วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2560

มรดกวัฒนธรรม มรดกประวัติศาสตร์ และมรดกความรู้:ศาสตร์การอนุมาน

31
เชียงราย หลายรูปที่เหลือในความทรงจำของเดือนก.ค. ตอนกลับมาวันนั้น ผมมีบทสนทนาเรื่องหนังสือกับอาจารย์ท่านหนึ่ง ทำให้ผมคิดเขียนบันทึกเหมือนหนังสือเกี่ยวกับเดินทางท่องเที่ยว ในแง่หนังสือ คือ เพื่อนเดินทาง สำหรับการอ่าน แต่มุมด้านการอ่านสำหรับผม“ว่าด้วยสำนวนอ่านหนังสือใช้เวลาเท่ากับคนเขียน9ปีคนอ่านต้องอ่าน9ปี แล้วอาจารย์ก็บอกว่าอย่างนี้ในชีวิตคนเราก็อ่านหนังสือแค่สิบเล่มน่ะสิ”(ฮร่า)
(ภาพประกอบบรรยากาศเชียงราย)
1สิงหา
ผมทำงานแผนที่ต่อเนื่อง ทำให้ผมนึกถึงเคยเขียนบันทึกเรื่องการอ่านไว้มาเผยแพร่ ในแง่หน้าที่บทบาทของผู้อ่านฯ(*)ผลงานนิยายของeco ซึ่งผมอ่านยังไม่แตกฉาน แต่ผมมาเล่าพร้อมคารวะแด่ผู้เขียนที่เพิ่งเสียชีวิตไปในปีนี้ ซึ่งผมอ่านแล้วเกิดความคิดใหม่(**)ในนิยาย Foucault’s Pendulum (***) ดังนี้ คือ แผนที่เป็นรูปทหารเป็นเหมือนปลาขาดน้ำไม่ได้(****)นี่ผมอ่านจับประเด็นหรือHidden Point ในความหมายเชิงสัญญะแผนที่ในประวัติศาสตร์แผนที่โลก(และสยาม) กรณีต่อมาที่ผมเขียนย่อๆ ในแง่การเขียนeco สไตล์ของเขา นิยายอิงกับเรื่องอดีตประวัติศาสตร์เยอะ ทั้งรายชื่อนักเขียน นักปรัชญา(Kant,เดการ์ต ฯลฯ) ทฤษฎี,ภาษาคณิตศาสตร์ และแผนที่อย่างย่อๆ ด้วย(ดูภาพประกอบ*****)
อย่างไรก็ดี ผมกล่าวจบได้จินตนาการมาจากนิยายดังกล่าวอาจจะเขียนเพิ่มก็ได้ ซึ่งผมเล่าผ่านMap เป็นแผน หรือการวางแผนสำหรับผม ทั้งหมดตีความใหม่มโนทัศน์ประวัติศาสตร์การสร้างตัวตน ผ่านMap.
*Umberto Eco – The Role of the Reader : Explorations in the Semiotics of Texts
**อ่านแล้วเกิดความคิดใหม่อ้างที่มาจากการหนังสือ

ภาพผมกับหนังสือของeco
***เปรียบเทียบกับหนังสือแผนที่ แผนที่ทางในประวัติศาสตร์โลกและสยาม(แผนที่โลกพุทธศาสนา/แผนที่ไตรภูมิ:จักรวาล) กล่าวถึงยุคกลาง….ในระยะเวลานี้ยังมีการคัดลอกแผนที่ “ตามพระคัมภีร์”…อาดัมกับเอวาฯแบบเดียวกับรูปในนิยายของeco
ดูเพิ่มเติมการรีวิวหนังสือ(ภาพหน้าปกเป็นลูกโลกและแผนที่)
Best book club: Foucault’s Pendulum
https://benjilachkar.com/2012/02/29/best-book-club-foucaults-pendulum/
Table of contents(สารบัญเนื้อหาของเล่มฉบับที่ผมสะสมไม่มีแบบนี้)
https://books.google.co.th/books?id=jbpsQD0khY0C&pg=PT8&hl=th&source=gbs_selected_pages&cad=2#v=onepage&q&f=false
****ผมเคยเขียนเรื่องนี้แล้ว

โดยผมใส่อ้างอิงเพิ่ม จากนิยาย ดูbooks.google ครับ
https://books.google.co.th/books?id=_JJOBAAAQBAJ&pg=PA124&lpg=PA124&dq=foucault+pendulum%2Blike+fish&source=bl&ots=NEV3k3aRGh&sig=RTi9T3Ep4F3jPjbmlQMcBrg1FxY&hl=th&sa=X&ved=0ahUKEwjFxdyJm5DMAhXMEpQKHRjIAMMQ6AEIHjAA#v=onepage&q=foucault%20pendulum%2Blike%20fish&f=false
*****นิยายใช้ทั้งสัญญะวิทยา สัญศาสตร์และการเปรียบเปรย(Allegory) ในงานของAlfred Korzybski วาทะ “The map is not the territory”.
https://en.wikipedia.org/wiki/Alfred_Korzybski
ดูเพิ่มเติมMap–territory relation
https://en.wikipedia.org/wiki/Map%E2%80%93territory_relation
2 สิงหา
นายกทหารฯ ออกทีวีในวันศุกร์ อีกแล้ว ผมอยากพูดซ้ำข้อถกเถียงดีเบตเรื่องไม่Free ไม่Fair กับเรื่องประชามติไม่เป็นธรรม ควรจะไม่ใช่รัฐบาลเผด็จการทหารเป็นผู้อยู่เบื้องหลังประชามติ ไม่ว่าข้อกังวลเรื่องโกงประชามติ เป็นข่าวหลายเรื่องไม่เว้นแม้แต่ลิงกับประชามติ นี่เป็นเรื่องที่น่าคิด สำหรับผู้สนใจศาสตร์อนุมานก็บ้านเมืองจะวุ่นวาย
ผมกะจะเก็บตัวออกจากยุทธภพวุ่นวาย อุปมายุทธภพโลกจริงและโลกเสมือนเฟซฯเป็นภาพยนตร์(*)ไม่กล่าวถึงเรื่องการเมืองประชามติ(**) กะจะรอผลประชามติออกมาหลัง7 สิงหาแล้ว(โพสต์เฟซฯแต่โผล่มาแล้วก็กลับไปเก็บตัวต่ออีก) จริงๆ ตอนนี้เห็นกระแสวาทกรรมโดยพูดซ้ำๆฝ่ายรัฐ(ทั้งRoad mapฯลฯ) ทำให้ผมไม่ได้คาดหวังชนะเหมือนฝ่ายรัฐ(ผู้นำฯลฯ) โดยผมโหวตอย่างคนรู้แพ้รู้ชนะ
สถานการณ์บ้านเมืองสะท้อนให้เราเรียนรู้จากบทเรียนได้จากตัวแบบต่างประเทศ ทั้งอังกฤษ ที่มีประชามติที่ผ่านมาด้วย หรือ ตุรกี ที่มีการรัฐประหาร เป็นต้น
กรณีเฉพาะเจาะจงยุทธศาสตร์ที่น่าคิดของอเมริกา ต่อประเทศของตนเอง คือ ยุทธศาสตร์(strategy)ของฮิลลารี คลินตัน ชูความหวังเรื่องสตรี มีบทบาท และความหวัง ในแง่Hopeสานต่อของโอบามา ตอนขึ้นมาดำรงตำแหน่งใหม่ๆ ในแง่หนึ่งผมคิดถึงที่ผมเคยเขียนอ้างไว้แล้วดังกล่าวนั้น กรณีของยุทธศาสตร์ของทรัมพ์ คือ อารมณ์ของfear กลัวเสียจ๊อบ คนอพยพ ก่อการร้าย ฯลฯ ด้วย
ฉะนั้น ฝ่ายรัฐทหาร เสนอยุทธศาสตร์ชาติ20 ปี แล้วฝ่ายประชาชนจะเสนอสู้ทางยุทธศาสตร์ต่อไป
*https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1360132454015979&set=a.103468286349075.7792.100000577118415&type=3&theater
**https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1356925901003301&id=100000577118415
(ภาพประกอบแผนที่ผลประชามติปี2550)
7 สิงหา
สังคมแห่งความหวัง(*)
ราตรีสวัสดิ์ พักผ่อนหลับตาจินตนาการอนาคตกาล สู้ต่อไป
*ผมไปประชามติและสังเกตการณ์มาด้วยภาพประกอบแผนที่
และเรื่องเล่าที่เคยเขียนไปแล้ว ครับ(โผล่มาเขียนสั้นๆแล้วตามที่บอกไว้ไปเก็บตัวออกจากยุทธภพต่อ)

16.2 สิงหา
ถ้าสังเกตการเขียนของผมหยุดพักเขียนเรื่องการเมืองมาพักหนึ่ง ทั้งที่เขียนเรื่องการเมืองอย่างต่อเนื่องถึงประชามติ(*)ในแง่วุ่นวาย ต่อมาเหตุระเบิด ทีนี้ถ้าจำกันได้ผมเน้นศาสตร์การอนุมาน (อังกฤษ: inference) เป็นการคาดคะเนตามหลักเหตุผล ที่แบ่งออกเป็นแบบหลัก ๆ 3 อย่างคือ
การอนุมานแบบนิรนัย (deductive inference) เป็นการสรุปผลจากข้อตั้งหรือข้ออ้างที่เป็นจริงหรือสมมุติว่าจริง โดยเหตุผลหลักทางตรรกศาสตร์ หรือการสรุปผลว่าเป็นจริง
การอนุมานแบบอุปนัย (inductive inference) เป็นการสรุปนัยทั่วไปจากข้อมูลที่สังเกตได้ การอนุมานเชิงสถิติ (statistical inference) เป็นการสรุปผลหรือนัยทั่วไป จากข้อมูลตัวอย่างทางสถิติ (**)
เมื่อหลักความสมเหตุสมผล (validity) ของการอนุมาน เป็นเรื่องสำคัญ และผมเห็นว่าผลกระทบของเรื่องร่างรัฐธรรมนูญมาเป็นประเด็นที่ผมสมเหตุสมผลด้วย(***) แน่ละ ความเศร้า ต่อประเทศไทย ในเหตุการณ์ครั้งนี้ ผมคิดปมปริศนา ถ้าประเด็นภาคใต้ร่างรัฐธรรมนูญเรื่องศาสนา(ฯลฯ) ทำไม ดูเหมือนไม่มีกลุ่มติดอาวุธใดออกมาอ้างความรับผิดชอบต่อเหตุระเบิดที่แยกราชประสงค์(****) โดยปมปริศนานี้ไม่มีกลุ่มผู้ก่อการร้ายสากลอ้างฯผมร่วมวิเคราะห์จากอ่านข้อมูลต่างๆ(*****) รวมทั้งการวิเคราะห์เรื่องบีอาร์เอ็น กับพื้นที่ชายแดนใต้
อย่างไรก็ตาม สมมติฐานที่ว่ายุทธศาสตร์ และยุทธวิธี เช่น ชนบทล้อมเมืองของบีอาร์เอ็น ก็จะเปลี่ยนไปด้วยในการโจมตีครั้งนี้ แล้วแนวทางสันติภาพได้โดยรัฐไทยปัจจุบัน นายกฯทหารสร้างสันติภาพไม่ได้(******)
โดยสรุป ผมไม่ได้เห็นด้วยตามแนวก่อการร้ายสากล และข้อมูล ข้อเท็จจริง ในความเป็นจริง คือ ประวัติศาสตร์ของเหตุขัดแย้งก่อนหน้าประชามติ มาถึงช่วงเวลาหลังประชามติ และ12 สิงหา กลุ่มคลื่นใต้น้ำในไทย มีเป้าหมายส่งผลกระทบต่อคสช. ด้วย
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1367618303267394&id=100000577118415

**ดูเพิ่มเติม วิกิพีเดีย
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%99
***หลัง12 สิงหา ปีที่แล้วถ้าจำได้ข่าวระเบิด และผมโพสต์เฟซฯเกือบโดนไปด้วยจากการขี่จักรยานแล้วตำรวจ ทหารโผล่มาถ่ายรูปผมไม่เกี่ยวกับระเบิดเลย ด้วย ครับ
(การวิเคราะห์โดยการอนุมานอาจจะผิดก็ได้ เพราะผมถูกอาจจะเดือดร้อนไม่เกี่ยวผมเลย และผมไม่ใช่เชอร์ล็อคโฮมส์ หรือนักถอดรหัสแบบหนังถอดรหัสลับดาวินชี ฯลฯ ที่สามารถตามจับคนได้)
****รอยเตอร์ตีข่าว “อาเดม” พลิกลิ้นคดีระเบิดราชประสงค์-อ้างถูก “ทรมาน” ให้รับสารภาพ
16 กุมภาพันธ์ 2559 09:51 น. (แก้ไขล่าสุด 16 กุมภาพันธ์ 2559 10:59 น.)
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9590000016780
วินาศกรรมเศรษฐกิจภาคใต้ “คาร์บอมบ์เซ็นทรัลสมุย-ไฟไหม้สหกรณ์สุราษฎร์ฯ” รับวันสงกรานต์
11 เมษายน 2558 00:38 น. (แก้ไขล่าสุด 12 เมษายน 2558 09:37 น.)
