วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2560

การสะสมทุน ความรู้ ความทรงจำ ในโลกาภิวัตน์ (อุปมาปลา)

การสะสมทุน ความรู้ ความทรงจำ ในโลกาภิวัตน์ (อุปมาปลา)

 

4 ธันวา
รำลึกการจากไปต่อคาสโตร ณ คิวบา ซึ่งผมมีนิตยสารภาพถ่ายขาวดำ ฉบับหน้าปกคาสโตร เป็นภาษาอังกฤษเก็บไว้เป็นที่ระลึกด้านศิลปะภาพราคาไม่แพง ในแง่ของสื่อสิ่งพิมพ์ น่าสนใจโจทย์ ที่ตอนนี้ประเทศไทยเป็นสภาวะสื่อสิ่งพิมพ์กำลังตาย(ที่ปิดไปนิตยสารสกุลไทย ฯลฯ) สื่อออนไลน์สิ่งใหม่ ก็มีเสียเขียนสื่อออนไลน์ไม่คัดกรอง ดราม่า ฯลฯ ในต่างประเทศมีการอนุรักษ์สื่อดี รัฐต้องสนับสนุนให้นิตยสาร สื่อสิ่งพิมพ์ ที่มีคุณค่าอยู่ได้ด้วย
April Chookron เจ็งกันถ้วนหน้า
ใช่พี่April การปิดตัวของนิตยสาร และสื่อสิ่งพิมพ์ไทย กำลังเป็นภาพสะท้อนเจ๊ง จากทุนนิยม และปัจจัยภาวะการเมืองประชาธิปไตยไทย ฯลฯ ยกตัวอย่างที่มีการอธิบายไว้
การปิดตัวนิตยสารชื่อดังหลายต่อหลายฉบับในวงการสื่อไทยมาเป็นระยะๆ อย่าง สกุลไทย, Image, เปรียว, Cosmopolitan, Viva Friday, C-KiDs และอีกหลายเจ้า ล่าสุดก็ตามมาติดๆ สำหรับนิตยสาร “พลอยแกมเพชร”
http://www.atimedesign.com/webdesign/ploykaempetch-closed/
นิตยสารที่ปิดตัวไปได้แก่ Reader’s Digest ภาษาไทย, นิตยสาร คอสโมโพลิแทน, นิตยสารอิมเมจ, การ์ตูนค่ายวิบูลยกิจ หรือ การ์ตูนรายสัปดาห์ บูม เป็นต้น
https://noobhoon.blogspot.com/2016/04/blog-post_22.html
ไทยเบฟฯ ฮุบอมรินทร์ หรือนี่คือทางออกของวิกฤตสื่อไทย…บมจ. มติชน สื่อสิ่งพิมพ์หัวใหญ่ของประเทศที่มีหนังสือพิมพ์ในเครือถึง 3 ฉบับ กำลังประสบภาวะขาดทุนสุทธิเพิ่มเกือบ 70% จึงมีมาตรการรัดเข็มขัดออกมาหลายระลอก แม้ว่าจะหันมาเจาะตลาดโซเชียลมีเดียและช่องทางออนไลน์อื่นๆ แล้วก็ตาม… “สิ่งพิมพ์มันตกลงเรื่อยๆ อย่างเห็นได้ชัด ซึ่งก็สะท้อนตัวมันเองพอสมควรว่าเป็นตลาดที่อยู่ในช่วงขาลง (Declining Sector) คนส่วนใหญ่เลยย้ายไปบนออนไลน์มากขึ้น ทีนี้ผู้ประกอบการและธุรกิจสิ่งพิมพ์ที่มีสายป่านยาวหน่อย ก็หันไปเล่นทีวีดิจิทัลมากขึ้น เพราะโอกาสมันเปิด ยกตัวอย่างเช่น อมรินทร์ เดลินิวส์ ไทยรัฐ”
http://themomentum.co/successful-feature-thaibev-takeover-amarin
บางคนก็ว่า เพราะสื่อออนไลน์ยึด นั่นก็ ถูกส่วนหนึ่งครับ แต่ถ้าชาติบ้านเมืองยังปกครองในระบอบประชาธิปไตยอยู่มันก็จะไม่ซ้ำเติมแรงเร็วขนาดนี้ สื่อสิ่งพิมพ์สามารถที่จะทำสื่อออนไลน์ควบคู่ไปได้ ก็พอจะอยู่รอดได้
ประวัติศาสตร์บันทึกไว้แล้วครับ เพราะ Shutdown Bangkok. ผมก่อบาป ตัวผม ผู้จะสิ้นสภาพนักหนังสือพิมพ์ในวันที่ 31 ธ.ค.59 ก็ขอฝากแก่นักข่าวทุกคนที่ยัง มีชีวิตอยู่ และยังได้ทำงานต่อไป หรือ คนที่กำลังอยากเป็นนักข่าว เอาไว้สั้นๆ ว่า
“เป็นนักข่าว-อย่าฝักใฝ่เผด็จการ”
อนึ่งหนังสือพิมพ์บ้านเมืองเพิ่งประกาศยุติการผลิตหนังสือพิมพ์นับแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป และมีความจำเป็นต้องเลิกจ้างพนักงานทั้งหมด โดยได้แจ้งต่อสาธารณชนเมื่อปลายเดือน พ.ย. 2559 ที่ผ่านมา
4.2
ประเด็นการสะสมทุนความรู้
