วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

นั่งสมาธิ ณ สนามหลวง

นั่งสมาธิ ณ สนามหลวง โดย อรรคพล สาตุ้ม
Mon, 05/07/2007 - 01:29 by เปรื่องเดช ผดุงครรภ์, บอย บ้า
บอย บ้า
จริงๆ แล้วผมได้หวังค้นพบ "ความจริงแท้" ของสัจธรรมที่กำลังเป็นอยู่และกำลังมาถึงที่สนามหลวง แต่บางสิ่งที่ก็เข้าถึงได้ยากยิ่งในข้อเท็จ
จริง นึกย้อนอดีตถึงการให้เหตุผลทางตรรกศาสตร์อย่างเช่นพวกโซฟิสต์ นักปรัชญากรีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นอีกกลุ่มจากนักปรัชญาการเมืองของก
รีกยุคโบราณ โซฟิสต์มักใช้เหตุผลหลอกล่อผู้คนได้ดีนักแล ทำให้ได้รับผลประโยชน์ส่วนตัว ดังศิลปะของความฉลาดที่ปราศจากความจริงกับ
จริยธรรม
พวกโซฟิสต์ทำตัวเช่นนี้ ก็ไม่ต่างอะไรกับการโฆษณาชวนเชื่อ (propaganda) ในปัจจุบันนี้ สิ่งที่เราต้องลงลึกซึ้งถึงรากแก่นสารของความ
จริง ไม่ใช่แค่พื้นผิวเผินจนถูกกับดักลวงตาที่เป็นข้ออ้างในการแสดงความชอบธรรม เสมือนช่วงประวัติศาสตร์ทางการเมืองของไทย ลอง
สำรวจอ่านการวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์จะพบว่ายุคจอมพลป. จอมพลสฤษดิ์ ก็ใช้ข้ออ้างเหตุผลในการออกเดินทางต่างประเทศ หรือเดิน
ทางภายในประเทศไทยเยี่ยมเยือนราษฏรตามจังหวัดต่างๆ เช่นเดียวกัน รักษาการนายกรัฐมนตรีได้ออกเดินทางตามจังหวัดต่างๆ เพื่อหยั่ง
คะแนนเสียงเลือกตั้งด้วย (นี่เป็นลักษณะการอ้างเหตุผลเปรียบเทียบของผม)

จุดประสงค์ของการเดินทางก็คงคล้ายกับที่มีการศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อการหาทางเสริมบารมี ระบบอุปถัมภ์ แต่ย่อมมีความแตกต่าง
ของบริบททางประวัติศาสตร์ของสังคม น่าจะมีความเป็นเสรีประชาธิปไตยในยุคทุนโลกาภิวัตน์ วัฒนธรรมของประชาชนกับระบบการเลือกตั้ง
และการใช้นโยบายประชานิยมล่อหลอกได้อย่างดีเยี่ยม (การใช้เหตุผลให้คล้อยตาม)

อย่างไรก็ดี กรณีการเกิดกระแสเคลื่อนไหวนี้ก็มีจุดต่างที่ชัดเจนกับเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ การลุกฮือของประชาชน นิสิต นักศึกษาไล่จอม
พลป.โกงเลือกตั้ง กับผู้สืบทอดอำนาจของระบอบสฤษดิ์ คือ จอมพลถนอม-ประภาส-ณรงค์ ที่ชัดเจนเรื่องบุกรุกป่าสงวน จนกระทั่งเกิด 14-6
ตุลาฯ ของขบวนการเคลื่อนไหวนิสิตนักศึกษา ประชาชนของประเทศไทย และเหตุการณ์นองเลือด ส่งผลสั่นสะเทือนทั่วภูมิภาคกับทั่วโลก

