วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกภาวะวิสัยหลังรัฐประหาร กับโชคชะตาของประเทศ ผ่านอัตวิสัยบอย

บันทึกภาวะวิสัยหลังรัฐประหาร กับโชคชะตาของประเทศ ผ่านอัตวิสัยบอย
20 กันยายน
ประเทศไทย เป็นรัฐสยามขึ้นมาจากการรวมอาณาจักรเหนือ อาณาจักรใต้ จากการรับอิทธิพลของอังกฤษ ในความเป็นรัฐสมัยใหม่ ตั้งแต่สมัยร.5 ซึ่งความน่าสนใจของประเด็นรัฐชาติ ในหนังสือชุมชนจินตกรรม: บทสะท้อนว่าด้วยกำเนิดและการแพร่ขยายของชาตินิยม  อ้างอิงถึงThe  break up of Britain (Tom Nairn เป็นคนสก็อต) โดยต่อมาผมมาคิดถึงเรื่องปัญหาการแยกประเทศในยุคโลภาภิวัตน์ เป็นเรื่องให้คนสนใจได้มาก ลงประชามติได้ผลสรุปออกมาแล้ว
กระนั้น นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร เดวิด คาเมรอน กล่าวสุนทรพจน์ว่าเขาจะรู้สึก "อกหักอย่างยิ่ง" ถ้าสกอตแลนด์ลงประชามติเพื่อแยกตัวจากสหราชอาณาจักร "การตัดสินใจนี้อาจจะเป็นการสิ้นสุดของครอบครัวที่เป็นชาติของเรา และตัดสกอตแลนด์ออกจากสหราชอาณาจักร แน่นอนว่า นี่ยังไม่รวมเรื่องความเป็นมาของอังกฤษ นับแต่ชนเผ่ามาถึงรากคำว่าEngland (engel/angel)
อย่างไรก็ตาม อังกฤษ สามารถทำให้ชาติมั่นคง ทั้งเรื่องรัฐธรรมนูญของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเปรียบเทียบไทย ในแง่ปัญหาภาคใต้ แล้วเผด็จการทหารในยุคโลกาภิวัตน์แบบเผด็จการทหาร เป็นนายกฯพูดก็ไม่ดี แล้วจะทำอะไร? เช่น กรณีพูดกระทบนักท่องเที่ยวอังกฤษ จนกระทั่งต้องพูดว่าผมเสียใจเป็นที่สุดกับครอบครัวชาวต่างชาติที่เสียชีวิต ทุกคนที่เสียชีวิต ผมเสียใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคนไทย คนต่างชาติ อะไรที่พูดแรงไป ต้องขอโทษด้วย

ข่าวผบทบอำลาตำแหน่ง ทำให้ผมนึกถึงก่อนปี2549การพยายามเปลี่ยนโครงสร้างกองทัพเพื่อทันสมัย และดับไฟใต้ กรณีการตั้งสนธิ บุญยรัตกลิน เป็นผบ.ทบ.เพื่อแก้ไขปัญหาภาคใต้ต่อจากประวิตร วงษ์สุวรรณ(ปัจจุบันเป็นรมต.กลาโหม และรองนายกฯ) http://thaienews.blogspot.com/2011/01/blog-post_23.html
คำถามถึงผบทบ คนใหม่ ผู้รับมรดกต่อจากประยุทธ์ จะทำอย่างไรต่อ? เมื่อท่านบิ๊กตู่มาเป็นนายกฯแล้วด้วย


