วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

14 ตุลา 2516 บนถนนราชดำเนิน –หลัง13 ธันวา 2551 : “เครื่องมือ”ทางการเมืองคนไทย

14 ตุลา 2516 บนถนนราชดำเนิน – หลัง 13 ธันวา 2551: “เครื่องมือ” ทางการเมืองของคนไทย

14 ตุลา 2516: “จากพัฒนาการทางการเมือง ในความทรงจำ อำนาจ บนถนนราชดำเนิน เปรียบเทียบ เสียง ความทรงจำ กับอำนาจ: การไม่มีเสียงโฟนอินของทักษิณ ณ สนามศุภชลาศัยฯ ซึ่งมุมมองเกี่ยวกับเสียง-โสตนิเวศ และการโหวต (Vote) เสียงในรัฐสภา รวมทั้งแนวร่วมของหลายพรรค ชูอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรี กับประเด็นความเหมือน และความแตกต่างของ “เครื่องมือ”ทางการเมืองไทย ในอดีต 14 ตุลา-เสียงสะท้อนการต่อสู้ของเสื้อแดง-เหลือง และประชาชนในปัจจุบัน”

อรรคพล สาตุ้ม



เสียงเชียร์ของกลุ่มเสื้อแดง กับ “เครื่องมือ” ในพัฒนาการทางการเมืองไทย

จากวันที่ 24 มิถุนา ในอดีตเป็นวันชาติ ซึ่งสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ชี้ให้เห็นถึง “ความสำเร็จและล้มเหลวของอุดมการณ์รัฐแบบใหม่ผ่านประวัติศาสตร์วันชาติ” ในบทความ “ประวัติศาสตร์วันชาติไทย จาก 24 มิถุนาถึง 5 ธันวา” [1] ก็มีการกล่าวถึงประวัติศาสตร์วันชาติดังกล่าว



และผมก็เริ่มตั้งต้นขยายความต่อว่า ความเปลี่ยนแปลงวันชาติ วันชาติเป็นวันต้นไม้ประจำปีของชาติ และ 28 กรกฏา ในอดีตเป็นวันกองทัพบก ฉลองชัยชนะอินโดจีน-การเปลี่ยนแปลงวันต้นไม้ประจำปีของชาติ และเริ่มต้นวันสิ่งแวดล้อมไทย โดยมองผ่านประวัติศาสตร์ดังกล่าวจาก วันที่ 24 มิถุนา, 28 กรกฏา, 4 ธันวา, 10 ธันวา และ Young PAD ในประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งผมนำเสนอการวิเคราะห์ถึง ระบบการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมโดยภาพรวม



ในสถานการณ์เกี่ยวกับก่อนวันที่ 13 ธันวาคม 2551 ผมเขียนเรื่อง “เสียง ความทรงจำกับอำนาจ: เสียงโฟนอินของทักษิณในสนามกีฬา” ว่าด้วยเสียงเป็นสิ่งแยกไม่ออกจากประวัติศาสตร์และความทรงจำของการพูดต่อประชาชน มันจึงมี “ความหมาย” และกลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้ สะท้อนถึงอำนาจทางการเมือง ทางด้านโสตนิเวศ [2] และเสียงเชียร์ของประชาชน ต่อทักษิณ



ซึ่งผมจะนำข้อมูลบางด้านจากการถกเถียงของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุลต่อธงชัย วินิจจะกูล เรื่อง “หลัง 14 ตุลา ในทัศนะของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล” [3] โดยทัศนะของผม สิ่งที่สมศักดิ์ ชี้ให้เห็นการเปลี่ยนแปลง “โครงสร้างอำนาจรัฐ” คือ หลัง 14 ตุลา 2516 ศูนย์กลางอำนาจไม่ได้อยู่ที่รัฐสภา ปรากฏการณ์ที่แสดงออกเด่นชัดที่สุด และมักพูดกัน คือ “นายกไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง” ซึ่งการได้รับเลือกตั้งให้มีเสียงข้างมาก ในสภาไม่ได้เป็นเงื่อนไขให้นายกรัฐมนตรี พรรคที่ได้รับเลือกตั้งให้เป็นเสียงมากที่สุดในสภา ก็ไม่ได้หมายความว่าจะได้มีอำนาจจริงๆ แม้แต่กรณีพี่น้องปราโมช (สำนวนสมศักดิ์) ก็เป็นรัฐบาลได้ด้วยการต้องได้รับการยอมรับ หรือเห็นชอบ โดยนัยจากอำนาจอื่นนอกสภา แม้แต่ตำรวจ ซึ่งไม่ได้มีกำลังจัดตั้งติดอาวุธแบบทหาร ก็ยังไม่ได้อยู่ใต้การควบคุมของรัฐบาลเต็มที่(ตำรวจไม่ได้เป็นเครื่องมือ)เหตุการณ์อย่างม็อบตำรวจบุกพังบ้านคึกฤทธิ์ ปราโมช ในปี 2518 หรือกรณีสล้าง บุนนาค ในเหตุการณ์ 6ตุลา เป็นต้น ตัวอย่างที่ดีของการที่รัฐบาลจากรัฐสภาควบคุมตำรวจไม่ได้จริงๆ



กระนั้น ผมคิดแตกหน่อความคิด ที่มีต่อสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ว่า deja vu : ทักษิณ V นายกฯพระราชทาน, พิบล-เผ่า V สฤษดิ์ [4] ทำให้ผม ครุ่นคิดเกี่ยวกับเรื่องบทเรียนทางประวัติศาสตร์จากยุคสฤษดิ์ ซึ่งในครั้งนั้น ใช้เครื่องมือ คือ ทหาร-เรื่องพระราชอำนาจ ทำให้เราเรียนรู้ การศึกษาความเหมือนและความแตกต่าง ในมุมมองของผม สะท้อนกลับไปเรื่องข้ามให้พ้นประชาธิปไตยแบบหลัง14 ตุลา 2516 โดยนักศึกษา ฯลฯและ“เครื่องมือ” ทางการเมืองใหม่ของเสื้อเหลือง คือ รัฐบาลแห่งชาติ (มาตรา 7) ในความเกี่ยวข้องพระราชอำนาจ กับกรณี เครื่องมือของเสื้อแดง คือ ทักษิณ ซึ่งมาจากการเลือกตั้งทางประชาธิปไตย พบเจอกับรัฐประหาร ในวันที่ 19 กันยา 2549 คล้ายกับวันที่ 16 กันยา 2500 ยุคสฤษดิ์ โดยอายุประมาณ 6 ปีของรัฐบาลสฤษดิ์ และอายุประมาณ 5 ปีของทักษิณ ตามมาด้วยการถกเถียง รัฐประหาร 19 กันยา ก็มีข้อสังเกตต่างๆ นานา [5]



เมื่อต่อมาด้วย ชัยชนะของการเลือกตั้งโดยพรรคพลังประชาชน และโดนยุบพรรคตามมาล่าสุด เพราะเครื่องมือทางกฎหมาย โดยตุลาการภิวัฒน์ ดังกล่าว และจากนั้น ทหารแทรกแซงในเรื่องของรัฐประหารเงียบ [6] และการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อสีแดง ที่มีอารมณ์ ความรู้สึกของประชาชน คนไม่ใช่เครื่องมือ หรือ เครื่องจักร ไม่มีอารมณ์ และ “เครื่องมือ” คือ คน ก็ย่อมเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์และกาลเวลา โดยผม จะสะท้อนผ่านความทรงจำ อำนาจ บนถนนราชดำเนิน ผ่านบทสะท้อนของชาตรี ประกิตนนทการ และนิธิ เอียวศรีวงศ์ ในสถานการณ์ หลังทักษิณ ไม่โฟนอิน และอภิสิทธิ์ ว่าที่นายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับ “เครื่องมือ” ซึ่งเราจะเข้าใจถึงเครื่องมือจับปลา เครื่องมือสำหรับปลูกต้นไม้ เครื่องมือทางการสื่อสาร คือโทรศัพท์ และเครื่องมือสำหรับวาดรูปภาพ โดยการนิยามง่ายๆ ว่า “เครื่องมือ” คำนี้ ถูกใช้ทางการเมือง เช่นว่า ใช้รัฐเป็นเครื่องมือ,ทหารเป็นเครื่องมือ,ใช้ประชาชน เป็นเครื่องมือ และสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเครื่องมือทางการเมือง ฯลฯ



ครั้นแล้ว การย้อนมองประวัติศาสตร์ ในการใช้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเครื่องมือทางการเมือง ผ่านสถาปัตยกรรมบนถนนราชดำเนิน และการเมืองไทย 14-6 ตุลา - พฤษภา และ “เครื่องมือทางการเมือง” มาถึงสมัยในปัจจุบัน ในทัศนะเชิงเปรียบเทียบกับอดีต ดังจะกล่าวถึงในเชิงพัฒนาทางการเมืองว่าเสียงเชียร์ทักษิณของคนเสื้อแดง เป็นพัฒนาการเมือง ด้านประชาธิปไตย ต่อต้านเผด็จการทหาร และการรัฐประหารซ่อนรูป ในเครื่องมือทางการเมือง ที่มีชื่อว่า ทักษิณ กับการโฟนอิน (เครื่องมือ) เสียงของทักษิณให้เห็นถึง “อำนาจ และความทรงจำต่อทักษิณ” ว่าเป็นประเด็นสำคัญ ทำให้เกิดความพยายามไม่ให้ทักษิณ พูดความจริงวันนี้ ในรายการความจริงวันนี้ สัญจร ครั้งที่ 3 ณ สนามศุภชลาศัย ส่วนในโอกาสต่อไปจะเป็นเช่นไร ต้องติดตามมองผ่านอดีตก่อน แล้วย้อนเวลาสู่ปัจจุบัน



ย้อนมองเครื่องมือทางการเมืองใน 14 ตุลา บนถนนราชดำเนิน-ความเหมือน กับ ความแตกต่างของเครื่องมือของคนเสื้อแดง



ประเด็น 14 ตุลา มีการถกเถียงและนำเสนอกัน แง่มุมหลายแบบทั้งทางด้าน รัฐ,ชนชั้น ฯลฯ โดยผมเสนอ เรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และ ชาตรี ประกิตนนทการ “ความทรงจำ อำนาจ บนถนนราชดำเนิน” โดยผมเน้นย้ำ ประเด็น “เครื่องมือ” ดังจะขีดเส้นใต้ ต่อไปนี้



ราชาชาตินิยมประชาธิปไตย: ชัยชนะของสถาบันกษัตริย์บนถนนราชดำเนิน



สิ่งที่น่าสังเกตมากที่สุด ต่อกระบวนการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยของคนชั้นกลางใหม่ ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 คือ ในการต่อสู้กับเผด็จการทหาร ที่ยึดครองอำนาจรัฐ กลุ่มคนชั้นกลางใหม่เหล่านี้ กลับเลือกใช้สัญลักษณ์ของ “สถาบันกษัตริย์” มาเป็นเครื่องมือสำคัญในการต่อสู้กับอำนาจรัฐ ซึ่งทำให้ไม่เพียงแต่รัฐบาลเผด็จการทหารเท่านั้น ที่อาศัยอ้างอิง ความชอบธรรมจาก “สถาบันกษัตริย์” แต่ขบวนการนักศึกษาปัญญาชนคนชั้นกลาง ที่เรียกร้องประชาธิปไตย ก็มีบทบาทสำคัญไม่แพ้กัน ในการยก “สถาบันกษัตริย์” ให้สูงเด่นมากยิ่งขึ้น



การยกพระราชดำรัสเฉพาะบางตอน ในกรณีสละราชสมบัติของรัชกาลที่ 7 ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ในการต่อต้านเผด็จการทหาร การหวังพึ่งพระบารมีโดยนำพระบรมฉายาลักษณ์ มาเป็นสัญลักษณ์ในการต่อสู้ จนมาถึงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัส ผ่านทางวิทยุและโทรทัศน์ ในตอนหัวค่ำของวันที่ 14 ตุลาคม 2516 เพื่อให้ทุกฝ่ายระงับความรุนแรง และทรงแต่งตั้งนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เหล่านี้ได้กลายเป็นความทรงจำกระแสหลักอันหนึ่งที่ในบางมุม ก็เสมือนว่าสอดคล้องและหนุนเสริม กับความทรงจำว่าด้วยพลังมวลชน ต่อสู้เผด็จการ แต่ในอีกแง่หนึ่ง ความทรงจำนี้ ก็กลับแย่งชิงอำนาจนำ ในการอธิบายเหตุการณ์ 14 ตุลา ให้หลุดออกจากมือของประชาชนไปด้วยในเวลาเดียวกัน.. [7]



ประเด็น “เครื่องมือ” ดังกล่าวในการเมืองของไทย สมัยก่อน 14 ตุลาฯ 2516 คนที่เล่นการเมือง ก็คือข้าราชการ และวิธีการเล่นการเมืองก็ใช้เส้นสนกลใน วิ่งเต้นตามสายราชการ กับทำรัฐประหาร ส่วนพวกนายทุน หากต้องการส่งอิทธิพลต่อการเมืองและนโยบายอะไรต่างๆ ก็ต้องวิ่งเต้นกับข้าราชการนั่นแหละ จนกระทั่งมวลชนเดินเข้าสู่หน้าประวัติศาสตร์ และเมื่อ 14 ตุลาฯ (กรณี"บันทึกลับจากทุ่งใหญ่") หลังจากนั้นรูปแบบการเล่นการเมืองก็ปรับเปลี่ยนขยายตัวออกไป เพราะมวลชนไม่มีรถถัง จึงไม่สามารถก่อรัฐประหารได้ ไม่มีเส้นสายจึงไม่สามารถวิ่งเต้นอะไรกับใครเขาได้ รูปแบบการเล่นการเมืองของมวลชน จึงได้แก่การเลือกตั้งและการประท้วงบนท้องถนน และก็ชุมชนในจินตนากรรมแห่งชาติ ทั้งสองฝ่ายซ้ายกับขวานี้เอง ที่เข้าปะทะชนกันในพื้นที่รัฐชาติเดียวกันระหว่าง 14 ตุลาฯ 2516 - 6 ตุลาฯ 2519 เหนืออื่นใดเพื่อแย่งชิงรัฐ อันเป็นเดิมพันยอดปรารถนาและรางวัลสูงสุด ที่ต่างฝ่ายต่างต้องการได้มาไว้เป็นเครื่องมือที่ขาดเสียมิได้



ในการธำรงรักษาหรือเปลี่ยนแปลงสร้างสรรค์ชาติ และชุมชนในจินตนากรรมของตนให้ปรากฏเป็นจริง ดังกล่าวจากบทเรียนผ่านประวัติศาสตร์ โดยตั้งใจ(หรือไม่ตั้งใจ ก็ตาม) ต่อเครื่องมือทางการเมือง นำไปสู่ประเด็นที่ผม มองพัฒนาทางการเมืองของเครื่องมือ วันที่ 14 ตุลา บนถนนราชดำเนิน ไม่ว่าจะเป็นการพิจารณา “มุมมองผ่านเครื่องมือ” ในเงื่อนไขของประเด็นสำคัญ คือ “ความเหมือนและความแตกต่าง” ในการมองปัญหา ว่า หลัง 14-6 ตุลา และพฤษภา 35(ประชาธิปไตยแบบไทยๆ) มีความผิดพลาดและล้มเหลว สะท้อนอะไรบ้าง ที่เหมือนเดิม และอะไรใหม่บ้าง โดยการพิจารณา และวิเคราะห์ ผ่านมุมมอง ซึ่งนิธิ เคยใช้วิธีวิทยาเกี่ยวกับความแตกต่าง ในการอธิบาย 14 ตุลา และพฤษภา 35 ที่ชื่อ “ชาตินิยมในขบวนการประชาธิปไตย” [8] ที่นำเสนอว่าแกนสำคัญของการเคลื่อนไหวของขบวนการประชาธิปไตย 14 ตุลานั้นเป็นเรื่องของชาตินิยม



ทั้งนี้ นิธิ เริ่มต้นบทความของเขาโดยการชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และ พฤษภาทมิฬ 2535 ตรงที่ว่า เหตุการณ์แรกนั้น มีเรื่องของอุดมการณ์ชาตินิยม เข้ามามีส่วนร่วมในการต่อสู้กับเผด็จการ (แม้ว่าทั้งสองเหตุการณ์เป็นการต่อสู้เผด็จการทั้งคู่) นิธิอธิบายว่า ชาตินิยมของไทยนั้นคือแนวคิดในเรื่อง ชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ ที่ พระมหากษัตริย์ริเริ่มขึ้น นับตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และเนื้อหาลัทธินี้ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากเหตุการณ์ 2475 แต่อย่างใด นอกเหนือจากการเพิ่มเอาคำว่ารัฐธรรมนูญมาต่อท้าย และต่อมาเมื่อกองทัพเข้าครอบงำทางการเมือง คำว่ารัฐธรรมนูญก็ถูกตัดออก (เพิ่มประชาชน ในภายหลัง) และกองทัพก็เข้าคุมอุดมการณ์ดังกล่าว



เมื่อชาตินิยมมีความสำคัญ ในการเรียกร้องประชาธิปไตย พระมหากษัตริย์ก็อยู่ในฐานะแกนกลางของอุดมการณ์ชาตินิยม และอุดมการณ์ในการสร้างความเป็นไทยนั้น (นั่นเป็นเครื่องมือทางการเมือง)โดยส่วนมากแล้วก็เป็นการผสมผสานระหว่างแนวคิดเรื่องเชื้อชาติ และ ความจงรักภักดีต่อกษัตริย์ และในขณะเดียวกันก็จะต้องสร้าง “ศัตรูร่วม” ของชาติขึ้นมา นิธิ ชี้ให้เห็นว่า นอกเหนือจากการเรียกร้องรัฐธรรมนูญแล้ว การต่อสู้ในลักษณะของชาตินิยม อาทิ การต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น และ อเมริกา นั้นก็มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา เพราะว่าการจะต่อสู้กับศัตรูของชาติ ซึ่งหมายถึงระบบทุนนิยมโลกที่ประสานตัวกับนายทุนขุนศึกได้นั้น ก็จำต้องมีประชาธิปไตย และในขณะเดียวกัน เหตุการณ์ความขัดแย้งหลัง 14 ตุลา ก็เป็นเรื่องของการเผชิญหน้าระหว่าง ชาตินิยมสองกระแส คือ ชาตินิยมกระแสใหม่ (นักศึกษาที่ไปร่วมกับพรรคคอมฯ) และชาตินิยมรูปแบบเก่า ขณะที่เหตุการณ์ พฤษภาทมิฬนั้น ประเด็นเรื่องชาตินิยมไม่ได้เป็นประเด็นสำคัญในการต่อสู้กับเผด็จการ(แม้ว่า รสช. ทหาร จะชูเรื่องเอกราชและชาตินิยม แต่ชาตินิยมฝังอยู่กับเชื้อชาติ ตรงกันข้ามกับคนชั้นกลาง) [9] อิทธิพลของการอธิบาย ความทรงจำ อำนาจ บนถนนราชดำเนิน และชาตินิยมในขบวนการประชาธิปไตย ทั้งสองอย่างดังกล่าว มาจากรากฐาน ผลงานเกี่ยวกับชาตินิยม คือ Imagined Communities ของ Ben Anderson ซึ่งนิธิสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของ2535 ว่าชาติในมโนภาพของชนชั้นกลาง คือ หน่วยทางเศรษฐกิจการเมือง ที่ดำรงอยู่ท่ามกลางพึ่งพิงติดต่อกับประชาคมโลก(กระแสโลกาภิวัตน์) คนในชาติ แม้จะแตกต่างหลากหลาย แต่ก็เจริญเติบโตก้าวหน้าได้ด้วยการก้าวให้ทันโลก ความไม่เป็นประชาธิปไตย จึงเป็นอุปสรรคของการก้าวให้ทันโลก อุปสรรคหรือศัตรู จึงอยู่ที่ระบบการเมืองในประเทศ และการที่นักการเมือง และทหาร ในช่วงพฤษภา 35 ไม่เป็นเครื่องมือทางการพัฒนาประชาธิปไตย ต่อชนชั้นกลาง นี่เอง



จากการอธิบายภาพทางการเมืองดังกล่าว “ชาตินิยม เป็นเครื่องมือ” ที่มีใน14 ตุลา โดยทางตรงกันข้าม พฤษภา 35 (ก็ไม่มีประเด็น “เครื่องมือชาตินิยม”ที่ชัดเจน) บทบาทของจำลอง ศรีเมือง และสถาบันพระมหากษัตริย์ในการขจัดความขัดแย้งของชนชั้นกลาง ต่อ เผด็จการทหาร ซึ่งเครื่องมือสำคัญ คือสื่อสารมวลชน และการเรียกว่า ม็อบมือถือ ใช้โทรศัพท์มือถือ อื่นๆ ซึ่งพัฒนาการของประชาธิปไตย ที่ผ่าน 2535 จึงเป็นเครื่องมือต่อทางเศรษฐกิจ และวิกฤติเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ 2540 เป็นต้นมา พัฒนาการทางการเมืองของมวลชนล่าสุด คือ ยื่นเรื่องร้องเรียนกับบรรดาองค์กรตรวจสอบอิสระ นอกจากการเลือกตั้ง และเดินขบวนประท้วงบนท้องถนนแล้ว ซึ่งรูปการนี้เกิดขึ้นหลังมีรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปการเมือง พ.ศ.2540 โดยต่อมาบทบาทของนักการเมืองอย่างทักษิณ และพัฒนาการทางการเมืองการปรากฏการณ์ของสนธิ ไม่ว่าคำว่า อารยะขัดขืน(ถูกหยิบไปใช้อย่างลื่นไหล) ไม่เอาทักษิณ,ทักษิณคอรัปชั่น,ระบอบทักษิณ,เผด็จการรัฐสภาเสียงข้างมาก และทักษิณเหมือนสฤษดิ์ ต่างๆ นานา ในปี 2549 ผลรณรงค์ No Vote และเมื่อกลุ่มพันธมิตรไม่สามารถ ใช้เครื่องมือ คือนักการเมืองได้



ภาพของการเมือง ที่มีปรากฏการณ์เหมือนกับยุค 14 ตุลา 2516 ก็กลับมา “เครื่องมือชาตินิยม”(กู้ชาติ) ใช้เครื่องมือทหาร,สถาบันฯ,พรรคประชาธิปัตย์ ในกลุ่มพันธมิตร และกองทัพ ก็กลับมามีอำนาจบทบาทหลังรัฐประหารอีกครั้ง ดังกรณีเอกสารลับของทหาร (21 ก.ย. 50)เรื่องเล่าของราชาชาตินิยม โยงจากสงครามคอมมิวนิสต์ สมัย ตุลา 2519 ลงมาถึงความขัดแย้งทางการเมืองปัจจุบันว่าเป็นเรื่องเดียวกัน ข้างหนึ่งของคู่ขัดแย้ง คือ กองทัพกับสถาบันพระมหากษัตริย์ อีกข้างหนึ่งของคู่ขัดแย้งเปลี่ยนจากพรรคคอมมิวนิสต์ในอดีต กลายมาเป็นพรรคไทยรักไทยกับอดีตสหายบางคนในพรรคไทยรักไทย เป็นการต่อสู้รอบใหม่กับพลังฝ่ายตรงข้ามที่มาปรากฏในรูปของประชาธิปไตยกระฎุมพี การต่อสู้นี้จะต้องช่วงชิงมวลชนให้ได้ [10]



สิ่งที่สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลเสนอในบทความ “หลัง14 ตุลาฯ” ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างเรื่องโครงสร้างเชิงอำนาจ(รัฐ) ซึ่งโดยพื้นฐาน รัฐสภาได้กลายมาเป็นศูนย์กลางของอำนาจ ผู้ที่คุมรัฐสภาได้ก็สามารถควบคุมกลไกรัฐอื่นๆ(ควบคุมเครื่องมือได้) รัฐบาลไทยรักไทย เป็นการแสดงออกอย่างสำคัญที่สุด คือเรื่องการโยกย้าย นายทหารเป็นเรื่องของรัฐบาลเอง ไม่ใช่ของทหาร ซึ่งต่อมารัฐบาลสมัคร ก็ไม่สามารถควบคุม(เครื่องมือ)ทหารได้อีกแล้ว



ในด้านนโยบายประชานิยมของทักษิณ “การวิพากษ์วิจารณ์” โดย วอลเดน เบลโล ผู้ศึกษาวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 ซึ่งเขียนหนังสือและมีการแปลเป็นไทย ชื่อว่า โศกนาฏกรรมสยามฯ “วอลเดน” วิจารณ์ไว้ปี 2549 ว่า “เปรียบเทียบนโยบายประชานิยม ที่ใช้กันอยู่ในอาร์เจนตินาและหลายประเทศในละตินอเมริกา ว่า มีความแตกต่างจากสิ่งที่นายกรัฐมนตรีทักษิณ นำมาใช้ในประเทศไทยอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากนโยบายประชานิยมโดยหลักการแล้ว เป็นนโยบายที่ตอบสนองต่อผู้ไร้อำนาจ หรือคนกลุ่มต่างๆ ที่ไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรได้ เช่น การปฏิรูปที่ดิน การเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า แต่สิ่งที่รัฐบาลทักษิณทำคือ การให้ประโยชน์เฉพาะอภิสิทธิ์ชนบางกลุ่ม ซึ่งมีอำนาจและเงินตราอยู่แล้ว"ทักษิณไม่ได้เป็นนักประชานิยม แต่เขาใช้วิธีการแบบประชานิยมที่คำนึงถึงอภิสิทธิ์ชนบางกลุ่มเท่านั้น" [11]



เมื่อย้อนดูแนวทางของพรรคไทยรักไทย ตั้งแต่ชื่อของพรรค ก็สะท้อนเรื่องชาตินิยม และนโยบายทางการเมือง เรื่องชาตินิยมเช่นเดียวกัน แต่ว่า มีความแตกต่าง คือ “ผู้นำ” ทางการเมืองจากการเลือกตั้ง บทบาทสูงเด่นมาก และกลับตาลปัตร จากประชานิยมที่โดนวิจารณ์จากวอลเดน กล่าวไว้ ซึ่งประชานิยมของทักษิณ มีพลังบวกกับชาตินิยม คล้ายกับการเข้าไปร่วมของประชาชน นักศึกษากับพรรคคอมมิวนิสต์ ในหลัง14 ตุลา แต่ไม่ใช่เหมือนกันทั้งหมด ซึ่งองค์ประกอบของการพัฒนาการ ระดับขั้นนโยบายประชานิยมทางเศรษฐกิจของพรรคไทยรักไทย-พรรคพลังประชาชนและพรรคเพื่อไทย ชะงักงัน แต่ว่าสะท้อนเหนือกว่าบทบาททางการเมืองรัฐบาลทหาร ในอดีตมาก ดังนั้น การเปรียบเทียบทักษิณกับรัฐบาลฉายาขิงแก่ ของสุรยุทธ จึงเห็นได้ชัดว่า นับตั้งแต่ประชานิยมของทักษิณ ด้านเศรษฐกิจ สะท้อนเป็นหอกข้างแคร่ กลับเข้ามาทิ่มรัฐบาลในยุค 2550 จนเปลี่ยนรัฐบาลเป็นฝ่ายพรรคพลังประชาชน(สมัคร ในอดีต 6 ตุลาในอดีตพูดถึงมือที่มองไม่เห็น) ซึ่งน่าสังเกตต่อมาว่า “ขณะวิกฤติเศรษฐกิจจากอเมริกา”จะมีผลต่อรัฐบาลว่าที่นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์(ชน) นั้นเอง





เครื่องมือทางการเมืองของคนเสื้อแดง

โดยต่อไปการขีดเส้นใต้ของผม ดังกล่าว จะสะท้อน “เครื่องมือของคนเสื้อแดง” พัฒนาการขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมือง ใช้ “เครื่องมือ” ทางการเมืองไม่ใช่แค่สถาบันพระมหากษัตริย์ เกิดความแตกต่างจาก 14 ตุลา บนถนนราชดำเนิน เพิ่มทักษิณ และพรรคไทยรักไทย-พลังประชาชน และเพื่อไทย ต่อมาเป็น “เครื่องมือ”สำคัญ ในการรัฐประหาร 19 กันยา 2549 คือ ทหารขึ้นมา และใช้เครื่องมือ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ก็มีบทบาทชาตินิยม ตามด้วยรัฐธรรมนูญ 2550 (หลังรัฐประหาร) และยุบพรรคไทยรักไทย กลุ่มที่เป็นนักการเมือง เคยเป็นคน 6 ตุลา บางคนก็ยุติบทบาทชั่วคราวไป