เนื่องจากยุคทุนกับโลกาภิวัตน์การติอต่อไร้พรมแดนของการลงทุน (ขอประดิษฐ์คำว่า โลกาพวกกูรวย) และการโอนย้ายถ่ายเทหุ้นของระบบ
ทุนนิยมใหม่ ตลาดเสรีนี้ ชาวบ้าน ร้าน ตลาดอาจจะยังตามไม่ทันกับกระแสของนักธุรกิจ ดังเช่นพวกนักธุรกิจห่วงใยประเทศที่ออกมาขับไล่รัฐ
เพราะกลัวเศรษฐกิจตกสะเก็ดในช่วงพฤษภาทมิฬ บัดนี้ นายกรัฐมนตรีจากทักษิณ 1 มาถึงทักษิณ 2 การตรวจสอบขององค์กรอิสระ ศาลรัฐ
ธรรมนูญปล่อยให้ท่านรอดพ้นข้อกล่าวหามาได้จากการซุกหุ้น มาถึง การเลี่ยงภาษีนี้ก็ได้เกิดปรากฏการณ์ขับไล่ท่านลงจากตำแหน่งมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม นอกจากปัญหาคาราคาซังรุงรังของทักษิณ 2 หลายเรื่อง ที่ถูกหยิบยกกล่าวถึงนั้น แต่ก็ไม่ชัดเท่ากับเรื่องหลบหนีภาษีไม่ยอมจ่าย
ภาษีให้ประชาชนที่ส่งเงินภาษีสนับสนุนรัฐบาลดังกล่าว ท่านได้ใช้เล่ห์เหลี่ยมเพทุบาย ข้ออ้างเชิงเหตุผล ตรรกะ (ตะกละ) ต่อเงินที่ได้มาถูกต้อง
เพราะ พ.ร.บ. นี้มีช่องโหว่ทางกฏหมาย และบริษัทนี้ก็เคยไม่เสียภาษี (ไม่ได้บอกว่าโอนหุ้นไปเกาะได้ไง?) ข้อความบางอย่างถูกซ่อนเร้นละไว้
และโยงใยกับบริษัทอื่นๆ อ้างว่าทำไมไม่โดนบ้างละ?
คำตอบที่ไม่เกี่ยวกับจริยธรรมนี้ไม่ช่วยให้เกิดสันติภาพ แต่มุ่งหาเรื่องผูกพันเป็นลูกโซ่พันธนาการโจมตีคนนั้น คนนี้ ความขัดแย้งในการโต้แย้ง
ของการสื่อสารกับสังคมยุคมีเสรีภาพสื่อ (จริงหรือ) แน่นอนว่าคำถามหลักๆ ที่เกี่ยวข้องกับความอ่อนแอของจริยธรรมแบบไทยๆ เพราะ
วัฒนธรรมแบบไทยๆ ที่เชื่อผู้นำนั้นเป็นตัวชี้ให้เห็นว่าสังคมไทยยังต้องการคนที่มีบารมี และสิ่งที่ขัดกันว่าแล้วความเสื่อมทางจริยธรรมใน
ทางประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของผู้นำ จนกระทั่งทุกวันนี้สังคมไทยยังอิหลักอิเหลื่อ ไปเรื่อยเจื้อย ไม่กล้าฮือต่อผู้นำทางการเมือง

จากที่กล่าวมา จะต้องมีการรื้อฟื้น การตรวจสอบกับการปฏิรูปรัฐธรรมนูญกันใหม่ ขบวนการเคลื่อนไหวก่อให้เกิดความระส่ำระส่ายไม่เข้าใจ
จุดอ่อนตัวบทกฎหมายภายใต้โครงสร้างสังคมไทยพุทธๆ (ไม่ค่อยมีอิสลาม ฯลฯ) กับการถือหุ้นไม่เสียภาษีผิดจริยธรรม ดังนี้ฝ่ายที่นำเสนอ
ข้อมูลอีกด้านก็ได้ออกโรงเวทีเน้นที่ว่า คำตอบ ของท่านทักษิณไม่ชัดเจน อย่างไร รวมถึงประเด็นปัญหาต่างๆ ที่มักหมม ไม่ว่าจะเป็นภาคใต้
โครงการสามสิบบาทรักษาทุกโรค ผลกระทบต่อสื่อสารมวลชน ผลกระทบเอฟทีเอระยะยาวของโครงการต่างๆ และม็อบชนม็อบ

การคอรัปชั่นเป็นประเด็นที่ชี้นำกระแสสังคมได้ถูกจังหวะโดนใจผู้คน ไม่ว่าจะใช้สำนวนโวหาร วาทศิลป์ คอรัปชั่นเชิงนโยบาย เอื้อประโยชน์
พวกพ้อง (เช่น คำว่า หน้าด้าน หน้าเหลี่ยม คำถ่อยๆ ฯลฯ) จนกระทั่งมาถึงวลี ทักษิณ ออกไป! ดังที่กล่าวถึงความร่ำรวย รุ่มรวย ทางกระบวน
การของภาษา มีคนได้ตั้งคำถามว่าความเป็นกลางของสื่อ เช่นเดียวกัน ผมก็อยากนำเสนอความเป็นกลางในแบบตัวผม ที่ต้องมานั่งสมาธิที่
สนามหลวง มิใช่ความเป็นกลางแบบเดินสายกลาง หรือเป็นกลางเพื่อชี้ให้เห็นความไม่ชอบธรรมตรงที่ใด แต่ ?ความเป็นกลางคืออะไร? อะไร
คือความเป็นกลาง ขอบอกว่ามันขึ้นอยู่กับเงือนไขของสถานที่ เวลา เช่นที่ผมมานั่งสมาธิที่นี่

