วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกความรักข้ามพรมแดนชาติพันธุ์-ร.ศ.130

บันทึกความรักข้ามพรมแดนชาติพันธุ์
11 พฤศจิกา
ความรักข้ามพรมแดนชาติพันธุ์ หลังยุคพระเจ้าตาก ที่กู้เอกราชจากพม่าช่วยล้านนา ต่อมาสมัยหลังยุคธนบุรีถึงต้นรัตนโกสินทร์ เจ้าฟ้าน้อยระภาผ่อ พ่อเมืองทลาง ได้จัดพิธีร่วมน้ำสาบานเป็นมิตรไมตรีต่อกัน ตามธรรมเนียมของเขาระหว่างเมืองกะเหรี่ยงและเมืองเชียงใหม่ขึ้น โดยได้ปลูกประรำพิธีขึ้นหลังหนึ่งที่ท่าน้ำเมืองทลางเรียกว่า ท่าสะยา พิธีได้เริ่มขึ้นโดยเจ้าฟ้าน้อยระภาผ่อได้สั่งให้ล้มกระบือตัวใหญ่ที่สุด อ้วนพีสมบูรณ์ที่สุด ที่มีในเมือง 1 ตัวเพื่อเข้าพิธี ได้ชำแหละตัดเขากระบือผ่าออกเป็น 2 ซีกด้วยกัน แล้วยื่นซีกหนึ่งให้เจ้าอุปราชธรรมลังกาถือเอาไว้ซีกหนึ่ง เพื่อแทนชาวเชียงใหม่ทั้งมวล เจ้าฟ้าระภาผ่อได้ขอให้เจ้าอุปราชธรรมลังกา และที่ประชุมได้กล่าวสัจจะปฏิญาณต่อกันไว้ว่า

ตราบใดแม่น้ำคงไม่หาย เขาควายไม่ซื่อ ถ้ำช้างเผือกไม่ยุบ เมืองยางแดงกับเมืองเชียงใหม่ ยังเป็นไมตรีกันตราบนั้น…”
ทั้งสองฝ่ายได้กล่าวเป็นภาษาของตนและต่างเก็บเขากระบือรักษาไว้ ถือเป็นวาจาสัตย์ที่มีต่อกันสืบต่อไปในภายภาคหน้า ต่อมาเจ้ารัตนเมืองแก้วคำผั้น อนุชาของเจ้าอุปราชธรรมลังกา ซึ่งได้เดินทางไปในครั้งนี้ได้เกิดมีใจสมัครผูกพันธ์รักใคร่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกับเจ้านางตาเวยบุตรีของเจ้าฟ้าน้อยระภาผ่อและต่างตกลงปลงใจเป็นคู่ชีวิตต่อกัน หลังจากเสร็จพิธีการแล้วได้เดินทางกลับเมืองเชียงใหม่

http://www.pgazkoenyau.com/content/view/14/6/

12
เรื่องเล่าความรักข้ามพรมแดนชาติพันธุ์ และการดื่มน้ำสาบาน โดยเขาควายสะท้อนการกำหนดเส้นพรมแดนตะวันออกแม่น้ำสาละวิน(แม่น้ำคงชื่อเรียกแม่น้ำสาละวินในภาษาไทยใหญ่/กะเหรี่ยง) ระหว่างยุคที่เชียงใหม่ กำลังผจญภัยอังกฤษยึดพม่า เกรงว่ามาล้านนา และสยาม ได้ ปรากฏบางส่วนของกะเหรี่ยงในพงศาวดารโยนก ก่อนเกิดแผนที่สยาม
เมื่อเจ้าคำฝั้นเษกสมรสกับ แม่เจ้าตาเวยราชเทวี ราชธิดาในเจ้าฟ้าเมืองยางแดง อันเป็นดินแดนกะเหรี่ยงที่รุ่งเรืองและร่ำรวยมากไปด้วยไม้ขอนสักอันล้ำค่า ได้รับมรดกส่วนพระองค์ ในฐานะราชธิดาเจ้าฟ้าเมืองยางแดง เป็นที่ดินป่าไม้ขุนยวม อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