25-26 กันยายน
สำรวจข้อมูลสายบูรพายัคฆ์ -บิ๊กตู่ ประยุทธ์ ที่มีเครือข่ายสายสัมพันธ์ ประวิตร กับ อนุพงษ์ ถึงผบทบ คนใหม่  ซึ่งผมเล่าเรื่องชีวิตส่วนตัว พล.อ.ประวิตร ครองตนเป็นโสดมิได้เคยผ่านการสมรสมาก่อนจาก "ผบ.ทบ.โสดสนิท" คนที่สองรองจากป๋าเปรม สู่ "รมว.กลาโหมที่ไม่มีภริยา" คนที่สอง ในประวัติศาสตร์
จากชีวิตส่วนตัวของประวิตร อันน่าสนใจมาถึงอนุพงษ์ เผ่าจินดา วุฒิการศึกษา พ.ศ. 2556 ปริญญาโทมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ วิชาคอมมิวนิสต์ จาก มหาวิทยาลัยแห่งชาติรัสเซีย เป็นเรื่องแปลกใจให้คิดเขาไปเกี่ยวกับวิชาคอมมิวนิสต์ ได้อย่างไร? จากข้อมูลวิกิพีเดียไทย ครับ
"บูรพาพยัคฆ์" ในทางการเมืองหมายถึง เครือข่ายนายทหารที่มีเส้นทางเติบโตมาจากกองพลนี้ มีชื่อเรียกขานว่า "นักรบบูรพา" หรือ "บูรพาพยัคฆ์"
 เมื่อข้อน่าสังเกตเกร็ดเล็กน้อยของสามทหารพยัคฆ์(เสือ)นายทหารที่มีเส้นทางเติบโตจาก "บูรพาพยัคฆ์" ได้แก่ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีตผู้บัญชาการทหารบก, พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก

อย่างไรก็ตาม ผบทบคนใหม่ คือพล.อ.อุดมเดช ถือเป็นตัวแทนจาก ค่าย "บูรพาพยัคฆ์"ที่เคยร่วมรบ และรับราชการใกล้ชิดกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีตผบ.ทบ. พี่ใหญ่ของบูรพาพยัคฆ์ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีตผบ.ทบ. และพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. มา และเป็นนายทหารคนหนึ่งที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เอ็นดู รักใคร่ และมีความใกล้ชิด
http://www.thairath.co.th/content/418930
จับกระแสร้อน "บิ๊กโด่ง Vs บิ๊กต๊อก" ศึกชิงเก้าอี้ ทบ.1 จากพาดหัวข่าวในอดีตสะท้อนว่า
พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร  ผบทบคนใหม่ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และพล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม  ที่เคยถือเป็นคู่ชิงเก้าอี้ผบ.ทบ.อยู่คนละค่าย "บูรพาพยัคฆ์" กับ "วงศ์เทวัญ" ปรองดองกันอยู่ในรัฐบาลเดียวกันได้ ครับ

1 ตุลาคม
วันที่ 1 ตุลาฯ เป็นวันชาติจีน และตอนนี้ มีข่าวนศ.ฮ่องกงเคลื่อนไหวในฮ่องกง ซับซ้อนของปัญหาหนึ่งประเทศสองระบบของจีนต่อฮ่องกง ซึ่งชุมชนจินตกรรมเกี่ยวกับชาติฯ จากจักรวรรดินิยมอังกฤษ มาเปลี่ยนถึงยุคจีน หนังของผู้กำกับหว่องกาไว มักจะครุ่นคิดกับเรื่องพวกนี้ โดยปรากฏในหนังของเขา รวมทั้งผลงานนักวิจารณ์ ทำการวิเคราะห์หนังเขาหนัง Chungking Express ฯลฯ รวมถึงฉากการประท้วงในอดีตของฮ่องกง ครับ
อย่างไรก็ดี กรณีการเมืองของการเลือกตั้งในฮ่องกง อาจจะส่งผลกับคนไทย หันมาสนใจเรียนรู้หนังจีน หนังฮ่องกง มากขึ้นมั่งไหม? หลังจากข่าวว่ากระแสตกลงเยอะ เช่น หนังโคตรเซียนมาเก๊า เขย่าเวกัส From Vegas to Macauไม่ค่อยมีใครดู มีเรื่องวัฒนธรรมว่ามาเก๊าเคยเป็นเมืองขึ้นโปรตุเกส ยอมรับได้จากตัวละครตามจริง ในปัจจุบันเป็นเขตปกครองพิเศษของจีน และหนังเล่าเรื่องปรัชญาไพ่นกกระจอก ด้วยครับ
จากความทรงจำปี53 ประสบการณ์ส่วนตัวที่ผมเคยไปฮ่องกงกับมาเก๊า ตอนที่ผมไปหางาน และลองหาที่เรียนป.เอก ไปเที่ยวเข้ามหาลัยฮ่องกง เล่าเรื่องคลายเครียดการเมืองของนศ.หน่อยว่า ผมเคยนั่งหน้าหอสมุดมหาลัย เดาว่านศ.หญิงชายสองคน ละมั้ง นั่งจูบปากกันใกล้ๆกับผม อึ้ง ไป เพราะความต่างวัฒนธรรม ในเมืองไทยยังไม่เคยเจอแบบนี้ โดยสรุป ข้อสังเกตปรากฏการณ์เคลื่อนไหวของนศ. กระแสวัฒนธรรมดิจิตอล เป็นลักษณะปัจจัยส่วนหนึ่งผลกระทบการเมืองวิกฤติ เป็นโอกาสจุดเปลี่ยนผ่านจากปัจเจกมาสู่ชุมชนกับประชาสังคม ได้ ครับ^^
**ข่าว’Umbrella Revolution’ และข้อมูลหนังเกี่ยวกับฮ่องกงของหว่องกาไว ครับ
‘Umbrella Revolution’ Protests Spread In Hong Kong
http://www.huffingtonpost.com/2014/09/29/hong-kong_n_5899116.html
Hong Kong vs. Tiananmen: Social media fuel ‘umbrella revolution’
http://www.usatoday.com/story/news/world/2014/09/29/hong-kong-protests-social-media/16444213/

