วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558

Neoliberalism กับStructure-agency และclimate change ในโลกทุนนิยมของวัฒนธรรมชุมชน

Neoliberalism กับStructure-agency และclimate change ในโลกทุนนิยมของวัฒนธรรมชุมชน
วันที่ 1 กรกฎาคม
ผมอยากจัดห้องมีสตูดิโอแบบJan vermeer. ที่มีภาพthe art of painting (the artist in his studio) แผนที่+นางแบบความหมาย เป็นสัญลักษณ์
โดยภาพที่ถูกมองให้นึกถึงภาพLasmeninas* นี่แหละการตีความงานของVermeer ที่มีการเชื่อมโยงเรื่องภูมิศาสตร์-“geography is destiny”ฯลฯ**
เมื่อผมถามความรู้จากอ.ไชยันต์ รัชชกูล เพราะผมกำลังสนใจงานของVermeer*** เกิดคำถามต่อยอดจากที่อ.ไชยันต์ เคยเขียนในคำนำหนังสืออ่านวัฒนธรรมชุมชนฯ อ้างถึง(VermeerหรือHe) doesn’t paint just what he sees, but what will suit. เขียนไว้ น่าสนใจเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมชุมชนเลยถามขอความรู้
โดยอ.ไชยันต์ ตอบว่า มีนิยายเรื่องหนึ่ง ชื่อ “A girl with an earing” เขียนถึงการวาดภาพของ Vermeer
ซึ่งเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ของจิตรกร ไม่ได้เกี่ยวกับวัฒนธรรมชุมชนโดยตรง แต่ หมายถึงว่า มันเป็นเรื่องของความปรารถนา ไม่ใช่ความจริง

*https://www.khanacademy.org/humanities/monarchy-enlightenment/baroque-art1/holland/v/vermeer-the-art-of-painting
**How does “geography” influence any nation’s development?
https://myweb.rollins.edu/jsiry/Geography-MeansWhat.html
*** Writing and Filming the Painting: Ekphrasis in Literature and Film.
http://www.amazon.com/Writing-Filming…/dp/9042024577
https://books.google.co.th/books?id=Vtkypgh8V6QC&pg=PA193&lpg=PA193&dq=vermeer%20does%27nt%20paint%20just%20what%20he%20sees%2Cbut%20what%20will%20suit&source=bl&ots=Q8lWNbqNxn&sig=kdA74dRRhoDur424Q1BmJ3dh3J4&hl=th&sa=X&ei=Mzw_VfXCCcfGuASpjID4Aw&ved=0CBwQ6AEwAA#v=onepage&q=vermeer%20does’nt%20paint%20just%20what%20he%20sees%2Cbut%20what%20will%20suit&f=false
หนังสือสื่อเรื่องนวัตกรรมสหวิทยาการศึกษาเปรียบเทียบการใช้ภาพวาดในบทวรรณกรรมและภาพยนตร์ ครับ
This innovative interdisciplinary study compares the uses of painting in literary texts and films….

ราตรีสวัสดิ์ ส่งท้ายหนังที่ผมยังไม่ได้ดูกับเพลงประกอบหนังGirl With A Pearl Earring – Original Soundtrack – “Griets Theme”

