วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เพลงรอรักวันแรงงาน

เพลงรอรักวันแรงงาน


อรรคพล สาตุ้ม


วันแรงงานแห่งชาติหมุนเวียนมาครบรอบอีกครั้ง และผู้เขียนสนใจทบทวนเนื้อเพลงคนใช้แรงงาน ซึ่งแง่มุมของการวิจัยเนื้อร้องของเพลง และอุดมการณ์ของการเมืองยังปรากฏไม่มากนัก ในแง่น่าสนใจวรรณกรรมแรงงาน รสนิยมเพลง และเพลงเกี่ยวกับวันแรงงานอย่างเพลง “ลูกจ้างอย่างเรา” ที่ดุสิต ดุริยศักดิ์ ขับร้อง ท่อนจบเขาว่า “...ชาตินี้มีแต่เพื่อนแท้ก็คือกำลัง หากสิ้นสิ่งนี้มีหวัง คงสิ้นคนจ้าง มีหวังตกงาน” ฟังดูหดหู่ และน่าสงสารเนื่องจากยุคนั้นยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองแรงงานอย่างจริงจัง ถ้าเป็นเพลงของผู้ใช้แรงงานผู้หญิง ก็จะนึกถึงเพลง “ฉันทนาที่รัก” ที่รักชาติ ศิริชัย ร้อง ครูสุชาติ เทียนทอง แต่ง โดยชื่อ ฉันทนา กลายมาเป็นคำเรียกที่หมายถึงสาวโรงงานทอผ้ากันไปแล้ว


การเปรียบเทียบเพลงของลูกทุ่งย่อมแตกต่างจากเพลงเพื่อชีวิต หรือเพลง รำวงวันเมย์เดย์ เนื้อร้อง/ทำนอง จิตร ภูมิศักดิ์ ภายใต้อิทธิพลพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย แต่เพลงลูกทุ่ง ก็มีการสร้างภาพแทนความจริงต่อสังคม ซึ่งเกิดจินตนาการร่วมในแง่การจัดตั้งตนเองถึงองค์กรกรณีสหภาพแรงงานต่างๆ นานา แต่มนต์เสน่ห์มายาเพลงลูกทุ่งก็มีปรากฏของแมน เนรมิต ชื่อ “ลูกจ้าง” แต่เพลงนี้ออกเป็นแนวกุ๊กกิ๊กประเภทหลงรักลูกสาวนายจ้าง “ขอรับใช้ใกล้เจ้านายไม่ห่าง ขอเคียงข้างกับนายจ้างจริงใจ ฝากชีวิตให้เป็นสิทธิ์ของนาย...” เรียกว่าทำทุกอย่างเพื่อความรักนั่นเอง

เมื่อบทเพลงสะท้อนเกี่ยวกับกรรมกร ยังมีอีกหลายเพลงที่เป็นที่จดจำเช่น "กรรมกรวอนแฟน” ยอดรัก สลักใจ “อกหนุ่มกรรมกร” สุนารี ราชสีมา “กรรมกรสอนลูก” ร้องโดยนักร้องเสียงดีชื่อ นัดดา จันทร์ฉาย อยู่ในชุด “ชิมรัก ชิมรส” หรือมีเพลงชื่อ “จากแม่มูลสู่เจ้าพระยา” ที่ เสรี รุ่งสว่าง กับ สิทธิพร สุนทรพจน์ เคยร้องไว้ แต่งโดย ธีระพันธ์ ชูพินิจ เป็นเพลงเกี่ยวกับคนใช้แรงงาน