และตามมาด้วย “การสร้างพรรคพลังประชาชน”(ไม่ใช่พรรคภาคประชาชน) และแรงหนุนจากกลุ่ม นปช. จนถึงเรื่อง “ทักษิณ” เป็นเครื่องมือทางการเมือง ในการรณรงค์ สำหรับการเลือกตั้งของพรรคพลังประชาชน ว่า “จะเอาทักษิณกลับบ้าน” ไม่ใช่แค่เครื่องมือชาตินิยมอย่างเดียว และผลพรรคไทยรักไทย-พลังประชาชน ในนโยบายประชานิยม เท่านั้น และแล้วทักษิณ ก็กลับมา – หนีไป (จนเกือบจะจนตรอกในปัจจุบัน) ซึ่งความเชื่อมั่นใจต่อทักษิณ (เครื่องมือ) ของจักรภพ สะท้อนผ่านหัวข้อ"ระบบอุปถัมภ์และประชาธิปไตยในการเมืองไทย" เป็นหัวข้อที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศตั้งให้แก่องค์ปาฐก… “…คุณจักรภพฝากความหวังไว้กับสองอย่าง หนึ่งคือการตื่นตัวของประชาชนเอง ซึ่งคุณจักรภพมองเห็นความตื่นตัวนั้นจากเสียงกว่า 40% ที่ลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ และสองคุณจักรภพคิดว่าต้องมีผู้นำที่เข้ามาจัดระเบียบ (ทางการเมือง) ใหม่ และคนคนนั้นคือคุณทักษิณ” (ทำลายระบบอุปถัมภ์และพัฒนาประชาธิปไตย) ในกลุ่มพรรคการเมือง-พวกทักษิณ ดังที่มีสะท้อนผ่านการเขียนของนิธิ เอียวศรีวงศ์ ยกตัวอย่างว่า “ตอนที่คุณทักษิณจะต้องตัดสินใจว่า จะตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นหลังรัฐประหารหรือไม่ เพียงได้รับโทรศัพท์จากใครบางคนในกรุงเทพฯ คุณทักษิณก็ตัดสินใจไม่ตั้ง แสดงว่าคนที่คิดว่าการกระทำของเขา ขจัดอำนาจของระบบอุปถัมภ์ออกไป ถึงตอนที่ต้องตัดสินใจในช่วงวิกฤตที่สุด เขากลับตัดสินใจไปบน(ฐานคิด)ของระบบอุปถัมภ์” เป็นการประเมินพลังทางการเมืองไทย สะท้อนถึงปรากฏการณ์เสื้อแดง ในขณะที่เปิดเผยเครื่องมือทางการเมืองนี้ และรื้อสร้าง-ทำลาย “เครื่องมือ” และภาพลักษณ์ทักษิณไปในตัวของบทความนี้ด้วย หรือไม่ (คือไม่ไว้ใจเครื่องมือ คือนักการเมือง ชื่อทักษิณ แต่ไม่เท่ากับเอเอสทีวี-ผู้จัดการ)



“….ความเป็นเครื่องมือของนักการเมืองไม่เสียหายอะไร นักการเมืองเด่นๆ ทั้งหลายก็ล้วนเป็นเครื่องมือทั้งนั้น แต่คงไม่มีนักการเมืองคนไหน ที่ทำให้ผู้คนคิดว่าเป็นเครื่องมือของตนได้กว้างขวางเท่าคุณทักษิณ เป็นเครื่องมือเข้าถึงทรัพยากรกลางโดยตรงของประชาชนรากหญ้า เป็นเครื่องมือเข้าสู่อำนาจของก๊วนการเมืองต่างๆ เป็นเครื่องมือเข้าสู่อำนาจทางการเมืองของนักวิชาการ,บุคคลสาธารณะ,ปัญญาชน,และนายทุนนักธุรกิจกลุ่มหนึ่ง ฯลฯ ความศรัทธาที่ผู้คนมีต่อคุณทักษิณ จึงเป็นความศรัทธาต่อเครื่องมือ และโชคดีของคุณทักษิณด้วย ที่ไม่มีฝ่ายใดพร้อมจะเสนอทางเลือกของเครื่องมือมาแทนที่คุณทักษิณ ไม่ใช่ คมช.,ไม่ใช่พรรคเพื่อแผ่นดิน, ไม่ใช่นายพลทั้งหลาย,ไม่ใช่พันธมิตร, และไม่ใช่พรรคประชาธิปัตย์ (ทั้งหมดเหล่านี้ก็เป็นเครื่องมือเหมือนกัน แต่เป็นเครื่องมือที่ถูกใช้แคบกว่า) และตราบเท่าที่เป็นเช่นนี้ เราจึงต้องยังอยู่กับคุณทักษิณ หรือเงาของคุณทักษิณไปอีกนาน” [12]



อย่างไรก็ตาม บทความของนิธิ ผมนำมาเสนอสั้นๆ เพื่อเป็นความคิด ต่อ“เครื่องมือ” ไม่ได้มาแก้เกี้ยว แก้ตัว และจับผิด “นิธิ เอียวศรีวงศ์” ถึงแม้ ตอนท้ายของบทความ น่าจะสะท้อนว่า ไม่ไว้ใจเครื่องมือ ที่มีชื่อว่าทักษิณ ก็ตาม เนื่องจากขอบเขตความคิดของผมก็จำกัด เพียงนำแนวคิดว่าด้วย “เครื่องมือ” จากการอ่านผลงานของ “นิธิ” มาเป็น “โจทย์”การมองสิ่งที่มองไม่เห็น โดยรู้ตัว หรือไม่รู้ตัวของนิธิ ในประเด็นดังกล่าวแล้วขึ้น กับ“ผู้อ่าน”หลากหลาย จะตีความบทความ ซึ่งความสำคัญในประโยชน์ของ “เครื่องมือ” ที่ซ่อนอยู่ในบทความนิธิ เปรียบเทียบวิเคราะห์ ในความแตกต่าง กับ 14 ตุลา บนถนนราชดำเนิน-สนามศุภชลาศัย เป็นสิ่งที่เสียงของคนเสื้อแดง นำไปใช้เป็นประโยชน์ เพราะสิ่งนั้นเป็นเครื่องมือ ในการเมือง-โฟนอินของทักษิณ เพราะว่า ทักษิณเป็นเครื่องมือให้รากหญ้า และทักษิณไม่เหมือนสฤษดิ์ ที่มาจากทหาร โดยการรัฐประหาร เนื่องจากทักษิณมาจากการเลือกตั้ง แม้ทักษิณอาจจะมีลักษณะอุปถัมภ์แบบสฤษดิ์ แต่ว่าก็มีบริบทแตกต่างทางเศรษฐกิจ ระบบโลกาภิวัตน์ นโยบายประชานิยม(หรือนโยบายสาธารณะของทักษิณ จะทำลายระบบอุปถัมภ์ในปาฐกถาจักรภพ) และ การเมืองในการเลือกตั้ง พรรคไทยรักไทย-พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย และฝ่ายตรงกันข้าม เรื่องเล่าบันทึกลับทหาร-กลุ่มพันธมิตร(ที่ถูกเรียกม็อบมีเส้น) พรรคประชาธิปัตย์ ก็ใช้เครื่องมือกรณีปราสาทเขาพระวิหาร ในการเป็นฝ่ายค้าน ต่อรัฐสภา และอภิปราย รัฐบาลพรรคพลังประชาชน ที่กล่าวไปแล้วนั้น สะท้อนโจทย์ของเครื่องมือทางการเมือง คือสิ่งที่ท้าทาย และน่าสนใจมาก




หลังจากไม่มีเสียงโฟนอินของทักษิณ (เครื่องมือ) ในสนามศุภชลาศัย และการได้รับโหวตของอภิสิทธิ์



จากการโฟนอินในสนามราชมังคลากีฬาสถาน ที่ทักษิณพูดถึง “แน่นอน ไม่มีใครเอาผมกลับประเทศไทยได้ นอกจากพระบารมีที่จะทรงเมตตา หรือ(และ)พลังของพี่น้องประชาชนเท่านั้นการพูดประโยคดังกล่าว สะท้อนพระบารมี-อำนาจของภาษา ในเสียงโฟนอินของทักษิณ (ดั่ง“Language and Power”) ถึงพี่น้องประชาชน โดยต่อมาการจัดงานครั้งล่าสุด ก็ถูกปิดกั้น “บล็อกสื่อ” ความจริงวันนี้ และตามด้วย ณ สนามกีฬาศุภชลาศัย จึงฉายเทปวิดีโอแทนการโฟนอิน โดยทักษิณกล่าวว่า“อย่าให้ผม(หมา)จนตรอก และการแสดงออกว่าด้วยความจงรักภักดี ฯลฯ” และวีระ หนึ่งในแกนนำ ก็กล่าวถึงการไม่มีโฟนอินว่า “เพื่อแลกกับตั้งรัฐบาล โดยการไม่โฟนอิน”



สะท้อนว่าทักษิณ และเสียงโฟนอิน เป็น “เครื่องมือ” (อำนาจ) แลกเปลี่ยนทางการเมือง ที่เชื่อว่าไม่ใช้เครื่องมือโฟนอินแล้ว จะได้ผลโหวตเป็นรัฐบาล โดยเอานายกรัฐมนตรีคนนอก พรรคเพื่อไทย หลังจากวันนั้น ที่สนามศุภชลาศัย ก็เกิดเหตุการณ์ควบคุมไม่ได้ และความหลากหลายของกลุ่มเสื้อแดง ทำให้มีท่าที่ สะท้อนออกมามากมาย แม้ว่าแกนนำ จะออกพูดเสียงออกทีวี พยายามไม่ให้บุกเข้ารัฐสภา และตามมาของการประเมิน หลายแบบ ว่าเป็นความผิดพลาด หรือความสำเร็จของ “เครื่องมือ” ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง และการไม่มีเสียงโฟนอิน ก็สะท้อนอำนาจของเครื่องมือก็ตาม



แต่ว่า พลังเสียง บรรยากาศของสนามกีฬา แสง-เงา องค์ประกอบศิลปะทางสุนทรียะ ส่งผลปลุกใจทางจิตวิทยาไม่ว่าการบริหารและจัดการ เวที จอภาพฉายถึงเทคโนโลยี และบทเพลง บทกลอนของจักรภพ(คล้ายส่งสารทักษิณในจักรภพ) อาจจะเสี่ยงคล้ายกรณีถูกฟ้องร้องของบทกลอน ที่ติดในมหาวิทยาลัยของ ม.น.ป. (คดีประวัติศาสตร์ หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ถึงชาวฟ้าจากข้าชาวดิน กรุงเทพฯ : เจริญวิทย์การพิมพ์, 2518) และเพลงของจิ้น กรรมาชน อื่นๆ คนเสื้อแดง คงไม่ลืมๆ แล้วเก็บไว้เป็นพลังอำนาจ เอาไว้ยังมีองค์ประกอบต่อประชาชน เพราะคนเสื้อแดง เชียร์อำนาจประชาธิปไตยและพรรคไทยรักไทย-พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย-ทักษิณ และแน่นอนว่า ยิ่งสื่อเอเอสทีวี ทำตัวเป็นศัตรูกับกลุ่มเสื้อแดง โดยรัฐบาลประชาธิปัตย์ ไม่หยุดเอเอสทีวี-สนธิ,จำลอง ยังเป็นเป้าหมาย ต่อคนเสื้อแดง แน่ๆ เพราะการสร้างศัตรูทางการเมืองของเอเอสทีวี ทำให้เกิดปรากฏการณ์ ซึ่งคนเสื้อแดง ในใจลึกๆ มีศัตรูร่วมกัน คือ เอเอสทีวี อย่างช่วยไม่ได้ และเครื่องมือทางการเมืองของเอเอส ทีวี คือ สื่อ ประชาชน กองทัพ ประชาธิปัตย์ ซึ่งขึ้นมามีอำนาจในรัฐสภา จะไม่สามารถทำอะไรได้ เพราะประชาธิปัตย์ สะท้อนน่าจะตกเป็นเครื่องมือทางการเมือง ปรากฏตามข่าวดังกล่าว





เสียงเชียร์ของคนเสื้อแดง เป็น “เครื่องมือ” สำคัญต่อทักษิณ และเครื่องมือต่อมา ที่มีชื่ออภิสิทธิ์

เมื่อ “เครื่องมือ” ทางการเมือง ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะราชประชาสมาศัย ชาวต่างชาติ และถวายฎีกา อื่นๆ ทางการเมืองของกลุ่มเสื้อแดง และประชาชน ไม่ใช่มาตรา 7 เพราะกลุ่มคนเสื้อแดง (ประชาชน) สนับสนุนการยุบสภา เพื่อการเลือกตั้ง ไม่ใช่การรัฐประหารซ่อนรูป อย่างที่กลุ่มเสื้อแดง มีปัญหามาแล้ว ซึ่งความเงียบ เป็นพลังศักดิ์สิทธิ์ ได้เช่นกัน และมันก็ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือ จัดการความจริง เสียงต่างๆ ในสังคม จึงเป็นความเงียบสงบ ก่อนจะเป็นเสียงชัยชนะที่กำลังจะมาถึงเฝ้ารอไว้หรือไม่ เพราะการแตกเสียงความสามัคคี ในเมื่อทักษิณยังอยู่เป็นสัญลักษณ์ พร้อมทั้งเป็นผู้นำของปฏิบัติการต่อแกนนำต่างๆ และติดตามโฟนอิน ครั้งต่อไป



อย่างไรก็ดี คนเสื้อแดง จะก้าวต่อไป ข้ามพ้น “เครื่องมือ”ในประชาธิปไตยหลัง 14 ตุลา บนถนนราชดำเนินหรือไม่? ทำให้ผมนึกถึงด้านกลับกัน ในการกล่าวถึงโอบาม่า บวกกับ มาร์ค (ชื่อเล่นของอภิสิทธิ์) ว่า โอบามาร์ค จะเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทย ซึ่งทำให้ผมนึกถึงหัวข้อการวิเคราะห์โอบามา ว่า อะไรเป็นการเปลี่ยนแปลง,อะไรเป็นอยู่เหมือนเดิม ก็คือความขัดแย้งซ่อน อยู่ในทางการเมืองไทย [13] ที่รอวันปะทุ นับตั้งแต่ประกาศผลโหวต ว่าให้ยุบสภา และทักษิณ เป็นสัญลักษณ์ หรือ “เครื่องมือ” ความเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบชาตินิยม โดยจะรู้ตัว หรือไม่รู้ตัวก็ตาม คนอย่างจักรภพ บวกกับทักษิณ เป็นเครื่องมือของคนเสื้อแดง และเสื้อแดง กับแกนนำ “รายการความจริงวันนี้สัญจร” ก็ดุจเป็นเหมือนน้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า แก่พรรคเพื่อไทย ในการเตรียมการเลือกตั้ง ที่ให้มีเสียงมากกว่าเสียงปริ่มน้ำ เพราะว่า เครื่องมือทางการเมือง นอกจากทักษิณ การเลือกตั้ง เดินขบวน และยื่นเรื่องร้องเรียนกับบรรดาองค์กรตรวจสอบอิสระ แม้ว่าองค์กรบางแห่ง เช่น องค์กรสิทธิมนุษยชน พลังน้อยก็ตาม แต่น่าจะมีความหวังต่อไป



นั่นก็คือ วิกฤติการเมือง และวิกฤติเศรษฐกิจ ยังอยู่กับทุกคน และมุมมองด้านบวกว่า ทุกคนกำลังจะอยู่ในภาวะจุดเปลี่ยนสู่พัฒนาการทางการเมือง อาจจะดีขึ้นกว่าช่วง 2539-2540 ก็เป็นได้ เพราะว่า อุปมาการฟาดดาบของประชาธิปัตย์-พันธมิตร ฯลฯ นั้น จะรู้ตัว หรือไม่รู้ตัว (“อภิสิทธิ์” เป็นแค่เครื่องมือถูกชักใยโดยทหาร-พันธมิตร) เสียงสะท้อนผ่านสื่อทางเว็บบอร์ดของคนเสื้อแดง กล่าวประดุจว่า ดาบนั้น จะคืนสนองได้ ซึ่งอาวุธมีชีวิต ก็คือ คนเสื้อแดง นี่แหละ ร่างกายเป็นอาวุธในชีวิตประจำวัน เหมือนกับร่างกายของนักมวย ใช้ต่อสู้ คือ การสร้างสรรค์พลังชาตินิยม เฉกเช่นร่างเป็นชาติ และจิตวิญญาณเป็นประชาธิปไตย ก็ตาม ในการชูชาตินิยมเช่นเดียวกัน ซึ่งเสียงของคนสวมเสื้อแดง น่าจะเป็นการสร้างสรรค์ความงามทางพัฒนาการเมืองไทยให้ได้ [14] ไม่ได้เปล่าเปลือยทางความรู้ ด้านภูมิปัญญาทางการเมือง น่าจะเกิดการสร้าง พื้นที่แลกเปลี่ยนทางความคิดในทางการเมืองไทย



ขณะของการเปลี่ยนผ่านทางความคิดในการเมือง คือ การปะทะของภูมิปัญญา ระหว่างปัญญาชน รักชาติในเสื้อเหลือง และภูมิปัญญาชาวบ้าน บวกกับคนสวมเสื้อแดง รักชาติ ส่งเสียงระบายออกมา เช่น กรณีกลุ่มเพื่อนเนวิน-รัฐสภา สถานการณ์ในปัจจุบัน ก็รวมตัวกัน ที่สนามหลวงแล้ว ซึ่งความรักมาก ก็กลับมาเกลียดมากได้เช่นเดียวกัน เพราะเหรียญ มีสองด้าน ซึ่งอาจจะห้ามความรุนแรงฆ่าฟันมนุษย์กันอีกยาก



ดังนั้น โจทย์ของเสียงเสื้อแดง กับบันไดขั้นที่ก้าวต่อไป คือ คิดใหม่ทำใหม่ สร้าง “เครื่องมือ” เพื่อพัฒนากระบวนการ และขั้นตอน ประชาธิปไตยไม่ให้ถูกตัดตอน? ในความน่าจะเป็นไปได้ ตามแนวทางสันติวิธี เพื่อรอมีชีวิตไว้ ใช้ชีวิตตาม แต่ชื่นชอบ และเรียนรู้ติดตามการเมืองไทย ทั้งเสียงโฟนอินของทักษิณ จังหวะก้าวของแกนนำ และคนเสื้อแดง ถือธงประชาธิปไตย ซึ่งสถานการณ์ ทำให้คนเสื้อแดง และประชาชน ต้องอดทน จำใจอาจจะทดลองใช้ “เครื่องมือ” ที่มีชื่อว่า อภิสิทธิ์ (จะใช้ได้ หรือไม่ ก็ยังไม่รู้?) ในฐานะรัฐบาลของไทย ในทางเลือกจำกัด เหลือแค่เครื่องมือนี้ ซึ่งมีที่มาเกี่ยวข้องกลุ่มเสื้อเหลือง จึงเป็นปกติของเสื้อเหลือง จะมีปฏิกิริยา “เตือน” เพื่อควบคุมเครื่องมือ ที่มีชื่อว่าอภิสิทธิ์ แต่ก็ด้วยความเชื่อมั่นว่า ทำให้ภาพลักษณ์ ต่อนานาชาติ ว่าดูดีกว่ารัฐบาล จากการรัฐประหาร-ทหารอันชัดเจน จึงทำให้ในทางอ้อมคนเสื้อแดง และประชาชน ใช้เครื่องมือ คือรัฐบาล-อภิสิทธิ์ และการต่อสู้ในรัฐสภา ในฐานะฝ่ายค้านของพรรคเพื่อไทยไปก่อน ส่วนจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในอนาคต และแล้ว ไม่นานของช่วงขณะเวลาแห่งการแสวงคำตอบ ในจินตนาการของทุกคน คิดต่ออนาคต เรื่องความเคลื่อนไหวจะปรากฏอีกครั้ง ประหนึ่งกับว่า เมื่อสายลมพัดธงปลิว สะบัด และคนเสื้อแดง ลุกมาสู้ ร่วมกันนำ รัฐนาวาแห่งประเทศไทย [15] และไม่ให้เหตุการณ์ซ้ำรอยประวัติศาสตร์ 6 ตุลา 2519 และฝากไว้อย่างหนึ่งในหัวใจ คือ ประชาชน





อ้างอิง

[1] สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล “ประวัติศาสตร์วันชาติไทย จาก 24 มิถุนาถึง 5 ธันวา ใน ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 เม.ย.-มิ.ย. 2547



[2] บทความนี้เขียนในช่วงหลายวัน หลังวันที่ 13 ธันวาคม 2551 เป็นสิ่งที่ผมคิดต่อจากปรัชญาประวัติศาสตร์ศิลปะแบบชาตินิยม: ปราสาทเขาพระวิหาร-อนุสาวรีย์ชัยฯ http://www.prachatai.com/05web/th/home/12834 และ“24มิถุนา,28กรกฏา,4ธันวา, 10ธันวา” และ YoungPAD ผ่านประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมไทย (กำเนิดจากการสนทนากับผู้คน) http://www.prachatai.com/05web/th/home/14788 และเสียง ความทรงจำ กับอำนาจ: เสียงโฟนอินของทักษิณ ในสนามกีฬา http://www.prachatai.com/05web/th/home/14849 (ละครหมิ่นไม่มีจริงในสนามราชมังคลากีฬาสถาน)



แน่นอนว่าการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นประเด็นทางการเมือง ที่มีหลายคนโดนข้อหาทางกฎหมายดังกล่าว จึงเป็น“เครื่องมือ” และเรียนรู้เครื่องมือในการเคลื่อนไหว เช่น เรียกร้องยูเอ็น บทเรียนจากในอดีต และความจริงวันนี้สัญจร พยายามจะเรียกร้องต่อต่างชาติ ล่าสุดในสนามกีฬาศุภชลาศัย ต่างๆ



[3] สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล deja vu: ทักษิณ V นายกฯพระราชทาน, พิบล-เผ่า V สฤษดิ์ http://somsakcouppostings.blogspot.com/2006/09/deja-vu-v-v-19-2549-2528.html



[4] สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, "หลัง ๑๔ ตุลา ในทัศนะของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล" ใน เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน (เผยแพร่ครั้งแรกวันที่ 24 ต.ค. 2548) http://www.midnightuniv.org/midnight2545/document95276.html



[5] ไชยันต์ รัชชกูล ‘รัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙’: เราถกเถียงกันเรื่องอะไร (ฉบับร่าง) http://www.midnightuniv.org/forum/index.php?topic=1385.0



[6] Wall Street Journal: The 'Silent Coup'

http://online.wsj.com/article/SB122937186445607949.html



[7] ชาตรี ประกิตนนทการ “ความทรงจำ และ อำนาจ บนถนนราชดำเนิน” http://www.prachatai.com/05web/th/home/10934



[8] นิธิ เอียวศรีวงศ์, “ชาตินิยมในขบวนการประชาธิปไตย” ใน ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 13 (11) (ก.ย. 2535) หน้า 180-201



[9] พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ “การเมืองไทยสมัยใหม่ สัปดาห์ที่ 9 (24 สิงหาคม 2550): "16 ตุลา 251?": จากความบกพร่องของพัฒนาการทางการเมือง สู่การเมืองภาคประชาชน การเมืองแห่งความทรงจำ และ การเมืองเชิงวัฒนธรรมว่าด้วย "วาทกรรมราชาชาตินิยม(ประชาธิปไตย)” www.polsci.chula.ac.th/pitch/modernthaipolitics2007/mt07l9.doc พิชญ์ ใส่เชิงอรรถไว้ว่าพึงสังเกตว่า เบน จบบทความ “บ้านเมืองของเราลงแดง: แง่มุมทางสังคมและวัฒนธรรมของรัฐประหาร 6 ตุลาคม”. ของเขาในปี 1977 ว่า “ทั้งนี้เพราะประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ยกเว้นในกรณีของพรรคบอลเชวิคของเลนิน ได้แสดงเด่นชัดว่าไม่มีขบวนการปฏิวัติใดจะประสบชัยชนะได้ หากมิได้พิชิตหรือได้รับพรประทานของความเป็นนักชาตินิยม”



[10] ข้อสังเกต ไม่ใช่คำตอบ ต่อสิ่งที่นักวิชาการอย่างนิธิ เอียวศรีวงศ์ โดนวิจารณ์ เพราะการต้านทาน กับกระแสทักษิณ และไม่เอาทักษิณ(พูดง่ายๆว่าสองไม่เอา) นับตั้งแต่บทความของนิธิ ใน “บทความที่ไม่มีชื่อ” ต่อเหตุการณ์เรื่องรัฐประหาร(ซึ่งเป็นความรุนแรงเชิงสัญลักษณ์) จึงเท่ากับว่า นักวิชาการ พยายามเสนอเสียงเป็นกลาง(จริงหรือ?) และสิทธิ์ ที่จะไม่เลือก คือการเลือกอย่างหนึ่ง สะท้อนเสรีภาพของการไม่เลือก หรือ No Vote ก็ตาม (ในฐานะทางปรัชญาอัตถิภาวะนิยม ขยายความเป็นบทความได้เลย) ก็กลายเป็นดาบสองคม ที่นิธิ จะต้องรับไปเต็มๆ จึงเกิดนิธิ “ท้วงครู” เขียนบทความคัดค้าน ส.ศิวรักษ์ “เรื่องมาตรา 7” ซึ่งไม่เห็นด้วยก็ตาม และตามมาด้วยอภิสิทธิ์เป็นรัฐบาล



ส่วนนิธิ เอียวศรีวงศ์ ในฐานะปัญญาชนสาธารณะ ซึ่งการพูดกับสื่อสาธารณะ มีอำนาจและพลังต่อประชาชน ทำให้มีผลต่อการถูกวิจารณ์เป็นอีกประเด็นหนึ่งดังกล่าวนั้น ส่วนในทางด้านของผมคิดตั้งข้อสังเกตถึง Max Weber เรื่องความเป็นกลางทางค่านิยมในการศึกษาและวิชาการ ที่มีความป้องกันอคติในสถานการณ์ทางการเมืองยุคนั้น (อธิบายเพิ่มเติมสั้นๆว่า ผมไม่ถึงขั้นปกป้องนิธิ-ท้วงครูได้)ดังกล่าว และคำบรรยายของ เกษียร เตชะพีระ : “จาก 14 ถึง 6 ตุลา : สองชาตินิยมชนกัน”-กรณีเอกสารลับของกองทัพ-ราชาชาตินิยมและพรรคไทยรักไทย ซึ่งสะท้อนปฏิกิริยา ต่อประโยคที่ว่าด้วยการสู้กับสถาบันฯ(การอ้างอิงเอกสาร ถึงผู้ใช้นามแฝงว่าประดาบ) http://www.prachatai.com/05web/th/home/10817 และอรรคพล สาตุ้ม “นั่งสมาธิ ณ สนามหลวง” ก้าวที่กล้า วารสารนักศึกษา ปีที่ 5 ฉบับที่ 10 เมษายน 2549 และประภาส ปิ่นตกแต่ง กล่าวถึง ความเป็นไปของหลังรัฐประหาร 19 กันยา 2551 จากประชานิยม-เศรษฐกิจพอเพียง หลังเลือกตั้ง 23 ธันวา 2550 สมัครชูประชานิยมกลับมาด้วย และหนังสือของเขา บางคำจากผู้เขียนถึงช่วงประชานิยม โดยรัฐบาลสมัคร และบทเรียนที่เกิดขึ้นในชุมชน ซึ่งผ่านการเล่าของบทความชิ้นต่างๆ คงพอเป็นประโยชน์บ้าง ประภาส ปิ่นตกแต่ง “ก่อนภาคประชาชนล่มสลาย”



[11] วอลเดน เบลโล “ชูระบบเศรษฐกิจทางเลือก” ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 03 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 30 ฉบับที่ 3806 (3006) และ http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2006q3/2006july03p8.htm



[12] ผมนำเนื้อหา บทความมาเสนอบางส่วน เพื่อไม่ให้บทความนี้ยาวเกิน อ่านฉบับเต็มของนิธิ เอียวศรีวงศ์ “ทักษิณในปาฐกถาจักรภพ”มติชนรายวัน วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11034 http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2008q2/2008may26p6.htm



[13] หัวข้อการวิเคราะห์เกี่ยวกับโอบามา Galston and Kristol see 2008 as turning point, to a point By Ruth Walker Special to the Harvard News Office http://www.news.harvard.edu/gazette/2008/11.13/99-postelection.html

Post-election: What’s changed, what’s stayed the same

http://news.harvard.edu/gazette/story/2008/11/post-election-whats-changed-whats-stayed-the-same/

[14] ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ “รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ และการเมืองไทย ในยุคสมัยแห่งเสียงของเสื้อผ้า” และนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ “วิชารัฐศาสตร์ไทย ในบริบทของประวัติศาสตร์ และการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง” ในรัฐศาสตร์สาร ปีที่ 21 ฉบับที่1 (2542)



[15] ล่าสุด ทักษิณ โฟนอินงานระดมทุน ‘ความจริงวันนี้’ เปิดซ้ำสนามหลวง วีระเผยยอดคนร่วมไม่เข้าเป้า

http://prachatai.com/05web/th/home/14908

เสียง ความทรงจำกับอำนาจ :เสียงโฟนอินของทักษิณในสนามกีฬา

เสียงเป็นสิ่งแยกไม่ออกจากประวัติศาสตร์และความทรงจำของการพูดต่อประชาชน มันจึงมี "ความหมาย" และกลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้ สะท้อนถึงอำนาจทางการเมือง

อรรคพล สาตุ้ม


เสียง ความทรงจำกับอำนาจ ภาพสะท้อนการเมืองไทยและทักษิณ

ผมนำแนวคิดเรื่องเสียง มาเป็นประเด็นในการวิเคราะห์อำนาจ และความทรงจำต่อทักษิณ ซึ่งน่าจะเกิดความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์ จากแนวทางของธงชัย วินิจจะกูล ในการศึกษา “ความทรงจำ ภาพสะท้อนและความเงียบในหมู่ฝ่ายขวาหลังการสังหารหมู่ 6 ตุลา”(1) เสียง เป็นความทรงจำกับอำนาจได้ ทั้งเสียงที่ผ่านการรับรู้จากสงคราม(2) เพราะว่า เสียงย่อมเข้ากับจังหวะบทเพลง ซึ่งสอดคล้ององค์ประกอบของความรู้สึก เช่น เพลงพระราชนิพนธ์ “เราสู้” โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ทำการศึกษา “เราสู้:เพลงพระราชนิพนธ์การเมืองกับการเมืองปี 2518-2519” (3) และเนื้อเพลง คือ บรรพบุรุษของไทยแต่โบราณ ปกบ้านป้องเมืองคุ้มเหย้า เสียเลือดเสียเนื้อมิใช่เบา หน้าที่เรารักษาสืบไป ลูกหลานเหลนโหลนภายหน้า จะได้มีพสุธาอาศัย อนาคตจะต้องมีประเทศไทย มิยอมให้ผู้ใดมาทำลาย ถึงขู่ฆ่าล้างโคตรก็ไม่หวั่น จะสู้กันไม่หลบหนีหาย สู้ตรงนี้สู้ที่นี่สู้จนตาย ถึงเป็นคนสุดท้ายก็ลองดู บ้านเมืองเราเราต้องรักษา อยากทำลายเชิญมาเราสู้ เกียรติศักดิ์ของเราเราเชิดชู เราสู้ไม่ถอยจนก้าวเดียว(4)

ในทัศนะของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เพลง “เราสู้” (5) ได้รับการ “ใช้งาน” อย่างแพร่หลายในช่วงไม่กี่ปีแรกของทศวรรษ 2520 แต่พร้อมๆกับการเสื่อมถอยและสิ้นสุดของขบวนการปฏิวัติฝ่ายซ้ายในประเทศและต่างประเทศในกลางทศวรรษนั้น การ “ใช้งาน” ดังกล่าว ก็เริ่มลดน้อยและสิ้นสุดลงตามไปด้วย (เช่นเดียวกับเพลงปลุกใจของฝ่ายขวาอื่นๆ เช่น หนักแผ่นดิน) หนังสือ ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพเจ้าหน้าที่ผู้เสียชีวิตเนื่องจากปฏิบัติหน้าที่ราชการในการรักษาความมั่นคงภายใน เลิกตีพิมพ์บทเพลงนี้ไปในปี 2529 สืบต่อมาด้วยการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ หรือ รัฐธรรมนูญครึ่งใบ สะท้อนการเปลี่ยนแปลง ก่อนจะเป็นถอนรากประชาธิปไตยครึ่งใบออกไปโดยรัฐธรรมนูญฉบับรสช. และแล้วสภาพสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ก็คล้ายกับสถานการณ์การเมืองในยุคพฤษภา 2535 (6)

อย่างไรก็ตาม เมื่อเรารับรู้ความทรงจำ ผ่านประวัติศาสตร์ บทเพลง เสียงปืน ระเบิด ที่มีความเจ็บปวดมาก่อน ตั้งแต่ 6 ตุลา จนถึงพฤษภา 35 เราประสบรับรู้หลังรัฐประหาร 2549 และวันที่ 31 ธันวาคม 2549 มีเหตุการณ์เกิดระเบิดที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และสถานที่ต่างๆ ในความทรงจำสดๆ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ความวุ่นวาย ก่อนช่วงวันปีใหม่ และต่อมาการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย หลังรัฐประหาร ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 ตุลาการรัฐธรรมนูญตัดสินให้ยุบพรรคไทยรักไทย ต่อมาเสียงการต่อต้าน ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ปี2550 และการกลับมาของพรรคพลังประชาชน ได้ชนะเสียงจากการเลือกตั้ง และกลุ่มพันธมิตรฯ และด้วยความนิยมข้ามบริบทของกาลเวลาของเพลงพระราชนิพนธ์ “เราสู้” ในกลุ่มพันธมิตรฯ และขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมือง และพรรคประชาธิปัตย์ กับปราสาทเขาพระวิหาร ที่รัฐบาลถูกอภิปรายในรัฐสภาวันที่ 24-26 มิถุนายน 2551 จากนายกรัฐมนตรีสมัคร-สมชาย จนถึงคดียุบพรรคพลังประชาชน ฯลฯ และกระแสการย้ายพรรค กลุ่มเนวิน และการต่อต้านของกลุ่ม “เสื้อแดง”พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเกี่ยวพันกลุ่มพันธมิตรฯ (ผมเขียนบทความในช่วงวันที่ 11 ธันวาคม 2551)

ก่อนเสียงโฟนอินทักษิณ และภาพของอดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ซึ่งถูกเปรียบเทียบกับปรีดี พนมยงค์ ว่าอาจจะต้องใช้ชีวิตอยู่ต่างแดน และเมื่อเสียงนั้นจะมาข้ามประเทศ “คำล่องลอย” สะท้อนเสียงเป็นอำนาจทางการเมืองอย่างสำคัญต่อกระแสการเมืองในการจัดตั้งรัฐบาล(7) เสียงเป็นสิ่งแยกไม่ออกจากประวัติศาสตร์และความทรงจำของการพูดต่อประชาชน มันจึงมี "ความหมาย" และกลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้ สะท้อนถึงอำนาจทางการเมือง ดังนั้น เสียงของทักษิณ คือ สิ่งทีสะท้อนอำนาจ และความทรงจำ ทำให้ไม่เกิดความเงียบในหมู่ประชาชนเสื้อแดง




ย้อนอดีต ที่มาของเสียงโฟนอินทักษิณ ในรายการความจริงวันนี้

รายการความจริงวันนี้ เกิดขึ้นจากดำริของ นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งกล่าวในรายการ “สนทนาประสาสมัคร” เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ว่า จะมอบหมายให้กลุ่มโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ผลิตรายการโทรทัศน์ ในทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 22.15-23.00 น. เพื่อตอบโต้ข้อกล่าวหา ที่ผู้บริหารองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 เช่น คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ, จรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ, คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ปฏิบัติราชการแทนคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นต้น ตลอดจนกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นำมาโจมตีรัฐบาล ผ่านสื่อในเครือผู้จัดการ โดยเฉพาะสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เอเอสทีวี ช่อง นิวส์วัน

แต่นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น แถลงว่ากลุ่มโฆษกรัฐบาลไม่สามารถผลิตรายการดังกล่าวได้ เนื่องจากเป็นช่วงเวลาของรายการ “ข่าวหน้าสี่” ซึ่งมี บริษัท นิวไทม์ เทเลวิชั่น จำกัด เป็นผู้ผลิตอยู่แต่เดิมแล้ว ทางรัฐบาลจึงทาบทามให้ บริษัท เพื่อนพ้องน้องพี่ จำกัด ผู้ดำเนินกิจการสถานีโทรทัศน์พีทีวี เมื่อปี พ.ศ. 2550 และผู้ผลิตรายการ “เพื่อนพ้องน้องพี่” และ “มหาประชาชน” ทางสถานีโทรทัศน์เอ็มวีทีวี ช่อง 5 มาผลิตรายการร่วมกับ สถานีโทรทัศน์เอ็นบีที โดยมี นายวีระ มุสิกพงศ์ ประธานกรรมการ บจก.เพื่อนพ้องน้องพี่ เป็นผู้ดำเนินรายการหลัก พร้อมทั้งเชิญ นายจตุพร พรหมพันธุ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบสัดส่วน กลุ่มที่ 6 พรรคพลังประชาชน และนายณัฐวุฒิ มาเป็นผู้ร่วมดำเนินรายการ

ทั้งนี้ รายการดังกล่าวมีชื่อตั้งต้นว่า ชาวสนามหลวง แต่เมื่อถึงเวลาออกอากาศครั้งแรก เมื่อวันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม รายการก็เปลี่ยนมาใช้ชื่อ ความจริงวันนี้ และในสัปดาห์แรกนั้นเอง ก็ได้รับเวลาออกอากาศเพิ่มในวันอาทิตย์ เวลา 22.00-23.00 น. ต่อมา ในราวกลางเดือนกันยายน รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้มอบหมายให้นายณัฐวุฒิ เข้าดำรงตำแหน่งโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายก่อแก้ว พิกุลทอง จึงเข้ามาแทนที่นายณัฐวุฒิ ซึ่งก่อนหน้านี้ นายก่อแก้ว ก็เข้ามาเป็นพิธีกรแทนนายจักรภพ เพ็ญแข ในรายการเพื่อนพ้องน้องพี่ และมหาประชาชนมาแล้ว

เมื่อจัดรายการมาได้ระยะหนึ่ง กลุ่มพิธีกรของรายการ จึงมีดำริในการจัดงานพบปะระหว่างพิธีกรกับผู้ชมรายการ เพื่อย้อนรำลึกถึงบรรยากาศในการชุมนุมต่อต้านเผด็จการทหาร ของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เมื่อปี พ.ศ. 2550 โดยใช้ชื่อว่า งานครอบครัวความจริงวันนี้สัญจร(8)

ครอบครัวความจริงวันนี้สัญจร ครั้งที่ 1
งานครอบครัวความจริงวันนี้สัญจร ครั้งที่ 1 จัดขึ้นที่อาคารธันเดอร์โดม ภายในเมืองทองธานี “เมื่อวันเสาร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2551 เพื่อรำลึกถึงวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540” ระหว่างเวลา 12.00-18.00 น. โดยมีกลุ่มพิธีกร และ นปช.ขึ้นปราศรัยหลายคน ตามลำดับดังนี้ นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา และอดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา, นายก่อแก้ว พิกุลทอง, นายจตุพร พรหมพันธุ์, นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, นายวีระ มุสิกพงศ์, นายจักรภพ เพ็ญแข, นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย, นายอดิศร เพียงเกษ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย และนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ประธานมูลนิธิ 111 ไทยรักไทย โดยมีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 30,000-50,000 คน ภายในงานมีการจำหน่ายเสื้อโปโล และเสื้อยืดสีแดง ที่มีสัญลักษณ์ของรายการฯ ในราคาย่อมเยา นอกจากนี้ นายสมบัติ บุญงามอนงค์ แกนนำศูนย์เฝ้าระวังการรัฐประหารแห่งชาติ ยังได้นำสติกเกอร์ เบื่อม็อบพันธมิตร มาแจกจ่ายภายในงานด้วย

ครอบครัวความจริงวันนี้สัญจร ครั้งที่ 2
งานครอบครัวความจริงวันนี้สัญจร ครั้งที่ 2 ภายใต้หัวข้อ “ความจริงวันนี้ ต้านรัฐประหาร” จัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ระหว่างเวลา 17.00-23.00 น. ที่ราชมังคลากีฬาสถาน ภายในสนามกีฬาหัวหมาก การกีฬาแห่งประเทศไทย ถ.รามคำแหง (ประตูเปิดประมาณ 15.00 น.) มีผู้ร่วมงานประมาณ 100,000 คน ก่อนเริ่มงาน ในเวลาประมาณ 13.00 น. มีการประกอบพิธีทางศาสนาพราหมณ์ โดยมีผู้จัดรายการ และ นปช.ขึ้นปราศรัย ตามลำดับดังนี้ นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ, นายก่อแก้ว พิกุลทอง, นายจตุพร พรหมพันธุ์, นายจาตุรนต์ ฉายแสง, นายวีระ มุสิกพงศ์, นายจักรภพ เพ็ญแข, นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา และนายอดิศร เพียงเกษ

เนื้อหาในการปราศรัย ได้กล่าวถึงการบริหารประเทศที่ประสบความสำเร็จ ในสมัยที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี, การต่อต้านรัฐประหาร, โจมตีการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ และพรรคประชาธิปัตย์ และให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่ดูแลความสงบเรียบร้อยในประเทศ ทั้งนี้ ในช่วงท้าย เวลา 22.45 น. นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ได้ขึ้นร้องเพลง “รักสาวเสื้อแดง” ที่เขาแต่งเนื้อร้องด้วยตนเอง โดยดัดแปลงจากเพลงเดิม ให้มีเนื้อหาเข้ากับกิจกรรมของงานด้วย จากนั้น ผู้ปราศรัยขึ้นขอบคุณประชาชน ก่อนปิดงาน ภายในงานมีการจำหน่ายเสื้อสีแดง, ตีนตบ, หนังสือ และมีการแจกวีซีดี พันธมิตรฆ่าประชาชน ด้วย

โดยช่วงสำคัญของงานครั้งนี้ อยู่ที่การปราศรัยทางโทรศัพท์ ของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร โดยมีนายวีระ เป็นผู้สัมภาษณ์บนเวที โดย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้กล่าวถึง การสร้างความสามัคคี ว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนควรปฏิบัติ


ผลสะท้อนผ่านสื่อผู้จัดการ จากเสียงของทักษิณ ในความจริงวันนี้ครั้งที่ 2

สื่อผู้จัดการนำถ้อยคำของทักษิณมาถอดรหัส ดังนี้
“แน่นอน ไม่มีใครเอาผมกลับประเทศไทยได้ นอกจากพระบารมีที่ทรงเมตตา”
คุณทักษิณ ชินวัตรต่อสายมาปราศรัยเรียกน้ำตาจากผู้สนับสนุนเมื่อค่ำวันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2551 มีประเด็นที่ผมอยากจะแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเชิงโต้แย้งผ่านคำ 2 คำที่แสดงออกมา
- “ความยุติธรรม” หรือที่ถูกแปลงใหม่ว่า “กระบวนการยุติความเป็นธรรม”
- “พระบารมี” ..ที่ทรงเมตตา ไม่ว่าคดีไหน ยากนักที่ผู้ถูกลงโทษจะพึงพอใจ มิพักต้องพูดถึงคดีที่คุณทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว เจอะเจอ ที่ไม่ใช่คดีแพ่งหรือคดีอาญาปกติทั่วไป แต่เป็นคดีที่ว่าด้วยธรรมาภิบาลและการป้องกันการทุจริต ทำให้มีบทบัญญัติว่าด้วยความผิดฐานขัดกันซึ่งผลประโยชน์ ซึ่งเป็นของใหม่สำหรับประเทศไทย….

โดยการเขียนของสื่อผู้จัดการ ยังเขียนต่อเป็นตอน 2 เรื่อง “ราชประชาสมาสัย”
“แน่นอน ไม่มีใครเอาผมกลับประเทศไทยได้ นอกจากพระบารมีที่จะทรงเมตตา หรือพลังของพี่น้องประชาชนเท่านั้น” ซึ่งมีการอธิบาย คำว่า “ราชประชาสมาสัย” หรือ “ลัทธิราชประชาสมาสัย” ไม่ได้มีความหมายแค่มุ่งหวังอาศัยพระบารมีขอพระราชทานอภัยโทษ ซึ่งเป็นสิทธิโดยชอบธรรมของนักโทษทุกคนที่จะทำได้หลังศาลยุติธรรมมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักโทษประหาร ส่วนจะได้รับพระเมตตาหรือไม่ก็เป็นพระราชอำนาจโดยสมบูรณ์ของพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับ ฉบับ 2550 ปัจจุบันอยู่ที่มาตรา 191 ไม่ใช่เรื่องที่คนอื่นจะมาเข้าชื่อกันทำแทนตามที่ส.ส.พรรคพลังประชาชนกำลังคิดกันอยู่

การพูดประโยคข้างต้นของคุณทักษิณ ชินวัตร โปรดสังเกตคำว่า “หรือ” ที่ผม(คำนูญ สิทธิสมาน) จงใจขีดเส้นใต้ไว้ และผมมิบังอาจตีความ แต่เชื่อว่าคงใจเดียวกันกับพี่น้องผู้อ่านทั้งหลาย นี่ไม่ใช่ราชประชาสมาสัย ! ราชประชาสมาสัยมีรากฐานทางปรัชญาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของประเทศไทย คนที่ใช้คำนี้เป็นคนแรกก็คือ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ในคอลัมน์ “ปัญหาประจำวัน” ในนสพ.สยามรัฐ ประจำวันที่ 11 ธันวาคม 2514 และมาขยายความอีกครั้งในบทสนทนา “การเมืองไทย” กับเสน่ห์ จามริก และดร.เกษม ศิริสัมพันธ์ (บันทึกอยู่ในวารสารธรรมศาสตร์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 เดือนเมษายน 2515 หน้า 39 – 45)

“การปกครองแบบราชประชาสมาสัย คือให้พระมหากษัตริย์กับประชาชนร่วมกันปกครองแผ่นดิน ให้พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจในการปกครองมากขึ้นกว่าในระบอบประชาธิปไตย และให้ประชาชนมีอำนาจในการปกครองมากขึ้นกว่าในระบอบประชาธิปไตยของไทยที่แล้วมา พระมหากษัตริย์กับประชาชนในเมืองไทยนั้นไม่เป็นภัยต่อกัน มีแต่ความรักต่อกัน และมีความอนุเคราะห์เกื้อกูลต่อกันและกันมาโดยตลอด ถ้าหากว่าพระมหากษัตริย์กับประชาชนของพระองค์ได้ร่วมกันปกครองแผ่นดินด้วยความรัก และอนุเคราะห์เกื้อกูลกัน ดังที่ได้มีมาแล้วโดยตลอดนั้น ผู้เขียนก็มีความหวังว่าแผ่นดินไทยของเรานี้จะเป็นแผ่นดินแห่งความสันติและความเจริญในทุกทางดังที่คนทั่วไปปรารถนา” (ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช / 11 ธันวาคม 2514)

ชัยอนันต์ สมุทวณิช นำมาประยุกต์เป็นข้อเสนอการออกแบบโครงสร้างของวุฒิสภาขณะเตรียมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2517(ทำให้มีเหตุเขียนหนังสือโต้ท่านปรีดี ที่เขียนวิจารณ์ร่างฉบับดังกล่าว) เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2516 ในบทความที่ตีพิมพ์ในนสพ.สยามรัฐ คุณสนธิ ลิ้มทองกุลกล่าวนำประชาชนถวายสัตย์ปฏิญาณต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ว่าจะร่วมสร้างการเมืองใหม่ตามแนวทางนี้ ภายใต้เข็มมุ่ง “ถวายคืนพระราชอำนาจฯ” เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2548 สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยร่วมกับสภาทนายความแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์เสนอให้มีการแก้วิกฤตการเมืองตามแนวทางนี้เช่นเดียวกัน (เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2519) “ปราโมทย์ นาครทรรพ” ก็ได้เสนอแนะทางออกแห่งวิกฤตในยุคปัจจุบันด้วยแนวทางนี้ตลอดทั้งปี 2550 - 2551 ในข้อเขียนที่ตีพิมพ์ในนสพ.ผู้จัดการรายวันและเว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์

นอกจากจะไม่ได้รับการขานรับจากคุณทักษิณ ชินวัตร พรรคพลังประชาชน นักวิชาการกลุ่มที่เสนอความเห็น “ระบอบประชาธิปไตยของปวงมหาประชาชน” และมวลชนคนเสื้อแดงแล้ว ยังคัดค้านโจมตีอย่างหนักหน่วงว่าเป็นการถอยหลังลงคลอง ! มาวันนี้ กลับได้ยินคำนี้หลุดออกจากปากของวีระ มุสิกพงศ์ผู้โดนศาลอนุมัติหมายจับข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และเคยถูกศาลพิพากษาจำคุกในข้อหาเดียวกันนี้มาแล้วเมื่อกว่า 10 ปีก่อน ไม่อยากกล่าวหาใคร ณ ที่นี้ว่าไม่จริงใจหรือมีวาระซ่อนเร้นอันร้ายกาจหรอก
(9) และอย่าลืมว่า แนวคิดของชัยอนันต์ สมุทวณิช มีแนวทางข้อเสนอ “ระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบ”(10) และผนวกด้วยการสนับสนุนตั้งพรรคให้แก่พันธมิตรฯ และที่ปรึกษาของสนธิด้วย

ข้อเสนอของชัยอนันต์ ดังกล่าวนั้น และแนวทางของกรณีทักษิณ ส่งเสียงกับประชาชน สะท้อนภาพในสถานการณ์เสียงปราศรัยถึงเรื่อง “ราชประชาสมาสัย” และการถูกถอดรหัสประโยคที่ทักษิณ กล่าวว่า “แน่นอน ไม่มีใครเอาผมกลับประเทศไทยได้ นอกจากพระบารมีที่ทรงเมตตา และ(หรือ) พลังของประชาชนเท่านั้น” โดยสื่อผู้จัดการ เสนอคำว่า หรือ “แทน” คำว่า “และ” ตีความคำว่า “หรือ” ต่างๆ นานาดังกล่าว โดยการวิเคราะห์เสียง ผ่านตรรกะและถ้อยคำของทักษิณ ซึ่ง “แนวความคิดราชประชาสมาสัย” อาจจะไม่ต่างกับของกลุ่มพันธมิตรฯ ก็ตาม และแล้ว เราก็มาอยู่ในยุคที่ “คำล่องลอยข้ามแดน” โดยเสียง ความทรงจำ และอำนาจ ของทักษิณ กำลังจะถูกพิสูจน์พลังทางการเมืองอย่างแน่นอน


ครอบครัวความจริงวันนี้สัญจร ครั้งที่ 3(ภาคพิเศษ?)
งานครอบครัวความจริงวันนี้สัญจร ครั้งที่ 3 คณะผู้จัดรายการฯ ได้รับความอนุเคราะห์จาก พระราชธรรมนิเทศ (พระพยอม กัลยาโณ) ให้จัดขึ้นที่วัดสวนแก้ว จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ตั้งแต่เวลา 13.00-17.00 น. โดยนอกจากผู้ดำเนินรายการทั้งสามแล้ว ยังมีวิทยากรขึ้นปราศรัยหลายราย ได้แก่ นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ นายอดิศร เพียงเกษ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา นายก่อแก้ว พิกุลทอง และนายจักรภพ เพ็ญแข โดยพระราชธรรมนิเทศได้ให้ข้อกำหนดของรายการครั้งนี้ว่า ต้องไม่มีการปราศรัยเพื่อปลุกระดมทางการเมือง ไม่มีการโทรศัพท์ข้ามประเทศของอดีตนายกรัฐมนตรี และไม่อนุญาตให้นำเท้าตบเข้ามาในวัด หากฝ่าฝืน พระพยอม มีสิทธิ์ยุติรายการครั้งนี้ได้ทันที

งานเริ่มต้นด้วยการทอดผ้าป่าสามัคคีเมื่อเวลา 12.30 น. จากนั้น พระพยอมได้ขึ้นเวทีเพื่อเทศน์เตือนสติกลุ่มการเมืองทั้งสองฝ่าย จากนั้นเป็นการเสวนาของผู้ดำเนินรายการและพระพยอม ต่อด้วยการปราศรัยของวิทยากร และพระพยอม กัลยาโณได้ขึ้นเวทีเพื่อเทศน์ให้เหล่าประชาชนได้รับฟังอีกครั้ง ก่อนงานจะสิ้นสุดเมื่อเวลาประมาณ 17.00 น. (จบลง ว่าด้วยกรณีถวายฎีกาให้ทักษิณ)

ทั้งนี้ ไม่มีการโทรศัพท์ข้ามประเทศ (โฟนอิน) ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรีแต่อย่างใด ราวกับรอคอยกลายเป็นความเงียบไร้เสียงของทักษิณไปด้วย

“เสียงกองเชียร์ในสนามกีฬา” สะท้อนภาพการเมืองไทย
เมื่อเราผ่านประสบการณ์จากสนามกีฬา คือ ราชมังคลากีฬาสถาน รับรู้ เสียง ความทรงจำ และอำนาจของการมองเห็น-ฟังเสียงของทักษิณ และภาพบรรยากาศ เสียงกองเชียร์ ในราชมังคลากีฬาสถาน ท่ามกลางสีเขียวของสนามหญ้า และการนำเสนอให้เห็นแผนที่ประเทศไทย ในสนามกีฬา สะท้อนภาพเป็นความเป็นจริงกับประสบการณ์ในอดีต ความทรงจำ อำนาจของประชาชน และเสียงกองเชียร์ ต่อทักษิณ และต่อจากนั้น วิเคราะห์การเมือง ให้เราจะก้าวพ้นประชาธิปไตยครึ่งใบ โดยการเปลี่ยนแปลง โดยเราจะสู้เพื่อประชาธิปไตยเต็มใบในอุดมคติ และเสียงประชาชน โดยการสร้างรัฐธรรมนูญของประชาชน

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ของทักษิณ ตกอยู่ภายใต้กำลังของเสียงข้างน้อยลดพลังลง โดยสมมติ“เราสู้ไม่ถอย” ทุกวิธีของสันติวิธี นำสู่การเพื่อบรรลุเป้าหมายประชาธิปไตย และหลักการประชาธิปไตย ในจิตสำนึกเราลุกขึ้นสู้ไม่ยอมแพ้ ซึ่งเราจะต่อสู้สามารถจะทำให้ประชาธิปไตยเต็มใบเบ่งบาน และรอฟังเสียงโฟนอินของทักษิณ จะให้เราต่อสู้ต่อไปเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งสมมติสถานการณ์แข่งขันฟุตบอล และเกมส์บอลตกเป็นรองอย่างมาก แล้วกองเชียร์ จะต้องแสดงออกด้วยการเชียร์ๆ และรอฟังเสียงโฟนอินของทักษิณ จะให้เราต่อสู้ต่อไปเพื่อประชาธิปไตย ในงานครอบครัวความจริงวันนี้สัญจร ครั้งที่ 4 จะจัดขึ้นที่สนามศุภชลาศัย(สถาปัตยกรรม มีชื่อของคนในกลุ่มคณะราษฎร)ในวันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2551 จินตนาการเสียงโฟนอินของทักษิณ ในสนามศุภชลาศัยกรีฑา ก็เตรียมวิ่งไปสู่เส้นชัย และเสียงชัยชนะหรือไม่ (11) และโฟนอิน ถ้อยคำจะเป็นอย่างไร ? ในขณะที่อนาคตกำลังไล่เรามาทุกทีๆ เพราะว่า นั่นคือ เสียง ความทรงจำ กับอำนาจ ต่อประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ที่มีเวลาเดินเร็ว ทำให้ทุกอย่างกลายเป็นอดีต และปัจจุบัน จะไปสู่อนาคต โดย เสียงแห่งประชาชน ทุกคน สามัคคี ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย






อ้างอิง
1.ธงชัย วินิจจะกูล “ความทรงจำ ภาพสะท้อนและความเงียบในหมู่ฝ่ายขวาหลังการสังหารหมู่ 6 ตุลา” http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ID=10331&Key=HilightNews
2.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ เสียง ความทรงจำกับอำนาจ http://review.semsikkha.org/content/view/554/146/
3.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล “เราสู้:เพลงพระราชนิพนธ์การเมืองกับการเมืองปี 2518-2519” http://www.2519.net/autopage/show_page.php?t=10&s_id=12&d_id=20เราสู้
4.เราสู้http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%89
5.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล “เราสู้” หลัง 6 ตุลา http://somsakfootnotes.blogspot.com/2006/10/6-5-10.html
6.อรรคพล สาตุ้ม “24มิถุนา,28กรกฏา,4ธันวา,10ธันวา”และYoungPADผ่านประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมไทย
http://www.prachatai.com/05web/th/home/14788
7. ไพ่สุดท้ายของ"นายใหญ่" ปาฏิหาริย์เดียว"เพื่อไทย"
http://matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01pol01111251&sectionid=0133&day=2008-12-11 (วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11233 มติชนรายวัน) และ“เสื้อแดง” เหนือ-อีสาน ผุดเวทีระดมคนต้าน ปชป.ตั้งรัฐบาล-ขู่เคลื่อนพลยึดสภาสกัด “มาร์ค” นั่งนายกฯ
http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9510000146011
8. ความจริงวันนี้http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89
9.ทักษิณ ชินวัตร ความยุติธรรม, พระบารมี และ...ราชประชาสมาสัย ! (ตอนที่ 2)
http://manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9510000130228 และความเป็นมาของไอเดีย "ราชประชาสมาสัย" http://somsakcouppostings.blogspot.com/2007/07/blog-post.html(12 กุมภาพันธ์ 2550)
10.ชัยอนันต์ สมุทวณิช “ระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบ”
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9510000049004 (27 เมษายน 2551)
11.เสียง มีความสัมพันธ์กับสถาปัตยกรรม เช่น พัฒนปกรณ์ ลีลาพฤทธิ์ นำเสนอความคิดดนตรี กับสถาปัตยกรรม “ดนตรีรังสรรค์ในสถาปัตยกรรม”
http://www.graduate.su.ac.th/proceeding/data/01.pdf

วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2552

“24 มิถุนา , 28 กรกฏา,14-6ตุลา,4 ธันวา-10 ธันวา”จากYoung PAD-คนรุ่นใหม่

“24 มิถุนา , 28 กรกฏา,14-6ตุลา,4 ธันวา-10 ธันวา”จากYoung PAD-คนรุ่นใหม่
มุมมองผ่านประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมไทย

อรรคพล สาตุ้ม

ประวัติศาสตร์วันชาติไทย ในวัน 24 มิถุนา กับ 10 ธันวา
จากบทความเรื่องประวัติศาสตร์วันชาติไทย จาก24 มิถุนาถึง 5 ธันวานั้น ซึ่งสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ชี้ให้เห็นถึง “ความสำเร็จและล้มเหลวของอุดมการณ์รัฐแบบใหม่ ผ่านประวัติศาสตร์วันชาติ” โดยบอกความเป็นมาว่า หลังปี 2475 การยอมรับวันที่ 10 ธันวาคม(แทนวันที่ 24 และ27 มิถุนา ซึ่งเป็นวันประกาศรัฐธรรมนูญชั่วคราว ต่อมาวันที่ 27 มิถุนาเป็นวันก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) โดยการจัดงานฉลองรัฐธรรมนูญ สำคัญมากกว่าวันที่ 24 มิถุนายน ซึ่งยังไม่มีการให้ความสำคัญฉลองวันชาติ ซึ่งในเวลาต่อมา 24 มิถุนายน 2482 รัฐบาลหลวงพิบูลสงคราม ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มคนที่ร่วมกันเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี 2475 ที่เรียกกันว่าคณะราษฎร ได้ประกาศเปลี่ยนการเรียกชื่อประเทศและประชาชน จาก "สยาม" เป็น "ไทย" โดยก่อนหน้านั้นไม่นาน ได้มีการประกาศให้วันที่ 24 มิถุนายน เป็น "วันชาติ" มีการจัดงานเฉลิมฉลองอย่างมโหฬารเป็นครั้งแรกในปี 2482 นั้นเอง ซึ่งรวมถึงการวางศิลาฤกษ์อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ที่ ถนนราชดำเนิน เป็นต้น
ท่ามกลางบริบทต่อมา มีการสร้างวันเกิด จอมพลป.พิบูลสงคราม เป็นวันหยุดราชการเพื่อทำสวน และเลี้ยงสัตว์ ทั้งการสดุดีวันครบรอบมงคลสมรสจอมพล และการติดรูปจอมพลตามสถานที่ราชการ และการทำการเคารพรูปจอมพล ในโรงมหรสพ ตามมาด้วยปรากฏการณ์การสร้างตราไก่สัญลักษณ์ประจำตัวจอมพล ป.พิบูลสงคราม (1) สอดคล้องการสร้างสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น สวนสัตว์ดุสิต ซึ่งสร้างเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจของประชาชน และอนุรักษ์สัตว์ป่า แน่นอนว่า สวนสัตว์ก็เป็นมายาคติทางธรรมชาติด้วย(2) ในส่วนศิลปกรรม ก็คือ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ วัดประชาธิปไตย หรือวัดพระศรีมหาธาตุ เป็นเครื่องมือให้ความรู้ เพื่อปลูกต้นรักชาติ เพราะว่าเกี่ยวข้องวันที่ 24 มิถุนายนนั่นเอง
จอมพล ป.พิบูลสงคราม ในฐานะตัวแทน “คณะราษฎร” ซึ่งมอบหมายให้หลวงวิจิตรมาทำงาน "ปลูกต้นรักชาติ" ขึ้นในหัวใจประชาชน โดยการแต่งละครประวัติศาสตร์ และเพลงที่เป็นบทปลุกใจให้รักชาติขึ้นในระยะเวลาติดต่อกัน อาทิ เช่น ละครอิงประวัติศาสตร์เรื่อง เลือดสุพรรณ ภาพยนตร์เรื่องค่ายบางระจัน ฯลฯ เป็นต้น (คิดสร้างอนุสาวรีย์ไทย และพิพิธภัณฑ์ปลา แต่ก็ไม่ได้ทำขึ้นมา) ซึ่งรัฐบาล ก็ปรากฏสร้าง พรบ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2484 เพื่อพิทักษ์รักษาป่าไม้

