วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึก“สิบปีที่เขียนเรื่องปัญหาภาคใต้”-แม่น้ำของกับ7ปีหนังพระเจ้าช้างเผือกถึงเขียนงานใหม่ใน“คนจีน”ภาคเหนือ-เก็กเหม็งถึงภายใต้เวลาร้อยปีกฎอัยการศึก

บันทึก“สิบปีที่เขียนเรื่องปัญหาภาคใต้”-แม่น้ำของกับ7ปีหนังพระเจ้าช้างเผือกถึงเขียนงานใหม่ใน“คนจีน”ภาคเหนือ-เก็กเหม็งถึงภายใต้เวลาร้อยปีกฎอัยการศึก

เมื่อผมกลับมาเขียนเรื่องใหม่ผ่านมุมมองแบบบันทึก โดยเริ่มต้นเล่าย่อๆ
วันที่10. ธันวา
หลายวันที่ก่อนโน้นวันอันซุ่มซ่ามของผม ไม่มีโรดแมปอันชัดเจน ขณะขับรถอยู่ในพิจิตรพาแม่เข้าศูนย์ราชการ หรือศาลากลาง โดยไม่แน่ใจว่าประตูปิดอยู่ข้างหนึ่ง มีทหารยืนเฝ้าทางเข้า มีช่องทางเล็กสองทาง และผมขับรถผ่าน ทหารสะพายปืนทำหน้างงๆ ต่อมาผมคิดขึ้นด้วยสงสัยเข้าข้างผิด น่าจะเป็นช่องเล็กด้านซ้าย ไม่ใช่ขวา
โดยผมเล่าให้แม่ฟังตอนขาออก เกิดทหารมันยิงเราละแม่ ซึ่งแม่ตอบมันยิงเราก็ผิด คนจะตายมันก็ตาย ผมเล่าให้รุ่นพี่ฟังหัวเราะคลายเครียดกันไป(ฮร่า)
ส่วนประเด็นโรดแมปในเรื่องปฏิรูปการเมือง เป็นตัวอย่างหนึ่ง ที่มีข้อเสนอเรื่องพรบ.นิรโทษกรรม เสนอออกกฎหมายนิรโทษกรรมคู่ขัดแย้งทางการเมือง 2ฝ่าย ตั้งแต่ปี2548-2557 ซึ่งผลพวงจากพรรคเพื่อไทย ก่อนหน้านี้ มาถึงยุทธศาสตร์ของแนวทางปรองดอง อันชวนให้เป็นจริง เกิดข้อถกเถียงกันอยู่ว่าพรบ.นิรโทษกรรมควรจะออกแบบอย่างใด ซึ่ง’ชวน’ไม่วิจารณ์นิรโทษ ชี้ยึดถูกต้องปท.เดินหน้า หรือพรรคประชาธิปัตย์อย่างอภิสิทธิ์ กล่าวเตือน ก.ม.นิรโทษกรรม ต้องไม่ทำให้ปัญหาซ้ำรอย
ในที่สุด ย้อนกลับดูข่าว’ประยุทธ์’ชี้’ปรองดอง’กับ’นิรโทษ’คนละเรื่อง. แต่อย่างไรก็ตามโดยส่วนตัวผมยังมีความหวัง ครับ
*ราตรีสวัสดิ์ ครับ
**ภาพประกอบการเดินทางแวะถ่ายรูปอนุสาวรีย์พานรัฐธรรมนูญ อำเภอตะพานหิน และป้ายในศูนย์ราชการพิจิตร
***http://m.naewna.com/view/breakingnews/133124
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRReE56VXhPVEU0T0E9PQ==&subcatid=

http://www.komchadluek.net/detail/20141202/197014.html

12
รายการทีวีวันศุกร์:ประยุทธ์ทหารอาชีพ มีจ็อบเพิ่มเป็นนายกฯ ต่างจากทหารอาชีพ มีอุดมการณ์ต้องเสียอาชีพ กรณียังเติร์กรุ่นแรก กบฏร.ศ.๑๓๐ เมื่อพ้นโทษ บ๋วย บุณยรัตนพันธ์ ไปทำงานนสพ.สยามราษฎร์และศรีกรุง(ตระกูลวสุวัตร่วมคณะนสพ.สร้างศรีกรุงภาพยนตร์อย่างหนังเรื่องโชคสองชั้น) ถัด รัตนพันธุ์ และเนตร พูนวิวัฒน์ ร่วมเปิดร้านสรรพสินค้า “พูนรัตน์” เหรียญ ศรีจันทร์ เปิดร้าน “สินค้าไทย” ขุนทวยหารพิทักษ์ ตั้งห้างขายยาชื่อ โยคีสถาน (ต่อมาเป็นห้างศรีจันทร์)บุญ แตงวิเชียร และเขียน อุทัยกุล ไปเลี้ยงเป็ดและลงโป๊ะที่จ.สุราษฎร์ธานี นายอุทัย เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นผู้จัดการโรงสีไฟที่จ.พัทลุง
อิทธิพลทุนนิยมการพิมพ์ ในกรณีจีโนสยาม สู่นักหนังสือพิมพ์ของกลุ่มรศ.130ในกรณีศรีกรุงภาพยนตร์(กรุงเทพภาพยนตร์/นสพ.ศรีกรุง)-2475