แต่ถ้าเป็นยุคหลังๆ เพลงแนวนี้เราก็นึกถึงเพลง “ลูกสาวนายจ้าง” ที่ไมค์ ภิรมย์พร นักร้องขวัญใจคนใช้แรงงานขับร้อง ซึ่งไมค์ร้องเพลงเกี่ยวกับชีวิตผู้ใช้แรงงานมากมายจนกลายเป็นสัญลักษณ์ประจำตัว และไม่ใช่มีเพลงประเภทรักๆ ใคร่ๆ ระหว่างคนชั้นแรงงานเท่านั้นโดยเพลง “ผู้อยู่เบื้องหลัง” ในชุดแรกๆ ของเขาที่ขึ้นต้นมาก็ถามสะกิดใจกันเลยว่า “ตึกนี้สูงใหญ่ มือไผเล่าสร้าง...” ถือเป็นเพลงดีเด่นอีกเพลงหนึ่ง ที่สัก ลานไทร เป็นคนแต่ง แต่อาจจะไม่โด่งดังเท่ากับเพลง “ละครชีวิต” ที่ว่า “จากแดนอีสานบ้านเกิดเมืองนอน...” ที่วิเชษฐ ห่อกาญจนา แต่งไว้ (1) เป็นต้น

ดังนั้น ประเด็นที่น่าสนใจ เนื่องจากวันแรงงานแห่งชาติ ช่วยให้แรงงานหลุดพ้นจากความทุกข์ยากจน เป็นคำถามต่อผู้อยู่เบื้องหลัง เป็นมือของผู้สร้างตึก และโอกาสของแรงงานสร้างสรรค์สังคม

ประเด็นของอุดมการณ์ในเพลงรอรักวันแรงงาน


เนื้อเพลง รอรักวันแรงงาน

..คำวอนจากใจลูกผู้ชายที่ขายแรงงาน ส่งไปถึงเธอผู้นั้นได้พบกันที่หน้าโรงทอ
ได้คุยแรกเห็นรู้ว่าเป็นคน ต.จ.ว. เหมือนกันกับพี่เลยหนอ คุยถูกคอเฝ้ารออยากเจอ จ.ม.ส่งไปถักหัวใจนำพา บางวันแอบโทรไปหาอยากจะมาพบหน้าเสมอ ลูกจ้างงานหลายเจ้านายไม่ได้มาเจอ อย่าลืมที่พี่เสนอนัดเจอที่วันแรงงาน พี่จะไปตามนัดด้วยใจจดจ่อ วันที่หนึ่งพอคอให้ไปรอตรงที่นัดกัน จะพาไปเที่ยวขันเกลียวน็อตใจผูกพัน มอบใจให้เป็นของขวัญวันแรงงานเพื่อสานใจต่อ ขอให้จริงจังที่พี่เฝ้าคอยจริงใจ ไม่มีโบนัสจากนายพี่ขอใจพบเธอก็พอ อย่าลืมคนดีให้ โอ.ทีสัมพันธ์เราต่อ จดจำวันที่หนึ่งพอ.คอ. พี่จะรอแก้มแดงแรงงาน..(2)

การต่อสู้ของแรงงานหายไปจากเนื้อเพลงของไมค์ ภิรมย์พร โดยผูกพันเพลงขายแรงแต่งนาง……ความรู้ต่ำ แรงงานก็ราคาถูก อดทนปนทุกข์ เดินบุกเดินลุยทุกวัน เปลี่ยนแรงเป็นเงิน เผชิญกับความร้าวรานจะไปให้ถึงความฝัน ฝันถึงงานวันแต่ง ขอแรงคนดีให้คอยพี่บ้าง ได้โปรดถนอมใจนาง อย่าจืดจางระวังแก้มแดง รักจริง อย่าให้ใครชิงตำแหน่งเก็บรักษาแก้มแดง รอคนขายแรงจะไปแต่งนาง…. และเพลงเดินตามพ่อ…พ่อ เป็นมากกว่าพ่อคนไหน พ่อยิ่งใหญ่ เป็นหนึ่งในใจเรื่อยมาเป็นภาพจำ งดงามอยู่ในสายตา เป็นแรงศรัทธา แรงกล้าอยู่ในหัวใจ ถึงแม้ไม่อาจเทียบหนึ่งในล้านลูกขอตั้งปณิธาน สานสิ่งที่พ่อสร้างไว้จะเดินตาม รอยเท้าของพ่อต่อไป เหนื่อยยากเพียงไหนจะไม่ทำให้พ่อผิดหวัง..

