วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

การสะสมความทรงจำเดือนตุลา

1.ตุลา
ขายหนังสือ
วันนี้วันชาติจีน มีหนังสือคอลเล็คชั่นจีนมาขาย 1.สรรนิพนธ์เหมาฯ ภาษา English 1ooบ.2.สามก๊ก ฉบับการ์ตูน 40บ. 3.โก้วเล้ง ไต้เลียบ 40บ.4.มังกรเดียวดาย 50บ. 5.ลักษณะเฉพาะแห่งยุคของทฤษฎีว่าด้วยธาตุแท้แห่งสังคมนิยมของเติ้งเสี่ยวผิง 50บ. 6.Ideology and politics in contemporary china 80บ.

5.3
ต้นไม้เป็นครูกับคนเดือนตุลา
วันนี้วันครูโลก วันพรุ่งนี้วันสำคัญในอดีต หกตุลา ย้อนอ่านผลงานของคนเดือนตุลา ที่เข้าป่าหลังเหตุการณ์หกตุลา จากหนังสือ “การเดินทางในจิตใจ : บทตริตรองของชีวิตและธรรมชาติ” ของอ.ธีรยุทธ บุญมี อดีตผู้นำนักศึกษาสมัยตุลา 16
…สมัยอยู่ในป่า ผมชอบนั่งบนสันภู เหม่อมองดูระลอกคลื่นของขุนเขาที่คล้ายแผ่วพลิ้วไปตามเหลื่อมเงาของแสง ….ดูเหมือนจะเป็นเฮอร์มานน์ เฮสเส ผู้เขียน สิทธารถะ ที่เคยกล่าวไว้นานแล้วว่า “ต้นไม้เป็นครูที่ดีที่สุด” ต้นไม้เก็บบันทึกประวัติศาสตร์ทั้งชั่วชีวิตของตนไว้อย่างซื่อสัตย์ ไม่ซ่อนเร้นปิดบัง…หลังแดดจ้า ย่อมมีค่ำคืนและน้ำค้างที่ชุ่มเย็น
ผมจึงถือเอาต้นไม้เป็นครู เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับคน เวลาท้อแท้กับการงานหรือขมขื่นกับชีวิต(*)
เนื่องจากผมขายหนังสือพเนจรช่วงก่อน ดูย้อนหลังได้และอ้างอิงเฮสเส(**) ทำให้ค้นเจอหนังสืออ.ธีรยุทธ อ้าง ก็ยังไม่เคยอ่านเล่มดังกล่าว เคยอ่านหนังสือของอ.ธีรยุทธ มาบ้างบางเล่ม ซึ่งผมแยกแยะกับจุดยืนทางการเมืองในปัจจุบันของเขา และรู้ว่าเขา มีผลงานวาดภาพสีน้ำ
*https://www.gotoknow.org/posts/452422
**Wandering Quotes
Wandering by Hermann Hesse
For me, trees have always been the most penetrating preachers.
https://www.goodreads.com/work/quotes/97189-wanderung
(ภาพประกอบจากเน็ต)
5.4
อาแล็ง บาดียู กับเหมาอิสต์
อาแล็ง บาดียู (ฝรั่งเศส: Alain Badiou; เกิด 17 มกราคม ค.ศ. 1937) เป็นนักปรัชญาชาวฝรั่งเศส อดีตหัวหน้าภาควิชาปรัชญา วิทยาลัยครูชั้นสูง (École Normale Supérieure) และผู้ก่อตั้งคณะปรัชญา มหาวิทยาลัยปารีส 8 (Université de Paris VIII) ร่วมกับฌีล เดอเลิซ, มีแชล ฟูโก และฌ็อง-ฟร็องซัว ลียอตาร์ ซึ่งบาดียูเขียนงานทางปรัชญาเกี่ยวกับประเด็นเรื่องสัต (being), ความจริง และอัตวิสัย he claims, is neither postmodern nor simply a repetition of modernity. (ดูประวัติเพิ่มเติมในวิกิพีเดียไทยและอังกฤษ เรียนที่École Normale Supérieure (B.A., M.A.)
