วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559

New Digital Age : Nations(ยุคดิจิตอลใหม่: ชาติ)

New Digital Age : Nations(ยุคดิจิตอลใหม่: ชาติ)

วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม
วันศุกร์นายกฯออกทีวี พูดเรื่องยูเอ็น หลายเรื่องผมไม่ได้ดูตั้งแต่ต้น ซึ่งประเด็นSingle Gatewayรายละเอียดผมไม่รู้ทุกเรื่องในเรื่องอินเตอร์เน็ต ผมสนใจวัฒนธรรมดิจิตอลอย่างที่เคยเขียนไว้ ซึ่งภาพโลโก้พระพุธของไอซีที กับการปะทะตราสัญลักษณ์ ต่อขบวนสัญลักษณ์จากกรณีชาวเน็ตนัดกันร่วมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์

โดยการถล่มเว็บไซต์ของรัฐบาล ด้วยวิธีการ DdoS มีเป้าหมายแรก คือ เว็บไซต์ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เพื่อแสดงสถานการณ์ให้เห็นว่า หากประเทศไทยใช้ระบบ “Single Gateway” จะส่งผลกระทบอย่างไรบ้างต่อการใช้งานอินเทอร์เน็ต จนส่งผลให้เว็บไซต์กระทรวงไอซีที ประสบปัญหาขัดข้อง ไม่สามารถเข้าระบบใช้งานได้นั้น (*)

เมื่อโลกเสมือนและโลกของความเป็นจริงทางกายภาพ กำลังซ้อนทับและส่งอิทธิพลกันและกัน…การเป็นส่วนหนึ่งของการเมืองการเป็นรัฐที่เส้นแบ่งเลือนลาง แต่ยังทรงไว้ ซึ่งหน้าที่ผู้คุมกฏ..
ขณะที่การปฏิวัติทางเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดกำลังวิวัฒนาการไปในระดับบุคคล ชุมชน และรัฐ ในทุกๆ พื้นที่และทุกๆ สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม พวกเขาชี้ให้เห็นถึงพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทั้งดีและไม่ดี ที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวันของเรา ความเข้าใจตัวเองและสังคมเมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าไปเรื่อยๆ และอัตลักษณ์เสมือนของเราเริ่มเป็นจริงเป็นจังมากขึ้นเรื่อยๆ(**)

ดังนั้น ผมสนใจเรื่องรัฐชาติ กำลังถูกท้าทาย แม้แต่ชาวบ้าน ยังพูดถึง”Single Gateway” เมื่อวาน(***) ด้วย ครับ
*จ่องัด พ.ร.บ.คอมฯ เอาผิดชาวเน็ตถล่มเว็บ “ICT” ต้าน “Single Gateway”
http://hilight.kapook.com/view/127208
ตราประจำกระทรวงของไทย
http://www.myfirstbrain.com/main_view.aspx?ID=81465
ตำนานพระพุธ
โดย : สยามคเณศ
http://www.siamganesh.com/nava4-wednesday.html
พระพุธ
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%98

**ส่วนหนึ่งของหนังสือ New Digital Age : Reshaping the Future of People, Nations and Business
***ภาพประกอบออกพื้นที่เมื่อวานกับวันนี้ และภาพเก่า ครับ

นายกฯอ้างการพัฒนา ที่ยูเอ็นฯ และเศรษฐกิจดิจิตอลฯ ต้องระวังผลกระทบของการพัฒนา ซึ่งผมตอบคำถามไม่ได้โดยการอนุมานหรือวิเคราะห์ใดๆ ไม่รู้เรื่องสงคราม(ไซเบอร์ฯลฯ)ในแง่นี้ มีข้อมูลจำกัดเท่าที่ติดตามมีทั้งเรื่องมติครม.แล้ว
ถ้ามองเป็นเกมส์รัฐจะถอย-รุก จะรับก็เป็นเกมส์ยังไม่จบ ซึ่งวันที่ชาวบ้านพูดเรื่องซิงเกิล เกสต์เวย์ในวงเหล้าของร้านค้าหลายคนก็มองมาทางผม โดยผมฟังเงียบๆเก็บข้อมูลด้วยจิตใจนักมานุษยวิทยาวัฒนธรรมดิจิตอล

