วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

การสะสมความทรงจำ วันสำคัญ ในหลายประเทศอาเซียน อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไทย และขายหนังสือ(ฯลฯ)

2 กันยา
ขายหนังสือ ใครเอาเงินฉันไป? ราคา 100บ. ก้าวสู่อาชีพนักเขียน 5oบ.(จริงหรือนักเขียนมีรายได้ไม่จำกัดไม่ไส้แห้ง เดือนนึงได้เป็นหมื่นบ.) เบื้องหลังการเขียนเรื่องสั้นฯ 50บ.นิยาย”จำพราก”60บ. นิยายร้อยหิว 60บ. ประวัติศาสตร์ชาวนา ขาย 90บ.วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง “วิวาทะว่าด้วยรัฐไทย”ขาย 100บ.(น่าจะเป็นเล่มหายากแล้ว) วารสารฟ้าเดียวกัน “นิติรัฐ” ลดจากปกเหลือ 100บ.Transborder Issuesฯราคา 70บ. พจนานุกรมฯ ราคา 60บ. เล่มที่เคยโพสต์แล้วราคาเท่าเดิมเอารูปมาโชว์ซ้ำบ้างหรือดูลิ๊งค์เก่า ได้


2.2
การสะสมความทรงจำ วันสำคัญ
วันนี้ในอดีต2 กันยายน วันชาติเวียดนาม พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) -โฮจิมินห์ ประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม (เวียดนามเหนือ) ซึ่งมรดกแนวทางการต่อสู้พลังชาตินิยมในเวียดนาม มีนักชาตินิยม แนวทางซุนยัดเซ็น ต่อมาโฮจิมินห์ แนวทางพรรคคอมมิวนิสต์ ที่มีเครือข่ายในอินโดจีน และไทย (อย่างที่ผมเคยเล่าว่าที่จ.พิจิตร มีที่พักลุงโฮ)
แต่สหรัฐอเมริกา(มายุ่มย่ามต่อจากฟิลิปปินส์ภายใต้การปกครองของสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2441-2489 และแล้วนำไปสู่สงครามเวียดนาม สงครามอเมริกา หรือสงครามอินโดจีน)และชาวเวียดนามในภาคใต้บางส่วนไม่ต้องการรวมตัวกับรัฐบาลของโฮจิมินห์ ซึ่งต่อมาหลังจากการรวมประเทศใช้ชื่อว่าสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม(โดย2 กันยายน วันชาติเวียดนาม และโฮจิมินห์ เสียชีวิตวันนี้)
เนื่องจากผมไม่มีเวลาเขียนยาวจะเล่าเรียบเรียงเขียนขึ้นใหม่เองย่อๆ บทเทวดาแห่งประวัติศาสตร์ อ.เบน ได้ฉายภาพยอกย้อนข้ามเวลาในชื่อเวียดนาม จากเดิมชื่ออันนัม กลับมารับชื่อจากจีนเวียดนาม และมรดกของการต่อสู้ สงครามเวียดนาม กับกัมพูชา ที่รับมรดกชาตินิยม(จากรัสเซียหรือจีน) ก็เหมือนเจ้าของคฤหาสน์หนีไปแล้ว แต่รัฐก็เข้ามาดูแลระบบไฟฟ้าในคฤหาสน์ ให้คนที่เข้ามาอยู่ใหม่ คือ ผู้นำ(เปรียบเทียบกับระบอบซูฮาร์โตในอินโดนีเซีย) แน่ละการสร้างชาติ และมรดกของชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อผู้นำ ยังมีอยู่ในปัจจุบัน(*)
ดังนั้น รัฐไทย(**) และระบอบทักษิณ ได้รับมรดกชาตินิยมมาแล้วระบอบทักษิณ ยังอยู่มีมรดกอย่างที่เคยกล่าวมาต่อเนื่องก่อนหน้าภาพของระบอบทักษิณแก่นใจความสำคัญ อยู่ที่การเลือกตั้งเป็นส่วนองค์ประกอบหนึ่ง และมรดกระบอบทักษิณ(ชาตินิยม)และทักษิโณมิกส์(***) ในยุคโลกาภิวัตน์ สะสมยุทธศาสตร์สำหรับโครงการเปลี่ยนประเทศไทย สะสมความทรงจำ และผมได้ทบทวนความทรงจำวันนี้ในอดีต(****) ส่วนตัวผมไว้อีกด้วย
*ดูงานเขียน Wang Gungwu edited. Nation-Building Five Southeast Asian Histories. Singapore, Institute of Southeast Asian Studies 2005. นี้ มีทั้งWang Gungwu และCraig J. Reynolds(Nation and State in Histories of Nation-Building, with Special Reference to Thailandกล่าวถึงสร้างชาติไทยยังไม่สิ้นสุด ดูเพิ่มเติมได้ทางเน็ต) และคนอื่นๆ ที่เขียนเป็นคนดัง เช่น Anthony Reid เขียนถึงอินโด) กรณีคนดังในเล่มนี้ ที่ผมได้ไอเดีย คือ wang gungwu ในnation and heritage.(บริบทกว้างขวางยาวนาน อ้างถึงกรณีตัวอย่างมาเลเซียโดยผู้นำดร.มหาเธร์ ที่ผมเล่าต่อเท่าที่รู้ๆกันว่ามหาเธร์ เป็นนายกรัฐมนตรีที่อยู่ในตำแหน่งที่นานที่สุดของ มาเลเซีย ตอนนี้อายุ92 ปี และยกตัวอย่างที่กล่าวมาแล้วผู้นำอาเซียนว่ามาจากการเลือกตั้ง เช่น มารกอส,ซูฮาร์โต)
**ดูเพิ่มเติมงานเขียนวิวาทะว่าด้วยรัฐไทย ดูหน้าปกวารสารฯที่ผมประกาศขายไว้ได้
ดูงานอ.เบน เรื่องรัฐไทยฯ ผมเคยเขียนถึงแล้ว

“Studies of the Thai State: The State of Thai Studies” (1979)
http://www.sameskybooks.net/books/studies-thai-state/
***การสะสมความทรงจำ วันสำคัญ

การสะสมความทรงจำ วันสำคัญ
(ขายหนังสือชุมชนจินตกรรมฯ และVIETNAM’S EDUCATION ฯ ราคา 150บาท Vietnamese villagesฯ ราคา 150 บาท ถ้าซื้อสองเล่มควบลดเหลือ200 บาท ตอนนั้นผมซื้อจากการเดินทางไปที่เวียดนาม )

เกษียร เตชะพีระ : “ระบอบทักษิณ” คืออะไร?
https://www.isranews.org/isranews/25523-09282.html
ดูเพิ่มเติม วารสารฟ้าเดียวกัน ในโครงการเปลี่ยนประเทศไทย ฉบับเดียวกันมีประเด็นระบอบทักษิณ มีเรื่องมรดกรายงานคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ: ข้อเสนอเพื่อการเปลี่ยนประเทศในบริบทความขัดแย้งของโลกสมัยใหม่ ฟ้าเดียวกัน; 4, 3 (ก.ค.-ก.ย. 2549) ที่อ.เบน บอกระยะยาวเสนอแยกพุทธออกจากรัฐ
http://www.sameskybooks.net/journal-store/04-3/
ไทยศึกษากับการศึกษารัฐไทยในศตวรรษที่ 21-ไชยันต์ รัชชกูล(อ้างอ.เบนด้วยตอนก่อนจบ และอ.เกษียร ร่วมแลกเปลี่ยนอ้างไมเคิล ไรท์ด้วย)

****https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1392953310733893&set=a.103468286349075.7792.100000577118415&type=3&theater