จะเห็นได้ว่านี่เป็นประเด็นสะท้อนภาพของชาตินิยม ในฐานะลักษณะเชิงซ้อนของจินตนาการของภาพพ่อ ในฐานะของวันพ่อแห่งชาติ เป็นวันชาติไปด้วย นี่เป็นจุดเกี่ยวพันเชิงประวัติศาสตร์ของบริบทแรงงาน ในแง่ความนิยมของเพลงลูกทุ่งไทย(Thailand) ซึ่งสะท้อนจินตภาพของการเมืองเชิงซ้อนของเนื้อเพลงคล้ายการสร้างอุดมการณ์ของเพลงชาติไทย แต่ผ่านทางอารมณ์ความรู้สึกของวัฒนธรรมประชานิยม(popular culture) ในภาวะแบบไทยๆ เป็นรูปธรรม เพราะการเมืองถูกผลึกหลอมรวมผ่านวันชาติ วันพ่อ วันแรงงาน ขายแรงแต่งนางเป็นการแต่งงานรวมชาตินิยม และเพลงในอัลบั้มนี้ กลายเป็นสิ่งปลูกสร้างอุดมการณ์ของครอบครัวแห่งชาติ


จากหลังเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 ในด้านหนึ่งของความตื่นตัวต้องการปฏิรูปโครงสร้างการเมือง ก็คาดหวังต่อรัฐบาลพลเรือน จนกระทั่งถูกพิสูจน์ว่าล้มเหลว ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายต่อนักการเมือง จึงเป็นความรู้สึกร่วมไม่น้อย และประชาธิปไตยแบบตัวแทนเป็นเป้าถูกวิพากษ์วิจารณ์ ส่วนประชาธิปไตยทางตรง ก็เป็นข้อเรียกร้องมากขึ้นเรื่อยๆ มีคำศัพท์ถึงประชาสังคม,ประชาพิจารณ์,ประชาคมชุมชน,ประชามติ,เวทีประชาพิจารณ์ ฯลฯ ต่างจากคำศัพท์ เช่น สามัคคีทุน-ตีทหาร หรือการวิเคราะห์แนวทุน-วัง-ปืน ซึ่งด้านดีเป็นทางเลือกของสังคมไทย โดยความเป็นจริงเกิดการประท้วงของแรงงานไทย ต่อโรงงานในบริบทปี2542-43 เป็นช่วงเวลาบริบทของเพลงรอรักวันแรงงานด้วย


เมื่อกรณีดังกล่าวเกี่ยวข้องเจ้าของโรงงาน ทำให้สหภาพแรงงานถูกบอกไม่มีความจำเป็นกับโรงงานด้วย(3) โดยผลกระทบของยุควิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 (กรณีตัวอย่างสหภาพแรงงานสิ่งทอไทยเกรียง) และรัฐธรรมนูญ2540 ในกระแสชาตินิยม-ชุมชนนิยม ที่มีปรากฏเป็นหนังสือ และสื่อสารมวลชน เป็นต้นมา สะท้อนภาพของการเมือง เศรษฐกิจ สังคมของไทย กำลังปรับตัวสภาพการจ้างงาน และค่าจ้าง รวมทั้งคนตกงาน ในยุคโลกาภิวัตน์ของทุนนิยม ภายใต้กระแสการสร้างประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ และบริบทของเพลงเผยแพร่ 2542 ก็มีเพลงรอรักวันแรงงาน(4) และเพลงเดินตามพ่อ ในอัลบั้มขายแรงแต่งนาง และการสร้างรางวัลมาลัยทอง ปี 2543 จากคลื่นวิทยุลูกทุ่งเอฟเอ็ม ซึ่งเป็นปีแรกของการจัดการประกาศรางวัลมาลัยทองสำหรับคนลูกทุ่ง ในแง่รางวัลเพลงสร้างสรรค์

