วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

การสะสมความทรงจำ วันสำคัญ ชลประทาน ภัยพิบัติน้ำท่วม ความปลอดภัย สื่อและช้างเผือก

 สิงหา
ชลประทาน และภัยพิบัติน้ำท่วม
วันนี้ในอดีต1 สิงหาคม พ.ศ. 2481 (ค.ศ. 1938) – ก่อตั้งวิทยาลัยการชลประทานในสมัยนั้นคือ โรงเรียนช่างชลประทานประเทศไทย
เมื่อ “การชลประทาน” หมายความว่า “กิจการที่รัฐบาลจัดทำเพื่อส่งน้ำ จากทางน้ำหรือแหล่งน้ำไปใช้ ในการเพาะปลูก และหมายความถึงการป้องกันการเสียหายแก่การเพาะปลูกอันเกี่ยวกับน้ำ ทั้งรวมถึงการคมนาคมทางน้ำ ซึ่งอยู่ในเขตชลประทานนั้นด้วย” ซึ่งจะเห็นว่า การชลประทานในพระราชบัญญัติการชลประทานราษฎร์ นอกจาก จะหมายถึง การส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกแล้ว ยังให้หมายรวมถึงกิจการประเภทอื่น ที่เป็นประโยชน์ต่อการเพาะปลูก อีก 3 ประเภท คือ การเก็บน้ำ การระบายน้ำและการบรรเทาอุทกภัย(*)
ต่อมากาลเวลาผ่านไป ได้ประสบกับภัยพิบัติน้ำท่วม จากภาพที่สกลนคร(**) ผลกระทบของรัฐโดยนายกฯทหาร ต้องบริหารจัดการน้ำที่ผมได้เคยเขียนไว้มาต่อเนื่องเรื่องน้ำท่วมภาคใต้ถึงต้นปี2560(***) และแง่มุมความเชื่อต่อภัยพิบัติ(****) ในด้านข้อจำกัดของวิทยาศาสตร์อย่างเขื่อน เก็บกักน้ำ หรือปัญหาน้ำท่วมทางภาคอีสานการหาทางระบายน้ำลงแม่น้ำโขง(*****)
ซึ่งประเด็นภัยพิบัติน้ำท่วม สิ่งแวดล้อมอย่างองค์รวม(******) กล่าวกันยาวแน่ ในแง่ภาพรวมแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ป้องกันลมพายุฝนในอนาคตนี้ไว้ก่อนความทรงจำของรัฐทหารสั้น หลงลืม แน่ละคนไทยไม่ได้ความจำสั้น เตรียมกางเกงขาสั้นแบบไทย(*******)ไว้ด้วย
*ดูเพิ่มเติมความหมายของการชลประทาน เช่น การไฟฟ้าพลังน้ำ
http://ridceo.rid.go.th/roiet/SARA/kchol.php
**ประมวลภาพน้ำท่วมครั้งใหญ่สกลนคร เลวร้ายที่สุดในรอบ 43 ปี
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_456267
***อุทกภัยข้ามปีที่ภาคใต้.. ใครต้องรับผิดชอบ?!
http://www.manager.co.th/local/viewnews.aspx?NewsID=9600000004407
ดูเพิ่มเติมที่ผมเคยเขียนไว้ “พินิจพิเคราะห์น้ำท่วมภาคใต้ต่อน้าตู่”(หรือที่นิยมเรียกว่าลุงตู่ อายุน้อยกว่าพ่อผม)
****วงเวียน 22 กรกฎาคม,สึนามิ,ภัยพิบัติ และดวงเมืองไทย

วันภาษาไทยแห่งชาติ ,จินดามณี และพระโหราธิบดี
*****ผมทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับแม่น้ำโขง ที่อ้างนักสิ่งแวดล้อมว่าก่อนและหลังวิกฤติต้มยำกุ้ง ปัญหาสิ่งแวดล้อมไทย จากผลกระทบของต้นทุนระบบทุนนิยม ที่ไทยเข้าไปทำธุรกิจตัดไม้ ทำเขื่อนที่ทำลายสิ่งแวดล้อม ฯลฯ(เขียนจะยาว)
******ดูที่ผมเขียนเกี่ยวกับความทรงจำกับประวัติศาสตร์