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9580000041923
ระเบิดเซ็นทรัลสมุย-สหกรณ์โคอป ที่ จ.สุราษฎร์ธานี ขณะที่พังงาเพลิงไหม้ซุปเปอร์ชีป (ชมคลิป)
11 เมษายน 2558 01:06 น. (แก้ไขล่าสุด 11 เมษายน 2558 10:04 น.)
http://www.manager.co.th/South/ViewNews.aspx?NewsID=9580000041925
(ผมเคยกล่าวถึงเรื่องนี้แล้วปีที่แล้ว โดยเขียนขยายความเปรียบเทียบกับปัจจุบันการระเบิดเชิงสัญลักษณ์สถานที่สำคัญๆ เช่น ตรัง คือ พื้นที่อดีตนายกฯชวน)
*****ผู้เชี่ยวชาญการก่อการร้าย วิเคราะห์ 3 กลุ่ม เข้าข่าย”ระเบิด-เผา”หลายจว.ใต้
http://thaienews.blogspot.com/2016/08/3.html
ต่างประเทศ | ไทยกับโลก
สื่อนอกตั้งข้อสันนิษฐานเหตุบึ้มหลายจุดในไทย อ้างนักวิเคราะห์ชี้อาจเป็นฝีมือฝ่ายการเมืองที่แพ้ประชามติ
http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9590000080555
นายกฯ ขอคนไทยร่วมมือขจัดคนไม่ดี อย่าตระหนกเหตุระเบิด ลั่นจะล่าตัวคนร้ายอย่างสุดความสามารถ
http://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9590000080563
(ผมเขียนโดยรวบรวมข้อมูลหลายคน)
******ข้อมูลเพิ่มเติมลองค้นหาดูเพิ่มเติม กรณีบีอาร์เอ็น…ก๊อบปี้โครงสร้างพรรคคอมมิวนิสต์มลายา (พคม.) มาออกแบบ “ขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี” หรือ “บีอาร์เอ็น”แบ่งเป็นฝ่ายการเมือง กองกำลัง และแนวร่วม
บีอาร์เอ็น จัดตั้ง “กองกำลังติดอาวุธปลดแอกอิสลามปัตตานี” ทำสงครามจรยุทธ์ ตามแนวทางชนบทล้อมเมือง เหมือนพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.)….
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/pracha/20130308/493861/%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81-%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%99-%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99-%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81-%E0%B8%AE%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%8B%E0%B8%B1%E0%B8%99-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B8%9A.html
ดูหนังน่าสนใจCSI Miami หนังซีรี่ย์ส์สืบสวน
16.3
ผมกลับมาทบทวนความคิดหลังจากที่ได้เดินทางไปลำพูน ถึงเรื่องในอดีตที่เคยเขียนช่วงเวลา17 มีนา ปีนี้ คือ ผมสนใจบทความ RIDDLES OF YELLOW AND RED(*) อันใหม่ ที่เผยแพร่ในNLR ที่มีบางคำนึกถึงที่อ.เบน เคยคุยกับผม ทางอีเมล์กับกรณีตัวอย่างเรื่องคนขับแท็กซี่คุยเรื่องสามก๊กอ.เบน เลยเปรียบกับคนจีนในไทยเคยฟังที่เชียงใหม่ ยังอ่านไม่ละเอียดก็ตาม
เมื่ออ.เบน เป็นเด็กเขาชอบอ่านนิยายเชอร์ล๊อก โฮมส์ และเรียนรู้ว่า เมื่อคุณค้นหาทางแก้ปัญหาไม่มองสิ่งที่คุณสามารถมองเห็น จงมองที่คุณไม่สามารถเห็น…
นี่แหละเป็นเรื่องน่าสนใจ ทำไม เปรียบเป็นสามก๊ก สัญญะ คือสงคราม และถ้าหนุมาน สัญญะ คือ สงคราม แล้วไทยแลนด์จะหยุดสงคราม
ทั้งนี้ ผมไม่ได้เป็นลูกศิษย์โดยตรง กระทั่งละม้ายคล้ายกับลักษณะศิษย์อาจารย์ในนิยายกำลังภายในของจีน(**) แด่วันสันติภาพ
*RIDDLES OF YELLOW AND RED
https://newleftreview.org/II/97/benedict-anderson-riddles-of-yellow-and-red
“เบน แอนเดอร์สัน”เล่าตำนาน”สามก๊ก”จากปากแท็กซี่…
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1296530671
**สำนวนอ.เสกสรรค์ ที่เป็นลูกศิษย์อ.เบนเล่าเรียนอยู่9ปีผมเล่าย่อ ในตอนอารมณ์ตะวันตกของหนังสือวิหารที่ว่างเปล่า
19 สิงหา
“โจทย์ท้าทายแก้ปัญหา”
โจทย์ไม่น่าไว้ใจกับกระบวนการจับกุมสอบสวนต่อจิ๊กซอว์ ปะติดปะต่อเรื่องเงื่อนปมค้นหาว่าจัดฉาก(ฯลฯ)ท้าทายความสามารถของคสช. ซึ่งบทความที่ผมคิดว่าน่าสนใจในแง่ตรรกศาสตร์ของการอนุมาน :-…ปฏิบัติการนอกพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก่อนหน้านี้ ตามที่อ้างในบทวิเคราะห์หลายชิ้น ที่ว่าได้แก่ จ.ภูเก็ต หน้ารามฯ (กรุงเทพฯ) และเกาะสมุย (จ.สุราษฎร์ธานี) เป็นฝีมือบีอาร์เอ็น ก็ไม่น่าจะถูกต้อง หรือถ้าถูกก็ถูกไม่หมด…
..โจทย์ข้อสำคัญที่สุดคือ ก่อเหตุแล้วหนีไปไหน ถ้าหลบพักอยู่แถวจุดเกิดเหตุย่อมตกเป็นเป้าการกวาดจับทันที เพราะต้องไม่ลืมความจริงว่า ทันทีที่ระเบิดดังขึ้น คนกลุ่มแรกที่จะโดนตำรวจกวาดจับหรืออย่างน้อยก็ถูกเพ่งเล็งคือคนสามจังหวัดที่ไปทำงานตามเมืองที่เกิดระเบิด…
…ทำไมบีอาร์เอ็นต้องขยายพื้นที่ปฏิบัติการในปีนี้ ซึ่งขึ้นปีที่ 13 ของการต่อสู้แล้ว (นับจากวันปล้นปืนปี 47) หากต้องการขยายพื้นที่ปฏิบัติการ ทำไมไม่ขยายมาตั้งนานแล้ว โดยเฉพาะในปี 2550 ซึ่งเป็นปีที่มีเหตุรุนแรงมากที่สุดในรอบ 12 ปีไฟใต้ คือ 1,669 เหตุการณ์ (นับเฉพาะเหตุความมั่นคง) มีระเบิดเกิดขึ้น 471 ครั้ง (เฉลี่ยมากกว่าวันละ 1 ครั้ง) สูงสุดในรอบ 12 ปีเช่นกัน (ที่สำคัญปีนั้นมีการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในรัฐบาลทหารคล้ายๆ กับปีนี้ แต่ปีนั้นคะแนนรับร่างฯกลับชนะขาด คือ ปัตตานี 72.2% นราธิวาส 73.4% ยะลา 69.6%)
คำถามที่น่าคิดก็คือ บีอาร์เอ็นจะขยายพื้นที่ปฏิบัติการไปเพื่ออะไร ในเมื่อตนเองไม่ได้ประกาศความรับผิดชอบหลังก่อเหตุอยู่แล้ว หนำซ้ำยังเสี่ยงจะถูกตีความปฏิบัติการว่ามาจากเหตุปัจจัยอื่น เช่น การเมือง อย่างที่กำลังเป็นอยู่นี้ด้วย
นักวิเคราะห์บางท่านที่มองว่าการไม่ประกาศความรับผิดชอบ คือ จุดแข็งของบีอาร์เอ็น แต่ถ้ามองมุมนี้จะพบว่า มันกลายเป็นเหตุผลที่อ่อนลงไปทันทีที่จะสนับสนุนว่าทำไมบีอาร์เอ็นต้องปฏิบัติการนอกพื้นที่ (เพราะถึงอย่างไรเขาก็ไม่ได้ประกาศว่าเขาทำ) แต่ถ้าปฏิบัติการในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนฯ ถึงไม่ประกาศก็รู้ว่าเขาทำ…จริงๆ แล้วยุทธวิธีที่บีอาร์เอ็นใช้ในการสู้รบตลอด 12 ปีที่ผ่านมา ไม่ได้เก่งกว่าทหาร แต่ที่เขาปฏิบัติการประสบความสำเร็จ เพราะเป็นพื้นที่เคลื่อนไหวของเขาเอง เป็นบ้านของเขา และมีเครือข่ายรองรับ (อ่านเอกสารหลายๆ ฉบับของโรงเรียนเสธ.จะทราบ) ขณะที่ทหารถูกส่งไปจากต่างถิ่น ต่างภูมิภาค ไม่เข้าใจสภาพพื้นที่ จึงย่อมเสียเปรียบเป็นธรรมดา…(*)
อย่างไรก็ตาม ปัญหาหลายโจทย์ ที่สำคัญอย่าจับผิดตัว(**) และผมเขียนมาต่อเนื่องว่าผมไม่ใช่เชอร์ล็อคโฮมส์(***) แต่นายกฯทหารน่าจะพิจารณาตัวเอง 1.ยกเลิกมาตรา44 ใช้ไม่ได้ผล 2.รับผิดชอบลาออกจากตำแหน่งคืนความสุขสงบให้คนไทย
*ดูข้อมูลเพิ่มเติม:ระเบิดป่วนภาคใต้ฝีมือบีอาร์เอ็นจริงหรือ? http://www.isranews.org/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%88%E0%B8%99-%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B2/item/49212-brn_49212.html
ย้อนรอยระเบิดนอกชายแดนใต้ ระวังโจทย์ใหม่ส่งออกมือป่วน
…ที่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อเดือน เม.ย.58 แม้กลุ่มผู้ก่อการจะเป็นคนจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เกือบทั้งหมด แต่เหตุการณ์ครั้งนั้นก็มีกลิ่นของการเมืองเจือปนอยู่ไม่น้อย
http://www.isranews.org/south-news/scoop/item/49267-outside_49267.html
ระเบิดป่วน 7 จังหวัดใต้โยง “ทีมปัตตานี”… โจทย์ที่ต้องตีให้แตกในขณะนี้ คือ “ทีมระเบิด” ทำงานให้ใคร เป็นกลุ่มบีอาร์เอ็นขยายพื้นที่ปฏิบัติการออกนอกสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามที่มีบางฝ่ายชูประเด็น หรือเป็นการรับจ้างจากกลุ่มการเมืองกันแน่….ปัญหาคือกระบวนการทำงานลักษณะนี้มีการ “คัตเอาท์-ตัดตอน” จนทำให้ยากที่จะสาวถึงตัวคนบงการ งานนี้จึงถือเป็นงานพิสูจน์ฝีมือฝ่ายความมั่นคงอย่างแท้จริง….
http://www.isranews.org/south-news/south-slide/item/49283-team_49283.html
**ข่าวการจับกุมต่างๆ ดูเพิ่มเติม
http://prachatai.org/journal/2016/08/67519
(อาจจะเขียนต่อเรื่องผลกระทบหลังประชามติ)
***หนังสือคิดแบบ เชอร์ล็อค โฮล์มส์
…การใช้ตรรกะและการอนุมาน รวมถึงการรวบรวมและกลั่นกรองข้อมูล…
(มีฉบับเสียงทางยูทูป)

ผมเขียนมาต่อเนื่องเรื่องการเมือง ครับ
24 สิงหา
ผมออกเดินทางถ่ายรูป ประกอบการอ่านหนังสือระหว่างทางเรื่องยอดนักสืบเก้าอี้นวม คดีกริ่งประตูดัง โดยผมเรียบเรียงมาเล่าสั้นๆจากคำนำเสนอของหนังสือนักสืบเก้าอี้นวม เป็นตระกูลหนึ่งของวรรณกรรมรหัสคดี ที่นักสืบจะไม่ย่างกรายเข้าไปในสถานที่เกิดเหตุ แต่จะไขปริศนาด้วยข้อมูลที่ได้อ่านหรือฟังอีกทอดหนึ่ง(*) ตัวอย่างแรกดูแป็งนักสืบ สามารถคลี่คลายปริศนาการหายตัวไปลึกลับของหญิงสาวคนหนึ่งจากการอ่านบทความในหนังสือพิมพ์ และตัวอย่างจากเชอร์ล็อค โอมส์ที่กล่าวถึงพี่ชายของเขา ว่าถ้าศิลปะของการเป็นนักสืบขึ้นต้นและลงท้ายด้วยการทบทวนเหตุผลจากเก้าอี้นวม หรือตัวอย่างจากเรื่องชายชราในมุมห้องคลี่คลายปริศนาที่ผู้สื่อข่าวนำข้อมูลมาให้เขาที่นั่งอยู่ในร้านอาหาร หรือตัวละครฉายาเครื่องจักรนักคิดอย่างศ.ฟาน ดูเซิ่น ที่เป็นนิยายมีผู้ช่วยเป็นผู้สื่อข่าว มีตัวอย่างเรื่องสั้นและนิยายอื่นๆ (รวมทั้งหนังสือยอดนักสืบเก้าอี้นวมฯ)
ส่วนเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ผมเล่าย่อๆ ผ่านลิ๊งค์คนรีวิว :การสืบสวนของเนโร วูลฟ์ กับผู้ช่วยของเขาอาร์ชี่ กู๊ดวิน ที่มีเศรษฐีนีที่ชื่อ เรเชล บรูเนอร์ มาว่าจ้างให้สืบเรื่องที่เธอแจกหนังสือเกี่ยวกับเอฟบีไอ และหลังจากนั้นก็ถูกสะกดรอย ซึ่งคิดว่าเป็นเอฟบีไอ ด้วยค่าจ้าง หนึ่งแสนดอลล่าร์ และเมื่อสืบสวนไปก็ได้เชื่อมโยงอีกคดีหนึ่งที่มีคนถูกยิงตาย และตำรวจเจ้าของคดีคิดว่าเกี่ยวกับเอฟบีไอด้วย เนื่องจากคนตายกำลังเขียนเรื่องของเอฟบีไออยู่…ต้นฉบับได้หายไป…(**)
*บทเรียนจากการอ่านเชิงวิเคราะห์ ในแง่การวิเคราะห์สถานการณ์การเมือง

สถานการณ์การเมือง
08:54น. 24 ส.ค. 2559
เกิดเหตุระเบิด 3จุดป่วนเมืองปัตตานี คาร์บอมบ์หน้ารร.เซาท์เทิร์นวิว บาดเจ็บจำนวนมาก
http://www.pptvthailand.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/33225
(ผมได้เขียนเรื่องการเมืองมาต่อเนื่องแล้ว)
**ดูการรีวิวหนังสือเพิ่มเติมได้ตามลิ๊งค์ ครับ
http://wanwopo.blogspot.com/2013/04/blog-post_9.html
The Doorbell Rang
เร็กซ์ สเต๊าต์
http://readery.co/9789742112042
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=ershiyi&month=02-12-2010&group=6&gblog=14
วันเวลาผ่านหลังครบรอบ 10 ปี รหัสลับดาวินชี แดน บราวน์ เปิดให้โหลด E-book ฟรี
http://hilight.kapook.com/view/83654
http://www.danbrown.com/wp-content/themes/danbrown/assets/db_dvc_book_excerpts.pdf
28.2
มรดกวัฒนธรรม มรดกประวัติศาสตร์ มรดกความรู้:ศาสตร์การอนุมานสืบสวน ซึ่งบันทึกนึกขึ้นมาเขียนไว้นักวิชาการ กับนักเขียน ในแวดวงนี้ มีความคล้ายกันอยู่อย่างหนึ่ง เท่าที่ผมนึกออกมาจากบางคนพื้นฐานรักการอ่านหนังสือ และถ้าใครอ่านหนังสือฝรั่งหรือหนังสือใหม่ๆ ที่ใครไม่ได้อ่าน มาคุยถึงหนังสือดังกล่าว ทำให้ผมนึกถึงหนังสือที่เคยเล่าแล้วเล่าซ้ำขยายความอ่านเพิ่มยังไม่ละเอียดหนังสือ A Cultural History of Causality: Science, Murder Novels, and Systems of Thought(ผมไม่แปลคิดคำแปลสละสลวยสวยงามไม่ได้)
เพราะผมไม่มีเล่มจริงๆไม่มีเงินซื้อหนังสืออ่าน ดูแค่ทางเน็ตเห็นการอ้างอิงจากโน้ตในแต่ละบท เช่น งานเขียนของน้องชายอ.เบน แอนเดอร์สัน(แพรรี่ แอนเดอร์สัน :กำเนิดหลังสมัยใหม่) ต่อมาบรรณานุกรม งานเขียนของดอสโตยอฟสกี้ งานเขียนของeco งานเขียนเกี่ยวกับเชอร์ล็อคโฮมส์ของโคนัน ดอยด์ ซึ่งคนเขียนหนังสือนี้ คือ Stephen Kern นักประวัติศาสตร์ ด้านวัฒนธรรม ในความเข้าใจของผม ดูเพิ่มเติมข้อมูลของเขา สอนอยู่ที่อเมริกา(*)
วิธีการเปรียบเทียบดังกล่าวของการศึกษา ที่ผมว่าน่าสนใจมุมมองเปรียบเทียบไทย ในงานอ.เบน ที่นำเสนอเรื่องMURDER AND PROGRESS IN MODERN SIAM(หรือบทความอ.เบน ที่เกี่ยวกับเชอร์ล็อคโฮมส์ที่ผมเคยเล่าแล้ว**)ผ่านหนังเรื่องมือปืน เป็นตัวอย่างหนังมีที่มาเกี่ยวกับบริบททางสังคมของการสร้างหนัง เปรียบเทียบกับประวัติศาสตร์วัฒนธรรมระบบความคิดเกี่ยวกับฆาตกรรม(Murder)ในนิยาย เป็นที่มาจากการแต่งเรื่องขึ้นจากสังคม ทำให้ผมคิดเรื่องข้อมูลวิธีประวัติศาสตร์น่าจะมีงานดีๆ วิเคราะห์ข้อมูลข่าวลวงหรือข่าวจริง ข่าวเจาะเชิงลึกทั้งแหล่งที่มาข่าวนสพ. เอกสารหลักฐาน รวมทั้งศาสตร์การอนุมานอย่างนิยายสืบสวน ที่ผมเคยเขียนไว้แล้ว(***)
โดยสรุป มรดกวัฒนธรรม มรดกประวัติศาสตร์ มรดกความรู้:ศาสตร์การอนุมานสืบสวน น่าจะมีมุมมองงานเขียนน่าสนใจในอนาคตด้วย
*https://history.osu.edu/people/kern.193
https://comparativestudies.osu.edu/people/kern.193
ผมเคยอ่านThe Culture of Time and Space: 1880-1918ที่อ.สมเกียรติ ตั้งนโม แปลฯส่วนหนึ่งของหนังสือนี้
ธรรมชาติของเวลา : The Nature of Time
http://v1.midnightuniv.org/midnight2545/document9714.html
โดยที่มีเรื่องเวลากับผลงานสร้างสรรค์ศิลปะ
http://www.electron.rmutphysics.com/news/index.php?option=com_content&task=view&id=688&Itemid=99999999&limit=1&limitstart=0
http://www.electron.rmutphysics.com/news/index.php?option=com_content&task=view&id=688&Itemid=99999999&limit=1&limitstart=1
ส่วนตัวผมเคยอ่านส่วนหนึ่งในเน็ตของหนังสือ Eyes of Love: The Gaze in English and French Paintings and Novels 1840-1900 ซึ่งผมเคยโพสต์ในเฟซบุ๊ค ที่ผมเล่ามาทบทวนความทรงจำ แล้วเกิดอาการติดนิยายจากเซอร์ล็อคโฮมส์(จากรูปตัวบทของหนังสือ)
(ภาพประกอบหนังสือกับตัวบท และโน้ตที่น่าสนใจด้วย)
** MURDER AND PROGRESS IN MODERN SIAM
N L R I/181, May-June 1990
“ฆาตกรรมกับความก้าวหน้าในสยามยุคใหม่” (1990) เบนได้กลิ่นฆาตกรรมไม่ชอบมาพากลจากการดูหนังเรื่อง มือปืน ซึ่งกระตุ้นให้เขาเริ่มวิเคราะห์เปรียบเทียบเหตุฆาตกรรมทางการเมืองของสยามในห้วงเวลาต่างๆ
(ที่มาจากหนังสือศึกษารัฐไทย ย้อนสภาวะไทยศึกษา โดยเบเนดิกท์ แอนเดอร์สัน)
MURDER AND PROGRESS IN MODERN SIAM ถูกรวมอยู่ในหนังสือ
The Spectre of Comparisons: Nationalism, Southeast Asia, and the World
โดย Benedict Richard O’Gorman Anderson
(ภาพประกอบบทความเป็นหนังเรื่องมือปืน)
งานเขียนซับซ้อนของอ.เบน ที่ผมเคยเล่าไปแล้วเรื่องปริศนาเหลือง แดง ก็อ้างเรื่องMurderฯ เป็นต้น ส่วนตัวอย่างการวิเคราะห์บทความของอ.เบน ที่เล่าเรื่องเชอร์ล็อคโฮมส์…เมื่อผมกลายมาเป็นนักวิชาการและครูสอนหนังสือ สิ่งแรกที่ผมบอกนักศึกษาก็คือ : “จงมองสิ่งที่อยู่ต่อหน้าคุณ แต่คิดถึงสิ่งที่ขาดหายไป” โดยดูเพิ่มเติมการวิเคราะห์ของลูกศิษย์อ.เบน
“กระบวนท่ากบกระโดดครั้งสุดท้ายของครูเบ็น” (ตอนต้น) โดย เกษียร เตชะพีระ
“กระบวนท่ากบกระโดดครั้งสุดท้ายของครูเบ็น” (จบ) โดย เกษียร เตชะพีระ
(ภาพประกอบบทความปริศนาเหลือง แดงกับเชอร์ล็อคโฮมส์)
***ผมเขียนต่อเนื่องเปรียบเทียบกับนิยายในเรื่องปัญหาระเบิดภาคใต้ https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1383502351678989&id=100000577118415
28.3
ผมคิดถึงภาพที่ผมถ่ายไว้ในอดีต ยามฤดูร้อน ณ หอสมุด ผมค้นพบการเปรียบเทียบยุคของการเข้าถึงหนังสือเก่า ผ่านอินเตอร์เน็ต กับการเข้าห้องสมุด แตกต่างกัน ถ้าหาอ่านหนังสือทางเน็ตหนังสือวิธีสืบสวนฯหนึ่งร้อยปี แล้วหนังสือเล่มนี้(*)
*การอุปมาการสืบสวนกับจับปลาฯ และกรณีอั้งยี่ ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น