ผมได้เขียนเรื่องการสะสมทุนความรู้ มาพอสมควรทั้งด้านการศึกษา ในแง่มุมคิดวิเคราะห์เป็นการตื่นของปัญญาชนถึงการเรียนรู้ด้วยตนเอง อุปมาปลา(*) โดยเปรียบเปรยกับเรื่อง”งานทางปัญญาในสังคมอับจนปัญญา” ซึ่งอ.ธงชัยเคยกล่าวถึงนักศึกษาไทย จากประสบการณ์ส่วนตัวที่ได้สอนนักศึกษาไทยระดับหลังปริญญาตรีและจากการสอบถามเพื่อนร่วมวิชาชีพหลายคน พบปรากฏการณ์คล้ายกัน ปัญหาพื้นฐานยิ่งกว่าการคิดไม่เป็นคือ นักศึกษาอ่านหนังสือไม่เป็น หมายความว่า นักศึกษาไทยอ่านหนังสือแล้วจับใจความสำคัญไม่ค่อยได้ เขามักใส่ใจกับข้อเท็จจริงรูปธรรมแต่ไม่รู้ว่ามีความหมายอย่างไรในบริบทของเรื่องที่อ่าน เมื่อไม่สามารถจับใจความสำคัญของตอนนั้นได้ ข้อเท็จจริงที่หยิบยกก็จะอยู่อย่างกระจัดกระจาย หาความหมายเพื่อโยงเชื่อมสอดคล้องกันไม่ได้ เมื่อจับใจความไม่ได้ก็วิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้
“ไม่กี่ปีก่อนเรามักพูดว่าคนไทยความรู้ไม่พอ ข้อมูลไม่พอ แต่ผมคิดว่านั่นไม่ใช่ปัญหาแล้ว ข้อมูลมีเยอะมาก แต่เราไม่มีความสามารถจัดการกับข้อมูลท่วมหัวนั้น หมายถึงไม่รู้จักแยกแยะว่าอะไรสำคัญไม่สำคัญต่อโจทย์หนึ่งๆ นี่เป็นทักษะเบื้องต้นซึ่งสอนกันได้ คุณสมบัติของประชากรแบบนี้สอดคล้องกับสังคมที่เป็นอยู่ สังคมไม่ได้ต้องการคนที่อ่านหนังสือเป็น สังคมไทยต้องการทักษะแค่ระดับที่เป็นอยู่”(**)
อย่างไรก็ดี การพลิกกลับด้านทัศนะต่อมุมมองวิธีวิทยา และการแสวงหาความรู้อย่างที่ผมเคยยกตัวอย่างไปแล้วมีการกล่าวถึงนักศึกษาเป็นครูของผม และการเปรียบเทียบการศึกษาประวัติศาสตร์ในอเมริกา(***)
โดยสรุปอย่างย่อๆ ปัจจัยมูลรากฐานทุนนิยม ที่ทำให้การศึกษาไทยและต่างประเทศ ต้องตอบโจทย์ให้ผลิตนศ. รวมระบบการศึกษาอยู่บนพื้นฐานตรรกะของทุน ทำให้เกิดข้อจำกัดชุมชนจินตกรรมในชาติไทยด้วย
*เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยไม่มีเวลาเขียนเรื่องการศึกษาเพิ่มเติม
การศึกษาขยายความเปรียบเทียบเพิ่มเติมนิดๆ

เมื่อการเปรียบเทียบการศึกษาดราม่า ยกตัวอย่างอย่าหลงประเด็น เรื่องระบบการศึกษาของญี่ปุ่น ที่ท่านกำลังเข้าใจอยู่”พ่อขอโทษที่ปลูกข้าวผิดนา”….ยาวมาก

ผมเคยเปรียบเทียบการศึกษา ในแง่เรื่องเต๋า สอนจับปลา

หลักการทำงาน “ปรัชญาปลา”
**ธงชัย วินิจจะกูล เสนอข้อบ่งชี้วุฒิภาวะทางปัญญาแบบ ‘พอเพียง’ของไทย-มองบวกการต่อสู้ยาวไกล(ดูเพิ่มเติม)ปาฐกถาศิลปวัฒนธรรม หัวข้อ”งานทางปัญญาในสังคมอับจนปัญญา” ในแต่ละข้อ1.นักศึกษาไทย 2.สื่อมวลชน 3.มหาวิทยาลัย 4.ความรู้ด้านมนุษยศาสตร์ 5.นักแสดงตลกเสียดสี 6. นิยายประวัติศาสตร์ 7. การถกเถียงแบบพวกเคร่งศาสนาในหมู่นักต่อสู้ทางการเมือง…สรุป(ดูเพิ่มเติม)
http://prachatai.com/journal/2016/09/68064
***“คนของเยอะไม่เห็นเป็นอาจารย์กัน”

ประเด็นcritical thinking อีกสักนิด ในLos Angeles Times โดย เจมส์ กรอสส์แมน (James Grossman) ได้เผยแพร่บทความเรียกร้องให้คนหันมาเห็นความสำคัญของการเรียนประวัติศาสตร์ หลังนักศึกษารุ่นใหม่หันหลังให้ภาควิชานี้ ไปเรียนสาขาอื่นที่ทำเงินมากกว่า
4.3
เดินทางออกพื้นที่ หลายเรื่องเล่า เพียงเล่าสั้นๆ บิวตี้ฟูลของชีวิต พร้อมภาพอันสวยงาม ราตรีสวัสดิ์