… ความซับซ้อนชาตินิยมจีนกับไทยสยามกรณีตัวอย่าง ที่มีกล่าวถึงนสพ.จีโนสยามวารศัพท์ มีจะให้เนรเทศนายเซียวฮุดเส็งออกไป แต่ว่าหากเนรเทศเขาแล้ว จะกลายเป็นวีรบุรุษ(Hero) …

…ด้านกลุ่มรศ.130 ตอนอยู่ในคุกเขียนงานให้นสพ. เช่น “จีโนสยามวารศัพท์” “ผดุงวิทยา” ของเซียวฮุดเส็ง “สยามราษฎร์” ของมานิต วสุวัต “ยามาโต” “วายาโม” “พิมพ์ไทย” “ตู้ทอง” และ “นักเรียน” เป็นต้น ในปี2467 พ้นโทษสมาชิกหลายคนไปทำงานหนังสือพิมพ์ เช่น ร.ท.ทองดำ คล้ายโอภาศ ,ร.ต.จือ ควกุล ทำงานหนังสือพิมพ์ “บางกอกการเมือง” ซึ่งมีอุทัย เทพหัสดินทร์ เพื่อนนักปฏิวัติผู้มีหุ้นส่วนในหนังสือพิมพ์ดังกล่าว ส่วน ร.ต.บ๋วย บุณยรัตนพันธ์ ร.ต.ถัด รัตนพันธุ์ ร.ต.สอน วงษ์โต ร.ต.โกย วรรณกุล และ ร.ต.เนตร ทำงานที่ ”ศรีกรุง”(พี่น้องตระกูลวสุวัต ก่อตั้งภาพยนตร์เสียงศรีกรุง-หนังเงียบถึงเสียงพาทย์:โดยเรื่องภาพยนตร์จะขยายความในโอกาสต่อไป) และ “สยามราษฎร์”(รับอิทธิพลจีโนสยามฯมาเป็นนักนสพ.ในตระกูลวสุวัต) เป็นต้น

..เมื่อ ร.ศ.130 เป็นพวกลูกจีน และรักชาติ หลังเลิกงานมักทำตัวเป็นนักข่าวเล่าเรื่องการเมืองตามร้านอาหาร แหล่งชุมนุม และสโมสร คบค้าสมาคมกับทหารส่งผลต่อ2475
ทั้งนี้ บริบทกรณีตัวอย่างต่อมาช่วง 2475 ข้อคำนึงถึงสภาพของสยาม ที่ถูกแวดล้อมโดยอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งชาติทั้งสองนี้ มีข้อตกลงกัน คือ เอาสยามเป็นประเทศกันชน แต่เขาอาจพร้อมกันยกกำลังทหารเข้ามายึดครองแล้ว แบ่งดินแดนสยามไปเป็นเมืองขึ้น หรืออยู่ใต้อำนาจอิทธิพลของประเทศทั้งสอง.. และเรายังจะต้องอาศัยบารมีของพระมหากษัตริย์เป็นเครื่องผูกรัดเขตต์แดนสยามเท่าที่ปรากฏในแผนที่เวลานี้ ให้ผูกโยงกันอย่างแน่นหนา เพราะเราต้องไม่ลืมว่าเวลานี้ เรามีเจ้าประเทศราช ..ในตัวแทนของภาคเหนือบทบาทของเจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่ (บุตรเขยของพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ)เฝ้าอยู่เคียงข้าง ร. 7 ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน ขณะเกิดการปฏิวัติของคณะราษฎรด้วย

สรุปโดยย่อ ข้อมูลการเปลี่ยนแปลง2475 มีรายละเอียดมากกว่านี้ดูตัวอย่างตามลิ๊งค์ของข้อมูลจะเห็นความเป็นมาของยุค130 สู่เหตุการณ์2475 ความขัดแย้งของระบบราชการภายใน และปัจจัยนอกราชการสื่อสิ่งพิมพ์-ภาพยนตร์บันทีก2475ของตระกูลวสุวัต โดยบทเรียนกับประสบการณ์ของรศ.130 นำมาศึกษาสู่การปฏิวัติของปรีดี หรือกลุ่มทหาร มีทั้งการแพร่กระจายสายการจัดตั้ง และมุมมองต่อรศ.130 เป็นดาราดวงเด่น ในกบฏเก็กเหม็งในเมืองไทยและเมืองจีน รวมทั้งแง่อื่นๆ

