วันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560

การสะสมความทรงจำ อำนาจ ผู้นำ ทำหนังสั้น ทำเกม ใน Late of capitalism(แผนที่ ล็อตตารี่ ฯลฯ)

1.2
“การสะสมความทรงจำ อำนาจ ผู้นำ”
วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) – อิหร่านประกาศตนเป็นสาธารณรัฐอิสลาม เทวาธิปไตยที่มี อะญาตุลลอฮ์ โคไมนี เป็นผู้นำสูงสุด(*) โดยอดีตวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1963 หลังปราศรัยโจมตีรัฐบาล ท่านโคมัยนีก็ถูกจับไปขังคุกที่กรุงเตหะราน ผลของการจับโคมัยนี ทำให้ประชาชนโกรธแค้นมาก และพากันออกมาเดินขบวนเต็มไปหมดในถนนทุกสาย เหตุการณ์ต่อสู้เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยอายะตุลลอฮ์ โคมัยนี ลุกลามรุนแรงถึงขั้นนองเลือด
จนกลายเป็นจุดหักมุมของประวัติศาสตร์อิหร่าน รัฐบาลตัดสินใจเนรเทศโคมัยนีออกนอกประเทศในวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1964 โดยให้ไปอยู่ตุรกี และต่อมาย้ายไปอยู่เมืองนาจาฟในอิรัก รวมเป็นเวลาถึง 13 ปี โดยหวังว่าจะทำให้ความนิยมในตัวโคมัยนีจางหายไป(**)
ดังนั้น ย้อนดูอดีตกรณีลัทธิชาตินิยมทางการและจักรวรรดินิยม ในหนังสือชุมชนจินตกรรมฯ เปรียบเทียบข้ามเวลา(ก่อนปี1910) ข้ามพื้นที่หลายประเทศ(ไทยฯลฯ)ในบทนี้กับอิหร่าน และงานเขียนของอ.เบน ต่อการปฎิวัติของ14 ตุลาเป็นชนชั้นกระภุมพีด้วย
โดยผมเปรียบเทียบปัญหาศต.ที่21 ปฏิวัติอียิปต์(***) และผู้นำถึงการเมืองไทย กรณีภาคใต้ผู้นำหายไป ไม่เหมือนโคมัยนี (หรือเชกูวารา,ซุนยัดเซ็น ศต.ที่20)อำนาจนำของผู้นำ คือ โคมัยนี ที่สู้ติดคุก สู้แล้วถูกเนรเทศ หรือสู้แล้วลี้ภัย ในสู้หลายแบบคิดว่าเหมือนของไทย หรือต่างกัน
อย่างไรก็ตาม ทัศนะปริศนาฯ โดยการเมืองไทยที่อ.เบน เคยเขียนไว้ และผมเคยเล่าแล้วเล่าซ้ำประโยคว่า“เวลาคุณค้นหาคำเฉลยต่อปัญหาหนึ่งๆ อย่าไปมองสิ่งที่คุณเห็นได้ แต่จงมองสิ่งที่คุณไม่เห็น”และ“จงมองสิ่งที่อยู่ต่อหน้าคุณ แต่คิดถึงสิ่งที่ขาดหายไป” แต่การไม่เห็นผี ไม่ได้แปลว่าผีจะต้องมีจริงเสมอไป(****) ส่วนตัวผมสนใจมองกระแสน้ำลึกที่ไหลอยู่ภายใต้ยอดคลื่น(*****) สิ่งที่ไม่ได้ปรากฏของคลื่นใต้น้ำ ในการเมืองไทย ทบทวนประวัติศาสตร์ช่วงยาว…ก่อนวันเช็งเม้งด้วย
*1 เมษายน วันสำคัญ :วันเอพริลฟูลส์ วันข้าราชการพลเรือน วันเลิกทาส
**เรียบเรียงข้อมูลจากวิกิพีเดีย:ประเทศอิหร่าน
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99
ดูภาษาอังกฤษ
https://en.wikipedia.org/wiki/Iran
(อ่านเพิ่มเติมหนังสือชุมชนจินตกรรมฯ)
***“การสะสมความทรงจำ และการสะสมยุทธศาสตร์”
****“กระบวนท่ากบกระโดดครั้งสุดท้ายของครูเบ็น” (จบ) โดย เกษียร เตชะพีระ
http://www.matichon.co.th/news/263540
(สรุปความเห็นต่างนอกครูในเรื่องนี้)
*****”ผีของมาร์กซ์” และ ”ผีในมาร์กซ์” ข้อวิจารณ์ประวัติศาสตร์นิยมของพ๊อพเพอร์และอัลธุสแซร์
(ภาพประกอบบทความในภาพ และม่านมองแม่น้ำ)
1.3
“ล็อตตารี่ และความทรงจำผ่านหนังสือ: โชคชะตาในการต่อสู้ทางชนชั้น”
วันหวยออกวันที่ 1 เมษา เลยมีประเด็นหนังสือแรงบันดาลใจกับหวยบอย เขียนให้ม่วน แบบโฟกัสเล่มเดียวก็อ้างหนังสือ The Luck of the Draw: The Role of Lotteries in Decision Making ซึ่งเขียนเยอะๆอ่านย่อๆความทรงจำได้ แค่คิดสร้างประโยคท่องจำได้ว่าด้วยล็อตตารี่ จับสลาก อยู่ที่โชคดี มีทั้งทฤษฎีความยุติธรรม(*) ในการต่อสู้ทางชนชั้น (ที่มีอ้าง Bertell Ollman**ดังภาพประกอบด้วย)
* The Luck of the Draw: The Role of Lotteries in Decision Making

