วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

การสะสมความทรงจำกับเสือดำ ละครทีวีบุพเพสันนิวาส เกมเมืองประชาธิปไตย+รัฐสวัสดิการ เกมพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย เกมซีอีโอ ซิตี้เพื่อแรงงาน แผนภูมิก้างปลา โมเดลปลาทู ปลาตะเพียน


การสะสมความทรงจำ ต่อเมือง และเกมเมืองประชาธิปไตย+รัฐสวัสดิการ
เมื่อผมหลายเรื่องในชีวิตประจำวัน ในเรื่องเล่าบางเรื่องผ่านความทรงจำต่อเมือง ยกตัวอย่างเมืองเชียงใหม่ โดยมุมมองของผม ตั้งแต่ประชุมงานเครือข่ายแรงงานภาคเหนือ ร่วมกิจกรรมประสบการณ์สะสมความทรงจำไว้(*) แง่มุมหนึ่งการประชุม ทำให้ผมได้พบกับรุ่นน้องในสมัยเรียนมหา’ลัย ทำกิจกรรมพรรคสิบสองประสาน ซึ่งผมไม่ได้เจอหลายปีเธอ ก็เติบโตในแวดวงเอ็นจีโอ มีลูก มีโอกาสไปต่างประเทศต่างๆ ทำให้เราได้คุยกันและความทรงจำต่อพรรค เป็นต้น
ซึ่งผมยังมีภาพเปรียบเทียบเก็บตกจากที่เหลืออยู่ตอนไปอีสาน(**) ก็อยากนำมาประกอบภาพแรงบันดาลใจ สำหรับเดือนนี้ ที่ต้องเตรียมส่งงานคลิปวิดิโอ(กลางเดือน)และวาดภาพกำแพงแนวสตรีทอาร์ต(เวลาห่างกลางเดือนเล็กน้อย เริ่มมีคนวาดแล้ว) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยเปรียบเทียบเมืองอังกฤษ สามารถสร้างแฟนคลับ คนไทยไปถึงที่นั่น ดูสนามบอล อะไรพวกนี้
แต่แน่ละเมืองแมนเชสเตอร์….แรงงานในอังกฤษ(ไม่ได้มีดีแค่ฟุตบอล)…แมนเชสเตอร์ จะต้องผนึกกำลังเชื่อมโยงกับเมืองสำคัญอื่นๆ ในภาคเหนือได้แก่ ลิเวอร์พูล ลีดส์ เชฟฟิลด์ และนิวคาสเซิล แผนการกระจายอำนาจในครั้งนี้ ความหวังที่จะลดปัญหาเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างเมืองทางเหนือ-ใต้ของอังกฤษ ซึ่งมีการพูดถึงมานานกว่าหนึ่งร้อยปี โดยนวนิยายเชิงสังคมของอังกฤษในศตวรรษที่19 มักจะเสนอประเด็นเรื่องความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ระหว่าง “ชนชั้นกรรมกรทางเหนือ”กับ “ชนชั้นกลางทางใต้”อยู่เสมอ(***) ซึ่งเมืองนอกเจริญแล้ว เมืองไทยแต่ละเมืองยังเหลื่อมล้ำทางรายได้อยู่ด้วย
อย่างไรก็ดี ผมไม่มีเวลาเขียนอะไรมาก ยุ่งเตรียมงานที่เล่าไว้บ้างแล้ว มีไอเดียดีๆเก็บไว้ก่อนอย่างเกมกระดาน “เมืองประชาธิปไตย” (Sim Democracy) อาจจะดัดแปลงทำเกมเมืองประชาธิปไตย(****)แนวนี้บ้างเพิ่มเติมจากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน โดยป๋วยกล่าวไว้สื่อถึงผมต้องการอากาศบริสุทธิ์สำหรับหายใจ น้ำบริสุทธิ์สำหรับดื่ม คือ‘รัฐสวัสดิการ’มีเมืองประชาธิปไตย รัฐสวัสดิการ และสิ่งแวดล้อมในเมืองเชียงใหม่ เมืองปลา(มีนบุรี) หรือเกมเมืองประชาธิปไตยที่หายไปด้วย
* May Day2018

**ปี 2560 คนทำงานในภาคอีสานได้ค่าจ้างรายอาชีพเฉลี่ยต่ำสุด
https://prachatai.com/journal/2018/04/76479
***จากโรงนาสู่โรงงานอุตสาหกรรม
https://www.facebook.com/580937148732328/photos/a.580943645398345.1073741828.580937148732328/783445218481519/?type=3&theater
****กิจกรรมสื่อเกมกระดาน “เมืองประชาธิปไตย” (Sim Democracy)
https://www.ect.go.th/dlc3/ewt_news.php?nid=99&filename=index#
Sim Democracy
http://www.ruttikorn.com/?ContentID=ContentID-091130151421997
5.2
ขายหนังสือ
วันนี้วันนักเขียนไทย 5 พฤษภา วันคล้ายวันเกิดคารล์ มารกซ์ครบรอบ200ปี(มารกซ์กับไดอะเลคติคผมเคยเล่าแล้ว) และวันเสียชีวิต จิตร ภูมิศักดิ์ ผมมาขายหนังสือการ์ตูนชีวประวัติจิตร(*) และหนังสือสองเล่ม คือ พจนานุกรมนักคิดนักเขียนฯ อธิบายพรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 รวมทั้งหนังสือหลายเล่มอีกครั้งตามลิ๊งค์(**) และวันนี้ผมกลับมาขายหนังสือเรื่องTake over การดูดของทหาร(***) ตอนนี้กระแสกลับมาอีกครั้งขายหนังสือที่เน้นเรื่องนี้ (อย่าลืมคำศัพท์เก่าๆ:ชนบทล้อมเมือง การเลือกตั้งคนชนบทตั้งรัฐบาล) อย่าลืมว่าอ.นิธิ เคยกล่าวไว้ถ้ามีการเลือกตั้ง อย่างไรคุณหนีไม่พ้นว่าคนชนบทตั้งรัฐบาล…ถ้าเขาเป็นพรรคใหม่เขาก็ปรับตัวได้(****) และผมต่อประเด็นกรณีบางพรรคก็หายใจในอากาศของเครือข่าย มรดกชาติ(*****)
สุดท้ายข่าวเศร้าปิดตำนาน 52 ปี แฟนหนังหลั่งน้ำตานิตยสาร Starpics หมดลมลาแผง(หน้าปกหนังAvengerฯผมไปดูมาแล้วโอ้ ยังไม่สิ้นจักรวาลยังมีหวัง) หลายเรื่องเลยมีโอกาสโพสต์หลายเรื่องในเฟซฯด้วย
*จิตร กับนิราศรัก
**ขายหนังสือ

ขายหนังสือ

ขายหนังสือ
***การซ่อมสร้างมรดกชาตินิยมของทหารตั้งพรรคแบบTake over มรดกสืบทอด14 ตุลา มรดก6ตุลา มรดก17 พฤษภา มรดก19กันยา

****การสะสมความทรงจำ การสะสมสื่อสิ่งพิมพ์

*****มรดกยุคเรืองปัญญา มรดกอุปมาปลาในน้ำ ต่อมรดกชาตินิยม
“Marxism exists in nineteenth-century thought like a fish in water: that is, it is unable to breathe anywhere else.” ― Michel Foucault, The Order of Things: An Archaeology of the Human Sciences