กรณีการสืบต่อเกือบล้างแค้นให้เพื่อนร่วมรุ่น ที่ทรยศหักหลังรศ.130 เป็นสายลับในทหารด้วยกัน ต่อมา2475 มีรัฐธรรมนูญ คณะราษฎรได้ออกพรบ.ล้างมลทินผู้กระทำผิดทางการเมือง ร.ศ.130 และสมาชิกบางคนต่อมาเป็นส.ส. โดยท่านหนึ่ง บันทึกไว้ว่า “ทั้งนี้แสดงว่าการกระทำของคณะก่อการร.ศ.130 มิใช่เป็นสิ่งชั่ว แต่เป็นความคิดที่ไม่ต้องกับพฤติการณ์แวดล้อมและความนิยมของหมู่ชนเฉพาะกาลเท่านั้น” :ก่อนกาลเกิดรัฐธรรมนูญขึ้น

*ตัวอย่างข้อมูลที่มา:ยังเติร์กรุ่นแรก กบฏร.ศ.๑๓๐ -มองหาอุดมการณ์ ทหารหนุ่ม ‘ร.ศ.130’

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=inthedark&month=18-09-2007&group=19&gblog=18

จาก“คณะ ร.ศ.130” ถึง “คณะราษฎร”ความเป็นมาของความคิด“ประชาธิปไตย”ในประเทศไทย

http://freedom-thing.blogspot.com/2012/01/130.html

24 มิถุนายน 2475: สงครามบนแผ่นฟิล์ม หรือ“ภาพยนตร์กับการต่อสู้ทางชนชั้น..” ในเศรษฐศาสตร์การเมือง ปีที่ 7 ฉบับที่ 1-2 มกราคม-มิถุนายน 2532 (ผมเคยอ่านได้เคยอ้างไว้ด้วย) http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41129
**ข้อมูลส่วนหนึ่งมาจากงานเขียนของผม และภาพประกอบผลงานเขียนย่อลองต่อยอดจากงานนำเสนอภาพยนตร์เรื่องพระเจ้าช้างเผือก ซึ่งสมัยทำมาหากินนำเสนองานปี2550(ฮร่า)

http://www.thaifilm.com/newsDetail.asp?id=316

http://www.prachatai.com/journal/2007/12/15265

17
ผมบังเอิญเจอข้อมูลโรงภาพยนตร์ไม้สองชั้น หลังคาสังกะสี ที่ชื่อว่าโรงหนังตงก๊กหรือศรีวิศาล ซึ่งคำว่า “ตงก๊ก” ชาวจีนบางคนแปลว่า “ประเทศจีน” และร่ำลือแต่ก่อนเคยเป็นโรงหนังโป๊ โดยชื่อโรงหนังศรีวิศาล จึงลองค้นดูเพิ่มเติม(ฮร่า)
ความเป็นมาโรงหนังตงก๊ก ด้านหน้ามีการตกแต่งและประดับธงอย่างสวยงาม ด้านหน้ามีคำว่า “รัฐธรรมนูญจีรังทั่วไทย” ด้านขวามีคำว่า “สานติสุขเสมอภาค อิสสระภาพ” และมีรูปซุนยัดเซ็น กับร.๗
ข้อมูลของผู้เขียนเชื่อได้ว่าภาพนี้น่าจะถ่ายไว้ประมาณ ปี พ.ศ.๒๔๗๕ หนทอ ๒๔๗๖ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยชื่อโรงภาพยนตร์ มีเขียนไว้ด้านบนซ้าย เขียนทั้งคำว่า “ตงก๊ก”และ “ศรีวิศาล” ควบคู่กันไป
ภาพที่สอง เมื่อเข้าไปด้านในของโรงภาพยนตร์ มีห้องขายตั๋วอยู่กลางลาน เขียนติดไว้ว่า “ห้องขายตั๋ว” และบอกราคาว่า “หนึ่งรูเปีย” อีกบรรทัดหนึ่งเขียนว่า “ใช้ ๗๐ ส.ต.” ยังเป็นสมัยที่เมืองเชียงใหม่ยังใช้เงินรูเปีย ซึ่งเป็นเงินจากประเทศอินเดียและใช้ในพม่ารวมทั้งภาคเหนือของประเทศไทย

ทั้งสองฝั่งตั้งเป็นร้านค้าขายของทั้งร้านขายอาหาร กาแฟ หนังสือ ของกินเล่น ด้านขวาของภาพมีพ่อค้าคนหนึ่งกำลังขายกาแฟอยู่ ด้านในมีบันไดเดินขึ้นเพื่อเข้าไปชมชั้นสอง บันไดด้านซ้ายเขียนคำว่า “ทางเข้าชั้น ๓ บ๊อก” ไม่ทราบแปลว่าอะไร
ส่วนบันไดด้านขวาเขียนคำว่า “ทางเข้าชั้นที่ ๒” ที่ชั้นสองติดพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ ๗ สลับกับผู้นำของประเทศจีนในสมัยนั้น คือ ดร.ซุนยัดเซ็น ส่วนด้านล่างลงมามีภาพหลายภาพ บางภาพเป็นหญิง ไม่แน่ใจว่าเป็นภาพผู้บริหารของประเทศจีนหรือว่าจะเป็นภาพดาราภาพยนต์ในสมัยนั้นก็เป็นได้ นอกจากนี้ยังมีธงชาติไทยและธงชาติประเทศจีนห้อยด้วยเชือก