(ภาพประกอบผมสองรูป ตอนไปเวียดนาม ใส่หมวกแบบเวียดนาม มีถือกล้องวิดิโอ ซึ่งปัจจุบันเทปไม่รู้เสียหรือยัง? กล้องด้วย และภาพที่มีสัญลักษณ์ หิน ต่อมารุ่นพี่คนญี่ปุ่นดูรูปบอกดูดีๆอาจจะเคยโพสต์ภาพนี้แล้วพ่วงภาพหนังสือที่ประกาศขายด้วยเก่าเล่าใหม่ฮร่าๆ)
กภาพถ่ายที่ฮาเตียนการเดินทางเคยเขียนเป็นบทความสารคดีการเดินทาง มีถูกอ้างในหนทางนี้…ที่เลือกเดิน(จาก สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงแหล่งวัฒนธรรมเวียดนามใต้ โดย อรรคพล สาตุ้ม,http://www.mekongcenter.net/vietnamboy.htm)
คนเขียนเชื่อมโยงกับเกษตรกรพิจิตร
https://prachatai.com/journal/2005/07/21248
นี่เป็นหมุดหมายไม่หายไปจากความทรงจำของผม
15.2
ขายหนังสือ
วันนี้ในอดีต 15 กันยายน พ.ศ. 2433 (ค.ศ. 1890) – วันเกิด อกาทา คริสตี นักประพันธ์ชาวอังกฤษ (ถึงแก่กรรม 12 มกราคม พ.ศ. 2519 มีหนังสือของอกาทา คริสตี้ ขายราคา 50 บ. ร่วมกับหนังสือจากเชียงของถึงเชียงรุ้งฯ70บ. ,สองนักคราประชาธิปไตย80บ.,อ่านและสอนที่จอห์นส์ ฮอปกิ้นฯ80บ.,new left review 90บ….ช่วงนี้หลายเรื่องหลายเวลาผ่านไปหยุดพักเขียนเฟซฯ ธุระงาน ออกเดินทางต่างจังหวัดด้วยฯลฯ ก็ยังอาจจะหยุดใช้เฟซอีก ถ้าไม่มีเวลาเขียน ก็เผื่อจะไปทำธุระแล้วรวย ในหนังสือที่ขายคราวที่แล้ว เช่น หนังสือใครเอาเงินฉันไป? บอกวิธีทำงานทำเงินสิบหมื่นเป็นสิบล้านในสิบปี ส่วนผมเผื่อจะเป็นอายุน้อยร้อยล้าน 555 ครับ
15.4
อัศนี หรือนายผี กับอุตตรกุรุทวีป ในไตรภูมิ และมรดกนายผีในปัจจุบัน
วันนี้ในอดีตเป็นวันเกิด15 กันยายน พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) – อัศนี พลจันทร กวี (ถึงแก่กรรม 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530) โดยเขาเกิดในช่วงสมัยรัชกาลที่6 ที่มีทำแผนที่สมัยใหม่เปลี่ยนจากแผนที่ไตรภูมิสู่การปฏิรูปสืบต่อจากรัชกาลที่ 5 ทรงยก “เมือง” ขึ้นเป็น “จังหวัด” นั้น (เชียงใหม่ถูกผนวกรวม แม้ว่าเชียงใหม่ มีคำว่าใหม่เป็นชื่อสืบทอดเมืองเก่า เหมือนความหมายชื่อโกตาบารู รัฐกลันตัน ในมาเลเซีย) ซึ่งกระบวนการการสร้างสำนึกของชาติยังไม่สิ้นสุด(อุปมาละครทีวีรากนครา) ถึงรัชกาลที่ 6 เกิดปัญหาในปี พ.ศ.2455 คือ กบฏ ร.ศ.130 และในปี พ.ศ.2458 (ห่างกัน 5 ปี) โปรดให้รวบรวมมณฑลต่างๆ ออกรวมเป็น 4 ภาค คือ ปักษ์ใต้ พายัพ อีสาน และอยุธยา
ส่วนกรุงเทพมหานครนั้นเป็นอีกมณฑลหนึ่งต่างหาก ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของรัฐราชสมบัติสยาม ในขณะนั้น ก็ต้องเผชิญความเปลี่ยนแปลง และการท้าทายอย่างใหม่ โดยกระแสความคิดทางการเมืองการปกครอง และลัทธิสังคมเศรษฐกิจ เช่น คอนสติติวชั่น ปาลิเมนต์ (กรณีเทคโนโลยีการพิมพ์หนังสือ สมัยรัชกาลที่ 5 มีคนอย่างเทียนวรรณ เป็นต้น) ความคิดแบบเก๊กเหม็ง รีปับลิก อานาคิช โสเชียลิสต์ ฯลฯ สะพัดอยู่ในหมู่ชนชั้นกลางทั้งในและนอกราชการ อันเป็นชนชั้นนักอ่าน นักเขียน นักแปลในสยาม เกินขอบเขตพระราชอำนาจสมบูรณ์ทางทฤษฎี
ทว่าถูกจำกัดในทางปฏิบัติจากสิทธิสภาพนอกเขตของฝรั่ง และระบบราชการสมัยใหม่ ซึ่งเติบโตพร้อมกับทุนจีนเสรี ต่างๆ ในสถานการณ์นั้น รัชกาลที่ 6 ทรงพระนิพนธ์ ยิวแห่งบุรพทิศ (ซึ่งมีผลกระทบต่ออัตลักษณ์จีนสยาม) และอุตตรกุรุ : ดินแดนอัศจรรย์ของเอเชีย คือ รัชกาลที่ ๖ ทรงเปรียบเทียบแนวคิด ยูโทเปีย และลัทธิโซเชียลิสต์สมัยใหม่ โดยเปรียบว่า สิ่งนั้นมีอยู่ในไตรภูมิ-อุตรกุรุทวีป-ยุคพระศรีอาริย์ และดุสิตธานีเป็นเมืองทดลองประชาธิปไตย ฯลฯ เป็นต้น(*)
จนกระทั่งหลังยุครัชกาลที่ 6 ได้มีการวิวาทะขึ้นของอุตตรกุรุทวีปในไตรภูมิโดยนายผีหรืออัศนี พลจันทร์ ( เกษียร เตชะพีระ 2536:188-190) ผู้เขียนบทกวีเกี่ยวกับน้ำของ ก็ปรับใช้ความคิดไตรภูมิ อธิบายในการเข้าถึงอุตตรกุรุทวีป-ยุคพระศรีอาริย์ แบบมารก์ซิสม์ (หรือยุคปัจจุบันก็มีการใช้แนวคิดรื้อสร้างในไตรภูมิ) และจะเห็นได้ว่าความรู้ ความคิดจากคติจักรวาลไตรภูมิ เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมทางการเมือง และ ศิลปวัฒนธรรมในยุคจากสยามกลายเป็นไทย(**)
ดังนั้น ภาพสะท้อนอดีตอิทธิพล “แนวคิด” คติจักรวาลในไตรภูมิ แพร่กระจายไปทั่วทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ต่อมาอิทธิพลมาร์กซิสม์ จากจีนถึงเวียดนาม(***) ได้แพร่กระจายมาด้วย อันผสมผสานกับแนวคิดท้องถิ่นไทยๆ สะท้อนมนุษย์ในวงเวียนกรรมเวียนว่ายตายเกิด อาจจะเป็นสัตว์ ในแต่ละชาติภพ ก่อนเปลี่ยนพรมแดนความรู้เป็นแผนที่สมัยใหม่ในรัฐชาติไทย
แต่อย่าลืมต่อสู้เพื่อให้ได้มาดินแดนแฮปปี้แลนด์ไม่ใช่ผีเมืองเชียงใหม่(****) หรือดินแดนผี ที่นายผีหรืออัศนี พลจันทร์ ได้ให้มรดกไว้เขียนบันทึกเรื่องอุตตรกุรุทวีป และการค้นหาขุมทรัพย์ตามรูปบทความ สะท้อนสองประสาน นักศึกษา กรรมกร ก่อนมีสามประสานชาวนา กรรมกร นักศึกษาหรือปัญญาชน เป็นมรดกสู่ปัจจุบันด้วย
*ย้อนดูภาพยนตร์ “พระเจ้าช้างเผือก” สงคราม สันติภาพ และชาตินิยม (ตอนที่ 1)
https://prachatai.com/journal/2007/12/15265
**การเปลี่ยนแปลงพรมแดนความรู้ : คติทางศิลปะ-ภูมิสถาปัตยกรรม ของวัดสองฝั่งโขง
https://prachatai.com/journal/2007/06/12967
***ดูเพิ่มเติมCommodifying Marxism: The Formation of Modern Thai Radical Culture, 1927-1958
https://www.amazon.co.uk/Commodifying-Marxism-Formation-Radical-1927-1958/dp/1876843985
การสะสมความทรงจำ วันสำคัญ