การสะสมความทรงจำ“เสือดำ”กับการเมืองไทย
เมื่อชีวิตฟรีแลนซ์อย่างผม กำลังเร่งเรียบเรียงคลิปวิดิโออยู่อย่างเหตุผล หาเรื่องเล่าบางแง่มุมในชีวิต ตั้งใจว่าอยากทำหนังสั้นและหนังยาวได้รายได้อยู่ได้เป็นอยู่ในระบบทุน มีอิสรภาพทางการเงิน และทุนเล็กทุนน้อย(อุปมาปลาเล็ก)อย่างที่ผมทำได้แค่หนังสั้นดังกล่าวที่ผมบางครั้งไม่มีค่าจ้างดาราอย่างนี้ ในวงการหนัง มีเพื่อนผมที่เคยไปเขียนบทร่วมกับระดับผกก.ปรัชญา ปิ่นแก้ว ก็ไม่ได้ต่อช่องทางกัน หรือรุ่นน้องบางคน ที่เคยทำหนังสั้นไปจัดอบรมให้ศูนย์มานุษยวิทยาฯ กทม. เขาเขียนบทบริษัทแห่งหนึ่ง ก็บอกช่วงนี้เศรษฐกิจหนังไทยไม่ค่อยดี ในความทรงจำ อยากเขียนอะไรไว้บ้าง แง่มุมพัฒนาต่อจากที่เขียนเรื่องการสะสมความทรงจำ“เสือดำ”กับการเมืองไทย(*)
ซึ่งผมเคยฟังเรื่องมองอนาคตการเมืองไทยผ่านสายตาคนนอกของอ.เบน (**)ส่วนตัวผมสนใจในแง่อนาคตมีความคิดเสนอสำหรับผมไว้ต่ออนาคตการเมืองไทย ในเรื่องย่อ (synopsis)
พ่อเล่าเรื่องข่าวจับคนล่าเสือดำ สอนลูกให้รู้ตระหนักคุณค่าของสัตว์ป่า และชีวิตของมนุษย์ ต้องมีจริยธรรมต่อจิตวิญญาณของสิ่งมีชีวิต ไม่ให้เสือดำถูกลืม แล้วกลายเป็นเสือดำตัวสุดท้ายในจินตกรรม ที่มีจริงถูกล่าหายไปด้วย
ฉาก 1 : ทิวทัศน์/กลางคืน/ภายนอก
ภาพต้นไม้ใบหญ้า
ขึ้นชื่อเรื่อง “เสือดำตัวสุดท้าย”
ฉาก 2: โรงพยาบาล/บ่าย/ภายนอก
พ่อนั่งบนเตียง ถือโทรศัพท์มือถือ
ลูกๆ รอหมอก่อนพ่อจะอ่านข่าวนี้ให้ฟัง
คณะของนายเปรมชัย กรรณสูต ลักลอบตั้งแคมป์พักแรมในจุดบริเวณห้วยปะชิ อยู่ระหว่างหน่วยทิคอง กับหน่วยมหาราช ซึ่งเป็นจุดที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตกไม่อนุญาตให้ตั้งแคมป์ จึงส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปพิสูจน์ทราบ
เจ้าหน้าที่ระบุหลักฐานในที่เกิดเหตุ ตรวจพบอาวุธ 3 รายการ คือ 1.อาวุธปืนยาวขนาด .22 จำนวน 1 กระบอก 2.อาวุธปืนไรเฟิลติดลำกล้องจำนวน 1 กระบอก 3.อาวุธปืนลูกซองแฝด จำนวน 1 กระบอก และเครื่องกระสุนพร้อมใช้งานและพบซากไก่ฟ้าหลังเทากับเนื้อเก้ง จึงได้ควบคุมตัวนายเปรมชัย กรรณสูต และคณะรวม4 คน ไปที่สำนักงานเขต ถึงในเวลา 02.40 น.
ชำแหละถลกหนังเสือดำ
กระทั่งเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2561 ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบพื้นที่เพิ่มเติม พบซากเสือดำถูกชำแหละเนื้อและหนังแล้วกับเครื่องกระสุนปืนอีกจำนวนมากที่ถูกซุกซ่อนไว้บริเวณที่แคมป์พัก และส่งดำเนินคดี สภ.ทองผาภูมิ เสียงปืนทะลุหลังเสือ ดังก้องไปถึงคณะรัฐมนตรี ที่มีการประชุม “ครม.สัญจร” อยู่ที่ จ.จันทบุรี
ลูกรู้ไหม? อาลูกก็เคยถูกยิง เพราะปกป้องป่าจากพวกล่าสัตว์!
พ่อ อ่านข่าวนี้แล้วเศร้ารอหมอเสร็จก็กลับบ้านเถิดลูก
ฉาก 3 : โต๊ะ /กลางวัน/ภายใน
ถ่ายด้านหลังของพ่อ
พ่อหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาโทร หาลูก
หวัดดีลูก พ่อหิวข้าวกลางวันแล้ว เอ่อ พ่อจะกินเนื้อย่าง นี้ สมมติมันเป็นเสือดำ จะกินให้ดูก่อน
คนเราไม่น่าล่าเสือดำ หากินเนื้อย่าง ไส้ย่าง หมูย่าง ง่ายๆ กว่าด้วย
เสือดำ ทำอาหารน่าจะอร่อยไหม?
ลูกเรื่องสัตว์ป่าสงวน มีสอนในโรงเรียน ไหม? ลูก
การจัดนิทรรศการเสือดำไหม? ลูก รู้ไหม? ถ้าคนธรรมดา นักศึกษาล่าเสือดำผิดไม่เท่าเปรม
ลูกลองจินตนาการเปรมกำลังวิ่งไล่เสือ เปรมน่าจะวิ่งหนีเสือ เสือไล่กัดเปรม ตอนเราเป็นเด็ก ก็มีจินตนาการแบบพ่อ บางทีก็คุยกับสิ่งที่มองไม่เห็น สิ่งสมมติเล่นกับวิญญาณ คุยได้กระทั่งภาษาสัตว์ คุยได้
แม้แต่วิญญาณเสือดำ แล้วกลายเป็นเสือดำตัวสุดท้ายในจินตกรรม ที่มีจริงถูกล่าหายไปด้วย ลูกเกิดปีเสือ พ่อเลยให้ลูกชื่อเล่นชื่อเสือ
แล้วพูดแด่จิตวิญญาณ จริยธรรม ที่ไม่ถูกลืม
อย่างไรก็ดี ไอเดียดี ทุกคนมีอยู่ในจินตนาการ ยกตัวอย่างย่อๆ ผ่านบทหนังสั้น ซึ่งมีด้นสดเพิ่มหรือตัดบางประโยคจากตัวบท ลดความยาวจากตัวบทหนังสั้นพอตัดต่อหนังสั้น ตัดบางฉาก เสือดำตัวสุดท้ายในจินตกรรม ส่วนตัวผมสะท้อนกฎแห่งกรรม และมือที่มองไม่เห็น ที่ผู้ดูผู้มองไม่เห็นร่วมกันสร้างโลกใหม่ในอนาคต ไม่ให้เมืองไทยเมืองประชาธิปไตยไม่หายไป
*การสะสมความทรงจำ“เสือดำ”กับการเมืองไทย

**ดูเพิ่มเติม:เบน แอนเดอร์สัน มองอนาคตการเมืองไทยผ่านสายตาคนนอก(ตามเน็ต)
(ภาพ แมวดำเดินผ่านรูปภาพทิวทัศน์ในอุโมงค์ ซ้อนภาพปืน และภาพช่วงก่อนโน้นซื้อไมค์บูม มาเพิ่มและปรากฏว่าไมค์บูมอันที่หนึ่ง ก็ใช้ได้อันที่สองก็ใช้ได้)
Anusorn Mekboot ท่านน่าทำหนังสั้นเรื่องเสือดำกับชายอ้วน … ผมยินดีเป็นสปอนเชอร์ให้
โอนเงินมาเลยท่าน ผมไม่มีพร้อมเพย์ มีบัญชีธนาคารจะทำหนังสั้นทันที และการเมืองเป็นเรื่องพวกพ้องอย่างที่อ.เบน กล่าวไว้ว่าอำนาจของกลุ่มคณาธิปไตย มากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป กลุ่มคณาธิปไตยเหล่านี้มักเป็นกลุ่มเครือญาติ ลูกหลานไปโรงเรียนเดียวกัน มีธุรกิจเกี่ยวโยงกัน แต่งงานเกี่ยวดองกันเอง รวมทั้งมีค่านิยมและผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า พวกเขาไม่แข่งขันกันเอง พวกเขามีการแข่งขันชิงดีชิงเด่นกัน บางครั้งอย่างดุเดือดด้วย แล้วก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาตัดขาดจากคนกลุ่มอื่นๆ อย่างสิ้นเชิง พวกเขามีความยืดหยุ่นพอที่จะดูดคนอื่นที่เป็นกึ่งคนนอกจากกลุ่มต่างๆ เข้ามา แต่ต้องวางอยู่บนเงื่อนไขที่พวกเขาตั้งขึ้นเท่านั้น….
https://prachatai.com/journal/2011/04/33843
อนาคตเตรียมรับมือไว้เศรษฐกิจก็ไม่ดีผมเจอคนจรขอเงินขออาหารสองครั้งในเดือนนี้ ส่วนด้านการเมืองอดีตกกต.กล่าวว่าเลือกตั้งแล้วก็มีปัญหาในการเลือกตั้งอีก ฯลฯอาจจะต้องคิดไว้ล่วงหน้าอีกสิบปี ครับhttps://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1063324447030116&id=100000577118415
Anusorn Mekboot ผมเพิ่งกลับมาจากอินโดนีเซียมา2รอบ 2 เกาะ(สุมาตรา กับชวา) ในเวลา2เดือน…มีความคิดจะไปทำมาค้าขายต่างแดนดีกว่า เหนื่อยแล้ว ท้อแล้วกับการเมือง+นายทุนชาติ+กฎหมายที่ไม่ศักดิสิทธิ์+ระบบราชการที่กลับมาย้อนยุคไดโนเสาร์ ฯ
ถ้าไปแล้วคงแถวอาเซียนนี่แหละท่านกลับมาเยี่ยมบ้านสะดวกดี
ไปกับผมไหมละ
##ตอนนี้ศก.กะลาแลนด์อันดับสุดท้ายในอาเซียน##
เห็นด้วยตามที่ท่านกล่าวมานั่นแหละ ขอให้รวยท่านมีโอกาสผมไปร่วมแจม ติดต่อท่านแน่ๆ ค้าขายต่างแดนจะได้รวยๆ ครับ^^ ราตรีสวัสดิ์ ครับ