คนศึกษาหนังของหว่องกาไว เป็นวิทยานิพนธ์ และนี่ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง ในอื่นๆ คือ
Abbas, M. A. Hong Kong: Culture and the Politics of Disappearance. (ฮ่องกง : วัฒนธรรม และการเมืองสูญหาย)
http://en.wikipedia.org/wiki/Wong_Kar-wai
*การประท้วงที่ฮ่องกง ข้อแรกสะท้อนประเด็นเรื่องหนึ่งประเทศสองระบบของชาติจีนกับฮ่องกง ประชาธิปไตย เสรีภาพของการปกครองตนเองเป็นเรื่องหลัก ส่วนเรื่องใช้สัญลักษณ์ร่ม มือถือ แต่ผมสังเกตคนคอมเม้นท์ในข่าว มีคอมเม้นท์โยงไปไกลหลายกรณี ถึงการใช้สัญลักษณ์มือถือของฝ่ายประท้วง ต้องต่อต้านมือถือกดขี่คนงานด้วย แต่ผมชอบที่คนคอมเม้นท์แบบสรุปง่ายๆว่าพวกเขาต้องการเสรีภาพอย่างง่าย ที่ฮ่องกงเคยได้รับการสัญญาจากจีน

2 ตุลาคม
ประวัติศาสตร์ให้ความหวัง กับเราเสมอ ซึ่งผมใช้แนวคิด ที่ปรากฏเรื่องHistory and Hope คือ ประวัติศาสตร์ และความหวัง เกี่ยวพันความจำเป็นทางประวัติศาสตร์ โดยสรุปย่อๆ ในเรื่องโชคชะตาของประวัติศาสตร์ และคนเราต้องมีจินตนาการ เพราะผมนำแนวคิดของLeszek kolakowski นักปรัชญาชาวโปแลนด์ ผู้เขียนงานanti-totalitarian(ต่อต้านเผด็จการ) และเขาตายที่Englandกล่าวถึงไว้ ผมอยากนำมาปรับใช้เล่าแง่มุมของอนาคต โดยเปรียบเทียบไทยกับพม่า ในความก้าวหน้าทางประวัติศาสตร์ เกิดขึ้นในอนาคตแล้วอะไรๆ ก็ดีขึ้น
นั่นเป็นเรื่องของความเห็นของผม คนไทยไม่ยอมรับเผด็จการทหารเหมือนพม่า จนกระทั่งเราเห็นว่าไทใหญ่พลัดถิ่นหนีทหารพม่าในไทย ครับ
นั่นแหละ ไม่ย้อนกลับไปใช้โครงสร้างอำนาจการเมืองเผด็จการทหาร เหมือนรัฐพม่าในอดีต ครับ