****งานเขียนน่าสนใจดูเพิ่มเติมGhosts of the New City: Spirits, Urbanity, and the Ruins of Progress in Chiang Mai (Southeast Asia: Politics, Meaning, and Memory)
https://www.amazon.com/Ghosts-New-City-Urbanity-Southeast/dp/0824839714
(ภาพประกอบบทความของนายผี)
Cherdchai Prasertsung ขอไปกระจายน่ะครับ
ยินดีที่คุณCherdchai สนใจ ผมคิดเพิ่มเติมเรื่องนายผี หรือศรีอินทรายุทธ ผ่านชาติไทยปีนี้มีคนเขียนเรื่อง“100 ปี นายผี”ด้วย กรณีเรื่องอัศนี พลจันทร์ กับ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เดิมเรียก พรรคคอมมิวนิสต์สยาม เริ่มก่อตั้งโดยโฮจิมินห์ ชาวเวียดนาม ใช้นามแฝงว่า สหายซุง …We have a secret weapon…it is called Nationalism
Ho Chi Minh
http://www.azquotes.com/quote/1138195
นอกเรื่องหน่อยผมอยากทำสารคดีชีวิตธง แจ่มศรี อดีตเลขาพคท. ซึ่งจริงๆ แล้วผมไม่เคยเจอธง แจ่มศรี ที่เกิดที่พิจิตรชาวไทยเชื้อสายเวียดนามเลย
15.5
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไทย กับวันประชาธิปไตยสากล
เมื่ออนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไทย สร้างก่อน15 กันยายน ที่เกิดวันประชาธิปไตยสากล – สหประชาชาติ โดยความเป็นมากันยายน ค.ศ. 1997 สหภาพระหว่างรัฐสภา (IPU) ได้ประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยประชาธิปไตย ซึ่งได้ให้การรับรองหลักการของประชาธิปไตย ทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ และให้ความสนใจของนานาประเทศในระบอบประชาธิปไตย
ที่ประชุมนานาชาติเกี่ยวกับประชาธิปไตยใหม่และได้รับการฟื้นฟู (ICNRD) เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1988 โดยในตอนเริ่มแรกนั้น ได้ใช้เป็นที่ประชุมระหว่างรัฐบาล ที่ประชุมดังกล่าวได้พัฒนาโครงสร้างสามฝ่าย อันประกอบด้วย รัฐบาล รัฐสภาและองค์การภาคประชาชน การประชุมครั้งที่หก ซึ่งจัดขึ้นในกาตาร์ ในปี ค.ศ. 2006 ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญและหลักการดังกล่าว และยังได้มีการออกแผนปฏิบัติงานเพื่อแสดงให้เห็นถึงรูปแบบการปกครองและคุณค่าของระบอบประชาธิปไตยอย่างลึกซึ้ง
ผลสืบเนื่องมาจากการประชุมดังกล่าว บอร์ดให้การแนะนำถูกจัดตั้งขึ้นโดยผู้นำของกระบวนการดังกล่าว คือ กาตาร์ ซึ่งตัดสินใจเพื่อที่จะส่งเสริมวันประชาธิปไตยสากล โดยกาตาร์ได้เป็นผู้นำในการร่างเนื้อความในมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ และปรึกษาร่วมกันกับรัฐสมาชิกของสหประชาชาติ
IPU ได้เสนอให้เลือกวันที่ 15 กันยายนถูกเลือกให้เป็นวันประชาธิปไตยสากล และประชาคมระหว่างประเทศควรจะมีการจัดงานเฉลิมฉลองประจำปีเนื่องในวันประชาธิปไตยสากลดังกล่าว
วันประชาธิปไตยสากล (อังกฤษ: International Day of Democracy) เป็นแนวคิดของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ในปี ค.ศ. 2007 ซึ่งได้ตัดสินใจเลือกเอาวันที่ 15 กันยายน ของทุกปีให้เป็นวันประชาธิปไตยสากล และเชิญให้รัฐสมาชิกและองค์กรต่าง ๆ มาทำพิธีรำลึก ในความพยายามที่จะสร้างความตื่นตัวให้กับประชาชนในการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อารัมภกถาของมติดังกล่าว มีใจความว่า
“ขณะที่ประชาธิปไตยมีมาตรฐานอย่างเดียวกัน แต่ไม่มีรูปแบบหนึ่งเดียว ซึ่งประชาธิปไตยนั้นจะต้องไม่เป็นเพียงของรัฐใดรัฐหนึ่ง หรือพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเท่านั้น…
ประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่สูงส่ง อันตั้งอยู่บนพื้นฐานของการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีของประชาชน เพื่อที่จะตัดสินระบบทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และสามารถมีส่วนร่วมกับระบบการปกครองได้ในทุกขั้นตอนของชีวิต”(*)
แต่ประชาธิปไตยไทยๆ หรือประชาธิปไตยแบบไทย จะต้องเป็นมาตรฐานสากลได้ รู้จากอดีตร่วมกับเอเชียตามประกาศราชกิจจานุกเบกษาของการสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย(**) ที่มีครุฑกับนาค(***) อันเป็นปริศนาของอนุสาวรีย์ ที่มีการตีความหลายแบบทั้งอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยกับไตรภูมิ แต่ในที่สุดแล้ว รากฐานของมนุษย์ต้องเป็นประชาธิปไตยสากล ไม่ต้องทุบรูปปั้นครุฑกับนาคก็ได้ในปัจจุบันนี้
*วิกิพีเดีย
** รายงานการสร้างอนุสสาวรีย์ “ประชาธิปไตย” จากราชกิจจานุเบกษา เรียกข้อมูลวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2483/D/870.PDF
***ภาพประกอบจากหนังสือ และภาพอนุสาวรีย์ฯ ที่มีครุฑกับนาค การออกแบบโดยศิลป์ พีระศรี
16 กันยา
60ปี รัฐประหารจอมพลแปลก
วันนี้ในอดีต วันที่16 กันยายน พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) – จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก่อรัฐประหารยึดอำนาจจอมพล ป. พิบูลสงคราม และแต่งตั้งนายพจน์ สารสิน เป็นนายกรัฐมนตรี ย้อนทบทวนเรื่องจอมพลแปลก กันเถิดในบางแง่มุมยกตัวอย่างผ่านบริบทอดีต ซึ่งสมัยจอมพล ป.หรือจอมพลแปลก พิบูลสงคราม(เกิดสมัยรัชกาลที่5) ได้เกิดมีความริเริ่มเปลี่ยนแปลงสร้างสิ่งแปลกใหม่ให้กับสังคมไทย ยกตัวอย่างการเริ่มต้นเปิดสวนสัตว์ดุสิต รวมถึงความพยายามในการสร้างชาติไทยตามแนวอิทธิพลแบบคณะราษฎร เป็นต้น
โดยเหตุการณ์สำคัญอย่างหนึ่ง ก็คือความต้องการเปลี่ยนแปลงชื่อประเทศ ดังปรากฏในบันทึกการประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 8 พฤษภาคม ปี 2482 มีวาระเรื่อง “เปลี่ยนนามประเทศ” ซึ่งมีการวิเคราะห์กันว่าการที่หลวงวิจิตรวาทการอยู่เบื้องหลังเรื่องการเปลี่ยนชื่อประเทศให้เป็นลักษณะตามเชื้อชาตินั้น มีองค์ประกอบหรือเนื้อหาอย่างหนึ่งที่แยกไม่ออกก็คือ ลักษณะแอนตี้จีน และมีการวิเคราะห์ถึงเรื่อง ปัญหาของปัตตานี รวมถึงแผนรวมมหาอาณาจักรไทย โดยมีแผนที่ชนชาติไทยประกอบอยู่ด้วย ดังที่มีบันทึกในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีดังกล่าว
เหตุการณ์สำคัญต่อมาก็คือ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์สุดท้าย คือ พลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ ได้ถึงแก่พิราลัย (ซึ่งมีการสร้างศาลเจ้าจีนด้วย)ในวันที่ 3 มิถุนายน 2482 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ก่อนที่จะเปลี่ยนนามประเทศจากสยามเป็นไทย ในวันที่ 24 มิถุนายน และปีเดียวกันนี้เอง รัฐบาลได้เฉลิมฉลอง “วันชาติ” ให้เป็นวันหยุดราชการ และยังมีการดำเนินการหลายอย่าง เช่น มีการลงนามในสนธิสัญญาใหม่กับมหาอำนาจต่างประเทศ
โดยในมุมประเด็นชาตินิยม ก็มีเรื่องความคิด ความจริง อุดมการณ์ รวมถึงสิ่งที่เกี่ยวกับพลเมืองและการทหาร ซึ่งความคิดของรัฐแบบจอมพล ป. ที่มีต่อพลเมืองของรัฐนั้น เป็นรูปแบบของชีวการเมือง (bio politics) ที่รัฐได้ดำเนินนโยบายเพิ่มจำนวนประชากรสร้างชาติ โดยรัฐบงการชีวิตพลเมืองภายใต้อำนาจวิทยาศาสตร์ ความจริง ความรู้ของรัฐ
ฉะนั้น รัฐอาศัยวาทกรรมทางการแพทย์เข้าไปควบคุม/กำกับ/จัดการกับร่างกายของประชาชน แล้วสถาปนาความรู้ควบคุมพลเมือง ซึ่งถือเป็นการเสนอร่างกายแข็งแรง ที่รัฐต้องการอย่างมาก จึงเป็นกระบวนการ นำไปสู่การเปลี่ยนความคิดในการมองร่างกายของคน ให้หันมายอมรับร่างกายแข็งแรงแทนมองร่างกายในวัฒนธรรมเดิมของไทย ที่มองผ่านอุดมการณ์พุทธศาสนาว่าเป็นสิ่งไม่เที่ยง และบ่อเกิดแห่งทุกข์ตามไตรลักษณ์ แต่วิทยาศาสตร์การแพทย์มองมนุษย์แบบแยกส่วนเป็นกลไกทางชีววิทยาเท่านั้นเอง
อย่างไรก็ดี ความคิดของจอมพล ป. และกลุ่มคณะราษฎร หรือปรีดี ก็คงประเมินสถานการณ์ของสงครามโลก ในแนวทางคนละแบบไว้ โดยจอมพล ป. คงจะประเมินว่า ญี่ปุ่นจะชนะ โดยเข้าร่วมรบทำสงครามในพม่า ดังจะขอยกตัวอย่าง คือ กรณีบุกเชียงตุง สร้างสหรัถไทยเดิม และก็คล้ายกับกรณีอินโดจีน เชิญธงไตรรงค์ คือธงชาติขึ้นสู่ยอดเสา และสะพาน พ.ส. 2485 (ตามการสร้างภาษาแบบจอมพล ป.)แถบต้นน้ำของแม่น้ำปิง ซึ่งสะพานเชื่อมต่ออำเภอเชียงดาว กับอำเภอไชยปราการ ที่ติดกับอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ในปัจจุบันเขตติดต่อพม่า( ช่วงเกิดสงคราม ปรีดีเคยคิดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นในพม่าเขตปกครองของอังกฤษ) โดยยุคนั้น กองทัพไทย มีปักหลักอยู่ที่เชียงใหม่ ฯลฯ(*) ด้วย
ในที่สุด สงครามโลกครั้งที่สอง ถ้าอ่านประวัติศาสตร์แบบย่อๆ คือ อำนาจก็เปลี่ยนไปอยู่ที่ฝ่ายปรีดี(นายผี หรืออัศนี พลจันทร์ ศิษย์เก่ามธ.เคยเชียร์ปรีดี) และเหตุการณ์ต่อมาฝ่ายจอมพล แปลก ก็ยึดอำนาจฝ่ายปรีดี(การต่อสู้ฝ่ายปรีดีกรณีกบฎวังหลวงฯลฯ) แล้วครองอำนาจยาว จนกระทั่งเกิดปัญหาการเลือกตั้งของฝ่ายจอมพลแปลก และแล้ววันที่ 16 กันยายน ด้านหนึ่งแนวร่วมข้ามชนชั้นพรรคคอมมิวนิสต์ กับนักศึกษา หนุนสฤษดิ์ ขึ้นมา สำหรับอดีตนั้น ถ้าเป็นเทวดาแห่งประวัติศาสตร์(**) ซึ่งผมเขียนทบทวนอดีต(***)ชวนคิดปริศนาแห่งกาลเวลา ต่ออนาคตด้วย
*ย้อนดูภาพยนตร์ “พระเจ้าช้างเผือก”: สงคราม สันติภาพ และชาตินิยม” (ตอนที่ 2)
https://prachatai.com/journal/2008/01/15326
**ดูเพิ่มเติมหนังสือชุมชนจินตกรรมฯ
***การสะสมความทรงจำ วันสำคัญ

