วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2560

การสะสมทุน ความรู้ ความทรงจำ กำลังมวลชน(อุปมาปลา)

3 พ.ย.
พระราชทานพันธุ์ปลาหมอเทศแก่ประชาชน หนังสือพิมพ์ข่าวการประมงบันทึกข่าวไว้ว่า “ในวันนั้นได้มีประชาชน รวมทั้งข้าราชการทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ ข้าราชการฝ่ายพลเรือน กำนันผู้ใหญ่บ้าน และนักเรียน ๒๖๕ คน ไปรับปลาหมอเทศ จำนวน ๖๕,๐๐๐ ตัว ในโอกาสนี้ กรมประมงได้แจกปลาหมอเทศที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ไปรายละ ๒ คู่ เพื่อเป็นมิ่งขวัญและสิริมงคลแก่ผู้ที่เลี้ยงปลา ให้การเลี้ยงปลาเจริญก้าวหน้าสืบไป” โปรดสังเกตแผ่นป้านสีขาวบนขอบบ่อ และกรงเลี้ยงไก่ปากบ่อในภาพที่ ๓๔ คุณอารีย์ สิทธิมังค์ เล่าว่าเป็นงานสาธิตการเกษตรผสมผสาน เลี้ยงไก่ควบคู่กับเลี้ยงปลา
https://web.ku.ac.th/king72/king_rem/king04.html
3.2
รัฐต้องแก้ไขปัญหาซับซ้อนหลายเรื่องได้ ไม่มัวหาเรื่องโทษกันไปมาปัญหารัฐธรรมนูญ…รัฐธรรมนูญฉบับนี้เราไม่ได้ใช้คำว่ากลไกตลาดสักคำ เพราะรัฐธรรมนูญ2550 ได้ใช้คำว่ากลไกตลาด…. (*)
การสร้างสรรค์ไม่ให้แค่เป็นกระแส..
โครงการ“DSD Smart Farmers”เนื้อหาหลักสูตรประกอบด้วย1)เทคนิคการคัดเลือกสินค้าเกษตรที่จะขาย2)เครื่องมือMarketing onlineนำสินค้าไปขายทั่วโลก3)ขั้นตอนการใช้Alibaba.comสำหรับส่งขายทั่วโลก4)เทคนิคและขั้นตอนการส่งออกสินค้าทางการเกษตร และ5)ตลาดออนไลน์CLMV (กัมพูชา,ลาว,พม่า,เวียดนาม) ซึ่งใช้เวลาในการฝึกอบรมเพียง3วัน(18ชั่วโมง)
ปัจจุบันเป็นยุค Digital Technology Thailand 4.0 มีระบบการบริการที่รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ จึงได้รวมกลุ่มเกษตรกรที่เห็นความสำคัญของการพัฒนาตนเอง ซึ่งเป็นผู้นำในกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ เข้าอบรมในหลักสูตร “การใช้ Smart Farmer Application Digital Technology Thailand 4.0 พาเกษตรกรไทย ค้าขายก้าวไกล ไร้พรมแดน” และเริ่มนำร่องเป็นแห่งแรกแล้วที่ จ.เลย ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2559 เป็นต้นไป โดยศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จ.เลย บูรณาการร่วมกับสำนักงานเทศบาลเมืองเลย ตามแนวทาง “ประชารัฐ” โดยเน้นการปฏิบัติจริง ทำจริงและขายได้จริง เพื่อนำผลผลิตทางการเกษตรออกสู่ตลาดโลก ค้าขายทั้งในประเทศ และกลุ่มอาเซียน เพื่อจะก้าวสู่ตลาดโลกอย่างไร้พรมแดน(**)
ดังนั้น อย่ามัวพูดเล่นลิ้นจากไข่ปลาคาร์เวียร์ มาข่าว’ประวิตร’ โยนนายกฯตอบปมราคาข้าวตก เปรยราคาข้าวถูกไปขายปุ๋ยแทน น่าเสียดายภาษีประชาชนหยาดเหงื่อแรงงานให้รัฐ(***)