คนรุ่นเก่าบอกว่าภาพนี้คงตกแต่งเพื่อเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญ เพราะปกติด้านหน้าทางเข้าโรงหนังตงก๊กเป็นที่โล่งติดถนนท่าแพ ถัดจากถนนท่าแพเข้ามาใช้เป็นที่จอดรถจักรยาน รถจักรยานยนต์และสามล้อรับจ้าง ถัดมาด้านในเป็นร้านค้ามีที่ขายตั๋วอยู่ตรงกลาง
สมัยนั้นก่อนฉายภาพยนตร์นอกเหนือจากมีเพลงสรรเสริญพระบารมีและมีพระบรมฉายาลักษณ์ของในหลวงแล้วยังมีภาพของ ดร.ซุนยัดเซ็น ผู้นำประเทศจีนอีกด้วย บ่งบอกว่าเจ้าของโรงหนังตงก๊กมีความศรัทธาในระบอบการปกครองระบบประชาธิปไตยและยังมีความรักในประเทศจีนบ้านเกิดอยู่มาก อาจเรียกว่า “ชาตินิยม” ก็คงไม่ผิดนัก

หากเปรียบเทียบมุมมองของผมโดยกรุงเทพฯ ในช่วงเวลาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงนิยมการถ่ายภาพยนตร์ และมีการสร้างโรงภาพยนตร์ที่ยิ่งใหญ่อย่างเฉลิมกรุงด้วย

โดยสรุปย่อข้อเขียนเรื่องโรงภาพยนตร์ตงก๊กหรือศรีวิศาล ด้านหน้าวัดแสนฝาง เล่าผู้ที่ร่วมลงทุนเป็นกลุ่มชาวจีนหลายคน หุ้นส่วนหลักคือ นายเคียมถ่าย แซ่พัว นายเปงเล้ง แซ่เล้า เจ๊กเปงล้ง โตวิจักษ์ชัยกุล ระยะหลังโรงภาพยนตร์ศรีวิศาล เปลี่ยนชื่อเป็นโรงภาพยนตร์ควีน โดยผู้เช่าดำเนินการ คือ ร้อยเอกทองแขม สิทธิพงศ์ ต่อมาขายต่อให้ตระกูล “ชินวัตร” ทำกิจการโรงหนังอยู่ระยะหนึ่ง ซึ่งทำเป็นห้างสรรพสินค้าขายพวกผ้าไหม และเปลี่ยนเป็นบริษัทขายอุปกรณ์มือถือ
ปิดท้าย สถาปัตยกรรมโรงหนัง ที่เคยปรากฏภาพยุคบรรยากาศสมัยเริ่มประชาธิปไตย และความทรงจำ ระหว่างประชาธิปไตยไทยกับสาธารณรัฐชาตินิยมของจีน หายไป บัดนี้ ข้อถกเถียงประชาธิปไตยยังไม่จบในปัจจุบัน ครับ

*ภาพโรงภาพยนตร์ตงก๊กได้มาจากร้านรัตนผล ที่มาข้อมูลจากเว็บ อ้างอิงพ.ต.ท.อนุ เนินหาด ผู้สนใจเพิ่มเติมต้องหาหนังสือของเขามาดู ซึ่งผมเคยพบเขาที่บ้านลุงบุญเสริม ช่างภาพคนสำคัญของเชียงใหม่ ยังบอกว่าคนนี้เป็นผู้บันทึกประวัติศาสตร์เชียงใหม่ พิมพ์หนังสือเองด้วย ครับ
เชียงใหม่ในอดีต:โรงภาพยนตร์ตงก๊กหรือศรีวิศาล

http://muslimchiangmai.net/index.php?topic=3506.0

**ภาพประกอบจากนิตยสารศิลปวัฒนธรรมกับร.7พระราชกระแส..เรื่องการศึกษาในระบอบFascism..และบทความพระเจ้าช้างเผือก มีเรื่องโรงหนังเฉลิมกรุง ดูเพิ่มเติม ครับ

http://www.prachatai.com/journal/2007/12/15265

19
ทีวีที่พูดกรอกหู จนรุ่นพี่เห็นหน้าประยุทธ์ทางทีวีบอกกวนตีน นี่เป็นความซับซ้อนซ่อนหาทาง..กลายเป็นโรดแมปปฏิรูปร่างรัฐธรรมนูญ นี่แหละ “ประยุทธ์ หยุดพาชาติหลงทาง ผ่านสื่อ” ครับ
ย้อนดูการวิเคราะห์สื่อ และตีความเรื่องการสร้างภาพยนตร์ จากประวัติศาสตร์รัฐบาลคณะราษฎร สร้างสถาบันทหารนั้นกระทำในหลายวิธี การใช้ภาพยนตร์ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ดำเนินไปอย่างได้ผล ภาพยนตร์ข่าวการปราบกบฎบวรเดช เป็นผลงานของสำนักงานโฆษณาการโดยหลวงกลการเจนจิต (เภา วสุวัต) และบริษัทถ่ายภาพยนตร์เสียงศรีกรุง ซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้เข้าไปบันทึกภาพจากเหตุการณ์สู้รบจริง ๆ และภาพยนตร์แสดงให้เห็นถึงชัยชนะของทหารผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ต่อทหารของฝ่ายกบฎที่ถูกอธิบายว่าเป็นศัตรูต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งทำให้ภาพทหารของรัฐธรรมนูญเด่นชัดขึ้น