6-7 ตุลา ทัศนะประวัติศาสตร์การเมืองเกี่ยวกับทหาร ในปัจจุบันอาจจะดีกว่าประวัติศาสตร์ยุคทหารก่อนยุค6ตุลาอย่างยุคสฤษดิ์ ที่มีปัญญาชนติดคุกอย่างจิตร ภูมิศักดิ์ ติดคุกลาดยาว หรือครูครอง จันทวงศ์ ที่ติดคุกเรือนจำบางขวาง เป็นที่เดียวกับศรีบูรพา (กุหลาบ สายประดิษฐ์) และต่อมาครอง จันทวงศ์ ถูกสั่งโทษประหารชีวิตในยุคสฤษดิ์(ศุภชัย ศรีสติ ผู้นำแรงงานในระบบและนอกระบบ ถูกสั่งประหาร และผู้นำคนอื่นๆ)ต่อมาครอบครัวของครูครอง ยังถูกคุกคาม เป็นต้น
หรือบางด้านของระบอบสฤษดิ์ : ปัญหาป๋วย ,การประหารชีวิตครอง และสฤษดิ์….วิเคราะห์ลักษณะพิเศษของภาคอีสานที่เป็นสาเหตุขบวนการ…“แยกดินแดน” … https://www.facebook.com/notes/1439676266312880/
โดยผลมรดกชาตินิยมบางด้านของสฤษดิ์ ต่อมายุคถนอม และเกิดเหตุ14 ตุลา 16 ถึง6 ตุลา 19 ดูเพิ่มเติมทัศนะประวัติศาสตร์หลายหลายมุมมองต่อปัญหาการเกิดขบวนการผู้คน เช่น บ้านเมืองของเราลงแดงฯ ครับ
บ้านเมืองของเราลงแดง : แง่มุมทางสังคมและวัฒนธรรมของรัฐประหาร 6 ตุลาคม

http://www.2519.net/autopage/show_page.php?t=10&s_id=15&d_id=8

กระนั้น ผมเห็นข้อมูลอันน่าสนใจเกี่ยวกับนายกฯ ที่เป็นทหาร หลังยุคจอมพลสฤษดิ์-จอมพลถนอม เป็นต้นมา นายกฯทหารไม่สามารถอยู่ในตำแหน่งได้ยาวนาน
(ที่มา:เดิมพันการเมือง พล.อ.ประยุทธ์ อาถรรพ์+อำนาจต้องห้ามบนเก้าอี้นายกฯนายพลคนที่12?)
สรุป แล้วนายกฯ นายพลยุคประยุทธ์อยู่ไม่นาน สำหรับผมในแง่ประวัติศาสตร์แห่งความหวัง มองแง่ดีนายกฯนายพลไม่น่าจะอยู่ในตำแหน่งนาน และอำนาจไม่มากเหมือนอดีต ยกเว้นแต่การเมืองมวลชนชนชั้นกระฎุมพีพันธมิตรฯ ชนชั้นแรงงาน ร่วมกับกปปส. จะอย่างไรต่อไป ครับ
***ภาพประกอบจากหนังสือคำให้การของดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ กรณีเหตุการณ์ 6 ตุลา พร้อมที่มาแฟ้มภาพประติมากรรม ๖ ตุลา ๒๕๑๙ ซึ่งสมศักดิ์ โกศัยสุข ร่วมเปิดหลังพฤษภา35 ไล่ทหาร กับหน้าปกหนังสือปี2557ของสมศักดิ์ ผู้นำแรงงานอดีตแกนนำพันธมิตรฯ ใน7ตุลา 2551 สู่กปปส.
(ข่าว:พันธมิตรฯ ทำบุญอุทิศ วีรชน 7 ตุลาฯ”)