3 กรกฏาคม
วันนี้นายกทหาร มาออกรายการทีวีบ่นคืนความสุขเรื่องประชาธิปไตย โดยผมฟังแว่บๆ ไม่รู้จะหาเรื่องเสียเงินไปทำไม กองทัพเรือจะใช้เงิน 3.6 หมื่นล้านบาทซื้อเรือดำน้ำ โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจไม่ดี กองทัพสะสมอาวุธ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างที่นักเศรษฐศาสตร์ไทยเคยศึกษาวิกฤติเศรษฐกิจจากกองทัพ และเมื่อก่อนเคยมีการเสนอแนวคิดการลดขนาดกองทัพ ลดงบประมาณ และงดซื้ออาวุธ ยุทโธปกรณ์
ซึ่งได้รับอิทธิพลของชูมากเกอร์ นักเศรษฐศาสตร์ และความน่าสนใจของเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ คือ ไม่ได้เน้นความรุนแรง ซึ่งตรรกะไม่เน้นความรุนแรง ก็ย่อมไม่สนับสนุนการซื้ออาวุธ สำหรับประหารคน และเรือรบ ก็ทำลายสภาพแวดล้อมทางธรรมชาตินั่นเอง
แต่นี่แหละกองทัพมีอำนาจเหนือฝ่ายการเมือง งบฯเสริมสร้างกำลังกองทัพจึงอู้ฟู่ตามปกติ อยากจัดซื้อจัดหาอย่างไรก็ง่ายดาย
ดังนั้น ผมห่วงใยเศรษฐกิจไทย* ผมคิดถึงภาพการ์ตูนล้อเลียน** ครับ
*ภาพประกอบผมยืนหันข้าง9ปีที่แล้วหลังรัฐประหาร49
**ราตรีสวัสดิ์ ครับ

8 กรกฎาคม
ยินดีต้อนรับกลับบ้าน สำหรับผู้ถูกปล่อย
อย่าคุมขังเสรีภาพ
ขอขอบคุณ ที่เดลินิวส์ออนไลน์
ถ่ายรูปผมติดด้วย ครับ^^
เหม่ จริงๆ ผมฝึกหลบกล้อง หามุมหลบอยู่นานมีรูปผมจนได้ฮร่าๆ วันนั้นพบปะสนทนาเจอผู้คนมากหน้าหลายตา มีบทสนทนาพบปะประชาชนขำขำอย่างหนึ่งที่อยากเล่าให้ฟังพวกพี่ๆ ผู้หญิง(วัยทอง)บ่นๆ ให้ผมได้ยินว่าสันติบาลเดินตามถ่ายรูป กระทั่งถ่ายตูดด้วย พูดเสร็จหัวเราะกัน ครับ
ราตรีสวัสดิ์
*ภาพประกอบผมถ่ายภาพผ่านมือถืองานรณรงค์ ตอนไปกับน้องๆนศ.ฝึกงานข่าวประชาไท แล้ววันนั้นฝนตกด้วย
-ปีกแห่งเสรีภาพให้กำลังใจ 14 นศ.
http://www.dailynews.co.th/article/333066

9 กรกฏาคม
วันนี้ผมนำภาพเล่าเรื่องการเดินทางในสถานที่กรุงเทพ กับปริมณฑล(ต่อ) และผมกำลังทำงาน มีเรื่องสถานการณ์เศรษฐกิจ แรงงานถึงประชาคมอาเซียน โดยผมได้รับดีวีดี เป็นที่ระลึกไว้ โครงการด้านสุขภาพ ผลกระทบของการทำงานอิเลคทรอนิคส์ ที่มีการนำเสนอเรื่องราวคนงานสู่ภาพยนตร์สารคดี ระดมเครือข่ายสิทธิมนุษยชน แรงงาน และเครือข่ายของSHARPS ด้านสิทธิและสุขภาพ ที่ทำงานกับบริษัทซัมซุง ในการทำActionต่างๆ ด้วย
*ราตรีสวัสดิ์ ครับ^^