การเปลี่ยนแปลงความสำคัญในวันที่ 28 กรกฏา และ 24 มิถุนา
โดยต่อมากองทัพบกเสนอวันที่ 28 กรกฎาคม เป็นวันกองทัพบกในครั้งนั้น เนื่องจากวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ.2484 เป็นวันที่กองทัพไทยได้ฉลองชัยชนะ ในกรณีพิพาทอินโดจีน-ฝรั่งเศส ต่อมาใน พ.ศ. 2494 สภากองทัพบกพิจารณาเห็นว่า ควรเลือกวันที่มีความสำคัญที่เป็นเกียรติประวัติในทางตำนานและประวัติศาสตร์ของชาติเป็นวันกองทัพบก ในที่สุด กองทัพบกได้กำหนดให้วันที่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถีชนะสมเด็จพระมหาอุปราชา แห่งกรุงหงสาวดี เมื่อวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง ซึ่งตรงกับวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2135 เป็นวันที่ระลึกสำหรับกองทัพบก แน่นอนว่า อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเหลือเพียงชื่อที่ยังคงอยู่ในความหมายถึงชัยชนะ และเปลี่ยนชื่อถนนประชาธิปัตย์เป็นถนนพหลโยธิน เป็นต้น

แต่ว่า ความสำคัญเกี่ยวเนื่องกับวันที่ 28 กรกฎาคม หายไป โดยมีนัยยะของกองทัพ ที่เกิดรัฐประหาร รัฐธรรมนูญ 2490 ขึ้นมา เป็นรัฐบาลโดยตรงกันข้ามกับแนวคิดภาพยนตร์เรื่อง “เลือดทหารไทย” ซึ่งสร้างในปี พ.ศ.2478 ซึ่งยกย่องทหาร นำเสนอให้ทหารพิทักษ์รัฐธรรมนูญเพื่อชาติ(3) และต่อมาการเปลี่ยนวันชาติ เป็น “วันต้นไม้ประจำปีของชาติ ในวันที่ 24มิถุนายน 2498” โดยการรณรงค์ทำแผ่นโฆษณาวันต้นไม้ ในปี 2498 ข้อความว่า “เชิญร่วมมือกับรัฐบาลช่วยกันปลูกต้นไม้ เพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของชาติไทย ในวันต้นไม้ประจำปีของชาติ” และในปี2500 ข้อความว่า “ปลูกต้นไม้เพื่อสุขภาพ สุขใจ ได้ดอกผล อยู่ดีมีสุข โดยการปลูกต้นไม้เท่ากับการปลูกฝังเงินทองไว้ในพื้นดิน ซึ่งมีค่าทวีขึ้นทุกๆวัน” และปลูกต้นไม้ไว้ใช้ ปลูกต้นไม้ไว้ชม ก่อความอภิรมย์ ให้ร่มเย็นสบาย เป็นต้น

ชัยชนะของจอมพล สฤษดิ์ ทางการเมือง และแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ-ศิลปวัฒนธรรมในสิ่งแวดล้อม หลังวันที่ 14 ตุลา 2516
โดยต่อมา เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองตั้งแต่ 16 กันยายน ปี2500 เป็นต้นมา กลุ่มคณะราษฎร คือ จอมพล ป.พิบูลสงคราม หมดบทบาททางการเมือง ซึ่งทำให้กลุ่มจอมพลสฤกษดิ์-ถนอม-ประภาส ขึ้นมามีบทบาท ทางการเมือง และยกเลิกวันชาติ 24 มิถุนา เปลี่ยนเป็น 5 ธันวา โดยรัฐบาล ได้สั่งระงับการจัดงานฉลองรัฐธรรมนูญ ในปีต่อมา จอมพลสฤกษดิ์ ยังพูดราวกับว่าการไม่มีงานในปีนั้นอีก เป็นเรื่องชั่วคราว เมื่อมีการรื้อฟื้นงานเฉลิมพระชนมพรรษาในปี 2502 ก็เท่ากับ ปิดฉากงาน 10 ธันวา อย่างถาวรลงไปด้วย และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2503 ซึ่งกำหนดให้วันเข้าพรรษาเป็นวันต้นไม้ประจำปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติก็เริ่มขึ้นเป็นต้นมา ซึ่งมีอิทธิพลทางการเมือง ก่อนการเคลื่อนไหวของนักศึกษายุค 14 ตุลา ในหนังสือ สัตว์การเมือง ที่วิพากษ์การเมือง 2475 โดยชัยอนันต์ สมุทวณิช ปรากฏผลงานการเขียนดังกล่าวก็มีอิทธิพลแก่นักศึกษายุค 14 ตุลา (4) และการเคลื่อนไหวของนักศึกษา ในกรณี 29 เมษายน พ.ศ. 2516 เมื่อเฮลิคอปเตอร์ทหารหมายเลข ทบ.6102 เกิดอุบัติเหตุตกที่ อ.บางเลน จ.นครปฐม มีดาราหญิงชื่อดังในขณะนั้นคือ เมตตา รุ่งรัตน์ โดยสารไปด้วย ผู้เสียชีวิต 6 คน ในซากเฮลิคอปเตอร์นั้น ปรากฏพบซากสัตว์เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นซากกระทิง ที่ทางผู้ที่ใช้ล่ามาจากทุ่งใหญ่นเรศวร ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าสงวน ก็สร้างกระแสความไม่พอใจในหมู่นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และประชาชนทั่วไปเป็นอย่างมาก

หลังจากนั้น ปลายเดือนพฤษภาคม และต้นเดือนมิถุนายน นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ออกหนังสือชื่อ "บันทึกลับจากทุ่งใหญ่" เปิดโปงเกี่ยวกับกรณีนี้ ผลการตอบรับออกมาดีมาก จนขยายผลโดยนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงกลุ่มหนึ่งออกหนังสือชื่อ "มหาวิทยาลัยที่ไม่มีคำตอบ" เป็นผลให้ ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์ อธิการบดีสั่งลบชื่อนักศึกษาแกนนำ 9 คนออก ซึ่งทำให้เกิดการประท้วงจนนำไปสู่การชุมนุมในวันที่ 21 และ 22 มิถุนายน ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และดร.ศักดิ์ ก็ได้ลาออกไป ซึ่งต่อมาในวันที่ 6 ตุลาคม มีบุคคลร่วมลงชื่อ 100 คน เพื่อเรียกร้องขอรัฐธรรมนูญ ซึ่งประกอบด้วยบุคคลหลากหลายอาชีพ หลายวงการ เช่น นักวิชาการ นักการเมือง นักคิด นักเขียน นิสิต นักศึกษา เป็นต้น

จากนั้น นักศึกษา 13 คน นำโดย นายธีรยุทธ บุญมี ได้เดินแจกใบปลิวเรียกร้องรัฐธรรมนูญตามสถานที่ต่าง ๆ ในกรุงเทพ ฯ โดยอ้างถึงใจความในพระราชหัตถ์เลขาของรัชกาลที่ 7ที่ส่งถึงรัฐบาลถึงสาเหตุที่ทรงสละราชสมบัติ แต่ทางตำรวจนครบาลจับได้เพียง 11 คน และจับขังนักศึกษาทั้ง 11 คนนี้ไว้ที่โรงเรียนตำรวจนครบาลบางเขน และนำไปขังต่อที่เรือนจำกลาง บางเขน พร้อมตั้งข้อหาร้ายแรงว่า เป็นการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ โดยห้ามเยี่ยม ห้ามประกันเด็ดขาด จากนั้นจึงได้มีการประกาศจับ นายก้องเกียรติ์ คงคา นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง และตามจับ นายไขแสง สุกใส อดีต ส.ส.จังหวัดนครพนม ขึ้นอีก รวมทั้งหมดเป็น 13 คน โดยกล่าวหาว่า นายไขแสงเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังการแจกใบปลิวครั้งนี้ ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้สร้างความไม่พอใจให้เกิดขึ้นครั้งใหญ่แก่มวลนักศึกษาและประชาชนอย่างมาก

ในที่สุด นำไปสู่การชุมนุมใหญ่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นช่วงของการสอบกลางภาคด้วย แต่ทางองค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) ได้ประกาศและติดป้ายขนาดใหญ่ไว้ว่า "งดสอบ" พร้อมทั้งยื่นคำขาดให้ทางรัฐบาลปล่อยตัวทั้งหมดนี้ก่อนเที่ยงวันที่ 13 ตุลาคม แต่เมื่อถึงเวลาแล้วรัฐบาลก็หาได้ยอมกระทำไม่

กระนั้น การเดินขบวนครั้งใหญ่ จึงเริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ออกไปตามถนนราชดำเนิน สู่ลานพระบรมรูปทรงม้า โดยมีแกนนำเป็นนักศึกษาและมีประชาชนเข้าร่วมด้วยจำนวนมาก แกนนำนักศึกษาได้เข้าพบเจรจากับรัฐบาลและบางส่วนได้เข้าเฝ้า ฯ จนได้ข้อยุติเพียงพอที่จะสลายตัว แต่ทว่าด้วยอุปสรรคทางการสื่อสารและมวลชนที่มีอยู่เป็นจำนวนมากไม่อาจควบคุมดูแลได้หมด ก็นำไปสู่การนองเลือดในเช้าตรู่วันที่ 14 ตุลาคม เมื่อเกิดการปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนที่บริเวณหน้าพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และหลังเหตุการณ์ทางการเมืองในช่วงหลัง 14 ตุลา (จงพิทักษ์ประชาธิปไตยโดยสมบรูณ์ของปรีดี พนมยงค์)มีผลต่อการปรับความคิดเรื่องสิ่งแวดล้อมตามมา ในปี 2518 ท่ามกลางกระแสคอมมิวนิสต์ในประเทศเพื่อนบ้าน

ซึ่งกล่าวโดยสรุป จะเห็นภาพคู่ขนาน "ความเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม และความคิดสีเขียวในเมือง" ตั้งแต่ การริเริ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในการอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยกลุ่มนิยมไพรสมาคม ในปี 2498 คิดตั้งอุทยานแห่งชาติ และในเวลาต่อมา เกิดพรบ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 พรบ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 และสะท้อนการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ มีความเป็นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2504 และ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ-คณะกรรมาธิการอนุรักษ์ศิลปกรรมแห่งสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2511 เป็นต้นมา (5) ทำให้เห็นภาพการเคลื่อนไหวหลัง 14 ตุลา (6) ตั้งแต่ปี 2518 และความซับซ้อนทางพุทธศาสนา “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป” ถึง2522(ชาตรี ประกิตนนทการ ความทรงจำ อำนาจ ราชดำเนิน) และการสิ้นชีวิตของปรีดี พนมยงค์โดยหลวงพ่อปัญญา อดีตเจ้าอาวาสวัดอุโมงค์ ให้ความสำคัญกับงานศพเป็นอย่างมาก และวาทะว่าปรีดี คือตัวแทนประชาธิปไตย กับการวิเคราะห์ที่มาของประเด็นวัฒนธรรม ศิลปะ สิ่งแวดล้อม(สัณฐิตา กาญจนพันธุ์ หน้า 212-222)อย่างชัดเจนว่าคู่ขนาน กับประวัติศาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจ สังคมนั่นเอง


วันต้นไม้ประจำปีของชาติ -วันที่ 4 ธันวาคม เป็นวันสิ่งแวดล้อมไทย

เมื่อกระแสทางการเมือง และเศรษฐกิจต่อประเทศเพื่อนบ้านในยุคสงครามเย็น เริ่มสงบตามมาด้วยกระแสโลกาภิวัตน์ และวิกฤติสิ่งแวดล้อม สะท้อนผ่านพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ ที่สะท้อนถึงความสนพระทัย และทรงให้ความสำคัญในการปลูกป่า และทรงเห็นว่าทุกคนต้องช่วยกันดูแลรักษาป่าไม้ เนื่องจากข้อมูลสถิติป่าไม้ในขณะนั้นพบว่าพื้นที่ป่าไม้ของประเทศที่ยังมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแสดงให้เห็นแล้วว่าเมื่อจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ความต้องการใช้ไม้ก็มีเพิ่มมากขึ้นด้วย

ดังนั้น การเมืองและเศรษฐกิจ ศิลปะ คือเรื่องที่คู่ขนาน กับกระแสอนุรักษ์ทรัพยากรป่า จึงเป็นการสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่มีต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม และเพื่อเป็นการฟื้นฟูป่าไม้เมืองไทยให้กลับคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์ดั่งเช่นในอดีต กรมป่าไม้ขอเชิญชวนคนในชาติทุกหมู่เหล่าร่วมกันปลูกต้นไม้ในวัน วิสาขบูชา ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2532 กำหนดให้วันวิสาขบูชาของทุกปี คือ วันต้นไม้ประจำปีของชาติ เพราะว่า มีการเปลี่ยนวันเข้าพรรษาเดิม เคยเป็นวันต้นไม้ประจำปีของชาติ มาเป็นวันวิสาขบูชา อยู่ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ซึ่งโดยทั่วไปเป็นระยะเริ่มต้นของฤดูฝน ควรกำหนดเป็นวันต้นไม้ประจำปีของชาติ แต่ก็ไม่ใช่วันที่ 24 มิถุนายน เหมือนในอดีตนั่นเอง

โดย กำเนิดวันสิ่งแวดล้อมไทย ในวันที่ 4 ธันวาคม 2532 ณ ศาลา ดุสิดาลัย พระตำหนัก จิตรลดารโหฐาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำรัสพระราชทานแก่บุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพร เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมฉลองพระชนมพรรษา มีใจความตอนหนึ่งว่า “วันก่อนนี้เราพูดถึงปัญหาว่า เมืองไทยนี้อีกหน่อยจะแห้ง ไม่มีน้ำเหลือจะต้องไปซื้อน้ำจากต่างประเทศ ซึ่งก็อาจเป็นได้” จากพระราชดำรัสของพระองค์ แสดงให้เห็นถึงความห่วงใยต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่ประชาชนชาวไทยกำลังประสบอยู่ในปัจจุบัน

ฉะนั้น คณะรัฐมนตรี จึงได้มีมติเห็นชอบในการประชุมเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2534 ให้กำหนดวันที่ 4 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันสิ่งแวดล้อมไทย ตามที่ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการให้ความร่วมมือ ในการดำเนินการด้วย ซึ่งวันที่ 4 ธันวาคม 2534 ในสถานการณ์ภายใต้ “นโยบายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า” ทางเศรษฐกิจของไทยกับเพื่อนบ้าน เพื่อเข้าสู่กระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2535 อันเป็นปีมิ่งมหามงคลที่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 5 รอบ กองทัพอากาศก็ได้จัดสร้างพระมหาธาตุเจดีย์(พระมหาธาตุ นภพลภูมิสิริ) ไว้บนดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ขึ้นเคียงคู่"พระมหาธาตุ นภเมทนีดล"เป็นต้น

เมื่อจะก้าวข้ามยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ฉบับที่ 13 ในการเรียกขานว่า “รัฐธรรมนูญครึ่งใบ” ก็ถูก "ยกเลิก" โดยการรัฐประหารอีกจนได้ เมื่อคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (ร.ส.ช.) ภายใต้การนำของ พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ ได้เข้าทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศจากรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534และเกิดกรณี พฤษภาในปี 2535 กรณีเรียกขานว่า“ม็อบมือถือ” ซึ่งเวลาต่อมาสภาพทางการเมืองและวิกฤติเศรษฐกิจเกิดขึ้นอีกครั้งในปี 2540 ขณะที่ไทยประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจ (ในนาม ต้มยำกุ้ง )

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ใจความว่า “การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้นหมายความว่าอุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง” ซึ่งพระองค์ทรงกระตุ้นเตือนให้พสกนิกร หันกลับมาสู่เศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง(7) รวมทั้งปัญหาการเกษตร สิ่งแวดล้อมต่างๆ และการให้ความสำคัญกับพระราชดำรัส 4 ธันวาคมแบบในปัจจุบันนั้น เป็นปรากฏการณ์ใหม่ของทศวรรษ 2530 ขอให้นึกถึงพระราชดำรัส 4 ธันวาคม ปี 2532 เรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติ, ปี 2534 เรื่อง "รู้รักสามัคคี"(ก่อนพฤษภา ปี 2535), ปี 2537 เรื่อง "ทฤษฎีใหม่", และปี 2540 เรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง" (8)

กล่าวโดยสรุป ในทางปัญหาประวัติศาสตร์การเมือง ซึ่งไม่ว่าจะเรื่องพรรคการเมือง ในการเลือกตั้งพ.ศ.2535หลังพฤษภาทมิฬ ประชาธิปัตย์อาศัยวลี “จำลองพาคนไปตาย”และคำขวัญเชิดชูว่าชวน หลีกภัย”เชื่อมั่นในระบบรัฐสภา เข้ามาเป็นรัฐบาล ซ้ำยังนำรูปของนายปรีดี พนมยงค์(อนุสาวรีย์ปรีดี)กับรูปนายป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งพวกเขาเคยได้รับผลกระทบจากการกระทำของชาวพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นมาโฆษณาหลอกลวงคนไทยด้วยว่า พรรคประชาธิปัตย์เห็นด้วยกับแนวทางสันติวิธีของทั้ง2ท่านนี้(ทั้งที่มีหลักฐานชัดเจนว่า2ท่านนี้ต้องไปตายในต่างแดนทั้งคู่ก็เพราะผลพวงจากการกระทำของประชาธิปัตย์ทั้งนั้น) แต่ไม่นานก็ถูกตีตกเวทีด้วยเรื่องสปก.ของเลขาธิการพรรคพวกนายเทพเทือก และที่มีการเคลื่อนไหวการร่างรัฐธรรมนูญปี 2540 ซึ่งถูกเรียกว่า “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน” ตรงกันข้ามกับรัฐธรรมนูญฉบับรสช.(2535) ต่างๆ จึงเป็นผลสืบเนื่องกับปัญหาทางรัฐธรรมนูญและความเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอ้างมาตรา 7 นายกรัฐมนตรีพระราชทานจากรัฐธรรมนูญ ซึ่งประเด็นขับไล่มาจากเรื่องทางการเมืองทักษิณ ชินวัตร ต่อมาจากนั้นหลังรัฐประหาร 19 กันยา 2549 เป็นต้นมา บทเพลงพระราชนิพนธ์ “เราสู้” ได้กลายเป็นเพลงยอดนิยมที่สุดในการชุมนุมร่วมกับพันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตย ในแต่ละวันมีการร้องเพลงนี้หลายรอบ ท่ามกลางวิกฤติการณ์ทางการเมือง และ วิกฤติเศรษฐกิจในนามแฮมเบอร์เกอร์โดยอเมริกา ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย แต่ว่าหลังงานพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ(9) จนถึงวันที่ 4 ธันวาคม 2551 ไม่มีพระราชดำรัสใด


การปลูกวัฒนธรรมประชาธิปไตย, 10 ธันวา -Young PADถึงคนรุ่นใหม่
สิ่งที่ชี้ให้เห็นจากอดีตว่า รัฐในสมัยคณะราษฎร พยายามปลูกสร้างผ่านประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อม ดังกล่าวจาก 24 มิถุนา เป็นต้นมา หลายอย่างที่รัฐ ปลูกต้นรักชาติ ทางวัฒนธรรม และรณรงค์การทำสวน(11) รวมทั้งปลูกต้นไม้ประจำปีของชาติ วันสิ่งแวดล้อมไทย และวันรัฐธรรมนูญ หรือวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 10 ธันวาคม ซึ่งถือเป็นInternational Day of Human Rights ,วันธรรมศาสตร์ – วันที่ระลึกการสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (เปลี่ยนจากเดิม 27 มิถุนายน) ,วันโทรทัศน์และวิทยุเพื่อเด็ก(12) ซึ่งหากสมมติว่ารัฐธรรมนูญ ดั่งเปรียบเป็นเมล็ดพันธุ์ จึงเป็นรัฐธรรมนูญพันธุเทศ ที่นำเข้ามาปลูกในวัฒนธรรมไทย แล้วออกดอกผลเป็นพันธุ์ทาง นานาชนิด ตามดินฟ้าอากาศแบบไทยๆ ต่อกิ่งติดตาล้มลุก คลุกคลานกันมาหนึ่งชั่วอายุคน เราจะนับเอาผลผลิตพันธุ์ทางนี้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมได้หรือไม่ ในเมื่อวัฒนธรรมไทย ก็เป็นวัฒนธรรมพันธุ์ทางมาจากแขก จีน พุทธ พราหมณ์ ผสมกับของพื้นบ้านทั้งนั้น(13)

เมื่อวิกฤติเศรษฐกิจในปี2551 ก็เข้ามาประเทศไทย ถ้าอุปมาเรากินต้มยำกุ้ง พร้อมกับแฮมเบอร์เกอร์แล้วไม่อร่อย ซึ่งเราชอบกินข้าวมากกว่า โดยจะสร้างเมล็ดพันธุ์ข้าวใหม่ หรืออุปมาการเมืองใหม่ของเรา สำหรับการเพาะปลูกวัฒนธรรมประชาธิปไตย-รัฐธรรมนูญ ในเมื่อ กรณี 19 ก.ย. 49 มีรัฐประหารเกิดขึ้น ซึ่งรัฐธรรมนูญจากการพยายามเรียกร้องของประชาชน ปี 2540 จบสิ้นลง มีอายุยังไม่เก่าแก่เท่ารัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม 2475 และต่อมาเรา ก็มีรัฐบาลจากการเลือกตั้ง ถูกพันธมิตรฯ ใช้ที่ปรบมือ(14) คือ มือตบ(ในความหมายถึง มือที่มองไม่เห็น) หรือ นปช.ใช้ตีนตบก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือแบบใด โดยก็เป็นสัญลักษณ์การต่อสู้ทางการเมืองที่ ต้องยอมรับในยุคสมัยนี้ ว่าเป็นความจริง โดยอาจจะตีความทางภาษา ที่โจมตีกันอย่างหยาบคาย รวมทั้ง ภาษา สัญลักษณ์ทางแนวคิด ทฤษฎี วัฒนธรรม ที่ปรากฏตามสื่อมวลชน ไม่ว่าปลูกข้าว ที่ทำเนียบ พิธีรดน้ำมนต์ให้ม็อบพันธมิตรฯ และภาพการ์ตูน มีรูปอุปกรณ์มือตบ ทับแผนที่ประเทศไทย(15) และพรรคประชาธิปัตย์-พันธมิตรฯ ต่างๆ

อย่างไรก็ตาม การฉายภาพปรากฏการณ์ของสื่อมวลชนของASTV ผ่านการสะท้อนหล่อหลอมมวลชนได้ก็ตาม และแล้วในอนาคตของเรา จะมีอนุสาวรีย์ให้แก่ชัยชนะของพวกเขาอย่างเหตุการณ์ทางการเมืองเกิดสงคราม ในอดีตเพื่อให้มีความทรงจำ จึงสร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ(16) และอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ที่ผ่านมา ส่วนในอนาคตเราจะสร้างความทรงจำรูปแบบใด โดยในกรณีสุดท้าย Young PAD หรือ เยาวชนกู้ชาติ(17) คือ ทางเลือกหรือไม่ แล้วทางเลือกอันหลากหลายของคนรุ่นใหม่ ซึ่งทางเลือกมากกว่าอุดมการณ์เดียวของ Young PAD ถ้าสมมติ Young PAD ในฐานะสำหรับเมล็ดพันธุ์ใหม่เกิดจากสังคมเพาะปลูกรัฐธรรมนูญในวัฒนธรรมไทย และออกดอกผล ว่าด้วยประชาชนพันธุ์เลือดรักชาติประชาธิปไตย และ พวกเราต้องร่วมกันเรียนรู้บทเรียนจากYoung PAD เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์คนรุ่นใหม่ช่วยกันสร้างชาติและพวกเราจะสามารถทำให้ประชาธิปไตยเต็มใบเบ่งบานได้!

*บทความปรับปรุงเพิ่มเติมจากเว็บไซด์ประชาไท เมื่อวันที่ 2008-12-09
-อ้างอิง
1. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ “แผนชิงชาติไทย :ว่าด้วยรัฐและการต่อต้านรัฐ สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ครั้งที่ 2
2.เอกชัย เอื้อธารพิสิฐ “สวนสัตว์: มายาคติว่าด้วยธรรมชาติและสัตว์ป่า” วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต, คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2545
3.ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา “ภาพยนตร์กับการต่อสู้ทางชนชั้นในห้วงเวลาแห่งการผลัดแผ่นดิน” ในเศรษฐศาสตร์การเมือง ปีที่ 7 ฉบับที่ 1-2 มกราคม-มิถุนายน 2532
4. ประจักษ์ ก้องกีรติ “24 มิถุนา ในขบวนการ 14 ตุลาฯ:การเมืองและอำนาจของประวัติศาสตร์” ใน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ บรรณาธิการ “สู่ทศวรรษที่ 7 ปฏิวัติ 2475 สถาปนา มธก. 2477 ธรรมศาสตร์และการเมืองเรื่องพื้นที่”
5.สัณฐิตา กาญจนพันธุ์ "ความเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม และความคิดสีเขียวในเมือง" สังคมศาสตร์ วารสารทางวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีที่ 12 ฉบับที่ 2/2543 หน้า 210-240
6.คำบรรยายของ เกษียร เตชะพีระ : “จาก 14 ถึง 6 ตุลา : สองชาตินิยมชนกัน”
http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ID=10817&Key=HilightNews และกรณี 6 ตุลา 2519 ในปี 2539 จึงมีพื้นที่ทางการเมือง ศิลปะและสิ่งแวดล้อม เช่น สวนประติมากรรม กำแพงประวัติศาสตร์ ใน “โครงการกำแพงประวัติศาสตร์: ธรรมศาสตร์กับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย” คือภาพสะท้อนความพยายามของคนเดือนตุลาและชาวธรรมศาสตร์ในการบันทึกหน้าประวัติศาสตร์หน้านี้ไว้ ด้วยความริเริ่มมาตั้งแต่ ปี 2539 อันเป็นวาระครบรอบ 20 ปี 6 ตุลา http://www.2519.net/wall-history/page-06.htm
7.วอลเดน เบลโล , ลี เค็ง ปอห์, เขียน ; สุรนุช ธงศิลา, แปล “โศกนาฏกรรมสยาม : การพัฒนาและการแตกสลายของสังคมไทยสมัยใหม่”
8.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เราสู้: เพลงพระราชนิพนธ์การเมืองกับการเมืองปี 2518-2519
http://www.2519.net/autopage/show_page.php?t=10&s_id=12&d_id=20 และบทเพลงต้นไม้ของพ่อ
9.พนิดา สงวนเสรีวานิช “เนรมิต "สวนสีฟ้า" ชะลอป่าหิมพานต์ งานพระเมรุกลางสนามหลวง”
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01pra01250851&sectionid=0131&day=2008-08-25
10.ความคิดที่น่าสนใจทางด้านสวนกับการเมือง ใน อู่ทอง ประศาสน์วินิจฉัย “แกะรอย: สวนกับการเมือง- คนละเรื่องเดียวกัน” *หมายเหตุสังคม กล่าวถึงประวัติของการออกแบบสวน (ของยุโรป) เข้าจริงๆ เราจะพบว่าการเมืองเข้ามาสัมพันธ์กับสวนอย่างใกล้ชิดราวกับคนละเรื่องเดียวกันทีเดียว
http://www5.sac.or.th/downtoearthsocsc/modules.php?name=News&file=article&sid=33 และงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549- 31 มกราคม 2550
11. ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ใช้วิธีการศึกษาปฏิทิน และการรับรู้เรื่องวันที่ 10 ธันวา มาก่อน ใน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ บรรณาธิการ “สู่ทศวรรษที่ 7 ปฏิวัติ 2475 สถาปนา มธก. 2477 ธรรมศาสตร์และการเมืองเรื่องพื้นที่” และวาระ 32 ปี 6 ตุลา ซึ่งในปี 2551 ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ เสนอช่องทางการรับรู้เรื่อง 6 ตุลา ผ่านการสืบค้นข้อมูลจาก Google เป็นต้น "อนาคตของ 6 ตุลา 2519"
http://www.midnightuniv.org/forum/index.php?topic=9410.0
12.วันที่ 10 ธันวาคม – วันรัฐธรรมนูญ,วันโทรทัศน์และวิทยุเพื่อเด็ก,วันธรรมศาสตร์ – วันที่ระลึกการสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (เปลี่ยนจากเดิม 24 มิถุนายน),International Day of Human Rights ซึ่งอ้างอิงจากวิกีพีเดียไทยมีความสับสนเล็กน้อยกรณีวันที่ 24 มิถุนากับ27มิถุนาในวันสถาปนาฯ
13.ธงชัย วินิจจะกูล เขียนเรื่องชาติไทย,เมืองไทย และนิธิ เอียวศรีวงศ์ ทั้งเรื่องชาตินิยมในขบวนการประชาธิปไตยจาก 14 ตุลา ถึงพฤษภา ซึ่งชาตินิยมไม่ได้เป็นขบวนการเคลื่อนไหวของชนชั้นกลาง และรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทย แม้ว่ารูปโฉมและที่มาจะเป็นของนอก แต่รัฐธรรมนูญของไทย ก็ผูกพันแนบแน่นกับความผันแปรของสังคมการเมืองไทย “คำนำ ใน นิธิ เอียวศรีวงศ์ ชาติไทย,เมืองไทย.แบบเรียนและอนุสาวรีย์”
14. มือตบ
http://th.wikipedia.org/wiki/มือตบ
15.ปรากฏการณ์ทางการเมืองของพันธมิตรฯ มีลูกจีนกู้ชาติ นักรบศรีวิชัย นักดนตรี บทเพลง บทกวี เสื้อสีขาว-สีแดง-สีเหลือง,นักวิชาการ และพื้นที่ทางการเมือง ลานพระบรมรูปทรงม้า สนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ ในแนวการศึกษา ประเด็นพื้นที่กับการพัฒนา จากหนังสือ “วาทกรรมการพัฒนา:อำนาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์ และความเป็นอื่น” และปัจจัยต่างๆ จำนวนมากมายทางวัฒนธรรมทางการเมือง ซึ่งน่าจะเลือกหัวข้อมาทำวิทยานิพนธ์ ศึกษาเฉพาะเจาะจงในกรณี พรรคประชาธิปัตย์ และยุบพรรคพลังประชาชน ต่างๆ
16.อรรคพล สาตุ้ม ปรัชญาประวัติศาสตร์ศิลปะแบบชาตินิยม: ปราสาทเขาพระวิหาร-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
http://www.prachatai.com/05web/th/home/12834 และพื้นที่ทับซ้อนของปราสาทเขาพระวิหารกับอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร
17. เว็บไซด์ Young PAD http://www.youngpad.org/introduction/index.htm และไฮ 5 ของYoung PAD http://youngpad.hi5.com/friend/profile/displayProfile.do?userid=307369442
และกรณีYoung PAD ขอให้ปิดเว็บไซด์ฟ้าเดียวกัน และประชาไท

*ขอขอบคุณ พี่เจษฎา โชติกิจภิวาทย์ สำหรับหนังสือ คำแนะนำ และแรงกำลังใจ ในการกระตุ้น ให้ผู้เขียน ทำบทความนี้เอง

วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2552

สิงคโปร์ทุกลมหายใจ

สิงคโปร์ทุกลมหายใจ

ผมมีโอกาสตามอ่านข่าวในวันที่ 10 กันยายน ที่ผ่านมานี้ องค์กรวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรป หรือ CERN (เซิรน์) เดินเครื่องเร่งอนุภาคขนาดใหญ่ Large Haldron Collider (LHC) เพื่อค้นหาคำตอบ เรื่องจุดกำเนิดจักรวาล ซึ่งข่าวที่ผ่านมา เกี่ยวกับ เซิรน์ ทำทดลองเครื่องปล่อยอนุภาคโปรตอน ที่มีเครื่องทดลองอยู่ในอุโมงค์ระหว่างประเทศฝรั่งเศสและสวิสฯ แล้วอาจจะเกิดหลุมดำ มีประเด็นค้นพบอนุภาคพระเจ้า และวิธีการสร้างไทม์แมชชีนบ้าง บางอย่างในใจของผม ก็กำลังรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงของโลก

มันคงเป็นช่วงเวลาหนึ่งของมนุษย์ทั่วๆไป ที่ไม่สามารถค้นพบการย้อนเวลาได้ หากมนุษย์ค้นพบ การย้อนเวลา ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเครื่องไทม์แมชชีน เพื่อกลับไปดูอดีตเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งผ่านพ้นอย่างไม่มีวันกลับมาอีกครั้ง เราอาจจะตายได้ ถ้าเสี่ยงขึ้นเครื่องนั้นไป และย่อมมีคนเสี่ยงตายเพื่อค้นพบการพัฒนาโลก ไม่ว่าจะการทดลองสร้างเครื่องบิน รวมทั้งเทคโนโลยีการถ่ายภาพ เครื่องมือบันทึกความทรงจำของมนุษย์


เมื่อสมัยหนึ่ง เครื่องบินลำแรกของโลก มันก็ต้องผ่านการทดลอง และเรียนรู้เรื่องมนุษย์อยากจะบิน ตั้งแต่ความคิดของลีโอนาโด ดาวินซี พยายามสร้างปีกนกให้มนุษย์บินได้ จนกระทั่งสองพี่น้องตระกูลไรท์ ได้รับการจารึกชื่อไว้ในประวัติศาสตร์ได้ว่า สร้างเครื่องบินลำแรกได้สำเร็จ นั้นเอง มนุษย์ก็มีการเปลี่ยนแปลงในการบันทึกภาพ จากภาพเขียนสู่การถ่ายภาพ จากในอดีต ที่คนเริ่มต้นหวาดกลัวว่า ถูกถ่ายภาพ จะถูกดูดวิญญาณไป

ในที่สุดแล้ว ความเปลี่ยนแปลงในยอมรับเปลี่ยนความเชื่อของการถ่ายภาพ การสร้างเครื่องบิน ซึ่งถ้าชีวิตมีความเสี่ยง กล้า บ้าบิ่น เพื่อสร้างสรรค์อย่างท้าทายขีดจำกัดของมนุษย์ และก็พร้อมจะพิสูจน์สิ่งนั้น ผมก็มีความฝันอยากจะบินได้สักครั้ง มีปีกเหมือนกับนก โบยบินสู่อิสระภาพ แต่ว่าการเดินทางครั้งนี้ ผมมาด้วยเทคโนโลยีของมนุษยชาติ ซึ่งผมนั่งเครื่องบิน แอร์เอชีย ราคาไม่แพงมาก โดยผมอยากจะกล้าเดินทางไปสิงคโปร์ ก็ค้นหาแหล่งทุนสำหรับการเดินทาง ก็ได้รับทุนสนับสนุนของมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ในการไปจากแผ่นดินแม่ คือ ประเทศไทย มาเปิดหูเปิดตาในประเทศสิงคโปร์ ในยุคที่ตอนนั้นประเทศไทย มีข่าวยังเป็นกระแสโด่งดังเป็นประเด็นปัญหากับสิงคโปร์ กรณีอดีตนายกทักษิณ กับกลุ่มเทมาเส็กฯ

กระนั้น ผมเดินทางอยู่ไม่นาน เนื่องจากเงื่อนไขของทุน มีจำกัดระยะเวลา สามวันเท่านั้น ซึ่งความเป็นจริง ผมต้องมาที่สิงคโปร์ เพื่อนำเสนอผลงานวิชาการ เป็นหลัก ไม่มีโปรแกรมไปเที่ยวที่ไหนมาก นอกจากผมเดินวนเวียนในมหาวิทยาลัย ที่มีศักยภาพในระดับสูงของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงทำให้ผมรู้สึกว่ามีโอกาสร่วมรับฟังเวทีเสวนาวิชาการจากประเทศต่างๆ ช่วยให้ผมเปิดตัวเองสู่โลกกว้างอย่างสำคัญมาก และการมีอยู่ของเวลา ในการได้ออกไปเดินเล่นบนบาทวิถี ณ. สิงคโปร์ เพราะ เมื่อระลึกถึงการเดินทางสองปีก่อนผ่านไป มันเป็นโชคดีของผมมาก ที่ยังมีชีวิตอยู่หลังจากที่ เดือนกันยายน ก่อนวันที่ 9/9/2549 นั้น ตัวของผม มีอายุครบ 9,999วัน โดยผมอ้างอิงการคำนวณ จากโปรแกรมหมอดูในคอมพิวเตอร์ ครับผม

สัตว์สัญลักษณ์ของสิงคโปร์ อะไรเอ่ย ?...
การเดินทาง แบบบังเอิญๆ หรือว่า ชีวิตของคนเรา ก็หลีกไม่พ้นกรอบของเวลา สถานที่ และชะตาชีวิต ซึ่งเป็นกรอบแห่งการเดินทาง ทำให้ผมเดินสำรวจสิงคโปร์ ในมหาวิทยาลัยออกมาแล้ว พบเจอสิ่งน่าสนใจก็จังหวะของการกดชัตเตอร์เพื่อถ่ายภาพ รวมทั้งงานนิทรรศการภาพถ่าย แล้ว คนอ่านคงเริ่มเข้าใจแล้วว่า การเดินทางอันไร้จุดหมาย เพื่อการท่องเที่ยวแบบทั่วๆไป จริงๆ เพราะว่าไม่นำพาชื่นชมสถานที่ท่องเที่ยวมากมายนัก และบ่งบอกถึง ที่กินอาหารอร่อยๆ กลับต้องมาอ่านเรื่องการเดินทางของผม ซึ่งเดินทางไปเองเกือบ A lone แต่ไม่เหงา บางครั้งก็ปัดผม จับเส้นผม ทำหัวและผมยุ่งๆเหยิงๆ ไม่ให้เส้นผมบังสายตามากเกินไป เพราะไม่เช่นนั้น อาจจะไม่ได้พบภาพประทับใจเลย

หากว่าการเดินทางแบบบังเอิญ จะทำให้ตื่นเต้นบ้าง ก็คงเป็นเหมือนกับว่า ผมนึกถึงระหว่างทาง มีชีวิตอยู่ ก็คล้ายเพลง ทุกวินาที ให้อารมณ์ ที่มีความสำคัญกับเวลา เพราะว่า เพลง ทุกวินาที ของเจมส์... เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ อัลบั้ม ไซเรนเลิฟ โดยมีคุณค่าสำหรับ Somebody และผมชอบเพลงนี้มาก ในช่วงวัยรุ่น ฟังเพลงนี้ และรู้สึกถึงว่า ไม่มีวันหวนคืนกลับมา เอาเป็นว่า ผมมักไม่อยากหมกมุ่นกับอดีตมากเกินไป ก็บางครั้งดูรูปถ่ายเก่าเพื่อคิดถึงอดีต และพยายามคิดถึงอนาคต เพราะไม่สามารถมองเห็นอนาคตอันแน่นอน แต่ทว่า เมื่อไม่กี่วันก่อน ก็เป็นอีกครั้ง ที่มีเพื่อนของผม โทรมาหาผม ยังคงชวนผมไปทำงานที่มาเก๊า ก็ทำให้ผมวางแผนไว้ในใจเป็นเรื่องของอนาคต ครั้งที่สองถึงสาม ว่าจะไปมาเก๊า แวะเดินถนนคู่รัก แม้ว่าจะหาสาวถูกใจ เดินควงแขน จูงมือยังไม่ได้ก็ตาม และคิดจะเดินทางไปฮ่องกง ตามรอยสถานที่บางแห่ง ที่มีปรากฏในภาพยนตร์ สุดเหงากับความรัก Chungking Express (วันที่ 1 พฤษภาคม 1994 เธออวยพรวันเกิดให้ผม เหตุนี้เองที่ผมจะจดเธอไว้ในความทรงจำ หากจะเก็บมันไว้ในกระป๋องผมไม่อยากให้มันมีวันหมดอายุ แต่ถ้าต้องระบุก็ขอให้ความทรงจำที่ผมมีต่อเธอมีอายุ 10,000 ปี)…น่าไปเรียนรู้วัฒนธรรมเอเชียแบบจีน ผสมตะวันตก

เรื่องที่ผม ยกตัวอย่างภาพยนตร์ เพราะมองเห็น “ภาพ” เกี่ยวกับ Space and Time มาโชว์บรรยากาศแห่งการโหยหาอดีต เหมือนที่ ผมดูภาพยนตร์ หรือ หนังเรื่องเถียนมีมี่ 3650 วัน รักเธอคนเดียว บางฉากสถานที่ฮ่องกงถึงอเมริกา อยู่ในช่วงเวลานั้น (และไม่นานมานี้ ก็ดูหนัง Perhaps Love ของผู้กำกับคนเดียวกันที่ผ่านมา) และนึกถึง In The Mood for Love บางฉากสถานที่ฮ่องกง-สิงค์โปร์-กัมพูชา (Wong Kar Wai คือ ผู้กำกับคนเดียวกัน ซึ่งกำกับเรื่อง Chungking Express และวลีเด็ดในหนังหลายเรื่องของเขา เช่น นกไร้ขา )และอารมณ์แปลกๆ ในบางครั้งนำมาสู่การเขียน ทำให้ผมกลับมาสนทนากับตัวเอง ผ่านงานเขียนเก่าๆในความทรงจำ หลังจากเขียนเรื่องราวว่า ไว้อาลัยให้รุ่นพี่ ซึ่งเสียชีวิตไป เพราะอุบัติเหตุรถชนคน… จึงเขียนกลั่นประสบการณ์การเดินทางในสิงคโปร์ ผ่านภาพถ่ายในทุกวินาที ที่มีลมหายใจไปกับการเดินทาง ทั้งที่มีความปวดร้าว กับ ปวดหลังตามร่างกาย เหนื่อยล้า และเสียกำลังใจ บ้าง แต่ผมก็เคยเขียนๆบันทึกการเดินทางเพื่อให้กำลังใจตัวเอง มันก็เป็นพลังใจกลับมาหาตัวเอง จ้า



ผมเหมือนกับจะนำเรื่องเล่าเที่ยวไปยังไงก็ต้องกลับ และไม่ได้นำท่องเที่ยวที่แปลกประหลาดนัก ใครก็ไปกันได้ และพอกลับมาจากการเดินทาง นึกถึงช่วงแห่งความสุข ที่เราใคร่ครวญ กับวันเวลา แม้ผมจะปวดเมื่อย นั่งพิมพ์งาน บ้าง กับอ่อนล้า บ้าง แต่หยิบภาพเก่าๆ ออกมา ก็มีคุณค่า-ตัวเอง ได้ออกข้ามน้ำ ข้ามทะเลไป ก็คงไม่ให้เรื่องออกนอกทะเลไปไกลกว่าภาพถ่ายหรอก แล้วคราวหน้ามาลองฟังเรื่องบันทึกเวลากับภาพถ่าย และเรียนรู้อดีตเพื่อจะไปสู่อนาคต


ตอนที่ 2
เมื่อผมออกเดินทาง ในแต่ละก้าวของทางเดิน ซึ่งการบันทึกภาพถ่ายโดยถ่ายสถานที่ต่างๆ ทำให้เรามองเห็นโลกผ่านกล้องถ่ายรูป บันทึกภาพความเป็นจริงของสิงคโปร์ และประมาณสองปีก่อน ผมเจอลุงบุญเสริม สาตราภัย สุดยอดแห่งเจ้าของภาพถ่ายเก่าในเชียงใหม่ เขาสะสมรูปภาพเก่า ทั้งภาพถ่ายอดีต การนำรัฐธรรมนูญฉบับแรกขึ้นช้าง มาเดินโชว์ในจังหวัดเชียงใหม่ ให้คนได้ชื่นชมรู้จักรัฐธรรมนูญ และยังมีภาพที่ลุงบุญเสริม ถ่ายเก็บไว้เอง อีกมากมาย ซึ่งผมก็มีโอกาสนทนา พูดถึงเรื่องสัญชาติญาณ ความรู้สึก ที่ได้อารมณ์ และจังหวะของการถ่ายภาพในฐานะนักถ่ายรูป

ผมประทับใจ จึงมีภาพสองภาพนำเสนอไปแล้ว ก็อยากนำเสนอจังหวะ ของการถ่ายภาพแล้ว ก็ต้องการบอกว่า คนบางคนรักหลงใหลการถ่ายภาพ และความรักเป็นเรื่องของจังหวะเวลา ไร้ประโยชน์หากเราเจอรักแท้ช้าหรือเร็วเกินไป เป็นคำพูดของตัวละคร ที่ปรากฏในเรื่อง 2046 โดย Wong Kar Wai (ผู้กำกับคนนี้อีกแล้ว ) สำหรับผมเรื่องการบันทึกภาพไม่ชัดเจน ดูเบลอๆ ของสองภาพนี้ คือจุดเริ่มต้น ของเรื่องราวทั้งหมดของการเดินทางเพื่อบันทึกภาพที่นั่นก็ได้



โดยผมนึกขึ้นมาได้ ไม่กี่สัปดาห์ก่อนพร้อมกับการสนทนากับคนในร้านกาแฟแห่งหนึ่ง ว่า ภาพถ่ายก็บันทึกเวลา และในตัวมันเองภาพถ่ายบันทึกวัตถุ เช่น ถ่ายภาพรถยนต์กำลังเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ก็จะเห็นว่า มีเส้นและแสง-เงา ที่เกิดขึ้นจากการถ่ายภาพ ตามหลักฟิสิกส์นั้น เมื่อเห็นภาพถ่ายย่อมบันทึกเวลาไปในตัวมันเอง และการพัฒนากล้องถ่ายรูป มันมาพร้อมหลักการวิทยาศาสตร์ ให้ตัวกล้อง มีที่วัดแสง ต่างๆ จนกระทั่งการทำงานแบบกล้องดิจิตอล เหมือนการบันทึกภาพ สะท้อนข้อเท็จจริง ตามที่กระจกส่องหน้าของเรา

กระนั้น ผมนำเสนอภาพถ่าย สองภาพนั้น เพื่อบอกถึงการเดินทาง อย่างที่ มันควรจะเป็นไปได้ของชีวิต ที่มีการเดินทางของคนเรา และถ่ายภาพบันทึกความจริงไว้ ขณะที่เดินทางเพื่อถ่ายภาพ ผมใช้เวลาที่มีอยู่อย่างจำกัด แบบรีบเร่ง รวดเร็ว แต่ว่าผมถ่ายเวลาอาจจะได้ ส่วนเสียงเพลงไม่มีถ่ายภาพ หรือถ่ายภาพนักดนตรีเป็นตัวแทน ผมแค่ฟังเสียงเพลงในใจ และลมหายใจของผม ก็ลองมา สัมผัส ตามอารมณ์ร่วมในสิงคโปร์ ผ่านมุมมองของกล้องถ่ายภาพบันทึกอดีตกับผม มาร่วมขอให้ช่วงเวลาแห่งการหวนคืนในความทรงจำอันเบาหวิว ก่อนมันจะเลือนหาย…
…ถนนตึกรามทางเท้าในสิงค์โปร์….
ถ้าผลงานภาพ จะหายไป ทำให้เรา เกิดนึกจินตนาการไปก่อนบางอย่างจะหายไปว่า ภาพถ่ายเหมือนกระจกเงาสะท้อน/เงาในกระจก และตัวเรามีบันทึกภาพถ่ายอาจจะสร้างจินตนาการภาพต่อตัวเรา และสถานที่กลายเป็นเรื่องเล่าใหม่ๆ เพิ่มเติม นอกจากภาพที่ปรากฏเห็นแล้ว บันทึกสถานที่ และตัวเรา จะเพ่งภาพ กระจกเงา ซึ่งภาพถ่ายหลายต่อหลายครั้ง มีการเถียงกัน ในวงเหล้าเพื่อนฝูงกัน เรื่องความรู้ ทางศิลปะบ้าง ฯลฯ

แต่ สิ่งสำคัญคงต้องเรียกได้ว่า ความรู้ และการแสวงหาความรู้ มีหลายรูปแบบ ดังที่ลุงบุญเสริม ช่างภาพ นำเสนอจากสัญชาตญาณ นักปรัชญา ชื่อว่าแบร์กซอง ก็เคยเสนอว่า นี้เป็นการแสวงหาความรู้ วิธีหนึ่งของมนุษย์ โดยการใช้สัญชาตญาณ หาความรู้ และการถ่ายภาพ สะท้อนวิธีการใช้ความรู้มาสร้างเครื่องบันทึกภาพ ทั้งที่ความจำกัดของเครื่องมือ และอุปกรณ์ในการสะท้อนภาพตัวเอง จากกระจก ช่วยให้คนมาสร้างวาดรูปบันทึกภาพจิตรกรรมตัวเองได้เหมือนจริงมาก เช่น ในผลงานจิตรกรรมยุคสมัยต้นรัตนโกสินทร์

เมื่อผนวกกับความแพร่หลายของ “กระจกเงา” จากโลกตะวันตกในช่วงดังกล่าว ทำให้ความคิดเกี่ยวกับ ”ตัวตน” และความรับรู้เกี่ยวกับ “ความจริง” เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง ชนิดที่เทียบเคียงได้กับการปรากฏขึ้นของคอมพิวเตอร์ในสังคมสมัยใหม่ทีเดียวโดยเฉพาะว่าด้วย “ภาพสะท้อนของกระจก” และ “การมอง” นี้ ในจิตรกรรมฝาผนังและการประดับตกแต่งภายในพระอุโบสถ วัดราชโอรสาราม อันถือได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของศิลปะแบบ “พระราชนิยม” ในรัชกาลที่ 3 ที่มีวัฒนธรรมแบบตะวันตก และวัฒนธรรมของจีน ศิลปกรรมรุ่งเรืองผ่านทางการค้ายุคเรือสำเภา เป็นต้น
….ภาพแทนคำพูดนับพันคำ…..
จนกระทั่ง ต่อมาลักษณะวัฒนธรรมความเป็นจีน ทางศิลปะลดน้อยลง ในสมัยรัชกาลที่ 4 จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ยกตัวอย่างจิตรกรรม และประดิษฐกรรม สร้างสรรค์ของมนุษย์ เปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่าง โดยภาพจิตรกรรมฝาผนัง ยุครัชกาลที่ 5 ก็มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดโพธินิมิตรสถิตมหาสีมาราม ซึ่งมีภาพอาคารกุฎิสงฆ์วาดอย่างตึกแบบสิงคโปร์ ก็มีให้เห็นอยู่ในพัฒนาการภาพเขียน จิตรกรรมฝาผนัง ถ้าคนได้รับอิทธิพลภาพถ่าย นำมาสร้างสรรค์เป็นรูปจิตรกรรมในวัด

เมื่อใบหน้าเราสะท้อนในกระจกเงา มองเห็นตัวตน การพยายามเรียนรู้ความเป็นมารากเหง้าของเรา เช่น ตัวตนของผม มีเชื้อจีน ก็มีอากง เสียชีวิตไปแล้ว แต่ก็รับประสบการณ์ รำลึกความหลังไม่ลืม โดยการไปเคารพฮวงซุ้ย(สุสาน) ขณะเดียวกันผมก็ได้ข่าวอาหม่าของผม อายุเกือบเก้าสิบปี กำลังป่วย ซึ่งทำให้ความรู้สึก ระหว่างที่เขียนว่า มีความสำคัญต่อการออกเดินทางเพื่อไปเยี่ยมเยือนอาหม่า…และความเป็นมาของการเดินทาง แต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน ไม่ใช่แค่เพียงเที่ยวดูสถานที่ก็ได้ ภาพถ่ายเป็นสัญลักษณ์ของคน ชวนให้ตีความได้ และช่วยสะท้อนเหมือนกระจก ให้เห็นธรรมชาติ มากกว่าเรื่องเทคนิค การถ่ายภาพ ที่มีทฤษฏีมากมาย

แต่ว่าสิ่งที่เรา จะเรียนรู้ ที่ห้องอัด ห้องล้างรูป แล้ว นอกจากนั้น สิ่งที่สำคัญ คือใจ นั่นเองบางที มนุษย์ มักสนใจ อะไรกับการถ่ายภาพ ตามกรอบมาตรฐาน หนึ่งๆ มักลืมอีกกรอบหนึ่งๆ ซึ่งอาจจะซ่อนความงามอีกแบบหนึ่ง ทั้งที่เราอาจจะมองไม่เห็น เพราะว่ามันเป็นความงาม ที่มีความเป็นส่วนตัวของแต่ละคน และเรื่องความงามเป็นคนละอย่าง โดยมีความรู้ การอธิบายความงาม คนละชนิด คนละกรอบกัน....

อนึ่ง บางครั้งการค้นหา ความทรงจำ หรือกลิ่น ในประสบการณ์ ดังที่ลุงบุญเสริม เล่าให้ฟัง เขาถ่ายภาพรูปนั้น แต่เขาจำกลิ่นได้ด้วย เมื่อเราเดินทางไปไหน สิ่งที่ไม่ควรแบกไป ก็คือ สิ่งที่เราคิดว่า เป็นเครื่องมือ กล้องดีเลิศ ประเสริฐศรี ด้วยเทคนิค (ใจ) ของเราเอง สำคัญกว่าอื่นใด แม้ว่ารูปภาพจะยัง ไม่พัฒนาไปบันทึกกลิ่น....แต่ว่าภาพได้บันทึกความทรงจำให้เราทบทวนไม่ให้หลงลืมจากความชรา และภาพถ่ายยังช่วยให้เราโหยหาอดีตได้ เพราะว่าภาพถ่าย บันทึกแสง...สี...ธรรมชาติตามความเป็นจริงไว้เรียบร้อย ดังนั้น ภาพแทนคำเป็นร้อยเป็นพันคำ แล้วผมจะพูดถึงภาพอื่นๆ ต่อไป….


























ตอน ที่3(จบ)

วันนี้ ผมเริ่มงานเขียนด้วยความรู้สึกไม่ดีเท่าไหร่ ไม่ใช่ปัญหาอากาศหนาวที่นี่ ในจังหวัดเชียงใหม่ เท่านั้น แต่ว่าผมเพิ่งเดินทางกลับมาจากบ้าน เพราะว่า ผมไปร่วมงานศพ และพิธีขนโลงศพของอาหม่าลงฮวงซุ้ย(สุสาน หรือบ้าน เป็นตัวแทนอนุสรณ์สถาน) อยู่เคียงคู่กับอากงของผม และเนื่องจากผม สัมผัสความรู้สึกความเป็นเอเชีย ผ่านภาพยนตร์ ที่มีภาพเคลื่อนไหว คือดูหนังมากเกินไป จนปวดดวงตา และเริ่มเขียน ระลึกถึงความทรงจำครั้งหลังที่สิงคโปร์ ผ่านมุมมองของภาพยนตร์ มีชื่อว่า Christmas in August เป็นภาพยนตร์เกาหลีใต้ ที่มีความน่าสนใจเกี่ยวกับชีวิต

ใช่ครับ จากชื่อของภาพยนตร์ คริสต์มาส ในสิงหาคม อ่านชื่อเรื่อง ซึ่งแปลตรงๆได้ใจความง่ายๆ แล้วคงแปลกใจ เพราะว่า ชื่อเรื่องชวนปริศนาแห่งการตีความว่า การดำเนินเรื่องเกี่ยวกับในช่วงสิงหาคม ไม่ใช่ช่วงเดือนสำหรับคริสต์มาสตามปกติ ซึ่งหากได้ดูภาพยนตร์กันแล้ว ภาพสื่อถึงความหมายของภาพยนตร์นำเสนอ เรื่องเกี่ยวข้องฤดูกาลในช่วงความหนาวเย็น และทุกลมหายใจของคน สะท้อนคุณค่าของชีวิต ที่ยังอยู่ หรือตายไปแล้ว โดยสำคัญ เท่ากับ การที่ว่า คุณอยู่เพื่อใคร และตายเพื่อใคร ซึ่งพระเอกของภาพยนตร์ แสดงออกความเป็นลูกกตัญญู และถ่ายทอดความรักของเขาออกมาเป็นรูปภาพตัวเองก่อนตาย ด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม และต่อมานางเอก มาค้นพบภาพถ่ายของพระเอกวางอยู่หน้าร้านถ่ายรูป และคำถามของหนังได้ตั้งย้อนไป ย้อนมา เสมอๆ ถ้าคุณพร้อมที่จะอยู่มีชีวิตแบบตายทั้งเป็น โดยไม่ได้ทำเพื่อใครเลยได้หรือไม่...