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9570000115094

10 ตุลา
วันที่10 ตุลา ผมนึกถึงหนัง1911” (ชื่อไทย ใหญ่ผ่าใหญ่”)การปฏิวัติซินไฮ่ ทั้งสาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวันและสาธารณรัฐประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่มองว่าตนเป็นผู้สืบทอดการปฏิวัติซินไฮ่และยังคงเคารพอุดมการณ์ของการปฏิวัติ รวมทั้งชาตินิยม+สาธารณรัฐนิยม การทำให้จีนทันสมัยและความสามัคคีแห่งชาติ วันที่ 10 ตุลาคมในไต้หวันเป็นวันดับเบิลเท็น (Double Ten Day) วันชาติของสาธารณรัฐจีน ในจีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกงและมาเก๊า วันเดียวกันนี้ยังมักเฉลิมฉลองเป็นวันครบรอบการปฏิวัติซินไฮ่ ชาวจีนโพ้นทะเลจำนวนมากยังเฉลิมฉลองในไชนาทาวน์ทั่วโลก(ดูเพิ่มเติมวิกิพีเดีย และปฏิวัติซินไฮ่ก่อนปฏิวัติรัสเซียโดยเลนิน และก่อนปฏิวัติของเหมาเจ๋อตุง)
การปฏิวัติซินไฮ่ ที่มีดร.ซุน ยัดเซ็น ศัลยแพทย์ เป็นผู้นำ เฉินหลง รับบท หวงซิง สมาชิกฝ่ายบู๊ ต่อมาเวลาผ่านพรรคชาตินิยมจีน(ก๊กมินตั๋ง) จึงหนีมายังเกาะไต้หวัน (จริงๆ เป็นหนังที่ผมสนใจอยากเขียนยาวๆ อีกเรื่องหนึ่งเคยเตรียมข้อมูลไว้ ลองค้นหาที่คนเขียนไว้จากกูเกิ้ล และคนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ไว้ เช่น ซุนยัดเซ็น เคยมาไทย รวมทั้งผลกระทบต่อไทยในยุคที่มีการต่อต้านจีนเป็นยิวแห่งบุรพทิศด้วย)
ทั้งนี้ ข่าวว่านักเรียนนักศึกษาในไต้หวันเคลื่อนหนุนการเคลื่อนไหวในฮ่องกง ซึ่งนักเรียนนักศึกษากว่า 100 คนชุมนุมที่หน้าที่ทำการเจรจาการค้าฮ่องกงประจำไทเป เรียกร้องประธานาธิบดีไต้หวันประณามเหตุที่เกิดขึ้นในฮ่องกง และยุติการเจรจากับจีนทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ
นี่แหละกรณีไต้หวัน จีนและฮ่องกง ในปัจจุบัน

***ภาพประกอบช่วงหนึ่งหญิงสาวนำรูปธงชาติจีนกับไต้หวัน มาติดตรงหน้าอก เป็นการล้อเลียนยั่วให้รวมเป็นหนึ่งเดียวตามแคมเปญนี้มีการรณรงค์ตามถนน