*******“กางเกงขาสั้นแบบไทย” ด้วยคือ กางเกงที่นักเรียนใช้ หรือนิยมใส่เล่นกีฬาเป็นกางเกงขาสั้นเพียงแค่เข่า หรือใต้เข่าประมาณ ๑ ฝ่ามือ ถือว่าเป็นกางเกงสุภาพใช้ใส่ลำลอง หรือไปสโมสรก็ได้เป็นที่นิยมมากในระหว่างน้ำท่วมครั้งใหญ่ ปี พ.ศ. ๒๔๘๕
http://personal.swu.ac.th/students/fa501010137/05.htm
1.2
วันสตรีไทย ภาพสถาปัตย์สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมสตรีศรีลานนาไทย
วันนี้1 สิงหาคม เป็นวันสตรีไทย เล่าย้อนอดีตการก่อตั้งสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมสตรีศรีลานนาไทย เป็นมรดกยุคคณะราษฎรในเชียงใหม่ ซึ่งจอมพลป.กับท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม เดินทางมาตรวจราชการที่จังหวัดเชียงใหม่ และได้ทำพิธีเปิดสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมสตรีศรีลานนาไทย
โดยท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้ช่วยเหลือกิจการงานของจอมพล ป. เป็นผู้บุกเบิกงานด้านสังคมสงเคราะห์ และงานพัฒนากิจการสตรีไทย เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง สภาสตรีแห่งชาติ เป็นต้น
กระนั้น ข้อสังเกตของสถาปัตยกรรมสมาคมฯ หลัง พ.ศ. 2490 แม้จะเป็นช่วงเวลาของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ยุคที่ 2 แต่ถึงเป็นบุคคลเดียวกันจะเห็นว่าตึกอาคารมีลักษณะประนีประนอมจนเกิดเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยๆ ขึ้น คือ เริ่มนำจั่วแบบไทยเดิมมาผสมกับสถาปัตยกรรมที่ลดทอนรายละเอียดองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมอย่างช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ลง อาจเพราะยังถือว่ามีอิทธิพลของยุคประชาธิปไตย(ข้อสังเกตรูปเก่ากับรูปใหม่สถาปัตย์อาจจะมีการปรับปรุง?)
เมื่อเวลาจากอดีตผ่านมาปัจจุบัน พื้นที่ของสมาคมฯ ในปัจจุบันใช้พื้นที่ร่วมกับTCDC (Thailand Creative & Design Center) เชียงใหม่ คือโครงการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้เต็มรูปแบบแห่งแรกของ TCDC เพื่อส่งเสริมการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้แก่ผู้ประกอบการ นักออกแบบ นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจในจังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือตอนบน โดยสนับสนุนให้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่ ผสานกับสินทรัพย์ทางภูมิปัญญาและมรดกทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย มาประยุกต์เข้ากับเทคโนโลยีและองค์ความรู้สมัยใหม่ อันจะนำไปสู่การสร้างเอกลักษณ์และความแตกต่างให้กับสินค้าและบริการที่มีความแข็งแกร่งในเชิงธุรกิจมากยิ่งขึ้น และนำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์(**)
อย่างไรก็ดี พื้นที่ สถาปัตย์ และการสร้างสรรค์ ซึ่งการบริหารจัดการวัฒนธรรม เป็นภาพสะท้อนมรดกวัฒนธรรม ในเวลา สถานที่ มุมมองผู้คนด้วย
*ภาพจากการสะสมภาพของคุณลุงบุญเสริม สาตราภัย ข้อสังเกต ที่จอมพลป.มาปี2489 ไม่น่าใช่ เพราะจอมพลป.ไม่ได้เป็นนายกฯช่วงนั้น เปรียบเทียบกับสถาปัตย์ของสมาคมฯด้วยhttp://library.cmu.ac.th/ntic/picturelanna/detail_picturelanna.php?picture_id=1095
http://library.cmu.ac.th/ntic/picturelanna/detail_picturelanna.php?picture_id=1639
**TCDC เชียงใหม่
http://www.tcdc.or.th/chiangmai/?lang=th
ดูเพิ่มเติมที่ผมเคยเขียนเกี่ยวกับTCDC นิทรรศการเล่าเรื่องเมืองใหม่
4สิงหา
สื่อดิจิตอล สื่อออนไลน์ เฟซบุ๊ค และเพจเฟซบุ๊ค
วันสื่อสารแห่งชาติ 4 สิงหาคมของทุกปี เพื่อรำลึกถึงความสำคัญวันสื่อสารแห่งประเทศไทย เนื่องจากวันนี้ผมได้ร่วมประชุมเครือข่ายแรงงานภาคเหนือ โดยทบทวนย่อๆคุยกัน มีบทความที่ผมเขียนขึ้น จากแอดมินในเพจหลายคนระดมสมอง จะมีการวางแผนออกแบบปรับปรุงเพจเป็นสื่อสารมากขึ้น จากการประชุมในหลายวาระ ผมร่วมแสดงความคิดเห็นไปบางส่วนในแง่มุมเพจต่างๆ ที่มีจำนวนคนติดตามเยอะ เช่น เพจวิวาทะ เพจดราม่า drama-addict
จากที่ผมรู้เรื่องเฟซฯไม่เยอะ บางทีเจอไวรัส บางครั้งต้องเรียนรู้จากบางคนบอกเค้าไม่ใช้เฟซ เป็นการถือศีล อ้างว่าใช้เฟซ มุสาได้
เมื่อมีข่าวจัดระเบียบเพจดังโดยกสทช.อย่างdrama-addict ก็เข้าข่าย ซึ่งความทรงจำมีหลายเรื่องเคยคุยในวงประชุมมาแล้วบ้าง ทั้งยุทธศาสตร์ แนวทางการอาจจะมีโฆษณาเข้ามาช่วยโปรโมท หรือผมพยายามดึงนักเขียน เข้ามาเขียนบทกวี เขียนเรื่องสั้น โดยเปรียบเทียบลักษณะด้านเนื้อหาเพจเกี่ยวกับแมวที่ผมดูคนติดตามสามล้านคนอย่างเพจทูนหัวของบ่าว มีกิจกรรมต่างๆ(* ค้นหาระบบนิเวศของความสร้างสรรค์/Creative Ecology) ย่อมแตกต่างกับเพจออกแนวเศรษฐกิจ สังคม การเมืองอย่างเพจเครือข่ายแรงงานฯ
ผมเคยเห็นประเด็นน่าสนใจเรื่องสื่อดิจิตอล(**) เครื่องมือในการต่อสู้การเมือง และผมเคยเขียนมาบ้างแล้วเรื่องเฟซบุ๊คข้อดีข้อเสีย(***) บางคนบอกเหมือนเครื่องมืออ่านความคิดของคนจากนิยายวิทยาศาสตร์ด้วยซ้ำ กรณีที่ผมถูกท้าทายให้วิเคราะห์ลึกซึ้ง ซึ่งสนใจใหม่เห็นการถกเถียงโมเดลเรื่องสื่อออนไลน์อย่างสำนักข่าว The Standard แล้ว ที่มาจากอะเดย์ และวงศ์ทนง อาจจะได้ไอเดียเป็นโมเดลมาปรับปรุงเพจเครือข่ายแรงงานฯ ต่อมวลชน สังคม ก็ได้
แน่ละผมไม่ได้อคติ หรือผมเขียนอย่างกลางๆ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำสื่อมาบ้าง ไม่เคยมีประวัติเกี่ยวข้องกับa day ด้านการถูกสัมภาษณ์ หรือผมเป็นคอลัมภ์นิสต์เลย ยกเว้นอย่างเดียวผมเคยส่งไปมีโฆษณาลงฟรีจัดงานเสวนาเกี่ยวกับวรรณกรรมกับศิลปะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลงนิตยสาร a day weekly(****) ในความทรงจำของผม
1.ทบทวนอดีตความทรงจำ ก่อนเกิดสื่อออนไลน์อย่างสำนักข่าว The Standard แล้วจากอะเดย์ โดยวงศ์ทนง “รสนิยมสาธารณ์” ซึ่งหมายถึงความรู้สึกแบบที่มวลชนส่วนใหญ่คล้อยตามได้ง่าย ๆ มีคนเขียนเขียนเป็นบทความว่าa day และ summer : นิตยสารมองโลกในแง่ดีที่อันตราย
“…(a day)เป็นนิตยสารที่คิดมาก แต่อ่านง่าย เป็น positive thinking magazine ของคนรุ่นนี้ที่หน่ายกฎเกณฑ์เก่า ๆ
รำคาญความซ้ำซากจำเจ ถ้าเปรียบเป็นคนจะเป็นพวกรวยอารมณ์ขัน ทันสมัย ช่างคิด มองโลกในแง่ดี แหกคอก
ขณะเดียวกันก็ฉลาดพอที่จะรู้จักกาลเทศะ” อะเดย์ เป็นแรงบันดาลใจโด่งดังจากวิธีลงขัน ร่วมหุ้นโดยผู้อ่านยุคนั้น
นี่เป็นเรื่องปี2543 นั่นเอง
ต่อมา นิตยสารอะเดย์ ทำนิตยสาร A day weekly(และนิตยสารHamburger) ซึ่งประกาศตัวว่าเป็น นิตยสารวิเคราะห์การเมืองรายสัปดาห์ อยู่ได้หนึ่งขวบปี ระหว่างปี47-48 จนกระทั่ง วงศ์ทะนง ออกจากบริษัทที่ตัวเองสร้างมากับมือ ขณะนี้เขาอายุสี่สิบกว่าปีแล้ว จากสื่อทางเลือก เข้าสู่ระบบทุนเรื่อยๆ ต่อมาทำสำนักข่าว The Standardด้วย
2. เกิดThe Standard จะเน้นเเนวสร้างสรรค์ เป็นความรู้ ความคิด ความเข้าใจ และแรงบันดาลใจแก่ผู้คน เนื้อหาครอบคลุมประเด็นเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ศิลปะ วัฒนธรรม บันเทิง แฟชั่น และไลฟ์สไตล์ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะมีนำเสนอผ่านแพลตฟอร์มหลากหลายรูปแบบ อาทิ คอนเทนต์ออนไลน์ วิดีโอ พอดแคสต์และนิตยสารแจกฟรี
คอนเทนต์ของ The Standard แบ่งออกเป็นข่าว 50 % กระจายตามประเภทข่าวเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ฯลฯ ส่วนอีก 50 % เป็นวัฒนธรรมและไลฟ์สไตล์ โดยมีนักข่าวตามสายข่าวทั่วไป พร้อมคอลัมนิสต์กว่า 40 คน เน้นให้มีความหลากหลายครอบคลุมในภาพรวม ทั้งเรื่องเพศ ศาสนา ชนชั้นเเละขั้วการเมือง ซึ่งมาจากการเลือกตามคอนเน็กชั่นของทีมงาน ประกอบกับความคิดกับสไตล์การเขียนของคอลัมนิสต์ที่ทีมบรรณาธิการชื่นชอบ
3.การวิเคราะห์สื่อออนไลน์The Standard (The Momentum เก่า มาสร้าง The Standard ในปัจจุบัน) ดังกล่าว จะเห็นเรื่องแนวทางการค้า แหล่งทุนโฆษณาต่างๆ การจัดการของแนวทางรูปแบบมีคอลัมนิสต์ มีทีมงานเขียนประจำ มีPosition จุดแข็งของสื่อ การทำการตลาด คนทำการตลาด คนหาโฆษณา หรือPR.ทำงานประจำได้เงินเดือน และ The Standard พิจารณา จุดยืน แนวคิดการทำสื่อแล้ว แต่แน่ละลักษณะน่าสนใจเปรียบเทียบความเหมือนกับความต่างจากแนวการทำสื่อเอ็นจีโอ โดยการสร้างเทรนด์คนรุ่นใหม่ สื่อใหม่ ทางเลือก ฐานคนอ่าน กลุ่มลูกค้าชนชั้นกลาง นักศึกษา ที่น่าสนใจ คือ วิธีการเอาข่าวในอินเตอร์เน็ตมาดัดแปลงในรูปแบบของตัวเอง
เมื่อ เพจบางเพจอย่างคนทำงาน ที่ผมเคยยกตัวอย่างไว้รุ่นน้อง สร้างขึ้นไม่มีเคล็ดลับอะไรแค่ทำนานหลายปี ใช้วิธีการหาข่าวตามเว็บสื่อ และสะสมคนติดตามได้เป็นแปดพันกว่าคน ไม่ได้จ่ายเงินค่าข่าวและภาพข่าวในไทยและต่างประเทศของนักข่าวรับจ้าง ฟรีแลนซ์อื่นๆ
ซึ่งสื่อออนไลน์ไทย ที่มีอยู่อย่าง The Standard (The Momentum หรืออะเดย์ บูลินตินที่เคยสัมภาษณ์อภิสิทธิ์*****) ตอนนี้งดคนดังๆมาเป็นคอลัมนิสต์อย่างอภิสิทธ์ ในแง่กระแสรสนิยมคนดังมานั่งเขียน หรือผมเล่นกับเรื่องคนดัง เคยใช้ข่าวเก่าเรื่องแรงงานรปภ.หล่อ เป็นต้น โดยสื่อออนไลน์อย่างThe Matter วิธีการเนื้อหาจากแปลและสรุปจากข่าวต่างประเทศฝรั่งๆ ซึ่งต้องมีคนทำหน้าที่แปลข่าวไทใหญ่ พม่า บ้าง
โดยผมรู้เรื่องสื่อไม่มาก ตามคำนิยามสารพัดสื่อ(******)ว่าด้วยสารพัดคำเรียกสื่อ…สื่อมวลชน (Mass Media) หมายถึง สื่อที่มีความเป็นวิชาชีพ เข้าถึงกว้างขวาง ใช้เทคโนโลยี มีบทบาทความรับผิดชอบต่อสังคม มีจริยธรรมวิชาชีพ โดยที่ผู้ส่งสาร เป็นมืออาชีพ (Professional) ต้องตระหนักในจรรยาบรรณวิชาชีพ (Ethic) เนื้อหาสารเป็น “สาธารณะ” (Public) ส่งผลกระทบถึง ผู้รับสารจำนวนมาก หลากหลายคุณลักษณะ เลือกรับสารได้เอง
-สื่อดั้งเดิม (Traditional Media) หมายถึง สื่อมวลชนที่มีมาดั้งเดิม ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์, สื่อวิทยุกระจายเสียง, สื่อโทรทัศน์ และ สื่อภาพยนตร์ เป็นต้น สื่อเก่า หมายถึง สื่อที่มีมาแต่เดิม ในลักษณะเดียวกันกับสื่อดั้งเดิม
-สื่อใหม่ (New Media) หมายถึง สื่อมวลชนที่เกิดขึ้นใหม่ เกิดจากการหลอมรวมเทคโนโลยีการสื่อสาร ภายใต้พัฒนาการของภาษาระบบตัวเลข (Digital Language) กล่าวคือ เทคโนโลยีการสื่อสาร3 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1. เทคโนโลยีด้านการพิมพ์ (Printing Technology), 2. เทคโนโลยีแพร่ภาพและกระจายเสียง (Broadcast Technology) และ 3. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม และคอมพิวเตอร์ (Information and Communication Technology) เช่น หนังสือพิมพ์ออนไลน์, โปรแกรม CHAT : MSN, ICQ, Perch, Skype, รวมถึง เครือข่ายสังคม (Social Media Network) (เช่น Hi5, Face book, Multiply, ทวิตเตอร์ (ไม่เกิน 140 ตัวอักษร), แคมฟรอก (camfrog) เวบบอร์ด (Web Board), เว็บไซต์ (Website), นักข่าวมือถือ “โมโจ” (Mobile Journalist), MMS, SMS (ไม่เกิน 70 ตัวอักษร), E – Magazine, E – Book, Blog, นักข่าวพลเมือง (Citizen Reporter) ปัจจัยเร่งให้เกิดสื่อใหม่ ได้แก่ ความแพร่หลายของอินเตอร์เน็ต, การบรรจบหลอมรวมเทคโนโลยีสื่อ (Convergence), การค้าเสรีขององค์การการค้าโลก (WTO : World Trade Organization)
-สื่อกระแสหลัก (Mainstream Media) หมายถึง สื่อมวลชนที่พิจารณาจากความเป็นเจ้าของสื่อนั้นๆ (Ownership) อันมีเป้าหมายทางธุรกิจ เน้นผลกำไร เป็นองค์กรเชิงพาณิชย์ วัดความสำเร็จจากเรทติ้ง
-สื่อทางเลือก (Alternative Media) หมายถึง สื่อมวลชนที่เจ้าของสื่อมักเป็นภาคประชาสังคม (Civil Society), เป้าหมายเพื่อสังคม ไม่เน้นหาผลกำไร บางชนิดเป็นองค์กรสื่อสาธารณะ
สื่อเฉพาะกิจ (Specialization Media) หมายถึง สื่อที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์การใดเป็นเฉพาะ เช่น เพื่อการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ เพื่อการเผยแพร่โดยองค์กรภาคธุรกิจ องค์กรภาคประชาชน หรือหน่วยงานของรัฐ
-สื่อสาธารณะ (Public Media) หมายถึง สื่อมวลชนเพื่อประโยชน์สาธารณะของสังคม ไม่รับโฆษณาธุรกิจ เงินดำเนินการมาจากการสนับสนุนหรือบริจาค เป้าหมายเพื่อการพัฒนาสังคม
-สื่อชุมชน (Community Media) หมายถึง สื่อที่มีหลักการดำเนินการ โดยมีชุมชนเป็นเจ้าของ ดำเนินการโดยชุมชน เพื่อชุมชน
-สื่อพื้นบ้าน (Folk Media) หมายถึง สื่อที่ชาวบ้านในหมู่บ้านใช้ภายในหมู่บ้าน อาจเป็นสื่อประเพณี สื่อกิจกรรม สื่อบุคคล ซึ่งสะท้อนถึงภูมิปัญญาชาวบ้าน
-สื่อท้องถิ่น (Local Media) หมายถึง สื่อมวลชนที่มีอยู่และเป็นไปเพื่อคนในท้องถิ่น อาจเป็นเพียงชุมชนเล็กๆ หรือระดับจังหวัดเดียว หรือหลายๆ จังหวัด มีทั้งวิทยุ หนังสือพิมพ์ และเคเบิลทีวี
-สื่อพลเมือง (Citizen Media) หมายถึง สื่อที่ผู้ดำเนินการเป็นลักษณะอาสาสมัคร ไม่เน้นอย่างมืออาชีพ มุ่งเป้าหมายเพื่อการมีส่วนร่วมในการสื่อสารของภาคประชาชน
-สื่อออนไลน์ (Online Media) หมายถึง สื่อที่เป็นสื่อทางเลือก สื่อเสริมหรือสื่อใหม่ เข้าถึงได้ตลอดเวลา โต้ตอบกับผู้รับสารได้ในทันที จัดเก็บสารสนเทศไว้ได้โดยง่าย เช่น เครือข่ายอินทราเน็ต (Intranet) เอ็กทราเน็ต (Extranet) บริการส่งข้อความสั้น (SMS) บริการส่งข้อความสื่อผสม (MMS) เน้นความสดใหม่ของข่าว, เน้นข่าวเชิงลึก (ข่าวเชิงสืบสวน), เน้นส่วนร่วมผู้อ่านผ่านกระดานข่าว (web board), เน้นส่วนร่วมโดยสร้างพื้นที่ส่วนตัวหรือ Blog, เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปเข้ามามีส่วนร่วมในการรายงานข่าวเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์
-สื่อละคร (Play Media) หมายถึง สื่อที่ใช้ละครเป็นตัวนำสารเพื่อการเรียนรู้ เป็นงานศิลปะเพื่อการสื่อสาร
-สื่อค่าย (Camping Media) หมายถึง สื่อที่ใช้กิจกรรมการเข้าค่าย เพื่อการจัดกิจกรรมแบบมีส่วนร่วมของผู้เข้าร่วม
-สื่อใต้ดิน (Indy Media) หมายถึง สื่อที่ดำเนินการโดยอิสระของกลุ่มเฉพาะ มีแนวทางเป็นของตัวเอง ไม่ซ้ำกับสื่อกระแสหลัก บางประเภทจัดเป็นสื่อทางเลือก
อย่างไรก็ดี แนวร่วมสื่อที่ผ่านมาประชาธรรม ไทยพีบีเอส ก็ได้เข้ามาร่วมด้วยช่วยกัน กรณีThe Standard ที่มีข่าวหากโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบาราเกิดขึ้น ใครที่ได้ประโยชน์ ? #WorldEnvironmentDay #TheStandard #StandForThePeople มีคนคอมเม้นท์สื่อนี่กำลังทำตัวเป็นNGO หาเงินจากแหล่งทุน(ไม่ก็เงินบริจาค) โดยเปรียบเทียบแล้วน่าสนใจว่าThe Standard อาจจะช่วยเป็นแนวร่วมลงโฆษณาอย่างหนึ่งให้เครือข่ายแรงงานฯ เป็นตัวอย่างหนึ่งด้วย
โดยเขามีทีมงานทำข่าว ถ้าเขามีเรื่องเจาะข่าว ด้วยติดตามผลักดันต่อเนื่องยาวนานยิ่งดี แน่ละขึ้นอยู่กับเป้าหมายวิธีการทำสื่อใหม่ของแรงงาน ใช้วิธีการที่หลากหลายจากเฟซไลฟ์ หรือจากกิจกรรมที่ผ่านมาน่าจะทำอีบุ๊ค(*******)อะไรได้บ้าง ภายใต้ข้อจำกัดของทีมงานของเพจเครือข่ายแรงงานภาคเหนือ ที่ไม่ได้ขนาดใหญ่ ต่างจากThe Standard และผมได้เขียนเปรียบเทียบกับสื่อใหม่(New Media) ในต่างประเทศ มาแล้ว
ยกตัวอย่างสถาบันแรงงานและอุตสาหกรรมของมหาวิทยาลัยในฟิลิปปินส์จะทำBlog(********) สื่อใหม่ที่บอกเล่ากิจกรรม ให้ความรู้กับนักศึกษาที่จะเป็นแรงงานต่อไป ซึ่งเป้าหมายของสื่อใหม่ ที่มีกลุ่ม น่าจะสอดคล้องกิจกรรม หาคนเป้าหมายเพื่อเพิ่มจำนวนคนเข้าเฟซเครือข่ายแรงงาน
อย่างไรก็ดี นำคำคมมาเสนอ คือ ความเสี่ยงที่มากที่สุด คือคนที่ไม่ยอมเสี่ยงอะไรเลย ” – Mark Zuckerberg(คนก่อตั้งเฟซบุ๊คผมนำมาจากเน็ต)
DIGITAL REBELLION: THE BIRTH OF THE CYBER LEFT “ความเกี่ยวโยงของแรงปรารถนาของนักกิจกรรม และเหตุผลของการโต้แย้งของนักวิชาการ,Wolfson(ผู้เขียน DIGITAL REBELLIONฯ) น่าสนใจอย่างเต็มที่การอุบัติขึ้นของฝ่ายซ้ายไซเบอร์ ในกบฎดิจิตอล ….”
—Michael Hardt, co-author of Declaration and Empire เป็นผู้เขียนร่วมกับNegriด้วย
ต่อมายกตัวอย่างวัฒนธรรมเทคโนโลยี ที่เขียนแล้วจะยาว มีเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างโลกาภิวัตน์ และข้อมูลเทคโนโลยีใหม่ ในกรณีที่1 คือ 24 ชั่วโมงของรายละเอียดชีวิตในอีเลคทรอนิค กรณีที่2.กิจกรรมไซเบอร์ บทบาทของโซเชียลมีเดีย ในการเคลื่อนไหวและการลุกขึ้นสู้ของกิจกรรม ตั้งสมาธิกลุ่มจัดตั้งยุทธศาสตร์ โดยพวกเขา ในพื้นที่ไซเบอร์ (เก็บความย่อๆจากJonathan Crary’s 24/7: Late Capitalism and the Ends of Sleep และการรีวิวหนังสือเล่มดังกล่าวต่อชีวิต ที่ถูกการครอบงำในรูปแบบของทวิส.เฟซบุ๊ค)
ดังนั้น สื่อดิจิตอล นั้นส่งผลต่อการอ่านความคิดของคน และอุตสาหกรรมสื่อดิจิตอล ส่งผลต่อการติดตามงานของคนอาจจะตลอด24 ชั่วโมง คนทำงานสื่อสารง่ายขึ้น ตามตัวกันง่ายกว่ายุคโทรศัพท์บ้าน มีโทรศัพท์มือถือ ต่อมาเฟซฯ ไลน์ฯลฯ บางคนปิดมือถือ ปิดเฟซฯ ปิดไลน์ไปเลย
ผมในฐานะผู้กำกับหนังสั้น ใช้สื่อใหม่(เพื่อนนักวิจารณ์บอกหนังสั้นรณรงค์กฎหมายเค้าเป็นคนนอกไม่อินเท่าการถ่ายภาพเป็นงานมุมกล้องศิลปะ********)เป็นอาจารย์พิเศษ ของสาขาวัฒนธรรมศึกษา ก็สนใจแนวคิดมูลนิธิผสานวัฒนธรรม หรือแนวคิดเรื่องจัดสร้างพิพิธภัณฑ์แรงงานภาคเหนือด้านวัฒนธรรมสื่อดิจิตอล สื่อใหม่ ในระยะยาว หลักฐานประวัติศาสตร์และความทรงจำ(*********)ในสื่อใหม่ โดยส่วนตัวเท่าที่พยายามเขียนภาพหลากหลายของไทยกับยุคสื่อใหม่ : ชาติ หรือNew Digital Age : Nations(ยุคดิจิตอลใหม่: ชาติ**********)ด้วย
*แมวจร คนจรhttps://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1729142877114933&id=100000577118415
**สื่อดิจิตอล