*อ่านต่อได้ที่ : http://www.posttoday.com/politic/462839
**กพร.(กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน)เปิดอบรมเทคนิคขายข้าวให้ชาวนา
https://politics.kachon.com/91391
***ภาพการ์ตูนประกอบจากนสพ.เดลินิวส์
ดูเพิ่มเติมที่ผมเขียนแล้ว…เหตุผลทางเศรษฐศาสตร์การเมือง

(รัฐบาลปิดประเทศไม่ได้หรอก แค่ปิดสถานบันเทิงรื่นเริงรมย์ แค่หนึ่งตัวอย่าง ทำให้เงินหายจากการท่องเที่ยวเดี๋ยวประเทศไทยเป็นบริโภคนิยม โลกาภิวัตน์ทุนนิยมจะเจ๊ง)
3.3
ประเด็นการสะสมความทรงจำ ในการทบทวนอดีต10ปี สมัชชาสังคมไทย เปรียบเทียบไทยกับฮ่องกง กรณีภาพปลารวมตัว ในหน้าปกหนังสือ(ปี2547)และภาพประกอบ ที่มาของการจัดงานสมัชชาสังคมไทย ที่มีเวทีและเครือข่ายหลากหลาย รวมทั้งประเด็น เช่น ปฏิรูปการศึกษา เป็นการรวมกันข้อเสนอปฏิรูปสังคมไทย(*) โดยผมเคยเขียนถึง ภาพแผนที่ในลูกโลกการรวมตัวของWSF(สมัชชาสังคมโลก) ทั้งกลุ่มเครือข่ายแรงงาน ชาวนาฯลฯ และต่อมาภาพเอ็นจีโอ เกาหลีไปประท้วงWTO ที่ฮ่องกง(2548) ซึ่งตอนนั้นเอ็นจีโอไทย(ฯลฯ)ก็ไปด้วย เปรียบเทียบกับการเคลื่อนไหวทางสังคมของไทย ทั้งพรรคการเมือง แรงงาน ชาวนา(ไทย เคยอยากจัดWSFแต่ลดเป็นสมัชชาสังคมไทยหรือTSFในเดือนตุลา ปี2549**)
ดังนั้น ข้อสังเกตเล็กน้อย มองภาพแง่การสะสมความทรงจำ ในมุมมองเปรียบเทียบการสะสมกำลังมวลชน จากฮ่องกง ดูเหมือนไม่ต่อเนื่องของอดีต แต่แท้ที่จริงมีรากฐานของขบวนการเคลื่อนไหวด้วย แล้วไทยแลนด์กำลังเสื่อมถอย รอรื้อฟื้นอีกครั้งในพื้นที่ทางสังคมความหวัง
*ภาพประกอบหนังสือและสูจิบัตรงานTSF
**ดูเพิ่มเติมที่ผมเขียนมาแล้ว Failed Internationalism and Social Movement Decline:The Cases of South Korea and Thailand
วันที่31 ตุลาเป็นวันปวศ.ไทยในอดีตต่อเดือนตุลา
6ตุลา(40ปีแล้ว) รำลึก ที่มีการสืบเนื่องหกตุลา ในภาพ หกปีผ่านไป
วันที่ 10 ตุลาคมในไต้หวันเป็นวันดับเบิลเท็น (Double Ten Day)

7 พฤศจิกา
ประเด็นcritical thinking อีกสักนิด ในLos Angeles Times โดย เจมส์ กรอสส์แมน (James Grossman) ได้เผยแพร่บทความเรียกร้องให้คนหันมาเห็นความสำคัญของการเรียนประวัติศาสตร์ หลังนักศึกษารุ่นใหม่หันหลังให้ภาควิชานี้ ไปเรียนสาขาอื่นที่ทำเงินมากกว่า
บทความของกรอสแมนเรื่อง “History isn’t a ‘useless’ major. It teaches critical thinking, something America needs plenty more of” (วิชาประวัติศาสตร์ไม่ใช้ภาควิชาที่ไม่มีประโยชน์ มันช่วยสอนการคิดวิเคราะห์ อันเป็นสิ่งที่สหรัฐฯยังต้องการอีกมาก)