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไทย กับวันประชาธิปไตยสากล
อัศนี หรือนายผี กับอุตตรกุรุทวีป ในไตรภูมิ และมรดกนายผีในปัจจุบัน

(ภาพประกอบพระนารายณ์บรรทมสินธุ์บนพญานาคด้านหลัง ที่มีจอมพล แปลก ฯลฯ)
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3438.240

16.3
ขายหนังสือ
ภาพหนังสืองานศพ รงค์ เห็นว่าราคาอยู่ที่ ห้าหมื่นบาท ผมขายไม่ถึงราคานั้น ตกลงกันได้ ทั้งเล่มใหญ่เล่มเล็ก และภาพวารสารฟ้าเดียวกัน “ฉบับราคาแพง” ตอนนี้ว่ากันว่าร่ำลือเล่มดังว่าขายได้สี่พันบาทด้วย ตอนปี54 เห็นรุ่นน้องซื้อเล่มดังกล่าวราคาพันบาท(พอดีไม่ได้ ถ่ายภาพ) ภาพที่ถ่ายหนังสือโลกทัศน์ชาวไทยลานนา(รายงานผลการวิจัยต่อThe southeast Asian studies Program The Institute of Southeast Asian Studies, Singapore ) ราคา 40บาท เชิงอรรถจิตวิทยา 60บาท รู้จักตัวเอง 60บาท พินบอลของนักเขียนดังอย่างฮารูกิ มูราคามิ 7oบ. พุทธสันติวิธีเชิงโครงสร้าง 60บ. นิทเช่ ฉบับการ์ตูน 100บ.Theory of the symbol 90บ. นั่นแหละ หนังสือหลายเล่ม และผมโพสต์หลายเรื่องด้วยกัน บางภาพ บางเรื่องยังไม่มีเวลาเขียน วันนี้มีเวลาเขียนเผยแพร่ก็โพสต์หลายอันละกัน ครับ
20.2
20ก.ย.49, ปิดฉากตำนานเทพยากรณ์ หมอดูอีที มีท้าพิสูจน์อนาคต
วันนี้ในอดีตกลุ่มพันธมิตรฯนัดชุมนุมใหญ่วันที่ 20 กันยายน 2549 จะนัดรวมกันที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย(กปปส.ก็เคยใช้ที่นี่ชุมนุม) แต่เกิดรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ในคืนวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ย้อนทบทวนสมัยก่อนรัฐประหาร ซึ่งผมเคยเขียนบทความเกี่ยวกับการชุมนุมก่อนหน้า รัฐประหาร กับก่อนและหลัง19กันยา 49 เมื่อ10ปีผ่านไป (*) ก็จริงๆมีรายละเอียดเล่าจะยาว และบางภาพที่ผมเคยเผยแพร่ ก่อนหน้านี้ไม่เคยเขียนเพิ่มนิดๆในขบวนคนชุมนุมวันนั้นผมไม่ได้หลับเลยนั่งอยู่ที่เวทียาวกับรุ่นพี่คนหนึ่ง เจอเพื่อนชวนให้เป็นการ์ด อีกเล่าสั้นๆ ในความทรงจำ ต่อมารุ่งเช้าร่วมเดินขบวน ผมก็เจอกลุ่มพรรคแนวร่วมภาคประชาชน ซึ่งเล่าสั้นๆ หลังเหตุการณ์ผ่านไป11ปี
แต่ทบทวน.สัญลักษณ์สมุดไทย ที่สื่อถึงรัฐธรรมนูญประดิษฐานบนพานแว่นฟ้าของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ก่อนและหลัง 19 กันยา 2549 ย้อนดูผมเคยเขียนถึงการอ้างเปรียบเทียบเรื่องdeja vu ทักษิณ กรณีจอมพลป.พิบูล-เผ่า VS สฤษดิ์ และผมเขียนเรื่อง60ปีรัฐประหารจอมพลป.ไปแล้ว (**) ซึ่งเรารับรู้ว่า ความเป็นมาลำดับเรื่องราวของ “ม็อบมีเส้น” อย่างม็อบพันธมิตรฯ และเกิดเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยา 2549 โดยเหตุว่าวันที่ 20 ก.ย. จะมีกลุ่มพันธมิตรมาจำนวนมาก ภายหลัง พลเอกสนธิ ให้สัมภาษณ์ครั้งหนึ่งว่า เดิมวางแผนให้ดำเนินรัฐประหารในวันที่ 20 กันยายน เพื่อให้ตรงกับการเดินขบวนต่อต้านรัฐบาลครั้งใหญ่ที่กำหนดแล้ว เขาอ้างถึง “ตัวอย่างที่เกิดขึ้นในโปรตุเกส” ซึ่งมีการเดินขบวนต่อต้านรัฐบาล พร้อมกับรัฐประหารโดยกองทัพ ซึ่งโค่นล้มพระเจ้ามานูเอลที่ 2 แห่งโปรตุเกส(หรือการเปรียบการรัฐประหารนี้ว่า คือ การปฏิวัติคาร์เนชั่น (Carnation Revolution) ที่เมืองลิสบอล (Lisbon) ประเทศโปรตุเกส)
ต่อมารัฐธรรมนูญฉบับ 2540 ถูกฉีกทิ้ง ทหารจัดตั้งรัฐบาลขึ้นมาเอง สัญลักษณ์รัฐธรมนูญตามภาพอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไทย(***) โดยผมจับประเด็นใหม่ 20 ก.ย.49 มานำเสนอผ่าน ใน กรณีปิดฉากตำนานเทพยากรณ์ หมอดูอีทีอีกด้วย
เมื่อหลักการวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ได้หายไป นั่นคือ อำนาจของโหรต่อสื่อความเชื่อที่จะมีต่ออนาคตอย่างที่ผมเคยเขียนไว้มาก่อนหน้าแล้ว(****) แต่กรณีปิดฉากหมอดูอีที มีพลังจิต ตำนานเทพยากรณ์ (*****) กล่าวถึงทักษิณ 19 กันยา หรือ“มาร์คจะกลับมาเป็นนายกฯ อีกครั้งในปี 2016” หลังรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หมดวาระ แต่จนแล้วจนรอด เอาเข้าจริง ปัจจุบัน คสช. ก็ยังอยู่ และการเลือกตั้งก็ยังไม่เกิด เรื่องอย่างนี้ไม่เชื่อก็อย่าลบหลู่ หมอดูก็ยังต้องคู่กับหมอเดา ก็มีคนเคยจับผิดได้ว่ามีทำนายผิด (ยกตัวอย่างโหรคมช.******)
อย่างไรก็ตาม การเขียนขนาดสั้นให้เห็นใจความสำคัญ คือ นี่เป็นยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งสื่อข่าวสารสามารถหาข้อมูลทางเน็ตได้สะดวกง่ายดาย เสียดายความเชื่อไม่เปลี่ยนกันง่ายตามเทคโนโลยี ซึ่งมองในแง่ดีและร้ายอย่างสมดุล ผ่านอำนาจความเชื่อพร้อมความศรัทธาในเรื่องความยุติธรรมของสังคม ตามภาพประกอบเทวดา(หรือเทพ) ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สะท้อนมองผ่านประวัติศาสตร์ และชะตากรรมภาพรวมของประชาธิปไตยไทย ให้พิสูจน์อนาคต
*ก่อนและหลัง19กันยา 49 เมื่อ10ปีผ่านไป

นั่งสมาธิ ณ สนามหลวง
http://akkaphon.blogspot.com/2010/11/blog-post.html
(วันนี้ในอดีต20 กันยายน วันเยาวชนแห่งชาติ วันอนุรักษ์รักษาคูคลองแห่งชาติ และวันรัฐวิสาหกิจไทย)
** 26 มีนา 2520 หรือ 26 มีนา 2552: ผลกระทบของผีเสื้อ-กระแสแดงทั่วแผ่นดิน
https://prachatai.com/journal/2009/05/23918
60ปี รัฐประหารจอมพลแปลก
***ปัญหารัฐธรรมนูญ 2550: นิยายและความจริง ในภาพสะท้อนเราใกล้ชิดเส้นชัย
http://akkaphon.blogspot.com/2011/01/2550_02.html
(รัฐธรรมนูญ ถูกอุปมากระดาษทำลายง่าย )
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไทย กับวันประชาธิปไตยสากล

****วงเวียน 22 กรกฎาคม,สึนามิ,ภัยพิบัติ และดวงเมืองไทย

*****ในประเทศ : ปิดฉากหมอดูอีที โหรเบื้องหลังการเมืองไทย-เมียนมา แม่น & มั่ว ปี “61 มีเลือกตั้งหรือไม่?”
https://www.matichonweekly.com/column/article_54474
พรสวรรค์ที่แลกด้วยชีวิต! ตำนานเทพยากรณ์ “หมอดูอีที”
http://news.sanook.com/3476722/
(หมอดูเคยเล่ามีแม่เป็นเทวดามาบอกคำทำนาย)
เปิดคำทำนายสุดท้าย “หมอดูอีที” ก่อนสิ้นใจ! ไม่มีเรื่องสงครามโลก แต่พูดถึงเรื่อง..
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_505042
******ย้อนดูคำทำนาย”โหรวารินทร์” เรื่องไหนแม่น เรื่องไหนแป๊ก
https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1428388460
ที่มา : มติชนออนไลน์
http://thaienews.blogspot.com/2015/04/blog-post_78.html
(ค้นเพิ่มเติม ยกตัวอย่างข่าวโหรฟันธงบิ๊กป้อมหลุดเก้าอี้ บิ๊กตู่นั่งนายกฯยาวถึงปี ’61)
โหรวารินทร์ แม่นจริงหรือ เคยทายผิดบ้างไหม ฉายาโหร คมช.ได้มายังไง?
https://pantip.com/topic/32802724
(ภาพประกอบจากวิกิพีเดีย:รูปคุณค่า ที่มีเทวดาอยู่จุดกึ่งกลางอย่างสมดุล มือเทวดาถือพระขรรค์ เป็นของมีคมสะท้อนอำนาจ และตราชั่ง สัญลักษณ์ความยุติธรรม มีภาพเยาวชนของชาติได้รับการศึกษาตามประชาธิปไตยฯลฯ)
ส่วนภาพเห็นงูหรือนาค และภาพที่มีรถถัง(รูปการต่อสู้) ทำให้ผมทบทวนอดีตที่เขียนงานศิลปะของภาพ : วันวาร…ราวรถถังสถาพร
https://blogazine.pub/column-archives/node/1824
25 กันยา
บรูไน สี่รัฐมาลัย(รัฐกลันตัน ฯลฯ) สหรัฐไทยเดิม(เชียงตุง ฯลฯ) ติมอร์
เมื่อวานในอดีต 24 กันยายน เจมส์ บรุค ได้ดินแดนจากสุลต่านบูรไน นี่เป็นการเปิดประเด็นประวัติศาสตร์ผ่านภาพแผนที่อดีต เน้นมากกรณีญี่ปุ่น ช่วงสงครามโลกครั้งที่2 ต่อมาอาเซียนในปัจจุบัน ยกตัวอย่างบรูไน สี่รัฐมาลัย สหรัฐไทยเดิม(เชียงตุง) ติมอร์ ซึ่งวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2488 ส่งคืนสี่รัฐมาลัย ส่วนวันที่22 กันยายน พ.ศ. 2488 ไทยส่งคืนสหรัฐไทยเดิม (Saharat Thai Doem “Unified former Thai Territories”)เนื่องจากสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นบุกไทย ฝ่ายไทยจอมพลแปลก เลือกญี่ปุ่น ฝ่ายไทยปรีดี ไม่เอา(ดูหนังพระเจ้าช้างเผือกและผมเขียนใน60ปีรัฐประหารจอมพลแปลก*) สะท้อนด้านหนึ่งได้ร่วมวงโดยไทยผนวกดินแดนแคว้นสหรัฐไทยใหญ่และรัฐเมืองพาน (เมืองปั่น) เป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย ทั้งนี้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นอำเภอ 12 อำเภอ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 มีการสถาปนาเจ้าฟ้าสิริสุวรรณราช ยสสรพรหมลือ เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงตุง และจัดการปกครองสหรัฐไทยเดิมเสมือนจังหวัดหนึ่ง
ทว่าหลังสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นแพ้สงคราม ไทยจำต้องส่งมอบรัฐเชียงตุง รัฐกะยาและรัฐเมืองพาน ให้กับกองพลอินเดียที่ 7 เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2488 รัฐบาลไทยสมัยควง อภัยวงศ์ ได้คืนดินแดนส่วนนี้ให้กับสหประชาชาติ และวันเดียวกันนั้นได้มีการประกาศจากกรมบัญชาการทัพใหญ่ ว่ามีการเปลี่ยนชื่อ “สหรัฐไทยเดิม” เปลี่ยนกลับเป็น “แคว้นสหรัฐไทยใหญ่” ตามเดิม ต่อมาเจ้าฟ้าสิริสุวรรณราชยสสรพรหมลือ ที่ได้เป็นเจ้าฟ้าเชียงตุง จากการแต่งตั้งของไทย ในยุคเจ้าหลวงเชียงใหม่ไม่มีแล้ว หลังสงครามเจ้าฟ้าสิริสุวรรณราชยสสรพรหมลือ ก็สิ้นอำนาจ รายละเอียดยาวๆ ลองหาอ่านกัน
โดยผมยกตัวอย่างความสัมพันธ์เชียงใหม่กับเชียงตุง กรณีเจ้าฟ้าสิริสุวรรณราช ยสสรพรหมลือ (พรหมลือ ณ เชียงตุง) (ต้นสกุล ณ เชียงตุง ได้สมรสกับเจ้าทิพวรรณ ณ ลำปาง (พ.ศ. 2446-2532) และเจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่ (พ.ศ. 2453 – พ.ศ. 2534) เป็นราชโอรสองค์สุดท้ายในเจ้าแก้วนวรัฐ(สิ้นสุดเจ้าเชียงใหม่)) สมรสกับเจ้าสุคันธา ณ เชียงตุง ราชธิดาในเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง เจ้าฟ้าหลวงนครเชียงตุง เป็นต้น
ทั้งนี้ ผมก็เคยเขียนเรื่องเชียงตุง และงานเขียนที่น่าสนใจ ดูอ.นิธิ เขียนเปรียบเทียบเชียงตุงกับสามจังหวัดภาคใต้ เพิ่มเติมได้ รวมทั้งที่ผ่านมาผมเขียนต่อเนื่องการเปรียบเทียบไทยกับอาเซียน(**)
สี่รัฐมาลัย (Si Rat Malai ‘Four Malay States’)หรือสะกดว่า 4 รัถมาลัย
เมื่อไทย เข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง กับญี่ปุ่น ที่บุกยึดทั่วให้สี่รัฐมาลัยตามกล่าวมาก่อนหน้า ในอดีตเขตการปกครองหนึ่งที่เคยเป็นของประเทศไทย อันประกอบด้วยรัฐกลันตัน, ตรังกานู, ไทรบุรี และปะลิส โดยไทยได้มีการทำสนธิสัญญากับญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2486 หลังการประกาศมอบดินแดนทั้งหมดให้แก่ประเทศไทยเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2486 ราชกิจจานุเบกษาระบุว่า
ฉะนั้น กลันตัน ตรังกานู ไซบุรี ปะลิส และบันดาเกาะที่ขึ้นอยู่ กับทั้งเชียงตุงและเมืองพาน จึงเป็นอันรวมเข้าในราชอานาจักรไทยตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม พุทธศักราช 2486 เป็นต้นไป
ซึ่งปัจจุบันทั้งหมดตั้งอยู่ทางตอนเหนือในอธิปไตยของประเทศมาเลเซีย หลังสิ้นสุดสงครามไทยต้องส่งมอบดินแดนส่วนนี้คืนอังกฤษ โดยข้าหลวงใหญ่ประจำสี่รัฐมาลัยได้ทำพิธีมอบสี่รัฐมาลัยคืนให้กับฝ่ายทหารอังกฤษ เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2488 ข้อสังเกตทางภาคใต้ไม่มีแต่งตั้งเจ้าเหมือนเชียงตุง(เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 10 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักรพ.ศ. 2454 – ถึงแก่พิราลัย พ.ศ. 2486) เนื่องจากพระยาวิชิตภักดี (เต็งกูอับดุลกอเดร์ กามารุดดีน)หรือเชื้อพระวงศ์ในราชวงศ์กลันตัน สิ้นสุดการปกครองตั้งแต่สมัยรัชกาลที่5 ไม่มีอีกต่อไป
โดยเล่าเพิ่มเติม กรณี เกอดะฮ์ (มลายู: Kedah, قدح) หรือ ไทรบุรี(ไซบุรี) มีชื่อเฉลิมเมืองเป็นภาษาอาหรับว่า ดารุลอามัน (“ถิ่นที่อยู่แห่งสันติภาพ”) เป็นรัฐหนึ่งในประเทศมาเลเซีย เป็นบ้านเกิดอดีตนายกรัฐมนตรีมหาธีร์ มูฮัมหมัด ส่วนรัฐกลันตัน ที่มีเมืองโกตาบารู(ชื่อเมืองมีคำว่าใหม่เหมือนเชียงใหม่) ซึ่งราชวงศ์กลันตัน ก็มีปกครองมาเลเซีย และเชื้อราชวงศ์ทางภาคใต้ ก็มีสัมพันธ์กับสมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่าน ตวนกู อิสมาอีล อิบนี อัลมาร์ฮูม สุลต่าน ยะห์ยา เปตรา(***)
ปัจจุบันมาเลเซีย (มาเลเซีย: Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (federal constitutional monarchy) ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน แต่สามจังหวัดชายแดนใต้ของไทย ยังมีปัญหาออุปมาไฟใต้ ว่ากันว่าเหตุระเบิดที่ยะลา 22 กันยายน พ.ศ. 2520 สมาชิกขบวนการพูโลได้ประชุมกันถึงแผนการดังกล่าวหลายครั้ง ที่ตุมปัต รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย
ดังนั้น ผมยกตัวอย่างภาพจากแผนที่ญี่ปุ่น(****) ยึดครองหลายประเทศ สหรัถไทยเดิม สี่รัฐมาลัย ติมอร์ มะละกา ฯลฯ ยกตัวอย่างเด่น ซึ่งประเทศเหล่านี้ตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของหลายชาติ ยกตัวอย่างที่เด่น คือ โปรตุเกส เคยปกครองบางส่วนของมะละกา หรือมาเลเซีย ติมอร์ หรือติมอร์-เลสเต (โปรตุเกส: Timor-Leste) กรณีจากภาพใหญ่ส่งครามโลกสู่ภาพน้อยของไทย วันที่23 กันยายน พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) – ข้าหลวงใหญ่ประจำสี่รัฐมาลัยของไทย ได้ทำพิธีมอบสี่รัฐมาลัยให้กับฝ่ายทหารอังกฤษ ด้วย
อย่างไรก็ตาม ผมเปรียบเทียบกรณีดังกล่าว โดยโฟกัสยกตัวอย่างต่อมาติมอร์ กว่าจะหลุดจากการปกครองเป็นอาณานิคมโปรตุเกส ได้หลังปฏิวัติคาร์เนชั่น ปี2517 และภายหลังโปรตุเกสถอนตัวออกไปเมื่อปี พ.ศ. 2518 โดยมิได้จัดการปกครองให้แก่ติมอร์ตะวันออกแต่อย่างใด เป็นเหตุให้ประเทศอินโดนีเซียได้ส่งทหารเข้ายึดครองติมอร์ตะวันออกโดยผนวกเข้าเป็นจังหวัดที่ 27 ของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งได้ยึดครองติมอร์ตะวันออกเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) ต่อมาการต่อสู้ติมอร์ต่ออินโดฯ อีก ในวันที่30 สิงหาคม ต่อมา พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) – ชาวติมอร์ตะวันออก ลงประชามติแยกตัวเป็นอิสระจากอินโดนีเซีย หลายปีต่อมาเกิดระบอบทักษิณ มีที่แปลกต่อมาไทยแลนด์เปรียบเทียบกับโปรตุเกสในปี2549(*****) ตามประวัติศาสตร์ในอดีต 22 ก.ย.2560 เกิดเหตุลอบวางระเบิด อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ต่อมาอนาคตประเทศไทยสามจังหวัดชายแดนใต้ จะเป็นอุปมาไฟไหม้ ต้องดับให้ได้ ทางออกสหพันธรัฐแบบมาเลเซีย หรือ จะเป็นทางออกแบบติมอร์ แล้วแต่ประชาชนไทย
*60ปี รัฐประหารจอมพลแปลก

