วันเสาร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2560

การสะสมความทรงจำ สะสมพลังลึกซึ้งของแผนที่ความทรงจำโดยโชคดี

3.3 มกราคม
เริ่มต้นวิถีชีวิตปีใหม่ ใจไขกระจ่างนัย
ภาพปริศนาธรรมไตรภูมิ ข้ามพ้นห้วงมหรรณพ
พบสัจธรรมหลุดพ้นทุกข์ เมื่อใดใจเป็นสุขเถิดเกิด
ความรู้คนอุปมาบัวสี่เหล่า อย่าเป็นดอกบัวที่จม
อยู่กับโคลนตม ตกเป็นอาหารของเต่าปลา
ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้น พ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน
สานอุดมการณ์ คนเท่ากันทุกคน
เห็นปัญญาญาณ ธรรมะย่อมชนะอธรรม
สัตว์โลกล้วนเป็นไปตามกรรม
3.4
เผยแพร่บันทึกภาพ ตอนที่ 1 ความแตกต่างของการเดินทางจากเชียงใหม่ ไปพิจิตร ราตรีสวัสดิ์

5 มกรา
เผยแพร่บันทึกภาพ ตอนจบ ภาพความแตกต่างของการเดินทางจากเชียงใหม่ ไปพิจิตร(*) ที่ผมอยากคิดทบทวนข่าวเรื่องรถตู้ เปรียบกับผมถ่ายภาพจากรถสองแถว ซึ่งอ.เกษียร เคยกล่าวถึงรถเมล์เปรียบเปรยประชาธิปไตย คือ ผมคิดว่ามันมีความเปรียบที่จะทำให้เข้าใจเรื่องนี้ได้ง่ายก็คือ ผมอยากให้คิดถึงรถเมล์ ใครที่เคยขึ้นรถเมล์ที่กรุงเทพฯ คงจะรู้สึกว่ามันมากเลย. พอคุณขึ้นไป กระเป๋าก็จะไล่ให้เราขึ้นเร็วๆ แล้วให้ชิดเข้าข้างในเพื่อจะอัดให้เต็ม พอถึงป้ายก็จะถามว่ามีใครลงหรือเปล่า พอจอดปุ๊บ ยังไม่ทันที่เราจะพาเท้าเราลง ก็ไล่อีกให้เร็วๆ พูดอย่างกับว่าเราอยากจะอยู่บนรถเมล์คันนี้นานอีกสักวินาทีหนึ่ง. เปล่าเลย เราอยากจะรีบพาตัวเราออกไปให้พ้น เพราะอันตรายมากเลย รถเมล์ในกรุงเทพฯจะแข่ง จะแซงกันตลอด แล้วคุณเป็นผู้โดยสาร ชีวิตความปลอดภัยของคุณทั้งหมด สวัสดิภาพของคุณทั้งหมด ฝากไว้กับคนขับ
คุณมีสิทธิ์ที่จะไปบอกโชเฟอร์ให้เปลี่ยนวิธีขับไหม ? มีเสียงที่จะบอกโชเฟอร์ว่าให้เปลี่ยนความเร็วไหม ? มีส่วนที่จะเป็นเจ้าของรถหรือการขับของโชเฟอร์ไหม ? ผมรู้สึกว่าบรรยากาศของผู้โดยสารบนรถเมล์นั้น มันคล้ายๆกับคนในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือคุณกุมชะตากรรมของตัวเองไม่ได้เลย เสียวตลอด นั่งอยู่ก็ไม่รู้ว่าจะได้กลับไปพบหน้าลูกเมียหรือเปล่า รู้สึกชักจะแยกไม่ออกระหว่างรถส่งผู้โดยสารกับรถขนสัตว์ที่ไปส่งยังโรงฆ่าสัตว์ รู้สึกว่าชีวิตเรามันช่างไม่ค่อยมีความหมายเลยนะ มันราคาถูกมากเลย เหมือนกับหมูหมากาไก่ หรือเหมือนไก่ในเข่ง เพียงแต่ว่าตอนนี้ไม่ได้จิกตีกันเท่านั้น เพราะไก่ทุกตัวนั่งสั่นผับๆ คือไม่แน่ใจว่าเมื่อไหร่รถเมล์มันจะคว่ำ แล้วเราจะตายหรือจะรอด
เวลาที่ผมนั่งรถเมล์แบบนี้ผมอึดอัดมาก อึดอัดเพราะอันตรายส่วนหนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่ง อึดอัดต่อความไม่มีอำนาจของตัวเอง ต่อความที่ตัวเองไม่มีปัญญาแม้แต่กระทั่งจะปกป้องตัวเอง หรือรับผิดชอบต่อชะตาชีวิตของตัวเอง คือถ้ารถคว่ำ แล้วตัวเราต้องตายตอนนี้ เราต้องตายแบบที่เราช่วยตัวเองไม่ได้เลย เพราะทุกอย่างเราฝากไว้กับโชเฟอร์ตีนผีคนนั้นคนเดียว แล้วเราก็ต้องยืนเบิ่งตาดูมัน ขับแบบเอาชีวิตเราเข้าไปเสี่ยง เราห้ามมันไม่ได้เลย
คืออึดอัดไม่เพียงแต่เฉพาะความไม่ปลอดภัย แต่อึดอัดต่อความไม่มีอำนาจเลยแม้แต่น้อยของตัวเอง ที่จะดูแลจัดการชะตาชีวิตของตัวเอง ในชั่วขณะแบบนั้น ผมอยากจะมีปืนพกสักกระบอก แล้วเจอคนขับแบบนี้ ผมจะย่องไปข้างหลังโชเฟอร์ ดึงปืนพกออกมา แล้วก็ขึ้นลำพร้อมทั้งจ่อไปที่ขมับโชเฟอร์ แล้วบอกว่า “พี่มันไหมพี่, ขับช้าๆได้ไหมพี่, เออช้าๆแบบนี้นะพี่, ขับดีๆนะพี่ เออ…” ผมเคยคิดอย่างนี้จริงๆ แต่ก็ไม่ได้ทำสักที
ผมคิดว่าถ้าเราเข้าใจความรู้สึกของผู้โดยสารบนรถเมล์ นั่นคือความรู้สึกของผู้ไม่มีจิตใจเป็นเจ้าของ มีความรู้สึกของตนที่ไม่มีอำนาจเลย แบบที่อยู่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งผมรู้สึกว่าในระบอบประชาธิปไตย มันแก้ปัญหาตรงนี้.
คือถ้าจะเปรียบระบอบประชาธิปไตย มันเหมือนรถเมล์คันที่ re-enginering ใหม่. คือเป็นรถเมล์แบบที่ผู้โดยสารมีอำนาจกำกับดูแลเหนือคนขับ คือคนขับต้อง accountable หรือรับผิดชอบกับผู้โดยสาร ไม่ใช่รับผิดชอบต่ออู่ หรือใครไม่รู้ที่ไม่เกี่ยวกับพวกเรา. ผู้โดยสารร่วมกันกำหนดเส้นทางรถวิ่ง ไม่ใช่ว่ามันจะวิ่งไปไหนก็แล้วแต่มัน จนกระทั่งผลัดกันมาลงมือขับกันเองบ้างตามควรแก่กรณี, อันนี้เราไม่ได้พูดถึงประชาธิปไตยแบบมีตัวแทนแล้วนะ เรากำลังจะพูดถึงประชาธิปไตยโดยตรง. ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องหัดขับรถให้เป็น.
ผมคิดว่าระบอบประชาธิปไตย เป็นระบอบที่แก้ปัญหาผู้โดยสารที่ไม่มีอำนาจ กับโชเฟอร์ตีนผีตรงนี้ ทีนี้ เราไม่ได้กำลังกลับไปสู่ระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ อย่างน้อยเท่าที่ผมเข้าใจ แต่ผมคิดว่ามันมีสถานการณ์บางอย่างในสังคมเศรษฐกิจของโลกในยุคโลกาภิวัตน์ ที่มันดึงไปสู่จุดนั้น คือเราจะพบว่า นับวันยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ที่กิจการในประเทศของเรา ในบ้านเมืองของเรา ที่มันหลุดจากมือ อำนาจประชาธิปไตยไปเรื่อยๆ เราไม่มีสิทธิ์คุม.
การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน การกำหนดนโยบายการเงิน มันกลายเป็นเรื่องที่กลายไปอยู่ในองค์กรต่างชาติบ้าง ไปอยู่ในมือของเจ้าหนี้บ้าง กระทั่งไปอยู่ในมือของกลไกตลาด ทุกอย่างเป็นไปตามกลไกตลาด คือเราอยู่ในระบอบที่เรากลับไปเหมือนกับอยู่บนรถเมล์ที่เราคุมมันไม่ได้ แล้วมันพาเราแล่นตะบึงไปเรื่อยๆ และก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะกำกับ หรือมีสิทธิ์กำกับตัวเองน้อยลง(**)
โดยสรุป ผมมีภาพถ่าย ณ ขณะนั่งรถทัวร์อีกด้วย แม้ไม่ใช่รถเมล์ แต่มีโชเฟอร์คล้ายๆ ความเปรียบนี้ให้เข้าใจได้ แตกต่างจากการเดินทางไปแกรนด์ แคนยอน เชียงใหม่โดยรถยนต์ส่วนตัว เปรียบเทียบแนวคิดจัดการข่าวรถตู้ให้คืนความสุขให้คนในชาติของรัฐบาลทหารไทยไม่ใช่การมาจากการเลือกตั้งตามแบบประชาธิปไตยในปัจจุบันด้วย
*https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1543578435671379&id=100000577118415
**ชั้นเรียนมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน / วันเสาร์ 28 กรกฎาคม 2544 หัวข้อ “กระแสชาตินิยม” ผู้นำการสนทนา ดร.เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วิทยาเขตวัดอุโมงค์ จ. เชียงใหม่
http://v1.midnightuniv.org/middata/newpage12.html
อ่านเพิ่มเติม(ปัญหา public transportation, ปัญหาการเดินทางโดยรถสาธารณะนี่ เป็นปัญหาที่ไม่ได้รับการพัฒนาเสมอมา แล้วเราก็ทิ้งให้มันอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่ แล้วให้คนจำนวนหนึ่งเดินทางไปทำงานและกลับบ้านแบบหมูหมากาไก่ แล้วคนอีกจำนวนหนึ่งก็เอาตัวรอดโดยการซื้อรถเก๋ง แล้วรถก็ติดกันบรรลัย น่าสนใจก็คือว่า ทำไมเราไม่พลิกกลับ โดยการทำให้ public transportation มัน accountable ต่อผู้โดยสาร…)
http://v1.midnightuniv.org/middata/newpage13.html
6 มกรา
ปริศนาปัญหาพระธัมมชโย ธรรมกาย และสังฆราช
ผมกลับพิจิตรได้ถ่ายภาพหลวงพ่อเพชร(*) นัยเรื่องพระธัมมชโย
ซึ่งคุณแม่ของท่านเมื่อครั้งตั้งครรภ์ในขณะที่ครอบครัวพำนักอยู่ที่จังหวัดพิจิตร ได้ฝันว่า หลวงพ่อเพชร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปองค์ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวเมืองพิจิตรกราบไหว้บูชา ได้นำเด็กที่มีลักษณะสวยงามมามอบให้ พร้อมกับกล่าวว่า “เด็กคนนี้เป็นลูกแก้วมาเกิด ขอให้เลี้ยงดูให้ดี จะเป็นที่พึ่งได้ในกาลต่อไปภายหน้า”…. (**)
โดยกระแสการเมืองการโยงของสมเด็จช่วงกับเครือข่ายพระธัมมชโย+ธรรมกายอย่างที่รู้ๆกัน และข่าว ‘ประยุทธ์’เปิดทางแก้พรบ.สงฆ์… ซึ่งมาตรา 7 เดิม กำหนดให้ “พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช เมื่อสมเด็จพระสังฆราชเดิมพ้นจากตำแหน่ง หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต้องแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน โดยนายกรัฐมนตรีเสนอชื่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม”
อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่าเกิดปัญหามีข้อถกเถียงกันในกรณีนายกรัฐมนตรีไม่นำเสนอชื่อผู้ที่มหาเถรสมาคมให้ความเห็นชอบ เนื่องจากมีข้อร้องเรียนทางคดี จึงเห็นว่าควรจะปรับแก้ไปเป็นอย่างเดิม ไม่ต้องได้รับความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเพื่อผ่าทางตัน…(***)
ดังนั้น ถ้าอุปมาทางไม่ตัน แต่ตอนนี้เส้นทางแยก และระยะเวลา ผ่านภาพถ่ายของผมเป็นปริศนาภาพไม่ชัดบ้าง ซึ่งผมได้เขียนเรื่องประชาธิปไตยทางตรง เดินขบวนม็อบบนถนนอย่างที่ผมเคยเขียนมาบ้างแล้ว ยกตัวอย่างโชเฟอร์ ในรถเมล์(****)กรณีม็อบพระ(*****)ภาพอุปมาชะตากรรม จากไตรภูมิ(******) ในเรื่องขบวนการเคลื่อนไหวต่อความไม่เป็นประชาธิปไตยของชาติไทย โดยทหารสะสมอาวุธ เคยมีวิกฤติเศรษฐกิจอย่างที่ผมเคยกล่าวแล้ว รวมทั้งการซื้ออาวุธขัดกับศีลธรรมอันดีงาม สนับสนุนการรบฆ่าคน สถานการณ์ของถนน ที่ควรเป็นถนนทางประชาธิปไตย ไม่ใช่โรดแมปโดยทหารด้วย
*หลวงพ่อเพชร

ผมได้เขียนมายกตัวอย่าง:ปริศนาปัญหาสังฆราชก่อนกับหลังรัฐประหาร49 ถึงหลังรัฐประหาร57-59 ร่างรัฐธรรมนูญ

วาดภาพช้างงานเก่าๆ ในแง่ลายเส้นจิตรกรรม ทำให้ผมนึกถึงภาพวาดในจินตกรรมฝาผนังฯ ณ วัดเบญจฯ

ประวัติศาสตร์เรื่องสงฆ์

“หยาดน้ำตาตกร่วง…ร่ำไห้…รำลึกนึกอดีตศึก ทำลายคนตายสิ้นชีวิต10 เมษา หาความยุติธรรมคนไม่ใช่ผัก/ปลา/หมา”
** http://akkaphon.blogspot.com/2016_07_01_archive.html
*** ‘ประยุทธ์’เปิดทางแก้พรบ.สงฆ์…. อ่านต่อได้ที่ : http://www.posttoday.com/politic/472572
(อ่านเพิ่มเติมย้อนอดีตพรบ.สงฆ์ ส่องอำนาจตั้งสังฆราช…. อ่านต่อได้ที่ : http://www.posttoday.com/analysis/politic/472773)
****เผยแพร่บันทึกภาพ ตอนจบ

วรัญชัย ถามเรื่องประชามติรัฐธรรมนูญ-เกษียร เล่าเรื่องเผด็จการกระเป๋ารถเมล์
http://prachatai.com/journal/2016/05/66029
*****ขู่เจอม็อบพระสงฆ์ทั่วปท.แน่ หากแก้’พ.ร.บ.สงฆ์’มาตรา7
http://www.dailynews.co.th/politics/545436
“ออมสิน” ขอ “เจ้าคุณประสาร” อย่าปลุกม็อบค้าน พ.ร.บ.สงฆ์ จ่อคุยซ้ำ พศ.จับ “ธัมมชโย”
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9590000129125
******ปริศนาปัญหาแม่น้ำของ(โขง)
7 มกราคม
รัฐจัดในช่วงเวลาก่อนและหลังปีใหม่ มีการตรวจสภาพรถฟรี โดยอาชีวะอาสา ฯลฯ ตอนนี้หมดเวลาไปแล้วผมก็ได้ใช้บริการ ทั้งได้รับแผนที่ และการแนะนำการขับรถ เอกสาร “รณรงค์” วัฒนธรรมการเดินทางปลอดภัย(*)ด้วย ครับ
7.2
ผมถ่ายภาพบันทึกการเดินทาง ณ สถานีรถ มีป้ายบอกการควบคุมตรวจสอบด้วยGPS ของการเดินรถ และรูปประกอบผมถ่ายภาพแผ่นหนังที่พกพาไปดูระหว่างเดินทาง คือ 1.ดิ เอ็กซ์ ไฟล์ ดูมันส์ ตื่นเต้นน่าติดตามเรื่องมนุษย์ต่างดาว ในสไตล์หนังฮอลลี้วู้ด(แวะกลับบ้านมอบแผ่นให้พ่อ) 2.ภาพจากเน็ตสารคดี The Look of silence:ดูบนรถทัวร์ไม่ค่อยมีสมาธิมาก บางทีฉากระทมทุกข์ จากช่างตัดแว่น ที่พี่ชายเสียชีวิตทางการเมืองของอินโดนีเซีย ตามสัมภาษณ์อดีตฆาตรกร เศร้ามากก็เลื่อนไปก่อน ดีมีเครดิตอ้างอ.เบน แอนเดอร์สัน 3.ภาพและบทบรรยายสารคดีCitizenFourดูจนจบ สะท้อนความมั่นคงของชาติ ผ่านระบบพรมแดนอินเตอร์เน็ต(ฯลฯ)
ผมไม่ได้บอกขยายความหน่อยกับจิ๊บ คือ เขาเขียนอีเมล์หาลอรา,
ณ ที่แห่งนี้ ผมไม่สามารถให้อะไรคุณได้เลย นอกจากคำพูดของผม ผมเป็นลูกจ้างระดับสูงของรัฐบาลในหน่วยงาน Intelligence Community (I.C. ฝ่ายเทคนิควิเคราะห์ข่าวกรอง -หน่วยงานนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1950 ช่วงสงครามเย็น) ผมหวังว่าคุณคงเข้าใจว่าการติดต่อกับคุณนั้นมันสุ่มเสี่ยงเป็นอย่างยิ่ง บัดนี้รู้ไว้ว่า ทุกๆ พรมแดนที่คุณข้าม, ทุกๆ ธุรกรรมที่คุณกระทำ, ทุกๆ สายที่คุณติดต่อ, ทุกๆ การคุยมือถือ, เพื่อนที่คุณมี, บทความที่คุณเขียน, เว็บที่คุณแวะเข้าไปอ่าน, เนื้อหาทุกบรรทัดที่คุณพิมพ์ และสัมภาระเดินทางทุกชิ้น ล้วนอยู่ในกำมือของระบบอันไร้ซึ่งขีดจำกัดในการเข้าถึง แต่ไร้ซึ่งการปกป้องคุ้มครองความปลอดภัย ท้ายที่สุดนี้ หากคุณเผยแพร่แหล่งข้อมูลเหล่านี้ ผมก็คงต้องบอกว่าคุณได้เข้ามามีส่วนพัวพันกับคดีนี้โดยทันที ผมถามย้ำเพื่อความแน่ใจว่าคุณจะทำให้ข้อมูลเหล่านี้ไปสู่สาธารณชนชาวอเมริกัน
ขอบคุณและโปรดระมัดระวัง
ราษฎรสี่
นี่คือเนื้อหาบางส่วนของจดหมายฉบับแรกที่เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน ตอบกลับมาหา ลอรา พอยทราส ผู้กำกับสารคดีหญิงเรื่องนี้ ซึ่งปรากฏในตัวอย่างหนังด้วย (อ่านฉบับเต็มที่นี่)
http://thaipublica.org/2015/02/citizenfour/
เกร็ดเบื้องหลังหนัง CITIZENFOUR
https://www.facebook.com/notes/documentary-club/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87-citizenfour/704352559675906/
13 มกรา
การสะสมความทรงจำ(1)
หลายเรื่องหลายวันหยุดโพสต์เฟซฯไปที่ผ่านมาด้วย เหตุผลปัญหาอินเตอร์เน็ต พบปะสนทนาผู้คน เคลียร์งานอื่นๆ โดยหลายวันก่อนจากการทบทวนความทรงจำ ก่อนเขียนวิทยานิพนธ์(*)งานเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวฯ ต่อมาผมแวะเข้ามาอัพเพจเครือข่ายแรงงานภาคเหนือ ซึ่งผมนำงานเขียนในจุลสารเอเชียศึกษา(**) มีชื่อของผม ร่วมทีมทำงานภาคสนามดังกล่าว(ในงานกลุ่มรายชื่อมีเพื่อนญี่ปุ่น ต่อมาทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับนิคมอุตสาหกรรมฯลำพูน ถ้าจำไม่ผิด) ความทรงจำจากทำเป็นเล่มใหญ่เป็นเล่มเล็กในจุลสาร ที่มีความทรงจำหลงเหลือ มีเรื่องตลกหนึ่งเรื่องตอนนั้นจำได้กลับมาคนเดียว นั่งรถเมล์ตำรวจตรวจบัตรปชช.จะให้ร้องเพลงชาติด้วย ถ้าจำไม่ผิด ชีวิตก็มีหลายเรื่องความทรงจำได้ หรือหลงลืมไปแล้วให้ทบทวน(***) เหมือนการเขียนไดอารี่(****) ช่วยจำหลายวันก่อนที่ทำกระบอกน้ำ(ไปลืมไว้ที่ไหน)สูญหายไป รวมทั้งการเดินทางไปกับความทรงจำ(*****)และหลงลืมในสังคมไทยด้วย
*ข่าวระเบิดแก่งอีกรอบ
**https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=712989928860382&id=580937148732328
(การตามหาจุลสารเก่าเล่มดังกล่าวไม่ง่าย กลายเป็นของหายาก เพราะ บางห้องสมุดจำหน่ายออกไปแล้ว ส่วนตัวของผมก็ไม่มีวารสาร หรือรายงานเล่มนี้เก็บไว้หรือเปล่า ก็ไม่แน่ใจในความทรงจำด้วยซ้ำ)
***https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1522639874431902&set=a.103468286349075.7792.100000577118415&type=3&theater
****วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558
การเขียนไดอารี่สำหรับผมเหมือนกระจกสะท้อนความทรงจำ กรณีประวัติศาสตร์ของการเขียนไดอารี่(The History of Diaries) ในอเมริกามองว่าการเขียนบล๊อกนั้นเป็นการเล่าเรื่องราวของตัวเองในเชิงสร้างสรรค์ (self expression creatively)…(ผมยังสนใจประเด็นอีกเรื่องด้านการสงวนรักษาดิจิตอล เก็บไว้ด้วย)
http://akkaphon.blogspot.com/2015/06/diary-10.html
*****ผมประสบอุบัติเหตุ

วัฒนธรรมการเดินทางปลอดภัย

ผมถ่ายภาพบันทึกการเดินทาง ณ สถานีรถ
15.2
หลายวันก่อน ผมพบปะสนทนาผู้คน และต่อมาต้อนรับพ่อในวันศุกร์ ทำให้ผมเล่าเรื่องญาติของพ่อ ที่มีเชื้อจีน เขาเล่าว่าเครือญาติเชื้อจีนเราเคยเป็นแรงงานจีน ทำอุโมงค์ขุนตาล
ซึ่งผมนึกออกจีนเต็ง ที่มีอิทธิพลต่อแรงงานคนจีนในเชียงใหม่ กล่าวคือสามารถควบคุมสั่งการแรงงานเหล่านั้นได้ ในระยะที่การขนส่งสินค้าระหว่างเชียงใหม่-กรุงเทพฯ ยังอาศัยทางรถไฟเพียงทางเดียว อั้งยี่กลุ่มนี้ก็ควบคุมแรงงานคนจีนที่สถานีรถไฟ ฯลฯ เกี่ยวพันศาลเจ้ากวนอู โดยผมเคยเขียนเรื่องประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ชาวจีนกับผู้ปกครองความเชื่อพิธีกรรมในศาลเจ้าจีนจังหวัดเชียงใหม่.(*)
*ศาลเจ้ากวนอู (บูเบี้ย)
http://www.chiangmaitouring.com/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B9-%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2/
(ผมเพิ่งมาทบทวนดูข้อมูลสำนวนนี้ โดยสังเกตคล้ายสำนวนบทความเก่าของผมมาก)
16 มกรา
เมื่อวันที่ 14 มกรา ที่ออกพื้นที่เรื่องงาน โดยผมคิดถึงเปรียบเทียบกับปัญหาที่ดิน ณ แม่เหียะ ที่หลายวันก่อนรุ่นพี่พาไปดูที่ของเขา จากข่าวจนท.พรึ่บ! บุกตรวจยึด-ลุยคดีที่ดินป่าอุทยาน40จุดที่แม่เหียะ(*) พวกเราอยู่มานานไม่เคยบุกรุกผืนป่า(หมู่บ้านติดป้าย**)
*http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/725933
**https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=547385315413028&id=373034752848086
(ภาพประกอบด้วย)
17 มกรา
พินิจพิเคราะห์น้ำท่วมภาคใต้ต่อลุงตู่
กรณีที่ผมเสียใจต่อปัญหาน้ำท่วม แต่ทำไม บางคนว่าสมัยก่อนน้ำท่วมเล่นน้ำกันสนุกสนาน และเรามาย้อนพินิจผ่านประวัติศาสตร์ โดยนักประวัติศาสตร์ เคยกล่าวว่าเรามักรู้สึกว่าน้ำท่วมเป็นเรื่องผิดธรรมชาติ เพราะเราเอาประโยชน์ของมนุษย์เป็นตัวตั้ง..เมื่อไร ที่มนุษย์ไม่มองตัวเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล…ความเชื่อเรื่องพระราหูจึงไม่ใช่งมงาย ถ้านำเอาพระราหูไปเชื่อมโยงกับโลกทัศน์ทั้งหมด กล่าวคือ ทำให้มนุษย์สยบยอมต่อกระบวนการทางธรรมชาติ
แต่ถ้าแยกพระราหูมาบูชาเป็นพิเศษ เพราะเกิดกลัววันพุธ กลัวว่าสุริยคราสจะนำภัยพิบัติมาตัวอย่างนี้จึงถือว่างมงาย เพราะมีโลกทัศน์แบบวิทยาศาสตร์ กล่าวคือ แยกมนุษย์หรือตัวเองออกจากธรรมชาติ(น้ำท่วม ผีและความตาย*)
อย่างไรก็ตาม ประวัติศาสตร์ข้อมูลที่ผมเคยเขียนไว้ อดีตผบทบ.รับมือโดยเชื่อโหราศาสตร์ และประยุทธ์ยันแก้น้ำท่วมได้ การันตีแก้มาตั้งแต่ปี 54 เมื่อครั้งเป็น ผบ.ทบ.แล้ว(**) ภัยพิบัติครั้งนี้ลุงตู่(ประยุทธ์)โลกทัศน์แบบโหราศาสตร์(มีดวงดาวพระราหู ฯลฯ) หรือวิทยาศาสตร์กันแน่
*ดูภาพประกอบ รูปเนื้อหาเพิ่มเติมจากหนังสือยุคสมัยไม่เชื่ออย่าลบหลู่ ในสารบัญมีเรื่องครูในวัฒนธรรมสื่อ ฯลฯ เปรียบเทียบกับบทความที่ผมเขียนโดยโฟกัสเรื่องความเชื่อต่ออนาคต
**http://prachatai.com/journal/2017/01/69583
17.2
พ่อเจอเจ้าของร้านคุยถูกคอ เล่าประวัติชีวิตไม่พอ ต่อประวัติผม พ่อบอกผมทำไมไม่พูดเล่าประวัติชีวิตมั่ง ผมคิดในใจพูดไม่ทัน พ่อกำลังสมองทำงานเร็วเลือดสูบฉีดจากฤทธิ์เหล้า ทำให้ผมหาเรื่องมาเขียนต่อขยายความหลายวันก่อนเพื่อนทางเฟซฯที่เป็นเพื่อนในกลุ่มโทรมาหาถามไถ่จากรูปเล่าย้อนรำลึกอดีตกันไป ซึ่งเพื่อนรำลึกอดีตถามผมเรื่องไปสอนที่โคราช(ผมไปสอนเป็นอ.พิเศษมหา’ลัยแห่งหนึ่งในโคราช) อีกหรือไม่(ผมตอบอ.ประจำเรียนจบป.เอก เขากลับไปสอนแล้ว) ผมเคยมีประสบการณ์ดีๆ ทำให้ผมนึกถึงเคยมีคำถามผมจากอีกผู้หนึ่งตอนไปที่นั่นบางคนเคยถามผมนั่งรถทัวร์ไปโคราชไม่นั่งเครื่องบินผมบอกไม่มีหรอก(*) ถ้าผมได้มีโอกาสเดินสายไปต่างจังหวัดอีกผมอยากมีรถบ้าน ซึ่งประวัติศาสตร์รถบ้านจากพจนานุกรมสมัยใหม่ให้ความหมายของคำว่า “คาราวาน” ว่าคือ “รถแคมพ์ที่มีอุปกรณ์สำหรับการใช้เป็นที่อยู่อาศัย” และให้ความหมายของคำว่า “รถแคมพ์” ว่าคือ “รถที่ใช้ในการบันเทิงที่ประกอบด้วยอุปกรณ์สำหรับการใช้เป็นแคมพ์ระหว่างการเดินทาง” รถบ้านเมื่อแรกเริ่มเป็นรถที่ออกแบบเพื่อใช้เฉพาะกิจ มิใช้เพื่อการบันเทิง เช่นใช้เป็นที่อยู่อาศัยสำหรับศิลปินที่ต้องเดินทางเพื่อหาผู้ชมงาน(**) อาจจะหาผู้ชมงานศิลปะหรือฉายหนังสั้นของผมไปด้วย
*อาถรรพ์หรือเปล่า ! “สนามบินโคราช” ถูกปล่อยร้างกลางป่า สายการบินเข้ามามีอันต้องเจ๊งไปหมด และนี่คือสภาพปัจจุบันของสนามบินแห่งนี้
http://www.jadjaan.com/contents/148977/
**รถบ้าน ดูข้อมูลเพิ่มเติม(ภาพประกอบจากวิกิพีเดีย ทั้งภาพรถบ้านและภาพของแวนโก๊ะ)
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99
17.3
ส่งพ่อขึ้นรถไฟ มีโอกาสอยากไปนั่งรถไฟวันที่ 28-29 มกราคม ขบวนเทศกาลตรุษจีน(*) รำลึกแรงงานจีนด้วย ราตรีสวัสดิ์ ไปฝันก่อน ครับ
*ชวนนั่งรถไฟแอ่วเมืองเหนือรอบปฐมฤกษ์ รำลึกเส้นกรุงเทพฯ-ลำปาง ครบ100ปี
http://www.matichon.co.th/news/365524
18 มกรา
การสะสมความทรงจำ(2)
เนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว ในวันที่กลุ่มพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย(*) ประชุมงานคุยหลายคน โดยผมนึกถึงเรื่องแรงงานรับจ้างจีน กรณีโมเดลพิพิธภัณฑ์แรงงานที่กรุงเทพฯ มีกุลีจีน(**) ต่อมาผมนึกออกกลับมาทบทวนเรื่องแรงงานจีน(***)จากการศึกษาจากประวัติศาสตร์สังคมจีนในไทย เทพเจ้ากวนอูเปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ของสมาคมที่มีการค้าฝิ่น และอย่างอื่น ซึ่งในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าศาลเจ้ากวนอูมีสมาคมดนตรีจีนอยู่ด้วย จากหลักฐานคำบอกเล่าบอกว่าคนสร้างศาลเจ้าจีน เป็นคนจีนที่อพยพขึ้นมาเป็นพวกอั้งยี่ ซึ่งสมาคมลับของจีน คือพวกอั้งยี่มีการจัดโครงสร้างหัวหน้า อาวุโสต่างๆ ดื่มเลือดสาบาน อุทิศตนให้แก่ภราดรภาพ และรักษาความลับของสมาคม โดยมีพิธีกรรมและสัญลักษณ์ทางศาสนากวนอู
อย่างไรก็ดี การรวมตัวของกรรมกรเหล่านี้ จะเป็นแบบสมาคมเพื่อคุ้มครองและแบ่งอาณาเขตการทำงานของกันและกัน เรียกว่า สมาคมลับอั้งยี่(****) เป็นวัฒนธรรมรวมตัวต่อสู้ของคนงาน
*ภาพประกอบเอกสารการประชุมในวันนั้น กับบรรยากาศ ณ บ้าน อ.วรวิทย์ และภาพจากเฟซฯรุ่นพี่ในรูป
โดยบางส่วนที่ผมพูดมาจากการเขียนเรื่องการสะสมความทรงจำ(1)
**ห้อง 2 : กุลีจีน : Chinese Coolies
ห้องจัดแสดง 2 กุลีจีน : แรงงานรับจ้างรุ่นแรกของสังคมไทย(พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย )
http://thailabourmuseum.org/%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87-2-%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99-%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84/
(ตอนผมไปสอนที่โคราช มีโอกาสสอนวิชาพัฒนาการทางสิ่งแวดล้อม และพัฒนาการเศรษฐกิจ สังคม ได้ดัดแปลงปรับปรุงจากโครงเรื่องpower pointของพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยด้วย)
***ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ชาวจีนกับผู้ปกครองความเชื่อพิธีกรรมในศาลเจ้าจีนจังหวัดเชียงใหม่.

(ช่วงคุมสอบผมพบเจออาจารย์ท่านหนึ่งพูดคุยถึงบทความนี้ของผมในเดือนธันวา ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่)
****บทความที่อ้างถึงสมาคมลับ(อั้งยี่)เปรียบเทียบถึงแรงงานภาคเหนือปัจจุบันด้วย
http://prachatai.com/journal/2008/08/17604
20.2
ช่วงของชีวิตที่ต้องอ่านหนังสือหลายเล่ม บางครั้งก็เปลี่ยนอารมณ์หยิบหนังสือเก่าๆ มาเล่าใหม่ และคิดถึงธรรมะผ่าน“คติเกี่ยวกับการเวียนว่าย-ตาย-แล้วเกิดเป็นคน” นี่เป็นการทบทวนความทรงจำ พอดีได้ฝีกภาษาอังกฤษText เกี่ยวกับความทรงจำกับประวัติศาสตร์ (*ฯลฯ)
*History & Memory
https://muse.jhu.edu/journal/71
History & Memory
http://www.iupress.indiana.edu/pages.php?pID=80&CDpath=4
History, memory, identity
http://journals.sagepub.com/…/pdf/10.1177/095269519801100303
Memory and History: Understanding Memory as Source and Subject
http://www.history.ac.uk/reviews/review/1470
History & Memory is a peer-reviewed academic journal covering the study of historical consciousness and collective memory. It is edited by Gadi Algazi (Tel Aviv University) and published biannually by Indiana University Press.
https://en.wikipedia.org/wiki/History_%26_Memory
Center for the Study of History and Memory
http://www.indiana.edu/~cshm/
(ภาพประกอบจากหนังสือยุคสมัยไม่เชื่ออย่าลบหลู่)
26 มกรา
ภาพทบทวนการเดินทางจากประชุมงานฯ ที่เชียงใหม่(ทำให้ผมดูบันทึกเก่ากับทำบันทึกใหม่*)มากรุงเทพฯ นั่งรถทัวร์คนข้างๆ เป็นคนอินเดีย เดินทางโดยรถไฟฟ้าไปสถานที่แห่งหนึ่ง(พร้อมป้ายรถแท็กซี่Grab) เพื่อนให้ถ่ายรูปหน้าแกรมมี่บอกให้โพสต์เฟซฯมาออดิชั่นกับอากู๋แกรมมี่ พอเปิดเฟซฯ ทบทวนความทรงจำแล้วก็มีอดีต เยอะ ช่วงวันที่ 21-25 มกรา น่ะครับ
*24 มกราคม 2014

25 มกราคม 2013

25 มกราคม 2014

ฮัดเช้ย! บททดสอบชีวิต

25 มกราคม 2016
21 มกราคม 2017 ประชุมเครือข่ายแรงงานภาคเหนือ
28 มกรา
ผมบังเอิญพบปะคนที่ไม่ได้เจอกันนานหลายคน ระหว่างอยู่กรุงเทพฯ เช่น รุ่นพี่วิจิตรศิลป์ มช. ฯลฯ หรือผมนัดพบรุ่นพี่นักเขียน พร้อมเพื่อนนักเขียน ด้านสื่อคุยทั้งประวัติศาสตร์ห้างเซ็นทรัลฯ สื่อสมัยเก่าสมัยใหม่(เพลงฯลฯ) โดยบางประเด็นผมสนทนากับเพื่อนนักเขียน มาเป็นหลักทั้งด้านวรรณกรรม สื่อดิจิตอล (อีบุ๊ค ฯลฯ)บทหนัง หรือเพจศิลปะที่เราร่วมกันทำด้วย(*)
โดยยกตัวอย่างเราเดินผ่านโรงหนังสกาล่า ซึ่งผมได้เข้าไปถ่ายภาพเป็นความทรงจำ มาทบทวนเรื่องศิลปะ คือ Art Deco พอดีผมได้ซื้อหนังสือเล่มนี้ตามภาพประกอบไว้ราคาไม่แพง จึงมาดูแนวทางศิลปะนี้ในโรงหนังแห่งนี้ ที่มีผู้คนเคยเขียนไว้(**) โดยผมได้มาถ่ายภาพบันทึกความทรงจำด้วย
*Subways Magazine
https://www.facebook.com/Subways-Magazine-1053952811334842/
(เจ้าของเพจดังกล่าวเป็นนักเขียนฟรีแลนซ์อยู่ได้13 ปีตามคำพูดของเขา ผู้บอกให้ผมหาหนังสือเก่าของนักเขียนดังรุ่นเก่าไปฝากขายผ่านเขาได้)
** http://asaconservationaward.com/index.php/2016-06-13-15-23-31/commercial2555/373-scala-theater
28.2
ภาพกรุงเทพฯไปท่ารถสู่พิจิตรคิดถึงอดีตเรื่องรถตู้ และการโดยสารต่างๆ(*) ต่อมาผมเข้าวัดกับแม่พร้อมถ่ายภาพวัดท่าหลวง(**) ในความสัมพันธ์ของพุทธ อีกแง่มุมหนึ่งของเราเชื้อจีนในความลึกซื้งไทยกับจีน ประดุจปลากับน้ำ อุปมาอุปมัยสะท้อนบทความดังกล่าว(ดูภาพ) ในความทรงจำที่สะสมไว้ของผม เคยฟังแม่เล่าว่าผมเคยไปนครศรีธรรมราชกับแม่ ที่บ้านญาติ ผมงอแงจะดูหนังจีนกำลังภายในด้วย
*ข่าวเรื่องรถตู้ เปรียบกับผมถ่ายภาพจากรถสองแถว

ผมนั่งรถเมล์ในกรุงเทพฯ

**ข้อมูลวัดท่าหลวงพร้อมประวัติและจิตรกรรมฝาผนังหลังพระประธาน
http://pck.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=148%3A2009-08-24-06-18-23&catid=49%3A2008-10-29-14-45-26&Itemid=83
ปริศนาปัญหาพระธัมมชโย ธรรมกาย และสังฆราช
29 มกรา
ผมนั่งรถตู้ดูหนังในโทรศัพท์มือถือเปรียบเทียบกับนั่งรถทัวร์ขาไปกรุงเทพฯ มีหนังให้ดูหลายเรื่องตามภาพ(หรือไม่เห็นในภาพ) ยกตัวอย่าง 1.Pawn Sacrifice เดิมพันชาติรุกฆาตโลก(หมกมุ่นแข่งหมากรุกเกมกินสมอง)
2.The Nice Guys นักสืบเอกชนต้องร่วมมือกับนักเลงขาลุย ในการสืบสวนคดีฆาตกรรมปริศนาและการหายตัวไปของผู้หญิงคนหนึ่ง 3. Assassination ยัยตัวร้าย สไนเปอร์กลุ่มมือสังหารที่ประกอบไปด้วยแกนนำหลังอย่างสไนเปอร์สาว ที่ทำหน้าที่เป็นพลคอยซุ่มยิงและจัดการต่อต้านกับการรุกรานของญี่ปุ่นในเกาหลี
โดยหนังที่ผมพกพาดูผ่านโทรศัพท์มือถือส่วนตัวบนรถตู้ แนวเฮฮาตลกวัฒนธรรมชุมชนนิยมอย่างเรื่องผู้บ่าวไทบ้านอีสานอินดี้(หนังดังป็อบฯ กล่าวง่ายๆคนละแบบขอนแก่นอินดี้กับผ.ก.ก.อภิชาติพงศ์) หนังกึ่งสารคดีที่บางคนบอกไม่ดีเรื่อง Democracy After Death (Censored Version*)ผมดูแล้วดี ยกเว้นการเปรียบเทียบสังคมเศรษฐกิจการเมืองไทย หลังปี49กับไอโฟน เพราะผมไม่ได้ใช้ไอโฟนของแพง(ฮร่า) และการเปรียบเทียบประวัติศาสตร์ย้อนไปมาบางแง่มุมยกตัวอย่าง พฤษภา35 มีเรื่องสัญลักษณ์ม็อบมือถือแต่หายไปในเรื่องนี้
ต่อมาตอนขากลับนั่งรถทัวร์มาเชียงใหม่ ดูหนังจากโทรศัพท์มือถืออย่างSolaris หนังอวกาศความทรงจำและความรัก เท่าที่จำได้ๆเล่าย่อๆ มีหลายเรื่องที่ผมใส่ไว้ดูเล่น อีกเรื่องยกตัวอย่างสารคดีชีวประวัติของรพินารถ ฐากูร กวีโนเบลของอินเดียโดยผลงานของสัตยาจิต เรย์ ผู้กำกับในตำนานของอินเดีย ดูแบบมีสมาธิน้อย แต่สนใจในแง่สัตยาจิต เรย์ เรียนจบที่ศานตินิเกตัน สถานศึกษาของ รพินารถ ฐากูร และเขาถูกอ้างในงานของอ.เบน RADICALISM AFTER COMMUNISM IN THAILAND AND INDONESIAด้วย
เมื่อผมนั่งรถทัวร์อยู่นาน ดูหน้าจอทีวีของรถทัวร์เรื่องDivergent ภาคสอง(ดีกว่าคราวที่แล้วรถทัวร์ฉายMummyภาค3) หนังที่ผมไม่เคยดูภาคแรก และภาคสองเรื่องการเดินทางไปยังกลุ่มคนที่ถูกแบ่งเป็นกลุ่ม1. Abnegation: กลุ่มที่เสียสละ 2. Dauntless: กลุ่มผู้กล้า 3. Erudite: กลุ่มคนฉลาด 4. Amity: กลุ่มคนรักสันติ 5. Candor: กลุ่มคนยึดถือสัจจะส่วน Divergent คือ คนอันตรายที่ไม่สามารถแบ่งได้ชัดเจนว่าอยู่ในกลุ่มใด เพราะมีคุณสมบัติหลายอย่างอยู่ในตัว…การตามหาตัวตนว่าแท้จริงคุณเป็นคนแบบไหน คนประเภทที่สังคมกำหนดไว้ให้เป็น หรือ เป็นตัวของคุณเองจริงๆ(**) รีวิวสั้นๆ (ผมนำข้อมูลบางส่วนจากเน็ต และข้อถกเถียงของผู้คนในเน็ต บางคนบอกว่าหนังไม่ได้สมเหตุสมผลทางจิตวิทยา นำแบบทดสอบมาให้ลองดูด้วย***)
ในที่สุด หนังฉายไม่จบค้างคาจอภาพไป หลายชั่วโมงต่อมาคนนั่งข้างๆ ผมเรียกตัวเองว่าอาม่า อายุ77ปี ได้คุยเรื่องการเดินทาง และลูกที่ทำงานในนิคมอุตสาหกรรมลำพูน ฯลฯ สุดท้ายก็แยกจากการไปตามสภาพเวลา
*ข้อสังเกตผม นอกเหนือจากปัญหาเซ็นเซอร์ ในแง่ผมเคยอ่านประวัติคนสร้างสารคดีกึ่งหนัง และผมในฐานะผู้กำกับหนังสั้นเกี่ยวกับลุงนวมทอง รวมทั้งเคยเขียนบทความเกี่ยวกับลุงนวมทอง ซึ่งเปรียบเทียบมุมมองใหม่ ต่อประเด็นกรรมกร เช่น สารคดีกรรมกรฮาร่า โดยยกตัวอย่างน่าจะเน้นเพิ่มความเป็นกรรมกรแท็กซี่ หรือแรงงานนอกระบบอย่างลุงนวมทอง ในแบบนี้มากขึ้นด้วย
**http://www.majorcineplex.com/news/before-Insergent
***แบบทดสอบวัดบุคลิกภาพตามวิชาชีพ
https://www.arealme.com/16types/th/?ag
ข้อถกเถียงต่อหนัง
https://www.newmovie-hd.com/insurgent-%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%8F%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81-2015/
29.2
ภาพแม่ ณ วัดท่าหลวง(*)และป้ายรูปพระทำท่าแปลก(?) ณ วัดในพิจิตร โดยเรื่องเล่าความจริงพิจิตร มีความน่าสนใจไม่ได้แวะไป เช่น วังกรด(**)ความเป็นมายาวนานที่มากว่า 100 ปี ซึ่งยังมีความดั่งเดิมทั้งกายภาพ อาคาร อาหาร วิถีชีวิต บ้านเรือน ที่ไม่แตกต่างจากอดีต และเมื่อวานเพื่อนที่พิจิตรคุยทางข้อความเรื่องอดีตบอกไม่ได้เจอกันตั้ง25ปี(มีลูกแล้ว) เธอถามเรื่องหน้าตาของเธอเปลี่ยนไปหรือไม่ รำลึกอดีตกัน ครับ
*ถ้าผมอยู่กรุงเทพฯ ต่อเพื่อนชวนไปวัดเล่งเน่ยยี่ นี่เลยมาวัดท่าหลวง(ไม่ต้องตื่นเช้ารีบเร่งแย่งขึ้น แม้กระทั่งรถไฟฟ้าใต้ดินเบียดเสียดไปทำงาน หรือกรณีรถเมล์เล่าแล้วจะยาว)


**รมว.วัฒนธรรม ลงพื้นที่ จ.พิจิตร สำรวจตลาดย่านเก่าวังกรดตามโครงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม… http://nwnt.prd.go.th/centerweb/news/NewsDetail?NT01_NewsID=WNOHT6001070010001
30 มกรา
ตึกทรัมป์ ในงานเขียนของเดวิด ฮาร์วีย์ ที่ผมเคยเขียนไว้ กรณีกระแสม็อบมวลชนต่อต้านประธานาธิบดีอย่างนี้ คงไม่เหมือนเมืองไทยมีสไนเปอร์ เผาตึกทรัมป์ ต่อมาพรรคอีกฝ่ายมาเป่านกหวีด ปรี๊ดๆ
ใครจะชวนผมไปร่วมประท้วงบ้างให้ทุนผมไปอเมริกา จะได้ซ้อมร้องเพลงAs Tears Go By
It is the evening of the day
I sit and watch the children play
Smiling faces I can see
But not for me
I sit and watch
As tears go by
My riches can’t buy everything
I want to hear the children sing
All I hear is the sound
Of rain falling on the ground
I sit and watch
As tears go by
It is the evening of the day
I sit and watch the children play
Doing things I used to do
They think are new
I sit and watch
As tears go by
10 ก.พ.
การสะสมความทรงจำ(3 )
การประชุมเรื่องแรงงาน ทำให้ผมกลับมาทบทวนความทรงจำ(*) คือ 10 ก.พ. พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) – มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 หลังไม่มีการเลือกตั้ง 12 ปี ตั้งแต่รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500 ผลการเลือกตั้ง พรรคสหประชาไทยของจอมพลถนอม กิตติขจร ได้รับเสียงข้างมาก ต่อมาจอมพลถนอม ก็รัฐประหารตนเอง ต่อมาเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 ในแง่มุมจุดยืนส่วนตัวที่ได้สะสมความทรงจำไว้ต่อแรงงานภาคเหนือในยุคหลัง14 ตุลา 16
โดยโครงการนักศึกษาเพื่อกรรมกรเชียงใหม่ ประมาณต้นปี2518 ได้เกิดการประท้วงนายจ้างขึ้นในโรงงานแกะสลักขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง ย่านถนนวัวลาย ประตูเชียงใหม่ ผู้นำคนงานหญิงได้มาขอความช่วยเหลือจากทางนักศึกษา ซึ่งก็ได้ส่งนักศึกษาเข้าไปช่วยเหลือสนับสนุนทั้งกลุ่มผู้หญิง มช. นักศึกษาจากวิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพและกลุ่มครูประชาบาลเพื่อประชาชน ทำให้การเรียกร้องของคนงานประสบความสำเร็จด้วยดี ทั้งข้อเรียกร้องด้านค่าแรง การปรับปรุงสวัสดิการและสภาพแวดล้อมในโรงงาน
หลังจากการประท้วงครั้งนั้น ได้มีการจัดตั้งโครงการนักศึกษาเพื่อกรรมกรขึ้น เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนการต่อสู้ของบรรดาคนงาน ในโรงงานอุตสาหกรรม และหัตถกรรม ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยในเชียงใหม่ โดยมีไกรวุฒ ศิรินุพงศ์เป็นผู้ประสานงาน โดยใช้รูปแบบของโครงงานชาวนา ที่จัดตั้งขึ้นก่อนหน้านั้น โดยเน้นบทบาทให้กับนักศึกษาที่เป็นคนเมือง ดังนั้น กำลังหลักเป็นนักศึกษาจากวิทยาลัยพายัพ โดยการสนับสนุนของ สมบัติ ณ สุนทร นายกสโมสรนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ
กลุ่มนักศึกษาเทคนิคที่ร่วมโครงการกับไกรวุฒิ อาทิ ชูสิทธิ์ วิริยา,วรศักดิ์ กาวิล,อนุสรณ์ ไชยวรรณ ออกจากโครงการชาวนาไปช่วยงานกรรมกรพร้อมๆ กับน้องๆ อีกจำนวนหนึ่งประมาณ 10 คน โดยเช่าบ้านเป็นที่ตั้งสำนักงานอยู่หลังวัดสวนดอก ถนนสุเทพ การทำงานราบรื่นไปด้วยดีทุกประการ การจัดกลุ่มศึกษาในกลุ่มคนงานประสบผลสำเร็จเป็นอันมาก
ขณะเดียวกันความขัดแย้งในกลุ่มนักศึกษา ที่วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ ได้เพิ่มระดับความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เนื่องจาก กอ.รมน.ได้จัดตั้งกลุ่มเคาน์เตอร์ลักษณะเดียวกันกับกลุ่มกระทิงแดงขึ้นที่นั่น ซึ่งกลุ่มเหล่านี้ได้ปรากฏตัวออกมาก่อกวนประปรายด้วยปาระเบิดหน้า มช.และปาระเบิดบริเวณรอบนอกของการชุมนุมประท้วงกรณี 9 ชาวนาที่หน้าศาลากลางเชียงใหม่(หอศิลป์ฯปัจจุบัน(น่าจะเป็นหน้าอนุสาวรีย์สามกษัตริย์)จากข้อมูล) เป็นต้น
กลางดึกคืนวันหนึ่ง ในห้วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2518 ได้เกิดการลอบวางระเบิดสำนักงานโครงการนักศึกษาเพื่อกรรมกร ทำให้บ้านทั้งหลังพังยับเยิน ในขณะนั้นมีนักศึกษาอาสาสมัครนอนพักอยู่ 4 คน แรงระเบิดทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 คน และเสียชีวิต 2 คน คือ ประจวบ พงษ์ชัยวิวัฒน์ คนหางดง จังหวัดเชียงใหม่ และ ประสิทธิ์ คำปันติ๊บ คนจังหวัดเชียงราย และเป็นนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพทั้งสองคน เหตุการณ์ครั้งนั้นสร้างความสะเทือนใจให้กับไกรวุฒและทีมงานมาก การคุกคามไม่มีทีท่าว่าจะยุติลงง่ายๆ (**) หลายคนเข้าป่า ยกตัวอย่างสมบัติ ณ สุนทร เมื่อเกิด6ตุลา ต้องหนีข้ามแม่น้ำโขงข้ามไปฝั่งลาว ด้านอำเภอเชียงของ เป็นต้น จนกระทั่งหลังจากปี2520 แรงงานไม้แกะสลักสู่การเปลี่ยนแปลงเป็นกลุ่มผู้ประกอบการมากขึ้น(***)
จากประวัติศาสตร์ความทรงจำเป็นอัตลักษณ์ หรือตัวตนต่างกันไป ยกตัวอย่างบางคนเแง่มุมอดีตจากข้อมูลภาพเล่าเรื่องในหนังสืองานศพของไกรวุฒ มีภาพสุเทพ เทือกสุบรรณ รุ่นพี่รัฐศาสตร์ของไกรวุฒ (รุ่น16)กรณีกลับด้านประวัติชีวิต ในแง่มุมศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์) จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2515 ระหว่างเป็นนักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกรรมการสโมสรนักศึกษาและเป็นประธานสภานักศึกษามช. จากข้อมูลวิกิพีเดีย และดูหนังสือThe Power of Change กำนันสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่อยู่ทำงานในมช.ต่อมาไปเรียนอเมริกา(****)มาปี2553 ถึงมวลมหาประชาชน กลายเป็นเรื่องยาวเป่านกหวีด ล้มเลือกตั้ง ต่อมาทหาร เป็นคสช. ในปัจจุบันของภาวะปรองดองไม่แน่นอนในประเทศไทย
*การสะสมความทรงจำ(2)

6ตุลา(40ปีแล้ว) รำลึก

(ผมเคยเขียนถึงไปแล้วข้อมูลช่วง14 ตุลา จากหนังสือ+เว็บอย่าง2519me+เฟซฯ กลั่นจากความทรงจำ ภาคเหนือตอนบน)
งานเขียนที่น่าสนใจดูเพิ่มเติม:พื้นที่ความทรงจำเดือนตุลาในภาคเหนือ ประวัติศาสตร์การเมืองแบบลักปิดลักเปิด
http://journal.human.cmu.ac.th/ojs//files/journals/1/articles/82/public/82-402-1-PB.pdf
**หนังสืออนุสรณ์ในงานฉาปนกิจศพ นายไกรวุฒ ศิรินุพงศ์ 5 ก.พ.49 ณ เมรุวัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพฯ ในไกรวุฒ ศิรินุพงศ์ กับการต่อสู้ของขบวนการนักศึกษาประชาชนภาคเหนือ โดยผดุงศักดิ์ พื้นแสน หน้า 162-165(ภรรยาของศักดิ์ ดวงไชยสิงห์ นำคนงานหญิงลุกขึ้นสู้กับนายจ้าง โดยศักดิ์ คือ ชื่อจริงของอ้ายแสงดาว ) และมีงานเขียนต้นสายธารขบวนการนักศึกษาภาคเหนือฯ ซึ่งหนังสืองานศพของไกรวุฒ มีภาพบุคคลสำคัญ เช่น จาตุรงค์ ฉายแสง,วิษณุ เครืองาม,ธานินทร์ กรัยวิเชียร อดีตองคมนตรี มาร่วมงานศพ ฯลฯ เป็นต้น(ขอบคุณ ชมรมนักศึกษากับการเมืองเพื่อการพัฒนา มช.(ผู้หนึ่งเคยร่วมงานรำลึกนิสิต จิรโสภณ อดีตผู้นำนศ.)ที่เก็บหนังสือไว้ส่งต่อให้ผมด้วย)
ภาพประกอบหนังสืองานศพ
ดูเว็บเพิ่มเติมได้
การต่อสู้ของกระบวนการนักศึกษาประชาชนภาคเหนือ… โดย ผดุงศักดิ์ พื้นแสน
http://2519me.net/NTOctober/NTOcontent/NTOfiles/northernmemostudentpolitichistories5.htm
***งานเขียนน่าสนใจของขาดบริบทการต่อสู้นี้ โดยรวมบริบทอธิบายทางประวัติศาสตร์จากหลังปี2520 อ่านงานอ.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. ความเปลี่ยนแปลงในกระบวนการสร้างหัตถกรรมไม้แกะสลักเพื่อขาย ในศิลปวัฒนธรรม(2537).อีกทั้งเรื่องการแกะสลักไม้ถึงลำพูน หรือดูเอกสารคำสอนกระบวนวิชา๐๐๔๔๗๒ ปัญหาในการศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนา(จะมีเรื่องความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมภาคเหนือในแง่ภาคอุตสาหกรรมหลังปี2516) หรือยกตัวอย่างหนังสือเสน่ห์ไม้แกะสลักล้านนา และหนังสือศิลปะพื้นบ้านล้านนา : การเปลี่ยนแปลงเพื่อการดำรงอยู่
****สุเทพ ลั่นไม่เซ็น MOU ปรองดองย้ำไม่เอานิรโทษกรรม 112 ด้านณัฐวุฒิ อัดอย่าเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง
http://prachatai.com/journal/2017/01/69664
(สุเทพ จากทำกิจกรรมตอนเรียนเดินขบวน จัดปราศรัย(ไฮปารค์)เรียนจบปี15 เคยอยู่ในยุคแนวคิดของ 3 ประสาน คือ กรรมกร ชาวนา และนักศึกษา/ปัญญาชนต่อมาทำงานที่มช.1ปีก่อนไปเรียนต่ออเมริกา แน่ละประเด็นเรื่องตัวตนคนเดือนตุลาเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนผมได้กล่าวไปบ้างแล้ว แต่การศึกษาอเมริกาสะท้อนคนแบบสุเทพ?)
“ป.ป.ช.” แจงไม่เอาผิด “สุเทพ” รับเงิน-นกหวีดทองคำ” ตอนชุมนุม กปปส.
https://www.matichonweekly.com/hot-news/article_22705
11 ก.พ.
วันมาฆบูชา ทบทวนความทรงจำ(*) ก่อนสังฆราชปัจจุบันขึ้นดำรงตำแหน่งผม ไปได้ข้อมูลจากแหล่งข่าวหนึ่ง ใช่ตามข้อมูลนั้นด้วย
ดังนั้น ผมหวนคิดถึงภาพไม้แกะสลักลายจักรวาลหรือไตรภูมิ
*ปริศนาปัญหาพระธัมมชโย ธรรมกาย และสังฆราช

ภาพกรุงเทพฯไปท่ารถสู่พิจิตรคิดถึงอดีตเรื่องรถตู้ และการโดยสารต่างๆ
วันนี้ผมเข้าวัด เห็นภาพแนะนำรอยพระพุทธบาทศิลปะล้านนาจำลอง
12 กพ
ผมอ่านหนังสือเกี่ยวกับหนัง คิดถึงหนังที่เพิ่งดูที่ผ่านมาภาคหนึ่งของ JOHN WICK(*) ดูแล้วน่าสนใจไปอาจจะไปดูหนังบู๊เรื่องนี้ภาคสองในโรงหนัง แต่หนังผีชีวะ ภาคอวสาน ดูแล้วบทค่อนข้างมั่วๆ แล้วดูย้อนหลังแต่ละภาค ยกตัวอย่างสั้นๆ กรณีดร.ไอแซค นี่ชวนให้แปลกใจ จากภาคก่อนๆ บทบาทไม่ค่อยมีแทบจะหายไปแล้ว ต่อมาเรื่องความทรงจำของอลิซ กลายเป็นประเด็นขึ้น ที่มาที่ไปดูมันส์ๆ อย่าไปคิดมากถึงหนังนี้มัน มีปรัชญามนุษย์นิยม(ไม่ใช่มนุษย์โคลนนิ่ง?) หรือธรรมชาตินิยม(?) ฯลฯ บางคนบอกที่หนังเรื่องนี้ต้องจบ นางเอกเริ่มแก่แล้ววิ่งไม่ไหว(ฮร่า) แล้วผมดูอยู่ดี
อย่างไรก็ตาม หนังที่อยากดูเช่น หนัง Tomorrow I will date with Yesterday’s You เห็นเพื่อนบอกว่าดี ฯลฯ หรือหนังหลายเรื่องที่ดูไม่ได้เล่าก็มีอยู่พอแค่นี้ก่อน ครับ
(ภาพประกอบจากหนังสือบุ๊คไวรัส A-Z หนังวรรณกรรม https://www.goodreads.com/book/show/23153372-01)
*ผมนั่งรถตู้ดูหนังฯ
JOHN WICK
Cherdchai Prasertsung คนเงียบเหงานี่…
อรรคพล สาตุ้ม เดาว่าคนเงียบเหงา นี่น่าจะหมายถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ทำให้คนไปดูหนังน้อยลง ผมยังเก็บตังค์คิดแล้วคิดอีก เช่น อยากดูหนังAmerican Honey หนังได้รางวัล แต่เพื่อนบอกไม่ดีหนังอินดี้ที่เก่ามาก วิธีถ่ายทำก็เก่า ถือกล้อง ถ่ายย้อนแสง เขาทำกันมาเยอะ มันแค่ลอกสไตล์ตามกันมา หนังอินดี้ก็ถ่ายเนี้ยบได้ ทำมุมกล้องเจ๋งๆ ได้
เมือกี้คุยข้อความถามหนังอีกเรื่องว่าน่าดูในโรงหนังด้วย
อรรคพล สาตุ้ม รัฐบาลบอกมีปัญหาไม่ถนัดเศรษฐกิจ กระแสโจมตีเรื่องเงินคงคลังน้อย ขาดดุลงบ ฯลฯ ส่วนตัวผมได้แรงบันดาลใจหาเงินก่อนจากภาพที่ดูหนังสือภาพราคาแสนกว่าบาท ครับ https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1590929444269611&id=100000577118415
12.2
การเลือกตั้งที่อเมริกา มีการเปรียบเทียบกับฟิลิปปินส์ ที่ได้ประธานาธิบดี ไม่ดี มีคนพูดถึงปรากฏการณ์ของมวลชน แนวประชานิยม(Populist) ฝ่ายขวากัน โดยผมเคยเขียนเปรียบเทียบไทยกับฟิลิปปินส์ไปแล้ว ในแง่มุมชุมชนจินตกรรมฯ ขยายความแง่มวลชน แนวประชานิยม เป็นองค์ประกอบชาตินิยมด้วย อย่างไรก็ดี ก่อนหน้าที่จะเป็นดูแตร์เต(จากมินดาเนาที่เปรียบเทียบกับชายแดนใต้ไทย) คือ อากีโนที่3 ก็ไม่โดนรัฐประหารจากกองทัพ หรือทรัมป์คงไม่โดนรัฐประหารจากทหาร(*) และตึกทรัมป์(**) ต้องระวังจะเป็นเหมือนตึกเวริด์เทรด คนขึ้นเครื่องบินคงกังวล
(ภาพประกอบเกี่ยวกับตึกทรัมป์)
*ดูข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมที่ผมรวบรวมไว้ก่อนและหลังเลือกตั้งในอเมริกา ยกตัวอย่างพรรคกรีน แซนเดอร์ส และฮิลารี
‘โดนัลด์ ทรัมป์’ ส่งสัญญาณต่อต้านสหภาพแรงงาน-หนุนบรรษัทใหญ่ข่มเหงคนทำงาน
http://prachatai.com/journal/2016/12/69216
ทรัมป์ 101: ที่มาและที่ไปของสหรัฐอเมริกายุคประธานาธิบดีทรัมป์
http://prachatai.com/journal/2016/12/69223
วิธีการนอกลู่ของทรั้มพ์
http://thaienews.blogspot.com/2016/12/blog-post_91.html
ทรัมป์กับโลกปัจจุบัน โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
http://www.matichon.co.th/news/331902
ชาวอเมริกันประท้วงไม่เอาทรัมป์
…ฝูงชนผู้ประท้วงในนครชิคาโก้ รัฐอิลลินอยส์ ต่างออกมารวมตัวป่าวร้อง “ไม่เอานายทรัมป์ ไม่เอาองค์กรเหยียดผิว ไม่เอาลัทธิชาตินิยม และนายทรัมป์ไม่ใช่ประธานาธิบดีของพวกเขา”
http://tr-online.phalcon.ni11.pw/clip/84621
เบอร์นี แซนเดอร์ส สุภาพบุรุษนักการเมืองสายพันธุ์ใหม่http://www.komchadluek.net/news/foreign/221912
เบอร์นี แซนเดอร์ส ชี้เหตุแพ้โหวตไพรมารี สหรัฐฯ “คนรายได้น้อยไม่ยอมมาใช้สิทธิทางการเมือง”
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1461753680
เลือกตั้งสหรัฐฯ: พรรคกรีน-ทีมคลินตัน ขอนับคะแนนใหม่บางรัฐหวั่นถูก ‘แฮก’ ผลเลือกตั้ง
http://prachatai.com/journal/2016/11/69058
NOAM CHOMSKY CALLS FOR ‘MILITANT LABOR MOVEMENT’ TO TRANSFORM AMERICAN POLITICS AND FIGHT TRUMP
http://www.inquisitr.com/3932163/noam-chomsky-calls-for-militant-labor-movement-to-transform-american-politics-and-fight-trump/
**ตึกทรัมป์ ในงานเขียนของเดวิด ฮารวีย์
12.3
ผมดูรูปภาพไตรภูมิ คิดสร้างงาน แล้วเกิดแรงบันดาลใจอยากจับดินสอทำภาพสเก็ต น่าสนใจวาดบ้าง
12.4
วันนี้กินข้าวกับปลาเลยก้างปลาติดคอ บางทีรีบเร่งก็ไม่ดี พักผ่อนก่อน ฮร่า ราตรีสวัสดิ์ ครับ
13 ก.พ.
ผมพยายามเป็นนักอ่านที่ดี ดูงานศิลป์ไม้แกะสลักที่วัดพันอ้นตามการอ่านหนังสือ น่าจะได้รางวัลจากกระทรวงวัฒนธรรม น่ะ ฮร่า (ครม.เห็นชอบ แผนแม่บทส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ตั้งเป้าระยะ 5 ปี คนไทยใช้เวลาในการอ่านเฉลี่ย 90 นาทีต่อวัน กระตุ้น-ส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่าน-สร้างสังคมไทยสู่สังคมแห่งการเรียนรู้)
http://www.m-culture.go.th/th/ewt_news.php?nid=7778&filename=index
13.2
เพื่อนแนะนำหนังMoonlights บอกหนังเกย์ให้ลองดูคิดในใจตลกแล้ว นี่จะวาเลนไทน์ น่ะเฟ้ย บังเอิญเจอบทความเรื่องเกย์ๆ อีกฮร่า
เว็บเกย์อ้าง “ฮ่องเต้ฮั่น” ส่วนใหญ่เคยผ่านประสบการณ์ทางเพศกับผู้ชายด้วยกัน
14 กพ
“รักในใจไม่หายไป”
ในใจกลางความทรงจำ
ผ่านภาพวาดสีน้ำเก่า
เราไม่ลืมจืดจาง
รักอันงดงามกาลเวลา
หลายปีดีดักมิแต่งงาน
ดั่งตกนรกหมกไหม้
คนเรามีแก่ใจคิดถึงกัน
ตราบใดโลกเรามีรักหวังดี
จักปราศจากเลวร้ายระยำ
จำไว้สุดท้ายสะสมพลังเล็ก
น้อยคอยตลอดเปลี่ยนโลก
นี้ให้เกิดสวนสวรรค์เราด้วยกัน
(ภาพวาดสีน้ำเก่าๆ โดยผมวาดเองจากต้นแบบภาพวาดสีน้ำมันมั้งจำไม่ค่อยได้ แหะๆ ถ่ายภาพเล่นๆสร้างคำ ให้รำลึกความทรงจำ)
15 กพ.
หลายวันมานี้ไปหลายสถานที่เรื่องวิเคราะห์ตัวเลขหวยหรือล็อตตารี่ ได้ยินมาต้องซื้อบ้าง ตามภาพประกอบของผม หาเงินเผื่อสร้างหนังสั้น เนื่องจากไม่มีทุนส่งประกวด ดูบทความคนเขียนเกี่ยวกับหนัง Resident Evil ในนิตยสารเกี่ยวกับปรัชญาฯ ทำให้บังเอิญอ่านเจอหนังสือคนเขียนคนเดียวกันเกี่ยวกับล็อตตารี่ จับสลาก อยู่ที่โชคดี มีทั้งทฤษฎี ฯลฯ เยอะแยะ คนเขียนสอนรัฐศาสตร์ด้วย
Peter Stone teaches Political Science at Trinity College Dublin. He is the author of The Luck of the Draw: The Role of Lotteries in Decision Making (Oxford University Press, 2011).
Zombie Movie Morals (I) | Issue 96 | Philosophy Now
https://philosophynow.org/issues/96/Zombie_Movie_Morals_I
16 ก.พ.
ข่าววัดธรรมกาย ไม่ใช่เกมจับโปเกม่อน นี่เป็นปัญหาจริงๆ ในแง่ส่วนตัวทบทวนความทรงจำได้จากงานเขียนเก่าๆ ติดตามได้(*) การเมืองในศาสนาพุทธไทย
*https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1589896007706288&set=a.103468286349075.7792.100000577118415&type=3&theater
16.2
ผมหาเรื่องเล่าหลังซื้อหวยบ่ถูก หวนความทรงจำเผลอซื้อหนังสือราคาถูกจากงานสัปดาห์หนังสือมช.มาหลายเล่ม ไม่อยากซื้อมาเต็มห้อง แต่เห็นหนังสือเกี่ยวกับหนังราคาถูกบางเล่ม โดยผมอ่านหนังสือของ 8 ผู้กำกับภาพยนตร์ระดับครูฯ(ผมมีหนังสือของฟิลม์ไวรัสหลายเล่ม และเล่มนี้filmsickร่วมเขียนด้วย) และหนังสือสี่ยอดผู้กำกับแห่งเอเชียตะวันออกฯตามรูป ซึ่งส่วนตัวจริงๆ ผมไม่เชื่อทฤษฎีประพันธกร (Auteur Theory)ต่อผู้กำกับ
แน่ละผู้กำกับไม่ใช่แค่กำกับการแสดง ฯลฯ ผมเชื่อความเป็นทีมมากกว่าผู้กำกับแนวนี้ น่าสนใจหาอ่านเพิ่มเติมแบบผกก.สัตยาจิต เรย์ เคยกล่าวถึงเทคนิคถ่ายภาพ และช็อตการถ่ายภาพบริบทบรรยากาศ
โดยผมเล่าย่อๆ พร้อมข้อมูลที่อ้างอิง คือ เรย์พูดถึง…ข้อจำกัดของงบประมาณเรย์เชื่อว่า เหตุผลเบื้องต้นที่ทำให้หนังกลุ่มนิวเวฟของฝรั่งเศสหลีกเลี่ยงความประณีต ก็เพราะความประณีตต้องอาศัยเวลา และเวลาหมายถึงเงิน เพียงแต่อัจฉริยภาพของกลุ่มนิวเวฟคือการพลิกวิกฤตเป็นโอกาสนี่เอง ในเมื่อหนังอย่าง Jules et Jim ของฟรังซัวส์ ทรุฟโฟต์ ต้องการเล่าเรื่องราวที่ทวนกระแสอยู่แล้ว เนื้อหาจึงไปกันได้ดีกับรูปแบบที่ใช้การตัดต่อแบบกระโดด (jump-cut) การหยุดภาพนิ่งและการถ่ายจากกล้องแบบ handheld ถ้าลองจินตนาการว่าหนังเรื่องนี้ใช้วิธีถ่ายทำเรียบรื่นประณีตแบบหนังทั่วไป เราคงไม่รู้สึกอ่อนไหวไปกับพฤติกรรมเพี้ยน ๆ ของตัวละครในหนังเรื่องนี้เป็นแน่
http://bookvirus50d.com/%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1-satyajit-ray-%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B5-%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A3/
21 กพ.
“อุดมการณ์และวัฒนธรรมพุทธไทย” กรณีครูบาศรีวิชัยกับพระธัมมชโย
21 กุมภาพันธ์2455 (ค.ศ. 1913) – พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงออกพระราชบัญญัติเรื่อง “ประกาศวิธีนับวัน เดือน ปี” ให้เลิกใช้รัตนโกสินทรศก และให้เปลี่ยนไปใช้พุทธศักราช เป็นศักราชประจำชาติ โดยวันที่ 21 ก.พ.พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) – ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา มรณภาพ
โดยประวัติของท่าน ตั้งแต่เกิดมีบิดา ชื่อนายควาย และมีลูกศิษย์ครูบาขาวปี๋ ที่ต้องนุ่งห่มขาว ซึ่งประเด็นเด่นๆ เช่น ถูกจับอธิกรณ์ครั้ง 2 เป็น “กบฏในพุทธจักร “อธิกรณ์ครั้งที่ 4 ในข้อหากบฏผีบุญ เจ้าคณะแขวงลี้และนายอำเภอกล่าวหาว่า วัดบ้านปางไม่ยอมจัดทำซุ้มถวายพระพรที่ประตูรั้ว ปฏิเสธการตีฆ้องลั่นกลอง ตามประทีปโคมไฟ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช รัชกาลที่ 6 (มีกบฏ รศ.130 เรียกร้องประชาธิปไตยเป็นความเจริญก้าวหน้า) เป็นต้น
เมื่อเราสามารถค้นดูทบทวนยกตัวอย่างครูบาศรีวิชัย(รูปปั้นสมัยยุคจอมพลสฤษดิ์) เป็นประวัติศาสตร์ของการเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่าง ในแง่ที่ผมเคยเขียนเรื่องเน้นปัญหาเชิงโครงสร้างอย่างวัฒนธรรม มาต่อเนื่องแล้วจากแนวประวัติศาสตร์(*) โดยย้ำซ้ำหนังสืออย่างSiam mappedฯ เคยเขียนถึงเรื่องประวัติอดีตสำนักธรรมกายกับผู้นำทหารฯลฯ ด้วย
ที่นี้ ผมเขียนย่อๆในแง่การเปลี่ยนแปลงของวัดเอง ความสำคัญของปัญหาโครงสร้างส่วนบน ทั้งอุดมการณ์ และวัฒนธรรมความเป็นพุทธ ที่ปะทะกับอุดมการณ์ลัทธิทหาร อำนาจนิยมใช้ม.44 เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่รอการพิสูจน์ของธัมมชโย ไม่ใช่ให้อุดมการณ์ทหาร ยกตัวอย่างจอมพลสฤษดิ์ มีกรณี กบฏผีบุญ ศิลา วงศ์สิน ตั้งตนเป็นผู้วิเศษเป็นผู้มีบารมีเหนือคนอื่น อ้างว่าตัวเป็นพระศรีอาริยเมตไตรย โดยจอมพลสฤษดิ์สั่งให้ใช้ ม.17 ประหารนายศิลา ด้วยการยิงเป้า ที่จังหวัดที่เกิดเหตุ นครราชสีมา ปิดตำนานผีบุญ(“เขาว่ามึงทำตัวเป็นผู้วิเศษ?”โดย กนก รัตน์วงศ์สกุล เปรียบนายศิลากับพระธัมมชโย)
ดังนั้น ประวัติศาสตร์สะท้อนให้เห็นการเปรียบเทียบของอุดมการณ์และวัฒนธรรมอย่างไม่ให้ประชาชน เสรีบังคับ ต้องให้เราเลือกเชื่อลัทธิทหาร มาจากรัฐประหารยุคจอมพลสฤษดิ์ ถึงคสช. ที่ไม่ได้มีสิทธิเสรีภาพมาจากเลือกตั้งของประชาชนในพ.ศ.นี้
*ย้อนดูลิ๊งค์ต่างๆ ที่ผมเขียนมาแล้วตามลิ๊งค์ได้ ทั้งเรื่องประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสงฆ์ ฯลฯ

**ภาพประกอบผมถ่ายภาพจากทางขึ้นพระธาตุดอยสุเทพ
(หลายปีจากท่านมรณภาพ ต่อมามีการปั้นรูปครูบาศรีวิชัยโดยศิลป์ พีระศรี)
23 กพ.
การสะสมความทรงจำ(จบ)
23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) – พล.อ. สุนทร คงสมพงษ์ ประธานคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ก่อรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 ร่วมด้วยพลเอกอิสระพงศ์ หนุนภักดี(บิ๊กตุ๋ย เสียชีวิต17 ก.พ.60) ฯลฯ โค่นล้มรัฐบาล พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาเกิดพฤษภาทมิฬ 2535
เมื่อผมเปรียบเทียบทบทวนความทรงจำจากเรื่องเล่าการสะสมความทรงจำ(*) ซึ่งยกตัวอย่างตอนผมเรียนป.โท มช.เจอรุ่นพี่พรรคนศ.ฯ ที่มีชื่อในยุคพฤษภา 35 ณ ท่าแพ ในนาม “สมช.”(**) และข้อสังเกตความทรงจำอาจจะรายละเอียดมีแต่ละกลุ่มยุคนั้น ที่ร่วมกันสู้มีทั้งสหภาพแรงงานในกรุงเทพฯ กลับมาเรียนป.โท ก็ได้คุยกันอย่างรุ่นพี่ก็มาแนวสนใจทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อม ส่วนตัวผมก็เคยเล่าประวัติส่วนตัวสมัยพรรคนศ.การออกค่ายต่างๆ(ผมเคยทำงานดำรงตำแหน่งสวัสดิการ สมช.)และกิจกรรมไปบางส่วนในมรดกความทรงจำ (***)
โดยผมทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับแม่น้ำโขง และผมได้รางวัลยอดนักอ่านในปี2548 เขียนถึงหนังสือรวมเรื่องสั้นเจ้าชื่อทองกวาว ซึ่งบริบทหนังสือ คือ ปี2500ถึงปี2511 กว่าจะมีร่างรัฐธรรมนูญได้ เกิดกระแสเรียกร้องรัฐธรรมนูญ และการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรเพื่อนำระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยทางรัฐสภากลับสู่ประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง กระแสเรียกร้องสูงขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดได้เกิดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นในปี 2512 โดยผู้นำทางทหารได้จัดตั้งพรรคสหประชาไทยขึ้นและสามารถเอาชนะเลือกตั้งได้ จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรีและจอมพลประภาส จารุเสถียรเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ควบคุมอำนาจทางการเมือง การปกครอง เอาไว้ทั้งหมด
ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปี 2512 นักศึกษาผู้สนใจด้านวรรณกรรม ใน ชมรมวรรณศิลป์ ได้รวมตัวในนาม กลุ่มหนุ่มที่ราบอิงดอย เช่น สุภาพ คลี่ขจาย, ธงชัย สุรการ, สุเมธ แสงนิ่มนวล, สถาพร ศรีสัจจัง ฯลฯ ร่วมกันทำหนังสือ เจ้าชื่อทองกวาว โดยเนื้อหาสาระ นอกจากจะเป็น พวกที่เรียก ว่า สายลม แสงแดด แล้ว เริ่มมีการให้ความสนใจปัญหาทางสังคมบ้าง เช่น ความฟอนเฟะทางวัฒนธรรม อันเป็นผลพวง มาจากฐานทัพสหรัฐในประเทศไทย… (****)
ฉะนั้น ผมอ่านเจ้าชื่อทองกวาวได้ความรู้ผ่านการรับรู้ช่วงเวลานั้นมาจากประสบการณ์เป็นนักศึกษา เมื่อคนแต่ละคนมีชีวิตกับการศึกษา เรียนจบไป แยกย้ายทำงานคนละทิศคนละทางตามเส้นทางตนเอง บางครั้ง คนบางคนได้จากเราไปพร้อมกับชีวิตของเขาหรือทิ้งฝันกับอุดมคติฝากไว้ ก็เหมือนที่ผู้เขียนหลายคนในหนังสือทองกวาวได้ถ่ายทอดประสบการณ์เอาไว้ ในเรื่องสั้นด้วย
ดังนั้น ประวัติศาสตร์ของความทรงจำสะท้อนอัตลักษณ์หรือตัวตนของผม(*****) ผ่านข้อมูลอุปมาการสะสมความทรงจำ อันยุ่งเหยิงเกินจริงดั่งเรื่องสั้น/เรื่องยาว และบริบทจริงๆในความเป็นจริงชีวิตเราเกิดแก่เจ็บตายเป็นธรรมชาติ
โดยสรุป ผมเขียนให้เห็นเปรียบเทียบHero เช่น จำลอง(ประวัติ6ตุลามาพฤษภาต่อมาพธม.+สมณะโพธิรักษ์ฯลฯ),สุเทพ(ก่อน14ตุลามากปปส.+พระพุทธะอิสระท้าท้ายพระธัมมชโย เป็นต้น) ในอดีตบางแง่มุมต่ออัตลักษณ์ตัวตนเปลี่ยนไป แม้ว่าโรดแมปของรัฐบาลคสช.ตั้งแต่แรก ถ้าจำกันได้ ก็อยากให้สมานฉันท์ หรือวาทกรรมปรองดอง ก็มีข้อถกเถียงเรื่องความสมานฉันท์ สามัคคี มาตั้งแต่ยุค6 ตุลา โดยทบทวนความทรงจำเรื่อง 6 ตุลา ความอิหลักอิเหลื่อแห่งชาติ และอ่านเรื่อง “ข้ามให้พ้นประชาธิปไตยแบบหลัง 14 ตุลา” นั่นแหละ กลายเป็นคสช. แต่เราเชื่อมั่นต่อธรรมชาติของมนุษย์นิยม ในความยุติธรรม รวมทั้งสิ่งแวดล้อมไม่ว่าผลกระทบกรณีโรงไฟฟ้าถ่านหิน นี่แหละความทรงจำของผมจากปี2540-60ด้วย
*การสะสมความทรงจำ(3)

(หลัง14 ตุลา บางคนต้องหนีจากเชียงใหม่ข้ามแม่น้ำโขงข้ามไปฝั่งลาว ด้านอำเภอเชียงของอย่างที่เล่าไปแล้วโดยภาพประกอบแผนที่แสดงแม่น้ำของ(โขง)ในไตรภูมิ รวมทั้งแผนที่อุปมาเป็นชาติยุคนั้นด้วย)
**ข้อมูลรุ่นพี่ยุคพฤษภา35 ตอนปี48-50 เล่นการเมืองอยู่พรรคประชาธิปัตย์ ในปัจจุบัน ผมเข้าใจว่าเลิกเล่นการเมืองแล้ว(ดูภาพประกอบและลิ๊งค์เพิ่มเติม)
http://www.asoke.info/09Communication/DharmaPublicize/Book/jumlonglife/jumlong_006.html
ประวัติพรรคนักศึกษายุวธิปัตย์ ในช่วงพฤษภา 35
Powered by
Publish for Free
(ผมเข้ามหา’ลัยปี40 เพื่อนสมัยทำกิจกรรมน้อยกว่าผม โดยเปรียบเทียบไม่ได้บอกว่าตัวเองเก่ง สมัยแสวงหาไปหลายชมรมวรรณศิลป์ ชมรมอาสาฯ ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติฯลฯ ทำตำแหน่งกรรมการหอพักนศ. ผู้ให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ พวกนศ.กิจกรรมสมัยนั้นก็มีเรื่องซีเรียสแบบยุคนั้น บางคนสมัยก่อนทำกิจกรรมนศ.น้อย ตอนโตมาเป็นเอ็นจีโอโด่งดัง หรือคนทำกิจกรรมมาก สมัยผมบางคนไม่ได้ทำกิจกรรมแล้ว รายละเอียดนี้นศ.กิจกรรมหลังพฤษา35 อาจจะเป็นหัวข้อวิจัยได้อีกต่างหาก)
***ภาพประกอบของผมกับหนังสือเจ้าชื่อทองกวาว แบบดัดแปลงกับเอกสารในความทรงจำด้วย
http://library.cmu.ac.th/cmubookfair/bookfair12/readwithbf02.html
(ภาพประกอบสมุดบันทึกออกค่าย รวมทั้งรูปผม)
เมื่อวันที่ 14 มกรา ที่ออกพื้นที่เรื่องงาน
หลายวันก่อน ผมพบปะสนทนาผู้คน และต่อมาต้อนรับพ่อในวันศุกร์
พินิจพิเคราะห์น้ำท่วมภาคใต้ต่อน้าตู่
ช่วงของชีวิตที่ต้องอ่านหนังสือหลายเล่ม(ยกตัวอย่างHistory, memory, identity อ้างงานชุมชนจินตกรรมฯโดยอ.เบน)
ภาพทบทวนการเดินทางจากประชุมงานฯ ที่เชียงใหม่(ทำให้ผมดูบันทึกเก่ากับทำบันทึกใหม่*)มากรุงเทพฯ
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1571385649557324&id=100000577118415
จากหอศิลป์ฯ มาเซ็นทรัลworld
ต้อนรับตรุษจีน ถ่ายรูปคู่กับตุ๊กตาหินจีน(ศิลปะจีน) ต่อมาภาพไหว้พระเข้าวัดดูภาพจิตรกรรมที่วัดปทุมวนาราม
ภาพกรุงเทพฯไปท่ารถสู่พิจิตรคิดถึงอดีต

นั่งรถตู้ดูหนัง
****ต้นสายธารขบวนการนักศึกษาภาคเหนือ
http://www.2519me.net/NTOctober/NTOcontent/NTOfiles/northernmemostudentpolitichistories4.htm
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2511) ภายใต้รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ใช้เวลาร่างร่วม 9 ปีเศษ
(10 ที่สุดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1400849024&grpid=02&catid=02
14 ตุลา ในต่างจังหวัด เช่น เชียงใหม่
http://www.14tula.com/province/chiangmai.htm
*****เปรียบเทียบกับกำนันสุเทพ จากทำกิจกรรมตอนเรียนเดินขบวน จัดปราศรัย(ไฮปารค์)เรียนจบปี15 เคยอยู่ในยุคแนวคิดของ 3 ประสาน คือ กรรมกร ชาวนา และนักศึกษา/ปัญญาชนต่อมาทำงานที่มช.1ปีก่อนไปเรียนต่ออเมริกา แน่ละประเด็นเรื่องตัวตนคนเดือนตุลาเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนผมได้กล่าวไปบ้างแล้ว แต่การศึกษาอเมริกาสะท้อนคนแบบสุเทพ? หรือกรณีอเมริกาผมเคยเขียนเปรียบเทียบไว้ดูเพิ่มเติมได้

23.2 ก.พ.
ประเด็นเรื่อง “แผน”และ “แผนที่ความทรงจำ”
ผมจะร่วมเขียนบทร่วมกับคนเขียนบท และแผนที่ความทรงจำ(*)เป็นไอเดียที่ดี อาจจะเป็นไอเดียต่อสิ่งที่ผมเคยเขียนไว้ไม่ว่าจะเป็นโกดาร์ด ทรุฟโฟต์(**)กลุ่มผู้กำกับหนังนิวเวฟที่ผมเคยกล่าวไว้ อีกคนที่น่าสนใจคือ วิม แวนเดอร์ส (ผู้กำกับ wing of desire) ถูกจัดให้เป็นสายพันธุ์ของหว่องกาไว ในแง่หนังRoad Movie…หนังเปรียบเสมือนเส้นทาง แผนที่…ดูแผนที่ มันจะกลายเป็นภาพเปรียบของตัวชีวิตทั้งหมด (***)
ในที่สุดผมคิดใช้สถานที่ถ่ายทำตามธรรมชาติไม่ไกลนัก และนักแสดงสมัครเล่น แล้วถ่ายทำให้หนังสั้นลึกซึ้ง(****) โดยผมต้องตกผลึกในงบประมาณ และเวลาจำกัดทบทวนความทรงจำ(*****)ประสบการณ์งานกับแผนด้วย
*ภาพประกอบจากหนังสือPostmodernism, or, The Cultural Logic of Late Capitalism ที่อ้างอิงโกดาร์ด อีกประเด็น คือcognitive mapping ทำให้ผมเกิดไอเดียแผนที่ความทรงจำ
ดูประวัติ
https://en.wikipedia.org/wiki/Jean-Luc_Godard
ผมก็ดูหนังของโกดาร์ดไม่กี่เรื่องอย่างมีสมาธิ ยกตัวอย่างหนังBreathless (1960 พระเอกแบดบอย)
http://dvdcanfly.com/nx/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1752
**ผมหาเรื่องเล่าหลังซื้อหวยบ่ถูก หวนความทรงจำ
ซื้อหวยหาทุนทำหนังสั้น

ก่อนนอนนึกถึงแผนที่ความทรงจำ

ผมอ่านหนังสือเกี่ยวกับหนัง

ผมหยุดพักเฟซฯ ไปติดต่องาน ฯลฯ และส่วนตัวผมคิดค้นแผนถ่ายหนังสั้นทุนต่ำจากที่เคยถ่ายทำหนังสั้น “สร้างหนังสั้น”
***ภาพประกอบจากหนังสือฟิลม์ไวรัส คู่มือผู้บริโภคหนังนานาชาติ(กล่าวถึงหนังของสัตยาจิต เรย์ ฯลฯ)และภาพจากหนังสือ WKW: The Cinema of Wong Kar Wai โดยWong Kar Wai ร่วมเขียนบกับJohn Powers เป็นหนังสือเล่าทั้งเรื่องส่วนตัวของหว่องกาไว และหนังของเขาด้วย
โดยส่วนตัวของผมดูหนังโกดาร์ด ทรุฟโฟต์ แวนเดอร์ส ดูไม่กี่เรื่อง แต่เฮียหว่องกาไว ผมดูครบทุกเรื่องแล้วจากดูAs Tear Go Byตอนนี้แฟนคลับเฮียหว่องฯ อาจจะเข้าใจPost modern,Post colonialในหนังเฮียหว่องฯ หรืออาจชอบเกิดจากเชื้อจีนในชีวิต กับประสบการณ์ในฮ่องกงเลยชอบด้วย
****ลึกซึ้ง คืออะไร โดยนิยามลึกซึ้ง ว. ลึกมากจนยากที่จะหยั่งรู้ได้ เช่น ปัญหาลึกซึ้ง คิดลึกซึ้ง.
(ตกผลึก โดยปริยายหมายความว่าลึกซึ้งแจ่มแจ้งจากการสะสมความรู้หรือความคิด เช่น เขาศึกษาประวัติศาสตร์ไทยอย่างจริงจังจนความรู้ตกผลึก, งวดเข้า เช่น คดีนี้จวนจะตกผลึก.)
https://dict.longdo.com/search/*%E0%B8%A5%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%8B%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%87*
*****เฟซฯ มีรำลึกอดีตให้ผมย้อนไปดู21 กุมภาพันธ์ 2012 ผมเขียนถึงหนังเรื่องHero(วีรชน/วีรบุรุษ) สามจอมยุทธ ดาบหัก,หิมะเหิน และ เวหา

(ตอนนี้ผมยังไม่ได้ดูJohn wick2 ที่เค้าว่าเป็นAnti-Heroเลยครับ)
21 กุมภาพันธ์ 2014น้ำตาแม่อาย บทภาพยนตร์โดยนิติพงศ์ สำราญคงและอรรคพล สาตุ้ม

21 กุมภาพันธ์ 2016 ผมเล่าเรื่องเบาๆ ผมถ่ายภาพทรงผม

(21 กพ.2017 คนตัดผมบอกทรงผมฮิปสเตอร์มันตัวบุคคล เหมือนกับที่เค้าว่าทรงผม คีอานูรีฟ มันต้องทรงสกินเฮด)
ผมดูแต่หนังตลกคอมิดี้ เป็นหลักมากกว่าหนังนอกกระแสหลักกับหนังด้อยโอกาสนี่หว่า ฮร่า
Ost.Single Lady เพราะเคยมีแฟน – เธอทั้งนั้น