วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556

มิติเวลา กับอ่านความฝันของไอน์สไตน์

มิติเวลา กับอ่านความฝันของไอน์สไตน์ มิติของเวลา ก่อนนอนหลับ น่าจะอ่านความฝันของไอน์สไตน์ เมื่อ ปี พ.ศ.2548 ที่ผ่านเลย บางคนอาจจะไม่ทราบว่า ทฤษฎีสัมพันธภาพพิเศษของไอน์สไตน์ มีอายุครบ 100 ปีแล้ว แม้ว่า เวลาจะยาวนานขนาดนั้น แต่การคิดทฤษฎีของไอน์สไตน์ ยังคงเป็นเรื่องน่าสนใจเสมอมา และความฝันของไอน์สไตน์ (Einstein’s Dreams) หนังสือเล่มนี้ ชวนเชิญให้นึกถึง นักวิทยาศาสตร์ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ซึ่งเคยพูดไว้ว่า “จินตนาการสำคัญกว่าความรู้” ด้วยคำพูดนี้ ก็เป็นแรงบันดาลใจให้กับหลายๆคน รวมทั้ง น่าจะเป็นเหตุให้ “อลัน ไลต์แมน” (Alan Lightman) อาจารย์สอนฟิสิกส์ และเขียนบทความทางวิทยาศาสตร์ แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเสตต์ (MIT) เกิดสร้างจินตนาการนวนิยาย “ความฝันของไอน์สไตน์” ความฝันของตัวละครที่ชื่ออัลเบิร์ต ไอน์สไตน์) จึงเต็มไปด้วยจินตนาการถึงโลกและเวลา ในรูปแบบหลากหลาย โดยมีพื้นฐานอยู่บนหลักการทางฟิสิกส์ และการเขียนนวนิยายแนวเหนือจริง โครงเรื่องของนวนิยาย ผูกร้อยทำให้เรารู้ว่าเหตุการณ์อยู่ในฉากและช่วงเวลาใด มันมีการเน้นบอกไว้ว่า ช่วงเวลาใด และสลับฉากของนวนิยาย ในเรื่องราวความฝันอันเกี่ยวกับตัวของไอน์สไตน์ โดยเนื้อเรื่องกลับเป็นความพยายามของผู้เขียนนวนิยาย ที่จินตนาการค้นลึกเข้าไปในความคิดของไอน์สไตน์ ในช่วงที่เขาคร่ำเคร่งหมกมุ่นอยู่กับทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ ซึ่ง “เขาฝันมากมาย ฝันเรื่องกาลเวลา ความฝันเข้าเกาะกุมงานวิจัยของเขา ฉีกทึ้งเขา กลืนกินเขา จนบางครั้งไม่รู้ว่าตัวเองหลับหรือตื่นอยู่” ซึ่งผมขอบอกว่า นวนิยาย ความฝันของไอน์สไตน เขียนเรื่อง "สลับฉาก" ไปๆมาๆ ได้แปลกประหลาด ทำให้คนอ่าน มึนงง กับโลกแห่งความฝันได้เช่นกัน ระหว่างความฝันของไอน์สไตน์ และเรื่องราวชีวิตของเขา ... ผมเก็บเนื้อความ มาเล่าสั้นๆ โดยที่คนเขียน สมมติปรากฏการณ์เกี่ยวกับโลก-เวลา ดังนี้ โลกคนเห็นภาพอนาคตชั่วพริบตา โลก ที่คนจะแลเห็นภาพอนาคตวาบขึ้นมา ชั่วแปลบ สำหรับคนที่เห็น ภาพอนาคตตัวเอง นี่คือโลกของความสำเร็จ อันแน่นอน สำหรับคนที่ไม่เห็นอนาคต นี่คือโลกอัน เอื่อยเฉื่อยจะเข้าเรียนมหา'ลัย โดยไม่รู้อาชีพในอนาคต ดังนั้น โลก แห่งฉาก ภาพอนาคต วาบขึ้น ชั่ว แวบ โลกนี้ การเสี่ยงจะไม่เกิดขึ้น บรรดาคนมองเห็นอนาคต ไม่จำเป็นต้องเสี่ยงอะไร ส่วนผู้ยังไม่เห็น..ก็รอคอยภาพนิมิต โดยไม่เสี่ยงว่าจะ ทำอะไร (จุดนี้ ทำให้ผม นึกถึงการ์ตูน ที่ผู้เขียนคือ คนเขียนโดราเอมอน เขียนงานเรื่องการ์ตูนแนวนี้สั้นๆไว้ การตัดสินใจ ทีจะ “เลือก” กับชีวิตในอนาคต) โลกแห่งฉาก ภาพอนาคต มีอยู่บ้าง ที่เห็นภาพ อนาคต แต่ทำเพื่อ ปฏิเสธ มันทุกอย่าง หญิงสาวปล่อยตัว ให้ตัวเองหลงรักชายคนหนึ่ง แม้ว่าจะเห็นภาพ อนาคตว่าจะได้แต่งงาน กับชายคนอื่น .... ใครเหนือกว่ากันในโลกนี้ คนเห็นอนาคตแล้ว ใช้ชีวิตแบบเดียว หรือ คนไม่เห็นอนาคต และเฝ้ารอคอย ที่จะใช้ชีวิต หรือ คนที่ปฏิเสธอนาคตแล้ว ใช้ชีวิตสองแบบ เวลา นวนิยายเรื่อง นี้ยังพูดถึง เรื่อง หากเวลาไม่ใช่ปริมาณ แต่เป็นคุณภาพ ที่ชั่วขณะหนึ่ง คุณ อยู่กับใครสักคน ชั่วกาลนาน โลก คนมีชีวิต แค่วันเดียว โลก ที่เวลาไม่ต่อเนื่อง โลก ที่ปราศจากอนาคต คือ การจินตนาการ ถึง คนที่ไม่สามารถ คิดเกี่ยวกับอนาคต นั่นคือไม่มีใคร่ครวญ ต่อผลของการกระทำได้ เพราะฉะนั้นบางคน จึงหมดเรี่ยวแรง ไม่ยอมทำอะไร อยู่บนเตียงอย่างเดียว โลก ที่มีชีวิตนิรันดร์ หละ เป็นเช่นไร ? ซึ่งคนเขียนได้จินตนาการ สร้างเรื่องผูกกับทฤษฎีสัมพันธภาพของไอน์สไตน์ เรื่องเวลา ได้อย่างมันส์ ผมชอบเรื่อง โลกปราศจากความทรงจำ ในบทหนึ่งของนวนิยายนี้ เล่าว่า ทุกคนมีคัมภีร์ชีวิตของแต่ละคน ชาย-หญิง ผู้สูงอายุ อาจจะอ่านหน้าต้นๆ เพื่อรู้เรื่องตัวเองสมัยวัยเยาว์ หรือ อาจจะอ่านตอนจบเพื่อรู้เรื่องตัวเองในช่วงปีหลังๆ สุดท้ายความฝันของไอน์สไตน์ ปรากฏในเวลาของชีวิตจริงๆของเขา “สร้างสรรค์ผลงานสำเร็จ คือ ทฤษฎีสัมพันธภาพ” ซึ่งไอน์สไตน์ กว่าจะตีความสำเร็จ ก็หมกมุ่น กับหลากหลายฝัน และสร้างความคิดอันเปลี่ยนแปลงโลก นวนิยายความฝันของไอน์สไตน์ สำหรับตัวของผม ทำให้นึกถึงการจินตนาการโลก ในระบอบการเมืองต่างๆ ในนวนิยายปรัชญาการเมือง เขาเล่าเรื่องว่า การิทัต ท่องไปในระบอบการเมืองต่างๆ แล้ว เผยจุดอ่อนของประชาธิปไตย เผด็จการ สังคมนิยม ฯลฯ ให้เห็นปรากฏต่อสายตาของผู้อ่าน ซึ่งนวนิยายทำหน้าที่ให้อารมณ์ ความคิด และที่สำคัญ คือ จินตนาการของเรา จะเลือกดำเนินชีวิตแบบใด แล้วคุณ จะมีเวลากับความฝัน จินตนาการของเราเอง ต่อโลกนี้แบบใด? ดังนั้น คุณลองอ่านความฝันของไอน์สไตน์ เผื่อว่า จะเกิด จินตนาการ มากมาย

ปรัชญา ปวศ. ศิลปะแบบชาตินิยม "ปราสาทพระวิหาร-อนุสาวรีย์ชัยฯ"

