วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Making Democracy-constitution(R.I.P.ben anderson)

Making Democracy-constitution(R.I.P.ben anderson)

10 ธค.58
การเดินทางๆไปพิจิตร(*) ผมคิดถึงหลายวันก่อนผมคุยกับพวกรุ่นพี่นักเขียนเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ ในส่วนรายได้ต่อยอดคุยกับรุ่นพี่ในกลุ่ม นึกออกน่าคิดเรื่องค่าเรื่องสั้นน้อย เพราะยุคณรงค์ จันทร์เรือง พออายุประมาณ 18-19 ปีก็เริ่มเขียนเรื่องยาว ทำให้เขาได้ค่าเรื่องมากกว่า 3 เท่าของเงินเดือนบัณฑิตในสมัยนั้น เขาจึงตัดสินใจเลิกการเรียนไป ไม่จบชั้น ม. 8 เข้าทำงานในตำแหน่งพิสูจน์อักษรที่นิตยสาร “แสนสุข” แล้วเขียนนิยายบู๊ ให้กับสนพ.เพลินจิต(**)เป็นตัวอย่าง ครับ

แต่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับบวรศักดิ์ หรือฉบับเหาะเหินเกินลงกา(ลงเรือแป๊ะฯ) เคยมีการเสนอรธน.ของประเทศไทยได้มีการบรรรจุหมวดหมู่ของกีฬาโดยมีการนำเรื่องกีฬาเข้าไปอยู่ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 95 ที่ระบุว่า รัฐบาลต้องสนับสนุน พัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนด้านการกีฬาเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และมีการจัดการกีฬาอย่างเป็นระบบ หากรัฐบาลไม่ทำ จะถือเป็นความผิด ฐานละเว้นการปฏิบัติ(***)

โดยรัฐธรรมนูญฉบับนักเขียนและศิลปิน น่านำเสนอรัฐบาลต้องสนับสนุน พัฒนา ส่งเสริมนักเขียน และสนับสนุนด้านการเขียนเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ รวมทั้งส่งเสริมการศึกษาและการสอนการเขียนอย่างยุคเปลื้อง ณ นคร สอนการเขียนทางไปรษณีย์ให้กับส.พลายน้อย เดี๋ยวนี้สอนทางเฟซฯก็ได้อย่างศิลปินสอนศิลปะทางเฟซฯ ครับ(****)

ดังนั้น จากฉายารัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่ม ฉบับฟันปลอม ฉบับครึ่งใบ ฯลฯ น่าจะมีฉบับส่งเสริมนักเขียนและศิลปิน ได้แต่หวังผมแค่เสนอในฐานะสิทธิของพลเมือง ไม่ลืมเราเคยมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน(2540) กันด้วย ครับ

*ภาพประกอบการเดินทางไปพิจิตร กับหนังสือสมุดภาพสยาม ยุคประชาธิปไตย มีภาพโรงเรียนพิจิตร(หรือพิจิตรพิทยาคม)ร่วมงานออกร้านฉลองรัฐธรรมนูญ และภาพชาวตะพานหิน พิจิตร เชิดสิงโตต้อนรับรัฐธรรมนูญ ก่อนผ่านไปพิษณุโลกด้วย ครับ

**https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%93%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C_%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87

***http://www.siamsport.co.th/seagames2015/?page=news&view=view&id=150408191401
http://www.smmsport.com/m/news.php?n=139033

****ส.พลายน้อย เขียนคอลัมภ์จิปาถะเรื่องหนุมาน :เทพแห่งสรรพวิทยา (14) เล่าถึงพระปวันเทพแห่งลม “พระปวัน”หรือพระวายุนี้มีฤทธิ์มาก เคยเป่ายอดเขาพระสุเมรุหักปลิวไปตกในมหาสมุทร และต่อมาได้กลายเป็นเกาะลงกาของทศกัณฐ์ส่วนหนุมานก็เป็นบุตรของพระปวัน(เรื่องเชื่อมโยงมหาภารตยุทธกับรามายณะ ดูมติชน 6 ธ.ค.58)นักเขียนผลงานจำนวนมาก ดูเพิ่มเติม
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA.%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2

ศิลปินสุรินทร์ สอนศิลปะออนไลน์ทั่วโลก ช่วยประหยัดเวลา ครู-นักเรียนโดยไม่ต้องเจอหน้ากัน
อ้างอิง : เรียนรู้ไร้พรมแดน! ศิลปินสุรินทร์ สอนศิลปะออนไลน์ทั่วโลก
http://news.mthai.com/hot-news/general-news/460516.html
เฟซฯมีรำลึกอดีตให้ด้วยวันนี้มีกิจกรรมที่ผมเขียนไว้ https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=740208826008348&id=100000577118415

13ธค 58
บอยรำลึกบทสนทนาสุดท้ายกับอ.เบน
วันนี้ผมขอรำลึกถึงศาสตราจารย์ ดร.เบเนดิก แอนเดอร์สัน หรือเบน แอนเดอร์สัน ผ่านอีเมล์ที่สนทนากัน ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาหลังจากที่ผมเคยส่งหนังสั้นเรื่องน้ำตาแม่อาย ให้อาจารย์เบน ผู้เชี่ยวชาญ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้*

The making of short film by me(การสร้างหนังสั้นโดยผมเป็นหัวข้อที่คุยกัน)
Nov 1
to omben (อีเมล์ผมไม่เผยแพร่)
Dear,Prof.Ben anderson

I send my short film tell about uncle Nuamthong Paiwan, a 60-year-old taxi driver, drove his taxi into a tank on September 30 ,2006 as a protest against the coup.

Regards,
akkaphon

“สร้างหนังสั้น”:The Making of Short Film
Ben Anderson(อีเมล์ผมไม่เผยแพร่)
Nov 1
to me
Dear Akkaphon, Thanks very much for your message and the news about your video. I am leaving tomorrow for the Philipinnes. andI hope to be in ‘narok’ this month, but I am not sure exactly I would very much to see your work after I arrive. All the best. from AHK meaning Old Hia Kae 5555555

Nov 2
to Ben
Dear,Prof.Ben anderson

Thanks very much for my message and the news about my video. I production it genre comedy-drama.
I understand you travel from Philipinnes. I happy talk with you
by I search narok what your mean. I begin from kenya in narok town or Narok County because may be mean this I guess.
but I get that.
when I read again this is my joke from myself.
555

Regards,
akkaphon

Ben Anderson
Nov 3

to me
Dear Akkaphon. Do not worry. I think I will be in my flat by the last week of this month. So if you are in narok, it wil be easy to get in touch All my greetings for you. AHK

akkaphon satum
Nov 3

to Ben
Dear,Prof.Ben anderson

I see your conversation for me.I think carefully you tell me.
I hope every thing is fine with you.
Thanks,
Ok,
Regards,
akkaphon

โดย ผมขอกล่าวอย่างย่อๆ ด้วยความระลึกถึงอาจารย์เบน ได้เคยแลกเปลี่ยนความรู้ต่างๆ ในทางอีเมล์กับผมก่อนหน้าคุยกันยกตัวอย่างสนทนาเรื่องการเมือง หนังสือ หนังสั้นศรีปิงเมือง อย่างเป็นกันเอง ไม่ทำให้ผมเกร็งและเกรงใจมากมาย เพราะการคุยกับนักวิชาการระดับโลกอย่างท่าน ย่อมหาโอกาสได้ความรู้ไม่ได้ง่ายๆ รำลึกเสมอผมยังอ่านหนังสือของอาจารย์เป็นประจำสม่ำเสมอ นี่ถือเป็นการคารวะผ่านอีเมล์บทสนทนาหนังสั้นเรื่องสร้างหนังสั้น สะท้อนเรื่องเล่าเกี่ยวกับลุงนวมทอง** ซึ่งผมเศร้าน่าเสียดายใจหาย เพราะเราเคยคุยกันไว้จะพบกันอีกครั้งในอนาคต โดยบันทึกไว้สั้นๆ ณ ที่นี้ R.I.P.ครับ

*ดูประวัติและข้อมูลข่าวเสียชีวิตเพิ่มเติม
เบเนดิก แอนเดอร์สัน เสียชีวิตแล้ว
http://prachatai.com/journal/2015/12/62931
ศาสตราจารย์เบนเดินทางมาบรรยายพิเศษที่คณะวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติอินโดนีเซีย (University of Indonesia) กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 10 ธ.ค.2558 ซึ่งนับว่าเป็นการบรรยายทางวิชาการครั้งสุดท้ายของเขา
http://m.news.thaipbs.or.th/content/%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%99-%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99-%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A2-79-%E0%B8%9B%E0%B8%B5
อาจารย์เบน ได้รับเชิญไปเปิดตัวหนังสือเล่มล่าสุดของตน ที่มีการแปลเป็นภาษาอินโด คือ เรื่อง Under Three Flags ซึ่งเกี่ยวกับอนาธิปัตย์ของฟิลิปปินส์
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9580000136871
สิ้น “อ.เบน แอนเดอร์สัน” ในวัย 79 วงการประวัติศาสตร์ไทย-เอเชียตอ.สูญเสียยิ่งใหญ่
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1449986360&grpid=00&catid=19
เบน แอนเดอร์สัน เขียน “สัตว์ประหลาดอะไรวะ?”(เขียนวิเคราะห์ถึงหนังเรื่องสัตว์ประหลาดของอภิชาติพงศ์ )มุกหอม วงษ์เทศ แปลในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม
http://www.matichon.co.th/art/art.php?srctag=0603010749&srcday=2006/07/01&search=no
“ชาติ”กับ”มนุษยชาติ”ของเบน แอนเดอร์สัน
http://prachatai.org/journal/2015/12/63006
พันธกิจแห่งชีวิต : งานวิชาการด้านเมืองไทยของเบ็น แอนเดอร์สัน
http://readjournal.org/contents/tamara/
เบน แอนเดอร์สัน: ทำไมบทบาทของปัญญาชนสาธารณะจึงเสื่อมถอยลง?
http://www.prachatai3.info/journal/2010/07/30286
เบเนดิกต์ แอนเดอร์สัน
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%8C_%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99
Asian scholar Benedict Anderson dies, aged 79
http://www.bangkokpost.com/news/politics/792977/asian-scholar-benedict-anderson-dies-aged-79

Benedict Anderson 1936-2015
http://www.versobooks.com/blogs/2393-benedict-anderson-1936-2015

Asian scholar Benedict Anderson dies in his sleep in Indonesia
http://www.interaksyon.com/article/121382/asian-scholar-benedict-anderson-dies-in-his-sleep-in-indonesia

Benedict Richard O’Gorman Anderson
https://en.wikipedia.org/wiki/Benedict_Anderson

**วันนี้ผมแวะไปคุยงานเจอรุ่นพี่ทีมงานหนังสั้น “สร้างหนังสั้น” ทำให้ผมรู้ข่าวเสียชีวิตของครูเบน แอนเดอร์สัน ผู้เขียนหนังสือชุมชนจินตกรรม: บทสะท้อนว่าด้วยกำเนิดและการแพร่ขยายของชาตินิยม (Imagined Communities (IC) : Reflection on the Origin and Spread of nationalism) ซึ่งผมอ้างอิงหนังสือเล่มนี้ในการเขียนงาน รวมทั้งผมได้สมมติเป็นลูกศิษย์นอกระบบการศึกษามหา’ลัย ติดตามความคิดของครูเบน ทางการเมืองไทย ฯลฯ ด้วย ครับ

19 ธันวา 58
ผมทำงานเสร็จหนึ่งอย่างวันนี้ ทำให้เขียนเล่าเรื่องสั้นๆวันที่10 พ.ย. กับ3 ธค.58 เป็นวันสนทนาของนักเขียน ศิลปินพลัดถิ่นในเชียงใหม่ ณ ที่แห่งหนึ่ง วงคุยต่อเนื่องมาหลายเรื่องถึงเรื่องนักเขียนกับร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งผมนึกดูข้อมูลใหม่ มีหนังสือดังภาพประกอบบอกนักเขียนสามารถได้รายรับเดือนละแสนบาท(จริงหรือไม่ ) มีโอกาสคงได้คุยกันอีก ทำบัตรปชช.อาชีพนักเขียน รายได้เท่าไหร่ดี นี่เป็นภาพประกอบวงคุยเฮฮาปาร์ตี้ สบายๆง่ายๆ ยกเว้นตกใจบางครั้ง….จะมาหรือไม่ (โอ้ ต้องระวังสนทนาPublic Sphere) ครับ

ปล.ถ้ารัฐบาลไหน สนับสนุนนักเขียนอย่างโครงการสถาบันหนังสือแห่งชาติ จะดีมาก ครับ
แนวคิดเสนอรัฐบาล สังคมหนังสือและสังคมการอ่านในประเทศไทย
http://www.all-magazine.com/ColumnDetail/allColumDetail/tabid/106/articleType/ArticleView/articleId/2630/–.aspx
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1359863939

25 ธ.ค.
ผมพักการโพสต์ เพราะคาดหวังกับงาน…(ความลับ) โดยมุ่งทุ่มเทสมาธิ จดจ่องด ใช้เฟซฯ ในการเดินทางวันที่ผมไปกรุงเทพฯถ่ายภาพไว้ หลายเรื่องชะตากรรมเจอผู้คนเครื่องบินลำเดียวกัน น่าเขียนเรื่องตลกๆหลายเรื่องยกตัวอย่างเรื่องเครื่องบิน ผม“เผลอพูดผิดกลัวเครื่องบินตก แต่จะพูดว่ากลัวตกเครื่องบิน “ พนง.เคาน์เตอร์ยิ้มๆตอบกลับมาด้วย นี่แหละหนึ่งเรื่องผมไม่อยากผิดตกเครื่องบินบ่อยๆ กรณีนี้ดีไม่ซีเรียสเท่าตอนผมเจอแอร์โฮสเตส ดูซีเรียสเวลาได้นั่งตรงประตูฉุกเฉิน ครับ

โดยต่อมา ผมแวะหอศิลป์กรุงเทพฯไปเดินดูงานศิลปะ และผมผิดพลาดกดลิฟท์ชั้นหนึ่ง ซึ่งผู้ชายในลิฟท์คนหนึ่งดุๆบอกขึ้นชั้นหนึ่ง ทำไมไม่เดินขึ้นเอง ผมบอกงงๆกดไป แค่นี้เดินออกจากลิฟท์มาเจอด่าว่า “เรียนแล้วโง่” ซึ่งต่อมาผมเซ็นชื่อร่วมสนับสนุนกิจกรรมรณรงค์ศิลปวัฒนธรรมในร่างรัฐธรรมนูญ และบังเอิญเจอรุ่นพี่คนขายหนังสือถึงศิลปิน ฯลฯ ด้วย

แน่ละ ผมเล่าย่อๆ รออนาคตจินตนาการถึงจุดเปลี่ยนของชีวิตผม โดยTurning Pointแต่ละคน น่าสนใจผมแวะไปเจอรุ่นน้องสองคน ที่ปีหน้าสองคู่รักจะไปอยู่อเมริกา
ส่วนตัวเสียดายหลายเรื่องกรณีมีจัดงานรำลึกครูเบน ที่เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ กลับมาโพสต์เฟซฯวันศุกร์ “คริสต์มาส” ปีนี้พระจันทร์เต็มดวง และความรู้สึกในดวงใจ ครับ

26 ธันวา
ผมบังเอิญเจอดารา-นักร้องเลยถ่ายรูปพี่โจ (พี่โจเคยแสดงเป็นหมอสงวน สามสิบบาทรักษาทุกโรค หรือพี่ก้องถ่ายไม่ทัน)วงนูโวไว้ด้วย ช่วงไปกรุงเทพฯ แหะๆผมอย่างกับ paparazzi หรือนักข่าวบันเทิงสายgossip ไปแล้วหูได้ยินแว่วๆบ่นเรื่อง…(ฯลฯ) อะไรก็ไม่รู้รายละเอียด เพราะผมเหนื่อยกำลังนั่งหลับอยู่เข้าหู(ฮร่า) ส่วนตัวก็มีเรื่องตลกๆอีก คือ คนเหมือนแขกอินเดีย เขาเข้ามาถามเรื่องOne-Day Passฯ(*)

ซึ่งผมยืนรอแลกเหรียญ แล้วคุยกับเขาว่าอยากได้ตั๋วในความหมายนี้ที่นี่ไม่ใช่ ก็งงๆ หน่อยๆ วันนั้นเพิ่งเดินทางไปถึงกทม.ฝึกภาษาอังกฤษ ก็เขาสองคนไปถามอีกคนก็ชี้ไปที่ขายตั๋ว ซึ่งผมก็กลับมาคุยๆกับคนที่อยู่กรุงเทพฯ ต่อ รวมทั้งได้ดูแผนที่รถไฟฟ้า มาเข้าใจชัดเจนอีกครั้ง คนบ้านนอกอย่างผมเข้ากรุงฯไปเมืองนอกไหวไหมเนี่ย?

เมื่อผมกำลังได้รับการแนะนำจากพ่อมีเพื่อนพ่อน่าสนใจเรื่องงานเกี่ยวกับศิลปะฯลฯ ที่อินเดีย ถ้าผมสมมติจินตนาการถึงอินเดีย ชิมชา-Assam tea เป็นวัฒนธรรมชาอินเดีย และ“National Drink”(หรือTeaเชื่อมโยงถึง Ramayana/รามเกียรติ์**) ณ ภูเขา ท่ามกลางหิมะ ฟังเพลง…

*ตอนที่2 ภาพประกอบจากการเดินทางในกรุงเทพฯ

**https://en.wikipedia.org/wiki/Indian_tea_culture


27 ธันวา
เมื่อวันที่ 26 พย.ผมไปค่ายเยาวชนเชียงดาวมีถ่ายภาพไว้จำนวนมากพอสมควร(เล่าย่อๆผ่านภาพ*) ซึ่งมีเรื่องเล่าและสตอรี่สนุกพร้อมสาระของค่ายวิทย์ คณิต บูรณาการอาเซียน ที่นศ.มาพบนร.เชียงดาวศึกษาสงเคราะห์มาร่วมกิจกรรมโดยครูดูแล มีทั้งกิจกรรมปล่อยจรวดน้ำ และผมได้สัมผัสธรรมชาติ…ดูดาว ทำให้นึกถึงข่าวเรื่อง ‘ดาวชาละวัน’ และ ‘ดาวบริวาร’ ให้เด็กไทยได้เรียนกัน ราตรีสวัสดิ์ ครับ

*ผมได้อ่านหนังสือในห้องสมุดที่นี่ มีอ่านหนังสือบางเล่มของนักเขียนการ์ตูนนามว่าวัลลภ แม่นยำ ซึ่งผมเคยได้มรดกหนังสือของเขามาบางเล่ม เช่น หนังสือแดรริดา ฯลฯ

28ธันวา
วันที่26 ธันวา สนุกสนานตามสไตล์ในกลุ่มต่อเนื่องมาจากวันที่แล้ว ซึ่งผมเล่นกีตาร์เล่นๆ ดนตรี มีดื่มพูดคุยถึง symposium (*ฯลฯ)ในกรณีเครื่องดื่มไวน์ประกอบรสชาติคุย “โซเครติสถึงเพลโต”สนทนาปราศรัยกัน(**)ต่อมาผมรู้สึกถึงอารมณ์ความรู้สึก “งานเลี้ยง”ส่งผลต่อสุขภาพ อาการความทรงจำส่วนที่หายไปถึงวันนี้ด้วยซ้ำ(ฮร่า***)

ผมนึกถึงบทสนทนากับแฟนรุ่นพี่ ที่เราเคยไปอบรมงานแปลหนังสือด้วยกัน ไม่เจอกันเกือบสิบปี มีงานแปลให้แต่ต้องแปลฟรีมาคิดดูใหม่บอกรุ่นพี่ไปแปลฟรีก่อนก็ได้ ฝึกหัดขอเล่มบางๆ จะได้มีอนาคตจากเล่มนี้ นี่แหละฟื้นอาการมาบันทึกทบทวนความทรงจำในแต่ละวัน(****) ครับ

*symposium และเรื่องเล่าในเรื่องเหล้า(ความรักกับความเมาคู่ขนานกัน ถ้าไทยๆเป็นสุนทรภู่…ไม่เมาเหล้าแล้วแต่เรายังเมารัก สุดจะหักห้ามจิตคิดไฉน ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป ฯลฯ)
http://www.hiclasssociety.com/hiclass/detailcontent1.php?sub_id=2975

**ภาพเนื้อหาหนังสือประวัติศาสตร์เครื่องดื่มไม่ใช่ท่องจำน่าเบื่อทั้งกาแฟ ชา ไวน์ และเครื่องดื่มโค้ก(ฯลฯ) ปวศ.เล่าย่อเท่าที่จำได้โค้กจากภาพแทนสินค้าทุนนิยมเครื่องดื่ม ต้องห้ามในโซเวียตด้วย ครับ
ประวัติศาสตร์โลกใน 6 แก้ว (A HISTORY OF THE WORLD IN 6 GLASSES)
http://www.matichonbook.com/index.php/6-a-history-of-the-world-in-6-glasses.html

***ภาพประกอบนิ้วมือดีดกีตาร์ของผม วันต่อมาสายกีตาร์ขาด คาดไม่ถึงลิมิตร่างกาย-อาการ…(ฮร่า)

****ผมคิดลังเลเดินทางไปไหนช่วงใกล้ปีใหม่ขนาดสนามบินคนยังพูดว่าคนเยอะเหมือนหมอชิต และคนชวนเรื่องงานเลี้ยงไม่มีวันเลิกรา(ฮร่า) ครับ

29 ธันวา
รุ่นน้องไม่ได้เจอกันหนึ่งปี แวะมาชม.นัดเจอกัน ผมโทรคุยบอกเดี๋ยวไปกินน้ำขิงกัน และต่อมาผมไปรับรุ่นน้องบอกว่าผมนึกว่าพี่พูดมุขแทนคำว่าเหล้า(ฮร่าๆ*) และแล้วผมบอกว่าน้ำขิง จริงๆ ต่อมาไปร้านน้ำเต้าหู้ ดันไม่มีน้ำขิง ก็พูดบอกว่าผมชอบดื่มน้ำเต้าหู้ น่ะ แต่ได้ข่าวว่าเต้าหู้ก็เกี่ยวกับGMOs เลยนั่งดื่มน้ำเต้าหู้และชา คุยเรื่องหลากหลาย รวมทั้งหนังสือ ถึงThesisประวัติศาสตร์ ในฐานะที่รุ่นน้องกำลังเรียนป.เอก ด้านประวัติศาสตร์(รุ่นพวกเขาในวิชาART CUL ENVI SEA ได้แปลงานแผนที่สยามฯของอ.ธงชัย ฉบับก่อนจะแปลเป็นไทย**) แต่ผมคุยว่าถ้าเรียนไปตั้งแต่สิบปีที่แล้วจบไปแล้ว เพียงแต่ไม่มีทุน ครับ

*ภาพผมบุคคลธรรมดา(Natural Person)ภาพประกอบหนังสือกับขวดเครื่องดื่มต้องเซ็นเซอร์(ฮร่าๆ) The laws sometimes sleep,never die.(สุภาษิตกฏหมาย)
**ภาพบทสัมภาษณ์อ.ธงชัย ตอนเรียนป.เอก บ่นเรื่องวิทยานิพนธ์ ฯลฯ(ปาจารยสารปีที่12 ฉ.1 ธ.ค.-ก.พ.2527-8) กับกรณีปัญญาชน’ivory tower'(ดูเพิ่มเติม)

30 ธันวา
ผมวางแผนพรุ่งนี้จะไปสวดมนต์ข้ามปีที่วัด ทบทวนชีวิต ลดอัตตา ปล่อยวาง ถึงหาทางไปหลายทางในการดำเนินชีวิต ปีที่ผ่านมาทำหนังสั้น ฯลฯผมไม่ได้อีโก้เขียนร่วมแลกเปลี่ยนกับกลุ่มกัน(อันนี้ดัดแปลงมาด้วย)ถึงอ.เบน หรือครูเบน รู้สึกดูเป็นกันเองเฟรนด์ลี่ๆในแง่คุยกัน ไม่วางมาดยักษ์ใหญ่สำหรับผม ครับ

ผมเริ่มรำลึกอ.เบน เชิงส่วนตัวเหมือนรุ่นพี่ หน่อยๆ คือ ผมเริ่มต้นจากสมัยเรียนป.โท ก็เรียนทฤษฎีกับพวกพัฒนาสังคมฯ และรุ่นน้องสาขาภูมิภาคศึกษา สาขาเดียวกับผมไปเรียนวิชาทฤษฎีกับอ.เกษียร เตชะฯ มาสอนที่มช.แบบระยะสั้นๆ ในความทรงจำ ทำให้มาสนใจอ่านครูเบน และอ.ธงชัย ในการอ่านครูเบน ภาษาอังกฤษเข้าใจยากมากๆ ต้องหาวิธีอ่านตามความคิดจากเล่มอื่นๆ เช่น Language and Power: Exploring Political Cultures in Indonesia หรืออ่านงานของอีริค ฮอบบอร์มที่ในหนังสืออ้างเป็นบรรณานุกรม(หลายปีต่อมาได้ฟังคลิปคุยถึงหนังสือของอีริคฯ โดยมีอ.ไชยันต์ รัชฯ และผู้ฟังร่วมสนทนา ฯลฯ)

ซึ่งจริงๆแล้วข้อจำกัดก็ตามไม่ได้ทั้งหมด มาพัฒนาไอเดียส่วนหนึ่งเป็นThesisของผม และผมเขียนในเฟซฯ(*) รวมทั้งโน้ต(**)ปีนี้ด้วย

ผมมีเวลาสมาธิได้ดูคลิปแล้วฟังเกษียร เตชะฯ บางสิ่งที่พูดเคยเขียนเรื่องพวกนี้ในมติชน-มติชนสุดสัปดาห์ (สอนหนังสือชุมชนจินตกรรมของครูเบ็น (1-3)”โดย เกษียร เตชะพีระ) แล้วนิธิ มีเฟซฯอ้างชุมชนจินตกรรมฯ เขียนในมติชนสุดฯรู้ภาษาเยอะในฐานะนักวิชาการ ก็โอเค โดยรวมอ.ธเนศ อ.ผาสุก อ.ชูศักดิ์ ก็ดี โดยเน้นทั้งภาพรวมผลงาน ชีวิตและหนังสือชุมชนจินตกรรมฯ(ผมเท่าที่จำได้หนังสือเล่มนี้มีคนเขียนถึงภาษาไทยหลายคน ทั้งอ.ธงชัยในวารสารอ่านฯ หรือกรณีตอนเปิดตัวหนังสือฉบับภาษาไทย ที่มีพูดถึงกันด้วย***)

ผมยกตัวอย่างหนังสือชุมชนจินตฯ บทที่11 ความทรงจำกับการลืม(Memory and Forgetting) ในหัวข้อพื้นที่เก่าและใหม่(Space New and Old) กล่าวถึงเชียงใหม่(นครใหม่) ฯลฯ แต่ในชื่อเหล่านี้ “ใหม่” มีความหมายไปในการเป็นทายาท หรือ ผู้สืบทอด ของสิ่งที่ได้สูญหายไป “ใหม่” และ “เก่า” จึงอยู่ในระนาบแนวดิ่งเดียวกันอย่างมีพัฒนาการและความต่อเนื่องในทางประวัติศาสตร์…พื้นที่ใหม่และเก่าเป็นสำนึกคู่ขนานหรือแบบเกิดขึ้นพร้อมๆกันนี้(parallelism or simultaneity)

ส่วนเรื่องเวลาใหม่และเก่า(Time New and Old) กล่าวถึงเรื่องปฏิทินแบบใหม่ และนาฬิกา-นสพ.-นวนิยายโยงกับสุญกาลสหมิติ(homogeneous empty time)เป็นการขยายความบทรากฐานทางวัฒนธรรม แต่ถ้าพูดถึงจุดนี้ก็ยาวเหมือนกัน เพราะความแตกต่างต่อประเด็นเกี่ยวกับวอลเตอร์ เบนจามิน ที่เคยคุยกับอ.เบน และผมเพิ่งค้นเจอคนเขียนถึงอ.เบน Walter Benjamin: Messianism and Revolution – Theses on History และคนเขียนโต้เชิงทฤษฎี Homogeneous, Empty เรื่องนี้ (ดูเพิ่มเติมที่ลิ๊งค์****) ครับ

ต่อมาผมมีเวลา สมาธิได้ฟังคลิปของบุ๊ครีฯ(*****) จัดแล้วมีข้อสังเกตเน้นตรงอ.อานัทน์ กาญฯ ได้พูดถึงงานเขียนอ.เบน จากpaper(สั้นๆ) ขยายเป็นหนังสือชุมชนจินตกรรมฯ(ความสัมพันธ์ส่วนตัวของอ.อานันท์กับครูเบน ทำให้รู้ว่าอ่านเจมส์ ซี สก็อต) ถือว่าเป็นวิธีการอธิบายต่างจากการอ่านจากตัวบทหนังสือชุมชนฯ เพราะหนังสือชุมชนจินตฯไม่มีอ้างอิง เจมส์ฯ(กรณีบริบทเชื่อมโยงชาวนา นี่ยิ่งกว่าการอ่านระหว่างบรรทัด) เลย ครับ

โดยน่าสนใจในแง่การตีความตัวผู้เขียน นอกเหนือจากตัวบทหนังสือ ส่วนเรื่องถูกหรือผิด(อาจจะข้ามพ้นกับดักคู่ตรงข้ามสำหรับรำลึกอ.เบนให้ลึกด้วย) อาจจะเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งหนังสือชุมชนจินตกรรมฯ(อ.อานันท์ พูดถึงทฤษฎีมาร์กซิสม์อังกฤษ ฯลฯ) มีอ้างอิงแอนโทนี่ รี้ด นักปวศ.เรื่องอินโดฯ ทีนี้อ.นิธิ ใช้วิธีการเปรียบเทียบน่าสนใจเจาะลึกอย่างหนังสือเล่มของแอนโทนี่ รีด(ผมเคยอ่านมีรูปวาดภาพแผนที่โบราณแบบอ.ธงชัย แต่อธิบายแง่การค้า) เห็นภาพการค้าของภูมิภาคนี้

ซึ่งจะสิบปีแล้วตอนผมไปนำเสนองานที่สิงคโปร์ ณ NUSเคยเจอแอนโทนี่ รีดได้รับใบcerฯลายเซ็นต์(******ฯลฯ)

โดย ผมส่วนตัวเล่าประสบการณ์โลกวิชาการมหา’ลัยNUS ในแง่กลับกันหนังสือชุมชนจินตฯถ้าผมจำไม่ผิดอ.เบนไม่อธิบายทำไมไม่มีแปลเดาว่าสิงคโปร์ คือ พลเมืองใช้สองภาษาหลักอังกฤษ จีน(ฯลฯ) ก็อ่านอังกฤษแทนอย่างที่ผมเห็นนศ.อ่านText อ่านในบทที่12.กิจการเดินสาร-ข้ามผ่านภาษา: ว่าด้วยภูมิ-ชีวประวัติของ ‘ชุมชนจินตกรรม’ (Travel and Traffic: On the Geo-biography of Imagined Communities)เป็นการอธิบายประเด็นใจกลางของหนังสือถึงแนวคิด และสำนักพิมพ์ถึงมหา’ลัยใช้หนังสือเล่มนี้ นัยยะเปรียบเทียบมหา’ลัยไทย(มหา’ลัยไม่ใช่ค่ายทหาร) กำลังเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนร่วมสร้างประชาธิปไตยด้วย

สรุปสั้นๆ ปัญญาชนกับงานเขียนวิชาการ ข้อมูล ทฤษฎี ในเรื่องส่วนตัวของความสัมพันธ์ต่ออ.เบน และผมคิดว่าสูตรการอธิบายเรื่องทุนนิยมการพิมพ์ถึงผู้ประกอบการพิมพ์ ก็สำคัญ รวมทั้งปัจจัยต่างๆ ซึ่งหนังสือชุมชนจินตฯอธิบายเยอะ แต่ผมสนใจอ่านเรื่องชุมชนจินตฯ ในฐานะความเคลื่อนไหวทางสังคม คอมมิวนิสต์มิเนสเฟสโต(ขบวนการในอินโดฯ ฟิลิปปินส์ฯลฯ)-walter benjaminกับเทวดาแห่งประวัติศาสตร์โยงหนังWeekends นี่เป็นอะไรที่เชื่อมโยงสะท้อนกลับไปจุดที่อาการเชื้อโรคของชาตินิยม(อธิบายยาวดูหนังสือได้)อย่างมีความหวังในความก้าวหน้าของมนุษย์ อันนี้เป็นผลงานวิชาการคุณค่าน่าอ่านนาน ครับ

*รวบรวมลิ๊งค์ลองย้อนดูทางเฟซฯเท่าที่ผมจำได้ผมเขียนทางตรงถึงอ.เบน+ชุมชนจินตกรรมฯ และแนวคิดทางอ้อม ในปี2015 ครับ

**note
https://www.facebook.com/notes/%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9E%E0%B8%A5-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1/%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%99/981291361913949

***อ.ธงชัย เขียนถึงชุมชนจินตฯ ฉบับPDF จากวารสารอ่านปี52มาวารสารศิลปะศาสตร์ฯ(อธิบายชุมชนจินตกรรมฯ กับบริบทแนวคิดหนังสือเกี่ยวกับชาติ ที่เป็นทฤษฎีทั้งอีริค ฮอบบอร์ม ฯลฯ และสไตล์การเขียนIC อ่านไม่ง่ายไม่กระจ่างความ)
http://www.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/12594/11314
อ.ธงชัย เคยกล่าวถึงงานThesisของตน ได้อิทธิพลThesisของอ.ไชยันต์ รัชฯ(ข้อมูลจากนิตยสารศิลปวฒ.) และอ.ไชยันต์ในThesisอ้างอ.เบน อธิบายถึงในแง่ภูมิภาค เช่น ภาคเหนือ ไม่ได้ถูกกระจายอำนาจ เมื่อกำเนิดเป็นชาติ(ดูหนังสือได้)

**** Walter Benjamin: Messianism and Revolution – Theses on History(ผู้เขียนโดยAndrew Robinson is a political theorist and activist based in the UK.)
https://ceasefiremagazine.co.uk/walter-benjamin-messianism-revolution-theses-history/

Time and the Global: Against the Homogeneous, Empty Communities in Contemporary Social Theory(ผู้เขียนโดยJohn Kelly)
http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/1467-7660.00101/abstract

*****อ้างอิงอื่นๆ
คุณูปการวิชาการของ”เบน แอนเดอร์สัน” : เปิดวงเสวนากับ “นิธิ-อานันท์-มาลินี”
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1450665398
หนังสือโหลดฟรีE-book : ชุมชนจินตกรรม: บทสะท้อนว่าด้วยกำเนิดและการแพร่ขยายของชาตินิยม (Imagined Communities (IC) : Reflection on the Origin and Spread of nationalism) โดย เบน แอนเดอร์สัน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (บรรณาธิการแปล) อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล (แบบปก)
http://www.openbase.in.th/files/tbpj042.pdf
สารบัญ : 1.บทนำ (Introduction) 2.รากฐานทางวัฒนธรรม (Cultural Roots) 3.กำเนิดของสำนึกแห่งความเป็นชาติ (The Origins of national Consciousness) 4.ผู้บุกเบิกคลีโอล (Creole Pioneers) 5.ภาษาเก่า แม่แบบใหม่ (Old Languages, New Models) 6.ลัทธิชาตินิยมทางการ และลัทธิจักรวรรดินิยม (Official Nationalism and Imperialism) 7.คลื่นลูกสุดท้าย (The Last Wave) 8.ความรักชาติ และการเหยียดเชื่อชาติ (Patriotism and Racism) 9.เทวดาแห่งประวัติศาสตร์ (The Angel of History) 10.สำมะโนประชากร แผนที่ พิพิธภัณฑ์ (Census, Map, Museum) 11.ความทรงจำกับการลืม (Memory and Forgetting) 12.กิจการเดินสาร-ข้ามผ่านภาษา: ว่าด้วยภูมิ-ชีวประวัติของ ‘ชุมชนจินตกรรม’ (Travel and Traffic: On the Geo-biography of Imagined Communities)

******แอนโทนี่ รีด:เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคการค้า ค.ศ. 1450-1680 (เล่ม 2 การขยายตัวและวิกฤติการณ์ฉบับแปล) http://trf2.trf.or.th/website_7_001/detail.asp?pid=431&catid=3&page=2
The Indonesian National Revolution, 1945 1950.(หนังสือเล่มที่อ.เบน อ้างในชุมชนจินตกรรมฯ)
Researcher’s projects(โครงการวิจัยของรีด)
History, Environment and Natural Disasters in the Indian Ocean Region
https://researchers.anu.edu.au/researchers/reid-ajs
Population history in a dangerous environment: How important may natural disasters have been?
https://researchers.anu.edu.au/publications/101629
ตอนที่ผมไปเจอแอนโทนี รี้ด คนที่สำคัญอีกคน ในฐานะคนสิงค์โปร:Wang Gungwu เป็นนักปวศ.ที่อ.ชาญวิทย์ ชอบงานผมซื้อหนังสือมาหนึ่งเล่มพร้อมขอลายเซ็นต์ คือ
Nation-building: Five Southeast Asian Histories. (Editor). Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, 2005.
https://en.wikipedia.org/wiki/Wang_Gungwu

(หมายเหตุเพิ่มเติม:บทที่11 ความทรงจำกับการลืม(Memory and Forgetting) ในหัวข้อพื้นที่เก่าและใหม่(Space New and Old) กล่าวถึงเชียงใหม่(นครใหม่) ฯลฯ แต่ในชื่อเหล่านี้ “ใหม่” มีความหมายไปในการเป็นทายาท หรือ ผู้สืบทอด ของสิ่งที่ได้สูญหายไป “ใหม่” และ “เก่า” จึงอยู่ในระนาบแนวดิ่งเดียวกันอย่างมีพัฒนาการและความต่อเนื่องในทางประวัติศาสตร์…พื้นที่ใหม่และเก่าเป็นสำนึกคู่ขนานหรือแบบเกิดขึ้นพร้อมๆกันนี้(parallelism or simultaneity) ส่วนเรื่องเวลาใหม่และเก่า(Time New and Old) กล่าวถึงเรื่องปฏิทินแบบใหม่ และนาฬิกา-นสพ.-นวนิยายโยงกับสุญกาลสหมิติ(homogeneous empty time)เป็นการขยายความบทรากฐานทางวัฒนธรรม แต่ถ้าพูดถึงจุดนี้ก็ยาวเหมือนกัน เพราะความแตกต่างต่อประเด็นเกี่ยวกับวอลเตอร์ เบนจามิน ที่เคยคุยกับอ.เบน และผมเพิ่งค้นเจอคนเขียนถึงอ.เบน และคนเขียนโต้เชิงทฤษฎี Homogeneous, Empty เรื่องนี้ (ดูเพิ่มเติมที่ลิ๊งค์) ครับ
Walter Benjamin: Messianism and Revolution – Theses on History(ผู้เขียนโดยAndrew Robinson is a political theorist and activist based in the UK.)
https://ceasefiremagazine.co.uk/walter-benjamin-messianism-revolution-theses-history/
Time and the Global: Against the Homogeneous, Empty Communities in Contemporary Social Theory(ผู้เขียนโดยJohn Kellyดูรายละเอียดได้ผมดูแค่บทคัดย่อไม่มีตังค์ดาวน์โหลดฮร่าๆ หาฟรีได้บอกผมด้วย ครับ)
http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/1467-7660.00101/abstract )

31 ธันวา
ผมถ่ายภาพตอนที่เข้าไปแวะร่วมสวดมนต์ข้ามปี หมดเคราะห์ หมดโศก ไม่มีโรคภัย เจ้ากรรมนายเวร และเรื่องร้ายหายไป สาธุ
สวัสดีปีใหม่ทุกคน โชคดีมีชัย ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น