เจ้าคำฝั่น ความขัดแย้งตอนขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ ได้เกิดการทะเลาะวิวาทกับเจ้าราชวงศ์สุวัณคำมูน ทำให้บรรดาขุนนางได้ไปเชิญเจ้าดวงทิพย์ และเจ้าบุญมา มาประนีประนอมการวิวาทครั้งนี้ โดยแนะนำให้พระยาคำฝั้น เสด็จออกผนวชวัดเชียงมั่น แล้วไปจำพรรษาที่วัดสวนดอก จากนั้นได้มีการปล่อยรถม้าเสี่ยงทายหาเจ้าหลวงองค์ใหม่ แต่รถม้าดังกล่าวกลับมาหยุดอยู่ที่บริเวณหน้าวัดสวนดอก ซึ่งเป็นที่ประทับของพระยาคำฝั้น เหล่าบรรดาเจ้านาย และขุนนาง จึงได้อัญเชิญพระยาคำฝั้น ให้ลาสิขาบทกลับมาเป็นเจ้าหลวงเชียงใหม่อีกครั้งด้วย

ต่อมายุคพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เป็นเจ้าราชนัดดา (หลานปู่) ในพระยาคำฟั่นกับแม่เจ้าเนตรนารีไวยตาเวย รวมทั้งเป็นพระราชบิดาในเจ้าดารารัศมี พระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ สมัยร.5 เปลี่ยนผ่านเส้นพรมแดนเดิมแบบเขาควาย หรือแผนที่จาริกบุญของล้านนาเดิม-แผนที่ไตรภูมิ เป็นแผนที่สยามตามเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ใหม่ ครับ
*ผลงานศึกษาสะท้อนเรื่องเส้นพรมแดนและพรมแดนชาติพันธุ์อย่างชารล์ส คาย์ส

http://www.baanjomyut.com/library/karen/history3.html

**ข้อมูลเพิ่มเติมภาพประกอบ:กะเหรี่ยงในจิตรกรรมไทย ที่วัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน นี่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพิ่มเติมของประวัติศาสตร์บอกเล่า ตำนาน และท้องถิ่นของชุมชน ภาพสะท้อนก่อนเสียฝั่งขวาของแม่น้ำโขง(ของ) ณ น่าน รวมทั้งเชียงของ เชียงรายเคยขึ้นอยู่กับน่าน เส้นทางแม่น้ำโขง เป็นต้นสาขาแม่น้ำสาย ในปัจจุบันแม่น้ำสาละวิน เขตประเทศไทย นับตั้งแต่ทางเหนือของชายแดนไทย แม่น้ำสาย และน้ำกก ไหลจากเทือกเขาสูงในรัฐฉานลงสู่จังหวัดเชียงราย และเติมน้ำให้แก่แม่น้ำโขง เรื่อยมาทางจังหวัดแม่ฮ่องสอน แม่น้ำแทบทั้งหมดในจังหวัดนี้ล้วนเป็นลูกน้อยของแม่น้ำสาละวิน ไม่ว่าจะเป็นน้ำปาย น้ำเงา

http://www.watkadarin.com/index.php/2011-08-02-02-17-14/2013-10-05-02-13-54

http://www.sarakadee.com/m-boran/2003/10-12/watphumin.htm

http://salweennews.org/home/?p=3499

14
ปัญหาการปฏิรูปประเทศยาวนาน ย้อนดูอดีตความเจริญของสยาม เคยร่วมงานเอ็กซ์โปมหกรรมสินค้าและเทคโนโลยีโดยเอเชียมีแค่สยามกับญี่ปุ่น โดยเข้าใจง่ายว่าไทยกับญี่ปุ่นสมัยนั้นเจริญเท่ากันในสมัยร.4 ต่อมา สยามภายใต้ปัจจัยภายนอกอิทธิพลโลกาภิวัตน์ด้านการค้ากับอังกฤษ และร.5กับรัสเซีย ต่างๆ ที่มีผู้เคยศึกษากันแล้ว ต่อมาเกิดปัญหาการปฏิรูปประเทศไทยเหมือนญี่ปุ่น ร.ศ.103(130 ปีในปีนี้) กลุ่มเรียกร้องปฏิรูปเปลี่ยนระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และข้อเสนอหลายอย่างกรณีไทยจะมีฐานะเป็นรัฐกันชนระหว่างพม่า กับอินโดจีนเหมือนสวิตเซอร์แลนด์ก็ตาม ต้องปรับปรุงการปกครองภายในให้ดีด้วย