กล่าวว่า นับแต่เหตุการณ์วิกฤติเศรษฐกิจถดถอยในปี 2007 ภาควิชาประวัติศาสตร์ได้ลดส่วนแบ่งในตลาดการศึกษาลงอย่างมีนัยสำคัญ จากเดิมที่มีผู้เรียนจบระดับปริญญาตรีราว 2.2 เปอร์เซนต์ เหลือเพียง 1.7 เปอร์เซนต์ จากผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีทั้งหมด (ลดลงราว 23 เปอร์เซนต์)
ไม่เพียงภาควิชาประวัติศาสตร์เท่านั้นที่มีจำนวนนักศึกษาลดลง สถิติประจำปี 2014 ซึ่งเป็นปีล่าสุดที่มีการเผยแพร่สถิติระดับชาติ พบว่า มีผู้สำเร็จการศึกษาจากภาควิชาด้านมนุษยศาสตร์ทั้งหมดเพียง 6.1 เปอร์เซนต์ ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่ต่ำที่สุดนับแต่มีการสำรวจระดับชาติในสถิติด้านการศึกษาตั้งแต่ปี 1948
กรอสแมนกล่าวว่า เหตุผลตื้นๆประการหนึ่งที่ถูกยกขึ้นมาเป็นประจำเพื่ออธิบายกระแสที่เป็นอยู่คือ นักศึกษาเลือกวิชาเรียนที่จะช่วยให้หางานที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ซึ่งนักศึกษาอาจถูกกดดันมาจากผู้ปกครองซึ่งเป็นผู้จ่ายค่าเล่าเรียนด้วย
เช่นเดียวกับนักการเมืองใหญ่อย่าง บารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ก็มองข้ามความสำคัญของภาควิชาศิลปศาสตร์ โดยอ้างว่า ไม่ได้ช่วยวางรากฐานในการเตรียมพร้อมสำหรับการประกอบอาชีพ หรือ มาร์โก รูบิโอ วุฒิสภาชิกพรรครีพับลิกันที่กล่าวว่า ช่างเชื่อมได้เงินมากยิ่งกว่านักปรัชญา และต่อต้านการอุดหนุนการศึกษาในภาควิชาที่ “ไร้ประโยชน์” เช่นนี้
แต่กรอสแมนแย้งรูบิโอว่า ในระยะหลังผ่านการทำงานตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไป ผู้ที่จบการศึกษาด้านปรัชญากลับมีความก้าวหน้าในวิชาชีพยิ่งเสียกว่าผู้ที่จบด้านธุรกิจ และผู้ที่จบด้านประวัติศาสตร์เมื่อถึงระยะกลางของวิชาชีพแล้วก็มีรายได้ในระดับเดียวกับผู้ที่จบด้านธุรกิจ ซึ่งสถิติดังกล่าวยังไม่รวมถึงผู้ที่จบด้านกฎหมาย หรือระดับสูงกว่าปริญญาตรีด้วย
กรอสแมนกล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ศึกษาในด้านศิลปศาสตร์ประสบความสำเร็จ คือความสามารถในการปรับตัวเข้ากับโอกาสและสถานการณ์เนื่องจากสภาวะตลาดแรงงานที่ยากจะคาดเดาทั้งในสหรัฐฯและยุโรป ซึ่งอาจนำไปสู่การเปลี่ยนเส้นทางอาชีพ ทำให้คนกลุ่มนี้มีโอกาสดีกว่ากลุ่มที่จบมาในสาขาที่มีความเฉพาะทาง
ประกอบกับความสามารถในด้านการคิดวิเคราะห์ และการสื่อสาร ซึ่งนักศึกษาด้านประวัติศาสตร์จะมีความสามารถในด้านนี้อย่างโดดเด่น เนื่องจากต้องควานหาข้อมูลอันเป็นหัวใจจากแหล่งข้อมูลจำนวนมาก นำมาปะติดปะต่อเพื่อให้สนับสนุนข้ออ้างตน ทำให้นักศึกษากลุ่มนี้เรียนรู้การโน้มน้าวด้วยบรรดาสิ่งที่ช่วยขับดันหรือกระตุ้นพฤติกรรมของมนุษย์ไม่ว่าจะในการเลือกตั้ง การเคลื่อนไหวทางสังคม หรือกระทั่งในห้องประชุมของคณะกรรมการบริหาร
“ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีประวัติศาสตร์ กระบวนการคิดเชิงประวัติศาสตร์คือการตระหนักและทำความเข้าใจถึงทุกปัญหา ทุกเหตุการณ์ และทุกองคาพยพในบริบทนั้นๆ ก่อนการตัดสินใจด้วยข้อมูลที่ได้รับ ไม่ว่าองค์กร บริษัท รัฐบาล หน่วยงานไม่แสวงหากำไร ต่างก็ไม่อาจขาดนักประวัติศาสตร์ไว้ในองค์กรได้ เราต้องการนักประวัติศาสตร์มากขึ้น ไม่ใช่น้อยลง” กรอสแมนกล่าวสรุป
Julie Navarat พี่ชอบนะ
ครับพี่Julie ผมก็ชอบเหมือนกัน และผมเพิ่งมีข้อสังเกตการแปลมีรายละเอียดที่คนแปลไม่ได้แปลเช่นPresident Barack Obama’s dig against the value of an art history degree…( ประธานาธิบดีบารัก โอบามาไม่ให้คุณค่าปริญญาประวัติศาสตร์ศิลปะ หรือยกตัวอย่างhowever, would know that it is essential to look beyond such simplistic logic. จากลิ๊งค์ภาษาอังกฤษ)
http://www.latimes.com/opinion/op-ed/la-oe-grossman-history-major-in-decline-20160525-snap-story.html?utm_medium=email&utm_source=flipboard
แต่ผมไม่รู้รายละเอียดเรียนที่อเมริกา ต่างจากไทยไหม? โดยที่ผมเคยเขียนนำมาตั้งข้อสังเกตเชิงเปรียบเทียบเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยต่อเนื่องจากอุปมาปลา
7.2
เปิดประเด็นแลกเปลี่ยนข่าวสารต่างประเทศ ในช่วงนี้ผมไม่ได้ติดตามข่าวเลือกตั้งอเมริกามากเท่าไหร่ รู้อยู่บ้าง เนื่องจากผมเคยเขียนติดตามอยู่เป็นช่วงๆ เช่น ผมทำนายว่าฮิลลารี จะได้เป็นประธานาธิบดี แต่จริงๆ ผมไม่รู้เรื่องการเมืองอเมริกามาก มีพรรคกรีน ที่น่าสนใจลองตามรายละเอียด กันดู มีพรรคอื่น เช่น อาจารย์มหาลัยด้วย(ภาพประกอบจากเน็ต เช่นhttps://en.wikipedia.org/wiki/United_States_presidential_election,_2016)
ตอนนี้ ที่ผมตามข่าวต่างประเทศบ้าง ก็มีข่าวชาวฮ่องกงชุมนุมต้านจีนแทรกแซง ‘หนึ่งประเทศ สองระบบ’ ตีความรัฐธรรมนูญใหม่(*) ในแง่ผมสนใจติดตามต่อเนื่องที่เคยเขียนไว้(**) และข่าวชาวเกาหลีใต้ชุมนุมประท้วงใหญ่ขับไล่ ปธน.(***)
*http://prachatai.com/journal/2016/11/68708
**https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1454592627903294&id=100000577118415
***(5 พ.ย.)https://www.facebook.com/BBCThai/videos/1843512699203095/

9 พฤศจิกา
ผมตามกระแสผลการเลือกตั้งอเมริกาพลิกล็อคทรัมป์ชนะ ที่เคยเขียนเรื่องการเมืองชาตินิยมของอเมริกา ที่ยกตัวอย่างพรรคกรีน ที่เป็นตัวประกอบดร.จิลล์ สไตน์ เป็นนักกิจกรรมทั้งในOccupy Wall Street(นอม ชอมสกี้ก็เคยเลือกเธอ*)