**Bertell Ollman
https://en.wikipedia.org/wiki/Bertell_Ollman
“Dance of the Dialectic: Steps in Marx’s Method “: Bertell Ollman
“Dance of the Dialectic: Steps in Marx’s Method “: Bertell Ollman
4.2
เมื่อวานในกลุ่มประชุมเครือข่ายแรงงานภาคเหนือ ผมเล่าเรื่องบอร์ดเกม ว่าอยากออกแบบมาเล่นๆ กรณี
Bertell Ollman ผู้สร้างบอร์ดเกม Class Struggle(*) เคยถูกแนะนำผลงานในหนังสือสังคมศาสตร์วิภาษฯ(**) น่าจะเล่มเดียวของภาษาไทยในยุคกระแสแสวงหาสำนักmarxต่างๆ เป็นข้อสังเกตของผม ต่างจากผมเคยเล่นเกมเศรษฐี(***) ผมยังไม่เคยเล่นเกมClass Struggle หรือบอร์ดเกมส์อื่นๆ(****)ด้วย
*หนังสือสังคมศาสตร์วิภาษวิธี กล่าวถึงMarxism and Political Science: Prolegomenon to a Debate on Marx Method,Review of Works on Marxist Theory of History,Studies in Socialist Pedapogy ซึ่งT.M.NortonและB.Ollman เป็นบก.
อ่านงานของ Bertell Ollman เพิ่มเติม
BALLBUSTER? True Confessions of a Marxist Businessman by Bertell Ollman
https://www.nyu.edu/projects/ollman/books/bb.php
(ถ้าดูวิกิพีเดียประวัติชีวิตย่อของB.Ollman จะเห็นว่าขยันเรียนป.ตรี ป.โท สองใบ(ป.ตรี เช่น ม.วิสคอนซิน อเมริกา)และเรียนป.เอก ที่อังกฤษ ม.อ๊อกซฟอร์ด และปัจจุบันสอนรัฐศาสตร์ ที่ม.นิวยอร์ค)
**ผมเคยเล่าแล้ว