ปรัชญา ปวศ. ศิลปะแบบชาตินิยม "ปราสาทพระวิหาร-อนุสาวรีย์ชัยฯ" Mon, 2008-07-14 16:44 อรรคพล สาตุ้ม เจ้าหน้าที่พิเศษโครงการย้อนร้อยอดีตจิตรกรรมวัดอุโมงค์ * บทความนี้ได้ ปรับปรุง เพิ่มเติม และตัดทอนบางส่วนจากบทความเรื่อง ผลกระทบของการพัฒนา และโลกาภิวัตน์ ต่อภูมิจักรวาล : "การอ่านอนุสาวรีย์ของปลาบึก" ในภาพสะท้อน ที่ วัดหาดไคร้ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ซึ่งได้นำเสนอในรวมบทความ ประชุมวิชาการศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง: เอกภาพและความหลากหลาย จัดโดยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 9-10 สิงหาคม 2550 ความเป็นมาของปรัชญาประวัติศาสตร์ศิลปะแบบชาตินิยม ย้อนทบทวน ความเป็นมาของอิทธิพลทางศิลปะในรัชกาลที่ 5 เพื่อแสดงออกถึงความศิวิไลซ์ของชาติ โดยสืบต่อภาพลักษณ์มาในยุครัชกาลที่ 6 จากโลกทัศน์เกี่ยวกับศิลปะในช่วงเวลานั้น โบราณคดีสยามถูกจัดให้เป็นระบบมากขึ้นจากทั้งชาวต่างชาติ และชาวไทย เช่น รัชกาลที่ 6, สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และยอร์ช เซเดส์ เพราะตั้งแต่หลังยุคสมัยของรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา ดูเสมือนว่าจะมีการหันมาเน้นศาสตร์ในด้านนี้ในฐานะที่เป็นเครื่องมือแสดงความมีอารยธรรมสูงของไทย เพื่อต่อสู้กับการดูถูกของชาวยุโรป เป็นเครื่องแสดงออกความเป็นไทยที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้ชาติยุโรป ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่าเป็นโบราณคดีชาตินิยม และปรัชญาประวัติศาสตร์ศิลปะแบบชาตินิยม [1] โดยในยุคนี้เองได้เกิดทฤษฎีประวัติศาสตร์สามกรุง คือ ประวัติศาสตร์ไทยทั้งหมดเริ่มต้นที่กรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ ในเวลาต่อมา และในสมัยรัชกาลที่ 6 เกิดกรมศิลปากร ก็เริ่มมีบทบาทในการส่งเสริมศิลปะแบบราชการ โดยมีการรับอิทธิพลสืบมาถึงหลวงวิจิตรวาทการ (ดูเพิ่มเติม: ย้อนดูภาพยนตร์ "พระเจ้าช้างเผือก"สงคราม สันติภาพ และชาตินิยม) การอธิบายตามปรัชญาประวัติศาสตร์ศิลปะของรัชกาลที่ 6 ก็เผยแพร่ให้คนทั้งหลายรู้เห็นความรุ่งเรืองของสยาม และเพื่อช่วยกระตุ้นความรู้สึกชาตินิยม ซึ่งพระองค์ได้ทรงถูกยกย่องว่าทรงมีพระอัจฉริยะภาพ ทั้งด้านการละคร การแสดง และปรากฏผลงานภาพฝีพระหัตถ์ ที่เป็นภาพล้อ หรือการ์ตูน(ดังที่เกิดภาพล้อพระองค์ทรงนำคนสยามชักรอกขึ้นเหนือคนเขมร ญวน ด้วยปรีชา วิริยภาพ ด้านกสิกรรม และหัตถกรรม การศึกษา ทหาร ฯลฯ) นอกจากนั้น พระองค์ทรงพระปรีชา ด้านโบราณคดี-ประวัติศาสตร์ ดังปรากฏผลงาน"เที่ยวเมืองพระร่าง"(ช่วง พ.ศ.2450 เป็นเวลาที่เกิดความตกลงของรัชกาลที่ 5 เขาพระวิหารจึงได้ถูกขีดเส้นให้เป็นของฝรั่งเศสซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมของกัมพูชา) รวมถึงทรงมีผลงานอื่นๆ ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เช่น "พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร" และ "เทศนาเสือป่า" เป็นต้น ผลงานของรัชกาลที่ 6 ส่งผลต่อพลังอำนาจ ด้านแนวคิด หรือ อุดมการณ์ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ อันสะท้อนพระพุทธศาสนาประจำชาติออกมา ซึ่งรับอิทธิพลจากสมัยรัชกาลที่ 5 ในส่วนด้านอื่นๆ ก็มีความสำคัญ ท่ามกลางความขัดแย้งของอุดมการณ์ทางการค้า แนวทางทุนนิยมในสมัยรัชกาลที่ 6 และด้านการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สงครามโลกครั้งที่ 1 ทรงส่งทหารเข้าร่วมการรบในสงคราม เป็นส่วนสำคัญ และการเปลี่ยนแปลงของรัฐราชสมบัติสยามขณะนั้น ทำให้เกิดการเผชิญกับความเปลี่ยนแปลง และการท้าทายอย่างใหม่ โดยกระแสความคิดทางการเมืองการปกครอง และลัทธิสังคมเศรษฐกิจ เช่น คอนสติติวชั่น ปาลิเมนต์ เก๊กเหม็ง รีปับลิก อานาคิช โสเชียลิสต์ ฯลฯ สะพัดอยู่ในหมู่ชนชั้นกลางทั้งในและนอกราชการ อันเป็นชนชั้นนักอ่าน นักเขียน นักแปลในสยาม สุดที่พระราชอำนาจสมบูรณ์ทางทฤษฎี ทว่าถูกจำกัดในทางปฏิบัติจากสิทธิสภาพนอกเขตของฝรั่ง และระบบราชการสมัยใหม่ ซึ่งเติบโตพร้อมกับทุนจีนเสรี ต่างๆ ในสถานการณ์นั้น รัชกาลที่ 6 ทรงพระนิพนธ์ อุตตรกุรุ : ดินแดนอัศจรรย์ของเอเชีย คือ รัชกาลที่ 6 ทรงเปรียบเทียบแนวคิด ยูโทเปีย และลัทธิโสเชียลิสต์สมัยใหม่ โดยเปรียบว่า สิ่งนั้นมีอยู่ในไตรภูมิ-อุตรกุรุทวีป-ยุคพระศรีอาริย์ แม้ว่าในรัชกาลที่ 6 ทรงพระนิพนธ์บทความดังกล่าวเพื่อยับยั้งกระแสลัทธิโสเชียลิสต์สมัยใหม่ ที่จะมีผลต่อการเมืองสยาม ก็สะท้อนคติไตรภูมิ- พุทธศาสนา มีอิทธิพลต่อความคิดของคนในสมัยนั้น(และสืบต่อมา ที่ประกาศคณะราษฎร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการปกครองเพื่อยุคพระศรีอาริย์) ส่วนกรณีผลพวงจากการเสียดินแดนฝั่งซ้าย และฝั่งขวาแม่น้ำโขง ทำให้เชียงของส่วนหนึ่งตกเป็นของฝรั่งเศส หรือกบฏเงี้ยว ฯลฯ แม้แต่ในเชียงของก็ตาม ทำให้มีการปฏิรูปต่อจากรัชกาลที่ 5 ทรงยกเมืองขึ้นเป็นจังหวัดนั้น กระบวนการการสร้างสำนึกของชาติยังไม่สิ้นสุด เพราะการยกเมืองเชียงราย ให้อยู่ในมณฑลพายัพ พ.ศ.2453 ถึงรัชกาลที่ 6 เกิดปัญหาปี พ.ศ. 2455 คือ กบฏ ร.ศ. 130 และในปี พ.ศ.2458(ห่างกัน 5 ปี) โปรดทรงให้รวบรวมมณฑลต่างๆ ออกรวมเป็น 4 ภาค ปักษ์ใต้ พายัพ อีสานและอยุธยา ส่วนกรุงเทพมหานาครนั้นเป็นอีกมณฑลหนึ่งต่างหาก ต่อมาก็เลิกตำแหน่งเจ้าเมือง โดยเจ้าเมืองคนสุดท้ายของเชียงของ คือพระยาจิตวงษ์วรยศรังษี โดยยกเลิกตั้งแต่ปี พ.ศ.2453 ต่อมาเชียงของ ซึ่งเคยขึ้นอยู่กับน่าน กลายเป็นขึ้นอยู่กับจังหวัดเชียงราย กล่าวโดยย่อ จากอิทธิพลจากรัชกาลที่ 5 ก็คือ ภาพสะท้อนของการทำให้เกิดการรับช่วงต่อของความคิดสร้างอาณานิคมภายในที่มีแผนที่สมัยใหม่เกิดขึ้นแล้ว ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นประชาธิปไตย ที่มีการฝังหมุดคณะราษฎร ณ อนุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้า ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงก่อตั้งกรมรักษาสัตว์น้ำ คือ กรมประมงในปัจจุบัน เพื่อการรักษาอนุรักษ์สัตว์น้ำ และก็มีปรากฏการณ์ของป้ายจารึก กับอนุสาวรีย์ ที่สำคัญเกี่ยวกับสุนัข คือ อนุสาวรีย์สุนัขย่าเหล โดยมีคำจารึกเป็นส่วนหนึ่งของอนุสาวรีย์ ทำให้ทราบเหตุผลในการก่อสร้างไว้ หมายถึงเพื่อเป็นพยานรัก ที่แสดงความซื่อสัตย์ระหว่างสุนัขตัวนี้ กับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉะนั้น อนุสาวรีย์เป็นเครื่องหมายสำคัญทางสัญลักษณ์ของรัฐไทยเป็นต้นมา ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 7 "ชาตินิยม" ในนามประเทศสยาม สู่การเปลี่ยนนามประเทศไทย และอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย คณะราษฎร ประกาศให้วันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ ตั้งแต่เดือนกรกฏาคม 2481 และมีการก่อตั้งสวนสัตว์ดุสิตในปี พ.ศ.2481 และต่อมาก็เปลี่ยมนามประเทศ ในวันที่ 24 มิถุนายน 2482 รัฐบาลเปลี่ยนนามประเทศจาก "สยาม" เป็น "ไทย" (ดูเพิ่มเติม: ย้อนดูภาพยนตร์ "พระเจ้าช้างเผือก"สงคราม สันติภาพ และชาตินิยม) หลังจากนั้น มีการวางศิลาฤกษ์ของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยนั้น ก็ตั้งแต่ในวันเปลี่ยนนามสยามเป็นไทย" โดยอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มีเกี่ยวกับหลัก 6 ประการ คือ เอกราช และความสงบภายใน สิทธิ เสรีภาพ ฯลฯ เป็นต้น มีพิธีเปิด เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2483) ฉะนั้น อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นเครื่องหมาย เพื่อสะท้อนอุดมการณ์ประชาธิปไตย เมื่อรัฐบาลปลุกระดมเรียกร้องดินแดนจากฝรั่งเศส (คือดินแดนที่ได้ตกลงแลกเปลี่ยนกันไปแล้วในสมัยรัชกาลที่ 5) ในเดือนตุลาคม 2483 ผลักดันให้นิสิตนักศึกษาทั้งจุฬาฯ และ มธก. เดินขบวนเรียกร้องดินแดน "มณฑลบูรพา" และ "ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง" จนในที่สุด ก็เกิดสงครามชายแดน รัฐบาลส่ง "กองกำลังบูรพา" ไปรบกับฝรั่งเศส ซึ่งก็เปิดโอกาสให้ญี่ปุ่น "มหามิตรใหม่" เข้ามาไกล่เกลี่ยบีบให้ฝรั่งเศส (ซึ่งตอนนั้นเมืองแม่หรือปารีสในยุโรปอ่อนเปลี้ยถูกเยอรมนียึดครองไปเรียบร้อยแล้ว) จำต้องยอมยกดินแดนให้ "ไทย" สมัยพิบูลสงคราม (ทำให้นายพลตรีหลวงพิบูลสงคราม กระโดดข้ามยศพลโท-พลเอก กลายเป็นจอมพลคนแรกในยุคหลัง 2475) แผนที่ดินแดนในอินโดจีนของฝรั่งเศส ที่รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามยึดได้มาเมื่อปี พุทธศักราช 2484 คือ จังหวัดพระตะบอง จังหวัดพิบูลสงคราม และจังหวัดนครจำปาศักดิ์ ในกรณีของจังหวัดพิบูลสงครามนั้น คือจังหวัดเสียมเรียบของกัมพูชาเดิมนั่นเอง แต่ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่ให้เป็นของไทย ในกรณีของจังหวัดจำปาศักดิ์นั้น รวมอาณาบริเวณทางตอนใต้ของเทือกพนมดงรัก เช่น ปราสาทเขาพระวิหารและเมืองจอมกระสาน ฯลฯ เมื่อนั้นเอง ที่ทั้งปราสาทและเขาพระวิหาร กลับมาสู่ความสนใจและความรับรู้ของคนไทย รัฐบาลพิบูลสงคราม ดำเนินการให้กรมศิลปากร (ซึ่งในสมัยหลังการปฏิวัติ 2475 ได้หลวงวิจิตรวาทการ นักอำมาตยาเสนาชาตินิยม มือขวาของจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นอธิบดี หลวงวิจิตรวาทการ (กิมเหลียง วัฒนปฤดา) ทั้งพูด ทั้งเขียน ทั้งแต่งเพลงแต่งละคร ปลุกใจให้รักชาติ) ได้จัดการขึ้นทะเบียนให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นโบราณสถานของไทย โดยประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2483 ช่วงสมัยดังกล่าว ที่รัฐบาลพิบูลสงคราม ชี้แจงต่อประชาชนว่า "ได้ปราสาทเขาพระวิหาร" มา ดังหลักฐานในหนังสือ "ประเทศไทยเรื่องการได้ดินแดนคืน" ของกองโฆษณาการงานฉลองรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2484 สมัยนั้น มีรูปปราสาทเขาพระวิหารพิมพ์อยู่ด้วย พร้อมด้วยคำอธิบายภาพว่า "ปราสาทหินเขาพระวิหาร ซึ่งไทยได้คืนมาคราวปรับปรุงเส้นเขตแดนด้านอินโดจีนฝรั่งเศส และทางการกำลังจัดการบูรณะให้สง่างามสมกับที่เป็นโบราณสถานสำคัญ" (ที่มา: ชาญวิทย์ เกษตรศิริ : "ปราสาทเขาพระวิหาร" กรณีศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองกับลัทธิชาตินิยม) กรณีปราสาทเขาพระวิหาร-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ จงเปลี่ยนความหมาย "ชาตินิยม"เพื่อชัยชนะร่วมกัน ด้วยเหตุพิพาทอินโดจีนดังกล่าว จึงเกิดอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2484 เพื่อแสดงวีรกรรม ทหาร ตำรวจ พลเรือน ที่เสียชีวิต ซึ่งรูปแบบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเปรียบเทียบแตกต่างจากอนุสาวรีย์ทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่มีลักษณะสถูปเจดีย์ (ดูเพิ่มเติม: ย้อนดูภาพยนตร์ "พระเจ้าช้างเผือก"สงคราม สันติภาพ และชาตินิยม) ดังนั้น อนุสาวรีย์สะท้อนรูปแบบชาติไทยไปในตัวเอง คือรูปแบบศิลปะสมัยใหม่ และร่างกายของทหาร มีกล้ามเนื้อมากกว่าจะเป็นรูปแบบร่างกายในงานจิตรกรรมภายในวัด ซึ่งแตกต่างจากรูปแบบเจดีย์ดังกล่าวไปแล้ว แต่ว่าสิ่งที่สะท้อนชี้ให้เห็นถึงการผสมผสานแนวคิดปรัชญาประวัติศาสตร์ศิลปะแบบชาตินิยม กับการเรียกร้องพรมแดน คือ สงครามอินโดจีน มีกรณีเขาพระวิหาร เป็นตัวอย่าง ซึ่งทำให้เห็นว่า "ปรัชญาประวัติศาสตร์แบบชาตินิยม" ก็ยังอยู่ในความทรงจำ แม้ว่าจะมีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (Victory Monument) ก็เป็นอนุสาวรีย์ในกรุงเทพมหานคร โดยรอบเป็นวงเวียน อยู่กึ่งกลางระหว่างถนนพหลโยธิน ถนนราชวิถี และถนนพญาไท ตั้งอยู่ที่ กิโลเมตรที่ 0.0 ของถนนพหลโยธิน (แต่เดิมชื่อถนนประชาธิปัตย์ แล้วเปลี่ยนเป็นถนนพหลโยธิน) ดังนั้น ความสำคัญของอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ นอกจากเป็นอนุสรณ์สถานที่สำคัญและเป็นที่จารึกรายนามทหารที่เสียชีวิตใน กรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส (สงครามอินโดจีน) สงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเกาหลีอีกด้วย โดยการออกแบบอนุสาวรีย์ของหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล มีแรงบันดาลใจ 5 ประการ คือ -ปฏิบัติการของกองทัพทั้ง 4 -ปฏิบัติการอย่างกล้าหาญของกำลังพลโดยเฉพาะ -อาวุธที่ทหารใช้สู้รบ -เหตุการณ์ที่สำคัญที่ต้องเปิดการสู้รบ -ความสนใจของประชาชน หม่อมหลวงปุ่มใช้ดาบปลายปืน ซึ่งเป็นอาวุธประจำกายทหาร โดยใช้ดาบปลายปืนห้าเล่มรวมกัน จัดตั้งเป็นกลีบแบบลูกมะเฟือง ปลายดาบชี้ขึ้นบน ส่วนคมของดาบหันออก ก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กประดับหินอ่อน มีความสูงประมาณ 50 เมตร ดาบปลายปืนส่วนด้ามตั้งเหนือเพดานห้องโถงใหญ่ ซึ่งใช้เก็บกระสุนปืนใหญ่บรรจุอัฐิทหารที่เสียชีวิตในกรณีพิพาทไทย-ฝรั่งเศส ด้านนอกตอนโคนดาบปลายปืน มีรูปปั้นหล่อทองแดง ขนาดสองเท่าคนธรรมดา ของนักรบ 5 เหล่า คือ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือน ศิลปินผู้ปั้นรูปเหล่านี้เป็นลูกศิษย์ของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เช่น สิทธิเดช แสงหิรัญ, อนุจิตร แสงเดือน, พิมาน มูลประสุข, แช่ม ขาวมีชื่อ ภายใต้การควบคุมของ ศ.ศิลป พีระศรี (ซึ่งก็มีการกล่าวว่าอนุสาวรีย์เป็นแบบนีโอ-ฟาสซิสม์ ฯลฯ เป็นต้น) กรณีทางการเมือง ก็พลิกผันกลับมาอีกครั้งของรัฐบาลอำมาตยาเสนาธิปไตยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม (ซึ่งคืนชีพมาด้วยการรัฐประหาร พ.ศ. 2490 ภายใต้การนำของพลโทผิน ชุณหะวัณ ร่วมด้วยช่วยกันจากหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ คือ นายควง อภัยวงศ์) ได้ส่งกองทหารไทยให้กลับขึ้นไปตั้งมั่นและชักธงไตรรงค์อยู่บนนั้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2497 และอิทธิพลทางศิลปะสมัยใหม่ ก็ถึงจุดเปลี่ยนไป คือรูปแบบศิลปะคณะราษฎร์ หายไป ตั้งแต่ พ.ศ.2490 เป็นต้นมา ทุกอย่างก็กลับคืนสู่ช่วงก่อนเวลา พ.ศ. 2475 หมด และผลงานศิลปะจึงกลายป็นแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาก มีการสร้างอนุสาวรีย์พระบิดาด้านต่างๆ โดยใช้คนกลุ่มเดิมซึ่งก็คือ ศิลป์ พีระศรี และหลวงวิจิตรวาทการ เป็นผู้สืบสร้างงานศิลปะและสัญลักษณ์ นั่นเอง (ที่มา: ชาตรี ประกิตนนทการ : สถาปัตย์คณะราษฎร บนพื้นที่ศักดิ์สิทธิแห่งสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ) จากความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวแล้ว อิทธิพลทางศิลปะของคณะราษฎร์จะสร้างชาติผ่านทางปรัชญาประวัติศาสตร์ศิลปะ จึงหายไปด้วย เพราะการผสมกลมกลืนกับประวัติศาสตร์ชาติแบบเดิม กล่าวได้ว่า ความห่างไกลและความกันดารของทั้งตัวภูเขาและตัวปราสาทในสมัยนั้น และเพราะการที่เจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส ต้องพะวงกับสู้รบปราบปรามขบวนการกู้ชาติของเวียดนาม กัมพูชา และลาว ก็ไม่ทำให้เรื่องของปราสาทเขาพระวิหารเป็นข่าว หรืออยู่ในความรับรู้ของผู้คนโดยทั่วๆ ไป ระเบิดเวลาลูกนี้ระเบิดขึ้น เมื่อกัมพูชาได้เอกราชในปี พ.ศ. 2496 (1953) อีก 6 ปีต่อมา พระเจ้านโรดมสีหนุซึ่งทรงเป็นทั้ง "กษัตริย์และพระบิดาแห่งเอกราช" และ "นักราชาชาตินิยม" ของกัมพูชา ก็ยื่นเรื่องฟ้องต่อศาลโลก (International Court of Justice) เมื่อ 6 ตุลาคม 2502 รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (ที่ทำปฏิวัติรัฐประหารยึดอำนาจจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม) แต่งตั้ง ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช (อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์) เป็นทนายสู้ความ รัฐบาลสฤษดิ์ ปลุกระดมให้ประชาชน "รักชาติ" และพ่ายแพ้ตามคำตัดสินของศาลโลก (ที่มา: ชาญวิทย์ เกษตรศิริ : "ปราสาทเขาพระวิหาร" กรณีศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองกับลัทธิชาตินิยม) เมื่อผู้คนสนใจเขาพระวิหาร มากขึ้น และกระแสทางการเมือง ช่วยหนุนนำไป ทำให้ปรัชญาประวัติศาสตร์ศิลปะ ที่พยายามสร้างอาณานิคมดินแดนของเรา มีแหล่งที่มาของศิลปะ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 และในรัชกาลที่ 6 กระแสศิลปะแบบชาตินิยมเดิม จึงกลับมายังในนามประเทศไทย รวมทั้งยุครัฐบาลสฤษดิ์ แม้ว่าจะเดินตามกระแสการพัฒนาแบบอเมริกัน และเข้าสู่สงครามเย็นก็ตาม อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมา หลังจากการพัฒนาประเทศไทย มาสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยนโยบาย "เปลี่ยนจากสนามรบเป็นสนามการค้า" [2] (ยุครัฐบาลชาติชาย ชุณหะวัณ ที่เคยไปรบศึกอินโดจีน) จนถึงกรณีกบ สุวนันท์ กับนครวัด ทำให้เกิดการประท้วง และเผาสถานทูต ผลพวงเหล่านี้ มาถึงในยุคปัจจุบัน เกิดกระแสชาตินิยม ต่อกรณีปราสาทเขาพระวิหาร โดยในท้ายที่สุดประเทศไทย น่าจะมีเป้าหมายของประเทศ ที่จะเปลี่ยนความสัมพันธ์กับกัมพูชา เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความหมายปรัชญาประวัติศาสตร์ศิลปะแบบชาตินิยมของอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ยังผลให้มีความหมายชัยชนะร่วมกัน(Win-Win) โดยสร้างความร่วมมือ และเรียนรู้ ทางปรัชญาประวัติศาสตร์ศิลปะ เพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเริ่มต้นจากกรณีปราสาทเขาพระวิหาร น่าจะช่วยก่อให้เกิดมรดกโลกที่แท้จริง ……….. เชิงอรรถ [1] ชาตรี ประกิตนนทการ พระพุทธชินราชในประวัติศาสตร์การสร้างความเป็นไทย วารสารเมืองโบราณ ปีที่ 32 ฉบับที่ 3 (กรกฏาคม-กันยายน) 2549 : 80 และมาอูริซิโอ เปเลจจี "ยี อี เยรินี กับกำเนิดโบราณคดีสยาม"แปลโดย กนกวรรณ ฤทธิไพโจน์ วารสารเมืองโบราณ ปีที่ 31 ฉบับที่ 3 (กรกฏาคม-กันยายน) 2548 :57 และดูเพิ่มเติม พิริยะ ไกรฤกษ์ อารยธรรมไทย พื้นฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะ เล่ม ๑ กล่าวว่าปรัชญาประวัติศาสตร์ศิลปะ คือ การอธิบายตามปรัชญาประวัติศาสตร์ศิลปะของรัชกาลที่ 6 ก็เผยแพร่ให้คนทั้งหลายรู้เห็นความรุ่งเรืองของสยาม และเพื่อช่วยกระตุ้นความรู้สึกชาตินิยม และพิริยะไกรฤกษ์ พรมแดนแห่งความรู้ : รวมบทความของศิษยานุศิษย์ของพระยาอนุมานราชธน โดยพิริยะไกรฤกษ์ กล่าวถึงกรอบของการเขียนเรื่องประวัติศาสตร์ศิลปะ ก็ปรากฏว่า วิเคราะห์ประวัติการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย ตั้งแต่ รัชกาลที่ 4-2527 และกล่าวว่าช่วง 2483-2492(กระแสชาตินิยมเช่นกัน) มีความนิยมอารยธรรมตะวันตกนั้น มากกกว่าค้นคว้าเรื่องในอดีต เป็นต้น [2] อรรคพล สาตุ้ม ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา อำนาจรัฐ ธุรกิจ และสื่อ ยุคโลกาภิวัตน์ พลเมืองเหนือ ปีที่ 2 ฉบับที่ 68 17-23 กุมภาพันธ์ 2546 : 6

การพัฒนาวัฒนธรรมทางการค้า กรณีบทบาทหอการค้าเชียงราย ในลุ่มน้ำโขง

การพัฒนาวัฒนธรรมทางการค้า กรณีบทบาทหอการค้าเชียงราย ในลุ่มน้ำโขง[1] 

                                                                                                          อรรคพล สาตุ้ม 

                                                           
                                                    1.บทนำ


พัฒนาการของหอการค้าจีนก่อตัวขึ้น ตั้งแต่ พ.ศ. 2451 โดยมีจุดประสงค์สำคัญเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ทางการค้าของมวลสมาชิก ลักษณะการรวมตัวของหอการค้าจีน(เปลี่ยนชื่อตามกาลเวลา) มีหลักการทั่วไปคล้ายคลึงกับหอการค้านานาชาติ[2] และหอการค้าก็ได้สามารถเข้าไปใช้อำนาจต่อระบบราชการได้ และมีนโยบายการจัดตั้งสาขาของหอการค้า กระจายไปทุกแห่ง

ที่มีชุมชนคนจีนตั้งอยู่ในแต่ละแห่ง ซึ่งคนจีน คือกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย มีทั้งไหหลำ ฮกเกี้ยน แต้จิ๋ว จำนวนมาก มีคนกล่าวว่าเชียงรายเจริญขึ้น และมีการแพร่กระจายของชาวจีน ที่มีอิทธิพลทางการค้า บริเวณนั้นจำนวนมาก จนกระทั่งผู้ไปพบเห็นกลัวว่าชาวจีนจะครอบงำเศรษฐกิจแทนคนไทใหญ่ภายใต้บังคับของอังกฤษหมดแล้ว ก็จะมีอำนาจเท่ากับที่ชาวจีน กรุงเทพฯ และในเชียงราย มีโรงเรียนจีน ตั้งแต่ปีพ.ศ.2474 พร้อมทั้งเส้นทางถนนลำปาง-เชียงราย เป็นเส้นทางสำหรับคมนาคมขนส่งสินค้ากระจายไปยังเส้นทางเมืองชายแดนแม่น้ำโขง สัมพันธ์กับบทบาทของพ่อค้าคนจีน อนึ่ง บริเวณ “แม่น้ำโขง” มีการตั้งด่านตามชายแดนเพื่อป้องกันการลักลอบเข้าเมืองของคนจีน มีน้อยมาก

โดยเฉพาะตามเขตแดนไทย ซึ่งติดกับแม่น้ำโขงฝั่งตรงข้ามกับอินโดจีนของฝรั่งเศส ใน พ.ศ.2476 แต่ว่าชาวจีน มักนิยมลักลอบเข้าประเทศไทยตามชายแถบชายแดนบริเวณนี้มาก ซึ่งสะท้อนการเข้ามาอีกระลอกของคนจีนในแต่ละช่วงเวลา พร้อมกับปัญหาของภายในประเทศจีนเอง ทำให้คนจีนอพยพเข้ามาในไทย และภาคเหนือ

จนกระทั่งรัฐบาลจัดตั้งหอการค้าไทย (และต่อมาปีพ.ศ.2486 กระทรวงพาณิชย์ได้เข้าควบคุมหอการค้าไทย เปลี่ยนชื่อเป็นสมาคมพ่อค้าไทย และเพิ่มเติมเช่น สมาคมพาณิชย์ของคนจีนโพ้นทะเลในประเทศสยาม เปลี่ยนชื่อในปี พ.ศ. 2505 ชื่อว่าหอการค้าไทย-จีนแห่งประเทศไทย) ดังนั้น การพิจารณาเพื่อศึกษาTransnationalism จากมุมมองของประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์วรรณา(historical ethnography)งานศึกษาทางประวัติศาสตร์ การอพยพเคลื่อนย้ายผู้คนความคิด วัฒนธรรม หากคนท้องถิ่นเป็นชั้นปกครอง และมีสถานภาพทางสังคม และอำนาจทางเศรษฐกิจการเมือง เช่น ในไทย ชาวจีน พยายามปรับตัวให้เป็นคนท้องถิ่น(assimilate)กลายเป็นคนท้องถิ่น หมายถึงโอกาสในการเลื่อนชนชั้น หรือ สถานภาพทางสังคมนี้ เป็นกระบวนการสร้างพรมแดนทางเชื้อชาติแบ่งแยกระหว่าง คนท้องถิ่นกับคนจีน ที่ต่อมาพัฒนาตัวเอง มีบทบาทในหอการค้าและจะต้องสร้างความร่วมมือพัฒนานโยบายการต่างประเทศในลุ่มน้ำโขงเพื่อมิติทางสิ่งแวดล้อม


                               2.หอการค้ากับพัฒนาการในยุครัฐไทย

คนจีนได้ตั้งหอการค้ามาตั้งนานแล้ว แม้แต่ผู้บริหารชาวจีน หรือนักธุรกิจชาวจีนทั่วไป ไม่ลังเลใจเลยที่จะให้สินบนข้าราชการ และนักการเมืองที่ซื้อได้ด้วยเงิน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ส่วนตัวกับข้าราชการ ช่วงพ.ศ.2481รัฐบาลของพระยาพหลพลพยุหเสนา รัฐบาลได้เสนอร่างพระราชบัญญัติแรงงานต่อสภาด้วยความมุ่งหมายจำกัดบทบาทกรรมกร ซึ่งต้องมีผลกระทบต่อแรงงานจีนทั่วประเทศแน่ แต่ว่าร่างพระราชบัญญัตินี้กลับไม่ผ่านสภาโดยเกี่ยวข้องกับหอการค้า จึงสะท้อนการต่อรองของชนชั้นกลางคนจีน และแม้ว่าก่อนหน้านั้น พ.ศ.2479-81จะมีการพยายามรัฐบาลตั้งรัฐวิสาหกิจ บังคับซื้อกิจการโรงสีข้าวขนาดใหญ่ของจีน เพื่อตั้งบริษัทค้าข้าวไทย จำกัด ต่างๆ 