เนื่องจากฮิลลารี และทรัมป์(อื้อฉาวเหยียดเชื้อชาติ ฯลฯ )ผู้คนจะนึกว่ามีเพียง 2 พรรคการเมืองของสหรัฐเท่านั้น ที่จะลงชิงชัย ตำแหน่งประธานาธิบดีและตำแหน่งทางการเมืองอื่นๆ แต่ว่าไปแล้วยังมีพรรคที่ 3 หรือพรรคอิสระร่วมส่งสมาชิกของตนลงเลือกตั้งด้วย
โดยพรรคกรีน คือดร.จิลล์ สไตน์ประกาศว่านโยบายของเธอเหมือนกับนายเบอร์นี แซนเดอร์ส ผู้เสนอตัวลงชิงชัยตำแหน่งของพรรคเดโมแครต แต่เขาคงไม่ได้รับการเสนอชื่อเพราะ ฮิลลารี คลินตัน ได้คะแนนเดลิเกตส์มากกว่า ดังนั้นใครที่ต้องการเลือกนายแซนเดอร์สขอให้หันมาหาเธอแทน เพราะนโยบายของเธอก็คือสังคมนิยมที่มีความก้าวหน้า
นโยบายขอดร.จิลล์ สไตน์ เสนอคือการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ (ปัจจุบันค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาลกลางสหรัฐกำหนดไว้ชั่วโมงละ 7.25 ดอลลาร์) การนำพลังงานมาใช้ใหม่,ความมั่นคงทางการงานของทุกคน,ระบบสาธารณสุขและการเรียนฟรี ส่วนนโยบายต่างประเทศนั้นจะตัดงบกลาโหมและนโยบายการลดอาวุธ-ปลดอาวุธ(**)
ดังนั้น ผมเคยเขียนเปรียบเทียบทั้งเรื่องพรรคการเมือง และมวลชนแล้ว ขยายความ ในแง่มวลชนอเมริกา แตกต่างไทย ที่ไม่ได้ล้มเลือกตั้ง และการสะสมกำลังมวลชนเพื่อสนับสนุนเผด็จการทหารเป็นระบอบรัฐอำนาจนิยมเหมือนนิยาย1984(***) แต่โลก+อเมริกาและไทย ยังมีความหวังเสมอ
*ดูเพิ่มเติมที่ผมเขียนไว้https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1461656783863545&id=100000577118415

(ผมสนใจในฐานะเป็นคนเคยเขียนข่าวในแง่สนใจส่วนตัวทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับโลกาภิวัตน์จากอเมริกา และระบบโลกในภูมิภาคอาเซียนในนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และภาพประกอบจากเน็ต)
**เรียบเรียงข้อมูลจาก
http://thaitribune.org/contents/detail/345?content_id=21347&rand=1467993526
(2 คนที่เสนอตัวในนามพรรคกรีนประกอบด้วย ดาร์รีล เชอร์นีย์ เป็นนักดนตรีและนายบิล ครีมล์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณภาครัฐศาสตร์ เขาประกาศตัวนับถือลัทธิเต๋า)
***นิยาย1984ถูกตีความ เผด็จการทหารเบ็ดเสร็จtotalitarian or authoritarian state หรือระบอบรัฐอำนาจนิยม
https://en.wikipedia.org/wiki/Nineteen_Eighty-Four
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B6%E0%B9%88%E0%B8%87-%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2-%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%94-%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88
เหตุผลทางเศรษฐศาสตร์การเมือง ที่บิ๊กตู่น่าจะช่วยสนับสนุนพัฒนาเกษตรกรให้เอื้อกับเทคโนโลยีเรื่องข้าว

รัฐต้องแก้ไขปัญหาซับซ้อนหลายเรื่องได้