อ่านเพิ่มเติม
Class Struggle Board Game
https://www.nyu.edu/projects/ollman/game.php
Vintage Game – Class Struggle Board Game from 1978 Game about Marxism by Bertell Ollman
https://www.etsy.com/listing/116772784/vintage-game-class-struggle-board-game
***ลาก่อนเกมเศรษฐี
http://www.sarakadee.com/2011/09/29/goodbye-monopoly/
****บอร์ดเกม’ธุรกิจแนวใหม่ที่กำลังเติบโต
http://www.komchadluek.net/news/kom-kid/204681
[GEEK101] WHAT IS BOARD GAME ?
http://geekplanets.com/what-is-boardgame/
(หลายปีผ่านไป เกิดนึกถึงอดีตขึ้นมาสมัยชอบไปนั่งร้านรุ่นน้อง มีร้านบอร์ดเกมอยู่หลังมช. ที่ผมเคยไปได้ไอเดียเขียนบทเรื่องย่อหนังสั้นส่งประกวดด้วย)
7.3
ผมหาหนังสือมาอ่านตามกระแสงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ในหนังสือ24/7: Late Capitalism and the Ends of Sleep โดย Jonathan Crary is Meyer Schapiro Professor of Modern Art and Theory (Meyer Schapiro*ศาสตราจารย์ศิลปะสมัยใหม่และทฤษฎี) The Department of Art History
and Archaeology(คณะประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดี) at Columbia University.
ทำให้ผมคิดถึงความเข้าใจเรื่อง8/8/8 คำขวัญชวนให้ท่องจำ ทำงานแปดชั่วโมง ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม แปดชั่วโมง พักผ่อนแปดชั่วโมง ซึ่งผมรีวิวหนังสือสั้นๆ แบบความจำสั้น แต่รักกลับมาอ่านใหม่อีกรอบถ้ามีเวลา คือ เราอยู่ในโลกทุนนิยมตอนปลาย(Late of capitalism) ที่ผมเคยเขียนถึงมาบ้าง แล้วหนังสือเล่มนี้อ้างทฤษฎีทั้งหนัง งานศิลปะ และนักคิด นักปรัชญา ทั้งโมเดิรน์ โพสต์โมเดริน์ต่างๆ ต่อเรื่องการนอนหลับพักผ่อนได้น่าสนใจยิ่งนัก 24/7: Late Capitalism and the Ends of Sleep -June 3, 2014(หนังสือออกมาไม่นาน เผื่อใครสนใจอะไรใหม่ โดยสนพ.Verso หรือที่รู้อีกนามของสนพ.ของกลุ่มNew Left Review)
-ดูรีวิวหนังสือ
ดูรีวิว24/7: Late Capitalism and the Ends of Sleep by Jonathan Crary – review
https://www.theguardian.com/books/2014/jul/22/24-7-late-capitalism-ends-sleep-jonathan-crary-review
(เก่งกิจ เคยอ้างหนังสือเล่มนี้ในภาษาไทย ดูเพิ่มเติม)
http://socanth.tu.ac.th/wp-content/uploads/2015/02/JSA-33-2-kengkij.pdf
Jonathan Crary
https://en.wikipedia.org/wiki/Jonathan_Crary
ดูประวัติเพิ่มเติมJonathan Crary
19th-century Art, Theory and Criticism, Film
http://www.columbia.edu/cu/arthistory/faculty/Crary.html
(เรียนคำศัพท์จากประสบการณ์เรียนนอก- Faculty VS department..ที่อเมริกานี่ คำว่าfacultyเขาจะใช้หมายถึงอาจารย์ผู้สอน…ถ้าเป็นที่อเมริกา ส่วนมากเวลาจะพูดถึงคณะ เขาจะใช้ว่า department of education…)
http://kru-mon.com/2012/10/vocabulary6/
*Meyer Schapiroเป็นแนวประวัติศาสตร์ศิลปะMarxist เป็นอาจารย์ของJonatha crary (เคยเรียนกับเอ็ดเวริด์ ซาอิด ฯลฯ)
https://en.wikipedia.org/wiki/Meyer_Schapiro
16 เมษา
“การสะสมความทรงจำ อำนาจ ผู้นำ ใน Late Capitalism”
เมื่อวานละครทีวีเพลิงพระนาง เพิ่งจบไปแล้ว เป็นภาพสะท้อนชุมชนจินตกรรมฯ ผ่านประวัติศาสตร์อย่างน่าสนใจในความทรงจำ อำนาจ ผู้นำ โดยอ่านการปรับตัวเข้าสู่ยุคใหม่ของสยามและพม่า(*) ที่อธิบายเปรียบเทียบไทยกับพม่า จุดสำคัญของการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายนอกของการล่าอาณานิคมทางเศรษฐกิจทุนนิยม(ที่ร.4เปรียบเปรยอังกฤษกับฝรั่งเศสเป็นจระเข้กับปลาวาฬ) ต่างๆนานา และปัจจัยภายในการสืบทอดอำนาจ หรือสืบราชสันตติวงศ์ของไทยกับพม่า ที่พม่า พังทลายสลายอำนาจผู้นำ เพราะความขัดแย้งกันเอง เสมือนอำนาจวาสนาเป็นสิ่งสมมติ สะท้อนละครทีวีอิงประวัติศาสตร์พม่าในภาพเพลิงพระนาง นั่นเอง
ต่อมาเกิดหมุดคณะราษฎร ตรงที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ร.5 ตอนนี้หายไป(**)เราอยู่ในโลกทุนนิยม ในเศรษฐศาสตร์ กรณีโลกนี้ไม่มีอะไรฟรี มีแต่ความเสี่ยงของการลงทุน หลอกไปญี่ปุ่นธุรกิจ เสียหายตามข่าวดังกับผู้คนทางเศรษฐกิจ หรือสงการนต์ ก็แรงงานอพยพจากกรุงเทพฯ หรือเชียงใหม่ กลับบ้านต่างจังหวัด โดยบางคนบอกว่าต่างจังหวัดเงินเดือนกับค่าครองชีพถูกเหมาะกับบั้นปลายชีวิต
โดยผมเคยเขียนมาต่อเนื่องประชาธิปไตยต้านทุนนิยม ฯลฯ ผมมายกตัวอย่างวิเคราะห์ต่อเนื่องเรื่องLate Capitalism กับLong Wave Theory เป็นทฤษฎีที่เมนแดล ได้เปิดประเด็นในการศึกษายุคหลังสมัยใหม่ทั้งทางศิลปะ ภาพยนตร์ และวรรณกรรม ฯลฯ ยกตัวอย่างที่ผมเคยกล่าวไว้มรดกเมนเดล ต่อเจมสสัน ซึ่งในเมืองไทย ก็มีถกประเด็นยุคโลกาภิวัตน์ และช่วงยาวของทุนนิยม ในแง่การแปลความหมายของทุนนิยมตอนปลาย(Late Capitalism) กับการอธิบายทฤษฎีคลื่นยาวLong wave Theory(***) ไว้
เมื่อการถกเถียงเรื่องทุนนิยมตอนปลาย(Late Capitalism) เป็นประเด็น“Late Capitalism or Industrial Society?”ทุนนิยมตอนปลาย หรือสังคมอุตสาหกรรม? (AKA “Is Marx Obsolete?”คือ มารกซ์ล้าสมัยเชยแล้ว?****)นี่เป็นตัวอย่างข้อถกเถียงยาวนานของปัญหาทุนนิยมในโลกของเรา มาถึงยุคนี้ด้วยซ้ำ
แน่ละ ผมนำเสนอผ่านภาพประกอบเป็นผลงานของเมนเดล ในหนังสือฉบับแปลภาษาไทย ที่มีเรื่องปลาใหญ่กินปลาเล็ก ที่ผมเคยกล่าวไว้ ทั้งเรื่องการแข่งขันในทุนนิยม การสะสมทุน การผูกขาด และทุนนิยมใหม่(Neo capitalism)โดยอธิบายช่วงยาวของทุนนิยม(*****) และอิทธิพลของทุนนิยมในทุกแผนที่ของโลก
โดยสรุป เราอยู่ในช่วงยาวนานของทุนนิยมที่ผมได้ยกตัวอย่างเปรียบเทียบไว้(******) มาต่อเนื่องด้วย
*การปรับตัวเข้าสู่ยุคใหม่ของสยามและพม่า ถอดความจากRiggs,Fred W., “The Modernization of Siam and Burma” ดูเพิ่มเติมลิ๊งค์ :อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระประชากรบริรักษ์ (ประชา สุนทรศารทูล)ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันจันทร์ ที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๖ รายละเอียดเพิ่มเติม: จัดพิมพ์เรื่อง คุรุวาทะ และ การปรับตัวเข้าสู่ยุคใหม่ของสยามและพม่า เรียบเรียงโดย ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง และ นายอมร โสภณวิเชษฐ์วงศ์
http://www.lungkitti.com/product.detail_844936_th_6116913#
** เฉลยที่มาคำสลักบนหมุดใหม่หลังรื้อถอน ‘หมุดคณะราษฎร’
http://thaienews.blogspot.com/2017/04/blog-post_67.html
ดูเพิ่มเติมอรรคพล สาตุ้ม+24 มิถุนากับพระยาพหลพลพยุหเสนา ในฐานะทหาร และลูกชาย ที่ชื่อประชาธิปไตย
https://prachatai.com/journal/2010/06/30104
ช่วงก่อนผมเคยโพสต์เรื่องหมุดด้วย