เมื่อเปลี่ยนนามประเทศจากสยาม กลายเป็นไทย มีการสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งสะท้อนนโยบายการต่างประเทศในยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง พ.ศ. 2485-6 ญี่ปุ่นเข้ามาแทรกแซงทางการเมือง การค้าขัดแย้งกับจีน และปรีดี ถึงขนาดคิดจะพยายามไปตั้งรัฐบาลอิสระทางภาคเหนือ แต่ไม่สำเร็จแล้ว เพราะว่า ความขัดแย้งภายในรัฐบาล และแนวนโยบาย ก็สร้างปัญหาทางการเมืองกีดกันคนจีน

โดยได้ประกาศเขตหวงห้ามไม่ให้คนต่างด้าว คือ คนจีน มีภูมิลำเนาอาศัยในเขตท้องที่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย แพร่ และอุตรดิตถ์ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนในการค้าขายของคนจีน ที่ต้องปิดร้านอพยพโยกย้าย และในบางพื้นที่ย้ายภายใน 7 สัปดาห์ จนกระทั่งรอดพ้นการสูญเสียหลังสงคราม เมื่อ พ.ศ.2487 จอมพลป. ต้องลาออกจากตำแหน่ง และผลัดเปลี่ยนตำแหน่งอำนาจนายกรัฐมนตรี ควง อภัยวงศ์ ขึ้นมามีอำนาจจัดการกับคนจีนแทนอย่างลดความแรงลง เพราะมีการแจกใบปลิวต่อต้านคนไทย ด่าว่า “โจรไทยได้ใช้วิธีการฆ่าพี่น้องเราอย่างไร้เหตุผล” การกลับมาอีกครั้งของ จอมพลป. ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 2 ได้ดำเนินนโยบายภายในประเทศทางเศรษฐกิจสังคม มีอุดมการณ์ชาตินิยม เชื้อชาตินิยม(ส่งผลต่อสำนึกพัฒนาการเมือง ที่ไม่ยอมให้มีพลเมืองจีนปนไทย ฯลฯ) ปราบปรามจีนอย่างรุนแรง และเป็นศัตรูอย่างจริงจัง ต่อระบบคอมมิวนิสต์

อีกทั้งมีที่ปรึกษาด้านการคลังเป็นอังกฤษ เช่น ดับลิว.ดี.ลีฟ. และร่วมมือกับสหรัฐอเมริกาความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และด้านเทคนิค เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ทหาร และก็ได้แพร่ทุนนิยมอยู่ในอิทธิพลของทหาร และข้าราชการระดับสูง ต่อต้านทุนนิยมจีนในไทยอย่างกว้างขวาง ซึ่งคนจีนในขณะมีประชากรเชื้อสายจีนก็มีจำนวนมาก แต่ว่าอิทธิพลจากภายนอกนั้น

นับตั้งแต่ข้อตกลงเจนีวาในปี2497 เมืองขึ้นฝรั่งเศสในอินโดจีนได้รับเอกราชและสามารถเข้าเป็นสมาชิกคณะกรรมการเศรษฐกิจ ภูมิภาคซึ่งมีชื่อว่าECAFE (Economic Commission for Asia and the Far East) ภายหลังคณะกรรมาธิการภูมิภาคของสหประชาชาตินี้เรียกชื่อใหม่ว่าESCAPE (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific) คณะกรรมการเลยให้มีการก่อตั้งคณะกรรมการแม่น้ำโขงขึ้นระหว่างประเทศ มีปัญหาตั้งแต่สงครามในอินโดจีน และกัมพูชา มีปัญหาภายในประเทศ (ดังนั้นแม่น้ำโขงช่วงแรกจากการสนับนุนของอเมริกา

ช่วงที่สองสนับสนุนจากสวิตเซอร์แลนด์และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียของญี่ปุ่น ช่วงที่สาม เป็นประเทศในภูมิภาคนี้ คือ Mekong River Commission หรือ คณะกรรมการแม่น้ำโขง) ฉะนั้น ปัจจัยภายนอก มีอิทธิพลกับไทย เหมือนกัน และช่วงระหว่างพ.ศ. 2491-2500 นโยบายที่รัฐพยายามสร้างฐานทางการเมือง เศรษฐกิจของตนก็ตาม แม้ว่าคนจีน ในเชียงราย จะมีการถูกเขียนถึงโดย ส.ส.บุญช่วย ศรีสวัสดิ์ ๓๐ ชาติในเชียงราย ก็ได้รับผลกระทบบ้าง แต่ก็มีกลุ่มเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่เสมอ เพราะในทางปฏิบัตินโยบายดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จน้อยมาก คนจีนยังคงมีบทบาททางเศรษฐกิจอยู่เหนือกว่าคนไทย แม้กระทั่งตามชายขอบ ชายแดนริมแม่น้ำโขง ด้วย

แต่แน่นอนว่ากลุ่มทุนท้องถิ่น พ่อค้าวัวต่างก็ยังมีอยู่กลุ่มทุนในตระกูลวงศ์วรรณ เคยมีอิทธิพลพ่อค้าใน จังหวัดเชียงราย และความเป็นคนจีนอพยพได้เข้าไปทำการค้าในจังหวัดเชียงราย อาทิเช่น ซึ่งในปัจจุบันจะเห็นซากสถาปัตยกรรมโรงบ่มใบยาสูบ ทีอำเภอ เชียงของ และกลุ่มนี้ได้เติบโตทางการทำกิจการยาสูบทั่วภาคเหนือนอกจากเชียงราย และกลุ่มทุนที่เกี่ยวข้องกับนามสกุล เหล่าธรรมทัศน์(อดีตอดีตหัวหน้าพรรคมหาชน) กิจการโรงสี [4]ขยายตัวในจังหวัด พะเยา พาน เชียงราย กลุ่มคนจีนเข้ามาอยู่เชียงราย

จนกระทั่ง มีการก่อตั้งสร้างโรงสีข้าวแล้ว แต่คนจีนก็ต้องการหาความมั่นคงของตนเอง จึงจัดการก่อตั้ง สมาคมต่างๆ มีประธานหอการค้า ก็เป็นที่ยอมรับจากเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล ประชากรเชื้อสายจีนในชั่วอายุแรกที่สองและต่อๆมามองเห็นประโยชน์ และคุณค่าขององค์กรที่จัดตั้งขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ ในฐานะที่เป็นองค์กรที่จะให้ความคุ้มครองผลประโยชน์ และสวัสดิภาพของผู้มีเชื้อสายจีนเท่าๆกับเป็นตัวเชื่อมประสานชุมชนเชื้อสายจีนเข้ากับชุมชนชาวไทย 

อย่างไรก็ตาม ในยุคอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาแพร่กระจายต่อต้านคอมมิวนิสต์ สมัยรัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ และเป้าหมายการเน้น การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการยึดนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีตามข้อเสนอของสถาบันระหว่างประเทศ ประกอบกับระหว่างนี้กลุ่มทุนธุรกิจ และขุนนางนักวิชาการ มีการเติบโตอย่างมาก ทำให้ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มนักวิชาการกับข้าราชการทหาร-พลเรือนลดความรุนแรงและประสานเข้าหากันมากขึ้น กลายเป็นหลักกำหนดทิศทาง และนโยบายบริหารประเทศ

ต่อมาได้มีแผนพัฒนาฯ ฉบับแรก และนโยบายความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติเชิงเศรษฐกิจ และตัดไม้ ทำถนน สร้างเขื่อน โครงสร้างพื้นฐานของสิ่งก่อสร้าง ต่างๆ ได้กระทำต่อเนื่องมาถึงยุคจอมพลถนอม โดยต่อมา จอมพลถนอม ถูกขับไล่ตั้งแต่กรณี 14 ตุลาคม 2516 เพราะ อาจารย์ สื่อมวลชน ส่งผลกดดันรัฐบาล ในกรณีรัฐไทยแทรกแซงเกี่ยวกับนโยบายการต่างประเทศต่อประเทศเวียดนาม และด้านสิ่งแวดล้อม ต่างๆ และช่วงระหว่าง ปีพ.ศ.2518 ได้มีการค้าไทยกับสามประเทศอินโดจีนภายหลังชัยชนะของคอมมิวนิสต์ ช่วง 2518-2523 เป็นช่วงที่ไทยได้มีการเปลี่ยนแนวนโยบายต่างประเทศ โดยได้ลดความผูกพันกับสหรัฐอเมริกา และเพิ่มความสัมพันธ์กับค่ายคอมมิวนิสต์ ในสมัยของรัฐบาล [5]

ดังนั้น ความขัดแย้งช่วงปี พ.ศ. 2518-2523 ในประเทศอิทธิพลการเคลื่อนไหวของนักศึกษาหลังจากปัญหาภายในประเทศจากภัยคอมมิวนิสต์ ที่รัฐบาลทหารสืบต่อมาได้สร้างอคติ หลัง 6 ตุลาคม 2519 การเคลื่อนไหวนักศึกษาเชื้อสายจีน เสียอิทธิพลของประชาสังคมไปโดยรัฐบาล สร้างความขัดแย้งนักศึกษาเข้าป่า และกว่าจะออกมาได้ก็มีการช่วงชิงการนำของรัฐ ใช้ความรุนแรงต่างๆ ที่ต่อมามีผู้นำจากทหารที่เข้ามาทำหน้าที่บริหารประเทศ เช่น รัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ (ได้เดินทางไปพบกับประธานสภาของจีน)ได้ใช้นโยบาย ร่วมมือทางสร้างสันติให้มีอยู่กับเพื่อนบ้าน ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจเปิดที่มีเสถียรภาพ และภาวะเศรษฐกิจโลกที่เอื้ออำนวยช่วยทำให้ธุรกิจไทยเจริญเติบโต นักธุรกิจไทยส่วนใหญ่สืบทอดทัศนคติที่มุ่งการค้าและการส่งออก ชุมชนพ่อค้าเชื้อสายจีนแสวงหาความมั่งคั่งจากการค้ามาโดยตลอด[6]

จนกระทั่งช่วง ปีพ.ศ.2524 สมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งใช้นโยบายการต่างประเทศ คือ การเป็นมิตรรอบด้าน และเน้นนโยบายการเมืองนำการทหาร จึงเพิ่มความสำคัญกับชนบท ในฐานะฐานที่มั่นในการสกัดกำลังของพคท. และทำให้ชนบทกลายเป็นแหล่งผลิต หรือตลาด ที่มีศักยภาพในการซื้อ โครงการพัฒนาต่างๆที่มุ่งไปสู่ความสนใจในชนบท จนกระทั่ง พ.ศ.2528-2531 ก็มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายกับเวียดนามอีกครั้ง ย่อมสะท้อนถึงปัจจัยภายในของการก่อรูปองค์กรการค้าในหอการค้าที่รวมกลุ่มกันด้วยความแนบแน่น เครือข่ายกับสังคม ในที่นี้ย่อมกล่าวถึงบทบาทหอการค้าเชียงราย ซึ่งทุนท้องถิ่นกำลังก้าวข้ามพรมแดนภายในประเทศมีส่วนร่วมกับนโยบายของประเทศไทยต่อประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง 

                                         3.ปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์ และบทบาทหอการค้าเชียงราย-                                                                      สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจในแม่น้ำโขง

หลังสิ้นสุดยุคสงครามเย็น กลับกลายเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับโลกของกลุ่มประเทศประชาธิปไตยกับคอมมิวนิสต์ ที่มีความขัดแย้งทางการเมืองการทหารหมดลง กลายเป็นคอมมิวนิสต์ได้มีสภาพนายทุนมากขึ้น(และในที่สุดนายทุนจีนใหญ่ที่สุด ก็เป็นประเทศจีนปัจจุบันนี้) และมีข้อเสนอทางแนวคิดไม่ว่าจุดสิ้นสุดของประวัติศาสตร์ การปะทะกันทางอารยธรรม อื่นๆ

แต่กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมรวมกลุ่มกันเข้าประกาศเขตการค้า และจับมือกันรื้อนโยบายที่เป็นอุปสรรค และกีดกันทางการค้า โลกถูกเชื่อมเข้าด้วยกันโดยการคมนาคมและการสื่อสาร พร้อมๆกับการแพร่ขยาย และเชื่อมต่อวัฒนธรรมกันเข้าด้วยความซับซ้อน ทั้งหมดว่ากันว่าโลกกำลังจะจัดระเบียบใหม่ ที่อยู่ภายใต้โลกาภิวัตน์ หลังจากยุคทหารลงไปแล้ว อดีตทหารได้กลายเป็นพลเรือน ซึ่งได้รับเลือกตั้งมาเป็นนายกรัฐมนตรีในยุคนั้น คือ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัน (ไปสร้างการทูตจีนด้วย)ได้สร้างวาทศิลป์ราวกับวาทกรรม เปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า

ซึ่งเกี่ยวพันกับ กลุ่มนักธุรกิจ ที่สนับสนุนขณะนั้นชนชั้นนักธุรกิจในภาคเหนือสนใจตลาด และวัตถุดิบของจีน โดยมีเงินทุนADB สนับสนุนเงินกู้สำหรับนโยบายนี้ หากพิจารณาในแง่นี้ การเปลี่ยนรัฐชาติสู่รัฐตลาด รัฐโดยตัวมันเองต้องพิจารณากันใหม่ รื้อโครงสร้างในแง่นี้การสร้างรัฐชาติกึ่งจีนกึ่งวัฒนธรรมไทยในช่วงนี้หรือไม่ เพราะการเกาะเกี่ยวธุรกิจ ที่มาของผลประโยชน์ทางกลุ่ม “หอการค้าเชียงราย” กับรัฐนี้ ได้พยายามทุกวิถีทางโดยเปลี่ยนพรมแดนความมั่นคงให้เป็นพรมแดนตลาดนั้น ขบวนแถวนักลงทุน นักตัดป่า-ขุดพลอยของไทยก็พากันเข้าไปในอินโดจีน

ด้วยความรู้สึกว่าที่นั่น คือ ขุมทรัพย์ใหญ่ ที่ไทยจะเข้าไปกอบโกยทรัพยากรธรรมชาติ เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2531 เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกันโยบายการต่างประเทศตอนหนึ่งความว่า “รัฐบาลจะดำเนินนโยบายต่างประเทศที่เป็นอิสระโดยยึดถือประโยชน์ของชาติเป็นหลัก เพื่อธำรงไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตยของชาติ และบูรณภาพแห่งดินแดน ตลอดจนพิทักษ์และสร้างเสริมความมั่นคงของรัฐและผลประโยชน์ของชาติ ทั้งจะใช้การต่างประเทศในการส่งเสริมความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของประเทศโดยปรับปรุงความสัมพันธ์ทั้งในทางเศรษฐกิจและการเมือง โดยเฉพาะการขยายตลาดการค้าระหว่างกัน และเสริมสร้างความเข้าใจอันดี และไมตรีจิตกับประเทศเพื่อนบ้านให้อยู่ร่วมกันโดยสันติ….”


ดังนั้น ได้ส่งผลกระทบต่อจุดผ่านแดนเชียงของ จังหวัดเชียงราย เปิดใหม่อีกครั้ง และจุดผ่านแดนเชียงแสน จังหวัดเชียงราย และความเคลื่อนไหวของหอการค้าจังหวัดอุดรธานี นครพนม หนองคาย และบริษัทผู้ต้องการเข้าไปลงทุนต่างๆ [7]

ปรากฏการณ์นี้เป็นบทบาทนักลงทุนไทยทำการค้ากับสปป.ลาว สร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว และยังเปิดฉากการทูตโดยนายกรัฐมนตรีเยี่ยมเยือนประเทศลาว ต่อมา ช่วง พ.ศ.2534 แทนที่จะมีคนยึดอำนาจทางทหารขึ้นมาบริหารประเทศแบบเดิม ก็มีคนฝ่ายด้านสภาอุตสาหกรรม อาทิเช่น รัฐบาลของ อานันท์ ปันยารชุน ได้มีการแก้ไข หลายต่อหลายเรื่องเป็นการปรับโครงสร้าง

ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการส่งเสริมการแข่งขันของธุรกิจ และอุตสาหกรรมไทยในโลก การนำเอากฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้ การลดหรือยกเลิกการปกป้องอุตสาหกรรมไทย ตลอดจนการปรับโครงสร้างตลาดการเงิน ด้วยการออกกฎหมายหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ล้วน แต่ก็สะท้อนเป็นตัวอย่างของแนวนโยบายการพัฒนาประเทศ อีกทั้งการลงทุนส่วนใหญ่ของไทยในต่างประเทศ คือประเทศอุตสาหกรรมใหม่ของเอเชีย คือ ฮ่องกง สิงค์โปร์ ดังนี้การขยายตัวของการลงทุนในฮ่องกงส่วนหนึ่งอาจจะใช้ฮ่องกงเป็นทางผ่านสู่จีนตอนใต้(ยูนนาน-แม่น้ำโขง) 

จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ.2535 หลังเหตุการณ์ที่เรียกว่าพฤษภาทมิฬ และภายใต้หลังพฤษภาทมิฬ คนชนชั้นกลางเชื้อสายจีน ที่รู้สึกรับไม่ได้กับความเป็นชาตินิยมไทยลุกมาเคลื่อนไหว ไล่รัฐบาลเผด็จการแล้ว ซึ่งก็นักวิชาการ หลายคนวิเคราะห์ว่า เป้าหมายการเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อเรียกร้องในตลาดเสรี ไม่นิยมชาติ ก่อให้เกิดการปฎิรูปการเมือง เศรษฐกิจ ภายใต้เสรีประชาธิปไตย โดย การกลับมาของอานันท์ ปันยารชุน สะท้อนผ่านดัชนีตลาดหุ้น สภาพคล่องทางเศรษฐกิจ การเงินต่างๆ ด้วย และก่อนตั้งรัฐบาลใหม่ของรัฐบาล ชวน หลีกภัย แต่ว่านอกจากตัวผู้นำทางการเมืองของรัฐไทย คนในพรรค หรือ ทุนสนับสนุนลูกคนจีนมากมาย

ในที่สุดพลังของชนชั้นกลาง คือ กลุ่มทุนเป็นผลประโยชน์ของนักธุรกิจ ได้เข้ามามีบทบาททางการเมืองมากกว่าทหารได้นำไปสู่ยุคแห่งการนิยามการพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านเสียใหม่โดย เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า และระบบอุปถัมภ์สัมพันธ์กับพรรคการเมือง (นักธุรกิจเริ่มเติบโตเข้าไปค้าขายต่างประเทศเพื่อนบ้าน อาทิเช่น ธุรกิจซีพี และ นักธุรกิจนาม ทักษิณ ชินวัตร ส่งดาวเทียมไทยคม) และ นโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่ปฏิบัติโดยกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ซึ่งนโยบายนี้ประจวบเหมาะกับสถานการณ์การปรับปรุงนโยบายของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รวมถึงประเทศอื่นในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงที่ได้ ปรับเปลี่ยนนโยบายทางเศรษฐกิจหันกลับมาร่วมมือกัน เช่น หอการค้าไทย จะเข้าไปสอนกัมพูชา ตั้งหอการค้าในกัมพูชา 

กระนั้นการใช้นโยบายการต่างประเทศปูทางแก่นโยบายทางเศรษฐกิจของไทยในภูมิภาคอินโดจีน รัฐบาลอานันท์ก็สนับสนุนการค้าเสรี ให้เป็นจริงมากยิ่งขึ้น ผนวกกับการขยายตัวของการสื่อสาร ขนส่ง และระบบโลกการค้า โลกาภิวัตน์ พร้อมกับการประสานนโยบายร่วมกันกับนานาประเทศในเอเชีย เพื่อผลักดันการสร้างเขตการค้าต่างๆโลกทั้งโลกกำลังถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกันอย่างไร้พรมแดนกำแพงกีดขวางอีกต่อไปการจัดแบ่งปริมณฑลทั้งระดับโลก(สังคมนิยม-ประชาธิปไตย)และภูมิภาคโลก(รัฐชาติ-รัฐชาติ)

 อย่างไรก็ดี ในอีกแง่หนึ่งเส้นพรมแดนแบบเก่ากำลังลบหายไป พรมแดนที่เป็นอำนาจของรัฐชาติที่ขยายไปถึง ตัวของมันเองก็เป็นอำนาจด้วยพรมแดนจึงไม่ใช่องค์กรอิสระที่แยกตัวออกจากโครงสร้างสังคมอย่างสิ้นเชิง ในทางตรงข้ามกลับผูกติดเชื่อมกับสังคมอย่างแนบแน่น การก่อรูป การไหวตัว และเปลี่ยนแปลงพรมแดนในแต่ละครั้ง จึงหมายถึงภาพสะท้อนรูปลักษณ์หนึ่งและนโยบายการค้าเสรี หรือ เขตเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้ทุน แรงงาน สินค้า และตลาด เปิดออกและโยกย้ายกันอย่างอิสระนั้น

เมื่อด้านหนึ่งก็คือการก้าวข้ามพรมแดนชาติไปอย่างเสรี อีกด้านหนึ่งพรมแดนก็กำลังถูกลบเลือนไปโดยเฉพาะการขยายตัวทางการค้าและการลงทุนในสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ พรมแดนเส้นแบ่งที่ลากผ่านไปบนพื้นที่ทางภูมิศาสตร์เพื่อสร้างขอบเขตและเป็นสัญลักษณ์อำนาจของรัฐชาติ ซึ่งย่อมสัมพันธ์กับแม่น้ำโขง บนพื้นผิวโลกนี้ที่ประกอบด้วยภูเขาและ อื่นๆ นอกจากเป็นเส้นแบ่งทางภูมิศาสตร์ยังถูกใช้เพื่อการตอกย้ำแบ่งเขาแบ่งเราในความรู้สึกคนที่มีอุดมการณ์ของชาตินิยม ครอบงำข้ามาด้วย และตอกย้ำด้วยความมั่นคงต่อการพัฒนาประเทศไทย

จนเปลี่ยนผ่านสู่ยุคพรมแดนชาติในโลกาภิวัตน์ ที่มีความร่วมมือทางภูมิภาคหรือสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ เ มื่อรัฐบาลของประเทศเหล่านี้เป็นศัตรูกันหรือเหินห่างกันเช่นนี้ผลคือบริเวณชายแดนของแต่ละประเทศถูกปิดโดยกฎหมาย คนไทยต้องกลายเป็นศัตรูต่อกันเนื่องจากแต่ละประเทศมีอุดมการณ์ และระบบเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน ในดินแดนแถบชายแดนที่ห่างไกลอำนาจรัฐเช่นนี้ ความเป็นศัตรูต่อกันย่อมมีน้อยเพราะนโยบายและอุดมการณ์ที่ขัดแย้งกันมิใช่สิ่งที่คนไทหรือคนบนภูเขาในเขตชายแดนเป็นผู้สร้าง

แต่เมืองหลวงกับชาติมหาอำนาจเป็นคนสร้างความขัดแย้งดังกล่าว สิ่งที่คนในแถบชายแดนทำได้ก็คือ ไม่เป็นศัตรูต่อกัน แต่ก็ไปมาหาสู่กันน้อยลง ขณะเดียวกัน ระบบวิทยุโทรทัศน์ และไฟฟ้าก็ยังมิได้แพร่หลายไปถึงบริเวณชายแดน การเผยแพร่วัฒนธรรมจากเมืองหลวง และวัฒนธรรมระดับโลกยังมีน้อย ผลก็คือวัฒนธรรมแบบชายแดนยังมีอยู่มาก 30กว่าปีที่ผ่านมา ขณะที่วัฒนธรรมชายแดนจึงรักษาเอกลักษณ์ของตนเองไว้ได้อย่างโดดเด่น

ขณะที่วัฒนธรรมท้องถิ่นทั่วๆไปถูกวัฒนธรรมระดับโลกและระดับชาติครอบงำมากขึ้นตามลำดับ ผลกระทบของการพัฒนาสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจต่อวัฒนธรรมชายแดน เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจการเมืองระดับสากลส่งผลให้รัฐต่างๆเป็นศัตรูต่อกัน บริเวณชายแดนเหล่านี้จึงถูกตัดขาดจากการสื่อสารเป็นเวลานาน

แต่สถานการณ์ดังกล่าวได้เปลี่ยนไปมากนับตั้งแต่ประเทศสังคมนิยมทั้งหลายหันมายอมรับระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี และพรรคคอมมิวนิสต์ที่ต่อสู้เพื่อช่วงชิงอำนาจรัฐประสบภาวะล้มละลาย พร้อมๆกับการเติบโตของพลังเศรษฐกิจแบบทุนนิยมในรับที่หันหลังให้กับลัทธิสังคมนิยม โดย จะเห็นได้ว่าปมเงื่อนของสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ คือ การนำเอาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเข้าไปในบริเวณชายแดน การเข้าไปใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างขนานใหญ่หลังจากที่เคยใช้น้อยมาในอดีต เช่น การตั้งโรงงานอุตสาหกรรม การทำฟารม์ขนาดใหญ่เพื่อขายสินค้าเกษตรแก่ตลาดหรือป้อนเข้าโรงงานแปรรูปสินค้าเกษตร การขายสินค้านานาชนิดทั้งสินค้าที่ผลิตได้ในเขตชายแดน เพราะเหตุดังกล่าว เกี่ยวข้องเปลี่ยนวัฒนธรรมการค้าของท้องถิ่น

ส่วนใหญ่ถูกดูดกลืนหรือทำลายไปโดยวัฒนธรรมแห่งชาติและวัฒนธรรมระดับโลกไปแล้ว กระนั้น ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นทำให้เราพบว่าวัฒนธรรมระดับโลกและวัฒนธรรมระดับชาติเติบโตขึ้นมาก และได้เข้าไปมีบทบาทครอบงำวัฒนธรรมท้องถิ่นมากขึ้นเป็นลำดับ ทำให้วัฒนธรรมท้องถิ่นถูกทำลาย หรือเปลี่ยนแปรเป็นวัฒนธรรมระดับชาติและระดับโลกมากขึ้นเรื่อยๆ แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในทศวรรษต่อไปนี้ สำหรับดินแดนสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจอันเป็นช่วงเวลา ที่สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจจะได้รับการส่งเสริมอย่างเต็มที่ ก็คือวัฒนธรรมโลก และวัฒนธรรมชาติจะแพร่ขยายรุกเข้าไปในบริเวณชายแดนอย่างมากมาย

หลังจากที่เข้าครอบงำวัฒนธรรมระดับท้องถิ่นเรียบร้อยแล้ว เพราะรูปแบบที่ชัดเจนที่สุดของสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจในประเทศไทยคือ เชียงรายในฐานะเมืองหน้าด่านได้กลายเป็นเมืองที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และเกี่ยวพันหอการค้าเชียงรายมีบทบาทสำคัญด้วย 

อย่างไรก็ดี คณะกรรมการแม่น้ำโขง ถือว่ามีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจในแม่น้ำโขงด้วย เพราะ ประเทศสมาชิก ในสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ ก็อยู่ในคณะกรรมการแม่น้ำโขงที่มีปัญหาได้ผ่านพ้นวิกฤติการณ์ในประเทศแล้ว ก็กลับมาร่วมมือกันใหม่อีกครั้ง จนกระทั่งประเทศไทย เผชิญวิกฤติเศรษฐกิจปีพ.ศ.2540 อันเนื่องมาจากค่าเงินบาทลอยตัว ส่งผลกระทบไปทั่วภูมิภาคนี้ เพราะนักลงทุนไทยได้เข้าไปเกี่ยวพันกับเศรษฐกิจประเทศเพื่อนบ้าน 

หลังจากวิกฤติเศรษฐกิจ แม้ว่าผลกระทบของโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจต่อประเทศไทย จะมีผลกระทบทางบวกจะเป็นผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นมีสภาพคล่องตัวมาก การส่งสินค้าออกและแลกเปลี่ยนสินค้า ใช้แรงงานต่างชาติ มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม

แต่ผลกระทบทางลบการแพร่ระบาดยาเสพติด ปัญหาแรงงานข้ามชาติ ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาด้าน สาธารณสุขรวมถึงวัฒนธรรม

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยพยายามที่จะเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาทั้งสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ หกเหลี่ยมเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง แม้ว่าปัญหาของสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจได้เข้ามาถึงยังชายแดนและจังหวัดภาคเหนือ ผลกระทบจากเขื่อนในจีน ลาว การสร้างท่าเทียบเรือทางด้านสังคมเชียงของ จังหวัดเชียงรายได้รับผลกระทบจากการที่คนต่างถิ่นอพยพเข้ามาในท้องถิ่นมากขึ้น ลงทุนทำธุรกิจหางานทำมากขึ้น ซึ่งนับแต่มีโครงการ สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ การสร้างท่าเทียบเรือรองรับเป็นเมืองท่าชาวไทยจากท้องถิ่นอื่นหรือชาวต่างด้าวที่เข้ามารับจ้าง

นอกจากผลกระทบลักลอบเข้ามาของคนต่างด้าวและยาเสพติด ปัญหาการจราจรจำนวนนักท่องเที่ยว และรถบรรทุกขนสินค้า ผลจากการสร้างท่าเรือเป็นเมืองท่า ทำให้รัฐต้องเข้ามาช่วยเหลือและพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจอีกด้วย นอกจากนี้รัฐพยายามผลักดัน ยุทธศาสตร์การพัฒนาสัมพันธ์กับGMS พัฒนาภาคเหนือตอนบนระยะ10 ปี (พ.ศ.2542-2551)ดำเนินการภายใต้ กรอบนโยบายการพัฒนาประเทศตามการพัฒนาวางแผนเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ

 1.ปรับตัวในพื้นที่เพื่อการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก 2.การเสริมสร้างศักยภาพเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 3.การมีส่วนร่วมในการพัฒนาตามกรอบกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 , 4.การพัฒนาอย่างยั่งยืน 

                                                                4.การพัฒนาอย่างยั่งยืน
นอกจากสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจแล้ว ที่มีการสร้างชื่อใหม่ๆ ว่า หกเหลี่ยมเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงต่างๆ สัมพันธ์ต่อข้อตกลงทางการค้า แม้ว่าเผชิญวิกฤติเศรษฐกิจปีพ.ศ.2540 และการปฏิรูปการเมือง มีความเคลื่อนไหวภาคประชาชน แต่สิ่งที่ทำให้คนจีนไทย ชนชั้นกลางไทยรู้สึกหวาดกลัว และรู้สึกชาตินิยมขึ้นมาบ้าง หลังจากโดนค่าเงินถล่มทลาย แต่คนจีนไทย ชนชั้นกลาง บริษัทหอการค้าก็ยังคงกลับมาแสดงสายเลือดความผูกพัน กับเพื่อนบ้านว่า เป็น “ไท” มีความผูกพันกับลาว พี่น้องกัน จีน ฯลฯ เพียงแค่ผลประโยชน์ของชาติ เปลี่ยนตามการลื่นไหลของผลประโยชน์ ไม่ใช่ชาติที่แท้จริง การเมืองเรื่องของความเป็นไทย ถูกสร้างจินตนาการชาติขึ้น และความเป็นไทย และ “ไท”(ไทลื้อสิบสองปันนาในจีน ที่เคยถูกตั้งข้อรังเกียจ กับดูดีมีวัฒนธรรมชวนน่าท่องเที่ยวหลงใหล ยุคโลกาภิวัตน์)

การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรมไทย ไทยจีน ฉาบหุ้มไม่มีคนอื่น ฉวยโอกาสเข้าไปทำธุรกิจตัดไม้ใช้ทรัพยากรป่าของเพื่อนบ้านด้วย และทรัพยากรน้ำกำลังจะถูกผลกระทบกับประเทศจีนสร้างเขี่อนในจีน และสะเทือนถึงประเทศเพื่อนบ้าน แต่ว่าทั้งหมดนี้รัฐบาลไทยก็ยังพยายามที่จะเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาทั้งสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ หกเหลี่ยมเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง แต่ต้องปรับตัวตามกลไกองค์กรระหว่างประเทศ เช่น ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย(Asian Development Bank-ADB) หลังวิกฤติเศรษฐกิจได้มีนิยาม สร้างความหมายของการพัฒนาเพิ่มขึ้นตามแรงกดดันดังกล่าว รวมถึงกระแสของพ่อค้า นักธุรกิจไทย-บทบาทหอการค้าก็ยังคงยกขบวนเข้าไปร่วมทำการค้าในประเทศลุ่มน้ำโขง

ซึ่งหอการค้าจังหวัดเชียงราย นำโดย"เสริมชัย กิตติรัตนไพบูลย์" ประธานหอการค้าจังหวัดฯ ที่มุ่งมั่นผลักดันให้เชียงรายเป็นประตูการค้าเชื่อมจีนตอนใต้มาอย่างต่อเนื่องคนหนึ่งแน่นอน เนื่องจาก "เสริมชัย" ดำรงตำแหน่งครบ 2 วาระแล้ว ถึงคราวที่จะต้องแตะมือเปลี่ยนคนทำงานโดยกลุ่มทุนท้องถิ่น ทั้งมีตำแหน่งกรรมการหลายฝ่ายที่น่าจะเลือกเกี่ยวข้องกลุ่มทุน แน่นอนว่า หอการค้าฯเชียงราย ในยุคต่อไปนี้ หนีไม่พ้นที่จะต้องจับจ้องกับโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเชียงราย - นิคมอุตสาหกรรม - ประตูการค้าสู่จีนตอนใต้ ตลอดจนการเชื่อมโยงการค้า การลงทุน จากไทย สู่พม่า ลาว จีน เป็นต้น กระนั้น ส่วนทางพรรคไทยรักไทย ได้รับการเลือกตั้งเป็นรัฐบาล พ.ศ.2544-2549

แม้ว่าจะมีการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 เน้นเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญานำทาง ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2545-2549 แต่ว่าการดำเนินการนโยบายการต่างประเทศที่เน้นความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจแบบ win-win เท่านั้นยังไม่เพียงพอกับประเทศในลุ่มน้ำโขง 

ดังนั้น แนวการวิเคราะห์ว่า กลุ่มผลประโยชน์ สะท้อนนโยบายสาธารณะของไทยขึ้นอยู่กับอิทธิพลหอการค้าเชียงราย ถือเป็นตัวผลักดันสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ และหากใช้มุมมองทฤษฏีการเมืองเกี่ยวพัน(Linkage politic) ที่มีปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก อันเป็นการวิเคราะห์พฤติกรรมของประชาชนในประเทศไทยที่ส่งผลต่อการเลือกพรรคที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน และผลกระทบจากภายนอกประเทศ พวกองค์กรข้ามชาติได้ส่งอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้นำประเทศในการดำเนินนโยบายการต่างประเทศ


เพราะระบบการเลือกตั้งเปลี่ยนพรรคการเมืองเข้ามาบริหารประเทศ ในที่สุด นอกจากบทบัญญัติ ที่มีสิทธิ เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญไทย และสิทธิชุมชนของวัฒนธรรมชุมชน ที่มีการสร้างจิตสำนึกกับชาวบ้าน และการประชาสัมพันธ์ร่วมกันขององค์กรชาวบ้านกับกลุ่มเอ็นจีโอ โดยเชิญคนเฒ่าคนแก่ไป เสวนาเรื่อง เกี่ยวกับปัญหา ระเบิดเกาะแก่งแม่น้ำโขง และเขื่อนต่างๆ ซึ่งความร่วมมือกัน จะต่อต้านการทำลายทรัพยากร ซึ่งจะช่วยให้เกิดประเด็นหาทางก้าวไปแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในแม่น้ำโขง

โดยบทบาทของชุมชน มีต่อประเทศสปป.ลาว รวมทั้งในประเทศลุ่มน้ำโขง จะสร้างองค์ความรู้ทางการวิจัยกับชาวบ้าน เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความขัดแย้งของการพัฒนาต่อสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม และสะท้อนปัญหาการเดินเรือสินค้าจีนจากเชียงแสน ที่คาดว่าจะขยับขยายเส้นทางการเดินเรือมาถึงเชียงของ

กระนั้น ในส่วนคติเดิม เกี่ยวกับการตั้งวัด ที่หันหน้าเข้าแม่น้ำโขงตามคติจักรวาลเกี่ยวกับคติความเชื่อสิ่งแวดล้อมของชุมชน เชื่อมโยงสัมพันธ์ทางเรือ ซึ่งไม่รบกวนทำลายธรรมชาติ แต่ว่าเรือสินค้า และเรือท่องเที่ยวไทย-ลาว ก็ทำให้คราบน้ำมันกระจัดกระจาย เกิดคราบสกปรกแก่แม่น้ำโขง แต่ไม่มีใครรับผิดชอบ ซึ่งระบบช่วยเหลือให้ความยุติธรรมไม่ได้แล้ว ซึ่งกลุ่มชาวบ้านและกลุ่มรักษ์เชียงของ ก็พยายามหาแนวทางการเรียกร้องเคลื่อนไหวต่างๆ ทั้งสันติวิธี และหาทุนทำวิจัยศึกษาปัญหาสิ่งแวดล้อม ร่วมกับชาวบ้าน

ซึ่งเพื่อหาทางต่อรองกับรัฐบาลที่มีอำนาจควบคุมต่อโครงสร้างการเมือง และการพัฒนาที่คนละด้าน เช่น ด้านของหอการค้าเชียงรายก็สนับสนุนการเดินเรือสินค้า เป็นต้น 4.สรุป อย่างไรก็ตาม ปัจจัยภายในประเทศ เป็นประเด็นสำคัญต่อการสร้างนโยบายระหว่างประเทศของไทย อันมีปัญหาโดยรวมถึงหอการค้าเชียงรายนี้ สะท้อนระดับความสัมพันธ์กับกัมพูชา ลาว ฯลฯ กัน แค่เพียงผลประโยชน์ของชาติทางเศรษฐกิจเท่านั้น ไม่เพียงพอต่อการสร้างความร่วมมืออย่างยั่นยืน ไม่ได้เป็นตามกรอบการวิเคราะห์ของแนวทางการสร้างความร่วมมือกันการรวมกลุ่มและภูมิภาคนิยม และถ้าวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบGlobalism ก็จะพบว่ารัฐไทย และสังคม มีตัวแสดงอันเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง

แค่เอื้อผลประโยชน์ต่อผลประโยชน์ทางชนชั้นสัมพันธ์กับพรรคการเมืองของรัฐบาลเท่านั้นหรือไม่ก็ตาม แต่ความเป็นจริงของสถานการณ์องค์กรที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์กลุ่มทุนนิยม ที่เข้าไปเอารัดเอาเปรียบโดยใช้อำนาจทางตรงกับทางอ้อมผ่านทางรัฐของกลุ่มทุนเข้าไปทำร้ายประเทศอื่น แต่สภาพการณ์ของความเคลื่อนไหวของไทยเอง ที่อยากเป็นรัฐ ที่มีอำนาจคุมในภูมิภาคก็ควรตระหนักถึงบทบาทองค์กร เช่น หอการค้าเชียงราย และอย่าลืมว่าความสัมพันธ์แค่เพียงการค้าไม่เพียงพอ ควรมีมิติทางสิ่งแวดล้อมด้วย