*** “โลกโซเชียล” กับ “โรคซึมเศร้า”
http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/637547
เมื่อวานกับวันนี้มีงานบางมุมเกี่ยวกับสื่อ

(เฟซฯถูกใช้ในอาหรับสปริงด้วย)
• วัฒนธรรมดิจิตอล คือ โปรแกรมนวัตกรรมสหวิทยาการ อยู่ใน คณะสื่อและสื่อสารมวลชน วิเคราะห์สำรวจ อินเตอร์เน็ต สื่อใหม่ และเทคโนโลยีดิจิตอล และบทบาทของผู้เล่นในสังคมร่วมสมัย สื่อ วัฒนธรรม ธุรกิจ การเมือง ศิลปะและชีวิตประจำวัน
• โปรแกรมวัฒนธรรมดิจิตอล เป็นพื้นที่ของเทคโนโลยีฉลาด สื่อสารตอบกัน โทรศัพท์มือถือและเครือข่ายเทคโนโลยี ในบริบทภาพวาดเกี่ยวกับสื่อศึกษา วัฒนธรรมศึกษา สื่อใหม่ศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการศึกษา สังคมวิทยา สื่อศิลปะ และปรัชญาในการทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่เกี่ยวกับสื่อดิจิตอล
• การศึกษาสำรวจเชื่อมต่อระหว่างเทคโนโลยีใหม่สื่อใหม่และการปฏิบัติทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลการสื่อสารความรู้ อัตลักษณ์และอำนาจ
• หัวข้อที่ครอบคลุมในโปรแกรมวัฒนธรรมดิจิตอล รวมถึงเว็บ สื่อสังคม ออนไลน์ ตัวตน มือถือ โซเชียลเน็ตเวริค์ เกมคอมพิวเตอร์ ชุมชนเสมือน ทฤษฎีของเทคโนโลยีและวัฒนธรรมการวิจัยดิจิตอล สื่อศิลปะ
http://sydney.edu.au/arts/digital_cultures/undergrad/index.shtml
ศิลปินไทย ใช้เฟซฯสอนศิลปะ
im:print 2010: zustandsprotokolle aktueller druckgrafik journal for the state of current printmaking (Edition Angewandte) (German and English Edition)
Print versus electronic journals: a preliminary investigation into the effect of journal format on research processes*
https://www.umass.edu/umpress/series/studies-print-culture-and-history-book
อุปกรณ์ดูดวิญญาณ!!! งานศิลปะจิกกัดสังคมก้มหน้า
http://www.manager.co.th/Marsmag/ViewNews.aspx?NewsID=9580000127092
ฟูโกต์ และสื่อสังคม : ชีวิต ในพานอพติคอน(คุกดูผ่านสายตา)เสมือนจริง (Foucault and social media: life in a virtual panopticon )
https://philosophyforchange.wordpress.com/2012/06/21/foucault-and-social-media-life-in-a-virtual-panopticon/
Facebook | Panopticon: an analysis of Facebook and its parallels to the Foucaultian Panopticon
http://scholar.utc.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1030&context=honors-theses
รุ่นน้องสัมภาษณ์เรื่องเครื่องอ่านความคิดคน คล้ายเฟซบุ๊ค
(ดูหนังCitizen Four ดูหนังHacker)
****โครงการนิทรรศการ เสวนาแบบบูรณาการระหว่าง วรรณกรรมกับศิลปะ “การอ่านจากภาพตะวันตกกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”
http://www.manager.co.th/Campus/nodrink/listComment.aspx?ID=68519
***** ดูเพิ่มเติมบทสัมภาษณ์อภิสิทธิ์ ที่มั่นใจเลือกตั้งจะได้เป็นรัฐบาลhttps://www.facebook.com/adaybulletin/photos/a.267853132346.141679.267847432346/10154364574447347/?type=3&theater
******ว่าด้วยสารพัดคำเรียกสื่อ
http://www.tja.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1122:2009-12-25-04-27-23&catid=17:media-store%3E,%20
*******การทำอีบุ๊คของสื่อใหม่รวมเรื่องราวในหนึ่งปี กัน ยกตัวอย่างช่วงก่อนผมร่วมทำเพจกับเพื่อน ตอนนี้เพื่อนให้ชวนร่วมทำเรื่องเวียดนามใต้ โดยแนวระดมทุน(ขณะนี้มีแนวเว็บระดมทุนไทยและต่างประเทศก่อนพิมพ์หนังสือ) ซึ่งผมอาจจะหางานเขียนเก่าๆ เสนอเขา และระดมสมองสำหรับระยะยาวด้วย
********PUP Institute of Labor and Industrial Relations (ILIR) conducted 2nd BLOGS
กิจกรรมให้ความรู้กับนักศึกษา
https://www.pup.edu.ph/research/ilir/news.aspx?go=ESOVl8EOZUo%3d
ดูงานในBlogของสถาบันแรงงาน และอุตสาหกรรมสัมพันธ์(น่าสนใจในแง่การสร้างวัฒนธรรมแรงงาน The Making working class)
*********History & Memory aims to explore not only official representations of the past in public monuments and commemorations but also the role of oral history and personal narratives, the influence of the new media in shaping historical consciousness, and the renewed relevance of history writing for emerging nations and social conflicts.
https://muse.jhu.edu/journal/71
(ประวัติศาสตร์และความทรงจำ และเรื่องเล่าส่วนตัวอิทธิพลต่อสื่อใหม่ฯลฯ)
********** New Digital Age : Nations(ยุคดิจิตอลใหม่: ชาติ)
http://akkaphon.blogspot.com/2016/01/new-digital-age-nations-2-single.html
(ดิจิทัลเปลี่ยนโลก : The New Digital Age)
ชะตากรรมทางภาพลักษณ์ของผู้ใหญ่ยุคโซเชียลเน็ตเวิร์ก
https://prachatai.com/journal/2016/12/69342
(พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ จะส่งผลต่อสังคมอีก)
เปิดตัวเว็บข่าวคนพิการ ชวนเสวนามุมใหม่ ลบภาพวงเวียนชีวิต
หากินกับคนพิการให้ถูกทาง
https://prachatai.com/journal/2017/07/72238
Sadapphim Ukin Surawong ยาวมาก..แต่อ่านนะ แอบอ่านผ่านๆบ้าง แฮร่..หนุกดีค่ะ😁😁
555จริงๆที่เขียนนี่บางเรื่องไม่ได้ใส่ไปในบทความตัดให้สั้นลง ที่ร่างไว้เกือบสองเดือน คือ พยายามแก้ไขตัดบางอันออก เช่น พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ มีก.ม.ลิขสิทธิ์ ปัญหาการสะสมเพื่อนในเฟซ บางคนใช้เฟซฯอ่านอย่างเดียว ฯลฯ โดยโลกดิจิตอลตอนนี้มีคำคมใหม่ว่าปลาเร็วกินปลาช้า แทนปลาใหญ่กินปลาเล็ก
หรือBuilding Digital Culture: A Practical Guide to Successful Digital Transformation
รวมทั้งThe Internet, a Tool for Art?
http://www.kareneliot.de/thesis_surveillance.html
7 สิงหา
การสะสมความทรงจำ7 สิงหา
เจ็ดสิงหา ในปีที่แล้วเป็นวันประชามติ ที่มีรูปหนุมานจากรามเกียรติ์(ดูสมุดภาพไตรภูมิ) ซึ่งผมเขียนสะสมความทรงจำไว้อยากเขียนวิเคราะห์อนาคตระยะใกล้(สั้น) ระยะกลาง ระยะยาวสักหน่อย แต่ไม่มีเวลา โดยสั้นๆ จากเคยทำนายเรื่องผลประชามติมาแล้ว ก็สนใจเรื่องอนาคต ช่วงเวลาความขัดแย้งของไทย ในแง่ระยะเวลา และระดับขัดแย้งรุนแรงแค่ไหน เพียงหวนคิดไว้อาจจะเขียนอ้างบทกลอนเพลงยาวพยากรณ์(*) เลียนแบบวิธีเขียนบทความของอ.เบน และแนวคิดของตนเขียนประเมินสถานการณ์อนาคตไทยแลนด์ 4.0เปิดประเด็นไว้
นั่นแหละ กรณี7 สิงหาโดยเปรียบเทียบอดีต ปัจจุบัน จากเจ็ดสิงหา ในอดีตมีเรื่องวันเสียงปืนแตก (บางคนเสนอว่าที่จริง คือ วันที่ 8 สิงหา มาเวียนอีก) ยุคเข้าป่าแสวงหาของปัญญาชนบางคนไปลาว ต่อมาบางคนเรียนต่อต่างประเทศบางคนทำนายวิกฤติต้นยำกุ้งได้ก่อน มีชื่อเสียงดังอย่างเทียนชัย(**)หรืออ.เกษียร เขียนเรื่องไอเอ็มเอฟ ใส่แนวจั่วคำพยากรณ์ถิ่นกาขาว(***)แนวการวิเคราะห์ว่าเคยลอกแบบอ.เบน(****)
เมื่อคนยุคเดือนตุลาก็เวลาที่ผ่านไปมีวิวาทะจากคนละฝั่งกัน(*****) และผมได้กล่าวถึงในหนังสือแผ่นดิน จึงดาลฯก็ได้ทำนายอนาคตไปอย่างที่ผมยกตัวอย่างไปบ้างแล้ว ซึ่งผมอาจจะทำนายอนาคตบางส่วนจากที่ทำนายบ้างแล้ว(******)หรือหยุดทำนาย(*******) ทันใดนั้นเอง ความหวัง(********)ยังอยู่ในโซเชียลมีเดียแล้ว ผมปล่อยวางนิ้วมือ
∗บ้านเมืองของเราลงแดง : แง่มุมทางสังคมและวัฒนธรรมของรัฐประหาร6 ตุลาคม
http://www.tcijthai.com/uploads/docs/Withdrawal-Symptoms.pdf
(ภาพประกอบบทความดังกล่าว และภาพประกอบทางเน็ต รวมทั้งของผม โดยผมคิดเพิ่มต่อจากหนังสือชุมชนจินตกรรมฯของอ.เบน กรณีปัญหาภาคใต้เปรียบเทียบกับอินโดฯ แผนที่ติมอร์ หรือหลังวิกฤติต้มยำกุ้งคนอินโดไล่ล่าฆ่าคนจีนในประเทศ-ก่อการร้ายไอซิส หรือพรรคคอมมิวนิสต์ฟิลิปปินส์ ไอเอส ก่อการร้าย แต่รัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง โดยผมไม่มีเวลาเขียนยาวไป)
**เทียนชัย วงศ์ชัยสุวรรณ จุดพลิกผัน…ระบบโลก
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/535393
โลก (ของเก่า) ของยุค ศรีอาริยะ
http://www.komchadluek.net/news/knowledge/173315
(เทียนชัย หรือยุค ศรีอาริยะประทับใจผมเมื่อสิบกว่าปีก่อน เพราะเคยอ่านงานเขา และหลายปีก่อนแปลกใจเคยเห็นเขานั่งหลับฟังการอภิปรายในงานศูนย์มานุษยวิทยาฯ ตื่นมาอธิปรายอย่างโน้นอย่างนี้เล่าให้รุ่นพี่ที่เคยทำงานกับเขาฟังปีนี้แสดงความเห็นว่าน่าจะพูดคนละเรื่องกัน)
***เกษียร เตชะพีระ ถิ่นกาขาว : เศรษฐกิจการเมืองไทยใต้เงาไอเอ็มเอฟ (2542)
(งานของอ.เกษียร จะมีบางชิ้นเป็นงานที่อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์คนหนึ่งของผมแนะนำไว้ เคยเอ่ยชื่อเขาไปแล้วได้เล่าบางส่วนล่าสุดจากเจองานICAS คุยเรื่องอดีตสมัยอาจารย์เรียนป.เอกที่เคมบริดจ์ไม่จบ(อาจารย์เป็นคนมีประวัติร่วมกับอ.เสกสรรค์ ยุคตุลาฯลฯ) โดยอาจารย์แนะนำผมตอนทำวิทยานิพนธ์ให้อ่านงานเกี่ยวกับวิวาทะโลกานุวัตรของอ.เกษียร)
“ICAS”(จบ)