ประเด็นการสะสมความทรงจำ ในการทบทวนอดีต10ปี สมัชชาสังคมไทย

วันที่31 ตุลาเป็นวันปวศ.ไทยในอดีตต่อเดือนตุลา
14.3
ซีรีส์ภาพมาออกพื้นที่เจอชาวนาไทย คุยเรื่องทรัมพ์ ราคาข้าว ฯลฯ ที่นี่มีชาวนาฆ่าตัวตายไม่ตาย ต่างจากพิจิตร ที่ชาวนาจริงๆไม่ใช่ช่างแอร์
18.3
ซีรีส์ภาพออกพื้นที่พบชาวนา(2) ชาวนาบอกปัญหาราคาข้าวตกต่ำอยู่ที่รัฐบาลผมเลย สร้างภาพมาช่วยชาวนา
18.4
ซีรีส์ภาพออกพื้นที่พบชาวนา(จบ) วันนั้นผมช่วยชาวนาจับปลาด้วย ราตรีสวัสดิ์ ครับ
20 พฤศจิกา
หลักการทำงาน “ปรัชญาปลา” (FISH PHILOSOPHY)
…Lonnie อธิบายว่า (ราวกับเป็นศาสตราจารย์ด้านการบริหารมากกว่าเป็นคนขายปลา) ในการทำงานนั้น มนุษย์ทุกคนมีทางเลือกเสมอ ถึงแม้ว่าจะไม่มีทางเลือกงานได้มากนักก็ตาม ซึ่งทางเลือกนั้นก็คือ การเลือกที่จะนำทัศนคติมายังที่ทำงาน ถ้านำทัศนคติอย่างหนึ่งมาที่ทำงาน ก็จะได้ผลงานอย่างหนึ่ง ทุก ๆ วัน พวกเราที่ตลาดปลาแห่งนี้ตัดสินใจที่จะนำทัศนคติว่า งานเป็นสิ่งที่รื่นรมย์มาที่ทำงาน ถึงแม้เราจะเลือกงานไม่ได้ แต่เราก็เลือกทัศนคติในการทำงานได้
ซึ่งเราก็ได้เลือกที่จะสร้างสรรค์ที่ทำงานของเราให้เป็นที่ ๆ น่าอยู่ และเลือกที่จะทำงานอย่างสนุก และทัศนคติ (ATTITUDE) นี่แหละคือหัวใจสำคัญ ของการทำงานที่ตลาดเรา เมื่อ Mary ได้ไอเดียนี่มา เธอก็เริ่มดำเนินการกับหน่วยงานของเธอ ด้วยการบอกเล่าและโน้มน้าว และร่วมขอความเห็น เพื่อกระตุ้นให้เกิดความคิดที่จะเลือกสร้างทัศนคติในการทำงาน และชักชวนให้ลูกน้องไปเยี่ยมชมตลาดด้วย
Lonnie ได้เฉลยต่อมาว่า ปัจจัยตัวที่สองของความสำเร็จก็คือ PLAY หรือการเล่น ซึ่งมิได้หมายถึงการเล่นอย่างไร้ความหมาย หากแต่ว่าจริงจังกับงาน แต่ก็สามารถเล่นสนุกไปในเวลาเดียวกันได้ในการทำงาน เช่น โยนปลา พูดจาสนุกสนาน ชวนให้ลูกค้าลงมาช่วยบรรจุปลาลงถังด้วยจัดเกมส์ให้ลูกค้าร่วมเล่น เช่น แข่งกันโยนปลา ลดราคาเป็นรางวัล ฯลฯ
ส่วนปัจจัยที่สามก็คือ MAKE THEIR DAY (ให้เป็นวันแห่งการจดจำ) ทำให้ลูกค้าหรือนักท่องเที่ยวจำวันที่มาตลาดแห่งนี้ได้ไม่ว่าจะผ่านไปนานแค่ไหน ซึ่งการเล่นสนุก การให้ลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วมด้วย เช่น เข้าไปในห้องเย็นเอาสวิงตักปลาในถัง ทำความสะอาดปลา เอามือล้วงเข้าไปในท้องปลาตัวใหญ่ ฯลฯ การพยายามให้ลูกค้าเข้าไปมีส่วนร่วมด้วยกับงานของตลาดอย่างสนุกสนานจะทำให้มีความรู้สึกที่ดี กับตลาดไปตลอด
ปัจจัยตัวสุดท้ายก็คือ BE PRESENT (“อยู่”กับลูกค้า) ซึ่งหมายถึง การให้ความสนใจอย่างจริงจังต่อสิ่งที่ตนเกี่ยวพันอยู่ เช่น ให้ความสนใจแก่ลูกค้าอย่างจริงจัง “อยู่” กับลูกค้าโดยไม่ละทิ้งหรือเหม่อลอย ร่วมกิจกรรมกับลูกค้า