                                               5.กิติกรรมประกาศ

ขอขอบพระคุณ ผู้จัดงาน ม.อ. ภูเก็ตวิจัย ครั้งที่ 1 เรื่อง การประชุมวิชาการสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน


                                                                          เอกสารอ้างอิง

[1]ปรับปรุงจากส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เรื่อง ผลกระทบของการพัฒนาและโลกาภิวัตน์ต่อทรัพยากรธรรมชาติแม่น้ำโขงตอนบน:การหายไปของปลา คณะบัณฑิตวิทยาลัย สาขาภูมิภาคศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2548

[2] ผานิต รวมศิลป์. นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ตั้งแต่ พ.ศ.2481 ถึงพ.ศ.287 วิทยานิพนธ์อักษรมหาบัณฑิต แผนกวิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2521 :87-88

[3] ภูวดล ทรงประเสริฐ นโยบายของรัฐบาลที่มีต่อชาวจีนในประเทศไทย(พ.ศ.2475-2500) วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต แผนกวิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2519:27

[4]วารสารชุดภูมิภาคศึกษา รวมบทคัดย่อและข้อเขียนอาจารย์ นักศึกษาปริญญาโท ภูมิภาคศึกษา ปีที่1 ฉบับที่ 1/2549:80 และ Akkaphon Satum.(2549) Impact of Development and Globalization on Natural Resources in the Upper Mekong River:TheDecline of Fish. บทความนำเสนอ ในงาน First ASEAN Graduate Scholars Workshop Organised By Asia Research Institute, National University of Singapore, Singapore 28 – 29 July 2006. พ่อค้ากับการพัฒนาการเศรษฐกิจ:ลำปาง พ.ศ.2459-2512 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาการปกครอง ภาคนิพนธ์ ปริญญารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต :102-103 และ บุญช่วย ศรีสวัสดิ์ ๓๐ ชาติใน เชียงราย

[5]สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. ขุมทองอินโดจีน.สำนักพิมพ์เดอะเนชั่น 2537 : 26-28

[6]ผาสุก พงษ์ไพจิตร เศรษฐกิจการเมืองสมัยกรุงเทพฯ : 684

[7] การอ้างเรื่องสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจเปิดพื้นที่ให้คนชายขอบ แนวทางการอธิบายของAndrew Walker โดย โสภิดา วีรกุลเทวัญ เชียงของ ชาติพันธุ์ และการค้าที่ชายแดน รายงานการวิจัยภายใต้โครงการ “อำนาจ พื้นที่ และอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์: การเมืองเชิงวัฒนธรรมของรัฐชาติในสังคมไทย สนับสนุนโดยสกว. 2548 : 2

ผลกระทบของการพัฒนา และโลกาภิวัตน์ ต่อภูมิจักรวาล : “การอ่านอนุสาวรีย์ของปลาบึก” ในภาพสะท้อน ที่ วัดหาดไคร้ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

ผลกระทบของการพัฒนา และโลกาภิวัตน์ ต่อภูมิจักรวาล : “การอ่านอนุสาวรีย์ของปลาบึก” ในภาพสะท้อน ที่ วัดหาดไคร้ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

                                                      อรรคพล สาตุ้ม นักข่าวประชาไทและเจ้าหน้าที่พิเศษโครงการย้อนร้อยอดีตจิตรกรรมวัดอุโมงค์ 

บทนำ
ความงดงามของผลงานโดยจินตนาการของคนในอดีต ไม่ว่าจากภาพลักษณ์ของชั้นเชิงวรรณศิลป์ในงานวรรณคดีลิลิตพระลอ ที่มีชื่อ“แม่น้ำกาหลง”(คือแม่น้ำของ) ในที่นี้ กาหลง(ไม่ได้หมายถึงเวียงกาหลง) และการกล่าวถึงชื่อ แม่น้ำของ(โขง) และวาดภาพเชิงศิลปะในสมุดภาพไตรภูมิ กรุงศรีอยุธยา หมายเลขที่ ๖ (มีความเป็นจริงบ้าง) รวมถึงการกล่าวถึงชื่อแม่น้ำของ ในนาม “ขรนที”(แม่น้ำของ) ก็ตาม ท่ามกลางความหลากหลายของชื่อแม่น้ำของ ฯลฯ เป็นต้น กระนั้น มีการกล่าวถึงที่มาของชื่อแม่น้ำของ หรือแม่น้ำโขง อยู่พอสมควรแล้ว

แต่ว่าแง่มุมมองประเด็นข้อสังเกตเกี่ยวกับการหายไปของปลาในแม่น้ำของ(โขง) เกิดขึ้นจากอะไร? ซึ่งรหัสนิเวศวัฒนธรรมในลิลิตพระลอ ที่กล่าวถึงกาหลง(แม่น้ำของ-โขง) แต่ไม่มีกล่าวถึงปลา ถ้าอธิบายเชิงนิเวศวัฒนธรรม และจากความคิด การแต่งของวรรณคดีถึงศาสนา เกี่ยวกับระบบนิเวศ สะท้อนการเวียนว่ายตายเกิด ตามกฏแห่งกรรมและธรรมชาติ

ส่วนกรณีในส่วนภาพปลา และแม่น้ำของหายไป ที่มุ่งเน้นสมุดภาพไตรภูมิ กรุงศรีอยุธยา อื่นๆ โดยใช้วิธีการเชิงประวัติศาสตร์-ประวัติศาสตร์ศิลปะ เพื่อการตั้งสมมุติฐานว่าผลงานของสมัยใด(โดยมีผู้ตั้งสมมุติฐาน ดังนี้ รุ่งโรจน์ภิมนย์อนุกูล,พิริยะ ไกรฤกษ์, ไมเคิล ไรท เป็นต้น) หรือสมุดภาพไตรภูมิฯของล้านนา อื่นๆ คงเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งถ้าผู้เขียนจะมีโอกาสเขียนในครั้งต่อไป

อย่างไรก็ตาม บทความนี้ เน้นนำเสนอ (๑) การอ่านพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ในสมุดภาพไตรภูมิ กรุงศรีอยุธยา หมายเลขที่ ๖ กับชุมชนจินตนาการ ก่อนมีรัฐชาติ :เขตแดน จนมีแผนที่ชัดเจนมากขึ้น และ(๒) สมัยรัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชนิพนธ์อุตตรกุรุ(คือ ไตรภูมิ-ศรีอาริยเมตไตร):ดินแดนอัศจรรย์ของเอเชีย และเกิดวรรณคดีสโมสรยกย่องลิลิตพระลอ- อนุสาวรีย์ย่าเหล และกรมรักษาสัตว์น้ำ คือกรมประมง และ (๓)การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดที่กล่าวมานั้น เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ในสังคม ที่มีการสร้างแผนที่สมัยใหม่ รวมอาณาจักรล้านนาเข้าสู่สยาม เพราะโลกทัศน์ใหม่ทางสิ่งแวดล้อมของกรมประมง โดยเชื่อมโยงบริบทในป้ายและอนุสาวรีย์ปลาบึก-พิพิธภัณฑ์ปลาบึก ดังนั้นผลของคำตอบง่ายๆ จากการหายไปของปลาในแม่น้ำของ ซึ่งปรากฏในสมุดภาพไตรภูมิ กรุงศรีอยุธยา หมายเลขที่ ๖และจะชี้ให้เห็นถึงผลกระทบของการพัฒนา-โลกาภิวัตน์ต่อทรัพยากรธรรมชาติในแม่น้ำของ(โขง)ตอนบน:การหายไปของปลาพันธุ์อื่นๆในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงในแม่น้ำของ :ความรู้ชนิดต่างๆ กับนิเวศวัฒนธรรม 

ดูรูปประกอบ http://www.prachatai.com/05web/upload/HilightNews/library/200706/05_190621_72.JPG ปรากฏภาพ แม่น้ำของกับปลา สมุดภาพไตรภูมิ กรุงศรีอยุธยา หมายเลขที่ ๖ (ที่มา: สมุดภาพไตรภูมิ ฉบับกรุงศรีอยุธยา-กรงุธนบุรี เล่ม ๑-๒ )

 “แผนที่มีภาพแม่น้ำของ (น้ำของ เรียกตามคนเชียงของ) ซึ่งข้อสังเกตภาพในสมุดภาพไตรภูมิกรุง ศรีอยุธยา หมายเลข ๘ และสมุดภาพไตรภูมิ กรุงธนบุรี หมายเลข ๑๐ ก. ไม่มีแม่น้ำของปรากฏ(ทั้งที่อิทธิพลจากวรรณกรรมไตรภูมิพระร่วง) และส่วนสมุดภาพฯ หมายเลข ๘,๑๐ ก. (ปลาได้หายไป) น้ำแม่ของหรือแม่น้ำโขง และปลา ที่ผูกพันกับระบบนิเวศ แสดงถึงแม่น้ำไหลออกมาจากป่าหิมพานต์ ในชมพูทวีปตามคติจักรวาลแบบไตรภูมิ และแสดงเมืองเชียงราย เชียงแสน ต่างๆในประเทศไทยกับเพื่อนบ้าน ที่มีพระธาตุสำคัญต่างๆ ดังนั้น จึงมีจินตนาการและความเป็นจริงปรากฏอยู่ ดังทีมีการเป็นเมืองของชุมชน คือแสดงความคิดเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ สะท้อนสังคมวิทยาความเป็นเมืองกับระบบนิเวศ ก็บ่งชี้ถึงความสัมพันธ์ล้านนากับอยุธยา” 

การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ยุคกรุงธนบุรี ถึงรัตนโกสินทร์
เมื่อเกิดการฟื้นอาณาจักรเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ยุคกรุงธนบุรี ถึงรัตนโกสินทร์ล้านนาขึ้นมาใหม่ หลังการถูกปกครองโดยพม่า ซึ่งจากการช่วยเหลือของพระเจ้ากรุงธนบุรี ต่อสู้รบกับพม่าแล้ว โดยขอกล่าวอย่างรวบรัดจากกรุงศรีอยุธยา-กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ โดยในสมัยยุคต้นรัตนโกสินทร์ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ก็ปรับปรุงความคิด และคัมภีร์ศาสนา ถึงพุทธศาสนา เช่น ไตรภูมิโลกวินิจฉัย เป็นต้น ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงต่างๆ และทางด้านความสัมพันธ์เศรษฐกิจในอดีตของชุมชนเชียงของ ขึ้นอยู่กับอาณาจักรล้านนา ก็สัมพันธ์กับเส้นทางการค้า เป็นเหมือนเขตเศรษฐกิจชาวบ้าน เส้นทางการค้า ทั้งสามสายจากการค้าในระบบการคมนาคมทางบกจากตาลีและคุนหมิงนี้ มีความสำคัญมากสำหรับการยังชีพของชุมชนต่างๆ เพราะว่าอยู่ในเขตภูดอยห่างไกลเมืองเช่นนี้ ซึ่งต่อมามีการคิดพัฒนาเส้นทางการค้า โดยเป็นช่วงที่สมัยพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้นำนิพนธ์ทั้งในหมวดร้อยแก้ว และร้อยกรอง จารึกลงในแผ่นศิลาที่วัดเชตุพนฯ เพื่อประโยชน์ทางด้านการศึกษาแก่คน โดยกลโคลงอาจจะอาศัยเค้าความคิดกลโคลงในประชุมจารึกวัดเชตุพนฯ แน่นอนว่า แนวทางวรรณกรรม กำลังเปลี่ยนผ่านสู่ “กลโคลง” คือ การเชื่อมวรรณคดี กับจิตรกรรม โดยเป็นภาพวาดผสมกลโคลง ก็เกิดขึ้นช่วงสมัยพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คือรัชกาลที่ ๒[1] นั่นเอง

ซึ่งพอถึงในรัชกาลที่ ๓ ก็มีความเจริญทางศิลปกรรมเปล่งปลั่งรุ่งเรือง เกิดผลงานคลาสิค ก่อนเป็นศิลปกรรมขนบสัจนิยม โดยรับอิทธิพลทางยุโรป และเริ่มมีปัญหาจากจักรวรรดินิยมยุโรป เป็นต้นมา โดยความคิดชุดใหม่แบบตะวันตกเข้ามา แม้แต่ในการอนุรักษ์พันธุ์ปลาน้ำจืด เริ่มได้รับความสนใจ ประมาณพ.ศ. ๒๓๙๕ เป็นผลมาจากการยกเลิกการเก็บอากรค่าน้ำในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ราษฎร์ต่างแย่งกันจับปลา จนมีเรื่องทะเลาะกันอยู่เป็นประจำ ด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ จึงโปรดเกล้าให้รื้อฟื้นการจัดเก็บอากรค่าน้ำขึ้นใน พ.ศ. ๒๓๙๔ โดยหวังผลประโยชน์ คือ การเก็บภาษีอากร และให้พอมีสัตว์น้ำเป็นอาหารสำหรับประชาชน และให้มีสัตว์น้ำเป็นสินค้าแก่ประเทศ แต่ว่าปัญหาของการเข้ามายึดครองพื้นที่อาณาเขตของตะวันตก คือ การล่าอาณานิคมเพื่อการค้า

โดยสัมพันธ์กับแม่น้ำของ(โขง) และการเข้ามาของฝรั่งเศสยังได้บุกรุกเข้าครอบครองต่อทรัพยากรในแม่น้ำของ(โขง) โดยเกิดการแปลแม่น้ำของ เป็นแม่น้ำโขงด้วย กับการเพื่อให้ได้เป็นอาณานิคมในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และการใช้แม่น้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติสำหรับอาณานิคมของตน ผลดังกล่าวทำให้ก่อเกิดแนวคิดสร้างรัฐชาติ มีพรมแดนเป็นการผนวกกลืนอาณาจักรเพื่อสร้างความมั่นคงเข้ามาในรัฐ ตามอิทธิพลภูมิศาสตร์ของวิทยาศาสตร์แบบตะวันตก ทำให้ต้องมีการสร้างนิยามรัฐชาติ มีผลทั้งด้านเศรษฐกิจ ภาษี การศึกษา และวัฒนธรรม ในรัชกาลที่ ๔ ก็ได้นำเหตุผล และเทคโนโลยีใช้ผลิตแผนที่ ทั้งที่ยุคก่อนไม่จริงจังเรื่องพรมแดน แต่โดนแรงบีบจากการขู่ทำสงครามจากตะวันตก เพราะว่าสยามไม่ทันสมัย จึงต้องเปลี่ยนแปลงแนวคิดภูมิศาสตร์ 

ดังนั้น การรับรู้ธรรมชาติแบบใหม่เพิ่งเกิดรัชกาลที่ ๔ กลายเป็นรากฐานความรู้ ความจริง เชิงประจักษ์ทางกายภาพ ก่อนหน้านี้ สยามรับรู้และให้ความหมายแก่ภูมิศาสตร์ด้วยชุดความรู้ทางพื้นที่แบบไตรภูมิ แต่ว่าเหตุภัยจากการล่าอาณานิคม ก็นำไปสู่ อาณาเขตว่าด้วยภายใต้จุดหนึ่งในพลังแผนที่ กับการต่อรองระหว่างสยามและฝรั่งเศสเพื่อเข้าถึงภูมิภาคลาวในแม่น้ำโขงตอนบน ก็เกิดการหายไปของอาณาเขตสยาม ซึ่งสิ่งนั้นไม่ใช่ข้อเท็จจริงของสยาม แต่พลังของตัวตนภูมิศาสตร์ของสยามและการรวมอาณาเขตสิ่งที่หายไปกลับปรากฏเข้ามาในแผนที่ เพราะเพื่อการช่วงชิงสร้างแผนที่ในสังคมสมัยใหม่[2]

โดยการเข้ามาของจักรวรรดินิยมตะวันตกในดินแดนล้านนา ส่งผลทำให้ล้านนา ที่มีความสัมพันธ์กับเจ้าอาณานิคมอังกฤษ ที่ครอบครองดินแดนพม่ามากขึ้น เนื่องจากการปกครองเมืองประเทศราชของสยาม มีนโยบายให้อิสระในการปกครองตนเองอย่างมากทำให้ล้านนาผูกพันกับการค้าขายต่อชาวอังกฤษและคนในบังคับอังกฤษโดยผ่านเมืองมอญของพม่า

ดังนั้น แผนที่ช่วยเป็นอำนาจของการสร้างเขตแดนที่ชัดเจน ดังกล่าวว่า สมัยรัชกาลที่ ๕ ยุคปฏิรูปที่ดิน[3] สยามถูกดึงเข้ากระแสพัฒนาแนวตะวันตกอย่างไม่อาจหลีกได้ เมื่อพิจารณาในเชิงการจัดการทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมแล้ว มีการจัดการทรัพยากรใหม่ตามระบบตะวันตก จากนั้นผลของการพัฒนาโดยแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ของตะวันตก และแผนที่ อื่นๆ รวมถึงการแก้ไขความวุ่นวายในการปฎิรูปการปกครองล้านนา ทำให้มีผลต่อการแบ่งพื้นที่เขตแดน และด้านต่างๆก็ให้รับการศึกษาเรียนภาษาไทยภาคกลางที่กลืนล้านนา ทางด้านศาสนาพุทธ และเรียกชื่อแม่น้ำโขง เป็นต้น ต่อมาในยุครัชกาลที่ ๖ เริ่มมีการอนุรักษ์สัตว์น้ำอย่างแท้จริง นับเป็นก้าวแรกของการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ

ส่วนกระทรวงพระคลังฯ มีหน้าที่ในการปกครองพื้นที่จับสัตว์น้ำ และเงินอากรในที่จับสัตว์น้ำ รวมถึงการเก็บเงินค่าอากรน้ำ ต่อมาปี พ.ศ.๒๔๖๖ พระยาเมธาธิบดี ผู้ดูแลนักเรียนไทยในสหรัฐอเมริกา ได้ติดต่อ ดร.ฮิว แมคคอร์มิค สมิท ผู้ชำนาญเรื่องปลามาเป็นที่ปรึกษา ซึ่งได้สำรวจพันธุ์สัตว์น้ำจืดและสัตว์น้ำทะเลของไทยเกือบทั่วราชอาณาจักร(อนุมานว่า ถ้ากรมแผนที่ ช่วยสำรวจอาณาเขตของรัฐ ส่วนกรมรักษาสัตว์น้ำก็ตามรอยเขตแดนอาณาจักร ที่มีสัตว์น้ำปรากฏในแม่น้ำ) แล้วเขียนรายงานเกี่ยวกับทรัพยากรในน้ำและการประมง(ไทย) พร้อมผังการบริหารงานขึ้นทูลเกล้าฯ และเสนอต่อสภาเผยแผ่พาณิชย์ ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบร่วมกันให้ตั้ง กรมรักษาสัตว์น้ำ

โดยพระบาทสมเด็จพระมงกฏเกล้าฯ(บทบาทชาตินิยม ) โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๔๖๙ โดยมี ดร.สมิท เป็นเจ้ากรมรักษาสัตว์น้ำ ซึ่งก็คือกรมประมงในปัจจุบัน[4] ก่อเกิดความเปลี่ยนแปลงต่อชุมชนที่ถูกผนวกกลืนเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย ผ่านทางความรู้ทางวิทยาศาสตร์ของแผนที่ และความรู้เรื่องการจัดการของการจับปลาทางกรมประมงแบบวิทยาศาสตร์ภายใต้รัฐ(ชาตินิยม) เหตุการณ์สำคัญในรัชกาลที่ ๖ ก่อนเกิดอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สมัยรัชกาลที่ ๖ ทรงพระอัจฉริยะภาพ ทั้งด้านการละคร การแสดง และปรากฏผลงานภาพฝีพระหัตถ์ ที่เป็นภาพล้อ หรือการ์ตูน(ดังที่เกิดภาพล้อพระองค์ทรงนำคนสยามชักรอกขึ้นเหนือคนเขมร ญวน ด้วยปรีชา วิริยภาพ ด้านกสิกรรม และหัตถกรรม การศึกษา ทหาร ฯลฯ)