****เกษียร เตชะพีระ : วิธีลักจำจากครู (จบ)
ผมกลับไปค้นอ่านและสังเกตทบทวนงานชิ้นต่างๆ ของครูเบ็นที่เคยผ่านตาอีกครั้ง จากนั้นก็ลองทำการลอกเลียนแบบวิธีศึกษาของครูเบ็นมาใช้ในกรณีประวัติศาสตร์การเมืองวัฒนธรรมไทย
https://www.matichonweekly.com/featured/article_44528
*****วิวาทะ “ยุค ศรีอาริยะ-เกษียร เตชะพีระ” อเมริกาใช้ “คอร์แนล” ครอบงำความคิดปัญญาชนไทยจริงหรือ?
http://m.matichon.co.th/readnews.php?newsid=1328360499&grpid=01&catid=01
******ชลประทาน และภัยพิบัติน้ำท่วม

นายกทหารฯ ออกทีวีในวันศุกร์

(ผมอาจจะไม่เขียนก็ได้ เหนื่อย ถ้าดู1.โครงสร้างการเมืองสังคม 2.ช่วงยุคสมัย 3.เหตุการณ์แต่ละวันหรือสัปดาห์ ดูข่าวทุกวันปวดหัว โดยการวิเคราะห์ 3ระดับ มาเชื่อมโยงกัน ถ้าแนววิเคราะห์นักข่าวจากข้อมูลข่าวสารที่ผมเคยทำนายเรื่องนายกฯปูขึ้นมาจากสายข่าวอดีตผู้สื่อข่าวผู้จัดการ ต่อมาทำนิตยสารVoteที่ผมได้เป็นคอลัมนิสต์ตอนนั้น ซึ่งมากกว่านั้นข้อมูลพื้นที่ด้วย)
*******หยุดทำนายให้หายเชื้อหวัด ไปออกกำลังกาย ในสังคมยุคตัดไม้ หยุดทำลายไผ่

********ย้อนดูอดีตที่ผมเขียนเกี่ยวกับ 7สิงหา
7 สิงหาคม 2016

7 สิงหาคม 2015

7 สิงหาคม 2014

7 สิงหาคม 2013
7.2
การสะสมความทรงจำสร้างนิยาย
ผมผลิตนิยายได้หนึ่งเล่มผ่านไปสิบเอ็ดปี ในหลายปีมานี้พยายามผลิตนิยายเล่มหนึ่งมาเกินสิบปี แล้วแต่ได้เขียนเรื่องสั้นแทนให้ได้อย่างน้อยหนึ่งเรื่องสั้น ในหลายเรื่องราวชีวิตหนึ่งปี ซึ่งพื้นที่เรื่องสั้นไม่ค่อยมีตามนิตยสารแล้ว ก็ปีที่แล้วเรื่องยุ่งยากเริ่มต้นปลายปีพอปีนี้ มีเรื่องยุ่งยากหลายเรื่องอีก แต่ผมเรื่องส่วนตัวบางด้านก็ไม่ได้เขียนโพสต์เฟซฯ ไปด้วย อาจจะดัดแปลงเป็นเรื่องสั้นหรือนิยาย ซึ่งผมอ้างอ.นิธิ :ก่อนจะพูดอะไรทั้งสิ้นต่อไปนี้ ผมขอประกาศว่า ไม่มีอาชีพอะไรที่ผมอิจฉาตั้งแต่หนุ่มมาจนแก่ป่านนี้เท่าอาชีพนักเขียน (งานประเภทที่ฝรั่งเรียกว่า creative writings) เพราะเป็นอาชีพที่ผมอยากทำมากที่สุด
แต่พยายามอย่างไรก็พบว่าตัวไม่มีความสามารถทำได้ ในด้านหนึ่ง ผมชอบเอางานของท่านเหล่านั้นไปเปรียบกับนักเขียนฝรั่ง แต่ที่ทำอย่างนั้นก็เพื่อสร้างความเข้าใจบางเรื่อง อย่างที่การศึกษาเปรียบเทียบมักช่วยได้ ไม่ได้คิดว่างานของฝรั่งเป็นมาตรฐานแต่อย่างใด ตรงกันข้ามด้วยซ้ำ ความไม่เหมือนกับงานฝรั่ง กลับทำให้ผมคิดว่า นักเขียนไทยเข้าใจ-เข้าถึงสังคมและวัฒนธรรมไทยได้ลึกกว่านักวิชาการไทยศึกษาทั้งโลก(*อ.นิธิ เคยเขียนเรื่องสั้น)
นี่แหละผมเป็นนักเขียนไม่อาชีพ ไม่รู้อายุจะยืนยาว120ปี หรือความทรงจำดีแค่ไหน? ไม่เป็นอัลไซเมอร์หวังวิทยาศาสตร์สร้างทรงจำได้(**) เริ่มต้นในแง่รำลึกความทรงจำ อาจจะใส่แนวต่อสู้แอคชั่นเข้าไปรวมทั้งสไตล์เอโก้(***)โดยผมโม้ไว้ก่อน ลืมเป็นชนชราเป็นอย่างTCDC(****) ไม่ได้เขียนไพรัชนิยายดังกล่าว แต่ปีที่แล้วกับปีนี้สนใจเรื่องธุรกิจ(*****)ด้วย
*ไพรัชนิยายไทย
https://www.matichonweekly.com/featured/article_40553
** FOREVER YOUNG ต่อไปมนุษย์จะมีอายุยืนถึง 120 ปี ในร่างกายที่อ่อนเยาว์และมีสุขภาพดี!
http://www.magazinedee.com/home/main/magazinedetail/id/34380-science-illustrated-vol-7-no-73-july-2017.html
นักวิทยาศาสตร์รู้แล้วว่าสมองเก็บความทรงจำด้วยวิธีใดและในส่วนไหนของสมอง การค้นพบนี้เพิ่มโอกาสในการรักษาโรคอัลไซเมอร์ Lost memories can be found
http://www.magazinedee.com/home/main/magazinedetail/id/33643-science-illustrated-vol-6-no-68-february-2017.html
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบวิธี ‘ลบ’ ความทรงจำ และ ‘เขียน’ ใหม่ได้แล้ว !
http://www.zolkorn.com/news/other/scientists-have-discovered-how-to-delete-and-rewrite-memories/
***นิยาย Foucault’s Pendulum

****TCDC เชียงใหม่

*****7 สิงหาคม 2016 ดูงานStart upฯ

(ภาพประกอบบอย สมัยเป็นนักเขียนหนุ่มกับอ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ น่าจะปี2008)