งานเขียนของอาแล็ง บาดียู ถูกนำเข้ามาในไทย มีการเขียนถึงเขามีพรสวรรค์ในการเขียนให้คนทั่วไปอ่าน มีลีลาให้ผู้อ่านติดใจ จึงใช้วิธีเสนออุดมการณ์ของตนด้วยวรรณกรรมรูปแบบต่างๆ ทั้งนวนิยาย บทละครโทรทัศน์ และเรียงความ สำนวนปรัชญาของท่านจึงมีภาษาชาวบ้านแทรกอยู่ทั่วไป ซึ่งแปลเป็นภาษาอื่นเข้าใจยาก แปลแล้วต้องตีความ หรือมิฉะนั้นก็ต้องตีความขณะแปลไปเสียเลย…เริ่มเขียนความคิดของตนเอง เผยแพร่ Theorie du sujet (1982); L’etr e et l’evnement (1988); Conditions (1992) ระบุว่าความจริงคือการได้พัฒนาคุณภาพในด้านวิทยาศาสตร์, การเมือง, ศิลปะ, ความรักเสียสละจากจิตใต้สำนึกที่ปิ๊งขึ้นมาเหมือนทอดลูกเต๋า (coup de des)
จากที่ยกตัวอย่างดังกล่าว(*)งานของเขาในฉบับภาษาไทย ยกตัวอย่างหนังสือทฤษฎีและความรู้ในยุคโลกาภิวัฒน์. วิถีทรรศน์ ชุดโลกาภิวัฒน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 19 (2544) มีอีกหาดูได้เพิ่มเติม ทั้งที่ไทยจัดงานเสวนาจริยศาสตร์ ความงาม ความรัก และการเมืองในความคิดของอแลง บาดิยู (Alain Badiou)
ดังนั้น ผมสนใจเรื่องเหมาอิสต์ เลยนำเสนอนิดหน่อย ในหนังสือชุมชนจินตกรรมฯ ก็กล่าวถึงบาดิยู แค่นิดเดียวแต่สะท้อนตัวแทนสำนักพิมพ์อย่างVerso(ดูเพิ่ม’agent’ in Turkey) พิมพ์หนังสือของเขาในฉบับแปลภาษาตุรกี ในแง่นี้ผมคิดต่อนักวิชาการทฤษฎีการเมืองที่ตลาดนิยม
ชีวประวัติของเขาเคยกล่าวถึง”Mao thinks in an almost infinite way”(**)
ลองอ่านกันดูเพิ่มเติมผมเล่าเล็กน้อย ตามภาพประกอบเขากับแมว ทำให้ผมคิดถึงคติพจน์เหมาเจ๋อตุง เรื่องแมวด้วย
*ศ.กีรติ บุญเจือ ราชบัณฑิต คอลัมน์: ซอกแซกหามาเล่า: บาดีอูมาแปลก
http://www.ryt9.com/s/tpd/2213306
**Alain Badiou: “Mao thinks in an almost infinite way”
https://www.versobooks.com/blogs/2033-alain-badiou-mao-thinks-in-an-almost-infinite-way
ดูเพิ่มเติมความคดของเขาทั้งจากนักจิตวิเคราะห์ Lacan เป็นต้น
Cantor, Lacan, Mao, Beckett, meme combat
The philosophy of Alain Badiou
https://www.radicalphilosophy.com/article/cantor-lacan-mao-beckett-meme-combat
(เขาเกี่ยวพันZizek)
”จริยศาสตร์ ความงาม ความรักและการเมืองในความคิดของอแลง บาดิยู (Alain Badiou)”เนื่องจากผมเล่าสั้นๆ โดยผมเคยเห็นหนังสือของสำนักพิมพ์Text และผมเคยได้ฟังเรื่องคุณปิยศิลป์มาบ้าง ไม่เคยเจอกันครับ