ดูเพิ่มเติมหลวงชำนาญยุทธศิลป์ (เชย รยะนันท์) ยังเป็นผู้อ่านคำประกาศฉบับต่าง ๆ ของคณะราษฎรให้แก่ราษฎรที่ออกมาดูเหตุการณ์ด้วย
***https://en.wikipedia.org/wiki/Ernest_Mandel
ดูเพิ่มเติมเปรียบเทียบวารสารฟ้าเดียวกัน ปีที่ 5 ฉบับที่ 4 ในกรณีเวทีที่ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร กล่าวถึงรัฐ-ชาติกับโลกาภิวัตน์ หลังยุคสงครามเย็น และหลังสมัยใหม่
ดูเพิ่มเติม Ernest Mandel Late Capitalism(1972/1975)
https://www.marxists.org/archive/mandel/1972/latecap/index.html
Mandel on Althusser,Party and Class(1982)
https://www.marxists.org/archive/mandel/1982/xx/althusser.htm
****Adornoนักทฤษฎีของสำนักแฟรงเฟริต์สคูล
https://www.marxists.org/reference/archive/adorno/…/late-capitalism.htm
*****ภาพประกอบจากหนังสือหลักเศรษฐศาสตร์มาร์กซิสม์เบื้องต้น ดูเพิ่มเติมได้ดาวน์โหลดฟรีมีทางเน็ต
และผมเคยเขียนถึงมาแล้วโดยเรียบเรียงย่อๆ ไอเดียดังกล่าวด้วย

26 มีนาคม เป็นวันคล้ายวันสถาปนากิจการรถไฟ

กรณีที่เขียนล่าสุดเรื่องLate Capitalism ผ่านหนังสือ24/7: Late Capitalism and the Ends of Sleep

(ภาพประกอบผมจะเลือกหมอนสำหรับการนอน)
******“การสะสมความทรงจำ อำนาจ ผู้นำ”
18 เมษา
“การสะสมความทรงจำ อำนาจนำของแผนที่ ใน Late Capitalism”
วันนี้ในอดีต มีการทำแผนที่สำเร็จ จากการดำเนินการขยายสามเหลี่ยม จากเชียงใหม่ให้มาบรรจบกับงานขยายสามเหลี่ยมของอังกฤษ และได้ทำการสำรวจทางเชียงของ จนถึงหลวงพระบาง และได้เสร็จสิ้นลง เมื่อวันที่ 18 เมษา 2435 ซึ่งเป็นเวลาที่ไทยเกิดเหตุกับร.ศ.112 พอดี ทีนี้ เรามาย้อนดูประวัติศาสตร์
โดยแผนที่ “ราชอาณาจักรสยามและประเทศราช” ฉบับแมคคาร์ธี พ.ศ. 2431(หรือMap of the kingdom of Siam and Its Dependencies)ใน (ค.ศ. 1888) :“แผนที่สยาม-แมคคาร์ธีฉบับแรก (2431/1888)” นั่นเป็นแผนที่สยามในยุคสมัยนั้น ที่ให้รายละเอียดทางภูมิศาสตร์เป็นอย่างมาก เพราะนี่เป็นผลจากวิทยาการการสำรวจ (survey) และการทำแผนที่ที่ก้าวหน้ายิ่งในสมัยนั้น แมคคาร์ธีเอง ก็มีประสบการณ์โดยตรงในการร่วมไปในกองทัพปราบฮ่อ ในตอนต้นของรัชสมัยนั้น ทำให้ท่านมีข้อมูลไม่น้อยเกี่ยวกับดินแดนที่เรียกว่า “สิบสองจุไท” นอกเหนือไปจากข้อมูลได้จากเชียงใหม่ และเลยเหนือขึ้นไปยัง “สิบสองปันนา”
ทั้งนี้ แผนที่ฉบับจริงของท่านนั้น จะใช้สีเหลืองอ่อนระบายเส้นที่ถือได้ว่าเป็น “พรมแดน” หรือ border ของสยามที่กำลังอยู่ในระหว่างการช่วงชิงกันของสองมหาอำนาจจากยุโรป คือ อังกฤษและฝรั่งเศส และในบางครั้งก็มีจีนเข้ามาเกี่ยวข้อง และอ้างอำนาจอธิปไตยของตนด้วย คือ ในแคว้นสิบสองปันนา ที่มีเมืองเชียงรุ่งเป็นศูนย์กลาง(*)
นี่แหละ ความเป็นมาของกำเนิดแผนที่สยาม หรือแผนที่ไทย ในยุคผลิตซ้ำด้วยเครื่องจักรกลของทุนนิยมการพิมพ์ โดยภาพประกอบของผมเล่าเรื่องแผนที่ดังกล่าว ซึ่งผมเคยเขียนงานแนวนี้มาแล้ว(**) เป็นประเด็นการสะสมความทรงจำ อำนาจนำของแผนที่(***) ในโลกทุนนิยมด้วย
อย่างไรก็ดี อนาคตเป็นการปลดปล่อยของอำนาจ ที่กดขี่เป็นอำนาจของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย
*http://haab.catholic.or.th/web/index.php?option=com_content&view=article&id=1173:2013-03-13-04-27-30&catid=127:2012-07-27-08-28-30&Itemid=66
ดูเพิ่มเติม Surveying and exploring in Siam (1900)
https://archive.org/details/surveyingandexp00mccagoog
The Land of the White Elephant: Sights and Scenes in Southeastern Asia….
https://archive.org/details/landwhiteelepha01vincgoog
(ภาพประกอบหนังสือ)
**อรรคพล สาตุ้ม:ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรต่อแม่น้ำโขง และการช่วงชิงอาณานิคมของตะวันตกกับสยาม
http://www.satit.up.ac.th/BBC07/AroundTheWorld/hist/140.htm
http://www.vcharkarn.com/varticle/32182
อรรคพล สาตุ้ม:ย้อนดูภาพยนตร์ “พระเจ้าช้างเผือก” สงคราม สันติภาพ และชาตินิยม (ตอนที่ 1)
https://prachatai.com/journal/2007/12/15265
(ดูภาพประกอบของแผนที่)
***ผมเขียนมาต่อเนื่องแล้วดูเพิ่มเติมตามลิ๊งค์ https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1671625399533348&id=100000577118415
(รายละเอียดจากสนธิสัญญาเบอรนี่ถึงวันนี้ในอดีตเป็นวันสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง ที่มีความเกี่ยวพันแรงงานด้วย)
22 เมษา
ผมไปร่วมงานมาต่อเนื่อง ในงานประวัติศาสตร์แรงงาน เจอคนดังก็ขอถ่ายรูปมาขำขำกับมร.เพนกวิน หรือผมพบปะสนทนาผู้คนหลายคน😎 ไม่ได้เจอกันนาน อย่างกันเอง รวมทั้งแซวลูกศิษย์อ.อรรถจักร์ ที่ชอบเล่นเฟซฯทางมือถือด้วยว่าไม่รู้เหรอ อ.เค้าบอกเล่นแล้วซึมเศร้า555
ว่าแต่ว่าพรุ่งนี้ผมต้องเตรียมพูด จะปราศัย 5 นาที(*) กับพูดปกติตามที่กล่าวกับที่ประชุมไว้ ฮร่าๆ
*แนะนำเครือข่ายแรงงานภาคเหนือ (อรรคพล สาตุ้ม)