แต่เพลงลูกทุ่งรุ่นใหม่ๆ ก็มีการกล่าวถึงชีวิตหนุ่มสาวโรงงาน และคนทำงานระดับกรรมกรมากมาย โดยเฉพาะเพลงในค่ายแกรมมี่โกลด์ นักร้องเกือบทุกคนจะมีเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคนใช้แรงงานทั้งสิ้นและเนื้อหาของเพลงลูกทุ่งรุ่นใหม่ๆ ก็สะท้อนภาพความเปลี่ยนแปลงของคนหนุ่มสาวเหล่านี้ ที่มีโทรศัพท์มือถือและไม่ได้ฟังวิทยุทรานซิสเตอร์แบบดั้งเดิมเสียแล้ว เมื่อสาวโรงงาน และผู้ใช้แรงงานรุ่นใหม่นี้ มีความสามารถในการดาวน์โหลดเพลงและส่งข้อความเอสเอ็มเอสไปในรายการวิทยุ ค่ายเพลงก็มักมีการจัดกิจกรรมคอนเสิร์ตเพื่อกลุ่มคนใช้แรงงานกันบ่อยๆ และกลุ่มคนเหล่านี้ได้กลายเป็นกลุ่มเป้าหมายใหญ่ที่สำคัญของคนทำคลื่นวิทยุลูกทุ่งเวลานี้อีกด้วย(5)

โดยประเด็นที่สำคัญที่พูดถึงงานเพลงจากบริษัทแกรมมี่โกลด์ คือ ความเกี่ยวพันของความสัมพันธ์ในอำนาจของเพลง ธุรกิจ การเมือง และสิ่งแวดล้อม สะท้อนความจริงทางสังคมผ่านศิลปะ ดนตรีเพลงพ่อของแผ่นดิน สะท้อนพ่อแห่งไทย (6) หรือ เพลงข้าวของพ่อโดยไมค์ ภิรมย์พร (7) และกรณีไหมไทย ใจตะวัน ก็ออกอัลบั้ม ที่มีชื่ออัลบั้ม บ่มีสิทธิ์เหนื่อย 2553 เพลงที่ 1.บ่มีสิทธิ์เหนื่อย เป็นภาพสะท้อนมิวสิควิดิโอ และเนื้อเพลงเกี่ยวกับแรงงานก่อสร้าง ในบริบทช่วงหลังเหตุการณ์ทางการเมือง และอัลบั้มต่อมา คือ อัลบั้มชื่อสังกัดพรรคเพื่อเธอ 2555 ซึ่งเพลงสนุกๆ คือ เพลงที่ 1.สังกัดพรรคเพื่อเธอ ส่วนประเด็นสำคัญต้องการสะท้อนต่อเนื่องในเพลงที่ 2. ของอัลบั้ม คือ เพลงคนอ่อนไหว..กำลังใจสำคัญที่สุด

ในที่สุด ท่อนเพลงสำคัญสอดคล้องกับภาพมิวสิควิดิโอ ที่แรงงานปกขาว คือ แรงงานแต่งตัวเป็นชายหนุ่มออฟฟิศแต่งตัวเสื้อเชิตทำงานหนักโดนเจ้านายด่า ท่ามกลางน้ำท่วม ซึ่งต่อมาเขาไปช่วยคนน้ำท่วมแถวโรงงาน และเขาก็ช่วยเด็กไว้ ทำให้เขาโดนไฟช็อตล้มลง ขณะนั้นโทรศัพท์มือถือจากแฟนโทรมาหาเขาช่วยเขาฟื้นคืนชีพได้ พร้อมเพลงประกอบมิวสิควิดิโอว่า ….ฉุดคนใกล้ตายมีแรงลุกขึ้น มาหายใจต่อ…

แต่ทั้งนี้เนื้อหาของเพลงที่เกี่ยวกับคนงานดังที่ได้กล่าวไปในปัจจุบัน ก็ยังไม่ได้เชื่อมโยงถึงปัญหาของแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นข้อเรียกร้องในวันแรงงาน หรือประเด็นผลกระทบน้ำท่วม ที่สร้างความยากลำบากให้คนงาน อาทิ การย้ายคนงาน ปรับลดคนงาน ฯลฯ ที่เป็นปัญหาแก่นแท้ของผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ในประเทศไทย