(22 กันยา ถือว่าเป็นวันปลอดรถ (World Car Free Day) วันแรดโลก วันที่ 22-23 กันยายนของทุกปี เป็นวันศารทวิษุวัต)
**นิธิ เอียวศรีวงศ์ : มองเมียงเชียงตุง ตอน2 [การยึดครองของกองทัพไทยและการเซงลี้อาวุธ]
https://www.matichonweekly.com/featured/article_48153
(ดูเพิ่มเติม บ. บุญค้ำ นามปากกาของนาย บุญสิงห์ บุญค้ำ ผู้แต่งหนังสือ “เที่ยวเมืองเชียงตุงและแคว้นสาละวิน” และอื่นๆ)
นิธิ เอียวศรีวงศ์ : มองเมียงเชียงตุง (ตอน3 การยึดครอง-ถอนทัพทหารไทย)
https://www.matichonweekly.com/featured/article_48785
(หอมนวล ไกด์สาวสวยที่อ.นิธิ กล่าวถึงถ้าผมจำไม่ผิดชื่อเดียวกับไกด์ที่ผมเคยไปเชียงตุง และรถตู้ของพวกผมเกือบพลิกคว่ำด้วย)
การสะสมความทรงจำ วันสำคัญ

***ประมวลภาพ สุลต่านรัฐกลันตัน ได้รับการประกาศเป็นกษัตริย์องค์ใหม่มาเลเซีย
14 ธ.ค. 2559 11:53 อ่านข่าวต่อได้ที่: https://www.thairath.co.th/content/810812
สถาบันกษัตริย์ของมาเลเซีย : การต่อสู้เพื่อความชอบธรรม
https://kyotoreview.org/issue-13/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%80/
****หนังสือSIAM MAPPEDฯ กล่าวถึงแผนที่ของมาร์โคโปโล และดูเพิ่มเติมที่ผมเขียนถึงหนังสือของมาร์โค โปโล

(นักเดินทางอีกคน ที่น่าสนใจคนไทยเรียกชื่อว่าเย สัปบุรุษ ในวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2384 (ค.ศ. 1841) – สุลต่านแห่งบรูไน ยกรัฐซาราวะก์ให้ เซอร์ เจมส์ บรุค นักสำรวจชาวอังกฤษ ซึ่งต่อมาได้เป็นราชาผิวขาวผู้ครองดินแดนซาราวะก์ ต่อมาอยู่ในมาเลเซีย)
*****20ก.ย.49, ปิดฉากตำนานเทพยากรณ์ หมอดูอีที มีท้าพิสูจน์อนาคต
https://www.facebook.com/profile.php?id=100000577118415&hc_ref=ARR2YHecTsePA8mBDhbHdSnTykgGRl_8VYQEBlop4pKtX7OY4VDQZmHUhHJkgUZ_6mg
การสะสมความทรงจำ วันสำคัญ