และยกตัวอย่างกรณีเวเบอร์ ซึ่งเป็นนักวิชาการเยอรมันในช่วงบริบทประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรมของการทำการศึกษาได้พบเจอข้อขัดแย้งกับ
กระแสแนวคิดชาตินิยม เจ้านิยม (ถ้าผมจำไม่ผิด) จึงเลือกนำเสนอความเป็นกลางเพื่อแสดงให้เห็นว่าตัวเองปลอดค่านิยมในการศึกษา
ปรากฏการณ์นั้นๆ แต่ยุคนี้ก็มีข้อโต้แย้งว่าไม่จริง ความเป็นกลางไม่มี ถ้าคุณเป็นกลางก็ไม่มีจุดยืน อื่นๆ แต่ผมต้องการบอกว่าความเป็นกลาง
แม้จะถูกตัดสินหรือถูกชี้แจงดังกลาง แต่มันก็เป็นตัวเลือกหนึ่งหรือตัวชี้วัดแบบอย่างของการนำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจมิใช่หรือ? (ในความ
หลากหลาย)

สถานการณ์ที่เกิดการแบ่งขั้วอำนาจของการ เอารัฐบาล ไม่เอารัฐบาล (พูดให้อ่านง่ายๆ) จนกระทั่งรัฐบาลต้องยุบสภาชิงชิ่งหนีจากเกมที่ฝ่าย
โจมตีได้วางสนุ้กเอาไว้ เมื่อมีการลดกระแสปลุกปั่นล้มรัฐบาลจากการอาจเกิดเหตุการณ์นองเลือดซ้ำๆ และสุญญากาศทางการเมืองใน
สถานการณ์นั้น รัฐบาลต้องถือว่าวางหมากเกมได้เหนือชั้นเชิง คู่ต่อสู้ต้องงงงวย จนกระทั่งพลิกเกมกลับมาโต้ตอบใหม่ได้โดยโจมตีต่อว่าหลบ
หนีการซักฟอก โกหก หลอกลวงประชาชนอื่นๆ มันเป็นการเสียคะแนน และเสียหน้าของรัฐน้อยที่สุดเท่าที่รัฐบาลทำได้ โดยบอกกล่าวผ่านสื่อ
ถึงการถูกโจมตีของรัฐบาล จึงให้ประชาชนตัดสินใจเลือกตั้ง ผู้แทนเข้ามาใหม่เป็นความชอบธรรม

ส่วนตัวผมเองที่อยู่เชียงใหม่ได้ไปพบปะพูดคุยกับคนเชียงใหม่ในอำเภอเมือง และอำเภอสันกำแพงในช่วงกลียุคของความรุนแรงทางการเมือง
เชิงโครงสร้างนี้สดๆ ร้อนๆ จากอำเภอของบ้านท่านนายกฯ ที่ชาวบ้านเรียกและชื่นชม สามสิบบาทรักษาทุกโรค เอสเอ็มแอล ซึ่งพ่อหลวงก็
นิยมชมชอบ และออกอาการนักเลงหน่อยๆ ค่อนข้างปกป้องรัฐบาล เนื่องจากผมไม่ได้สัมภาษณ์เรื่องการเมือง แต่ไปเรื่องหนี้สินเกษตรกรเลย
รอดมาได้ และผมได้ไปแถวๆ ในเมือง ที่มีการปักป้ายเชียร์ท่านนายกฯ คนที่มีโลกทัศน์แบบชนชั้นกลางบางคนเชียร์ บางคนไม่เชียร์ ครอบครัว
เกือบแตกร้าวราวกับคนละฝักฝ่ายคนละพรรค คนละพวก (ที่ได้เงินกับไม่ได้เงินจากพรรคฯ)