อย่างไรก็ดี ภาพยนตร์ เรื่อง “เลือดทหารไทย” ก็ปรากฏสู่สายตาพลเมืองโดยภาพยนตร์ชุดนี้ถูกนำออกฉาย ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ปี พ.ศ.2477 โดยคณะพี่น้องวสุวัตได้รับการสนับสนุนอุดมการณ์จากรัฐบาลประชาธิปไตย เกี่ยวข้อง จอมพล ป. ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นำออกฉายปี พ.ศ.2478 ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้มุ่งหมายเพื่อเผยแพร่กิจการของกองทัพ ปลุกใจให้รักชาติ ปกป้องปฐพี และพิทักษ์รัฐธรรมนูญ โดยนำเสนอเป็นภาพยนตร์บันเทิงมีพระเอกนางเอกด้วย

ด้านหนึ่งของกิจการภาพยนตร์เป็นพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ และ ภาพยนตร์เสียงเรื่องแรกที่พี่น้องวสุวัต ประเดิมถ่ายทำได้แก่ภาพยนตร์ข่าว สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณ เสด็จนิวัต พระนคร ต่อมาภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ออกฉาย สู่สาธารณะที่ โรงภาพยนตร์พัฒนากร และเกิดการตื่นตัวทางภาพยนตร์ โดยภาพยนตร์เรื่องแรกที่มีเสียงพูด ชื่อว่า “หลงทาง” ออกฉายในวันขึ้นปีใหม่ของสยามขณะนั้น (ต่อมามีการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่) และวันเริ่มต้นการเฉลิมฉลองพระนคร 150 ปีพอดี

ทั้งนี้ ร.7 ทรงได้อิทธิพลจากชนชั้นสูงของอังกฤษ ให้ชอบเสด็จไปล่าสัตว์และโปรดถ่ายภาพยนตร์เอาไว้ ก็ทรงห้ามไม่ให้เผยแพร่ เพราะเกรงคำครหานินทาของราษฎร ซึ่งชื่อหนังสือภาษาอังกฤษใช้คำว่า The Man Who Accused the King of Killing A Fish เพราะนรินทร์กลึงเขียนโจมตีร.7 ที่เสด็จไปตกปลาที่ประเทศอังกฤษ นี่เป็นภาพสะท้อนสื่อภาพยนตร์ อีกบทบาทหนึ่งของสื่อ ครับ

โดยสรุปอย่างย่อๆ ก่อนเปลี่ยนชื่อประเทศสยามเป็นไทยในปี พ.ศ. 2481 เห็นภาพยนตร์ในฐานะสื่อ ที่มีแนวคิดทฤษฎีวิเคราะห์ต่างๆนานา เช่น สื่อแพร่กระจายวัฒนธรรม และส่วนการวิเคราะห์กลุ่ม1.บทบาทตระกูลวสุวัตแห่งศรีกรุง ร่วมกับเจ้ามาร่วมกับฝ่ายทหาร(กลุ่มอื่น เช่น กลุ่มทุนจีน) 2.เกิดกลุ่มปรีดีภาพยนตร์ สร้างหนังเป็นทหารเพื่อสันติภาพอย่างหนังพระเจ้าช้างเผือก ในแง่ชาตินิยม : สันติสุข เสมอภาค อิสระภาพ”โดยมุมมองใหม่ของผม สะท้อนสภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ กับกฎแห่งกรรมในชะตากรรม ด้วย

ฉะนั้น เมื่อกรอบวิเคราะห์-การตีความในลักษณะลัทธิทหารนิยมรัฐธรรมนูญ สร้างชาติ กับลัทธิทหารอำนาจนิยมแนวฟาสซิสม์ จะมาเคียงคู่กันในบริบทจอมพลป. ที่กลายเป็นเรื่องว่าเผด็จการฟาสซิสม์ นิยมนโปเลียน ฯลฯ ต่อมาฟาสซิสม์เป็นภัยร้ายของสงครามโลกครั้งที่สอง และแล้วบริบทปวศ.รายละเอียดเยอะ ขณะที่สถานการณ์ปัจจุบัน เห็นว่าทหารจากชนชั้นของราษฎร กลายเป็นอำมาตยาธิปไตย
*ข้อมูลจาก 24 มิถุนายน 2475: สงครามบนแผ่นฟิล์ม

http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41129

**ข้อมูลบทความพระเจ้าช้างเผือกของผม และการถ่ายทำหนังพระเจ้าช้างเผือกบรรยากาศธรรมชาติในจังหวัดแพร่

http://www.prachatai.com/journal/2007/12/15265

http://www.prachatai.com/journal/2008/01/15326

*** ที่มาชื่อหนังสือภาษาอังกฤษใช้คำว่า The Man Who Accused the King of Killing A Fish https://www.facebook.com/notes/10151521275083353/
****ภาพประกอบหนังพระเจ้าช้างเผือกจากทางเน็ตกับโน้ตเพลง ที่มาสถาบันปรีดีฯ ครับ