การสะสมความทรงจำ และการสร้างเกม Ceo Cityเพื่อแรงงาน
การสะสมความทรงจำ ต่อเมือง และเกมเมืองประชาธิปไตย(*) ทำให้ผมสนใจทำเกมเกี่ยวกับนายกอบต.อบจ.และผู้ว่าฯ ดัดแปลงจาก CEO CITY คือ เกมส์ที่ผู้เล่นต้องรับบทบาท เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดที่ต้องสร้างจังหวัดของตนเองให้เจริญรุ่งเรือง และขายสินค้า OTOP…เกมแนวสร้างเมืองคล้ายกับเกมตระกูล Sim City ที่ผู้เล่นจะต้องเล่นเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด (ผู้ว่าซีอีโอ) 1 ใน 12 จังหวัด ทำหน้าที่พัฒนาเมืองและความเป็นอยู่ของประชาชน และสร้างรายได้เข้าสู่จังหวัด
โดยการขายผลิตภัณฑ์ OTOP ซึ่งมีกว่า 100 ชนิด ในตอนเริ่มต้นผู้เล่นจะได้รับเงินงบประมาณมาจำนวนหนึ่งสำหรับบริหาร และพัฒนาจังหวัด ซึ่งจำนวนของงบประมาณนั้นจะขึ้นอยู่กับระดับความยาก ง่าย ของเกมที่เลือกเล่น
หากเลือกระดับ Hard ก็จะได้งบน้อยเพื่อท้าทายความสามารถในการบริหาร ในช่วงแรกของการเล่นเกม ผู้เล่นควรจะสร้างสิ่งก่อสร้างมาตรฐานหลักๆ สาธารณูปโภคต่างๆ ขึ้นมาก่อน เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย สถานีตำรวจ โรงพยาบาล สถานีดับเพลิง
ทั้งนี้ ผู้ว่า ซีอีโอ จะต้องสร้างความสมดุลในเมืองให้เกิดขึ้น และการกระจายตัวของสิ่งก่อสร้างไม่ควรจะมากหรือน้อยเกินไป ฯลฯ
ส่วนของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP นั้น ผู้เล่นต้องเริ่มจากการสร้าง สิ่งก่อสร้างที่เป็น วัตถุดิบขึ้นมาก่อน โดยผลิตภัณฑ์ OTOP นั้นก็จะมี หลาก หลายประเภท เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับ โดย แต่ละจังหวัดนั้นก็จะถูกกำหนดให้มีสินค้าเฉพาะที่แตกต่างกันออกไป เช่น เชียงใหม่ก็จะมี ไม้แกะสลัก, กระบี่ ก็จะมี ผ้าบาติก โดยผลิตภัณฑ์ OTOP เหล่านี้จะเป็นสิ่งที่สามารถ สร้างรายได้ให้กับจังหวัดและยังช่วยลดอัตราการ ว่างงานได้อีกด้วย
กรณีเรื่องสภาพภูมิประเทศในแต่ละจังหวัดก็จะเหมือนจริง เช่น ชลบุรี ก็จะมีพื้นที่ติดกับทะเล กาญจนบุรีก็จะมีสะพานข้ามแม่น้ำแคว ซึ่งภายใน 4 ปี ผู้เล่นต้องบริหาร ผลงานให้เป็นที่พึงพอใจของ ประชาชนโดยปัจจัยที่ใช้ในการประเมินผลนั้น จะดูจาก รายได้ต่อหัว อัตราการว่างงาน ความปลอดภัย สุขภาพ การศึกษา และสาธารณสุข ถ้าค่าความพอใจกับบริการดังกล่าวอยู่ในระดับดี โอกาสที่จะได้ รับเลือกตั้งเข้ามาก็มีสูง จังหวัดที่เลือกเล่นได้มีอยู่ 12 จังหวัด(**)
อย่างไรก็ดี พวกผลิตของอย่างผลิตภัณฑ์OTOP เป็นแรงงานนอกระบบ ซึ่งผมหยุดใช้เฟซฯไปกลับมาเพื่อช่วยอัพเดจเพจเครือข่ายแรงงานฯ อาจจะมีอะไรเกี่ยวกับแรงงานเพิ่มคิดดัดแปลงการสร้างเกมซีอีโอ ซิตี้ สะท้อนเมือง ในจินตนาการของผม(***) เตรียมสร้างเกมไว้ โดยสะสมในความทรงจำด้วย
*การสะสมความทรงจำ ต่อเมือง และเกมเมืองประชาธิปไตย+รัฐสวัสดิการ
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2125376407491576&id=100000577118415
** Ceo City เกมส์คนไทย เพื่อคนไทย
http://www.blog.rmutt.ac.th/?p=164
***ผมสนใจไอเดีย หนึ่งตำบลมาจากญี่ปุ่น หรือ One Village One Product – Rural Development Strategy in Asia: The Case of OTOP in Thailand และทักษิณชี้ประเทศเผลอเอายาม มาเป็นCEO เลือกตั้งครั้งหน้าแลนด์สไลด์เหมือนเดิม
https://prachatai.com/journal/2016/10/68237
(ภาพประกอบเกม)