ครับพี่ April ออกพื้นที่ติดธุระต่อเนื่องหลายวัน หยุดพักเฟซฯ แถมเพลงใจความสำคัญ เพราะรูปพื้นที่นี่ เป็นที่ผมเคยถ่ายหนังสั้น และคิดถึงการเขียนถึงหนังและเพลงนี้ครับ
6 ธันวา
พระราชกระแสเกี่ยวกับ’โลกาภิวัตน์แบบไทย’
“พระราชกระแส” ตอนหนึ่งเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมโดยใช้ “โลกาภิวัตน์แบบไทย” ดังนี้ “โลกาภิวัตน์” หมายถึง “หมุนตามโลก” โลกทำอะไร เราก็ทำตามด้วย แต่ “โลกาภิวัตน์แบบไทย” เราไม่จำเป็นต้องทำตามโลกทุกอย่าง บางครั้งเราทำตามโลกด้วย แต่เราก็หาวิธีพัฒนาของเราเองด้วย
อย่างเรื่อง “น้ำท่วม” การแก้ “ปัญหาน้ำท่วม” นี้เห็นชัด ถ้าขืนทำตาม “โลกาภิวัตน์แบบฝรั่ง” คือทำตามฝรั่ง ป่านนี้เรายังไม่ได้สร้าง ป่านนี้ต้องลงทุนหลายล้านบาท และยังคงต้องศึกษากันอีกยาว ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศมาวางแผนแก้ “ปัญหาน้ำท่วม” วางแผนเสร็จต้องสำรวจออกแบบก่อสร้างอีก 2 ปี กว่าจะก่อสร้างเสร็จไปอีก 5 ปี
แต่กว่าทุกอย่างจะเสร็จเวลาที่รออีก 5 ปี “น้ำท่วม” เสียหายอีกมหาศาล ฉะนั้น “โลกาภิวัตน์แบบไทย” คือ เราคิดหาวิธีระบายน้ำออกไปให้เร็ว อย่าปล่อยให้น้ำเอ่อจนผลักดันลงทะเลไม่ได้ ถ้าน้ำทะเลสูงเราต้องปิดกั้นน้ำทะเลไม่ให้เข้า แล้วก็ระดมสูบน้ำระบายออก พอน้ำทะเลลด เราก็ระบายออกตามธรรมชาติ คือ
เราต้องศึกษาจากธรรมชาติ ดูจังหวะน้ำขึ้น น้ำลง พยายามทำให้น้ำไม่ไหลออกมาที่เดียว ต้องแยกเป็น สองด้าน ด้านตะวันออก และ ด้านตะวันตก อย่างที่เรียกว่าโครงการ “แก้มลิง” นี่แหละคือ “โลกาภิวัตน์แบบไทย” เมื่อก่อนผู้เชี่ยวชาญฝรั่งจาก “เอ็มไอที” (สถาบันเทคโนโลยี แมสซาชูเซตส์-สหรัฐอเมริกา) มาขอพบปรึกษาเกี่ยวกับปัญหานี้ เขาสงสัยว่าเหตุใดแผนป้องกัน “น้ำท่วม” ที่คิดขึ้นจึงประสบผลสำเร็จ โดยไม่ต้องตามแบบฝรั่ง ไม่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศมาวางแผน
ซึ่งฝรั่งเขาสนใจขออนุญาตเข้าไปสำรวจศึกษาดูวิธีการของเราเพื่อเอาไปแนวทางบ้าง นี่คือ เราทำของเราเองได้ เราก็แก้ของเราเองได้ เป็น “โลกาภิวัตน์แบบไทย” บางครั้งเราคิดค้นเองแล้วไม่สำเร็จ เกิดปัญหาขัดข้อง เราก็ต้องมาปรับปรุงแก้ไขกันใหม่ คือ แก้ไขด้วยวิธีปฏิบัติ ประหยัดงบประมาณและประหยัดเวลาอีกด้วย”
….(หมายเหตุ พระราชกระแสเกี่ยวกับ “โลกาภิวัตน์แบบไทย” กับการแก้ไขปัญหา “น้ำท่วม” ที่ไม่แพร่หลาย (II) : คอลัมน์ คลินิคคนรักบ้าน โดย… ดร.ภัทรพล)
เมื่อวานวันพระราชสมภพของในหลวง รัชกาลที่ ๙ พร้อมภาพเก่าในหลวงกับแผนที่ กับรำลึกBike for Dad ปีที่แล้วผ่านภาพจักรยานของผมในปีนี้ด้วย
6.3
ประเด็นการสะสมทุน = Capital accumulation และอุปมาปลาแม่น้ำ
การสะสมทุนในประเทศไทย มีการศึกษาไว้แล้ว ในยุคแรกนั้นเป็นการสะสมทุนโดยกลุ่มคนจีนเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากกลุ่มคนจีนเหล่านี้เติบโตขึ้นอย่างมากจากการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง และสืบเนื่องมาจากระบบเจ้าภาษีนายอากร ทำให้การสะสมทุนอย่างค่อยเป็นค่อยไปของกลุ่มคนจีนเหล่านี้กลายเป็นผู้ประกอบการและนายทุน(*)…โดยการสะสมทุน = Capital accumulation มีความหมายเดียวกันกับคำว่า การสร้างทุน หมายถึงการเพิ่มปริมาณ สินค้าทุน เช่น อาคารโรงงาน เครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์ เป็นต้น