10กรกฏาคม
วันศุกร์รายการทีวีนายกฯทหารบ่นหลายเรื่องอีกแล้ว เช่น กรณีแม่น้ำโขง ฯลฯ แต่ผมนึกถึงนายกฯเอาใจใส่กับจีน มีปัญหากับตุรกีเรื่องชาวอุยกูร์ จะซื้อเรือดำน้ำจากจีน แล้วเศรษฐกิจจีนกำลังแย่ ไม่หวั่นห่วงโซ่เศรษฐกิจ เลยน่ะ
จากการวิกฤติปี48 คือ 10ปีเรื่องทักษิณ และผมเคยกลับไปทบทวนยกตัวอย่างเรื่องจากอนาธิปไตย-ตั้งพรรคเชิงเศรษฐศาสตร์การเมือง โดยทบทวนการเมืองเรื่องพรรคคิดว่าบางส่วนรับหลักการของพรรคในอดีต มาปรับใช้ลักษณะคำขวัญที่จำได้ง่าย เป็นหลักปฏิบัติไปด้วยในตัว โดยมีหลักการทั่วไปคือ 7 จังหวะ ได้แก่รัดกุม ซุ่มซ่อน อดทน ยาวนาน สะสมกำลัง รอคอยโอกาส…(ละมั้งฮร่า ค้นหาดูเพิ่มเติมทางเน็ต)
โดยพรรคไทยรักไทย ที่มีกลยุทธ์ “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” ทั้งควบรวมและดูดแบบนี้ไม่ใช่ของใหม่ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย แต่ว่าในอดีตนั้น “ปลาใหญ่” อาจใช้ฐานอำนาจจากกำลังทหารหรืออิทธิพลเชิงอุปถัมภ์อื่นๆ
แต่กรณีไทยรักไทยนั้นชัดเจนว่า ทั้งหมดเกิดขึ้นได้ด้วยอำนาจเงินทุนมหาศาลของทักษิณและกลุ่มทุนใหญ่ๆ ในเครือเป็นหลัก โดยถ้าในเชิงธุรกิจการตลาดแล้ว การ Takeover ของไทยรักไทย ไม่ต่างไปจากการที่แบรนด์ใหญ่ซื้อแบรนด์เล็ก
ถ้าเปรียบแล้วไม่ต่างไปจากกรณีของมันฝรั่ง “ฟิโต-เลย์” ที่ซื้อกิจการ “มัน มัน” จากนั้นฟิโต-เลย์ ก็กลายเป็นผู้ครองส่วนแบ่งตลาดใหญ่ที่สุด โดยที่แบรนด์ มัน มัน ก็หายไปจากตลาด*
นี่แหละ ปัญหาประวัติศาสตร์เชิงเศรษฐศาสตร์การเมือง-วัฒนธรรมต่อพรรคการเมือง โดยอธิบายสั้นๆ ที่แน่ๆพรรคการเมืองเขารู้ธุรกิจมากกว่าทหาร ในด้านกลับกันกลายเป็นจุดอ่อนอันหนึ่งของรัฐทหาร พวกไม่เลือกตั้ง(กปปส.) อย่างคสช.บริหารประเทศผิดผลาดแล้วจะโดนคดี(?) แน่ละ ไม่เหมือนยิ่งลักษณ์แห่งพรรคเพื่อไทย
อย่างไรก็ตาม บิ๊กตู่บริหารเศรษฐกิจ ไม่ดีมีปัญหาปากท้องเศรษฐกิจย่ำแย่ ส่งผลกระทบกับชาวบ้าน มันต้องโทษตัวรัฐของฝ่ายทหารเอง…มัน-มันไม่ดีกับปากท้อง ครับ**
*ปั้นพรรคโตแบบ TAKEOVER(ดูเพิ่มเติม:ไทยรักไทย มาร์เก็ตติ้ง…สูตรสำเร็จสินค้าการเมือง,คัมภีร์การตลาดทรท. ตามรอยแดนมะกัน-ถิ่นผู้ดี ,“ตุลาชิน” ฐานกำลังไทยรักไทย,รีแบรนด์ไทยรักไทย จุดเปลี่ยนบนวิกฤตผู้นำ) http://www.positioningmag.com/content/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A-takeover
“ฟิโต-เลย์”ฐานการผลิตนิคมอุตสาหกรรมลำพูน
**ภาพบรรยากาศผมสมัยMob(พันธมิตรฯ-องค์กรเลี้ยวซ้ายฯลฯ )ในกรุงเทพฯ9ปีที่แล้ว และภาพเดินทางกทม.ต่อเนื่องเมื่อวาน ครับ^^
“ประยุทธ์” ลั่นมีแผนรับมือม็อบหยุดวิ่งรถ ฮึ่มอย่าล้อเล่นกับกฎหมาย วอนสื่อไม่ดึงไทยทะเลาะต่างชาติ
คำต่อคำ : รายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ”” วันที่ 10 กรกฎาคม 2558
http://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9580000078282