http://www.pridiinstitute.com/autopage/show_page.php?h=43&s_id=9&d_id=23

*****ไอเดียบางส่วนจากหนังสือThailand : Origins of Military Rule

22
ผมเมากำลังจะหลับตา หลังสัมผัสลมหนาวผ่านมาครบรอบ10ปี ในปี2547 ที่เดินทางไปเชียงของ กับพวกหญิงสาว ที่ตอนนั้นกลุ่มคณะละครหุ่นเงา อีกคนหนึ่งเป็นคนถ่ายภาพให้ผมคู่กับสาว(น้องของเพื่อนผมอยู่ที่จ.น่าน) ในรูป ณ เกสต์ฮาวส์ ริมน้ำโขง ที่เชียงของ ซึ่งผมกำลังเริ่มต้นอย่างโรแมนติค(ฮร่า) สร้างสรรค์ต่อเนื่องเรื่องเล่าผ่านภาพแผนที่ในรอบสิบปีที่ทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับเรื่องแม่น้ำโขง หรือแม่น้ำของ

เมื่อย้อนกลับมาทบทวนบริบทของรูปแผนที่ในหนังสือ Siam Mapped: A History of the Geo-Body of a Nation ซึ่งผมกลับมาดูฉบับแปล คือ กำเนิดสยามจากแผนที่: ประวัติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
โดยผมเกิดผลของการคิดเรื่องข้อสังเกตคำว่าCorruption ในภาษาอังกฤษกับการแปลกลับมาคำว่าฉ้อราษฎรจากภาพแผนที่มีรูปคอมมิวนิสต์เวียดนาม ลาว และกัมพูชา ที่มีแม่น้ำโขง กำลังกลืนกินไทย กลับกันในปัจจุบันไทยไม่โดนคุกคามจากปัจจัยภายนอก แต่กำลังทำร้ายกันเอง รวมทั้งกลืนกินโกงติดสินบน ด้วย

ปิดท้าย บริบทของแผนที่นี้ ทำให้เห็นข้อสังเกตเวลาต่อมาของชะตากรรมช่วงยุคสงครามจีนสั่งสอนเวียดนาม(ลาว)-กัมพูชา ในบทเทวดาแห่งประวัติศาสตร์ในหนังสือชุมชนจินตกรรม บทสะท้อนว่าด้วยกำเนิดและการแพร่ขยายของชาตินิยม ในตอนปิดท้ายของหนังสือบทเทวดาแห่งประวัติศาสตร์(ฉบับพิมพ์ครั้งแรก) ดูที่ผมเคยเขียนไว้แล้ว
อย่างไรก็ตาม กรณีศึกษาของพื้นที่แห่งความทรงจำ โดยผมจะเขียนกล่าวจบอย่างสรุปสุดโรแมนติค มีรัก มีหวังหยุดคอรัปชั่น แม้อนาคตไม่แน่นอน
ราตรีสวัสดิ์ ครับ^^
*ครบรอบเขียนเรื่องภาพยนตร์พระเจ้าช้างเผือก7ปีผ่านไปและครบ10ปีหาทางเขียนสร้างสรรค์ผ่านภาพประกอบหนังสือthe creative processพร้อมรูปผมกับน้องสาวของเพื่อน
**ภาพประกอบแผนที่ไตรภูมิ-แม่น้ำของหรือโขง และหนังสือ Siam Mapped ฯลฯ
***ภาพแม่น้ำของ ที่ผมนำเป็นแนวคิด โดยมีข้อสังเกตคนนำเสนอเชื่อมโยงภูมิกายาของเวียดนามด้วย

https://leminhkhai.wordpress.com/2012/03/13/the-geo-body-of-vietnam/

****ข่าวปปช.กับพล.อ.เปรม ชี้ใครบอกแก้โกงไม่ใช่หน้าที่ถือไม่รักชาติ
*****น้ำโขงมีความหมาย = ? อืมอันนี้นิยามน่าจะตอบยาก ถ้าหมายความว่่าชื่อแม่น้ำโขง 1.น่าจะหมายถึงโค้ง ไม่ตรงตามตำนานเรื่องนาคสองฝ่ายทะเลาะกัน นาคฝ่ายหนึ่งเกิดแม่น้ำโขงกับปลาบึก และนาคฝ่ายสอง เกิดแม่น้ำน่าน 2.แม่น้ำไหลผ่านประเทศจีนมีชื่อเรียกว่า แม่น้ำหลานชางเจียง หรือ แม่น้ำล้านช้าง และเมื่อไหลผ่านเข้าเขตประเทศพม่า และประเทศลาว เรียกว่า แม่น้ำของ รวมถึงคำเมืองล้านนาก็เรียก แม่น้ำของ เช่นกัน แต่ในภาษาไทยเรียกว่า แม่น้ำโขง
ส่วนคำตอบที่3. ผมตอบง่ายว่าน้ำโขง มีความหมายกับปลา ไม่มีน้ำโขงไม่มีปลา หรือ น้ำโขงกับผู้คนใช้น้ำกัน ครับ