วันเสาร์ที่ 3 ตุลา 2558
ราตรีสวัสดิ์กับผมเล่าเรื่องผ่านภาพผมแวะลำพูนเตรียมซื้ออุปกรณ์การสัมมนาวันพรุ่งนี้ ซึ่งร้านศิวดล และต่อมาวันนี้ขับรถมอเตอร์ไซด์ไปเตรียมเอกสารโดนตำรวจจับปรับไม่ได้ต่อทะเบียนพรบ.ฯ อ่ะ.. (ศิวดล/พรหมลิขิต)..ทำให้ผมนึกถึงน่าเขียนเรื่องตรีมูรติสามเทพ คือ ศิวะ วิษณุ พระพรหม ตอนมัตสยาอวตาร(วิษณุ/นารายณ์) ในพรหมราตรีกับหอยสังข์
(มัตสยาอวตาร)เมื่อพระพรหมทรงสร้างสากลจักรวาลเสร็จสิ้น ซึ่งใช้เวลาการสร้างยาวนานมากแล้วจนไม่ได้หลับไม่ได้นอน พอสร้างเสร็จแล้วก็ทรงเข้าสู่นิทราเรียกว่า “พรหมราตรี” เป็นช่วงเวลาที่พระพรหมหลับ… (แม้แต่เทพยังหลับ แล้วนับประสาคนธรรมดาอย่างผมรู้สึกเหนื่อย นี่อาจเป็นสมดุลสู่เหตุผลการหลับ*)…
*http://icenattapachara.blogspot.com/2011/10/blog-post_06.html
http://www.thaigoodview.com/node/12155

http://www.columbia.edu/itc/mealac/pritchett/00routesdata/1800_1899/hinduism/earlyviews/earlyviews.html

วันอาทิตย์ที่4 ตุลา 2558
ผมถ่ายภาพการบรรยากาศเดินทาง ระหว่างเตรียมอุปกรณ์สัมมนาถึงวันสัมมนาวันนี้
ราตรีสวัสดิ์ ครับ

วันจันทร์ที่5 ตุลา 2558
ผมถ่ายภาพระหว่างเดินทางพร้อมบันทึกสั้นๆ เกี่ยวกับหนังสือART IN SOCIETYเรื่องศิลปะในสังคมโดยสรุปด้านคนงานใน-3 คำ:อัตลักษณ์แรงงาน ความสัมพันธ์ และความรัก…(ผมถ่ายภาพประกอบไว้) GN ครับ
http://www.amazon.com/Art-Society-Ken-Baynes/dp/0879510277
E. P. Thompson
https://en.wikipedia.org/wiki/E._P._Thompson
https://en.wikipedia.org/wiki/The_Making_of_the_English_Working_Class

วันอังคารที่ 6 ตุลา 2558
ผมวาดรูปต้นไม้เผยแพร่ 6 ตุลา ราตรีสวัสดิ์ ครับ

วันพุธที่ 7 ตุลาคม
7 ต.ค.วันงานที่มีคุณค่า(Decent Work*) ผมทบทวนเรื่องแรงงาน ซึ่งกลุ่มฟ้าเดียวกันจัดสัมมาระดมความคิดเห็นนักวิชาการจำนวนมาก ที่เชียงใหม่ ในฟ้าเดียวกัน ฉบับ “โครงการเปลี่ยนประเทศไทย”จัดสัมมนาเรื่อง “โครงการเปลี่ยนประเทศไทย” ขึ้น โดยเชิญนักวิชาการสาขาต่างๆ มาร่วมเสนอ/ถกเถียง แลกเปลี่ยนกันถึงพลวัตของสังคมไทยในปัจจุบัน และแนวทางการปฏิรูปสังคมไทยในอนาคต(**)

โดยคำคมในปัจจุบันเรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร? คล้ายกับประโยคที่เคยพูดในงานนี้ด้วยว่า…มาถึงจุดนี้ และเมื่อมาย้อนคิดดู…(ผมเคยเขียนแล้วเล่าสั้นๆจบ)
*ภาพประกอบงานวันงานที่มีคุณค่าของผม แรงบันดาลใจจากเว็บhttp://america.aljazeera.com/articles/2015/4/9/saving-new-york-city-garment-district.html
**ภาพประกอบจากวารสารฟ้าเดียวกัน เกี่ยวกับแรงงาน+E.P.Thompson+คนจน ปี2549 ครับ
http://www.sameskybooks.net/journal-store/04-3/

วันพฤหัสที่ 8 ตุลาคม
วันนี้แวะออกพื้นที่พบเจอผู้คนสนทนากันหลายคน ทำให้นึกถึงสถานการณ์กลุ่มต่อต้านซิงเกิล เกตเวย์ จะถล่มเว็บฯ อีกได้ข่าว ซึ่งผมติดตาม เพราะเคยเขียนถึงวัฒนธรรมดิจิตอล(ผมเทคโนโลยีใช้เน็ตน้อย) วัฒนธรรมดิจิตอล คือ…วิเคราะห์สำรวจ อินเตอร์เน็ต สื่อใหม่ และเทคโนโลยีดิจิตอล และบทบาทของผู้เล่นในสังคมร่วมสมัย สื่อ วัฒนธรรม ธุรกิจ การเมือง ศิลปะและชีวิตประจำวัน…(วัฒนธรรมศึกษา,สื่อศิลปะฯลฯ*)

ปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับสื่อดิจิตอล ที่มีบางคนตีความและเล่าข้อมูล3แบบ ที่ผมติดตามอ่านเรื่องสื่อฯนี้ คือ 1.เฟซบุ๊กกลายเป็นสนามรบของทั้งสองฝ่าย รวมทั้งเป็นแหล่งที่ประชาชนเฝ้าจับผิดเพื่อนร่วมชาติด้วยการรายงานเจ้าหน้าที่ถึงความคิดเห็น/พฤติกรรมที่่ต้องสงสัย…(**)
2.เขาตั้งข้อสงสัยว่า บุคคลที่เขาติดต่อด้วยทางเฟซบุ๊กแท้จริงแล้วน่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ที่ปลอมตัวมาทำความรู้จักพูดคุยกับเขาทั้งในเรื่องทางการเมือง และเรื่องส่วนตัว รวมถึงเคยส่งสิ่งของต่างๆ รวมทั้งโทรศัพท์มือถือให้เขาด้วย(***)
3.ตัวอย่างการเคลื่อนไหวทางการเมืองกรณี ฮ่องกง ที่สื่อดิจิตอลเป็นข่าวดังปีที่แล้ว ย้อนกลับมามองไทยก็ใช้สื่อดิจิตอลเป็นเครื่องมือการเมือง ในแง่นี้ ครับ

โดยสรุปๆย่อ ผมมองวัฒนธรรมดิจิตอลความหมายกว้างอย่างเข้าใจผลกระทบรอบด้าน ในแง่นี้วัฒนธรรมดิจิตอลเป็นเครือข่าย ที่มีด้านการเมืองในชีวิตประจำวันใกล้ตัว ที่เราเห็นการอวตารทางเน็ต และภาพของความเชื่อของเทพเป็นตราสัญลักษณ์ รวมทั้งตอนนี้ไทยแลนด์ กำลัง”มีชัย”เป็นประธานร่างรัฐธรรมนูญโดยประสานวิษณุ กับทหารเสมือนหนุมาน(****) โปรดติดตามไอซีที จัดทีมตั้งรับเว็บต่อต้าน(*****)ครับ
*ข้อสังเกตผลกระทบต่อผู้เล่นเกมส์ออนไลน์น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องที่มาข้อมูลของมหา’ลัยซิดนีย์
http://sydney.edu.au/arts/digital_cultures/inde…

**Monday2Monday: ศิลปะของการสื่อสาร
http://prachatai.com/journal/2014/10/55908
***รู้จัก….(ความโกรธ ความเมา และเฟซบุ๊ก)
http://prachatai.com/journal/2015/08/60727
****ดูเพิ่มเติม

วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม
วันศุกร์นายกทหารออกทีวีอีกแล้ว พูดเรื่องซิงเกิล เกตเวย์ ฯลฯ รวมทั้งเน้นคำว่า “ประชารัฐ” แต่ผมย้อนอดีตคำนี้ยุคอดีตวิษณุ เคยทำงานกับทักษิณ อดีตนายกฯได้ตั้งข้อสังเกตเรื่องคำว่า “ประชารัฐ” ในเนื้อเพลงชาติไทย ผ่านทางสื่อว่า ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักร (Kingdom) แต่ในเนื้อเพลงชาติมีคำว่าประชารัฐนั้นถูกต้องแล้วหรือขัดแย้งอย่างไร หรือไม่(กับรัฐธรรมนูญระบุเป็นราชอาณาจักร) โดยประสงค์ให้นักวิชาการได้มีการพูดคุยกันนั้น ในการประชุมคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ

เมื่อวันศุกร์ที่ 10 มิ.ย.2548 นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการเอกลักษณ์ของชาติได้ตั้งข้อสังเกตว่า ราชบัณฑิตยสถานน่าจะชี้แจงและให้คำอธิบายในคำดังกล่าว