http://www.zonaeuropa.com/200811a.brief.htm

17 ตุลา
วันศุกร์นายกฯออกทีวี เวลาสองทุ่มครึ่งกว่า จะติดตามสถานการณ์การเมืองสักหน่อย แต่เขาออกมาพูดก่อนช่วงหกโมงเย็นเรื่องประชุมเอเชีย ยุโรป หรือ ASEM.
แล้วหลัง14 ตุลาโชคชะตา พาความหวังไทยแลนด์
ผมได้เขียนบันทึกถึง14 ตุลาไว้ปีที่แล้ว คือ ปี2556ใน บันทึกส่วนตัวเรื่องการเมืองไทย : ต.ค.-พ.ย.-ธ.ค.ปลายปี2013 กล่าวถึง14 ตุลา 16 โดยผมคิดเพิ่มเติมประเด็นจุดอ่อนของรัฐเผด็จการ ทำให้จุดติดชนวนส่วนหนึ่งจากการล่าสัตว์ทุ่งใหญ่ กระแสสิ่งแวดล้อมสู่ด้านการเมือง สิ่งที่ผมอธิบายแง่มุมบางอย่างในปัจจุบันนี้ ทำMind Map โดยบอยวาดรูป ขึ้นด้วย
แน่ละ ผมนึกถึงหนังสือ ย้ำยุค รุกสมัย ฉลอง40ปี 14 ตุลา ครับ
ทั้งนี้ การวิเคราะห์กลุ่มของกกปส. แนวร่วมของกลุ่ม มีหลายกลุ่ม ให้ผู้นำโดดเด่น และกลุ่มทุน ซึ่งน่าวิเคราะห์แนวร่วม ที่ต่างจากกลุ่มนปช. เป็นบทเรียนเรื่องยุทธศาสตร์และยุทธวิธีด้วย
อย่างไรก็ตาม สุริยะใสหนุนแนวคิดคสช.ตั้งสภากระจกในข่าวบอกว่าสุริยะใส เป็นอาจารย์แล้วที่ม.รังสิต และข้อสังเกตทางการเมืองโมเดลย้อนกลับเหมือนข้อเสนอกลุ่มยุค2535 ที่มีสถานการณ์การเมืองพฤษภาฯ รายละเอียดในหลายแง่มุมเศรษฐศาสตร์การเมือง อื่นๆ ซึ่งไม่ใช่แค่โมเดลของปฏิรูป ที่มาหลังการยึดอำนาจรัฐควบคุมการเลือกตั้งเท่านั้น น่าร่วมกันคิด ให้โชคดีต่อไทย ครับ^^

20 ตุลา
ข่าวศาลกัมพูชาไต่สวน2ผู้นำเขมรแดงรอบใหม่ กรณีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ฯลฯ ทำให้ผมนึกถึงเคยดูภาพยนตร์เรื่อง ศัตรูประชาชน (Enemies of the People) แล้วเพิ่งคิดได้เรื่องชาตินิยม เพราะผมกลับมาอ่านหนังสือชุมชนจินตกรรม บทสะท้อนว่าด้วยกำเนิดและการแพร่ขยายของชาตินิยม โดยเขียนจากเหตุการณ์ช่วงเวลาใกล้ปัจจุบัน1979(2522)ไปหาอดีตแล้วย้อนกลับมาปัจจุบันใกล้กับช่วงผลิตหนังสือ1983 (สะท้อนเรื่องรัฐชาติจากระดับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สู่ระดับโลกในมิติทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ต่างๆ รวมทั้งท้าทายแนวคิดข้ามรัฐชาติสู่สากลนิยม )ได้กล่าวถึงกรณีสงครามรัฐจีน กัมพูชาและเวียดนาม ในตอนเปิดบทนำของหนังสือด้วย