13 สิงหา
การสะสมความทรงจำ วันสำคัญ
วันที่8 สิงหาคม วันก่อตั้งสมาคมอาเซียน 8สิงหา วันแมวโลก 9 สิงหาคม พ.ศ. 2538 “วันสากลว่าด้วยชนพื้นเมืองดั้งเดิมของโลก” (International Day Of the World’s Indigenous People) 9 สิงหา วันชาติสิงคโปร์ 10 สิงหา วันกำนันผู้ใหญ่บ้าน 12 สิงหา วันแม่แห่งชาติ 13สิงหาคม2504 รัฐบาลคอมมิวนิสต์ของเยอรมนีตะวันออกสร้างรั้วลวดหนามและกำแพงคอนกรีตขนาดใหญ่ขึ้นในกรุงเบอร์ลิน
เมื่อผมไม่มีเวลาเขียนอะไร ต้องเข้ามาอัพเดจเพจเฟซฯเครือข่ายแรงงานภาคเหนืออีก เนื่องจากหลายเรื่องในชีวิตประจำวัน จึงรำลึกถึงการกำเนิดของชีวิตตนเอง ไม่ได้เป็นบอยอินซากี้ อย่างวันเกิดวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) – ฟิลิปโป้ อินซากี้ นักฟุตบอลชาวอิตาลี และผมยังไม่ได้เป็นนักเขียนรางวัลโนเบลอย่างแฮร์มันน์ เฮสเส นักเขียนชาวเยอรมันเสียชีวิต ในวันที่9 สิงหาคม พ.ศ. 2505 แฮร์มันน์ เฮสเส (Hermann Hesse) นักเขียนวรรณกรรมร่วมสมัยผู้ยิ่งใหญ่ชาวเยอรมัน ผู้เชื่อมโลกตะวันตกเข้ากับโลกตะวันออก เสียชีวิต (วันที่ไม่ได้จำไม่รู้ด้วย)
โดยเฮสเสเกิดที่เมืองคาล์ว ในแคว้นวึทเทมเบิร์ก (Wurttemberg) ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2420 เป็นบุตรของมิชชันนารีโปรเตสแตนต์ ตอนแรกเขาตั้งใจจะเดินตามรอยบิดา โดยเข้าเรียนที่โรงเรียนศาสนา แต่เรียนได้แค่เพียงสองปีก็ต้องลาออก เพราะทนสภาพในโรงเรียนไม่ได้ และเขาต้องการเป็นนักเขียน ไม่ก็ไม่เป็นอะไรเลย เขาเริ่มมีปัญหาทางสุขภาพจิต เคยพยายามฆ่าตัวตายหลายครั้ง……
ดังนั้น ผมไม่ได้ซีเรียสจริงจังกับชีวิตอย่างเฮสเส แก่ไปอาจจะเลียนแบบเล่นกีตาร์ ตามข่าวคุณยายขาร็อคเตรียมฉลองวันชาติสิงคโปร์(แม่ผมก็น่าจะแข็งแรงเล่นกีตาร์บ้าง รอมีหลาน) นี่แหละการสะสมความทรงจำสำหรับการทบทวนไม่ลืม ด้วย
(ภาพประกอบบนท้องฟ้า)
13.2
วัฒนธรรมการเมือง และคอรัปชั่นเชิงนโยบายแห่งชาติ ต่อความปลอดภัยแรงงาน
วันนี้ในอดีตรำลึกตึกถล่มปัญหาความปลอดภัย: 13 สิงหาคม พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) – เวลา 10.00 น. โรงแรมรอยัล พลาซ่า โรงแรมชั้นหนึ่งของในจังหวัดนครราชสีมา สูง 6 ชั้น เกิดถล่มลงมา ในขณะที่ยังมีแขก และพนักงานอยู่ในอาคารไม่ต่ำกว่า 500 คน ฯลฯ เนื่องจากผมไปร่วมเวทีเสวนาสุขภาพความปลอดภัยในการทำงานฯ (*) ดังกล่าว กลับมาทบทวนบทความที่เคยเขียนในนิตยสารเนชั่นสุดสัปดาห์อ้างอ.เบน ในเรื่องวัฒนธรรมการเมืองเกี่ยวพันคอรัปชั่นตอบโจทย์โดยเบน แอนเดอร์สัน เคยกล่าวถึงเรื่องคอรัปชั่น
โดยศ.ดร.เบน เคย เสนอว่า คำ ความหมาย และวัตรปฏิบัติว่าด้วยคอรัปชั่นเป็นเรื่องใหม่ เกิดมาพร้อมกับทุนนิยม ถึงความเป็นสมัยใหม่ (modernity) และวัฒนธรรมนายทุน สิ่งแรกที่เขายกขึ้นมาอ้างก็คือการที่คำว่าคอรัปชั่นไม่มีคำแปลในภาษาท้องถิ่น ยกตัวอย่างเช่น ไทยใช้คำว่าคอรัปชั่น…
ส่วนอินโดนีเซีย(ชวา) ใช้คำว่าคอรุพซี่ และฟิลิปินส์ใช้คำว่าคอรัปซิอง ซึ่งการต้องใช้คำจากต่างประเทศบอกอยู่ในตัวแล้วว่าสิ่งนี้เป็นความคิดแบบสมัยใหม่และยังไม่ “ลงตัว” กับจิตสำนึกของสังคม
บางคนอาจจะบอกว่า มันคือคำว่าโกง ตรงข้ามกับคำว่าซื่อตรง (sincere) และคอร์รัปชั่นเป็นความเลวร้ายของวัฒนธรรมตะวันตกที่มาพร้อมการล่าอาณานิคมและทุนนิยม แต่เบนเชื่อว่ามีอะไรมากกว่านั้น คอรัปชั่นเป็นทางลัดหรือวิถีทางของคนที่ไม่อยากทำงาน
แต่อยากได้สถานะทางสังคม อยากได้เงินเดือน และอยากมีความยิ่งใหญ่ในการงาน “จะขยันไปทำไม เมื่อเราสามารถหาเงินจากการเล่นหุ้นได้อย่างสบายๆ เพราะเพื่อนเราเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือถ้าอยากได้อะไรง่ายๆ ก็เพียงจ่ายค่าคอมมิชชัน” นี่เป็นตัวอย่างหนึ่ง
เขาหยิบยกเอา “ความขี้เกียจ” มาวิเคราะห์ โดยเสนอว่าสังคมสมัยใหม่เท่านั้น ที่มีทัศนะว่าความขี้เกียจเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ ซึ่งความเป็นสมัยใหม่เชิดชูความขยันและศักดิ์ศรีของสถานภาพที่ได้มาจากการทำงานหนัก ต้องมีทัศนะเชิดชูความขยันก่อน
เมื่อความคิดเรื่องคอรั่ปชันหรือการต่อต้านคอรั่ปชันจะเกิดขึ้นได้ ก็เฉพาะในสังคมที่มี “พื้นที่สาธารณะ” ซึ่งหมายถึงทั้งเวทีการเมืองและสื่อมวลชน ซึ่งผู้ปกครองถูกจับมา “ส่องมอง” หรือตรวจสอบได้ และในวัฒนธรรมนายทุน(ชนชั้นกลาง)ที่จะมีพื้นที่แบบนี้
แต่อาจารย์เบน เน้นที่สำคัญ คือ ทัศนะของเขาเป็นมุมมองแบบมุมกว้าง การก้าวออกจากยุค….อดีต(ตรวจสอบไม่ได้) เข้าสู่ทุนนิยม ความเป็นสมัยใหม่ และกรอบจริยธรรมนายทุน หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเกิดคอรัปชั่น(**) นี่แหละปัญหาทุนนิยม ที่มีข้อดีตรวจสอบได้บ้าง ผมเคยนำมาโพสต์เฟซฯไว้บางส่วนเรื่องคอรัปชั่น หรือฉ้อราษฎร สะท้อนแผนที่สยามฯลฯ
ดังนั้น ทัศนะผมต่อสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่าชาติ ได้ถูกชุมชนจินตกรรมร่วมกันเป็นการต่อต้านคอรัปชั่นแห่งชาติ ซึ่งผมเคยได้ไปฟังเรื่องคอรัปชั่นเปรียบเทียบกับอินเดียตามที่เคยเล่าไว้(***)
อย่างไรก็ดี ตอนนี้บทเรียนเปรียบเทียบจากตัวอย่างหลายแบบ ซึ่งผมหวนคิดติดตามคอรัปชั่นเชิงนโยบาย(ที่ออกกฎหมาย ทำให้ถูกกฎหมายจับตรวจสอบส่องมองเห็นยาก)จากอดีต ที่โรงงานเคเดอร์ ที่ว่ามีคอรัปชั่น กับการตรวจงานความปลอดภัยถึงโรงแรมรอยัลพลาซ่า ที่ยกตัวอย่างป้องกันคอรับชั่นเชิงนโยบายในการตรวจความปลอดภัยสถานที่โรงงาน ยกเลิกแจ้งล่วงหน้าก่อนสามวันเข้าตรวจความปลอดภัย ตามภาพ(****) เพื่อป้องกันให้เกิดความปลอดภัยที่แท้จริง
*ดูเพิ่มเติมลิ๊งค์ เครือข่ายแรงงานภาคเหนือ
ประกาศ ชวนร่วมกิจกรรมแรงงาน :สุขภาพความปลอดภัยในการทำงาน – ปัญหาและทางออก
วันพุธที่ 9 สิงหาคม 2560

(ช่วงก่อนประชุมอบรมอ.พิเศษได้ยินเสียงสัญญาณเตือนภัยของโรงแรมดังด้วย)
วันนี้ในอดีตรำลึกตึกถล่มปัญหาความปลอดภัย
**กรณีของศ.ดร.เบน แอนเดอร์สัน(ผู้ไม่ได้เข้าป่าเป็นนักปฏิวัติ) ผู้เขียนชุมชนจินตกรรมฯ กล่าวไว้ในงานนิทรรศการศิลปะแห่งการคอร์รัปชัน หรือThe Art of Corruption ที่จัดขึ้นโดย สำนักงานบริหารและจัดการองค์ความรู้ (สบร.) ดูเพิ่มเติมชุมชนจินตกรรม : บทสะท้อนว่าด้วยกำเนิดและการแพร่ขยายของชาตินิยม (Imagined Communities: Reflections on the Origin and Spread of Nationalismลองค้นหาคำว่า Corruption ได้ในฉบับภาษาอังกฤษ)
*** “ICAS”(จบ)

Freedom of Information Law and the Empowerment of Urban Poor and Middle Class in India โดยMd Aftab Alam, University of Delhi, IndiaในงานICASด้วย
Right to information Act has a potential to strengthen accountability mechanisms in India. It is an effective tool of good governance and public service delivery in India. It is also an effective tool to tackle corruption and foster development. In this paper I explore the unexpected anti-corruption potential of right to information laws and measure the effectiveness of this anti-corruption tool against the baseline of corrupt behavior…..
****ภาพจากแรงงานปริทัศน์ทั้งเรื่องปัญหาเคเดอร์ถึงโรงแรม กรณีปัญหาเชิงโครงสร้างหรือของสังคม ทั้งการคอรัปชั่น สุขภาพและความปลอดภัย ฯลฯ โดยเล่มนี้สมัยนั้นดร.เทียนชัย หรือยุคศรีอาริยะ ที่ผมเคยกล่าวถึงไว้เป็นคณะกรรมการบริหารด้วย
การสะสมความทรงจำ7 สิงหา
16 สิงหา
การสะสมความทรงจำ วันสำคัญ
วันนี้วันสันติภาพไทย ย้อนดูหนังพระเจ้าช้างเผือก สะท้อนสันติภาพ ที่ผมเคยเขียนไว้มาทบทวนขยายความเพิ่มเติม(*) ลำดับเล่าเรื่องปัจจุบันยุคการสร้างหนังหาอดีตยุคตัวละครอโยธยามา ดูทุนสร้างคนแสดงอุปกรณ์ โดยเหตุผลบทบาทของคนดูหนัง ต้องทำความเข้าใจด้วยเหตุผลตามความรู้สึกแต่ละคน และผมกลับมาทบทวนFocusประเด็นใหม่ “เสียงในชุมชนจินตกรรมผ่านภาษาไทย” ซึ่งถ้าดูหนังพระเจ้าช้างเผือกตามลิ๊งค์ จะมีฉากเสียงภาษาไทย ค้นหาเจอได้ในฉากเรณูร้องเพลง…วาสนาปางก่อนที่ย้อนส่ง ให้เราคงได้รับ ให้กับหาย ถ้าทำดีมีส่งสุข ไม่วาย ถ้าทำร้าย ร้ายส่ง จงตามเดิม ชาติปางก่อน ตัวข้าได้ทำดี จงส่งศรีกลับ พิทักษ์เสริม ส่งความรักที่ตั้งไว้แต่เดิมให้พูนเพิ่มสำเร็จ ดั่งใจปอง(ถอดเพลงโดยผม)
*ย้อนดูภาพยนตร์ “พระเจ้าช้างเผือก” สงคราม สันติภาพ และชาตินิยม (ตอนที่ 1)
แนวคิดทางการวิจัยเรื่องชาตินิยมในสื่อภาพยนตร์”ผลงานชุมชนในจินตนาการ” ของ “เบเนดิก แอนเดอร์สัน” สามารถนำมาวิเคราะห์ภาพยนตร์เกี่ยวกับชาตินิยม [1] โดยการสร้างชุมชนในจินตนาการผ่านประวัติศาสตร์ กฎหมาย ความเชื่อ แผนที่ประเทศ หรือสื่อ มีอิทธิพลต่อวงการศึกษาภาพยนตร์ [2] ฯลฯ เป็นต้น
https://prachatai.com/journal/2007/12/15265
เราเหมือนดูภาพยนตร์คู่รักอกหัก:พันธมิตรฯแตกหักรัฐกระทบเพื่อนบ้านกลายเป็นคู่รบ
https://prachatai.com/journal/2011/02/33206
วันภาษาไทยแห่งชาติ ,จินดามณี และพระโหราธิบดี

ผมยังไม่มีไอเดียใหม่จากหนังพระเจ้าช้างเผือก(ยุคสร้างหนังไม่มีช้างเผือก) โดยเปรียบกับหนัง Arrival เพราะคนละประเด็น(ตัวละครที่1 นางเอก Louise Banks (Amy Adams) คือ Linguist-เปรียบเสมือน ผู้ชมที่พยายามจะทำความเข้าใจ โดยมีความสามารถในการเข้าใจภาษาต่างๆได้สูง สามารถตีโจทย์ข้อความที่ผู้สร้างหนังจะส่งให้เราได้ เชี่ยวชาญในการดูหนังแบบนี้-ตัวละครที่เป็นมนุษย์อื่นๆเปรียบเสมือน ผู้ชมที่พยายามทำความเข้าใจในสิ่งที่หนังจะสื่อ แต่ก็ยังตีโจทย์ไม่แตก ยังไม่เข้าใจสิ่งที่หนังเรื่องนี้ต้องการจะสื่อ)

ผมไม่มีไอเดียใหม่จากวันนี้ในอดีตวันสันติภาพไทย แนะนำหนังสือขบวนการแรงงานไทยฯ(นี่ก็คนละประเด็น)
พระเจ้าช้างเผือก [บรรยายไทย] 7-11