นอกจากนั้น พระองค์ทรงพระปรีชา ด้านโบราณคดี-ประวัติศาสตร์ ดังปรากฏผลงาน“เที่ยวเมืองพระร่าง” และเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เช่น “พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร” และ “เทศนาเสือป่า” เป็นต้น ก็ส่งผลต่อพลังอำนาจ ที่กำลังร่วมกับแนวคิด หรือ อุดมการณ์ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ อันสะท้อนพระพุทธศาสนาประจำชาติออกมา ซึ่งรับอิทธิพลจากสมัยรัชกาลที่ ๕ ในส่วนด้านอื่นๆ ก็มีความสำคัญ ท่ามกลางความขัดแย้งของอุดมการณ์ทางการค้า แนวทางทุนนิยมในสมัยรัชกาลที่ ๖ และด้านการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สงครามโลกครั้งที่ ๑ ทรงส่งทหารเข้าร่วมการรบในสงคราม ในส่วนสำคัญ ในกรณีผลพวงจากการเสียดินแดนฝั่งซ้าย และฝั่งขวาแม่น้ำโขง ทำให้เชียงของส่วนหนึ่งตกเป็นของฝรั่งเศส หรือกบฏเงี้ยว ฯลฯ

แม้แต่ในเชียงของก็ตาม ทำให้มีการปฏิรูปต่อจากรัชกาลที่ ๕ ทรงยกเมืองขึ้นเป็นจังหวัดนั้น กระบวนการการสร้างสำนึกของชาติยังไม่สิ้นสุด เพราะการยกเมืองเชียงราย ให้อยู่ในมณฑลพายัพ พ.ศ.๒๔๕๓ ถึงรัชกาลที่ ๖ เกิดปัญหาปีพ.ศ. ๒๔๕๕ คือ กบฏ ร.ศ. ๑๓๐ และในปีพ.ศ. ๒๔๕๘(ห่างกัน ๕ ปี) โปรดให้รวบรวมมณฑลต่างๆ ออกรวมเป็น ๔ ภาค ปักษ์ใต้ พายัพ อีสานและอยุธยา ส่วนกรุงเทพมหานาครนั้นเป็นอีกมณฑลหนึ่งต่างหาก ต่อมาก็เลิกตำแหน่งเจ้าเมือง โดยเจ้าเมืองคนสุดท้ายของเชียงของ คือพระยาจิตวงษ์วรยศรังษี โดยยกเลิกตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๔๕๓ ต่อมาเชียงของ

ซึ่งเคยขึ้นอยู่กับน่าน กลายเป็นขึ้นอยู่กับจังหวัดเชียงราย กล่าวโดยสรุป จากแม่น้ำของ หรือ แม่น้ำโขง ที่มีแผนที่สมัยใหม่เกิดขึ้นแล้ว ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นประชาธิปไตย ในสมัยรัชกาลที่ ๗ และเกิดอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยตามมานั้น ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๖ ทรงก่อตั้งกรมรักษาสัตว์น้ำ ก็มีปรากฏการณ์ของป้ายจารึกและอนุสาวรีย์ ที่สำคัญเกี่ยวกับสุนัข คือ อนุสาวรีย์สุนัขย่าเหล โดยมีคำจารึกเป็นส่วนหนึ่งของอนุสาวรีย์ ทำให้ทราบเหตุผลในการก่อสร้างไว้ หมายถึงเพื่อเป็นพยานรัก ที่แสดงความซื่อสัตย์ระหว่างสุนัขตัวนี้ กับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนั้น ความดีงามของสุนัขย่าเหล ได้รับการยกย่อง ทำให้เห็นภาพของรัชกาลที่ ๖ ทรงรักชาติ และรักสุนัขย่าเหลมากมายนัก ก็ด้วยความรักชาติ

โดยรัชกาลที่ ๖ ทรงเสริมสร้าง “กรมรักษาสัตว์น้ำ ก็คือ กรมประมง” ก็เพื่อความรักในการรักษาสัตว์น้ำ เหมือนกับความรักต่อสุนัขย่าเหล จึงสร้างอนุสาวรีย์สุนัขย่าเหล ซึ่งสะท้อนปฏิบัติการว่า เกิดพลังการเมืองบางอย่างที่ส่งสารออกมาใน ทางนโยบาย ฉะนั้น การนิยามว่าเป็นอนุสาวรีย์ ในรูปแบบไม่เกี่ยวกับความหมายของความรักใดๆ ก็ไม่ได้เลย ดังกล่าวไปแล้ว ในรัชกาลที่ ๖ ทรงให้คุณค่า แก่วรรณคดี โปรดให้ตั้ง วรรณคดีสโมสร ขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๗ ซึ่งได้แก่เรื่อง “ลิลิตพระลอ” ถูกจัดให้ยอดเยี่ยม ด้าน “โคลงลิลิต” เป็นต้น

แน่นอนว่าการคัดเลือกให้ผลงานชิ้นไหนยอดเยี่ยม ก็ไม่ใช่ว่าเรื่องธรรมดา เพราะ ยังมีผลงานรับรางวัลยอดเยี่ยมอื่นๆ เช่น ด้าน กลอนเสภา ได้แก่ เสภาเรื่องขุนช้าง ขุนแผน และยอดเยี่ยมในด้านความเรียงประเภทนิทาน คือ พระราชนิพนธ์ไกลบ้านของรัชกาลที่ ๕ ส่วนยอดเยี่ยมในด้านละครพูด คือ หัวใจนักรบ (รัชกาลที่ ๖)และด้านบทละครฉันท์ คือ มัทนพาธา (รัชกาลที่ ๖) และยอดเยี่ยมในด้านนิทานไทย คือ พระอภัยมณี เป็นต้น ซึ่งเนื้อหาของวรรณคดีลิลิตพระลอ ก็สะท้อนความเชื่อในการเสี่ยงทายกับแม่น้ำกาหลงของพระลอ และวรรณคดีสะท้อนอนุสาวรีย์แห่งความรักโดยมีสถูปก็ปรากฏอยู่ในตอนจบของเรื่องนั้น โดยสะท้อนออกมาว่ารัชกาลที่ ๖ ทรงรักวรรณคดีลิลิตพระลอ ที่มีแม่น้ำกาหลง หรือแม่น้ำของ ก็ตาม

 อนึ่ง ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของรัฐราชสมบัติสยามขณะนั้น กำลังเผชิญความเปลี่ยนแปลง และการท้าทายอย่างใหม่ โดยกระแสความคิดทางการเมืองการปกครอง และลัทธิสังคมเศรษฐกิจ เช่น คอนสติติวชั่น ปาลิเมนต์ เก๊กเหม็ง รีปับลิก อานาคิช โสเชียลิสต์ ฯลฯ สะพัดอยู่ในหมู่ชนชั้นกลางทั้งในและนอกราชการ อันเป็นชนชั้นนักอ่าน นักเขียน นักแปลในสยาม สุดที่พระราชอำนาจสมบูรณ์ทางทฤษฎี ทว่าถูกจำกัดในทางปฏิบัติจากสิทธิสภาพนอกเขตของฝรั่ง และระบบราชการสมัยใหม่ ซึ่งเติบโตพร้อมกับทุนจีนเสรี ต่างๆ ในสถานการณ์นั้น รัชกาลที่ ๖ ทรงพระนิพนธ์ อุตตรกุรุ : ดินแดนอัศจรรย์ของเอเชีย คือ รัชกาลที่ ๖ ทรงเปรียบเทียบแนวคิด ยูโทเปีย และลัทธิโสเชียลิสต์สมัยใหม่ โดยเปรียบว่า สิ่งนั้นมีอยู่ในไตรภูมิ-อุตรกุรุทวีป-ยุคพระศรีอาริย์

แม้ว่าในรัชกาลที่ ๖ ทรงพระนิพนธ์บทความดังกล่าว ก็สะท้อนคติไตรภูมิ- พุทธศาสนา และลิลิตพระลอ มีอิทธิพลต่อความคิดของคนอยู่ด้วย จนกระทั่งสิ้นสุดรัชกาลที่ ๖ ก็มาถึง รัชกาลที่ ๗ แล้ว ก็เกิดขบวนการ คือ คณะราษฎร ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเป็นระบอบประชาธิปไตย ในสมัยรัชกาลที่ ๗ อย่างไรก็ตาม การเกิดขึ้นของร่องรอยการเปลี่ยนผ่านของภาพแม่น้ำของ(โขง) และปลา ก็มีผลจากเปลี่ยนแปลงทั้งหมด หลังประเทศไทยเกิดขึ้นแทนสยาม ตามระบอบประชาธิปไตย

โดยนิยามเขตแดนอำนาจของแผนที่ชัดเจนมากขึ้น และการมีเพลงปลุกใจ ที่ใช้คำว่า แม่น้ำโขง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ เพื่อเรียกร้องดินแดนในสองฝั่งของ(โขง) ซึ่งหลังสงครามโลกเป็นต้นมา มีคนอย่าง นายผี หรือ อัคนี พล จันทร์ ผู้แต่งกลอนเกี่ยวกับ “น้ำของ” ก็มีประเด็น “วิวาทะอุตตรกุรุ” โดยกล่าวอย่างรวบรัดว่า “อุตตรกุรุ[5]” “ดูทีเปนของมีได้ในภพนี้”และหยอดแถมท้ายต่อมาอีกว่า “คือประเทศหนึ่งอยู่ทางเหนือเปนสหภาพ….” โดยทิ้งว่างไว้เช่นนั้นให้ผู้อ่านเติมเอาเอง ในท่ามกลางกระแสสหภาพโซเวียตกำลังมาแรง ท่ามกลางอุดมการณ์ชาตินิยม ก็มีปรากฏการณ์ทำให้เกิดพระพุทธรูป ที่ปั้นในช่วงกระแสชาตินิยมแบบจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นต้น (เหมือนกับการ“แต่ง กับสร้าง”อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี )

ในที่สุด ความเปลี่ยนแปลงของชื่อ แม่น้ำของ ในท้องถิ่น ที่ไม่ต้องการความแตกต่างของภาษามากนัก ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ และรวมถึงการรณรงค์เรียกชื่อแม่น้ำโขง ให้ไม่เหมือนแม่น้ำของ หรือน้ำของ ด้วยวิธีการต่างๆนานา โดยชื่อแม่น้ำโขง ในภาษาราชการ และแบบดังกล่าวที่ว่า สร้างเพลงปลุกใจ ก็กลายเป็นเรียกติดปากตามสมัยใหม่ว่า แม่น้ำโขง (หรือเหล้าชื่อแม่โขง) ก็ถูกสร้างให้เป็นพรมแดนกั้นระหว่างคนสองฝั่งแม่น้ำเพื่อความมั่นคง ตั้งแต่นั้นมาแผนพัฒนาเศรษฐกิจต่างๆ ก็เข้าสู่ชุมชน ที่เชียงของ จังหวัดเชียงราย ก็เดินตามแผนพัฒนาการเปิดการค้าตลาดชายแดนเป็นช่วงๆ

เพราะพื้นที่ติดต่อกัน สามารถข้ามกันไปมาหาสู่แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และการค้าขายสินค้ากันได้ แม้จะแตกต่างทางด้านการปกครองก็ตาม และต้องปิดด่านการค้าบ้าง โดยสถานการณ์ของประเทศ ก่อนที่จะเข้าสู่ยุคเปลี่ยนพรมแดน “จากสนามรบเป็นสนามการค้า” ทำให้พรมแดนแม่น้ำโขง เปลี่ยนไปสำหรับเส้นทางการค้า โดยจะกล่าวถึงป้าย-อนุสาวรีย์ปลาบึก กับรัฐ โดยบทบาทของกรมประมง ซึ่งมีผลกระทบโลกาภิวัตน์ กระแสการท่องเที่ยวจนถึงปัจจุบัน: การหายไปของปลา โดยจะกล่าวถึงปัญหาป้ายและอนุสาวรีย์ปลาบึก ที่ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ป้ายและอนุสาวรีย์ปลาบึก กับการ “แต่ง”แก้ไขแหล่งจับปลาบึก

 ดูรูปประกอบ ที่นี่ http://www.ezytrip.com/webboard/images/20000/10500/10426_12884.jpg

ป้ายและอนุสาวรีย์ปลาบึก ในเชิงรูปธรรมก็ทำให้คนสามารถสัมผัสจับต้องได้ ซึ่งอยู่ใกล้เขตวัด ที่เป็นพื้นที่ห้ามฆ่าสัตว์ ตัดชีวิต ถ้าไม่แก้ไขป้ายฯ ก็สะท้อนความซับซ้อนเชิงนิเวศวัฒนธรรม เพราะอยู่ในอาณาบริเวณใกล้วัดหาดไคร้ ที่เป็นศูนย์กลางทางความคิด เชื่อทางพุทธศาสนา ที่มีพญานาคหน้าวิหาร และตำแหน่งของวัด หันสู่แม่น้ำของ(โขง) หากกล่าวถึงที่มาของปลาบึก[6]

ซึ่งมีหลักฐาน สะท้อนให้เห็นความสำคัญของปลาในอดีต ที่มีต่อชีวิตมนุษย์สมัยโบราณ ก็คือ ภาพเขียนสีที่ผาแต้ม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ที่มีรูปปลาอยู่ร่วมกับรูปอื่นๆ เช่น วัว ควาย ช้าง เต่า คน และรูปสัญลักษณ์อื่นๆ ศรีศักร วัลลิโภดม อธิบายไว้ในหนังสือ “แอ่งอารยธรรมอีสาน” ว่า รูปปลาขนาดใหญ่ที่ผาแต้ม ไม่ใช่ปลาในห้วยหรือลำธาร หากเป็นในแม่น้ำใหญ่ เช่น ปลาบึก แต่ก็มีข้อสันนิษฐาน ว่าไม่น่าจะใช่ภาพปลาบึก ซึ่งภาพจะใช่ปลาบึก หรือไม่ก็ตาม

แต่ภาพก็ช่วยสะท้อนชีวิตมนุษย์ถ้ำ ที่ภาษาของภาพมาก่อนภาษาที่ใช้เขียนเพื่อแสดงความสัมพันธ์กับธรรมชาติ เมื่อ ปลาบึก อยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลกทัศน์สมัยใหม่ และอิทธิพลวิทยาศาสตร์โดยอิงเศรษฐกิจ ปลาบึก ที่เป็นปลาเจ้าแห่งแม่น้ำโขง สิทธิพร ณ นครพนม ก็บอกเล่าถึง “ปัญหาการสร้างป้ายและอนุสาวรีย์ปลาบึกว่า ที่นี่เป็นแหล่งจับปลาบึกแห่งแรกของโลก” ในหมู่บ้านหาดไคร้ ตำบลหาดไคร้ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ก่อนที่รัฐจะปรับเปลี่ยนป้ายเป็น “แหล่งแพร่พันธุ์ปลาบึกแห่งแรกของโลก”[7](โดยการแต่ง หรือสร้างภาพ) ตามกระแสการอนุรักษ์นี้เอง กระนั้น ปัญหาการหายไปของปลาบึกในประเทศไทยกับการอนุรักษ์ รวมถึงการแพร่พันธุ์ ปลา ที่มีการเปลี่ยนพิธีกรรมความเชื่อ โดยพิธีบวงสรวงปลาบึก เพื่อการท่องเที่ยว และบอกเล่าว่า การล่าปลาบึกครั้งแรก โดยเริ่มขึ้นประมาณ เมื่อปีพ.ศ.๒๔๕๐ และจำนวนที่จับได้ลดลงเรื่อยๆ จนกรมประมงเริ่มผสมเทียมสำเร็จ ตั้งแต่พ.ศ.๒๕๒๖ จำนวนจับจึงค่อยทวีเพิ่มขึ้นอยู่ราว๔๐-๕๐-๖๐ ตัว มีเรือหาปลาถึง ๖๙ ลำ ต่อมากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศกฎกระทรวง และเมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๓๓

โดยระบุว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดทำการประมงปลาบึกในแม่น้ำโขง ท้องที่ หนองคาย เลย มุกดาหาร อุบลราชธานี และเชียงราย โดยเด็ดขาด” แต่มีข้อยกเว้นว่า “เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมประมง หรือพนักงานเจ้าหน้าที่โดยอธิบดีกรมประมงมอบหมาย” แต่กรมประมง มีความต้องการไข่และน้ำเชื้อปลาบึกจากธรรมชาติเพื่อการผสมเทียม และได้ออกระเบียบใหม่ ว่าด้วยการอนุญาตให้ทำการประมงในแม่น้ำโขง พ.ศ.๒๕๓๓ อ้างตามกฎกระทรวง เปิดช่องให้สามารถจับปลาบึกในแม่น้ำโขงได้ ตั้งแต่เดือนเมษายน-มิถุนายน ของทุกปี กรมประมงอยากเอา “ชื่อปลาบึกออกจากสัตว์สงวน”

เพราะการเพาะเลี้ยงปลาบึกของกรมประมง นอกจากในแง่ธรรมชาติวิทยา คือลดปัญหาการสูญพันธุ์ ยังมองในแง่ของการส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ เพราะปลาบึกมีราคาสูง(ส่งเสริมการบริโภคเนื้อปลาบึก) ใน ปัจจุบันกรมประมงยังคงให้จับปลาบึกในฤดูวางไข่ ส่วนด้านความคิดของพิธีกรรมจับปลาบึกในลุ่มน้ำโขง บ้านหาดไคร้ โดยมีผู้วิเคราะห์ว่าในพิธีกรรมจับปลาบึก เกิดขึ้นจากคติความเชื่อในผีคุ้งน้ำโดยเชื่อว่าเป็นเทพเจ้าคุ้มครองปลาบึก คติความเชื่อในพิธีกรรมจับปลาบึกเป็นภูมิปัญญา คือ คติความเชื่อที่ผสมผสานกันระหว่างผี พุทธและพราหมณ์

แต่เน้นในเรื่องผี ความเชื่อนี้ นำมาซึ่งความสามัคคี มีพลังต่อสู้กับอุปสรรคในการจับปลาบึก แต่ว่าจากพิธีกรรมถูกทำให้ลดพลังความเข้มแข็งของชุมชน และป้าย-อนุสาวรีย์ปลาบึก ที่สร้างภาพเอาไว้ ก็ไม่มีพลังอะไรเลยแก่ประชาชน หรือชาวบ้าน รวมทั้งชาวประมงลุ่มน้ำโขง เพราะความซับซ้อนของปัญหาโดยรัฐ ได้เข้ามาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามที่รัฐต้องการให้เป็นไป วิเคราะห์ป้ายและอนุสาวรีย์ปลาบึก มันเกิดการสื่อสารความหมายของป้ายและอนุสาวรีย์ปลาบึก ที่ว่าแหล่งแพร่พันธุ์ปลาบึกขึ้นมา โดยกลายเป็นโวหารของภาพและตัวอักษร ที่ไม่ซื่อสัตย์กับความจริงในครั้งแรก ที่ว่าแหล่งจับปลาบึก โดยรูปป้ายฯแสดงภาพลักษณ์จากสื่ออินเตอร์เน็ต สะท้อนสัญญะทางการท่องเที่ยว คือป้าย-อนุสาวรีย์ ที่ท่าแม่น้ำของ(โขง) ทำหน้าที่สื่อสารดังกล่าว