https://www.gotoknow.org/posts/289297

https://www.gotoknow.org/posts/255215

23 วันอังคาร
เดือนพ.ย.ผมร่วมเวทีเรื่องเกี่ยวกับองค์กรอิสระฯ ซึ่งประเด็นหลักคีย์เวริด์ผมพูดเรื่ององค์กรอิสระเป็นเสือกระดาษ เพราะตัวชี้วัด คือ พื้นที่สาธารณะอย่างสื่อได้ออกข่าวว่าองค์กรอิสระ โดยกรรมการสิทธิฯ สตง.(ตรวจเรื่องคอรัปชั่น)ยอมรับเป็นเสือกระดาษ ลองค้นดูคีย์เวริด์นี้ ครับ
ส่วนด้านข้อมูลองค์กร หลายเรื่องมาก กรณีกกต.จะทำไงให้มาตรฐานเท่าเกาหลีใต้ และปปช.จังหวัด จะพัฒนาให้ดีขึ้น เป็นภาพกว้างๆ น่ะครับ

เนื่องจากต่อยอดเวทีโดยโฟกัสยกตัวอย่างวิทยานิพนธ์ของผมอย่างสั้นๆในแง่โลกาภิวัตน์ –ชาติ สู่ท้องถิ่นกับอบต.(สู่อบท.) ทำให้เกิดพลวัตการกระจายอำนาจต้องมากขึ้น กรณีการจัดการรองรับการท่องเที่ยวข้ามพรมแดนและชายแดนเป็นเรื่องเชิงทฤษฎีสั้นๆว่า ผลประโยชน์จากการพัฒนา ทำให้เกิดคอรัปชั่นอย่างข่าวพิพิธภัณฑ์ปลาบึก ที่ก่อสร้างในเขตเทศบาลตำบลเวียงเชียงของ ครับ
แต่สร้างมาแล้วใช้การไม่ได้ มีการทุจริตคอรัปชั่นเกิดขึ้น จนสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)เข้ามาตรวจสอบเอาผิดกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)
โดยสรุปง่ายๆแล้ว 1.ผมคาดหวังว่าคอรัปชั่นเป็นเรื่ององค์กรอิสระ(เช่น สตง.ฯลฯ) จะทำให้หายไปได้ก็ดี 2.ภาวะน้ำท่วมปากทางการเมือง ทำให้คนยังไม่สามารถมีสิทธิมีเสียงแก้ปัญหาอย่างอิสระได้ง่าย 3.โครงร่างคร่าวๆ สำหรับหัวข้อ สตง.การตรวจสอบคอรัปชั่นพิพิธภัณฑ์ปลาบึกของอบท. สู่การสร้างงานศิลป์พิพิธภัณฑ์ปลาบึก นี่แหละจบเรื่องสร้างสรรค์Artครับ^^

*ภาพประกอบที่เขียนตอบงานแสดงความคิดเห็น จริงๆครุ่นคิดหนักเขียนไปสี่แผ่น ดูที่เรียบเรียงไว้มาเผยแพร่สองแผ่น โดยประยุกต์แนวคิดบางส่วนJürgen Habermas: bourgeois public sphere. ซึ่งผมเขียนไว้กับคุยอยากให้องค์กรอิสระฯ เพิ่มพื้นที่สาธารณะการจัดเวทีมีส่วนร่วมอย่างไม่เป็นทางการมากขึ้น โดยผมถ่ายภาพเก็บไว้เผื่อดัดแปลงเป็นบทความอย่างแนวคล้ายๆ กรณีเรื่องคอรัปชั่น-องค์กรอิสระกับประชาสังคมที่เคยได้ลงเนชั่น สุดสัปดาห์ ครับ
**ข่าวจากเชียงรายนิวส์ ปีที่27 ฉ.0473 ส.ค.2557 และภาพประกอบงานศิลปะ-ผุดพิพิธภัณฑ์ปลาบึกน้ำโขงฝีมือ อจ.เฉลิมชัย ใหญ่ที่สุดในโลก.

http://www.maesainewsonline.com/index.php?main=read&id=2322&CID=2

สตง.ตามบี้เช็กบิลทุจริตพิพิธภัณฑ์ปลาบึก ข้อมูลนสพ.นี้บอกงบ 9 ล้านบาท

http://www.thaipost.net/x-cite/060712/59202

***โน้ตไว้หลังจากหลายปีที่ผมเคยเขียนขอทุนอียู(EUหรือสหภาพยุโรป) และร่วมผ่านกระบวนการหลายอย่างกับทุนยูเสด(Usaid) ที่คาดหวังกับองค์กรอิสระฯลฯ ครับ
เน็ตผมอาการค้างอีกแล้ว ขอตัวไปนอนก่อนหละกัน แถมเพลงคำถามซึ่งไร้คนตอบ นี้ครับhttps://www.youtube.com/watch?v=mVkMDcjSpMQ