การสะสมความทรงจำ ผู้นำ อำนาจสตรีสากล และการสะสมยุทธศาสตร์

2 มีนา
“การสะสมความทรงจำ ผู้นำ”
เมื่อผู้เขียนกลับมาทบทวนความทรงจำ ที่เคยเก็บสะสมความทรงจำไว้ โดยการสะสมน้ำกลายเป็นบึงได้ อุปมาคนเป็นผู้นำ สะสมความทรงจำบทเรียนไม่ดี เหล่าผู้นำในอดีต เช่น พระพุทธอิสระ(*)เป็นต้น พระเคยปลุกมวลชนถล่มเมืองกรุงเทพฯ
ผู้นำของพระสงฆ์อย่างพระธัมมชโย ถ้าเปรียบเปรยการถูกโค่นล้มอย่างทักษิณ(**) ต้องทำลายเครือข่ายธรรมกายอย่างมหาศาลด้วย แน่ละกรณีมีรายละเอียดเชิงข้อเท็จจริงให้สะสมความทรงจำ(***)ไว้ในสังคมไทย
*พุทธะอิสระ โพสต์แรง เทียบ ธัมมชโย กับกบฎผีบุญ
http://www.matichon.co.th/news/475986
“อุดมการณ์และวัฒนธรรมพุทธไทย” กรณีครูบาศรีวิชัยกับพระธัมมชโย

**2 มีนา 2016(ภาพและรูปประกอบใหม่)
***การสะสมความทรงจำ(จบ)
ส.บุญมี(1)
ผมไปลำพูน อยู่สามวัน ที่งานศพบ้านส.บุญมี หรือสิงห์ชัย ธรรมพิงค์ เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง เป็นประธานนกน.(*) ที่มีสมาชิกนกน.มากกว่าสองหมื่นคนข้อมูลจากหนังสือการเมืองภาคประชาชนในระบอบประชาธิปไตยไทย
(**) ผมได้ถ่ายทำสารคดีเก็บไว้ งานทำบุญขึ้นเรือนใหม่ “เรือนครูองุ่น มาลิก : หอประวัติศาสตร์ประชาชนภาคเหนือ” ณ สวนอัญญา ถ.ห้วยแก้ว ซ.1 (***) เมื่อวันที่ 3 ธันวา 59 ด้วย
*ประธานกลุ่มแนวร่วมเกษตรกรภาคเหนือ.(ส.ย่อจากสหาย นามจัดตั้งบุญมี ทำให้คิดถึงหนังเรื่องลุงบุญมีระลึกชาติ)
ภาพประกอบจากหนังสือย้ำยุค รุกสมัย : เฉลิมฉลอง 40 ปี 14 ตุลา
**ผมเคยเขียนทบทวนขบวนการเคลื่อนไหวฯไว้ ในNSM :New Social Movement and OSM of nation.
http://akkaphon.blogspot.com/2015/06/nsm-new-social-movement-and-osm-of.html
***ข้อมูลสวนอัญญา – เฮือนครูองุ่น มาลิก : หอประวัติศาสตร์ประชาชนภาคเหนือในเฟซฯสหายส.บุญมี

