องปัญหาของฟรอยด์กับจุง ก็ลองอ่านเพิ่มเติมได้
โดยประเด็นความฝัน ผมว่าน่าสนใจสำหรับการตีความของจุง การอ้างเชิงวิทยาศาสตร์ต่อความฝัน ไม่ใช่แค่แปลเป็นเลขหวยของล็อตตอรี่รัฐบาลเท่านั้น
4. ตรรกวิทยา
5. ตรรกศาสตร์ฯ
6. สถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรม วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
ฉบับที่ 1 ปีการศึกษา 2537
*หลับสบายขึ้น



**ข้างหลังภาพ
***กวีการเมือง


ขายหนังสือตรรกะเหตุผล