26 วันศุกร์
เมื่อผมกับพรรคพวกคุยเรื่องงาน ก่อนนอนเลยจัดตามข่าววันศุกร์พบผู้นำ ทำให้ผมนึกถึงเรื่องนายกพูดเรื่องสึนามิ และข่าวพล.อ.ประยุทธ์ไปเมืองจีน ต่อมาคุยเรื่องรถไฟในภูมิภาค
กรณีสิบปีที่เขียนเรื่องปัญหาภาคใต้ในปี2547กับภาพความจำต่อรถไฟ มีเรื่องเล่าบางอย่างตอนที่ผมอายุ20 ปี เลียนแบบเพื่อนๆ หลายคน ที่ต่างออกเดินทางคนเดียว เป็นการเรียนรู้ และแสวงหาความหมายของชีวิต ปี42 (ละมั้ง) ยิ่งกว่าหนังเพื่อนสนิท ติสท์หนุ่มนั่งรถไฟจากเชียงใหม่ไปสุไหงโกลก พกหนังสือคำพิพากษาไปอ่านระหว่างการเดินทางและกล้องถ่ายรูป ผ่านพบเจอผู้คนร่วมขบวนรถไฟ และผมพบผู้คนระหว่างทางภาคใต้ท่าทางเหมือนผู้ก่อการร้าย สูบบุหรี่บนรถไฟ
จากนั่งรถหลายวัน มาถึงสถานีสุไหงโกลก ต่อมาผมคิดมากไม่รู้ไปไหนต่อ จึงซื้อตั๋วรถไฟกลับทันใดนั้นเอง นี่แหละความทรงจำหน้ารออีกสามสิบนาทีกลับกรุงเทพฯ ซึ่งผมเล่าเรื่องนี้คนส่วนใหญ่จะหัวเราะ น่ะครับ^^

ทั้งนี้ ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องสุไหงโก-ลก ป่าและแม่น้ำ รวมทั้งเส้นทางรถไฟ-การตั้งเทศบาลตำบล ดูที่วิกิพีเดีย ครับ
*กฎอัยการศึก…บทเรียนจากชายแดนใต้(“100 ปีกฎอัยการศึก 10 ปี ณ ปาตานี”… ซึ่งเป็นวันครบรอบ 10 ปีการหายตัวไปของทนายสมชาย นีละไพจิตร และเป็นปีครบรอบ 100 ปีการบังคับใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.2457 ด้วย)

http://www.isranews.org/south-news/talk-with-director/item/29585-martial_29585.html

สิบปีสึนามิ
**ภาพประกอบบทความในนิตยสาร ที่เคยเขียนงานไว้ปี2547 ครับ

30
ช่วงใกล้ปีใหม่ เมื่อวันที่27ธันวา ที่ผ่านมา ทำให้ผมทบทวนเล่าเรื่องสบายๆ ดีๆในแง่คุยกับรุ่นน้องมีเรื่องที่สิบปีที่ผมกับรุ่นน้องที่ร่วมเขียนเรื่องภาคใต้ในวันก่อน ที่ผมจะเข้าวัดบุพพาราม ในแง่มุมที่ผมตอนทำวิทยานิพนธ์ช่วงปี2547 เราคุยกันหลายเรื่องมาก ปัญหาต่างๆ มากมายของสังคมไทยในปัจจุบัน แต่ส่วนตัวในแง่นั้น ทำให้ผมมาทบทวนเรื่องภาคเหนือ ซึ่งรุ่นน้องผม ทำเรื่องวิทยานิพนธ์ป.โทเรื่องรัฐไทใหญ่ เปรียบเทียบกับภาคเหนือของล้านนา(ปัจจุบันเรียนป.เอก) และผมเขียนวิทยานิพนธ์ป.โทเรื่องเชียงของ เกี่ยวกับปลาในแม่น้ำของ
ซึ่งผมช่วยงานโครงการย้อนรอยจิตรกรรมวัดอุโมงค์เชียงใหม่ แบบไม่ค่อยสนใจไตรภูมิในแง่แผนที่มากเท่าไหร่ โดยคนเชื่อมโยงเรื่องไตรภูมิกับSIAMMAPPEDDฯ คือ รุ่นน้องของผม ทั้งที่เค้าเรียนจบปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์ ด้วย

แน่ละนี่คือ ชะตากรรม ในแง่ที่เขาวันหนึ่งมาคุยเรื่องไตรภูมิภาพจิตรกรรรมแม่น้ำของ และปลา ทำให้ผมติสท์หนุ่มเห็นความเชื่อมโยงจินตนาการอันสร้างสรรค์ ก่อนหน้าเขาปีนี้ผมเจอเค้า ณ กรุงเทพฯ ก่อนบวชพระ และแล้วสำหรับปีหน้า ที่เล่ามาทั้งหมด นึกถึงว่าเขาย้ำๆ ว่าผมต้องไปงานแต่งงานของเขาให้ได้ ครับ^^(ฮร่า)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น