โดยนักท่องเที่ยวอาจจะไม่สามารถเข้าใจวิถีชีวิต และความขัดแย้งทางการเมือง ระหว่างสองฝั่งโขงมาก่อน ที่สำคัญจะทราบหรือไม่ว่า ปลาบึกถูกใช้เป็นเครื่องมือของรัฐ โดยแต่งเติมสร้างภาพแทนความจริงว่า รัฐชาติไทยเป็นผู้แพร่พันธุ์ปลาบึก (ผู้อนุรักษ์ปลาบึก)มากกว่าประเทศ สปป.ลาว (แม้ว่าลาวก็สั่งห้ามจับปลาบึกนานแล้ว) เพราะฝั่งตรงข้ามสัญลักษณ์ไม่มีบอกว่าที่นี่เป็นแหล่งแพร่พันธุ์ปลาบึก

แต่ว่าป้ายและอนุสาวรีย์ปลาบึกก็อยู่ใกล้เขตวัด อันสะท้อนพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ทางระบบนิเวศวัฒนธรรม[8] โดยขัดแย้งทางความหมายเดิม ที่ว่าให้จับปลาบึกได้โดยเสรีเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ซึ่งก่อนจะเปลี่ยนแปลง ก็สะท้อนความซับซ้อน อันขัดแย้ง กับเขตวัด ซึ่งงดเว้นไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต และในที่สุดป้ายฯ ก็เขียนประวัติศาสตร์ความเป็นไทย บนพื้นที่ชายแดน-ชายขอบของประเทศ โดยทำให้ปลาพันธุ์อื่น ไม่ได้ถูกเน้นเขียนถึงปลาอื่นๆ ถูกทำให้กลายเป็นอื่น ซึ่งบอกเล่าเพียงภาษาไทย กับภาษาอังกฤษ ตรงกันข้ามไม่ปรากฏอักษรล้านนา ด้วยเหตุที่ว่าภาษาอังกฤษสื่อกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 

ดังนั้น ความซับซ้อน ที่นอกจากภาพของป้าย-อนุสาวรีย์ปลาบึก พิจารณาแล้ว ฉากของแม่น้ำกาหลง หรือแม่น้ำของ(โขง) ในลิลิตพระลอ ที่แต่งให้คนอ่านเข้าใจราวกับเรื่องแต่งถูกกำหนดโดยกฎแห่งกรรม ทำให้เห็นปรากฏการณ์ของความเชื่อต่อแม่น้ำ และเป็นวรรณคดี ที่รัชกาลที่ ๖ ทรงยกย่อง รวมถึง อนุสาวรีย์ย่าเหล ก็เป็นตัวแทนความซื่อสัตย์ ซึ่งต้นกำเนิดของกรมประมง คือ กรมรักษาสัตว์น้ำ แต่ว่าไม่มีความคิดที่จะรักษาปลาบึก หรือปลาพันธุ์อื่นๆ ในช่วงแรกโดยสนับสนุนให้ล่าปลาบึก จะผสมเทียมเพื่อการล่าทางเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้เปลี่ยนประชาชนไม่มีการต่อรองอำนาจของรัฐ กำลังตามกระแสการพัฒนาต่างๆ โดยเมื่อ ปีพ.ศ.๒๕๔๗ ที่ผู้เขียน ไปเก็บข้อมูลภาคสนาม ไม่ว่าจะเป็นเรือเดินสินค้า ส่งผลกระทบ เช่น น้ำมัน ขยะ ลงแม่น้ำโขง และที่มีเรือท่องเที่ยว กับนักเดินทางท่องเที่ยว เข้ามาเกี่ยวข้องทำให้มีผลต่อการจับปลาบึก(กับมูลค่าของปลาบึกที่สูงขึ้น จนชาวประมงต้องการจับให้ได้) รวมถึงเพื่อการท่องเที่ยว และผลกระทบของการสร้างเขื่อนในจีน-สปป.ลาว ปัญหาระเบิดเกาะแก่งหินแม่น้ำของ(โขง) โดยจีน

แต่ว่ารัฐพยายามสร้างภาพการอนุรักษ์ปลา จัดสร้างพิพิธภัณฑ์อีกด้วย กระแสการท่องเที่ยว และท่าทีก่อนจับปลาบึกได้ ข้อมูลภาคสนาม ท่าทีก่อนจับปลาบึกได้ พิธีกรรมบวงสรวงปลาบึกของชาวบ้าน กลายเป็นศิลปะการแสดงโดยรัฐ ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในการจัดพิธีกรรมบวงสรวงปลาบึกขึ้นนั้น เพื่อการท่องเที่ยว เพราะในอดีตไม่ได้จัดพิธีกรรมที่บริเวณนี้ ก็ตั้งแต่มีกระแสการท่องเที่ยวเข้ามาที่นี่ โดยทางการราชการเข้ามาสนับสนุน และถึงขั้นจัดงานใหญ่โตมาก ครั้นรวมถึงเมื่อเจ้าชายจากญี่ปุ่นเสด็จ ที่บ้านหาดไคร้นี้ด้วย แต่ว่าผู้เขียนได้มีส่วนร่วมสังเกตการณ์ ในวันที่๑๘ เม.ย. ๒๕๔๗ ภายหลังจากจัดกิจกรรมพิธีต้อนรับอันยิ่งใหญ่ โดยเปิดงานพิธีกรรมบวงสรวง ที่เกณฑ์ชาวบ้านมาต้อนรับ พร้อมเรือใหญ่อลังการกลางแม่น้ำโขง และจัดพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์ปลาบึก(หลายวันต่อมา มีข่าวว่าปลาตายหลายตัว) นอกจากนั้น ก็มีการทำพิธีการปล่อยปลาเสร็จเรียบร้อย

โดยผู้ว่าราชการและสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ไม่ได้เข้าร่วมฟังเสวนาปัญหาปลาบึก และการจับปลาโดนผลกระทบด้านต่างๆ ที่มีการจัดเวทีเสวนา “ง่อมหาปลาบึก” ในกิจกรรมภาคบ่าย โดยกลุ่มรักษ์เชียงของ[9](ภาพของชาวประมง บางคนต่อต้านเอ็นจีโอ) โดยผู้เขียน ร่วมนั่งฟังเสวนาระหว่างเก็บข้อมูลภาคสนาม ด้านกลุ่มอนุรักษ์ปลาบึกบอกว่า หน่วยราชการไม่สนับสนุนตั้งศูนย์อนุรักษ์ปลาบึก ให้นักท่องเที่ยวเรียนรู้เรื่องปลาบึก ในสถานการณ์ ที่ว่าจับปลาบึกไม่ได้ หรือจับปลาอื่นๆ ไม่ค่อยได้ ก็มีอาชีพเสริมของชาวบ้านขายของที่ระลึก ซึ่งถือว่าการจับปลาบึก ก็เป็นอาชีพเสริม เช่นเดียวกัน

โดยทำการจับปลาอื่นๆ นอกเหนือจากทำไร่ ทำนา ดังนั้น กล่าวโดยสรุปแล้วว่า ปลาบึก จะมาที่หาดไคร้ ก็ช่วงฤดูร้อน ช่วงต้นเดือนเมษายน โดยการจับปลาบึกได้ ลดลงตั้งแต่ ปีพ.ศ.๒๕๓๙ และทางกลุ่มเล่าว่า มีการอนุรักษ์และผสมเทียม เกี่ยวกับปลาบึกในแม่น้ำโขง กับกรมประมงแล้ว แต่ว่าปีพ.ศ. ๒๕๔๔-๒๕๔๖ นั้น จับปลาบึกไม่ได้มา ๓ ปีแล้ว ทั้งที่เมื่อ ๑๐ กว่าปีก่อน จับได้มากถึงปีละ ๖๖ ตัว ท้ายที่สุดก็มีความคิดเห็นร่วมกันว่า เมื่อก่อนแม่น้ำของ(โขง)ใสสะอาดมากกว่านี้ ส่วนจะจับปลาบึกได้ อีกหรือไม่ ก็ยังไม่ทราบล่วงหน้าเลย

 เมื่อจับปลาบึกได้ มีข้อมูลจากสื่อหนังสือพิมพ์ โดยรายงาน ดังนี้ เมื่อ วันที่ ๒๙ เม.ย.๒๕๔๗ ตัวแทนของรัฐ โดยนายนรินทร์ พานิชกิจ ผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย,นายบัวสอน ประชามอญ ส.ส.เชียงรายเขต ๘ พรรคไทยรักไทย,นายนิพนธ์ แจ้งจันทร์ นายอำเภอเชียงของ,นายทวีศักดิ์ ชาญประเสริฐพร ประมงจังหวัดเชียงราย ,นายพุ่ม บุญหนัก ประธานชมรมปลาบึกบ้านหาดไคร้ ต.เวียง อ.เชียงของ จ.เชียงราย และ นายบุญเรียน จินะราช แกนนำพรานปลาบึก ได้แถลงข่าวที่ บริเวณ พิพิธภัณฑ์ปลาบึก ริมฝั่งแม่น้ำโขง บ้านหาดไคร้ ม.๗ ต.เวียง อ.เชียงของ จ.เชียงราย โดยนายพุ่ม บุญหนัก ประธานชมรมปลาบึกบ้านหาดไคร้ อ.เชียงของ กล่าวว่า เนื่องจากขณะนี้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงขุ่น เพราะมีทรายมาก ทำให้มีโอกาสจับปลาบึกได้ และเมื่อเวลาประมาณ ๑๔.๐๐ น.วันที่ ๓๐ เม.ย.๒๕๔๗ พรานปลาบึก ๒กลุ่ม นำโดย นายสมนึก สุวรรณทา อายุ ๓๙ ปี กับนายพิทักษ์ แสงเพชร กับพวก ๑๐ คน ได้ออกล่าปลาบึกตามประเพณีของชาวหาดไคร้ ในแม่น้ำโขง

โดยใช้อวนหรือมอง(เครื่องมือจับปลา)ของชาวบ้าน ลากไป-มา และใช้เรือหางยาวเป็นพาหนะหลายลำ ต่อมาพบว่ามีปลาขนาดใหญ่มาชนมอง(เครื่องมือจับปลา) จึงจับปลาบึกได้ ๒ ตัว ซึ่งทุกฝ่ายกำลังดีใจ เพราะจับปลาบึกไม่ได้มานานแล้ว ด้านนายนรินทร์ พานิชกิจ ผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย กล่าวว่า ขอประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมปลาบึกและแม่น้ำโขง เชื่อว่าจะให้การท่องเที่ยวคึกคัก และตนขอยืนยันว่า การอนุรักษ์พันธุ์ปลาและแม่น้ำโขง จะมีต่อไป พร้อมกับการพัฒนาของเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งจะไม่กระทบต่อแม่น้ำโขงและปลาบึก ซึ่งตนจะดูแลให้ดีที่สุด และปีนี้ถือว่าโชคดีหลังจากมีการ บูชาพญานาคตามความเชื่อที่อำเภอเชียงแสน ช่วงสงกรานต์ และมีบวงสรวงเจ้าพ่อปลาบึกเมื่อวันที่ ๑๘ เม.ย. ๒๕๔๗ ที่ผ่านมา แล้วมีการจับปลาบึกได้หลังจับไม่ได้มาติดต่อกัน ๓ ปี ด้านตัวแทนกรมประมง

โดย นายทวีศักดิ์ ชาญประเสริฐพร ประมงจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า ปลาบึกที่จับได้ น่าจะเป็นปลาที่เกิดในแม่น้ำโขงตามธรรม ชาติ เพราะมีขนาดใหญ่ อายุน่าจะราว ๓๐ ปี ถือว่าอยู่ในช่วงเจริญพันธุ์ และอาจจะพยายามว่ายขึ้นทางทิศเหนือเพื่อผสมพันธุ์ เพราะก่อนหน้านี้มีฝนตกหนักราว 3 วันก่อน ปลาอาจได้กลิ่นน้ำใหม่ จึงกระตุ้นการผสมพันธุ์ ดังนั้น ประมงจังหวัด จะเข้ามารีดเอาน้ำเชื้อ และนำไปหาทางผสมพันธุ์ เพื่อเพาะหรือขยายพันธุปลาบึกให้เพิ่มมากขึ้น ส่วนตัวปลาบึกนั้น มอบให้เจ้าของปลาไปดำเนินการ ซึ่งอาจจะมีพ่อค้ามารับซื้อต่อไป ทั้งนี้อยากจะให้ทุกฝ่ายช่วยกันรักษาสภาพในแม่น้ำโขง ให้มีความสะอาดจึงไม่ควรปล่อยคราบน้ำมันหรือของเสียจากเรือเร็วและเรือสินค้าลงในน้ำโขงและสภาพแม่น้ำโขงที่ อ.เชียงของยังมีความสมบูรณ์และเชื่อว่า ในแม่น้ำโขงยังมีปลาบึกอยู่อีกมาก

 ดูภาพประกอบที่นี่ http://hilight.kapook.com/view/26626/2

การปักป้ายประท้วง กลางดอนฝั่งไทย-ลาว และตัวแทนกลุ่มชาวบ้าน (รวมถึงตัวผู้เขียนด้วยความจำเป็น) แล้วทั้งกลุ่มรักษ์เชียงของบุกขึ้นประท้วงบนเรือจีน ที่มาปักหมุดสำหรับเดินเรือสินค้า ข่าวดีที่มีการจับปลาบึกตามธรรมชาติได้ หลังจากไม่เคยจับได้ตั้งแต่ปี ๒๕๔๔-๒๕๔๖ โดยรัฐ กับการแต่ง หรือสร้างภาพปลาบึก เป็นภาพแสดงแทนว่า จับปลาบึกได้ ก็ไม่มีผลกระทบกับปลาต่างๆทั้งหมดในแม่น้ำโขงจากโครงการพัฒนาต่างๆของรัฐ โดยเปิดแถลงข่าวการจับปลาบึก ร่วมกับชาวบ้าน ซึ่งสรุปแล้ว ทัศนะดังกล่าว เน้น แต่ปลาบึกเป็นภาพตัวแทนของธรรมชาติเท่านั้น ไม่ได้เน้นปลาอื่นๆ และสะท้อนภาพของความขัดแย้งของการอนุรักษ์ธรรมชาติ กับกระแสการพัฒนาและโลกาภิวัตน์ ที่ไม่เอ่ยถึงผลกระทบของการระเบิดเกาะแก่งแม่น้ำของ(โขง) และเขื่อน ที่ประเทศจีน

เพราะเกี่ยวพันกับปัญหาการค้า เส้นทางเดินเรือ ในแผนพัฒนาสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ-อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ตัวแทนของรัฐ สร้างภาพพิพิธภัณฑ์ปลาบึก โดยลืมเรื่องการหายไปของปลาพันธุ์อื่น พิพิธภัณฑ์ กลายเป็นเครื่องมือของอุดมการณ์ในการสร้างภาพอนุรักษ์ โดยกลายสภาพราวกับเครื่องจักรกลพิมพ์ภาพ ที่เต็มไปด้วยการบิดเบือนปรุงแต่งเรื่องราว สร้างภาพของรัฐ จากที่กล่าวถึงป้ายกับ อนุสาวรีย์ปลาบึก ก็สร้างภาพของรัฐไทย ในการสร้างจินตนาการเส้นเขตแดนของชาติไทย และพิพิธภัณฑ์ปลาบึก ก็ถูกจำลองให้เห็นภาพสำหรับท่องเที่ยวชั่วคราว มากกว่าการอนุรักษ์จริงๆ เพราะทางด้านนายบัวสอน ประชามอญ ส.ส.เชียงรายเขต ๘ พรรคไทยรักไทย กล่าวว่า ตนมีแนวทางร่วมกับทางจังหวัดในการที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวใน อ.เชียงของ

โดยจะมีการผลักดันจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ปลาบึก ซึ่งเป็นแหล่งรวมความรู้ด้านการจับปลาและมีตู้ปลาเลี้ยงปลา ซึ่งจะมีการสร้างเพิ่มเติมจากที่ได้ทำไประยะแรก ด้วยงบราว ๑๐๐ ล้านบาทเศษ คาดว่าจะทำให้อาชีพชาวประมงของชาวบ้านไม่สูญหายไปจากความทรงจำ และในอนาคตจะมีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว และสะพานข้ามโขง ไทย-ลาว ซึ่งได้งบจาก เอดีบี(ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย) มาแล้ว ก็เพื่อให้ อ.เชียงของ มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวมาก สามารถข้ามฝั่งไป แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว หรือเดินทางเมืองหลวงพระบางของ สปป.ลาว เมื่อมีการจับปลาบึกได้มีการช่วงชิงการนำในการให้ข้อมูลหรือการรับรู้เกี่ยวกับปลาบึกโดยผู้ว่าราชการจังหวัดพยายามมาแถลงข่าวว่าการจับปลาบึกได้ ก็แสดงว่าไม่ได้เกี่ยวกับสร้างเขื่อนและการค้าเสรีกับจีน (หลังจากแถลงข่าวแล้ว ปีนี้จับปลาบึกได้ทั้งหมดถึง ๗ ตัว) ชาวบ้าน ดีใจกับการกลับมาของปลาบึก

แต่ปัญหาดังกล่าวที่ตามว่าด้วยการพัฒนาที่มีการนิยามโดยรัฐคือรัฐได้พยายามสร้างเรื่องว่าเขื่อน และการระเบิดเกาะแก่งหินเพื่อการเดินเรือสินค้า ไม่มีปัญหาต่อการจับปลาต่างๆ และวิถีชีวิตของชาวบ้าน-ชาวประมง แต่ว่าการอธิบายเชิงตัวเลข ไม่สามารถบอกได้อย่างง่ายดาย เช่นว่า การกลับมาของปลาบึก จะกลายเป็นภาพแสดงแทนปลาทั้งหมดว่า “ไม่มีผลกระทบจากระบบนิเวศ” แต่ว่าชาวประมง เชื่อว่าธรรมชาติไม่ใช่เรื่องที่สามารถทำนายทายทักได้ว่า จะเป็นเช่นไร เพราะสิ่งต่างๆ ในโลก ไม่ว่าจะเป็นพันธุ์ปลา อากาศ ตลาด รัฐบาล ล้วนต่างเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันไปหมด ไม่ใช่สิ่งหนึ่งเป็นเพียงเหตุของอีกสิ่งหนึ่งเท่านั้น

ซึ่งก็สะท้อนภาพประดุจคติไตรภูมิ และลิลิตพระลอ-แม่น้ำกาหลง ส่วนสมุดภาพไตรภูมิ กรุงศรีอยุธยา หมายเลขที่ ๖ มีภาพแม่น้ำของ(โขง) กับปลา ในนิเวศวัฒนธรรม ที่เอื้อต่อการตรึกตรองว่าจะร่วมมือสร้างนิยามการพัฒนา และอนุรักษ์ต่อทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน โดยวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อปลาพันธุ์อื่นๆด้วย สรุป การสร้างสรรค์ของมนุษย์ ในรูปแบบสิ่งต่างๆหลายอย่างขึ้นมา ย่อมสะท้อนแง่คิด จินตนาการ ประสบการณ์ในวิถีชีวิต ดังที่กล่าวเรื่อง “วรรณคดีลิลิตพระลอ” รัชกาลที่ ๖ทรงยกย่อง หากพิจารณาในแง่ของการแต่ง และเรื่องมีคุณค่าทางความเชื่อ ศาสนา อันเกี่ยวคติไตรภูมิ ในสมุดภาพไตรภูมิ กรุงศรีอยุธยา หมายเลขที่ ๖ ที่แสดงออกว่าการวาดภาพโดยมนุษย์ ไม่ได้เป็นศูนย์กลางของอำนาจ