เกือบเย็นผมนัดเพื่อนที่สนามหลวง กินข้าวเสร็จเริ่มสนธยายามค่ำ ซึ่งก็คือสาเหตุที่ผมมานั่งสมาธิ ณ สนามหลวง กึ่งหลับกึ่งตื่นเหมือนอยาก
จะทำเท่ห์ แต่กึ่งอุบาทว์มากกว่าเท่ห์ อยากจะนอนก็นอนไม่ค่อยหลับถูกเสียงกล่อมประสาท กึ่งหลับกึ่งฝัน มีโอกาสนั่งสมาธิสูดกลิ่น สูดฝุ่น
สนามหลวงเข้าปอดบ้าง และคุยกับเพื่อนว่าอยากกลับหรือไม่กลับดี อุดมการณ์แน่จริงๆหรือเปล่า ? นี้เป็นบททดสอบ ฯลฯ มาที่นี่ผมก็ได้พบ
เพื่อนที่ไม่ได้เจอกันตั้งนานแล้ว (กับแอบคิดถึงเธอ) คนที่ร่วมอุดมการณ์ด้วยกันได้ และถ้าจะไม่ได้มาแอบนอนอย่างเช่นคนจรจัด เปล่าผมไม่ได้
ว่าคนจรจัด ผมแซวเฉยๆ ผมได้เรียนรู้ ประสบการณ์ (แม้ไม่ได้รับชัยชนะ) กับการนอนใกล้เคียงเป็นเพื่อนคนจรจัด (ปลอบใจตัวเอง -คนเล็ก-
ธุลีดิน) นอนกับพื้นสนามหลวง ดียังมีหนังสือพิมพ์รอง ไปนอนตรงที่นั้นสักพักก็สะดุ้งเฮือกกลัวกระเป๋าตังค์หายเป็นครั้งๆ ระหว่างทางผมได้
รู้จักกรุงเทพฯเมืองฟ้าอมรฯ อีกทัศนะมุมมองหนึ่งจากจุดนี้ (และคืนนั้นก็มีเวทีอีกม็อบ และเหตุการณ์ตำรวจจับคนเมาประหลาด)

ผมว่าเครื่องมือชี้วัด ว่าคนไหนเป็นม็อบรับจ้าง มาในสนามหลวง คนไหนถูกครอบงำท่องเป็นสูตรๆ รับรู้ข้อมูลจากฝ่ายสนามหลวงอย่างเดียว
คนไหนไม่จริงใจในการเข้าร่วมเพื่อมาบันทึกภาพประวัติศาสตร์สนุกๆ แต่ในจริงมีเท็จ ในเท็จมีจริง การฟังคนบางกล่มในม็อบนี้พูด บางครั้ง
ก็มีเหตุผลตามการสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ของผม บางครั้งก็ใช้แต่อารมณ์ และชาวบ้านบางคนก็ดูซื่อๆ เดินทางไกลมาถึงที่นี่ และนักศึกษาที่
ดูไม่โง่เง่าเต่าตุ่น มวลชนถูกชี้นำมีเงินให้มาถึงมือก็ไม่ใช่ ผมเองไม่ได้รับเงินสักบาททั้งที่อยากได้จะแย่อยู่แล้ว (แต่มีของแจก)

ประเด็นการตัดสินลงโทษพิพากษานายกฯ ข้อมูลเพียบพร้อม แต่การนำเสนอทางลงที่ชัดเจนกับนายกฯคนใหม่จะเป็นเช่นไร น่าเป็นห่วงกับคำว่า
นายกฯพระราชทาน อะไรคือเหตุผลหลัก ที่อยู่เบื้องหลังความคิดนี้ ที่มีการชี้นำของใคร แต่บางคนที่เข้าร่วมก็มีสัญลักษณ์อยู่ที่ข้อมือแล้ว และ
ก็คงไม่ต้องบอกความขัดแย้งด้านข้อมูลของสถานการณ์นี้เป็นอย่างไร ผมคิดว่าทุกคนคงรับรู้กับสถานการณ์นี้ ข้อมูลนายกฯ ต่างๆ คงไม่แจก
แจงซ้ำอีก แต่ปลายเหตุของปัญหานี้ มันมีกระบวนการวาระซ่อนเร้น ทำร้ายสัญญาประชาคมของสังคม ประชาชนสื่อสารกันมีภาษากฎหมาย
ขึ้นมา และจริยธรรม นายกฯ (หน้าตาออกเจ๊กๆ คล้ายจีน สิงค์โปร์) กับศีลธรรมแบบไทยๆ (กินเหล้าได้ต่างจากมุสลิม) รวมถึงกฎหมายไทย มัน
จะลื่นไหลออกจากการควบคุม มันจะเป็นการลุกฮือขาดสติ และหลงลืมกฎหมายรัฐธรรมนูญปรัชญา ความจริงแท้ คือต้องเกี่ยวข้องสิทธิของ
ประชาชน