ราตรีสวัสดิ์กับ เพลง The Dream Before(Progress)History is angel ผมชอบหนังTerminator เวอร์ชั่นนี้ แม้ไม่เคยดู เพราะเพลงนี้ผมคิดถึงอดีตอันไม่อาจหวนคืน น่าไปดูTerminator GenisysสำหรับRethinkอดีต ครับ

วันจันทร์ที่13 กรกฎาคม
ผมทำงานเสร็จไปหนึ่งชิ้น นึกหาเรื่องมาเล่าเรื่องตลกได้หนึ่งเรื่องละมั้ง คือ ผมไปกรุงเทพฯรอบนี้ มีโอกาสได้เจอแท็กซี่ เขาชวนคุยเรื่องลามก ตอนกลางคืนเห็นสาวๆสวยๆ ขับรถผ่าน ก็ตั้งคำถาม เอ๊ะน้องๆ เขาราคาเท่าไหร่ ไม่ได้ก็อย่างนี้ ทั้งที่ผมพยายามชวนคุยปัญหาเศรษฐกิจ(ไม่ต้องคุยเรื่องกรีซ-ไทย) แรงงาน* คนขับรถแท็กซี่ ฮร่าๆ ดีที่ไม่พูดว่าได้ข่าวว่าแท็กซี่จะขึ้นค่ารถแล้วน่ะ ครับ
*ภาพประกอบผมถ่ายภาพบนฟ้ากับหนังสือเกี่ยวกับแรงงาน ครับ



วันพุธที่15 กรกฏาคม
ผมไปทำธุระที่พิจิตร ถ่ายภาพบรรยากาศการเดินทางโดยกล้องมือถือ ที่นิคมอุตสาหกรรมพิจิตร และผมนั่งรถทัวร์ได้ฟังเพลงดูหนังที่เปิดให้ชมเรื่องบ้านฉันตลกไว้ก่อน(พ่อสอนไว้) ก็โอเค ตระกูลคณะตลก นี่น่าดราม่าตลกได้ ซึ่งผมเห็นหลายประเด็น และจับประเด็นหลักเรื่องบ้าน ในฐานะครอบครัว ช่วยกันคิดหลายหัวมากกว่าสองหัวดีกว่าหัวเดียว ช่วยคิดแก้ปัญหาให้ลูกด้วย ราตรีสวัสดิ์ ครับ

วันศุกร์ที่17 กรกฎาคม
รายการทีวีวันศุกร์ นายกทหารออกทีวี พูดเรื่องรอมฎอน-เขตเศรษฐกิจ ฯลฯ* ไม่เหมือนยุครสช.34 มีอานันท์ ปัญฯ เป็นนายก หลังกระแสเศรษฐกิจอิทธิพลเสรีนิยมใหม่(แธตเชอร์(อังกฤษ)กับเรแกนด์(อเมริกา)เล่าย่อๆ) ทำให้ผมคิดทบทวนถึงกทม.หลายเรื่องเจอหลายคน ซึ่งผมอยากเล่าเรื่องโทรหาคนยังไม่โดนรายงานตัว เป็นนักกิจกรรม โดยผมบอกให้เขาไปรายงานตัว และเขาอึ้งๆ เงียบ เพราะเบอร์แปลกๆ ทำให้เขาฉงน (ฮร่า) จริงๆแล้ว มีอยู่ช่วงหนึ่งคน ที่เชียงใหม่ ฯลฯ ก็เจอผมเล่นมุขอย่างนี้ ทีนี้ในแง่ความแปลกใจ โดยเราพยายามวิเคราะห์กันหัวแทบแตก คิดไม่ออกเหตุใดบางคน โดนรายงานตัว บางคนไม่โดน หาเหตุผล จะแก้ปัญหาอย่างไร อีกด้วย ตั้งแต่แบบง่ายๆ เช่น นักกิจกรรมหยุดโพสต์เฟซฯ (ช่วงรัฐประหารแรกๆบางคนบอกผมอย่าเคลื่อนไหว หรือถึงขั้นเตรียมหนี ดีที่ไม่ได้ไปไหนฮร่า)