ในภาพยนตร์นี้ พระเอกเป็นช่างภาพ เจ้าของร้านถ่ายรูปแห่งหนึ่งในเกาหลีใต้ ท่ามกลางบรรยากาศของเวลาและฤดูกาล ตามธรรมชาติ... ผมอยากเขียนเป็นภาษาพูดบรรยายว่า เอางี้หละกัน ง่ายๆ หากคุณ นึกถึง ใคร ที่มีนัยยะ ช่างภาพถ่ายภาพเก่า และเก็บภาพเก่า ผมก็นึกถึงลุงบุญเสริม สาตราภัย ขึ้นมาทันที คนถ่ายภาพเก่าของเชียงใหม่อีกจนได้ เหมือนกับตอนที่แล้ว จะหาว่าผมจะเล่าซ้ำซากๆไม่ได้ น่ะครับ มันมีความสำคัญมาก เพราะว่า ภาพเก่า คือการกลับสู่อดีตทางความรู้สึกของผม ต่อการเดินทางในสิงคโปร์

โดยจินตนาการบางอย่างเกี่ยวกับอดีต ก็ดูรูปเก่าของวัยรุ่น ยุคภาพสี แตกต่างจากยุคถ่ายภาพขาว-ดำ และระบบดิจิตอล ใช้คอมพิวเตอร์ ช่วยปรับแต่งภาพได้ด้วย สะท้อนเห็นถึงความแตกต่างรูปถ่ายกับจิตรกรรม ในยุคที่เทคโนโลยีพัฒนาขึ้นมา แล้วภาพถ่าย ก็เป็นต้นแบบแก่การวาดภาพจิตรกรรม ตามวัดทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย และความหมายของการสร้างงานศิลปะ ก็มีการถ่ายภาพ ที่มีการแสดงออก ลักษณะความเป็นมนุษย์ ตั้งแต่เกิด จนตาย ในสถานที่ต่างๆ เช่น วัด และสุสาน อาคารสมัยใหม่ ต่างๆ ซึ่งเทคโนโลยี ก็ช่วยเก็บรักษาภาพถ่าย และนำมาแสดงผ่านทางอินเตอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ ให้เราได้นำออกมาโชว์ให้ปรากฏแก่สายตาของผู้ชมภาพ

เมื่อเราจะตายจากโลกนี้ไป ไม่สามารถเก็บอะไรไว้ได้ คุณอาจจะหลงเหลือเพียงภาพถ่ายให้คนอื่นดูภาพนั้น และ เราจะคิดถึงคนที่ตาย จะเห็นคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ต่อไป โดยไม่ลืมว่าจะเตรียมตัวตายอย่างมีสติ ดังนั้น บางคนอาจจะถ่ายรูปตัวเองไว้ก่อนตาย สำหรับประดับงานศพ เหมือนกับในภาพยนตร์ดังกล่าว เพื่อบันทึกความทรงจำ… ทั้งที่เทคโนโลยีเราพัฒนาไปมาก แต่ว่าการสื่อสารก็ยังเข้าใจได้อยาก เรามีเครื่องมือ โทรศัพท์มือถือ ซึ่งประกอบด้วยกล้องในตัวมือถือเอง มันเป็นเครื่องมือเหมือนกับกระจก ช่วยสื่อภาพ และความคิดผ่านคำพูด แต่ว่า เวลาแห่งการสื่อสารไม่ง่ายดายเลย เพราะว่า ความคิดของเด็กกับผู้ใหญ่ ก็แตกต่างกัน ทั้งเรื่องความคิดทางเวลา เด็กกับผู้ใหญ่ เวลาของผู้ใหญ่ผ่านไปเร็วกว่าของเด็ก หรือว่า เวลาของเด็กช้ามาก

ในเวลาการเดินทางของผมเดินเล่นๆ ไปเรื่อยๆ ระหว่างการเดินทางในสิงคโปร์ขึ้นอยู่ กับการประจวบเหมาะของจังหวะแห่งภาพ ที่ผมอยากจะนำเสนอ แตกต่างจากที่นิทรรศการของโรงละคร ESPLANADE PRESENTS VISUAL ARTS "UNFHOTOGRAPHABLE" (เขาเขียนตัวใหญ่ๆอย่างนี้แหละๆ ลองแปลเล่นๆ เอาเอง) ที่ผมเขียนถึงในตอนที่แล้ว หัวใจแห่งการเดินทาง ภายใต้ความเป็นคนนอก ต่อนิทรรศการนี้ ก็พลังของชีวิตได้ขับเคลื่อนให้ ผมไปที่นั่น หลังจากที่ผมพบผ่านวันที่ 6/6/2006 อันเลวร้าย ซึ่งช่วงชีวิตกับภาพชีวิตของผม กับนิทรรศการภาพบรรจบกันที่นั่น ภาพแต่ละภาพในนิทรรศการต่างก็มีความหมาย และเทคนิคการถ่ายภาพของทุกคน ก็มีความลับ หรือแทนความชั่วร้าย-ดีงาม เหมือนกับสีสันภาพถ่ายขาว(ดี)-ดำ(ชั่ว)...

บางครั้งสิ่งสำคัญ การถ่ายภาพของผม มันไม่ใช่แค่เครื่องมือ ที่มีความทันสมัย กล้องถ่ายภาพของผม ไม่อาจบันทึกเสียงได้ แต่ว่าหากมันได้ถ่ายภาพวงดนตรีแล้ว ผมก็ถือว่ามีเสียงบันทึกอยู่ในนั้น และขณะผมอยู่ในสิงคโปร์ก็ไม่มีกล้องถ่ายภาพมือถือ บันทึกเสียง คลิปวิดีโอใช้ได้เลย วันแรกก่อนขึ้นเครื่องบินออกจากประเทศไทย ผมยังเจอคนไทย และพูดคุยกัน บางคนไม่เคยข้ามพรมแดนออกนอกประเทศ และจะเข้ามาทำงานสิงคโปร์ก็ถามพูดคุยกับผม ส่วนผมก็เจอสาวๆ คนไทยจะไปเที่ยวสิงคโปร์ ระหว่างจะขึ้นเครื่องบิน เราสื่อสารด้วยภาษาเดียวกัน ไม่เกิดอาการ Lost In Translation ระหว่างคนไทยด้วยกัน และน่าเสียดาย ผมไม่ได้บันทึกภาพ นักเดินทางเหล่านี้ไว้สื่อให้คนอ่านเลย

จากภาพถ่าย ซึ่งผมไม่ได้ถ่ายภาพไว้ ด้วยจังหวะไม่เอื้ออำนวย มันมีคุณค่าอะไรมากกว่ารูปภาพ ที่มีการหยิบจับขึ้นมาดูรูปนั้น หากเราจะใช้ภาพถ่ายเพื่อตามหาคนในรูปภาพ เพื่อการค้นพบกัน และเมื่อผมหลงทาง กลางคืนในระหว่างทางกลับจากท่องเที่ยว และบังเอิญเจอสาวสิงคโปร์ ก็ถามทาง โดยผมพูดกับเธอ แล้วเธอถามผมกลับมาเป็นภาษาอังกฤษว่า คุณ สามารถพูดจีน หรือ ภาษาอังกฤษ ผมเกิดอาการอึ้งไปชั่วขณะ คิดในใจว่า Lost In Translation แล้ว ผมพูดถามทางต่อ จนกระทั่ง ผมทราบว่าจะไปทางไหนกลับที่พักได้

ในข้อมูลหนังสือเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับที่ผมเปิดอ่านเจอนานพอสมควรแล้ว กล่าวถึง ความทรงจำภายในและภายนอก เกี่ยวข้องทางจิตวิทยา เช่น กลิ่นทำให้นึกถึงความทรงจำ ภาพถ่าย ปฏิทิน หนังสือ โดยในความทรงจำของแต่ละคน ก็เปรียบเทียบวันเวลา ดั่งรสชาติเค้กในหนังสือ รีเมมเบอร์ออฟทิงส์พาสต์ ที่ทำให้จิตของมาร์เซล์ พรูสต์ ย้อนเวลาได้ แค่การพูดถึง ก็ทำให้คนเราคิดถึงอดีตโดยไม่รู้ตัว(จิตไร้สำนึก ในสมองทำงาน)

ผมคิดว่า เรามีบาปไม่ลืมเช่นเดียวกัน เมื่อทหารอเมริกา เข้าไปรบในเวียดนาม ก็มีบาปจดจำไม่รู้ลืม โดยสิ่งสำคัญ มีอยู่ว่าบาปนั้น ทำให้มองไม่เห็นประโยชน์ของการลืม ดังที่ ฮอร เฮ ลูอิส เบอร์เฮส (นักเขียน) พูดถึงชายหนุ่ม มีปัญหาเขาจำทุกอย่างได้ และไม่สามารถลืมได้ เขาไม่อาจแยกแยะเรื่องเล็ก เรื่องใหญ่ จัดลำดับความสำคัญ สรุปความได้ เขาไม่อาจสรุป Idea รวบยอดได้ ในเรื่องต่างๆ ได้ บอร์เกส สรุปว่า การลืมต่างหากที่ทำให้เราเป็นมนุษย์ หาใช่จดจำไม่ และการคิด คือ การลืม ใน“เดอะบุ๊ค ออฟเมโมรี”…

กระนั้น ผมรื้อฟื้นความทรงจำกลับมาเขียน ถึงการเดินทางในสิงคโปร์ๆ อยากจะบอก ว่า เราดูละครทีวี เช่น หมวยอินเตอร์ หรือดูภาพยนตร์ แล้วเราก็เหมือนกับการท่องเที่ยวดูวัฒนธรรม และสถานที่ ต่างๆ รวมทั้งการเข้าวัด ในยุคสมัยก็เป็นการเที่ยวงานวัด แต่ว่าไม่ใช่แค่การเดินทางท่องเที่ยวเท่านั้น สำหรับบางคน ที่มีการเข้าวัดทางพระพุทธศาสนาเพื่อธรรมะ ส่วนเรื่องการเดินทางของแต่ละคน มันเป็นเรื่องความหมายทางวัฒนธรรมเอเชีย เช่น ภาพยนตร์ เรื่อง Chungking Express ซึ่งผมกล่าวถึงในตอนที่แล้ว คำว่า Express (แปลได้หลายแบบว่า แสดงความรู้สึก หรือขบวนรถไฟพิเศษ) ในคนเราหลากหลาย มีเป้าหมาย และสถานีปลายทางของการเดินทาง ไม่เหมือนกัน และก็ยกตัวอย่าง ภาพยนตร์เรื่อง 2046 ของ Wong Kar Wai ผู้กำกับคนเดียวกันอีกเหมือนที่ผมกล่าวถึงตอนที่ผ่านมาว่า เกี่ยวกับการเดินทางขึ้นขบวนรถไฟ ที่มุ่งสู่ปลายทาง 2046 จะมีโอกาสย้อนสู่ความทรงจำแห่งอดีตที่สูญหายของตน เมื่อผมคิดว่าอะไร คือ ความหมายของรักและการถูกรัก…

เรื่อง 2046 เข้ามาในความรู้สึกของผม ซึ่งเรื่อง 2046 นั้น มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับชายหนุ่มคนหนึ่ง ที่ใช้ความพยายามจะลืมเรื่องที่เกิดขึ้น ในอดีต และฝังความทรงจำที่ตัวเขาเองไม่อาจจะลืมมันลงได้ เป็นสิ่งที่เขาต้องแบกรับมันและอยู่กับมันตลอดมา ซึ่งทำให้มันเกือบเป็นไปไม่ได้ที่จะดำเนินชีวิตต่อไป… เพราะว่า วิถีชีวิต ต้องดำเนินต่อไป ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในลักษณะสังคมไทย ที่มีการผสมผสานวัฒนธรรมตะวันตก และจีน ในความหลากหลายของอัตลักษณ์คนไทย จะมีร่วมยุคสมัยกับสิงคโปร์ เกาหลีใต้ ฯลฯ และเราก็หลงลืม และปฏิเสธ รับวัฒนธรรมบางอย่างไป ในการปรับเปลี่ยนของชีวิต จึงมีพิพิธภัณฑ์ ก็สะท้อนความเป็นวัฒนธรรมของเรา เช่น พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ของไทย และพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ ก็มีความเป็นมาเกี่ยวข้องความเป็นชาติของเขา แต่ว่าผมไม่ได้บันทึกภาพไว้ การเดินทางของผม ไม่ได้เป็นการถ่ายภาพ แนวเนชั่นแนลจีโอกราฟฟิก และผมสนใจสัญลักษณ์บางอย่างของสิงค์โปร์ เช่น เมอร์ไลออน หรือ สิงโตทะเล เท่านั้น

แต่เรื่องของสิงโตทะเล ก็ยาวมากเกินกว่าจะอธิบายหมด กล่าวข้อมูลไม่ยาวๆ นักว่า สิงโตทะเล ถูกออกแบบขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของคณะกรรมการการท่องเที่ยวของสิงคโปร์ (Singapore Tourism Board - STB) ในปี 1964 – รูปปั้นนี้มีหัวเป็นสิงโต ร่างเป็นปลา ยืนอยู่บนยอดคลื่น ต่อมาไม่นานทั่วโลกก็ถือกันว่าสิงโตทะเลตัวนี้คือเครื่องหมายประจำชาติสิงคโปร์

แต่เดิมรูปปั้นนี้ตั้งอยู่ที่สวนสิงโตทะเล (Merlion Park) ข้างๆสะพานเอสพลาเนด (Esplanade Bridge) แม่สิงโตและลูกสิงโตได้กลายเป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยว มีการจัดพิธีติดตั้งสิงโตทะเลในวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1972 โดยมีประธานในพิธีคือนายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ ณ เวลาดังกล่าว ซึ่งก็คือ นายลี กวน ยู ซึ่งสิงโตตัวนี้สูง 8.6 เมตร มีน้ำหนัก 70 ตัน ทำจากวัสดุจำพวกซีเมนต์ โดยช่างฝีมือชาวสิงคโปร์ผู้เสียชีวิตไปแล้วที่ชื่อนายลิมนังเซ็ง ส่วนรูปปั้นสิงโตทะเลตัวที่สองจะมีขนาดเล็กกว่า ขนาดสูงสองเมตรและหนักสามตัน ก็ถูกสร้างขึ้นโดยนายลิมเช่นกัน ตัวสิงโตทำจากวัสดุจำพวกซีเมนต์ ผิวหนังทำจากแผ่นกระเบื้อง และตาทำจากถ้วยชาสีแดงขนาดเล็ก

ผู้ออกแบบคือนายฟราเซอร์ บรูนเนอร์ (Mr Fraser Brunner) เป็นผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำแวนคลีฟ หัวรูปปั้นเป็นสิงโตหมายถึงสิงโตที่เจ้าชายซางนิลาอุตามะเคยเห็นตอนที่พระองค์พบเกาะสิงกะปุระในปี ค.ศ. ที่ 11 ตามบันทึกของชาวมาเลย์ ส่วนหางที่เป็นปลาคือสัญลักษณ์ของเมืองโบราณเทมาเซ็ค (หมายความว่า "ทะเล" ในภาษาญี่ปุ่น) ซึ่งสิงคโปร์ถูกค้นพบมาแล้วก่อนที่เจ้าชายนิลาจะตั้งชื่อเกาะนี้ว่า "สิงกะปุระ" (หมายความว่า "สิงโต" (สิงห์) และ "เมือง" (ปุระ) ในภาษาสันสกฤต) นอกจากนี้ สิงโตทะเล หมายถึงจุดเริ่มต้นอันต่ำต้อยของสิงคโปร์ ที่ในอดีตเคยเป็นหมู่บ้านชาวประมง (เช่นเดียวกับเกาะฮ่องกง)

ผมไม่มีความคิด ตีความสัญลักษณ์ หรือใช้ทฤษฎี visualizing และแนวทางการมองภาพถ่ายเป็นตัวบท เรื่องเล่าอะไรเชิงวิชาการ ผมไม่ได้คิดอะไรๆมากมาย มันเป็นเพียงบันทึกความทรงจำของผู้ชาย คนหนึ่งถ่ายภาพระหว่างทางเพื่อไม่ให้หลงลืม การมาเรียนรู้เรื่องราวทางวิชาการโดยตัวของผมมาเอง เพียงคนเดียวในต่างประเทศ และเดินทางชื่นชมสิงคโปร์ เท่าที่ผมจำได้ว่า เดินผ่านอาคารโรงละคร Esplanade ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ กับ สถานที่ท่องเที่ยวยามค่ำ บริเวณพื้นที่ริมน้ำ ได้แก่ Clarke Quay, Boat Quay ย่านไชน่าทาวน์ (China Town ผมเห็นรอยประทับฝ่ามือดาราฮ่องกง) ย่านชอปปิ้ง บนถนน Orchard และร้านหนังสือ ต่างๆ

แม้ว่า ผมไม่มีเวลาเข้าห้องสมุดมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ซึ่งผมก็ยังรู้สึกดีได้ออกมาข้างนอกมหาวิทยาลัย ก็ขอบคุณ นักวิชาการ คนหนึ่ง เขาพาผมท่องเที่ยวชมสิงคโปร์ (เขาขอให้เป็นความลับ ดังนั้น ผมไม่เปิดเผยชื่อ น่ะ ครับ) โอ้โห ไม่งั้น ผมคงลำบากกับการเดินทาง แม้ว่าจะพกแผนที่สิงคโปร์มาจากเพื่อนคนหนึ่งในไทยแล้ว ผมก็อาจจะเดินมึนงงอยู่คนเดียวนั่นเอง ซึ่งผมเดินบนถนน ได้เห็นประชากรหลากหลายชาติพันธุ์ จีน มาเลย์ อินเดีย และผมพบเพื่อน ใหม่ๆ ในมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ เช่น รูมเมทของผม ซึ่งเขาเป็นอาจารย์ อยู่ในประเทศฟิลิปปินส์ และไม่มีปัญหาในการนอนหลับพักผ่อน ด้วยเสียงกรน ครอกๆ แหะๆ (ล้อเล่น)

ก่อนผมจะไปขึ้นเครื่องบิน กลับไทยแลนด์ ก็นั่งรถแท็กซี่ร่วมทางไปสนามบินกับนักวิชาการกัมพูชา (ไม่ได้วางแผนการณ์เรื่องเขาพระวิหาร กันหรอก น่ะครับ ) โอกาสทุกๆอย่างของการเดินทาง เกี่ยวกับการเรียนรู้ ตัวเอง เพื่อน และแสดงออกมิตรภาพ เหมือนกับอยู่ในครอบครัว ญาติ พี่น้อง ของเรา ได้เรียนรู้สถานที่ เวลาในการเดินทางท่องเที่ยวกับผู้คน




ในที่สุด ผมขอให้คนอ่าน มีความสุข ที่แวะเข้ามาเลือกอ่านคอลัมภ์ของผม ดูภาพและข้อเขียน มองเห็นศิลปะความงดงามของภาพถ่ายแห่งชีวิต ผมหวังว่าคนอ่านเปิดใจให้กว้าง ผมอาจจะไม่ได้นำเสนอการท่องเที่ยวค้นพบสิ่งยิ่งใหญ่ทางวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องไทม์แมชชีน หรือ หลุมดำ และผมไม่ได้ถ่ายภาพ เพื่อพาเที่ยวพิพิธภัณฑ์อันน่าตื่นตาก็ตาม แต่ว่าการเดินทางของผม มีการค้นพบ คือ ความจริงอันเป็นสุขกับการเดินทางในสิงคโปร์ น่ะครับ !!!…

ผลกระทบของการพัฒนาและโลกาภิวัตน์ต่อชาวขมุระหว่างแม่น้ำโขงตอนบน ไทย-ลาว

ผลกระทบของการพัฒนาและโลกาภิวัตน์ต่อชาวขมุระหว่างแม่น้ำโขงตอนบน ไทย-ลาว
ผลกระทบของการพัฒนาและโลกาภิวัตน์ต่อชาวขมุระหว่างแม่น้ำโขงตอนบน ไทย-ลาว นาย อรรคพล สาตุ้ม

บทนำ : ผลกระทบของการพัฒนาและโลกาภิวัตน์ต่อชาวขมุระหว่างแม่น้ำโขงนี้ กล่าวถึงปัญหา 4 ประการ ดังนี้ 1) การเปลี่ยนแปลงของขมุชายแดนในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) ผลกระทบของการพัฒนาตามกระแสโลกาภิวัตน์ ที่มีผลต่อชาวขมุ 3) การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวขมุ 4) ทางเลือกของการพัฒนาชาวขมุ วิธีการศึกษาโดยการเก็บข้อมูลเอกสาร และข้อมูลภาคสนาม มุ่งเน้นไปที่กลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบของการพัฒนาและโลกาภิวัตน์ในพื้นที่ บ้านป่าอ้อย ห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว

บริบทความสำคัญของขมุทางประวัติศาสตร์ระหว่างแม่น้ำโขงตอนบนไทย-ลาว

ชาวขมุมีถิ่นฐานอยู่ตามบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตลอดชายแดนไทย-ลาว ชาวขมุเป็นชนชาติเก่าแก่กลุ่มหนึ่งของภูมิภาคอุษาคเนย์ และอาจจะเป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินใหญ่ มาก่อน กลุ่มอื่นๆ เช่น ก่อนที่กลุ่มคนในตระกูลไทย-ลาว จะเคลื่อนย้ายเข้ามาและน่าจะมีส่วนเป็นเจ้าของวัฒนธรรมการถลุงเหล็ก และการสลักหินยุคแรกๆด้วย และขมุ ถือว่าเป็นชาติพันธุ์กลุ่มย่อยของชาวข่า ข่าฮัด ข่าฮอก ข่าเม็ด ข่าหมุ(ขมุ)ดังนั้นขมุเป็นกลุ่มชน ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งในฐานะของความเป็นชนชาติของขมุเองและในฐานะที่เป็นกลุ่มที่คงวัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ ที่มีความเป็นดึกดำบรรพ์อยู่อย่างเด่นชัด คือ ความเป็นมนุษย์ที่ยังเคารพผู้อาวุโสที่เป็นแหล่งของประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ และมีความถ่อมตนที่ไม่ได้ เคยคิดว่ามนุษย์ยิ่งใหญ่ มีอำนาจกว่าธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิตอื่นที่อยู่ร่วมกัน แต่มีความรักเอื้ออาทร ที่มีพื้นฐานว่า มนุษย์ต้องช่วยเหลือกัน ต้องอยู่ร่วมกัน ต้องแบ่งปันกัน และไม่เคยลืมอดีตดังจะเห็นได้จากพิธีกรรมความเชื่อต่างๆ

การรับรู้ศึกษาเรื่องราววิถีชีวิตของขมุ จึงจำเป็นอย่างยิ่ง หากเราต้องการเข้าใจความเป็นมาของวัฒนธรรมไทยและของกลุ่มอื่นๆในอุษาคเนย์หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ปราณี วงษ์เทศ,2543)ชาวขมุถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มภาษามอญ-เขมร มีชื่อทางชาติพันธุ์วิทยาว่า “ออสโตรเอเชียติก”(เสถียร ฉันทะ,2547)เรื่องเล่าและตำนานของขมุว่าครั้งหนึ่งขมุเป็นกลุ่มที่มีความยิ่งใหญ่และเคยสร้างเมืองเป็นหลักแหล่งของตนเอง ซึ่งคนลาวทางตะวันออกถือว่าขมุเป็นกลุ่มที่มีความยิ่งใหญ่และเคยสร้างเมืองเป็นหลักแหล่งของตนเอง ดังนั้นขมุเป็นต้นตระกูลของผู้คนในท้องถิ่นนั้นมาก่อน และมีอำนาจอยู่เหนือภูตผีวิญญาณทั้งหลาย ชาวขมุมีบทบาทสำคัญในการประกอบพิธีกรรมบางอย่างในราชสำนักหลวงพระบาง จิตร ภูมิศักดิ์ สันนิษฐานและรวบรวมเรื่องราวของขมุเอาไว้ว่า ชาวข่าหมุ เรียกตัวเองว่า “ขมุ” หมายถึง ความเป็นคน

แต่ก็มีการถกเถียงเรื่องนี้ของความหมาย เช่น ต้องเรียกกำมุ ไม่ใช่ขมุ คนกำมุไม่พอใจที่ใครเรียกขมุ ถือเป็นคำเรียกดูถูกทางชาติพันธุ์ เพราะคำขมุมาจากข่ามุ หมายถึงขี้ข้า แต่กำมุเป็นคำเรียกตัวเองหมายถึงคน) เพื่อยกระดับคุณค่าศักดิ์ศรีของกลุ่มชาติพันธุ์และการตอบโต้การดูถูกเหยียดหยามเพื่อนำไปเป็นข่า จากหลักฐานดังกล่าวจึงพอคาดคะเนได้ว่า ขมุ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในเขตสุวรรณภูมิหรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีมาตั้งแต่อดีตกาลก่อนหน้าจะสถาปนาอาณาจักรล้านช้างในปีพ.ศ.1896ของเจ้าฟ้างุ้ม บริเวณอาณาจักรที่ชื่อเมืองชวา หรือเซ่า บริเวณหลวงพระบาง กษัตริย์ทั้งหมด 35 องค์ และมีหลักฐานยืนยันกษัตริย์ลำดับที่ 9-12 เป็นชาวข่าหรือชาวขมุ จนกระทั่งเกิดยุครวมอาณาจักรล้านช้างกล่าวอย่างย่อๆในกลุ่มชาติพันธุ์ มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์กับความสัมพันธ์กันของไทย-ลาวนั้น มีความสืบเนื่องและการแลกเปลี่ยนกันในราชอาณาจักรล้านนา-ล้านช้าง-สยาม

เมื่อมีการถูกคุมคามจากปัจจัยภายนอกของการล่าอาณานิคมและมีปัจจัยภายในที่ต้องพัฒนาประเทศของสองประเทศ ทำให้ชุมชนชายแดนถูกผนวกกลืนรวมในระดับความสัมพันธ์ภายใต้ประเทศ และแบ่งแยกออกจากกัน ในช่วงนั้นฝรั่งเศสเข้าปกครองลาว ฝรั่งเศสเลือกให้เวียงจันทน์เป็นศูนย์กลางด้านการปกครอง และผู้ปกครองเป็นคนฝรั่งเศสจำนวนน้อย ส่วนใหญ่ให้คนเวียดนามเป็นผู้ปกครอง รวมถึงอพยพคนเวียดนามเข้ามาทำนาในลาว พวกลาวส่วนใหญ่ยอมรับสภาพของตนแต่โดยดีแม้จะถูกกดดันไม่น้อยจากพวกเวียดนามอพยพ การเก็บภาษี และการเกณฑ์แรงงานของฝรั่งเศส กลุ่มชาตินิยมที่ต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศส ส่วนใหญ่เป็นพวกลาว-เทิง(ดังนี้มีกลุ่มชาติพันธุ์ขมุ เพราะคำนี้รัฐบาลลาวใช้เรียกขมุ ว่าลาวเทิง คือลาวบนที่สูง และนโยบายรวมพวกกลุ่มชาติพันธุ์ของรัฐบาลลาว)(สุวิไล เปรมศรีรัตน์,2541)กับเวียดนามตามเมืองใหญ่ๆ แต่ชาวเวียดนามก็ทำไปเพื่อเอกราชของชาติตนโดยเฉพาะในใจก็หมายมั่นว่าจะยึดเอาลาวและกัมพูชามาเป็นของตนให้ได้ในอนาคตมีชาวลาวลุ่มเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ให้ความสนใจกับการก่อตั้งขบวนการชาตินิยมของเวียดนาม ส่วนใหญ่เป็นลูกหลานชนชั้นปกครองที่ถูกส่งตัวไปศึกษาที่ฮานอยและไซ่ง่อน ลัทธิคอมมิวนิสต์ยังจำกัดวงแคบอยู่ในหมู่ชาวเวียดนามผู้ศรัทธาในโฮจิมินห์ และต้องเผชิญการปราบปรามจากหน่วยรักษาความมั่นคงของฝรั่งเศสอยู่เนืองๆ พรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนได้ก่อตั้งขึ้นภายใต้การนำของเวียดนาม โดยมีชาวลาวแท้ๆเพียงคนเดียวเท่านั้นที่เข้าร่วมขบวนการตั้งแต่ช่วงก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 (ลาวและกัมพูชา,2544)และไทยตกอยู่ภายใต้กึ่งอาณานิคม หรือรัฐกันชน

การเปลี่ยนผ่านยุคสมัยของไทย ที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปีพ.ศ.2475 และลาวที่ขาดการติดต่อกัน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของลาวทำให้มีปัญหาแนวพรมแดนได้มีผลต่อแม่น้ำโขงและปัญหาชายแดนสืบต่อมาถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย ยุคจอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่มีหลวงวิจิตรวาทการ ผลิตซ้ำปัญหาการนิยามพรมแดนในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มีนโยบายเน้นความมั่นคงจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่2 ญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงกิจการต่างๆของอินโดจีนกองทัพไทยภายใต้การนำของหลวงพิบูลสงครามได้ทำศึกกับฝรั่งเศสในอินโดจีนหลายครั้งเพื่อชิงแดนแขวงจำปาศักดิ์กับไชยะบุรีบนฝั่งตะวันตกกลับคืนมา ขณะที่การสู้รบทางบกยังไม่ชี้ขาด(ทางน้ำไทยแพ้)ญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงและเสนอให้มีการพักรบเพื่อเจรจาตกลงกัน ส่งผลให้ฝรั่งเศสต้องยอมยกดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงกลับคืนให้ไทย

แม้จะเสียหน้าอยู่บ้าง แต่ฝรั่งเศสยังได้ชื่อว่าครองอำนาจอยู่ในอินโดจีนต่อมาอีกสี่ปี ญี่ปุ่นเห็นถึงลางแพ้ของฝ่ายตน จึงได้บังคับให้เจ้าศรีสว่างวงศ์ประกาศเอกราชหลังจากญี่ปุ่นแพ้สงคราม ฝรั่งเศสก็เข้ามาเผชิญกับการต่อต้านจากเจ้าอุปราชเพชราช นายกรัฐมนตรีในยุคสงครามและขบวนการ ลาวอิสระ ที่ก่อตั้งขึ้นต่อต้านฝรั่งเศสกับญี่ปุ่นอย่างหนัก คณะรัฐบาลของขบวนการลาวอิสระได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเวียดมินห์ของโฮจิมินห์ได้พยายามก่อตั้งระบบการบริหารประเทศที่ทรงประสิทธิภาพขึ้น เจ้าสุภานุวงศ์ (เจ้าชายแดง)พระอนุชาต่างมารดาของเจ้าอุปราชเพชราชทรงก่อตั้งแนวร่วมลาวรักชาติขึ้น และทางการเจรจาต่อรองกับฝรั่งเศส แต่ก็เปล่าประโยชน์ฝรั่งเศสเคลื่อนกำลังขึ้นเหนือ ขบวนการลาวอิสระซึ่งได้รับการสนับสนุนจากพวกเวียดนาม พยายามก่อการขึ้นที่เมืองท่าแขก แต่กลับถูกฝรั่งเศสโอบล้อมโจมตีจนแตกพ่าย