เพราะต่างเกี่ยวพันเป็นห่วงโซ่ของชีวิต ตามคติจักรวาล คือระบบนิเวศวัฒนธรรม และการพัฒนาบนพื้นฐาน กฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ตะวันตก สร้างแผนที่แบ่งเขตแดน กั้นคนลุ่มน้ำของ(โขง) กับความคิดวิทยาศาสตร์ ที่คิดอยู่เหนือธรรมชาติ และครอบครองการเพาะพันธุ์ปลาบึกที่มาให้ชาวประมงล่าจับปลาบึก เพื่อหวังผลทางเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว ซึ่งผลสำเร็จของการเพาะพันธุ์ปลาบึกทางวิทยาศาสตร์อาจจะไม่เหมาะกับทางธรรมชาติ ที่กำลังส่งผลอยู่ในปัจจุบัน

อนึ่ง โลกที่ธรรมชาติไม่ใช่เรื่องการคาดเดาได้ง่ายๆ มันก็เหมือนกับการที่รัฐพยายามสร้างคำอธิบายที่ควบคุมนิยามการพัฒนาให้อยู่ในอุ้งมือของรัฐ ทั้งที่ไม่มีความพยายามหาทางป้องกัน และแก้ไข แต่กลับด่วนสรุปง่ายๆเพื่อเอื้อแก่การพัฒนาในกระแสโลกาภิวัตน์แล้ว แนวคิดแห่งการคงอยู่ร่วมกันนิเวศวัฒนธรรม จึงจะต้องร่วมฟื้นสร้างสำนึกฐานจากความเชื่อเรื่องผี นาค รวมทั้งทางพุทธศาสนา ในแบบสมุดภาพไตรภูมิฯ ที่ปรากฏภาพปลา และแม่น้ำของ(โขง) ฉะนั้น ทางเลือกของวิธีการหนึ่งในจำนวนหลากหลาย ประชาชน ร่วมมือกับ กลุ่มรักษ์เชียงของ และองค์กรต่างๆ หน่วยงานของรัฐ อาทิเช่นกรมประมง ที่ว่าจุดประสงค์เกิดขึ้นมาเพื่อรักษาสัตว์น้ำ ไม่ใช่แต่งเติมเสริมเอาเองไม่เช่นนั้น จะผิดต่อรัชกาลที่ ๖ และไม่เหมือนกับอนุสาวรีย์ย่าเหล ที่แสดงความซื่อสัตย์ออกมา แต่ว่า ป้าย-อนุสาวรีย์ปลาบึก สะท้อนว่าไม่ได้แสดงออกเช่นนั้นเลย หรือจะปล่อยให้เกิดฉากเลือดย้อม เพราะความขัดแย้งเหลือแค่สถูป อันเป็นอนุสาวรีย์ในลิลิตพระลอ ในที่สุดแล้ว

อย่างไรก็ตาม ปีพ.ศ. ๒๕๔๙ ที่ผ่านมาชาวประมง ประกาศเลิกจับปลาบึก ถวายแด่องค์ราชันย์ เฉลิมฉลองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครบ ๘๐ พระชนมพรรษา แต่ว่าการเปลี่ยนแปลงยังมีเสมอ เพราะฉะนั้น ชุมชนก่อนจะถูกช่วงชิงจินตนาการน่าจะแต่งเรื่องนิทานของชุมชนเล่าขานวิถีชีวิต หรือสร้างความสำคัญกับ“ปลาอื่นๆ” นอกจากปลาบึกในแม่น้ำของ (โขง) รวมถึงสร้างความร่วมมือกัน จัดการความขัดแย้งภายในชุมชน ชาวประมง กลุ่มราชการ กลุ่มรักษ์เชียงของ ก่อนที่จะกลายเป็นตำนานปลาหายไป โดยไร้พลังของตำนาน.




[1]นิยะดา เหล่าสุนทร.เทพยกวีที่ถูกลืม. กรุงเทพฯ:เมืองโบราณ,2538: 17-18
[2] Thongchai Winichakul, Siam Mapped : a History of the geo-body of a Nation. Chiang Mai: Silkworm Books, 1994. :129
[3]อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. การศึกษาพรมแดนความรู้ทางประวัติศาสตร์ ด้านนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม. เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2541.:127
[4] พนิดา สงวนเสรีวานิช, “วังปลาในพระราชินีศรีสยาม.” ศิลปวัฒนธรรม 16, 10 (สิงหาคม 2538) ::42-43
[5] เกษียร เตชะพีระ “แฮปปี้แลนด์ของซ้ายไทย วิวาทะอุตตรกุรุ:อัศวพาหุ VS ศรีอินทรายุทธ ”,ศิลปวัฒนธรรม 14, 9 (กรกฎาคม 2536) : 188-190
[6] ชื่อภาษาอังกฤษว่า Giant catfish และภาษาวิทยาศาสตร์ว่า Pangasianodon gigas
[7] สิทธิพร ณ นครพนม และ สมศักดิ์ ล่ำพงศ์พันธุ์. “ปลาบึกเจ้าแห่งแม่น้ำโขง.” ศิลปวัฒนธรรม 16, 10 (สิงหาคม 2538) : 55-59. 
[8]อรรคพล สาตุ้ม การเปลี่ยนแปลงพรมแดนความรู้ :คติทางศิลปะ-ภูมิสถาปัตยกรรมระบบนิเวศของวัดในชุมชนชายแดนสองฝั่งโขง ในวารสารชุดภูมิภาคศึกษา สำหรับรวมบทคัดย่อและข้อเขียน อาจารย์ นักศึกษาปริญญาโท ภูมิภาคศึกษา ปีที่1 ฉบับที่1 ,2549: 90-103 [9] เรียกกลุ่มนี้สั้นๆว่า กลุ่มรักษ์เชียงของ ฯโดยทางกลุ่มจัดกิจกรรม รณรงค์ในหลายด้าน รณรงค์สิ่งแวดล้อม หนังสั้น เล่านิทาน ฯลฯ รวมทั้งงานวิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เป็นต้น ซึ่งหัวหน้ากลุ่มตัวแทน นาย นิวัตน์ ร้อยแก้ว คือ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์คนหนึ่งของผู้เขียน ซึ่งผู้เขียนมีโอกาสร่วมนั่งเรือร่วมหาปลากับคนจับปลา เพื่อหาข้อมูลเชิงมานุษยวิทยาอย่างเป็นกลางที่สุดเท่าที่เป็นได้ 


หมายเหตุ: บทความนี้ นำเสนอในงาน ประชุมวิชาการ ศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง : เอกภาพ และความหลากหลาย จัดโดยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 9-10 สิงหาคม 2550....

วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

รำลึก24 มิถุนา 2475 เปลี่ยนNetwork Monarchy

รำลึก24 มิถุนา 2475 เปลี่ยนNetwork Monarchy
โดยโครงการประกายแสงดาว

 เนื่องในโอกาสรำลึก 24 มิถุนา 2475 การปฏิวัติลดอำนาจของสถาบันกษัตริย์ ที่มีบางด้านบันทึกประวัติศาสตร์ฝ่ายระบบราชการทหารของคณะราษฎรประสบความสำเร็จในการปฏิวัติ เมื่อทหารขณะรอคำสั่งที่ลานพระราชวังดุสิต 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คือ การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 (หรือเรียกว่าเป็น รัฐประหาร หรือ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง) เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในประวัติศาสตร์ไทยในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475

ซึ่งมีผลทำให้ราชอาณาจักรสยามเปลี่ยนรูปแบบประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และเปลี่ยนรูปแบบการปกครองไปเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา เกิดขึ้นจากคณะนายทหารและพลเรือนที่ประกอบกันขึ้นเป็นพรรคการเมืองพรรคแรกของสยาม ที่เรียกตัวเองว่า "คณะราษฎร" โดยเป็นผลพวงมาจากการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์โลก ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองภายในประเทศ

การปฏิวัติดังกล่าวยังทำให้ประชาชนชาวสยามได้รับรัฐธรรมนูญฉบับแรกอีกด้วย แต่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจาก2475-หลังพฤษภา2535 เกิดการตีความเหตุการณ์2475 ถึง4 แบบ คือ แบบที่หนึ่ง เชียร์คณะราษฎร โจมตีเจ้า แบบที่สอง เชียร์เจ้า โจมตีคณะราษฎร แบบที่สาม โจมตีทั้งเจ้า ทั้งคณะราษฎร แบบที่สี่ เชียร์ทั้งเจ้า ทั้งปรีดี (คณะราษฎร) ในปัจจุบันจากทัศนะของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

โดย ขณะเดียวกัน การรื้อฟื้นเกียรติภูมิของปรีดี ก็มีลักษณะที่คล้ายกับการยกย่องผู้นำแบบจารีตของไทยในอดีตมากขึ้นทุกที (โปรดสังเกตการเรียกปรีดีว่า “พ่อ” ในกลอน “พ่อของข้าฯนามระบือชื่อปรีดี”)

 เราจึงอาจกล่าวถึง “การรองรับซึ่งกันและกัน” (mutual-accommodation) ระหว่างกระบวนทัศน์ทั้งสองต้นแบบ ของการรองรับซึ่งกันและกันนี้ เริ่มมีร่องรอยให้เห็นตั้งแต่ปลายปี ๒๕๒๓ ในหนังสือที่ระลึกพระราชพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พระปกเกล้า ซึ่งนอกจากมีเนื้อหาที่เป็นราชสดุดีต่อรัชกาลที่ ๗ แล้ว ยังมีการตีพิมพ์ประกาศคณะราษฎร (ที่ประณามพระองค์) ฉบับเต็มด้วย ในทางกลับกัน ในงานฉลอง ๑๐๐ ปีปรีดี ที่ธรรมศาสตร์ในเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ ในภาพสไลด์ชุดสดุดีปรีดี มีภาพหนึ่งเป็นพระราชหัตถเลขาสละราชย์ (ที่ประณามปรีดีและคณะราษฎร)

แต่ที่อาจถือเป็นแบบฉบับของกระบวนทัศน์ใหม่นี้ คือบทความ (จากปาฐกถา) ของประเวศ วะสี เรื่อง “สถาบันพระมหากษัตริย์ กับรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์”ที่สำคัญ กระบวนทัศน์การตีความ “๒๔ มิถุนา” ใหม่นี้ แสดงออกที่ ในปัจจุบัน รัฐได้ให้การสนับสนุนและดำเนินการจัดตั้งองค์การอย่าง สถาบัน และ พิพิธภัณฑ์ พระปกเกล้า ขณะเดียวกับที่ ทำการเสนอชื่อปรีดี ให้เป็นบุคคลสำคัญของยูเนสโก และจัดงานฉลอง ๑๐๐ ปีให้กับปรีดี(1) 

โดยประเด็นเครือข่ายในหลวง(Network Monarchy) มีประเวศ วะสี ที่มีการกล่าวถึงก่อนรัฐประหาร ที่มีนักวิชาการอย่างสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล กล่าวว่าเกษียร ประเมินบทบาท นิธิ (และตัวเอง) ก่อนรัฐประหาร โดยเฉพาะในประเด็นสถาบันกษัตริย...ในการสัมมนาที่เชียงใหม่ในเดือนมิถุนายน ที่ ฟ้าเดียวกัน นำมาตีพิมพ์ในฉบับ "โครงการเปลี่ยนประเทศไทย" เกษียร ได้กล่าวประเมินถึงท่าทีทางการเมืองของตัวเขาเองและของนิธิในระยะเวลาที่ผ่านมา ในส่วนที่เกี่ยวกับ สิ่งที่ McCargo เรียกว่า Network Monarchy ข้อสังเกตตอนนี้ของเกษียร เป็นข้อสังเกตที่ผมเห็นว่าแหลมคมยอดเยี่ยมอย่างยิ่ง... นี่คือคำพูดของเกษียร (เน้นคำของผม) :ผมคิดว่าพันธมิตรระหว่างขบวนการประชาชนกับสถาบันกษัตริย์ก่อตัวในช่วงสิบปีหลังพฤษภาฯ 2535 ...[ note นี่เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในด้านที่ค้านกับการที่ธงชัยพยายามเน้นย้อนหลังกลับไปที่ 14 ตุลา - สมศักดิ์]

....สิ่งที่เรียกว่า monarchical network หรืออาจแปลเป็นไทยเพื่อความเข้าใจได้ว่า "เครือข่ายในหลวง" เครือข่ายนี้ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจในช่วงสิบปีหลังพฤษภาฯ 2535 คือปรากฏปีกเสรีนิยมที่รวมตัวกันเข้มข้นขึ้นมา ถ้าพูดถึงตัวบุคคลคือ คุณอานันท์ ปัญญารชุน หมอประเวศ วะสี พออ่านมาถึงตอนนี้ผมก็ฉุกคิดว่าอาจครอบคลุมถึง อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ และมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนด้วย ทั้งนี้ไม่ว่าความรับรู้หรือเจตนาสำนึกทางอัตวิสัยจะเป็นเช่นใด ทว่าเครือข่ายความสัมพันธ์ทางภววิสัยได้พ่วงพาเข้ามาอยู่ใน liberal monarchical network ด้วย....

ดังนั้น พันธมิตรดังกล่าวไม่ได้เพิ่งมาก่อตัวเมื่อจัดตั้ง 'พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย' ต้นปีนี้นะครับ หากมีการปูพื้นมานานกว่าที่จะเดินมาถึงจุดนี้ และเมื่อมาย้อนคิดดู พูดตรงๆ ถ้าสิบปีที่ผ่านมา ผมไม่ไปร่วมกลุ่มนี้แล้ว จะให้ไปร่วมกลุ่มไหน?....(2)

อย่างไรก็ดี กลุ่มฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ก็อ้างถึงบทความ “เครือข่ายของราชา กับ ทักษิณ” ซึ่งเขียนตั้งแต่3 สิงหาคม 2549และแสดงถึงอคติต่อนักการเมือง ซึ่งวริษฐ์ ลิ้มทองกุล กล่าวใน “เครือข่ายของราชา กับ ทักษิณ” โดยอ้างอิง…“Duncan McCargo” ซึ่งวริษฐ์อ้างอิงว่า การจะทำความเข้าใจกับการเมืองของประเทศไทยนั้น จำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงเครือข่ายทางการเมือง (Political Network) ซึ่ง McCargo อธิบาย ต่อว่า เครือข่ายทางการเมืองที่ชี้นำการเมืองไทยในห้วงเวลาระหว่าง พ.ศ.2516-2544 (ค.ศ.1973-2001) นั้นคือ เครือข่ายที่มีศูนย์กลางอยู่ในวัง หรือเรียกกันในอีกนามหนึ่งว่า เครือข่ายของราชา (Network Monarchy)

ซึ่งเครือข่ายของราชา เข้ามามีส่วนร่วมและแทรกเข้ามามีบทบาททางการเมืองผ่านตัวแทนของกษัตริย์คือ คณะองคมนตรี (Privy Council) ที่นำโดยประธานองคมนตรี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ทั้งนี้ แม้เครือข่ายของราชาจะพัฒนาขึ้นมาจนมีบทบาทสูงต่อสังคมในระดับหนึ่ง แต่เครือข่ายของราชาก็ไม่เคยก้าวล่วงเข้ามาจนกลายสภาพเป็นการครอบงำสังคมไทย ในทางกลับกันเครือข่ายของราชากลับมีภารกิจในการทำหน้าที่ผ่านองค์กรทางการ เมืองทั้งหลาย (ที่เรารู้จักกันดีก็คือ อำนาจทางการปกครองผ่านรัฐบาล อำนาจทางนิติบัญญัติผ่านรัฐสภา และอำนาจทางตุลาการผ่านศาลยุติธรรม)

โดยมีรัฐสภาไทยที่ผ่านกระบวนการเลือกตั้งเป็นพื้นฐาน ซึ่งศาสตราจารย์ จากมหาวิทยาลัยลีดส์ กล่าวต่อด้วยว่า ถึงแม้เครือข่ายของราชาจะมีลักษณะของความเป็นอนุรักษ์นิยมโดยธรรมชาติ แต่ในช่วงทศวรรษที่ 90 (ห้วงเวลาระหว่าง พ.ศ.2533-2543) เครือข่ายนี้ ก็ยังแสดงออกถึงความเป็นประชาธิปไตย โดยเฉพาะหลังจากปี พ.ศ.2535 ที่ประเทศไทยต้องประสบกับวิกฤตการณ์ทางการเมืองใหญ่ๆ ถึง 3 ครั้ง โดยในแต่ละครั้ง พล.อ.เปรม ก็ทำหน้าที่เป็นตัวแทนเพื่อรักษาสมดุลย์ทางการเมือง และนำประเทศไทยกลับสู่สภาวะปกติได้ทุกครั้ง กระนั้นการเข้าแทรกแซงดังกล่าวก็สะท้อนให้เห็นถึงความอ่อนแรงลงของเครือข่าย แห่งราชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากชัยชนะในการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายของพรรค ไทยรักไทย ที่นำโดย ทักษิณ ชินวัตร ในปี พ.ศ.2544 และ 2548

โดยในจุดนี้ McCargo มอง ว่าในช่วงเวลาห้าปีที่ผ่านมา ทักษิณพยายามที่จะสร้างเครือข่ายใหม่ที่อยู่ภายใต้อาณัติของตน เพื่อจะนำมาแทนที่เครือข่ายเก่าที่ดำรงอยู่และกำลังอ่อนแรงลงทุกทีๆ....(3) โดยนับตั้งแต่ช่วงเวลา 2475-หลังพฤษภา2535 และหลังเหตุการณ์เมษา-พฤษภา53 ก็อุดมการณ์ทางการเมืองถูกเปลี่ยนแปลงไปในสถานการณ์ปัจจุบันดังกล่าว และอำนาจที่ถูกสภาวะยกเว้น ไม่ได้ถูกลดทอนอำนาจ คือ สถาบันกษัตริย์ ศาล และทหาร โดยผ่านเครือข่ายในหลวง หรือเรียกว่า Network Monarchy เฉพาะเจาะจงสายประเวศ วะสี 

ฉะนั้น นี่เป็นการเปิดโอกาสการเปลี่ยนแปลงในการถกเถียงและทบทวนประเด็นเชียงใหม่จัดการตนเอง

ซึ่งเชียงใหม่เป็นที่ขนานนามว่าเมืองหลวงเสื้อแดง ภายใต้อิทธิพลกลุ่มเอ็นจีโอขุนนางอำมาตย์ฝ่ายเหลือง มีวาระซ่อนเร้นเชียงใหม่จัดการตนเองนำขบวนโดยเครือข่ายในหลวงอย่างประเวศ วะสี ผ่านทุนต่างๆ นานา เช่น ทุนสสส.แหล่งทุนภาษีของประชาชน และจุดยุทธศาสตร์เชียงใหม่จัดการตนเอง

หรือนี่อาจจะเป็นการสร้างฟื้นฟูกำลังของเครือข่ายในหลวงอีกครั้งของฝ่ายร่วมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย!

 อ้างอิง 1.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ๒๔ มิถุนา: การตีความ ๔ แบบ http://somsakwork.blogspot.com/2006/06/causes-mutation-in-existing-structural.html 2.เกษียร ประเมินบทบาท นิธิ (และตัวเอง) ก่อนรัฐประหาร โดยเฉพาะในประเด็นสถาบันกษัตริย http://somsakcouppostings.blogspot.com/2006/11/blog-post_3878.html 3. วริษฐ์ ลิ้มทองกุล “เครือข่ายของราชา กับ ทักษิณ” ผู้จัดการ 3 สิงหาคม 2549 16:21 น. และวริษฐ์ ลิ้มทองกุล “นั่งฟัง ‘ฝรั่ง’ พูดถึงการเมืองไทย”http://oldforum.serithai.net/index.php?action=printpage%3Btopic=21135.0