อรรคพล สาตุ้ม ใช่ ลุงใจ จริงๆรู้จักกันมานาน หลายเรื่องความทรงจำผมก็หลงๆลืมๆไปบ้างอย่างข้อมูลนกน.ก็มาแก้ไขสมาชิกมากกว่าสองหมื่นคน มีรายละเอียดอีก เช่น นกน.มีอยู่สี่จังหวัด เชียงราย ลำพูน ลำปาง เชียงใหม่และเรื่องลุงใจ กรณีติดตามการเมืองอย่างเหตุการณ์ปี53 เป็นต้น
10.3
ส.บุญมี(จบ)
ผมไม่ได้หนังสืองานศพ ที่มีอยู่สามเล่ม ในงาน เพราะหนังสือหมดก่อน ได้มาครอบครองและสะสมไว้ ความทรงจำของผมต่อส.บุญมี ยกตัวอย่างจากสิบปีก่อนมาถึงเหตุการณ์สำคัญอย่างประชามติที่ผ่านมาปีที่แล้วผมต้องยกกล่องเอกสารที่ผมเคยโพสต์ภาพ เอกสารโหวตโน ตอนนั้นก็มีส.บุญมีเห็นด้วย
นี่เป็นภาพที่ผมถ่ายกับอ.ชินอิชิ(*) ที่เป็นผู้สัมภาษณ์ส.บุญมี ร่วมกับอ.อรรถจักร์ แน่ละผมก็ต้องพบปะผู้คนมากถ่ายภาพมาเผยแพร่บางส่วน อีกส่วนคลิปก็ยังไม่ได้เผยแพร่ด้วย
*ประวัติอ.ชินอิชิ ผมเคยเขียนไว้แล้วค้นดูได้
12.2
“การสะสมความทรงจำ อำนาจของสตรีแรงงานสากล”
วันที่12มีนา(วันสำคัญเสียชีวิตซุนยัดเซ็น นักปฏิวัติชาย มีนักปฏิวัติที่เป็นผู้หญิง?) เปรียบเทียบ8 มีนา พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) – มีการเฉลิมฉลองวันสตรีสากลขึ้นเป็นครั้งแรก เป็นวันสตรีสากล (อังกฤษ: International Women’s Day) เดิมเรียก วันสตรีแรงงานสากล (อังกฤษ: International Working Women’s Day) มีการเฉลิมฉลองในวันที่ 8 มีนาคมของทุกปีในแต่ละภูมิภาคความสนใจของการเฉลิมฉลองมีตั้งแต่การเฉลิมฉลองความนับถือ ความซาบซึ้งและความรักต่อหญิงสำหรับความสำเร็จทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมของหญิงทั่วไป
โดยผมเขียนถึงwood ผู้เขียนเรื่องแรงงานเป็นนักวิชาการสตรี ที่เสียชีวิตปีที่แล้ว(*) ผู้เขียนถึงความสัมพันธ์ หมายถึงความสัมพันธ์ของการขูดรีด ความขัดแย้ง และการต่อสู้เป็นตัวสร้างแรงกระตุ้นให้กับกระบวนการของการก่อตัวทางชนชั้น(**)ส่วนตัวผมตั้งข้อสังเกต ต่อ Labouring multitudeหรือเราสามารถเข้าถึงผลอุดมการณ์ของความสัมพันธ์สมัยใหม่ ระหว่างปัจเจกพลเมืองและ ชุมชมพลเมือง หรือชาติ ออกจากconsidering the degree to which that ‘imagined community’ is a fiction,a mythical abstraction(นามธรรม), ในความขัดแย้งกับประสบการณ์ของชีวิตประจำวันของพลเมือง
ดังนั้น เราอยู่กับชุมชนจินตกรรมฯ ในสังคมชาติไทย อดีตสตรีช้างเท้าหลังอุปมาเปลี่ยนไป โดยการสะสมทรงจำ(***)ข้อสังเกตก็น่าสนใจอย่างผู้นำทางการเกษตรเป็นผู้ชาย(****) แน่ละการทบทวนประวัติศาสตร์เปรียบเทียบเป็นเรื่องน่าสนใจ(*****)เช่น กำเนิดทุนนิยม กำเนิดชาตินิยม ในชาตินี้
* บทสนทนาผ่านอาหารหลายชาติ

Ellen Meiksins Wood มีหนังสือดังๆ ยกตัวอย่างDemocracy Against Capitalism: Renewing Historical Materialism(อ้างชุมชนจินตกรรมฯของอ.เบน) และอ.สศจ.เคยแนะนำหนังสือ The Origin of Capitalism: A Longer View (กำเนิดของทุนนิยมฯ) การต่อเนื่องจากดีเบตที่มืชื่อเสียงระหว่าง Dobbs กับ Sweezy (ที่ “ทรงชัย ณ ยะลา” เคยเอามาอ้าง…)โดยที่มี Robert Brenner เข้าร่วมการดีเบตด้วยในช่วงหลัง (บทความ Brenner, “The Origins of Capitalist Development: A Critrique of Neo-Smithian Marxism”… ชื่อบทความเปรียบเทียบกับชื่อหนังสือของ Wood) งานของ Wood วางอยู่บนฐานงานของ Brenner ซึ่งวางอยู่บนฐานอัลตูแซร์อีก..
ดูเพิ่มเติมThe Origin of Capitalism: A Longer View(ฉบับอ่านฟรีพีดีเอฟ)
https://cominsitu.files.wordpress.com/2016/01/ellen-meiksins-wood-the-origin-of-capital-a-longer-view.pdf
ดูประวัติWood เพิ่มเติม
https://en.wikipedia.org/wiki/Ellen_Meiksins_Wood
The Strike at York University(การนัดหยุดงาน ที่มหาวิทยาลัยYork)
A sign of the times ดูบทความIn memory of Ellen Meiksins Wood
https://canadiandimension.com/articles/view/the-strike-at-york-university
(ภาพประกอบจากยูทูป)
** Andrew brown ได้เคยเขียนบทความเกี่ยวกับแรงงานไทยอิงบริบทประวัติศาสตร์ถึงพฤษภา35 ในชื่อบทความว่า “Locating working class”(การกำหนดพื้นที่อำนาจของชนชั้นแรงงาน)โดยชี้ให้เห็นว่าความสำคัญของชนชั้นและการต่อสู้ทางชนชั้น อยู่กับความสัมพันธ์ ซึ่งอ้างงานของEllen Meiksins Wood กับหนังสือDemocracy against capitalismฯ(อ้างงานของE.P.Thompsonใน The Making of the English Working Class) ฉบับอ่านฟรี
https://cominsitu.files.wordpress.com/2016/01/ellen-meiksins-wood-democracy-against-capitalism-renewing-historical-materialism-1995.pdf
ดูประวัติผลงานของbrown เพิ่มเติม
https://www.une.edu.au/staff-profiles/humanities/abrown2
***การสะสมความทรงจำ ผู้นำ

ประเด็นเรื่อง “แผน”และ “แผนที่ความทรงจำ”