แม้จะกลับมาเป็นของฝรั่งเศสอีกครั้ง แต่ฝรั่งเศสก็ยอมอ่อนข้อมอบสิทธิในการปกครองตนเองให้กับลาว ส่งผลให้ขบวนการลาวอิสระแตกแยกออกเป็นหลายฝ่ายฝ่ายแรกเจ้าเพชราช ซึ่งเสด็จหนีมาตั้งรัฐบาลผลัดถิ่นขึ้นที่กรุงเทพฯ ฝ่ายที่สองคือเจ้าสุภานุวงศ์ ซึ่งมีสัมพันธ์แนบแน่นกับโฮจิมินห์และคอมมิวนิสต์เวียดนาม ฝ่ายที่สามนำโดยเจ้าสุวรรณภูมาซึ่งเข้าข้างฝรั่งเศส ส่งผลให้ฝรั่งเศสต้องดำเนินการทุกอย่างโดยไม่ได้รับความร่วมมือจากขบวนการลาวอิสระ ครั้นปีพ.ศ.2492 ลาวก็มีฐานะเป็น สหพันธรัฐเอกราช ในสหภาพฝรั่งเศส ขบวนการลาวอิสระล่มสลายหนึ่งปีต่อมาเจ้าสุภานุวงศ์ทรงประกาศก่อตั้ง แนวร่วมลาวรักชาติ ขึ้นใหม่และได้พัฒนาขึ้นมาเป็นขบวนการคอมมิวนิสต์ประเทศลาว หลังฝรั่งเศสถอนกำลังออก พ.ศ. 2496 สหรัฐซึ่งหวั่นเกรงว่าลัทธิคอมมิวนิสต์จะขยายอิทธิพล จึงทำการแทรกแซงส่งเงินช่วยเหลือรัฐบาลฝ่ายขวาในนครเวียงจันทน์ ในขณะที่ขบวนการประเทศลาวได้ตั้งฐานที่มั่นขึ้น ที่แขวงหัวพันกับพงสาลีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การเมืองและการทหารในช่วงหลายปีต่อมา มีแต่ความสับสนวุ่นวาย เริ่มตั้งแต่ยุครัฐบาลผสมปีพ.ศ.2503 ตามมาด้วยการก่อรัฐประหารและรัฐประหารเพื่อต่อต้านการทำรัฐประหารทั้งของฝ่ายเป็นกลางและฝ่ายขวาหลายครั้ง

จนกระทั่งพ.ศ.2507 ขบวนการประเทศลาวก็ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมการประชุมเจรจาใดๆด้วยอย่างสิ้นเชิง เพราะเชื่อว่ามีแต่การใช้กำลังทหารเข้ายึดอำนาจนั้น จึงจะเป็นทางแก้ที่ได้ผลดีที่สุด ช่วงปี พ.ศ.2507-2516 แม้พื้นที่ยึดครองของขบวนการประเทศลาวจะถูกระดมทิ้งระเบิดจากฝูงบินสหรัฐฯอย่างหนัก แต่ก็ยังยืนหยัดสู้รบขยายพื้นที่ต่อไปโดยไม่ย่อท้อ เมื่อสหรัฐถอนตัวจากสงครามเวียดนาม ปี พ.ศ.2516จึงมีการเจรจาหยุดยิงในลาว โดยขบวนการประเทศลาวมีอำนาจต่อรองมากที่สุด ในที่สุด ปีพ.ศ.2518 จึงสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ช่วงห้าปีต่อมาลาวได้นำนโยบายคอมมิวนิสต์มาใช้อย่างเข้มงวด ทั้งการควบคุมพระพุทธศาสนา การตัดสัมพันธ์กับไทย และการใช้ความรุนแรงเข้าปราบปรามชนกลุ่มน้อยเผ่าม้ง(กลุ่มชาติพันธุ์ ที่เรียกว่า ลาวสูง) ผู้ปฏิเสธไม่ยอมวางอาวุธและไม่ยอมรับอำนาจของทางการ มีราษฎร์หลายหมื่นคนถูกจับกุมและส่งตัวไป รับการอบรม ยังค่ายสัมมนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(ลาวและกัมพูชา,2544)

อย่างไรก็ตาม กลุ่มชาติพันธุ์ ลาวเทิง-ชาวขมุ เคยมีความสำคัญได้ปรากฏตัวตน ในฐานะกลุ่มชาตินิยม ที่ต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศส (เจ้าอาณานิคม) แต่ขมุกลับมีอำนาจหดหายลงเรื่อยๆจากประวัติศาสตร์ แทนที่จะพัฒนาการต่อเนื่อง และสะท้อนตัวตนของขมุเอง ดังกล่าวของความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาทางการเมืองภายในประเทศ กรณีกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง เป็นต้น ส่วนปัญหาอื่นๆในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลง สปป.ลาว ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง คือการตัดความช่วยเหลือ และการปิดล้อมทางเศรษฐกิจจากประเทศตะวันตกประกอบกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากความเสียหายของสงคราม รวมทั้งการสูญเสียบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถที่อพยพลี้ภัยไปต่างประเทศจำนวนมาก แต่รัฐบาลใหม่ของสปป.ลาว ก็มีความพยายามอย่างมากในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ภายหลังสงครามในช่วงปี พ.ศ.2521-2523 และมีการกำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม 5ปี ฉบับแรกในปีพ.ศ.2524-2528 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ลาวสามารถพึ่งตนเองได้ในด้านอาหาร และความเป็นอยู่พื้นฐานต่างๆรวมทั้งการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน สร้างเส้นทางคมนาคมสายหลักในประเทศ พัฒนาการแจกจ่ายกระแสไฟฟ้า และพัฒนาอุตสาหกรรม

บริบทการเปลี่ยนแปลงของขมุชายแดนในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุการณ์ประเทศสปป.ลาวใช้ระบบเศรษฐกิจที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ ในขณะนั้น ทำให้เศรษฐกิจของชาติขยายตัวช้า และไม่สม่ำเสมอ สืบเนื่องมาจากสาเหตุภายในที่กล่าวมานั้น ก็ยังมีปัจจัยที่เกิดจากภายนอกที่เกิดจากสถานการณ์โลกอีก โดยเฉพาะเหตุการณ์การปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศสหภาพโซเวียตโดยอาศัยหลักเปเรสตอยก้า และกลาสน๊อสในปี พ.ศ.2528 มีผลกระทบต่อนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจของสปป.ลาวอย่างมาก เพราะลาวจำเป็นต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากประเทศในยุโรปตะวันออกและประเทศสหภาพโซเวียตเป็นอย่างมาก ทำให้พรรคประชาชนปฏิวัติลาวจึงต้องมีการกำหนดแนวทางการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางเศรษฐกิจใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยผ่านการประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ 4 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2529 ได้มีมติรับรองแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม 5ปี ฉบับที่2(2529-2533)และรับนโยบายพัฒนาประเทศตามนโยบาย จินตนาการใหม่ หรือกลไกเศรษฐกิจใหม่(New Economic Mechanism:NEM)(สุรชัย ศิริไกร,2541)สภาพการณ์ของประเทศลาว ในปีพ.ศ.2532 นับเป็นปีที่ประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ที่ตกต่ำและมาตรฐาน การดำรงชีวิตที่ต่ำ ซึ่งปรากฏให้เห็นโดยทั่วไป ตามเมืองสำคัญต่างๆไม่ว่าจะเป็นปากเซ เวียงจันทน์ และหลวงพระบาง ปีพ.ศ.2532 นับเป็นปีที่2 ที่รัฐบาลนำนโยบายจินตนาการใหม่ มาใช้อย่างจริงจังในทางการเมืองระหว่างประเทศ นับเป็นปีที่ลาวเริ่มเปิดประตูสู่โลกภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโลกตะวันตก ผู้นำลาวข้ามแม่น้ำโขงมาเยือนไทย และเดินทางไปเยือนญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศผู้นำทางด้านเศรษฐกิจแห่งเอเชีย เดินทางไปเยือนจีน และฝรั่งเศส เพื่อแสวงหาความร่วมมือและความช่วยเหลือจากประเทศตะวันตก นโยบายจินตนาการเริ่มส่งผลมีการจัดระเบียบและข้อกำหนดกฏเกณฑ์ใหม่ๆเกี่ยวกับการค้า โครงการก่อสร้าง โครงสร้างพื้นฐานหลายๆโครงการได้บรรลุผลสำเร็จ มีนักลงทุนจากต่างประเทศโดยเฉพาะนักลงทุนจากประเทศไทยได้เข้าไปลงทุนในลาว ถนนทุกสายมุ่งสู่เวียงจันทน์(มานะ มาลาเพชร,2533)

ในด้านการเมืองระหว่างประเทศปีนี้นับเป็นปีแรกที่ลาวเริ่มดำเนินการทางการทูต เพื่อขยายความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศนอกค่าย สังคมนิยมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไทย และสหรัฐอเมริกา เพื่อสนองตอบต่อความจำเป็นทางด้านเศรษฐกิจ รวมทั้งได้กระชับความสัมพันธ์กับญี่ปุ่น และฝรั่งเศส ด้วย ความสัมพันธ์ไทย-ลาว ได้รับการสานต่อโดยการเดินทางไปเยือนเวียงจันทน์ของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธนโยบายจินตนาการใหม่กล่าวเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจแล้ว จินตนาการใหม่ หมายถึงการบริหารเศรษฐกิจแบบใหม่ที่มีส่วนสำคัญต่อการเสริมสร้างบรรยากาศให้เอื้อประโยชน์ต่อทางการค้าการลงทุน การเปิดให้ธุรกิจของภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ ตลอดจนนิติบุคคลมีอิสระในการตัดสินใจกำหนดแผนการประกอบกิจการของตน รับผิดชอบต่อการขาดทุน กำไร ตลอดจนการเสียภาษีให้กับรัฐ(สุนทร คันทะวงศ์,2543)นับแต่ลาวเปิดประเทศและพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทางทุนนิยม นักธุรกิจไทย ได้ลงทุนในสปป.ลาว และลาวเสียดุลการค้าไทย เนื่องจากลาวต้องซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคจากไทยและวัสดุก่อสร้าง แนวทางในการลดการเสียเปรียบทางการค้าระหว่างลาว-ไทย คือการเพิ่มปริมาณการผลิตและการขายกระแสไฟฟ้าแก่ไทย รัฐบาลลาวมีโครงการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่บนแม่น้ำโขงและโครงการ22สาขาเพื่อขายกระแสไฟฟ้าแก่ไทยและเวียดนามโดยร่วมลงทุนกับบริษัทต่างชาติและโดยการสนับสนุนจากADB(สนมพรรณ วรวิเชียรวงษ์,2544 )

การเปลี่ยนผ่านกลไกเศรษฐกิจใหม่ ทำให้สถานะเข้าถึงตลาดท้องถิ่นเพื่อสอดคล้องกับภาคบริการของลาวในท้องถิ่น เช่นเดียวกับมีศูนย์กลางโรงเรียนและสุขภาพ ทั้งศูนย์กลางการเมือง ลงทุนในสุขภาพ –การศึกษา ตลอดจนงบประมาณการใช้จ่ายต่างๆ อย่างไรก็ตาม การเข้าถึงต่อทรัพยากรพื้นที่ การเติบโตในการใช้จ่ายซื้อสินค้าของพื้นที่พึ่งพิงกระแสภายนอกประเทศ และกลับมาในศูนย์กลางรัฐ ที่มีสินค้าราคาสูง กับการหาประตูช่องทางระบายสินค้าออกทางทะเล ทั้งหมดของนโยบายใหม่ทำให้เกินจริง ไม่ว่าจะเป็นภาษีอากร-รายได้ นักลงทุนได้ไหลเข้ามาในแหล่งทรัพยากรพบได้บ่อยกับป่าไม้ ตัดไม้ ส่งออกไม้ กำลังทำขึ้นประมาณ50 เปอร์เซ็นต์ เดินตามขายพลังงานน้ำและเสื้อผ้า ส่งออก จาก บริษัทต่างชาติการพัฒนาขายพลังงานและการมีประชาสังคม NGOs กังวลเรื่องสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์กับภูมิภาค โลกาภิวัตน์ในกระบวนการขนส่งลาวสัมพันธ์กับโลกขนาดใหญ่และผลกระทบภูมิภาคด้วย ภูมิรัฐศาสตร์ และเศรษฐกิจ ที่มีความสัมพันธ์ตั้งแต่พ.ศ.2523 มีการติดต่อ ประเทศไทยซึ่งถือว่ามีอิทธิพลเศรษฐกิจเหนือพรรคคอมมิวนิสต์ลาว กังวลว่า การเติบโตของกระบวนการประชาธิปไตยไทย จะส่งผลต่อทางความคิดคนลาว รวมถึงความน่าชื่นชมทางเศรษฐกิจของชนชั้นกลางไทย อีกทั้งด้านการขนส่งสินค้าและปัจจัยส่งผลต่อประเทศลาวถูกครอบงำทางโทรทัศน์และการท่องเที่ยว(Grant Evans,2002)

ซึ่งดังที่มีผลจากโครงสร้างของนโยบายในประเทศสปป.ลาวเอง ละเลยการสนับสนุนอนุรักษ์วัฒนธรรมชาวขมุอย่างจริงจัง และผลกระทบจากประเทศไทย ในฐานะประเทศ ที่มีพรมแดนติดกัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในขมุชายแดน ท่ามกลางกระแสการพัฒนาและโลกาภิวัตน์ด้านการสื่อสาร โทรคมนาคมขนส่งสินค้าแนวชายแดน ที่เข้ามาตามแนวชายแดนแม่น้ำโขงตอนบนผลกระทบของการพัฒนาและโลกาภิวัตน์ ในนามของสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจหลังสิ้นสุดยุคสงครามเย็น กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมรวมกลุ่มกันเข้าประกาศเขตการค้า และจับมือกันรื้อนโยบายที่เป็นอุปสรรคและกีดกันทางการค้า โลกถูกเชื่อมเข้าด้วยกันโดยการคมนาคมและการสื่อสาร พร้อมๆกับการแพร่ขยายและเชื่อมต่อวัฒนธรรมกันเข้าด้วยความซับซ้อน ทั้งหมดว่ากันว่าโลกกำลังจะจัดระเบียบใหม่ ที่อยู่ภายใต้โลกาภิวัตน์(ศุภชัย เจริญวงศ์,2536:1)

นายกรัฐมนตรี ชาติชาย ชุณหะวัน เปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า นายไกรสอน พรหมวิหาร อดีตนายกรัฐมนตรีตอบรับนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ นักลงทุนไทยทำการค้ากับสปป.ลาว สร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว และยังเปิดฉากการทูตโดยนายกรัฐมนตรีเยี่ยมเยือนประเทศลาว และ พระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี(สุภรัตน์ เชาวน์เกษม,2544)การใช้นโยบายการต่างประเทศปูทางแก่นโยบายทางเศรษฐกิจของไทยในภูมิภาคอินโดจีน รัฐบาลอานันท์ก็สนับสนุนการค้าเสรี ให้เป็นจริงมากยิ่งขึ้น พร้อมกับการประสานนโยบายร่วมกันกับนานาประเทศในเอเชีย เพื่อผลักดันการสร้างเขตการค้าต่างๆโลกทั้งโลกกำลังถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกันอย่างไร้พรมแดนกำแพงกีดขวางอีกต่อไปการจัดแบ่งปริมณฑลทั้งระดับโลก(สังคมนิยม-ประชาธิปไตย)และภูมิภาคโลก(รัฐชาติ-รัฐชาติ)ในอีกแง่หนึ่งเส้นพรมแดนแบบเก่ากำลังลบหายไป พรมแดนที่เป็นอำนาจของรัฐชาติที่ขยายไปถึง ตัวของมันเองก็เป็นอำนาจด้วยพรมแดน จึงไม่ใช่องค์กรอิสระที่แยกตัวออกจากโครงสร้างสังคมอย่างสิ้นเชิง ในทางตรงข้ามกลับผูกติดเชื่อมกับสังคมอย่างแนบแน่น การก่อรูป การไหวตัว และเปลี่ยนแปลงพรมแดนในแต่ละครั้ง จึงหมายถึงภาพสะท้อนรูปลักษณ์หนึ่งและนโยบายการค้าเสรี หรือ เขตเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้ทุน แรงงาน สินค้า และตลาด เปิดออกและโยกย้ายกันอย่างอิสระนั้น เมื่อด้านหนึ่งก็คือการก้าวข้ามพรมแดนชาติไปอย่างเสรี อีกด้านหนึ่งพรมแดนก็กำลังถูกลบเลือนไปโดยเฉพาะการขยายตัวทางการค้าและการลงทุนในสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ(ศุภชัย เจริญวงศ์,2536)

พรมแดนเส้นแบ่งที่ลากผ่านไปบนพื้นที่ทางภูมิศาสตร์เพื่อสร้างขอบเขตและเป็นสัญลักษณ์อำนาจของรัฐชาติ ซึ่งย่อมสัมพันธ์กับแม่น้ำโขง บนพื้นผิวโลกนี้ที่ประกอบด้วยภูเขาและ อื่นๆ นอกจากเป็นเส้นแบ่งทางภูมิศาสตร์ยังถูกใช้เพื่อการตอกย้ำแบ่งเขาแบ่งเราในความรู้สึกคนที่มีอุดมการณ์ของชาตินิยม ครอบงำข้ามาด้วย และตอกย้ำด้วยความมั่นคงต่อการพัฒนาประเทศไทย จนเปลี่ยนผ่านสู่ยุคพรมแดนชาติในโลกาภิวัตน์ ที่มีความร่วมมือทางภูมิภาคหรือสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจดังนั้น ในช่วงอดีตของความขัดแย้งทางอุดมการณ์ สิ่งที่คนในแถบชายแดนทำได้ก็คือ ไม่เป็นศัตรูต่อกัน แต่ก็ไปมาหาสู่กันน้อยลง ขณะเดียวกัน ระบบวิทยุโทรทัศน์ และไฟฟ้าก็ยังมิได้แพร่หลายไปถึงบริเวณชายแดน การเผยแพร่วัฒนธรรมจากเมืองหลวง และวัฒนธรรมระดับโลกยังมีน้อย ผลก็คือวัฒนธรรมแบบชายแดนยังมีอยู่มาก 30กว่าปีที่ผ่านมา ขณะที่วัฒนธรรมชายแดนจึงรักษาเอกลักษณ์ของตนเองไว้ได้อย่างโดดเด่น ขณะที่วัฒนธรรมท้องถิ่นทั่วๆไปถูกวัฒนธรรมระดับโลกและระดับชาติครอบงำมากขึ้นตามลำดับผลกระทบของการพัฒนาสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจต่อวัฒนธรรมชายแดน เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจการเมืองระดับสากลส่งผลให้รัฐต่างๆเป็นศัตรูต่อกัน บริเวณชายแดนเหล่านี้ จึงถูกตัดขาดจากการสื่อสารเป็นเวลานาน แต่สถานการณ์ดังกล่าวได้เปลี่ยนไปมาก

นับตั้งแต่ประเทศสังคมนิยมทั้งหลายหันมายอมรับระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี และพรรคคอมมิวนิสต์ที่ต่อสู้เพื่อช่วงชิงอำนาจรัฐประสบภาวะล้มละลาย พร้อมๆกับการเติบโตของพลังเศรษฐกิจแบบทุนนิยมในรับที่หันหลังให้กับลัทธิสังคมนิยม จะเห็นได้ว่าปมเงื่อนของสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ คือ การนำเอาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเข้าไปในบริเวณชายแดน การเข้าไปใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างขนานใหญ่หลังจากที่เคยใช้น้อยมาในอดีต เช่น การตั้งโรงงานอุตสาหกรรม ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นทำให้เราพบว่าวัฒนธรรมระดับโลกและวัฒนธรรมระดับชาติเติบโตขึ้นมาก และได้เข้าไปมีบทบาทครอบงำวัฒนธรรมท้องถิ่นมากขึ้นเป็นลำดับ ทำให้วัฒนธรรมท้องถิ่นถูกทำลาย หรือเปลี่ยนแปรเป็นวัฒนธรรมระดับชาติและระดับโลกมากขึ้นเรื่อยๆ แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในทศวรรษต่อไปนี้สำหรับดินแดนสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจอันเป็นช่วงเวลาที่สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจจะได้รับการส่งเสริมอย่างเต็มที่ ก็คือวัฒนธรรมโลก และวัฒนธรรมชาติจะแพร่ขยายรุกเข้าไปในบริเวณชายแดนอย่างมากมาย หลังจากที่เข้าครอบงำวัฒนธรรมระดับท้องถิ่นเรียบร้อยแล้ว (ธเนศร์ เจริญเมือง,2538)

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการแม่น้ำโขง ถือว่ามีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจในแม่น้ำโขงด้วย เพราะ ประเทศสมาชิก ในสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ ก็อยู่ในคณะกรรมการแม่น้ำโขงที่มีปัญหาได้ผ่านพ้นวิกฤติการณ์ในประเทศแล้ว ก็กลับมาร่วมมือกันใหม่อีกครั้ง จนกระทั่งประเทศไทย เผชิญวิกฤติเศรษฐกิจปีพ.ศ.2540 อันเนื่องมาจากค่าเงินบาทลอยตัว ส่งผลกระทบไปทั่วภูมิภาคนี้ เพราะนักลงทุนไทยได้เข้าไปเกี่ยวพันกับเศรษฐกิจประเทศเพื่อนบ้านหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจ แม้ว่าผลกระทบของโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจต่อประเทศไทย จะมีผลกระทบทางบวกจะเป็นผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นมีสภาพคล่องตัวมาก การส่งสินค้าออกและแลกเปลี่ยนสินค้า ใช้แรงงานต่างชาติ มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม แต่ผลกระทบทางลบการแพร่ระบาดยาเสพติด ปัญหาแรงงานข้ามชาติ ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาด้าน สาธารณสุขรวมถึงวัฒนธรรม(ม.ล.พันธุ์สูรย์ ลดาวัลย์, ศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา,2540)

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยพยายามที่จะเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาทั้งสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ หกเหลี่ยมเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวก็ได้ส่งผลต่อแรงงานข้ามพรมแดนชาวขมุ แอบลักลอบ เข้ามาทำงานในประเทศไทย ซึ่งผลกระทบทำให้วิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงได้จากตัวอย่างของชาวขมุในแขวงบ่อแก้วและเมืองห้วยทราย บ้านป่าอ้อยการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวขมุในแขวงบ่อแก้ว และเมืองห้วยทราย บ้านป่าอ้อย แขวงบ่อแก้วแขวงบ่อแก้วเป็นแขวงที่ตั้งขึ้นใหม่ เมื่อปี 2526 แบ่งเขตการปกครองเป็น 5 เมือง คือ เมืองห้วยทราย เมืองต้นผึ้ง เมืองเมิง เมืองผาอุดม และเมืองปากทา มี425 หมู่บ้านสภาพเศรษฐกิจ เศรษฐกิจของแขวงบ่อแก้ว อาศัยการผลิตภาคเกษตรเป็นหลัก ทั้งการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ พืชสำคัญได้แก่ ข้าวเหนียว ข้าวโพด ยาสูบ กะหล่ำปลี ผักกาด เขียวปลี และถั่วเหลือง การผลิตส่วนใหญ่เพื่อการยังชีพ เหลือจำหน่ายเพียงเล็กน้อย ทางด้านการค้า ส่วนใหญ่เป็นการค้าชายแดนกับไทย ระหว่างเมืองห้วยทรายกับอำเภอเมืองเชียงของ และสินค้าส่วนใหญ่เพื่อการใช้ภายในแขวงเท่านั้น แต่ในช่วง 3ปีที่ผ่านมาหลังจากรัฐบาล สปป.ลาว มีนโยบายเปิดประเทศเพื่อให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนมากขึ้น และผ่อนคลายให้ประชาชนค้าขายได้เสรี ทำให้เศรษฐกิจของแขวงบ่อแก้วเปลี่ยนแปลงไปมาก กล่าวคือ การขนส่ง และการท่องเที่ยว การลงทุนขยายตัวมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนจากไทยเข้าไปลงทุนกิจการประเภทไม้แปรรูป เหมืองแร่ และการก่อสร้างต่างๆ (ปัญหาการค้า ชาย แดนไทย-ลาว;นครพนม-คำมวน-และเชียงราย-บ่อแก้ว,2539)

เมืองห้วยทรายเมืองห้วยทรายอยู่ในแขวงบ่อแก้ว
ซึ่งแขวงบ่อแก้วตั้งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของลาว มีพื้นที่ตอนบนติดกับชายแดนพม่า และพื้นที่บางส่วนติดแม่น้ำโขงโดยเฉพาะเมืองห้วยทรายตั้งอยู่ตรงข้ามกับอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เมืองต้นผึ้ง ตั้งอยู่ตรงข้าม อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย พื้นที่ส่วนใหญ่ในแขวงบ่อแก้วเป็นภูเขาสูงและพื้นที่ราบในหุบเขาประมาณ 7,620 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 110,000คน กระจัดกระจายอาศัยอยู่ตามพื้นที่ต่างๆทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยการทำไร่ทำนา และหาของป่ามาขาย(ปารวี ไพบูลย์ยิ่ง,2545)

เมืองห้วยทราย ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงตรงข้ามกับอำเภอเชียงของไทย ปัจจุบันเป็นจุดผ่านแดนที่นักท่องเที่ยวจากฝั่งไทยนิยมข้ามไปมาก แม้ที่นี่จะไม่มีแผนกวีซ่าเปิดให้บริการเหมือนที่เวียงจันทน์กับหลวงพระบาง แต่เกสต์ฮาวส์กับโรงแรม ร้านค้า หลังจากที่มีการเปิดจุดผ่านแดนขึ้นที่นี่ เศรษฐกิจก็ดีขึ้นทันตา ซ้ำยังลือว่ามีการวางแผนจะสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง และปรับปรุงถนนสายห้วยทราย-หลวงน้ำทาขึ้นใหม่อีกด้วย โครงการดังกล่าวจะส่งผลให้สามารถเดินทางจากจีนมาถึงกรุงเทพฯได้โดยทางรถยนต์ ฝ่ายไทยกับจีนจึงกระตือรือร้นสนใจโครงการนี้กันมาก แต่ลาวก็ยังกังวลและต้องการศึกษาผลกระทบที่จะเกิดตามมาเสียก่อน

 แต่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปี1997 ก็อาจทำให้ลาวต้องหยิบยกโครงการนี้ขึ้นมาปัดฝุ่นใหม่แต่เดิมห้วยทรายเป็นเมืองเล็กๆที่มีผู้คนอยู่เพียง 3- 4พันกว่าคน เท่านั้น ในตัวเมือง มี “เฮือนพัก”หรือเกสต์เฮาส์เพียง 2-3 แห่ง สำหรับนักเดินทางที่เข้ามาท่องเที่ยวเท่านั้น กระทั่งปีพ.ศ.2540-41 รัฐบาลลาวมีแผนส่งเสริมปีการท่องเที่ยวภายในประเทศลาว ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาเยือนลาวเพิ่มขึ้น ผลพวงจากการท่องเที่ยวนี้เอง ปลุกให้ห้วยทรายที่เคยเป็นเมืองเล็กๆสงบเงียบ กลายเป็นเมืองที่คึกคักเต็มไปด้วยนักเดินทางจากทุกสารทิศ ชาวเมืองห้วยทรายที่เคยใช้ชีวิตเรียบง่าย สุขสงบ ค้าขายเล็กๆน้อยๆ ตามประสาชาวบ้าน ทุกวันนี้ต่างหันมายึดอาชีพธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวกันมากขึ้น

ผลจากการที่ลาวเปิดประเทศรับปีการท่องเที่ยวเมื่อ5 ปีก่อน ทำให้การหาที่พักในเมืองห้วยทรายในทุกวันนี้ไม่ใช่เรื่องยาก เกสต์เฮาส์ผุดขึ้นมากมายราวดอกเห็ด ห้วยทราย ในวันนี้จึงเป็นทั้งเมืองประวัติศาสตร์ และการท่องเที่ยว ที่เต็มไปด้วยนักเดินทาง(ปารวี ไพบูลย์ยิ่ง,2545)อย่างไรก็ตามกระแสของการพัฒนาทั้งสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ หกเหลี่ยมเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง แต่ต้องปรับตัวตามกลไกองค์กรระหว่างประเทศ เช่น ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย(Asian Development Bank-ADB) มีนิยาม สร้างความหมายของการพัฒนาเพิ่มขึ้น หลังจากได้กล่าวถึงข้อสังเกตข้างต้นในระดับชาติแล้ว จวบจนถึงบ้านป่าอ้อย เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ดังกล่าว

ที่มีเงื่อนไขของประวัติศาสตร์การเปิดด่านการค้าขาย การเข้ามาค้าขายของคนจีนในห้วยทรายและการค้าขายกันของห้วยทรายกับเชียงของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมจากภายในชุมชน ทำให้มีการถางไร่แสวงหาที่ดินทำกินทำให้ผสมชนเผ่าในเขตชุมชนเมืองประชาชนปรับเปลี่ยนอาชีพทางเกษตรเพื่อยังชีพเป็นพนักงานรัฐ ประกอบการธุรกิจค้าขาย ปัจจัยภายนอกจากเศรษฐกิจการเมืองสังคม และการศึกษา อีกทั้งสื่อสารมวลชน

ความเจริญและเทคโนโลยีการแพร่กระจายข้อมูลข่าวสารในยุคโลกาภิวัตน์ ชุมชน ปรับวิถีการผลิตจากยังชีพมาผลิตเพื่อบริโภคและขายผลผลิต รับข้อมูลข่าวสารโทรทัศน์มีการเปลี่ยนแปลง วิถีชีวิตพิธีกรรมและความเชื่อให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ที่ห้ามประกอบพิธีกรรมความเชื่องมงาย(ประชัน รักพงษ์,2539)แต่กระแสนิยมทันสมัยกำลังเข้ามามีอิทธิพลมากกว่า เช่น การนำเข้าสินค้าไทยของคนลาวในห้วยทราย รถเครื่องรุ่นใหม่ แต่ละบ้านมีเครื่องใช้ไฟฟ้าเกือบทุกชนิดตลอดทั้งวัน วัยรุ่นหันมาแต่งกายตามสมัยตะวันตก กินข้าวนึ่งจิ้มแจ่วสลับอาหารจานด่วนประเภทข้าวผัด ราดหน้าในชีวิตประจำวัน หลายตัวอย่างที่กล่าวถึงสะท้อนภาพชีวิตที่ได้รับอิทธิพลบางส่วนจากไทยไม่มากก็น้อย