(กบฏ 26 มีนาคม 2520 เกิดก่อน ระเบิด ยะลา 22 กันยา 2520 ต่อมา20 กันยา 2560 พระมหาอภิชาต สึกแล้ว หลังถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวเเละสอบสวน คาดเหตุ พระเป็นผู้ที่แสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์ต่อศาสนาอิสลามเเละการก่อเหตุในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ผมเคยเขียนถึงตอนนี้มีข่าวดังกล่าว)
27 กันยา
ภาพการเดินทางทบทวนความทรงจำ
ช่วงนี้ผมไม่ค่อยมีเวลาเขียนอะไรเท่าไหร่ จากเดินทางทำธุระ และภาพส่วนใหญ่การเดินทางใช้ภาพจากโทรศัพท์มือถือ โดยเส้นทางพิจิตร ระหว่างนครสวรรค์ คิดถึง แผนที่ ชีวิตที่บางคนกล่าวว่าชีวิตคือโรงละคร นี่ผมมีภาพประกอบเมือง บ้านเก่า ภายในโรงหนังเก่า(*)
เมื่อผมนึกถึงความทรงจำในหลายเรื่องหลายปีก่อนผมรู้จักรุ่นพี่คนหนึ่งขายหนังสือ ซึ่งรู้จักกับอ.สุธาชัย โดยรุ่นพี่คนนั้นบอกให้ผมน่าจะยึดอาชีพขายหนังสือ ในแง่ความทรงจำผมถือโอกาสโหมดจริงจังหน่อย ไว้อาลัยแด่อ.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ(**) ที่เคยเขียนถึงจิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งอาจารย์ เคยเข้าป่า ต่อมาทำวิทยานิพนธ์เรื่อง กระบวนการทางการเมืองที่ต่อต้านรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2490-พ.ศ. 2500)เป็นอีกคนที่ผมไม่เคยเจออ.ยิ้ม ในความสนใจจากอดีตการรับรู้ฟังรุ่นพี่คนขายหนังสือที่เป็นบก.พิมพ์วิทยานิพนธ์นี้ให้ในครั้งที่พิมพ์ครั้งแรก และคนพิมพ์กะขายใช้กระแสยุคปี34-35“ แผนชิงชาติไทย “ คู่มือ ร.ส.ช. พลิกปูมตำนานแห่งอำนาจของกลุ่มการเมืองต่างๆ
โดยสิบปีที่แล้ว ก็ได้คุยกับอ.ชาตรี มีที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับสถาปัตยกรรรมของคณะราษฎรฯ เป็นอ.สุธาชัย ในบทสัมภาษณ์ที่ผมได้เผยแพร่ในสื่อประชาไท(***) มีกรณีเรื่องการทำวิทยานิพนธ์ อาจารย์ที่ปรึกษาดีก็ดีไปอย่างที่เรารู้กัน ถ้าเราเคยทำวิทยานิพนธ์ อีกด้านทำวิทยานิพนธ์เน้นคนคิด คนทำเอง และประเด็นวิทยานิพนธ์มาสู่สิ่งพิมพ์ ส่วนมากมีคำกล่าวมานานไม่เป็นประเด็นใหม่ สื่อสิ่งพิมพ์ไม่ง่ายจะพิมพ์วิทยานิพนธ์บางเล่ม
จึงอยู่บนชั้นของห้องสมุด มีงานดีๆบางเล่มก็ไม่ได้พิมพ์จากสนพ.หลายปัจจัยกล่าวยาวกับกล่าวซ้ำปัญหาทุนนิยมการพิมพ์ ซึ่งยกตัวอย่างเล่ามาสะท้อนข้อดีสื่อใหม่ยุคดิจิทัลหรือดิจิตอล ก็อย่างงานในสื่อประชาไท ที่เผยแพร่ และผมยังได้เก็บงานบางส่วนไว้ในเผยแพร่คลังบล็อกทางเน็ต
นั่นแหละผมเล่าสั้นๆ จากประสบการณ์ที่ขายหนังสือ เคยร่วมหุ้นทำสนพ. ทำสื่อ และคิดถึงเพื่อนที่ร่วมทางวรรณกรรม ที่เสียชีวิตไปได้กล่าวไว้ สิ่งที่ผมลืมไม่มีคลังบล็อกงานวรรณกรรมเผยแพร่ไว้ หรือจะรอการพิมพ์ได้ค่ารวมเล่ม เล่าไว้ชีวิตอย่าไปยึดถือปล่อยวาง หลายเรื่องในชีวิตด้วย
*ภาพโรงหนังเก่า