****ส.บุญมี(บทสนทนากับรุ่นพี่คนหนึ่งในงานศพและเกร็ดสนทนาอื่นๆ ที่น่าสนใจมีโอกาสจะเล่าในครั้งต่อไป)

*****เสวนา : “ประวัติศาสตร์วันสตรีสากล และการต่อสู้ของผู้ใช้แรงงานทั่วโลก”
http://prachatai.com/journal/2008/03/15996
(ผมไปงานสตรีสากล ขณะนั่งอยู่ที่หน้าศาลากลางมีคนอยู่ห้าคนทหาร ฝ่ายความมั่นคงฯลฯถ่ายรูปกันใหญ่ และเล่าให้บางคนฟังหัวเราะคุณเป็นผู้ชายส่งเสริมสิทธิสตรี)
12.3
“พระธัมมชโย เปรียบเทียบวัดอุโมงค์ หลวงพ่อปัญญากับหลวงพ่อพุทธทาส มุมมองกรณีแรงงานนอกระบบพ่อค้าผลไม้ฆ่าตัวตาย และมวลชน”
ผมเคยเขียนเรื่องพระธัมมชัยโย และธรรมกายมาบางส่วนแล้ว(*) ซึ่งผมมีเรื่องรายละเอียดอยากจะเล่าย่อๆในแง่ประสบการณ์ส่วนตัว กรณีผมเคยประกวดแข่งขันธรรมะได้รางวัลระดับภูมิภาคของธรรมกาย ในสมัยมัธยม ก็จะไปรับรางวัลหน้าเสาธง โรงเรียน(ใบประกาศนียบัตรยังมีเก็บไว้ไม่มีภาพเผยแพร่) ซึ่งผมได้ข่าวว่าญาติของผม ก็อยู่ในธรรมกายขณะนี้ โดยความสัมพันธ์ที่ญาติผมรู้เรื่องนี้ มักได้รับการถ่ายทอดเรื่องวงในพอสมควรเป็นข้อมูลด้วย
อย่างไรก็ดี สำนักธรรมกายพัวพันกับวิทยาลัยสงฆ์ ฯลฯ กรณีการเปรียบเทียบธรรมกายกับหลวงพ่อพุทธทาสเร็วๆ นี้มีงานเขียนอ.นิธิ ได้เขียนถึงผมจับประเด็นเรื่องวัตรปฏิบัติและแนวทางคำสอนของท่านพุทธทาสในระยะแรก (2475-ประมาณ 2506) ชวนให้เป็นที่ระแวงสงสัยของรัฐ(**) เป็นต้น นี่ผมมาเขียนเพิ่มเติมกรณีหลวงพ่อปัญญากับหลวงพ่อพุทธทาส ณ วัดอุโมงค์ จ.เชียงใหม่ ความสัมพันธ์อันน่าสนใจลองค้นหาประวัติหลวงพ่อปัญญากับปรีดี พนมยงค์ หรือลองอ่านบทสัมภาษณ์ของผม เกี่ยวกับหลวงพ่อปัญญา(***)ตอนที่ทำงานโครงการย้อนรอยอดีตจิตรกรรมฯ(ภาพประกอบจากเว็บโครงการดังกล่าว)
ฉะนั้น ผมเล่าเรื่องสั้นชุมชนจินตกรรมฯ ในแง่ศาสนา การเมืองวัฒนธรรม ผ่านประสบการณ์การรับรู้ความแตกต่างมีพัฒนาการความนิยมของชนชั้นกลางในเมือง หรือการสะสมมวลชน ก็มาสนใจผู้นำพระอย่างวัดอุโมงค์ เปรียบเทียบกับธรรมกาย โดยมวลชนอย่างที่เป็นข่าวพ่อค้าผลไม้ ในการนิยามแรงงานนอกระบบเป็นพ่อค้า(****)ด้วย
*การสะสมความทรงจำ ผู้นำ

**นิธิ เอียวศรีวงศ์ : วัตรวิถีนอกรัฐ (1)
https://www.matichonweekly.com/column/article_27673
***ผมเคยเจอตัวจริงของหลวงพ่อปัญญา(กรณีเฉพาะพื้นที่วัดอุโมงค์ยังเกี่ยวพันเจ้าชื่น และกรณีการก่อตัว14ตุลาอีกด้วยเล่าแล้วยาว)
****การเขียนเรื่องธรรมกาย มีเขียนกันเยอะ แต่ในแง่นิยามแรงงานนอกระบบ เช่น พ่อค้าผลไม้ที่ฆ่าตัวตาย หรือกรณีผู้ช่วยเภสัชกรของวัดพระธรรมกาย เสียชีวิตด้วยโรคหอบหืดกำเริบ
16 มีนา
วันนี้ผมแวะมาปฏิบัติหน้าที่อัพเพจเครือข่ายฯย้อนรอยอดีตทบทวนประวัติศาสตร์ “เครือข่ายแรงงานภาคเหนือ”
ภาพข้อมูลปี2547ในหนังสือการเมืองภาคประชาชนในระบอบประชาธิปไตยไทยและภาพจากโครงการศึกษาอำนาจการต่อรองภาคประชาชนเพื่อความเป็นธรรมในการกระจายรายได้
16.2
จำนวนแรงงานข้าราชการลดน้อยลง อาจารย์มหาลัยเป็นพนักงานจากแนวคิดเสรีนิยมใหม่โดยสาระวิชาการ:ดาวน์โหลดเอกสารแจกฟรีรายงานผลการศึกษา
(ฉบับย่อ)
โครงการวิจัยเรื่อง “ความไม่เป็นธรรมด้านเศรษฐกิจและแรงงาน:
ปัญหาและข้อเสนอเชิงนโยบาย”
เรื่อง ปัญหาและอุปสรรคในการสร้างความเข้มแข็ง
และเอกภาพของขบวนการแรงงานไทย
20 มีนา
“การสะสมความทรงจำ และการสะสมยุทธศาสตร์”
วันนี้20มีนา เป็นวันชาติตูนีเซีย(*) ผมเล่าเรื่องสั้นๆ กรณีเหตุการณ์สำคัญของชาติ ที่คนเล็กคนน้อยเป็นแรงงานนอกระบบ ได้รับความสำคัญในชาติ สะท้อนในแสตมป์ตูนิเซีย ซึ่งจัดพิมพ์ขึ้นเพื่อสดุดีวีรกรรมของ บูอาซีซี โดยหนังสือพิมพ์ เดอะ ไทม์ส ในอังกฤษยกย่อง โมฮาเหม็ด บูอาซีซี พ่อค้าผลไม้ชาวตูนิเซีย เป็นบุคคลแห่งปี 2011 หลังจากที่เขาเป็นผู้จุดกระแสปฏิวัติประชาธิปไตยในอาหรับโดยไม่รู้ตัว
พ่อค้าวัย 26 ปี ซึ่งมาจากครอบครัวยากจนผู้นี้ จุดไฟเผาตัวเองในเมือง ซิดี บูซิด เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ปี 2010 เพื่อประท้วงการกดขี่ข่มเหงของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง เขาเสียชีวิตจากบาดแผลไฟไหม้ในช่วงต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา
การตายของ บูอาซีซี กระตุ้นให้ชาวตูนิเซียลุกฮือขึ้นประท้วงทางการ จนในที่สุดก็สามารถโค่นล้มรัฐบาลประธานาธิบดี ซิเน เอล อาบิดีน เบน อาลี ลงได้ ทั้งยังจุดกระแสปฏิวัติให้ลุกลามไปทั่วโลกอาหรับ นำมาซึ่งการล่มสลายของรัฐบาลประธานาธิบดี ฮอสนี มูบารัค แห่งอียิปต์ รวมถึงระบอบเผด็จการของพันเอก มูอัมมาร์ กัดดาฟี แห่งลิเบีย
“ความปรารถนาจะเข้าใจที่มาของระบอบกดขี่ ทำให้ บูอาซีซี เป็นหนึ่งในบรรดาผู้ที่ถูกยกอยู่เหนือการงานอันหนักหน่วง และการกดขี่ข่มเหงที่เกิดขึ้นทุกเมื่อเชื่อวัน” บทบรรณาธิการของ เดอะ ไทม์ส ระบุ
“ชีวิตที่แสนสั้นและการตายอย่างทุกข์ทรมานของเขา เป็นดั่งเสียงแตรประโคมให้โลกรู้ถึงชีวิตของสามัญชนคนหนึ่ง”…(**) นี่เป็นบทบันทึกสะสมความทรงจำ(***) ต่อเนื่องของผม โดยเปรียบเทียบกับไทย ที่เคยเขียนไว้บ้างแล้วในแง่ผู้กระทำการหรือผู้นำ(****)
โดยสรุป กรณีตัวอย่างดังกล่าวเป็นModel สำหรับข้อเสนอสะสมยุทธศาสตร์(*****) โดยเรา คือ ประชาชน เป็นคนละแบบกับคสช.เสนอยุทธศาสตร์ชาติด้วย
*March 20: Independence Day
https://en.wikipedia.org/wiki/Public_holidays_in_Tunisia
**“เดอะไทม์ส” ยกย่อง “พ่อค้าผลไม้ตูนิเซีย” ต้นตอปฏิวัติอาหรับเป็นบุคคลแห่งปี 2011
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9540000165840
***2 มีนา วันสำคัญทางการเมืองไทยในอดีต ที่ผมเคยเขียนเปรียบเทียบอาหรับสปริง

ดูเพิ่มเติมการเขียนเปรียบเทียบต่อเนื่องของผม ยกตัวอย่างย่อๆ ตามลิ๊งค์ได้
“พระธัมมชโย เปรียบเทียบวัดอุโมงค์ หลวงพ่อปัญญากับหลวงพ่อพุทธทาส มุมมองกรณีแรงงานนอกระบบพ่อค้าผลไม้ฆ่าตัวตาย และมวลชน”
“การสะสมความทรงจำ อำนาจของสตรีแรงงานสากล”

“เครือข่ายแรงงานภาคเหนือ”
****กรณีเปรียบเทียบกับทักษิณ ในปัญหาเรื่องStuctureกับagency ซึ่งผมเคยอ้างบทความนี้(ลองย้อนดูลิ๊งค์ของผมได้) แล้วอ่านดาวน์โหลดฟรี
http://www.library.polsci.chula.ac.th/dl/6ccf1fa20728a59eaf718dd93aaea865
*****สะสมยุทธศาสตร์ฯนี้ไอเดียส่วนใหญ่ได้ดัดแปลงมาจากประเด็นการสะสมความทรงจำ ในหนังสือชุมชนจินตกรรม: บทสะท้อนว่าด้วยกำเนิดและการแพร่ขยายของชาตินิยม ที่ผู้เขียนได้เคยกล่าวไว้ ทั้งงานเขียนของ David Harvey:The Condition of Postmodernity: An Enquiry into the Origins of Cultural Change และ Bob Jessop :Accumulation Strategies, State Forms, and Hegemonic Projects.
ดูการเขียนถึงBob Jessop ในภาษาไทย
http://documentslide.com/documents/kengkit-comment-by-somsak-jeamteerasakul.html
(ดูเพิ่มเติมค้นหาคลิป :จากพฤษภาประชาธรรมถึงรัฐประหารฯที่วิเคราะห์งานเก่งกิจ โดยอ้างอ.ไชยันต์ รัชชกูลด้วย)
ผู้สนใจอ่านเพิ่มเติมงานแนวทฤษฎี และอื่นๆ โดยBob Jessop ดูได้ที่เว็บลิ๊งค์
https://www.academia.edu/30101568/On_the_originality_legacy_and_actuality_of_Nicos_Poulantzas
(ภาพประกอบเส้นทางการเดินทาง อุปมาโรดแมป)