ผมสนใจAlain Badiou ได้รับอิทธิพลซาสตร์ นักปรัชญาฝรั่งเศส เขาอยู่ในยุคEra Contemporary philosophy Region French philosophy School Continental philosophy Marxism Post-Marxism Modern Platonism Main interests Set theory, mathematics, metapolitics, ontology อันนี้จากวิกิพีเดีย
ผมเห็นคนอ้าง”Truth is a construction after the event.”
Perhaps:Love is a commitment after the event.
Politics is a commitment despite the event?
Badiou on Milton’s Paradise Lost might be interesting.
https://www.theguardian.com/culture/2012/may/18/alain-badiou-life-in-writing
งานน่าสนใจที่กล่าวถึง Alain Badiou
Master Signifier: A Brief Genealogy of Lacano-Maoism
http://www.klemens.sav.sk/fiusav/filozofia/?q=en/master-signifier-brief-genealogy-lacano-maoism
8 ตุลา
ขายหนังสือ รวมเรื่องสั้นซาสตร์(90บ.)
In 1960, Jean-Paul Sartre and Simone de Beauvoir ventured to Cuba during, as he wrote, the “honeymoon of the revolution.”…เช กูวาราถูกเขียนถึงว่า “not only an intellectual but also the most complete human being of our age.”(*)
วันที่9 ตุลา วันเสียชีวิตเช กูวารา ผู้มีรูปติดตามรถบรรทุก สัญลักษณ์ของเขา ซึ่งซาสตร์ ผู้ชื่นชอบเช กูวารา เช่นกัน และซาสตร์ ก็มีอิทธิพลต่อ Gilles Deleuze, Alain Badiou.
*http://www.openculture.com/2014/09/photos-of-jean-paul-sartre-simone-de-beauvoir-hanging-with-che-guevara-in-cuba-1960.html
(ฌ็อง-ปอล ซาทร์หรือJean-Paul Sartreดูประวัติเพิ่มเติมวิกิพีเดียไทยกับอังกฤษ)
8.2
การสะสมความทรงจำกับอดีตถึงการสร้างแผนที่อนาคตอาเซียน
เมื่อสื่อไปถามข้อมูลจากนักวิชาการ คือ หลากมุมนักวิชาการ ‘บิ๊กตู่’ พบ โดนัลด์ ‘ทรัมป์’ ที่ ‘สหรัฐอเมริกา’
ในแง่ประยุทธ์ ดังกล่าว(มีโยงอาเซียน) ยกตัวอย่างที่ผมเคยกล่าวไว้อ้างนักวิชาการออกสื่อ ต้องสอน ต้องเตรียมองค์ความรู้ เพราะข้อดีมาจากการสอนหนังสือ วิจัยเรื่องอาเซียนต่างๆ ย่อมมีแง่มุมการค้นคว้าเรื่องดังกล่าว ก็การสอนเป็นการทบทวนความทรงจำ และเพิ่มสิ่งใหม่ ซึ่งผมจะเขียนเรื่องตัวอย่างที่1. อดีตก่อนอาเซียน 2. Mapping ASEAN’s Futures ซึ่งผมมีประเด็นอยู่เรื่องนี้ ได้ไอเดียดังกล่าว ก่อนอื่นอดีตที่ต่อต้านจักรวรรดินิยมอเมริกา ในภูมิภาคนี้ ต่อมาผมยกตัวอย่างที่1 อดีตก่อนอาเซียน “Southeast Asia Treaty Organization” หรือ “องค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” เรียกชื่อย่อว่า “SEATO” เกิดขึ้นจากการรวมตัวของ สหรัฐอเมริกา, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, ปากีสถาน, ฟิลิปปินส์ และ ราชอาณาจักรไทย ด้วยความหวั่นเกรงภัยคุกคามจากประเทศที่พยายามเผยแพร่ลัทธิทางการเมืองแบบสังคมนิยมคอมมูนิสต์ นั่นคือภัยจากจีน และ สหภาพโซเวียต รวมทั้งกลุ่มขบวนการทางการเมืองในประเทศที่ได้รับอิทธิพลและการสนับสนุนจากมหาอำนาจฝ่ายซ้าย
ต่อมาปี ค.ศ. 1961/พ.ศ. 2504 หลังเกิด SEATO ได้ 6 ปี ประเทศไทย, ฟิลิปปินส์ และ มาลายา ร่วมกันก่อตั้งสมาคมชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรียกชื่อภาษาอังกฤษว่า Association of Southeast Asia หรือ ASA (อาสา) แต่ความขัดแย้งในหมู่ประเทศสมาชิกก็ขวางพัฒนาการไปสู่ความเป็นองค์ระดับภูมิภาคที่ขยายกว้างและมั่นคงได้จริง บทบาทของ ASA จึงค่อยๆเสื่อมถอยลง ในปี ค.ศ. 1963 / พ.ศ. 2506 มาลายา, ฟิลิปปินส์ และ อินโดนีเซีย รวมกันตั้งเป็นสมาคมใหม่
โดยเรียกตามชื่อประเทศ Malaya + Philippines + Indonesia รวมกัน ว่า “Maphilindo” เป็นแนวคิดที่จะรวมชนเผ่ามาเลย์ด้วยกันเป็นกลุ่มพวก หรือ สมาคมประเทศมาเลย์เผ่าพันธุ์เดียวกัน แต่ผลกระทบเชิงการเมืองในขณะที่สหพันธรัฐมาเลเซียอยู่ระหว่างก่อตัว ประกอบกับปัญหาการแย่งชิงสิทธิการครอบครองดินแดนบอร์เนียวเหนือ (North Borneo) หรือ Sabah ระหว่างฟิลิปปินส์ กับ มาลายา ผสมกับความพยายามของอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ที่จะขัดขวางการเกิดของสหพันธรัฐมาเลเซีย ทำให้ Maphilindo ไม่ประสบผลสำเร็จ ความพยายามของเหล่าประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จะร่วมกันสร้างประชาคมเพื่อความสงบร่มเย็นและเจริญรุ่งเรือง จึงต้องล้มเหลวอีกครั้ง
ภัยจากภายนอกภูมิภาคก็คุกคาม ความแตกแยกระหว่างประเทศในภูมิภาคที่ควรจะเป็นมิตรกัน ก็หาข้อยุติไม่พบ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเพียงกลุ่มประเทศที่ด้อยพัฒนา และกำลังพัฒนา ต้องการเดินหน้าไปให้พ้นความลำบากยากจน แต่ท่ามกลางความไม่มั่นคงทางการเมืองและขอบเขตพรมแดนที่ขัดแย้งแย่งพื้นที่กัน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เรียนรู้จากบทเรียนเก่าที่เป็นความล้มเหลวผิดพลาด และบทเรียนใหม่ย้ำความจริงที่ว่า ประเทศในภูมิภาคต้องรวมตัวกันให้มั่นคงแนบแน่นอย่างแท้จริงด้วยใจอันบริสุทธิ์ที่ปรารถนาสันติภาพ ความมั่นคง และความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนร่วมกันทุกประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
“SEAARC” ชื่อแรก ก่อน ASEAN
วันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 1967 ย้ำความจำเป็นที่จะต้องตั้งองค์กรใหม่ในภูมิภาค เพียงแต่ยังไม่ทราบว่าจะเรียกชื่อว่าอย่างไร โดยใช้ชื่อชั่วคราวในตอนนั้นว่า “Southeast Asia Association for Regional Cooperation” ใช้ชื่อย่อชั่วคราวว่า “SEAARC” หรือ “สมาคมความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” …จุดมุ่งหมายของการมาประเทศไทยของผู้นำทั้ง 4 ในครั้งนี้ก็เพื่อหารือถึงการที่จะตั้งสมาคมใหม่ของ 5 ชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ยังไม่มีชื่อที่แน่นอน ที่เรียกชื่อกันไปก่อนอย่างไม่เป็นทางการก็ใช้ชื่อ ‘Southeast Asia Association for Regional Cooperation’ เรียกย่อไปก่อนว่า ‘SEAARC’ อาจจะแปลเป็นไทยว่า ‘สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อความร่วมมือในภูมิภาค’ หรือ “สมาคมเพื่อความร่วมมือแห่งชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”จะเรียกอย่างไรก็ยังไม่แน่นอน พ.อ. (พิเศษ) ดร. ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย ผู้ริเริ่มจัดการประชุมในครั้งนี้ กล่าวว่า:“The name does not matter much. It is what the association does that really counts” : เรื่องชื่อนั้นไม่สำคัญมากนัก สิ่งที่สมาคมนี้จะทำต่างหาก ที่เป็นความสำคัญ (*)
จากประวัติศาสตร์ผมยกตัวอย่างที่ 2โดยเปรียบเทียบอดีต คือ Mapping ASEAN’s Futures (**) โดยผมเล่าย่อๆ จะเห็นอิทธิพลของจีน และอเมริกาอย่างโอบามา ที่มาอาเซียน ในภูมิภาคนี้ และประเด็นอาเซียนจะหายไป? หรือไม่ จากที่มีการตั้งอาเซียนสร้างมาในปี1967 ทำนายมองโลกแง่ดีจะอยู่พอรอดมาถึงปี2017 ฉลอง50ปีด้วย
เนื่องจาก”ASEAN Way”จะจินตนาการต่อไปอย่างไรกัน โดยผมคิดความท้าทายจากประเทศใหญ่(ปลาใหญ่)กับประเทศเล็กๆ(ปลาเล็ก) ซึ่งผมเขียนมาต่อเนื่องยกตัวอย่างอดีตของไทย(***) สะท้อนหลักตรรกะเหตุผล ในการสะสมความทรงจำจากอดีตถึงอนาคต
*กำเนิด อาเซียน
http://www.truelife.com/old/detail/66793
(ภาพประกอบแผนที่หาทั่วไปตามเน็ต)
** Mapping ASEAN’s FuturesโดยDonald K. Emmerson
https://muse.jhu.edu/article/667777
(Contemporary Southeast Asia: A Journal of International and Strategic Affairs
Volume 39, Number 2, August 2017 pp. 280-287.)
“Southeast Asia”: What’s in a Name? โดยDonald K. Emmerson เปิดเรื่องอ้างงานเขียนเรื่องชื่อโดยอ้างนักเขียนอย่างเช็คสเปียร์ เชื่อมสู่ชื่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ งานเขียนที่อ้างขอบคุณอ.เบน (บทความSEAฯดังกล่าวถูกอ.ธงชัย อ้างในหนังสือSIAM MAPPEDฯ)
https://www.jstor.org/stable/20070562?seq=1#page_scan_tab_contents
ประวัติเพิ่มเติมDonald K. Emmerson สอนที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
https://aparc.fsi.stanford.edu/people/donald_k_emmerson
***การสะสมความทรงจำไทยแลนด์…ติมอร์…

(จริง ๆไม่มีค่อยมีเวลาเขียนอะไร อยากเขียนการทำงานที่มีคุณค่าวันที่ 7 ตุลา อยากเขียนถึง20ปีรัฐธรรมนูญ2540 ในวันที่11 ตุลา เอกสารใหม่ๆ หรือเอกสารเก่าๆ บางอันผมก็เข้าไม่ถึงข้อมูลไม่มีเวลา ยกตัวอย่าง Thai South and Malay North: Ethnic Interactions on a Plural Peninsula. Edited by Michael J. Montesano and Patrick Jory. Singapore: NUS Press, 2008. Softcover: 413pp. จากContemporary Southeast Asia: A Journal of International and Strategic Affairs Volume 31, Number 1, April 2009 ที่มีงานเขียนBeyond the Barisan Nasional?: A Gramscian Perspective of the 2008 Malaysian General Election
https://muse.jhu.edu/article/265202/pdf )
14.3
14 ตุลา,6 ตุลา ตำรา,อำนาจรักในความทรงจำ
Big fish eat small fish with as much right as they have power.
Baruch Spinoza(*)
วันนี้ในอดีตวันที่14 ตุลา ต่อมาเรียกวันประชาธิปไตย ซึ่งประวัติศาสตร์ผมได้เขียนเล่ามาบ้างแล้ว ผมหาประเด็นเขียนมุมมองใหม่บ้าง ในกรณีที่1.ตำราหรือหนังสือเกี่ยวกับคาร์ล มารกซ์ เนื่องจากครบ150 ปีหนังสือว่าด้วยทุนเล่ม1(Capital, Vol. 1) โดยคาร์ล มารกซ์(**) ตำราหรือหนังสือของเขา ที่มีผลต่อขบวนการ14 ตุลาถึง6 ตุลา กรณีที่2.ประวัติศาสตร์คนเดือนตุลา เน้นภาคเหนือ 14 ตุลาและหกตุลา
โดยกรณีที่1 สามารถย้อนดูที่ผมเคยเขียนมาบ้างแล้ว ในเรื่องมารกซ์ กับปลาใหญ่กินปลาเล็ก ในหนังสือว่าด้วยทุน ซึ่งมีหลายเล่ม และเล่มที่หนึ่ง ซึ่งผมมีก็อ้างงานของสปิโนซ่า(Spinoza) แต่ผมคิดแยกแยะนำมาอ้างอุปมาปลาใหญ่กินปลาเล็กไม่มีในเล่มที่หนึ่ง ทีนี้ผมเลือกปลามาสะท้อนให้เห็นในการนำอำนาจมาใช้กับเหตุการณ์ 14 ตุลาและหกตุลา ผมจะไม่ได้นำของเก่ามาเล่าจากที่ผมเคยเขียนไว้(***) ไม่มีเวลาเขียนอะไรมากด้วย
เมื่อหนังสือที่นักศึกษาในอดีตสะสมไว้มาก และหนังสือต้องห้ามถูกจับ ฯลฯ ยกตัวอย่างที่ผมเคยเล่าแล้วบางส่วนลัทธิมาร์กซ์เป็นรักแรกทางอุดมการณ์การเมืองสำหรับผมและเพื่อนร่วมรุ่น ‘คนเดือนตุลาฯ’ จำนวนมาก นี่แหละ ผู้แปล: อ.เกษียร เตชะพีระ(นักวิชาการคนดังคอลัมนิสต์)ในหนังสือมาร์กซ: ความรู้ฉบับพกพา(ตำราสอนนักศึกษา) ซึ่งมารกซ์เปรียบเทียบปัจจุบัน ขายตามเน็ตออนไลน์ทั่วไป จึงนำข้อมูลของกรณีที่ 2มานำเสนอก่อน14 ตุลา การลุกขึ้นสู้ที่เชียงใหม่ ซึ่งเริ่มมีการชุมนุมที่ประตูท่าแพ ตั้งแต่บ่ายวันที่ 8 ตุลาคม 2516 นั้น นำโดยสโมสรนักศึกษาวิทยาลัยครูเชียงใหม่ มีภาพขบวนนักศึกษาเชียงใหม่ ขณะกำลังเคลื่อนผ่านกาดหลวงและกาดต้นลำไย(****)
โดยการเคลื่อนไหวทางการเมืองของนักศึกษา และกลุ่มต่างๆ ต่อเนื่องมาก่อนหกตุลา(*****) จนกระทั่งปรากฏงานเขียนย้อนความทรงจำว่าผมไม่มี โอกาสได้ลํ่าลาใครอีกแล้ว ทั้งๆที่อยากกลับไปหาแฟนอีกเป็นครั้งสุดท้าย เพื่อบอกเธอว่า ไอ้ที่ว่าจะกลับบ้านที่กรุงเทพฯแล้วรอให้เหตุการณ์สงบลง จึงจะกลับมาเรียนต่อให้จบนั้น เป็นไปไม่ได้เสียแล้ว ผมจะต้องเข้าป่า ซึ่งไม่รู้เลยว่าจะเป็นตายร้ายดีอย่างไรบ้างแต่ผมก็ต้องหักใจไม่กลับไปหาแฟนอีก
เพราะก่อนหน้านี้ตำรวจไปบุกรื้อค้นที่บ้านเสียจนกระจุยกระจาย เกรงว่ามันจะดักรอจับผมที่นั่นอีก ดังนั้นในเช้ามืดวันรุ่งขึ้น พวกเราทั้ง3คนจึงได้ไปขึ้นรถเมล์เพื่อจับรถไปเชียงรายที่คิวรถศรีประกาศ ซึ่งผมคิดว่าคงไม่มีตำรวจที่นั่นแน่นอน ตำรวจส่วนใหญ่จะกระจายกำลังไว้ที่คิวรถช้างเผือก และสถานีรถไฟซึ่งเป็นเส้นทางที่ลงไปกรุงเทพฯ หรือไม่ก็ตามบริษัทรถทัวร์ อันเป็นจุดที่พวกเราที่เป็นนักศึกษาส่วนใหญ่ที่หนีจากการกวาดจับที่มช.ต้องใช้เส้นทางเหล่านี้กลับบ้านซะด้วย(******)
อย่างไรก็ดี การสะสมความทรงจำ ดังกล่าวมีเป็นบันทึกต่างๆ(*******) ยกตัวอย่างคนเข้าป่า ซ่อนตำราหรือหนังสือ ต่อมาเข้าป่าจับปลา โดยเปรียบกับความรักปราศจากความเสี่ยง เหมือนกับสงครามไม่มีความตายอย่างที่ผมสนใจเขียนมาแล้ว(********) และแง่มุมอาเซียนในยุคคอมมิวนิสต์ กรณีเวียดนาม มีทั้งภาพคล้ายซ้อนทับเช กับโฮจิมินห์(*********) แต่ถ้าเขียนจะยาว สำหรับผมในยุคนักรบไซเบอร์(มีนิยามในวิกิพีเดียไทย)ทางอินเตอร์เน็ต เป็นประเด็นบันทึกไว้ผ่านเพลง “เราต่างมาจากทั่วทุกสารทิศ มีชีวิตร่วมกันอยู่ในป่าเขา จากบ้านเกิดเมืองนอนถึงไพรลำเนา ด้วยพวกเรามีอุดมการณ์อันเดียวกัน อันความรักทางชนชั้นนั้นล้ำลึก ประสานผนึกร่วมกันเป็นสายธาร ต่อประชารักมั่น รักดังชีวัน…”
* Baruch Spinoza
http://www.azquotes.com/quote/1126642
(เขามีอิทธิพลทางความคิดกับเนกรี่ ผู้เขียนหนังสือ Empire,Multitudeฯ,Commonwealth)
** Soft shell, hard core: on the 150th anniversary of the publication of Karl Marx’s Capital, Vol. 1
https://mronline.org/2017/10/06/soft-shell-hard-core-on-the-150th-anniversary-of-the-publication-of-karl-marxs-capital-vol-1/
(มารกซ์ ผู้มีอิทธิพลต่อฟูโก บาดียู ฯลฯ)
Marx’s Capital at 150: an invitation to history
https://mronline.org/2017/10/11/marxs-capital-at-150-an-invitation-to-history/
(มีภาพว่าด้วยทุนฉบับแปลไทยด้วย)
***6ตุลา(40ปีแล้ว)

ดูเปรียบเทียบเรื่องปลาเล็กCapital Vol. III Part V Division of Profit into Interest and Profit of Enterprise. Interest-Bearing Capital
Chapter 27. The Role of Credit in Capitalist Production
https://www.marxists.org/archive/marx/works/1894-c3/ch27.htm
(นิยามตำราในที่นี้ความหมายหนังสือวิชาความรู้ต่าง ๆ ถ้าสนใจเรื่องตำรากับอำนาจดูเพิ่มได้)
รายงาน: ปฏิบัติการของอำนาจผ่านตำรา ภาคปัจฉิมลิขิต
http://v1.midnightuniv.org/midnight2544/0009999482.html
****ตอนที่ 2 วิทยาลัยครูเชียงใหม่นำลุกขึ้นสู้

ขบวนนักศึกษาเชียงใหม่ ขณะกำลังเคลื่อนผ่านกาดหลวงและกาดต้นลำไย

(จากนักศึกษามาเป็นครูบาอาจารย์ชื่อดัง ยกตัวอย่างเปรียบเทียบกรณีอ.เกษียร ช่วงนี้กำลังเขียนบทความอ่าน Siam Mapped ฯ เล่าเรื่องใช้ในการสอนนศ.สะท้อนว่าอ่านบ่อย)
*****ตอนที่ 7 ศูนย์กลางนักศึกษาภาคเหนือ

ตอนที่ 9 กลุ่มครูประชาบาลเพื่อประชาชน

(กรณีโรงงานไม้แกะสลักปัจจุบันเป็นสนง.นสพ.เชียงใหม่นิวส์ หรือค้นหาดูเพิ่มเติมพวกชนเผ่า กรณีบันทึกนักรบชนชาติแห่งยอดภูลังกา)
******จากมช.ถึงผาจิตอน3 “ดั้นด้นค้นหาดาวแดง”
http://thaioctober.com/smf/index.php?topic=2741.0
******* เส้นทางหมอปฏิวัติ

เข้าสู่เขตป่าเขา

ต้นไม้เป็นครูกับคนเดือนตุลา

(เดือนตุลาครบ100ปีปฏิวัติรัสเซีย)
********อาแล็ง บาดียู กับเหมาอิสต์

ความรัก แยกไม่ออกจากความเสี่ยงเหมือนกับสงครามแยกไม่ออกจากความตาย…Love without risks is like war without deaths

*********Our Che: 50 years after his execution
https://mronline.org/2017/10/09/our-che-50-years-after-his-execution/
(“Create two, three…many Vietnams”: Che and Vietnam ส่วนประเทศไทยกรณีเช มีสร้างวีรชนร่วมกับจิตร ภูมิศักดิ์ อย่างที่เคยเขียนไว้ด้วย และเช ยังPopular:เป็นที่นิยมในปัจจุบัน)
การสะสมความทรงจำกับอดีตถึงการสร้างแผนที่อนาคตอาเซียน

(เมื่อเวลาผ่านไปยกตัวอย่างเปรียบเทียบเพิ่มอาเซียนกับฝ่ายซ้ายอเมริกาอย่าง Cornel West สอนหนังสือ แสดงหนังเรื่อง The Matrix Reloaded ฯลฯ หรือฝ่ายซ้ายทางฟิลิปปินส์อย่างJose Maria Sison ทำงานเขียนหนังสือฯลฯ)
…เราต่างมาจากทั่วทุกสารทิศ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น