ข้อดี ข้อเสียของคนไม่ค่อยรู้อะไรอย่างผมที่ได้ไปเรียนรู้ศึกษาการเมือง สังคม เปิดโลกทัศน์ที่นั่น ร่วมเดินขบวนถึงหน้าทำเนียบรัฐบาล ไม่มีรถ
ถัง ไม่มีระเบิด ไม่ถูกเหยียบ ปลอดภัยดีกับพวกเขา และถ่ายรูปให้คุณป้าคนหนึ่ง ซึ่งบัดนี้ติดต่อไม่ได้จะเอารูปให้ท่าน
การพยายามจากสภาวะแวดล้อมดังกล่าวที่พรรณนามาทั้งหมดที่จะให้มหาชนยอมรับข้อสรุปของเวทีนายกฯ โดยการปลุกระดมหรือหาคะแนน
เสียง ไม่ค่อยใช้เหตุผล แต่เร้าอารมณ์โดยใช้วาทศิลป์ อ้างว่าทุกๆ คนกำลังรวมตัวช่วยเขาทั้งม็อบเชียร์ที่สนามหลวงกับม็อบเชียร์ทักษิณ หาได้
ว่าจะถูกเสมอไปตามที่อ้างความรู้กัน เพราะความรู้อาจเกิดขึ้นจากโลกทัศน์ ค่านิยม มุมมองของผู้นำในการช่วงชิงความหมายของถ้อยคำโก้ เก๋
แต่นำมาใช้เพื่อเกิดประโยชน์แก่ประชาชน ใช่หรือไม่?

บทสังเกตปิดท้าย ไม่ใช่บทสรุป

มิเช่นนั้นแล้ว ผมคงต้องกลับไปนั่ง (นิยาม) สมาธิเพื่อทบทวน มือที่มองไม่เห็นชักใยความถูกต้อง ความจริงแท้ ถูกบิดเบือนโดยใคร โปรด
ระวังการสรุปที่มาจากผู้ฟังถูกจิตวิทยากล่อมประสาทเริ่มเพลียล้า เบื่อหน่ายกับการใช้เหตุผล ทำให้หลักการเหตุผล อนุมาน อ่อนแอนี้เป็นข้อ
สังเกตของผม จากอารมณ์ร่วมส่วนหนึ่งของสถานการณ์ ที่ปรารถนาสมาธิหรือผมควรเลิกนั่งสมาธิ แต่ไปเล่นว่าวกับผู้คน เตะตะกร้อ ณ สนาม
หลวงแทน

คำสารภาพตอนจบ (ไม่ได้หักมุม หักมุขจบ) การมองปรากฏการณ์รอบด้าน ช่วงเข้าสู่สมาธิ (หลับ) ผมไม่ใช่นักวิสัยทัศน์หลังสมัยใหม่ ไม่ใช่
นักบุญ ไม่ใช่ฝ่ายซ้ายอ่อนหัดปวกเปียก ขี้แง แต่ผมเป็นฝ่ายขายดิ่งตรงจากเชียงใหม่พกหนังสือกะไปนั่งขายกับเพื่อน (นิยมฉกฉวยโอกาส) พวก
เดียวกับคนขายไข่เจียว (แต่เขาอาจจะต่อต้านทักษิณก็ได้) ข้อสังเกตเบื้องต้นไม่รู้จะไปสู่ข้อสรุปไหม ไม่ใช่ Thesis /Anti-
thesis/Synthesis แต่มรรคผลวิถีกึ่งพุทโธ่ของผมเอง (ไม่ใช่กองทัพธรรม)

อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงที่ได้ไม่ใช่รูปธรรม สัมผัสวัตถุ การเดินถือธง โพกผ้า ตะโกนออกเสียง แต่ชัดเจนสุดๆของตัวผม คือตรรกะ และหลัก
ฐานการมาขายไข่เจียว ขายหนังสือของผมในปรากฏการณ์นี้!

"จิตใจคิดคด อคติ จะนำมา ซึ่งความมืดบอดจากแสงสว่างแห่งปัญญา แลสันติจริงแท้"


ดูเพิ่มเติม คอลัมภ์ประชาทุยhttp://www.prachatai3.info/column-archives/node/2413
-หมายเหตุ: บทความนี้เคยเผยแพร่ใน ก้าวที่กล้า นิตยสารนักศึกษา ปีที่ 5 ฉบับที่ 10 เมษายน 2549
ปล.บทความนี้ไม่เหมือนกับเผยแพร่ในก้าวที่กล้า นิตยสารนักศึกษา เช่น ไม่มีเรื่องคนใช้คัตเตอร์จี้นศ.เป็นตัวประกันในมช.เรียกร้องไม่ยุบสภา ฯลฯ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น: