วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บันทึกRoad Map และวิถีทางไม่หลงนิยายการเมือง


วันจันทร์ที่2 กุมภาพันธ์
วันนี้พวกเราซ้อมบทหนังสั้น และผมถามเรื่องว่าพวกเราไทใหญ่คิดอย่างไร? กรณีละครทีวีเรื่องบางระจัน มีคนตอบมาขำขำว่าไม่ได้ดูช่อง3 ดูแต่ช่อง7 และเราคุยกันกว้างขวางไปถึงเรื่องสามก๊ก ซึ่งผมพูดเล่นว่าเขาว่าใครอ่านสามก๊กจบสามรอบคบไม่ได้ ฮร่าๆ และผมเพิ่งกลับมาคิดเรื่องที่เราคุยกันว่ามีตัวประกอบคนใหม่ เคยแสดงหนังเรื่องแรมโบ้ เป็นทหารพม่า
เอ่อ ผมคิดออกเชิงทฤษฎีกว้างมากจากเรื่องเคยอ่านชิเชค นักปรัชญา ผู้ศึกษาภาพยนตร์เชิงจิตวิทยาและเขาเคยเขียนบทความเชิงชาตินิยมวิเคราะห์เรื่องแรมโบ้ว่าอเมริกาเป็นการสร้างภาพฮีโร่ต่อต้านคอมมิวนิสต์เวียดนามใกล้ไทย แต่เขาเขียนมาถึงกรณีพม่าหรือไม่ ผมไม่รู้ น่าสนใจจริงๆ ไม่มีอคติ แต่ผมกำลังจะหลับก่อนบางระจัน จะจบวันนี้ ฮร่าๆ ที่ผมเขียนก็เขียนเล่นๆ แล้วก็นอนแล้ว ครับ^^
*ภาพประกอบการซ้อมบทหนังสั้นน้องหอมหรือบุญล้อม ครับ^^
**ลิงค์บทความของSLAVOJ ŽIŽEK
http://newleftreview.org/I/183/slavoj-zizek-eastern-europe-s-republics-of-gilead

วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์
เล่าจื๊อสอนว่า “คนดีที่สุดมีลักษณะเหมือนน้ำ น้ำทำประโยชน์ให้แก่ทุกสิ่ง และไม่พยายามแก่งแย่งแข่งดีกับสิ่งใดๆ เลย น้ำขังอยู่ในที่ต่ำที่สุด ซึ่งเป็นที่ใกล้เต๋า…” ลัทธิเต๋าที่มีรูป “ไท่จี๋” เป็นสัญลักษณ์ คือรูปวงกลมและมีเส้นโค้งแบ่งเป็นสองส่วนขาวดำ อุปมาว่าเป็นมัจฉาคือปลาสองตัว
ปลาสีขาวเป็นตัวแทนของหยาง ส่วนปลาสีดำเป็นตัวแทนของหยิน ตาของปลาสีขาวเป็นจุดดำ แต่ตาของปลาสีดำเป็นจุดขาว คือในหยางมีหยิน และในหยินมีหยาง ผสมกลมกลืน.

* “เต๋า” คำนี้แปลกันมาว่า “ทาง,วิธี””มรรค” หรือ “แหล่งกำเนิดของทุกสิ่งทุกอย่าง” และเป็นการยากที่จะให้ความหมายเพราะคำ ๆ นี้ให้คำจำกัดความไม่ได้ แก่นแท้ของเต๋าลึกลับ..แนวคิดและหลักคำสอน ลัทธิเต๋าเป็นลัทธิที่จะทำความเข้าใจได้ยาก เพราะการเข้าถึงลัทธินี้จะต้องมีสัมผัสพิเศษที่สามารถเข้าถึงภาวะความจริงได้ รวบรวมจากเว็บที่เคยโพสต์ไว้ –ข้อสังเกตของผมเต๋าบางคำเป็นเหมือนภาษาทางปรัชญา และลักษณะคติพจน์แบบAphorismครับ
**ภาพประกอบสัญลักษณ์“ไท่จี๋”และบรรยากาศธรรมชาติใกล้น้ำ

วันศุกร์ที่6 กุมภาพันธ์
รายการทีวีวันศุกร์นายกทหารอย่างบิ๊กตู่ ไม่พูดเรื่องข้อเรียกร้องหลักการในร่างพรบ.แรงงานสัมพันธ์ฉบับที่เสนอโดยประชาชน (ฉบับบูรณาการ) มีการแก้ไขนิยามของนายจ้าง-ลูกจ้าง เปลี่ยนเป็น “ผู้จ้างงาน”-“คนทำงาน” เพื่อให้เกิดทัศนคติใหม่ว่าผู้จ้างงานและคนทำงานเป็นหุ้นส่วนกัน ต้องปฏิบัติต่อกันด้วยความเท่าเทียมและเป็นธรรม เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันที่ดีและพัฒนางานให้ก้าวหน้าต่อไป
http://www.lrct.go.th/th/?p=15109
ทั้งนี้ ปัจจุบันมีแรงงานนอกระบบ พ่อค้า แม่ค้า รับจ้างทำงานอิสระ ฟรีแลนซ์ ฯลฯ รวมทั้งนักเขียน ยังไม่ได้รับการคุ้มครอง เท่าที่ฟังท่านผู้นำ ที่สบถไอ้ห่า จะเน้นเอาใจเอกชน ผู้จ้างงานเป็นหลัก มากกว่าคนทำงาน ด้วย ครับ
*ภาพประกอบการ์ตูนล้อเลียนการเมืองไทย ครับ^^

วันจันทร์ที่9 กพ.
ก่อนวันวาเลนไทน์ ที่ผู้อ่านต้องเมาเหล้าจะเข้าใจโกวเล้ง-นิทเช่(ฮร่า) กับการเขียนหนังสือ โดยใช้วิธีของ Aphorismเป็นรูปแบบคติพจน์,คำพังเพยหรือคำคมสั้นๆ ซึ่งนิทเช่เขียนด้วยเลือดเนื้อชิ้นส่วนของชีวิตเป็นการเขียนหนังสือสิบประโยคในสิ่งที่คนอื่นๆกล่าวไว้ในหนังสือหนึ่งเล่ม และสิ่งที่คนอื่นๆไม่ได้กล่าวไว้ในหนังสือหนึ่งเล่ม โดยงานนักปรัชญาเล่มขนาดใหญ่เขียนยาวมาก นิทเช่ไม่เห็นด้วยโดยกล่าวว่า บางเรื่อง ถ้าพูดแต่เพียงสั้นๆ ก็ถือว่าเป็นผลิตผลของความคิด ที่มีมาอย่างยาวนานมากได้

ดังนั้น งานเขียนดังกล่าวของนิทเช่นี้ ทำให้ผมมานึกถึงการอ่านงานปรัชญา หรืองานวิชาการอื่นๆ อันยากมากกว่าเข้าใจต้องอ่านหลายรอบ เป็นตัวอย่างของวิธีการอ่านในหลายแบบ ด้วย
เมื่อความสำคัญต่อผู้อ่านต้องอ่านระหว่างบรรทัดของประโยคจากการย่นย่อคำสั้นๆบริบทนั้นๆ ถ้าเกิดขยายความแล้ว อาจจะกลายเป็นหนังสือหลายเล่ม ซึ่งคำคมในเชิงคติพจน์ ที่สั้นๆ แฝงปรัชญาในมุมหนึ่งประหยัดคำ ทำให้เข้าใจง่ายและยากได้คราวเดียวกัน เป็นข้อจำกัดของคำสั้น
นี่แหละการสื่อสารกับผู้อ่าน สำหรับผู้เข้าถึงได้ในสัมผัสใกล้นิทเช่ ที่เป็นบ้า(ฮร่า)ซึ่งนิทเช่ชอบไดอะเนซัส เทพเจ้าแห่งดนตรีและไวน์(ฮร่า)
“There is always some madness in love. But there is also always some reason in madness.” – Friedrich Nietzsche
“บางทีความบ้าอยู่ในความรัก แต่บางทีเหตุผลอยู่ในความบ้า”(เหมือนกับความรัก:ผมแปล) หรือคนแปลว่า “ความรักมักมากับความบ้าคลั่ง แต่ในความบ้าคลั่งก็มักมีเหตุผลแฝงอยู่เสมอ”
เมื่อผมลองสรุปความเล่นๆจากการแปลโดยผมเองต่อยอดอาจจะแปลความง่ายๆ ตลกๆว่าบ้าๆก็บ้ารัก คิดถึงคำว่าLove is Madness.
ปิดท้าย How the “True World” Finally Became Fiction(โลกจริงกลายเป็นนิยายท้ายที่สุดได้อย่างไร?)หรือโลกจริงกลายเป็นมายาที่มาจากหนังสือTwilight of the Idols, or, How to Philosophize with a Hammer
http://en.wikipedia.org/wiki/Twilight_of_the_Idols
*ภาพประกอบคำคมของนิทเช่ ต้นแบบแนวคิดPost Modern. ซึ่งส่งผลต่อฟูโก้ และตัวอย่างกรณีแดริดา ที่มีอ้างอิงถึงกันว่ากันว่าหนึ่งประโยคของนิทเช่เท่ากับสรุปใจความสำคัญของผลงานรื้อสร้างทางภาษาวรรณกรรมและศิลปะของแดริดาด้วย ครับ