(ภาพประกอบตามเน็ตจากยูทูป)
16.2
การสะสมความทรงจำ สร้างนิยาย
วันที่ฝนตกเยอะในเชียงใหม่ ดูพยากรณ์อากาศเห็นฝนจะตกอีกต่อเนื่อง มีบางเรื่องที่คิดเขียนถึงบางคนบอกชีวิตนักเขียนลำบากไม่มั่นคง แต่พนักงานคนหนึ่งสบายกว่าชีวิตพนักงานในโรงงาน หรือบางคนบอกนักเขียนสบายกว่าพนักงานออฟฟิตฯลฯ ในเรื่องถกให้ตลกได้ก็มีอยู่แต่จะยาวไป จากแรงงานในระบบถึงนอกระบบ เพราะผมกำลังสร้างความทรงจำ เก็บไว้ เป็นการสะสมความทรงจำ สร้างนิยาย(*)อย่างที่กล่าวมาบ้างแล้ว กลั่นประสบการณ์จากหลายแวดวงเอ็นจีโอ ผู้กำกับหนัง นักเขียนที่เคยเจอมาสร้างนิยายบ้าง นี่ยังไม่รวมแวดวงธุรกิจอย่างที่อบรมความคิดสร้างสรรค์ที่ผ่านมามีแจกประกาศนียบัตร ดันลืมไปรับวันก่อน เพราะช่วงนี้กำลังยุ่งกลับมาติดต่อเรื่องสารคดีกับมูลนิธิหนังไทย หลังจากเว้นว่างไม่ได้ส่งปีนี้กลับมาส่งทั้งหนังสั้น สารคดีอย่างที่เล่าไปช่วงก่อน ก็ลองดูเค้าให้ส่งลิ๊งค์ไปอีก แน่ละชีวิตประจำวันหลายเรื่องอื่นๆ ชีวิตเป็นเช่นนั้นเอง
เมื่อนักเขียน บางคนเสียชีวิตตายก่อนวัย/วันอันควร หรือเอ็นจีโอ บางคน ตายก่อนโดยตรรกะเหตุผลสุขภาพ ในแต่ละอาชีพ มีการวิเคราะห์สถิติสุขภาพและความปลอดภัย โดยผมฟังแง่มุมมีคนตายในประเทศไทย ทุก15 นาทีจากอุบัติเหตุการทำงานในไทย ถ้ารวมยอดสถิติจากการทำงานไม่ใช่แค่ก่อสร้าง ในระบบทุนนิยม รุ่นน้องผมที่ชอบอ่านเรื่องไม่ดีแฉเอ็นจีโอบอกอาชีพเอ็นจีโอ ก็เครียด ถ้าดูอาชีพเอ็นจีโอ เครียดสะสมเป็นมะเร็งฯลฯ ใครว่าเอ็นจีโอ สบายตื่นเช้ามาจิบกาแฟ อ่านนสพ.ฯลฯ(ต้องดื่มเหล้าเคล้ากัญชา) ก็นั่นแหละ ใครว่าอาชีพนักเขียนสบาย นอนเล่นคิดหาเรื่องเขียนก็เครียดได้ บางคนกล่าวไว้ ไม่ใช่นั่งมองสายฝน สายน้ำไหล ลมพัดผ่านอย่างโรแมนติค กลิ่นหญ้าเขียวขจี มีแต่กลิ่นตด!
ดังนั้น ผมพยายามกลับมาโฟกัสเฉพาะเรื่องนักเขียน ผมไม่ใช่เฮสเส ไม่ใช่คาฟคานักเขียนยิ่งใหญ่(**) โดยผมอาจมีโอกาสจะไปกัมพูชาอีกรอบหาแรงบันดาลใจเพิ่มฉากในนิยายโครงร่างที่เขียนค้างไว้ เกี่ยวกับแม่น้ำโขงจะโยงไปข้ามภพข้ามชาติไปปราสาทตาพรหมในกัมพูชา แต่ก็นั่นแหละผมเป็นนักเขียนเคยรวมกลุ่ม และ คนทำงานศิลปะเล็กน้อย(***)ไม่ได้ทฤษฎีศิลปะmetaphorical(****)มากไม่อยากคิดมาก คิดสั้น(*****) แค่การสะสมความทรงจำความรู้ที่บางที(ลืม)รู้ ใน
วันที่16 สิงหา นึกถึงมีภาพป้ายถนน และภาพจากท้องฟ้ามุมมองกว้างๆ ว่างๆค่อยเขียนนิยายอย่าไปเสียสุขภาพคร่ำเคร่งเครียด ด้วย
*การสะสมความทรงจำสร้างนิยาย

**การสะสมความทรงจำ วันสำคัญ

ความน่าสนใจในศาสตร์การตีความ-เมตามอร์โฟซิส (การแปลงร่าง)ในงานเขียนของคาฟคา ทั้งตีความแนววิทยาศาสตร์แฟนตาซีฯลฯ

Walter Benjamin เขียนเรื่องว่าด้วยบางภาพสะท้อนของคาฟคา มีในหนังสือIlluminations ส่วนผลงาน
The Work of Art in the Age of Mechanical Reproduction
https://www.marxists.org/reference/subject/philosophy/works/ge/benjamin.htm
ดูฉบับภาษาไทยเพิ่มเติม ในกลิ่นไอ การเมือง และภาพยนตร์ อ่าน “งานศิลปะในยุคของการผลิตซ้ำแบบจักรกล” ของวอลเตอร์ เบนยามิน
http://www.kledthai.com/9786167801070.html
***นิตยสารแมดเมนฯ

ภาพถ่าย+งานเขียนเรื่องสั้นกับงานศิลปะAbstarct-Expressionist-conceptual
****Theodor adorno,Benjamin ‘s friend and colleague.(อดอร์โนเป็นเพื่อนของเบนจามินและเพื่อนร่วมงาน)Correctly criticized him for resorting on occasions to too simple a model of this relationship- for seeking out analogies or resemblances between isolated economic facts and isolated literary facts,in a way which makes the relationship between base and superstructure essentially metaphorical.-Marxist literary criticism.(ผมเคยเล่าแล้วเรื่องเบนจามิน ฆ่าตัวตาย)
*****การเดินทางสร้างจินตนาการ เป็นหนัง?

(คนทำหนังคิดสั้นจะฆ่าตัวตายข่าวตอนนั้น และคิดถึงนักเขียนที่คิดฆ่าตัวตาย ฯลฯ)
-ภาพ ป้ายถนน16สิงหา และภาพจากมุมท้องฟ้า
19 สิงหา
การสะสมความทรงจำ วันสำคัญ
เมื่อวันเวลาผ่านไปจากวันที่17 สิงหาคม อินโดนีเซีย – วันประกาศเอกราช และวันที่19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) – เป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยมีการให้ประชาชนร่วมลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับปีพุทธศักราช 2550(*) และ19 สิงหาคม เป็นวันมนุษยธรรมโลก (World Humanitarian Day) องค์การสหประชาชาติประกาศ“วิกฤติมนุษยธรรมในแอฟริกายังคงเลวร้ายขึ้นเรื่อยๆ ในปีค.ศ.2017 นี้
โดยกรณีคำนิยามความหมายของมนุษยธรรมอย่างกว้างอ้างถึงปี2554 ที่มีแง่มุมเศรษฐกิจ สังคม ในมนุษยธรรมยามวิกฤติมหาอุทกภัย แรงงานต่างด้าวเข้าไม่ถึงความช่วยเหลือ (**) หากมนุษย์คิดแปลความมนุษยธรรมเข้าใจได้ เปรียบเทียบแล้วเรื่องมนุษยธรรมในประเทศไทยอย่างแฟรงค์ๆ ดูข่าวได้หลายประเด็น ยกตัวอย่างใกล้ตัวเพื่อนทางเฟซฯผมโดนคดีจากงานไทยศึกษาที่ผ่านมาด้วย ซึ่งผมแสดงออกห่วงใยทางมนุษยธรรมไว้ ในประเทศไทย มีป่าไม้ มีไผ่ ฯลฯ ตามหลักแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ แต่ไทยเราไม่ได้คนจะเข้าถึงทรัพยากร ที่ดินหลายเรื่องอย่างง่ายดาย
จึงมีการจัด ความเหลื่อมล้ำของประเทศไทยอยู่ที่อันดับ 3 ของโลก รองจากรัสเซีย และอินเดีย โดยเปรียบเทียบไทยกับอินเดีย ที่มีปัญหาคอรัปชั่นและการคอรัปชั่นเชิงนโยบาย(***)ด้วย
เมื่อยกตัวอย่างข้อมูลความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2559 ใน 5 ปีที่ผ่านมา คน 1% เป็นเจ้าของความมั่งคั่งมากกว่าคนไทยทั้งประเทศรวมกัน มหาเศรษฐีระดับพันล้านในประเทศไทยเพิ่มขึ้นจาก 5 คนในปี 2551 เป็น 28 คนในปี 2558 แต่คนไทย 10% หรือประมาณ 7 ล้านคนยังมีชีวิตอยู่ใต้เส้นความยากจน คนไทยมากกว่า 3 ใน 4 ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินใดๆ เลย โฉนดที่ดิน 61% ของประเทศไทยอยู่ในมือประชากร 10% ในชั่วโมงทำงานที่เท่ากัน โดยเฉลี่ยผู้ชายจะได้ค่าตอบแทน 100 บาท ผู้หญิงได้ค่าตอบแทน 87 บาท โอกาสของลูกคนที่มีรายได้น้อยจะได้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยต่างจากคนอื่น 19 เท่า(****)ในภาพรวมมนุษยธรรม
อย่างไรก็ดี ประเด็นKeyword คือ การสะสมความทรงจำวันสำคัญของมนุษยธรรม ซึ่งไม่ลืมหรือจำผิดๆ ยกตัวอย่างไม่สิ้นหวังง่ายสุดเรายังไม่แย่เท่ารัสเซีย อินเดีย แต่นี่เป็นปัจจุบัน สถิติในอนาคตติดตามต่อไป
*ผมเคยเขียนบทความเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ 2550ไว้ดูได้ในปัญหารัฐธรรมนูญ 2550: นิยายและความจริง ในภาพสะท้อนเราใกล้ชิดเส้นชัย
https://prachatai.com/journal/2010/12/32184
**มนุษยธรรมยามวิกฤติมหาอุทกภัย แรงงานต่างด้าวเข้าไม่ถึงความช่วยเหลือ

