วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2560

การสะสมทุน ( Capital accumulation )

การสะสมทุน ( Capital accumulation )

2 กันยา
จัดหนังสือ การสะสมทุนความรู้ เหนื่อยเลย(*) ครับ
*หนังสือผมบางเล่มเจอฝน เปียกน้ำกับความชื้นตามภาพประกอบ ทำให้ผมคิดถึงเรื่องสำหรับผู้รักหนังสือ… มารู้จักช่างซ่อมหนังสือ ไทย – ญี่ปุ่น เปลี่ยนหนังสือเก่าให้กลายเป็นหนังสือใหม่ (ชมคลิป)
http://thaienews.blogspot.com/2016/08/blog-post_954.html
2.2 กันยา
หนังสือนิยายที่สะสมทุนวัฒนธรรม ที่มีประวัติศาสตร์เรื่องรหัสคดีเรื่องแรกของไทย โดยร.6 ประพันธ์อิทธิพลเชอร์ล็อคโฮมส์(*) และคดีฆาตกรรมถนน…และความสนใจส่วนตัวไม่มีหนังสือ โดยหนังสือที่คงไม่หาอ่านง่ายๆ นิยายสืบสวนหลังสมัยใหม่อย่างรูปประกอบหน้าปกหนังสืออีกแล้ว แต่ผมไม่มีเวลาท่าจะยากกับอภิปรัชญาของการสืบสวนในหนังสือดังกล่าว ดังนั้น การสะสมทุนวัฒนธรรม เป็นความรู้ให้คิดวิเคราะห์อย่างกระแสข่าวเรื่องสวดคืนเดียวเผา อดีตที่ดินผูกคอดับ! รองDSI ชี้แจงกรณีตับแตก-ฆ่าตัดตอน (ผูกคอโดยถุงเท้า?อ่านข่าวต่อได้ที่: http://www.thairath.co.th/content/708375 ครับ)
*ดูภาพประกอบหนังสือ และลิ๊งค์เรื่องของร.6
2.-3 กันยา
การเมืองของไทยอย่างที่ผ่านมากรณี อั้งยี่ ที่ผมเปรียบเทียบให้เห็นย้อนกลับไปสู่ยุค100ปีของหนังสือวิธีสืบสวนฯ ซึ่งผมโฟกัสสารบาญมาให้ดูแล้ว(*) โดยเนื้อหาเพิ่มเติมเรื่องอั้งยี่ สามารถดูเพิ่มเติมได้ ข้อสังเกตเปรียบเทียบกับบทความของอ.เบน(**) ที่ผมเคยกล่าวไว้ นี่แหละประเทศไทย กำลังย้อนหลังเมื่อร้อยปีก่อนทางการเมืองด้วย
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1387607214601836&id=100000577118415
หนังสือวิธีสืบสวนฯ เล่ม 2 มีสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามเขตรแดนระหว่างกรุงสยามกับกรุงอังกฤษ,ว่าด้วยระเบียบการปราบผู้ร้ายชายแดนระหว่างเขตรสยามกับเขตรพม่าของอังกฤษ
**[9] Ang yi: a dialect version of hong zi, these were named after the first—Hongwu—emperor of the Ming, and were formed by groups either fleeing or resisting the Manchu overthrow of the Ming and conquest of China in the 17th century.
https://newleftreview.org/II/97/benedict-anderson-riddles-of-yellow-and-red


7 กันยา
ผมถ่ายภาพคูเมือง ประกอบการรำลึกความทรงจำบางวันผมมี3 เรื่องซ้อนกัน ยกตัวอย่างที่1ในวันหนึ่งเครือข่ายงานของแม่ จะให้ไปกรุงเทพฯ ยกตัวอย่างที่2 นัดประชุมงานจ็อบ ยกตัวอย่างที่3นัดเจอกลุ่มพวกพ้อง ในหนึ่งวัน บางวันเจอเพื่อนวิจิตรศิลป์ไม่ได้เจอกันนาน โดยบังเอิญ แต่ผมนัดพบรุ่นพี่อีกคน ในเชียงใหม่ ลักษณะเฉกเช่นนี้ผมคงไม่ต้องประกาศสาธารณะรายงานตารางชีวิตประจำวัน แค่บันทึกไว้เป็นไดอารี่ ในการสะสมความทรงจำ(accumulation of memory*)
เมื่อผลของการบันทึกได้ทบทวนความทรงจำ กลับมาอ่านหนังสือที่สะสมไว้ คือ ไอเดียจากหนังสือชุมชนจินตนกรรมฯ เกี่ยวกับชาตินิยม ในบทที่11 ความทรงจำกับการลืม(Memory and Forgetting) ในหัวข้อพื้นที่เก่าและใหม่(Space New and Old) กล่าวถึงเชียงใหม่(นครใหม่) ฯลฯ แต่ในชื่อเหล่านี้ “ใหม่” มีความหมายไปในการเป็นทายาท หรือ ผู้สืบทอด ของสิ่งที่ได้สูญหายไป “ใหม่” และ “เก่า” จึงอยู่ในระนาบแนวดิ่งเดียวกันอย่างมีพัฒนาการและความต่อเนื่องในทางประวัติศาสตร์…พื้นที่ใหม่และเก่าเป็นสำนึกคู่ขนานหรือแบบเกิดขึ้นพร้อมๆกันนี้(parallelism or simultaneity) ในทางประวัติศาสตร์มีกลุ่มคนจำนวนใหญ่มากมายหลายกลุ่มอยู่ในฐานะที่คิดถึงการมีชีวิตของพวกเขา ว่ามีชีวิตที่ดำรงอยู่เคียงข้างไปกับการมีชีวิตของคนกลุ่มใหญ่อื่นๆ ในที่ต่างๆ
แม้จะไม่เคยพบกันเลย แต่กระนั้นก็ดำเนินไปตามครรลองของวิถีชีวิตที่เป็นแบบเดียวกัน ในระหว่างปีค.ศ.1500-1800 การสะสมของความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่จำนวนมากในสาขาของการต่อเรือ การเดินเรือ การทำนาฬิกา และการทำแผนที่ ซึ่งถูกนำเสนอผ่านทุนนิยมการพิมพ์ได้ช่วยทำให้การจินตนาการแบบนี้เป็นไปได้(**)
*การสะสมความทรงจำ เป็นไอเดียมาจากบทที่11ความทรงจำกับการลืม(Memory and Forgetting) ในหัวข้อชีวประวัติของชาติ เกี่ยวกับaccumulation of documentary evidence ในหนังสือชุมชนจินตกรรมฯ โดยอ.เบน (เน้นเรื่องระบบทุนและชาตินิยมฯลฯ)