ซึ่งการสะสมทุนเป็นการมองเชิงภูมิศาสตร์(**) และโลกาภิวัตน์ ในการเปรียบเทียบไทย ต่อมาขณะปัจจุบันผู้นำรัฐไทยกล่าว…สร้างความเข้มแข็งลดความเหลื่อมล้ำ ทำให้คนกลุ่มล่างให้มีช่องทางรายได้เพิ่มเติม อย่างเหมือนเราให้เบ็ดตกปลาเขาไป แล้วเรามีแหล่งน้ำที่มีปลาเยอะให้เขาหรือยัง ก็ยังอีก
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อถึงการลดช่องว่างเศรษฐกิจขนาดใหญ่ว่า จะต้องเชื่อมต่อกับธุรกิจระดับกลางและระดับบน เพราะทั้งหมดนี้เป็นห่วงโซ่เดียวกัน เท่ากับว่าเราต้องขยายแม่น้ำให้ใหญ่ขึ้น ซึ่งจะต้องไปดูกิจกรรมที่สามารถลดความเหลื่อมล้ำได้(***)
*จากการศึกษารายงานการวิจัยเรื่องโครงสร้างและพลวัตทุนไทยหลังวิกฤตเศรษฐกิจ
http://politicsofdevelopment.blogspot.com/2008/09/blog-post_1135.html
**งานเขียนของเดวิด ฮาร์วีย์ โดยผมนำมาเป็นภาพประกอบจากหนังสือThe Condition of Postmodernity: An Enquiry into the Origins of Cultural Change มีภาพแผนที่ โดยผมนำภาพแผนที่สยาม(Siam map)มาเปรียบเทียบด้วย
***ไทยติดอันดับ 3 ช่องว่างคนรวย-จนมากสุดในโลก ประยุทธ์ ชี้แก้ยากเพราะยังระแวงรัฐ
Tue, 2016-11-29 23:30
http://prachatai.com/journal/2016/11/69055
12 ธันวา
ประเด็นสะสมทุน = Capital accumulation และอุปมาปลาแม่น้ำ(2)
เดวิด ฮาร์วีย์ เปรียบเทียบเมืองในยุโรปสมัยกลางกับแผนที่เมืองยุโรปช่วงต้นยุคใหม่ พบว่ารูปลักษณ์ของแผนที่ก่อนยุคใหม่ ให้ความรู้สึกเกี่ยวกับความงามและความละเอียดละอ่อนเชิงประสาทสัมผัส แผนที่เมืองบางชิ้นดูคล้ายภาพเขียนทิวทัศน์ชนบทของจิตรกร ในขณะที่แผนที่ยุคใหม่มีการปรับปรุงเทคนิคของมาตรวัดพื้นที่และความรู้เชิงเรขาคณิต ทำให้พื้นที่ถูกนำเสนอในฐานะที่เป็นช่องว่างระหว่างเส้นและมุม ที่สามารถวัดคำนวณได้อย่างถูกต้อง ความว่างเปล่านี้มีนัยสืบเนื่องต่อมาสองอย่าง คือ พื้นที่กลายเป็นพลังเฉื่อย ที่รอให้มนุษย์เป็นฝ่ายเข้าไปจัดการและกระทำการเปลี่ยนแปลง พื้นที่จะมีความหมายหรือให้คุณประโยชน์ได้ก็ต่อเมื่อมีการนำมาใช้สอย นับเป็นการทอนค่าของพื้นที่ลงไปเป็นอรรถประโยชน์เชิงวัตถุ ความว่างเปล่าอีกนัยหนึ่ง คือ การตัดขาดจากประสบการณ์ของมนุษย์ผูกพันอยู่กับพื้นที่นั้นๆ… ในประวัติศาสตร์ยุโรปช่วงต้นยุคใหม่ การเปลี่ยนแปลงวิธีคิดเกี่ยวกับพื้นที่ดังกล่าวเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งของกระบวนการล่าอาณานิคม ปฏิบัติการเชิงพื้นที่และปฏิบัติการเชิงอำนาจ จึงแยกกันไม่ออก การขยายอำนาจในการยึดครอง และจัดการพื้นที่ในทวีปอเมริกาของรัฐมหาอำนาจในยุโรป นำมาซึ่งการล่มสลายของวัฒนธรรมพื้นเมืองดั้งเดิม และนำมาซึ่งการดูดซับโลหะมีค่าไปเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการสะสมทุนให้แก่ยุโรป Gold,God,Glory กลายเป็นคำขวัญของลัทธิพาณิชย์ชาตินิยม(*)
ดังนั้น การเปรียบเทียบแผนที่สยามหรือไทยกับการสะสมทุนโดยรัฐ ต้องสร้างทุนที่ยุติธรรมให้ได้ ไม่ใช่ดีแต่พูดอุปมาเท่านั้น
*อภิญญา เฟื่องฟูสกุล “พื้นที่ในทฤษฎีสังคมศาสตร์” สังคมศาสตร์ วารสารทางวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีที่ 12 ฉบับที่ 2/2543หน้า88(ผมเขียนย่ออ่านเพิ่มเติมได้)
**ดูภาพประกอบเพิ่มเติมผมเคยโพสต์แล้ว รวมทั้งหนังสือของเดวิด ฮาร์วีย์ ครับ
15 ธันวา
ประเด็นการสะสมความทรงจำ(1)
เมื่อวันที่ 13 ธันวา ผมมีไอเดียการสะสมความทรงจำ รำลึกครูเบน แอนเดอร์สัน ที่ผมรู้จัก โดยผมได้ค้นคว้าดูเว็บเห็นภาพอ.เบน ภาพเก่ากับพวกนักวิชาการคอร์แนล ซึ่งถ้าคิดเปรียบเทียบงานศึกษานักวิชาการตะวันตก ที่มีข้อถกเถียงอย่างยึดยุโรปหรือตะวันตกเป็นศูนย์กลางอย่างที่อ.เบน กล่าวถึงเอดเวิร์ด ซาอิด (Edward Said) คือ ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับบูรพาคดีศึกษา(Orientalism) และหลังอาณานิคม และงานของอ.ธงชัย เรื่องแผนที่สยามฯ เคยเขียนในหนังสือชุมชนจินตกรรมฯ(*) ทำให้นักวิชาการสำนักนี้ มีแนวทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และไทยศึกษา ฯลฯ(ถ้าเปรียบเทียบกับเดวิด ฮาร์วีย์(David Harvey) ก็ไม่ได้ไทยศึกษา เป็นยุโรปศึกษาอย่างหนังสือที่ผมอ้าง**) ที่มีชื่อเสียงอีกคน คือ เดวิด วัยอาจ(David K.Wyatt)
โดยผมเคยเจอที่ม.เชียงใหม่ จำไม่ได้รายละเอียด เสวนาอะไร และงานอ.วัยอาจ ทำหลายเรื่องด้วยกัน เช่น งานเกี่ยวกับจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์ที่จ.น่าน(***) ผมมีไอเดียจัดกิจกรรมฉายหนังสั้นของผม เชิญชวนนักเขียนมาพูดคุยกันด้วย แต่ไม่มีเวลาเลยไม่ได้จัดด้วย
ดังนั้น ผมรำลึกแค่ในเฟซฯ ผ่านภาพอ.เบน และสำนักคอร์แนล รวมทั้งการเมืองไทยหลัง13ธันวา(****) ที่ผมเคยเขียนไว้ในอดีตวันเวลาผ่านไปแล้ว ในฐานะศิษย์สมมติจินตกรรมต่ออ.เบน ผมเป็นศิษย์โง่ ขี้เกียจ ที่ชีวิตพยายามต้องสู้ดำเนินต่อไป
*บอยรำลึกบทสนทนาสุดท้ายกับอ.เบนhttps://www.facebook.com/notes/%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9E%E0%B8%A5-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1/%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%99/981291361913949/
**ประเด็นสะสมทุน = Capital accumulation และอุปมาปลาแม่น้ำ(จบ)
***งานเขียน Reading Thai Murals [David K. Wyatt] โดยผมยกตัวอย่างเชื่อมโยงค้นหาภาพเพิ่มเติมได้จากBulletinฯ(ภาพประกอบอ.เบน และสารบัญเรื่องอ.เดวิด วัยอาจ รวมทั้งหน้าปกBulletinฯเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดหนองบัวของน่านโดย หนานบัวผัน เป็นศิลปินผู้เขียนจิตรกรรมประวัติศาสตร์ทั้งที่วัดหนองบัว และวัดภูมินทร์)
https://seap.einaudi.cornell.edu/publication/2007-fall-bulletin
ดูภาพรวมBulletinฯ
https://seap.einaudi.cornell.edu/bulletin
อ่านฟรี E-BOOK ทรงคุณค่า “ประวัติศาสตร์ไทยฉบับสังเขป”
http://www.museum-press.com/content-%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9F%E0%B8%A3%E0%B8%B5EBOOK%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E2%80%9C%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%9B%E2%80%9D-3-1664-115284-1.html
****14 ตุลา 2516 บนถนนราชดำเนิน – หลัง 13 ธันวา 2551: “เครื่องมือ” ทางการเมืองของคนไทย
http://prachatai.com/journal/2008/12/19490
16 ธันวา
ประเด็นการสะสมความทรงจำ(2)
เมื่อผมเล่าเรื่องเปรียบเทียบสำหรับการสะสมความทรงจำ (*) โดยผมนำหนังสือanimal farm ติดตัวไว้ระหว่างเดินทาง ถ้ามีเวลาอ่านเล่นๆ ซ้ำทบทวนความทรงจำจากที่เคยสะสมเนื้อหา(**) ซึ่งหนังสือนี้ถูกตีความให้อ่านแล้วหัวเราะ สนุกสนานได้อย่างตลกร้าย เพราะแอนิมัลฟาร์ม (อังกฤษ: Animal Farmหลายสำนวนแปลไทย) เป็นนวนิยายสั้นเชิงอุปมานิทัศน์(allegory )ที่เขียนโดยจอร์จ ออร์เวลล์ ผู้เขียนเรื่อง1984(ที่อ.เบน และอ.ธงชัย ผู้บอกหนังสือSIAM MAPEDฯเป็นอุปมานิทัศน์ ก็อ้างอิงออร์เวลล์ )
โดยนิยายเรื่องนี้สะท้อนเรื่องการปกครอง(***) มีตัวละครOld Major,Napoleon,Snowball น่าสนใจอ่านรายละเอียดตัวละคร(เช่น ตัวละครแทนตัวของจอร์จ ออร์เวล) เรื่องย่อพร้อมการวิเคราะห์อธิบายได้ทางวิกิพีเดียภาษาอังกฤษยาวกว่าวิกิพีเดียภาษาไทย(****)และผมเคยกล่าวถึงเรื่องนี้ว่ามีคนตีความเส้นแบ่งของคนกับสัตว์ลบเลือนไปของ animal farmในที่สุดด้วย
อย่างไรก็ดี นิยายเรื่องนี้ได้ถูกไปแต่งเนื้อเพลงOptimisticของวงเรดิโอเฮด(ที่มีเนื้อBig fish eat little one/fishฯลฯ) โปรดฟังเพลงประกอบส่งท้าย ดีกว่าเพลงคืนความสุข ที่ตอนนี้มีคนชวนส่งเสียงค้าน พ.ร.บ.คอมฯ ให้ถึง สนช. เข้าสภา 15 ธ.ค.นี้ ย้ำ ไม่ค้านผ่านแน่ๆ(*****)และปัญหาอื่น(******)โดยรัฐ ที่คืนความสุขตามความหมายเนื้อเพลงได้
*ประเด็นการสะสมความทรงจำ(1)

**ผมเคยเขียนเรื่องนี้ที่มาจากหนังสืออยากจะเขียนแทบตาย (จริงๆ นะ)โดยไพลิน รุ้งรัตน์
เรียนรู้การเขียนจากประสบการณ์นักเขียน โดยผมสรุปนักอยากเขียน 2 แบบ 1.อ่านมาก(ภาษาลงตัวและสะสมเนื้อหา) 2.อัดอั้น ถ้าทั้งสองอย่างรวมกันก็ดี…
***ดูเพิ่มเติมวิกิพีเดียhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A1
(สำนวนแปลไทย เช่น รัฐสัตว์ ฯลฯ )
****https://en.wikipedia.org/wiki/Animal_Farm
*****ชวนส่งเสียงค้าน พ.ร.บ.คอมฯ ให้ถึง สนช. เข้าสภา 15 ธ.ค.นี้ ย้ำ ไม่ค้านผ่านแน่ๆ
http://prachatai.com/journal/2016/12/69224
******บิ๊กตู่ แก้ปัญหาเศรษฐกิจ(?) ชาวนา เกษตรกร(?) ข่าวประยุทธ์งัด ม.44 ออก 3 คำสั่งหัวหน้า คสช. เลิกกม.สภาที่ปรึกษาศก.-สภาพัฒนาการเมือง – คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย
http://prachatai.com/journal/2016/12/69235
(ภาพประกอบ ณ ฟารม์วิว หนังสือanimal farm และภาพแผนที่โบราณ)
ฟังเพลงOptimistic
20 ธันวา
ประเด็นการสะสมความทรงจำ(3)
การสะสมความทรงจำ(accumulating memory)จนเกิดเป็นรูปเป็นร่างถึงจะมีขึ้นมาได้ มีการเชื่อมโยงปะติดปะต่ออย่างยุ่งเหยิงและเกินจริงของอันได้ประสบมานี้ ทั้งโดยคนที่กระทำและผู้เป็นเหยื่อของเหตุการณ์ กลายเป็นตัวตน…(*)ยกตัวอย่าง
ต่อมา คือ ความทรงจำกับการลืม(Memory and Forgetting) ในหัวข้อพื้นที่เก่าและใหม่(Space New and Old) กล่าวถึงเชียงใหม่(นครใหม่)…(**) ผมเขียนบันทึกไว้ในเฟซฯ โดยเปรียบเทียบ..มีวันตั้งกี่พันวันที่ผ่านไปในระหว่างวัยเด็กกับช่วงต้นของวัยผู้ใหญ่ของเรา ความทรงจำเหล่านั้นได้สูญหายไปอย่างไม่อาจเรียกกลับคืนมาได้อีก!
… ภาพถ่าย ซึ่งในตัวของมันเอง ก็เป็นทารกที่น่ารักของยุคของการผลิตซ้ำด้วยเครื่องกลไก ซึ่งก็เป็นเพียงหนึ่งในหลักฐานที่น่าเชื่อถือที่สุดในบรรดาการสะสมหลักฐานทางเอกสารจำนวนมหึมาในยุคสมัยใหม่(เช่น สูติบัตร บันทึกไดอารี่ฯลฯ(ผมเล่าย่อๆ)…(***)
เมื่อผมทบทวนความทรงจำและหลงลืม และการเปรียบเทียบสื่อเก่า(หนังสือ,แผนที่,ภาพถ่ายเป็นกระดาษ)กับสื่อใหม่(เขียนอัพรูปทางfacebook,ค้นหาภาพแผนที่ทางเน็ต) จากที่ผมเคยเขียนเรื่องอ.เบน ไม่ชอบให้ลูกศิษย์ใช้เฟซบุ๊ค(****) และการปิดกั้นสื่อเก่า(สื่อสิ่งพิมพ์) มาเป็นปิดกั้นสื่อใหม่ พรบ.คอมพิวเตอร์(*****) ในโลกาภิวัตน์ ซึ่งผมใช้เมล์ติดต่อกับอ.เบน ยกตัวอย่างที่เขียนไปแล้ว ก็ผมไม่ค่อยใช้เฟซฯใช้ไม่ค่อยเป็นมาก ในแง่เหตุผลไม่กี่วันก่อนเพิ่งเห็นข้อความเก่าที่ติดต่อผม
โดยยกตัวอย่าง สื่อออนไลน์ย่อมมีข้อดีข้อเสีย คือ ผมเสียโอกาสฉายหนังสั้นที่เคยส่งให้อ.เบน(ตามภาพด้วย******) เพราะปัญหาการใช้เฟซฯในอดีตผมเคยถูกจับตาล่าจากรายชื่อกลุ่มเฟซบุ๊คเสรีประชาธิปไตย(******)ต้องระวังผลกระทบพรบ.คอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันอีกด้วย
*การสะสมความทรงจำ(accumulating memory)
**ผมเขียนมาต่อเนื่องเรื่องการสะสมความทรงจำ และพื้นที่เชียงใหม่
***ชีวประวัติของชาติของหนังสือชุมชนจินตกรรมฯ

****เมื่อวานกับวันนี้มีงานบางมุมเกี่ยวกับสื่อ
*****พรบ.คอมฯ ที่เขียนไว้แล้ว

…พรบ.คอมฯใหม่น่าจะทำให้ผมเขียนแต่เรื่องตลก80% ที่เหลือมีสาระในเฟซฯตนเองและเฟซฯเครือข่ายแรงงานฯ
เล่นเฟซฯแล้วซึมเศร้า…“โลกโซเชียล” กับ “โรคซึมเศร้า”
http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/637547
การเปรียบเทียบกับงานเขียนของ George Orwell
The Orwell Reader, Fiction, Essays, and Reportage
http://orwell.ru/library/books/files/or
******แนะนำFacebook…ฝั่งเสรีประชาธิปไตย
http://www.pichao.byethost3.com/smf1.1/index.php?topic=282.0&i=1
22
ประเด็นการสะสมความทรงจำ(จบ)
ผมเล่าย่อๆในแง่เกือบได้ตีพิมพ์บทความในหนังสือสันติภาพไทย โดยบทความต่อหนังพระเจ้าช้างเผือก( ดูภาพประกอบกับลิ๊งค์*) ทบทวนความทรงจำในแง่ดีเป็นแนวคิดต่อประวัติศาสตร์แง่มุมความสำเร็จ ผ่านประวัติศาสตร์…การรับรู้เป้าหมายและความสำเร็จร่วมกันจากอดีต สามารถนำมาสร้างเอกภาพ ความร่วมไม้ร่วมมือ ความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และสามารถนำมาพัฒนาเป้าหมายและวิสัยทัศน์สำหรับอนาคตได้ …(**)…The angel of history(***)ใบหน้าของเขาหันไปสู่อดีต อดีตที่เรามองเห็นเป็นเพียงเหตุการณ์ที่ร้อยเรียงเป็นลูกโซ่ แต่เขามองเห็น(sees)เป็นมหันตภัยหนึ่งเดียว ที่ทับถมกันพังพินาศครั้งแล้วครั้งเล่า กองสุมท่วมอยู่แทบเท้า เทวดาอยากจะหยุดอยู่ที่นั่น
เพื่อปลุกคนตายให้ฟื้นขึ้น แล้วเยียวยาทุกสิ่งที่ถูกทำลายล้างขึ้นมาใหม่ ทว่ามีพายุใหญ่ที่พัดกระหน่ำลงมาจากสวรรค์
กระหน่ำแรงเสียจนเทวดาไม่อาจหุบปีกลงได้ กวาดเอาเทวดาเข้าไปสู่อนาคตทางด้านหลัง
ในขณะที่กองซากปรักหักพังเบื้องหน้า สูงขึ้นท่วมฟ้า พายุใหญ่ที่ว่านี้ คือสิ่งที่เราเรียกว่า ความเจริญก้าวหน้า(Progress)
ทว่าเทวดานั้นเป็นอมตะ ในขณะที่พวกเราจำต้องจ้องมองไปยังความมืดเบื้องหน้า(ahead)…
โดยความทรงจำของมนุษย์(ในบทAngel of Historyผมเขียนย่อ)…ในแง่ดีตีความอดีตเป็นแนวคิดต่อประวัติศาสตร์แง่มุมเป้าหมายและความสำเร็จ เป็นการเปรียบเทียบของผม ต่องานของอ.เบน ที่เขียนหนังสือชุมชนจินตกรรมฯ(สารพัดไอเดียสื่อหนังสือ,นิยาย,เพลง,ภาพยนตร์,การศึกษา,นสพ. เป็นต้น) ซึ่งผมได้ไอเดียมาเขียนบทความต่อหนังพระเจ้าช้างเผือก(ถ้าเล่าแนวคิดจะยาว ดูบทความเพิ่มได้) น่าเสียดายอีกที่ปีนี้ไม่ได้พิมพ์
เพราะผลกระทบต่อเนื่องส่วนหนึ่งของเฟซบุ๊คดังกล่าวของผม(ทำให้ผมไม่ได้ติดต่อบก.หนังสือฯ) รวมถึงปัจจัยสถานการณ์การเมืองโดยทางตรง อย่างระบบเซ็นเซอร์ของรัฐ( พรบ.คอมฯ) หรือ ทางอ้อม อย่างการเซ็นเซอร์ตัวเอง ที่ล่าสุดผมได้รับการเตือนไม่ปลอดภัยข้อเสนออาจจะunfriend บางคน(หรือไม่) หรือผมไม่นิยมสะสมเพื่อนเฟซฯ และอื่นๆ ที่ไม่กล่าวมาก(ทบทวนผมถูกจัดกลุ่มดังกล่าวเล่ายาว คือ ผมได้รับการติดต่อถูกจัดในกลุ่มตั้งแต่ปี54 เล่าสั้นๆ)
อย่างไรก็ดี นี่เป็นการรำลึกรวบรวมอย่างย่อตอนจบของประเด็นการสะสมความทรงจำเปรียบเทียบกับการเดินทาง และสะท้อนผลงานของผม โดยการสะสมความทรงจำในแง่หนึ่งต่อผลงานอ.เบน(*****) และผลงานบางส่วน ที่สืบค้นเป็นหลักฐานการทบทวนความทรงจำและหลงลืม ส่งท้ายผ่านความทรงจำในเพลง The dream before ที่ผมเคยถามอ.เบน ในแง่การตีความเพลงนี้ต่อThe angel of historyด้วย
*ภาพประกอบข้อความส่งมาเรื่องหนังสือสันติภาพ ภาพประกอบอ.เบนกับผมที่เคยเขียนไว้ และภาพ
เทวดาพระพุธ(ปรับปรุงใหม่) ทำหน้าที่เซ็นเซอร์ และภาพม้วนวิดิโอเก่าสมัยยังไม่เป็นดิจิตอล ที่พวกเราเคยจัดฉายหนังฯนี้เกือบ20ปีแล้ว ดูเพิ่มเติมลิ๊งค์บทความพระเจ้าช้างเผือกฯ ยกตัวอย่างตอนที่ 1(แป๊บๆ บทความนี้จะ10ปีแล้ว)
http://prachatai.com/journal/2007/12/15265
(ผลงานดังกล่าวมาจากพัฒนาการThesisของผม ณ เชียงของ เชียงราย ฯลฯ)
**เครือข่ายแรงงานภาคเหนือ ที่มีอ้างจากงานPublic History…
***ผู้สืบทอดมรดกLeft-wing มรดกMarx มรดกชาตินิยม มรดกคณะราษฎร และThe angel of history-Fish
http://akkaphon.blogspot.com/2016/12/left-wing-marx-angel-of-history-fish.html
****ประวัติศาสตร์การเกิดขึ้นของกระดาษ มีส่วนประกอบของfishing nets หรือแห/อวนจับปลาของไช่หลุน

Development of Nation(ชาติพัฒนา)
http://akkaphon.blogspot.com/2016/01/development-of-nation.html
New Digital Age : Nations(ยุคดิจิตอลใหม่: ชาติ)
http://akkaphon.blogspot.com/2016/01/new-digital-age-nations-2-single.html
บ้านเมืองของเราลงแดง : แง่มุมทางสังคมและวัฒนธรรมของรัฐประหาร 6 ตุลาคม
โดยฉบับพิมพ์ใหม่ ดูรำลึก 40 ปี “6 ตุลา”
http://www.matichonbook.com/index.php/matichonbook/newbooks/-2908.html
ศึกษารัฐไทย ย้อนสภาวะไทยศึกษา
http://www.sameskybooks.net/books/studies-thai-state/
ในกระจก: วรรณกรรมและการเมืองสยามยุคอเมริกัน
http://readjournal.org/pocketbooks/in-the-mirror/
Making Democracy-constitution(R.I.P.ben anderson)
http://akkaphon.blogspot.com/2016/02/making-democracy-constitutionripben.html
(ประเด็นการสะสมความทรงจำ มีที่มาจากบทภาษาเก่า แม่แบบใหม่ มีเรื่องการสะสมคำ ฯลฯ ในหนังสือชุมชนจินตกรรมฯ ด้วย เขียนขยายความจากเขียนประเด็นการสะสมความทรงจำ ตอนที่3)
The Dream Before(he said: History is an angel …)
30 ธันวา
ปริศนาปัญหาแม่น้ำของ(โขง)
เมื่อ11ปีก่อนสมัยทำวิทยานิพนธ์เคยทำเรื่องเกี่ยวกับประเด็นเดิมย้อนกลับมาอีกครั้งตามข่าวภาคปชช. 20 องค์กร ค้านระเบิด ‘แก่งโขง’ซัด ครม.ผิดพลาดรุนแรง – ‘ไทย’ เสียดินแดนอื้อ(*)
ครม.เห็นชอบระเบิดเกาะแก่งแม่น้ำโขง ไฟเขียวแผน 10 ปี ให้กรมเจ้าท่าเป็นแม่งานหลักประสานงานที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)
เมื่อวันที่ 27 ธ.ค.2559 มีมติเห็นชอบแผนพัฒนาการเดินเรือระหว่างประเทศในแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง พ.ศ.2558-2568 เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาการขนส่งทางน้ำระหว่างประเทศในแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ให้เกิดความสะดวก ปลอดภัย และเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างประเทศสมาชิก(**)
*https://www.facebook.com/greennewstv/posts/1330858166987517:0
**https://www.facebook.com/greennewstv/posts/1328816973858303:0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น