กระนั้น ปัจจัยภายในร.5 รัฐบาลกลางได้ดำเนินนโยบายรวมหัวเมืองประเทศราชล้านนาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสยามหรือไทย นับตั้งแต่ส่งข้าหลวงขึ้นมาประจำการที่เชียงใหม่เป็นครั้งแรก และปฏิรูปการปกครองมณฑลพายัพ(เมืองนครเชียงใหม่ ครอบคลุมพื้นที่เชียงใหม่, แม่ฮ่องสอนและเชียงราย)ภาคใต้ มณฑลปัตตานี(2449/ปัญหาภาคใต้2547:10ปี) เป็นต้น อีกด้วย
ดังนั้น ประเด็นความรักน่าสนใจกรณีเจ้าดารารัศมีกับร.5 ในการรวมล้านนากับสยาม ต่างจากทางน่านด้านนี้ ซึ่งภาพสะท้อนจิตรกรรม ในการที่เลือกเขียนเรื่องคันทนกุมาร เป็นเรื่องลูกกำพร้า ดังจะเห็นว่าในพงศาวดารเมืองน่านจากไข่ปลาสองฟอง จนกลายเป็นขุนนุ่นและขุนฟองแยกกันมาปกครองเมืองน่านและเวียงจันท์ ต่อมาภายใต้การปกครองของเชียงใหม่หรือพม่า เมืองน่านไม่ได้ถูกสนใจมากนัก หลังจากตกเป็นประเทศราชของสยามแล้ว ในที่สุดเสียฝั่งขวาแม่น้ำโขง(ลาว ส่วนหนี่งของน่าน) ครับ

*ตัวอย่างเรื่องเล่าปัญหาการปฏิรูปประเทศสำหรับท่านประยุทธ์ ครับท่านนายกฯชมญี่ปุ่นมีส่วนผลักดันศก.อาเซียนพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน ที่กรุงเนปิดอว์ ประเทศเมียนมาร์ เมื่อวันที่ 12 พ.ย.2557

**ผมทบทวนความทรงจำบริบทปวศ. ที่ผมเคยเขียนบทความเรื่องจิตรกรรมวัดภูมินทร์กับแม่น้ำของในการอ่านภาษาภาพจิตรกรรม กับอักษรธรรมล้านนา:ชื่อของพื้นทีศักดิ์สิทธิ์แม่น้ำโขง ซึ่งอยากต่อยอดเพิ่มเติม จึงโน้ตไว้จากยุคเจ้าคำฝั้นเษกสมรสกับ แม่เจ้าตาเวยราชเทวี(กะเหรี่ยง)สืบต่อมาพระเจ้าอินทวิชยานนท์-เจ้าดารารัศมี เปรียบเทียบกับน่าน ครับ

***ภาพประกอบผลงานรูปวาดสมัยผมเรียนวาดรูปเลียนแบบวัดภูมินทร์เรื่องคันทกุมารชาดก ครับ

ขอบคุณที่พี่Khunya ชมภาพ ครับ ที่มาของภาพพระมารดาชี้ให้เจ้าชายคัทธกุมารดูรอยเท้าของพญาช้างสารที่เป็นพระบิดาของพระองค์ เพราะพระอินทร์ลงมาแปลงเป็นช้างสารเข้ามาเหยียบเรือกสวนไร่ฝ้ายของพระนาง พระนางน้อยก็ออกมาไล่ ไล่ไปไล่มาก็เหนื่อยเห็นมีน้ำขังในรอยเท้าพญาช้างนั้นดื่มกินแก้กระหาย ต่อมาพระนางจึงตั้งครรภ์ให้กำเนิดแก่เจ้าชายคัทธกุมาร เมื่อผมมีโอกาสอยากวาดภาพปู่ม่าน ย่าม่าน หรือภาพกระซิบรักของวัดภูมินทร์