…. ซึ่งเป็นกรรมการเอกลักษณ์ของชาติได้ให้ความเห็นไว้ในการประชุมดังกล่าวว่า หากพิจารณาจากเนื้อเพลงว่า “ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน”
สื่อความหมายได้ชัดเจนแล้วว่า ประเทศไทยรวมประชาชนคนไทยขึ้นเป็นรัฐหรือประเทศของประชาชนชาวไทย (หรือ to form the country of the Thai people) และแผ่นดินนี้ทุกส่วนเป็นของประชาชนชาวไทย ซึ่งมีนัยขยายความต่อไปได้อีกว่า ผืนแผ่นดินไทยนี้จะแบ่งแยกมิได้ (แผ่นดินนี้เป็นของไทยทุกส่วน)
ทั้งนี้ คำว่า “ประชารัฐ” ในเนื้อเพลงดังกล่าวมิได้เป็นศัพท์บัญญัติ แต่เป็นการนำคำมาผูกหรือมาเรียงร้อยต่อกัน ได้แก่คำว่า “ประชา” และคำว่า “รัฐ” ซึ่งสองคำดังกล่าวนี้มีอยู่ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 แล้ว โดยคำว่า ประชา เป็นคำนามมีความหมายว่า หมู่คน เช่น ปวงประชา และคำว่ารัฐเป็นคำนาม หมายถึงแคว้น บ้านเมือง ประเทศ(*)

เพลงชาติไทยนั้น ด้านเนื้อร้องมีผู้วิจารณ์ว่า “ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย” ทำให้ความหมายของ “ประชารัฐ” ผิดไปหมด เพราะ “ประชารัฐ” ที่แท้จริงย่อมไม่ให้อภิสิทธิ์แก่เชื้อชาติอันใดอันหนึ่ง ความผิดพลาดในแนวคิดอย่างนี้เป็นส่วนหนึ่งของความอยุติธรรมที่กระทำแก่ชนส่วนน้อยทั่วพระราชอาณาจักร รวมทั้งคนชาติพันธุ์ไทยที่จน ซึ่งเป็นชนส่วนน้อยอีกพวกหนึ่ง(**)

มรดกการเมืองในอดีต กับวาทกรรมประชารัฐสำหรับมุมของผมเป็นการผลิตซ้ำเน้นย้ำชาตินิยมอีกแล้ว ย้อนแย้งกัน ครับ

*ราชบัณฑิตอธิบาย “ทักษิณ” ประชารัฐในเพลงชาติถูกต้อง
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9480000080969&TabID=3&
(ดูเพิ่มเติม ความเป็นมาของเพลงชาติไทยปัจจุบัน…กับคำสัมภาษณ์วิษณุ เครืองาม ในวันที่24 ธันวา 46 เกี่ยวกับเรื่องเพลงชาติ)
**จากประชารัฐ Vs ราชอาณาจักร
โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์ มติชนรายวัน วันที่ 06 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ปีที่ 28 ฉบับที่ 9949
http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2005q2/article2005june06p1.htm
(การตีความและประเด็นกล่าวถึงเพลงชาติ)

13 ตุลา
วันนี้ผมออกเดินทางและแวะทำธุระ ที่ม.แม่โจ้ นึกถึงเรื่องเล่าคณะตลกของม.แม่โจ้ หรือคณะจำอวด ได้รับเหรียญรางวัลที่ 2 ในงานฉลองรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2479
ดูเพิ่มเติม ไทมไลน์
http://www.e-manage.mju.ac.th/timeline_index.aspx?yearS=2476&yearE=2480

14 ตุลา 58
ผมสนทนาเรื่องการเมืองวัฒนธรรม กับบุคคลหนึ่ง ซึ่งชวนคุยเรื่องวิเคราะห์การเมืองถึงเรื่องปัญญาชน โดยผมกลับมาต่อยอดและพัฒนางานเขียนของผมอย่างสั้นๆ เป็น ค้นพบข้อมูลใหม่ต่อเรื่องSiam Mappedฯ ในฐานะallegory(*) คือ การเริ่มเรื่องจากยุคสมัยร.4 ที่ผมเคยนำเสนอภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ของร.4 และ ร.5 ฉลองพระองค์แบบแมนจู(จีน)

ต่อมาสมัยร.6 การเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาสถาบันแรงงานของคนจีน โดยชนชั้นกรรมกรอพยพเข้ามาในสยาม ซึ่งถูกเปรียบเป็นยิวแห่งบูรพาทิศ(**) ในยุคชาตินิยม ที่มีวรรณคดีเรื่องลิลิตนารายณ์สิบปาง บ่อเกิดรามเกียรติ์ โขนเรื่องรามเกียรติ์ บทร้อง และบทพากย์ ฯลฯ(อุตตรกุรุทวีป/ไตรภูมิ***) จนกระทั่ง 2475 คณะราษฎร และมาแอนตี้จีน อิทธิพลมรดกเรื่องเชื้อชาติ(+ชนชั้น)+ชาตินิยม ปรากฏร่องรอยในเพลงชาติไทย

เนื่องด้วยรำลึก14ตุลา การปฏิวัติกระภุมพี(ชนชั้นกลาง)สยาม(****)การอธิบายหลายแบบ ต่อมาผมมีข้อสังเกตSiam Mappedฯ วงเสวนาที่ผ่านมา เท่าที่ดูและอ่านอ.ธงชัย เขียนหนังสือนี้จากเหตุการณ์ 6ตุลา19 โดย Defensesว่าอ่านได้หลายแบบอยู่แล้ว หลายคนไปนั่งฟังทั้งมีเรื่องวิจารณ์ เรื่องเล่าหลากหลาย ตัวตนแอ็คติวิสท์ กับหอคอยงาช้าง หลายเรื่องไม่โฟกัส เน้นภาพรวม ต่อ“ชาติ”.

—–บทสนทนาที่บุคคลเขียนตลกๆมาก่อน ทำให้ผมเขียน เน้นจำอวดตลกๆ ครับ—
ซึ่งบรรยากาศวงเสวนา ถ้าอุปมานึกถึงหนังจีนกำลังภายใน “เจ้าสำนัก”มาพูดแล้วสานุศิษย์ หรือชุมนุมเหล่าจอมยุทธมาเจอเซียนกระบี่ ที่พูดจา Metaphor อะไรทำนองนั้น(เคล็ดวิชาต้องตีความ)ด้วย ครับ
โดยอ.ธงชัย Siam Mappedฯ เป็นอะไรที่ไม่เน้นจีน ทั้งที่มีอิทธิพลไม่มีคนพูดถึงในความเข้าใจของผม มาจนปัจจุบันสองปัญญาชนอ.ธงชัย กับอ.สมศักดิ์ เชื้อจีน ปะทะกัน(มีข้อถกเถียงดูเฟซฯได้) นี่แหละการประลองกัน

ทั้งนี้ วาระซ่อนเร้น ในความคิดงานThesisของอ.สมศักดิ์ มียุทธศาสตร์ ยุทธวิธี แต่อ.ธงชัยไม่เอาในThesisหรือSiam Mappedฯ(พยายามปฏิเสธ แต่ถ้าอ่านดีๆ มีบางอย่างซ่อนไว้) นี่แหละเป็นเรื่องผม allegory(*****) ไปเป็นจอมยุทธ์จีนๆ(อาจจะต้องโยงมุสลิมอุยกูร์ ในฐานะอิสลามด้วย)
สรุป ยุทธภพวุ่นวาย ไม่หายหาทางยิ้มกันด้วย ครับ
(นิรนาม ตอบกลับบุคคลนั้นอย่างฮร่าๆ :หนึ่งในใต้หล้า ข้าเจียมตัว)

*เมื่อ ‘ธงชัย วินิจจะกูล’ พูดถึง Siam Mapped
http://www.prachatai.com/journal/2015/10/61724
(รูปประกอบผมกับอ.ธงชัย ปี53)

**ดูเบน แอนเดอร์สัน ในหนังสือชุมชนจินตกรรมฯ กล่าวประวัติศาสตร์ช่วงนี้ไว้ถึงเทวดาแห่งประวัติศาสตร์งานเปรียบเทียบกับวอลเตอร์ เบนจามิน ครับ
กรณีการอธิบาย14 ตุลา-6ตุลา กับภาคเหนือหน้าปกหนังสือ Revolution Interruptedฯ ที่ผมเคยเขียนไปแล้ว เอามาเปรียบเทียบกับภาพประกอบงานThe Break-up of Britain: Crisis and Neo-nationalism
https://books.google.co.th/books?id=g3GOn2em9pgC&pg=PA1&hl=th&source=gbs_toc_r&cad=3#v=onepage&q&f=false

***วรรณคดีสมัยร.6
https://www.l3nr.org/posts/29032
ภาพประกอบมัสยาอวตาร(ปลา):ลิลิตนารายน์สิบปางพระราชนิพนธ์ของ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม ประเภทปก แข็งเดินทอง พร้อมภาพแทรกบนกระดาษอาร์ตฝีมือของ มหาเสวกตรี พระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร คุณตาของ สมัคร สุนทรเวช)
http://www.taradplaza.com/product/5095279
พระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร) ดูเพิ่มเติมวิกิพีเดีย
ลิลิตนารายน์สิบปาง
http://www.taradplaza.com/product/5729729
นารายณ์ สิบปาง สี่สำนวน
http://khunmaebook.tarad.com/product.detail_646347_th_3966829#
คณะตลกของม.แม่โจ้ หรือคณะจำอวด ได้รับเหรียญรางวัลที่ 2 ในงานฉลองรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2479
http://www.e-manage.mju.ac.th/timeline_index.aspx?yearS=2476&yearE=2480

****เบน แอนเดอร์สัน เคยกล่าวไว้ในหนังสือThe Spectre of Comparison ฯดูในหนังสือย้ำยุค รุกสมัย เฉลิมฉลอง 40 ปี 14ตุลา
ดูเพิ่มเติมผมเคยเขียนเรื่อง14 ตุลา
หลัง14 ตุลา
***** allegory ที่ผมเคยเขียน “เราเหมือนดูภาพยนตร์คู่รักอกหัก:พันธมิตรฯแตกหักรัฐกระทบเพื่อนบ้านกลายเป็นคู่รบ”
http://www.prachatai.com/journal/2011/02/33206

16 ตุลา
วันศุกร์นายกออกทีวีอีกแล้ว พูดไม่ขยายความขัดแย้ง…ผมนึกถึง.. ความขัดแย้งทางการเมืองไทยจะจบอย่างไร จรัลว่า นี่จะเป็น “การต่อสู้ครั้งสุดท้าย” ในชีวิตของคนแก่อายุ 68 ปีคนนี้แล้ว แต่นี่จะไม่ใช่การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ครั้งสุดท้ายของประเทศไทย เพราะเรายังต้องต่อสู้ไปเรื่อยๆ…“ในเพลง แองเตอร์นาซิอองนาล ร้องว่า “นี่เป็นการต่อสู้ครั้งสุดท้าย” ในความเป็นจริง มันไม่จริงและไม่มีหรอก มีแต่การต่อสู้ไปเรื่อยๆ เพื่อยกระดับ พัฒนา สิ่งที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้น”(*)

เมื่อปัญญาชนชาตินิยมสร้างสรรค์ เป็นมรดก14 ตุลา-6ตุลา ซึ่งเหล่าปัญญาชน มีเพลงหนึ่งที่ร้องกันติดปากในหมู่นักศึกษาปัญญาชน ที่เดินทางไปลี้ภัยและต่อสู้ในเขตป่าเขาภาคอีสานใต้ …ทว่าปัญหาสำหรับนักเดินทาง/นักต่อสู้ผู้ฮัมเพลงทำนองนี้คือหลายสิบปีผ่านไป “อีกไม่ช้า” และ “วันพรุ่ง” ก็ยังมาไม่ถึงสักทีนั่นเอง แหะๆ(เกษียร เตชะพีระ เขียนไว้**)

โดยผมย้อนอ่านบทสนทนา น่าสนใจ คือ จรัลยึดหลักว่า เขาจะต้องไม่ถูกจับติดคุก หมดยุคแล้ว สำหรับความคิดที่ว่า ผู้นำถูกจับ แล้วประชาชนจะลุกฮือ ในทางตรงกันข้าม เขาต้องรักษาอิสรภาพเอาไว้ เพื่อที่จะต่อสู้ไปเรื่อยๆ (ลองอ่านวิเคราะห์เปรียบเทียบกับสถานการณ์ปัจจุบันที่พิสูจน์เรื่องนักศึกษาถูกจับ ความแตกแยกเหลืองแดงถึงปัจจุบัน)

..“สหายชัย” คือชื่อจัดตั้งของ จรัล ดิษฐาอภิชัย สมัยที่อยู่ในป่าทางภาคเหนือของประเทศไทยระหว่างปี 2519-2526 และยังคงเป็นชื่อที่เขาภูมิใจจนถึงทุกวันนี้…

..ชีวิตของจรัลนั้นเต็มไปด้วยสีสัน (เป็นสีแดงเสียส่วนใหญ่) นักกิจกรรมวัย 68 ปีผู้นี้เคยถูกจับและขังคุกถึงสามครั้งเพราะกิจกรรมทางการเมือง ครั้งแรก จรัลถูกจับหลังการสังหารหมู่นักศึกษาและประชาชนในวันที่ 6 ตุลา19 เขาหนีออกจากคุกไปอยู่กับ พคท.ที่ป่า… จรัลได้เพื่อนนักเคลื่อนไหวจำนวนมาก ซึ่งหลายคนกลายเป็นแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ …(ความขัดแย้งเหลือง-แดงยากสลายง่าย)

อย่างไรก็ตาม ข้อสังเกตของผมเพิ่มเติม ทำไม ประชารัฐ(***)จากปี54 ที่ประยุทธ์เคยพูดผมเคยเขียนบทความในแง่เพลงชาติ ถ้าย้อนไป10ปีที่แล้ว พวกวิษณุวางยุทธศาสตร์กันมานานแล้ว
นี่แหละปัญหา ที่น่าปรารถนาชัยชนะไม่เดินทางไกล(ที่มาเพลงในบทความเกษียร)…..เมฆมืดดำที่คลุมฟ้า จะต้องละลายลับตาหมดไปทุกหน โลกใหม่สดใสทั่วแดนสกล ปวงประชา ทุกคนอีกไม่นานสุขสมอุรา

*ชีวิตผู้ลี้ภัยการเมืองไทยในต่างแดน: จรัล ดิษฐาอภิชัย ณ ฝรั่งเศส
http://prachatai.org/journal/2015/06/59650
(ภาพประกอบ:สถานที่จัดงาน14 ตุลา40ปีที่แห่งหนึ่ง ซึ่งผมถ่ายภาพอ.จรัล ไว้และภาพประกอบผมเอง)

**”ไม่มีการต่อสู้ครั้งสุดท้าย” โดย เกษียร เตชะพีระ
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1443607789
เพลงแองเตอร์นาซิอองนาล

***นายกฯพูดสัปดาห์ที่แล้วว่า…ผมอยากให้มีโครงการดีๆ เกิดขึ้น คำนึงถึงความเป็นประชารัฐ เป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ประชาชน องค์กรอิสระต่างๆ และภาคเอกชน และภาคประชาสังคม รวมพลังกันเป็นประชารัฐhttp://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9580000113626

20 ตุลาคม
วันนี้ผมกับกลุ่ม พบคนทำหนังสือด้วยปัญญาและความรัก นิทานชาวเหนือ จึงขอถ่ายรูปเสร็จคนในกลุ่มคุยขำขำ บอยโพสต์เฟซบุ๊คแน่เลยจัดไป GN ครับ
http://khunmaebook.tarad.com/product.detail_646347_th_5780042

27 ตุลา
วันออกพรรษา สรรหาธรรมะ กับภาพสะท้อนโคลงสุภาษิตประจำภาพในพระอุโบสถ และภาพจิตรกรรมรามเกียรติ์ ฝาผนังห้องที่47 พระระเบียง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยขุนศักดิ์ศุภเลขา 2473 มีระยะใกล้ กลาง ไกล และแสงเงา ฯลฯ(ข้อมูลหนังสือภาพทิวทัศน์) ราตรีสวัสดิ์ ครับ
http://www.era.su.ac.th/Mural/prasri/index.html

วันพุธที่28 ตุลา
“สร้างหนังสั้น”:The Making of Short Film แนวตลก ฮร่า ดราม่า
เรื่องย่อ: เมย์แสดงเป็นคนเขียนบท ซ้อมบทสนุกร่วมกระบวนการเขียนบทกับหมวย และทอง ผู้เขียนบทร่วมกัน โดยเมย์แสวงหาไอเดีย สร้างหนังสั้นเกี่ยวกับชีวิตของลุงนวมทอง ไพรวัลย์ ตอบโจทย์ปัญหาป้องกันฆ่าตัวตาย ซึ่งเมย์ทำการแสดงให้ผู้กำกับหนังสั้นส่งเสียงมาเป็นช่วงๆ สุดท้ายภาพโปรยอธิบายสร้างหนังสั้นซ้อนหนัง ในเรื่องสร้างหนังสั้น ว่าอย่าคิดฆ่าตัวตายในการสร้างหนังด้วย
*http://www.psychiatry.or.th/home/index.php?option=com_content&view=article&id=186:2015-09-02-19-29-33&catid=17&Itemid=9

วันศุกร์ที่30 ตุลา
วันศุกร์นายกฯทหารออกทีวี ผมไม่รู้พูดเรื่องแก้ตัวปิดประเทศ หรือไม่ แต่งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ…คนแห่ซื้อ ‘หนังสือประวัติศาสตร์ชาติไทย‘ ยุคบิ๊กตู่ นักวิชาการ ซัด เนื้อหาลำเอียง ข้อมูลไม่รอบด้าน ขัดแนวทางปรองดองรัฐบาล(*)

ผมสนใจเล่าเพิ่มเรื่องเปรียบเทียบหนังสือประวัติศาสตร์กับSIAM MAPPEDDฯ ในแง่คำนำ…การศึกษาประวัติศาสตร์ของเรื่องใหญ่โตที่เป็นนามธรรม เช่น รัฐ ประชาธิปไตย ระบบเศรษฐกิจ ฯลฯ มักต้องอาศัยภาษาทางสังคมศาสตร์(ที่มักเรียกกันว่าทฤษฎี) ที่เป็นนามธรรมจึงจะสามารถบรรยายถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างสรุปรวบยอดได้ แต่มักเลยพ้นชีวิตชีวาออกไปไกล กลวิธีการเล่าเรื่องอีกอย่างที่นักเขียนนวนิยายประวัติศาสตร์รู้จักเป็นอย่างดีคือ การเล่าเรื่องซ้อนขนานกันระหว่างเรื่องเฉพาะกับเรื่องใหญ่

นักประวัติศาสตร์ก็น่าจะสามารถใช้วิธีเล่าทำนองนี้ได้เพราะเราเชื่อว่าความเปลี่ยนแปลงกรณีเฉพาะเจาะจงมักจะสะท้อนการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่กว่านั้นบางแง่บางมุม

ดังนั้น จินตนาการทางประวัติศาสตร์ที่มีพลัง จึงต้องการความรู้ในระดับนามธรรมของสังคมกับความสามารถมองเห็นความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวที่สะท้อนเชื่อมโยงหรือแสดงออกมาในกรณีรูปธรรมเฉพาะเจาะจง นี่เป็นกลวิธี “เล่าเรื่องดีๆ” ที่นักประวัติศาสตร์ก็น่าจะนำมาประยุกต์ใช้เท่าที่จะทำได้
หนังสือเล่มหนึ่ง

 เมื่อพ้นมือคนเขียนไปแล้วมักจะมีโชคชะตาไม่ตรงกับที่คนเขียนคาดหวัง คนเขียนทุ่มเทความคิด จินตนาการ และส่วนหนึ่งของชีวิต ลงไปในตัวบท แต่บ่อยครั้งคนอ่านมองไม่เห็นสิ่งที่คนเขียนต้องการจะบอก ทว่าบ่อยครั้งคนอ่านกลับเห็นในสิ่งที่คนเขียนเองก็นึกไม่ถึง…ผู้เขียนตระหนักว่า “ประวัติศาสตร์โหดร้าย”(ในทุกๆความหมายของวลีนี้)

SM จึงเป็นการโรมรันพันตูกับความรู้ประวัติศาสตร์ไทยเต็มตัว ตั้งแต่ชื่อ ประเด็นใจกลาง วิธีการศึกษา แนวคิดวิเคราะห์หลักและรอง หลายเรื่องหลายประเด็น ตลอดจนถึงนัยและความหมายโดยอ้อม …

…พลังของเรื่องที่ดีมักเกิดจากการใส่ใจกับรายละเอียด เล่าความเปลี่ยนแปลงของกรณีรูปธรรมเฉพาะเจาะจงได้อย่างเป็นเรื่องราวมีชีวิตชีวา แต่เรื่องเล่าเฉพาะเจาะจงดังกล่าวต้องฉายให้เห็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่โตกว่ากรณีเฉพาะนั้นๆ จึงจะเกิดเป็นความสว่างไสวอิ่มเอมทางปัญญา(**)

โดยสรุป ส่วนตัวผมหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาติ ในฐานะสื่อเป็นเรื่องเล่าที่เลือกเล่า ที่อาจจะไม่มีเรื่องคนเล็กๆ เช่น ลุงนวมทอง(หนังสั้นที่ผมทำเป็นสื่อทางเลือก***) ในมุมศิลปะกรณีของผมกับSM มีภาพการ์ตูนเกี่ยวกับชาติ ที่ผมเคยกล่าวไปแล้ว ซึ่งเรื่องเล่าบางทีก็เรื่องลึกลับสนุกตรงดูการ์ตูนขำขัน เป็นรูปแผนที่เรื่องลึกลับของไทยจากสื่อนสพ.
*หน้าปกหนังสือปวศ.ชาติไทย มีรูปจิตรกรรมสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่วัดสุวรรณดาราราม จ.พระนครศรีอยุธยา วาดโดยพระยาอนุศาสน์จิตรกร และแผนที่ซ้อนทับด้วย http://news.mthai.com/hot-news/politics-news/466865.html
http://www.oknation.net/blog/buzz/2009/11/28/entry-1
http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9500000071758
**อ้าง SM ฉบับแปลภาษาไทย
***หนังประวัติศาสตร์ และหนังสั้นปวศ.เกี่ยวกับลุงนวมทอง ซึ่งภาพประกอบหนังสั้นส่งประกวดแล้ว ที่มีผมกำลังแสดงหนัง ตัดออกจากหนังสั้นไปแล้วฮร่าๆ ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น