*หมายเหตุ
บทความเพลงรอรักวันแรงงาน สะท้อนเพลงลูกทุ่ง -lukthung [Thai country song] ปรับปรุงแก้ไขพร้อมใส่หมายเหตุสำหรับพื้นที่เผยแพร่ในไทยอีนิวส์ เป็นบันทึก เนื่องจากความสัมพันธ์ของผู้เขียนเคยเผยแพร่รายการเชียงใหม่ มุมใหม่-มุมตากล้องพาทัวร์ ที่มีมิวสิควิดิโอทดลอง เป็นช่องทีวีในยูทูบที่นี่ โดยใส่เพลงลูกทุ่งต่างๆ คือ ผู้เขียนได้ติดตามข่าวการเมือง และกิจกรรมการเมือง ในด้านหนึ่งของบางกรณีรักเมืองไทย เดินหน้าประเทศไทย และเล่าบริบทบทความของผู้เขียนในช่วงสงการนต์บางกรณีเพลงlet it beเป็นเบื้องหลังการเขียนชิ้นนี้ และต่อมาผู้เขียนทบทวนบทความของนิธิ เอียวศรีวงศ์ เพลงลูกทุ่งในประวัติศาสตร์วัฒนธรรมไทย เมษายน ๓ 2528 ในศิลปวัฒนธรรม สะท้อนแง่ด้านชนบทกับเมืองฯลฯ และความน่าสนใจบางด้านของชาตินิยม ในแง่การจากบ้านเกิดเมืองนอน เป็นการพลัดถิ่นของผู้คนข้ามพรมแดน


ซึ่งสะท้อนผ่านบทความของวิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา เส้นทางสายคิดฮอด:นิราศแห่งความจำนน,วารสารอ่านปีที่ 3 ฉ.4 ต.ค.2554-มี.ค.2555โดยสรุปย่อแบบผม คือ การอ้างอิงผลงานของธงชัย-James Mitchell,Red and Yellow songs : a historical analysis of the use of music by the united front for Democracy against Dictatorship(UDD)and the people’s Alliance for Democracy(PAD) in Thailand”,South East Asia Research 19:3,p.482 อธิบายถึงการเชื่อมโยงเพลงลูกทุ่งเป็นห้วงยามย้ายถิ่นฐานเข้ากรุงเทพฯ หรือการพลัดพรากจากพี่น้องลาวฝั่งเหนือของแม่น้ำโขง และมองย้อนกลับเพลงลูกทุ่งอาจจะเป็นเสียงสะท้อนวรรณกรรรมสยามอย่างนิราศมันหมายถึงบทกลอนที่เขียนเพื่อบอกเล่าถึงการเดินทางไกล และตามที่ธงชัย วินิจจะกูล ได้ตั้งข้อสังเกตก่อนหน้าครึ่งหลังศต.ที่19นั้น จุดประสงค์ไม่ใช่เพลิดเพลินสำหรับคนไทยชนชั้นแรงงานด้วยแล้วนั้น เพลงลูกทุ่งได้แสดงให้เห็นภาพการสูญเสียและการถูกทำให้พลัดพลาดโดยไม่ยินยอมพร้อมใจ…(ลองอ่านดูเพิ่มเติม)



เชิงอรรถ
1.ผู้เขียนปรับปรุงเพิ่มเติมข้อมูลจากคมเคียวคมปากกา-เพลงคนใช้แรงงานhttp://www.komchadluek.net/detail/20110502/96364/%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99.html


2.รอรักวันแรงงาน
http://radio.sanook.com/music/player/%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99/81675/

3.ผู้เขียนเรียบเรียงเพิ่มเติมจากศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ สิทธิดื้อแพ่ง, ความเป็นสาธารณะ และประชาธิปไตยของความเป็นศัตรูรัฐศาสตร์สาร 22, 3 (2543): 284-306

4.ชุดที่ 6 ขายแรงแต่งนาง (พ.ศ. 2542)
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B9%8C_%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%A3

5.จากคมเคียวคมปากกา-เพลงคนใช้แรงงาน,เพิ่งอ้าง

6. พ่อแห่งแผ่นดินhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99


7. ข้าวของพ่อ (2555) http://www.thai-farmer.com/thaifarmer/?p=281

**หมายเหตุ บทความเคยเผยแพร่ในประชาไท และไทยอีนิวส์ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น