ผลกระทบการปฏิรูปประเทศรวมศูนย์เป็นสยาม ซึ่งพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าประเทศราชองค์สุดท้าย ในแง่ที่อิทธิพลอังกฤษทางพม่าเข้าล้านนาในสมัยร.4-ร.5 และพระเจ้าอินทวิชยานนท์(ที่มาชื่อดอยอินทนนท์) เป็นบุตรเขยของพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์( เจ้าชีวิตอ้าว”) ด้วย
โดย ผมเล่าย่อ ด้านพรมแดนสยามรวมล้านนา สมัยร.5 จากแผนที่ไตรภูมิ เป็นการเปลี่ยนผ่านโลกทัศน์แบบไตรภูมิอยู่ในวัฒนธรรมชาวบ้าน ไปสู่ภูมิศาสตร์สมัยใหม่ยุคทำแผนที่ ในสมัยร.4-ร.5 ซึ่งแมคาร์ธี ทำแผนที่ร่วมกับการทหารยุคปราบฮ่อ เป็นยุทธศาสตร์ และกล่าวโดยย่อผลกระทบของเหตุการณ์สู้รบร.ศ.112เรื่องแย่งชิงดินแดนของเกี่ยวกับแม่นำโขง-สยามกับฝรั่งเศสในสมัยร.5 (บริบทเกิดกฎอัยการศึกได้รับต้นแบบฝรั่งเศส) ต่อมาเกิดการเรียกร้องให้ปฏิรูปเปลี่ยนแปลงเหมือนญี่ปุ่น

อย่างไรก็ดี การสร้างทางรถไฟในประเทศไทยเริ่มต้นขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ในขณะที่ญี่ปุ่นก็เริ่มสร้างในสมัยเมจิ อยู่ในยุคสมัยเดียวกัน และการเปลี่ยนผ่านการค้าขายทางเรือของภาคเหนือสู่เส้นทางการขนส่งสินค้าทางรถไฟได้เริ่มต้น
เมื่อเส้นทางการค้าทางรถไฟมาเส้นทางการค้าโดยเรือ เปลี่ยนจากเดิมตั้งถิ่นฐานของคนจีน ย้ายจากท่าน้ำย่านวัดเกต ไปที่ใกล้ทางรถไฟ ณ ศาลเจ้าจีนย่านสันป่าข่อย (ผมไม่มีเวลาเขียนยาวอธิบายเรื่องเส้นทางการค้ารถไฟกับตลาด-วัด และค่ายทหารหรือค่ายกาวิละจากบทความเก่าสู่แนวเขียนเพิ่มเติมบทความใหม่)ครับ

ดังนั้น ปัญหาการปฏิรูปประเทศรวมศูนย์ด้านหนึ่ง ส่งผลกระทบเกิดกบฏพญาผาบต้านกลุ่มเจ้าภาษี พ่อค้าจีน โดยกบฏเงี้ยว (ไทใหญ่ฯลฯ) เมืองแพร่ หรือกรณีครูบาศรีวิชัย ฯลฯ รวมทั้งปัญหาปฏิรูปประเทศให้เจริญทั้งเศรษฐกิจการเมืองกลุ่มชนชั้นกลางเป็นลูกจีนในทหาร(ร.ศ.130) ตั้งใจให้ประเทศดีเจริญเหมือนญี่ปุ่น ที่มีอิทธิพลจากจีนแบบซุนยัดเซ็น เช่น หนังสือพิมพ์จีนโนสยามวารศัพท์ และปัจจัยนอกระบบราชการไม่เป็นทางการ กลายเป็นคลื่นใต้น้ำการเมือง ด้วย

*ภาพประกอบรูปซุนยัดเซ็น สัญลักษณ์การปฏิวัติซินไฮ่ ที่มีดร.ซุน ยัดเซ็น เป็นผู้นำ ในหนัง1911” (ชื่อไทย ใหญ่ผ่าใหญ่เฉินหลงรับบท หวงซิง สมาชิกฝ่ายบู๊) ณ ร้านเชียงใหม่กาแฟ แบบบ้านเก่าเคยคุยกับเจ้าของร้านเก็บของสะสมมรดกไว้ ย่านชุมชนวัดเกต ริมน้ำปิง ที่มีชุมชนคนจีน และพิพิธภัณฑ์เก็บของเก่า ฯลฯ ซึ่งผมเห็นรูปซุนฯมีขายตามเว็บของเก่า
** คนจีน สัมพันธ์ยุคพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เป็นบทความประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ชาวจีนกับผู้ปกครองความเชื่อพิธีกรรมในศาลเจ้าจีนจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งพัฒนาจากงานตัวจบตอนป.ตรี ทีนี้ลิ๊งค์บทความศาลเจ้าจีนฯดังกล่าวหายไปแล้ว หลังผ่านไปสิบสองปีและผมเคยคุยกับรุ่นน้องป.เอกปวศ.เขายุบอกให้เขียนปรับปรุงใหม่ ซึ่งผมเขียนสั้นๆ เพิ่มเติมซุนยัดเซ็นแค่นี้ก่อน ปวศ.ที่เพิ่งเขียนตามเวลาจำกัด ครับ^^
ข้อมูลเพิ่มเติมภาคต่อจากปัญหาปฏิรูปประเทศยาวนาน https://www.facebook.com/photo.php?fbid=948375335191695&set=a.103468286349075.7792.100000577118415&type=1

28
ผลกระทบหลังการปฏิรูปประเทศ ต่อคนจีน โดยการเปลี่ยนแปลงของชาวจีน ในล้านนา จากกลุ่มสมาคมลับ ที่มีปรากฏในศาลเจ้าจีนหรือศาลเจ้าบู้เบี้ย(กวนอู) ต่อมาอิทธิพลของความเป็นคนเมืองผสมกลมกลืนกับคนจีน โดยผมเห็นจุดเด่นกรณีภาพวาดหลวงอนุสารสุนทรและนางคำเที่ยง ในวิหารวัดอุปคุต

เมื่อผมเน้นเล่าจุดสำคัญของผ่านภาพวาดดังกล่าว เป็นตัวอย่างตระกูลนิมมานเหมินทร์ ที่มีธุรกิจค้าผ้าฝ้าย รวมทั้งด้านวัฒนธรรม(ไกรศรี-ธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ รมต.นักการเมือง) ด้านตระกูลแซ่คู(เชื้อจีน)เดิมเป็นตระกูลชินวัตร เคยขายผ้าไหม(ชินวัตร) จากยุควัวต่างม้าต่างทางเรือมาทางรถไฟ รวมทั้งแง่การทำขาย(ต่อมาทำโรงหนัง-การเมืองมาถึงยุคทักษิณ ชินวัตร ฯลฯ) ในสมัยร.5-ร.6 (ต้นตระกูลอพยพเสื่อผืนหมอนใบตามสำนวนคนไทยเชื้อสายจีนในปัจจุบันอย่างเจ้าสัวซีพี)

ต่อมาความสัมพันธ์สมัยร.5 ย้อนมองปัญหาปฏิรูปประเทศ -เรียกร้องรัฐธรรมนูญของกลุ่มต่างๆ และจัดระเบียบมณฑลพายัพ ฯลฯ ซึ่งคลื่นใต้น้ำอย่างผู้มาก่อนกาลอย่างรศ.130 ถึง สมัยร.6(จีนเป็นยิวแห่งบูรพาทิศ) สู่ทฤษฎี ที่สืบต่อชะตาเป็นการสืบทอดโดยอ้อมของพลังระบบราชการเป็นหลัก มากกว่าพลังนอกระบบราชการทหาร(กลุ่มพ่อค้า นักเขียน นักนสพ.ฯลฯ) ซึ่งอาศัยปัจจัยของมวลชนจำนวนมากเท่ากับแนวทางปฏิวัติซินไฮ่(ซุนยัดเซ็น) แม้ว่ากระแสของเก็กเหม็ง อนาคิช เข้ามาสยาม ก็ตาม โดยผมมาเล่าย่อวิธีการกลุ่มบางประการ 1.นัดกลุ่มเมาเหล้าคุยกัน 2.ชวนคนไม่คัดเลือกคนเป็นข้อผิดพลาดเกิดคนทรยศหักหลัง และผมอยากเล่าต่อเรื่องความฝัน ความหวังหลังจากพ่ายแพ้

ซึ่งกล่าวถึงกบฏว่าเป็นพวกลูกจีน บางคนฆ่าตัวตายก่อนเข้าคุก และตอนติดคุกบางคนตายในคุก ต่อมาหลายคนก็คิดฝันออกไปประกอบอาชีพนอกคุก เช่น ว่าที่นายร้อยตรีทวนกับนายร้อยตรีม.ร.ว.แช่ ฝันจะออกไปเป็นช่างถ่ายรูป นายร้อยเอกขุนทวยหารพิทักษ์ กับนายร้อยตรีเหรียญ ศรีจันทร์ น้องชายคิดจะออกไปทำยาขาย นายร้อยตรีบุญกับนายร้อยตรีเขียน ไปทำไร่ทำสวน นายร้อยโทจือจะปลูกนุ่นและเลี้ยงไก่ นายร้อยตรีวาสเตรียมจะแจวเรือจ้าง ส่วนนายร้อยโทรจรูญ ปรารภว่า คงต้องไปขอทานเขากิน จึงขะมักเขม้นฝึกร้องเพลงและหัดสีซอ

แต่ว่า พวกเขายังโชคดี ที่อยู่ในคุกได้เขียนหนังสือ นายร้อยตรีถัด รัตนพันธุ์ แปลนวนิยายภาษาต่างประเทศ เรื่อง เด็กกำพร้าใช้นามปากกาว่า ไทยใต้และบางคนออกจากคุกไม่ต้องขอทาน ยังได้เขียนหนังสือต่อไปสู่ยุค2475 ……
*ข้อมูลส่วนใหญ่ประกอบการเขียนย่อมาจากงานเขียนแถมสุข นุ่มนนท์ยังเติร์กรุ่นแรก กบฏร.ศ.๑๓๐เป็นลูกร้อยตรีถัด ซึ่งเคยมาเชียงใหม่เป็นข้อสังเกตหลังออกจากคุก ข้อมูลที่ยังไม่เคยเขียน ก่อนการปฏิวัติกลุ่มทหาร เพิ่งผ่านยุคการปราบกบฏเงี้ยว ในมณฑลพายัพ มาก่อน

 โดยไม่มีข้อมูลเรื่องความร่วมมือจากทหารมณฑลพายัพอย่างเชียงใหม่ หรือคนจีนทางภาคเหนือ ล้านนาทำไม อิทธิพลกลุ่มรศ.130 ไม่แพร่กระจายมาล้านนา ขีดจำกัดเส้นพรมแดนบทบาทกลุ่มรศ.130ออกจากคุกอันน่าสนใจมีคนเขียนแล้ว

**ภาพประกอบ การค้นหาของผมเขียนต่อยอดเรื่องศาลเจ้าจีนฯ บังเอิญมีข้อมูลว่าผมเคยเขียนเรื่องซุนยัดเซน แต่ผมจำไม่ได้ว่าเคยเขียน(ฮร่า) และภาพประกอบหนังสือตำราเสน่หาฯว่าด้วยวิทยาศาสตร์แห่งความรักของหมอเหล็ง(ผู้นำกลุ่มร.ศ.130) ซึ่งเคยเขียนตำราวัฒนายุ ที่แนะแนวการปฏิบัติให้อายุยืน ทั้งในด้านสุขภาพกายและสุขภาพใจ โดยกลุ่มรศ.130 ได้เขียนหนังสือหลายคน เช่น อุทัย เทพหัสดิน เขียนเรื่อง ตำราลับสมอง นามแฝงนายเทพ และต่อมาบางคน ทำงานหนังสือพิมพ์ เช่น ร.ต.บ๋วย บุณยรัตนพันธ์ เป็นนักเขียนเรื่องเริงรมย์ทางสวาทชั้นยอด ร.ต.บ๋วยทำงานอยู่โรงพิมพ์ศรีกรุง ฯลฯ เป็นต้น ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น