การสะสมความทรงจำ ละครทีวีบุพเพสันนิวาส ชุมชนจินตกรรม
…มันเป็นผลพลอยได้จากเทคโนโลยีการเดินเรือ ดาราศาสตร์… (Benedict Anderson,Imagined Communities: Reflections on the Origin and Spread of Nationalism.)
ผมได้เขียนมาต่อเนื่องแล้วเรื่องการสะสมความทรงจำ ละครทีวีบุพเพสันนิวาส กับชุมชนจินตกรรม(*) โดยบุพเพสันนิวาส ที่มีคิวลงจอรีรันในวันที่ 11 พ.ค. นี้ ในวันจันทร์-พฤหัสบดี เวลา 19.05 น. และ ศุกร์ 18.45 น. ทางช่อง 3 แฟนๆ จะได้พบกับเรื่องราวสุดแสนประทับใจของ คุณพี่เดช โป๊ป ธนวรรธน์ และแม่หญิงการะเกด เบลล่า ราณี อีกครั้ง
ซึ่งก็มีหลายฉากเลยทีเดียวที่ยังไม่ได้เห็นในตอนที่ออนแอร์ครั้งแรก และมาครั้งนี้เต็มอิ่ม ฟินแบบจุใจแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นฉากแม่หญิงการะเกดปีนต้นมะม่วง หรือฉากลูกๆ ของการะเกด ฉากกุ๊กกิ๊กของแม่นางกับพี่หมื่น(ตามข่าว) และผมมาเขียนเพิ่มเติมอย่าลืมว่าละครทีวีบุพเพสันนิวาส ย้อนเวลาจากศตวรรษที่21 กลับไปศตวรรษของยุคพระนารายณ์
เมื่ออดีต 2 ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์สำคัญที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงสังเกตการณ์ คือ 1) จันทรุปราคาเต็มดวง เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2228 และ 2) สุริยุปราคาบางส่วน เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2231 ในปี 2561 นี้ นับเป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองในโอกาส 150 ปี สุริยุปราคา ณ หว้ากอ และยังเป็นโอกาสแห่งการครบรอบ 330 ปี สุริยุปราคา ณ พระที่นั่งเย็น ลพบุรี อีกด้วย
โดยยกตัวอย่าง มันเป็นผลพลอยได้จากเทคโนโลยีการเดินเรือ ดาราศาสตร์…(**)จากการเปรียบเทียบให้เห็นภาพ เปรียบเทียบบางด้านทางการเดินเรือของพระเอกไปฝรั่งเศส สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และดาราศาสตร์ต่อพระนารายณ์ มรดกสืบทอดมาสมัยรัชกาลที่ 4 ต่อมาการเลิกทาส ในสมัยรัชกาลที่5 การใช้แรงงานในอดีตจากทาส มาเป็นแรงงาน จากอดีตมาถึงปัจจุบัน หากเปรียบเทียบวันMay Dayไทยกับฝรั่งเศส(***)
ซึ่งดาราก็เป็นแรงงานนอกระบบที่ไม่ได้มีสวัสดิการอื่นๆ ที่ปรับปรุงล่าสุดก็จะมีประกันอุบัติเหตุ แต่ไม่นับว่าเจ็บคอ คออักเสบ ปอดชื้นจะเบิกไม่ได้ ถ้าบาดเจ็บหนักๆ จากในกองจึงจะเบิกได้ ถ้าเบิกได้ก็จะถือว่ามีเมตตา สัญญาของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ถ้าเป็นการเล่นละครต้องถ่าย 5 ตอนก่อน ถึงจะได้รับเงิน
ถ้าละครไม่ได้ออกอากาศก็จะไม่ได้เงิน ค่าใช้จ่ายทุกอย่างทั้งค่าข้าว ค่าเดินทาง ก็ต้องออกไปเองก่อน ถ้าเราเรื่องมากเขาก็ไม่เอาเรา เลือกไม่ค่อยได้ว่าอยากเล่นหรือไม่อยากเล่นบทไหน ถ้าเล่นเป็นผีก็อาจต้องเป็นผีไปตลอด(****) นี่แหละการเปรียบเทียบยกตัวอย่างด้วย
ส่วนที่น่าสนใจอีกยกตัวอย่างเรื่องคอรัปชั่น หรือการรับสินบน ที่นางเอกเคยกล่าวไว้ในละครทีวี บุพเพสันนิวาส ดังไปทั่วแดนสยาม กับบทการลงโทษ ขุนเหล็ก รับสินบนอย่างเด็ดขาด ที่ผู้นำปัจจุบันควรนำไปใช้จัดการกับคอร์รัปชัน ไม่ยกเว้นเหตุจูงใจให้ร่วมอย่าง ฟอลคอน ฉากที่ขุนหลวง หรือพระนารายณ์ ทรงถามย้ำเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) หรือขุนเหล็ก ว่า “มึงรับเงินสินบนมาจากพวกที่ไม่อยากให้สร้างป้อมหรือไม่” และขุนเหล็กตอบว่า “ข้าพระพุทธเจ้าหาได้รับเงินสินบนจากผู้ใดไม่”
นี่คือกรณีศึกษาการจัดการกับการคอร์รัปชันจากละครอิงประวัติศาสตร์ที่ ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ อดีตคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือป.ป.ช. ได้ติดตามดู และให้ความเห็นว่า ทุกคนควรศึกษา โดยเฉพาะผู้นำองค์กร และผู้นำประเทศต้องดูเป็นตัวอย่าง เป็นตัวอย่างของสุดยอดผู้นำจากกรณีนี้ ที่แยกแยะความสนิทสนมส่วนตัว กล้าตัดสินใจจัดการเรื่องการคอร์รัปชัน
ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) ให้ความเห็นด้วยว่า แต่สิ่งที่เหมือนกันคือคนที่ทำงานให้ประชาชน ต้องโปร่งใส ไม่มีอะไรให้เคลือบแคลงสงสัย เพราะไม่เช่นนั้นก็จะเกิดความเสียหาย ที่ไม่เพียงเสียหายกับตัวเอง แต่ยังเสียการเสียงาน เสียชื่อเสียง และคนรอบข้างก็เสียหายไปด้วย
หากเปรียบเทียบละครกับสถานการณ์ปัจจุบัน เมื่อประชาชนคือเจ้านาย และสงสัยพฤติกรรมของข้าราชการ หรือนักการเมือง เช่น ทรัพย์สินที่ได้มานั้นได้มาอย่างไร
เมื่อถูกถามก็ต้องแจ้งที่มาที่ไป ต้องอธิบายได้(*****) โดยการเปรียบเทียบดังกล่าวเห็นภาพ มรดกคอรัปชั่นยังอยู่ แม้แต่ ณ “อุทยานราชภักดิ์” ที่มีพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช 1 ใน 7 บูรพกษัตริย์แห่งสยาม ที่กองทัพบกจะนำไปประดิษฐาน ณ อุทยานราชภักดิ์ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (เรายังจำกันได้!?!)
กรณีต้องสงสัยการทุจริต การดำเนินการสร้างอุทยานราชภักดิ์ ซึ่งดำเนินการโดย พล.อ. อุดมเดช สีตบุตร นั้นถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีการทุจริตในหลายขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นเงินที่ไปรับบริจาคมาจากเอกชนหลายราย, ค่าสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์แต่ละองค์ซึ่งตั้งงบเอาไว้องค์ละ 50 ล้านบาท แต่กลับมีการเปิดเผยจากโรงหล่อว่าต้นทุนที่แท้จริงเพียง 1 ล้านบาทเท่านั้น, ไปจนถึงต้นปาล์มที่ใช้ประดับในบริเวณอุทยานที่ตั้งงบเอาไว้ต้นละ 1 แสนบาท แต่ทางเอกชนผู้เพาะปลูกต้นปาล์มระบุว่าบริจาคให้กับโครงการฯ โดยไม่ได้คิดเงินแต่อย่างใด
เมื่อถูกสื่อมวลชนสอบถามถึงเรื่องนี้ ทั้ง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คสช. และ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ปฏิเสธข่าว และยืนยันว่าไม่มีการทุจริตแต่อย่างใด อีกทั้งยังไม่คิดจะตรวจสอบหาข้อเท็จจริงโดยให้เหตุผลว่าไม่มีผู้มาร้องทุกข์ จนกระทั่งเมื่อสื่อมวลชนและพรรคการเมืองกดดันมากเข้า
จึงยอมตั้งคณะกรรมการสอบสวน แต่ก็ถูกวิจารณ์อีกว่าคณะกรรมการผู้ตรวจสอบมีแต่ทหารด้วยกัน ซึ่งตรวจสอบกันเอง ภายหลังคณะกรรมการฯ ได้ยืนยันว่าไม่พบการทุจริตแต่อย่างใด แต่กระแสสังคมก็ยังไม่ปักใจเชื่อ(******)
ดังนั้น การเปรียบเทียบให้เห็นภาพอดีตกับปัจจุบัน ยกตัวอย่างเรืองฤทธิ์ เพื่อนสนิทของเกศสุรางค์ เขาแอบรักเกศสุรางค์มาตลอดในขณะที่เกศสุรางค์ยังมีชีวิต เรืองฤทธิ์คือพ่อเดชมาเกิดในชาติใหม่ในยุคปัจจุบัน
ซึ่งพ่อเรือง(หมื่นเรืองราชภักดี) สหายของพ่อเดช มีหน้าตาคล้ายกับเรืองฤทธิ์ เกศสุรางค์ จึงเข้าใจผิดว่าเป็นเรืองฤทธิ์ เขาสนิทสนมกับเกศสุรางค์อย่างรวดเร็ว ทำให้พ่อเดชเข้าใจผิดว่าเกศสุรางค์มีใจให้กับพ่อเรือง น่าสนใจอดีตกับปัจจุบัน โดยเกศสุรางค์ ผู้รักหมื่นเรืองราชภักดีกลับชาติมาเกิดจะยอมรับเรื่องอุทยานราชภักดิ์ไม่ได้(!?!)
อย่างไรก็ตาม ผมได้เขียนมาต่อเนื่องเรื่องการสะสมความทรงจำ ละครทีวีบุพเพสันนิวาส ชุมชนจินตกรรม
ในแง่ความเชื่อเวียนว่ายตายเกิดมาแล้ว ต่อมาการเดินเรือ ดาราศาสตร์ แรงงาน และคอรัปชั่น จากตัวอย่างผ่านละครแล้ว สะท้อนความทรงจำและหลงลืมของมนุษย์ได้
แต่อย่าลืมพร่างพรายแสง ดวงดาวน้อยสกาว ส่องฟากฟ้า เด่นพราวไกลแสนไกล ดั่งโคมทอง ส่องเรืองรุ้งในหทัย เหมือนธงชัย ส่องนำจากห้วงทุกข์ทน พายุฟ้า ครืนข่มคุกคาม เดือนลับยาม แผ่นดินมืดมน ดาวศรัทธา ยังส่องแสงเบื้องบน ปลุกหัวใจ ปลุกคนอยู่มิวาย ขอเยาะเย้ย ทุกข์ยากขวากหนามลำเค็ญ คนยังคง ยืนเด่นโดยท้าทาย แม้นผืนฟ้า มืดดับเดือนลับละลาย ดาวยังพราย ศรัทธาเย้ยฟ้าดิน ดาวยังพราย อยู่จนฟ้ารุ่งราง
*สะสมความทรงจำ ละครทีวีบุพเพสันนิวาส ชุมชนจินตกรรม

(ดูเพิ่มเติมในบทนำของหนังสือชุมชนจินตกรรมฯ…My sense is that on•this topic both Marxist and liberal theory have become etiolated in a late Ptolemaic effort to ‘save the phenomena’ ; and that a reorientation of perspective in, as it were, a Copernican spirit is urgently required… ฉบับแปลไม่มีข้อความดังกล่าวหายไป)
**หนังสือชุมชนจินตกรรมฯ( Imagined Communities: Reflections on the Origin and Spread of Nationalism.ในบทสำมะโนประชากร แผนที่และพิพิธภัณฑ์)และผมเล่าย่อเพิ่มเติมอ.เบน เขียนไว้ในชุมชนจินตกรรมฯ(ความตายของชาติไม่เป็นธรรมชาติเกิดคำว่าฆ่าล้างเผ่าพันธุ์) ที่เน้นภาษาลาติน เสื่อม และวันสิ้นโลกของคริสต์ ดังกล่าว(เขียนจะยาว)
***May Day ณ ฝรั่งเศส
****อินทิรา หรือทราย เจริญปุระ เล่าต่อว่า ในวงการยังต้องขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นเด็กใครอีก แต่ถ้าไม่ได้เป็นเด็กใครเลยก็เสี่ยงว่าจะไม่ได้งาน คนกำหนดคือนายจ้าง ทุกตำแหน่งในวงการนี้ ตั้งแต่ดารา ผู้ช่วยผู้กำกับ ทีมกล้อง ทีมเสียง ทีมไฟ ล้วนใช้งานกันตามความคุ้นเคย ไม่มั่นคงและไม่มีมาตรฐานเดียวกัน
ที่มา:แรงงานนอกระบบ ไม่ได้มีแค่คนจน ทุกคนมีความเสี่ยง
https://ilaw.or.th/node/4344
***** “บุพเพสันนิวาส” บทสะท้อนสินบน คอร์รัปชันสไตล์ไทย
https://www.thairath.co.th/content/1236032
******ข้อมูลวิกิพีเดีย:อุทยานราชภักดิ์
(รูปประกอบละครทีวีคนนิยมเรียกออเจ้า ภาพเดินเรือมหาสมุทรจากสมุดภาพไตรภูมิ และอนุสาวรีย์พระนารายณ์ ในอุทยานราชภักดิ์)

เกมพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย
วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ซึ่งถือเป็นวันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ เป็นวันแห่งการย้ำเตือนกระตุ้นให้สังคมได้รับทราบในเรื่องของความปลอดภัยในการทำงานอย่างอย่างต่อเนื่องและปลุกกระแสให้ทุกภาคส่วนพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “แรงงานปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี” ให้บรรลุผลสัมฤทธิ์
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงได้จัดทำโครงการ“๑๐ พฤษภาคม วันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ” ขึ้น โดยให้มีกิจกรรมการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ลูกจ้างผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์เพลิงไหม้โรงงานผลิตตุ๊กตาเคเดอร์ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๓๖ จำนวน ๑๘๘ ราย รวมทั้งลูกจ้างที่เสียชีวิตจากการทำงานทุกกรณี
ซึ่งมีจำนวนกว่า ๖๐๐ รายต่อปี กิจกรรมในงานมีการแสดงเจตนารมณ์ด้านความปลอดภัยในการทำงานของภาครัฐโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน การเปิดเวทีให้นายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ เพื่อพัฒนาการบริหารงานความปลอดภัยในการทำงาน และกิจกรรมสาธิตการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย ในสถานการณ์ต่างๆ เป็นต้น

แผนภูมิก้างปลา (Fishbone Diagram)
บางครั้งเรียกว่า แผนผังสาเหตุและผล (Cause and Effect Diagram) มักใช้ในการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผลที่เกิดเป็นปัญหา (Problem) กับสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหา (Cause) การใช้แผนภูมิรูปคล้ายก้างปลา ใช้ค้นหาสาเหตุแห่งปัญหาและทำการศึกษา ทำความเข้าใจ ทำความรู้จักกับกระบวนการและใช้ในการระดมสมอง ซึ่งจะช่วยให้ทุกคนสนใจใน ผลที่เกิดในรูปของปัญหาที่มี ซึ่งจะแสดงไว้ที่ หัวปลา วิธีการสร้างแผนผังสาเหตุและผลหรือผังก้างปลา
สิ่งสำคัญในการสร้างแผนภูมิคือ ควรต้องทำเป็นคณะทีมงานเป็นกลุ่ม ผ่านการระดมความคิดร่วมกัน โดยมี 6 ขั้นตอนประกอบด้วย
1. กำหนดปัญหาที่สนใจไว้ที่ตำแหน่งของ หัวปลา
2. กำหนดสาเหตุจะทำให้เกิดปัญหา ไว้ตามตำแหน่งของตัวปลา
3. กำหนดปัจจัยหลักที่จะทำให้เกิดปัญหา ไว้ตามตำแหน่งของก้างปลา หาสาเหตุในแต่ละปัจจัย
4. กำหนดสาเหตุของปัจจัยหลักที่พบ ไว้ตามตำแหน่งแยกย่อยในแต่ละก้างปลา ระบุสาเหตุปัจจัยหลักของปัญหาให้มากที่สุด
5. จัดลำดับความสำคัญของสาเหตุของปัจจัยที่มี เพื่อจัดกลุ่มการแก้ไขปัญหา
6. คัดเลือกแนวทางและเครื่องมือที่มี ใช้ในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาตามที่จำเป็น
การกำหนดปัจจัยหลักบนก้างปลา
การกำหนดปัจจัยหลักบนก้างปลานั้น สามารถที่จะกำหนดกลุ่มปัจจัยอะไรก็ได้ตามความสำคัญและความสนใจที่มี แยกกลุ่มตามจุดประสงค์เป้าหมายของงาน กลุ่มที่กำหนดไว้เป็นปัจจัยหลักนั้นควรจะช่วยให้เราแยกแยะและกำหนดสาเหตุที่มีได้อย่างเป็นระบบ ในงานอุตสาหกรรมการผลิตเราอาจใช้หลักการ 4M-1E เป็นกลุ่มปัจจัย (Factors) เพื่อจะนำไปสู่การแยกแยะสาเหตุประกอบด้วย
M – Man คนงาน พนักงาน หรือบุคลากร
M – Machine เครื่องจักร เครื่องมือ หรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวก
M – Material วัตถุดิบหรืออะไหล่ อุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในกระบวนการ
M – Method ขั้นตอนงานที่มี กระบวนการทำงาน
E – Environment สิ่งแวดล้อมที่มี ลักษณะของสถานที่ และบรรยากาศในการทำงาน
การกำหนดแผนภูมิก้างปลา ไม่จำเป็นต้องใช้ 4M-1E เท่านั้น เพราะหากเราไม่ได้อยู่ในงานด้านการผลิตปัจจัยที่จะนำเข้า (input) ในการวิเคราะห์ก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามเรื่องที่สนใจได้เช่น งานด้านการตลาดก็อาจใช้ปัจจัยนำเข้าด้านการตลาดแทนคือ 4P ได้แก่ Place, Produce, Price และ Promotion แทนในปัจจัยหลักที่จะวิเคราะห์ หรือในกรณีที่กลุ่มหัวข้อจากประสบการณ์ในปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว ก็สามารถที่จะนำหัวข้อนั้นมากำหนดเป็นปัจจัยหลักให้เหมาะสมกับปัญหาที่จะต้องแก้ไขตั้งแต่แรกเลยก็ได้(*)
อย่างไรก็ดี ผมดูตามภาพแผนภูมิก้างปลา สะท้อนตรรกะเหตุผล แต่แผนภูมิก้างปลาเป็นที่นิยมรู้จักน้อยกว่าแผนภูมิความคิด(Mind Map)ในไทย ซึ่งผมขอเขียนรำลึกคุณธัญญา ผลอนันต์ ในแง่ที่เสียชีวิตไปช่วงก่อน ในความทรงจำของผม ก็ยังไม่มีโอกาสเขียนถึงคุณ เพราะไม่มีจังหวะเขียน เพียงเราเชื่อมโยงกันทางเฟซฯ แม้ผมไม่มีโอกาสเจอตัวจริงเลย
*แผนภูมิก้างปลา (Fishbone Diagram)
http://ioklogistics.blogspot.com/2017/07/fishbone-diagram.html
ผังก้างปลา กับ แผนภูมิความคิด
http://www.prachasan.com/mindmapknowledge/fishbonemm.htm
โมเดลปลาทู ปลาตะเพียน หัวปลา ในการจัดการความรู้
โมเดลปลาทูมีองค์ประกอบหลัก 3 ส่วน คือ ส่วนเป้าหมาย (หัวปลา) ส่วนกิจกรรม (ตัวปลา) และ ส่วนการจดบันทึก (หางปลา)
“หัวปลา” (Knowledge Vision- KV) หมายถึง ส่วนเป้าหมาย ได้แก่ ปณิธานความมุ่งมั่น วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า “เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร ?” โดย “หัวปลา” นี้จะต้องเป็นของ “คุณกิจ” หรือ ผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมด โดยมี “คุณเอื้อ” และ “คุณอำนวย” คอยช่วยเหลือ
“ตัวปลา” (Knowledge Sharing-KS) หมายถึง ส่วนกิจกรรม ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่ง “คุณอำนวย” จะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้ “คุณกิจ” มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ในตัว “คุณกิจ” พร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิดนวัตกรรม
“หางปลา” (Knowledge Assets-KA) เป็นส่วนของ “คลังความรู้” หรือ “ขุมความรู้” ที่ได้จากการเก็บสะสม “เกร็ดความรู้” ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ตัวปลา” ซึ่งเราอาจเก็บส่วนของ “หางปลา” นี้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น การจดบันทึก เป็นการจดบันทึกความรู้ เทคนิค เคล็ดลับในการทำงานที่ได้มาจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ควรบันทึกในหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ผังมโนทัศน์ (Mind Map) และรูปแบบอื่นๆ ให้สมาชิกในองค์กรเข้าถึง เอาไปปรับใช้ได้ตลอดเวลา และเก็บคลังความรู้เหล่านี้ในรูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information and Communication Technology – ICT) ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไป
โดย “โมเดลปลาตะเพียน” เป็นบทขยายของ “โมเดลปลาทู” ซึ่งเปรียบเสมือนเป็น “หัวปลาใหญ่” เป็นสิ่งที่ทุกหน่วยงานร่วมกันกำหนด ที่เรียกว่า วิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) หรือปณิธานความมุ่งมั่นร่วม (Common Purpose) หรือเป้าหมายร่วม (Common Goal) เมื่อร่วมกันกำหนดแล้ว ก็ร่วมกันดำเนินการตามเป้าหมายนั้น เปรียบเสมือนการที่ “ปลาเล็ก” ทุกตัว “ว่ายน้ำ” ไปในทิศทางเดียวกัน โดยที่แต่ละตัวมีอิสระในการ “ว่ายน้ำ” ของตนเอง ผู้บริหารระดับสูงมีหน้าที่ “บริหารหัวปลา” และคอยดูแล “บ่อน้ำ” ให้ “ปลาเล็ก” ได้มีโอกาสใช้ความริเริ่มสร้างสรรค์ของตนในการ “ว่ายสู่เป้าหมายร่วม” ทุกหน่วยงานย่อยเองก็ต้องคอยตรวจสอบว่า “หัวปลาเล็ก” ของตนหันไปทางเดียวกับ “หัวปลาใหญ่” ขององค์กรหรือไม่(*)
อย่างไรก็ดี ผมมีอุปมาปลามาหลายเรื่องแล้ว ก็เขียนมาไม่ว่าสอนให้หาปลา และต่อมาความสนใจเครื่องมือการจัดการความรู้ ในแง่หนึ่งต้องเคลียร์งานดัดแปลงวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับปลา ยกตัวอย่างที่ผ่านมาแผนภูมิก้างปลา(**) ซึ่งมีวิธีการและขั้นตอนของการเล่าเรื่อง มีการกำหนด “หัวปลา” ให้ชัด ซึ่งหมายถึงเป้าหมายของการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดังตัวอย่างการประชุมในตลาดนัดความรู้ของชาว จ.พิจิตร จากข้อมูลในเน็ตเท่าที่ผมเข้าใจมีอยู่ยกตัวอย่างแล้วMind Mapคนรู้จักมากกว่าในไทย
* การจัดการความรู้ (Knowledge Management)
http://www.resource.lib.su.ac.th/km/index.php/kmis
**แผนภูมิก้างปลา (Fishbone Diagram)

ชีวประวัติอรรคพล สาตุ้ม

เนื่องจากมนุษย์ของเรา มีความทรงจำกับหลงลืม เป็นเรื่องปกติ และผมมีโอกาสสร้างชีวประวัติย่อๆไว้ในโลกออนไลน์

ประวัติการศึกษา       


                    ประกาศนียบัตรศิลปะโฆษณา 
                    ประกาศนียบัตรขับรถยนต์
                     วิทยาลัยสารพัดช่างพิจิตร


ศิลปบัณฑิต (สาขาศิลปะไทย) คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วิชาโท โบราณคดี(กะเรียนอนิเมชั่น แต่เกรดไม่ดีกลับกันเกรดดีโบราณคดี)
นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง(เรียนไม่จบ กะดูดีมีปริญญาตรีสองใบ)
มหาบัณฑิต (สาขาภูมิภาคศึกษา) คณะบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


บทความ 
ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ชาวจีน กับผู้ปกครอง ความเชื่อ พิธีกรรม ในศาลเจ้าจีน จังหวัดเชียงใหม่ ศิลปวัฒนธรรม 23, 4 (ก.พ. 2545)
พิธีกรรมผีปู่แสะย่าแสะ ที่วัดพระธาตุดอยคำ จังหวัดเชียงใหม่ ศิลปวัฒนธรรม 23, 11 (ก.ย. 2545)
แนวคิดทางการเมืองการปกครองสังคมของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ที่มีอิทธิพลต่อศิลปวัฒนธรรม จุลสารเอเชียศึกษา 2545
ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา อำนาจรัฐ ธุรกิจ และสื่อ ยุคโลกาภิวัตน์  พลเมืองเหนือ ปีที่ 2 ฉบับที่ 68  17-23 กุมภาพันธ์ 2546 
แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองชาวไทใหญ่ ในภาคเกษตร อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ จุลสารเอเชียศึกษา 2546(ผู้วิจัยหรือผู้เขียนร่วม)
มุสลิมในการรับรู้ของคนไทย : องค์ความรู้ที่สะท้อนถึงความไม่เข้าใจต่อความจริงฟ้าเดียวกัน ปีที่2 ฉ.3 กรกฏาคม-กันยายน 2547(ผู้เขียนร่วม)
การเปลี่ยนแปลงพรมแดนความรู้ : คติทางศิลปะ-ภูมิสถาปัตยกรรมระบบนิเวศของวัดในชุมชนชายแดนสองฝั่งโขง ในวารสารชุดภูมิภาคศึกษา  ปีที่1 ฉบับที่1 ,2549 วารสารชุดภูมิภาคศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเผยแพร่ต่่อในวารสารไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ตู้ซ่อนผี หนังตลาดหรือเงื่อนงำปัญหาทางจิต ในข่าวหอศิลป์(หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)ฉบับที่15 ปีที่2 ม.ค.-ก.พ.47
 "รู้จักกันดีไหม : ตามรอยเส้นทางวัวต่างของ "ชาวยอง" การค้าที่หายไปใน "ป่าซาง"ประชาไทภาคเหนือ(15 ก.ย. 2549 อรรคพลเขียนร่วมกับทีมข่าวประชาไทภาคเหนือ) 
 ปัญหารัฐธรรมนูญ 2550: นิยายและความจริง ในภาพสะท้อนเราใกล้ชิดเส้นชัย ประชาไท (6 ธ.ค. 2553) ฯลฯ
 บทความเผยแพร่ในประชาไทจำนวนมาก
นวัตกรรมแผนที่กับความสำคัญต่อภูมิรัฐศาสตร์: กรณีศึกษาเมืองข้าว-เมืองปลา. (รังสิต-ธัญบุรี-มีนบุรี) วารสารวิชาการผลประโยชน์ของชาติ  ฉบับที่ 3 กุมภาพันธ์-เมษายน 2564


หนังสือ 
หนังสือรวมบทความประชุมวิชาการศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง:เอกภาพและความหลากหลาย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
หนังสือรวมบทความการประชุมเชิงวิชาการและนิทรรศการเรื่อง
กลุ่มชาติพันธุ์กับการพัฒนาในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ผู้รับผิดชอบโครงการวารสารชุดภูมิภาคศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นิยายรวมเล่มกับรุ่นน้อง
รวมเรื่องสั้นทำมือกับรุ่นน้องหนึ่งเล่ม
บทกวีทำมือสองเล่ม
รวมบทกวี หลายคนกับกวีมีชื่อเสียงโดยชมรมวรรณศิลป์ มช.

ผลงานที่น่าภาคภูมิใจ
รางวัลแข่งขันตอบปัญหาธรรมะระดับจังหวัดและภูมิภาค
รางวัลประกวดศิลปะสมัยมัธยมปลาย
รางวัลยอดนักอ่าน จากหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รางวัลชมเชยหนังสั้นน้ำตาแม่อาย จากศาลปกครอง(หนังสั้นถูกฉายเผยแพร่ช่องwetvของเชียงใหม่กับช่อง8)
ผลงานเรื่องสั้น เข้ารอบการประกวดเรื่องสั้นรางวัล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ตีพิมพ์ในสยามรัฐสัปดาหวิจารณ์
ผลงานเข้ารอบประกวดเรื่องสั้นและบทกวีของThaiwriter.net
ผู้บรรยาย Agenda for the Symposium “New Voices from the Mekong Region : Women in the Public Arena 2005 ในเรื่อง Women of the Mekong River: the Role of ‘Good’ Fishermen’s Wives in the Age of Globalization.  ณ ศูนย์สตรีศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
ผู้บรรยาย การประชุมเชิงวิชาการ และนิทรรศการเรื่องกลุ่มชาติพันธุ์กับการพัฒนาในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ปี พ.ศ. 2549  ในเรื่องผลกระทบของการพัฒนาและโลกาภิวัตน์ต่อชาวขมุระหว่างแม่น้ำโขงตอนบนไทย-ลาว ณ คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ผู้บรรยาย ASEN GRADUATE STUDENT FORUM ON SOUTHEAST ASIA STUDIES 2006 ในเรื่อง Impact of Development and Globalization  on Natural Resources in the Upper Mekong River : The Decline of Fish. Organized by Asia Research Institute National University of Singapore
ผู้บรรยาย โครงการจัดประชุมวิชาการระดับชาติ เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้งที่ 3 “ความหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรมโดยการสนับสนุนของสกว. ปีพ.ศ. 2549 ในเรื่อง การอ่านภาษาภาพจิตรกรรมกับอักษรธรรมล้านนา : ชื่อของพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์แม่น้ำโขง ณ คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผู้บรรยาย การประชุมทางวิชาการระดับชาติ สาขาสังคมวิทยา ครั้งที่ 3 “ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการพัฒนาภูมิภาคนานาชาติจัดโดยสภาวิจัยแห่งชาติ  ปีพ.ศ. 2549 ในเรื่อง การเปลี่ยนแปลงพรมแดนความรู้:คติทางศิลปะภูมิสถาปัตยกรรมระบบนิเวศของวัดในชุมชนชายแดนสองฝั่งโขง ณ โรงแรม มิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร
ผู้บรรยายพิเศษด้านศิลปะและวรรณกรรม คณะศึกษาศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2548
ผู้บรรยายพิเศษ ความรุนแรงของรัฐ-สงครามอิรัก-3จว.ภาคใต้-ปาเลสไตน์ ใน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2548
ผู้บรรยายพิเศษ สื่อเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด 2550
ผู้นำเสนอผลงานในการประชุมทางวิชาการระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ ๑ การนำเสนอผลงานวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร 2550
ผู้บรรยาย การประชุมเชิงวิชาการ ศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง:เอกภาพและความหลากหลาย ปี พ.ศ. 2550 ผลกระทบของการพัฒนาและโลกาภิวัตน์ต่อภูมิจักรวาล: การอ่านอนุสาวรีย์ของปลาบึกในภาพสะท้อนที่วัดหาดไคร้ จัดโดย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
ผู้บรรยาย การประชุมวิชาการภาพยนตร์ไทย ในเรื่อง พระเจ้าช้างเผือก ที่เหนือกว่าชาตินิยมพ.ศ.2551
ผู้บรรยาย การประชุม ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต ในเรื่อง วัฒนธรรมการค้าในลุ่มน้ำโขง พ.ศ.2551
ผู้บรรยายการประชุม ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในเรื่อง ปรัชญาประวัติศาสตร์ศิลปะแบบชาตินิยมในอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ พ.ศ.2551
ผู้บรรยาย ที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในเรื่องการเมืองเชิงตราสัญลักษณ์ทีวีไทย พ.ศ.2552
          ผู้บรรยาย ที่สถาบันศาสนา วัฒนธรรมและสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ ในการสนทนาชุด "เราจะก้าวต่อไปอย่างไรกัน" ครั้งที่ ๕ เรื่อง "สภาวะแวดล้อมสำหรับปรับโครงสร้างกองทัพไทย"สรุปความจากหนังสือ "ยกเครื่องเรื่องทหาร: ข้อคิดสำหรับกองทัพไทย ในศตวรรษที่ 21" เขียนโดย สุรชาติ บำรุงสุข ในวันพุธที่ 15 ธันวาคม 2553
 ผลงานวิจัย 
แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองชาวไทใหญ่ ในภาคเกษตร อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ จุลสารเอเชียศึกษา 2546(ผู้วิจัยหรือผู้เขียนร่วม)
งานวิจัยเรื่อง การเปลี่ยนแปลงของพิธีกรรมและคติความเชื่อการเลียงผีปู่แสะย่าแสะ อารักษ์เมืองเชียงใหม่(ผู้ช่วยนักวิจัย)

ประสบการณ์การทำงาน
         
สวัสดิการสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กรรมการหอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้ให้คำปรึกษาทางจิตวิทยาทางโทรศัพท์ของฮ็อทไลน์สายด่วนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้รับผิดชอบโครงการรับน้องรถไฟปีพ.ศ.2542
ผู้ช่วยสเก็ตภาพในโครงการวิจัยประวัติศาสตร์ชุมชนในเชียงใหม่ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้ช่วยนักวิจัยในโครงการเขตเศรษฐกิจวัฒนธรรมภาคเหนือตอนบน สกว.
ผู้ช่วยอาจารย์ค้นข้อมูลเล็กน้อยในงานวิจัยภาณุพงษ์ เลาหสม สัญลักษณ์รูปจักรวาลในงานพุทธศิลป์ประเภทต่างๆ ของไทย พม่า และลาว ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 17-24 ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ปีพ.ศ. 2545-2547(ภาณุพงษ์ เลาหสม, จิตรกรรมฝาผนังล้านนา, กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2541 ผู้เป็นอาจารย์ของผม ให้สนใจคติจักรวาล)
ผู้ช่วยนักวิจัยโครงการอนุรักษ์ศิลปกรรม จังหวัดน่านร่วมกับยูเนสโก
ผู้ช่วยนักวิจัยโครงการผลกระทบของการกระจายอำนาจท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่   คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้ช่วยนักวิจัยการเปลี่ยนผ่านและการสลายตัวของระบบการเมืองการปกครองรัฐไท ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๕ กรณีศึกษา เปรียบเทียบล้านนา รัฐฉาน สิบสองปันนาและหลวงพระบาง

 ผู้ช่วยนักวิจัยศักยภาพและการพัฒนาองค์กรเครือข่ายทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนกรณีศึกษาเครือข่ายประชาสังคมเมืองเชียงใหม่กับการฟื้นฟูสืบสานวัฒนธรรมล้านนา เครือข่ายเมืองศิลป์อุบลราชธานี เครือข่ายชมรมเพื่อนพิพิธภัณฑ์แห่งนครปฐม และเครือข่ายตลาดเก่าและตลาดน้ำ 
ผู้ช่วยโครงการส่งเสริมพัฒนา อปท.เพื่อแก้ปัญหาผู้ด้อยโอกาสทางสังคมโดยการสนับสนุนของสหภาพยุโรป 2555-2558
หัวหน้าโครงการเกี่ยวกับงานนักศึกษากับประชาธิปไตย พ.ศ.2552-2553 ทุนจากสภาพัฒนาการเมือง ภาคพลเมือง

ครู โรงเรียน ยอแซฟ จังหวัดพิจิตร
เจ้าหน้าที่พิเศษ โครงการย้อนรอยอดีตจิตรกรรมวัดอุโมงค์
นักเขียนอิสระ ผู้ร่วมก่อตั้งสำนักพิมพ์ลานนา อินดี้ มีเดีย
(งานเขียนในวารสารทำมือด้วย)
วาดภาพงาน Reproduction คือการเลียนแบบ ของเดิม เพื่อร่วมฝาก               ขายงานร้านเพื่อนในไนท์บาร์ซ่า เชียงใหม่
พนักงานงานหนังสือ“มติชน แฮปปี้ บุ๊คเดย์” ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ๒๕๔๗
ร่วมจัดกิจกรรมคอนเสริต์ นิโคล โบ สุนิตา คริสติน่า.โบ-จ๊อยซ์(เนื่องจากอรรคพล เคยเป็นนักร้องในโรงเรียนสนใจด้านนี้)
ทีมงานจัดแสดงฟ้อนรำ ที่ห้างเซ็นทรัล กาดสวนแก้ว 
แคชเชียร์ และเด็กเสริฟ์ 
ร่วมเรียนรู้ร่วมแต้มสีนิดเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง ณ อุโบสถ วัดดอยสะเก็ต
ร่วมจัดรายการวิทยุชุมชน

รับจ้างถ่ายรูป
รับจ้างทั่วไป
รับจ้างพิมพ์งาน
รับจ้างถอดเทป
ทีมงานLet's go show
ทีมงานนิตยสารPost Happiness,Mad-Men
กองบก.จุลสารเสมอภาค ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - มิถุนายน 2551
ผลงานเขียนในนิตยสาร คนมีสี ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็นนิตยสาร Vote
คอลัมภ์นิสต์ประจำนิตยสารVote สามปี และนิตยสารเนชั่น สุดสัปดาห์หนึ่งปี
(คอลัมภ์นิสต์ ย่อมมีงานเขียนจำนวนมาก)
ผู้สื่อข่าวอิสระ สำนักข่าวประชาไท
(บทความเผยแพร่ในประชาไทจำนวนมาก และบทสัมภาษณ์นักวิชาการต่างๆจำนวนพอสมควรกับงานเขียนข่าว)

คอลัมนิสต์บล็อกกาซีน สำนักข่าวประชาไท
(งานเขียนจำนวนหนึ่งในคอลัมนิสต์เขียนสองคนใช้นามปากกา เขียนงานร่วมกัน)
อาจารย์พิเศษวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะภาคเหนือ วิชาศิลปะวัฒนธรรมอาเซียนกับวาดเส้นทัศนศิลป์ กับศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
อาจารย์พิเศษวิชาไทยศึกษา (Thai Studies) สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี หัวข้อ พัฒนาการสิ่งแวดล้อมไทย กับหัวข้อพัฒนาการเศรษฐกิจไทย
ทีมงานพัฒนาออกแบบสินค้าOTOPให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย
ทีมงานจัดงานแสดงดนตรีชาติพันธุ์ ให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย
ผู้ค้นข้อมูลและทำแผนที่ภาพวาดประกอบให้อ.ไชยันต์ รัชชกูล สำหรับหนังสือ

อาณานิคมสมบูรณาญาสิทธิราชย์: การก่อรูปรัฐไทยสมัยใหม่จากศักดินานิยมสู่ทุนนิยมรอบนอก(แต่ผลงานไม่ได้เผยแพร่) 

พ.ศ.2556 สมาชิกสมาคมส่งเสริมสิทธิแรงงาน ต่อมาเลขาสมาคมส่งเสริมสิทธิแรงงาน

การฝึกอบรม
การอบรมเตรียมความพร้อมทางอาชีพ
การทำสื่อในสถานการณ์ขัดแย้ง
การอบรมทำหนังสั้น
อบรมการแปลข่าว สารคดี งานวรรรณกรรมและวิชาการโดยภัควดี วีระภาสพงษ์ และพิภพ อุดมอิทธิพงศ์
อบรมเชิงปฏิบัติการอ่านบทกวี กับนักเขียน นักแปล ชาวไทยกับชาวต่างชาติ

การฝึกงาน

ฝึกใช้โปรแกรม Final Cut Pro กับผู้กำกับภาพยนตร์

            
กิจกรรม
ร่วมกลุุ่มหนามเตย ทำหนังสั้นกับเด็กปี2544 ในกลุ่มละครพระจันทร์พเนจร
โครงการนิทรรศการ เสวนาแบบบูรณาการระหว่าง วรรณกรรมกับศิลปะ “การอ่านจากภาพตะวันตกกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ชื่อ อ่านจากภาพ โดยงานแลกเปลี่ยนทัศนะทางด้านมุมมองทางศิลปวัฒนธรรมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีอิทธิพลจากศิลปะ วัฒนธรรมตะวันตก

จากทั้งทางประวัติศาสตร์ศิลป์ งานศิลปะและวรรณกรรม รวมถึงปัจจุบัน ณ บริเวณ ร้าน Open space(ร้านในอดีตของผมเอง) หลังมช. วันที่ 22 ม.ค.พ.ศ.2548 เวลา12.30 น.เป็นต้นไป แล้วเปลี่ยนเป็น ณ ห้องFB1305 คณะวิจิตรศิลป์ มช. เวลา17.30 น.เป็นต้นไป (นำเสนอหนังสือโลกในมือนักอ่าน A HISTORY OF READING.ด้วย)
http://www.manager.co.th/Campus/Nodrink/listComment.aspx?ID=68519


ภาพถ่าย+งานเขียนเรื่องสั้นกับงานศิลปะAbstract-Expressionist-Conceptual ออกแนวจิตวิญญาณตะวันออก ตอนแสดงงานร่วมกับศิลปินหลายคน ที่พิพิธภัณฑ์เชียงใหม่ ปี47 ลงนสพ.โพสต์ทูเดย์ ฉบับ 5กพ 48

ร่วมแสดงผลงานบทกวีกับภาพถ่ายของชมรมวรรณศิลป์ มช. ฯลฯ

ร่วมเป็นกรรมการตัดสินวาดภาพวันเด็ก ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ 

ผู้เขียนให้ข้อมูลป้ายแบนเนอร์สำหรับจัดแสดงนิทรรศการเคลื่อนที่เนื้อหาการจัดแสดงประวัติศาสตร์แรงงานให้พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย
ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมต่อสู้กรรมกรจีนเชียงใหม่

การต่อสู้สามประสานของกรรมกร ชาวนา นักศึกษาในเชียงใหม่
แอดมินเพจเครือข่ายแรงงานภาคเหนือ

You Me We Us 
นิทรรศการออนไลน์เรื่อง "เรา" กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทยที่ชวนคุณคลุกคลีผู้คนหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ ผ่านเรื่องราวหลากแง่มุมชีวิต ทั้งเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวัน อุปสรรคที่เผชิญ ไปจนถึงวิถีที่มีเอกลักษณ์ที่คุณอาจไม่เคยได้ยินที่ไหน 
ผลงานถูกทิ้ง l You Me We Us โดย: อรรคพล สาตุ้ม
ผลงานTwo Tales of the Environmentส่งประกวดร่วมงานของ31st Festival Les Instants Vidéo November 2018 – Marseilles
ผลงานเสียงที่หายไปในประเทศไทย /Lost Soundเป็นวิดิโอส่งประกวดที่สเปนเทศกาลCinemaremagnum   2019
ผลงานThe Dream Before/ฝันก่อน เป็นวิดิโอส่งประกวดที่สเปนเทศกาล Cinemaremagnum 2020

ร่วมทำนโยบายด้านแรงงาน เสนอพรรคเพื่อไทย พ.ศ.2564-2565

ความสนใจด้านภาษา
ภาษาอังกฤษ ภาษาพม่าเคยเรียน และภาษาจีนเคยเรียนด้วย การเรียนภาษาด้วยตนเอง คือ ภาษาลาว(สนใจพอสมควร)ภาษาล้านนา (สนใจน้อย) ภาษาญี่ปุ่น(สนใจน้อย) ภาษาเวียดนาม(สนใจน้อย) ภาษาชาติพันธุ์(สนใจน้อย) ภาษาฝรั่งเศส(สนใจน้อย) เยอรมัน(สนใจน้อย) ภาษารัสเซีย(สนใจน้อย) ฯลฯ