โดยข้อมูลเพิ่มเติมช่วงที่คนในพคท.ทะเลาะกัน จะเข้าข้างเขมรแดงโหดร้ายป่าเถื่อนตามจีนเชียร์เขมรแดง 2522(1979) ซึ่งจีน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ(2515)จับมือกับอเมริกายุคการทูตกีฬาปิงปองคานอำนาจโซเวียต ต่อมาไทยกับจีน(2518)โดยจีนกับโซเวียตทะเลาะกัน โดยพคท.กับเขมรแดงสายจีน ลาวกับเวียดนามสายโซเวียต ต่อมาเวียดนาม-ลาว บุกเขมร แล้วพคท.(พรรคคอมมิวนิสต์ไทย)มาคุยกับรัฐไทย ร่วมมือชั่วคราวต้านเวียดนาม เพราะเชื่อว่าเวียดนามอาจจะยึดเขมรแดง และปฏิวัติมาถึงไทยได้(บริบทซับซ้อนกรณีมหาอำนาจอเมริกา ช่วยเขมรแดงด้วย)ซับซ้อนซ่อนเร้นกัน ครับ
อย่างไรก็ตาม หนังศัตรูประชาชนสะท้อนชาตินิยมผ่านอดีตผู้นำ ทหารเป็นข้อเสียของชาตินิยมหนึ่งข้ออ้างไปสู่ความรุนแรง
*ผมเห็นการวิเคราะห์เรื่องกรณีเขมรแดง เปรียบเทียบกับไทย เคยมีคนวิเคราะห์ไว้ผมเห็นด้วย ว่าอเมริกา มีอิทธิพล ทำให้ช่วยหาทางลงโทษอดีตผู้นำเขมรแดงอย่างนวนเจียพี่ชายหมายเลขสอง88ปีฯลฯ ได้แม้ว่าล่าช้า อเมริกา มีส่วนช่วยด้านหนึ่ง ก่อให้เกิดดำเนินคดี ก็เกือบทำให้ผู้นำถึงแก่กรรมหมดก่อนหน้านี้ เช่น พลพต อีกทั้งปัจจัยการล่าฆ่าสังหารโหดเป็นล้านคน มากกว่าเหตุการณ์ทางการเมืองของไทย(รายละเอียดข้อมูลเยอะ) และไทยยังไม่ได้ลงนามศาลอาญาระหว่างประเทศ ท้ายที่สุด เหตุการณ์ตัวอย่าง 14 ตุลา-6 ตุลา ซึ่งในที่สุดจอมพลคนสุดท้ายถนอมถึงแก่อสัญกรรม พ.ศ. 2547 รวมอายุได้ 92 ปี อายุยืนมากๆ ด้วย
นี่แหละไทยแลนด์ จะเห็นว่ากระบวนการยุติธรรมล่าช้า ไม่มีลงโทษความผิดใด สรุปแล้วสางเขียวไทยๆ โดยส่วนตัวผมบางครั้งเข้าวัดไหว้พระพุทธรูปแสวงหาความยุติธรรม ตามแนวกฏแห่งกรรม กับธรรมะไปก่อนแล้ว เป็นความหวัง ครับ

24 ตุลา
หนังอินเดียเรื่อง slumdog-millionaire คล้ายรายการเกมส์เศรษฐีของไทยสมัยก่อน ไม่มีใครโง่หรือฉลาด มีเพียงแค่รู้หรือไม่รู้เท่านั้นเองไม่ใช่รายการที่ต้องการคนเก่ง .. คือ มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่า เราเก่ง หรือไม่เก่งหรือ เราโง่ หรือไม่โง่แต่มันอยู่ที่ เรารู้ หรือไม่รู้ต่างหาก

เมื่อคำพูดทำนองนี้ได้รับการยืนยันในหนัง slumdog-millionaire(หนัง2552เก่าเล่ามุมใหม่จากผมเคยเขียนแล้ว ว่าคล้ายรายการทีวี ถ้าคุณแน่ อย่าแพ้เด็ก ประถมคำถามที่ยากมาก ว่ารูปแบบของประชาธิปไตย คืออะไร ? ที่ถูกกับประเทศไทย ในกระแสเรื่องเล่า กู้ชาติ51-52-บิ๊กตู่57) และแล้วพระเอกอย่างจามาลเจอคำถามง่ายดายที่ใครๆก็รู้แต่จามาลกลับตอบไม่ได้ พอเป็นคำถามที่คนอื่นคิดว่ายาก เขากลับตอบได้อย่างไม่ลังเลแม้แต่น้อย เป็นข้อคิดที่ดีว่าอย่าดูถูกใคร แต่ละคนล้วนเจอประสบการณ์ที่แตกต่างกัน บางคนอาจรู้สึกง่ายในเรื่องที่อีกคนกลับบอกว่ายาก
ทั้งนี้ หนังเรื่องนี้ผมเคยสนใจตามสไตล์คนดูหนังในแง่ที่กลับมาคิดเรื่องDestiny/Luck คือ ชะตากรรม/โชคชะตา ที่เป็นเส้นเรื่องมากกว่าหนึ่งเรื่องของหนัง ซึ่งเส้นเรื่องสำคัญของหนัง คือ ชะตากรรมสำหรับผม (Luck/Destiny ทั้งสองอย่างเป็นโชคชะตา ทำให้ยากและง่ายได้ในสองสิ่งนี้) มาตอบคำถามตัวเลือกด้วย ครับ^^
http://topicstock.pantip.com/chalermthai/topicstock/2009/01/A7467197/A7467197.html

ปิดท้าย ชีวิตไม่ใช่เกมโชว์โดยผมเล่าม่วนหลายเรื่องอาศัยโชคช่วยเข้าข้างผมไปresidenceประเทศลิทัวเนีย( Lithuania)ไม่ทัน(2557) ตามภาพประกอบกล่องคลุมหัวเป็นศิลปะ คือ Image: Autonomia Operaia movement, Italy (1978/ไทยแลนด์ปี๊บคลุมหัว2014) น่าสนใจด้วย555^^
http://www.nidacolony.lt/en/residence/counterhegemony-art-in-a-social-context


31 ตุลา 57
ผมสำรวจข้อมูลผบ.ทบ.โสดสนิทคนแรก สู่ รมว.กลาโหมที่ไม่มีภริยาคนแรก ในประวัติศาสตร์ คือ ป๋าเปรม คนที่สอง คือ พล.อ.ประวิตร ครับ
โดยเปรียบเทียบบางด้านนายกฯนายพลไม่น่าอยู่ตำแหน่งเท่ากับยุคป๋าเปรม ในทัศนะของผม กรณีหลายคนวิตกกังวลเรื่องโครงสร้างการเมืองกับเครือข่ายเชิงบุคคล เช่น ป๋าเปรม ที่เกี่ยวโยงอันทั้งคู่ของกลุ่มประยุทธ์ (ประวิตร) และเศรษฐกิจการเมือง (ซับสิไดซ์เหมือนยื่นปลาไม่ยั่งยืน-พล.อ.ประยุทธ์จะยื่นทั้งปลายื่นทั้งเบ็ด)
แม้บนหน้าประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยตลอด 82 ปี มีนายกฯนายพลทั้งสิ้น รวม พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายพล แต่จะเห็นว่านายกฯทหาร มี พล.อ.เปรมคนเดียวนายกฯถึง 8 ปี
กระนั้น ผมค้นประวัติศาสตร์แห่งสันติภาพ ปรากฏยากโดยโครงสร้างอำนาจครอบงำของรัฐ เพราะฉะนั้น สันติภาพเกิดขึ้นยากในคู่ขัดแย้ง หรือสภาวะDual power(อำนาจคู่)ฝ่ายประชาธิปไตยรัฐสภา(ฝ่ายปชช     .จำนวนมากชูสามนิ้วงานศพอภิวันท์/การต่อต้านรัฐประหารโดยลุงนวมทอง)กับรัฐราชการ(เรียกกันว่าอำมาตยาธิปไตย/กลุ่มตุลาการฯลฯ)พร้อมกองทัพ ย่อมปะทะกันโดยขัดแย้งให้เห็นในปวศ.
เมื่อความรุนแรงย่อมหลีกเลี่ยงยากจากตัวอย่างของประวัติศาตร์ต่างประเทศหลายประเทศ บางแห่งใช้คำว่าDual power ในภาวะของการปะทะของการเปลี่ยนผ่าน….ไปสู่ประชาธิปไตยด้วย ครับ
ดังนั้น คำถามอันน่าเป็นห่วงต่อลักษณะทหารออกมาปี2549-57 ครับ
*ซับสิไดซ์เหมือนยื่นปลาไม่ยั่งยืน-พล.อ.ประยุทธ์จะยื่นทั้งปลายื่นทั้งเบ็ด

**รูปปั้นลุงนวมทองในการเมืองเชิงสัญลักษณ์ของตุลา 53 เป็นบทความที่ผมเคยเขียนไว้แด่ลุงนวมทอง
***นี่เป็นการรวบรวมจากเฟซบุ๊คโดยปรับปรุงบันทึกมานำเสนอปิดท้ายเดือนตุลาเขียนถึงการเมืองไว้ ครับ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น