นี่เป็นตัวอย่างคนที่ไม่โดนเรียกตัว หรือโพสต์เฟซฯโดนคดี เป็นต้น ส่วนการวิเคราะห์จากง่ายมายากซับซ้อน ก็มีคนหนึ่ง ที่สมัยเราจัดกลุ่มศึกษา ที่แห่งหนึ่งมารู้ทีหลังสายลับทหารติดตามเรา ปัจจุบันผมยังเห็นเขาไปตามเวทีเสวนา(จะผิดหรือถูกก็คิดว่ามีสายลับง่ายสุด) น่ะครับ
โดยเล่าย่อๆ รัฐราชการหน่วยงานเก็บข้อมูลพวกนี้ตลอด ทำงานมีงบประมาณฝ่ายติดตามอยู่แล้ว ซึ่งเราเห็นได้จากประสบการณ์สายเอ็นจีโอ ฯลฯ และกรณีเรื่องสุดท้ายที่สำคัญ คือ นักกิจกรรมต้องทำใจ อาจจะโดนเรียกรายงานตัวได้

แต่ที่แน่ๆผมวิเคราะห์ว่าผมจะไม่โดนเรียกรายงานตัว น่ะ (ฮร่า) ถ้าผมพูดย้อนทวนอดีตพัฒนาการเศรษฐศาสตร์การเมืองในระยะ18ปี ตอนผมเข้ามหา’ลัยปี40 เป็นวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง และช่วงขบวนนศ.ร่วมรณรงค์รัฐธรรมนูญ40 และการเมืองไม่ได้ตื่นเต้นหวือหวา มากมายสำหรับนศ.นักกิจกรรมสมัยนั้น

จนกระทั่งบ้านเมืองเกิดวิกฤติภาคใต้ 47**เป็นต้นมาถึงรัฐประหาร57-58นศ.นักกิจกรรมสมัยนี้ได้สัมผัสประสบการณ์ต่างจากอดีต ด้วย ครับ

*วันนี้มรว.ปรีดิยาธร ออกทีวีด้วย โดยอดีตรองนายกรัฐมนตรีและรมต.กระทรวงการคลังในรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ หลังรัฐประหารปี49ต่อมา
มรว.ปรีดิยาธร เป็นรองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หลังรัฐประหาร57 ได้กล่าวถึงเรื่องนิคมอุตสาหกรรม และเศรษฐกิจ ฯลฯ แต่ข้อมูลที่ผมเจอมีตรงกันข้ามเรื่องบ.ซัมซุงในโคราชปิดกิจการฯ
http://money.sanook.com/296277/
**ภาพประกอบตัดต่อแต่งใหม่เป็นภาพซีเปียรูปผมปี48 สิบปี ที่มีคุยเรื่องภาคใต้ และบรรยากาศมุมมองจากเครื่องบิน

วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
วันศุกร์นายกฯทหารออกทีวี มีหลายเรื่องเศรษฐกิจ-อาเซียน ฯลฯอีก แต่ผมเขียนต่อว่าจากสัปดาห์ที่แล้วผมเน้นเรื่องเศรษฐกิจ ในบริบทกระแสข่าวรัฐบาลแห่งชาติ ที่มีคนเคยเสนอคนเดิมแล้วเสนอซ้ำ ส่วนภัยแล้ง แก้ปัญหาจัดการน้ำถึงclimate change* ส่วนกรณีสมคิด ที่ปรึกษา คสช. มานั่งแทนหม่อมอุ๋ย** และข่าวปัญหา”ผมพูดเรื่องเศรษฐกิจ คิดว่าทุกคนในนี้เข้าใจ แต่คุยกับนายกรัฐมนตรี ไม่เข้าใจเรื่องเศรษฐกิจ แล้วยังนำไปพูดตอบนักข่าวทุกเรื่อง”ถ้อยคำดังกล่าว***