ทั้ง 4 ปัจจัยนี้ เมื่อรวมกันแล้ว ผู้เขียนเรียกว่า ปรัชญาปลา (FISH PHILOSOPHY) ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์กับองค์กร ห้องเรียน และครอบครัวได้เป็นอย่างดี เพื่อนำพลังและศักยภาพของทุกคนที่ร่วมกันอยู่ในองค์กรออกมาเพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด (*)…
22.2 ถอดรหัสแดน บราวน์
แดน บราวน์ เรียนจบมหา’ลัยไม่ดังอย่างฮาร์วาร์ด เขียนหนังสือไม่ได้ประสบความสำเร็จ ตั้งแต่เล่มแรก และเขาเคยเป็นนักดนตรีทำอัลบั้มเพลงสำหรับเด็กขายได้ไม่กี่ร้อยแผ่น ต่อมาเขาพบไบลธ์ นิวลอน (Blythe Newlonเรียนจบประวัติศาสตร์ศิลป์) รุ่นพี่หญิงที่มีอายุกว่าเขา 12 ปี ช่วยโปรโมทงานต่างๆ ต่อมาแต่งงานกัน และหนังสือรหัสลับดาวินซีของเขาโด่งดัง ในฐานะนักเขียนอเมริกัน ที่เขียนเรื่องสืบสวนสอบสวนอิงประวัติศาสตร์(*) ที่มีนักปรัชญา นักเขียนอย่างเอโก ซึ่งผมเคยเขียนถึงหนังสือFoucault’s Pendulum อธิบายเพิ่มเติม คือ งานเขียนที่สร้างแดน บราวน์ให้เขียนThe Da vinci Code(**)
แน่นอน แดน บราวน์ นักเขียนไม่ได้มีชีวิตโรยด้วยกลีบกุหลาบ ในฐานะผู้ติดตามหนังของแดน บราวน์อย่างผม สนใจทั้งนิยายเชิงประวัติศาสตร์ศิลป์ และบทหนังแนวลึกลับ(mystery),ระทึกขวัญ((Thriller),ผจญภัย(adventure),สมคบคิด(conspiracy),สืบสวนสอบสวนอิงประวัติศาสตร์
ดังนั้น ผมมาตามดูหนังInferno ที่มาของDivine Comedyหรือสุขนาฏกรรมของพระเจ้า เป็นวรรณกรรมอุปมานิทัศน์(Allegory) ถือเป็นกวีนิพนธ์สำคัญของวรรณกรรมอิตาลี และหนึ่งในงานชิ้นสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งของวรรณกรรมของโลก แบ่งออกเป็นสามตอน โดยหนึ่งในสาม คือ “นรก” (Inferno) ซึ่งภาพแผนที่นรก เป็นลายแทงไปตามหาที่ซ่อนเชื้อร้าย โดยโลเกชั่นทางประวัติศาสตร์ ศิลปกรรมของสถานที่อิตาลีไปถึงตุรกี ในอิสตันบูล :พรมแดนตะวันออกกับตะวันตก ไม่ต้องรีวิวมาก ยกตัวอย่างตัวละครคุยเรื่องความรักบทคำคมจากความรักของดันเต้ และหนังเอ่ยถึงการจับปลาเป็นบทสนทนาอุปมาอุปไมยต่างๆ โดยถ้าใครดูหนังแล้วอยากอ่านมากกว่าประวัติคนเขียนสั้นๆตามหาข้อมูล รวมทั้งอ่านหนังสือนิยายได้
อย่างไรก็ดี ส่วนตัวของผมหนัง ดูเอามันส์ระทึกได้สาระพอสมควรกับแกะรอยปริศนา มุขตลกสอดแทรกนิดๆ ยกตัวอย่างดูกูเกิ้ลไม่ต้องดูหนังสือก็ได้ สำหรับคนไม่เคยอ่านหนังสือนิยายของแดน บราวน์เล่มนี้มาก่อน จะได้มาSeek and find.
*ผมเรียบเรียงไม่ยาว จากวิกิพีเดีย
**Foucault’s Pendulumและการเปรียบเทียบกับงานเขียนอื่น:Comparison with other writings(ดูวิกิพีเดียEng)
ผมเคยเขียนถึงหนังสือดังกล่าว
ภาพแผนที่ไตรภูมิจากไทยถึงตุรกี/อิสตันบูล ที่ผมเคยเขียนไว้
28 พ.ย.
26-27 พ.ย. 59ที่ผ่านมาผมไปเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิดกับคนงาน ในประชุมสรุปโครงการอบรมทำสื่อและสรุปงานประจำปีของเครือข่ายกู๊ดอิเล็คทรอนิคส์ ประเทศไทย หลากหลายเรื่องด้วยกัน
ทำให้ต่อมาผมพบปะอาจารย์ พร้อมรุ่นพี่รุ่นน้องสนทนาเดินทางออกลงพื้นที่ภาคสนาม กับแรงงาน เช่น พนักงานเสริฟ์ตามร้านด้วย
ทั้งนี้ เราสนทนาที่ร้านหลากหลาย ทำให้ทบทวนความทรงจำของผม ต่อหนังสือ Postmodernism, Or, The Cultural Logic of Late Capitalism(หลังสมัยใหม่ หรือตรรกะวัฒนธรรมของทุนนิยมตอนปลาย)เชิงประวัติศาสตร์ศิลป์ รวมทั้งข่าวดารา และ เจ้าของร้าน Malin Sky ออกแจงปมฉาว กรณีรุมทำร้ายลูกนายพลบาดเจ็บสาหัส
(ภาพงานอบรมกับบรรยากาศร้านแห่งหนึ่ง คนละร้านกับที่เป็นข่าว ซึ่งผมเคยไปเจอเพื่อนนักเขียนด้วย)

30 พ.ย.
ประเด็นการสะสมมวลชน และการสะสมสมาชิก(*)เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม
เมื่อผมมีวิธีเปรียบเทียบสองมิติ ได้แก่ มิติร่วมพื้นที่-ข้ามเวลา และมิติร่วมเวลา-ข้ามพื้นที่ โดยผมใช้เปรียบเทียบข้ามเวลาย้อนอดีตร่วมตัวตน พื้นที่เชียงใหม่…การแสวงหาทางเลือกในการปรับเปลี่ยนหรือปฏิรูปสังคมไทย ที่-ฟ้าเดียวกัน- ได้จัดสัมมนาเรื่อง “โครงการเปลี่ยนประเทศไทย” ขึ้น โดยเชิญนักวิชาการสาขาต่างๆ มาร่วมเสนอ/ถกเถียง แลกเปลี่ยนกันถึงพลวัตของสังคมไทยในปัจจุบัน และแนวทางการปฏิรูปสังคมไทยในอนาคต…(อ.เบน อ.เกษียร อ.ธงชัย และอื่นๆ**)
สถานการณ์เฉพาะหน้าทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ตอนนี้มาแล้ว เมื่อห้าปีก่อน กลับมาเล่าใหม่…รอไปก่อนใช้เวลาสะสมกำลังพลไว้ เพราะสงครามยืดเยื้อเหมือนในภาพยนตร์เกี่ยวกับการต่อสู้ทางการเมือง หรือที่เราเห็นในละครทีวี ซึ่งรอวันเราเข้าใจเขาเข้าใจเรา สร้างแนวร่วม และสิ่งใหม่ไทยล้วนหมายรักสามัคคี(Solidarity***)….
ทั้งนี้ ผลกระทบของการพัฒนาจากทุนนิยม ต่อพื้นที่ ย่อมมีปัญหาอยู่แล้ว แต่อาจจะมีอะไรใหม่ในอนาคต หรือเพียงเรื่องเก่าเล่าใหม่ ในวันเวลาของอนาคตต่อสังคมไทย(****) ที่ผมเคยเล่าแล้วใหม่กับโมเดลฮ่องกง(*****)สะสมมวลชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมด้วย
* รวบรวมไอเดียที่มาในหนังสือข้อเสนอต่อพี่น้องภาคประชาชนเพื่อสร้างพรรคแนวร่วม และ26-27 พ.ย. 59ที่ผ่านมาผมไปเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิดกับคนงาน..
**ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 โครงการเปลี่ยนประเทศไทย
http://www.sameskybooks.net/journal-store/04-3/
หนังสือPostmodernism, Or, The Cultural Logic of Late Capitalism(หลังสมัยใหม่ หรือตรรกะวัฒนธรรมของทุนนิยมตอนปลาย)
***เราเหมือนดูภาพยนตร์คู่รักอกหัก:พันธมิตรฯแตกหักรัฐกระทบเพื่อนบ้านกลายเป็นคู่รบ
Sun, 2011-02-20 11:16
..The crisis consists precisely in the fact that the old is dying and the new cannot be born; in this interregnum a great variety of morbid symptoms appear.Antonio Gramsci, Selections from Prison Notebooks, 1971, p.276…
http://prachatai.com/journal/2011/02/33206
****ภาพประกอบคลิปสารคดีปี57ของผม กับภาพการ์ตูนปัจจุบัน
*****วันที่ 10 ตุลาคมในไต้หวันเป็นวันดับเบิลเท็น (Double Ten Day)
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1431707380191819&id=100000577118415

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น