**ดูประวัติเพิ่มเติมวิกิพีเดีย
***สัมภาษณ์ชาตรี ประกิตนนทการ: “เพดานความคิดในสถาปัตยกรรรมของคณะราษฎรกับสังคม”
https://prachatai.com/journal/2007/10/14669
28.2
“เหรียญร.5 ร.6 สัญลักษณ์ช้างสามเศียร” ส่วนหลวงพ่อเงิน”(รวมเลี่ยมทองแล้ว ราคา 6,000 บาท)
เนื่องจากผมเผยแพร่ของสะสมวัตถุเก่า มีไว้ครอบครองกรณีเหรียญความสนใจส่วนตัวเขียนบทความบางด้าน เช่น วิชาการเหรียญ(*) ทำให้ตอนนี้แนวธุรกิจผมคิดง่ายๆตั้งฉายาแบบบอย ท่าพระจันทร์ โดยบอย เชียงใหม่ อาจจะเลียนแบบอ.ราม วัชรประดิษฐ์ อดีตอาจารย์ประวัติศาสตร์ ม.นเรศวร(พิษณุโลก) สุดยอดแฟนพันธุ์แท้พระเครื่อง มีข้อมูลทางเน็ตพูดถึงดูพระเครื่องเรื่อง วิธีการศึกษาพระเครื่องพระบูชา เหรียญคณาจารย์และเครื่องรางของขลังนั้นเป็นวิธีการที่มีมาตรฐานมีลักษณะคล้ายกับการศึกษาวัตถุโบราณ เนื่องจากต้องอาศัยวิธีการทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ประติมานวิทยาและมานุษยวิทยา เข้ามาตรวจสอบทำให้การดูพระและวัตถุมงคลกลายเป็นสิ่งที่มีหลักฐานด้วย
*วัฒนธรรมเดินได้ / อรรคพล สาตุ้ม. วิชาการเหรียญ
เนชั่นสุดสัปดาห์
http://library2.parliament.go.th/news/content-nw/html/2556/nw20130621.html
(ข้อมูลวิชาการเหรียญ มีฐานข้อมูลจากบทความหนังพระเจ้าช้างเผือก)
28.3
ขายหนังสือ
วันนี้ขายหนังสือ 1.ฟ้าเดียวกัน ฉบับนี้มีสัมภาษณ์อ.เบน มีบทความเกี่ยวกับมุสลิมฯ สะท้อนปัญหาภาคใต้ โดยรุ่นน้องกับผมเขียนด้วย ฯลฯ 90บ.(*) 2.ถนนหนังสือ หน้าปกกอร์กี้ เล่มละ 70บ. 3.ถนนหนังสือว่าด้วยกรรมกรในวรรณกรรม 70บ. 4.นิตยสารทางเลือกว่าด้วยการศึกษาฯ และการตลาดเพื่อสังคม 60บ. 5.นิทานศรีลังกา 60บ. 6.ทฤษฎีและความรู้ในยุคโลกาภิวัฒน์. วิถีทรรศน์ ชุดโลกาภิวัฒน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 19 (2544) ฉบับนี้ยุคศรีอาริยะ เขียนดีน่าสนใจตรงเสนอทฤษฎีขึ้นมาเองไม่ได้จากนักวิชาการฝรั่ง รวมทั้งรวมบทความนักวิชาการชื่อดังอ.ผาสุก พงษ์ไพจิตร อ.ธเนศ เจ้าพ่อโพสต์โมเดริน์(**) 70บ. 7.The Encyclopedia of Sculpting Techniques 60บ. 8.การเขียนสีน้ำ มีคติพจน์ ถ้าไม่เดินทางพันลี้ ไม่อ่านหนังสือนับหมื่นเล่ม ไฉนจะเขียนภาพได้ดีเล่า(คล้ายกับคนเก่งเดินทางหมื่นลี้ อ่านหนังสือหมื่นเล่ม…แนวปริมาณสู่คุณภาพ) ราคา 100บ.
*ข้อมูลเพิ่มเติมวารสารฟ้าเดียวกันฉบับนี้
http://www.sameskybooks.net/journal-store/02-3/
**ข้อมูลเพิ่มเติม ยกตัวอย่างเศรษฐศาสตร์การเมือง : จากสุภา ศิริมานนท์ถึงวันพรุ่งนี้รื้อถอนระบบคิดบนหนทาง post-marxism/post-modernism/new anarchism
http://library.ap.tu.ac.th/dublin.php?ID=13399130829
อ่านฟรีเรื่องโพสต์โมเดริน์ฯ
http://v1.midnightuniv.org/midschool2000/newpage19.html
28.4
การสะสมความทรงจำไทยแลนด์…ติมอร์…
วันนี้ครบรอบ100ปี ธงไตรรงค์สยามหรือไทย เมื่อวาน 27 กันยายน ยิ่งลักษณ์ถูกตัดสินจำนำข้าว และเมื่อวานในอดีตวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) – ประเทศติมอร์-เลสเตเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 191 ของสหประชาชาติอย่างเป็นทางการ โดยมีพิธีรับรองในที่ประชุมใหญ่ ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
โดยทบทวนกล่าวอย่างย่อๆไทย จากเปลี่ยนธงสัญลักษณ์ ที่มีช้างเผือกเป็นธงไตรรงค์(*) ถึง2475 ธงยังอยู่แบบเดิม มีสัญลักษณ์การจัดแสดงฉลองรัฐธรรมนูญบนภูเขาจำลองแทนเขาพระสุเมรุ(ไตรภูมิ) ในแง่วางรากฐานรัฐไทย อย่างที่ผมเคยเขียนแล้วมาต่อเนื่องยกตัวอย่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 การทำสงครามเป็นการทำแผนที่ด้วย(ยกตัวอย่างกรณีญี่ปุ่นกับแผนที่ภาพบูรไน ติมอร์ ฯลฯไปแล้ว มีรัฐซาราวะก์ ที่เมืองกูชิงความหมายตรงกับแมว : Kuching)
กรณีวันเวลาผ่านไปไทยเปรียบเทียบกับอดีตติมอร์(ที่ผมเขียนบางส่วน) เคยเป็นส่วนหนึ่งอินโดนีเซีย ที่มีเมืองเปกันบารู(Pekanbaruชื่อเมืองมีคำว่าใหม่เหมือนเชียงใหม่ของไทย**) ต่อมาตั้งประเทศ แยกจากอินโดนีเซีย เกิดปัญหาความมั่นคงในประเทศ
ความวุ่นวายได้เริ่มขึ้นในติมอร์-เลสเต เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2549 หลังจากที่การชุมนุมเพื่อสนับสนุนทหารติมอร์-เลสเต 600 นาย ซึ่งถูกปลดออกจากราชการ เนื่องจากหนีทัพกลายเป็นการจลาจลที่มีผู้เสียชีวิต 5 คน และมีมากกว่า 20,000 คนที่หนีจากบ้านของตัวเอง
การต่อสู้อันรุนแรงทหารที่สนับสนุนรัฐบาลกับทหารฟาลินติลที่ไม่พอใจได้เกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2549 แม้ว่าจะยังไม่มีความชัดเจน แรงจูงใจเบื้องหลังการต่อสู้ คาดว่าจะเป็นการกระจายของกองทุนน้ำมัน และการจัดการไม่ดีของกองทัพและตำรวจติมอร์-เลสเต ซึ่งรวมถึงตำรวจอินโดนีเซียเดิมและกบฏติมอร์เดิม นายกรัฐมนตรีมารี อัลกาตีรี ได้เรียกความรุนแรงนี้ว่าเป็นการรัฐประหาร และได้ยอมรับความช่วยเหลือจากกองทัพจากต่างประเทศหลายชาติ ณ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ประเทศออสเตรเลีย โปรตุเกส นิวซีแลนด์ และมาเลเซียได้ส่งทหารมายังติมอร์-เลสเตเพื่อปราบปรามความไม่สงบ
เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ประธานาธิบดีชานานา กุฌเมา ได้ขอร้องอย่างเป็นทางการให้นายกรัฐมนตรีมารี อัลกาตีรี ลาออก ซึ่งสมาชิกพรรคเฟรตีลินส่วนใหญ่ได้ข้อรองให้นายกรัฐมนตรีลาออก โดยกล่าวหาว่า ได้พูดเท็จเกี่ยวกับการกระจายอาวุธให้พลเรือน เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2549 นายกรัฐมนตรีมารี อัลกาตีรี ได้ลาออกโดยกล่าวว่า เป็นไปเพื่อหลีกเลี่ยงการลาออกของประธานาธิบดี ฌูแซ รามุช-ออร์ตา ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2549(***)
แน่ละ การเปรียบเทียบติมอร์ กับไทย ย่อมมีความแตกต่างไม่มีประเทศโปรตุเกส มาเลเซีย ฯลฯ มาช่วยเหมือนติมอร์ กรณีไทยจากสนธิ บุญฯ ได้กล่าวเปรียบโปรตุเกส ซึ่งติมอร์เคยเป็นอาณานิคม ต่อมาแยกดินแดนจากอินโดนีเซีย หลังจากรัฐประหารปี2549 ที่มีปัญหาการเมืองในติมอร์ ส่วนไทย ก็พันธมิตรยังมาเคลื่อนไหว ต่อมามีเพิ่มเป็นกปปส. สิ่งที่พันธมิตรทำวันนั้นก็เหมือนการจุดเทียนเล่มแรก หากคิดไปถึงวันนั้นผมภูมิใจกับที่ได้ทำหน้าที่ หากไม่มีวันนั้น ก็คงไม่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา วันนี้ นายสมเกียรติ กล่าวไว้ หลังจากโดนคดียึดสนามบิน เมื่อไม่กี่วันก่อน(****)
เมื่อกรณียิ่งลักษณ์ถูกตัดสินจำคุกในเมื่อวานก่อนหน้าจากการหนีของยิ่งลักษณ์ (หรือทักษิณ เชื้อเจ้าเชียงใหม่ ดูเพิ่มเติมเชื้อจีน*****) ซึ่งผมเคยเขียนมาต่อเนื่องบางแง่มุมแล้ว ในแง่กาลเวลาผ่านประวัติศาสตร์(******) จากอดีตของติมอร์-เลสเต (โปรตุเกส: Timor-Leste) หลังปฏิวัติคาร์เนชั่น ปี2517 และภายหลังโปรตุเกสถอนตัวออกไปเมื่อปี พ.ศ. 2518 ใช้เวลายาวนาน ต่อมา พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) – ชาวติมอร์ตะวันออก ลงประชามติแยกตัวเป็นอิสระจากอินโดนีเซีย เปรียบเทียบไทยหลายปีต่อมาเกิดระบอบทักษิณ มีที่แปลกต่อมาไทยแลนด์เปรียบเทียบกับโปรตุเกสในปี2549 ต่อมารัฐประหารในปี2557 ชวนให้สะสมความทรงจำไว้
ดังนั้น ภาพรวมไทยแลนด์เปรียบเทียบติมอร์ ในอาเซียน และโลกาภิวัตน์ สิ่งที่ผมทบทวนความทรงจำกังวลเหตุการณ์วางระเบิด แยกราชประสงค์ แต่ที่แน่ๆต่อมาก็ว่าไทยแลนด์ จับแพะ ในแง่ที่ความรุนแรง ที่รัฐไม่อาจจัดการได้ ไม่ว่าภาคกลางในกรุงเทพฯ ภาคใต้ระเบิดปี59 ที่จับได้ปีเดือนพฤษภาคม 60 และเหตุวันที่ 22 ก.ย.2560 เกิดเหตุลอบวางระเบิด อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี หรือระเบิดจะไม่เกิดขึ้นอีก…(จุดไข่ปลา) จงค้นหาคำตอบในเวลาอนาคตกันต่อไป
*ดูเพิ่มเติม Siam mappedฯ
(หนังพระเจ้าช้างเผือก กล่าวถึงธงช้าง)
**ดูชุมชนจินตกรรมฯ บทความทรงจำกับหลงลืม ในพื้นที่ใหม่และเก่า
***ติมอร์ ในวิกิพีเดีย
****พธม. ยันกำลังใจดี มีโอกาสจะลุกสู้ต่อ
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/773853
*****บันทึกความรักข้ามพรมแดนชาติพันธุ์-ร.ศ.130
http://akkaphon.blogspot.com/2015/01/blog-post_29.html
คดีจำนำข้าว : ศาลตัดสินจำคุก 5 ปี ยิ่งลักษณ์ ไม่รอลงอาญา
http://www.bbc.com/thai/thailand-41409927
******บรูไน สี่รัฐมาลัย(รัฐกลันตัน ฯลฯ) สหรัฐไทยเดิม(เชียงตุง ฯลฯ) ติมอร์

20ก.ย.49, ปิดฉากตำนานเทพยากรณ์ หมอดูอีที มีท้าพิสูจน์อนาคต
https://www.facebook.com/profile.php?id=100000577118415&hc_ref=ARR2YHecTsePA8mBDhbHdSnTykgGRl_8VYQEBlop4pKtX7OY4VDQZmHUhHJkgUZ_6mg
การสะสมความทรงจำ วันสำคัญ

(กบฏ 26 มีนาคม 2520 เกิดก่อน ระเบิด ยะลา 22 กันยา 2520 ต่อมา20 กันยา 2560 พระมหาอภิชาต สึกแล้ว หลังถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวเเละสอบสวน คาดเหตุ พระเป็นผู้ที่แสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์ต่อศาสนาอิสลามเเละการก่อเหตุในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ผมเคยเขียนถึงตอนนี้มีข่าวดังกล่าว)
การสะสมความทรงจำ วันสำคัญ

(ภาพประกอบภาพแผนที่ ธงชาติ อาเซียน การแต่งกาย คำทักทาย แผนที่ผลงานผม รวมกับภาพแผนที่ต่างๆ หาได้ตามเน็ตทั่วไป มีที่เคยเผยแพร่แล้วมาผลิตซ้ำความทรงจำสะสมไว้กันลืม)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น