นี่แหละความแตกต่างของการบริหารของนายกทหารไม่ได้รู้เรื่องเศรษฐกิจอย่างที่ผมเขียนในสัปดาห์ที่แล้ว และปัญหาไม่ได้มาจากการเลือกตั้งการแถลงนโยบายของรัฐบาลในอีกด้านหนึ่งนั้น มีสภาพเสมือนหนึ่งการให้สัญญาประชาคม รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยจักต้องปฏิบัติตามสัญญาประชาคม
มิฉะนั้น อาจถูกราษฎรลงโทษทางการเมืองในการเลือกตั้งครั้งต่อไป แต่ในกรณีของไทย หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ เหตุผลสำคัญส่วนหนึ่งเป็นเพราะระบอบประชาธิปไตยของไทยล้มลุกคลุกคลานและมีอายุสั้นกว่าที่ราษฎรจะปฏิบัติการลงโทษทางการเมืองแก่ผู้นำทางการเมืองได้**** แต่ถ้าคนเลือกตั้งก็ไม่เลือกรัฐบาลทหารอีกเหมือนปี49-50-51หละ ครับ

สรุป ผมเล่าสั้นๆ ย่อๆ ดูบทเรียนอดีตได้ไอเดียที่คิดต่อเรื่องงบประมาณแผ่นดินสำหรับซื้ออาวุธ 1 พ.ย.34 ประเด็นการซื้อเฮลิคอปเตอร์ปี2534 สมัยรัฐบาลอานันท์ ซึ่งสุนทร คงสมพงษ์ อดีตผบ.สูงสุด ผลักดันโครงการนี้ แล้วรัฐบาลเห็นว่าต้องสำรวจว่ามีการใช้เฮลิคอปเตอร์พวกนี้อย่างเต็มที่แล้วหรือไม่ ก่อนจะตัดสินใจซื้ออาวุธ อื่นๆ ที่บริบทช่วงนั้นทหารอยากได้ แต่รัฐบาลอานันท์ เป็นเทคโนแครต ให้ความสำคัญกับเป้าหมายการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและรักษาสเถียรภาพทางเศรษฐกิจมากกว่าเป้าหมายอื่นใด
ทั้งนี้ รัฐบาลต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเศรษฐกิจ มากกว่าจะไปซื้ออาวุธ แต่ไทยแลนด์ ปัจจุบันพยายามกับเรือดำน้ำ โดยอย่าเลียนแบบจีน มีความเป็นเสรีนิยมใหม่-โลกาภิวัตน์ โดยเป้าหมาย และวิธีการไม่มีเสรีภาพคอมเม้นท์แล้วสบายดี***** น่ะครับ

*ดูเพิ่มเติมนาโอมิ ไคลน์ นักเขียน นักกิจกรรมสังคม และฟิลม์เมคเกอร์ ผู้วิจารณ์โลกาภิวัตน์ และลัทธิเสรีนิยมใหม่ได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับ climate (change)ด้วย
**นายกเลิกเกรงใจ ปรับโละยกทีมเศรษฐกิจ หลังได้เทปเสียงหม่อมอุ๋ย อัดนายกฯ(หม่อมอุ๋ยกับสมคิด เคยไม่เกาเหลากันรัฐบาลสุรยุทธ์(กลุ่มเดิมเหมือนเดิม) และอดีตรมช.คลัง คือ สมหมาย สมัยนั้นมาเป็นรมต.คลังสมัยนี้ )นี่แหละประเด็นทีมศก.
http://www.dailynews.co.th/politics/336497
***รับกระแสปรับครม. ′หม่อมอุ๋ย′ อัด ′บิ๊กตู่′ ไม่รู้เรื่องศก.ฯ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1437519460
****รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ เศรษฐกิจการคลังกับบทบาทรัฐบาลไทย
*****ผมเคยเขียนเรื่องชูมากเกอร์(ผู้เรียนไม่จบมหา’ลัยป.ตรี) เศรษฐศาสตร์ชาวพุทธ(นักเศรษฐศาสตร์ด้านพลังงานฯลฯ)กับเรื่องเศรษฐกิจการเมืองทหารไทย ซึ่งชูมากเกอร์ รู้จักอยู่ยุคเดียวกับเคนส์ ซึ่งเศรษฐกิจแบบเคนส์มาสู่เสรีนิยมใหม่ รายละเอียดเยอะในแง่ที่ผมเคยเขียนย่อๆ คอลัมภ์ฯที่เนชั่นสุดสัปดาห์ ในเรื่องสะบายดี เขื่อนไซยะบุรี(ปี56)กรณีไทย ลาวและจีนเป็นเครือข่าย ฯ โยงใยในน้ำโขง(ถ้าเขียนเพิ่มเติมอย่างบริษัท ช.การช่างก่อสร้างไทย ที่เกี่ยวข้องเขื่อนฯเติบโตทางเศรษฐกิจมากับเผด็จการทหารตั้งแต่สมัยก่อนยุคตุลา 19) ซึ่งแนวคิดเรื่องเสรีนิยมใหม่ ดูงานเขียนของนักภูมิศาสตร์อย่างเดวิด ฮาวีย์ เป็นต้น ครับ(รูปประกอบผมเองสมัยปี50ที่เชียงใหม่)

ราตรีสวัสดิ์กับเพลงของJetta – I’d Love to Change the World (1 HOUR LOOP)


วันศุกร์ที่ 31 กรกฏาคม
วันศุกร์นายกออกทีวี มีเรื่องพูดอีก คืนความสุขเพ้อฝัน ตราบใดการเมืองยังไม่เคลียร์ในความสำเร็จของการเลือกตั้งทั่วไปของพรรคไทยรักไทย ปี2544 เป็นผลมาจากบารมี บุคลิกภาพ และความเป็นผู้นำของทักษิณ(ดูประหนึ่งว่านี่คือการอธิบายที่ให้ความสำคัญกับผู้กระทำ/Agency)กับการอธิบายว่าไม่มีอะไรที่เกี่ยวข้องกับตัวทักษิณฯ หรือแม้แต่พรรคไทยรักไทย

แต่อย่างใด ทว่าเป็นผลมาจากอิทธิพลของสื่อ ที่มีอคติในการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับความไร้น้ำยาและความไม่น่าเชื่อถือของพรรคประชาธิปัตย์(ดูประหนึ่งว่านี่คือการอธิบายที่เน้นโครงสร้าง/Structure) นี่แหละประเด็นของนักคิดหลักๆหลายคนในประวัติศาสตร์ความคิดทางด้านสังคมวิทยาเชื่อว่าปัจเจกบุคคลและสังคม มีความเกี่ยวข้องกันอย่างแยกไม่ออก*

เมื่อผมเห็นการอธิบายคิดเขียนเพิ่มเติมAgency ด้านเศรษฐกิจในแง่โยงNeo Liberalism โดยกรณีคัมภีร์การตลาดทรท. ตามรอยแดนมะกัน-ถิ่นผู้ดี จากยุคแธตเชอร์กับเรแกนด์ร่วมกันตั้งเสรีนิยมใหม่(Neo Liberalism)ถึงโทนี แบลร์-บิล คลินตัน
ในคัมภีร์ “การตลาดทางการเมือง”(Political Marketing) ที่พรรคไทยรักไทยใช้สร้างตราสินค้าและโปรดักส์ทางการเมืองจนประสบความสำเร็จมาแล้วนั้น “ไม่ใช่เรื่องใหม่ ” เพราะโมเดลนี้คิดค้นโดยเจ้าของทฤษฎีชาวอเมริกันชื่อ “Bruce I. Newman” อีกทั้งยังถูกใช้อย่างแพร่หลายประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ยุโรป มาแล้ว

การใช้แนวคิดนี้ช่วยทำให้ “พรรคการเมือง นักการเมือง” เปรียบเหมือน “ผู้ผลิตสินค้า” ขณะที่ผู้เลือกตั้งเปรียบเสมือน “ลูกค้า” นโยบายของพรรค จัดเป็น Product ที่สามารถสร้างจุดขายให้กับสินค้าได้

กลุ่มผู้เลือกตั้ง หรือกลุ่มเป้าหมายทางการเมือง ถูกจัดแบ่งเป็นย่อยๆ ตามกลยุทธ์การตลาด (Marketing Segmentation) ขณะที่พรรคการเมือง-คนในพรรค ก็มีการวางตำแหน่งพรรค Positioning เช่นเดียวกันสินค้า เพื่อให้เด่นชัด สร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง เป็นต้น ควบคู่ไปการสร้างแบรนด์ (Branding) และสร้างภาพลักษณ์สินค้า (Brand Image)
สำหรับพรรคไทยรักไทยยุคทักษิณ ชินวัตรเป็นหัวหน้าพรรค และตั้งแต่ก่อตั้งใหม่ๆ มีการวางตำแหน่งพรรคเป็นแนวใหม่ โดยใช้สโลแกน “คิดใหม่ ทำใหม่” และจะด้วยตั้งใจ “ตามรอย ”หรือบังเอิญก็ตาม

แต่ตำแหน่ง “พรรคใหม่” ก็เหมือนกัน พรรค Labour ของ โทนี่ แบลร์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ที่ใช้คำว่า “New Labour”เพื่อหาเสียงเลือกตั้ง และท้าชิงพรรค Conservative ที่ยึดครองมาเป็นเวลา 18 ปีเต็มได้เป็นผลสำเร็จในปี ค.ศ. 1998 ขณะที่พรรค Democrat ของบิล คลินตัน ก็เช่นกัน ก็ใช้คำว่า “New Democrat ”จนสามารถเอาชนะพรรค Republican ที่ครองทำเนียบขาวมายาวนานถึง 12 ปีได้สำเร็จเช่นกัน**

ดังนั้น ความขัดแย้งในแง่ของAgencyอย่างทักษิณ ยังดำรงอยู่ พร้อมกับโครงสร้างของปัญหาการเลือกตั้งผ่านรัฐธรรมนูญ โดยรัฐบาลทหาร ก็ยังทำอะไรไม่ได้ แม้จะพยายามดึงกลุ่มนักการเมืองอย่างสมคิด*** เข้ามาพร้อมกระแสสุเทพแห่งกปปส.(พรรคประชาธิปัตย์ฯลฯ)ด้วย ครับ****

*โครงสร้าง-ผู้กระทำการ = Structure-agency / โดย เชษฐา พวงหัตถ์
**คัมภีร์การตลาดทรท. ตามรอยแดนมะกัน-ถิ่นผู้ดี
***นสพ.ส่วนใหญ่ออกข่าวเรื่องสมคิด จาตุฯ จับตาไปที่รมว.พาณิชย์ คนใหม่ โดยผมตามประสาคนเคยเรียนหุ้น และติดตามข่าวเศรษฐกิจบ้าง ดูการวิเคราะห์ทางทีวีดูสถิติตัวเลข GDP ตอนต้มยำกุ้ง ติดลบ-12.50 เปรียบเทียบปัจจุบัน2.80 ยังไม่มากเท่าก็แหง่ ก็แน่เพราะยังไม่จบเป็นอดีตให้เป็นเคส (ดูเพิ่มเติม)มารู้จักตัวตนคนชื่อ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์(สรุปว่าสมคิดไม่มีผลงาน)
http://www.isranews.org/isra-news/item/35836-somkid_35836.html
****ภาพผมเองปี47หรือปี2548 ครับ
ราตรีสวัสดิ์กับเพลงYellow Submarine The Beatles

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น