*** วัฒนธรรมการเมือง และคอรัปชั่นเชิงนโยบายแห่งชาติ ต่อความปลอดภัยแรงงาน

ทุจริตเชิงนโยบาย ??พลวัต 2016
อ่านเรื่องนี้ต่อที่: https://www.kaohoon.com/content/101421
****ความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2559
http://themomentum.co/successful-datalab-thailand-inequality-2016-by-oxfam
(ภาพประกอบท้องฟ้า)
23.2
การสะสมความทรงจำ วันสำคัญ
เมื่อวันเวลาผ่านไป ในความทรงจำของผู้คน วันสำคัญ ที่สะสมความทรงจำ ในวันนี้ คือ วันสากลเพื่อการระลึกถึงการค้าและการเลิกทาส(จะกล่าวถึงจักรวรรดิสเปน ที่มีบทบาทก่อนการค้าและการเลิกทาสที่เฮติ) และวันถึงแก่กรรมของขงเบ้ง หรือจูกัดเหลียง (เกิด 19 สิงหาคม พ.ศ. 724ถึงแก่กรรม 23 สิงหาคม พ.ศ. 777 ที่มีเรื่องแต่งสามก๊ก) และวันที่ 23 สิงหา โรมันคาทอลิก – วันฉลองนักบุญโรซาแห่งลิมา คือ องค์อุปถัมภ์ในละตินอเมริกา,ประเทศฟิลิปปินส์ฯลฯ(เกิด20 เมษายน ค.ศ. 1586 เสียชีวิต24 สิงหาคม ค.ศ. 1617 (31 ปี)) เป็นนักบุญสเปนในลิมา(เปรู อดีตอาณานิคมสเปน) เกิดมีชีวิตคาบเกี่ยวกับช่วงยุคสมัยพระเจ้าเฟลีเปที่ 2 แห่งสเปน(ชื่อที่มาของประเทศฟิลิปปินส์)จักรวรรดิสเปนในรัชสมัยของพระองค์(ผู้เคยมีสงครามกับอลิซาเบธที่1 ของอังกฤษยุคGold,God,Glory*) มีอาณาเขตกว้างใหญ่อันประกอบไปด้วยดินแดนหลายส่วนในโลกทั้งใน ยุโรป อเมริกา แอฟริกา และเอเชีย(หรือAsian แปลว่าเอเชีย ) เช่น ฟิลิปปินส์อยู่ใต้การปกครองของสเปนในฐานะอาณานิคมของสเปนใหม่ (New Spain) นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1565 ถึงปี ค.ศ. 1821)
โดยวันที่22,23,24 สิงหา ความเกี่ยวพันพระเจ้าเฟลีเปที่2(เกิด21 May 1527-13 September 1598 ดูประวัติเพิ่มเติมโยงอังกฤษและไอร์แลนด์ฯลฯ) ที่มีอัครมเหสี เช่น เอลิซาเบธแห่งฝรั่งเศส (1559-1568) ในยุคสมัยสงครามศาสนาของฝรั่งเศส โดยฝูงชนชาวฝรั่งเศส ผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกไล่สังหารชาวฝรั่งเศสที่เรียกตัวเองว่าอูเกอโนท์ (Huguenots) หรือผู้ที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์ (โปรเตสแตนต์คาลวินิสต์) ที่ฝรั่งเศสจากวันที่ 22-23 สิงหาถึงวันที่ 24สิงหา คือ การเริ่มต้นลอบสังหารนายพลกัสปาร์ เดอ กอลีญี นายทหารของอูเกอโนท์ไม่ประสบความสำเร็จ ต่อมาการสังหารหมู่วันเซนต์บาโทโลมิวในวันที่24 สิงหา (ค้นหาได้ในวิกิพีเดียภาษาไทยและภาษาอังกฤษ The St. Bartholomew’s Day massacre หรือภาษาฝรั่งเศส: Massacre de la Saint-Barthélemy) ซึ่งแง่มุมของพระเจ้าเฟลีเปที่2หรือPhilip II นี้ด้วย
เมื่อประเด็นการสะสมความทรงจำเชื่อมโยงของกำเนิดชาติ คือ ชุมชนจินตกรรมทางการเมือง สะท้อนบอกว่าคนฝรั่งเศสต้องลืมวันการสังหารหมู่ดังกล่าว (**) นี่แหละตัวอย่างความทรงจำและหลงลืม
กระนั้น ผมเขียนย่อๆ เล่าการเขียนมุมมองทางประวัติศาสตร์ช่วงยาว วาดภาพความทรงจำ เกี่ยวกับยุคสมัยของพระเจ้าฟิลิปที่2 ของสเปน(ดูเพิ่มเติมวิกิพีเดียง่ายๆประวัติได้) แต่แง่มุมหลังยุคนั้น ต่อมาการเดินเรือสินค้าขายทางไกลจากสเปนมาฟิลิปปินส์ มีเส้นทางการค้าบทสนทนาการเรียกพ่อค้า หรือเซ็งลี้มาจากภาษาจีนแบบฮกเกี้ยน ต่อมาการทำสำมะโนประชากรของคนจีน การจัดอนุกรม(***)ก็ไม่ได้เน้นความหลากหลายของภาษาท้องถิ่นและชาติพันธุ์คนจีน ที่มีเรียกว่าชาวจีน ก็มีความซ้ำๆ เหมือนๆ กันไม่ได้แตกต่างทางชาติพันธุ์ด้วย
อย่างไรก็ดี การมองภาพกว้างของโลกและประวัติศาสตร์ช่วงยาว ผ่านประวัติศาสตร์อย่างเชื่อมโยงและเปรียบเทียบสเปนกับฟิลิปปินส์นานกว่าเฮติ(แล้วฟิลิปปินส์ก็บทบาทโดยอเมริกา เป็นอดีตอาณานิคมสเปน เช่นเดียวกับ เปรูในลิมา มีกบฏคนพื้นเมืองทูปัก อามารู 1740-1781) โดยยกตัวอย่างเฮติ ซึ่งสเปนเคยมีบทบาท(1492–1625) ในเฮติ(****) ต่อมาฝรั่งเศส เข้ามาครองเฮติ(หลังจากนั้นเกิดปฏิวัติอเมริกา 1776) จนกระทั่งFrench Revolution (1789–1799), slaves and free people of colour revolted in the Haitian Revolution (1791–1804) คือ 22-23 สิงหาคม ค.ศ. 1791 บนเกาะเซนต์โดมีนิก (ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อเฮติ) ได้เกิดการลุกฮือของทาส หรือวันที่23 สิงหา วันสากลเพื่อการระลึกถึงการค้าและการเลิกทาส(23 August: International Day for the Remembrance of the Slave Trade and its Abolition.ที่เฮติ)
โดยผมคิดวิเคราะห์ต่อยอดใหม่ ในกรณีปริศนาเหลืองแดง (*****)ของอ.เบน ที่มีแนวคิดจากเชอร์ล็อคโฮมส์(ตัวละครนิยายของอังกฤษ)หาสิ่งที่หายไปมาเล่าเรื่องแท็กซี่ บอกการเมืองไทยเหมือนสามก๊ก(ตัวละคร เช่น ขงเบ้ง) ซึ่งต่อมาการอธิบายเจ๊ก และลูกจีน ย้อนกลับไปในอดีตประวัติศาสตร์การอพยพของคนจีน ที่เชื่อมโยงกับชุมชนจินตกรรมฯ ที่ผมยกตัวอย่างสเปนเป็นเจ้าอาณานิคมในฟิลิปปินส์ จากเรียกเซ็งลี้เป็นชาวจีน เปรียบเทียบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลำดับเวลามาถึงอย่างสยามเปิดการค้ากับเซอร์จอห์น เบาว์ริง ที่มีสโลแกน ‘Free trade is Jesus Christ, and Jesus Christ is free trade’.จนถึงยุคทักษิณ เป็นต้น แต่ผมสังเกตสัดส่วนให้ความสำคัญในผู้นำ โดยเชื่อมกับชาติ
ดังนั้น วันแต่ละวันผ่านไปจากรัฐธรรมนูญ2550ในการสะสมความทรงจำ(******) ซึ่งผมได้เขียนแง่มุมผู้นำ และหลากหลายประเด็นโดยเปรียบเทียบย้อนดูประวัติศาสตร์ช่วงยาวจากอดีต เปรียบเทียบความขัดแย้ง การต่อสู้ เป็นบทเรียน หรืออนาคตใกล้ๆ ระยะสั้นวิเคราะห์การเมืองสั้นๆง่ายๆ จากเหตุผลดังกล่าวไม่เขียนยาว คือ ยิ่งลักษณ์ไม่ติดคุก วันที่ 25 สิงหา (คนวิเคราะห์ แล้วดูคลิปทางอินเตอร์เน็ต25 สิงหาคม ! “ยิ่งลักษณ์” ไม่ติดคุกแน่นอน ทั้งการยื่นอุทธรณ์ต่อศาลฯลฯ) แน่ละส่วนเรื่องให้กำลังใจเห็นด้วยเป็นกระแสชุมนุมที่รัฐหวั่น เพียงเหตุผลของผมง่ายๆ สั้นๆ ดูผู้นำ(*******)ดูทักษิณ(เชื้อจีนแคะ ที่มีชื่อเสียง เช่น ดร.ซุนยัตเซ็น, เหมาเจ๋อตุง, เติ้งเสี่ยวผิง, ลีกวนยู และทักษิณ ฉายาแม้วมาจากม้ง) นิ่งสงบไม่มีการเคลื่อนไหวใด(ทักษิณมีแวดวงทั้งเครือข่ายพวกแนวกฏหมาย การเมืองฯลฯ) ถ้าออกแนวน้องติดคุกทักษิณ ต้องส่งสัญญะอะไรบ้าง แต่แน่เราสองมือกดคีย์บอร์ดในสื่อดิจิตอล(********) ร่วมเปลี่ยนโลก
*ผมเคยเขียนถึงเรื่องเดวิด ฮาร์วีย์ กล่าวถึงยุคนี้ไว้ ในการสะสมทุน ความรู้ ความทรงจำ ในโลกาภิวัตน์ (อุปมาปลา)
http://akkaphon.blogspot.com/2017/03/blog-post_19.html
(มีอ้างถึงไทยติดอันดับ 3 ช่องว่างคนรวย-จนมากสุดในโลก ประยุทธ์ ชี้แก้ยากเพราะยังระแวงรัฐ หรือไทยติดอันดับ 3 เหลื่อมล้ำสูงสุด จากรายงานประจำปี 2559 ธ.เครดิตสวิส)
**ผมคิดเขียนเรียบเรียงย่อมาจากงานเขียนของอ.เบน ในชุมชนจินตกรรมฯ ใน ความทรงจำกับหลงลืม ซึ่งงานเขียนของRenan ผู้สร้างความทรงจำผ่านบทความชาติ คือ อะไร? ได้สันนิษฐานว่าบรรดาผู้อ่านของเขาจะได้ว่าลืมวันดังกล่าวไปแล้ว(Ernest Renan เป็นผู้ที่เคยถูก Nietzsche วิจารณ์ Theology, or the corruption of reason by the “original sin” ดูผลงานเขียนของนิทเช่ ในTwilight of the Idols, or, How to Philosophize with a Hammer (ไอดอลเยอะมาก เช่น รุสโซ,Michelet) และเขาเขียนThe Antichrist ต่อต้านงานเขียนRenan’s 1873 คือ L’antéchrist ซึ่งนิทเช่ ผู้ให้อิทธิพลไฮเดกเกอร์ ฟูโกต์ ฯลฯ) ส่วนกรณีสังหารหมู่วันเซนต์บาโทโลมิว ที่ Fernand Braudel ไม่ได้เขียนไว้ในงานเขียน The Mediterranean ซึ่ง Braudel เขียนงานยกตัวอย่างเพิ่ม คือ The Mediterranean and the Mediterranean World in the Age of Philip II, Volume IและOn Historyโดย Fernand Braudel(ดูประวัติเขาเพิ่มเติมวิกิพีเดียภาษาไทยได้)
https://books.google.co.th/books?id=Aus0BEQZFXIC&printsec=frontcover&hl=th#v=onepage&q&f=false
***การเชื่อมโยงเป็นเส้นด้ายอุปมาของอ.เบน ต่อคำว่าอนุกรม ซึ่งผมไม่ค่อยเข้าใจเรื่องอนุกรมไม่ได้ลึกซึ้ง หรือถนัดทางคณิตศาสตร์ ยกตัวอย่างแนวข้อสอบก.พ.หรือข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไปรายวิชาตรรกะ ความมีเหตุผล และแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์. 1. จงหาค่าของเลขอนุกรม ต่อไปนี้ 7 9 11 13 15 หรือข้อสอบ อนุกรม คือ การหาความสัมพันธ์ของตัวเลขที่ให้มา และต้องมีความสัมพันธ์ในลักษณะไปในทิศทางเดียวกันและคำตอบของอนุกรมคือตัวถัดไปหรือตัวสุดท้าย ซึ่งวิธีในการหาอนุกรมจะไม่ตายตัวขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของกลุ่มตัวเลขนั้นๆ
(ดูเพิ่มเติม ชุมชนจินตกรรมฯ สำมะโนประชากร แผนที่ พิพิธภัณฑ์)
****คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสเป็นนักทำแผนที่ นักสำรวจ นักเดินเรือ และพ่อค้า เชื่อกันว่าน่าจะเป็นชาวสาธารณรัฐเจนัวภายใต้การสนับสนุนของราชสำนักสเปน เขาได้เดินเรือข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกและทำให้ชาวยุโรปรู้จักทวีปอเมริกาในซีกโลกตะวันตกเป็นผลสำเร็จ รวมทั้ง เฮติ (ที่ว่ามีการค้นพบzombieหรือซอมบีในลัทธิวูดู) ซึ่งการปฏิวัติของเฮติ ผู้นำอย่าง Toussaint L’Ouverture (ลองค้นดูประวัติภาษาไทย) แตกต่างจากฟิลิปปินส์ ที่มีผู้นำอย่างริซัล(ลูกครึ่งจีน สเปน ญี่ปุ่น ตากาล็อก) เป็นนักเขียน โดยอ่านฟรีในประวัติย่อและนิยายของเขาได้ตามลิ๊งค์ คือ “อันล่วงละเมิดมิได้” (Touch Me Not) นวนิยายอมตะเพื่อชาติ เอกราช และราษฎรฟิลิปปินส์ โดย โฮเซ ริซัล (Jose Rizal : June 19, 1861 – December 30, 1896)
http://www.openbase.in.th/tbpj167
(รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐKatagalugan 1902ของMakrio Sakayเป็นจิตวิญญาณของลัทธิชาตินิยม…Around 1902 Sakay established the Tagalog Republic somewhere in the mountains of Rizal.)
*****ผมเคยเขียนมาแล้วกรณีตัวอย่างเรื่องคนขับแท็กซี่คุยเรื่องสามก๊กอ.เบน เลยเปรียบกับคนจีนในไทยเคยฟังที่เชียงใหม่
http://akkaphon.blogspot.com/2017/03/blog-post_20.html
(ดูลิ๊งค์ซ้ำทบทวนกันอีกครั้ง)
RIDDLES OF YELLOW AND RED
https://newleftreview.org/II/97/benedict-anderson-riddles-of-yellow-and-red
(จริงๆแล้วผมคิดว่าบทความนี้น่าจะซ่อนความหมายระหว่างบรรทัด และการอ้างอิงเช่น Murderฯ ผมได้วิเคราะห์มาบ้างแล้ว ส่วนอ้างอิงRADICALISM AFTER COMMUNISM IN THAILANDฯหรืออื่นๆ ถ้ามีสมองมีเวลาอาจจะมาเขียนต่อไป)
******การสะสมความทรงจำ วันสำคัญ

การสะสมความทรงจำ สร้างนิยาย

การสะสมความทรงจำ วันสำคัญ

*******ผมกำลังสนใจหนังสือ The Leaderless Revolution: How Ordinary People Will Take Power and Change Politics in the 21st Century
(ผมโฟกัสที่ผู้นำด้วยดูเพิ่มเติมตามลิ๊งค์)
การสะสมความทรงจำ ผู้นำ อำนาจสตรีสากล และการสะสมยุทธศาสตร์
http://akkaphon.blogspot.com/2017/08/blog-post.html
การสะสมความทรงจำ อำนาจ ผู้นำ ทำหนังสั้น ทำเกม ใน Late of capitalism(แผนที่ ล็อตตารี่ ฯลฯ)
http://akkaphon.blogspot.com/2017/08/
********สื่อดิจิตอล สื่อออนไลน์ เฟซบุ๊ค และเพจเฟซบุ๊ค(หรือSocial Media)

(ภาพประกอบมองเห็นทิวทัศน์ในหมู่บ้านม้งหรือแม้ว บนดอยปุย ผมไม่มีภาพท้องฟ้าโพสต์หมดแล้วเลยวันในวันการบินสากล 6 สิงหาคมด้วย)
26.3
การสะสมความทรงจำ วันสำคัญ
วันนี้วันWomen’s Equality Day (United States) และวันนี้ในอดีต26สิงหาคม พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936) – เบเนดิกต์ แอนเดอร์สัน คือ วันเกิดอ.เบน(*) มีในวิกิพีเดียไทยและอังกฤษ ซึ่งผมอ้างหนังสือของอ.เบน มาใช้วิเคราะห์พยากรณ์ทำนายอนาคตการเมือง หลังจากพยากรณ์ในเรื่องยิ่งลักษณ์ไม่ติดคุกไปแล้ว(**) ในฐานะนักเขียนหยุดเขียนวิเคราะห์ไว้ก่อน มาขายหนังสือดีๆ ในฐานะเคยได้รางวัลยอดนักอ่าน คือ หนังสือชุมชนจินตกรรมฯ ก็มีขายด้วย
เมื่อการสนับสนุนชุมชนจินตกรรมฯ หนังสืออ.เบนได้เป็นพันธมิตรกับทุนนิยมดังที่กล่าวไว้ในหนังสือชุมชนจินตกรรมฯ(อาณานิคมสเปนกว้างขวางยึดเนเธอร์แลนด์ ก่อนที่เนเธอร์แลนด์จะมีบทบาทต่ออินโดนีเซีย โดยเนเธอร์แลนด์หรือฮอลันดา ในยุคมีภาพผลงานศิลปะปลาใหญ่กินปลาเล็ก)แต่ถ้าผมขายจะแพงมีลายเซ็นต์ราคาต้องมากกว่าราคาปกเป็นพิเศษไม่มีรูปไม่กะขายง่าย ซึ่งผมติดต่อได้ทางอีเมล์ เช่น akkkaphon@hotmail.com
เนื่องจากผมบอกขายหนังสือวันนี้จะขายราคาไม่แพงตามรูป คือ กับดัก ราคา 50บาท ปัวโรต์ 60 บาท คอรับชั่น 60บาท เพื่อนหนังสือ(พิงคกี้ดารายังเป็นเด็กอยู่หายาก) 60บาท ศิลปวัฒนธรรม หน้าปกเจ้าพระยาฯ 80 บาท แนวคิดและฮีตคองฯ ราคา 150บาท(มีลายเซ็นต์คนเขียนคุณดวงเดือน เนื่องจากผมเคยเจอตัวจริง) VIETNAM’S EDUCATION ฯ ราคา 150บาท Vietnamese villagesฯ ราคา 150 บาท ถ้าซื้อสองเล่มควบลดเหลือ200 บาท(ตอนนั้นผมซื้อจากการเดินทางไปที่เวียดนาม ) พร้อมจัดส่งทางไปรษณีย์ สนใจติดต่อได้ ซื้อโอนเงินได้ ทางข้อความ (อาจจะตอบกลับช้า เพราะไม่ได้ใช้เฟซฯอีกหลายวัน) ส่วน Complete Guide to Indonesia หนาพันกว่าหน้า ราคา 60บาท
โดยก่อนหน้าผมขายหนังสือตามร้านหนังสือเก่า วางขายบ้าง แจกบ้าง ที่ยังมีหนังสืออยู่บางเล่มมีความหลัง ในความทรงจำยกตัวอย่างราคาปกเล่มละ300 บาท ลดราคาของอ.ประมวล มีลายเซ็นต์ เป็นหนังสือตัดใจขายให้เกิดความหมายจากสิบปีก่อน ผมเคยรายงานข่าว และสัมภาษณ์อ.ประมวล(***) วันเวลาผ่านไปแล้ว
ซึ่งวันที่25 สิงหา ถึงแก่กรรม สำหรับหนังสือNietzsche: Ein Lesebuch von Gilles Deleuze (Internationaler Merve Diskurs) Broschiert – 1979
ใครชอบสะสมหนังสือหายาก เล่มนี้อเมซอนให้ห้าดาวเลยผมขายแค่150บาท (****)
หนังสือภาษาเยอรมัน ชื่อหนังสือการอ่านหนังสือนิทเช่ โดยGilles Deleuze ผู้โด่งดังทางปรัชญาของฝรั่งเศส มีงานเขียนNietzsche and Philosophy (French: Nietzsche et la philosophie)Nietzsche (1965). เขายังเขียนงานProust and Signs,The Logic of Sense โดยGillesมีอิทธิพลต่อเนกรี่ ผู้เขียนหนังสือEmpireด้วย
อย่างไรก็ดี ใครสนใจซื้อสนใจดูลิ๊งค์หนังสือเก่าเล่มอื่น (*****) ได้ เล่าข้อมูลบางเล่มเล็กน้อย ในการสะสมความทรงจำของผมไว้ไม่ลืมพร้อมขายด้วย
* 26 สิงหาคมhttps://th.wikipedia.org/wiki/26_%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1
Women’s Equality Day (United States)
https://en.wikipedia.org/wiki/August_26
เบเนดิกต์ แอนเดอร์สัน
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%8C_%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99
https://en.wikipedia.org/wiki/Benedict_Anderson
(ข้อมูลวิกิพีเดียไทยผิด ต้อง 26 สิงหา เปรียบเทียบกับวิกิพีเดียภาษาอังกฤษแล้ว ผู้สนใจอยากเห็นปกหนังสือชุมชนจินตกรรมฯ ฉ.พิมพ์ครั้งที่ 2 ดูเว็บลิ๊งค์ได้ มีการร่วมกับหนังสือชุด “สมุดเพื่อนบ้านอาเซียนของเรา”)
http://www.textbooksfoundation.com/single-post/2015/03/04/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7-%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%94-%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B2
**การสะสมความทรงจำ วันสำคัญ

***เสวนาหนังสือ(สารคดี) “เดิน…สู่อิสรภาพ” ของ “ประมวล เพ็งจันทร์”(จบป.ตรีป.เอกจากอินเดีย ในป.เอกUniversity of Mysore)
สัมภาษณ์ ‘ประมวล เพ็งจันทร์’ อันเนื่องมาแต่ ‘ความรัก’ และ ‘วันมาฆบูชา’
https://prachatai.com/journal/2007/03/12091
https://prachatai.com/journal/2010/02/27874
****https://www.amazon.de/Nietzsche-Lesebuch-Deleuze-Internationaler-Diskurs/dp/3883960039
*****https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1810220585673828&id=100000577118415
30.3
การสะสมความทรงจำ วันสำคัญ
วันนี้ในอดีตวันสำคัญ1896 – Philippine Revolution(*) พ่ายแพ้แต่ยังมีมรดกอยู่กระทั่งประกาศเอกราช ต่อมาพ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) – ชาวติมอร์ตะวันออก ลงประชามติแยกตัวเป็นอิสระจากอินโดนีเซีย หลายปีต่อมาเกิดระบอบทักษิณ โดยการสร้างวาทกรรมเป็นคำดังกล่าวของลูกศิษย์อ.เบน ที่เป็นหนึ่งในแง่การเปรียบเทียบเชื่อมโยงกับชุมชนจินตกรรมฯในแง่เทวดาแห่งประวัติศาสตร์(มรดกระบอบเก่า เช่น สำโนประชากรและแผนที่ตัดแบ่งอนุกรมชาวจีนแคะฯลฯ)ซ้อนใน Radicalismฯและปริศนาเหลืองแดง (**) แน่ละ นี่เป็นการจับประเด็นใหม่หลังกระแสการลี้ภัยหนีของยิ่งลักษณ์ โดยผมสะท้อนการเปรียบเทียบไทยกับอินโดนีเซีย เป็นเรื่องที่เขียนยาว และต้องกล่าวซ้ำเพื่อขยายความบางคนอาจจะลืมบางส่วนที่ผมเคยเขียนไปแล้วไม่มีเวลา เขียนประเด็นใหม่ เอาสั้นๆโดยนิยามว่าเป็นระบอบอาญาสิทธิทุนนิยมจากการเลือกตั้ง (elected capitalist absolutism)
ฉะนั้น ภาพของระบอบทักษิณแก่นใจความสำคัญ อยู่ที่การเลือกตั้งเป็นส่วนองค์ประกอบหนึ่ง และมรดกระบอบทักษิณ(ชาตินิยม)โดย ทักษิโณมิกส์ : Thaksinomicsเป็นคำเรียกนโยบายเศรษฐกิจในสมัยที่ทักษิณ เป็นนายกฯ โดยผู้ที่ใช้คำนี้ครั้งแรกคือนางกลอเรีย มาคาปากัล อาร์โรโย ประธานาธิบดีแห่งฟิลิปปินส์ ส่งต่อยังนโยบายรัฐ(2549-60) ถึงการลอกเลียนแบบดัดแปลงประชานิยมมาเป็นประชารัฐ (ตอนนี้มีข่าวถึงกับอึ้ง! จบป.โท-เอก ก็มาลงทะเบียนคนจน)
เมื่อเราเคย มีข้อถกเถียงว่าระบอบทักษิณไปแล้ว โดยโฟกัสมรดกทักษิณ และการพยายามล้มมรดกทักษิณอย่างสามสิบบาทรักษาทุกโรค แต่ผู้นำยังมีอยู่ด้วย และ”รัฐซ้อนรัฐ” ซึ่งผมย้ำซ้ำระบอบทหารจะมาทำให้ระบบยิ่งพัง ยังจะมีอยู่ โอกาสหน้ามีเวลาอาจจะเขียนยาวกว่านี้ ในวันนี้ 30 ส.ค. ดร.ทักษิณ ได้ทวีต…ว่า “มงแต็สกีเยอ เคยกล่าว “ไม่มีความเลวร้ายใด ที่จะยิ่งไปกว่าความเลวร้ายที่ได้กระทำโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายหรือในนามของกระบวนการยุติธรรม”(***)
เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศไทยไม่ดี ผมส่งเสริมขายหนังสือราคาถูกไม่แพง โดยเขียนเรื่องทุนนิยมการพิมพ์ พร้อมการขายหนังสือมาต่อเนื่อง เป็นเรื่องแก่นสาระ ที่จะเสนอขายต่อไป ยกตัวอย่างริซัล ที่อ.เบน อ้างในชุมชนจินตกรรมฯ ราคาจากปก 250 บ. เหลือ 180 บาท(ฟิลิปปินส์ ที่มีผู้นำอย่างริซัล(ลูกครึ่งจีน สเปน ญี่ปุ่น ตากาล็อก) เป็นนักเขียน โดย”อันล่วงละเมิดมิได้” หรือTouch Me Not นวนิยายอมตะเพื่อชาติ เอกราช และราษฎรฟิลิปปินส์ โดย โฮเซ ริซัล หรือJose Rizal : June 19, 1861 – December 30, 1896)
2.The Hound of the Baskervillesงานเขียนของเชอร์ล็อคโฮมส์ 90บ. 3.งานเขียนพเนจรของเฮสเส ราคา 60บ.(บทรำพึงที่บอกว่าต้นไม้เป็นครูของเฮสเสฯลฯ) 4.เทวาสายันต์ของนิทเช่ ภาคฉบับภ.ไทย ของ ราคา 100 บาท (ดูผลงานเขียนของนิทเช่ ในTwilight of the Idols, or, How to Philosophize with a Hammerโดยผมเน้น Ernest Renan เป็นผู้ที่เคยถูก Nietzsche วิจารณ์ Theology, or the corruption of reason by the “original sin” ซึ่งนิทเช่ ผู้ให้อิทธิพลไฮเดกเกอร์ ฟูโกต์ แดริดา นาซี Gilles Deleuze ฯลฯ) 5.แผนอำพราง ราคา 7oบ.
โดยวันนี้สำหรับผมก็สร้างวันสำคัญของตัวเองขึ้น ถึงมีเวลาน้อย ขายน้อย ก็พยายามขาย ดูเพิ่มเติมที่ประกาศขาย(****) ได้เผื่อสนใจซื้อกัน สำหรับผมการสะสมความทรงจำวันนี้เป็นวันสำคัญทบทวนหนังสือต่างๆ ยกตัวอย่างที่ขายอันที่6.SEAS Bulletin ราคา 40บ.(*****) ด้วย
*https://en.wikipedia.org/wiki/August_30
(การปฏิวัติ ที่เริ่มก่อนของซุนยัดเซ็น)
https://en.wikipedia.org/wiki/Philippine_Revolution
(ดูเพิ่มเติมวิกิพีเดียวันนี้ใน ภาษาไทย และวันนี้เป็นวันSaint Rose of Lima’s Day (Peru))
**ดูเพิ่มเติม,‘Radicalism after Communism in Thailand and Indonesia’และปริศนาเหลืองแดง หรือ RIDDLES OF YELLOW AND RED
RIDDLES OF YELLOW AND RED
https://newleftreview.org/II/97/benedict-anderson-riddles-of-yellow-and-red
( This lecture was delivered in March 2014 at the School of Public Policy and Management at Tsinghua University, Beijing, under the title ‘The Paradox of Overseas: The Strange Politics of Different Chinese Clan Groups in Thailand’.)
***“ไม่มีความเลวร้ายใด ……… ” ความเคลื่อนไหวแรก จาก “ทักษิณ” หลัง”ปู”บินออกนอกประเทศ
https://www.matichonweekly.com/hot-news/article_51381
(มงแต็สกีเยอ ถูกกล่าวไว้ในหนังสือชุมชนจินตกรรมฯ)
****การสะสมความทรงจำ วันสำคัญ



(ผมเคยเขียนเรื่องต่อเนื่องจากประเด็นThe Rise of the Octobrists: Power and Conflict among Former Left Wing Student Activists in Contemporary Thai Politics กรณีอ้างงานของอ.เบน และยกตัวอย่างปัจจุบันไทยแลนด์แต่ละคนอยู่กับความเป็นนักการเมืองเด่นๆ ที่ข้อมูลต่างจากพื้นที่กทม. ยกตัวตัวอย่างพลิกกลับกรณีสุเทพ)
***** Maria Serena I. Diokno serves as the editor.
http://www.seasrepfoundation.org/bullet.html
(The SEASREP Foundation เป็นแหล่งทุน ในฟิลิปปินส์ เมื่อก่อนเพื่อนผมได้ทุน)
ผมไปฟังMaria Serenaฯ ในงาน”ICAS”(1)

Maria Serenaฯเป็นบก.ร่วม ในหนังสือThe Mekong Arranged and Rearranged ที่อ.ไชยันต์ รัชชกูลร่วมเขียนด้วย
http://www.washington.edu/uwpress/search/books/DIOMEK.html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น