ผลจากการเปิดประเทศของลาว นับว่ามีส่วนผลักดันให้วิถีชีวิตของเมืองตะเข็บชายแดนอย่างห้วยทรายเปลี่ยนไปเช่นกัน ชาวขมุได้ปรับตัวตามชุมชนดังกล่าว มีโทรทัศน์ วิทยุ เกือบสูญเสียอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ เมื่อชาวขมุต้องลงมาอยู่ตามชุมชนเขตเมือง และชาวขมุก็ต้องเลิกพิธีกรรมบางส่วนตามนโยบายของรัฐ และการเปลี่ยนแปลงทางวิถีชีวิต และวัฒนธรรมปัจจุบันชุมชนของแต่ละเมืองในแขวงบ่อแก้วเริ่มเปลี่ยนแปลงไป โดยรับเอาความรู้ วิทยาการสมัยใหม่มาใช้ รู้จักเปลี่ยนวิธีผลิตทางด้านเกษตรจากการใช้แรงงานสัตว์ มาเป็นเครื่องจักรกลทางเกษตรขนาดเล็ก มีการนำรถไถ นำมาไถนาตามการสั่งซื้อสินค้าจากจีนและเครื่องสีข้าวเข้ามาใช้ทุ่นแรง รวมทั้งนำข้าวพันธุ์ที่ปรับปรุงใหม่จาการส่งเสริมมาปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิตของรัฐบาล ทำให้เศรษฐกิจชุมชนเริ่มเปลี่ยนจากกระบวนการแลกเปลี่ยนมาเป็นระบบเศรษฐกิจแบบเงินตรา มีการปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อสนองต่อความต้องการของตลาดภายนอก

ซึ่งเศรษฐกิจก็มีผลต่อการไม่มี ฆ่าหมูเลี้ยงในบ้าน เพราะปัจจัยในการนำเงินไปซื้อหมู ยกตัวอย่าง เช่น พิธีเซ่นไหว้ผีประจำตระกูลหรือผีบรรพบุรุษในบ้าน จัดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ที่ได้ลงพื้นที่ภาคสนามไม่มีในบ้านป่าอ้อย เนื่องจากไม่มีรายได้เพียงพอ ต่อการใช้จ่ายค่า ซื้อหมูมาเลี้ยงต้อนรับผู้มาเยี่ยมเยือน และรายได้ส่วนใหญ่มาจากการรับจ้างมากกว่าการเกษตรบ้านป่าอ้อยสภาพหมู่บ้านป่าอ้อย ใช้น้ำบาดาล มีไฟฟ้า สิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน วิถีชีวิตจากการเก็บข้อมูลทราบว่า คนห้วยทรายคนจนก็จนมาก คนรวยก็รวยมากเพราะการทำธุรกิจส่งออกการเกษตร ซึ่งแสดงถึงความแตกต่างทางฐานะ และชนชั้นอย่างมาก

คนจนบางส่วนเริ่มผันแปรตัวเองไปเป็นแรงงานตามสวนกับโรงงานถ่านหิน เพราะสังคมเปลี่ยนผ่านจากการทำไร่ทำนา และเปลี่ยนทำสวนส่งออกการเกษตรยังประเทศไทย ที่ยังฝั่งชายแดนของฝั่งตรงข้ามบ้านป่าอ้อย คนลาวรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่ต่างกัน ตรงที่ประวัติศาสตร์จากเดิมที่ลำบากผ่านการสู้รบการปกครองฝรั่งเศส สงคราม และคอมมิวนิสต์ มาเริ่มเปลี่ยนไปสร้างตัวตนทางเศรษฐกิจมากขึ้น เมื่อเปิดชายแดน สิบกว่าปี

ขณะนี้คนรุ่นใหม่หลงใหลบ้านตึก มากกว่าบ้านไม้ที่เป็นเรือนหลังคาตูบ ต้องการไฟฟ้าใช้ทุกบ้าน ดูละครทีวีไทย ซื้อเสื้อผ้าไทย ฯลฯ จากเสื้อผ้าการแต่งกายแบบคนไทย ทำให้แน่นอนว่า อัตลักษณ์(Identity)การแต่งกายชาวขมุเปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจนมากที่สุดเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในสปป.ลาวที่เปิดประเทศมากขึ้น ทำให้เกิดขบวนการส่งคนลาวและชาวขมุไปทำงานในกรุงเทพฯ แล้วส่งเงินกลับมาที่บ้าน เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

ปัจจัยเงินเข้ามาเป็นตัวกำหนดสร้างฐานะร่ำรวย เริ่มเปลี่ยนแปลงจากบ้านที่ไม่เคยมีไฟฟ้าใช้เริ่มนำไฟฟ้าเข้าบ้าน และความเจริญเติบโตของธุรกิจส่งออกการเกษตร ปัจจัยการผลิตของสวนขึ้นอยู่กับแรงงาน ที่มีลูกจ้างจากกลุ่มชาติพันธุ์ขมุปัญหาชาติพันธุ์ขมุ(ความเป็นชายขอบ?)ในบ้านป่าอ้อย ประสบกับความยากจนทั้งไม่มีที่ทำมาหากิน คือไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง ต้องรับจ้างตัดไม้ ทำสวน และได้ส่งลูกหลานไปรับจ้างขับรถพานักท่องเที่ยว ข้ามฝั่งทำงานในไทย และครอบครัวต้องอยู่อย่างประหยัดอดทน และปัญหาลูกมาก

ส่วนบ้านสร้างตามฐานะทางเศรษฐกิจ บางบ้านปักเสาบ้านไว้ชั่วคราว ตัวอาคารสร้างไม่เสร็จ หรือบางบ้านเป็นเพียงเรือนไม้ ไม่มีรัฐคอยดูแลวิถีชีวิต วัฒนธรรมชาวขมุปรับตัวเข้าร่วมพิธีกรรมและความเชื่อ ดังเช่น พิธีกรรมแห่บั้งไฟ ที่จัดโดยชาวบ้านสะท้อนถึงความเป็นปึกแผ่นของสังคมที่หลงเหลือ อยู่ผูกพันกับความเชื่อเรื่องขอฝน ซึ่งความแตกต่างของความเชื่อชาวขมุ กับลาวลุ่ม แต่รัฐก็จัดการให้อยู่ร่วมกันได้โดยเข้ามาจัดพิธีกรรมนี้ด้วย

อนึ่ง จากปัญหาแนวทางการพัฒนาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวเข้ามาในชายแดนแม่น้ำโขง และมีขนส่งสินค้าเกษตรข้ามฟากไทย-ลาว และการเดินเรือสินค้า ในลุ่มแม่น้ำโขงผ่านมาที่จุดจอดเรือรับสินค้าของเมืองห้วยทราย และเรือสำหรับพานักท่องเที่ยวไปหลวงพระบางของเมืองห้วยทราย ที่มีบริบทผลกระทบจากการพัฒนาในระดับประเทศ มาสู่จังหวัดในไทย-ลาว และชุมชนไทย-ลาว มีผลกระทบกับชาวขมุในระดับจุลภาคของสปป.ลาวในห้วยทราย บ้านป่าอ้อย จากโครงสร้างของอำนาจในอดีตการพัฒนาตามแนวคิดของเจ้าอาณานิคม และเศรษฐกิจ ได้ทำให้เหลือความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ลาวลดน้อยลง

เมื่อมีแผนที่ คือผลของเทคนิควิทยาการของวิทยาศาสตร์แบ่งเขตแดนกัน จนกระทั่งในปัจจุบัน มีทั้งการใช้ดาวเทียมเพื่อการทำแผนที่ให้มีอาณาเขตชัดเจน ยิ่งขึ้นและวางแผนเดินเรือ หรือใช้ทรัพยากรของเขื่อนในประเทศลาวขายไฟฟ้าให้ไทยเป็นต้น นี้เป็นปัจจัยการพัฒนาของประเทศ รวมทั้งจากประเทศในภูมิภาคได้เปิดประเทศอีกครั้งในยุคโลกาภิวัตน์นี้ เแรงผลักดันทำให้เกิดคลื่นการรวมตัวเป็นกลุ่มภูมิภาคหรืออนุภูมิภาค อาจกล่าวได้ว่าเป็นพฤติกรรมของรัฐ และกลุ่มทุนและปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันของทั้งสองนี้มีบทบาทสำคัญ

โดยหลักตรรกะของกระบวนการสะสมทุน กลุ่มทุนข้ามชาติได้จัดองค์กรการผลิตของตนในระดับโลก ขณะเดียวกันรัฐก็พยายามรวมกลุ่มกันในระดับภูมิภาค เพื่อให้การช่วยเหลือแก่กลุ่มทุนแห่งชาติ เพราะต้องการเปิดพรมแดนใหม่ เพื่อการลงทุนที่สอดคล้องกับการเป็นพื้นที่สำหรับตั้งฐานการผลิตของกลุ่มทุน ทั้งทุนระดับข้ามชาติ ทุนเล็กระดับชาติ อีกทั้งทุนที่เติบโตภาคต่างๆ การสร้างความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศของไทยกระนั้นทุนที่เติบโตภาคต่างๆ การสร้างความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศของไทย จะกลายเป็นอุดมการณ์ใหม่เป็นจุดขายของชนชั้นนำในสังคมเข้ามาทำหน้าที่เป็นวาทกรรมใหม่แทน ลัทธิพัฒนานิยม ด้วยเนื้อหาเดียวกัน แต่เรียกขานต่างกัน คือจุดหนักมุ่งสนองเติบโตเศรษฐกิจละเลยมิติความเป็นธรรมและสิ่งแวดล้อม(สุธี ประศาสน์เศรษฐ ,2537)

อย่างไรก็ตาม ปัญหาสำคัญที่ต้องกล่าวถึงของชาวขมุจะสัมพันธ์กับปัญหาระดับประเทศไทย-ลาว-จีน หรือสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ-หกเหลี่ยมเศรษฐกิจ และปัญหาระดับจังหวัด ที่มีผลกระทบจากการเปิดด่านไทย-ลาว ตั้งแต่ปีพ.ศ.2526 ความสัมพันธ์ดีขึ้น เปิดด่านเชียงของ กับห้วยทราย เกิดท่าเรือบั๊ก หรือแพขนานยนต์ ท่าเรือข้ามฟาก ท่าเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่จากการสร้างความหมายเปลี่ยนจากสนามรบเป็นสนามการค้า ปีพ.ศ.2532 เปิดจุดผ่านแดนถาวร มีการท่องเที่ยวส่งผลกระทบด้วย ปัจจุบันหลังเปิดจุดผ่านแดนสากล ปีพ.ศ.2537 จนถึงสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ ดังกล่าวไปทั้งหมดแล้ว และปฎิบัติการของความหมายทางการร่วมมือในสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ GMS ในอนุภูมิภาค นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงทางความสัมพันธ์ในวิถีชีวิต

เพราะวาทกรรมว่าด้วยการพัฒนาระดับโลกาภิวัตน์ที่ครอบคลุมภูมิภาคและรัฐชาติเข้ามาถึงระดับจังหวัดชายแดนในระดับชุมชน- หมู่บ้านป่าอ้อยที่โดนปัญหา การท่องเที่ยว การเดินเรือสินค้า ความยากจน ต่างๆที่มาพร้อมการพัฒนาทางสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ ประเด็นดังกล่าวกับชาวขมุ ส่งผลให้ราวกับว่าชาวขมุกลายเป็น คนชายขอบของการพัฒนาและโลกาภิวัตน์ ไม่มีความสำคัญเท่ากับบริบทในประวัติศาสตร์เลย

สรุป
อุดมการณ์ของโลกาภิวัตน์(Ideologies of Globalization )ได้เข้ามาครอบงำต่อชาวขมุเพราะว่าหลังสงครามเย็นของอุดมการณ์สังคมนิยม ได้มีการเปิดประตูการค้าสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจทับซ้อนด้วยผลประโยชน์ของนิยามการพัฒนา และโลกาภิวัตน์ในแม่น้ำโขงตอนบนต่อชาวขมุเอง ไม่ทราบถึงผลกระทบนี้ในระดับโครงสร้างขนาดใหญ่(เหมือนหมวกใบใหญ่ครอบหัว) เพราะตัวชาวขมุพบโซ่ปัญหาซ้อนปัญหา หรือกล่าวว่า โซ่เก่ารัดตัวแล้ว โซ่ใหม่กำลังรัดรอบหัวอีกด้วย โซ่ใหม่คือโลกาภิวัตน์ โซ่เก่า คือ ไม่มีพื้นที่ทำไร่ นา บนที่ราบ กับบนภูเขาแล้ว ทำให้ชาวขมุอพยพเข้ามาอยู่ในเขตตัวเมือง และเปลี่ยนวิถีชีวิตจากการเกษตร เป็นผู้ใช้แรงงานในโรงงาน ต้องขับรถพานักท่องเที่ยว ในเมืองห้วยทราย ดังที่ว่าโลกาภิวัตน์เป็นสองด้านซ้อนกันให้ชาวขมุ มีงานทำพานักท่องเที่ยว แต่วิถีชีวิตไม่เหมือนเดิมโดยมีการพิจารณาTransnationalism จากมุมมองของประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์วรรณา(historical ethnography)งานศึกษาทางประวัติศาสตร์ การอพยพเคลื่อนย้ายผู้คนความคิด วัฒนธรรม หากคนท้องถิ่นเป็นชั้นปกครองและมีสถานภาพทางสังคมและอำนาจทางเศรษฐกิจการเมือง เช่น ในไทย และใน สปป.ลาวเอง ชาวขมุ พยายามปรับตัวให้เป็นคนท้องถิ่น(assimilate)กลายเป็นคนท้องถิ่น หมายถึงโอกาสในการเลื่อนสถานภาพทางสังคม

 นี้เป็นกระบวนการสร้างพรมแดนทางเชื้อชาติแบ่งแยกระหว่าง คนท้องถิ่น และผู้มาเยือนขึ้นอยู่กับเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์จากที่กล่าวมาถึงบทบาทในอดีตทางชาติพันธุ์ และสังคมในปัจจุบัน ดังนั้นทำให้ความเป็นขมุของการเมืองด้วยกระนั้นสาเหตุผลกระทบต่อการเปลี่ยนวิถีชีวิตจากวาทกรรมการพัฒนาของรัฐ และภายใต้โครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พึ่งพิงเศรษฐกิจจากภายนอกของการท่องเที่ยว มีความสัมพันธ์ ระหว่างกับแม่น้ำโขงตอนบนของประเทศไทย

อย่างไรก็ดี ควรมีทางเลือกของการพัฒนาให้ชาวขมุ มีกรรมสิทธิ์ที่ดินทำกิน ทำไร่ ทำนา มีพื้นที่เพาะปลูก และเตรียมนิยามของนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืน คือมีข้อเสนอนโยบายป้องกันทางวัฒนธรรม กับรองรับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของชาวขมุ

บรรณานุกรมภาษาไทย
เกษียร เตชะพีระ. 2538. วิวาทะโลกานุวัตร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผู้จัดการ.
คณะทำงานร่วมธนาคารแห่งประเทศไทย และ ธนาคารแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. 2539.
ปัญหาการค้าชายแดนไทย-ลาว (นครพนม-คำม่วน และเชียงราย-บ่อแก้ว). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
จิตร ภูมิศักดิ์.2547. ข้อเท็จจริงว่าด้วยชนชาติขอม : อันเนื่องมาจากความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. 2546. “จากอาณานิคมาภิวัฒน์สู่โลกาภิวัตน์.” สารคดี 19, 225 (พฤศจิกายน 2546) :57-69.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร.2543 วาทกรรมการพัฒนา: อำนาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์ และความเป็นอื่น = Development discourse power knowledge truth identity and otherness. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและผลิตตำรา มหาวิทยาลัยเกริก.
ธเนศวร์ เจริญเมือง. 2538.ไทย-พม่า-ลาว-จีน สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ สี่เหลี่ยมวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คบไฟ.
ธีระ นุชเปี่ยม. 2541. การเมืองโลกหลังสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์.
เบลโล, วอลเดน คันนิงแฮม, เชียร์ และปอห์, ลี สวน. 2542. โศกนาฏกรรมสยาม : การพัฒนาและการแตกสลายของสังคมไทยสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง.
ปารวี ไพบูลย์ยิ่ง. 2545. เส้นทางไทยเชื่อมต่อประเทศเพื่อนบ้าน เชียงของ-หลวงน้ำทา-เมืองสิง-เชียงรุ่ง. กรุงเทพฯ: โครงการอาณาบริเวณศึกษา 5 ภูมิภาค.
ปราณี วงษ์เทศ.2543. สังคมและวัฒนธรรมในอุษาคเนย์ = Ethnology of mainland Southeast Asia.กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม.
_________ . 2544. เพศและวัฒนธรรม = Gender and culture. กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม.
_________ , ผู้แปล.2548. เกิดเป็นกำมุ ชีวิตและหมู่บ้าน. กรุงเทพฯ: มติชน.ประชัน รักพงษ์.2539.

การศึกษาสภาพเศรษฐกิจและวัฒนธรรมชุมชนในเขตเส้นทางสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจไทย-ลาว-จีน = A study of economics and local culture in the economic quardrangle route Thailand-Laos-China. เชียงใหม่ : โครงการเพื่อนบ้านศึกษา สถาบันราชภัฏเชียงใหม่.

พวงนิล คำปังสุ์, ผู้แปล.2544. ลาวและกัมพูชา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์หน้าต่างสู่โลกกว้าง.
พันธุ์สูรย์ ลดาวัลย์, ม.ล. และ ศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา. 2540. การกำหนดนโยบายต่างประเทศของไทย = The Making of Thai foreign policy. เชียงใหม่: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
_________ . 2540. ผลกระทบของโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจต่อประเทศไทย : รายงานการวิจัย. เชียงใหม่ : คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มหาคำ จำปาแก้วมณี และคณะ. ประวัติศาสตร์ลาว. แปลโดย สุวิทย์ ธีรศาศวัต. 2539. ขอนแก่น: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
มหาสีลา วีระวงส์ม, ผู้เรียบเรียง. ประวัติศาสตร์ลาว. แปลโดย สมหมาย เปรมจิตต์.2535. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มานะ มาลาเพชร.2533. “ลาว.” เอเชียรายปี 1990/2533 :18.
ยุค ศรีอาริยะ.2544. มายาโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
_________ . 2544วิเคราะห์ระบบโลกในสหัสวรรษใหม่. กรุงเทพฯ: มูลนิธิวิถีทรรศน์.
วิภา อุตมฉันท์.2544. ผลกระทบของสัญญาณวิทยุและโทรทัศน์ข้ามพรมแดนระหว่างไทย-ลาว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุภชัย เจริญวงศ์. 2536. สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ:พัฒนาการของพรมแดนในความซับซ้อนของระบบโลก รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา ทฤษฏีพัฒนาสังคม ภาคการศึกษาที่ 2/2536. (อัดสำเนา).
สนมพรรณ วรวิเชียรวงษ์. 2544.ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศไทย-ลาวที่มีผลต่อการกำหนดภาวะการค้าชายแดน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิภาคศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุเทพ สุนทรเภสัช. 2540. มานุษยวิทยากับประวัติศาสตร์ : รวมความเรียงว่าด้วยการประยุกต์ใช้แนวความคิดและทฤษฎีทางมานุษยวิทยาในการศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.
สุนทร คันทะวงศ์. 2543. การเปลี่ยนแปลงนโยบายการสื่อสารโทรคมนาคมของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จากการผูกขาดเข้าสู่การเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศ. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุนีย์ เลี่ยวเพ็ญวงษ์. 2546. รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาสถานภาพองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบคิดผ่านงานวรรณกรรมลุ่มน้ำโขง. ขอนแก่น: ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุภรัตน์ เชาวน์เกษม. 2544. ภาพลักษณ์ของประเทศไทยในทัศนะของคนลาว : กรณีกำแพงนครเวียงจันทน์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิภาคศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุรชัย ศิริไกร. 2543. การพัฒนาเศรษฐกิจการเมืองลาว. กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สุวิไล เปรมศรีรัตน์. 2541 สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ขมุ. นครปฐม : สำนักงานวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเซียอาคเนย์, สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุธี ประศาสน์เศรษฐ .(สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย).2537. อนาคตของวิเทศคดีศึกษาในประเทศไทย : ศักยภาพและทิศทาง : เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการ ; วันที่ 10-11 พฤศจิกายน 2537 ณ โรงแรมแอมบาลเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน พัทยา. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

เสถียร ฉันทะ. ยศ สันตสมบัติ บก.[และคนอื่น ๆ] .2547.นิเวศวิทยาชาติพันธุ์ ทรัพยากรชีวภาพและสิทธิชุมชน. เชียงใหม่ : วิทอินดีไซน์.

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล.2546.อัตลักษณ์ : การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด = Identity. กรุงเทพฯ :คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา ; สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
อรรคพล สาตุ้ม.2548. ผลกระทบของการพัฒนาและโลกาภิวัตน์ต่อทรัพยากรธรรมชาติในแม่น้ำโขงตอนบน : การหายไปของปลา. คณะบัณฑิตวิทยาลัย สาขาภูมิภาคศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อภิชัย พันธเสน. 2540. แปล, เมื่อบรรษัทครองโลก.กรุงเทพฯ : เสมสิกขาลัย.ภาษาอังกฤษ
Evans, Grant. 2002. A Short history of Laos : the Land in Between. Chiang Mai : Silkworm Books, 2002.
“Greater Mekong Sub Region State-of-The Environment Report Mekong River Commission”.1997. Bangkok,Thailand June 1997.

(Mimeograph).“International Conference Impact of Globalization, Regionalism and and Nationalism on Minority Peoples in Southest Asia 15-17 November 2004” 2004. Chiang Mai:Thailand Social Research Institute Chiang Mai University.

Mark Rupert. 2000. Ideologies of globalization : contending visions of a new world order.London ; New York : Routledge.

Mayoury Ngaosrivathana and Breazeale Kennon. 2002. Breaking New group in Lao HistoryEssays on the Seventh to Twentieth Centuries. Chiang Mai: Silkworm Books.

Mingsarn Kaosa-ard and Dore, John, eds. 2003. Social Challenges for the Mekong Region. Chiang Mai: Chiang Mai University.
Osborne, Milton. 2000.The Mekong : Turbulent Past, Uncertain Future. St Leonards, N.S.W.: Allen & Unwin.

วารสารปฤษฐา รัตนพฤกษ์. ปัญหาข้ามพรมแดนและสภาวะไร้พรมแดนโลกที่เปลี่ยนไปหรือมุมมองของนักวิชาการที่เปลี่ยนไป? สังคมศาสตร์ ปีที่ 15 ฉบับ 1/2545 :39

รายชื่อผู้ให้สัมภาษณ์เริม บุญเรือน. 2546.เจ้าของสวน และขนส่งสินค้าเกษตร. สัมภาษณ์. 23 มิถุนายน 2546.บุญเดช บุญเรือน.2547. ลูกเจ้าของสวน. สัมภาษณ์. 17 เมษายน 2547.กั้ม (ไม่เปิดเผยชื่อจริง)และครอบครัว.2547.รับจ้าง. สัมภาษณ์. 14 เมษายน 2547.

หมายเหตุ: บทความนี้ นำเสนอในงานการประชุมเชิงวิชาการและนิทรรศการเรื่อง กลุ่มชาติพันธุ์กับการพัฒนาในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีวันพฤหัสที่ 22 มิถุนายน 2549 08.00 - 08.30 น. ลงทะเบียน หน้าโรงละคร คณะศิลปศาสตร์ 08.30 - 09.15 น. พิธีเปิด ณ โรงละคร คณะศิลปศาสตร์ การแสดงของกลุ่มชาติพันธุ์ จากแขวงเซกอง และอัดตะปือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 09.15 - 10.15 น. ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “การศึกษากับการพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง” โดย Professor Dr. Jerald W. Fry ผู้อำนวยการสถาบัน International and Intercultural Education, University of Minnesota, USA 10.15 – 10.30 น. อาหารว่าง 10.30 – 12.00 น. การนำเสนอบทความ คาสิโน การท่องเที่ยวชายแดนและผลกระทบต่อกลุ่มชาติพันธุ์ไทย- เขมร โดย ผ.ศ. ดร. กนกวรรณ มะโนรมย์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ดำเนินรายการและวิจารณ์โดย ผ.ศ. ดร. สุชาดา ทวีสิทธิ์ การศึกษาประวัติศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงของชุมชนอาข่า ดอยสะโง๊ะ ตำบลศรีดอนมูล อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย โดย ศิริพร โคตะวินนท์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยเชียงใหม่ ดำเนินรายการและวิจารณ์โดย อ. วัชรี ศรีคำ เขื่อนกับความรุนแรงและขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของชนพื้นเมืองในจังหวัดรัตนคีรี ประเทศกัมพูชา โดย ผศ. สมหมาย ชินนาค มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ดำเนินรายการและวิจารณ์โดย ดร. ศรันย์ สุดใจ 12.00 – 13.00 น. อาหารกลางวัน 13.00 - 14.30 น. บรรยายพิเศษ เรื่อง “ประสบการณ์การทำหมู่บ้านชนเผ่าในอุทยานแห่งชาติบาเจียง แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว” โดย คุณวิมล กิจบำรุง เจ้าของโครงการอุทยานแห่งชาติบาเจียง 14.30 – 14.45 น. อาหารว่าง 14.45 - 16.30 น. การเสนอบทความ พัฒนาการสภาพแวดล้อมการอยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลาวสองฝั่งโขง โดย ดร. นพดล ตั้งสกุล มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดำเนินรายการและวิจารณ์โดย อ. ติ๊ก แสนบุญ ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าสู่อาชีพขายของที่ระลึกของผู้หญิงม้ง ในเมืองซาปา จังหวัดหล่าวกาย ประเทศเวียดนาม โดย อ. วัชรี ศรีคำ มหาวิทยาลัยอุบล ราชธานี ดำเนินรายการและวิจารณ์โดย ผศ. กิติพร โชประการ ผลกระทบของการพัฒนาและโลกาภิวัตน์ต่อชาวขมุระหว่างแม่น้ำโขงตอนบน ไทย – ลาว โดย นายอรรคพล สาตุ้ม โรงเรียนยอแซฟ จังหวัดพิจิตร ดำเนินรายการและวิจารณ์โดย อ. ธวัช มณีผ่อง วันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน 2549 09.00 - 10.30 น. การนำเสนอบทความ แผนที่วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดชายแดนไทย–กัมพูชา: เครื่องมือจัดการทรัพยากรโดยชุมชน โดย รศ. เสาวภา พรสิริพงษ์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินรายการและวิจารณ์โดย ผศ. ดร. กนกวรรณ มะโนรมย์ รัฐฉานในช่วงสมัยอาณานิคม : รากฐานความขัด แย้งทางอัตลักษณ์ไทใหญ่ หรือปมแตกหักความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ โดย นายอาสา คำภา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดำเนินรายการและวิจารณ์โดย ดร. อินทิรา ซาฮีร์ ชุมชนหาดวี : อัตลักษณ์ชาติพันธุ์บนพื้นที่กายภาพเฉพาะของชนเผ่าเกรียง เมืองกะลึม แขวงเซกอง สปป.ลาว โดย รศ. ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์ มหาวิทยาลัยมหา สารคาม ดำเนินรายการและวิจารณ์โดย ผศ. สมหมาย ชินนาค 10.30 – 10.45 น. อาหารว่าง 10.45 – 12.00 น. เสวนาโต๊ะกลม เรื่อง การพัฒนาชีวิตและวัฒนธรรมของชนเผ่าในแขวงเซกองและอัดตะปือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดย ท่านสีวิไล จันทะวง หัวหน้าแผนกวัฒนธรรมแขวงเซกอง ท่านคำพอน หัวหน้าแผนกวัฒนธรรมแขวงอัดตะปือ ดำเนินรายการโดย ผศ. สมหมาย ชินนาค 12.00 – 13.00 น. อาหารกลางวัน 13.00 – 14.45 น. เสวนา เรื่อง การจัดการความรู้ทางชาติพันธุ์ในสถาบันการศึกษาของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ผศ. ดร. สุชาดา ทวีสิทธิ์ คณบดีคณะศิลปศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยสังคมอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รศ. ดร. เยาวลักษณ์ อภิชาติวัลลภ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มแม่น้ำโขง มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดร. ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร รศ. ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อ. สันติพงษ์ ช้างเผือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ดำเนินรายการ : อ. ธวัช มณีผ่อง 14.45 – 15. 00 น. อาหารว่าง 15.00 – 16.00 น. บรรยายพิเศษ "กลุ่มชาติพันธุ์กับการพัฒนาในลุ่มน้ำโขง : การสังเคราะห์ภาพรวมและโจทย์การวิจัยที่ท้าท้าย โดย ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์ 16.00 – 16.30 น. พิธีปิด เชิญชมนิทรรศการ “วิถีชีวิตและอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง” ณ บริเวณหน้าโรงละคร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีการสาธิตการทอผ้ากี่เอว ของชนเผ่าตะเลียง แขวงอัดตะปือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พร้อมทั้งเลือกซื้อผ้าทอมือสลับลูกปัด อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่หาชมได้ยากของชนเผ่าตะเลียงwebmaster of http://www.semsikkha.org