** http://thailand.englishtown.com/community/Channels/article.aspx?articleName=lovequotes#sthash.kWU0IG1z.dpuf

***นิทเช่ : การอ่านคืองานศิลปะ
https://www.facebook.com/notes/388703027893358/

วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์
รายการทีวีวันศุกร์ นายกพูดโรดแมป ทำให้ผมนึกถึงเรื่องแม่น้ำ5สาย…แต่ผมคิดถึงแม่น้ำกก เป็นแม่น้ำสายสำคัญสายหนึ่งในภาคเหนือของประเทศไทย มีต้นกำเนิดมาจากทิวเขาแดนลาวและทิวเขาผีปันน้ำตอนเหนือของเมืองกก จ.เชียงตุงภายในอาณาเขตของรัฐฉานในประเทศพม่า ไหลเข้าสู่ประเทศไทยที่ช่องแม่น้ำกก อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ ไหลมาเรื่อย ๆ จนผ่านตัวอ.เมืองเชียงราย หลังจากนั้นก็ไหลลงแม่น้ำโขงที่บริเวณสบกก อ.เชียงแสน จ.เชียงราย(แม่น้ำโขงไหลผ่านจีน)
นี่แหละภาพการเชื่อมโยงลุ่มน้ำโขงตอนบนมาลุ่มน้ำชี-มูลในอีสาน เป็นต้น เมื่อผมอยากรู้ว่านายกฯ ชักแม่น้ำทั้งห้า แต่แม่น้ำแต่ละสายปิง วัง ยม น่าน เชื่อมโยงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ไหลลงสู่ทะเล อาจจะออกทะเลให้หลงทาง
แน่ละ สิ่งที่ผมยกตัวอย่างเปรียบเปรยเรื่องรัฐธรรมนูญแม่น้ำหลายสาย โดยมายาสร้างภาพ ถึงโรดแมป แม้แต่พยายามไปญี่ปุ่น ให้ร่วมมือไม่ง่ายด้วย ครับ^^

*ภาพประกอบโปสเตอร์ในอดีต เป็นแผนที่ไทยสมัยญี่ปุ่นเข้ามาไทย ต่อต้านอังกฤษ-อเมริกา และดูเพิ่มเติมธงชาติสัญลักษณ์ ฯลฯ ข้อมูลต่างๆ (Southeast Asia During World War II) ครับ
http://www.seasite.niu.edu/crossroads/aneher/warinsea_slbs.htm

วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์
หัวใจมีคุณค่า..หลับฝันไม่เดียวดาย
แรงบันดาลใจที่มาจากหนังสือความรักในศิลปะอาเซียนและวัฒนธรรม
*ภาพประกอบจากหนังสือLove in Asian Art and Culture ว่าด้วยความรัก ศิลปะ วรรณกรรมจีน ญี่ปุ่น อินเดีย เป็นต้น ครับ
http://www.amazon.com/Love-Asian-Art-Culture-Unnumbered/dp/0295977590
ภาพสวยงาม จากความรักในศิลปะอาเซียนฯ และผมนึกถึงเรื่องพระศิวะคอดำ เพราะดื่มน้ำพิษ ผลของความรักโลกของพระศิวะ พระศอเป็นสีดำ เพราะเมื่อตอนที่พระนารายณ์และเหล่าเทวดา อสูร ทำพิธีกวนเกษียรสมุทรโดยใช้พญานาคเป็นตัวฉุดเขาพระสุเมรุนั้น ใช้เวลากวนนานมาก พญานาค จึงคลายพิษออกมาปกคลุมไปทั่วโลก
ดังนั้น พระศิวะ เกรงจะเป็นภัยต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตในโลก โดยได้สูบเอาพิษเหล่านั้นไว้ ทำให้คอของพระศิวะเป็นสีดำนั่นเอง(สีของความรักแท้บริสุทธ์ว่าเป็นสีดำ เสมือนสีคอพระศิวะ ) ที่มาคิดต่อยอดผมอ่าน love in Asian art and culture(ความรักในศิลปะอาเซียนและวัฒนธรรม)

วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์
รายการทีวีวันศุกร์ ผมไม่ได้ดูนายกฯไม่รู้พูดซ้ำเรามาจากเทือกเขาอัลไต หรือไม่ แต่ประวัติศาสตร์ไม่จริงได้หลายคนมองประเด็นนี้ ซึ่งยกตัวอย่างประวัติศาสตร์ของแผนที่ทางประวัติศาสตร์ ในภาพแผนที่สยามสมัยร.4 ฝรั่งเห็นแล้วไม่ศิวิไลซ์ โดยฝรั่งไปตีความภาพวาดและวาดภาพประกอบตรงกันข้ามจากเทวดาสวมชฎา ถือตรี และสังข์ กลายเป็นภาพวาดSIAMESE MAP ในสายตาฝรั่งอังกฤษด้วย
โดยประเด็นการวิเคราะห์-ตีความอันน่าสนใจส่วนตัวของผม สะท้อนมุมความเชื่อต่อเทพ เมื่อผมมองภาพเชิงเทวดาแห่งประวัติศาสตร์ ในภาพถ้าเป็นนารายณ์ถือตรี สังข์ ผ่านร่างของแผนที่สยาม ในแง่มากกว่าไตรภูมิเห็นการอวตารของเทวดา คือ การจินตนาการความหมายในเรื่องอวตารของแผนที่ในฐานะนารายณ์อวตาร เป็นปลา(มัตสยาวตาร) – ดั่งภาพอวตารอื่นๆ (หรืออวตารของวิษณุ ถือตรี สังข์เป็นสัญลักษณ์ของน้ำ) นี่เป็นข้อสังเกตใหม่ของผมด้วย
*ภาพประกอบNATIVE MAP OF SIAM ดูข้อมูลเพิ่มเติมNarrative of a residence at the capital of the Kingdom of Siam : with a description of the manners, customs, and laws of the modern Siamese (1852-อธิบายแผนที่ในรูปเป็นร.4)
https://archive.org/details/narrativeofresid00neal
ผมเล่าต่อยอดย่อๆความเป็นสมัยใหม่ของสยาม ที่มีคนจีนอพยพ สมัยต้นรัตนโกสินทร์ยุคร.4 เลิกจิ้มก้อง ด้วย
**ภาพประกอบหนังสือSIAM MAPPEDDฯ ภายในภาพประกอบ ที่มีรูปแผนที่ไตรภูมิ และรูปที่ฝรั่งว่าNATIVE MAP OF SIAM.(ข้อสังเกตคำว่าอวตาร และNATIVE ดูหนังสือชุมชนจินตกรรมฯ)

วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์
เมื่อผมถูกทวงถามบทรีวิว หนังสือเขตLikeกระสุนจริง หลังจากพยายามหาที่เขียนลงเผยแพร่กระจายไม่ได้ จึงบอกเจ้าของหนังสือว่าผมจะเขียนสั้นๆ สี่บรรทัดในเฟซฯ เนื่องจากผมเคยเขียนไปหนึ่งรอบสั้นๆ (ฮร่า) ต่อมาพัฒนาร่างๆเขียนไปได้หลายบรรทัดมากขึ้นๆ
ซึ่งเรื่องเล่าภาพจริง กับภาพเสมือนในโลกเฟซฯ ที่ว่ากันว่าสงครามการเมืองยังไม่จบ มีรบกันในเฟซฯ ด่ากันในโลกเสมือนจริง จับผิดติดตาม ฯลฯ ล้วนมีกล่าวกันไว้บ้างแล้ว
จากผมเกริ่นนำมาสู่รีวิวหนังสือในประเด็นของสื่อเฟซฯ ส่วนหนึ่งซ้อนซ่อนกับเรื่องสั้นเขตLike กระสุนจริง เป็นเรื่องสั้นใจกลางของรวมเรื่องสั้นเขตLike กระสุนจริง อ่านมุมหนึ่งเห็นความรักโรแมนติค แต่มุมมากกว่านั้น นี่ที่ผมยกตัวอย่างหวนคิดถึงปัญหาตอนจบของเรื่องอ้างอิงปี2519 เฟซฯ ยังไม่มีเป็นตอนเกิดของตัวละคร ที่หวนคำนึงถึงเธอ ที่ตายไป แต่ข้อมูลในเฟซฯ ยังไม่หายไปด้วย
อนึ่ง ส่วนตัวในแง่อารมณ์ความรู้สึกข้อมูลข่าวสาร ที่เคยได้รับหายไปได้ในโลกสื่ออินเตอร์เน็ต ในฐานะสื่อไม่ว่าหนังสือรวมเรื่องสั้น-เฟซฯ แล้วถ้าข้อมูลหายไป ภาพสะท้อนการมีอยู่หรือไม่มีของวงจรอันทรงพลังของภาษาการเขียน ในโลกอินเตอร์เน็ต ต่างส่งเสียงผ่านภาษา และเราจะหลุดพ้นตาสว่างหลังอ่านหนังสือเล่มหนึ่งได้ง่ายหรือไม่
ดังนั้น เรื่องสั้น และนิยายสมควรถูกอ่านให้ตื่นตา เพราะเรื่องสั้นและนิยายได้สร้างความจริงขึ้น เพื่อเข้าใจภาพมายาของโลกนี้ ส่วนตัวผมสะท้อนความเป็นไทยเลียนแบบฝรั่ง หรือผู้อ่านเห็นความหมายบุ๊คนี้แบบเดียวกับfacebook ด้วยครับ^^
* บันทึกย้อนอดีต
10 กรกฎาคม 2557 เมื่อวานผมแวะไปเจอนักเขียนรุ่นพี่ ที่ร่วมเขียนบทหนังสั้น มีหนังสือผลงานเล่มใหม่รวมเรื่องสั้น I like เขตกระสุนจริง(แก้ไข26ก.พ.58: เขตLikeกระสุนจริง) และผมแวะไปตอบแทนด้วยของฝากเป็นข้าวหลาม ซึ่งผมรับปากว่าจะรีวิวหนังสือ โดยอ่านหนังสือจบ แล้วนึกรีวิวสั้นๆว่าราษฎรต้องออกมาต่อต้านความชั่วร้ายทางการเมืองทหารเข่นฆ่าประชาชน! นี่แหละเสรีภาพ ต้องมีโอกาสแสดงออกเช่น ข่าวหม่ำข้าวหลามแทน แซนด์วิชประท้วงคสช. ครับ^^
โดยการเขียนเล่าเรื่องสั้นในเรื่องมวลมหาประชาชน ในเขตLike กระสุนจริง ซึ่งผมเคยเห็นต้นฉบับมาก่อน และต่อมากรณีผมมีเมล์ไชโยของไทย เจ๊งไปข้อมูลหายไป
**แรงบันดาลใจผมเล่าโครงร่างรีวิวไปไกลนอกตัวบทของบริบทหนังสือเขต Like กระสุนจริงถึงเจมส์ จอยซ์ เนื่องด้วยเห็นรูปMarilyn Monroe Reads Joyce’s Ulysses at the Playground (1955) ภาพมารีริน มอนโร อ่านยูลิซิสของเจมส์ จอยซ์
ส่วนภาพของผมทีมงานหนังสั้นถ่ายให้เล่นๆขำขำ โดยผมอยากตัดต่อรูปคู่มารีริน มอนโรอ่านเขตไลค์กระสุนจริงเหมือนผม เพราะผมคิดถึงภาพถ่ายผมเองกับหนังสือเขตLikeกระสุนจริงไอเดียเดียวกับภาพมารีริน มอนโร อ่านยูลิซิสของเจมส์ จอยซ์
http://www.openculture.com/2012/11/marilyn_monroe_reads_joyces_ulysses_at_the_playground.html
http://www.booktryst.com/2010/10/marilyn-monroe-avid-reader-writer-book.html
ผมมีหนังสือยูลิซิส อ่านไม่จบอ่านยาก ต่อมาอ่าน FINNEGANS WAKE ของJames Joyce ประโยคหน้าแรกภาษายากๆ งานเขียนท้าทายผู้อ่าน จนผมรู้สึก ..ร่วงหล่นตก…The fall (bababadalgharaghtakamminarronnkonnbronntonner-ronntuonnthunntrovarrhounawnskawntoohoohoordenenthur-nuk!)….
ความยากอันเข้มข้นของกำแพงภาษางานทดลองสุดล้ำก้าวหน้ามาก จากตัวอย่างงานของjames joyce(เขียนเรื่องสั้น บทกวี รวมทั้งบทละครดูประวัติเพิ่มเติม) ที่ผมยกตัวอย่างคำร่วงหล่นตกมาเปรียบเทียบกับความหมายThe fall(…)กับคำในวงเล็บแสนยาว นี่ต้นกำเนิดโพสต์โมเดริน์ทางวรรณกรรม แท้จริงแล้ว ไม่มีความจริงเป็นสิ่งถูกสร้างขึ้น
(เว็บอ้างอิง:อ่านเพิ่มเติม การอธิบายขยายความคำแต่ละคำ ถูกขีดเส้นใต้ระหว่างบรรทัด เช่น คำว่า The fall : The story tale of the fall is retailed early in bed and later in life…)
http://www.finwake.com/1024chapter1/1024finn1.htmมโนสำนึกของฟินเนกัน
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99
***การ์ตูนล้อเลียนงานเขียนของเจมส์ จอยซ์ “Does nobody understand?”(ไม่มีคนเข้าใจ?)… The last words of James Joyce.
http://awaisaftab.blogspot.com/2008_11_01_archive.html
****ปิดท้ายของการเขียน ที่มาเน้นเจมส์ จอยซ์ เพราะงานเเขียน FINNEGANS WAKE เกี่ยวกับการหลับและการฝัน…ราตรีสวัสดิ์ ครับ^^

วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์
ผมคิดถึงเพลงDream before..History is an angel(ประวัติศาสตร์ คือ เทวดา) กรณีที่ผมเห็นไอเดียน่าสนใจนำเพลงDream before(for Walter Benjamin ที่มาจากไอเดียTheses on the Philosophy of History) ใส่”Manufacturing Dissent”เป็นสารคดี(documentary)ด้านคนงาน ที่มีตัวอย่างตัดต่อสั้นๆตอนใกล้จบ
ปิดท้าย ขอไปหลับตานอนฝันก่อนราตรีสวัสดิ์ ครับ^^ *งานสารคดีนี้ของDebra Beattie ดูท้าทายสำหรับผม(History is an angel ความเชื่อ ความหวังฯลฯ) เพราะสารคดียังแบ่งเป็นหลายแนวสารคดีประวัติศาสตร์ หรือสารคดีแนวใหม่ๆ ที่มีท้าทายเส้นแบ่งเรื่องจริงกับเรื่องแต่งเหมือนนิยาย ฯลฯ ด้วย ครับ

วันพฤหัสที่ 26 กุมภาพันธ์
วารสารเก่าเก็บไว้ ที่พวกผม ทำกันสมัยป.โทเกือบสิบปีแล้ว มีหน้าปกเป็นสมุดภาพไตรภูมิ ฉบับกรุงศรีอยุธยา ที่มีแม่น้ำของ(โขง)กับปลา ซึ่งประเด็นเรื่องศาสนาพุทธ อดีต-ปัจจุบัน โดยผมคิดภาพสะท้อนIdentityพุทธไทย มุมเชื่อในศาสนาพุทธ อาจจะยังวนเวียนย้อนรำลึกชาติ อดีตชาติ ผ่านไตรภูมิ เป็นไปตามกฎแห่งกรรม กรณีกระแสปัจจุบันสำนักธรรมกาย ที่มีมากกว่านั้น เคยเป็นข่าวพุทธพิสดารของหลวงปู่เณรคำ ฉัตติโก ท้าเหาะแข่งเครื่องบินเจ็ท ฯลฯ ครับ
*ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่อง“หลวงปู่เณรคำ” พระในตำนานลุ่มน้ำโขง…
http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9560000085047

วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์
รายการทีวีวันศุกร์ นายกฯออกมาพูดเรื่องศาสนา ตามกระแสข่าววิจารณ์พุทธผ่านธรรมกาย ในหลายเรื่องน่าสนใจ ซึ่งผมเห็นหนังสือSIAM MAPPEDDฯ เคยกล่าวถึงสำนักธรรมกาย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากผู้นำทหาร… ฯลฯ ในช่วงเวลาหนึ่ง และผมมาคิดต่อขยายประเด็นชัยชนะของพุทธ ผ่านแผนที่ทางประวัติศาสตร์ ที่เคยปะทะกับคอมมิวนิสต์(ไม่มีศาสนา) การเข้ามาของเทคโนโลยี(แผนที่ ฯลฯ)-วิทยาศาสตร์ และทุนนิยมของพุทธพาณิชย์(ผ่านสื่อ ฯลฯ)
บัดนี้ บททดสอบในการพิสูจน์พุทธไทย จะเสื่อมหรืออยู่รอด มากกว่าสำนักธรรมกาย มีสำนักอื่นๆ อีก เช่น ภาพการ์ตูนขำๆ กรณีหลวงปู่เณรคำ โดยเหตุผล-ตรรกะวิบัติได้ ครับ^^
โดยสรุป ข้อสังเกตของผมกับพุทธศาสนาไทย ไม่เหมือนสปป.ลาว ผ่านตกเป็นอาณานิคมฝรั่งเศส และคอมมิวนิสต์ ซึ่งให้มีศาสนาได้ และพุทธไทย กำลังถูกท้าทาย ในประเด็นเรื่องศาสนาพุทธ อดีต-ปัจจุบันสู่อนาคต ตั้งคำถามแบบความดีตามหลวงพ่อพุทธะอิสระ หรือไม่ ซึ่งผมคิดรากฐานทางวัฒนธรรมภาพสะท้อนอัตลักษณ์(Identity)พุทธไทย มุมเชื่อในศาสนาขัดแย้งดั่งพายุ ทำให้เกิดความก้าวหน้า เป็นคำถามปิดท้าย สู่ทางออกโดยหาทางวิภาษวิธี ทำให้สังเคราะห์ปัญหาพุทธไทยก้าวหน้า ด้วย ครับ
*ภาพประกอบหนังสือSIAM MAPPEDDฯภาษาญี่ปุ่น(รูปจากสมุดภาพไตรภูมิฯ)
**ภาพหลวงปู่พุทธะอิสระ และภาพล้อการ์ตูนหลวงปู่เณรคำกับธรรมกาย ดูเพิ่มเติมการ์ตูนการเมืองโยงกับคดีธรรมกาย-ทักษิณ-เสื้อแดง-โจรผ้าเหลืองกับนายกฯตู่เป็นยาม หรือมติมส. สภาปฏิรูป ฯลฯ(ลองหาเพิ่มเติม)
http://www.manager.co.th/Pjkkuan/viewbrowse.aspx?browsenewsID=1054
http://akecity2.blogspot.com/2015/02/blog-post_24.html
***ที่มาเรื่องเณรคำ มีอายุราว 120 ปี คือเป็นพระไม่แก่ จึงกลายเป็นตำนานที่รู้กันในลุ่มน้ำโขง และตำนาน ภูเขาควายของสำนักธรรมกาย อ้างแล้ว ครับ

วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์
หลายวันก่อนผมได้พบกับอ.ชิน จากญี่ปุ่น อีกครั้งในรอบหลายปี จากที่เคยเขียนบันทึกไว้เรื่องอ.ชิน ถามเรื่องคนไทยไม่เขียนไดอารี่ เหรอ
*ผมบันทึกไว้วันที่ 14 ก.ย 2009 และผมบันทึก2015บางส่วนอีกครั้งร่วมฟังกับอาจารย์(สงวนนาม ฮร่า) ฯลฯ โดยหลากเรื่องผมถามเรื่องห้องสมุดแค่นั้นสั้นๆ(คิดในใจน่าได้ทุนไปดูห้องสมุดฮร่า) ครับ
**อ.ชินอิชิ ชิเกโตมิ หรือSHIGETOMI Shinichi(ชินนิอิชิ ชิเกโตมิ) เคยเขียนเรื่องไทย ที่มีคนแปลไว้ และ การวิจัยภาคสนาม: เศรษฐศาสตร์การเกษตร,สังคมวิทยาชนบท,องค์กรท้องถิ่น,อาณาบริเวณศึกษา(ไทย),ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม และเอ็นจีโอ(องค์กรพัฒนาเอกชน)
http://www.ide.go.jp/English/Researchers/shigetomi_shinichi_en.html
https://ideas.repec.org/a/jet/deveco/v34y1996i3p342-346.html
https://ideas.repec.org/f/psh262.html

***ภาพห้องสมุดของสถาบันพัฒนาเศรษฐศาสตร์ฯ(IDE)ฯที่ทำงานอ.ชิน ครับ^^
http://www.ide.go.jp/English/Library/index.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น