** ผมเล่าย่อๆยกตัวอย่างการค้นหาสากลของเส้นรุ้งคือลองติจูด ซึ่งอ.เบน อ้างจากหนังสือRevolution in Time: Clocks and the Making of the Modern World
7.2
ความทรงจำของผม ในฐานะเขียนบทความเรื่องเพลงชาติไทย(*) เคยเล่าเรื่องประเทศไทยรวมเลือดเนื้อ “ชาติเชื้อไทย” … ไทยนี้รักสงบแต่ถึง “รบไม่ขลาด” …ในเพลงชาติ และหลวงสารานุประพันธ์ ผู้แต่งเนื้อร้องเพลงชาติเป็นผู้แปลหนังสือเชอร์ล็อคโฮมส์ นี่เป็นเรื่องน่าสังเกตของไทยเชิงจิตวิทยาของอารมณ์ความรู้สึกต่อเชื้อชาติ
โดยเชอร์ล็อก โฮล์มส์ ที่มีตอน ผจญมัจจุราช เป็นนวนิยายที่แต่งเลียนแบบวรรณกรรมเดิมเรื่องเชอร์ล็อก โฮล์มส์อีกเรื่องหนึ่ง แต่งขึ้นเมื่อปี ๑๙๗๔ เนื้อหาเป็นเรื่องที่นำเอานิสัยในการเสพติดโคเคนของโฮล์มส์มาขยายให้ลึกซึ้งมากขึ้น โดยให้หมอวัตสันกับไมครอฟต์ พี่ชายของโฮล์มส์ ทำอุบายพาโฮล์มส์ไปรับการบำบัดรักษาอาการเสพติดโคเคน โดยความช่วยเหลือของ ซิกมุนด์ ฟรอยด์ นายแพทย์ชาวออสเตรีย ผู้ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งจิดวิเคราะห์ นับเป็นความพยายามที่จะทำให้ตัวละครในนวนิยายเป็นเหมือนบุคคลที่มีชีวิตจริงโดยการนำตัวละครไปเกี่ยวโยงกับบุคคลที่มีตัวตนจริงและมีชีวิตร่วมสมัยกับโฮล์มส์
ซึ่งปัจจัยหนึ่งของการสอบสวนของคดีฆาตกรรมในนิยายมาจากแรงจูงใจฆาตกรรมที่ถูกอธิบายผ่านจิตวิทยา ในศต.ที่20 ฟรอยด์ มีผลกระทบมากต่อนิยายฆาตกรรม (ผมแปลย่อๆ จากความคิดเห็นของKern ผู้เขียน A Cultural History of Causalit: Science, Murder Novels, and Systems of Thought) “In the 20th century, Freud had more of an impact on the murder novel than any other intellectual,” Kern added.
“You have people who kill because of some Freudian-type sexual trauma. The most famous fictional serial killer is Hannibal Lecter.” (**) (หนังดังอย่างฮันนิบาล เล็กเตอร์ผู้กินเนื้อและสมองคน หนึ่งในซีรีย์หนังดังThe Silence of the Lambsด้วย)
เมื่อถ้าเปรียบเทียบเรื่องหลักของcausality ว่าด้วยสาเหตุของสิ่งต่างๆ สาเหตุหมายถึงประสบการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว จากที่เราเรียนรู้มาจากยุคดึกดำบรรพ์จะถูกถ่ายทอดมาทางเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ และมีเหตุผลต่อพฤติกรรมในปัจจุบัน เช่นเดียวกับเป้าหมายและความปรารถนาอย่างแรงกล้า(***) ข้อสังเกตของผมจากการอ่านบางครั้งการถกเถียงของฆาตกรรมอย่างที่นิยาย ไปสู่ข้อถกเถียงจากจิตวิทยาถึงปรัชญา ด้วย
อย่างไรก็ตาม ข่าวดังอย่างโอบามา” ย้ำอเมริกาปักหลักในเอเชีย ควักเงินให้ลาวจัดการระเบิดซีไอเอ(****) โดยหลังยุคสงครามไทย เวียดนาม ลาว กัมพูชา(1979/2522 เขมรแดงต้องการให้กัมพูชาเป็นประเทศที่มีแต่คนเชื้อสายเดียว คือเชื้อสายกัมพูชา ชนกลุ่มน้อยอย่างชาวเวียดนาม และชาวจีน จึงถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ รวมถึงคนเขมรด้วยกันเอง) ทำให้ผมมาย้อนผลิตซ้ำขยายความนิดๆ ที่ผมเคยเขียนเปรียบเทียบไทยกับลาว ยุคสงครามดังกล่าวเกี่ยวกับฆาตกรรม ในเชิงอภิปรัชญาของอภิมหาเรื่องเล่า(Metanarrative) ในความจริงกับปัตตานี ที่มีพื้นที่ดินแดนการวางระเบิดฆาตกรรมของความเป็นชาติไทยในชุมชนจินตกรรม
http://akkaphon.blogspot.com/2012/05/24.html
**ผมเคยกล่าวถึงหนังสือเขาแล้วมีการอธิบายย่อหนังสือของเขาในแง่มุมนี้http://www.niu.edu/pubaffairs/RELEASES/2002/april/kern.shtml
กรณีที่ผมเขียนเปรียบเทียบในแง่วิธีการเปรียบเทียบของKern กับงานอ.เบน ในกรณีไทยมาอย่างต่อเนื่องด้วย ครับ

***ดูการอธิบายของนักจิตวิทยาอย่างจุง เป็นลูกศิษย์ของฟรอยด์เรื่องcauslityโดยผมเรียบเรียงจากอีบุ๊ค หรือดูเพิ่มเติมข้อมูลภาษาฝรั่ง
http://e-book.ram.edu/e-book/p/PC343/pc343-3.pdf
Philosophical Issues in the Psychology of C. G. Jung: Portraits, Policies …
https://books.google.co.th/books?id=EiLY82YAMvEC&pg=PA88&lpg=PA88&dq=jung%2Bcauslity&source=bl&ots=rhn0fnqUQq&sig=u0DEH0KMWeSZVaEPB92NZj9lqQI&hl=th&sa=X&ved=0ahUKEwjQrrWDrvfOAhXILY8KHdGzCngQ6AEIOzAE#v=onepage&q=jung%2Bcauslity&f=false
Philosophical assumptions in Freud, Jung and Bion: questions of causality.
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10697954
**** http://www.manager.co.th/around/ViewNews.aspx?NewsID=9590000089680
(ภาพประกอบหนังสือเชอร์ล็อคโฮมส์ ฉบับแปลโดยผู้ประพันธ์เนื้อร้องเพลงชาติ,ภาพหนังสือเกี่ยวกับฆาตกรรมในการปฏิวัติของกัมพูชาฯ และสมุดภาพไตรภูมิเป็นแผนที่โบราณเมืองภาคใต้ )
7.4
วางแผนชีวิต ในบางเดือนได้เจอพบปะสนทนารุ่นพี่ มิตรเพื่อนต่างๆ บ้าง โดยสัปดาห์นี้ผมมีนัดคุยงานอะไรต่างๆนานา บางจังหวะก็ชน บางวันก็กะทันหัน บางวันไม่พร้อม มีเจอบางคนในบทสนทนาเราคุยกันหลายเรื่องทั้งพิพิธภัณฑ์เอกชนกับกฎหมายเสียภาษีที่ดิน ขบวนการเคลื่อนไหว เศรษฐศาสตร์การเมืองของ“ทุน” โดยผมยกตัวอย่างเรื่องหนึ่งคุยเรื่องการสะสมทุน ( Capital accumulation ) และผมเล่าเรื่องงานเขียนเก่าของผม ที่มีการเขียนเรื่องการค้าทางเรือ การค้าทางคาราวานวัวต่างม้าต่าง การค้าหลังมีทางรถไฟ ทั้งการสะสมทุนการค้า สะสมทุนที่ดินของพ่อค้าคนจีนภาคเหนือ(*) ซึ่งผมมาเขียนใหม่เปรียบเทียบที่เติบโตขึ้นมาอย่างยุคทักษิณ น่าเปรียบเทียบกับภาคกลาง ที่ตอนนี้ข่าวสนธิ กำลังดัง ก็เป็นเรื่องของคนเชื้อจีนด้วย
*งานเขียน กรณีเชียงราย
http://akkaphon.blogspot.com/2013/08/blog-post_27.html
งานเขียนกรณีเชียงใหม่
http://akkaphon.blogspot.com/2015/01/blog-post_29.html
(ภาพประกอบThe Big fish eat little fish เป็นอุปมาถึงทุนนิยม(ฯลฯ)เปรียบเสมือนปลาใหญ่กินปลาเล็ก ต่อมาแผนที่โบราณ เชิงเปรียบเทียบกับภาพเรือคนจีน และภาพที่เหมือนกับหนังสือSIAM MAPPEDฯเมืองเชียงรายที่หายไปฯลฯแตกต่างกับสมุดภาพไตรภูมิฉบับกรุงธนบุรีกับกรุงศรีอยุธยาที่ไม่หายไป )
14.1
14 กันยายน พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) – เป็นวันแรกที่ทางราชการไทยกำหนดให้ยืนเคารพเพลงชาติในเวลา 8.00 น. และ 18.00 น.
ในสมัยจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม อันเป็นยุค “ปฏิวัติวัฒนธรรม” ของไทย รัฐบาลต้องการทำให้คนภาคต่างๆ รวมเป็น “ไทยเดียว” ภายใต้วัฒนธรรมเดียวกัน จึงออกข้อกำหนดต่างๆ มากมาย
1 ในนั้นคือ “พ.ร.บ.วัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2485” โดย มาตรา 6 ให้อำนาจรัฐสามารถออกกฎหมายลูกที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมออกมาใช้ได้ และใครไม่ปฏิบัติตามกฎหมายลูกที่ว่า มาตรา 15 ยังระบุโทษไว้ด้วย คือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 100 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ซึ่งหลังจากนั้นก็มีกฎหมายลูกออกตามมา คือ “พ.ร.ฎ.กำหนดวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485” โดย มาตรา 6 กำหนดให้ต้องเคารพธงชาติ-เพลงชาติ
แต่ ( ย้ำว่า “แต่” ) ความผิดที่ว่า..กลายเป็น “อดีต” ไปแล้ว!!!
ในปี 2553 รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ออก “พ.ร.บ.วัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2553” ซึ่ง มาตรา 3 ของ พ.ร.บ.ดังกล่าว ระบุว่า “ให้ยกเลิก พ.ร.บ.วัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2485” แล้วให้ใช้ พ.ร.บ. ใหม่นี้แทน
.ที่น่าสนใจคือ..พ.ร.บ.วัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2553 “ไม่กำหนดโทษ” สำหรับผู้ฝ่าฝืนการไม่ยืนตรงเคารพเพลงสำคัญ เช่น เพลงชาติ
ดังนั้นเมื่อกฎหมายแม่อย่าง พ.ร.บ.วัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2485 สิ้นสภาพ กฎหมายลูกอย่าง พ.ร.ฎ.กำหนดวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 ก็ต้องสิ้นสภาพไปด้วย(*)
อย่างไรก็ตาม ผมได้เขียนถึงเรื่องเพลงชาติไทย ในแง่วัฒนธรรม เชื้อชาติ เนื้อร้องต่างๆ มาแล้ว(**) ในแง่กฎหมาย และแง่มุมของข้อสังเกตเรื่องโรงเรียนในญี่ปุ่นก็ไม่มีนักเรียนเคารพธงชาติ ตอนเช้า ก็น่าสนใจจากได้เห็นข้อมูลคนอื่นเขียน แต่ยังไม่มีอะไร ที่ตรวจสอบข้อมูลโดยตรรกะเหตุผล ในข้อเท็จจริงนี้ได้เท่าเรื่องนี้ ครับ
*ผมเรียบเรียงจากเว็บอ้างข้อมูลพ.ร.บ.วัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2553
http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%C701/%C701-20-2553-a0001.pdf
http://pantip.com/topic/35123097
** https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1398066130222611&id=100000577118415
16
วันนี้ฟังปลา เอ่อ ประยุทธ์พูดวันศุกร์แล้ว นายกฯไทย จะไปอเมริกา งานสหประชาชาติ(ไงก็พึ่งพิงอเมริกา ฮร่า) ทำให้ผมนึกถึง3ปีก่อนผ่านไปที่ผมเคยเป็นคอลัมภ์นิสต์ นำวิทยานิพนธ์ตัวเองเผยแพร่ในแง่กลับไปทบทวน เพราะผมพบเจอผู้คนบทสนทนาว่าจีน จะมามีอิทธิพลกับไทยมากมาย ตามการวิเคราะห์ของสื่อบางสื่อ คิดว่าไม่น่าเป็นไปได้ อธิบายสั้นๆ โลกาภิวัตน์ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คือ โครงสร้างเศรษฐกิจไทยไม่ได้เปลี่ยนไปพึ่งพิงจีนมากมายนักในปัจจุบันเป็นกระแสอาเซียน+3 ด้วย

Ukin Montri ทุกๆประเทศมีอิทธิพลกับไทยหมดในหลายๆด้าน…..แต่ไทยไม่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่น….😭5555
Ukin Montri ผมเห็นด้วยไทยแลนด์ ต้องพึ่งพาอาศัยหรือพึ่งพิง(Dependecy)ทุกประเทศ มีอิทธิพลกับไทยหมด คิดแบบขำขำปนเศร้า ไทยไม่มีอิทธิพลอย่าหลงตัวเอง น่ะครับ555 เมื่อวานมีข่าวระเบิดที่อเมริกา นายกฯก็ยังไปด้วย
รายการคืนความสุขให้คนในชาติวันศุกร์ที่ 16 กันยายน 2559
http://thainews.prd.go.th/website_th/news/news_detail/TNPOL5909160010024
Jibjib Thitisat ผู้นํากับคนไทยกับความคิดเห็นที่แตกต่างมากจนเกินขีดจำกัดของเรา..มันทำให้เราเดินแบบไร้จุดหมาย อ่อนแรงและที่สำคัญเสียเวลา.
ผมเข้าใจ ทีนี้สมมติเราเป็นผู้นำต้องยอมรับความแตกต่างไม่ให้เสียเวลา และไม่เดินเหนื่อยไร้จุดหมาย สมมติเราเป็นผู้นำโปรดเลือกเราเป็นนายกฯ เราได้นายกฯมาจากเลือกตั้ง ไม่งั้นจะย้อนกลับไปเป็นแบบพม่าอย่างหนังเรื่องThe lady อยู่กับความแตกต่างหลากหลายไม่ได้ ครับ
Jibjib Thitisat 😄ขออนุญาตยกตัวอย่างความคิดสั้นๆนะคะเพื่อนในฐานะที่ได้มีโอกาสเข้ามาสัมผัสและใช้ชีวิตกว่า14ปีที่นี่ ว่าทําไมหนาเกาะเล็กๆแบบสิงคโปร์..ที่ไม่มีอะไรเลยเรียกง่ายๆว่าเป็นเกาะหัวโล้นที่ถูกทอดทิ้ง ทําไมถึงสามารถยืนหยัดต่อสู้มาได้ขนาดนี้..คนจีน,คนแขก,คนอิสลาม สามารถอยู่ร่วมใช้ชีวิต,ร่วมงาน,ร่วมมือกันในสังคมได้อย่างเข้าใจและกลมกลืน😄เราประทับใจตรงจุดนี้มากจริงๆนะ😍
ผมเห็นด้วยร่วมคุยกับJib และก็ผมเคยไปสิงค์โปร เมื่อสิบปีก่อนเสียดายไม่ได้เจอกัน ตอนนั้นผมได้มีโอกาส นำเสนอวิทยานิพนธ์เลยได้ทุนไปพบปะผู้คนประชาชน ที่นั่น แล้วรู้สึกว่าผู้คนในมหา’ลัยสิงคโปร์ก็ดี หรือผมเดินตามท้องถนนพบเจอผู้คนถามทาง บนรถไฟฟ้า แท็กซี่แล้วน่าสนใจทางภาษาหลากหลายจีน อังกฤษ ฯลฯ แน่ละ ไทยหรือผู้นำ ต้องเปิดกว้าง ยกตัวอย่างทำงานต้องรับคำวิจารณ์ได้จากการชุมนุมไม่ใช่ไล่จับเค้า ไม่งั้น สมมติผู้นำไปทำวิทยานิพนธ์ถูกอาจารย์วิจารณ์ไม่ปรับปรุงก็จับอาจารย์555 ผมทำวิทยานิพนธ์อาจารย์วิจารณ์ก็ปรับปรุงเขียนคอลัมภ์ก็ปรับปรุงขยายความใหม่ และสมมติประเทศไทยหรือผู้นำต้องปรับปรุงด้วย
Jibjib Thitisat โห..😄เสียดายจริงๆไม่รู้ว่ามา เพราะก่อนมีลูกนี่ว่างมากถึงมากที่สุด55 แต่ไม่เป็นไรค่ะเพื่อนบอย..เดี๋ยวลูกโตถ้ามีเวลาบอยก็มาอีกที55
และเราก็ยิ่งเห็นด้วยว่าถ้ามีคนอย่างเธอมากๆบ้านเมืองเราคงเบาสบายสมองและสบายใจกันมากกว่านี้เนาะบอย😎
ปีหน้าลงส.ท.ดีไหมล่ะเพื่อนบอย😄✌️
อรรคพล สาตุ้ม เสียดายเช่นกัน ตอนนั้นเราน่าจะได้เจอกันไว้ลูกJibโตก็ได้ 555
ขอบคุณเห็นด้วยสบายใจกันปีหน้าลงส.ท.ดี เป็นไอเดียที่ดี เราลงเหมือนกันก็ได้เนอะ บ้านเมืองเรา
(ภาพประกอบสิบปีที่แล้ว ครับ)
16.2
ภาพหนังสือมรดกของเอิร์นเนสท์ แมนเดล (Ernest Mandel*) การอธิบายหลายเรื่องยกตัวอย่าง การสะสมทุนกับอุปมาปลาใหญ่กินปลาเล็ก ในระบบทุนนิยม(**) โดยเบื้องต้นยกตัวอย่างภาพทางศิลปะรูปปลา เข้าใจง่ายๆ แบบสั้นๆ ถ้าสนใจอ่านอธิบายรายละเอียดซับซ้อน เช่น ทฤษฎีมูลค่าแรงงาน และทุนนิยมผูกขาด(***)

* Mandel ฉบับอ่านไม่ยากเกินเป็นหนังสือเก่าคลาสิค คือ หลักเศรษฐศาสตร์มาร์กซิสต์เบื้องต้น (An Introduction to Marxist Economic Theory)ผลงานของ เอิร์นเนสท์ แมนเดล (Ernest Mandel) มีอิทธิพลยุคปี2518 ฉบับแปลในไทย(ที่มีอุปมาปลาใหญ่กินปลาเล็ก)เป็นหนังสือดังยุคนั้น และผมสนใจประวัติคนแปลทวี หมื่นนิกร ถ้าใครสนใจลองค้นหาเพิ่มด้วย
http://www.su-usedbook.com/product-th-15673-4931465-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99+(An+Introduction+to+Marxist+Economic+Theory)+*%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1*.html
เศรษฐศาสตร์การเมืองเบื้องต้น (Political Economy)…Mandel ได้รวบรวมเขียนขึ้นจากประสบการณ์ของตัวเองที่ได้รับระหว่างทำหน้าที่เป็นผู้ให้การศึกษาทางด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองแก่บรรดากรรมกรในที่ต่างๆ…
http://www.su-usedbook.com/product-th-15673-3400974-%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99+(Political+Economy)+%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99+order243022+.html
**ลิ๊งค์บทความจากภาพประกอบ
https://www.marxists.org/archive/mandel/1967/intromet/ch02.htm
การเขียนเปรียบเทียบเรื่องสะสมทุน ที่มีผมเขียนมาต่อเนื่องด้วย ครับ
***ลิ๊งค์บทความภาพประกอบบทความThe Labor Theory of Value and Monopoly Capitalismโดยผมยกตัวอย่างเชื่อมโยงกับหนังสือCapitalของMarx(หนังสือเล่มนี้อ่านไม่ง่าย ผมอธิบายสั้นๆ เคยเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์กระแสหลักหนึ่งวิชาบังคับเรียนตอนป.โทต้องผ่านอดัม สมิธ ริคาร์โด้ มารกซ์(ไปถึงเศ.ศ.นีโอคลาสิค)แค่บริบทเฉพาะด้านเศรษฐศาสตร์ยังมีสูตรตัวเลข ฯลฯ แน่ละยังไม่ต้องกล่าวถึงมารกซ์ สหสาขาด้านสังคมวิทยา ปรัชญา ฯลฯอีก) และยกตัวอย่างหนังสือของPaul Seezy ซึ่งมีบริบทเข้าใจไม่ง่าย
http://www.ernestmandel.org/en/works/txt/1967/labor_theory_of_value.htm
Monopoly Capital: An Essay on the American Economic and Social Order คือ หนังสือโดย Paul Sweezy and Paul A. Baran(ผมไม่เคยอ่าน)
และต่อมามีหนังสือของBraverman, Harry. Labor and Monopoly Capital: The Degradation of Work in the Twentieth Century (อันนี้ผมเคยอ่าน คนสนใจด้านแรงงานลองอ่าน)
ลิงค์หนังสือฟรีที่นี่ http://digamo.free.fr/braverman.pdf
19
ผมถ่ายภาพโชว์หน้าปกหนังสือเกี่ยวกับกรัมชี่ หลายคนในปัจจุบันพูดถึงกรัมชี่ ไม่เหมือน Mandel(*) ที่คนแทบไม่พูดถึงแล้ว กรัมชี่ยังเป็นของฮิต และหนังสือบางเล่มก็คลาสิคไป ในแง่วัฒนธรรมการเมืองของกรัมชี่ น่าสนใจจริงๆ โดยหนังสือในภาพประกอบหลายเดือนก่อนรุ่นพี่สหายเก่าที่รู้จักกันให้ผมไปถ่ายเอกสารหาฉบับเก่าและไม่มีฉบับพิมพ์ใหม่ แล้วบางหอสมุดมหา’ลัยในชม.ไม่มีด้วย
* Mandel เป็นนักทฤษฎีสายเดียวกับกรัมชี่ โดยMandel เน้นด้านเศรษฐกิจ ตามความเข้าใจของผม เป็นผู้รู้น้อยอย่างกับปลาน้อย
หยก งานช่าง ขอบคุณครับอาจารย์ มีเลขเด็ดด้วย อิอิ
อรรคพล สาตุ้ม 555 ขอบคุณ กันและกัน ไว้เจอกัน ราตรีสวัสดิ์ ครับ
หนุ่มสวนลำไย รอรัก ไม่ยืม แต่ถ่ายมาด้วย 1 เล่ม เดวจ่าย
อรรคพล สาตุ้ม 1.ไม่ยืม นี่ทำให้ผมนึกถึงหนังสือที่คุณยืมผมไปนานแล้ว ผมยกให้ก็ได้(ฮร่า) ว่าแต่ดูเลขหนังสือไปซื้อหวยรวยทางลัดดีฮี่ๆ 2.ถ่ายเอกสารเล่มนี้ต้องเสียเวลาไปหอสมุดฯ ไว้ว่างๆ ก่อน 3.กรณีทฤษฎีHegemony ลองอ่านเล่มนี้แทนไปก่อนเค้าทำแจกฟรีพีดีเอฟห้องสมุดนี้หนังสือเพียบดีจริงๆ ครับ
หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ อันโตนิโย กรัมชี กับปัญหาของปัญญาชน(ดาวนโหลดฟรีห้องสมุดนี้มีหนังสือเพียบ)
19.2
ก่อนและหลังรัฐประหาร 19 กันยา 49 เล่าความหลังทบทวนความทรงจำ ในปัจจุบัน ผมในฐานะสะสมความทรงจำ ที่มีรูปภาพไว้ และเสียดายบางความทรงจำที่ผม ไม่มีรูปภาพก่อนปี49 ช่วงหนึ่งผมจำได้ดี มีโอกาสเป็นคนพูดแทนวิทยากร
เมื่อครั้งจำเป็นเฉพาะหน้า(*)ปี48ตอนนั้นเตรียมพูดแบบด้นสดๆ ในกลุ่มนศ. ฯลฯ ที่มีผู้ฟังจำนวนมากเต็มห้องเลคเชอร์เป็นร้อยคนขึ้นมั้ง มีวิทยากรอ.อรรถจักร อ.สมชาย อ.เอกกมล และผมพูดเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ปี2535 ด้วย
*นศ.เชียงใหม่ เรียกร้อง “ทักษิณ” ลาออก-เดินหน้ารณรงค์ติดริบบิ้นดำย้ำจุดยืน ปชต.(เฉพาะพาดหัวข่าวนี้ผมมีรูปเก็บไว้ และนศ.บางคนป.ตรีรุ่นน้องผมในกลุ่มตอนนี้ไปทำงานรวยกันแล้วก็มีบางคน ครับ)
http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9490000023214&TabID=1&
ชมรม นศ.การเมืองฯ มช.พร้อมประกาศจุดยืนร่วม อมธ. ตั้งโต๊ะล่าชื่อถอด”แม้ว”
http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9490000022441
เปิดฐานพลังกลุ่มพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย(ส่วนใหญ่ถ้ากลับไปอ่าน สังเกตทั้งกรณีนักวิชาการ มหาวิทยาลัยจะไม่ได้มีเฉพาะกรุงเทพฯ)
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9490000026115
19.3
ก่อนและหลัง19กันยา 49 เมื่อ10ปีผ่านไป ทบทวนพลังของชาตินิยมยังฝังใจกันทุกวันนี้ ในฐานะภาพถ่ายความทรงจำผ่านวิทยานิพนธ์ฯ ชาตินิยมกับทุนนิยมในโลกาภิวัตน์
บทเรียนจากที่ผมเคยเล่ากรณีประชาธิปไตยแบบอเมริกา มีฮิลลารี กับทรัมป์ ที่อยู่คนละพรรค คนละขั้วอำนาจ แต่ไม่ปลุกมวลชนมากลางถนนต้องปฏิรูปพรรค หรือประชาธิปไตยแบบอังกฤษ ที่ผ่านประชามติไม่แยกประเทศ ประชามติอียู หรือกรณีประชาธิปไตยแบบตุรกี ฯลฯ
21.2
วันประมงแห่งชาติและวันสันติภาพสากลเล่าถึงอ.ไชยันต์ รัชชกูล ผู้มีคำคมว่า “นักศึกษาเป็นครูของผม” โดยอ.ไชยันต์ ผู้เรียนป.ตรี จบด้านประมง ต่อป.โท ด้านสันติศึกษา ป.เอก สังคมวิทยา(*)ผู้เขียนหนังสือThe Rise and Fall of the Thai Absolute Monarchy (1994) ซึ่งจะพิมพ์ฉบับแปลเป็นไทยและผมทำการวาดแผนที่(**)ประกอบไว้ว่าจะเขียนเฉลย เลือกนำเรื่องเล่าสำนวนที่มายกตัวอย่าง ….ผมต้องขอบคุณนักศึกษา ทั้งจากภายในคณะและนอกคณะ ทั้งนี้ เนื่องจากว่า ความรู้ ความสนใจเกี่ยวกับสังคมวิทยาที่มีอยู่นี้ ส่วนใหญ่แล้วมิได้มาจากการศึกษาสมัยเป็นนักเรียน แต่มาจากการเตรียมการสอน การปะทะสังสรรค์ กับนักศึกษา ฯลฯ หรือกล่าวอย่าง “พลิกไพล่” โดยมิได้แสร้งเล่นลิ้นเป็นสำนวนก็คือ นักศึกษาเป็นครูของผม(***)
*ประวัติเพิ่มเติมดูได้ตามลิ๊งค์ยกตัวอย่างจบป.โท ป.เอกจากอังกฤษ ปีนี้เดินสายพูดไปม.อ๊อกซฟอร์ด ม.เคมบริดจ์ บ้างเป็นต้น
http://www.law.cmu.ac.th/law2011/personnel.php?action=profile&p=special-inductor&id=SI13
**ผมเขียนต่อเนื่องไว้แล้ว เคยคุยเล่นกับอ.ไชยันต์ สมมติผมเป็นแอดมินทำแฟนเพจอาจารย์ จะหาคำคม คำสั้นๆ ไม่เขียนยาว https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1383498328346058&set=a.103468286349075.7792.100000577118415&type=3&theater
***อ.ไชยันต์ เขียนไว้ในสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาที่รู้สึก (1) ปาจารยาจารย์ อาจารย์ และเจ้าหน้าที่
บางส่วนจาก “ย้อนรำลึก”รศ. ดร.ไชยันต์ รัชชกูล
http://socanth.tu.ac.th/wp-content/uploads/2015/08/A9-chaiyan.pdf
ปัญหาและแนวทางการเขียนบทความทางวิชาการทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
โดย รศ.ดร.ไชยันต์ รัชชกูล พูดคำคมนี้ “นศ.เป็นครูของผมด้วย…”(ฯลฯ)
(ดูคลิปบันทึกการอบรมเชิงปฏิบัติการ “What is Thai Studies/อะไรคือไทยศึกษา?”)
21.3
…หลังจากที่เราผ่านประสบการณ์และความเปลี่ยนแปลง ทั้งร่างกายและอารมณ์ของช่วงวัยรุ่น เราจะพบว่าเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีความ “ทรงจำ” ด้วยจิตสำนึกเดิมของวัยเด็ก ลองคิดดูสิว่า มีวันตั้งกี่พันวันที่ผ่านไปในระหว่างวัยเด็กกับช่วงต้นของวัยผู้ใหญ่ของเรา ความทรงจำเหล่านั้นได้สูญหายไปอย่างไม่อาจเรียกกลับคืนมาได้อีก! ทำให้กลายเป็นเรื่องแปลกประหลาด ที่เราจะต้องอาศัยความช่วยเหลือของคนอื่น ที่ทำให้รู้ว่าเจ้าเด็กเล็กที่นอนเปล่าเปลือยในภาพถ่าย ที่กลายเป็นสีเหลืองจางๆไปแล้วนั้น นอนเล่นอย่างมีความสุข อยู่ในผ้าห่มหรือบนเตียงเด็กนั้น คือ ตัวคุณนั่นเอง ภาพถ่าย
ซึ่งในตัวของมันเอง ก็เป็นทารกที่น่ารักของยุคของการผลิตซ้ำด้วยเครื่องกลไก ซึ่งก็เป็นเพียงหนึ่งในหลักฐานที่น่าเชื่อถือที่สุดในบรรดาการสะสมหลักฐานทางเอกสารจำนวนมหึมาในยุคสมัยใหม่(เช่น สูติบัตร บันทึกไดอารี่ฯลฯ(ผมเล่าย่อๆ))ผลจากการมีหลักฐานที่บันทึกถึงความต่อเนื่องในชีวิตของเรานั้น ก็เป็นการตอกย้ำถึงการสูญเสียความทรงจำ(ของเรา)ไปโดยสิ้นเชิง ผลของความขัดแย้งอันนี้ ทำให้เกิดมโนทัศน์เรื่องบุคคลอัตลักษณ์(ใช่แล้ว คุณกับภาพถ่ายของเด็กทารกที่เปลือยเปล่า อยู่นั่น คือ คนๆเดียวกัน) การที่ภาพนั้นไม่อาจถูก “จดจำ” ได้
มันจึงต้องถูกบรรยายออกมา ถึงแม้ว่าชีววิทยาบอกเราว่า ทุกๆ เซลล์ในร่างกายมนุษย์จะถูกแทนที่ด้วยเซลล์ใหม่ทุกๆ 7 ปี เราจะได้เห็นบทพรรณนาของอัตชีวประวัติ และชีวประวัติ ท่วมท้นตลาดในระบบทุนนิยมการพิมพ์ปีแล้วปีเล่า….(*)
ดังนั้น ผมทบทวนตัวเองผ่านภาพถ่าย เห็นด้านดีของภาพ และต่อมาเปรียบเทียบด้านดีของทุนนิยมการพิมพ์อย่างที่อ.เบน ผู้ศึกษาชาตินิยมเคยเขียนไว้ในแง่ของชีวิตของอันโตนีโอ กรัมชี่(**) ที่มีหนังสือแปลออกมาเป็นภาษาไทย และคนแปลอย่างทอม แนรน์ ผู้ศึกษาเรื่องชาตินิยมเคยแปลหนังสือ Antonio Gramsci: Life of a Revolutionary เป็นภาษาอังกฤษเล่มเดียวกันนี้ ในแง่น่าสนใจ “A model of political biography.” โดยผมเขียนเล่าบันทึกไว้ด้วย
*อ่านเพิ่มเติมในชีวประวัติของชาติของหนังสือชุมชนจินตกรรมฯ ซึ่งผมได้นำมาเขียนบางส่วนแล้วด้วย
(ภาพประกอบผมเองตอนผมวัยรุ่นผมยาวๆ )
** อ.เบน อ้างทฤษฎีHegemony ในหนังสือชุมชนจินตกรรมฯ และอ้างงานเขียนของทอม แนรน์ ผู้แปล
Antonio Gramsci: Life of a Revolutionary
https://www.versobooks.com/books/688-antonio-gramsci
http://www.goodreads.com/book/show/189230.Antonio_Gramsci
ฉบับแปลไทยผมเล่าแล้วเพิ่มเติมหน่อย บก.เล่มแปลเป็นสหายเก่าเคยเข้าป่าด้วย
23.2
วันนี้เป็นวันที่เกี่ยวกับซิกมันด์ ฟรอยด์ มีวิธีการทางคลินิกเพื่อรักษาจิตพยาธิวิทยาผ่านบทสนทนาและระหว่างผู้รับการรักษากับนักจิตวิเคราะห์ เช่น จิตสำนึก และ”ไอดี” (ID: ย่อมาจาก Identityแปลว่าอัตลักษณ์) ซึ่งผมสนใจเรื่องซิกด์มันด์ ฟรอยด์กับเชอร์ล็อคโฮมส์ เสพติด(Sherlock Holmes’s Addictions)
ที่มีการเล่าเรื่องของเชอร์ล็อคโฮมส์ ในฐานะผู้ใช้โคเคน โยงกับฟรอยด์ โดยผมเห็นการอธิบายที่น่าสนใจสัมพันธ์กับเรื่องThe Sign of the Four(จัตวาลักษณ์ฉบับแปลไทย)
…Sigmund Freud ที่แนะนำการบำบัดรักษาด้วยโคเคนสำหรับโรคต่างๆ…แม้กระทั่งการรักษาโดยเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และมอร์ฟีน ….(ผมไม่ได้แปลละเอียดยกตัวอย่างคนเขียนยกตัวอย่างฟรอยด์และเชอร์ล็อคโฮมส์)
…Sherlock Holmes โดยเซอร์อาเธอร์ โคนันดอยล์ เป็นผู้ประพันธ์ เขาเป็นแพทย์ ที่มีประสบการณ์ ในขณะที่เป็นจักษุแพทย์ เขาจะต้องคุ้นเคยกับคุณสมบัติของยาเสพติดและอาจมีการใช้ตัวเองเป็นตัวกระตุ้นด้วย โดยตัวละครดร. วัตสันเล่าถึงเชอร์ล็อคโฮมส์ใช้โคเคนในจัตวาลักษณ์อีกด้วย…
เมื่อข้อมูลอันยาวๆ ผมเน้นตรงเชอร์ล็อคโฮมส์ กับฟรอยด์ ในแง่ยาเสพติด ซึ่งผมไม่ได้แปลทั้งหมดเขียนเพิ่มเติมเรียบเรียงสรุปความ(*)ข้อมูลเรื่องฟรอยด์กับเชอร์ล็อคโฮมส์ ได้เขียนบางส่วนแล้วมาเล่าต่อเนื่องขยายความด้วย(**) และแล้วความจริงกับนิยาย ท้าทายเส้นแบ่งในการเปรียบเทียบศึกษาหาความรู้เรื่องเสพติดกับความคิด(***)
โดยเชอร์ล็อคโฮมส์ ยกตัวอย่างเสพติดทั้งเมอร์ฟีน ฝิ่น สูบไปป์ ดื่มแอลกอฮอล์ แก้ปัญหายากๆ อาจจะเหมาะกับผู้อ่านสนุก ต้องแยกแยะความจริงกับเมามาย ไม่งั้นจะเสพติดต้องพึ่งนักจิตวิเคราะห์อย่างฟรอยด์ หรือข้อจำกัดของวาทกรรมวิทยาศาสตร์ ในยาเสพติด สารเสพติดหลายชนิด ที่ผ่านยุคศต.ที่20 ถูกท้าทายโดยยาเสพติด ‘ใบกระท่อม’ พืชสมุนไพรรักษาโรค! รวมทั้งถอดกัญชาออกจากยาเสพติด แพทย์ยันรักษามะเร็งได้จริงด้วย
*http://www.victorianweb.org/authors/doyle/addiction.html
ราชาแห่งนิยายสืบสวน “เซอร์อาเธอร์ โคนัน ดอยล์”(ข้อมูลเล่าถึงเรื่องประวัติอันน่าสนใจของเขา)
http://www.dek-d.com/writer/37227/
อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ ดูข้อมูลวิกิพีเดีย เล่าถึงแนวคิดของเรื่องเชอร์ล็อก โฮลมส์
ถ้าฉบับจัตวาลักษณ์ ที่มีแปลไทยเล่าว่าเชอร์ล็อค โฮมส์ มีต้นแบบจากแพทย์คนหนึ่ง เป็นต้น
(ดอยล์ คือ คนเรียนแพทย์จบมาทำงานแล้วเป็นนักประพันธ์ โดยทำงานไม่เกี่ยวกับวิชาที่เรียนมาตรงสายเลย)
**ฟรอยด์กับเชอร์ล็อคโฮมส์ กรณีโคเคน เป็นยาเสพติด และประเด็นวิทยาศาสตร์กับวรรณกรรม
http://jama.jamanetwork.com/article.aspx?articleid=338629
19 ข้อเชอร์ล็อคโฮมส์
http://www.dek-d.com/writer/37230/
หนังเชอร์ล็อคโฮมส์กับฟรอยด์
ข้อมูลที่ฟรอยด์ ทำไมอยากตาย อธิบายถึงการฆ่าตัวตาย
http://www.theatlantic.com/health/archive/2014/09/how-sigmund-freud-wanted-to-die/380322/
10สิ่งที่เป็นเรื่องของฟรอยด์คุณไม่รู้ รวมทั้งอ่านเพิ่มเติมเรื่องฆ่าตัวตายโดยมอร์ฟีน(morphine)
http://www.history.com/news/10-things-you-may-not-know-about-sigmund-freud
***ผมเขียนเรื่องฟรอยด์กับเชอร์ล็อคโฮมส์มาต่อเนื่องด้วย
23.4
สังคมไทยกับปัญหาค้ายาเสพติด และการเสพติดทางความคิด ระวังจะเป็นกัญชาธิปไตยอย่างที่ผมเคยโพสต์ไว้ ภาพนี้เบื้องหลังประชามติกล่องเต็มไปหมดตอนนี้ไม่เหลือแล้ว ภาพประกอบผมเอง
26.2
กระแสเรื่องโขน+ทศกัณฑ์ ในรามเกียรติ์ นี่เกิดอะไรไม่ค่อยเข้าใจอ่านผ่านๆนึกถึงคำคมจากหนังสือวิหารที่ว่างเปล่า:คนเขียนเรื่องรามายณะไม่เคยได้รับค่าเรื่องจากสำนักพิมพ์ แต่เราอยู่ในโลกทุนนิยมปัจจุบันผมเขียนเฟซฯ ก็ไม่เคยได้รับค่าเรื่องจากเฟซฯ…คมไหมหว่า ฮร่าๆ มาอ่านบทกวีของผมไปทำMV บ้าง แจกฟรี ครับ
29.1
…การสะสมความทรงจำ(accumulating memory) จนเกิดเป็นรูปเป็นร่างถึงจะมีขึ้นมาได้ มีการเชื่อมโยงปะติดปะต่ออย่างยุ่งเหยิงและเกินจริงของอันได้ประสบมานี้ ทั้งโดยคนที่กระทำและผู้เป็นเหยื่อของเหตุการณ์ กลายเป็นตัวตน ที่ถูกขนานนามว่าการปฏิวัติฝรั่งเศส…(*) จากหนังสือชุมชนจินตกรรมฯ ซึ่งประโยคดังกล่าวสะท้อน มรดกยุคภูมิปัญญา(Enlightenmentหรือภูมิธรรม) และหนังสือชุมชนจินตกรรมฯ อิทธิพล Marx มาอธิบายระบบทุนนิยม กับชาตินิยมทั่วโลก
โดยผมทำภาพจำลองเปรียบเทียบกับเรื่องปลา(ปลาใหญ่กินปลาเล็ก ในแง่หนึ่งหมายถึงคนผู้ใหญ่ ที่มีอำนาจหรือกำลังเหนือกว่า ก็จะเอาชนะหรือเอาเปรียบ..) ให้เห็นมรดกMarx(ภาพจากCapital Volume III) และMandel(หรือPaul Sweezy อื่นๆ**)
อย่างไรก็ดี ผมทบทวนความทรงจำ จากการสะสมความทรงจำมีภาพประกอบจากวารสารฟ้าเดียวกัน ฉบับ “โครงการเปลี่ยนประเทศไทย”(กค.-กย.49)สัมมาระดมความคิดเห็นนักวิชาการจำนวนมาก ที่เชียงใหม่ เป็นการจัดงาน ข้อถกเถียงหาทบทวนบทเรียนอดีต ปัจจุบัน แก้ไขอนาคต ซึ่งผมเคยเขียนแล้วอ.เบน เคยเสนอยุทธศาสตร์ไม่ใช่แค่เฉพาะหน้า และต่อมาผมจับประเด็นของอ.เกษียร(ลูกศิษย์อ.เบน) ในเสวนานั้น : ถ้าตอบอย่างสหายErnest mandel คือ ต้องตั้งพรรคซึ่งเกิดการรวมตัวของผู้ปฏิบัติงานอย่างแข็งขัน กับปัญญาชนซึ่งเป็นIntellectual elite(ดูภาพผมเขียนย่อ***)
ดังนั้น ผมสะสมความทรงจำไว้ ก่อนความทรงจำขาดหายไปไม่ต่อเนื่อง ในแง่เป็นมรดกคำตอบทางเลือกเศรษฐศาสตร์การเมืองอีกด้วย
*ผมได้เขียนไปบ้างแล้ว ดูเพิ่มเติม เบน แอนเดอร์สัน ชุมชนจินตกรรมฯในบทที่5 โมเดลภาษาเก่าและใหม่ และบทที่9 เทวดาแห่งประวัติศาสตร์
Marx กับหนังสือCapital เล่มสาม
Chapter 27. The Role of Credit in Capitalist Production
(where the little fish are swallowed by the sharks and the lambs by the stock-exchange wolves.)
https://www.marxists.org/archive/marx/works/1894-c3/ch27.htm
**ผมเคยเขียนเรื่องมรดกMarxไปแล้วเป็นบทหนังสั้น ในแง่ข้อสังเกตมรดกMarx การเปลี่ยนผ่านจากศักดินาถึงทุนนิยม:The Transition from Feudalism to Capitalism
Eric Hobsbawm (Authorเป็นอาจารย์ของอ.เบน อ้างในชุมชนจินตกรรมฯ) , Maurice Dobb (Author) ,Paul Sweezy (Author) เป็นต้น…เปรียบเทียบกับที่ผมอ้างMandel กับPaul Sweezy ด้วย
พล็อตหนังสั้น มรดกMarx ในปัจจุบัน…
พล็อตหนังสั้น “ปัญญาชนอิมเมจิ้น”(อวสาน/อวตาร/HBD)
หากสนใจอ่านบทความยากๆ เพิ่มเติม ในแง่เศรษฐศาสตร์การเมือง ในช่วงเวลานั้นเพิ่มเติม
Soviet Economic Development since 1917. by Maurice Dobb
https://archive.org/stream/SovietEconomicDevelopmentSince1917/Soviet%20Economic%20Development%20since%201917#page/n3/mode/2up
E.P. Thompson An Open Letter to
Leszek Kolakowski
https://www.marxists.org/archive/thompson-ep/1973/kolakowski.htm
New Digital Age : Nations(ยุคดิจิตอลใหม่: ชาติ)
http://akkaphon.blogspot.com/2016/01/new-digital-age-nations-2-single.html
(ผมเคยเขียนปัญญาชนสามคนอ.เกษียร อ.ธงชัย อ.สศจไปแล้วทบทวนอดีตมาปัจจุบัน ส่วนในแง่ภาวะวิสัยและอัตวิสัยจะยาวอธิบายสั้นๆ หากเปรียบเทียบผมเคยเขียนไว้แล้วบันทึกภาวะวิสัยหลังรัฐประหาร กับโชคชะตาของประเทศ ผ่านอัตวิสัยบอย
http://akkaphon.blogspot.com/2015/01/blog-post.html หรือการอธิบายไม่ง่ายลองค้นหาเพิ่มเติมแนวคิดMethodological และEpistemology)
29.3
“คนของเยอะไม่เห็นเป็นอาจารย์กัน” …เนื่องจากผมแวะไปหารุ่นพี่คนหนึ่ง ที่ป่วย ปรากฏว่าเจอคนมาเยี่ยม คือ สองคนคุยกันหลายเรื่องผมนั่งฟังเป็นหลัก(*) สุดท้ายผมคุยบ้างนิดๆหน่อยกับขอให้ถ่ายรูปตรวจงานนศ.ให้ผมในฐานะอ.พิเศษ ต่อมาหลายวันผ่านไปกลับมาคิดถึงประเด็นแหลมคมของสาวหน้าตาดี ที่ผมคิดเขียน “อาจารย์เก่ง สถาบันดี มีนักศึกษาไม่สนใจการเรียนก็ช่วยอะไรไม่ได้ การศึกษาอยู่ที่ตัวคุณ(**)” และนศ.อาจจะเก่งกว่าครูก็มี เป็นเรื่องดี ที่ผมได้ไอเดียนศ.เป็นครูของผม(***) พอดีผม “ของ(ในความหมายความรู้ รวมทั้งแง่มุมน้ำชาล้นถ้วย)น้อย” น่ะ ครับ
*ร้านรุ่นพี่ ที่ชื่อว่าAddicted to work co-working space
**ประเด็นการศึกษา นี่อาจจะต้องเก็บไว้เขียนขยายความยาวเป็นตอนๆได้ เพราะสาขาที่ผมเรียนจบป.โท สหสาขาร่วมกับศึกษาศาสตร์ ในแง่ระบบการศึกษา การศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งการสะสมทุนความรู้ด้วย
***คำคมของอ.ไชยันต์ ที่พูด “หมอบอกคนไข้เป็นครู” รวมถึงผู้ฟังการบรรยายเป็นครูของผมด้วย(ที่จริงมีรายละเอียดดีๆ อีกผมไม่ได้เขียน ทั้งหมดผมสนทนากับอ.ไชยันต์ จำมาเขียนยกตัวอย่างสรุปย่อๆ การอ่านคู่การเขียน การฟังคู่การพูด คือ อ่านเยอะเขียนได้ดี ฟัง เยอะพูดได้ดี)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น